กระดูกสันหลังคด (scoliosis)

12
กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) โดย น.พ.ธเนศ วรรธนอภิสิทธิThaispineclinic.com

Upload: thaispineclinic

Post on 27-Jul-2015

54.277 views

Category:

Documents


7 download

DESCRIPTION

กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

TRANSCRIPT

Page 1: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

กระดูกสันหลังคด(Scoliosis)

โดย น.พ.ธเนศ วรรธนอภสิิทธิ์Thaispineclinic.com

Page 2: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

โดยทั่วไปคนเราทุกคนจะมีความโค้งของกระดูกสนัหลังโดยท่ีกระดูกสันหลังช่วงอกจะมีความโก่ง และกระดูกสันหลังสว่นเอวจะมีการแอ่นไปด้านหน้า แต่การโก่งไปด้านข้างเป็นความผิดปกติที่เรียกว่า กระดูกสันหลังคด (scoliosis)

กระดูกสันหลังคดตามค านิยามของสมาคมการวิจัยกระดูกสันหลังคด (Scoliosis Research Society,SRS) คือสภาวะที่การเอียงไปด้านข้างของกระดูกสันหลังเป็นมุมเกิน 10 องศา วัดจากฟิล์มเอกซเรย์ท่าด้านหน้าตรง

กระดูกสันหลังคดแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคอื 1. สาเหตุจากการผิดปกติของตัวกระดูกสันหลัง 2. สาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเน้ือ 3. กลุ่มท่ีไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic) ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด

Page 3: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

กระดูกสันหลังคดกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis)

สาเหตทุี่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่คิดว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัย เช่นการหลั่งฮอรโ์มนที่ผิดปกติ การท างานท่ีผิดปกติของโปรตีน กล้ามเน้ือ และระบบประสาท

กระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ แบ่งได้เป็น 3 ช่วงอายุคือ 1. พบได้ในช่วงอายุแรกเกิดจนถึง 3 ปี (Infantile)2. พบในช่วงอายุ 4 ปี ถึง 9 ปี (Juvenile)

3. พบได้ตั้งแต่อายุ 10 ปี ถึง 17 ปี (Adolescent) โดยในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากขณะท่ีเข้าสู่

วัยรุ่น กระดูกสันหลังก็มีการเจริญเติบโตขึ้นด้วย ซึ่งจะท าให้ความผิดรูปเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Page 4: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

อุบัติการณ์ของกระดูกสันหลังคดในกลุ่มท่ีเข้าสู่วัยรุ่น (Adolescent

Idiopathic Scoliosis) จะพบประมาณ 2 ถึง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ในประชากรทัว่ไป กระดกูสันหลังคดส่วนใหญ่จะไม่ท าให้เกิดอาการปวดหลัง ดังนั้นการสังเกตพบว่ามีกระดกูสันหลังคด จึงมักเกิดจากบุคคลในครอบครัวหรือการตรวจร่างกายที่โรงเรียน การตรวจเอกซเรย์ปอดประจ าปี

Page 5: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

ผู้ปกครองอาจสังเกตลักษณะของร่างกายเด็กว่ามีกระดูกสันหลังคดหรือไม่ โดยสังเกตดูว่ามี- ระดับไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน (uneven shoulders)

- มีการนูนของบริเวณสะบักด้านใดด้านหนึ่ง (prominent shoulder

blades)

- ระดับเอวไม่เท่ากัน (uneven waist)

- การก้มตัวไปด้านหน้าจะพบว่ามีการนูนของบริเวณส่วนหลังไม่เท่ากัน (Adam

forward bending test)

