บ ก้าวสู่ปีที่ ๒๒ - rtni.org ก้าวสู่... ·...

4
นาวิกศาสตร์ ปีท่ ๙๕ เล่มที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ ทความ ย้อนกลับไปในอดีตรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ขึ้น ณ ตำบลแหลมฟ้าผ่าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีปืนวิคเกอร์อาร์มสตรองขนาด ๖ นิ้ว หรือปืน เสือหมอบเข้าประจำการ ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๓ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรม หลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงมี ความเห็นว่า “ในการป้องกัน ฐานทัพควรสร้างป้อมวาง ปืนใหญ่ขนาดตั้ ง แ ต่ ๑๖ นิ้ว ลงมาจนถึงขนาด ๔.๗ นิ้ว พร้อมกับปืนยิง เครื่องบินด้วย โดยวางไว้ บนยอดเกาะต่างๆ ในอ่าว สัตหีบ” จึงถือได้ว่าเป็นจุด กำเนิดของหน่วยบัญชาการต่อสูอากาศและรักษาฝ่ง โดยต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ กระทรวงกลาโหมได้อนุมัติหลักการ ความพร้อมในด้านการต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ โดยให้กองทัพเรือพิจารณาจัดตั้งหน่วยต่อสู้ป้องกัน ภัยทางอากาศขึ้นใหม่ และต่อมาได้มีมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๑ ให้กองทัพเรือมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการป้องกันภัย ทางอากาศและภัยทางทะเลให้กับพื้นที่เศรษฐกิจ ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จึงได้รับการขยายหน่วย ให้เป็น หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝ่ง ขึ้นตรงต่อกองทัพเรือ เมื่อวันที๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๓ อันถือเป็นวันสถาปนาหน่วยบัญชาการ ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝ่ง มาจนตราบเท่าทุกวันนีหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝ่ง กองทัพเรือ หรือ สอ.รฝ. เป็นหน่วยกำลังรบหลัก หน่วยหนึ่งของกองทัพเรือ มีหน้าที่ในการจัดเตรียม กำลังป้องกันภัยทางอากาศและภัยทางทะเลตาม แนวชายฝั่งต่อที่ตั้งสำคัญทางทหาร ทางด้าน เศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา เช่น คลังน้ำมัน นิคมอุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซ และท่าเรือ เป็นต้น ซึ่งภารกิจในการป้องกันทาง อากาศนั้น สอ.รฝ. เป็นปราการ ด่านแรกที่จะต้องป้องกันข้าศึก มิให้ทำการโจมตีทางอากาศได้ สำเร็จ สำหรับในภารกิจรักษาฝ่ง นั้นเป็นปราการด่านสุดท้าย ที่จะ คอยขัดขวาง ยับยั้ง มิให้ภัยทางเรือ เข้ามาปฏิบัติการใด ๆ ในเขตชายฝ่งของ ทะเลไทย ด้งคำกล่าวที่ว่า “ป้องนภา..... รักษาฝ่ง” อันหมายถึงความพร้อมที่จะทำการปกป้องน่านฟ้า และรักษาฝ่งทะเลในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีตรา สัญลักษณ์ของหน่วยเป็นรูปพระรามแผลงศร สื่อให้ เห็นถึงการเตรียมพร้อมในการใช้อาวุธป้องกันภัย ตลอดเวลานั่นเอง นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายจาก กองทัพเรือในการรับผิดชอบพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่ง ทะเลของประเทศและเกาะต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ติดกับ ชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง สอ.รฝ. มีหน่วย ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝ่ง ก้าวสู่ปีท่ ๒๒ ฝ่ายกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝ่ง ก้าว ๐60

Upload: dangdat

Post on 18-Feb-2019

225 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

บทความ

ย้อนกลับไปในอดีตรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระ

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ขึ้น ณ ตำบลแหลมฟ้าผ่าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีปืนวิคเกอร์อาร์มสตรองขนาด ๖ นิ้ว หรือปืนเสือหมอบเข้าประจำการ ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๓ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงมีความเห็นว่า “ในการป้องกันฐานทัพควรสร้างป้อมวางปื น ใ ห ญ่ ข น า ด ตั้ ง แ ต่ ๑๖ นิ้ว ลงมาจนถึงขนาด ๔.๗ นิ้ว พร้อมกับปืนยิงเครื่องบินด้วย โดยวางไว้บนยอดเกาะต่างๆ ในอ่าวสัตหีบ” จึงถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศและรักษาฝั่ง โดยต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ กระทรวงกลาโหมได้อนุมัติหลักการความพร้อมในด้านการต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศโดยให้กองทัพเรือพิจารณาจัดตั้งหน่วยต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศขึ้นใหม่ และต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๑ ให้กองทัพเรือมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการป้องกันภัยทางอากาศและภัยทางทะเลให้กับพื้นที่เศรษฐกิจชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จึงได้รับการขยายหน่วยให้เป็น หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

