· 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน...

26
4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที ่ ๗๖ ตอนที่ ๒ เดือนเมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓ เหรียญและพระบรมรูปรัชกาลที่๕ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดสร้าง พ.ศ. ๒๕๑๐ - พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อมูล: นนร.ภูษณะ อสัตถพฤกษ์ นนร.ฉัตรพล มณีรินทร์ เรียบเรียง: พ.อ.หญิง วันดี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา วันไหว้ครู ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ พ.อ.หญิง วันดี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ๑๒ ภูมิพฤกษา “C17” ๑๖ บททบทวนการเปลี่ยนรูปแบบไปของสงคราม (The Transformation of War Revisited) ร.อ. ดร.นคร สุวรรณธนาสาร และ พ.ท.หญิง ขวัญสุชา หงษ์ไกรเลิศ ๒๗ “ผู้ใดเถียงกับวัง ละเมิดพระราชอาญา ให้ตีด้วยไม้หวาย ๕๐ ที” วันดี สืบค้น ๓๗ สวท.รร.จปร. ในยุคโลกาภิวัตน์ พ.อ.หญิง วันดี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ๔๓ ทำไมต้องเป็นวิ่ง พ.อ.ศิขรัชฐ์ เอมโกษา ๕๓ การตรวจสอบอาคาร: อาคารราชการควรสนใจ พ.อ.วินัฐ อินทรสุวรรณ ๕๙ ทะเลแหวกที่เกาะพิทักษ์ พล.อ.โอภาส โพธิแพทย์ ๖๗ ยู เอ วี มิติใหม่ในสมรภูมิ พ.อ.บุญมา ต๊ะวิชัย ๗๓ ทฤษฎีสงคราม บทที่ ๓ B ความสำคัญของเป้าหมายและความทุ่มเท DE LA GRANDEUR DU BUT ET DES EFFORTS พ.อ. รศ. ดร.พีรพล สงนุ้ย แปลและเรียบเรียง ๗๘ นิดๆ หน่อยๆ ว่าด้วย ภาษาอังกฤษและภาษาอเมริกัน (๒) British and American English A little bit of this, a little bit of that. พ.อ.บุญมา ต๊ะวิชัย รวบรวม ๘๖ การสร้างเป้าล้มลุกแบบอัตโนมัติสำหรับการฝึกยิงปืนฉับพลัน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า A Create Automatic Pop - up Target Chulachomklao Royal Military Academy นนร.มกร ชีวะถาวร อาจารย์ที่ปรึกษา พ.อ.ทองคำ ชุมพล และ พ.อ.ผเดิม หนังสือ ๘๙ ศึกษารูปแบบการวางกับระเบิดใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ Study the putting of mind in three provinces in the southern part of Thailand นนร.ณรัชช์ สิริภูบาล อาจารย์ที่ปรึกษา พ.อ.สราวุฒิ จันทร์วัฒน์ ๙๔ เคล็ดลับเกร็ดความรูพ.ท.หญิง สุทธิลักษณ์ เกิดสวัสดิ๙๗ ใคร อะไร ที่ไหน กองกำลังพล รร.จปร. ๙๙ สนาศึกษา เสนาศึกษา เสนาศึกษา เสนาศึก เสนาศึกษา เสนาศึกษา กษา เสนาศึกษา เสนาศ เสนาศึกษา เสนาศึกษา เสนาศึกษา เสนาศึกษา

Upload: others

Post on 26-Dec-2019

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

4

สารบัญเสนา ศึกษา เล่ม ที่ ๗๖ ตอน ที่ ๒ เดือน เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

๏ เหรียญและพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดสร้าง พ.ศ. ๒๕๑๐ - พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อมูล: นนร.ภูษณะ อสัตถพฤกษ์ นนร.ฉัตรพล มณีรินทร์

เรียบเรียง: พ.อ.หญิง วันดี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ๑

๏ วันไหว้ครู ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ พ.อ.หญิง วันดี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ๑๒

๏ ภูมิพฤกษา “C17” ๑๖

๏ บททบทวนการเปลี่ยนรูปแบบไปของสงคราม (The Transformation of War Revisited)

ร.อ. ดร.นคร สุวรรณธนาสาร และ พ.ท.หญิง ขวัญสุชา หงษ์ไกรเลิศ ๒๗

๏ “ผู้ใดเถียงกับวัง ละเมิดพระราชอาญา ให้ตีด้วยไม้หวาย ๕๐ ที” วันดี สืบค้น ๓๗

๏ สวท.รร.จปร. ในยุคโลกาภิวัตน์ พ.อ.หญิง วันดี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ๔๓

๏ ทำไมต้องเป็นวิ่ง พ.อ.ศิขรัชฐ์ เอมโกษา ๕๓

๏ การตรวจสอบอาคาร: อาคารราชการควรสนใจ พ.อ.วินัฐ อินทรสุวรรณ ๕๙

๏ ทะเลแหวกที่เกาะพิทักษ์ พล.อ.โอภาส โพธิแพทย์ ๖๗

๏ ยู เอ วี มิติใหม่ในสมรภูมิ พ.อ.บุญมา ต๊ะวิชัย ๗๓

๏ ทฤษฎีสงคราม บทที่ ๓ B ความสำคัญของเป้าหมายและความทุ่มเท

DE LA GRANDEUR DU BUT ET DES EFFORTS

พ.อ. รศ. ดร.พีรพล สงนุ้ย แปลและเรียบเรียง ๗๘

๏ นิดๆ หน่อยๆ ว่าด้วย ภาษาอังกฤษและภาษาอเมริกัน (๒)

British and American English A little bit of this, a little bit of that.

พ.อ.บุญมา ต๊ะวิชัย รวบรวม ๘๖

๏ การสร้างเป้าล้มลุกแบบอัตโนมัติสำหรับการฝึกยิงปืนฉับพลัน

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

A Create Automatic Pop - up Target Chulachomklao Royal Military Academy

นนร.มกร ชีวะถาวร อาจารย์ที่ปรึกษา พ.อ.ทองคำ ชุมพล และ พ.อ.ผเดิม หนังสือ ๘๙

๏ ศึกษารูปแบบการวางกับระเบิดใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

Study the putting of mind in three provinces in the southern part of Thailand

นนร.ณรัชช์ สิริภูบาล อาจารย์ที่ปรึกษา พ.อ.สราวุฒิ จันทร์วัฒน์ ๙๔

๏ เคล็ดลับเกร็ดความรู้ พ.ท.หญิง สุทธิลักษณ์ เกิดสวัสดิ์ ๙๗

๏ ใคร อะไร ที่ไหน กองกำลังพล รร.จปร. ๙๙

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 2:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

“ครู” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๒๕

หน้า๑๖๘ว่าผู้สั่งสอนศิษย์ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ครูมาจากคำบาลีสันสกฤต

“ครุ หรือ คุรุ” ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า หนัก ควรเคารพ ถ้าเป็นคำนามแปลว่า

ครู ความรับผิดชอบของครูในการอบรมสั่งสอนความรู้ให้แก่ศิษย์จึงเป็นภาระงาน

ที่หนักหนาสาหัสที่จะต้องทำให้ศิษย์เติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้และเป็นคนดีของสังคม

ผู้เป็นครูที่ดีจะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจประดุจพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดทีเดียว

วันไหว้ครู ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๓พ.อ.หญิง วันดี ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

12 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 3:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ศิษย์ ในหน้า ๑๖๘ ของพจนานุกรม

ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๒๕แปลว่า

ผู้ศึกษาเล่าเรียนหรือผู้เยาว์วัย ซึ่งอยู่ใน

ความดูแลคุ้มครองของอาจารย์ มาจาก

คำสันสกฤต“ศิษฺย”ตรงกับคำบาลี“สิสฺส”

(สุ ส + อิสฺส) เป็นนามกิตก์ แปลว่า

ผู้ฟังเป็นคำนามแปลว่าศิษย์

ครู คือ ผู้ที่จุดดวงประทีปทางปัญญาให้แก่

ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์พ้นจากความมืด คือ ความไม่รู้

โดยพยายามอดทนประคับประคอง ส่งเสริมให้ศิษย์

เจริญก้าวหน้าในทุกวิถีทาง ฉะนั้น ครูที่แท้จริงคือ

ผู้ให้สำหรับศิษย์โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ทั้งนี้เพราะ

หัวใจและวิญญาณของครูบรรจุสิ่ง ๓ ประการ คือ

ปัญญากรุณาและบริสุทธิ์ไว้เต็มเปี่ยม

ปัญญา คือ ความสว่างที่เกิดจากการสะสม

ความรู้ ความสามารถคุณธรรมความดี มาตลอด

ชีวิต ประทีปแห่งปัญญาซึ่งสว่างจ้าอยู่กลางใจของ

ครูนั้น เป็นประทีปดวงโตที่ครูพร้อมจะจุดต่อให้แก่

ผู้ที่มีความต้องการปัญญา

กรุณา คือ พลังแห่งความดีที่คอยผลักดันให้ครูพร้อมที่จะจุดดวงประทีปทางปัญญาให้แก่ศิษย์เพื่อ

13เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 4:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ให้ศิษย์ได้รับแต่ประโยชน์ความสุขความเจริญและ

ความก้าวหน้าอย่างครูหรือมากกว่าครู

บริสุทธิ์ ครูมีเจตนาดีต่อศิษย์ด้วยใจบริสุทธิ์ไม่มีความประสงค์ร้ายแอบแฝงอยู่

ดังนั้น การไหว้ครู ก็คือ การที่ศิษย์แสดงความ

เคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่า

ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ความรู้ ศิษย์ใน

ฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกัน

ปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะ

อุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่

ตั้งใจเอาไว้ การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับ

นับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก

ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่าง

เต็มที่ และศิษย์เองก็จะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด

มั่นใจว่าตนจะมีผู้คุ้มครองดูแล สั่งสอนให้ไปสู่หนทาง

แห่งความดีงามและความเจริญก้าวหน้าแน่นอน

การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่างๆ จะกระทำ

ในช่วงเปิดภาคการศึกษา คนสมัยโบราณจะใช้ดอก

มะเขือ ดอกเข็ม หญ้าแพรก และข้าวตอกเป็นเครื่อง

บูชาครู เพราะเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายและมีความหมายที่ดี

กล่าวคือ ดอกมะเขือ ที่งอกงามได้อย่างรวดเร็ว ใช้

เป็นสัญลักษณ์เสมือนให้เกิดปัญญาความคิดที่พร้อม

จะรับความรู้ได้อย่างรวดเร็ว หญ้าแพรก เปรียบ

เสมือนเด็กที่มาเล่าเรียน เมื่อได้รับการสั่งสอนก็

พร้อมจะเรียนรู้ เหมือนดังหญ้าแพรกที่แม้บางครั้งจะ

เหี่ยวเฉาไปแต่เมื่อใดที่ได้รับน้ำก็พร้อมจะเติบโตทันที

ส่วนดอกเข็มคือการขอให้มีสติปัญญาแหลมคมดุจ

ดอกเข็ม และข้าวตอก เสมือนหนึ่งมีปัญญาความคิด

แตกฉาน เพิ่มพูนอย่างรวดเร็วเหมือนข้าวตอกเมื่อได้

รับความร้อน

ปัจจุบันการหาดอกเข็ม ดอกมะเขือ และหญ้า

แพรก อาจจะกลายเป็นสิ่งที่หายากขึ้น เครื่องบูชาครู

จึงมีการประยุกต์ใช้ เป็นพานพุ่มหรือดอกไม้อื่นๆ

แทนซึ่งก็เป็นเรื่องที่ปรับเปลี่ยนไปได้ตามยุคสมัยแต่

ที่เป็นสาระสำคัญของการไหว้ครูก็คือ การแสดงถึง

ความเคารพ และความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ผู้ให้

สติปัญญาแก่ศิษย์นั่นเอง

ศิษย์ไหว้ครูหรือบูชาพระคุณของครูด้วยความ

เคารพยกย่องและนับถือย่อมได้รับการถ่ายทอดความ

รู้จากครูเต็มที่ สามารถใช้ความรู้ที่ได้เล่าเรียนมานั้น

ให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและแก่ผู้อื่น เมื่อศิษย์

กระทำสิ่งใดผิดพลาดครูจะตักเตือนไม่ให้ศิษย์กระทำ

ในสิ่งที่ไม่ดี

ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา

ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน

ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา

ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน

ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี

ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ข้าและประเทศไทย เทอญ

ปญฺญาวุฑฺฒิกเรเตเต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

14 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 5:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ในช่วงแรกของพิธี ไหว้ครู โรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้าได้จัดให้มีการแสดงมุทิตาจิตแด่อดีต

อาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน

๑๗ ท่าน มีรายนามดังนี้ พ.อ.หญิง สมศรี ศรจิตติ

พล.อ.อุดม โพพี พล.อ.สุทศ ภูติโยธิน พล.อ.เกษม

นภาสวัสดิ์ พล.ท.จำนง สิริโสม พล.ต.ประพาศ

ศกุนตนาค พล.อ.ธรรมนูญ กุลประดิษฐ์ พล.ต.ชัยยง

ศรจิตติ พล.ต.หญิง ศรีสุนทร นาคะอภิ พล.ท.ดร.

สมพงษ์ ตุ้มสวัสดิ์ พล.ต.เรืองศิลป์ เจียรวนิช

พล.ต.คำรณ ธาราวุฒิ พล.ท.สุจินต์ หมวกแก้ว

พล.ท.ประเสริฐหวานฉ่ำพล.ต.หญิงคมคายนุกูลกิจ

พล.ต.อัศวินวีระเดโชและพล.ต.สมศักดิ์วงศ์ภักดี

อดีตอาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

แต่ละท่านได้อุทิศแรงกายแรงใจปฏิบัติหน้าที่อย่าง

เต็มกำลังความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ของครู

ในการให้ความรู้แก่ศิษย์ ให้ความรักความปรารถนาดี

แก่นักเรียนนายร้อยซึ่งเป็นศิษย์อย่างจริงใจ ให้ความ

ช่วยเหลือเกื้อกูลให้คำปรึกษาที่ดีทั้งด้านวิชาการ วิชา

ทหาร คุณธรรม และจริยธรรม “อาจารย์” หรือ

“ครู” จึงเป็นปูชนียบุคคลที่นักเรียนนายร้อยหรือศิษย์

ควรเคารพบูชาFGF

15เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Administrator
Typewritten Text
สารบัญ
Administrator
Typewritten Text
Administrator
Typewritten Text
Page 6:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

สะเดาเกาลัด ยูคาลิปตัส ฝรั่งลังแข หัวกาสาละ มะคะสะแล ทั้งมะค่าแต้ และสะแกวัลย์

ชุดที่ ๑๑สระแอะสระแอ

๑๑.๑สระแอะแม่กกาแม่กงและแม่กก

กาแซะ กระแจะ มะพร้าวแคระ กกาเท่านี้แหละ

ที่เหลือมะยมใบแข็ง

ปาล์มแวกซ์ต้นแอ็กนักแสดง ออกท่าออกแรง

แจกแจงจบสิ้นครบครัน

๑๑.๒ สระแอแม่กมแม่กดแม่กบแม่กงแม่กกแม่เกอวและแม่กน

ต้นไทรย้อยใบแหลม ทั้งหมักแปมแซมเข้ามา

พวงแสด แคแสดว่า อีแรดท่าจะมาแรง

ตอบแตบมาแอบมอง ฟังนวลน้องเจ้าแจกแจง

พันธุ์พืชตระกูลแดง ทำน้ำแกงได้ไหมเอย

หนามแดง โมกแดง เข็มแดง จิ้มปาล์มคอแดง

นางแดงเรียกลำดวนแดง

ภูมิพฤกษา“C 17”

สวนพฤกษศาสตร์ (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

16 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 7:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ต้นแดง ตาลแดง สยาแดง หางกระรอกแดง

ดอนย่าแดง สาคูแดง

หมากแดง ยางแดง เสม็ดแดง อีกปาล์มใบแดง

ประดู่แดง ลั่นทมแดง

มะคังแดง หางไหลแดง ท้ายกระพ้อแดง

สุดสิ้นสีสันพรรณนา

ส้มแขกยากระสายระบายท้อง มะขามแขกแหวกช่องท้องใสแจ๋ว

ไม่วิงเวียนต้นตะเคียนชันตาแมว ทั้งแก้ว แต้ว นมแมวล้วนหอมเย็น

ตะเคียนแก้วนางตะเคียนเวียนมาหากลิ่นสาบพาปาหนันขี้แมวเหม็น

หนุมานนั่งแท่นแสนลำเค็ญ ลูกคอแลนโดดกระเด็นมาเข้าคอ

ชุดที่ ๑๒ สระโอะลดรูปแม่กนแม่กมแม่กงและแม่กก

มะกล่ำต้น ตังหน ตับเต่าต้น รสสุคนธ์

กันภัยมหิดล พู่จอมพล โกสนงาม

กำจัดต้น ติ้วขน เถาอรคนธ์ ยางขนขาม

ข่าต้นคนติดตาม ไหว้เทพนามท้าวมหาพรหม

ลั่นทม ชวนชมชื่น คอคงขื่นกลืนหวายขม

ทดลองดองมะยม เปรี้ยวหมากส้มไม่แพ้กัน

หอมไกลดง ยางบง กาหลงใหล บุหรงใหญ่ส่องฟ้าดงพาฝัน

วอนพระเจ้าห้าองค์ลงมาพลัน ขึ้นพะองพาดพันพวงประยงค์

ข้าวหลามดง เยลูตง พุดดงหรือ ได้ฟังชื่อแปลกจิตพิศวง

ต่างกับไม้คุ้นลิ้นกระถินณรงค์ ถึงตันหยง หูกระจงก็พอยิน

ปาล์มขนนก กระทุ่มบก พวกหยกชุ่มช่อชอุ่มกุ่มบกทาบสาวภาพศิลป์

อินทนิลบก ลูกหัวนกผกโผบิน เป็นจบสิ้นสระโอะโอ๊ะเบาใจ

ชุดที่ ๑๓ สระโอแม่กกาแม่กกแม่กงแม่กน

อโวคาโด เกล็ดกระโห้ โอ้ปลาน้อย ดื่มโกโก้รสอร่อยไม่ค่อยหวาน

ใต้โพศรีมหาโพอันโอฬาร ชงโคบานไม่ขี่ม้าใช่ว่าคน

นั่นโคบาลเขาเลี้ยงโคใหญ่โตนัก เคยทายทักเทพธาโรส้มโอหล่น

จันอิน-โอ ยี่โถไทยไม่อับจน กว่าจะพ้นโอกกาต้องฝ่าฟัน

เห็นต้นโสกแต่มิโศกศุภโชคช่วย โมกหอมรวยรินมาพาสุขสันต์

มะค่าโมง อีโปงโค่งเคียงกัน ม้ากระทืบโรงโย่งยันประหวั่นใจ

ไปสำโรงรถโหนห้อยน้อยโหน่งนั่ง คิดความหลังเคยโดนหวายโป่งป่วยไข้

ยึดยางโอนโยนตัวกลัวแกว่งไกว หลาวชะโอนพุ่งไปให้ลับตา

17เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 8:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ชุดที่ ๑๔ สระเออะแม่กน

สระเออแม่กมแม่เกยแม่กงและแม่กกา

อินทผลัมใบเงิน สตาร์แอปเปิ้ลเชิญลิ้มลอง

เปล้าเงิน เติมเต็มกอง ไปบราซิลเปปเปอร์ดี

โอ้ลมรำเพยพา พรรณบุหงาเซิงซีดสี

เออะเออเพ้อเต็มที ล้วนวลีเลื่อนลอยลม

ชุดที่ ๑๕ สระออแม่กกาแม่กนแม่กมแม่กงแม่กกแม่กดและแม่เกย

หลุมพอ คนทีสอ สะตอ ตะคร้อ จันทน์กะพ้อร่วงพรู

ยลยางใบซอ ทังใบช่อชื่นชูสาธรนอนอู้คุดคู้ขี้หนอน

พุดแตรงอนดังพุดซ้อนสะพรั่ง เหลืองปรีดิยาธร

กระท้อนเหลือเฟือมะเดื่ออุทุมพรชวนทัศนาจรหวายชุมพรน่าชม

จำปีสิรินธร ตะเคียนสามพอน กล้วยอ้ายพอนกราบก้ม

ยลโคกกระออม กลึงกล่อมเอวกลมไคร่หอมเผ้าผมเด็ดดมพวงพะยอม

กระท่อมงดงามยมหอมอย่าห้ามจาบจ้วงจวงหอม

หวังได้สุขสมอมมะขามป้อมทุกอย่างยินยอมยึดมั่นสัญญา

เข็มหอม หมากหอม บานบุรีหอมกลิ่นซาบนาสา

ใบไม้สีทอง พะนองต้องตาหย่องน่องสีงาโสภาโสภี

ไกรทอง เคี่ยมคะนองลงก้องกึก ไปทำศึกชาละวันลั่นสายสินธุ์

กระบากทองแสนลำบากลงจากดิน ต้องอดกินลองกองของน้องนาง

ข้างเจ้าแม่ตะเคียนทองน้องสุดเฮี้ยนลูกศิษย์เพี้ยนขอหวยหนจนสว่าง

เพราะหมายปลูกต้นแคทองเป็นกองกลาง จะออกบนหรือล่างก็ชอบใจ

หางนกยูงฝรั่งสีทองสดับ ส่ายหัวมองร้องว่ารับไม่ค่อยไหว

ชาวมะกอก กะออกทั่วทุกตัวไป สะท้อนรอกเลขอะไรไม่ขึ้นลง

ถูกรางวัลที่หนึ่งนะก็มะน้อด พยักหน้าตังตาบอดปลอดสระสรง

ถ้ามั่งมีแม้นโสโครกโลกยังคง ชื่นชมว่าเป็นหงส์พงศ์ประยูร

ใครอิจฉาวางสลอดจอดสนิท เงินทองถ่ายกว่าได้คิดมิตรสิ้นสูญ

รู้จักเก็บรู้จักหาไม่อาดูร อย่าเพิ่มพูนสินหนี้เพราะผีพนัน

Tea Tree Oil ส้มป่อย ข่อยไม่ขื่น เจ้าเปล้าน้อยหยัดยืนตื่นขยัน

เก็บหมากเล็ก หมากน้อยสะสมพลัน แต่ละวันลำดวนดอยค่อยมั่งมี

18 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 9:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ชุดที่ ๑๖ สระเอียแม่กกาแม่กงแม่กนแม่กมแม่เกอวแม่กดแม่กกและแม่กบ

