ป.ป.ช ผู้พิพากษา -...

23
ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์ 75 ได้ อ่านบทความท่านวิชัย วิวิตเสวี เรื่อง “ไต่สวนผู้พิพากษา : คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก้าวล่วงอำานาจตุลาการจริงหรือ” ท่านเชิญชวนผู้สนใจแลกเปลี่ยน “วาทกรรมทางนิติศาสตร์” (Legal discourse) ในประเด็นดังกล่าว แต่เริ่มเดิมทีผู้เขียนเห็นว่ามีนักวิชาการออกมา แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวมากมายแล้ว จึงไม่ปรารถนากล่าว ซำ้ายำ้าความให้ซำ้าซ้อน แต่บทความของท่านวิชัยจุดเชื้อไฟทางอารมณ์ของ ผู้เขียนให้จำาต้องนำาเสนอข้อเท็จจริงอันเป็นมุมมองที่อาจเห็นต่างหรือ เห็นพ้องกับบทความของท่านวิชัยตามที่จะได้ลำาดับความต่อไป ป.ป.ช.ไต่สวนผู้พิพากษา : สร้างสรรค์หรือแทรกแซง ประโยชน์สุดท้ายใครได้ใครเสีย สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ * * ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ช่วยทำางานในตำาแหน่งผู้พิพาทหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ประจำาสำานักประธานศาลฎีกา

Upload: doxuyen

Post on 22-May-2018

240 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

75

ได้อา่นบทความทา่นวชิยั ววิติเสว ี เรือ่ง “ไตส่วนผูพ้พิากษา :

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก้าวล่วงอำานาจตุลาการจริงหรือ”

ท่านเชิญชวนผู้สนใจแลกเปลี่ยน “วาทกรรมทางนิติศาสตร์” (Legal

discourse) ในประเด็นดังกล่าว แต่เริ่มเดิมทีผู้เขียนเห็นว่ามีนักวิชาการออกมา

แสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวมากมายแล้ว จึงไม่ปรารถนากล่าว

ซำ้ายำ้าความให้ซำ้าซ้อน แต่บทความของท่านวิชัยจุดเชื้อไฟทางอารมณ์ของ

ผู้เขียนให้จำาต้องนำาเสนอข้อเท็จจริงอันเป็นมุมมองที่อาจเห็นต่างหรือ

เห็นพ้องกับบทความของท่านวิชัยตามที่จะได้ลำาดับความต่อไป

ป.ป.ช.ไต่สวนผู้พิพากษา : สร้างสรรค์หรือแทรกแซง ประโยชน์สุดท้ายใครได้ใครเสีย

สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ *

* ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุุทธรณ์ภาค ๑ ช่วยทำางานในตำาแหน่งผู้พิพาทหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์

ประจำาสำานักประธานศาลฎีกา

Page 2: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

76

๑. ค ว า ม เ จ็ บ ป ว ด ข อ ง

ท่านวิชัยที่ถูกกล่าวหาว่า เหยียบยำ่า

สถาบันตุลาการกับความสุขความ

ภาคภูมิใจในฐานะอดีตผู้พิพากษา

ปั จ จุ บั น ผู้ พิ พ า ก ษ า ศ า ล

ยุติธรรมทั่วประเทศมีจำานวนประมาณ

๔,๓๐๐ ท่านผู้เขียนเชื่อมั่นว่าทันทีที่

ผู้พิพากษาทุกคนทราบข้อเท็จจริงว่า

เ พี ย ง เ พ ร า ะ ผู้ พิ พ า ก ษ า ค น ห นึ่ ง

ใช้ดุลพินิจโดยสุจริตตามกฎหมายออกหมายจับท่านสุนัย มโนมัยอุดม

อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ เคยดำารงตำาแหน่งเป็นข้าราชการ

ตุลาการศาลยุติธรรม ต้องได้รับบาปเคราะห์ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช.

แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนในข้อกล่าวหาว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่า

ได้กระทำาความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำาความผิดต่อตำาแหน่ง

หน้ าที่ ร า ช ก า รหรื อ ก ร ะทำ า ค ว าม ผิ ดต่ อตำ า แหน่ ง หน้ าที่ ใ น

การยุติธรรม โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย

แก่ผู้ต้องหาตามคำาสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ ๔๐๕/๒๕๕๒ นั้น ผู้เขียน

อยากเรียนท่านวิชัยว่าตัวท่านเจ็บปวดเพียงลำาพังแต่ระคนเจือปนด้วยความสุข

ควบคู่กันไป แต่ผู้พิพากษาหลายพันคนโดยเฉพาะท่านอิทธิพล โสขุมา

ผู้ถูกกล่าวหาต้องเจ็บปวดรวดร้าวระคนปนทุกข์ไร้ร่องรอยความสุขอย่างสิ้นเชิง

เพราะต้องตั้งคำาถามกับตัวเองนับครั้งไม่ถ้วนว่า เหตุใดการปฏิบัติหน้าที่

ในทางตุลาการที่มิได้มีเจตนาหรือพฤติการณ์ใดๆ บ่งชี้ไปในทางที่มิชอบหรือ

ละเมิดฝ่าฝืนทุจริตผิดกฎหมาย จึงต้องมาเผชิญวิบากกรรมถูกตั้งข้อหาว่า

Page 3: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

77

เป็นบุคคลที่มีเหตุสงสัยว่ากระทำาความผิดกฎหมายในข้อหาร้ายแรงมีอัตรา

โทษสูงสุดถึงจำาคุกตลอดชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๐๒

หรือคำาว่า “สุจริตคือเกราะบังศาสตร์พ้อง” จะสิ้นมนต์ขลังคลายความ

ศักดิ์สิทธิ์เป็นเพียงวลีที่ปลอบประโลมใจกันเท่านั้น

๒. ความชอบธรรมในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน

ของ ป.ป.ช. กรณีท่านสุนัยเป็นผู้กล่าวหา

ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านวิชัยที่ว่า ผู้พิพากษามิใช่อภิสิทธิ์ชน

ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนประชาชนและต้องปกปักรักษาความบริสุทธิ์

ยุติธรรมในพระปรมาภิไธยไว้ด้วยชีวิต ผู้เขียนและผู้พิพากษาทุกคนต่าง

สำานึกรับรู้เข้าใจในข้อเท็จจริงข้อกฎหมายและพันธกิจอันเป็นอุดมการณ์

Page 4: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

78

ตามหน้าที่เหมือนลมหายใจเข้าออกและเห็นต่อไปด้วยว่าผู้พิพากษาที่กระทำาผิด

กฎหมายก็ต้องถูกฟ้องร้องดำาเนินคดีเช่นผู้กระทำาผิดทั่วไป มิได้รับสิทธิพิเศษ

เหนือคนอื่น แต่ท่านก็ต้องยอมรับว่าในอีกสถานภาพหนึ่ง ผู้พิพากษาได้รับ

ฉันทานุมัติจากสังคมให้ทำาหน้าที่เป็นกรรมการคนกลางที่แบกรับภาระของ

คู่ความประชาชนและประเทศชาติไว้ในความรับผิดชอบที่ถูกจับจองมองดู

ตรวจสอบถึงความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นธรรมเป็นกลาง อิสระ ปราศจาก

อคติในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ท่ามกลางความขัดแย้งที่เดิมพัน

ภายใต้สิทธิเสรีภาพ ชีวิตร่างกายและผลประโยชน์อันมหาศาลของคู่ความ

Page 5: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

79

ฤาจะลอยแพปล่อยให้ผู้พิพากษาเผชิญชะตากรรมถูกลอบทำาร้ายใน

สนามรบโดยปราศจากเสื้อเกราะหรือรถกันกระสุนในการปกป้องเภทภัย

กรายกลำ้าในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งจะดูโหดร้ายไม่เป็นธรรมกับภาระกิจ

ที่สุ่มเสี่ยงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกับเหตุการณ์วันที่

๑๐ เมษาเลือดในปีนี้ที่มีทหาร พลเรือนบาดเจ็บล้มตายจำานวนมาก

ดังที่เป็นข่าวดังไปทั่วไปโลก

ประเด็นที่ผู้เขียนขอหยิบยกมาเป็นหัวข้อปุจฉาและวิสัชนาประการ

แรกคือคำาสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่ ๔๐๕/๒๕๕๒ กล่าวอ้างเหตุแห่งความ

ชอบธรรมที่ต้องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนท่านอิทธิพว่าเป็นกรณีตาม

มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบัญญัติว่า “เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ได้รับคำากล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๘๔ หรือมีเหตุอันควร

สงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำาความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่

กระทำาความผิดต่อตำาแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำาความผิดต่อ

ตำาแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำาเนินการ

ตามหมวด ๔ การไต่สวนข้อเท็จจริง” ปัญหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.

ต้องตอบโจทย์ในข้อแรกมีว่า ๑. ท่านสุนัยได้แสดงเจตนากล่าวหาท่าน

อิทธิพลว่ากระทำาความผิด

ตามข้อหาในมาตรา ๘๘

หรือไม่ ๒. มีพยานหลักฐาน

ใ ด ส นั บ ส นุ น ว่ า ค ณ ะ

กรรมการ ป.ป.ช. มี เหตุ

อันควรสงสัยจนถึงขนาดว่า

Page 6: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

80

ท่ า น อิ ท ธิ พ ล ก ร ะ ทำ า ค ว า ม ผิ ด

ต า ม ข้ อ ก ล่ า ว ห า ใ น ม า ต ร า

๘๘ ผู้ เขียนขอเชิญชวนผู้อ่ าน

ทุกท่านมาวิสัชนาค้นหาคำาตอบ

ต่อประเด็นที่ตั้งไว้

ประเด็นแรก หลังจาก

ท่านอิทธิพลออกหมายจับท่าน

สุนัยแล้ว วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑

ท่านสุนัยยื่นคำาร้องขอเพิกถอน

หมายจับต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านอิทธิพลซึ่งเป็นผู้พิพากษา

ในขณะนั้นได้มีคำาสั่งว่า “ศาลได้ใช้ดุลพินิจตามอำานาจหน้าที่และพยาน

หลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุเพิกถอนหมายจับและระงับ

การดำาเนินการตามหมายจับ ยกคำาร้อง” ต่อมาวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๑

ท่านสุนัยยื่นอุทธรณ์คำาสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๑ วันที่ ๑๑ มิถุนายน

๒๕๕๑ ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ มีคำาสั่งให้เพิกถอนหมายจับท่านสุนัย วันที่ ๒๗

