รายงาน 2557

48
รายงาน เทศกาลภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรูประเทศไทย 2557 www.sciencefilmfestival.org

Upload: science-film-festival

Post on 21-Jul-2016

256 views

Category:

Documents


9 download

DESCRIPTION

เทศกาลภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประเทศไทย 2557

TRANSCRIPT

Page 1: รายงาน 2557

รายงานเทศกาลภาพยนตร์

วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประเทศไทย 2557

www.sciencefilmfestival.org

Page 2: รายงาน 2557

ค�าน�า

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เป็นมหกรรมการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โครงการร่วมมือกับพันธมิตรแต่ละประเทศเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และกระตุ้นความตระหนักรู้ต่อประเด็นต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันผ่านภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ควบคู่ไปกับกิจกรรมการศึกษา งานเทศกาลท�าให้เนื้อหาวิทยาศาสตร์เข้าใจง่าย สนุกสนานส�าหรับผู้ชมในวงกว้างและแสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายทอดได้ทั้ง รูปแบบการศึกษาและความบันเทิง นับจากการจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2548 งานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เติบโตอย่างมากและได้กลายเป็นเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่แพร่หลายและเป็นหนึ่งในเทศกาลภาพยนตร์ที่มีผู้ชมมากที่สุดของโลก

ความร่วมมือระหว่างองค์กรท้องถิ่นและสากลจากภาควิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การศึกษาและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสนับสนุนจากกลุ่มภาพยนตร์และโทรทัศน์นานาชาติท�าให้เกิดโครงสร้างที่ทรงประสิทธิภาพในการเผยแพร่ความเข้าใจวิทยาศาสตร์และเข้าถึงความรู้ นอกจากนี้ เทศกาลภาพยนตร์ยังเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในการผสมผสานหลากหลายวิธิการในโลกวิทยาศาสตร์ ระหว่างงานเทศกาล มีการจัดแสดงภาพยนตร์ฟรีในพิพิธภัณฑ์ โรงเรียน มหาวิทยาลัยและองค์กรการศึกษาอื่นๆ ผ่านความร่วมมือของเหล่าพันธมิตรซึ่งมีเครือข่ายและความสามารถในการจัดแสดง ภาพยนตร์ทุกเรื่องจะได้รับการพากย์เป็นภาษาไทย เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภาษา

งานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์กระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษาสนใจวิทยาศาสตร์และสนับสนุนการเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งจ�าเป็นในการพัฒนาความสามารถของคนรุ่นใหม่ในสังคมความรู้ของโลก

2 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 3: รายงาน 2557

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 3

Page 4: รายงาน 2557

สารบญั

ค�าน�า 2สารบัญ 4ภาพรวมนานาชาติ 6ภาพรวมในแตล่ะประเทศ 9ภาพยนตร์ 16คณะกรรมการคดัเลือก ประเทศไทย 21ภาพยนตร์ทีไ่ด ร้ับรางวัล 24คณะกรรมการนานาชาติ 31กิจกรรม 32โครงการที่เกี่ยวข อ้ง 34การประเมิน 40ติดต่อ 44

4 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 5: รายงาน 2557

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 5

Page 6: รายงาน 2557

ภาพรวมนานาชาติ

ในปีพ.ศ. 2557 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จัดขึ้นในประเทศกัมพูชา อียิปต์ อินโดนีเซียและกลุ่มประเทศคาบสมุทรอาหรับ ลาว จอร์แดน มาเลเซีย เมียนมา ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ ซูดาน ไทยและเวียดนาม ในหัวข้อ เทคโนโลยีในอนาคต (FUTURE TECHNOLOGIES) จัดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม - 14 ธันวาคม 2557 โดยมีก�าหนดการแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

05 10 15 20 25 30 05 10 15 20 25 30 05 10 15 20 25 30

ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม

ประเทศกัมพูชา

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ปาเลสไตน์

ประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศไทย

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ประเทศจอร์แดน

ประเทศมาเลเซีย

กลุ่มประเทศคาบสมุทรอาหรับ

ประเทศอียิปต์

ประเทศซูดาน

ประเทศฟิลิปปินส์

ประเทศเวียดนาม

6 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 7: รายงาน 2557

งานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีผู้ชมกว่า 580 000 คนใน 13 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง เป็นการตอกย�้าสถานะเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกด้านจ�านวนผู้ชมและเป็นที่ยอมรับว่าเป็นโครงการเผยแพร ่การศึกษาวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดของทั้งสองภูมิภาค

รายละเอียดจ�านวนผู้ชมในเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ปีพ.ศ. 2557

ซูดาน 200อียิปต์ 1 880กลุ่มประเทศคาบสมุทรอาหรับ 5 112จอร์แดน 9 701สปป.ลาว 11 886ปาเลสไตน์ 16 200กัมพูชา 19 566เวียดนาม 25 680เมียนมา 26 762มาเลเซีย 42 000อินโดเนเซีย 59 175ฟิลิปปินส์ 103 945ประเทศไทย 257 972

รวม 580 079

งานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ขอขอบคุณผู้ร่วมจัดงาน องค์กรร่วม เจ้าของสถานที่ สปอนเซอร์ อาสาสมัคร นักการศึกษา โรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ช่วยให้การจัดงานส�าเร็จ

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 7

Page 8: รายงาน 2557

8 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 9: รายงาน 2557

ภาพรวมเทศกาลภาพยนตร์วทิยาศาสตร์ในแต่ละประเทศ

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จัดขึ้นในทุกประเทศโดยสถาบันเกอเธ่ซึ่งมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรท้องถิ่น อีกทั้งยังได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ องค์กร โรงเรียน มหาวิทยาลัย กระทรวงและศูนย์วัฒนธรรมในประเทศเจ้าภาพทุกแห่ง โดยมีคณะผู้จัดงานและผู้ร่วมด�าเนินโครงการ เช่น องค์กรเอกชนไม่แสวงหาก�าไร นักการศึกษาและกลุ่มนักศึกษาอาสาสมัครช่วยจัดฉายและท�ากิจกรรมด้วยความกระตือรือร้น

ประเทศกัมพูชา เทศกาลฯ ครั้งที่ 6

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในประเทศกัมพูชาจัดโดยสถาบันเกอเธ่ประเทศไทยและบริษัทเมอเซเดส-เบนซ์ และกลุ่มพัฒนาเยาวชนและสังคมเขมรพัฒนา (KYSD) ส�านักงานยูเนสโกในประเทศกัมพูชา กระทรวงศึกษาธิการ เมต้า เฮ้าส์ หน่วยงาน Mlup Baitong มหาวิทยาลัย Royal University of Agriculture สถาบัน / โรงเรียนอเมริกันอินเตอร์คอน หน่วยงาน Pour Un Sourire D’enfant และโรงเรียน WESTLINE

เทศกาลเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณ กรุงพนมเปญ และจังหวัดกัมปงธม จังหวัดคอมพอต และ จังหวัดกัมปงช�า ในกรุงพนมเปญฉายจัดขึ้นที่หอประชุมมหาวิทยาลัย Royal University of Agriculture, หน่วยงาน Pour Un Sourire D’enfant และโรงเรียน WESTLINE ในสามจังหวัด ภาพยนตร์ฉายในโรงเรียนหน่วยงานด้านการศึกษาและวัด เทศกาลในปีพ.ศ. 2557 มีผู้เข้าชมถึง 19 566 คน และมีกิจกรรมจัดขึ้นทั่วประเทศโดยอาสาสมัครจาก KYSD และคุณครูในโรงเรียนที่ร่วมกับเทศกาล

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 9

Page 10: รายงาน 2557

ประเทศอียิปต์ เทศกาลฯ ครั้งที่ 1

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่ประเทศอียิปต์จัดโดยสถาบันเกอเธ่ อเล็กซานเดรีย ภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจ�าลองของห้องสมุด Alexandrina และการสนับสนุนของบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์เป็นหลัก ในปีแรกของเทศกาลนี้มีผู้เข้าชมถึง 1 880 คนในอียิปต์ การจัดฉายภาพยนตร์และกิจกรรมมีขึ้นระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ณ กรุง อเล็กซานเดรียเช่นเดียวกับในจังหวัด El Behaira และ El Dakah-lia บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น�้าไนล์

ในกรุงอเล็กซานเดรีย เทศกาลจัดขึ้นที่ห้องสมุด Alexandrina และที่สถาบันเกอเธ่ นอกจากนี้ยังมีรถบัสห้องสมุดที่ไปเยี่ยมโรงเรียน สมาคม สถานเลี้ยงเด็กก�าพร้า รวมทั้งห้องสมุดประชาชนในหลายๆ ที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น�้าไนล์ เพื่อเป็นการน�าเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เดินทางไปหาเด็กๆ โดยตรง