สระเอียะแม่กกา

ฝรั่งอินเดีย ยางอินเดีย อีกเหลืองอินเดีย

ปัตตาเวีย เขียดตัวเมีย

เถาวัลย์เปรียง เหรียงระเรี่ย หันเหียงเตียงเตี้ย

ส้มเกลี้ยงผิวผ่องน้องนอน

ติ้วเกลี้ยงเสียงลั่นสั่นคลอน สั่นติ้วเว้าวอน

เพราะต้องการคำทำนาย

สุเหรียน โป๊ยเซียนเสี่ยงทาย กระเจียนกระจาย

ทุเรียน เนียนหวานเลี่ยน เอียน

ตานเสี้ยนตะปูตำยางเสียน รถวิ่งวนเวียน

ทางไกลมิได้ตระเตรียม

จอดไว้ใกล้ต้นสะเดาเทียม ห่างมะเยาเหลี่ยมเคี่ยม

แหงนหน้ามองจันทร์รูปเคียว

คิดถึงชมพู่ม่าเหมี่ยว หนาวปาล์มสะดือเขียว

เข็มเขียว หมากเขียวชอุ่มเย็น

ไข่เขียวเพราะเจียวไม่เป็น เจ้าเขียดโลดเล่น

บุหงาลำเจียกหอมไกล

ตะแบกเกรียบเยียบเย็นใจ เลียบริมธารใส

สระเอียแสนเพลียพักนอน

สระเอียะกกาว่าวอน ต้นเทียะขาจร

เก็บตกสุดท้ายย้ายมา

19เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 10:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ชุดที่ ๑๗ สระเอือแม่กกาแม่กงและแม่กด

กวาวเครือและเสี้ยวเครือ มองตาเสือแสนหวั่นใจ

มะเกลือ ก้านเหลืองใหญ่ ปาล์มสามเหลี่ยมเหลืองลออ

หมากเหลือง สยาเหลือง อย่าขุ่นเคืองกันเลยหนอ

ปาล์มสะดือเหลืองตัวงอ มือกุมท้องร้องครวญคราง

แม่ทองกวาวดอกเหลือง หนีเข้าเมืองไม่เคียงข้าง

คงคาเดือดเชือดใจนาง พลุ่งไม่เท่าเจ้าพระยา

ชุดที่ ๑๘สระอัวแม่กมแม่กดแม่กนและแม่กง

กระอวม มะหวดถือแปรงล้างขวด พรวดพราดเข้ามา

ปาล์มขวด ลำดวน หมากนวลยวนตามะป่วนทายท้าคว้าหวายกำพวน

ควงแส้ขวับขวับวิ่งวนสนสับ เหยียบพริกจิกสวน

ฝูงชนตื่นตะลึงอึงมาหน้าฉนวนสูงเตี้ยเสียขบวนโดดน้ำตูมตาม

โสกพวง ช้าม่วง จำปีหลวง จำปาหลวง ลิ้นง่วงร่วงตาม

เปล้าหลวง ชะมวง มะดะหลวง พลวงขาม คูนดอกม่วงม่ายงามปาล์มเด่นม่วงชื่นชม

คำมอกหลวงรั้งท้ายเชื่องช้ายักย้ายไม่วายเจ็บตรม

จบสิ้นสระอัวรอดตัวสุขสมไอเอาระดมเป็นสุดท้ายเอย

ชุดที่ ๑๙ สระไอ

หนังหนาดอกใหญ่ สะแลงหอมไก่ ช้างไห้รำพัน

ทองอุไรเร้นหายหวายขี้ไก่กลิ่นกลั่นแคชาญชัยร้องลั่นกลิ่นนั้นเหลือทน

จำปีศรีเมืองไทย พุดร้อยมาลัย ดอกคำใต้น่ายล

เถาไฟทำข้าวไหม้ กันภัยอับจนละมุดไทยให้ผลธนนไชยคว้ากิน

มะฮอกกานีใบใหญ่ มะไฟเฟื่อง มะพลับไทย ส้านใหญ่เขื่องเป็นนักหนา

ชมพู่น้ำดอกไม้ชื่นอุรา หางนกยูงไทยท้าให้มาชม

เขียดใบใหญ่ เสลาใบใหญ่นั้นโดดเด่น พญาไร้ใบใจเย็นไม่เห็นผม

กระดังงาไทยกลิ่นหอมน่าดอมดม สมอไทยน่านิยมอมชุ่มคอ

กระเบาใหญ่ กระทังใบใหญ่ให้สมชื่อ มะฮังใหญ่เลื่องลือคือแม่หมอ

ประคำไก่สวมใส่ให้งามพอ จบสิ้นหนอสระไอไปอ่านเอา

ชุดที่ ๒๐ สระเอา

ปาล์มหมีเทา ทะลายเขา เครืองูเห่าพลอยเมามัน

หัวเต่า จิกเขาขัน จันเขาละสะเดาเดียว

20 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 11:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

มะเยา เสลาศรี ปนคนทีเขมาเขียว

โสกเขาเจ้าซีดเซียว เพราะน้ำแล้งแรงไม่มี

กระเทียมเถา ยางน่องเถา กลัวไข่เน่ามาคลุกคลี

ถั่วลิสงเถาสวัสดี จบตรงนี้สวนพฤกษศาสตร์เอย

สวนรุกขมัย รุกขมัยสวนงามนามไพเราะ พฤกษาเพาะจัดวางอย่างเชิงศิลป์

ชมสระน้ำเย็นใสไหลรินริน ถ้าแม้นเป็นมุจลินทร์จะว่ายวน

รายรอบด้วยศาลาน้อยชดช้อยนัก เสลาสลักประจักษ์ตาน่าฉงน

ศิลปะสืบสรรค์แห่งบรรพชน พวกเราคนรุ่นหลังยังภูมิใจ

ยามเย็นลมพัดเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น นึกวันคืนเคยชิดพิสมัย

โอ้ยามนี้แก้วพี่อยู่หนใด รู้บ้างไหมรุกขมัยอาลัยเธอ๑

ถัดจากสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นไปทางทิศเหนือ เป็นบริเวณสวนรุกขมัยที่โรงเรียนนายร้อยพระ-

จลุจอมเกลา้สรา้งขึน้เพือ่เฉลมิพระเกยีรติพลเอกหญงิสมเดจ็พระเทพรตันราชสุดาฯสยามบรมราชกมุารีเนือ่ง

ในวาระที่ทรงรับราชการในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าครบ๑๐ปี และทรงเจริญพระชนมายุ๓รอบ

ชื่อ“รุกข มัย”เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระองค์ท่านมีความหมายว่า“เต็ม ไป ด้วย ต้นไม้”ด้านที่อยู่ฝั่ง

ตรงขา้มกบัสวนพฤกษศาสตร์มีตน้ประดู่แดงที่พลเอกหญงิสมเดจ็พระเทพรตันราชสุดาฯสยามบรมราชกมุารี

ทรงปลูกเมื่อวันที่๓๑มีนาคม๒๕๓๔เป็นสัญลักษณ์สำคัญใกล้กันมีศาลาไม้สำหรับนั่งพักผ่อนชมสวนที่ร่มรื่น

ดว้ยพนัธุ์ไม้จดัแตง่อยา่งสวยงามลกึเขา้ไปเปน็สระนำ้กวา้งใหญ่ชวนให้ลอยเรอืเลน่สกัวาในเทศกาลลอยกระทง

สนามหญ้าเขียวขจีที่ปรับเรียบนุ่มท่ามกลางไม้ดอกไม้ใบหลากสีทำให้จินตนาการถึงชีวิตย้อนยุคเมื่อแดดร่ม

ลมตก ปูเสื่อนั่งฟังดนตรีไทยในสวนขวัญ ถนนที่ตัดผ่านสวนรุกขมัยด้านหน้าอาคารกองพลศึกษาคือถนน

คล่องตรวจโรค

จากหัวถนนที่อยู่ตรงสามแยกหน้าสโมสรนักเรียนนายร้อย เลี้ยวซ้ายผ่านพุทธศาสนสถานไปตาม

ถนนสนิทวงศ์ เดินตัดผ่านไปบนลานหน้ากองบัญชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ผ่านพระบรม-

ราชานุสาวรยี์เลีย้วซา้ยไปตามถนนสหีราชเดโชชยัผา่นพุม่ไม้รปูชา้งวกมาทางดา้นขา้งของสวนรกุขมยัอกีดา้น

หนึง่ตรงหวัมมุถนนคลอ่งตรวจโรคที่วกออ้มผา่นไปทางดา้นหนา้ของสวนฯแลว้หกัมมุไปทางซา้ยประจบกบัถนน

สายเดียวกันหน้าอาคารกองพลศึกษา เส้นทางนี้นักออกกำลังกายนิยมมาวิ่ง เพราะได้ชมสวนและสัมผัสภาพ

ชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นมีความสุขของเพื่อนข้าราชการด้วยผู้เขียนเองก็เคยใช้เส้นทางนี้ซึ่งเป็นเส้นทางที่กองพล

ศึกษากำหนดสำหรับการทดสอบร่างกายประจำปีของข้าราชการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้านั่นเอง

๑นกเล็ก [นามแฝง] “ธรรมชาติกับ จปร. ๓๗” เสนาศึกษา เล่ม ๖๑ ตอน ๑ ส.ค. - ต.ค. ๓๗, หน้า ๑๔

21เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 12:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

พื้นที่ปลูกไม้หอม หอมระรื่นชื่นจิตกฤษณา อบเชยพาการบูรไม่สูญหาย

กฤษณาน้อยพลอยฝันแก่นจันทร์กำจาย ฝากกลิ่นอายจันทร์หอมให้ดอมดม

จันชะมด กะเพราต้นระคนกลิ่น เทพธาโรรวยรินเกศาสม

แห่งนารีที่รักสมัครภิรมย์ พฤกษาฉมฉ่ำชื่นทุกคืนวัน

จากกองพลศกึษาขบัรถผา่นดา้นหนา้สโมสรนกัเรยีนนายรอ้ยและอาคารพทุธศาสนสถานมาถงึสี่แยก

แลว้ตรงลอดใตถ้นุกองบญัชาการฯถงึสี่แยกที่สองขบัรถตรงผา่นไปถงึหนา้กองวชิาประวตัศิาสตร์เลีย้วขวาไป

ตามถนนอุปเทศทวยหาญจนถึงสะพานฝายอินทนิลด้านซ้ายมือเดิมข้ามสะพานไปยังบริเวณริมสระน้ำส่วนการ

ศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าซึ่งมีโรงเพาะเห็ดตั้งอยู่

จากโรงเพาะเห็ดลงมาทางทิศใต้ประมาณ๓๐๐เมตรเป็นพื้นที่ปลูกไม้หอมมีเนื้อที่ประมาณ๒๐ไร่

เป็นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขังพื้นที่บริเวณนี้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนการศึกษาฯต่อมาเมื่อโรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้าจัดตั้งโครงการปลูกไม้หอม จึงอนุมัติให้ส่วนการศึกษาฯ จัดสรรพื้นที่บริเวณนี้ให้หัวหน้าฝ่าย

สวนทดลองส่วนพระองค์ดำเนินการโดยเริ่มสำรวจเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน๒๕๔๘ต่อมาในเดือนมีนาคมถึง

เมษายน๒๕๔๙โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้รับการสนับสนุนรถฟาร์มแทรกเตอร์และเจ้าหน้าที่ติดตั้ง

แท่นขุดเจาะจากโรงเรียนเตรียมทหาร เพื่อขุดหลุมเตรียมปลูกพันธุ์ไม้หอม๙ชนิดที่ปรากฏในบทร้อยกรอง