มิถุนายน ๒๕๕๑ พนักงานสอบสวนยื่นฎีกา ปัจจุบันคดียังอยู่ในระหว่าง

การพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าหลัง

จากศาลอุทธรณ์ภาค ๑ มีคำาสั่งเพิกถอน

หมายจับแล้วท่านสุนัยได้ยื่นคำาร้อง

ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวหา

ว่า พ.ต.ท. ณ กับ พ.ต.อ . ธ

กับพวกว่ากระทำาความผิดฐาน

ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำาความผิด

Page 7: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

81

ต่ อ ตำ า แ ห น่ ง ห น้ า ที่ ร า ช ก า ร ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ป . ป . ช . จึ ง แ ต่ ง ตั้ ง

คณะอนุกรรมการไต่สวนนายตำารวจทั้งสองนาย วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑

คณะอนุกรรมการไต่สวนสรุปผลการไต่สวนมีความเห็นว่า พฤติการณ์

และการกระทำาของนายตำารวจทั้งสองนายเป็นความผิดวินัยและความผิด

อาญา ซึ่งการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนดังกล่าว สอดคล้องกับ

ข้อกฎหมายมาตรา ๘๘ ที่ว่า ๑. ต้องมีผู้กล่าวหา ๒. เป็นการกล่าวหาเป็น

หนังสือลงลายมือของผู้กล่าวหา และ ๓. มีรายละเอียดตามข้อกล่าวหา

และพฤติการณ์แห่งการกระทำาความผิดตามข้อกล่าวหาพร้อมพยานหลักฐาน

แต่ข้อที่เป็นพิรุธน่าประหลาดใจคือ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน

ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งนี้ ไม่ได้กล่าวหาว่าท่านอิทธิพลว่ามีส่วนร่วม

ในการกระทำาความผิดด้วย จนกระทั่งวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา

ล่วงพ้นมา ๑ ปีเศษ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ

ไต่สวนท่านอิทธิพลในข้อหาเดียวกันกับ

นายตำารวจทั้งสองนาย ปุจฉาจึงมีว่า

ท่านสุนัยได้ร้องเรียนเอาผิดกับ

ท่านอิทธิพลตั้ งแต่แรกเริ่ม

หรือไม่ หรือท่านสุนัยร้อง

เ รี ย น ท่ า น อิ ท ธิ พ ล เ พิ่ ม

เ ติ ม ห ลั ง จ า ก ที่ ค ณ ะ

อ นุ ก ร ร ม ก า ร ป . ป . ช .

ไต่สวนนายตำารวจทั้งสอง

นายเสร็จสิ้นแล้ว หรือหาก

อาศัยคำาร้องเรียนของท่านสุนัย

Page 8: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

82

ฉบับแรก เหตุใดคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่ไต่สวนท่านอิทธิพลตั้งแต่แรก

เริ่มพร้อมผู้ถูกกล่าวหารายอื่น ทั้งที่เป็นเหตุการณ์และข้อเท็จจริงเดียวกัน

หากเป็นการร้องเรียนเพิ่มเติมท่านสุนัยร้องเรียนเมื่อใด กุญแจที่จะเปิดไขไป

สู่ปริศนาที่ผู้เขียนค้นพบก็คือ แท้จริงแล้วท่านสุนัยไม่มีเจตนาร้องเรียนกล่าว

หาเอาผิดท่านอิทธิพลในการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาผู้ออกหมายจับตนเอง

ตั้งแต่เริ่มต้น ดังหนังสือของท่านสุนัย ฉบับวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๓ ที่มีถึง

สำานักงานศาลยุติธรรมและประธานกรรมการ ป.ป.ช. ใจความว่าข้าพเจ้า

มิได้มีเจตนาร้องเรียนนายอิทธิพลต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือ

ต้องการให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำาเนินการต่อนายอิทธิพลในเรื่อง

ดังกล่าวแต่อย่างใด กล่าวโดยสรุปคือท่านสุนัยไม่ได้กล่าวหาท่านอิทธิพล

และไม่ได้มีการร้องเรียนหรือมีข้อเท็จจริงใหม่เพิ่มเติม แต่ประสงค์ให้คณะ

Page 9: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

83

กรรมการ ป.ป.ช. ยุติเรื่องการไต่สวนท่านอิทธิพล คำาถามที่ผู้เขียนและ

ผู้พิพากษาจำานวนมากอยากได้คำาตอบจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็คือ เมื่อ

ท่านสุนัยยืนยันข้อเท็จจริงมาโดยตลอดว่าไม่ได้มีเจตนาร้องเรียนเอาผิดกับ

ท่านอิทธิพล ไม่มีการร้องเรียนเพิ่มเติมและไม่ต้องการให้คณะกรรมการ

ป.ป.ช. ดำาเนินการไต่สวนท่านอิทธิพลในเรื่องดังกล่าวต่อไป แล้วเหตุใด

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังคงเดินหน้าไต่สวนโดยไม่ฟังเจตนาของท่านสุนัยที่

เป็นผู้เสียหาย หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เข้าใจว่ามีอิสระในการใช้ดุลพินิจ

