มน.สัมพันธ์ ฉบับที่ 151

12

Upload: naresuan-pr

Post on 24-Jul-2016

224 views

Category:

Documents


1 download

DESCRIPTION

 

TRANSCRIPT

มน. สัมพันธ์ ฉบับที่ 151 ประจำ�เดือน ตุล�คม - พฤศจิก�ยน 2558

มหาวิทยาลัยนเรศวร www.nu.ac.th

ที่ปรึกษา ดร.สุชาติ เมืองแก้ว

ศิริมาศ เสนารักษ์

บรรณาธิการบริหาร พรรณงาม ลักษณ์สุชน

บรรณาธิการ สุธินี พูลเขตนคร

กองบรรณาธิการข่าว เกียรตินารี ธชีพันธุ์

สุธินี พูลเขตนคร

ธิติ สิงห์คง

กองบรรณาธิการศิลป์ ยศวดี สายสืบ

ศุภเลขา พันธ์ปัญญา

นเรศ เอี่ยมอินทร์

จัดทำาโดย งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง

สำานักงานอธิการบดี

มหาวิทยาลัยนเรศวร

พิมพ์ที่ ดาวเงินการพิมพ์ โทร 0 5521 9787,

0 5521 9646

โทรสาร 0 5521 9647

สารบัญ

เรื่องจ�กปก 1

นเรศวรวิจัย 2

มน. สู่ชุมชน 3

นเรศวรวิช�ก�ร 4

DNA นเรศวร 5

สืบศิลป์-ส�นศิลป์ 6

มน. มอนิเตอร์ 7

@ มน. 8

ม.นเรศวร มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ ภิกษุณีธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน

เหลียวหลังมองตัวตนพิษณุโลก ในการพัฒนาการท่องเที่ยว รองรับประชาคมอาเซียน

โครงการอบรมภาษาต่างประเทศ สำาหรับบุคคลทั่วไป

ถ่ายทอดองค์ความรู้ “ผักผลไม้แปรรูป” เพื่อการต่อยอดธุรกิจ

นิสิต ม.นเรศวร พัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอ เพื่อใช้ในการจำาแนกเพศอินทผลัมไทย(แม่โจ้36) แห่งแรกในประเทศไทย

- "Silk Journey to Art" แสดงงานศิลปะระดับโลก- ชนะเลิศการประกวดหนังสั้น จาก UNFPA Thailand- คว้ารางวัลเหรียญทอง และเหรียญ Award for international innovation achievements จาก ประเทศไต้หวัน

- เปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยวฤดูที่แตกต่าง ล่องแก่งลำานำาเข็ก บนถนนมิตรภาพสาย 12- ม.นเรศวร จับมือสถาบันสารสนเทศทรัพยากรนำาและการเกษตร (องค์กรมหาชน) ร่วมพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านทรัพยากรนำา- เปิดเวทีการแสดงรำาเดี่ยวมาตรฐานทางด้านนาฏศิลป์ไทย

บทบรรณาธิการ

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ....วารสาร ม.นเรศวรสัมพันธ์ฉบับนี้ กองบรรณาธิการได้ปรับปรุงคอลัมน์ภายในวารสารให้น่าสนใจยิ่งขึ้น แต่

ยังคงอัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระอย่างครบครันมานานกว่า 15 ปีแล้วนะคะ

คอลัมน์แรก “เร่ืองจากปก” ได้นำาเสนอถึง พิธีมอบปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักด์ิ สาขาวิชาพัฒนาสังคมให้แก่ ภิกษุณีธรรมาจารย์

เจิ้งเอี๋ยน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้ ด้วยความยินดียิ่ง เพื่อเป็นเกียรติแก่ความมีมนุษยธรรมที่ยิ่งใหญ่ และความเมตตากรุณาในการเสียสละทั้งแรงกาย

และแรงใจ เพื่อประชาชนด้วยความเมตตาอย่างแท้จริง

คอลัมน์ “นเรศวรวิจัย” นิสิตปริญญาเอก ม.นเรศวร ได้พัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอ เพื่อใช้ในการจำาแนกเพศอินทผลัมไทย (แม่โจ้36) แห่ง