กลุ่มประเทศคาบสมุทรอาหรับเทศกาลฯ ครั้งที่ 2

โดยความร่วมมือกับโครงการเมืองเด็ก เทศกาล SciFest แห่งดูไบ และหน่วยงานด้านสื่อและวัฒนธรรมฟูไจราห์สื่อและบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลัก สถาบันเกอเธ่ภูมิภาคคาบสมุทรอาหรับ ได้จัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ขึ้นเป็นครั้งที่สอง

เทศกาลได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ณ กรุงดูไบที่โครงการเมืองเด็กและในเมืองฟูไจราห์ ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฟูไจราห์ กิจกรรมฉายภาพยนตร์จัดขึ้นควบคู่ไปกับกิจกรรมการทดลอง กิจกรรมที่เด็กๆ ได้มีส่วนรวม และเกมที่อธิบายความรู้วิทยาศาสตร์ นอกจากนี้เทศกาลยังได้เชิญพิธีกรรายการโทรทัศน์เด็กสัญชาติเดนมาร์ก Kåreและ Emil จากรายการไซแอนส์เนิร์ดเพื่อมาท�าการทดลองในทางวิทยาศาสตร์ ที่น่าตื่นเต้น นอกจากนี้ยังมีการสาธิตหุ่นยนต์โดยดร. แฟรงก์ ดิทมันน์ ของพิพิธภัณฑ์เยอรมัน ณ กรุงมิวนิค (พิพิธภัณฑ์เยอรมัน – พิพิธภัณฑ์เอกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และ บริษัท ดูไบ Edutech ผู้เข้าชมได้ประจักษ์ว่าหุ่นยนต์สามารถท�าอะไรได้บ้างในชีวิตประจ�าวัน

เป็นครั้งแรกที่สถาบันเกอเธ่ได้จัดวันวิทยาศาสตร์ขึ้น ณ กรุงโดฮาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือจากโรงเรียนนานาชาติเยอรมัน ภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือกถูกคัดกรองและมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ส�าหรับนักเรียนโรงเรียน Pasch ในกรุงโดฮา เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีผู้ชมทั้งหมดถึง 5 112 ในสหรัฐอาหรับเอมิเตส์ และ 100 คนในกาตาร์

ประเทศอินโดนีเซียเทศกาลฯ ครั้งที่ 5

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ประจ�าประเทศอินโดนีเซียจัดขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ ประจ�าประเทศอินโดนีเซีย โดยความร่วมมือกับบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ โรงเรียนฮีโล (HiLo) สถานทูตแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน ณ กรุงจาการ์ตา สถาบันฝรั่งเศส ประจ�าประเทศอินโดนีเซีย บริษัทศานติกา อินโดนีเซีย มหาวิทยาลัยพารามาดินา ควาร์ค (Kuark) มหาวิทยาลัยคริสเตน สัตยา วาคานา (Universitas Kristen Satya Wakana) ในฐานะผู้สนับสนุนเทศกาลอย่างเป็นทางการ โดยในพิธีเปิดของเทศกาลนายแอนีส บาสเวดาน (Anies Baswedan) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการอินโดนีเซียได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ประจ�าประเทศอินโดนีเซียจัดมีผู้เข้าชมถึง 59 175 คนจากทั่วประเทศอินโดนีเซียและจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 พฤศจิกายน - 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ใน 37 เมืองทั่วประเทศอินโดนีเซียร่วมกับศูนย์จัดฉาย 29 แห่ง การจัดฉายภาพยนตร์และการจัดกิจกรรมการทดลองด�าเนินการโดยอาสาสมัครจาก มหาวิทยาลัย Paramadina

ประเทศจอร์แดน เทศกาลฯ ครั้งที่ 2

เพื่อเข้าถึงเด็กหลากหลายกลุ่มทั่วประเทศจอร์แดน สถาบันเกอเธ่ ประเทศจอร์แดนตัดสินใจจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ปี 2557 ขึ้นโดยร่วมมือกับสามสถาบันพันธมิตรได้แก่ พิพิธภัณฑ์เด็กแห่งจอร์แดน มูลนิธิอับดุล ฮามีด โชมาน กองทุนจอร์แดเนียน ฮัซไมต์ เพื่อการพัฒนามนุษย์ และหน่วยงานสนับสนุนด้านสื่ออย่างเป็นทางการคือ Ro’Ya TV ซึ่งได้เผยแพร่ออกอากาศรายงานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเทศกาลในรายการโทรทัศน์ ส�าหรับ

10 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 11: รายงาน 2557

ครอบครัวที่ได้รับความนิยม “Dunya ya Dunya” เทศกาลยังได้รับการสนับสนุนหลักจากบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ปี 2557 ในประเทศจอร์แดนมียอดผู้เข้าชมทั้งสิ้น 9 701 คน

แขกคนส�าคัญที่ได้รับเชิญมาที่พิธีเปิดงานคือ “โยอาคิม เฮคเคอร์” จากประเทศเยอรมนี เขามีชื่อเสียงอย่างมากจากโชว์วิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น กิจกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นที่สถาบันร่วมจัดระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม - 30 ตุลาคม พ.ศ.2557 ภาพยนตร์ทั้ง 17 เรื่องที่ได้รับการจัดฉายควบคู่กับกิจกรรมการทดลองที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ภาพยนตร์ สถาบันเกอเธ่ยังให้ความส�าคัญกับกิจกรรมวันครอบครัว ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษส�าหรับครอบครัวที่สวนสาธารณะในวันที่ 17 ตุลาคม และมีครอบครัวชาวจอร์แดนให้ความสนใจเข้าร่วมอย่างมาก

นอกจากนี้สถาบันเกอเธ่ จอร์แดนยังประสบความส�าเร็จในการเดินทางไปเยี่ยมค่ายผู้อพยพจอร์แดนโดยใช้รถบัสยูเรก้าในการเดินทางซึ่งจัดขึ้นร่วมกับกองทุนจอร์แดเนียน ฮัซไมต์ เพื่อการพัฒนามนุษย์ และองค์กร CARE นอกจากนี้เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยังเดินทางมาถึงกลุ่มเด็กผู้ลี้ภัยชาว ซีเรียซึ่งตื่นเต้นกับกิจกรรมมาก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เทศกาลฯ ครั้งที่ 3

โดยความร่วมมือกับสถาบัน GIZ DOKLAO สถาบันวิจัยเพื่อการศึกษาและวิทยาศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ส�านักงานเพื่อความร่วมมือและการพัฒนา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (the Swiss Agency for Cooperation and Development : SDC) กองภาพยนตร์และกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทยได้จัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ปี 2557 ขึ้นที่ประเทศลาว กิจกรรมในปีนี้มุ่งเน้นไปยังพื้นที่ชนบทห่างไกล เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสได้เข้าถึงและได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีผู้เข้าชมทั้งหมด 11 886 คนและได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคมที่ผ่านมา

พิธีเปิดจัดขึ้นในเวียงจันทน์ ที่กรมภาพยนตร์ และจากนั้นจะไปจัดที่ Attapeu Sekong Luang Namtha และ Bokeo ในจังหวัดเหล่านี้ มีการจัดเทศกาลตามโรงเรียนในท้องถิ่นเป็นเวลา 5 วัน

กิจกรรมต่างๆ จะจัดในโรงเรียนเช่นกัน สถาบันวิจัยเพื่อการศึกษาและวิทยาศาสตร์และกรมภาพยนตร์ เป็นผู้รับผิดชอบคัดเลือกโรงเรียนที่ใช้เป็นสถานที่จัดเทศกาลและขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดต่างๆ ศูนย์ DOKLAO และกรมภาพยนตร์ได้คัดเลือกภาพยนตร์ 10 เรื่อง แปลและบันทึกเสียงเป็นภาษาลาว โดยศูนย์ DOKLAO ได้ฝึกอาสาสมัคร 6 คน เพื่อช่วยบริหารงานและจัดกิจกรรมในแต่ละจังหวัด อาสาสมัครทั้งหมดถูกคัดเลือกจากผู้สมัครจ�านวนมาก

ประเทศมาเลเซีย เทศกาลฯ ครั้งที่ 4

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ปี 2557 ในประเทศมาเลเซียจัดขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ มาเลเซียในความร่วมมือบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์, ซีเมนส์, สมาคมธรรมชาติมาเลเซีย, กระทรวงศึกษาธิการ, สถาบันเยอรมัน-มาเลเซีย, ปิโตรแซงค์ (Petrosains), สมาคมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ MAP Publika Solaris.

เทศกาลได้เริ่มขึ้นอย่างป็นทางการตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม ที่โรงภาพยนต์จอทองค�า (Golden Screen Cinema) ของหอแสดงสินค้ากัวลาลัมเปอร์โดยมีการฉายภาพยนตร์ในเทศกาล การแถลงข่าว และการสาธิตความรู้ด้านเทคโนโลยีจากหน่วยงานร่วมจัดกิจกรรม ภายใต้แนวคิดของการจัดเทศกาลภพยนตร์วิทยาศาสตร์มีการจัดกิจกรรมค่ายการคิดอย่างมีวิจารณญานขึ้นเพื่อนักเรียนในช่วงเทศกาลตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม - 16 พฤศจิกายน มีการจัดฉายภาพยนตร์กว่า 700 รอบทั้งในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ โดยความร่วมมือและความพยายามของหน่วยงานร่วมจัดเทศกาลที่ประเทศมาเลเซียมียอดผู้เข้าร่วมเทศกาลถึง 42 000 คน

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 11

Page 12: รายงาน 2557

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เทศกาลฯ ครั้งที่ 3

นับเป็นครั้งที่สามของการจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่ประเทศเมียนมาโดยสถาบันเกอเธ่ ประเทศเมียนมาซึ่งร่วมมือกับ บริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์, กระทรวงศึกษาธิการ, กลุ่ม Karuna Myanmar Social Services (KMSS) และ หน่วยงานYMCA ประเทศเมียนมาระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน - 19 ธันวาคม พ.ศ.2557 และพิธีเปิดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ UMFCCI ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 350 คน

การจัดฉายภาพยนตร์ในเทศกาลจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน - 19 ธันวาคมในสี่เมือง (ย่างกุ้ง, มัณฑะเล, พะโค และอิระวดี) รวมถึงในอีกสามรัฐที่แตกต่างกัน (มอญ กะเหรี่ยง และฉาน) ซึ่งรวมแล้วมียอดผู้เข้าชม 26 762 คน การจัดฉายเน้นไปที่เด็กๆ ในโรงเรียนวัด สถานเลี้ยงเด็กก�าพร้า, ศูนย์พัฒนาเยาวชน และโรงเรียนรัฐบาล กิจกรรมการจัดฉายและการทดลองด�าเนินการโดยอาสาสมัครทั้งหมด 18 คน

ปาเลสไตน์ เทศกาลฯ ครั้งที่ 2

ในปาเลสไตน์ เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีผู้เข้าชมถึง 16 200 คนในปี 2557 ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือกันระหว่างสถาบันเกอเธ่ ปาเลสไตน์, มูลนิธิ AM Qattan, สถาบันฝรั่งเศส, สถานกงสุลใหญ่ของฝรั่งเศสในกรุงเยรูซาเล็ม, มูลนิธิ Al Nayzak พิพิธภัณฑ์ปาเลสไตน์, -สมาคมสวัสดิการ และสมาคมมหาวิทยาลัย Birzeit นอกจากนี้ยังได้ด�าเนินการร่วมกับสหภาพยุโรป, คณะกรรมาธิการ EUNIC เขตปาเลสไตน์, กระทรวงศึกษาธิการและการศึกษาขั้นสูง, หน่วยงานบรรเทาทุกข์แห่งชาติ และหน่วยงานจัดหางานส�าหรับ ผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ เทศกาลได้รับการสนับสนุนโดยเมอร์เซเดส-เบนซ์ในฐานะผู้สนับสนุนหลักนานาชาติ อีกด้วย

นับเป็นปีที่สองของเทศกาลที่ได้รับเป็นเจ้าภาพการจัด “วันวิทยาศาสตร์ปาเลสไตน์ 2557” การฉายภาพยนตร์และกิจกรรมการทดลองจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 โดยสถาบันการศึกษาและวัฒนธรรมต่างๆ ได้แก่ ศูนย์ครู Ni’lin, บ้านวิทยาศาสตร์ Al Nayzak, สวนพฤกษศาสตร์ Al Qaiqab เมือง Ramallah, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ

ปาเลสไตน์เมืองเบธเลเฮม, ศูนย์เด็กเมืองเยริโค, ศูนย์เกาหลี-ปาเลสไตน์ในเฮโบรน, โรงละครแห่งชาติ Dar Al Tifil Al Arabi ในกรุงเยรูซาเล็ม, สวนสัตว์ Qalqilia และโรงภาพยนตร์เจนิน, ศูนย์ Qattan ส�าหรับเด็กในฉนวนกาซา และในอีก 46 สถานที่ และใน 20 เมืองของปาเลสไตน์ ทั้งในเมืองและหมู่บ้าน พิธีเปิดอย่างเป็นทางการของงานเทศกาลจัดขึ้นที่ Ramallah ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557

ประเทศฟิลิปปินส์ เทศกาลฯ ครั้งที่ 5

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ปี 2557 ที่ประเทศฟิลิปปินส์จัดโดยสถาบันเกอเธ่ ฟิลิปปินส์ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (DOST) และกรมสามัญศึกษา (DepEd) พิธีเปิดเทศกาลจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่พิพิธภัณฑ์มายด์ และได้จัดฉายภาพยนตร์ทั่วหมู่เกาะ โดยเน้นที่กรุงมะนิลาเป็นหลัก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของหน่วยงานร่วมจัด และศูนย์จัดฉายส่วนใหญ่ การจัดฉายจัดขึ้นที่สถานที่ของหน่วยงานร่วมจัด รวมถึงสถานที่ของหน่วยงานในเครือข่ายโรงเรียน มหาวิทยาลัยและส�านักงานสาขาต่างๆ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (DOST) จัดฉายภาพยนตร์ในทั่วทุกส�านักงานของหน่วยงานทั่วประเทศ นอกจากฉายภาพยนตร์ที่ส�านักงานของพวกเขาทั่วประเทศและกรมสามัญศึกษา (DepEd)เป็นผู้รับผิดชอบการกระจายภาพยนตร์ที่ให้กับโรงเรียนทั้งในและนอก ศูนย์กลางของประเทศ ระยะเวลาการจัดงานเทศกาลในประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และมีผู้ร่วมเทศกาลทั้งหมด 95 320 คน

สถาบันพันธมิตรที่เกี่ยวข้องได้แก่ มูลนิธิAblan, ศูนย์อาเซียนเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ, Cornerstone, มูลนิธิFelta Foundation Inc., สภาการพัฒนาภาพยนตร์ของฟิลิปปินส์ (FDCP), มะนิลา Ocean Park, พิพิธภัณฑ์Museo Pambata, หอสมุดแห่งชาติฟิลิปปินส์, ศูนย์วิทยาศาสตร์ฟิลิปปินส์ และศูนย์วิทยาศาสตร์เกซอนซิตี้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเอกชน โรงเรียน และองค์กรนักศึกษายังได้มีส่วนร่วมในงานครั้งนี้อีกด้วยเช่น - มหาวิทยาลัยซาเวียร์ ใน Cagayan de Oro, โรงเรียนเยอรมัน-ยุโรป กรุงมะนิลา และมหาวิทยาลัย Leyte Normal University น�าเทศกาลไปที่เมือง Tacloban ซึ่งถูกไต้ฝุ่นท�าลาย ในหมู่เกาะ วิซายา องค์กรนักศึกษาได้มีส่วนร่วมเช่นเดียวกัน เช่น มหาวิทยาลัย the Philippines Deutscher Verein และกลุ่มสมาคมส�าหรับเด็กและเยาวชนฟิลิปปินส์ช่วยอ�านวยความสะดวกและจัดเตรียมการทดลองและเกมในหลายศูนย์จัดฉาย

12 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 13: รายงาน 2557

ประเทศซูดาน เทศกาลฯ ครั้งที่ 1

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในซูดานครั้งที่หนึ่งมีผู้เข้าชมทั้งหมดราว 200 คนจากโรงเรียนเอกชนหลายแห่งและศูนย์เยาวชน Al Sajjanah ที่เมือง Khartoum เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ซูดานจัดโดยสถาบันเกอเธ่ ประเทศซูดานร่วมมือกับโรงเรียนในซูดานและการสนับสนุนของ บริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ในฐานะผู้สนับสนุนหลัก เทศกาลจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน - 14 ธันวาคม 2557 ที่โรงเรียน Unity School, ศูนย์ Malak อาสาสมัครและครูจากองค์กรร่วมจัดคือผู้ด�าเนินการจัดฉายภาพยนตร์และกิจกรรม ร่วมกับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สถาบันเกอเธ่

ส�าหรับการเตรียมความพร้อมในการจัดงาน กลุ่มครูได้เข้าร่วมฝึกอบรมในการประชุมเชิงปฏิบัติการการเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการใช้ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์และวิธีการให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เช่นดาราศาสตร์, สิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต ไปจนถึงการเล่านิทาน