ตีความเจตนาของท่านสุนัยเกินเลยไปจากเจตนาที่ท่านสุนัยยืนยันตัวบุคคล

ผู้ถูกกล่าวหา หรือว่าเวลาที่ล่วงพ้นมา ๑ ปี จากการไต่สวนนายตำารวจ

ทั้งสองนาย คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีพยานหลักฐานใหม่จนมีเหตุสงสัยว่า

Page 10: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

84

ท่านอิทธิพลกระทำาผิดตามกฎหมาย หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ทราบว่า

นายตำารวจทั้งสองนายผู้ถูกกล่าวหาอุทธรณ์คำาสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ต่อ

ศาลฎีกา และปัจจุบันคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา หรือ

คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่าแม้คดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ

ศาลฎีกา คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็มีอำานาจไต่สวนท่านอิทธิพลควบคู่ไปกับการ

ทบทวนคำาสั่ งของศาลฎีกาได้ หากหลักการเช่นนี้ถูกต้อง ต่อไปใน

อนาคต คู่ความที่เห็นว่าตนเองเสียเปรียบในเชิงคดีหรือหวังผลคดีในทาง

มิชอบก็อาจยืมมือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ร้องเรียนกล่าวหาผู้พิพากษาได้ เช่น

ผู้พิพากษาไม่บันทึกคำาเบิกความพยานเพราะเห็นว่า ไม่เกี่ยวกับประเด็น

แห่งคดี ซึ่งคู่ความฝ่ายนั้นควรร้องคัดค้านขอให้ศาลจดบันทึกไว้ในสำานวน

เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป แต่ไม่กระทำากลับมาร้องต่อคณะ

กรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ไต่สวนว่าผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือ

ผู้พิพากษาไม่ออกหมายเรียกพยานเอกสารให้ฝ่ายโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง

Page 11: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

85

เพราะเห็นว่าเป็นการยืมมือศาลเรียกเอกสารจากบุคคลภายนอกที่

ไม่เกี่ยวกับคดีเพราะต้องการเอาไปใช้อ้างในเรื่องอื่นจึงแกล้งฟ้องจำาเลยเป็น

คดี หรือศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว แต่ศาลสูงอนุญาตให้ปล่อย

ชั่วคราวจำาเลยเป็นต้น ซึ่งหากแปลว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาดังที่

กล่าวมามีเหตุสงสัยว่าเป็นการกระทำาความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำา

ความผิดต่อตำาแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำาความผิดต่อตำาแหน่งหน้าที่

ในการยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ

ไต่สวนผู้พิพากษาได้ตามคำาร้องเรียนของผู้กล่าวหาได้แล้ว กฎหมายวิธี

พิจารณาความแพ่งและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็คงเป็นหมัน

พิกลพิการเป็นแน่แท้และคู่ความที่สบช่วงร้องเรียนก็จะใช้คณะกรรมการ

ป.ป.ช. เป็นเครื่องมือมาไต่สวนผู้พิพากษาเพื่อหวังผลในทางคดีที่เป็น

ประโยชน์แก่ตนในหนทางที่มิชอบได้

Page 12: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

86

ปุจฉาข้อสองคือ มีพยานหลักฐานใดที่

สนับสนุนให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีเหตุ

อั น ค ว ร ส ง สั ย ว่ า ท่ า น อิ ท ธิ พ ล ก ร ะ ทำ า

ผิ ด ก ฎ ห ม า ย จ น ต้ อ ง แ ต่ ง ตั้ ง ค ณ ะ

อนุกรรมการไต่สวน ในประเด็นนี้

ไม่ ว่ าจะพิจารณาจากเจตนาท่ าน

สุนัยที่ทำาหนังสือถึงประธานกรรมการ

ป .ป .ช . ว่ าไม่ มี เ จตนาร้ อ ง เ รี ยน

ท่านอิทธิพลและไม่ประสงค์ให้คณะ

กรรมการ ป.ป.ช. ดำาเนินการต่อท่าน

อิทธิพลในเรื่องดังกล่าวต่อไป และคดียังไม่ถึงที่สุด

ผู้เขียนจึงยังค้นหาคำาตอบไม่พบว่า เหตุที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. สงสัย

ว่าท่านอิทธิพลกระทำาความผิดกฎหมายนั้น เป็นการอนุมานคาดหมาย

จากเจตนาท่านสุนัยหรือจากผลการไต่สวนนายตำารวจทั้งสองนาย ไม่ว่า

ข้อเท็จจริงจะเป็นประการใด คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ต้องจำานนกับพยานหลักฐาน

ที่ว่าท่านสุนัยไม่ได้ร้องเรียนท่านอิทธิพลและไม่ปรากฏพฤติการณ์อันใด

ว่าท่านอิทธิพลประพฤติทุจริตคิดมิชอบอย่างไร รวมทั้งศาลฎีกายังมิได้มี

คำาพิพากษาหรือคำาสั่งในเรื่องนี้ หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. อ้างว่ามีอำานาจโดย

ชอบธรรมตามกฎหมายสามารถไต่สวนท่านอิทธิพลได้แล้วความเป็นอิสระ

ในการพิจารณาอรรถคดีของศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

มาตรา ๑๙๗ คงเป็นความเป็นอิสระในอุดมคติแค่นามธรรมเท่านั้น รวมทั้ง

ที่สหประชาชาติได้ประกาศหลักการพื้นฐานว่าด้วยความเป็นอิสระของฝ่าย

ตุลาการ (United Nations, Base Principles on the Independence of the

Page 13: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

87

Judiciary) ว่า “ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการจะต้องได้รับการรับประกัน

โดยรัฐและถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายรัฐทุกรัฐและหน่วยงาน

อื่นๆ มีหน้าที่จะต้องเคารพและรักษาความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ

และกฎบัตรสากลของผู้พิพากษา (Universal Charter of the Judge)

ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้รับการรับรองโดยผู้พิพากษาจากทุกภูมิภาคทั่วโลก

ได้บัญญัติไว้ว่า “ความเป็นอิสระของผู้พิพากษานั้นเป็นสิ่งจำาเป็นที่ขาดไม่ได้

ของความยุติธรรมที่ทรงความเที่ยงธรรมภายใต้กฎหมาย มันแยกขาดออกไป

ไม่ได้ ทุกสถาบันและทุกหน่วยงานที่มีอำานาจไม่ว่าจะเป็นในระดับชาติ

หรือในระดับนานาชาติจะต้องเคารพคุ้มครองปกป้องความเป็นอิสระนั้น”

ซึ่งเป็นหลักการสากลที่รับรองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาที่เป็นหลัก

ประกันความเป็นธรรมของคู่ความและประชาชน และเป็นหลักการ

สำาคัญในการปกครองบ้านเมืองซึ่งเป็นที่ยอมรับในนานาอารยประเทศ

ก็คงถูกกัดกร่อนบ่อนทำาลายไปด้วย เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราช

อาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ แล้ว จะเห็น

ได้ว่าผู้พิพากษาเป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตย

ท า ง ตุ ล า ก า ร ใ น พ ร ะ ป ร ม า ภิ ไ ธ ย

พระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ

แ ต ก ต่ า ง จ า ก ข้ า ร า ช ก า ร ห รื อ

เจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น โดยรัฐธรรมนูญ

แ ห่ ง ร า ช อ า ณ า จั ก ร ไ ท ย ไ ด้

ร ะ บุ เ กี่ ย ว กั บ อำ า น า จ ห น้ า ที่

ค ว า ม เ ป็ น อิ ส ร ะ ก า ร แ ต่ ง ตั้ ง

การพ้นจากตำาแหน่ง การลงโทษ ฯลฯ

Page 14: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

88

ของผู้พิพากษาไว้โดยเฉพาะเจาะจงอย่างชัดเจน หากรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทยประสงค์จะให้มีการตรวจสอบผู้พิพากษาเป็นกรณี

อื่นนอกเหนือจาก ๑) ผู้พิพากษาถูกตรวจสอบการใช้ดุลพินิจโดย

ศาลที่สูงกว่า เช่น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา ๒) ถูกตรวจสอบโดย

คู่ความว่าได้กระทำาความผิดทางอาญาในความผิดต่อตำาแหน่งหน้าที่

ในการยุติธรรมโดยอาจถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ๓) ถูกตรวจสอบใน

ทางวินัยและจริยธรรมโดยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมแล้ว

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็คงจะบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า

ให้กระบวนการตรวจสอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. นั้นรวมถึง

ผู้พิพากษาและตุลาการไว้โดยเฉพาะเจาะจง เช่น ในมาตรา ๒๗๐ ของ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติให้การถอดถอนจากตำาแหน่ง

Page 15: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

89

โดยวุฒิสภาบังคับกับผู้ดำารงตำาแหน่งดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๒) ผู้พิพากษาหรือ

ตุลาการด้วย แต่เมื่อมาตรา ๒๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่ง

เป็นบทบัญญัติหลักในการกำาหนดอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ไม่ได้ระบุให้อำานาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการตรวจสอบการใช้อำานาจ

ของผู้พิพากษาไว้อย่างชัดเจน การที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ กำาหนดขอบเขต

อำานาจในการตรวจสอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่อาจหมายรวมถึง

ผู้พิพากษาและอาจขัดกับรัฐธรรมนูญด้วย

ผู้เขียนเห็นกับท่านวิชัยต่อไปว่า “ความคุ้มกันทางตุลาการ”

เหมือนรั้วกำาแพงประตูบ้านที่เป็นเกราะอ่อนคุ้มครองผู้ทำาหน้าที่ในทาง

ตุลาการ แต่มิใช่ เป็นภูมิคุ้มกันโดยสิ้นเชิง โดยตรวจสอบมิได้

ท่านวิชัยกล่าวว่า การไต่สวนผู้พิพากษา

เป็นการไต่สวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น

ประดุจดังการไต่สวนมูลฟ้อง

ที่ ถื อ ว่ า ท่ า น อิ ท ธิ พ ล ยั ง

มิได้ตกเป็นผู้ถูกกระทำาผิด

หรือจำาเลย และ “ตราบใด

คณะอนุกรรมการไต่สวน

ยังไม่แจ้ง ข้อกล่าวหาแก่

ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา

ไม่มีหน้าที่ตอบคำาถามใดๆ

ต่ อคณะอนุกรรมการไต่สวน

อย่ า งกระบวนการสอบสวนของ

Page 16: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

90

พนักงานสอบสวน การไต่สวนข้อเท็จจริงเป็นกระบวนการที่จะทำาให้เกิด

ความชัดเจน ซึ่งถ้าผลการไต่สวนไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่า