ข้างต้นนอกจากนั้นก็มีพันธุ์ไม้สำหรับทำเครื่องดนตรีไทย๑๓ชนิดได้แก่มะเกลือมะริดมะม่วงป่าสาวดำ

ขนุนประดู่ชิงชันมะหาดสักไผ่มะพร้าวจามจุรีและพยุง

22 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 13:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

โครงการ สวน สมุนไพร จากสะพานฝายอนิทนลิบนถนนสายเดยีวกนัขบัรถตรงไปเกอืบสดุทางจะพบโครงการสวนสมนุไพรซึง่

ตัง้อยู่บรเิวณรมิสระนำ้ตอ่จากสวนสขุภาพของสว่นการศกึษาฯโครงการสวนสมนุไพรนี้มลูนธิิกติติขจรเภสชัเวทย์

โรงงานเภสัชกรรมทหารศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารจัดตั้งขึ้นกระทำพิธีเปิดเมื่อ

วันที่๑๒สิงหาคม๒๕๓๕มีเนื้อที่ประมาณ๖ไร่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนการศึกษาฯมีวัตถุประสงค์

เพือ่สง่เสรมิกจิการวจิยัทางเภสชัเวทชว่ยเหลอืการศกึษาคน้ควา้ทดลองเพาะปลกูขยายพนัธุ์สมนุไพรไทยจดัหา

สมุนไพรและอุปกรณ์ตลอดจนใช้เป็นสถานที่ทำการวิจัยสวนแห่งนี้เป็นที่รวบรวมสมุนไพรมากกว่า๑๐๐ชนิด

ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้นแบ่งได้๑๕กลุ่มตามประโยชน์ในการใช้เพื่อบำรุงร่างกายและรักษาอาการต่างๆ

ดังนี้

๑. สมุนไพรระบบประสาทปราชญ์สรรหา ทั้งจำปา พริกไทยใครว่าฉุน

สบู่เลือดและหมากมากสรรพคุณ ได้คิดดีมีบุญเกื้อหนุนไทย

๒. เตย ส้มมือ พิกุลและจันผา ทั้งบุนนาค กฤษณามาชุดใหญ่

อีกจำปามีคุณสมุนไพร ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง

๓. ที่ดูแลผิวพรรณนั้นมีมาก หนอนตายหยาก สีเสียด สะแกแสง

ทั้งคูน ถ่อน ตะขบป่ามาแสดง เหงือกปลาหมอไม่ทิ่มแทงช่วยเยียวยา

อีกกันเกรา สักทองต้องใจนัก แม่เนื้อหอมหอมนักดังกฤษณา

เจ้าผิวผ่องยองใยได้ยางนา สมุนไพรรักษาเรื่องผิวพรรณ

๔. สมุนไพรต้านเชื้อเชื่อหรือไม่ บัวบก พลูสู้ให้ไม่ต้องหวั่น

๕. แก้เบื่อเมาสะแกแสงแรงพอกัน รางจืดนั้นก็แก้ได้ไม่ยากเย็น

๖. สมุนไพรสมานแผลมีสิบสอง คือสักทอง นนทรีที่เคยเห็น

บอระเพ็ด มะขามเทศเหตุจำเป็น สีเสียดเซ่นหนุมานประสานกาย

ทั้งบัวบก บุนนาคฝากมาให้ อีกกล้วยไม้ จำปา มาตอนสาย

เหลือเสลดพังพอนนอนสบาย สบู่เลือดเหือดหายไปหลายปี

๗. เกี่ยวกับทางเดินหายใจมีไม่น้อย ว่านกาบหอย ผักหนามตามวิถี

ระกำ ปีบ ตีนเป็ดและดีปลี พ้นเป็นผีนางตะเคียนเฮี้ยนระบือ

มองเห็นหญ้าหนวดแมวแววสะทก หางนกยูงไทยวิตกจะสิ้นชื่อ

ใช้มือตบเท้าตบกลบส้มมือ ชะเอมถือกันเกราท่าเอาจริง

๘. สมุนไพรต้านเบาหวานนานแล้วหนอ คือสะตอ ขลู่ หว้าน่าเกรงกริ่ง

อินทนิล สักทองของดีจริง ทั้งชายหญิงลองดูจะรู้ทาง

๙. ถ้าป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ยางน่องหนืดหางไหลลงกระถาง

ลูกใต้ใบ ไหกระเทียมเจียมจัดวาง สะเดาช้าง ถ่อน กลอยเจ้าคอยดู

หนอนตายหยากถลากไถลไม่กล้าหาญ สะเดาบ้านอยู่หลังยังหดหู่

สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรู ให้ร่วงพรูสู่ดินถิ่นแดนไทย

23เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 14:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

๑๐. สมุนไพรบำรุงร่างกายทั้งชายหญิง มีชื่อสิงหโมราหน้าสดใส

ปีบ กันเกรา ดีปลีดีกระไร ธรณีสารหลับไหลไปแสนนาน

เห็นตะโก โด่ไม่รู้ล้ม ทั้งนมแมว งิ้วร้องแซวประดู่แดงแรงขับขาน

สุพรรณิการ์ ยางนามาทำงาน สมัครสมานสามัคคีไม่มีตรม

สบู่เลือด คัดเค้าบานเช้าเย็น เคยได้เห็นเป็นบุญตาพาสุขสม

ทั้งตีนเป็ด บอระเพ็ดเพียงเด็ดดม ไม่เข็ดขมปลูกไว้ให้พอกพูน

๑๑. สมุนไพรระบบทางเดินอาหาร มะขามหวาน ตาลหม่อนห่อนเสื่อมสูญ

เพชรสังฆาต บุก มะหาดกวาดต้นคูณ แก้วมังกรเกื้อกูลต้นหูกวาง

งิ้ว ถ่อน หว้า ยางนา กลอยคอยทีท่า มังคุดป่า สุพรรณิการ์มาขัดขวาง

แต่ดีปลี นนทรี นี้ปล่อยวาง กันเกรากร่างมะกอกป่า แมงดาคะนอง

ทั้งสีเสียด ขี้เหล็ก กระถินยักษ์ สะเดาบ้าน ตะโกพักในหอห้อง

ตะขบป่า หมาก จำปามาปรองดอง เดินทอดน่องตามตีนเป็ดเข็ดทั่วกัน

ทั้งมะม่วง มะฮอกกานี ธรณีสาร ประดู่บ้านย่านสุดท้ายปลายทางฝัน

เรื่องอาหารการกินนั้นสำคัญ สมุนไพรสารพันช่วยดูแล

๑๒. สมุนไพรลดไข้มีไม่มาก รางจืดจากก้างปลาป่วนสวนกระแส

มีหญ้านาง ผักหนามไว้ไม่อ่อนแอ ประทัดจีนถึงแก่ก็เสียงดัง

บอระเพ็ดเข็ดขมอมไว้เถิด ไข้ระเหิดระเหยหายได้ดังหวัง

หวานเป็นลมขมเป็นยานั้นน่าฟัง นมแมวยังช่วยได้สบายตัว

๑๓. คอเลสเตอรอลลดได้สมุนไพรเยี่ยม คือกระเทียมเคี้ยวไว้ไม่เวียนหัว

๑๔. สมุนไพรขับปัสสาวะดังฝักบัว ลูกใต้ใบท่อรั่วเป็นสายธาร

โด่ไม่รู้ล้มแล้วลุกปลดทุกข์คล่อง ไม่จดจดจ้องจ้องต้องเฝ้าถาน

คิวต่อไปเบาใจไม่คอยนาน ไม่ต้องอั้นทรมานกันหลายคน

๑๕. สมุนไพรแก้พิษจากสัตว์ร้าย ชุดสุดท้ายกล่าวเสร็จสำเร็จผล

คือรางจืด ยางน่องต้องกมล พ้นทุกข์ทนทั้งใบเฟิร์นเชิญลองเอย

เมือ่พ.ศ.๒๕๕๑โรงเรยีนนายรอ้ยพระจลุจอมเกลา้เปดิวชิาเลอืกเสรีหลกัสตูร“เศรษฐกจิ พอ เพยีง”

(สมุนไพรที่ใช้ในทางทหาร) มีเภสัชกรจากโรงงานเภสัชกรรมทหารเป็นอาจารย์พิเศษในหัวข้อ “พืช พิษ” ให้

นักเรียนนายร้อยได้ศึกษาว่า พืชชนิดใดมีพิษเพื่อความปลอดภัยในเวลาที่สำเร็จการศึกษาไปปฏิบัติราชการใน

พื้นที่ป่าเขา ต่อมา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมได้จัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนเภสัชกรรมทหารจัดทำ

หนังสือ “คู่มือ พืช มี พิษ” เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา

๘๐พรรษาโดยแจกจ่ายให้ส่วนการศึกษาฯเหล่าทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พ.ศ.๒๕๕๒มีการจัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนาสวนสมุนไพรซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง๓ปี

ภายใต้ชื่อ“โครงการ เฉลิมพระเกียรติ พระบาท สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ใน ๕ ธันวาคม

๒๕๕๔” มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสวนสมุนไพรให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยและบุคคลทั่วไป

24 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 15:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ตั้งแต่ขั้นการปลูกเก็บเกี่ยวและนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นยาต่อมาเมื่อวันที่๒๑สิงหาคมปีเดียวกันคณะ-

ข้าราชการโรงงานเภสัชกรรมทหารได้เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารีทูลเกล้าฯถวายหนังสือ“คู่มือ พืช มี พิษ”พระองค์ท่านได้มีพระราชดำริให้เผยแพร่ความรู้

ดังกล่าวแก่ชาวบ้านและในปีเดียวกันนี้เองได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ต้น“สิ ริน ธร วัลลี”เป็นต้นไม้

สัญลักษณ์ประจำหน่วยเพื่อความเป็นสิริมงคล๒

ทางเข้าโครงการสวนสมุนไพรเป็นทางเดินซีเมนต์แคบๆขนาบด้วยพุ่มเข็มเป็นแนวเตี้ยๆห่างไปจาก

รั้วกั้นเขตหน้าประมาณ๒๐ก้าวมีสระบัวโบกปูนถัดจากสระเป็นป้าย “มูลนิธิ กิตติ ขจร เภสัช เวทย์ โรงงาน

เภสัชกรรม ทหาร กรม แพทย์ ทหาร บก” หากเดินไปทางด้านซ้ายมือบนทางซีเมนต์แคบๆ จะเห็นเรือนเพาะชำ

ถัดจากเรือนเพาะชำเป็นลานซีเมนต์รูปวงกลมอยู่สองข้างทาง ตรงกลางประดับด้วยขอนไม้เล็กๆ ทั่วบริเวณ

โครงการมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง

ย้อนกลับมาที่ด้านหน้าหลังป้ายโครงการเยื้องไปทางขวาเป็นเนินเตี้ยๆกลางเนินมีต้นชะมวง๒ต้น

กระถินยักษ์๓ต้นกระถินยักษ์กลุ่มหนึ่งเปลือกของลำต้นแตกล่อนและมีเถาระโยงระยางไปยังอีกต้นหนึ่งที่อยู่

ใกล้กนัขอบเนนิปลกูตน้ดาหลาออกดอกสีสดรายไว้๒-๓ตน้บรเิวณใกล้กนับนพืน้ราบดา้นหนา้โครงการมีตน้

ตีนเป็ดสูงชะลูดปลูกอยู่ห่างๆแซมด้วยต้นขนุน๒-๓ต้นจากนั้นหากเดินไปบนแผ่นอิฐสี่เหลี่ยมเล็กๆที่ปูทอด