ประเทศเวียดนาม เทศกาลฯ ครั้งที่ 4

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จัดโดยสถาบันเกอเธ่ ประเทศเวียดนามขึ้นเป็นครั้งที่สี่แล้วระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม - 15 ธันวาคม 2557 โดยได้จัดฉายภาพยนตร์20 เรื่องจากเก้าประเทศที่แตกต่างกัน สถาบันเกอเธ่ร่วมมือกับเอ็นจีโอ A&C (Center for Research Support and Development of Culture) มี เครือข่ายของอาสาสมัครทั่วประเทศ ในฐานะหน่วยงานร่วมจัดที่ส�าคัญของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ เทศกาลได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม, กีฬาและการท่องเที่ยวและบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศเวียดนาม

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในเวียดนามได้รับการกล่าวถึงในหนังสือพิมพ์ใหญ่และนิตยสารบางฉบับในกรุงฮานอยและเมืองอื่นๆ และโดยพันธมิตรด้านสื่อหลายกลุ่ม รวมถึงสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ VTV และ ANTV, TTXVN, HTV, VTC10, VOV

โดยความร่วมมือกับเอ็นจีโอ A&C (Center for Research Sup-port and Development of Culture)เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จัด ขึ้นใน 9 เมืองส�าคัญทั่วประเทศเวียดนามได้แก่ฮานอย, หวิญฟุก, ไฮฟอง, ดานัง, กวางนัม, ฮอยอัน, ด่งทัป, ดักลัก, โฮจิมินห์ซิตี้ โดยมียอดผู้เข้าชมทั่วประเทศ 25 680 คน

ประเทศไทย เทศกาลฯ ครั้งที่ 10

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ประจ�าประเทศไทยมีผู้เข้าชมจ�านวน 257 972 คน ซึ่งเทศกาลจัดขึ้นโดยสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยในปีนี้เป็นโอกาสพิเศษที่เราจะได้เฉลิมฉลองโอกาสครบรอบเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ประจ�าประเทศไทยครั้งที่ 10 โดยเทศกาลเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ประเทศไทยในปีพ.ศ. 2548 ในปีที่ผ่านมานับเป็นอีกหนึ่งก้าวส�าคัญที่บริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้เข้าร่วมเทศกาลในฐานะผู้สนับสนุนหลักนานาชาติ

คณะกรรมการประจ�าประเทศไทยได้ร่วมกันคัดเลือกภาพยนตร์เพื่อฉายในประเทศทั้งหมด 26 เรื่อง โดยในปีนี้จัดฉายระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน – 14 ธันวาคม 2557 ที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา ศูนย์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการนานมีบุ๊กส์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. อุทยานการเรียนรู้ TK Park อุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจ�าลองกรุงเทพ รวมทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 18 แห่งทั่วภูมิภาคในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทศกาล เช่นการประชุมเชิงปฏิบัติการ Genius โดยร่วมกับบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ประเทศไทย ซึ่งเด็กๆ ได้มีความโอกาสในการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการฉายภาพยนตร์กลางแจ้งแบบเรื่อง “Björk’s Biophilia Live” บริเวณหน้าหอศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งดึงดูดผู้สนใจหลายร้อยคนมาเข้าร่วม

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 13

Page 14: รายงาน 2557

จ�านวนผู้เข้าชมในประเทศไทย 257 972

รวมศูนย์เกอเธ่ 34 613องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)คลองห้า 5 832จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. จามจุริสแควร์ 589คาราวานวิทยาศาสตร์ จ.ยโสธร 3 012คาราวานวิทยาศาสตร์ จ.ขอนแก่น 1 152คาราวานวิทยาศาสตร์ จ.สกลนคร 3 620คาราวานวิทยาศาสตร์ จ.นครสวรรค์ 672โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) 2 397สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย คลองหลวง 5 450อุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช 4 937นานมีบุ๊คส์ เลิร์นนิงเซ็นเตอร์ สุขุมวิท 31 839อุทยานการเรียนรู้ TK park 1 002มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2 000คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3 102

รวมศูนย์วิทยาศาสตร์ 223 359ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี 10 296ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาล�าปาง 14 864ศูนย์วิทยาศาตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด 12 639ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษากาญจนบุรี 36 249ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษายะลา 16 982ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว 7 722ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาตรัง 23 037ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช 8 095ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครสวรรค์ 17 251 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสมุทรสาคร 3 203ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครราชสีมา 10 310ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาขอนแก่น 9 889ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา 14 188อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบฯ 10 257ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต 8 439ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจ�าลอง 9 406ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครพนม 8 322ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพิษณุโลก 614ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส 1 596

14 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 15: รายงาน 2557

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 15

Page 16: รายงาน 2557

ภาพยนตร์

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์น�าเสนอภาพยนตร์หลากหลายในสี่สาขา ภาพยนตร์สาระบันเทิง ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ทั่วไป การแพทย์และเทคโนโลยี ภาพยนตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาพยนตร์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เพื่อตอบสนองคนทุกวัย โดยให้ความส�าคัญต่อเด็กและเยาวชนเป็นพิเศษ

ปีพ.ศ. 2557 เทศกาลฯ ได้รับภาพยนตร์กว่า 277 เรื่องจาก 50 ประเทศ ซึ่งมีภาพยนตร์เข้ารอบ 71 เรื่องจาก 27 ประเทศ เป็นภาพยนตร์คัดสรรเพื่อน�าไปฉายในแต่ละประเทศ โดยมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญวิทยาศาสตร์เป็นผู้คัดเลือกภาพยนตร์ส�าหรับแต่ละประเทศ ภาพยนตร์ทุกเรื่องจะได้รับการแปลและพากย์เสียงเป็นภาษาท้องถิ่นเพื่อให้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภาษา

ภาพยนตร์ 26 เรื่องจาก 13 ประเทศที่ได้รับการคัดเลือกให้จัดฉายในประเทศไทย ข้อมูลเพิ่มเติม ดูที่เว็บไซต์เทศกาลฯ

www.sciencefilmfestival.org

ภาพยนตร์สาระบันเทิง

รายการ แอนน์ดรอยด์ - นักวิทยาศาสตร์น้อยกับหุ่นยนต์อัจฉริยะ

รายการ “ดอกหญ้าฟันสิงโต” ตอน อาวุธทะลวงเมฆสลายลูกเห็บ

รายการ “โลกแห่งอนาคต” ตอน อากาศยานไร้คนขับ - วีรบุรุษหรือจารชน

เด็กรุ่นใหม่ใส่ใจพลังงาน

รายการ ฮอคอาย ตอน หุ่นยนต์

รายการ “ไอกอทอิท!” ตอน โลมา

16 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 17: รายงาน 2557

รายการ “ไอกอทอิท!” ตอน ผึ้งโพรง

รายการ “ไอกอทอิท!” ตอน ทะเลไร้ปลา

มายาผึ้งน้อยเต้นร�า

รายการ “เก้านาทีครึ่ง” ตอน ชีวิตไร้พลาสติก

รายการ “เก้านาทีครึ่ง” ตอน พลาสติกชีวภาพ

ไซเอินซ์เนิร์ด ที่จอร์แดน - ทะเลทรายและทะเลเดดซี

ไปส�ารวจพลังงานกันเถอะ

รายการ “เม้าส์ทีวี” ตอน อนาคตในฝันของหนู

รายการ “เม้าส์ทีวี” ตอน หลอดแอลอีดี แสงสว่างแห่งอนาคต

ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ทั่วไป การแพทย์และเทคโนโลยี

กราฟีนวัสดุรังสรรค์โลกอนาคต

ความลับเสียงร้องของมนุษย์

มักซ์พลั้งค์ซีเนม่า ตอน ส่องโลกนาโน และหน่วยพันธุกรรมขับเคลื่อนโลก

พลังงานผลิตภัณฑ์เคมีจากพืช

สารคดีปฏิวัติหุ่นยนต์ ตอน หุ่นยนต์อัศวินกู้โลก

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

สู่ฝันงานวิจัย เที่ยวบินไร้แรงโน้มถ่วง

ตรรกะหรรษา

มังสาหารจากหลอดแก้วแด่ผู้หิวโหย

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 17

Page 18: รายงาน 2557

ภาพยนตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ไมโครไฮโดร - พลังน�้าเพื่อแสงสว่าง

สารคดีสัตว์โลก ตอน มดตัดใบไม้

ประเทศออสเตรเลีย

ประเทศแคนาดา

ประเทศเดนมาร์ก

ประเทศฝรั่งเศส

ประเทศเยอรมัน

ประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศญี่ปุ่น

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ประเทศฟิลิปปินส์

ประเทศสเปน

ประเทศไทย

ประเทศอังกฤษ

Page 19: รายงาน 2557

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 19

Page 20: รายงาน 2557

20 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 21: รายงาน 2557

คณะกรรมการคดัเลอืก ประเทศไทย

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสคร์มุ่งมั่นที่จะเป็นงานมหกรรมนานาชาติที่มีประสิทธิภาพ และเป็นโครงการระดับชาติแถวหน้าในแต่ละประเทศ ในการคัดเลือกรายการได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรพันธมิตรในแต่ละประเทศ ซึ่งมีความเข้าใจลึกซึ้งต่อกลุ่มเป้าหมาย ภาพยนตร์ส�าหรับประเทศไทยได้รับการคัดเลือกโดย