ท่านอิทธิพลกระทำาการใดจนถึงขนาดทำาให้ตนเองอยู่นอกขอบเขตของ

ความคุ้มกันทางตุลาการแล้ว คณะอนุกรรมการไต่สวนก็ย่อมเสนอ

คณะกรรมการ ป .ป .ช . ให้ เ รื่ อ งตกไป . . . ”ในข้ อนี้ ผู้ เ ขี ยน เห็นว่ า

ข้อเท็จจริงรับฟังยุติแล้วว่า ท่านสุนัยมิได้ร้องเรียนกล่าวหาท่านอิทธิพล

ว่ากระทำาความผิดกฎหมายและคดีเรื่องเพิกถอนหมายจับยังไม่ถึงที่สุด

จึงมีข้อพิจารณาว่า เมื่อท่านสุนัยซึ่งเป็นผู้เสียหายหรือโจทก์ไม่ติดใจดำาเนินคดี

โดยได้แสดงเจตนายื่นคำาร้องขอถอนฟ้องหรือคำาร้องเรียนแล้ว เหตุใด

คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่อนุญาตให้ท่านสุนัยถอนฟ้องหรือคำาร้องเรียน

แล้วจำาหน่ายคดี เช่นกรณีถอนฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณา

คดีของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับที่ท่านวิชัยอ้างถึง หาก

เปรียบเทียบหลักการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาต้อง

มีผู้ เกี่ยวข้อง ๓ ฝ่ายคือตัวความฝ่าย

โจทก์ จำาเลย และศาล ทั้งจำาเลย

ยังสามารถแต่งตั้ งทนายความ

ซักค้านหรือส่งพยานเอกสาร

ประกอบการถามค้านพยาน

โ จ ท ก์ ไ ด้ ด้ ว ย แ ต่ ก ร ณี ท่ า น

อิทธิพลหาได้อยู่ ในหลักการ

เดียวกันนี้ ไม่ เพราะท่านสุนัย

มิได้ เป็นโจทก์ร้องหรือฟ้องท่าน

อิทธิพลแต่คณะกรรมการ ป.ป.ช.

Page 17: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

91

กลับทำาหน้าที่ เป็นโจทก์เสียเอง ประการต่อไปในการไต่สวนมูลฟ้อง

ต้องมีข้อเท็จจริงแห่งคำาฟ้องอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดทาง

กฎหมายแต่กรณีท่านอิทธิพลหาได้มีข้อเท็จจริงอื่นอันเป็นพฤติการณ์ที่

กล่าวหายืนยันการกระทำาของท่านอิทธิพลแต่อย่างใดไม่ คณะกรรมการ

ป.ป.ช. คงอาศัยข้อหาตามกฎหมายในมาตรา ๘๘ มาเอาผิดท่านอิทธิพล

อันมีลักษณะเป็นคำาฟ้องหรือข้อกล่าวหาที่ เคลือบคลุมและประการ

ที่สาม คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำาหน้าที่เป็นโจทก์ฟ้อง สอบสวนไต่สวน

และตัดสินเอง ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสซักค้านหรือพิสูจน์

หักล้างข้อกล่าวหาเพราะท่านวิชัยเป็นผู้กล่าวในบทความว่า ผู้ถูกกล่าวหา

ไม่มีหน้าที่ตอบคำาถามใดๆ ต่อคณะอนุกรรมการไต่สวน ฉะนั้นตรรกเรื่อง

ไต่สวนมูลฟ้องจึงมิอาจหยิบยกนำามาใช้เปรียบเทียบในกรณีนี้ได้ ดังนั้นการที ่

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ติดใจไต่สวนเอาความกับท่านอิทธิพลต่อไป แสดงว่า

กฎหมาย ป.ป.ช. ให้อำานาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. อยู่เหนือเจตนาผู้เสียหาย

ที่สามารถกระทำาการตามที่ตนเองเห็นว่ามีเหตุสงสัยได้ตามลำาพัง หากหลักการ

หรือกฎหมายให้อำานาจคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไว้เช่นนั้นจริงย่อมแสดงว่า

ต่อจากนี้ หากวันใดคณะกรรมการ ป.ป.ช. สงสัยว่าผู้พิพากษาคนใด กระทำา

ผิดกฎหมายตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการ ป.ป.ช.

ย่อมสามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนโดยไม่จำาต้องมีผู้กล่าวหา เช่นนี้

เท่ากับว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำานาจเหนือทุกองค์กรในประเทศนี้ มี

ดุลพินิจอิสระอย่างกว้างขวางจนน่าเกรงขามอย่างยิ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอิสระจนสามารถก้าวล่วงตรวจสอบดุลพินิจทำาลาย

และความเป็นอิสระของทุกองค์กรภาครัฐ แล้วความคุ้มกันทางตุลาการที่

Page 18: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

92

ท่านวิชัยกล่าวถึงจะยังหลงเหลือและมีอยู่จริงหรือ

สำาหรับกรณีท่านอิทธิพล ข้อเท็จจริงได้ความว่า วันที่ ๒๙ ธันวาคม

๒๕๕๒ ประธานอนุกรรมการไต่สวนมีหนังสือถึงท่านอิทธิพลว่า ให้มาลง

ลายมือและรับทราบคำาสั่งในบันทึกรับทราบคำาสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ

ไต่สวนภายใน ๑๕ วัน และหากประสงค์จะคัดค้านผู้ได้รับการแต่งตั้ง

เป็นอนุกรรมการไต่สวน ให้ทำาคำาคัดค้านเป็นหนังสือแสดงข้อเท็จจริงที่

เป็นเหตุแห่งการคัดค้าน...” ในหนังสือฉบับเดียวกันแจ้งต่อไปว่า “ด้วย

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำาสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน กรณี

มีเหตุสงสัยว่าท่านกระทำาความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำาความผิด

ต่อตำาแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำาความผิดต่อตำาแหน่งหน้าที่

ในการยุติธรรม ขณะท่านดำารงตำาแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัด

พระนครศรีอยุธยา ท่านเกี่ ยวข้องกับการออกหมายจับและ

การอนุญาตให้ออกหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม ผู้ต้องหาในคดี

หมิ่นประมาทโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่

ผู้ต้องหา...” ข้อเท็จจริงจึงอาจไม่ตรงกับที่ท่านวิชัยบอกกล่าวในบทความว่า

การไต่สวนเป็นกระบวนที่ทำาให้เกิดความชัดเจนเท่านั้น ผู้เขียนกลับเห็นว่า

กระบวนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน โดยมีการกล่าวหาเบื้องต้นว่า

มีเหตุสงสัยว่าท่านอิทธิพลทำาผิดกฎหมายและให้มารับทราบคำาสั่งแต่งตั้ง

คณะอนุกรรมการไต่สวน เท่ากับเป็นการตั้งข้อกล่าวหาแล้วว่าท่านอิทธิพล

กระทำาผิดกฎหมาย ทั้งที่ก่อนออกหมายจับท่านสุนัย พนักงานสอบสวนขอ

หมายเรียก ๒ ครั้งเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๑ และวันที่ ๒ เมษายน

๒๕๕๑ แต่ศาลชั้นต้นยกคำาร้อง วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๑ ถึงวันที่

๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ พนักงานสอบสวนจึงขอออกหมายจับท่านสุนัย

Page 19: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

93

รวม ๓ ครั้ง โดยการส่งหมายที่ชอบแล้ว ครั้งสุดท้ายจึงมีการออกหมายจับ

ท่านสุนัย ก่อนออกหมายเรียกและหมายจับผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้องได้ประชุม

ปรึกษากันทั้งศาลและท่านอิทธิพลได้ปรึกษาอธิบดีผู้พิพากษาภาค ๑

และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลทุกครั้ง ศึกษาข้อกฎหมายตามประมวล

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำาสั่งหรือหมายอาญา

พ.ศ. ๒๕๔๘ อย่างครบถ้วนรอบด้านก่อนออกคำาสั่ง ซึ่งถือว่ามีความ

รัดกุมถ้วนถี่มากเพียงพอที่จะเป็นหลักประกันว่า ท่านอิทธิพลมิได้กระทำา

การตามอำาเภอใจโดยลำาพัง หรือมีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำาการโดยทุจริต

ผิดกฎหมายตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มองต่างมุม ถ้าความสุจริต

Page 20: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

94

รอบคอบในระดับนี้ยังต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ากระทำาผิดกฎหมายหรือ

ทุจริตต่อหน้าที่ จนถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนตรวจสอบสงสัยใน

ความสุจริต ผู้เขียนก็ไม่ทราบเช่นกัน แล้วมาตรฐานการทำางานระดับ

ใดของผู้พิพากษาจึงจะไม่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยในสายตาคณะกรรมการ

ป.ป.ช. ข้อสำาคัญการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ

ไต่สวนแล้วข้อเท็จจริงปรากฏเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ ทุกสาขา จะมีสัก

กี่คนที่เชื่อโดยสนิทใจว่าท่านอิทธิพลปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตปราศจาก

อดติ ความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ ความเชื่อถือแห่งวิชาชีพส่วนตัว

Page 21: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

95

และวงศ์ตระกูลใครจะกอบกู้เยียวยา เพราะสังคมอาจเชื่อคล้อยตามไป

ส่วนหนึ่งแล้วว่าท่านอิทธิพลน่าจะมีมลทินมัวหมองจึงถูกคณะอนุกรรมการ

ป.ป.ช . ทำ าการไต่สวนรวมทั้ งถ้ าระดับมาตรฐานการทำางานของ

ท่ านอิทธิพลที่ ป รึ กษาผู้ บั งคับบัญชาทุกระดับชั้ นก่ อนออกคำ าสั่ ง

ศึกษากฎหมายและระเบียบอย่างครบถ้วน ให้โอกาสท่านสุนัย ๔-๕ ครั้ง

ก่อนออกหมายจับยังมีมูลสงสัยว่าเป็นความผิดกฎหมาย แล้วต่อไปจะมี

ผู้พิพากษาคนใดมั่นใจได้ว่า หากมีคดีในทำานองเดียวกันแล้วคู่ความไปร้อง

เรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเหตุเดียวกัน คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะไม่

แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนผู้พิพากษาอีก ซึ่งในหลักอินทภาษที่บรรจุ

ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์บัญญัติหลักการไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้พิพากษา

มีอคติ ๔ ประการคือ โลภาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ อย่างหนึ่ง

