“5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

73
C M Y CM MY CY CMY K

Upload: tum-meng

Post on 28-May-2015

635 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

“ความเข้มแข็งของชุมชน” เป็นคำพูดสั้นๆ ที่ทุกภาคส่วนใช้เป็นผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน ความเข้มแข็งของชุมชนไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเอง แต่ต้องมีจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นอาจเกิดจากสถานการณ์ในพื้นที่ที่ทำให้ทุกคนต้องหันหน้าเข้ามาพูดคุยกัน มีผู้นำที่จะคอยชวนคิดชวนคุย หาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากการมีกลไกหรือเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาเพื่อประโยชน์ของชุมชน กลุ่มที่เกิดขึ้นนั้น อาจไม่ได้มาจากผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ หรือตัวแทนจากส่วนท้องถิ่นก็ได้ อาจเกิดจากการรวมพลังของคนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุ หรือเยาวชนในท้องถิ่น การรวมกลุ่มของคนในตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เกิดจากโอกาสที่การจัดทำแผนแม่บทชุมชนกำลังเริ่มบูม เป็นเรื่องใหม่ที่หลายๆ คนยังขาดความรู้ และใคร่เรียนรู้เพื่อนำกลับมาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ตำบลตลุกเริ่มจากการค้นหาอาสาสมัครได้จำนวน 5 คน หรือเรียกกันว่า “5 เสือ” เพื่อเข้าอบรมรับรู้กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ฉะนั้น “5 เสือ” จึงเป็นหัวหอกในการทะลุทะลวงการทำงานในชุมชนอย่างไม่ย่อท้อ เรื่องราวของการเริ่มก่อกลุ่ม สานพลัง สืบสาน พัฒนาต่อเนื่อง จะปรากฏอยู่ในหนังสือ “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

TRANSCRIPT

Page 1: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

Page 2: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 3: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม2555เลขมาตรฐานหนังสือ 978-616-305-992-5จำนวนพิมพ์ 1,000เล่มผู้เขียน สลิลทิพย์เชียงทองบรรณาธิการ สลิลทิพย์เชียงทอง อินทิราวิทยสมบูรณ์ โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (MediaforAll) [email protected]สนับสนุนโดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 912ถนนนวมินทร์แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิกรุงเทพฯ10240 โทร02-378-8300-9 โทรสาร02-378-8321 www.codi.or.thปกและรูปเล่ม อินทิราวิทยสมบูรณ์พิมพ์ที่ โรงพิมพ์เจี้ยฮั้ว 02-2748898,02-6906482

Page 4: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

“ความเข้มแข็งของชุมชน” เป็นคำพูดสั้นๆที่ทุกภาคส่วนใช้เป็นผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน ความเข้มแข็งของชุมชนไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเอง แต่ต้องมีจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นอาจเกิดจากสถานการณ์ ในพื้นที่ที่ทำให้ทุกคนต้องหันหน้าเข้ามาพูดคุยกันมีผู้นำที่จะคอยชวนคิดชวนคุยหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากการมีกลไก หรือเครือ่งมอืใหม่ๆ เขา้มาเพือ่ประโยชนข์องชมุชนกลุม่ทีเ่กดิขึน้นั้น อาจไม่ได้มาจากผู้นำที่ ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการหรือตัวแทนจากส่วนท้องถิ่นก็ได้อาจเกิดจากการรวมพลังของคนหนุ่มสาวผู้สูงอายุหรือเยาวชนในท้องถิ่น

การรวมกลุ่มของคนในตำบลตลุกอำเภอสรรพยาจังหวัดชัยนาท เกิดจากโอกาสที่การจัดทำแผนแม่บทชุมชนกำลังเริ่มบูมเป็นเรื่องใหม่ที่หลายๆคนยังขาดความรู้และใคร่เรียนรู้ เพื่อนำกลับมาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองตำบลตลุกเริ่มจากการค้นหาอาสาสมัครได้จำนวน 5 คนหรือเรียกกันว่า “5 เสือ” เพื่อเข้าอบรมรับรู้กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนฉะนั้น“5 เสือ”จึงเป็นหัวหอกในการทะลุทะลวงการทำงานต่างๆในชุมชนอย่างไม่ย่อท้อ

คำนำ

Page 5: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

เรื่องราวของการเริ่มก่อกลุ่ม สานพลัง สืบสาน พัฒนาต่อเนื่องจะปรากฏอยู่ในหนังสือ“5 เสือ...ฐานรากการ ผสานพลังชุมชน” สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)ในฐานะหน่วยสนับสนุนองค์กรชุมชน และโครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ในฐานะผู้ถอดบทเรียนและเรียบเรียงถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตำบลตลุกหวังอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้สนใจที่จะริเริ่มการทำงานพัฒนาชุมชน

เชื่อมั่นและศรัทธา โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ (Media for All) ตุลาคม 2555

Page 6: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

สารบัญตลุกเมื่อวันวาน 7

ตลุกในวันนี้ 11

เขื่อนมาถนนสายเอเชียตัดผ่าน 13

ความเจริญรุ่งเรืองตามหลัง

แผนแม่บทชุมชน 17

จุดเริ่มต้นของการพลิกฟื้นชุมชน

บันได10ขั้นของกระบวนการ 38

จัดทำแผนแม่บทชุมชน

กลุ่มอาชีพสร้างรายได้เสริม 47

ให้แก่คนในชุมชน

กลุ่มองค์กรชุมชนแผนแม่บทชุมชน 58

รากฐานของการก่อเกิดสภาองค์กรชุมชน

บทบาทของสภาองค์กรชุมชน 61

ในการขับเคลื่อนเครือข่าย

รายชื่อผู้ถ่ายทอดความรู้ 70

Page 7: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 8: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

7

จากข้อมูลที่สืบค้นได้พบว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6บ้านตลุกหมู่1มีกำนันชื่อนายศรีเรียกกันในนามว่าขุนเศษปกครองชุมชนทั้งตำบลตลุกในช่วงสมัยนั้นตลุกมีความเจริญมากเป็นตลาดการค้าใหญ่พอสมควร ผู้คนสัญจรเป็นอันดับต้นๆ มีการขายพืชผลการเกษตรมีโรงสีข้าวขนาดกลางรับสีข้าวให้แก่ชาวบ้านทั่วไปหลายหมู่บ้านมีประชาชนมาค้าขายจากบ้านดอนสมัยก่อนมีบ้านสาลิกาหนองเต่าดำบ้านดอนรังนกบ้านโรงวัวและหมู่บ้านข้างเคียงได้นำข้าวเปลือกสีแปรรูปเป็นข้าวสารใชว้วัควายเทยีมเกวยีนขนสมัภาระจำหนา่ยคา้ขายกนัทำให้ชุมชนมีความสามัคคีเอื้ออาทรกัน

ตลุกเมื่อวันวาน

Page 9: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

8

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

พื้นที่ตำบลตลุกเป็นพื้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาคำว่า“ตลุก”มีความหมายไปถึงพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อบางส่วนเป็นที่ดอนมีส่วนโค้งเว้าเนินดินทรายมูลบางส่วนเป็นที่นาจากการไหลกัดเซาะของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งยังปรากฏให้เห็นอยู่บ้างก็เล่าว่าตลุกหมายถึงแอ่งน้ำขังใหญ่น้อยที่มีนกเป็ดน้ำมาอาศัยหากินและเรียกกันว่าตลุกเป็ดเพราะเห็นนกเป็ดเล่นน้ำในแอ่งน้ำขังเป็นประจำพื้นที่ราบลุ่มต่ำจะมีแนวน้ำไหลเป็นลำรางเข้าสู่หมู่บ้านและพาดผ่านหลายหมู่บ้านชาวบ้านจะใช้โอกาสของธรรมชาติที่เอื้ออำนวยเปน็เสน้ทางขนสง่คา้ขายและการเดนิทางมาตลอดระยะเวลายาวนาน

จากประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลตลุก ทั้ง 12หมู่บ้าน แสดงถึงความเป็นชุมชนและหมู่บ้านที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองและต่อเนื่องยาวนานมาโดยตลอดในสมัยก่อนจะเห็นได้จากการประกอบอาชีพการค้าขายทำนาทำสวน ทำไร่ การค้าขาย การประมง และวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และตลาดเก่าในชุมชน ส่วนปัญหาจากภัยธรรมชาติที่ประสบในยุคนั้น จะมาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ การปรับแต่งธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันเนื่องจากความเจริญของเทคโนโลยี นั้นมาจากการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาเกิดขึ้น มีคลองมหาราชและถนนตัดผ่านหมู่บ้านรวมถึงถนนเชื่อมต่อ

Page 10: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

9

อาณาเขตตำบลใกล้เคียงทำให้เกิดความเป็นระเบียบทั้งด้านการคมนาคมการสัญจรทางน้ำจึงลดลง

การจัดระบอบการปกครองทำให้มีการจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้มีระบบระเบียบมากขึ้นวิถีชีวิตการเมืองการปกครองการประกอบอาชีพจึงปรับเปลี่ยนไปจากเดิมแต่ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบของครอบครัวสังคมพุทธและวิถีชุมชนที่มีการพึ่งพาอาศัยกัน ณ ปัจจุบันพื้นที่ตำบลตลุกประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้าน อยู่ภายใต้การปกครองของเทศบาลตำบลตลุกทั้งหมด

“ลุงณรงค์ ขำเดช” ผู้อาวุโสในกลุ่มแกนนำและเป็นผู้ที่เกิดที่นี่เห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็กจนตอนนี้อายุ60กว่าปีเล่าย้อนให้ฟังว่าตั้งแต่เล็กมาคนตลุกมีอาชีพทำนาอาศัยน้ำจากน้ำฝนน้ำคลองและน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาลักษณะพื้นที่ตลุกเป็นพื้นที่กว้าง ลักษณะลุ่มๆ ต่ำๆ เป็นพื้นที่ดอนบ้างนาบ้างการจะดึงน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยานั้นจะต้องใช้เครื่องสูบน้ำการทำนาจะใช้ควายไถ่และร่วมออกแรงกันทำนา เรียกว่า นาสำรวม นับว่าตลุกมีความพร้อมของทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งที่ดิน น้ำ เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านยังใช้พันธุ์ข้าวพวงข้าววังหลวงประทานข้าวป้องซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวพื้นบ้านของภาคกลาง มีคุณสมบัติคือลำต้นจะสูงชะลูดหนีน้ำในหน้าน้ำได้ เมื่อน้ำลดก็จะลาดเอนลง นับว่า