ลึกเข้าไปผ่านไม้สูงที่ปลูกห่างเป็นระยะ๒ข้างทางมองไปจะเห็นเนินขนาดใหญ่ที่เป็นกองไม้แห้งสุมรวมกันอยู่

เป็นจำนวนมากกลบรากต้นกล้วยที่ขึ้นอยู่ตรงบริเวณนั้นเดินต่อไปบนแผ่นอิฐที่ทอดโค้งไปทางซ้ายมือขนานไปกับ

เสน้กัน้เขตหลงัของโครงการซึง่ตดิกบัถนนรอบนอกของโรงเรยีนนายรอ้ยพระจลุจอมเกลา้ที่คอ่นขา้งเปลีย่วแผน่

อิฐอยู่ห่างจากเส้นกั้นเขตหลังประมาณ๔๓ก้าว(ผู้เขียนไม่สันทัดการคำนวณระยะทางเป็นเมตรจึงใช้การนับ

กา้ว)เสน้ทางที่ปูแผน่อฐิไปประจบทางตดัขวางซึง่ก็คอืทางเดนิซีเมนต์แคบๆที่ทอดมาจากทางดา้นเรอืนเพาะชำ

นั่นเอง เดินข้ามทางตัดขวางไปบนแผ่นอิฐคู่ปูทอดลึกไปบริเวณพื้นที่ด้านซ้ายของโครงการ มองเห็นทิวทัศน์ที่

งดงามคือสระน้ำกว้างใหญ่ของส่วนการศึกษาฯเยื้องไปทางด้านซ้ายมือของฝั่งตรงข้ามมองเห็นอาคารเตี้ยๆ

สีขาวมีสะพานฝายอินทนิลซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตทอดข้ามมายังฝั่งด้านหลังกองวิชาวิศวกรรมเครื่องกลใกล้

เขา้มาอกีนดิมองเหน็ศาลา“ทงั ส ุบตุร”ตวัศาลาสีเหลอืงหลงัคาสีแดงที่พนัเอกหญงิศรีสมรทงัสุบตุรสรา้งให้

โรงเรยีนนายรอ้ยพระจลุจอมเกลา้ปกัหลกัอยู่ตรงปลายสะพานไม้เลก็ๆลายโปรง่ถดัมามองเหน็ศาลาอารม์ทอง

ยื่นจากปลายสะพานยืนโดดเด่นอยู่บนผืนน้ำเป็นศาลาแปดเหลี่ยมสร้างในสมัยแรกๆที่มีการฟื้นฟูสวนสุขภาพ

ผู้เขียนจำได้ว่าเคยไปนั่งเล่นที่ศาลาแห่งนี้และลงเรือแจวเล็กๆพายออกไปไม่ไกลนักถัดมาใกล้ๆกันมีศาลา

ลำลองขนาดเล็ก หลังคาสีแดง ซึ่งมีศาลาบริวารขนาดจิ๋วอยู่ใกล้ๆ ศาลาคู่นี้คือศาลา “ศร จิต ติ” ซึ่งน่าจะเป็น

ของขวัญจากพันเอกหญิงสมศรีศรจิตติมอบให้แก่ส่วนการศึกษาฯ

ริมสระน้ำด้านที่ติดกับอาคารสีขาว มีแนวสุมทุมพุ่มพฤกษ์เขียวชอุ่มสลับซับซ้อนสูงขึ้นไปปกคลุม

ผาสงูตระหงา่นงำ้ที่เรยีกวา่“เขา ชะโงก”ซึง่ทอดทวิยาวสงบนิง่เปน็ฉากใหญ่เหนอืผนืนำ้ที่ในฤดูนี้มีนำ้นอ้ยและ

บางส่วนค่อนข้างแห้งเหือดจนถูกปกคลุมด้วยผืนหญ้าเป็นบริเวณกว้าง

๒ที่มาของข้อมูล: ป้ายนิเทศในโครงการสวนสมุนไพร

25เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 16:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

เย็นมากแล้วทั่วบริเวณเงียบสงัดผู้เขียนตัดสินใจเดินผ่านป่ากฤษณาไปจนสุดเขตของโครงการด้าน

ที่ติดกับสระน้ำส่วนการศึกษาฯ เพื่อมิให้ค้างคาใจ ไม่พบอะไรที่แปลกตาจึงเดินกลับ มองดูลำต้นกฤษณาที่สูง

เพรียวเขียวเข้มไม้เนื้อหอมที่เป็นสัญลักษณ์ของคนดีและสิ่งดีงามดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระ-

ยาเดชาดิศรทรงเปรียบไว้ในโคลงโลกนิติที่ผู้เขียนขอนำมาเป็นของฝากจากการเที่ยวชมสวนสมุนไพรในวันนี้ว่า

ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา

ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง

คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อนพาลนา

ได้แต่รายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์

ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา

หอมระรวยรสพา เพริศด้วย

คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์

ความสุขซาบฤๅม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม

เขียนเมื่อปลายเดือนมีนาคม ๒๕๕๓

เอกสารอ้างอิง ๑. เอกสาร“โครงการปลูกต้นไม้ในรร.จปร.”ของกกร.รร.จปร.

๒. ป้ายนิเทศ“โครงการสวนสมุนไพรมูลนิธิกิตติขจรเภสัชเวทย์”รร.จปร.

๓. นกเล็ก[นามแฝง]“ธรรมชาติกับจปร.๓๗”เสนาศึกษาเล่ม๖๑ตอน๑ส.ค.-ต.ค.๓๗,หน้า๑๔

FGF

26 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Administrator
Typewritten Text
Administrator
Typewritten Text
สารบัญ
Administrator
Typewritten Text
Page 17:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

หลักสูตรวิชาทหารในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในวันที่ ๑ มกราคมพ.ศ. ๒๔๙๑ โรงเรียนนายร้อยทหารบกได้รับพระราชทานนามว่า

“โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า” และได้เริ่มใช้หลักสูตรการศึกษาที่ปรับปรุงใหม่ตาม

แนวทางโรงเรียนนายร้อยทหารบกของสหรัฐอเมริกา(WestPoint) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๒ เพิ่ม

เวลาการศึกษาเป็น ๕ ปี ตามหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๔๙๒ นี้

นักเรียนนายร้อยต้องรับการฝึกศึกษาอบรมทุกกระบวนวิชาเหมือนกัน เมื่อสำเร็จการศึกษาตาม

หลักสูตรนักเรียนนายร้อยจะได้รับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิตทหารบก(วทบ.ทบ.)

ปีการศึกษาเริ่มด้วยสมัยการฝึกตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิ้นเดือนมีนาคม รวมเวลา

ในสมัยการฝึก ๘ สัปดาห์ สำหรับนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ ๑ เริ่มการฝึกตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม

จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม เมื่อจบสมัยการฝึกนักเรียนนายร้อยจะได้หยุดพักผ่อนในเดือนเมษายน

และเริ่มสมัยการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงสิ้นเดือนมกราคม

นักเรียนนายร้อยได้รับการศึกษาอบรมอย่างหนักทั้งวิชาการและการฝึกทางทหาร

สำหรับการศึกษาวิชาทหารและการฝึกนั้นมีรายวิชาที่จะต้องศึกษาดังนี้

๑. วิชาทหารราบ ให้ศึกษาในเรื่องลักษณะหน้าที่ ความสามารถ ขีดจำกัด การจัด

ยุทธวิธีในการรบขั้นต่างๆ และเท็ฆนิคของทหารราบตั้งแต่บุคคลจนถึงระดับกองพันผสมเหล่า

ส่วนด้านการฝึกนั้นให้สามารถทำหน้าที่ในการนำหน่วยได้จนถึงระดับหมวดในกองพันทหารราบ

สวท.รร.จปร. ในยุคโลกาภิวัตน์

เรื่อง: สวท.รร.จปร. พ.อ.หญิงวันดีปาลกะวงศ์ณอยุธยาภาพ: พ.ท.ศึกษาวรรักษ์

ตอนจบ

43เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 18:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

๒. วิชาทหารม้าและยานเกราะ ให้ศึกษาในเรื่องลักษณะหน้าที่ความสามารถขีดจำกัดการจัดและยุทธวิธีของทหารม้าและยานเกราะตั้งแต่ระดับหมู่จนถึงกองร้อย กับให้ทำการฝึกขี่ม้าและฝึก ยานเกราะเพื่อเป็นพื้นฐานที่จะรับการฝึกขั้นสูงต่อไป ๓. วิชาทหารปืนใหญ่ ให้ฝึกและศึกษาในเรื่องลักษณะหน้าที่ ความสามารถ ขีดจำกัด การจัดยุทธวิธีและเท็ฆนิคของกองร้อยและกองทัพทหารปืนใหญ่สนาม และอาวุธอัตโนมัติต่อสู้อากาศยาน ฝึกหน้าที่พลประจำปืนและการปฏิบัติในศูนย์อำนวยการยิง ๔. วิชาทหารช่าง ให้ศึกษาในเรื่อง ลักษณะหน้าที่ ความสามารถ ขีดจำกัด การจัดและการปฏิบัติของกองพันทหารช่างสนามในทุกขั้นทุกลักษณะทหารราบ กับให้ได้รับการฝึกและศึกษาในเรื่องการป้อมสนาม เครื่องกีดขวาง การพราง การสร้างที่พัก การทำลายทุ่นระเบิดและกับดักระเบิดการสะพานทางสนาม เท่าที่ทหารทุกเหล่าควรทราบและให้ศึกษาในเรื่องการยุทธข้ามลำน้ำด้วย ๕. วิชาทหารสื่อสาร ให้ได้รับการฝึกและการศึกษาในเรื่อง ลักษณะ หน้าที่ ความสามารถ ขีดจำกัดการจัดและการใช้เครื่องมือสื่อสารต่างๆทั้งในทางเท็ฆนิคและยุทธวิธี ตลอดจนการปฏิบัติการสื่อสารในกองพันกรมและกองพลทหารราบ ๖. วิชาทหารขนส่ง ให้ศึกษาในเรื่อง ลักษณะหน้าที่ ความสามารถ ขีดจำกัด การจัดเหล่าทหารขนส่ง และวิธีดำเนินการขนส่งต่างๆ ตลอดจนหลักการเคลื่อนย้ายหน่วยทหาร กับฝึกให้สามารถขับ ยานยนต์ทางบก(รถยนต์)ได้ ๗. วิชาทหารอากาศ ให้ศึกษาในเรื่อง ลักษณะหน้าที่ความสามารถขีดจำกัดของเครื่องบินทหารการจัดกำลังรบ และการรบร่วมกับหน่วยทหารบนพื้นดิน ตลอดจนรู้หน้าที่และการปฏิบัติของกองทัพอากาศในยุทธบริเวณ หน้าที่และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันภัยทางอากาศ ฝึกและทำความคุ้นเคยกับการลำเลียงทางอากาศและการเดินทางโดยเครื่องบิน ๘. วิชายุทธวิธี ให้ ได้รับการศึกษาในเรื่อง