อานุภาพ สกุลงามองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

ส�าเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์ คณะ

เกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ท�างานเป็นผู้สื่อข่าวและผู้เขียนบทที่บริษัทแปซิฟิคอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่นจากัดกว่า 8 ปีเป็นนักวิชาการที่กลุ่มงานวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ปัจจุบันพัฒนาเนื้อหาสื่อและเขียนบทนิทรรศการวิทยาศาสตร์ในตาแหน่งนักวิชาการ 5

ยุทธนันต์ หาญณรงค์สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ส�าเร็จการศึกษามหาบัณฑิต (กศม.) เทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสานมิตร ปัจจุบันด�ารงต�าแหน่งผู้ช�านาญสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีประสบการณ์การท�างานผลิตและเป็นวิทยากรอบรมการสร้างสื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนการสอนมากว่า 20 ปี รวมถึงเคยร่วมกับทีมงานผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ผลิตสารคดีให้กับสถานีโทรทัศน์ NHK

ปาริฉัตร ปานทองส�านักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

ส�าเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านเทคโนโลยีทางทะเล จากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ปัจจุบันด�ารงต�าแหน่งนัก

วิชาการศูนย์วิทยาศาสตร์ 360องศา Phanomenta บริษัทนานมีบุ๊คส์ จากัด

พุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญูหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ส�าเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมี

ประสบการณ์เป็นอาจารย์สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบัน เป็นนักวิชาการภาพยนตร์ งานจัดรายการ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ท�าหน้าที่จัดโปรแกรมฉายภาพยนตร์ และรายการกิจกรรมต่างๆ ของหอภาพยนตร์

จุมพล เหมะคีรินทร์ส�านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ส�าเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เคมี) มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตบางแสน (มหาวิทยาลัยบูรพา) อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารอัพเดท บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ากัด (มหาชน) ปัจจุบันท�างานในต�าแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ส�านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 21

Page 22: รายงาน 2557

ณรงค์พันธ์ ฉุนรัมย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ณรงค์พันธ์ ฉุนรัมย์ ได้รับทุนรัฐบาลในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท)จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) ให้ศึกษาในระดับปริญญาตรี โท เอก และวิจัยหลังปริญญาเอก ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นที่ปรึกษาด้านพลังงานและ สิ่งแวดล้อมให้หน่วย งานภาครัฐและเอกชน

ยุทธินัย ยั่งเจริญอุทยานการเรียนรู้ TK park

ส�าเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทจาก คณะ

จิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านภาพยนตร์ต่อเนื่องมากว่า 5 ปี และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดฉายภาพยนตร์และคัดเลือกแคตาล็อกภาพยนตร์ที่น่าสนใจ เพื่อให้บริการภายในห้องสมุดของอุทยานการเรียนรู้ TK park

22 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 23: รายงาน 2557

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 23

Page 24: รายงาน 2557

ภาพยนตร์ทีไ่ด้รบัรางวลัเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้แบ่งประเภทภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลไว้ทั้งหมด 6 ประเภท ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินานาชาติ ผู้ชนะเลิศการประกวดภาพยนตร์จะได้รับรางวัลเงินสดจ�านวน 1 000 ยูโร ส�าหรับผู้ชนะเลิศรางวัลพิเศษจากคณะกรรมการจะได้รับรางวัลเงินสดจ�านวน 3 000 ยูโร

รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

ยีนส์ – ยุ่งเหยิงอย่างเป็นระเบียบ

ภาพยนตร์เรื่องนี้น�าหลากหลายวิธีการน�าเสนอผ่านภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้ ผู้ชมเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ของดีเอ็นเอและยีน ที่น่าทึ่งที่สุดคือวิธีการที่ผู้ผลิตได้น�าเสนอภาพอย่างละเอียดตั้งแต่ระดับโมเลกุลไปจนถึงกลุ่มประชากร ซึ่งเป็นภาพที่ผ่านการคิดอย่างถี่ถ้วน ชาญฉลาดและเหมาะสม และไม่มีการน�าเสนอข้อมูลด้วยการอธิบายตรงๆ ผ่านพิธีกรในภาพยนตร์ขนาดสั้นซึ่ง ยอดเยี่ยมอย่างมากนี้เลย

ผู้ก�ากับ: Cameron Duguid ผู้ผลิต: Cameron Duguid, Scottish Documentary Instituteประเทศ: สหราชอาณาจักร/สก็อตแลนด์ปีที่ผลิต: พ.ศ. 2556ความยาว: 9 นาที

24 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 25: รายงาน 2557

รางวัลภาพยนตร์เพื่อการศึกษา สสวท.

รายการแอนน์ดรอยด์ – นักวิทยาศาสตร์น้อยกับหุ่นยนต์อัจฉริยะ

นับเป็นรายการโทรทัศน์ส�าหรับเด็กที่ฉีกรูปแบบแจกรายการอื่นๆออกมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งน�าเสนอความรู้และแบบแผนได้อย่างยอดเยี่ยมและยังมีตัว เอกของเรื่องเป็นผู้หญิง “แอนน์” นักประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเพื่อนๆ ของเธอช่วยกันตั้งสมมติฐาน สร้าง ทดสอบและแก้ไขผลงานของพวกเขาด้วยตัวเองโดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ ภาพยนตร์เรื่องนี้เน้นกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์มากกว่ากว่าข้อเท็จจริง เพียงอย่างเดียว วรรคทองของเรื่องอย่างเช่น “เราไม่ได้ล้มเหลว เราพบว่าวิธีการท�ามันผิดอีก” ซึ่งท�าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เหมาะส�าหรับการเป็นภาพยนตร์ส�าหรับคน รุ่น STEM อย่างเหมาะเจาะลงตัวที่สุด!

ผู้ก�ากับ: J.J. Johnsonผู้ผลิต: Blair Powers, J.J. Johnson, Christin Simms, & Matthew J.R. Bishopประเทศ: แคนาดาปีที่ผลิต: พ.ศ. 2556ความยาว: 23 นาที

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 25

Page 26: รายงาน 2557

รางวัลภาพยนตร์สิ่งแวดล้อม

รายการ “เก้านาทีครึ่ง” ตอน พลาสติกชีวภาพ

พลาสติกชีวภาพ – พลาสติกชนิดนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลาสติก ’ปกติ’ หรือไม่ รายการ ”เก้านาทีครึ่ง”ตอนนี้น�าเสนอเรื่องราวที่ตรงไปตรงมา ละเอียดครบถ้วนทั้งในแง่ของคุณสมบัติของวัสดุใหม่นี้และความท้าทายในการรีไซเคิลวัสดุนี้ พิธีกรจะพาผู้ชมไปเรียนรู้ค้นพบข้อมูลข้อเท็จจริงที่ลึกซึ้ง และสอนให้คนรุ่นใหม่ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ก่อนจะตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบเวลาที่พวกเขาซื้อสินค้าในร้านค้า นี่คือตัวอย่างที่ดีของรายการที่ประสบความส�าเร็จในการสื่อสารด้านความตระหนักทางสิ่งแวดล้อม

ชื่อเดิม: neuneinhalb: Bioplastik ผู้ก�ากับ: Nina Lindlahrผู้ผลิต: tvision gmbh im Auftrag des WDRประเทศ: เยอรมนี ปีที่ผลิต: พ.ศ. 2556ความยาว: 10 นาที

26 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 27: รายงาน 2557

รางวัลภาพยนตร์ซีเมนส์เพื่อการค้นพบ

สารคดีสัตว์โลก ตอน มดตัดใบไม้

ความหลงใหลมักน�าไปสู่การค้นพบใหม่ๆ เสมอ เช่นเดียวกันกับผลงานภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการท�างานอันเยี่ยม ยอดของเหล่ามดตัดใบไม้ ภาพยนตร์น�าเสนอเรื่องราวความรู้ทางชีววิทยาที่เข้าใจได้ง่ายผ่านรูปแบบ สารคดีที่น่าตื่นตะลึงซึ่งผสมผสานการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์และคุณภาพของภาพ ที่คมชัด มดที่น่าชื่นชมนี้สะท้อนภาพว่าชุมชนควรจะจัดการเรื่องต่างๆ อย่างไร ทุกคนควรจะแบ่งบทบาทกันยังไง และการทุ่มเทกับงานจะช่วยให้ประสบความส�าเร็จได้อย่างไร