Page 11: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

10

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

เป็นพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำแต่ก็น่าเสียดายที่ตอนนี้ เกษตรกรไม่ ได้ เก็บรักษาพันธุ์ไว้ลักษณะการสร้างบ้านจะเป็นบ้านใต้ถุนสูง

สมัยก่อนผู้คนมีอาชีพเดียวคือทำนา การขนส่งหรือเดินทางจะใช้ทางเรือเท่านั้น ชาวบ้านทำนาไว้กินที่เหลือจึงขาย มีการแบ่งปันอาหารกันบางคนปลูกผักหรือทำปลาร้าก็เอามาแลกข้าวเปลือก การซื้อขายข้าวเปลือกจะมีเรือโยงล่องมาตั้งแต่พระนครศรีอยุธยาเรื่อยไปจนกระทั่งถึงนครสวรรค์ซึ่งเป็นท่าข้าวเปลือกที่ ใหญ่ที่สุดในภาคกลาง

Page 12: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

11

พื้นที่ตำบลตลุก มีจำนวนทั้งสิ้น 50.42 ตารางกิโลเมตรหรือจำนวน32,806ไร่เป็นพื้นที่เกษตรทั้งหมด28,295ไร่ซึ่งพื้นที่อยู่ภายใต้การปกครองของเทศบาลตำบลตลุก

ที่ตั้งและอาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเสือโฮก อำเภอเมืองจังหวัดชัยนาท ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหาดอาสา อำเภอสรรพยาจังหวัดชัยนาท ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยาจังหวัดชัยนาท ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองจังหวัดชัยนาท

ตลุกในวันนี้

Page 13: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

12

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

การปกครองและประชากรจำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลตลุกมีจำนวน12หมู่บ้านความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย186คน/ตารางกิโลเมตร

หมู่ ขนาดพื้นที่ (ไร่) ครัวเรือน

ประชากร (คน)

ชาย หญิง

รวม

หมู่ที่ 1 บ้านตลุก 5,625 335 552 610 1,162

หมู่ที่ 2 บ้านตลุก 4,198 256 371 403 774

หมู่ที่ 3 บ้านบางไก่เถื่อน 3,768 355 533 540 1,073

หมู่ที่ 4 บ้านศาลาขาว 3,468 229 384 388 772

หมู่ที่ 5 บ้านโคกเข็ม 860 174 282 305 587

หมู่ที่ 6 บ้านบางกระเบียน 5,297 150 222 264 486

หมู่ที่ 7 บ้านคุ้งตาล 3,793 267 431 419 850

หมู่ที่ 8 บ้านหนอง 2,443 280 470 549 1,019

หมู่ที่ 9 บ้านท้ายน้ำ 1,500 190 332 356 688

หมู่ที่ 10 บ้านอ่าวสวาย 806 70 115 119 234

หมู่ที่ 11 บ้านท้องคุ้ง 881 134 202 246 448

หมู่ที่ 12 บ้านใหม่บาง กระเบียน

137 246 408 457 865

รวม 32,806 2,808 4,273 4,627 8,900

ที่มา : http://www.talook.go.th/condition.php

Page 14: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

13

เมื่อพ.ศ.2445รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่วันายเยโฮมนัวนัเดอร์ไฮเดผูเ้ชีย่วชาญการชลประทานชาวฮอลันดาเสนอให้สร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่ที่อำเภอสรรพยาจังหวัดชัยนาทแต่ประเทศไทยต้องใช้งบประมาณบำรุงประเทศในทางอื่นก่อน แผนการก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่จึงต้องระงับไว้ก่อนต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดภาวะฝนแล้ง2-3ปีติดต่อกันครั้นถึงปีพ.ศ.2456เซอร์ทอมมัสเวอร์ดผู้เชี่ยวชาญชาวอังกฤษ ได้เสนอให้ก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่ขึ้นแตเ่วลานัน้อยูร่ะหวา่งสงครามโลกครัง้ทีห่นึง่การกอ่สรา้งจงึต้องระงับเป็นครั้งที่สอง

เขื่อนมาถนนสายเอเชียตัดผ่านความเจริญรุ่งเรืองตามหลัง

Page 15: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

14

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชปี พ.ศ.2491 ขณะที่หลายประเทศประสบภาวะขาดแคลนอาหารองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO)จึงได้พิจารณาถึงความจำเป็นของโครงการเจ้าพระยาใหญ่อีกครั้งในเดือนตุลาคมปีนั้นกรมชลประทานจึงได้เสนอโครงการต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบตามที่เสนอประกอบกับในปีพ.ศ.2492รัฐบาลได้เข้าเป็นสมาชิกธนาคารโลกจึงขอกู้เงินเพื่อสร้างโครงการเจา้พระยาใหญ่เมือ่พ.ศ.2493เปน็เงนิจำนวน18ลา้นดอลลาร์สหรัฐกรมชลประทานได้เริ่มเตรียมงานเบื้องต้นเมื่อปีพ.ศ.2494 และเริ่มงานก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาพร้อมกับระบบส่งน้ำในปีพ.ศ.2495จนแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2500

โครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่เป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อการเพาะปลูกสำหรับพื้นที่ราบภาคกลางสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยลงมาตั้งแต่ชัยนาทถึงอ่าวไทยเดิมการเพาะปลูกในเขตพื้นที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาสร้างเสร็จ มีผู้คนย้ายถิ่นจากที่อื่นๆเข้ามาอยู่ ในเขตตำบลตลุกและตำบลใกล้เคียงแถบบริเวณเขื่อนมากขึ้น ผู้คนมีอาชีพเพิ่มจากการทำนามาหาปลา ซึ่งมีปลานานาชนิดเยอะมากจนเรียกได้ว่าเมื่อแหย่เท้าลงน้ำปลาจะมารุมตอดจนรำคาญผู้คนที่มาอาศัยอยู่ใหม่ก็มีอาชีพเดียวกัน คือ หาปลา บางครอบครัวก็แปรรูปเป็นปลาเค็ม

Page 16: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

15

ปลาร้าและน้ำปลาหลายครอบครัวสร้างฐานะด้วยการผลิตน้ำปลาขายจนมีชื่อเสียงมีกลุ่มผลิตน้ำปลาปลาสร้อยแท้ตราเขื่อนเจ้าพระยาผู้คนแถบตำบลมีรายได้ดีไม่เดือดร้อน

เมือ่ปีพ.ศ.2518รฐับาลมนีโยบายปฏริปูทีด่นิเพือ่เกษตรกรรมหรือชาวบ้านจะเรียกว่าจัดรูปที่ดิน โดยการนำที่ดินของรัฐและที่ดินที่จัดซื้อจากเอกชนนำมาจัดให้กับเกษตรกรผู้ ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพได้เข้าทำประโยชน์ เช่าหรือเช่าซื้อรวมทั้งการจัดระบบคลองชลประทานคลองซอยการทำทางเกวียนทางควายเดิน ให้เข้าถึงที่นาได้อย่างทั่วถึง ที่นาที่อยู่ห่างออกไปจากแม่น้ำไม่ต้องรอน้ำฝนอย่างเดียวเมื่อมีคลองซอยผ่านที่นาทำให้ชาวนาได้ผลผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้นเลี้ยงสัตว์ได้ผลดีได้ ใช้น้ำท่าเต็มที่แล้วสมัยก่อนนั้นแหล่งน้ำสะอาดไม่มีสารพิษจากสารเคมีตกค้าง

นอกจากเขื่อนเจ้าพระยาแล้วยังมีการขุดคลองมหาราชเมื่อปีพ.ศ.2509เป็นคลองชลประทานขนาดใหญ่ในโครงการเจ้าพระยาใหญ่ แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเหนือเขื่อนเจา้พระยาฝัง่ตะวนัออกอำเภอสรรพยาจงัหวดัชยันาทขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านหลายอำเภอในสิงห์บุรีอ่างทองและพระนครศรีอยุธยารวมระยะทางได้ประมาณ120กิโลเมตร

Page 17: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

16

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

ต่อมามีการตัดถนนสายเอเชียผ่านชัยนาททำให้การสัญจรทางน้ำเปลี่ยนไป ผู้คนใช้รถแทนเรือ ถนน ไฟฟ้า ประปาเข้ามาผู้คนมีความสะดวกสบายมากขึ้นแต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือถนนมานาหายคนรุ่นใหม่ไม่อยากทำนาหันหน้าเข้าพึ่งโรงงาน เกิดความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายหลายคนเคยเก็บข้าวไว้กินก็ขายเสียเพื่อนำเงินไปซื้อรถมอเตอร์ไซด์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ความเป็นอยู่เปลี่ยนไปความรวดเร็วสะดวกสบายทุกคนอยากมีหน้ามตีาการดแูลสงัคมเริม่นอ้ยลงทกุคนเริม่มองเหน็แตต่วัเองมีโรงงานเข้ามาตั้งคนรุ่นลุงณรงค์มองอย่างไม่เข้าใจทำไมถึงเอาโรงงานมาลงที่นาโรงงานควรจะอยู่ที่ โคกขณะที่หนุ่มสาวหันหน้าเข้าโรงงาน คนแก่ถูกทิ้งให้อยู่บ้านเลี้ยงหลาน ไม่มีเวลาหุงหาอาหาร ตลาดนัด รถเร่พุ่มพวง มีทุกวันพืชผักอุดมด้วยสารเคมีคนเจ็บป่วยมากขึ้นหลายคนขายที่นาทั้งๆ ที่ ไม่อยากจะขาย แต่เนื่องจากที่ข้างๆ ได้ขายไปแล้ว ที่นาบางผืนโดนโรงงานปล่อยน้ำเสียทิ้งลงมาสุดท้ายก็ต้องทยอยขายกันไปขณะที่ชาวนาที่เหลือต้องหันมาอาศัยเครื่องจักร“ควายเหล็ก” การทำนาต้องพึ่งพาภายนอกมากขึน้ทัง้ปุย๋ยาฆา่แมลงเกดิตน้ทนุทีส่งูขึน้หนีส้นิเริ่มพอกพูน