ลักษณะความสามารถ และขีดจำกัดของกองทหารขนาดใหญ่จนถึงกองทัพสนามรู้หลักการยุทธ์ต่างๆรู้หน้าที่ของฝ่ายอำนวยการและฝ่ายกิจการพิเศษต่างๆ ในหน่วยระดับกองพลคำสั่งยุทธการการส่งกำลังบำรุงการส่งกลับการสงครามเคมีชีวะรังสีและการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก ๙. วิชาเท็ฆนิคการใช้อาวุธ ให้ฝึกและศึกษาในเรื่องลักษณะสมรรถนะชื่อชิ้นส่วนต่างๆการถอดการประกอบ การทำงานของเครื่องกลไก เหตุขัดข้องและวิธีแก้ไข การระวังรักษา และการใช้อาวุธทุกชนิดที่มีในหน่วยทหารระดับกรม ตลอดจนการฝึกยิงอาวุธบางชนิดด้วย ๑๐. วิชาแผนที่ ให้รู้จักการอ่านแผนที่ รู้จักใช้แผนที่และเข็มทิศรู้วิธีการทำแผนที่โดยสังเขปและการจำลองแผนที่ เท่าที่จำเป็นต้องใช้สำหรับกิจการทหารในสนาม การสอนวิชาทหารจะแบ่งเป็น๒สมัยคือสมัยการศึกษากับสมัยฝึก โดยในปีการศึกษาของหลักสูตรใหม่เริ่มต้นด้วยสมัยฝึกตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิ้นเดือนมีนาคม รวมเป็นเวลา ๘สัปดาห์ ยกเว้นนักเรียนนายร้อยปีที่ ๑ จะเริ่มสมัยฝึกในต้นเดือนมีนาคมถึงสิ้นเดือนมีนาคม เพราะนักเรียนเตรียมนายร้อยปีที่ ๒ ได้รับการส่งตัวเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยปีที่ ๑ ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ การฝึกในสมัยนั้นเป็นการปฏิบัติในภูมิประเทศมีการฝึกประกอบลูกมือ อาวุธ และเครื่องมือเครื่องใช้จริง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและชำนาญในการใช้อาวุธ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ของแต่ละเหล่าตามขอบเขตที่กำหนดไว้ โดยได้แบ่งขอบเขตการฝึกของนักเรียนแต่ละชั้นไว้ดังนี้ ชั้นปีที่๑ ฝึกเบื้องต้นทั่วไปโดยอนุโลม ชั้นปีที่๒ ฝึกวิชาเหล่าต่างๆ และฝึกทำหน้าที่ ผู้บังคับหมู่ทหารราบ ชั้นปีที่๓ ฝึกวิชาเหล่าต่างๆ และฝึกทำหน้าที่ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก

ชั้นปีที่๔ ฝึกวิชาเหล่าต่างๆ และฝึกทำหน้าที่

ผู้บังคับหมวดอาวุธ

44 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 19:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ชั้นปีที่๕ ฝึกการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก ดู

กิจการตามหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก กองทัพเรือ

กองทัพอากาศและฝึกปฏิบัติหน้าที่ตามกรมผสม

สำหรับการฝึกในสมัยฝึกระยะแรกตั้งแต่ พ.ศ.

๒๔๙๒ จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔ นั้น เป็น การฝึกตาม

หน่วยและพื้นที่ในบริเวณโดยรอบกรุงเทพฯ ซึ่งใน

ขณะนั้นยังพอมีพื้นที่สามารถทำ การฝึกได้ แต่

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๕ พันเอกถนอม ปัทมานนท์

หัวหน้าแผนกวิชาทหารพิจารณาเห็นว่า การฝึกที่

ผ่านมายังไม่สมบูรณ์เพียงพอจึงได้เปลี่ยนให้การฝึก

วิชาทหารราบ ทหารม้า และทหารปืนใหญ่ กระทำ

ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนวิชาของเหล่าอื่นยัง

คงฝึกโดยหน่วยและเหล่าต่างๆ ในกรุงเทพฯ ตาม

เดิม ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๕ พลตรีอ่อง โพธิกนิษฐ

ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าใน

ขณะนั้น ได้มอบหมายให้ พันเอก หม่อมราชวงศ์

สังขดิศ ดิศกุล รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้า เป็นผู้ควบคุมการฝึก พันเอก

หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล จึงได้เปลี่ยนแปลงให้

ทุกวิชาไปดำเนินการฝึกที่เหล่าเพื่อให้ผลการฝึก

สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับการฝึกการยุทธสะเทินน้ำ

สะเทินบกนั้น ได้รับความร่วมมือจากกองเรือ

ยุทธการกรมทหารนาวิกโยธินและกองบินน้อยที่๗

ส่วนการสอนวิชาทหารในสมัยการศึกษานั้น

เน้นการสอนเชิงประชุมในห้องเรียนมีอุปกรณ์และ

เครื่องมือการสอนพอสมควร นอกจากนั้นก็ใช้หลัก

การทั่วไปทางทฤษฎีประกอบการฝึกแก้ปัญหาบน

แผนที่และโต๊ะทรายในห้องเรียน ได้กำหนดขอบเขต

การเรียนของนักเรียนนายร้อยแต่ละชั้นดังนี้

ผบ.กองกำลังออกคำสั่งตั้งรับ

(ออกฝึกภูมิประเทศที่ทุ่งบางเขน)

กองพลน้อยปตอ.

ฝึกภาคสัตหีบ

ศึกษาดูงานที่ทอ.

45เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 20:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ชั้นปีที่๑ ศึกษายุทธวิธีและเท็ฆนิคของเหล่า

ต่างๆ ระดับหมู่ ชั้นปีที่ ๒ ศึกษาระดับหมวด ชั้นปีที่

๓ ศึกษาระดับหมวดอาวุธ ชั้นปีที่ ๔ ศึกษาระดับ

กองร้อยและชั้นปีที่๕ศึกษาระดับกองพัน

การศึกษาตามขอบเขตที่กำหนดนี้ได้ถือเอาวิชา

ทหารราบเป็นหลัก เมื่อเสร็จสิ้นการศึกษาวิชาใด

แล้วจะมีการสอบทบทวนทั่วไปโดยอาจารย์ผู้สอน

แล้วให้คะแนนไว้ ผู้ที่สอบวิชาทหารได้คะแนนรวม

ทุกวิชาไม่ต่ำกว่า๖๐%จึงจะถือว่าสอบไล่ได้

กล่าวได้ว่า การปรับปรุงหลักสูตรเมื่อ พ.ศ.

๒๔๙๒ เป็นแม่แบบของการปรับปรุงหลักสูตร

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในระยะต่อมา

หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้นำระบบหน่วยกิตมาใช้เป็นครั้งแรก

และสอดคล้องกับหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัย รวม

จำนวนหน่วยกิตทั้ งหลักสูตร ๒๖๒ หน่วยกิต

นักเรียนนายร้อยจะมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และอักษรศาสตร์

เพื่อจะได้เป็นนายทหารสัญญาบัตรได้ทุกเหล่า

หลักสูตรวิชาทหาร มีความมุ่งหมายให้นักเรียน

นายร้อยมีความรู้พื้นฐานในวิชาทหารของทุกเหล่าที่

จำเป็น และเพียงพอแก่การรับราชการเป็นนายทหาร

สัญญาบัตรชั้นผู้บังคับหมวดและเป็นพื้นฐานที่จะไป

ศึกษาเพิ่มเติมในโรงเรียนของเหล่าต่างๆ วิชาทหาร

เป็นวิชาบังคับที่นักเรียนนายร้อยทุกนายจะต้อง

ศึกษานักเรียนนายร้อยชั้นปีที่๑,๒และ๓จะต้อง

ศึกษาหนักไปทางด้านวิชาทหารราบ ผู้ที่ศึกษา

สำเร็จชั้นปีที่ ๓ แล้วจะมีความรู้เพียงพอที่จะนำ

หน่วยในระดับหมวดทหารราบได้หากทางราชการมี

ความจำเป็น

ชั้นปีที่ ๑ ศึกษาวิชาทหารราบ วิชาบุคคล

ทำการรบ วิชาอาวุธ วิชาทหารช่าง วิชาเวชกรรม

ป้องกันและการปฐมพยาบาลในสนามรบ

ชั้นปีที่ ๒ศึกษาวิชาทหารราบวิชาทหารปืน

ใหญ่ วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร วิชาทหาร

ขนส่งวิชาอาวุธ

ชั้นปีที่ ๓ ศึกษาวิชาทหารม้า วิชาทหารปืน

ใหญ่วิชาทหารสื่อสารวิชาทหารขนส่งวิชาสงคราม

เคมี ชีววิทยา กัมมันตภาพรังสีและนิวเคลียร์

วิชาปฐมพยาบาลการฝึกจู่โจมและโดดร่ม

นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่๔และ๕จะได้รับ

การศึกษาวิชาทหารมากขึ้น

นักเรียนนายร้อยที่สำเร็จการศึกษาครบ

หลักสูตร ๕ ชั้นปีแล้ว จะมีความรู้พื้นฐานทางวิชา

ทหารของเหล่า สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับหมวด

ในระหว่างสมัยการศึกษา นักเรียนนายร้อยจะ

ต้องทำการฝึกประจำวันสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ระหว่าง

เวลา๑๕.๔๕-๑๗.๑๕น.ในวันจันทร์อังคารพุธ

และพฤหัสบดี โดยสลับกับการฝึกพลศึกษา ส่วน

วันศุกร์เป็นเวลาของผู้บังคับบัญชา ที่อาจกำหนด

การฝึกพิเศษออกไปได้

การฝึกประจำวันระหว่างสัปดาห์ จะฝึกเกี่ยวกับ

การฝึกเบื้องต้น การฝึกอาวุธ การฝึกทางยุทธวิธี

และการฝึกหน้าที่ครูทหาร

นักเรียนนายร้อยจะผลัดเปลี่ยนกันปฏิบัติหน้าที่

เป็นลูกแถว พลประจำปืน และผู้บังคับหมู่ โดยมี

ผู้บังคับหมวดเป็นผู้อำนวยการฝึก

46 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 21:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ได้ และจะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่สูง

ขึ้นเมื่อได้รับการศึกษาเพิ่มเติมจากโรงเรียนเฉพาะ

เหล่า

ในสมัยการศึกษากำหนดการฝึกและขอบเขตไว้

ดังนี้

ชั้นปีที่ ๑ ฝึกบุคคลเบื้องต้นท่ามือเปล่า ท่า

อาวุธ และแถวชิด การฝึกการใช้อาวุธประจำกาย

และอาวุธประจำหน่วยประเภทปืนกล การใช้ดาบ

ปลายปืนและลูกระเบิดขว้าง การฝึกสวนสนามและ

การใช้ทัศนสัญญาณ การฝึกทางยุทธวิธีระดับหมู่

ปืนเล็กหมู่อาวุธและการฝึกราชการสนาม

ชั้นปีที่ ๒ ทบทวนการฝึกเบื้องต้นบุคคลท่ามือ

เปล่าท่าอาวุธและแถวชิดการใช้อาวุธประจำหน่วย

ประเภทปืนกล เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง ปืนไร้แสง

สะท้อน และเครื่องยิงลูกระเบิด การฝึกสวนสนาม

การใช้ทัศนสัญญาณและการฝึกใช้เครื่องมือสื่อสาร

การฝึกทางยุทธวิธีระดับหมวดปืนเล็ก หมวดอาวุธ

และการฝึกราชการสนาม

ชั้นปีที่ ๓ ทบทวนการฝึกเบื้องต้นบุคคลท่ามือ

เปล่า ท่าอาวุธ และแถวชิด ทบทวนการฝึกการใช้

อาวุธประจำกาย อาวุธประจำหน่วยประเภทปืนกล

เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังปืนไร้แสงสะท้อนเครื่องยิง