อย่างใดแล้วความยุติธรรมย่อมเบี่ยงเบนเสียไป โดยเฉพาะภยาคติ คือ

ความลำาเอียงเพราะความกลัว ตราบใดที่ผู้พิพากษาเกรงกลัวผู้บังคับบัญชา

ให้โทษ กลั่นแกล้ง หรือถูกบุคคลองค์กรใดสามารถใช้อำานาจโดยตรง โดย

อ้อมกดดันบีบบังคับทำาให้ผู้พิพากษาบังเกิดความกลัวภัยต่อชีวิต ร่างกาย

ชื่อเสียงของตนเองและครอบครัว ดังเช่นที่ท่านอิทธิพลถูกคณะกรรมการ

ป.ป.ช. ไต่สวนแล้ว ผลร้ายกับความหายนะแห่งคดีและความเป็นธรรมย่อม

ตกแก่ตัวความ ประชาชนและสังคม เช่น ความกลัวว่าจะถูกกล่าวหาว่า

ทุจริต จึงต้องลงโทษจำาคุกจำาเลยไว้ก่อน หรือไม่ให้ประกันตัว หรือไม่ออก

หมายค้น ไม่ออกหมายจับ เป็นต้น ผลลัพธ์สุดท้ายความยุติธรรมแท้จริงที่

ทุกคนแสวงหาก็อาจทุพพลภาพเสียไป กระบวนการยุติธรรมก็จะขัดข้อง

เดือดร้อน คนสุจริตอาจจะได้รับผลร้าย อาชญากรก็จะลอยนวลดังคำาที่ว่า

“กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย นำ้าเต้าน้อยจะถอยจม” เพียงเพราะผู้พิพากษารู้สึกว่า

Page 22: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

96

ภูมิคุ้มกันทางตุลาการในการทำางานโดยสุจริต ไม่สามารถเป็นเกราะกำาบัง

ปกป้องคุ้มครองตนเองได้

ผู้เขียนเชื่อว่า ข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนลำาดับมา คณะกรรมการ ป.ป.ช.

ทราบความจริงดี การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. บางท่านออกมายืนยันว่า

มีอำานาจตรวจสอบไต่สวนท่านอิทธิพลได้ ในทำานองเดียวกันหากจะมี

ผู้พิพากษาเรือนร้อยเรือนพันออกมาแสดงจุดยืนเพื่อพิทักษ์ปกป้อง

หลักการความเป็นอิสระของการใช้อำานาจและดุลพินิจที่สุจริตว่า ควรจะต้อง

ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายด้วยเช่นกันก็หาใช่เป็นการท้าทาย

กดดันคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่อย่างใดไม่ เพราะเป็นเสรีภาพในการ

แสดงความคิดเห็นในทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ได้ต้องการเป็น

ปฏิปักษ์กับคณะกรรมการ ป.ป.ช. สำาหรับคดีตัวอย่างที่ท่านวิชัยหยิบยกใน

บทความ ผู้เขียนเห็นว่าข้อเท็จจริงต่างกับกรณีของท่านอิทธิพลจึงมิอาจ

นำามาเทียบเคียงได้ สุดท้ายผู้เขียนเห็นว่าแม้แต่กระบวนพิจารณาที่ผิด

ระเบียบ ผิดหลง ไม่ว่าศาลเห็นเองหรือคู่ความร้องขอ ศาลก็ยังเพิกถอน

คำาสั่งตัวเองเพื่อคืนความเป็นธรรมและความถูกต้องให้แก่คู่ความได้ คำาฟ้อง

ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ที่ยื่นฟ้องต่อศาล มีจำานวนมากที่ศาลชั้นต้น

ยกฟ้องโดยไม่จำาต้องไต่สวนมูลฟ้องเพราะข้อเท็จจริงตามคำาฟ้องไม่มีมูล

เป็นความผิดอาญา บรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดการกระทำา

ไม่เป็นความผิด หรือโจทก์ไม่มีอำานาจฟ้องเป็นต้น ผู้เขียนจึงเชื่อว่า คณะ

กรรมการ ป.ป.ช. ล้วนแต่เป็นผู้ใหญ่ที่ทรงภูมิปัญญามีหลักการและองอาจ

หาญกล้า และเป็นบุคคลที่ผู้เขียนให้ความเคารพนับถือ น่าจะหาทางออก

ในเรื่องนี้อย่างถูกต้องเป็นธรรมได้ และขอให้กรณีท่านอิทธิพลเป็นเหยื่อ

ของสถานการณ์คนแรกและคนสุดท้ายอย่าให้ความทุกข์ระทมกัดกิน

Page 23: ป.ป.ช ผู้พิพากษา - elib.coj.go.thelib.coj.go.th/Article/courtP4_2_7.pdf · ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ... ว า

ว า ร ส า ร ศ า ล ยุ ติ ธ ร ร ม ป ริ ทั ศ น์

97

อยู่ในหัวใจของท่านอิทธิพลและ ผู้พิพากษาผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตจนกว่า

ลมหายใจสุดท้ายของชีวิต และข้อสำาคัญอย่าทำาให้ความยุติธรรมที่เป็น

ประโยชน์สุดท้ายสูงสุดของประชาชนต้องถูกกัดกร่อนบ่อนเซาะทำาลายลง

เพราะ “ผู้พิพากษาเป็นบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องทางตุลาการ”