แรกในประเทศไทย สามารถประหยัดเวลา และใช้จ่ายได้มากกว่าวิธีที่ใช้ในปัจจุบันที่ปลูกโดยไม่ทราบเพศแน่ชัด

อีกหนึ่งคอลัมน์ที่น่าสนใจ คือ “DNA นเรศวร” ได้นำาเสนอถึงผลงานนิสิตเก่ง ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ การประกวดหนังสั้น จาก

UNFPA Thailand อีกทั้งอาจารย์คณะสหเวชศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้ารางวัลเหรียญทอง และเหรียญ Award for international

innovation achievements จาก ประเทศไต้หวัน พร้อมด้วยผลงานการแสดงงานศิลปะระดับโลก

สุดท้ายนี้ กองบรรณาธิการหวังว่า การปรับคอลัมน์ในครั้งนี้ ท่านผู้อ่านจะได้รับเนื้อหาสาระที่หลากหลายมากขึ้น หรือหากท่านผู้อ่านมี

ข้อเสนอแนะ สามารถแสดงความคิดเห็นมาได้ที่ e-Mail : [email protected]

สุธินี พูลเขตนคร: บรรณาธิการ

เรื่องจากปก | 1

ศาสตราจารย์ ดร. สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ได้อนุมัติบุคคลผู้สมควรได้รับ

พระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำาปี พ.ศ. 2558 โดยในปีนี้ ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคมให้แก่

ภิกษุณีธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้ ด้วยความยินดียิ่ง เพื่อเป็นเกียรติแก่ความมีมนุษยธรรมที่ยิ่งใหญ่ และความเมตตากรุณาในการ

เสียสละทั้งแรงกายและแรงใจ เพื่อประชาชนด้วยความเมตตาอย่างแท้จริง โดยได้ทำาพิธีมอบปริญญาบัตรดังกล่าว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2558 ณ

Tzu Chi University ประเทศไต้หวัน

ภิกษุณีธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1937 ในเมืองเล็กๆของประเทศไต้หวัน ได้อาศัยอยู่กับครอบครัวของลุงกับป้าที่ไม่มีลูก ต่อ

มาได้มองเห็นถึงความทุกข์ยากและความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในไต้หวัน เมื่อตอนอายุได้ 12 ปี คุณแม่ท่านได้ล้มป่วย

หนัก แต่ต่อมาก็อาการดีขึ้น จากนั้นเมื่ออายุ 21 ปี ท่านพ่อได้ล้มป่วยกะทันหันและเสียชีวิตลง ภิกษุณีธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน จึงได้เสาะแสวงหา

ความหมายของชีวิต และได้ค้นพบถึงสัจธรรมผ่านพระธรรมคำาสอนของพระพุทธศาสนา ท่านได้ลาจากบ้านเกิดและครอบครัวของท่านเพื่อทำาการ

ดูแลรักษาแก่มวลมนุษยชน จนท่านมีอายุได้ 25 ปี ได้เริ่มการใช้ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ โดยมีภิกษุณีธรรมาจารย์ยิ่น ชุ่น มอบฉายาทางธรรมว่าเจิ้ง

เอี๋ยน

ในปี ค.ศ. 1966 ภิกษุณีธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน พร้อมกับลูกศิษย์อีก 5 ท่าน ได้ริเริ่มโครงการการกุศล โดยทำาการตัดเย็บรองเท้าเด็กขาย

เพื่อการกุศล และนำารายได้ไปบริจาคให้แก่ผู้ยากจนในวัดเล็กๆที่ฝั่งตะวันออกของไต้หวัน ต่อมาได้ร่วมมือกับทางการแพทย์เพื่อเปิดคลินิกการกุศล

ที่บริการฟรีแก่ผู้ที่ยากไร้ในปี ค.ศ. 1972 และก่อตั้งโรงพยาบาลฉือจี้ในปี ค.ศ. 1986 ในด้านการศึกษา ก็ได้รับการเติมเต็มโดยมีการก่อตั้งวิทยาลัย