ลูกระเบิด การฝึกสวนสนาม การใช้ทัศนสัญญาณ

การฝึกการใช้เครื่องมือสื่อสารเพิ่มเติม การฝึก

การใช้ทุ่นระเบิดและกับระเบิด การฝึกทางยุทธวิธี

ระดับหมวด ปืนเล็ก หมวดอาวุธ ทดสอบกำลังใจ

และการฝึกราชการสนาม

47เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 22:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ชั้นปีที่ ๔ ทบทวนการฝึกเบื้องต้นบุคคลท่ามือ

เปล่า ท่าอาวุธ และแถวชิด ทบทวนการฝึกการใช้

อาวุธประจำกาย อาวุธประจำหน่วยประเภทปืนกล

เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง ปืนไร้แรงสะท้อน เครื่อง

ยิงลูกระเบิด การใช้ดาบปลายปืน ลูกระเบิดขว้าง

การฝึกท่ากระบี่ การตรวจการณ์ของทหารปืนใหญ่

การฝึกทางยุทธวิธีเพื่อเตรียมเข้าศึกษาหลักสูตร

พิเศษ การฝึกจู่โจมและโดดร่ม และการฝึกราชการ

สนาม

ชั้นปีที่ ๕ ทบทวนวิชาครูทหารและฝึกทำการ

สอน การฝึกปฏิบัติหน้าที่ครูฝึกและผู้ฝึกวิชาทหาร

การดูงานในหน่วยทหารในที่ตั้งปกติและในสนาม

ทบทวนการฝึกท่ากระบี่ การฝึกรับพระราชทาน

กระบี่และปริญญาบัตร

หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๑๘ นี้ มีความแตกต่างจากหลักสูตรเดิมที่

เคยใช้มาแล้วใน๒ประเด็นคือ

๑.เป็นการจัดหลักสูตรครั้งแรกที่ให้นักเรียน

นายร้อยสามารถเลือกเรียนวิชาในสาขาที่ตนถนัดได้

โดยไม่เกี่ยวข้องกับเหล่าทหารที่จะรับราชการเมื่อ

สำเร็จการศึกษาแล้ว

๒.เป็นการนำระบบหน่วยกิตมาใช้ครั้งแรกใน

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๒๑ กองวิชาทหารปรับเปลี่ยนเป็น

“ส่วนวิชาทหาร” และเป็นหน่วยขึ้นตรงของกรม

นักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ปีต่อมา โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าจัดทำ

หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.

๒๕๒๒ การศึกษาในชั้นปีที่ ๑, ๒ และ๓ เป็นการ

ศึกษาวิชาพื้นฐานทั้งสิ้น นักเรียนนายร้อยจะศึกษา

เหมือนกันทุกนาย เมื่อจบชั้นปีที่ ๓ แล้ว จะจัดให้มี

การแยกเหล่า แล้วแบ่งผู้ที่เลือกเหล่าทั้งหมดออก

เป็น ๕ กลุ่ม ตามลักษณะของสายงานของเหล่า

ต่างๆที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกันดังนี้

๑.กลุ่มที่ ๑ ผู้ที่เลือกเหล่า ทหารราบ ทหาร

สารวัตรทหารขนส่งและทหารพลาธิการเน้นหนัก

ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

ทั่วไป

๒.กลุ่มที่ ๒ ผู้ที่เลือกเหล่า ทหารสรรพาวุธ

ทหารปืนใหญ่และทหารม้าจะเน้นหนักในสาขาวิชา

วิศวกรรมสรรพาวุธและวิศวกรรมเครื่องกล

๓.กลุ่มที่ ๓ ผู้ที่เลือกเหล่า ทหารช่าง จะเน้น

หนักในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

๔.กลุ่มที่ ๔ ผู้ที่เลือกเหล่า ทหารสื่อสาร จะ

เน้นหนักในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

๕.กลุ่มที่ ๕ ผู้ที่เลือกเหล่า ทหารแผนที่ จะ

เน้นหนักในสาขาวิชาวิศวกรรมแผนที่นักเรียนกลุ่มนี้

จะแยกไปเรียนที่โรงเรียนแผนที่ทหารกองบัญชาการ

ทหารสูงสุด ซึ่งตั้งอยู่ ใกล้กับโรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก เมื่อสำเร็จ

การศึกษาในแต่ละวันก็จะกลับมาฝึกร่วมกับนักเรียน

นายร้อยในชั้นเดียวกัน

หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๒๒ นี้ นอกจากจะมีวิชาต่างๆ เหมือนกับ

หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.

๒๕๑๘ และหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอม-

เกล้าพ.ศ.๒๔๙๒ยังได้เพิ่มวิชาใหม่ๆที่จำเป็นขึ้น

อีกหลายวิชาโดยหน่วยกิตรวม กลับลดลงเหลือ

๒๒๓หน่วยกิตวิชาที่เพิ่มเช่นความมั่นคงของชาติ

การพูดในที่ชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจ โปรแกรม

คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมทุกแขนง ฟิสิกส์และเคมี

ประยุกต์เป็นต้น

สงครามกองโจรและสงครามปฏิวัติของพรรค

คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(สำหรับวิชาทหาร)

ในพ.ศ.๒๕๒๕โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอม-

เกล้า ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรอีกครั้งหนึ่ง

เพื่อปฏิบัติตามความต้องการของเหล่าที่ร้องขอและ

เพื่อปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรม ได้แก่ วิศวกรรม

โยธา วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมไฟฟ้า ให้

เข้ากับหลักสูตรวิชาชีพวิศวกรรม หลักสูตรนี้มีชื่อ

เรียกว่า หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๒๒ ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. ๒๕๒๕

48 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 23:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

หลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๒๗โดยทั่วไปคงเป็นไปตามหลักสูตรพ.ศ.

๒๕๒๒ (ปรับปรุงแก้ ไข พ.ศ. ๒๕๒๕) ส่วนที่

เปลี่ยนแปลงคือ

๑.โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เหลือ

นักเรียนเพียง๔ชั้นปีเพราะนักเรียนชั้นปีที่๑ต้อง

แยกไปเรียนที่โรงเรียนรวมเหล่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมา

ใช้ชื่อโรงเรียนเตรียมทหารตามเดิม

๒.การแบ่งกลุ่มการศึกษาคงมี๕กลุ่มเหมือน

เดิมแต่ไม่มีการบังคับการเลือกเหล่าคือนักเรียนจะ

เลือกเหล่าใดก็ได้ขึ้นอยู่กับลำดับที่สอบจากชั้น๑-

๓ และคะแนนที่เรียนร่วมกันในปีชั้นปีที่ ๔ และ ๕

เว้นกลุ่มที่เรียนวิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมไฟฟ้า

จะต้องไปรับราชการในเหล่าทหารช่าง และทหาร

สื่อสารตามจำนวนที่เหล่าต้องการ นอกนั้นให้เป็นไป

ตามความสมัครใจและลำดับที่ก่อนหลังในการเลือก

เหล่า

สำหรับวิชาทหารส่วนวิชาทหารฯกำหนดระยะ

เวลาศึกษาไว้ ๒ ห้วง ระยะแรกภาควิชาการ ๓๒

สัปดาห์

ชั้นปีที่ ๑ ศึกษาวิชาทหารราบ วิชาทหารม้า

วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร วิชาอาวุธ วิชา

แผนที่

ชั้นปีที่ ๒ ศึกษาวิชาทหารราบ วิชาทหารม้า

วิชาทหารปืนใหญ่ วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร

วิชาทหารขนส่งวิชาอาวุธ

ชั้นปีที่ ๓ ศึกษาวิชาทหารราบ วิชาทหารม้า

วิชาทหารปืนใหญ่ วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร

วิชาทหารขนส่ง วิชาอาวุธ วิชาสงครามพิเศษ วิชา

ทหารสรรพาวุธ วิชาทหารพลาธิการ วิชาทหาร

สารวัต

ชั้นปีที่ ๔ ศึกษาวิชาทหารราบ วิชาทหารม้า

วิชาทหารปืนใหญ่ วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร

วิชาทหารขนส่ง วิชาอาวุธ วิชาสงครามพิเศษ วิชา

ทหารสรรพาวุธ วิชาทหารพลาธิการ วิชาทหาร

สารวัตร วิชาทหารอากาศและการบินทหารบก วิชา

ฝ่ายอำนวยการ

ชั้นปีที่ ๕ศึกษาวิชาทหารม้าวิชาทหารปืนใหญ่

วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร วิชาทหารขนส่ง

วิชาทหารอากาศ วิชายุทธวิธี วิชาสารบรรณและ

การเงินวิชาการสนับสนุนทางการช่วยรบ

การศึกษาห้วงที่ ๒ เป็นการฝึกภาคสนาม ๘

สัปดาห์ชั้นปีที่๓ฝึกกระโดดร่ม๕สัปดาห์ชั้นปีที่

๔การฝึกหลักสูตรจู่โจม๑๐สัปดาห์ชั้นปีที่๕การ

ฝึกและดูงานหน่วยทหารในกองทัพภาคต่างๆ ทั้งใน

ที่ตั้งปกติและในสนาม๒สัปดาห์

ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ กระทรวงกลาโหมอนุมัติให้

โรงเรียนเตรียมทหารรับนักเรียนที่จบ ม.๔ เข้าเป็น

นักเรียนเตรียมทหารศึกษา ๒ ปี ก่อนที่จะเลื่อนชั้น

ไปรับการศึกษาในโรงเรียนนายร้อยของเหล่าทัพ

ต่างๆ และกรมตำรวจต่อไป จึงเป็นเหตุให้โรงเรียน

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต้องปรับปรุงหลักสูตร

ใหม่เป็นหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญของหลักสูตร

ส่วนใหญ่คงเหมือนหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๒๒(แก้ไข

ปรับปรุงใหม่พ.ศ.๒๕๒๕)มีข้อที่แตกต่างดังนี้

๑.นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ ๑ จะต้องกลับมา

เรียนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเหมือนเดิม

๒.ปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

๓.เพิ่มสาขาวิชาดังนี้

๑)สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

๒)สาขาวิศวกรรมเครื่องกล

๓)สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

๔)สาขาวิศวกรรมโยธา

๕)สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

ในหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๓๐ สวท.รร.จปร. มีหน้าที่ฝึกสอนให้

นักเรียนนายร้อยมีความรู้และประสบการณ์พื้นฐาน

ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสนามของทหารทุกๆ

เหล่าของกองทัพบกเพียงพอแก่การนำหน่วยใน

ระดับหมวดและเพียงพอที่จะขยายขีดความสามารถ

เฉพาะเหล่าได้

49เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 24:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ในปีนี้มีคำสั่งทบ.เฉพาะที่๔๖/๓๐ลงวันที่๕

มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ เรื่องแก้ไขอัตรากองทัพบก

๒๕๐๖(ครั้งที่๔)ในส่วนของรร.จปร.มีการแก้ไข

อัตราเฉพาะกิจหมายเลข ๔๔๐๐ โรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้านั่นคือ ส่วนวิชาทหารเป็นหน่วย

ขึ้นตรงโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (สวท.รร.