ผู้ก�ากับ: Ichiro Yamamotoผู้ผลิต: NHK in Association with NHK ENTERPRISES in cooperation with Off the Fenceประเทศ: ญี่ปุ่นปีที่ผลิต: พ.ศ. 2556ความยาว: 50 นาที

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 27

Page 28: รายงาน 2557

รางวัลภาพยนตร์เมอร์เซเดส-เบนซ์

รายการ “เม้าส์ทีวี” ตอนรางรถไฟพลังแม่เหล็ก

แม้จะผ่านมากว่า 40 ปีแล้ว รายการ”เม้าส์ ทีวี” ยังคงผลิตรายการโทรทัศน์วิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเพื่อผู้ชมทุกเพศทุกวัยอย่างสม�่าเสมอ กระบวนการที่ซับซ้อน หลักการทางวิทยาศาสตร์ และการท�างานของระบบด้านเทคนิคน�าเสนออย่างให้เข้าใจง่ายและรายการยังอธิบาย หัวข้อเหล่านี้ผ่านรูปแบบการน�าเสนอที่ชัดเจนสวยงามและลื่นไหล แม้แต่เรื่องเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนอย่างเช่นรางรถไฟพลังแม่เหล็กในรายการ ตอนที่ได้รับรางวัลนี้ด้วยเช่นกัน นับเป็นรายการความรู้ที่เข้าถึงผู้ชมทุกกลุ่มได้ครอบคลุมมากที่สุด

ผู้ก�ากับ: Armin Maiwaldผู้ผลิต: Armin Maiwald/ Flash Filmproduktion im Auftrag des WDR ประเทศ: เยอรมนีปีที่ผลิต: พ.ศ. 2555ความยาว: 30 นาที

28 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 29: รายงาน 2557

รางวัลพิเศษจากคณะกรรมการ

สารคดีปฏิวัติหุ่นยนต์ ตอน หุ่นยนต์อัศวินกู้โลก

ในศตวรรษที่ 21 พวกเราเรียกกันว่า ‘ศตวรรษของหุ่นยนต์’ ความสามารถของเหล่าหุ่นยนต์ยังคงเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆและสามารถท�างานให้มนุษย์ในด้านต่างๆ ได้ เช่นด้านการผลิต การบริการและการดูแลสุขภาพ สารคดีปฏิวัติหุ่นยนต์ ตอน หุ่นยนต์อัศวินกู้โลก เป็นสารคดีที่แตกต่างทันสมัยในสาขาหุ่นยนต์ สารคดีเน้นน�าเสนอว่าหุ่นยนต์สามารถช่วยในการรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างไร และเรายังมีความท้าทายอะไรรออยู่ในอนาคต ส�าหรับพวกเขาแล้วอนาคตคือวันนี้ที่มาถึงแล้ว!

ผู้ก�ากับ: Yoshikazu Ikawa, Tatsushi Tachibanaผู้ผลิต: NHK in association with NHK Enterprises, Inc.ประเทศ: ญี่ปุ่นปีที่ผลิต: พ.ศ. 2556ความยาว: 50 นาที

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 29

Page 30: รายงาน 2557

30 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 31: รายงาน 2557

คณะกรรมการนานาชาติ

เคียร์สทิน ชไนด์ผู้ประสานงานด้านเทศกาลและโครงการมูลนิธิ PRIX JEUNESSE

เคียร์สทิน ชไนด์เป็นผู้ประสานงานด้านเทศกาลและโครงการประจ�ามูลนิธิ PRIX JEUNESSE

หน่วยงานที่มีอิทธิพลในการพัฒนาคุณภาพของรายการโทรทัศน์ส�าหรับเด็กจากทั่วทุกมุมโลก โดยมูลนิธิมีฐานที่ตั้ง ณ กรุงมิวนิค ประเทศเยอรมนี เคียร์สทินเป็นผู้จัดงานที่มีขึ้นทุกๆสองปีอย่างงาน PRIX JEUNESSE INTERNATIONAL ซึ่งเป็นงานเทศกาลระดับโลกด้านรายการภาพยนตร์ส�าหรับเด็กและเยาวชน และเธอยังเดินทางไปทั่วโลกเพื่อจัดกิจกรรมอบรมการสร้างรายการโทรทัศน์ส�าหรับ เด็กอีกด้วย นอกจากนี้เธอเป็นผู้ยังดูแลการใช้สื่อส�าหรับเด็กที่มูลนิธิได้มุ่งพัฒนาในปีที่ผ่านๆมา

มัก ครูซ ฮาโทลเลขาธิการอานัคทีวี

มัก ครูซ ฮาโทลเป็นผู้ที่ชื่นชอบศิลปะและการละครรวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยก่อนเบนเข็ม

มาท�างานด้านสื่อ นอกจากนี้เขายังเคยด�ารงต�าแหน่งทางราชการที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ ก่อนหันมามีบทบาทในประเด็นที่อ่อนไหวเกี่ยวกับเด็กทางรายการทางโทรทัศน์และความรับผิดชอบของสื่อ เขาได้รับต�าแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของมูลนิธิส่งเสริมการ พัฒนาสถานีออกอากาศที่ส�าคัญแห่งหนึ่ง และได้รับต�าแหน่งเลขาธิการของอานัคทีวีในที่สุด ซึ่งเป็นสมาคมเครือข่ายโทรทัศน์ของฟิลิปปินส์ที่มีภารกิจส�าคัญคือการช่วยให้ ผู้ชมได้รับความรู้ผ่านการศึกษาจากสื่อ นอกจากนี้เขายังได้รับทุนจากหลากหลายประเทศในด้านการศึกษาศิลปะสื่อและวัฒนธรรม เขายังเป็นอดีตประธานสภาแห่งชาติของรัฐบาลที่โทรทัศน์ของเด็กอีกด้วย

ไนลา อัล มันโซรีหัวหน้าเมืองเด็กเทศบาลเมืองดูไบ

ไนลา อัล มันโซรีส�าเร็จการศึกษาด้าน จุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยสหรัฐอาหรับ

เอมิเรตส์ เธอเคยท�างานเป็นนักเทคโนโลยีห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่หน่วยงานที่มีอ�านาจทางการแพทย์ที่ดูไบ ก่อนจะเข้าร่วมกับโครงการเมืองเด็กในปีพ.ศ. 2548 ในต�าแหน่งเจ้าหน้าที่ด้านโครงการการพัฒนา และกิจกรรมสาธารณะ ขณะนี้เธอเป็น หัวหน้าคุมทีมงานจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2556 – 2560 ส�าหรับโครงการเมืองเด็ก

เดวิด เคลแมนน์โครงการ SVP Insights Programs and PlayVangelistPlayCollective

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531-2556 เดวิด เคลแมนน์ ด�ารงต�าแหน่งประธานของศูนย์ส�าหรับเด็กและสื่อแห่งเมริกา(American Center for Children and Media) โดยเขาได้ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนความคิด ความเชี่ยวชาญและข้อมูลเพื่อคุณภาพที่ดีขึ้นของสื่อ ในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2556 เขาได้เริ่มโครงการใหม่อย่าง “คลังความรู้ - think tank “ ในฐานะรองประธานอาวุโสของบริษัท Insights Programs and PlayVan-gelist นอกจากนี้เขายังคงด�ารงต�าแหน่งสมาชิกอาวุโสของศูนย์เฟร็ด โรเจอร์เพื่อการเรียนรู้ในช่วงต้น และสื่อส�าหรับเด็ก, และเป็นผู้ว่าการสถาบัน Academy of Television Arts & Sciences เขาเขียนบทความด้านการค้าและสื่อทั่วไปให้หนังสื่อพิมพ์ฮัฟฟิงตันและคิดส์ สกรีนอีกด้วย

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 31

Page 32: รายงาน 2557

กจิกรรม

กิจกรรมควบคู่กับการฉายภาพยนตร์ถือเป็นส่วนส�าคัญในเทศกาลวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เยาวชนได้เข้าใจหัวข้อจากภาพยนตร์ได้อย่างเต็มที่ จึงมีการทดลองสนุกสนานหรือเกมมากมายเกี่ยวกับภาพยนตร์เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาได้มากขึ้น

ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ผู้จัดงานจากประเทศต่างๆ จะแลกเปลี่ยนและช่วยกันพัฒนาความคิดใหม่ๆ ในการผสมผสานกิจกรรมบันเทิงและการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ภาพยนตร์สมบูรณ์ขึ้น วิธีการเชิงสหวิทยาการนี้ถือเป็นกุญแจหลักของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนที่มีประสิทธิภาพและสนุกสนาน

32 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 33: รายงาน 2557

วันที่ 4 - 5 กันยายน พ.ศ. 2557 เวิร์คชอปแลกเปลี่ยนและกิจกรรมเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยมีผู้จัดงานจากทั้งสองภูมิภาคและ 9 ประเทศ จุดประสงค์ของเวิร์คชอปคือ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้จัดงานเทศกาลฯ ในหลากหลายประเทศและเพื่อรวบรวมความคิดต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางส�าหรับผู้จัดงาน