พยาบาลฉือจี้ ซึ่งเปิดเมื่อปี ค.ศ. 1989 ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะผลิตผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทั้งเก่งและมีความเมตตาธรรม ในภารกิจที่ 4 คือ

ภารกิจเกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านมานุษยวิทยา “เพื่อทำาจิตใจมนุษย์ให้สะอาด ทำาให้สังคมสงบสุข ช่วยเหลือผู้ที่ยากไร้ และเปลี่ยนแปลงการกระทำาที่

โหดร้ายทารุณ” ปัจจุบัน มูลนิธิพุทธฉือจี้มีสาขาอยู่ทั้งหมด 47 สาขาในต่างประเทศ โดยมีผู้ร่วมบริจาคกว่า 10 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่ไม่ใช่

องค์กรรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในดินแดนแห่งประเทศจีน

ด้วยความรู้ความสามารถกับทั้งความอุทิศตนตลอดชีวิตเพื่อมนุษยชนโดยการแสดงออกถึงความมีเมตตาและความอ่อนโยนในการนำา

“ความสงบภายในและความสุขสู่บุคคล” นั้น มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงมีฉันทามติเห็นสมควร ขอพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา

วิชาพัฒนาสังคม แก่ภิกษุณีธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน เพื่อประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนสืบไป

ม.นเรศวร มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

แก่ภิกษุณีธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน

2 | นเรศวรวิจัย

นิสิต ม.นเรศวร พัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอ เพื่อใช้ในการจําแนกเพศอินทผลัมไทย (แม่โจ้36) แห่งแรกในประเทศไทย

นายนพรัตน์ อินถา นิสิตปริญญาเอก คณะเกษตรศาสตร์

ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ศึกษาวิจัย

การเพาะเล้ียงเน้ือเย่ือและการจำาแนกเพศอินทผลัมไทย (แม่โจ้36) โดยใช้

เครื่องหมายดีเอ็นเอ แห่งแรกในประเทศไทย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัย

จาก โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.)

สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

นายนพรัตน์ อินถา เล่าให้ฟังว่า อินทผลัม (Phoenix

dactylifera L.) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่มีความสำาคัญทางเศรษฐกิจ โดย

นิยมปลูกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย แต่ปัญหาหนึ่งที่พบคือ ต้น

อินทผลัมเพศผู้ และเพศเมียสามารถจำาแนกได้ชัดเจนเมื่อถึงระยะ

ออกดอก ซึ่งใช้เวลานาน 5-8 ปี ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ จึงมีจุดประสงค์

เพื่อพยายามจำาแนกเพศของอินทผลัมในระยะต้นกล้า โดยใช้เทคนิค

เครื่องหมายดีเอ็นเอ ผลการทดลองพบว่า จากการใช้ไพรเมอร์จำา

นวน 18 ชนิด พบว่า มีไพรเมอร์ PH02F-PH03R ให้ผลิตภัณฑ์ พีซี

อาร์ (PCR-product) ขนาดประมาณ 320 คู่เบส เฉพาะในอินทผลัม

เพศผู้เท่านั้น ผลการทดลองบ่งชี้ว่า ไพรเมอร์มีศักยภาพในจำาแนกเพศ

ในอินทผลัมไทย (แม่โจ้36) ดังนั้น จึงนำามาพัฒนาใช้ร่วมกับคู่ไพรเมอร์

PH01 ทำาหน้าที่เป็นตัวควบคุมความถูกต้องของปฏิกิริยาพีซีอาร์ ให้

ผลิตภัณฑ์พีซีอาร์ขนาดประมาณ 430 คู่เบส ในทั้งเพศผู้และเพศเมีย

ทำาให้สามารถจำาแนกเพศอินทผลัมได้ตั้งแต่ในระยะต้นกล้า ตลอดจน

เทคนิคที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ยังสามารถประหยัดเวลา และใช้จ่ายได้