Page 18: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

17

ปี2538พัฒนากรของหน่วยงานพัฒนาชุมชนได้สนับสนุนให้ก่อตั้งกลุ่มสตรีขึ้นสนับสนุนให้เกิดอาชีพเสริมเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีปลาชุกชุมใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติให้เกิดเป็นรายได้ขึ้นมาจึงฝึกอาชีพให้ถนอมอาหารด้วยการผลิตน้ำปลาเดิมชาวบ้านมีอาชีพจับปลาขายอย่างเดียวและถกูกดราคาเนือ่งจากปรมิาณปลาเยอะมากจนปจัจบุนัพฒันาจากอาชีพเสริมเป็นอาชีพหลักไปแล้ว กลายเป็นน้ำปลาที่มีชื่อเสียงระดับจังหวัด

แผนแม่บทชุมชนจุดเริ่มต้นของการพลิกฟื้นชุมชน

Page 19: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

18

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

กอ่นทีจ่ะทำแผนแมบ่ทชมุชนชมุชนเกดิการเปลีย่นแปลงอยา่งตอ่เนือ่งอาชพีเปลีย่นความสมัพนัธ์ ในชมุชนเปลีย่นเกดิหนีส้นิน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจากการใช้สารเคมี ในการเกษตรกรรมผลผลิตทางการเกษตรถูกกดราคาช่วงระยะเกอืบ20ปีเปน็ชว่งทีต่า่งคนตา่งอยู่ไม่ไดม้กีารคดิรว่มกนัหรอืปรึกษาพูดคุยกันในเรื่องส่วนรวมของชุมชน ถึงวันนี้หลายคนมองเห็นแล้วว่าที่นาที่ขายไปไม่คุ้มกับเงินที่ ได้มา ไม่คุ้มกับวิถีแบบเรียบง่ายไม่คุ้มกับสังคมแห่งการพึ่งพิงอาศัยกัน

จนกระทั่งช่วงปีพ.ศ.2546-2547พัฒนาชุมชนได้ประสานกับนายดำรงค์ดำรงพันธ์หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่าหมอดำรงค์ข้าราชการสาธารณะสุขวัยเกษียณที่ ไม่ยอมหยุดนิ่งไปกับการหมดวาระการทำงานตามระบบราชการกลับมาปักหลักสร้างบ้านที่ตำบลตลุก แม้ว่าหมอดำรงค์จะไม่ใช่คนที่นี่แต่เนื่องจากมาประกอบอาชีพอยู่นานจึงมีความรักและผูกพันจนเป็นคนหนึ่งของตลุก

“พื้นที่ตลุกค่อนข้างกว้าง การที่จะหาคนมาช่วยกันทำเรื่องนี้ ต้องมีความเสียสละ ในช่วงแรกใช้วิธีการชวนผู้นำชุมชน เครือ ข่ายผู้นำกลุ่มอาชีพต่างๆ เฉลี่ยหมู่ละ 1-2 คน ทั้ง 12 หมู่บ้าน ณ ขณะเวลานั้น ผู้นำส่วนใหญ่ไม่รู้จักแผนแม่บทชุมชน จึงได้ พูดคุยทำความเข้าใจกันว่าเราจะทำแผนชุมชน สำรวจข้อมูล ชุมชน สำรวจรายรับรายจ่ายของครัวเรือน ข้อมูลที่ ได้มาจะ

Page 20: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

ดำรงค์ ดำรงพันธ์

Page 21: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 22: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

21

ช่วยให้ชุมชนรู้ปัญหาของตนเอง สิ่งที่ทำก็ไม่ได้สูญเปล่า กลับมีประโยชน์ต่อชุมชนของพวกเรา ต่อไปถ้าจะไปขอรับ ทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ก็จะมีฐานข้อมูล และนับ เป็นครั้งแรกที่ภาคประชาชนได้จัดทำแผนพัฒนาชุมชน ด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนรู้จากเครือข่ายแผนแม่บทชุมชน 4 ภาค โดยมสีถาบนัพฒันาองคก์รชมุชน (พอช.) เปน็องคก์ร สนับสนุนการขับเคลื่อน ซึ่ง พอช. ได้ตั้งคณะทำงานระดับ ภาคขึ้นเพื่อทำงานประสานและเชื่อมโยงภายในภาค และ หมอดำรงค์ ดำรงพันธ์ เป็นหนึ่งในคณะทำงานแผนแม่บท ชุมชนภาคกลางด้วย ทั้งนี้คณะทำงานภาคกลางได้เลือก 5 ตำบล จังหวัดชัยนาทเป็นตำบลนำร่อง และพอช. สนับสนุน งบประมาณตำบลละ 60,000 บาท โดยโอนให้เป็นงวด”หมอดำรงค์ ดำรงพันธ์เล่าให้ฟัง

ผลจากการเข้าร่วมโครงการแก้ ไขปัญหาความยากจนจัดทำแผนแม่บทชุมชนตำบลตลุกโดยใช้ตำบลตลุกเป็นตำบลนำร่องของอำเภอสรรพยา ได้เลือกอาสาสมัครของตำบลตลุกจำนวน5คนเรียกกันว่า“5 เสือ”ได้ตัวแทนไม่ครบทกุหมูบ่า้นจงึเลอืกจากผูท้ีม่คีวามพรอ้มกอ่นจงึเปน็ตวัแทนจากหมู่1หมู่3หมู่5หมู่8และหมู่12จังหวัดชัยนาทมี5ตำบลทีเ่ขา้รว่มกระบวนการจดัทำแผนแมบ่ทฉะนัน้จงัหวดัชัยนาทจึงประกอบด้วย “25 เสือ” เป็นหัวหอกในการทะลวงการทำงานที่มีชุมชนเป็นแกนกลางร่วมจัดทำ

Page 23: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

22

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

แผนเสรมิสรา้งชมุชนใหม้คีวามสามารถความเขม้แขง็ดว้ยกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน

คุณสมบัติเบื้องต้นของ“5 เสือ”คือ 1)มีใจจิตอาสา 2)คลุกคลีทำงานจริงในพื้นที่ 3)มีข้อมูล 4)รู้ปัญหาพื้นที่เมือ่5เสอืเขา้อบรมแลว้จะตอ้งนำเรือ่งราวกลบัมาเลา่ตอ่ในชมุชนมาจดัเวทรีะดบัหมูบ่า้นใหค้รบทัง้12หมู่ประชากรช่วงเวลานั้นประมาณเกือบหมื่นคน ดังนั้น กระบวนการประสานความเข้าใจระดับชุมชน5เสือต้องไปเลือกแกนนำและสร้างกลุ่มย่อยเพื่อถ่ายทอดข้อมูลที่ ได้เรียนรู้มาฉะนัน้แกนนำกลุม่ยอ่ยสว่นใหญจ่งึเปน็อสม.ตอ้งมจีติอาสาที่จะรับงานไปดำเนินต่อและไม่ทิ้งกลางคันในช่วงแรกๆต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจแผนแม่บทชุมชนกับทุกคนแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลนั้นได้จากคณะทำงานแผนแม่บทจังหวัด เป็นแบบฟอร์มกลาง แล้วนำมาปรับเพิ่มข้อมูลในส่วนที่ชุมชนจะเก็บเพิ่มหรือลดข้อคำถามบางข้อก็ทำได้การทำความเข้าใจนั้นใช้เวลานานพอสมควรเนื่องจากตำบลตลุกมีประชากรเกือบหมื่นคนและเป็นพื้นที่กว้างและสำรวจทุกครัวเรือนการเก็บข้อมูลครัวเรือนนั้นอสม.

Page 24: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

23

ต้องเข้าไปอธิบายที่มาที่ ไปของแบบสำรวจเพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าใจว่าจะเอาข้อมูลไปทำอะไรและชุมชนจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการให้ข้อเท็จจริง โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินและรายได้ซึ่งชาวบ้านมักจะไม่กล้าบอกข้อเท็จจริงอาจด้วยกลัวว่าจะโดนเรียกเก็บภาษีก็เป็นได้

แต่ละหมู่มีครัวเรือนมากน้อยต่างกันบางหมู่มีเพียง70ครัวเรือนแต่บางหมู่ก็มีถึง300กว่าครัวเรือนแต่อสม.ก็ไม่ย่อท้อเดินเข้าออกทุกบ้านเพื่อให้ ได้ข้อมูลสำรวจชุมชนที่แท้จริงช่วงเวลาที่ชาวบ้านอยู่ก็คือช่วงเช้าและเย็นเฉลี่ยแล้วหนึ่งวันจะสำรวจได้เพียง2ครัวเรือนเท่านั้นคณะทำงานเคยใช้วิธีเรียกประชุมกลุ่มใหญ่ในลักษณะประชาคมหมู่บ้านแล้วจากแบบสำรวจให้ทำปรากฏว่าไม่ได้ข้อมูล จึงต้องหันกลับมาใช้วิธีเดินตามบ้านจุดดีของการใช้อสม.คืออสม.เป็นคนในชุมชน มีความคุ้นเคยกับชาวบ้าน มีความเชื่อถืออีกทั้งอสม.เคยผ่านการเก็บข้อมูลชุมชนมาแล้วทำให้รู้ว่าแต่ละครัวเรือนมีพื้นฐานอย่างไร

จากการเก็บข้อมูลทำให้พบว่าชาวบ้านมีรายจ่ายที่ ไม่จำเป็นสูงรวมทั้งหนี้สินมากการเก็บข้อมูลครัวเรือนสามารถขยายผลผลักดันให้ชาวบ้านทำบัญชีครัวเรือน เก็บบันทึกรายจ่ายประจำวันทำให้เห็นรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นซึ่งนำมาสู่การควบคุมรายจ่ายได้เนื่องจากก่อนหน้านี้ ไม่มีการทำบัญชีครัว

