ชุดความรู้ที่ 3 วิชา ง 40287...

1
ชุดความรู้ที่ 3 วิชา ง 40287 มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation) หน่วยที่ 1 เรื่อง พฤติกรรมของมนุษย์ ความหมายของพฤติกรรม (Behavior) พฤติกรรม คือ กระบวนการต่าง ๆ ของบุคคลที่แสดงออกหรือกระทำต่อสภาพแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนื่ง ซึ่งอยู่ภายใต้ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่ง พฤติกรรม หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับ สิ่งเร้า (Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวทีสังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus) องค์ประกอบของพฤติกรรม ครอนแบช (L.J. Cronbach. 1963) กล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ 1. เป้าหมายหรือความมุ่งหมาย (Goal) คือ วัตถุประสงค์หรือความต้องการซึ่งก่อให้เกิด พฤติกรรม เช่น ความต้องการมีหน้ามีตาในสังคม 2. ความพร้อม (Readiness) หมายถึง ระดับวุฒิภาวะและความสามารถที่จำเป็นในการทำ กิจกรรมเพื่อสนองความต้องการ 3. สถานการณ์ (Situation) หมายถึง ลู่ทางหรือโอกาสให้เลือกทำกิจกรรมเพื่อสนองความ ต้องการ 4. การแปลความหมาย (Interpretation) เป็นการพิจารณาลู่ทาง หรือสถานการณ์เพื่อเลือกหา วิธีการที่คิดว่าจะสนองความต้องการเป็นที่พอใจมากที่สุด 5. การตอบสนอง (Response) คือ การดำเนินการทำกิจกรรมตามที่ตัดสินในเลือกสรรแล้ว 6. ผลลัพธ์ที่ตามมา (Consequence) คือ ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำกิจกรรมนั้น ซึ่งอาจได้ผลตรงกับที่คาดไว้ (Confirm) หรือตรงข้ามกับที่คาดหวังไว้ (Contradict) ก็ได้ 7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง (Reaction to Thwarting) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่เกิด ขึ้นไม่สามารถตอบสนองตามความต้องการ จึงต้องกลับไปแปลความหมายใหม่ เพื่อเลือกหาวิธีทีจะตอบสนองความต้องการได้ แต่ถ้าเห็นว่าเป้าประสงค์นั้นมันเกินความสามารถ ก็ต้องยอมละเลิก ความต้องการนั้นเสีย พฤติกรรมจะสมบูรณ์และสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อผลที่ตามมาตรงกับความคาดหวัง หากไม่สมหวัง คนเราก็จะมีปฏิกิริยาต่อไปอีก ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของพฤติกรรม ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของพฤติกรรม มี 2 ประการใหญ่ คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการจิตวิทยาและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้สรุปปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของ พฤติกรรม พอสรุปได้ ดังนี1. พันธุกรรมและการอบรมเป็นของคู่กัน ไม่มีอะไรสำคัญกว่ากัน เปรียบเหมือนรถยนต์กับ น้ำมัน ถ้าขาดอะไรในสองอย่างหนึ่งก็จะใช้รถไปเที่ยวไม่ได้ 2. พันธุกรรมเปรียบเหมือนวัตถุดิบ การอบรมเปรียบเหมือนนายช่างฝีมือเอก ถ้าจะตัดเสื้อ ราตรีสักชุดหนึ่ง ควรเลือกผ้าที่ดีที่สุด และตัดจากร้านที่มีชื่อเสียงที่สุด ก็จะได้ชุดราตรีที่สวยงาม ถูกใจ 3. พันธุกรรมดี สิ่งแวดล้อมดี และการอบรมดี ไม่ได้เป็นการประกันความสำเร็จของชีวิตได้ 100% มีอีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยเรียกว่า “วาสนา” ฝรั่งเรียกว่า “โอกาส” และโอกาสที่ว่านี้ไม่ใช่ โชคลางพรหมลิขิตแต่ประการใด แต่โอกาสมักเกิดโดยบังเอิญ ถ้าไม่รีบหยิบฉวยทันทีให้เกิด ประโยชน์แก่ตนเอง โอกาสก็จะผ่านไปอย่างน่าเสียดาย วาสนาก็ไม่อาจมีได้ 4. สิ่งใดที่เป็นอากัปกิริยาภายนอก เช่น มารยาทในการสมคม การเรียนเลข พออบรมสอน กันได้ สิ่งใดเกิดจากภายในอันมีสรรศาสตร์เป็นรากฐาน เช่น อารมณ์ อัธยาศัย(Temperament) ความกล้าหาญ อบรมได้บ้างแต่ยากหรืออาจอบรมไม่ได้ การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ นักจิตวิทยาสังคมจะศึกษาบุคคลแต่ละคน และพฤติกรรมโดยส่วนรวมที่แต่ละคนแสดงออก โดย พฤติกรรมส่วนบุคคล มีองค์ประกอบ 2 ประการใหญ่ ๆ คือ 1. พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะ รูปร่าง หน้าตา สีผม ความสูง ความเตี้ย สติปัญญาจากพ่อแม่ ตลอดจนบรรพบุรุษตกทอดไปถึงลูก 2. สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ (Environment and Learning) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ การสอนของครูอาจารย์ ตลอดจนประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เช่น บุคคลหนึ่งอาจเคยถูกสุนัขกัดเมื่อตอนเด็ก ๆ ยังฝังใจจำเรื่องสุนัขกัดอยูพอเห็นสุนัขอีกจะกลัวสุนัขมาก หรือเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อมชองครอบครัว และการอ่านหนังสือ เช่น หนังสือการ์ตูน หนังสือพิมพ์ การดูทีวี การเล่นกับเพื่อน การรับรู้เหล่านี้จะรวบรวมกลายเป็น “นิสัย” และ “การปรับตัว” ของแต่ละบุคคล นักจิตวิทยาบางกลุ่มยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมส่วนบุคคลนั้น เกิดมาจาก 1. เชาว์ปัญญา ความสามารถพิเศษ ความถนัด และความสนใจ เช่น บุคคลบางคนมีความสามารถทางวาดภาพหรือการเป็นนักดนตรี ย่อมมีพฤติกรรมส่วน บุคคลแตกต่างจากบุคคลที่มีความสามารถพิเศษทางการช่าง ผู้ที่มีความสามารถทางคิดคำนวณ เขาชอบวิชาคณิตศาสตร์และอาจมีอาชีพเป็นพนักงานบัญชี ส่วนคนที่ชอบพูดชอบคุย ชอบแสดงความคิดเห็น เขาจะเลือกอาชีพเป็นพนักงานขาย เป็นตัน 2. เพศและขนาดของร่างกาย เพศชายอาจจะมีกิริยาวาจาไม่เรียบร้อย พูดจาหยาบคาย ในขณะที่เพศหญิงมักมีกิริยาวาจาสุภาพ อ่อนโยน บุคคลที่มีรางกายใหญ่โต อาจจะสนใจ เป็นนักเล่นกล้าม นักมวย บุคคลที่มีร่างกายเล็กหรือหน้าตาไม่สวยอาจรู้สึกมีปมด้อย 3. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี อาจจะมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมก็ เช่นเดียวกัน ผู้ที่มาจากชุมชนแออัดอาจมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี 4. วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และการใช้ภาษาของแต่ละท้องถิ่น เช่น ผู้นำที่มีอิทธิพลต่อ แนวความคิด อุดมคติของแต่ละบุคคล คนนับถือศาสนาพุทธที่มีความเชื่อว่า คนตายแล้วจะกลับ มาเกิดอีก จึงกระทำความดีในชาติปัจจุบัน เพื่อให้การเกิดใหม่ในชาติหน้าร่ำรวย มีความสุข 5. สภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ของท้องถาที่กันดารทำให้ บุคคลมีพฤติกรรมที่เหนื่อยล้าต่อสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมของคนภาคกลาง จะกระฉับกระเฉง ต่อสู้กับสภาพเศรษฐกิจ มีความคิดริเริ่ม มีสติปัญญา คิดทำสิ่งที่แปลกใหม่ 6. อาชีพ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมกับครูสอนหนังสือย่อมมีพฤติกรรมต่างกันตามฐานะ 7. บทบาท สถานภาพ และกาลเทศะ พฤติกรรมทางสังคม (Social Behavior) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลอื่น รวมทั้งระหว่างบุคคล หรือกลุ่มคนต่อกลุ่มคน พฤติกรรมที่แสดงออกจะสอดคล้องกับสถานภาพ บทบาท และกาลเทศะ และพฤติกรรมของกลุ่มสังคมมีอิทธิพลจากขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ส่งผลให้บุคคล ในสังคมจะทำอะไรตามใจชอบไม่ได้ ต้องปรับปรุงบุคลิกภาพของตนให้คล้อยตามแนวทาง ที่สังคมยอมรับ พฤติกรรมทางสังคมอาจจะแยกย่อยออกไปได้หลายอย่าง เช่น 1. การพูด บุคคลแต่ละคนจะพูดกับเพื่อน พูดกับพ่อแม่ พูดกับครูอาจารย์ สามีพูดกับภรรยา ผู้บังคับบัญชาพูดกับผู้ใต้บังคับบัญชา ย่อมใช้คำพูดไม่เหมือนกัน 2. การวางตัว หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทาง การใช้สีหน้า แววตา เมื่อพูดกับเพื่อนย่อม แสดงกิริยาท่าทางแตกต่างจากที่พูดกับผู้บังคับบัญชา 3. พฤติกรรมเฉพาะของแต่ละสังคม ในหมู่คนพวกหนึ่งย่อมมีพฤติกรรมส่วนรวมเฉพาะ ของหมู่คนนั้น ซึ่งผิดแผกแตกต่างกันกับคนหมู่อื่น 4. อิทธิพลของผู้นำกลุ่ม ผู้นำกลุ่มแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน เช่น ผูนำของทหารย่อมต้องการ ให้ทหารเข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ พฤติกรรมสังคมของทหารจะเป็นอย่างนั้น ผู้นำวัยรุ่นก็ทำให้ พฤติกรรมของวัยรุ่นแตกต่างจากพฤติกรรมของวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ผู้นำของพระภิกษุสงฆ์ ก็ต้องการให้พระภิกษุสงฆ์สำรวมสันโดษ มีศีลธรรม เป็นตัวอย่างอันดีต่อฆราวาส กระบวนการพฤติกรรมของมนุษย์ สิ่งเร้า (Stimulus) สิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์มีปฏิกิริยาตอบสนอง* คือ สิ่งแวดล้อม นักจิตวิทยา จึงสนใจสิ่งแวดล้อมในฐานะที่มันทำหน้าที่เร้าให้มนุษย์กระทำพฤติกรรม สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยามี 2 ประเภท คือ 1. สิ่งแวดล้อมภายนอก (Explicit Environment) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกาย ของมนุษย์ เช่น คน สัตว์ วัตถุสิ่งของ รวมถึงกิจกรรมที่เป็นนามธรรม เช่น หลักศีลธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม 2. สิ่งแวดล้อมภายใน (Implicit Environment) ได้แก่ การกระทำของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ความอยาก ความหิว กระหาย เป็นต้น สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีส่วนทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ถ้ามนุษย์ไม่ถูกเร้าด้วย สิ่งแวดล้อมใด จะเป็นสิ่งแวดล้อมธรรมดา ไม่เป็นสิ่งเร้า อวัยวะสัมผัสที่รับสิ่งสัมผัสภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ ตา หู จมูก สิ้น และผิวหนัง ปรากฏออกมาเป็นรูปแบบของการมองเห็น การได้ยิน การรู้สึก และความรู้สึกร้อนหนาว เจ็บปวดหรือรู้สึกว่าถูกกดดัน เป็นต้น ส่วนอวัยวะสัมผัสภายใน เช่น ช่องชั้นในของหู กล้ามเนื้อ เอ็น ทำให้เรารู้จักการทรงตัวอยู่ได้ในลักษณะใด การแกว่งแขน เราก็จะทราบว่าแกว่งไปไกล แค่ไหน ถึงแม้จะหลับตาเสียก็ยังเข้าใจ ในบางกรณี สิ่งแวดล้อมก็อยู่นอกเหนือความสามารถ ในการรับสัมผัสของมนุษย์ เช่น มนุษย์ไม่สามารมองเห็นแสงเอกซ์เรย์ คลื่นแสงอินฟราเรด หรือไม่สามารถได้ยินคลื่นเสียงถี่เกินไป เป็นต้น แรงจูงใจ (Motivation) แรงจูงใจ (Motivation) คือ สิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ อันเกิดจากความต้องการ (Needs) พลังกดดัน (Drives) หรือ ความปรารถนา (Desires) ที่จะพยายามดิ้นรนเพื่อให้ บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะเกิดมาตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ได้ แรงจูงใจเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั้น ๆ เอง ภายใน ได้แก่ ความรู้สึกต้องการ หรือขาดอะไรบางอย่าง จึงเป็นพลัง ชักจูง หรือกระตุ้นให้มนุษย์ประกอบ กิจกรรมเพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหรือต้องการนั้น ส่วนภายนอกได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่มาเร่งเร้า นำช่องทาง และมาเสริมสร้างความปรารถนาในการประกอบกิจกรรมในตัวมนุษย์ ซึ่งแรงจูงใจ นี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในหรือภายนอก แต่เพียงอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ อาจกล่าวได้ว่า แรงจูงใจทำให้เกิดพฤติกรรมซึ่งเกิดจากความต้องการของมนุษย์ ซึ่งความต้องการ เป็นสิ่งเร้าภายในที่สำคัญกับการเกิดพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งเร้าอื่น ๆ เช่น การยอมรับของ สังคม สภาพบรรยากาศที่เป็นมิตร การบังคับขู่เข็ญ การให้รางวัลหรือกำลังใจหรือการทำให้เกิด ความพอใจ ล้วนเป็นเหตุจูงใจให้เกิดแรงจูงใจได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่มีปัญหา นักจิตวิทยาวิเคราะห์กล่าวว่า พฤติกรรมที่มีปัญหามีสาเหตุมาจาก (รศ.ดร. กันยา สวรรณแสง : 2540) 1. มีความขัดแย้งทางจิตใจ ลังเล ตัดสินใจไม่ได้ ทำให้เกิดความวิตกกังวล 2. ขาดทักษะ ประสบการณ์ ไม่มีความชำนาญในการกระทำ จึงเกิดความเคอะเขิน ผิดพลาด ล้มเหลว 3. มีเจตคติไม่ดี จิตใจไม่ยอมรับ จึงอยากแสดงออกตามความรู้สึกของตนเอง 4. เชาวน์ปัญญาไม่ดี คิดไม่ถึง ตัดสินใจผิดพลาด 5. ความจำไม่ดี ขี้ลืม จึงกระทำผิด ๆ ถูก ๆ 6. มีความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต เกรงจะทำไม่สำเร็จ ตัดสินใจไม่ถูก กังวลต่อความผิดพลาด อัปยศ หมดหวัง 7. ความต้องการแข่งขัน เอาชนะ อยากเด่นดัง ทำให้เกิดความเครียด อิจฉา ริษยา กังวล วุ่นวายใจ ไม่มีความสุข 8. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้เงอะงะ งุ่มง่าม 9. มีความจริงใจมากเกินไปไม่รู้จักหยุดหย่อน แข็งกร้าว 10. ขาดข้อมูล ทำให้เกิดการคาดเดา 11. มีความคิดที่ไร้เหตุผล ก่อให้เกิดพฤติกรรมและการกระทำที่ไร้เหตุผล กลวิธีสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 1. สร้างแบบอย่างพฤติกรรมที่ดีงาม ปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม 2. ให้การอบรมสั่งสอน เปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และไม่ พึงปรารถนา 3. ให้การเสริมแรง ให้รางวัล ชมเชย ให้สิ่งที่พอใจแก่ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ดี สนับสนุนส่งเสริม ให้มีพฤติกรรมที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น และติติง ว่ากล่าว ทักท้วง ลงโทษ ผู้มีพฤติกรรมไม่ดีให้ลดลงเรื่อย ๆ สกินเนอร์ (Skinner) เชื่อว่า “การกระทำที่ได้รับการเสริมแรง ย่อมจะมีแนวโน้มที่จะทำให้ เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่ได้รับการเสริมแรงหรือถูกขัดขวาง ย่อมมีแนวโน้ม ที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำที่ไม่พึงปรารถนาลดลง และหายไปในที่สุด ถ้าหมั่นเสริมแรง แก่ผู้มีพฤติกรรมดี พฤติกรรมที่พึงปรารถนาและเป็นที่ยอมรับของสังคมก็จะมีเพิ่มมากขึ้น ๆ จนติดเป็นนิสัย เช่น ความสุภาพ นอบน้อมถ่อมกาย ซื่อตรง ขยันหมั่นเพียร มีความเชื่อมั่นสูง” แบนดูรา (Bandura) ก็กล่าวว่า วิธีการปรับพฤติกรรม คือ ให้การเสริมแรงแก่พฤติกรรม ที่พึงปรารถนาและไม่ให้การเสริมแรงหรือเอาใจใส่แก่พฤติกรรมที่ไม่ดี นอกจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์แล้ว เดวิด แมกซ์ ซิลแลนด์ (Davit C.Mc Ciellad) ได้กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ดังนี1. ความมั่นคงในการทำงาน (Security) หมายถึง กิจการหรือหน่วยงานทีตนทำงาน จะต้องมีความยั่งยืน ไม่เลิกกิจการไปง่าย ๆ และมีฐานะทางการเงินดีพอที่จะจ่ายเงินเดือน ให้ได้ตลอดไป สามารถฝากชีวิตอนาคตไว้ได้ แต่ถ้ากิจการหรือหน่วยงานไม่มั่นคง จิตใจของ ผู้ทำงานก็จะหวั่นไหว กลัวตกงาน อดอยาก จึงต้องดิ้นรนแสวงหากิจการหรือหน่วยงาน ที่มั่นคงกว่า 2. การยอมรับนับถือ (Recognition) การที่ทุกคนต้องการเกียรติ การยอมรับ นับถือ ในความรู้ ความสามารถ ไม่มีการแบ่งคุณวุฒิ แบ่งกลุ่ม หรือมีการดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม ในความรู้ ความสามารถ ความมั่งมีหรือยากจน ตระกูลสูงหรือต่ำ 3. ต้องการความก้าวหน้า (Opportunity) ต้องการมีโอกาสก้าวหน้าสูงขึ้นคนเราเมือ ทำงานแล้ว ก็อยากเห็นตนเองมีความก้าวหน้าทางการงาน ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น ได้เลื่อน ตำแหน่งสูงขึ้น ได้ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ รู้จักคนมากขึ้น ได้ช่วยเหลือหน่วยงานเพิ่มขึ้น ความก้าวหน้าทำให้คนมีกำลังใจในการทำงาน และเป็นความต้องการของมนุษย์ที่คุกรุ่นอยูภายในด้วยกันทุกคน 4. ต้องการความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ (New Experience) การได้รับการฝึกอบรม ศึกษา ดูงาน เปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ หรือเป็นกรรมการต่าง ๆ ย่อมทำให้คนเราไม่ จำเจซ้ำซาก ไม่ทำให้เบื่อหน่าย ทำให้คนเรากระฉับกระเฉง ซึ่งมนุษย์ถือว่าการได้ประสบการณ์ เป็นเกียรติอย่างหนึ่ง 5. การมีเสรีภาพในการทำงาน (Freedom) การมีเสรีภาพทำให้ทำงานได้คล่องตัวไม่อึดอัด กับระเบียบกฎข้อบังคับ มีโอกาสแสดงความคิดเห็นทางการพูด การเขียนบ้าง ไม่ถูกกดขี้ขีมีสิ่งอำนวยความสะดวกตามเหมาะสม 6. ได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งหรือการมีส่วนร่วมในงาน (Belonging) มนุษย์ต้องการ ให้กลุ่มยอมรับเป็นพวกเดียวกัน ไม่ต้องการความรู้สึกว่าเป็นคนละพวกหรือเป็นแกะดำหลงฝูง หรือพลัดถิ่น ต้องการเข้าร่วมเป็นพวก นักจิตวิทยาชื่อ มาสโลว์ (A.H. Maslow) กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ ดังนี1. ความต้องการพื้นฐานของร่างกาย คือ อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค 2. ต้องการความมั่นคงในชีวิต คือ ต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. ต้องการความรักจากเพื่อนร่วมงาน คือ การยอมรับเข้าเป็นพวก ไม่ถูกกีดกัน ไม่มีการแบ่ง ชั้นวรรณะ คุณวุฒิ สถานศึกษา 4. ต้องการความก้าวหน้า คือ ต้องการมีตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้งขึ้นไปถึงขั้นสูงสุด 5. ต้องการความพึงพอใจที่จะทำอะไรเป็นพิเศษ คือ ผู้ที่อยู่ในขั้นนี้มักจะมีสิ่งต่าง ๆ พร้อมทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความสำเร็จ มีเงินทอง ฐานะมั่นคงพร้อมแล้ว ต้องการให้คนทั่วไปแซ่ซ้องสรรเสริญตนเองให้มาก ๆ เช่น สร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียน หรือสถานที่สำคัญอื่นๆ โดยจะได้รับจารึกชื่อไว้ที่อาคารหรือสถานที่เหล่านั้น เพิ่มเติม ปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) หมายถึง เมื่อมนุษย์ถูกเร้า ย่อมแสดงปฏิกิริยา ตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจปรากฏชัดเจน สังเกตเห็นได้ หรือไม่ก็ได้ การจูงใจให้เกิดพฤติกรรม คือ การใช้ศิลปะทำให้บุคคลหรือกลุ่มชน เปลี่ยนเป้าหมาย