มากกว่าวิธีที่ใช้ในปัจจุบันที่ปลูกโดยไม่ทราบเพศแน่ชัด

มน. สู่ชุมชน | 3

ถ่ายทอดองค์ความรู้“ผักผลไม้แปรรูป”

เพื่อการต่อยอดธุรกิจ

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง ม.นเรศวร จัด

กิจกรรม "เครือข่ายผักผลไม้แปรรูปกลุ่มยุทธศาสตร์ภาคเหนือตอน

ล่าง 1 โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ใน 18 กลุ่มจังหวัด" โดยได้

รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดย่อม (สสว.) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 กรมส่งเสริม

อุตสาหกรรม และศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ช่องทางการตลาด การอบรม

เชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เครื่องหมายการค้าเป็นของท่านแน่หรือ” “การ

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของธุรกิจ” และ “การเขียน

ข้อมูลพื้นฐานทางธุรกิจให้น่าสนใจ” ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกร

ชาวสวน ผู้ประกอบการ SME ด้านผักผลไม้แปรรูป และผู้ที่สนใจ ร่วม

การอบรมกว่า 250 คน ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก

4 | นเรศวรวิชาการ

DNA นเรศวร | 5

"Silk Journey to Art" แสดงงานศิลปะระดับโลก

คว้ารางวัลเหรียญทอง และเหรียญ Awardfor international innovationachievements จาก ประเทศไต้หวัน

ชนะเลิศ การประกวดหนังสั้น จาก UNFPA Thailand

รองศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ พิระสันต์ ภาควิชาศิลปะและ

การออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อม

ด้วย อาจารย์วัฒนโชติ ตุงคะเตชะ และอาจารย์ นุกูล ปัญญาดี ศิลปิน

อิสระ ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแสดงผลงานทางศิลปะ ที่

มหานครปักกิ่ง ประเทศสาธาณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับศิลปินจาก

ประเทศต่างๆ กว่า 50 ประเทศในนิทรรศการศิลปะ World Tour

Exhibition "Silk Journey to Art" ที่ The China Millennium

Monumental Art Museum. Beijing”

นิสิตภาควิชานิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คว้า

รางวัลชนะเลิศการประกวดภาพยนตร์สั้น ในโครงการ 2015 UNFPA

FAIR SHORT FILM COMPETITION ภายใตัหัวข้อ เลือกรัก รู้จัก

SAFE จัดโดยกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA Thailand)

โดยนิสิตได้รับรางวัลชนะเลิศ: หนังสั้นเรื่อง “เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง”

ในชื่อทีม Sak aqua ประกอบด้วย 1. นางสาวารุณี อินธิยา, 2. นาย

คหัฏฐา แก้วป้องปก, 3. นายศักดิ์ชัย ไชยสกุล และ 4. นายอนุพงษ์

ต้ังธนัททรัพย์ นิสิตสาขาวิชาการส่ือสารมวลชน ช้ันปีท่ี 4 โดยมี อาจารย์

ธีรุตม์ สาธิตกุล และ ดร. อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล อาจารย์ประจำา

ภาควิชานิเทศศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ณ TK Park,

Central World กรุงเทพมหานคร

รองศาสตราจารย์ ดร. ไพศาล มุณีสว่าง อาจารย์คณะ

วิศวกรรมศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์

อาจารย์คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลเหรียญทอง

และเหรียญ Award for international innovation achievements

ภายใต้ผลงาน “The program for screening the valvular heart

diseases” จากผลงานประกวดทั้งหมด 980 ผลงาน และผู้เข้าแข่งขัน

13 ประเทศ ในงาน 2015 Taipei International Invention Show

& Technomart ครั้งที่ 11 ณ Taipei World Trade Center

ประเทศไต้หวัน

6 | สืบศิลป์ - สานศิลป์

หนังสือ “พิศ’โลก เมื่อแรกเที่ยว: พัฒนาการการท่องเที่ยว

ในจังหวัดพิษณุโลก” เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัย “การพัฒนารูป

แบบและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อรองรับ

นักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน” โดยผู้ช่วย

ศาสตราจารย์ ดร.บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน

ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำานวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน

มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการสนับสนุนจากสำานักประสานงานการ

วิจัยและพัฒนาเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง สำานักงานกองทุน

สนับสนุนการวิจัย

“ก่อนที่เราจะกำาหนดทิศทางการท่องเที่ยวในอนาคตของ

จังหวัดพิษณุโลก เราได้ทบทวนตัวเองหรือยังว่า ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา

เรามีอะไร ทำาไมเขาจึงมาเที่ยวบ้านเรา ด้วยเหตุนี้จึงได้ศึกษา สำารวจว่า

จังหวัดพิษณุโลกมีอะไรตอบสนองนักท่องเที่ยวนับย้อนไปตั้งแต่อดีต

จนถึงปี พ.ศ.2550”

จากการศึกษาวิจัยพบว่า จังหวัดพิษณุโลกมีวัฒนธรรมโดดเด่น

เป็นอันดับหนึ่ง คือพระพุทธชินราช ดังพระราชนิพนธ์เที่ยวเมือง

พระร่วง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุถึงการเสด็จ

พระราชดำาเนินมาจังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 4

มีนาคม พ.ศ.2540 “...ถ้าพระพุทธชินราชยังอยู่พิษณุโลกตราบใด

เมืองพิษณุโลกยังคงเป็นเมืองที่ควรไปเที่ยวอยู่ตราบนั้น ถึงในเมือง

พิษณุโลกจะไม่มีชิ้นดีอะไรเหลืออยู่เลย ขอให้มีแต่พระพุทธชินราช

เหลืออยู่แล้ว ยังคงจะอวดได้อยู่เสมอว่ามีของควรดูควรชมอย่างยิ่ง

อย่างหนึ่งในเมืองเหนือ หรือจะว่าในเมืองไทยทั้งหมดก็ได้...” ตลอดจน

การบวงสรวงเทพารักษ์ รูปสลักสมมติแทนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ณ พระราชวังจันทน์ และการเสด็จพระราชดำาเนินไปทอดพระเนตรวัด

จุฬามณี

เหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อ ปี พ.ศ.2500 คือจุดเปลี่ยน

สำาคัญของจังหวัดพิษณุโลก เกิดการบูรณะ พัฒนาเมือง มีการตัดถนน

มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนสาย 12 เกิดโรงแรมชั้นหนึ่ง

ภัตตาคาร สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น นำาตก อุทยานแห่งชาติ

ภูหินร่องกล้า มีกล้วยตากที่พัฒนาจากอาหารประจำาบ้านมาเป็นของ

ฝากประจำาจังหวัด รวมถึงหมี่ซั่วอาหารมงคลของคนจีน ผักบุ้งลอยฟ้า

อันลือชื่อ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังนิยมดูการจับปลาสร้อยที่อำาเภอ

บางระกำา ซึ่งนำาส่งขายที่กรุงเทพฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำาคัญเมื่อ 40-

50 ปีก่อน เป็นต้น

ต่อมาได้ก่อเกิดจุดขายใหม่ ๆ มีเส้นทางสายอาหาร เกิด

กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนต่าง ๆ เกิดเทศกาล งานแสดง แสง

สี เสียง เช่น เทศกาลโคมไฟ เทศกาลชิมกาแฟแก่งซอง ล่องแก่งลำานำา

เข็ก งานสมโภชหลวงพ่อพระพุทธชินราช งานไหว้หลวงพ่ออินทร์ กิน

ปลา ชมหมาบางแก้ว ฯลฯ

การได้ย้อนกลับไปทบทวนอดีต ทำาให้เรามองเห็นพัฒนาการ

ด้านรูปแบบและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลก

เข้าใจในจุดยืนและตัวตน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกำาหนดจุดยืนใหม่

เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอาเซียนในฐานะ “สี่แยกอินโดจีน”พรปวีณ์ ทองด้วง

นักประชาสัมพันธ์ สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน

มหาวิทยาลัยนเรศวร

เหลียวหลังมองตัวตนพิษณุโลก เพื่อค้นหาจุดยืนในการพัฒนาการท่องเที่ยวรองรับประชาคมอาเซียน

มน. มอนิเตอร์ | 7

8 | @ มน.