นอกจากนี้ ในปีพ.ศ. 2557 ยังมีเปิดหน้าเพจข้อมูลดิจิทัลบนเว็บไซต์ของเทศกาลฯ ซึ่งอาจารย์และอาสาสมัครสามารถดาวน์โหลดแนวทางการจัดทุกกิจกรรมได้ก่อนจะพานักเรียนไปที่งานเทศกาลฯ

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 33

Page 34: รายงาน 2557

โครงการทีเ่กีย่วข้องเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ไม่ได้เป็นโครงการเดี่ยว แต่มองหาความร่วมมือและการผนึกก�าลังกับโครงการอื่นที่เกี่ยวข้องจากทั่วโลกและในประเทศไทย เทศกาลนี้เป็นเวทีส�าหรับความร่วมมือ ตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยได้แก่

โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยประจ�าปี 2557

ร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี

หากคุณมีอายุระหว่าง 17 - 24 ปี และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ รวมถึงอยากเรียนรู้วิธีการสื่อสารข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ประชาชนทั่วไป โครงการนี้จัดขึ้นโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยมีหัวข้อประจ�าปี คือ เทคโนโลยีอนาคตเพื่อชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ โดยแบ่งเป็นสาขา นวัตกรรมยานยนต์และขนส่ง, อาหารและสุขภาพ, เทคโนโลยีการสื่อสารและประมวลผล, พลังงาน, วัสดุศาสตร์และที่อยู่อาศัย

ผู้ชนะการแข่งขัน 4 คนที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยประจ�าปี 2557 จะได้ร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งด�าเนินการโดยสถาบันเกอเธ่

34 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 35: รายงาน 2557

รายการโทรทัศน์ บ้านนักวิทยาศาสตร์

ผลิกโฉมวงการโทรทัศน์ส�าหรับเด็กก่อนวัยเรียนในประเทศไทยทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ที่ช่องไทยพีบีเอส เวลา 6.10 น. โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระม ีพระราชด�าริให้ริเริ่มด�าเนินการ เมื่อปีพ.ศ. 2552 โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างส�านักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ และหน่วยงานร่วมจัดหลาย ภาคส่วนรวมถึงสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ในปัจจุบันมีโรงเรียนต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการนี้แล้วกว่า 12 000 โรงเรียนทั่วประเทศ ในปีพ.ศ. 2557 ด้วยความร่วมมือกันระหว่างองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ส�านักพิมพ์นานมีบุ๊คส์และสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทยในการจัดกิจกรรมสัมมนาขึ้นเพื่อสรุปการออกอากาศของรายการชุดส�าหรับเด็กทางโทรทัศน์ “รายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ซึ่งประกอบด้วยรายการ 52 ตอน ตอนละ 10 นาที และก�าลังออกอากาศอยู่ทางช่องไทยพีบีเอสช่วงเช้าวันเสาร์-อาทิตย์

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 35

Page 36: รายงาน 2557

ภาพยนตร์คอนเสิร์ต ‘BIOPHILIA LIVE’ จาก BJÖRK

ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาเลสไตน์ ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเวียดนามจัดฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “When Björk Met David Attenborough” เกี่ยวกับนวัตกรรมมัลติมีเดียล่าสุดของศิลปินและภาพยนตร์คอนเสิร์ต “Biophilia Live” โดยนิค เฟนตันและปีเตอร์ สตริกแลนด์

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นดั่งทางเชื่อมระหว่างวิทยาศาสตร์ ดนตรี เทคโนโลยีที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงสร้างดนตรีและปรากฎการณ์ธรรมชาติ ตั้งแต่ระดับอะตอมไปจนถึงจักรวาล

36 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 37: รายงาน 2557

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Genius @TK park

เทศกาลภาพยนตร์ฯในประเทศไทยร่วมกับบริษัทเมอเซเดส ประเทศไทย จัดเวิร์คชอป Genius สองรอบ โดยโครงการ Genius กลุ่มความรู้เยาวชนของบริษัทเดมเลอร์พยายามกระตุ้นให้เด็กๆ อ่าน ฟังและทดลองตั้งแต่เด็ก เวิร์คชอปนี้หวังว่าจะเปิดโลกเทคโนโลยีให้แก่ความคิของเยาวชนและให้โอกาสเด็กที่จะมองเห็น และพัฒนาศักยภาพของตนเองในวิชา STEM

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 37

Page 38: รายงาน 2557

รายการ ไอกอทอิท! ผลงานรายการชุดโทรทัศน์แห่งภูมิภาคอาเซียน

ไอกอทอิท! เป็นชุดรายการความรู้ทางโทรทัศน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสร้างขึ้นส�าหรับเด็กโดยเก้าสถานีโทรทัศน์จากประเทศในภูมิภาคอาเซียนร่วมกับสถาบันเกอเธ่ โครงการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบันได้มีรายการชุดนี้กว่า 100 ตอนแล้วจากผลงานฝีมือสถานีโทรทัศน์ซึ่งเข้าร่วมในโครงการระหว่างปีพ.ศ. 2553 จนถึง 2557 ในประเทศไทยรายการโทรทัศน์ชุดนี้จะกลับมาฉายคืนจออีกครั้งทางช้องไทยพีบีเอสช่วงต้นปีพ.ศ. 2558 โครงการนี้มีขึ้นเพื่อกระตุ้นให้สื่อภายในประเทศผลิตรายการที่เหมาะส�าหรับเด็กและเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในขณะเดียวกันเพื่อที่จะส่งเสริมผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญในการผลิตสื่อระหว่างวัฒนธรรมที่ต่างกันระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศเยอรมนี โดยระหว่างวันที่ 10 - 15 พฤศจิกายนนี้ สถาบันเกอเธ่ประเทศไทยจะจัดกิจกรรมการสัมมนาและการประชุมขึ้นซึ่งมีตัวแทนจากแต่ละประเทศที่เข้าร่วมโครงการมาเข้าร่วมเพื่อวางแผนอนาคตส�าหรับรายการชุดทางโทรทัศน์ดังกล่าว ส�าหรับชมรายการชุดไอกอทอิท! ย้อนหลังสามารถชมได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ

38 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 39: รายงาน 2557

นิทรรศการคณิตศาสตร์ที่คุณสัมผัสได้

มีผู้คนชมนิทรรศการอย่างล้นหลามกว่า 80 000 คน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และเมืองนครศรีธรรมราช นิทรรศการนี้จัดแสดงโดย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ โรงเรียน: ความร่วมมือแห่งอนาคต นิทรรศการดังกล่าวเชิญชวนให้ผู้เข้าชม ทุกท่านได้ไขปริศนา ทดลอง และเล่นสนุกกับความรู้ทางคณิตศาสตร์

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 39

Page 40: รายงาน 2557

English 27%

German 2%

National Language 71%  

55%

26%

15%

4%

Elementary Middle School High School University

Educational  Level  and  Language      

 

Gender  and  Age                      

Female 53%

Male 47%

5%

37%

42%

13%

3%

Under 7 7 to 11 12 to 16 17 to 25 26 Up

Gender  and  Age                      

Female 53%

Male 47%

5%

37%

42%

13%

3%

Under 7 7 to 11 12 to 16 17 to 25 26 Up

English 27%

German 2%

National Language 71%  

55%

26%

15%

4%

Elementary Middle School High School University

Educational  Level  and  Language      

 งานเทศกาลฯ มีการประเมินผู้เข้าชมในปีพ.ศ. 2557 และโดยมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 3 594 ชุด โดยไม่จ�ากัดกลุ่มจากสถานที่จัดฉายในประเทศไทย ผลจากการส�ารวจนี้ช่วยผลักดันประสิทธิภาพของงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์

การประเมนิ

เพศ อายุ

ระดับการศึกษา ความสามารถทางภาษา

40 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 41: รายงาน 2557

Yes 97%

No 3%

Yes 95%

No 5%

Did watching the films make you more interested in science?

Did the festival make you think more about future technologies?

Yes 97%

No 3%

Yes 95%

No 5%

Did watching the films make you more interested in science?

Did the festival make you think more about future technologies?

Yes 94%

No 6%

Yes 95%

No 5%

Would you like to see more science grogramms on television in your country?

Would you like to use an international social media platform with science learning games

in your school?

Yes 94%

No 6%

Yes 95%

No 5%

Would you like to see more science grogramms on television in your country?

Would you like to use an international social media platform with science learning games

in your school?

การชมภาพยนตร์ท�าให้ท่านสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้นหรือไม่ เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้ท�าให้คุณคิดมากขึ้น เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีในอนาคตใช่หรือไม่

คุณอยากให้มีรายการวิทยาศาสตร์ในโทรทัศน์ของประเทศคุณมากขึ้นหรือไม่

คุณต้องการใช้สังคมออนไลน์ที่มีเกมวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนคุณหรือไม่

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 41

Page 42: รายงาน 2557

Yes 91%

No 9%

Are you interested to study science and technology in Germany?