Upload: buidan

Post on 22-Apr-2018

234 views

Category:

Documents


4 download

TRANSCRIPT

Page 1: ชุดความรู้ที่ 3 วิชา ง 40287 มนุษยสัมพันธ์ …¸™ักวิชาการจิตวิทยาและผู้ทรงคุณวุฒิ

ชุดความรู้ที่ 3

วิชา ง 40287 มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)

หน่วยที่ 1 เรื่อง พฤติกรรมของมนุษย์

ความหมายของพฤติกรรม (Behavior)

พฤติกรรม คือ กระบวนการต่าง ๆ ของบุคคลที่แสดงออกหรือกระทำต่อสภาพแวดล้อม

โดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนื่ง ซึ่งอยู่ภายใต้ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่ง

พฤติกรรม หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกหรือปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อเผชิญกับ สิ่งเร้า

(Stimulus) หรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาการแสดงออกต่าง ๆ เหล่านั้น อาจเป็นการเคลื่อนไหวที่

สังเกตได้หรือวัดได้ เช่น การเดิน การพูด การเขียน การคิด การเต้นของหัวใจ เป็นต้น

ส่วนสิ่งเร้าที่มากระทบแล้วก่อให้เกิดพฤติกรรมก็อาจจะเป็นสิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus)

และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus)

องค์ประกอบของพฤติกรรม

ครอนแบช (L.J. Cronbach. 1963) กล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีองค์ประกอบ 7 ประการ

คือ

1. เป้าหมายหรือความมุ่งหมาย (Goal) คือ วัตถุประสงค์หรือความต้องการซึ่งก่อให้เกิด

พฤติกรรม เช่น ความต้องการมีหน้ามีตาในสังคม

2. ความพร้อม (Readiness) หมายถึง ระดับวุฒิภาวะและความสามารถที่จำเป็นในการทำ

กิจกรรมเพื่อสนองความต้องการ

3. สถานการณ์ (Situation) หมายถึง ลู่ทางหรือโอกาสให้เลือกทำกิจกรรมเพื่อสนองความ

ต้องการ

4. การแปลความหมาย (Interpretation) เป็นการพิจารณาลู่ทาง หรือสถานการณ์เพื่อเลือกหา

วิธีการที่คิดว่าจะสนองความต้องการเป็นที่พอใจมากที่สุด

5. การตอบสนอง (Response) คือ การดำเนินการทำกิจกรรมตามที่ตัดสินในเลือกสรรแล้ว

6. ผลลัพธ์ที่ตามมา (Consequence) คือ ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำกิจกรรมนั้น

ซึ่งอาจได้ผลตรงกับที่คาดไว้ (Confirm) หรือตรงข้ามกับที่คาดหวังไว้ (Contradict) ก็ได้

7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง (Reaction to Thwarting) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่เกิด

ขึ้นไม่สามารถตอบสนองตามความต้องการ จึงต้องกลับไปแปลความหมายใหม่ เพื่อเลือกหาวิธีที่

จะตอบสนองความต้องการได้ แต่ถ้าเห็นว่าเป้าประสงค์นั้นมันเกินความสามารถ ก็ต้องยอมละเลิก

ความต้องการนั้นเสีย

พฤติกรรมจะสมบูรณ์และสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อผลที่ตามมาตรงกับความคาดหวัง หากไม่สมหวัง

คนเราก็จะมีปฏิกิริยาต่อไปอีก

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของพฤติกรรม

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของพฤติกรรม มี 2 ประการใหญ่ คือ

พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

นักวิชาการจิตวิทยาและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้สรุปปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของ

พฤติกรรม พอสรุปได้ ดังนี้

1. พันธุกรรมและการอบรมเป็นของคู่กัน ไม่มีอะไรสำคัญกว่ากัน เปรียบเหมือนรถยนต์กับ

น้ำมัน ถ้าขาดอะไรในสองอย่างหนึ่งก็จะใช้รถไปเที่ยวไม่ได้

2. พันธุกรรมเปรียบเหมือนวัตถุดิบ การอบรมเปรียบเหมือนนายช่างฝีมือเอก ถ้าจะตัดเสื้อ

ราตรีสักชุดหนึ่ง ควรเลือกผ้าที่ดีที่สุด และตัดจากร้านที่มีชื่อเสียงที่สุด ก็จะได้ชุดราตรีที่สวยงาม

ถูกใจ

3. พันธุกรรมดี สิ่งแวดล้อมดี และการอบรมดี ไม่ได้เป็นการประกันความสำเร็จของชีวิตได้

100% มีอีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยเรียกว่า “วาสนา” ฝรั่งเรียกว่า “โอกาส” และโอกาสที่ว่านี้ไม่ใช่

โชคลางพรหมลิขิตแต่ประการใด แต่โอกาสมักเกิดโดยบังเอิญ ถ้าไม่รีบหยิบฉวยทันทีให้เกิด

ประโยชน์แก่ตนเอง โอกาสก็จะผ่านไปอย่างน่าเสียดาย วาสนาก็ไม่อาจมีได้

4. สิ่งใดที่เป็นอากัปกิริยาภายนอก เช่น มารยาทในการสมคม การเรียนเลข พออบรมสอน

กันได้ สิ่งใดเกิดจากภายในอันมีสรรศาสตร์เป็นรากฐาน เช่น อารมณ์ อัธยาศัย(Temperament)

ความกล้าหาญ อบรมได้บ้างแต่ยากหรืออาจอบรมไม่ได้

การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์

นักจิตวิทยาสังคมจะศึกษาบุคคลแต่ละคน และพฤติกรรมโดยส่วนรวมที่แต่ละคนแสดงออก

โดย พฤติกรรมส่วนบุคคล มีองค์ประกอบ 2 ประการใหญ่ ๆ คือ

1. พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะ รูปร่าง หน้าตา สีผม ความสูง

ความเตี้ย สติปัญญาจากพ่อแม่ ตลอดจนบรรพบุรุษตกทอดไปถึงลูก

2. สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ (Environment and Learning) หมายถึง

การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ การสอนของครูอาจารย์ ตลอดจนประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เช่น

บุคคลหนึ่งอาจเคยถูกสุนัขกัดเมื่อตอนเด็ก ๆ ยังฝังใจจำเรื่องสุนัขกัดอยู่

พอเห็นสุนัขอีกจะกลัวสุนัขมาก หรือเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อมชองครอบครัว และการอ่านหนังสือ