Page 25: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

24

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

เรือนทำให้ไม่เห็นรายจ่ายฟุ่มเฟือย บัญชีครัวเรือนเปรียบเสมือนกระจกส่องให้เห็นตัวเองได้ชัดขึ้น

กระบวนการเก็บข้อมูลของตำบลตลุกใช้เวลาราว3ปีตั้งแต่กระบวนการสร้างความเข้าใจกระบวนการเก็บข้อมูลรวบรวมและจัดเวทีคืนข้อมูลในปีพ.ศ.2550แม้เวลาจะผ่านไปถึง3ปีแต่ชาวบ้านทุกคนก็ไม่ได้เข้าใจและตระหนักเห็นความสำคัญของแผนชุมชนมากนักในเรื่องการจัดทำแผนแม่บทชุมชนยกเว้นอสม.ตัวแทนหมู่บ้านละ5คนรวม60คนที่ทำไปเรียนรู้ ไปจนตระหนักเห็นความสำคัญการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือนนั้นจะแยกวิเคราะห์ ให้เห็นรายได้และรายจ่าย หนี้สิน เป็นรายหมู่บ้าน โดยการจัดเวทีคืนข้อมูลให้ทุกคนเห็นปัญหา ร่วมกันระดมความคิดเห็นและแก้ปัญหา

และในปี2554ตำบลตลุกได้สำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแผนแม่บทเป็นการวางแผนการแก้ไขปัญหาระดับหมู่บ้านและตำบลมีข้อมูลสำคัญในระดับตำบลดังนี้

Page 26: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

25

สภาพปัญหาจากการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีรายรับ-รายจ่าย รายได้เฉลี่ย 63,388.00 บาทต่อคนต่อปี รายรับจากบัญชีครัวเรือน 58,078.01 บาทต่อคนต่อปี รายจ่ายจากบัญชีครัวเรือน 32,696.99 บาทต่อคนต่อปี หนี้สินจากบัญชีครัวเรือน 5,406.03 บาทต่อคนต่อปี เงินออมจากบัญชีครัวเรือน 3,861.33 บาทต่อคนต่อปี

จากข้อมูลตำบลเกิดการระดมความคิดเห็นตั้งแต่ระดับหมู่บ้านเพื่อให้เห็นสภาพปัญหาของชุมชน ความต้องการของชุมชนแล้วนำมาสู่การวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนาตำบลตลุกร่วมกันในการวิเคราะห์นั้นให้หลักการSWOTAnalyzeเป็นการวิเคราะห์สภาพภายในเพื่อให้เห็นจุดอ่อนจุดแข็งข้อจำกัดและโอกาส

Page 27: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

26

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

จุดอ่อน Weakness •เป็นพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำทำให้เกิดน้ำท่วมที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรเป็นประจำ •การทำเกษตรกรรมใช้ต้นทุนการผลิตสูง •เส้นทางคมนาคมระหว่างอำเภอและตำบลมีแม่น้ำขวางกั้นเดินทางไม่สะดวก •ขาดการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน •ค่านิยมความฟุ้งเฟ้อของประชาชน •มีหนี้สินขาดเงินทุนหมุนเวียน •ขาดความตื่นตัวเพื่อการทำงาน •ขาดความรู้ความชำนาญเพื่อพัฒนาอาชีพ

จุดแข็ง Strengths •มีแม่น้ำไหลผ่าน •มีแหล่งน้ำชลประทาน •พื้นที่เหมาะกับการเกษตร •มีความรู้ด้านเกษตรกรรม •มีเส้นทางสายหลักผ่านพื้นที่ •การบริหารงานของเทศบาลตำบลเป็นเอกภาพ

Page 28: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

27

โอกาส Opportunity •ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสอดคล้องกับอาชีพของประชาชน •มีผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ •ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น •มีระเบียบกฎหมายเอื้อต่อการพัฒนา

อุปสรรค Threats •กระแสการบริโภคนิยม •ข้อมูลข่าวสารเชิงลบ •ประชาชนขาดความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน

เมือ่วเิคราะหส์ภาพชมุชนแลว้จงึนำขอ้มลูตา่งๆมาประกอบเพื่อจัดทำแผนแก้ไขปัญหาของชุมชน

Page 29: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

28

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต และการตลาดด้านการเกษตร

ที่ สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ ไข แผนงาน/โครงการ

1 ปัญหาต้นทุน การเกษตรสูง

-ใช้สารเคมี ในการ ผลิต เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง -ค่าเมล็ดพันธ์ข้าว -ค่าจ้างแรงงาน ในการผลิต

-ส่งเสริมการผลิต ตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง -ทำปุ๋ยอินทรีย์ ไว้ ใช้เอง -เก็บเมล็ดพันธุ์ ไว้เอง -ปลูกพืชทดแทน -ทำสมุนไพรใช้แทน ยาฆ่าแมลง -รวมกลุ่มจัดตั้ง สหกรณ์

-โครงการลดการใช้ ยาฆ่าแมลงและ สารเคมี -โครงการปลูกผัก ปลอดสารพิษไว้ รับประทานเอง โครงการจัดตั้ง กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

2 ปัญหาการ ระบาดของ ศัตรูพืช เช่น เพลี้ยกระโดด หนูในนาข้าว

-การใช้สารเคมี มากเกินไปจน แมลงศัตรูพืชดื้อยา -การทำนาต่อเนื่อง กัน โดยไม่หยุดพัก ทำให้วงจรชีวิตของ ศัตรูพืชไม่ถูกกำจัด -การใช้สารเคมี ผิดวิธี

-ปลูกพืชโดยใช้พันธุ์ ที่ทนทานต่อศัตรูพืช -ลดการใช้สารเคมี ใช้วิธีชีวภาพในการ กำจัดศัตรูพืช -ใช้เชื้อบิวเวอร์เรีย กำจัดเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล

-โครงการลดการใช้ ยาฆ่าแมลงและ สารเคมี - โครงการผลิต เชื้อราบิวเวอร์เรีย เพื่อกำจัดเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาล

Page 30: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

29

ด้านการส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตร ที่ สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ ไข แผนงาน/โครงการ

1 ปัญหาการ ประกอบ อาชีพ

-เศรษฐกิจไม่ดี ต้นทุนการผลิตสูง ประชาชนหันมา ประกอบอาชีพ ค้าขาย -ขาดแนวทาง การขายและ สถานที่ขาย -ไม่มีการอบรม สร้างเสริมอาชีพ และทางเลือกใหม่ ให้แก่ประชาชน

-จัดโครงการพัฒนา อาชีพเสริมเพิ่ม รายได้ -พัฒนาหมู่บ้าน ทำตลาดน้ำ ชุมชนบางไก่เถื่อน -จัดตั้งเป็นสหกรณ์ -ศึกษาโอกาสใหม่ๆ ในการประกอบ อาชีพ

-โครงการปรับ ภูมิทัศน์แหล่ง ท่องเที่ยวชายหาด เขื่อนเจ้าพระยา หน้าวัดโคกเข็ม

2 ปัญหาด้าน ประชากร ไม่มีอาชีพ เสริมรายจ่าย มากกว่า รายรับ

-เศรษฐกิจตกต่ำ ผลิตผลเกษตร มีราคาถูก ต้นทุน แพง -ประชาชนไม่มี อาชีพเสริม เพิ่ม รายได้หลังฤดู เก็บเกี่ยว -เด็กจบใหม่ ไม่มีงานทำ

-จัดอบรมเพิ่ม ความรู้ ในด้าน กลุ่มอาชีพ -ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ -คิดค้นอาชีพใหม่ๆ สร้างรายได้ ครอบครัว

-โครงการส่งเสริม การประกอบอาชีพ การทำเกษตรกรรม ด้วยหลักเศรษฐกิจ พอเพียง

Page 31: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

30

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

3 ปัญหากลุ่ม อาชีพและ กลุ่มโอท็อป ไม่มีการ พัฒนา ผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ เพื่อ ส่งเสริมการ ตลาดและ ขาดเงินทุน หมุนเวียน

-เศรษฐกิจไม่ดี ต้นทุนการผลิตสูง -ขาดความรู้ และการสร้าง ผลิตภัณฑ์ชนิด ใหม่ -ขาดแคลนเงินทุน หมุนเวียน

-จัดโครงการ พัฒนาอาชีพ เสริมเพิ่มรายได้ -พัฒนาผลิตภัณฑ์ โอท็อปและสินค้า -จัดตั้งเป็นสหกรณ์ -ศึกษาโอกาสใหม่ๆ ในการประกอบ อาชีพ

-โครงการจัดทำ ป้ายบอกทาง เข้าหมู่บ้านและ ป้ายโอท็อป

Page 32: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

31

ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ที่ สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ ไข แผนงาน/โครงการ

1

ปัญหาเยาวชน รุ่นใหม่ ดื่มสุรา สูบบุหรี่เพิ่ม มาก ขึ้น

-ค่านิยมตามเพื่อน -หาซื้อง่าย

-รณรงค์และ แนะนำให้เห็น โทษและพิษภัย ของสุราและบุหรี่ -ห้ามขายให้แก่ เด็กเยาวชน -ปลูกฝังค่านิยม ที่ถูกต้อง

-โครงการลด ละ เลิก สิ่งเสพติด -โครงการสนับสนุน กิจกรรม -โครงการสายใย รักแห่งครอบครัว

2 ปัญหาค่าใช้จ่าย ในการครองชีพสูง

-รับประทาน อาหารสำเร็จรูป -การบริโภค ตามสื่อโฆษณา -สินค้าอุปโภค บริโภคมีราคาสูง -เด็กเรียนไกลบ้าน

-สร้างจิตสำนึก ในการออมและ ประหยัด -ปลูกพืชผักไว้ บริโภคเอง -ให้เด็กเรียน ใกล้บ้าน