 

53%

46%

53%

53%

31%

35%

32%

31%

13%

13%

15%

15%

2%

1%

3%

4%

1%

1%

1%

1%

Overall Experience

Venue

Activities

Film

Not At All 2 3 4 Very Much

Satisfaction  Factor  

93%

2% 5%

School Family Individual

Yes 95%

No 5%

Did the films explain the subject to you entertainingly and in a way easy to understand?

คุณสนใจที่จะศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในเยอรมนีหรือไม่

คุณชอบกิจกรรมในงานนี้มากเพียงใด

กิจกรรมที่จัดขึ้นควบคู่ภาพยนตร์มีประโยชน์ในการเข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้นหรือไม่

42 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 43: รายงาน 2557

93%

2% 5%

School Family Individual

Yes 95%

No 5%

Did the films explain the subject to you entertainingly and in a way easy to understand?

Yes 95%

No 5%

Yes 95%

No 5%

Were the activities accompanying the films helpful in understanding the subject better?

Would you like the festival to be organized again next year?

 

Yes 95%

No 5%

Yes 95%

No 5%

Were the activities accompanying the films helpful in understanding the subject better?

Would you like the festival to be organized again next year?

 ภาพยนตร์อธิบายหัวข้อให้คุณอย่างสนุกสนานและเข้าใจง่ายหรือไม่

คุณต้องการให้จัดเทศกาลนี้ในปีหน้าอีกหรือไม่

คุณมาชมภาพยนตร์ได้อย่างไร

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 43

Page 44: รายงาน 2557

I. OrganIzers

Goethe-Institut Thailand18/1 Soi Goethe, Sathorn 1 Bangkok 10120 ThailandTel: +66 2108 8200Fax: +66 2108 8299www.goethe.de/thailand

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST)924 Sukhumvit RoadBangkok 10110 Thailand Tel: +66 2392 4021Fax: +66 2381 7530www.ipst.ac.th

National Science MuseumTechnopolis, Klong 5, Klong Luang Pathumthani 12120 ThailandTel: +66 2577 9999Fax: +66 2577 9900www.nsm.or.th

Mercedes-Benz (Thailand) Ltd.A Daimler CompanyRajanakarn Bldg., 19/F183 South Sathorn RoadYannawa, Sathorn Bangkok 10120Tel: +66 2614 8888Fax: +66 2676-5885www.mercedes-benz.co.th

II. Venue Partners

National Science Centre for Education, Ekamai928 Sukhumvit Road, Klong ToeyBangkok 10110 ThailandTel: +66 2392 1773Fax: +66 2391 0522www.sci-educ.nfe.go.th

Thailand Science Park Convention Center130 Paholyothin RoadKlong 1, Klong LuangPathumthani 12120 ThailandTel: +66 2564 7170Fax: +66 2564 7161www.tsp-cc.com

NSM Science Square4th – 5th Floor Chamchuree Square319 Phaya Thai Road, Pathum Wan Bangkok 10400 ThailandTel: +66 2160 5356Fax: +66 2160 5357www.nsm.co.th

Thailand Knowledge Park17th Floor at Central World 999/9 Rama 1, Bangkok 10330 ThailandTel: +66 2264 5963-65Fax: +66 2264 5966www.tkpark.or.th

Film Archiv94 Moo 3 Putthamontol 5 Road Putthamontol, Nakhon Patom 73170 ThailandTel: +66 2482 2013-15 +66 2482 1087 88Fax: +66 2482 2013-15 ext 116www.fapot.org

City Learning Park (CLP) Nakorn Si ThammaratNamuang Park, Thachang Road, Muang Nakhon Si Thammarat 80000 ThailandTel: +66 7534 0943-4Fax:. +66 7534 0975www.marclp.com

ตดิต่อ

44 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 45: รายงาน 2557

Nanmeebooks Learning Center11 Sukhumvit Road, Klong Toey, Wattana Bangkok 10110 ThailandTel: +66 2662 3000 ext 5226Fax:. +66 2662 0919www.nanmeebookslearningcenter.comwww.nanmeebooks.com

Faculty of Science, Burapha University169 Long-Hard Bangsaen Road, Saen Sook Sub-district, Mueang District, Chonburi 20131 ThailandTel: +66 3810 3161-2Fax:. +66 3874 5789www.sci.buu.ac.th

Faculity of Science and Technology The Office of Academic Resources and Information Teachnology Chiang Mai Rajabhat University202 Changphueak RoadChangphueak, MuengChiang Mai 50300 ThailandTel: +66 5388 5600Fax:. +66 5388 5609www.science.cmru.ac.th

Thai Ministry of Science and TechnologyRama 6 Road, Ratcahatevee Bangkok 10400 ThailandTel: +66 2640 9600Fax: +66 2354 3763 www.most.go.th

Thai Ministry of Education319 Wangchankasem, Rajdamnern Road Dusit, Bangkok 10300 ThailandTel: +66 2281 3441Fax: +66 2281 8218www.moe.go.th

Nakorn Si Thammarat CityRajdamnern Nok Road, Klung, Mueng Nakorn Si Thammarat 80000 ThailandTel: +66 7534 2880-2Fax: +66 7534 7405www.nakorncity.org

III. sPOnsOrs & suPPOrters

Siemens Ltd.2922/333 Charn Issara Tower II, 35th Fl.New Petchburi Road., Bangkapi Huay Kwang, Bangkok 10310 ThailandTel: +66 2715 4000Fax: +66 2715 4100www.siemens.co.th

Major Cineplex Group Public Co., Ltd. 1839, 1839/1-6 Phaholyothin RoadLadyao, Jatuchak, Bangkok 10900 ThailandTel: +66 2515 5555www.majorcineplex.com

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 45

Page 46: รายงาน 2557

2015

ตวัอย่างปี 2558ตลอดชีวิตของเขา นักเขียนเยอรมันและรัฐบุรุษ “โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธ่” หลงใหลในลักษณะของแสง และผลกระทบของแสงที่มีต่อมนุษย์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ที่ก�าลังลับขอบฟ้าหรือสายรุ้ง ท้องฟ้าสีสดไปจนถึงทะเลสีคราม ระดับของแสงสีอันน่าประทับใจของเหล่าบรรดาพืชและสัตว์ คือประสบการณ์แรกที่พวกเรามีกับแสงและสีนั้นเกิดขึ้นได้จากสิ่งที่เรามองเห็นธรรมชาติผ่านดวงตาของพวกเรา

อย่างไรก็ตาม ความส�าคัญของแสงนั้นยิ่งใหญ่และไกลเกินกว่าแค่ส�าหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ส�าคัญๆ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแสงได้ช่วยให้เรามองเห็นและเข้าใจจักรวาล ปีพ.ศ. 2558 นี้ นับเป็นก้าวส�าคัญในประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์เพราะเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน ในเดือนพฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2458 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้เขียนสมการที่มีชื่อเสียงมาก คือสมการทฤษฎีสัมพันธภาพขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นเราเห็นผ่านการทดลองซึ่งมีหลักการส�าคัญว่าด้วยเรื่องของแสง ที่ว่าแสงเป็นศูนย์กลางส�าคัญของโครงสร้างพื้นที่และเวลาอย่างไร

ทั่วทุกมุมโลก ผู้คนต่างใช้แสงเพื่อค้นพบวิธีการแก้ปัญหาในสังคมหลากหลายปัญหา การพิมพ์สามมิติที่น�าไปสู่ทางออกด้านพลังงานในภูมิภาคที่ก�าลังพัฒนา แสงถือเป็นกุญแจส�าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการส่งเสริมการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 นี้ แสงท�าให้เกิดการปฏิวัติในด้านการแพทย์ เปิดการสื่อสารระหว่างประเทศผ่านทางอินเทอร์เน็ต และยังเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมด้านเศรษฐกิจและการเมืองของสังคมโลกด้วย

ด้วยเหตุผลเหล่านี้และเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ขอเชิญให้ผู้ชมในปีพ.ศ. 2558 มาร่วมกันค้นพบบทบาทที่แตกต่างกันของแสง และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�าวันของเรา และสิ่งที่แสงได้เปิดเผยให้เราเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติของจักรวาล

46 รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557

Page 47: รายงาน 2557

รายงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร ป์ระเทศไทย 2557 47

Page 48: รายงาน 2557

goethe-Institut thailand18/1 soi goethe sathorn 1Bangkok 10120 thailandtel.: +66 2108 8200Fax: +66 2108 8299sciencefilmsecretary@bangkok.goethe.orgwww.sciencefilmfestival.org

facebook.com/sciencefilmfestival