ขึ้นตรงต่อกองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๓ อันถือเป็นวันสถาปนาหน่วยบัญชาการตอ่สูอ้ากาศยานและรกัษาฝัง่ มาจนตราบเทา่ทกุวนันี ้ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ หรือ สอ.รฝ. เป็นหน่วยกำลังรบหลักหน่วยหนึ่งของกองทัพเรือ มีหน้าที่ในการจัดเตรียมกำลังป้องกันภัยทางอากาศและภัยทางทะเลตาม

แนวชายฝั่งต่อที่ตั้งสำคัญทางทหาร ทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา เช่น

คลังน้ำมัน นิคมอุตสาหกรรม โรงแยกก๊าซ และท่าเรือ เป็นต้น ซึ่ งภารกิจในการป้องกันทางอากาศนั้น สอ.รฝ. เป็นปราการด่านแรกที่จะต้องป้องกันข้าศึกมิให้ทำการโจมตีทางอากาศได้สำเร็จ สำหรับในภารกิจรักษาฝั่ง

นั้นเป็นปราการด่านสุดท้าย ที่จะคอยขัดขวาง ยับยั้ง มิให้ภัยทางเรือ

เข้ามาปฏิบัติการใด ๆ ในเขตชายฝั่งของทะเลไทย ด้งคำกล่าวที่ว่า “ป้องนภา.....รักษาฝั่ง” อันหมายถึงความพร้อมที่จะทำการปกป้องน่านฟ้าและรักษาฝั่งทะเลในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีตราสัญลักษณ์ของหน่วยเป็นรูปพระรามแผลงศร สื่อให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมในการใช้อาวุธป้องกันภัยตลอดเวลานั่นเอง นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายจากกองทัพเรือในการรับผิดชอบพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งทะเลของประเทศและเกาะต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง สอ.รฝ. มีหน่วย

ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

ก้าวสู่ปีที่ ๒๒

ฝ่ายกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

ก้าว

๐60

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

เฉพาะกิจ ตามพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน ๑๔ หน่วย โดยมีหน้าที่ ตรวจการณ์ ยับยั้ง ป้องกันการละเมิดและรกัษาเสรภีาพในการใชท้ะเลเพือ่ใหก้ารปฏบิตักิารทางเรือของกองทัพเรือเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ สนับสนุนงานด้านความมั่นคงให้กับหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ โดย สอ.รฝ. ได้จัดกำลังเข้าร่วมรักษาความสงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ท่าอากาศยาน ก้าวสู่ปัจจุบัน ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ นี้นับเป็นปีที่ ๒๒ ของ สอ.รฝ. มีหลายสิ่งหลายอย่างได้รับการพฒันาใหก้า้วหนา้ตอ่ไปอยา่งไมห่ยดุยัง้ โดยปจัจบุนัมี พลเรือตรี นพดล สุภากร เป็นผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งได้ดำเนินการตามนโยบาย พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือในการปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่ง สอ.รฝ. ได้จัดกำลังในการถวายความปลอดภัย เมื่ อมีการเสด็จแปร พระราชฐาน การปลูกจิตสำนึกให้ข้าราชการ ทหารกองประจำการ ครอบครัว และประชาชนทั่วไปเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในการเทิดพระเกียรติ รวมทั้งให้การสนับสนุนตามโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ นอกจากนี้ยังเฝ้าติดตาม และป้องกันการหมิ่นสถาบัน และในการปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถของกำลังรบ โดยทำการฝึกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้กำลังรบสามารถปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ สอ.รฝ. จึงได้จัดเตรียมความพร้อมของหน่วยด้านองค์บุคคล และองค์วัตถุ ด้วยการฝึกสวนสนามยานยนต์ วิ่งและเดินเท้า เป็นประจำทุกเดือน เพื่อตรวจความเข้มแข็ง ความมีระเบียบวินัย ขององค์บุคคล และความพร้อมใช้ของอาวุธยุทโธปกรณ์ประจำหน่วย สำหรับการเตรียมความพร้อมด้านองค์ยุทธวิธี ได้ทำการฝึกตามสาขาปฏิบัติการในระดับต่าง ๆ ของหน่วยตามวงรอบเป็นประจำทุกปี การจดักำลงัเขา้รว่มการฝกึปฏบิตักิารรว่มของ ๓ เหลา่ทพั ตลอดจนการฝึกผสมกับมิตรประเทศ ซึ่งในการฝึก

ของกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๕๕ ที่ผ่านมา สอ.รฝ.ได้จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในการปฏิบัติการร่วมกับกำลังทางเรือในการป้องกันภัยทางอากาศและการป้องกันภัยทางทะเล ตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน และชายฝั่งทะเลอันดามัน และทดสอบการยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบ ประทับบ่ายิง QW-18 ณ เขาหนา้ยกัษ ์จงัหวดัพงังา ถือเป็นเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือในการก้าวเข้าสู่ยุคอาวุธปล่อยนำวิถีที่มีความแม่นยำสูง และมีระยะยิงที่ไกลขึ้น และในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ผ่านมาจากเหตกุารณม์หาอทุกภยั สอ.รฝ. ไดจ้ดักำลงัพล และยุทโธปกรณ์ในการเข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยตั้งแต่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงกรุงเทพ ฯ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี นอกจากนี้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคสิ่งของในการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และให้จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวในพื้นที่สัตหีบ ในการรับผู้ประสบอุทกภัยเข้าพักพิง ซึ่งในการปฏิบัติภารกิจในครั้งนั้นกำลังพลของ สอ.รฝ. ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่จนสร้างชื่อเสียงให้กับกองทัพเรือ โดยได้รับคำชมเชยจากประชาชน นอกจากนี้ สอ.รฝ. ได้การดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริเช่น การปลูกฝังและส่งเสริมให้กำลังพล และครอบครัวดำเนินตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง การน้อมนำแนวทางพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยดำเนินดำเนินโครงการป่าชายเลน และการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลเปน็ตน้การสง่เสรมิใหก้ำลงัพลมสีขุภาพพลานามยัทีด่ีโดยจัดให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและจัดให้มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายทุก ๓ เดือน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ ฯ รวมทั้งการจัดสนับสนุนกองเชียร์ของหน่วยเข้าแข่งขันในระดับกองทัพไทยจนได้สร้ า งชื่ อ เสี ยง ได้ ร างวั ลชนะ เลิ ศหลายปีซ้ อน การสนับสนุนสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับข้าราชการ เช่น การให้กำลังพลได้รับสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามสิทธิที่ควรจะไดร้บัอยา่งครบถว้น การสง่เสรมิและใหค้วามรูใ้นการประกอบอาชพีเสรมิเพือ่เพิม่รายได้ใหก้บักำลังพล

๐61

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

และครอบครัว โดยการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน สอ.รฝ. เพื่อจัดท ำผลิ ตภัณฑ์ ส่ ง ใ ห้ กั บ ศู น ย์ อนุ รั ก ษ์ พั น ธุ์ เ ต่ า ท ะ เ ล การสนับสนุนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเช่น สุ่มตรวจสารเสพติดกับกำลังพล ตรวจจับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในพื้นที่ มีการจัดบรรยายให้ความรู้ด้านยาเสพติดแก่กำลังพล กับให้มีการดำเนินการโครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ ๒ ในการให้ ผู้ต้องขังที่เคยติดยาเสพติดจากกรมราชทัณฑ์ เข้ารับการฟืนฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ให้การศึกษาและฝึกอาชีพ เป็นต้น และเนื่องจากการปฏิบัติการของ สอ.รฝ. เป็นความชำนาญที่แตกต่างจากการปฏิบัติการสาขาอื่น ๆ ของ กองทัพเรือจึงได้เสนอเครื่องหมายความสามารถทหารต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งในปีที่แล้ว โดยภายในปีนี้จะทำการเปดหลักสูตรทหารต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ผ่านหลักสูตรมีความชำนาญพิเศษในสายวิทยาการเกี่ยวกับการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สืบเนื่องจากปนี้เปนปมหามงคลในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ สอ.รฝ. ได้จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติจำนวน ๖ โครงการ ดังนี้ ■ โครงการบ้านเต่าทะเลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ■ โครงการภูมิใจภักดิ์ ฟูมฟักไข่เต่าทะเลวันแม่ ร่วมใจปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ธรรมชาติวันพ่อ ■ โครงการตน้กลา้เยาวชนรกัษท์ะเลไทยเทดิไทอ้งคร์าชนิ ี ■ โครงการศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน สอ.รฝ. ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ■ โครงการมหกรรมคอนเสริต์เทดิไทส้ยามมกฎุราชกมุาร ■ โครงการสวนป่าชายเลนเทิดไท้สยามมกุฎราชกุมาร ๖๐ พรรษา ก้าวต่อไปในอนาคต สอ.รฝ. มีแผนในพัฒนาขีดความสามารถกำลังรบต่อภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้สอดคลอ้งกบัยุทธศาสตรข์อง กองทพัเรอื ปี พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๖๐ ซึง่ในป ีพ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๖ สอ.รฝ. ไดร้บัยทุโธปกรณ์ใหม่

๐62

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๕ เล่มที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕

ที่ทันสมัยทดแทนของเดิมซึ่ง สอ.รฝ. ได้รับการจัดสรรอาวธุประจำกายปนืเลก็ยาวขนาด ๕.๕๖ มลิลเิมตรแบบทราโว ่TAR-21 ทดแทนปนืเลก็ยาวขนาด ๕.๕๖ มลิลเิมตรซคีวิ ได้รับกล้องกำลังขยายสูงให้กับหน่วยเฉพาะกิจ สอ.รฝ. และสนับสนุนการยิงปืนใหญ่ และได้รับเรดาร์ตรวจจับอากาศยานระดับต่ำแบบเคลื่อนที่ ๑ ระบบ และในห้วงระยะเวลาต่อไป สอ.รฝ. จะเป็นหน่วยที่มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่สูง มีอำนาจการยิงที่มีความรุนแรงแม่นยำ มีระบบแจ้งเตือนและระบบควบคุมบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถตอบสนองกบัภารกจิทีก่องทพัเรอืจะมอบหมายใหไ้ดอ้ยา่งทนัท่วงทีโดยจะตรงกับวิสัยทัศน์ของ สอ.รฝ. ที่ว่า “หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง จะเปนหน่วยกำลังรบ ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่มีประสิทธิภาพ และพร้อมปฏิบัติการตามภารกิจที่ได้รับมอบ โดยใช้ระบบการบริหารจัดการ ที่ทันสมัย ร่วมกับการพัฒนา ยุทโธปกรณ ให้มีขีดความสามารถ สอดคล้องกับภัยคุกคาม” ซึ่งมีแนวทางในการจัดหาเรดาร์ตรวจการณ์และแจ้งเตือนภัยทางอากาศแบบประจำที่ และแบบเคลื่อนที่ พร้อมกับระบบเชื่อมโยงผ่านดาวเทียมในการสนับสนุนการปฏิบัติการที่ใช้ เครือข่ายที่เป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operation) จัดหาอาวุธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ จรวดประทับบ่ายิง และปืนต่อสู้อากาศยานพร้อมเครื่องควบคุมการยิง จัดหาระบบตรวจการณ์พื้นน้ำและจัดหาระบบอาวุธนำวิถีพื้น-สู่-พื้น ให้กับทัพเรือภาค และ สอ.รฝ. ประจำพื้นที่ ซึ่งทำให้กองทัพเรือสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมี

ประสทิธภิาพใน ๑๐ ปขีา้งหนา้ ตามวสิยัทศันท์ีต่ัง้ไว้ และสอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการป้องกันภัยทางอากาศในภาพรวมของกองทัพไทย ทีเ่ปน็ระบบการควบคมุบงัคบับญัชา และการเชือ่มโยงข้อมูลแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพเรือมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ สอ.รฝ. มีแนวความคิดในจัดสร้างหน่วยปกติในพื้นที่ทัพเรือภาคที่ ๒ และทัพเรือภาคที่ ๓ เพื่อใช้เป็นกองบังคับการ และเป็นฐานส่งกำลังบำรุง สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจให้กับหน่วยกำลังของ สอ.รฝ. ประจำพื้นที่ทัพเรือภาคที่ ๒ และทัพเรือภาคที่ ๓ เพื่อลดปัญหาในการเคลื่อนย้ายกำลังของหนว่ย สอ.รฝ. ซึง่ตอ้งใชย้านพาหนะทีม่สีมรรถนะสงู แ ล ะ ใ ช้ ง บ ป ร ะ ม าณสู ง อั น จ ะ เ ป็ น ก า ร เ ส ริ มประสิทธิภาพของกองทัพเรือในการป้องกันภัยทางอากาศ และป้องกันฝั่ งต่อที่ตั้ งสำคัญที่ ได้รับ มอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ จากที่กล่าวมาแล้วนั้น หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง พร้อมแล้ว สำหรับการปกป้องเพื่อดำรงไว้ ซึ่งความเป็นอธิปไตยของชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชน ตลอดไป (สามารถติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของ สอ.รฝ. ทาง www.navy.mi.th/acdc หรือติดต่อเยี่ยมชมหน่วย และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ฝ่ายกิจการพลเรือน สอ.รฝ. โทร.๐๓๘ ๔๓๑๔๗๗)

ประสทิธภิาพใน ๑๐ ปขีา้งหนา้ ตามวสิยัทศันท์ีต่ัง้ไวประสทิธภิาพใน ๑๐ ปขีา้งหนา้ ตามวสิยัทศันท์ีต่ัง้ไว้ ประสทิธภิาพใน ๑๐ ปขีา้งหนา้ ตามวสิยัทศันท์ีต่ัง้ไวที่ทันสมัยทดแทนของเดิมซึ่ง สอ.รฝ. ได้รับการ

๐63