-โครงการ ครอบครัวพอเพียง -โครงการ ชุมชนพอเพียง

Page 33: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

32

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

3

ปัญหาสุขภาพ ของประชาชน ในหมู่บ้าน มีสุขภาพ ไม่แข็งแรง

-ประชาชนไม่มี ความรู้ด้าน โภชนาการ -ครอบครัวฐานะ ยากจน -เข้าไม่ถึงการบริการ ของรัฐ -ผู้สูงอายุไม่ได้รับ การบริโภคอาหาร ที่เป็นประโยชน์ ต่อร่างกาย -ไม่ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ

-เผยแพร่ความรู้ ด้านสุขภาพ อนามัยแก่ ประชาชน -จัดทีม อสม. สำรวจครอบครัว ที่มีปัญหาสุขภาพ -ประสานงาน กับเทศบาล ตำบล รพสต. -สร้างสนาม กีฬาและเครื่อง ออกกำลังกาย

-โครงการส่งเสริม การออกกำลังกาย ของประชาชนใน หมู่บ้าน -โครงการลาน กีฬาสร้างเสริม สุขภาพประชาชน ในหมู่บ้าน

Page 34: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

33

ด้านเศรษฐกิจ ที่ สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ ไข แผนงาน/โครงการ

1

ปัญหาประชาชน มีหนี้สิน ไม่มี เงินออม

-สภาพเศรษฐกิจ ตกต่ำ ประชาชน มีรายได้ ไม่เพียง พอกับรายจ่าย -ขาดทุนจาก เกษตรกรรม และ ค้าขาย -ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

-สร้างจิตสำนึก ปลุกกระแส วัฒนธรรม ประเพณีไทย -สร้างวินัยในการ ใช้จ่ายเงิน -สร้างแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตไทยให้อยู่ ได้อย่างมีความสุข -ดำเนินชีวิตตาม หลักเศรษฐกิจ พอเพียง

-โครงการ สวัสดิการชุมชน เงินออมวันละบาท -โครงการตลาดนัด ชุมชนเพื่อชุมชน หรือถนนคนเดิน บ้านบางไก่เถื่อน

2

ปัญหาประชาชน ปลูกข้าวแต่ต้อง ซื้อข้าวสาร ราคาแพงไว้

-เกษตรกรปลูก ข้าวไว้ขาย แต่ไม่ เก็บไว้กินเอง -นิยมรับประทาน ข้าวหอมมะลิ จึง ซื้อข้าวกินในราคา แพง -ไม่มี โรงสีชุมชน

-รณรงค์ ให้ปลูกข้าว กินเองเหลือจึงขาย -ดำเนินวิถีชีวิตตาม หลักเศรษฐกิจ พอเพียง -ตั้งโรงสีชุมชน เพื่อลดค่าใช้จ่าย

Page 35: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

34

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่ สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ ไข แผนงาน/โครงการ

1

ปัญหาจาก ภัยธรรมชาติ (อุทกภัย)

-สภาพพื้นที่ติดริม แม่น้ำ -แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน ทำให้ระบายน้ำไม่ สะดวก -ไม่มีแนวคันดินเสริม ถนนเพื่อป้องกัน อุทกภัย -ขาดงบประมาณ สนับสนุนจากภาครัฐ

-โครงการเสริม แนวถนนริมแม่น้ำ เจ้าพระยา -ปลูกบ้านยกพื้น สูงเพื่อแก้ ไขปัญหา ที่อยู่อาศัย -ขุดลอกคูคลอง -ก่อสร้างคันกั้นน้ำ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ -จัดทำแผนอุทกภัย

-โครงการเสริม ถนนริมแม่น้ำและ คันดินป้องกัน น้ำท่วม -โครงการก่อสร้าง เขื่อนป้องกันตลิ่งพัง -โครงการขยาย ถนน คันกั้นน้ำ ให้สูงขึ้น

2 ปัญหาด้านการอนุรักษ์พันธุ์ปลา

-จับปลาในฤดูวางไข่ -ฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อ ปากท้องครอบครัว -ใช้อุปกรณ์จับปลาผิด

-รณรงค์ ให้ความรู้ ในการอนุรักษ์ พันธุ์ปลา -จัดหาอาชีพ ทดแทนในฤดู ปลาวางไข่

-โครงการอนุรักษ์ พันธุ์ปลาและปลา มี ไข่ -โครงการขุดลอก สระประมง

Page 36: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

35

ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่ สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ ไข แผนงาน/โครงการ

1

ปัญหาจาก ภัยธรรมชาติ (อุทกภัย)

-สภาพพื้นที่ติดริม แม่น้ำ -แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน ทำให้ระบายน้ำไม่ สะดวก -ไม่มีแนวคันดินเสริม ถนนเพื่อป้องกัน อุทกภัย -ขาดงบประมาณ สนับสนุนจากภาครัฐ

-โครงการเสริม แนวถนนริมแม่น้ำ เจ้าพระยา -ปลูกบ้านยกพื้น สูงเพื่อแก้ ไขปัญหา ที่อยู่อาศัย -ขุดลอกคูคลอง -ก่อสร้างคันกั้นน้ำ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ -จัดทำแผนอุทกภัย

-โครงการเสริม ถนนริมแม่น้ำและ คันดินป้องกัน น้ำท่วม -โครงการก่อสร้าง เขื่อนป้องกันตลิ่งพัง -โครงการขยาย ถนน คันกั้นน้ำ ให้สูงขึ้น

2 ปัญหาด้านการอนุรักษ์พันธุ์ปลา

-จับปลาในฤดูวางไข่ -ฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อ ปากท้องครอบครัว -ใช้อุปกรณ์จับปลาผิด

-รณรงค์ ให้ความรู้ ในการอนุรักษ์ พันธุ์ปลา -จัดหาอาชีพ ทดแทนในฤดู ปลาวางไข่

-โครงการอนุรักษ์ พันธุ์ปลาและปลา มี ไข่ -โครงการขุดลอก สระประมง

3 ปัญหา สิ่งแวดล้อม ในชุมชน

-ทิ้งขยะลงแม่น้ำ ลำคลอง -การเผาตอซัง เผาถ่าน -วัชพืช และผักตบชวา -การฉีดยาฆ่าแมลง เป็นมลพิษต่ออากาศ

-รณรงค์รักษา ความสะอาดใน แม่น้ำลำคลอง -รักษาความสะอาด ของบ้านและชุมชน -ลดการใช้สารเคมี ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำและอากาศ

-โครงการส่งเสริม และพัฒนา สิ่งแวดล้อม

4 ปัญหา แหล่งน้ำ สาธารณะ ไม่ได้รับการ ดูแลรักษา

-เกิดวัชพืชทำให้ แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน -ขาดงบประมาณ ในการขุดลอก คูคลอง -ประชาชนทิ้งขยะ และสิ่งปฎิกูลลงแม่น้ำ ลำคลอง น้ำจึงไม่ สะอาด

-กำจัดวัชพืชและ ขุดลอกคูคลอง ระบายน้ำ -รณรงค์ ให้ ประชาชนรักษา ความสะอาดของ แม่น้ำลำคลอง -ปรับปรุง แหล่งน้ำสาธารณะ

-โครงการขุดลอก ท่อระบายน้ำพร้อม บานประตู ปิด-เปิด

Page 37: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

36

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ที่ สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ ไข แผนงาน/โครงการ

1

ปัญหาด้านขาด การมีส่วนร่วม ในการพัฒนา หมู่บ้านอย่าง ยั่งยืน

-สภาพเศรษฐกิจ ฝืดเคืองทำให้คน ขาดการมีส่วนร่วม ในการพัฒนา หมู่บ้าน -ขาดความรู้ ความ เข้าใจในสิทธิหน้าที่ ของตนเอง -ไม่มีจิตอาสาใน การพัฒนา

-สร้างจิตสำนึก และรณรงค์ ใน สิทธิหน้าที่ พลเมืองที่ดี -รับฟังความคิด เห็นของประชาชน -สร้างจิตอาสา ให้ประชาชน ทำงานเพื่อสังคม

Page 38: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

37

ด้านการศึกษา ที่ สภาพปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ ไข แผนงาน/โครงการ

1 ปัญหาด้าน การศึกษา

-คนรุ่นเก่ามีการ ศึกษาน้อย อ่านออก เขียนได้ -เยาวชนรุ่นใหม่ ต้องไปเรียนไกลบ้าน -ไม่มี โอกาส เข้าถึง บริการทางการ ศึกษา

-ส่งเสริมการ เรียนรู้ ในชุมชน -ส่งเสริมการศึกษา นอกระบบ -ส่งเสริมการ ศึกษาตลอดชีวิต

-โครงการส่งเสริม การศึกษาแก่ ประชาชนและ เยาวชน

2

ปัญหาการ พัฒนาศูนย์ เด็กเล็ก

-สถานที่คับแคบ -ขาดแคลน งบประมาณสนับสนุน สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์

-จัดหาสถานที่ ก่อสร้างให้ เหมาะสมกับ จำนวนเด็ก -ปรับปรุงสภาพ แวดล้อม -จัดหาอุปกรณ์ การเรียนการสอน ที่ทันสมัย -ให้ทุนการศึกษา เด็กเล็กได้เรียนฟรี -จัดหาชุดกีฬา ชุดนักเรียน

ข้อมูลจากแผนแม่บทชุมชน ตำบลตลุก

Page 39: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

38

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

การทำแผนแม่บทชุมชนมีหลักการที่สำคัญ คือ ต้องเกิดจากความสมัครใจของคนในชุมชนมาเรียนรู้ร่วมกันเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมให้กับทุกคน และเน้นการนำจากทุกทางสังคมของแต่ละพื้นที่ มีขั้นตอนและรายละเอียดการทำที่แตกต่างกันไปชุมชนที่สนใจจะทำแผนชุมชนสามารถศึกษาดูงานจากชุมชนที่เคยทำมาก่อนได้ แต่ต้องนำไปประยุกต์หรือไปคิดค้นต่อให้เหมาะสมกับชุมชนของตนเอง โดยขั้นตอนในการจัดทำแผนชุมชนจากชุมชนมีดังนี้

บันได10ขั้นของกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน

Page 40: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 41: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 42: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