และในวันที่ 17 ตุลาคม 2558 รองศาสตราจารย์ ดร. เสมอ

ถาน้อย ผู้ประสานโครงการสำานักประสานงานการวิจัยและพัฒนาเชิง

พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง สกว. นำาทีมคณะท่องเที่ยว พร้อมสื่อมวลชน

“ล่องแก่ง” กิจกรรมสุดฮิตในช่วงฤดูฝน ที่น่าตื่นเต้นและท้ายทาย

สร้างเสียงเฮฮาได้ตลอดเส้นทางลำานำาเข็ก ณ วนธารารีสอร์ท แอนด์

สปา จังหวัดพิษณุโลก

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 นายวิทูรัช ศรีนาม รองผู้ว่า

ราชการจังหวัดพิษณุโลก ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานแถลงข่าว

และเปิดตัวเส้นทางการท่องเที่ยว “ฤดูที่แตกต่าง บนเส้นทาง Route

12 (Season Change at Route12): Traveling in the rain ผล

งานการศึกษาวิจัยเส้นทางหลวงหมายเลข 12 ในโครงการที่มีชื่อ

ว่า “การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนตาม

เส้นทางถนนหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก)” ซึ่ง

ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

(สกว.) โดย รองศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ พิระสันต์ อาจารย์คณะ

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนั้นภายในงาน

จัดให้มีการแสดงนิทรรศการผลงานวิจัย การประกวดภาพยนต์โฆษณา

โดยมีประชาชนสนใจร่วมงานเป็นจำานวนมาก ณ เซ็นทรัลพลาซ่า

จังหวัดพิษณุโลก

เปิดตัวเส้นทางท่องเที่ยวฤดูที่แตกต่าง ล่องแก่งลํา น้ํา เข็ก

บนถนนมิตรภาพสาย 12

@ มน. | 9

เม่ือวันท่ี 27 ตุลาคม 2558 ศาสตราจารย์ ดร. สุจินต์ จินายน

อธิการบดีมหาวิทยาลัย ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ ดร.

รอยล จิตรดอน ผู้อำานวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรนำาและ

การเกษตร (องค์กรมหาชน) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการและ

วิจัย ร่วมกับสถานวิจัยความเป็นเลิศทางวิชาการด้านทรัพยากรนำา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีการแลกเปลี่ยนองค์

ความรู้ทางวิชาการและทำาวิจัยร่วมกัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและองค์

ความรู้ใหม่ๆ สามารถนำาผลการวิจัยและพัฒนามาใช้ให้เกิดประโยชน์

รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนและกระบวนการเรียนรู้ของนิสิตและ

บุคลากร ณ ห้องประชุมนเรศวร 5 สำานักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัย

นเรศวร

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 นายปริญญา ปานทอง รอง

อธิการบดีฝ่ายจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิด

การแสดงรำาเดี่ยวมาตรฐานทางด้านนาฏศิลป์ไทย นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาค

วิชาการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ โดยเป็นการนำาความรู้ที่ศึกษามา

ประยุกต์ใช้ในการแสดงทักษะ การรำาไทยตามหลักและแบบแผนของ

การแสดงด้านนาฏศิลป์ไทย พร้อมทั้งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิใน

ด้านนาฏศิลป์ไทยมาเป็นคณะกรรมการ การตัดสินให้คะแนนพร้อมคำา

ติชม การจัดการแสดงในครั้งนี้มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิตและผู้

สนใจเข้าชมการแสดงเป็นจำานวนมาก ณ โรงละครเฉลิมพระเกียรติ 72

พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จับมือ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา และการเกษตร

(องค์กรมหาชน) ร่วมพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านทรัพยากรน้ํา

เปิดเวทีการแสดงรํา เดี่ยวมาตรฐาน

ทางด้านนาฏศิลป์ไทย