จปร.) มีหน้าที่ฝึกสอนวิชาทหารขั้นพื้นฐานทาง

ยุทธวิธีและเท็ฆนิคของเหล่าต่างๆ ตลอดจนการฝึก

ผสมเหล่าในหน่วยขนาดกองพันทหารราบ ฝึกการ

รบสะเทินน้ำสะเทินบกฝึกและดูงานต่างเหล่าทัพ

พ.ศ. ๒๕๓๔ รร.จปร. ปรับปรุงหลักสูตรใหม่

เรียกว่า หลักสูตรนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนาย

ร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ. ๒๕๓๔เป็นหลักสูตรที่มี

การแยกสาขาและแยกปริญญาที่ได้รับพระราชทาน

โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงกลาโหมและ

มาตรฐานของทบวงมหาวิทยาลัยรวมทั้งเกณฑ์ของ

สภาวิศวกร เพื่อให้ผู้ที่ เรียนในสาขาวิศวกรรม

สามารถขอใบรับรองการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

ได้ สภาการศึกษาวิชาการทหารอนุมัติให้มีปริญญา

๓ ประเภท คือ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

วิทยาศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต แล้ว

ต่อท้ายด้วยชื่อสาขาวิชา เช่น วิศวกรรมศาสตร-

บัณฑิต(วิศวกรรมโยธาและวิชาการทหาร)เป็นต้น

ในส่วนของวิชาทหารนั้นสวท.รร.จปร.รับผิดชอบ

ในการสอนและการฝึกวิชาทหารให้แก่นนร.จำนวน

๖๑หน่วยกิตได้แก่

วิชาทหาร ๑(MS1001) วิชาทหารทั่วไป วิชา

อาวุธวิชาทหารช่างวิชาทหารสื่อสารวิชาทหารม้า

วิชาทหาร ๒(MS1002)วิชาแผนที่วิชาทหาร

ราบวิชาทหารปืนใหญ่วิชาอาวุธ

วิชาทหาร ๓(MS2003) วิชาอาวุธ วิชาทหาร

ม้าวิชาทหารปืนใหญ่

วิชาทหาร ๔(MS2004) วิชาทหารราบ วิชา

ทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร วิชาทหารขนส่ง วิชา

สงครามนิวเคลียร์ชีวะเคมี

วิชาทหาร ๕(MS3005) วิชาทหารราบ วิชา

ทหารสื่อสารวิชาสงครามพิเศษวิชาการยุทธสะเทิน

น้ำสะเทินบกวิชาทหารม้า

วิชาทหาร ๖(MS3006)วิชาแผนที่วิชาทหาร

ขนส่ง วิชาทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน วิชาทหาร

ช่าง วิชายุทธศาสตร์พัฒนาและการต่อสู้เบ็ดเสร็จ

วิชายุทธวิธี

วิชาทหาร ๗(MS4007) วิชาฝ่ายอำนวยการ

วิชายุทธศาสตร์พัฒนาและการต่อสู้ เบ็ดเสร็จ

วิชาทหารสารวัตร วิชาทหารสรรพาวุธ วิชาทหาร

พลาธิการ

วิชาทหาร ๘(MS4008) วิชาประวัติศาสตร์

การสงคราม วิชาสงครามพิ เศษ วิชาทหาร

สารบรรณวิชาทหารการเงินวิชาทหารการข่าว

วิชาทหาร ๙ (MS5009) วิชาทหารอากาศ

วิชาการบินทหารบก วิชาทหารราบ วิชาทหารม้า

วิชาทหารปืนใหญ่ วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร

วิชาทหารขนส่ง วิชาทหารสรรพาวุธ วิชาทหาร

พลาธิการวิชาทหารสารวัตรวิชาทหารการข่าว

วิชาทหาร ๑๐ (MS5010) เป็นการแยกฝึก

ศึกษาเฉพาะเหล่า วิชาทหารราบ วิชาทหารม้า

วิชาทหารปืนใหญ่ วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร

วิชาทหารขนส่ง วิชาทหารสรรพาวุธ วิชาทหาร

พลาธิการวิชาทหารสารวัตร

การฝึกภาคสนามของนักเรียนนายร้อย

ชั้นปีที่ ๑ฝึกศึกษาวิชาทหารราบวิชาทหารช่าง

วิชาทหารสื่อสาร วิชาอาวุธ วิชาเวชกรรมป้องกัน

และการปฐมพยาบาลในสนาม

ชั้นปีที่ ๒ฝึกศึกษาวิชาทหารราบวิชาทหารปืน

ใหญ่ วิชาทหารช่าง วิชาทหารสื่อสาร วิชาทหาร

ขนส่ง วิชาอาวุธ วิชาสงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี

วิชาสุขศาสตร์ทางทหาร

ชั้นปีที่ ๓ ฝึกศึกษาวิชาทหารม้า วิชาทหารปืน

ใหญ่ วิชาทหารขนส่ง วิชาการยุทธสะเทินน้ำสะเทิน

บกการศึกษาหลักสูตรส่งทางอากาศ

50 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 25:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

ชั้นปีที่ ๔ฝึกศึกษาหลักสูตรจู่โจม

ชั้นปีที่ ๕การศึกษาดูงาน

พ.ศ. ๒๕๔๔ รร.จปร. ปรับปรุงหลักสูตรใหม่

ใช้เวลาศึกษา ๔ ปี เรียกหลักสูตรนี้ว่าหลักสูตร

นักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

พ.ศ. ๒๕๔๔ เริ่มใช้ในปีการศึกษา ๒๕๔๔ องค์

ประกอบสำคัญของหลักสูตรคือการศึกษาวิชาการ

การฝึกศึกษาวิชาทหาร และการสร้างภาวะ

คุณลักษณะผู้นำจำนวนหน่วยกิตรวม๑๕๕-๑๖๑

หน่วยกิต

การฝึกศึกษาวิชาทหารจะมีการศึกษาวิชาทหาร

ในภาคการศึกษาจำนวน ๑๐ หน่วยกิต สำหรับใน

ภาคการฝึกไม่มีหน่วยกิต แต่จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน

การฝึก ถ้านำมาเปรียบเทียบเป็นหน่วยกิตแล้ว

สามารถเทียบได้ประมาณ ๒๖ หน่วยกิต(แต่ละชั้น

ปีมี ๑ ภาคการฝึก รวม ๔ ชั้นปีมี ๔ ภาคการฝึก

ชั่วโมงในการฝึกชั้นปีละ ๓๒๐ ชั่วโมง เทียบเป็น

หน่วยกิตได้ชั้นปีละ ๖.๕ หน่วยกิต) การจัดการ

ศึกษาตามหลักสูตรจะเริ่มที่ภาคการฝึกก่อนโดยใน

แต่ละชั้นปีการศึกษามี๑ภาคการฝึกรวม๔ปีมี

๔ภาคการฝึกแต่ละภาคการฝึกใช้เวลาประมาณ๘

สัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์มีเวลาฝึก ๔๐ ชั่วโมง

ในเวลาราชการ และมีการฝึกเวลากลางคืนเพิ่มเติม

ในเรื่องที่จำเป็น สำหรับภาคการศึกษาในแต่ละปี

การศึกษามี ๒ ภาคการศึกษา แต่ละภาคการศึกษา

ใช้เวลา๑๖สัปดาห์รวม๔ปีมี๘ภาคการศึกษา

ภาคการศึกษา สวท.รร.จปร. จัดให้มีการ

ศึกษาวิทยาการทหาร ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานบังคับที่

นนร. ทุกนายจะต้องเข้ารับการศึกษา โดยเน้นใน

ส่วนที่จำเป็นต่อการรับราชการ และให้มีพื้นฐานใน

การศึกษาต่อเพิ่มเติมจากโรงเรียนของเหล่าสาย

วิทยาการ

51เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Page 26:  · 4 สารบัญ เสนาศึกษาเล่มที่ ๗๖ที่ ตอน เมษายน๒ เดือน-มิถุนายน

FGF

บรรณานุกรม

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โรงเรียน

นายร้อยพระจุลจอมเก้ลา,๒๕๑๐.

.๑๐๐ ปี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าภาค ๑ และ ๒.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ.เอ็น.ที,

๒๕๓๐.

ส่วนวิชาทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วิวัฒนาการการฝึกศึกษาวิชาทหารไทย. (เอกสาร ๔๒ หน้า),

๒๕๕๒.

สุจินต์หมวกแก้ว,พลตรี.“วิวัฒนาการหลักสูตรนักเรียนนายร้อย”เสนาศึกษา เล่ม ๖๘ ตอน ๓(กันยายน-

ธันวาคม๒๕๔๕)กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,๒๕๔๕.

หนังสือรุ่น“จปร.๒๔๙๙”(หลักสูตรใหม่รุ่น๓พ.ศ.๒๔๙๔-๒๔๙๘).

.“นายร้อยหลักสูตรใหม่รุ่น๒๙”(พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๔).

.“นายร้อยหลักสูตรใหม่รุ่น๓๐”(พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๒๕).

อรุณนิวัช ช้างใหญ่, พันเอก. การประเมินหลักสูตรนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.

๒๕๔๔ (ภาควิชาทหาร).นครนายก:ส่วนวิชาทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า,๒๕๕๐.

ชั้นปีที่ ๑-ทหารราบการอ่านแผนที่

ชั้นปีที่ ๒ -การป้องกันภัยทางอากาศของหน่วย

ทหารและการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด หลัก

พื้นฐานการรบ

ชั้นปีที่ ๓ -สงครามพิเศษ ประวัติศาสตร์การ

สงครามสากล ประวัติศาสตร์การสงครามไทย

ฝ่ายอำนวยการ

ชั้นปีที่ ๔ -การส่งกำลังบำรุง ยุทธศาสตร์

เบื้องต้น

การฝึกภาคสนามสวท.รร.จปร.จัดให้มีการฝึก

วิชาทหารซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานบังคับที่ นนร. ทุกนาย

ต้องฝึกศึกษาดังนี้

ชั้นปีที่ ๑ -การใช้อาวุธทหารราบ๔สด.สุข-

ศาสตร์ทหาร๑สด.สงครามนิวเคลียร์ชีวะเคมี๑สด.

ชั้นปีที่ ๒ -ป้อมสนาม วัตถุระเบิดและการ

ทำลาย ๑ สด. การติดต่อสื่อสารเบื้องต้น ๑ สด.

การฝึกทางยุทธวิธีทหารราบระดับหมู่ ๓ สด. การ

ปฏิบัติงานของหน่วยปืนใหญ่สนามและหน่วยปืน

ใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ๒ สด. การฝึกทางยุทธวิธี

ทหารราบระดับหมวด๓สด.

ชั้นปีที่ ๓ -การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ๑สด.

การฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศ ๕ สด. ทหารขนส่ง

๑สด.การฝึกยุทธวิธีทหารม้าระดับหมวด๓สด.

ชั้นปีที่ ๔ -หลักสูตรการรบแบบจู่โจม๑๐สด.

มีการฝึกเพิ่มเติมให้แก่ นนร. ก่อนสำเร็จการ

ศึกษา ได้แก่ การฝึกการใช้อาวุธในการต่อสู้ระยะ

ประชิด๑สด.การทบทวนและทดสอบผู้ชำนาญการ

ทางทหาร ๒ สด. การฝึกปฏิบัติงานของหน่วย

เฉพาะกิจ๑สด.การฝึกปฏิบัติหน้าที่ของเหล่าต่างๆ

ในหน่วยทหาร๒สด.

52 เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๒ / เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๓

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนา ศึกษา เสนาศึกษ

า เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

เสนาศึกษา เสนาศึกษา

เสนาศึกษา

Administrator
Typewritten Text
Administrator
Typewritten Text
สารบัญ