41

1.ค้นหาแกนนำและองค์กรท้องถิ่นสร้างทีมงานที่จะร่วมริเริ่มทำแผนชุมชนสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนร่วมกัน 2.จุดประกายความคิดเป็นขั้นตอนกระตุ้นให้คนในชุมชนหันมาใส่ใจชุมชนของตนเองโดยอาจจัดเป็นเวทีพูดคุยเพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตระหนักถึงปัญหา วิกฤติที่เกิด และเห็นความหวังที่จะอยู่รอดร่วมกัน 3.ศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนศึกษาที่มาคุณค่าสิ่งดีงามของชุมชนทำให้สมาชิกเห็นถึงที่มาตัวตนที่แท้จริงของตนเองของชุมชนและเกิดเป็นความรักในท้องถิ่นโดยให้มีคน3รุ่นคือเด็กผู้ ใหญ่ผู้สูงอายุอยู่ร่วมกันซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการนำพาชุมชนให้รอดพ้นวิกฤติ 4.สำรวจรวบรวมข้อมูลกำหนดประเด็นที่อยากเรียนรู้เพื่อเก็บข้อมูลเช่นรายรับ-รายจ่ายหนี้สินปัญหาและศักยภาพ วัฒนธรรมภูมิปัญญา ทั้งนี้การสำรวจข้อมูลบางเรื่องใช้แบบสอบถามบางเรื่องใช้เวทีหรือการพูดคุยซึ่งแล้วแต่ละคนแตกต่างไปตามสภาพพื้นที่อย่างไรก็ตามควรมีการจดบันทึกไว้ 5.วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเข้าใจสถานการณ์และกำหนดอนาคตของชุมชน ขั้นตอนนี้ต้องหาวิธีให้สมาชิกในชุมชนได้เห็นข้อมูลทั้งหมดร่วมกันและได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สังเคราะห์

Page 43: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

42

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

6.ยกร่างแผนชุมชนบางชุมชนเสนอแผนออกเป็น3กลุ่ม เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้คือ สิ่งที่ชุมชนทำได้เอง สิ่งที่ชุมชนร่วมกับภายนอกและเกินความสามารถของชุมชนต้องให้หน่วยงานสนับสนุน 7.ประชาพิจารณ์แผนชุมชนเปิดให้สมาชิกได้ร่วมกันพิจารณาถึงความถูกต้องตามเจตนาของคนส่วนใหญ่ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมของการนำแผนไปปฏิบัติ จัดลำดับความสำคัญและวิธีการที่จะทำแผนให้สำเร็จ 8.นำแผนสู่การปฏิบัตินำกิจกรรมตามแผนมาทำให้เกิดผลโดยให้ผู้เกี่ยวข้องแต่ละเรื่องร่วมคิดตัดสินใจและทำเองมากที่สุดเป็นกิจกรรมทำได้ด้วยทุนที่ชุมชนมีอยู่ก่อน 9.ทบทวนปรับปรุงเมื่อทำงานจริงอาจไม่ตรงตามที่คิด สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องปกติ ต้องมีการทบทวนเป็นระยะเพื่อปรับกิจกรรมและวิธีการให้เหมาะสม 10.ประเมินผลสรุปบทเรียนเป็นขั้นตอนที่จะติดตามดูว่าแผนชุมชนที่ทำมาได้ผลเป็นอย่างไรเพื่อสรุปเป็นบทเรียนนำกลับมาใช้ปรับปรุงหรือถอดเป็นองค์ความรู้ ให้กับชุมชนได้เรียนรู้ต่อไป

Page 44: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

43

การดำเนินงานแผนแม่บทชุมชนจะใช้5 เสือเป็นแกนหลักรวมกับคณะทำงานของหมู่บ้านหมู่ละ5คน12หมู่บ้านรวมเป็น60 คน จากข้อมูลคณะทำงานได้ร่วมกันวิเคราะห์ว่าหมู่บ้านของเรามีปัญหาเรื่องใดบ้าง จะหาทางแก้ไขอย่างไร จัดทำแผนระดับหมู่บ้าน ตำบลตลุกใช้เวลาตั้งแต่ปี 2548 - 2550ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชน ตั้งแต่การสร้างทีม การเก็บข้อมูลรวบรวมจัดประชุมได้ข้อเสนอแผนแก้ไขปัญหาหนี้สินได้แก่ •การจัดทำบัญชีครัวเรือน •การส่งเสริมอาชีพ

แผนแรกที่ทำคือการสร้างอาชีพเสริมซึ่งไปสอดรับกับการส่งเสริมกลุ่มอาชีพเสริมของหน่วยงานรัฐ เป็นไปตามวัตถุดิบชุมชนแต่ก็มีบางกลุ่มที่ ไปผลิตสินค้าตามกลไกของตลาดเช่นของใช้ ของที่ระลึก จากปัญหาที่พบทำให้ชุมชนหันมาสร้างอาชพีเสรมิหลายกลุม่มากขึน้และยงัมกีลุม่ปุย๋ชวีภาพในชว่งนัน้มีงบประมาณจากอบต.มาส่งเสริมกลุ่มอาชีพหมู่ละ100,000บาท ต่อมา มีแผนส่งเสริมให้จัดทำแผนแม่บทชุมชนโดยกรมพฒันาชมุชนซึง่ใชแ้ผนแมบ่ทในการพฒันาประเทศพฒันาคนพัฒนาความรู้ จากแรงผลักดันของหน่วยงานรัฐ ตำบลตลุกจึงได้รับเลือกให้เป็นตำบลนำร่อง ตำบลต้นแบบในเรื่องของการพัฒนาชุมชน

Page 45: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

44

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

สุณี โพธิ์ผ่อง หนึ่งในแกนนำ 5 เสือ และเป็นประธานสภาองค์กรชุมชนให้ความคิดเห็นว่าแผนแม่บทชุมชนที่ทำกันทั้งตำบลประสบความสำเร็จมาก เป็นโครงการที่ทำให้คณะทำงานได้เรียนรู้ทั้งในหลักการและการวางแผนปฏิบัติงานเข้าใจระบบการทำงานแบบเป็นขบวนการและมีกระบวนการในการบริหารจัดการอย่างมีกลยุทธ์ สิ่งที่เห็นผลจนถึงปัจจุบันคือกระบวนการสร้าง5เสือแล้วไปสร้างทีมย่อยอีก60คนเกิดการคิดร่วมแก้ปัญหาร่วมกันเป็นความผูกพัน เห็นภาพชุมชนค่อยๆ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ความเข้มแข็งของชุมชน จนถึงวันนี้หลายคนก็ยังเกาะกลุ่มทำงานในชุมชน บางคนพัฒนาตนเองต่อเนื่อง มีบทบาทในระดับเครือข่าย

Page 46: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

สุณี โพธิ์ผ่อง

Page 47: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 48: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

47

กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ทนายสมพงษ์ วงศ์ก่อ หันหลังจากอาชีพทนายความในช่วงวัยที่สั่งสมประสบการณ์ของการว่าความจนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในวงการทนายความและลูกค้ามีรายได้มากมายแตท่นายสมพงษ์วงศก์อ่กลบัคดิตา่งจากคนอืน่พอแล้วกับสิ่งที่ทำมามันอิ่มตัวไม่ยึดติดกับรายได้ความมีชื่อเสียงหันกลับมาอยู่ในสังคมชนบทที่ ไม่วุ่นวายการได้อยู่ใกล้ชิดสัมผัสกับดินต้นไม้แสงแดดเป็นการกลับมาค้นหาธรรมะอย่างแท้จริง ธรรมะที่อยู่รอบๆ ตัว ถอดชุดครุยทนายความวางปากกาหันมาหยิบจอบเสียมเข้าถากถางที่ดินรกร้างหลังบ้านซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีเพราะติดแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มจากปลูกผักสวนครัวไว้กินเองเหลือแจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน ผักกินอร่อยเพราะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักเองและนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มการทำปุ๋ยอินทรีย์

กลุ่มอาชีพสร้างรายได้เสริมให้แก่คนในชุมชน

Page 49: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

48

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

ทนายสมพงษ์วงศ์ก่อได้จัดสรรที่ดิน6ไร่ทำเป็นแปลงให้ชาวบ้านที่ ไม่มีที่ทำกินจำนวน 21 ครอบครัว เข้ามาปลูกผักอินทรีย์ โดยที่ทนายเป็นผู้ลงทุนให้ทั้งหมดในระยะแรก ตั้งแต่การเกรดดิน ยกร่องแบ่งเป็นแปลง การเจาะน้ำบาดาลสำหรับใช้ ในแปลง เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้พึ่งตนเองได้ ในระยะต่อไป

การพึ่งพาตนเอง ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ เป็นการลดการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง ส่งผลให้สัตว์น้ำ กุ้งหอยปูปลา ลดน้อยลง และบางชนิดก็สูญพันธ์ ขณะที่ชาวบ้านใช้น้ำอาบน้ำใช้ เกิดอาการคันเป็นตุ่มการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากจุดเล็กๆหาคนที่คิดร่วมกันมีความรู้สึกร่วมและสำนึกที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมการรวมกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจึงเกิดขึ้นรวมกลุ่มในตำบลได้78คนมีเงินลงหุ้นๆละ100บาทรวมได้52,000บาทลงทุนซื้อเครื่องอัดเม็ด ราคาชุดละแสนกว่าบาท ทนายสมพงศ์ใช้เงินส่วนตัวลงเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตนั้นจะใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่หมักจากหอยปลาผลไม้สุกรวมกันจนได้หัวเชื้อจุลินทรีย์ นำมาทดลองใช้กับพืชผักก่อน เมื่อเห็นผลดี จึงขยายไปใช้กับนาข้าวดินที่แข็งกระด้างกลับร่วนซุยใช้เวลาไปราวๆ 2 ปี จึงฟื้นฟูสภาพดินได้ ในช่วงเริ่มต้นของการก่อการกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ได้รับแรงต้านพอสมควรเพราะไม่มี