Page 6: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

ถ้าสงสัยว่ามีกระดกูสันหลังคด ควรพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อตรวจเอกซเรย์กระดูกสันหลงัทัง้ตวั ด้านหน้าตรง (whole

spine AP film) เพื่อท าการวัดมุมของการคดของกระดูกสันหลัง และท าการวางแผนการรักษาการคดเพิ่มมากขึ้นของกระดูกสันหลัง มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ มุมที่คดในตอนแรกที่ตรวจพบเป็นองศาที่มาก การคดที่มี 2 ระดับ (Double curve) อายุน้อยตอนที่ตรวจพบ ในรายที่เป็นเด็กผู้หญิงยังไม่มีประจ าเดือนมา กระดกูออ่นบริเวณเชิงกรานยังไม่ปดิ ( low riser sign)

รูปแสดงวิธีการวัดมุมของกระดูกสันหลังคด

Page 7: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

ผลกระทบต่อร่างกายในรายที่มีกระดูกสันหลังคดระบบการหายใจ จากการศึกษาพบว่าในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดเป็นมุมมากกว่า 100 องศา จะท าให้

ปริมาตรของปอดลดลง มีผลกระทบต่อการท างานของปอดอย่างมากอาการปวดหลัง พบว่า ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดมีโอกาสเกิดอาการปวดหลังมากกว่าคนปกติเล็กน้อย อาการ

ปวดหลังมักไม่รุนแรง มักเกิดหลังจากใช้งานมากและอาการดีขึ้นหลังจากพัก อาการปวดหลังไม่สัมพันธ์กับมุมที่คด

การตั้งครรภ์ ไม่ได้ท าให้กระดูกสันหลังคดเพิ่มขึ้น ไม่ได้ท าให้อาการปวดหลังมากขึ้น และกระดูกสันหลังคด ไม่ได้มีผลต่อการคลอด

ผลกระทบต่อการท างาน ไม่พบความแตกต่างในการท างานของผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดและคนท่ัวไปผลต่อจิตใจ ไม่พบว่าผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด มีภาวะผิดปกติทางจิตใจท่ีต้องได้รับการรักษาทางจิตเวชมากกว่า

คนปกติผลกระทบต่อรูปลักษณ์ (Self – Image) จากแบบสอบถาม พบว่า ในกลุ่มกระดูกสันหลังคดมีความ

พอใจต่อรูปลักษณ์ต่ ากว่าคนทั่วไป

Page 8: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

การรักษาในรายที่มีมุมน้อยกว่า 20 องศา ยังไม่ต้องท าการรักษา แต่ต้องติดตามผลเอกซเรย์ไปจนกระทั่งผู้ป่วย

โตเต็มที่ในมุมระหว่าง 20 ถึง 30 องศา ที่มีการคดมากขึ้นหลังจากการติดตามเอกซเรย์ หรือยังมีการ

เจริญเติบโต พิจารณารักษาโดยใช้เฝือกพยุงตัว (Brace) มุมระหว่าง 30 ถึง 40 องศา ในรายที่ยังมีการเจริญเติบโต รักษาโดยใช้เฝือกพยุงล าตัว

Page 9: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

ในรายที่หลังคดมีมุมเกิน 40-50 องศา ควรพิจารณาผ่าตัดดามกระดูกสันหลังด้วยโลหะ

การรักษาด้วยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (electrical stimulation) การออกก าลังกายและการดัดกระดูกสันหลัง (manipulation) ไม่ได้มีผลในการรักษากระดูกสันหลังคด

Page 10: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

รูปเปรียบเทียบx-rayและรูปร่างก่อนและหลังผ่าตัดของเด็กชายอายุ13 ปีท่ีมีกระดูกสันหลังคด 52 องศา

Page 11: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

รูปเปรียบเทียบx-rayและรูปร่างก่อนและหลังผ่าตัดของเด็กชายอายุ 13 ปีท่ีมีกระดูกสันหลังคดส่วนอก 85องศาและส่วนเอวคด 39องศา

Page 12: กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

รูปเปรียบเทียบx-rayและรูปร่างก่อนและหลังผ่าตัดของเด็กหญิงอายุ 15 ปีท่ีมีกระดูกสันหลังคดส่วนอก 38องศาและส่วนเอวคด 80องศา