เช่น หนังสือการ์ตูน หนังสือพิมพ์ การดูทีวี การเล่นกับเพื่อน การรับรู้เหล่านี้จะรวบรวมกลายเป็น

“นิสัย” และ “การปรับตัว” ของแต่ละบุคคล

นักจิตวิทยาบางกลุ่มยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมส่วนบุคคลนั้น เกิดมาจาก

1. เชาว์ปัญญา ความสามารถพิเศษ ความถนัด และความสนใจ เช่น

บุคคลบางคนมีความสามารถทางวาดภาพหรือการเป็นนักดนตรี ย่อมมีพฤติกรรมส่วน

บุคคลแตกต่างจากบุคคลที่มีความสามารถพิเศษทางการช่าง ผู้ที่มีความสามารถทางคิดคำนวณ

เขาชอบวิชาคณิตศาสตร์และอาจมีอาชีพเป็นพนักงานบัญชี ส่วนคนที่ชอบพูดชอบคุย

ชอบแสดงความคิดเห็น เขาจะเลือกอาชีพเป็นพนักงานขาย เป็นตัน

2. เพศและขนาดของร่างกาย เพศชายอาจจะมีกิริยาวาจาไม่เรียบร้อย พูดจาหยาบคาย

ในขณะที่เพศหญิงมักมีกิริยาวาจาสุภาพ อ่อนโยน บุคคลที่มีรางกายใหญ่โต อาจจะสนใจ

เป็นนักเล่นกล้าม นักมวย บุคคลที่มีร่างกายเล็กหรือหน้าตาไม่สวยอาจรู้สึกมีปมด้อย

3. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี

อาจจะมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมก็

เช่นเดียวกัน ผู้ที่มาจากชุมชนแออัดอาจมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี

4. วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และการใช้ภาษาของแต่ละท้องถิ่น เช่น ผู้นำที่มีอิทธิพลต่อ

แนวความคิด อุดมคติของแต่ละบุคคล คนนับถือศาสนาพุทธที่มีความเชื่อว่า คนตายแล้วจะกลับ

มาเกิดอีก จึงกระทำความดีในชาติปัจจุบัน เพื่อให้การเกิดใหม่ในชาติหน้าร่ำรวย มีความสุข

5. สภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ของท้องถาที่กันดารทำให้

บุคคลมีพฤติกรรมที่เหนื่อยล้าต่อสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมของคนภาคกลาง จะกระฉับกระเฉง

ต่อสู้กับสภาพเศรษฐกิจ มีความคิดริเริ่ม มีสติปัญญา คิดทำสิ่งที่แปลกใหม่

6. อาชีพ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมกับครูสอนหนังสือย่อมมีพฤติกรรมต่างกันตามฐานะ

7. บทบาท สถานภาพ และกาลเทศะ

พฤติกรรมทางสังคม (Social Behavior)

เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลอื่น รวมทั้งระหว่างบุคคล

หรือกลุ่มคนต่อกลุ่มคน พฤติกรรมที่แสดงออกจะสอดคล้องกับสถานภาพ บทบาท และกาลเทศะ

และพฤติกรรมของกลุ่มสังคมมีอิทธิพลจากขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ส่งผลให้บุคคล

ในสังคมจะทำอะไรตามใจชอบไม่ได้ ต้องปรับปรุงบุคลิกภาพของตนให้คล้อยตามแนวทาง

ที่สังคมยอมรับ

พฤติกรรมทางสังคมอาจจะแยกย่อยออกไปได้หลายอย่าง เช่น

1. การพูด บุคคลแต่ละคนจะพูดกับเพื่อน พูดกับพ่อแม่ พูดกับครูอาจารย์

สามีพูดกับภรรยา ผู้บังคับบัญชาพูดกับผู้ใต้บังคับบัญชา ย่อมใช้คำพูดไม่เหมือนกัน

2. การวางตัว หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทาง การใช้สีหน้า แววตา เมื่อพูดกับเพื่อนย่อม

แสดงกิริยาท่าทางแตกต่างจากที่พูดกับผู้บังคับบัญชา

3. พฤติกรรมเฉพาะของแต่ละสังคม ในหมู่คนพวกหนึ่งย่อมมีพฤติกรรมส่วนรวมเฉพาะ

ของหมู่คนนั้น ซึ่งผิดแผกแตกต่างกันกับคนหมู่อื่น

4. อิทธิพลของผู้นำกลุ่ม ผู้นำกลุ่มแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน เช่น ผูนำของทหารย่อมต้องการ

ให้ทหารเข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ พฤติกรรมสังคมของทหารจะเป็นอย่างนั้น ผู้นำวัยรุ่นก็ทำให้

พฤติกรรมของวัยรุ่นแตกต่างจากพฤติกรรมของวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ผู้นำของพระภิกษุสงฆ์

ก็ต้องการให้พระภิกษุสงฆ์สำรวมสันโดษ มีศีลธรรม เป็นตัวอย่างอันดีต่อฆราวาส

กระบวนการพฤติกรรมของมนุษย์

สิ่งเร้า (Stimulus) สิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์มีปฏิกิริยาตอบสนอง* คือ สิ่งแวดล้อม นักจิตวิทยา

จึงสนใจสิ่งแวดล้อมในฐานะที่มันทำหน้าที่เร้าให้มนุษย์กระทำพฤติกรรม

สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยามี 2 ประเภท คือ

1. สิ่งแวดล้อมภายนอก (Explicit Environment) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกาย

ของมนุษย์ เช่น คน สัตว์ วัตถุสิ่งของ รวมถึงกิจกรรมที่เป็นนามธรรม เช่น หลักศีลธรรม

ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม

2. สิ่งแวดล้อมภายใน (Implicit Environment) ได้แก่ การกระทำของอวัยวะต่าง ๆ

ภายในร่างกาย เช่น ความอยาก ความหิว กระหาย เป็นต้น

สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีส่วนทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ถ้ามนุษย์ไม่ถูกเร้าด้วย

สิ่งแวดล้อมใด จะเป็นสิ่งแวดล้อมธรรมดา ไม่เป็นสิ่งเร้า

อวัยวะสัมผัสที่รับสิ่งสัมผัสภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ ตา หู จมูก สิ้น และผิวหนัง

ปรากฏออกมาเป็นรูปแบบของการมองเห็น การได้ยิน การรู้สึก และความรู้สึกร้อนหนาว

เจ็บปวดหรือรู้สึกว่าถูกกดดัน เป็นต้น ส่วนอวัยวะสัมผัสภายใน เช่น ช่องชั้นในของหู กล้ามเนื้อ

เอ็น ทำให้เรารู้จักการทรงตัวอยู่ได้ในลักษณะใด การแกว่งแขน เราก็จะทราบว่าแกว่งไปไกล

แค่ไหน ถึงแม้จะหลับตาเสียก็ยังเข้าใจ ในบางกรณี สิ่งแวดล้อมก็อยู่นอกเหนือความสามารถ

ในการรับสัมผัสของมนุษย์ เช่น มนุษย์ไม่สามารมองเห็นแสงเอกซ์เรย์ คลื่นแสงอินฟราเรด

หรือไม่สามารถได้ยินคลื่นเสียงถี่เกินไป เป็นต้น

แรงจูงใจ (Motivation)

แรงจูงใจ (Motivation) คือ สิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ อันเกิดจากความต้องการ

(Needs) พลังกดดัน (Drives) หรือ ความปรารถนา (Desires) ที่จะพยายามดิ้นรนเพื่อให้

บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะเกิดมาตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ได้

แรงจูงใจเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั้น ๆ เอง ภายใน ได้แก่

ความรู้สึกต้องการ หรือขาดอะไรบางอย่าง จึงเป็นพลัง ชักจูง หรือกระตุ้นให้มนุษย์ประกอบ

กิจกรรมเพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหรือต้องการนั้น ส่วนภายนอกได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่มาเร่งเร้า

นำช่องทาง และมาเสริมสร้างความปรารถนาในการประกอบกิจกรรมในตัวมนุษย์ ซึ่งแรงจูงใจ

นี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในหรือภายนอก แต่เพียงอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้

อาจกล่าวได้ว่า แรงจูงใจทำให้เกิดพฤติกรรมซึ่งเกิดจากความต้องการของมนุษย์ ซึ่งความต้องการ

เป็นสิ่งเร้าภายในที่สำคัญกับการเกิดพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีสิ่งเร้าอื่น ๆ เช่น การยอมรับของ

สังคม สภาพบรรยากาศที่เป็นมิตร การบังคับขู่เข็ญ การให้รางวัลหรือกำลังใจหรือการทำให้เกิด

ความพอใจ ล้วนเป็นเหตุจูงใจให้เกิดแรงจูงใจได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่มีปัญหา

นักจิตวิทยาวิเคราะห์กล่าวว่า พฤติกรรมที่มีปัญหามีสาเหตุมาจาก (รศ.ดร. กันยา สวรรณแสง :

2540)

1. มีความขัดแย้งทางจิตใจ ลังเล ตัดสินใจไม่ได้ ทำให้เกิดความวิตกกังวล

2. ขาดทักษะ ประสบการณ์ ไม่มีความชำนาญในการกระทำ จึงเกิดความเคอะเขิน ผิดพลาด

ล้มเหลว

3. มีเจตคติไม่ดี จิตใจไม่ยอมรับ จึงอยากแสดงออกตามความรู้สึกของตนเอง

4. เชาวน์ปัญญาไม่ดี คิดไม่ถึง ตัดสินใจผิดพลาด

5. ความจำไม่ดี ขี้ลืม จึงกระทำผิด ๆ ถูก ๆ

6. มีความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต เกรงจะทำไม่สำเร็จ ตัดสินใจไม่ถูก

กังวลต่อความผิดพลาด อัปยศ หมดหวัง

7. ความต้องการแข่งขัน เอาชนะ อยากเด่นดัง ทำให้เกิดความเครียด อิจฉา ริษยา กังวล

วุ่นวายใจ ไม่มีความสุข

8. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้เงอะงะ งุ่มง่าม

9. มีความจริงใจมากเกินไปไม่รู้จักหยุดหย่อน แข็งกร้าว

10. ขาดข้อมูล ทำให้เกิดการคาดเดา

11. มีความคิดที่ไร้เหตุผล ก่อให้เกิดพฤติกรรมและการกระทำที่ไร้เหตุผล

กลวิธีสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์

1. สร้างแบบอย่างพฤติกรรมที่ดีงาม ปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม

2. ให้การอบรมสั่งสอน เปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และไม่

พึงปรารถนา

3. ให้การเสริมแรง ให้รางวัล ชมเชย ให้สิ่งที่พอใจแก่ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ดี สนับสนุนส่งเสริม

ให้มีพฤติกรรมที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น และติติง ว่ากล่าว ทักท้วง ลงโทษ ผู้มีพฤติกรรมไม่ดีให้ลดลงเรื่อย ๆ

สกินเนอร์ (Skinner) เชื่อว่า “การกระทำที่ได้รับการเสริมแรง ย่อมจะมีแนวโน้มที่จะทำให้

เกิดการกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่ได้รับการเสริมแรงหรือถูกขัดขวาง ย่อมมีแนวโน้ม

ที่จะทำให้ความถี่ของการกระทำที่ไม่พึงปรารถนาลดลง และหายไปในที่สุด ถ้าหมั่นเสริมแรง

แก่ผู้มีพฤติกรรมดี พฤติกรรมที่พึงปรารถนาและเป็นที่ยอมรับของสังคมก็จะมีเพิ่มมากขึ้น ๆ

จนติดเป็นนิสัย เช่น ความสุภาพ นอบน้อมถ่อมกาย ซื่อตรง ขยันหมั่นเพียร มีความเชื่อมั่นสูง”

แบนดูรา (Bandura) ก็กล่าวว่า วิธีการปรับพฤติกรรม คือ ให้การเสริมแรงแก่พฤติกรรม

ที่พึงปรารถนาและไม่ให้การเสริมแรงหรือเอาใจใส่แก่พฤติกรรมที่ไม่ดี

นอกจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์แล้ว เดวิด แมกซ์ ซิลแลนด์ (Davit C.Mc

Ciellad) ได้กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ดังนี้

1. ความมั่นคงในการทำงาน (Security) หมายถึง กิจการหรือหน่วยงานทีตนทำงาน

จะต้องมีความยั่งยืน ไม่เลิกกิจการไปง่าย ๆ และมีฐานะทางการเงินดีพอที่จะจ่ายเงินเดือน

ให้ได้ตลอดไป สามารถฝากชีวิตอนาคตไว้ได้ แต่ถ้ากิจการหรือหน่วยงานไม่มั่นคง จิตใจของ

ผู้ทำงานก็จะหวั่นไหว กลัวตกงาน อดอยาก จึงต้องดิ้นรนแสวงหากิจการหรือหน่วยงาน

ที่มั่นคงกว่า

2. การยอมรับนับถือ (Recognition) การที่ทุกคนต้องการเกียรติ การยอมรับ นับถือ

ในความรู้ ความสามารถ ไม่มีการแบ่งคุณวุฒิ แบ่งกลุ่ม หรือมีการดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม

ในความรู้ ความสามารถ ความมั่งมีหรือยากจน ตระกูลสูงหรือต่ำ

3. ต้องการความก้าวหน้า (Opportunity) ต้องการมีโอกาสก้าวหน้าสูงขึ้นคนเราเมือ

ทำงานแล้ว ก็อยากเห็นตนเองมีความก้าวหน้าทางการงาน ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น ได้เลื่อน

ตำแหน่งสูงขึ้น ได้ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ รู้จักคนมากขึ้น ได้ช่วยเหลือหน่วยงานเพิ่มขึ้น

ความก้าวหน้าทำให้คนมีกำลังใจในการทำงาน และเป็นความต้องการของมนุษย์ที่คุกรุ่นอยู่

ภายในด้วยกันทุกคน

4. ต้องการความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ (New Experience) การได้รับการฝึกอบรม

ศึกษา ดูงาน เปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ หรือเป็นกรรมการต่าง ๆ ย่อมทำให้คนเราไม่

จำเจซ้ำซาก ไม่ทำให้เบื่อหน่าย ทำให้คนเรากระฉับกระเฉง ซึ่งมนุษย์ถือว่าการได้ประสบการณ์

เป็นเกียรติอย่างหนึ่ง

5. การมีเสรีภาพในการทำงาน (Freedom) การมีเสรีภาพทำให้ทำงานได้คล่องตัวไม่อึดอัด

กับระเบียบกฎข้อบังคับ มีโอกาสแสดงความคิดเห็นทางการพูด การเขียนบ้าง ไม่ถูกกดขี้ขี่

มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามเหมาะสม

6. ได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งหรือการมีส่วนร่วมในงาน (Belonging) มนุษย์ต้องการ

ให้กลุ่มยอมรับเป็นพวกเดียวกัน ไม่ต้องการความรู้สึกว่าเป็นคนละพวกหรือเป็นแกะดำหลงฝูง

หรือพลัดถิ่น ต้องการเข้าร่วมเป็นพวก

นักจิตวิทยาชื่อ มาสโลว์ (A.H. Maslow) กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ ดังนี้

1. ความต้องการพื้นฐานของร่างกาย คือ อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค

2. ต้องการความมั่นคงในชีวิต คือ ต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3. ต้องการความรักจากเพื่อนร่วมงาน คือ การยอมรับเข้าเป็นพวก ไม่ถูกกีดกัน ไม่มีการแบ่ง

ชั้นวรรณะ คุณวุฒิ สถานศึกษา

4. ต้องการความก้าวหน้า คือ ต้องการมีตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้งขึ้นไปถึงขั้นสูงสุด

5. ต้องการความพึงพอใจที่จะทำอะไรเป็นพิเศษ คือ ผู้ที่อยู่ในขั้นนี้มักจะมีสิ่งต่าง ๆ

พร้อมทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความสำเร็จ มีเงินทอง ฐานะมั่นคงพร้อมแล้ว

ต้องการให้คนทั่วไปแซ่ซ้องสรรเสริญตนเองให้มาก ๆ เช่น สร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียน

หรือสถานที่สำคัญอื่นๆ โดยจะได้รับจารึกชื่อไว้ที่อาคารหรือสถานที่เหล่านั้น

เพิ่มเติม

ปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) หมายถึง เมื่อมนุษย์ถูกเร้า ย่อมแสดงปฏิกิริยา

ตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจปรากฏชัดเจน สังเกตเห็นได้ หรือไม่ก็ได้

การจูงใจให้เกิดพฤติกรรม คือ การใช้ศิลปะทำให้บุคคลหรือกลุ่มชน เปลี่ยนเป้าหมาย