Page 50: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

49

ใครเชื่อว่าปุ๋ยอินทรีย์จะใช้ได้จริงในแปลงผักทุ่งนาและจะเป็นความยั่งยืนของเกษตรกรด้วย กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดดำเนินการมาได้9ปีแล้วได้แบ่งขายกิโลกรัมละ10บาทถ้าเป็นลูกหนึ่งก็50กิโลกรัมราคา300บาทการใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะค่อยๆ เห็นผลภายในปีที่ 3-4 ผลผลิตจะดีขึ้นตามลำดับ สมาชิกกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ ได้แบ่งพื้นที่เกษตรเพื่อทดลองก่อน เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนเกิดการขยายตัวไปยังหมู่บ้านอื่นๆ การจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดนั้น นอกจากจะขายให้แก่คนในหมู่บ้านแล้วยังมีการออกไปจัดบู๊ทตามงานที่หน่วยงานภาครัฐจัดขึ้นเช่นงานเกษตรพัฒนาชุมชนและยังเป็นวิทยากรรับเชิญของธกส. เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการลดต้นทุนการผลิตการพึ่งพาตนเองตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการผลิตปุ๋ยอินทรีย์นั้นทนายได้ทดลองทำด้วยตนเองหาหนังสือมาอ่านจนปัจจุบันได้พัฒนาผลิตฮอร์ โมนไข่ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะที่ทนายได้ทดลองทำด้วยการผสมฮอร์ โมนหลายชนิดเข้ากับไข่ไก่ใช้รดผักให้ผลผลิตสูงและยังผลิตสมุนไพรป้องกันแมลงอีกด้วยเกษตรกรที่หันมาสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจ เนื่องจากจะเห็นผลช้าในช่วง2-3ปีแรกแต่หลังจากนั้นเมื่อดินฟื้นตัวลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตที่ ได้จะมีคุณภาพและได้ราคาสูงกว่าผลิตผลจากสารเคมี เมื่อมีรายได้จากการขายปุ๋ยอินทรีย์จะแบ่งเงินกำไรส่วนหนึ่งเป็นทุนสำรองและอีกส่วน

Page 51: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

50

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

สำหรับปันผลกำไรให้แก่สมาชิก เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นยังไม่ได้วางแผนที่จะจัดสวัสดิการส่วนอื่นๆจะต้องเก็บเป็นเงินสำรองไว้ ให้ได้มากกว่านี้

ระยะเวลาผ่านไป6ปีนอกจากเกษตรกรจะมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดีขึ้นแล้ว สภาพแวดล้อมกลับฟื้นตัวขึ้นมาใหม่เช่นปลาไหลปลาหลดกุ้งหอยปูปลามีมากขึ้นมีนกมาอาศัยอยู่ตามสวน ต้นไม้ต่างๆ และลงกินหอยเชอรี่ ในนาสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใคร่ครวญคือแม้แต่นกหรือสัตว์อื่นๆยังเลือกอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์แต่มนุษย์ผู้มีปัญญาล้ำลึกกลับเลือกกินอาหารเป็นพิษมากกว่าอาหารปลอดภัย ด้วยเพียงมุ่งดูแค่เพียงรูปภายนอกที่สวยงามเท่านั้น

Page 52: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

ทนายสมพงษ์ วงศ์ก่อ

Page 53: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 54: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

53

กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลตลุกมีกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่หมู่11ซึ่งเกิดจากนโยบายของโครงการแก้ไขความยากจน(กข.คจ.)ในช่วงปี2536โดยโครงการแก้ไขความยากจนมเีงือ่นไขใหท้กุชมุชนที่เข้าร่วมโครงการต้องจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมซึ่งสนับสนุนงบประมาณให้หมู่บ้านนำไปบริหารให้เกิดประโยชน์ ในชุมชนแต่ห้ามนำไปกู้ยืมตำบลตลุกหมู่5หมู่10และหมู่11ได้รับงบประมาณจำนวน280,000บาท

ต่อมา รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนกองทุนหมู่บ้าน และมีเงื่อนไขให้ทุกหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการต้องจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ฯขึ้นทั้งนี้3หมู่บ้านของตำบลตลุกจึงได้ดำเนินการต่อจากกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เดิมออมเงินหุ้นละ10บาทต่อเดือนรวมแล้วไม่เกิน100บาทต่อเดือนปัจจุบันกลุ่มยังดำรงอยู่มีเงินทุนหมุนเวียนประมาณล้านกว่าบาท การเข้าร่วมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ฯ นั้น สมาชิกทุกคนในครัวเรือนสามารถเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ได้การจัดสรรประโยชน์จากเงินกองทุนออมทรัพย์นั้นจะจัดให้กู้ยืมคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ6ต่อปีส่วนต่างของดอกเบี้ยจะนำมาเฉลี่ยคืนสมาชิกเปน็เงนิปนัผลรอ้ยละ10และนำมาจดัสวสัดกิารรอ้ยละ5เชน่ค่ารักษาพยาบาลเสียชีวิตทุนการศึกษาพัฒนาหมู่บ้านสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านการบริหารจัดการของกลุ่มออมทรพัยห์มู่11นัน้มรีะบบการควบคมุทีด่ีมกีารจดัโครงการ

Page 55: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

54

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

สร้างที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน มีระบบการตรวจสอบการใช้เงินการวางระบบการออมทรัพย์การจัดทำบัญชีนอกจากเงินออมทรัพย์ของสมาชิกแล้ว ยังมีเงินกองทุนอื่นๆ ที่ต้องบริหารจัดการอีก ได้แก่ เงินกองทุนเศรษฐกิจพึ่งตนเองกองทุนเอสเอ็มเอล(SML)กองทุนหมู่บ้านเป็นต้น

กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าตำบลตลุกมีกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของนางสุมาลีพันธ์เพ็งและนางงามทิศจี่เอียมเป็นการรวมกลุ่มเพาะเห็ดมาตั้งแต่ปี2547เพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่คนในชุมชน ทั้งสองกลุ่มรวมสมาชิกได้กลุ่มละ 7 คนและจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ลงหุ้นคนละ100-200บาทเป็นการรวมกลุ่มและจดทะเบียนเพื่อจะนำไปขอรับการสนับสนุนเงินกู้ระยะยาวจากธกส.จำนวน50,000บาทนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนและสร้างโรงเพาะเห็ดกลุ่มมีโรงเรือนหลายหลังแต่ละหลังเห็ดจะออกดอกไม่พร้อมกันทำให้กลุ่มมีรายได้จากการเก็บเห็ดขายทุกวัน มีรายได้ต่อวันประมาณ700-1,500บาทต่อคนต่อวันทั้งนี้ขึ้นกับฤดูกาลด้วย เห็ดนางฟ้าเพาะง่าย เก็บรักษาได้นานกว่าเห็ดฟางเนื่องจากกลุ่มของงามทิศเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนลงทุนสูงกว่าเหนื่อยแรงมากกว่าสมาชิกนอกจากมีรายได้จากเก็บเห็ดแล้วยังมีรายได้จากการทำก้อนเห็ดขายด้วยเห็ดที่เก็บได้จะนำไปขายที่ตลาดชัยนาทเป็นการขายส่งหรือบางครั้งจะมีพ่อค้าคนกลางมารับถึงโรงเห็ด

Page 56: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

55

กลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาสำเนียงคำเมืองได้รวมกลุ่มมาตั้งแต่ปี2544มีสมาชิกจากหมู่7,8และ9เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีแหล่งวัตถุดิบการรวมกลุ่มครั้งแรกนั้นมีสมาชิก20คนโดยมีพัฒนาชุมชนมาสนับสนุนการตั้งกลุ่ม และสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจำนวน20,000บาทสำหรับซื้อวัตถุดิบผักตบที่ตากแห้งแล้วโดยมีอีกกลุ่มหนึ่งผลิตวัตถุดิบส่งป้อนกลุ่มกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาจะผลิตเปลญวน ขายส่งได้ราคาดี สามารถเป็นรายได้เสริมให้แก่สมาชิกได้สม่ำเสมอ นอกจากผลิตเปลญวนแล้วยังถักเปียจากผักตบชวา ขายส่งให้แก่กลุ่มที่ทำเฟอร์นิเจอร์พันไหนำไปประดับงานเครื่องปั้นดินเผาประเภทภาชนะเช่นโอ่งเล็ก ไห แจกัน กระถางต้นไม้ หรือตกแต่งเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ

หลังจากการดำเนินการแผนแม่บทชุมชนแล้วเกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลายตามวัตถุดิบที่มีอยู่ ในชุมชน ตามความชำนาญการของคนในชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้าน เช่น กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์กลุ่มหุ่นฟางนก กลุ่มปลาย่าง กลุ่มน้ำปลาเขื่อนเจ้าพระยากลุ่มเห็ดนางฟ้ากลุ่มผักตบชวาผลจากการดำเนินงานด้านกลุ่มอาชีพ ทำให้เกิดความร่วมมือกับหลายหน่วยงานที่มาช่วยสนับสนุนความรู้ เช่น สกว. เข้ามาร่วมในกระบวนการแผนแมบ่ทชมุชนสำนกังานพฒันาชมุชนเชน่สำนกังานพฒันาชุมชนจังหวัดชัยนาทมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์สำนัก

Page 57: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

56

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

งานสาธารณสุขจังหวัดการประสบความสำเร็จจากแผนแม่บทนั้น เกิดจากการที่คณะทำงานมีความจริงจัง ตั้งใจทำงานรวมคนได้ ไม่ทิ้งกันมีเวทีพูดคุยกันกำหนดพบปะกันเดือนละหนึ่งครั้งต่อมาเมื่อคณะทำงานมีความสามารถมากขึ้น ต้องออกไปประชุมร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ จึงไม่สามารถกำหนดเวลาประชุมที่แน่นอนได้แต่ยังคงนัดประชุมอย่างสม่ำเสมอ

Page 58: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 59: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

58

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

ในปี2551มีการประกาศใช้พรบ.สภาองค์กรชุมชนคณะทำงานสภาองค์กรชุมชนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) ได้มาจัดเวทีระดับจังหวัดที่ชัยนาท และเลือกตำบลนำร่อง 10 ตำบลเพื่อการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน คณะทำงานแผนแม่บทตำบลตลุกได้ปรึกษาหารือกันเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะได้พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งจึงได้ตกลงร่วมเป็นตำบลนำร่องสภาองค์กรชุมชนประจวบกับได้เสร็จสิ้นภารกิจแผนแม่บทชุมชนพอดีแกนนำได้รับการอธิบายจากเจ้าหน้าที่พอช.ว่าการจะขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชนนั้นจะต้องไปจดแจ้งกลุ่มก่อน ในปีแรกมี 68 กลุ่มองค์กรที่เข้าไปจดแจ้งสภาองค์กรชุมชนปัจจุบันจดแจ้งล่าสุดปี2555เหลือ51กลุ่มเนื่องจากบางกลุ่มไม่ได้มีการดำเนินการแล้วเช่นกลุ่มถักเถาวัลย์ ต้องยุติกลุ่มไปเนื่องจากไม่มีวัตถุดิบเถาวัลย์ ซึ่ง

กลุ่มองค์กรชุมชนแผนแม่บทชุมชนรากฐานของการก่อเกิดสภาองค์กรชุมชน

Page 60: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

59

เป็นวัสดุธรรมชาติจากป่าในบริเวณรอบๆชุมชนมาสานเป็นตะกร้ากระเช้าสำหรับใส่ของเป็นต้นในการบริหารจัดการสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุกนั้น จะมีสมาชิกตัวแทนกลุ่มของชุมชนผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษามีการจัดประชุมสภาอย่างน้อยปีละ4ครั้ง

ขบวนการทำงานของชุมชนตลุกเป็นการเคลื่อนตัวตามธรรมชาติเป็นการสร้างผู้นำตามธรรมชาติเป็นผู้นำที่เกิดจากจิตวิญญาณและจิตใจที่มุ่งมั่นจะช่วยเหลือคนอื่นที่ขาดโอกาสฉะนั้นในการทำงานจะมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ มีกลไกการทำงาน มีข้อตกลงเรื่องการใช้เงิน แต่ไม่ให้เงินเป็นใหญ่ฉะนั้นในการบริหารจัดการจึง เป็นการเชื่ อมประเด็นบรูณาการประเดน็บรูณาการงบประมาณเปน็การบรูณาการยุทธศาสตร์เป้าหมายร่วมกัน

ผลิตผลของแกนนำตลุก เกิดจากการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มการเรียนรู้นอกกลุ่มกระบวนการเหล่านี้จะเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การระดมความเห็นที่จะนำกลับมาปรับปรุงงานของตนเอง ขณะเดียวกันได้ออกไปข้างนอกเพื่อรับความรู้ ใหม่ๆจากแผนโครงการตามที่มีหน่วยงานมาสนับสนุนเป็นเพราะแกนนำมีใจเอาใจกันมาก่อนมารวมพลังส่วนความสามารถเทคนิควิธีการทำงานค่อยๆหาเพิ่มเติมภายหลังได้ คนทำงานเพิ่มพูนประสบการณ์จากงานที่

Page 61: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

60

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

ตนเองทำและต้องขอบคุณที่หน่วยงานได้เลือกตำบลตลุกในการเข้าร่วมกิจกรรมมากมาย ตั้งแต่การจัดทำแผนแม่บทชมุชนรว่มกบัพอช.กรมการพฒันาชมุชนกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)ทั้งนี้สกว.ได้เข้ามาหนุนเสริมในงานวิชาการด้วยการจัดทำแผนแม่บทชุมชนเชื่อมกับท้องถิ่น เหล่านี้เป็นโรงเรียนให้กับแกนนำตลุกทุกคนทำให้ทุกคนเติบโตขึ้นมีฐานคิดที่แน่วแน่มีฐานปฏิบัติการจริงที่ ไม่หยุดนิ่งสานต่อความร่วมมือหลายเครือข่าย

ความพร้อมของสภาองค์กรในการพัฒนาเป็นพื้นที่ดูงานนั้นพร้อมแล้ว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาหลายปี เรียนรู้และตักตวงเวลาได้สร้างแกนนำให้กล้าเสนอกล้าแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เห็นร่วมและเห็นต่างนั่นแสดงว่าในวันนี้ชาวบ้านที่ ไม่เคยมีพื้นที่ ชาวบ้านที่หลายคนบอกว่าไม่มีความรู้ ต้องรอรับคำสั่งจากผู้ที่มีตำแหน่งทางการเวลาผันเปลี่ยนความเชื่อมั่นเพิ่มพูน

Page 62: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

61

สภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2551และครบวาระ4ปีแล้วเพิ่งจะเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ไปเมื่อไปกลางปี2555และสุณี โพธิ์ผ่องได้รับเลือกกลับมาเป็นประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุกอีกครั้งหนึ่ง จากประสบการณ์ที่เพิ่มพูนมากขึ้น จึงได้จัดวางผังโครงสร้างการทำงาน มีกรรมการย่อยตามประเด็นงานหรือประเด็นยุทธศาสตร์มีตัวแทนจากหมู่บ้านละ2คนเป็น24คนรวมกับผู้ ใหญ่บ้าน12คนและประธานอีก1คนรวมทั้งสิ้น37คนองค์ประกอบ24+13จึงแน่นปึ๊กพร้อมที่จะขับเคลื่อนไม่ว่าจะมีประเด็นใหม่ๆ เข้ามาก็ตั้งรับได้ คณะทำงานจะพิจารณาการพัฒนาศักยภาพ ออกแบบการขับเคลื่อนของโครงการตามประเด็นการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก

บทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการขับเคลื่อนเครือข่าย

Page 63: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

62

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

บทบาทหลักของสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุกจึงเป็นการเชื่อมร้อยองค์กรชุมชนในตำบลให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องเป็นการกระตุ้นไม่ให้กลุ่มนิ่งสภาองค์กรชุมชนไม่ได้มีงบประมาณในการสนับสนุนกลุ่มองค์กรชุมชนต่างๆแต่จะทำหน้าที่หาข้อมูลนำกิจกรรมไปเชื่อมกับหน่วยงานเช่นเทศบาลตำบล ในเรื่องของการทำงานร่วมกัน การขอรับสนับสนุนทั้งวิชาการและงบประมาณธกส.ในเรื่องวิชาการและทุนในการประกอบอาชีพ ฯลฯ สภาองค์กรชุมชนเหมือนทำหน้าที่เป็นธุระให้กับงานที่พัฒนาพื้นที่ โดยคนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแผนปฏิบัติการของแผนชุมชน

บทบาทด้านการจัดทำแผนแม่บทชุมชนแผนแม่บทชุมชน เป็นการประสานเชื่อมงานต่อกับเทศบาลตำบลตลกุเปน็การบรูณาการงบประมาณของงานสภาองคก์รชุมชน ด้วยการจัดทำแผนชุมชน และบูรณาการแผนกับเทศบาลตลุกประจำปีเน้นในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตพฒันาชมุชนทัง้นี้ ในการบรหิารจดัการเทศบาลไม่ไดอ้นมุตังิบประมาณให้กลุ่มดำเนินการ แต่จะสนับสนุนงบการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ ได้เสนอไปเป็นครั้งๆ ไปและสนับสนุนให้ชุมชนมีการทำแผนชุมชน ทบทวนแผนชุมชนประจำปี และเวทีการบูรณาการแผนชุมชนให้เป็นแผนพัฒนาตำบล โดยมีสัดส่วนของแผนชุมชนเข้าไปบรรจุในแผนพัฒนาตำบล 30%และต้องนำเข้าสู่เทศบัญญัติ 10% (สนับสนุนงบประมาณโครงการ/กิจกรรมที่อยู่ ในแผนชุมชน)

Page 64: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

63

บทบาทด้านการประสานงานขับเคลื่อนโครงการศูนย์การจัดการภัยพิบัติการขับเคลื่อน โครงการศูนย์การจัดการภัยพิบัติ เป็นการทำงานร่วมกับพอช.ในการขับเคลื่อนแก้ปัญหาภัยพิบัติอย่างมีส่วนร่วม โครงการนี้เป็นการทำงานระดับจังหวัด ในจังหวัดชัยนาทมีตำบลที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 11 โครงการ ซึ่งการทำงานนั้นจะมีกรรมการชุดประเด็นคอยขับเคลื่อนงานเป็นโครงการที่เพิ่งจะเริ่มต้นในปี2555

บทบาทด้านการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลตลุก จากการที่รัฐบาลอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ส่งเสริมให้เกิดกองทุนสวัสดิการชุมชนโดยรัฐจะสมทบเท่ากับเงินให้กลุ่มออมทรัพย์สวัสดิการชุมชนเท่ากับเงินที่กลุ่มออมได้สภาองค์กรชุมชนเห็นว่าเป็นเงื่อนไขที่ดีที่จะชวนชาวบ้านมาฟื้นฟูกลุ่มออมทรัพย์สวัสดิการต่อจึงเปิดรับสมาชิกและมีสมาชิกจำนวน352คนสมาชกิตอ้งเปน็คนในตำบลตลกุเทา่นัน้การสมคัรจะมหีลกัฐานคือสำเนาบัตรประชาชนทะเบียนและต้องระบุผู้รับประโยชน์ด้วยออมวันละบาทปีละ365บาทเปิดรับสมาชิกครั้งแรกเดือนสิงหาคม2552กลุ่มได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลมาแล้วเป็นจำนวน111,690บาทและยังได้นำเข้าสู่แผนชุมชนของเทศบาลตลุกด้วยได้รับงบประมาณสมทบปีละ30,000บาทการจัดสวัสดิการนั้น จะครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

Page 65: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

64

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

เนื่องจากการออมเงินยังอยู่ในระยะเริ่มต้นการจัดสวัสดิการจึงเป็นการดูแลสมาชิก กลุ่มได้กำหนดหลักเกณฑ์อายุของสมาชิกคือรับอายุแรกเกิดจนกระทั่ง65ปีคือจะต้องเป็นสมาชิกแล้วอย่างน้อย6เดือนได้แก่ •เกิด–จัดสวัสดิการให้แม่และลูกคนละ500บาทรวมเป็น1,000บาท •เจ็บ–จัดสวัสดิการให้แก่ผู้เฝ้าไข้คืนละ100บาทปีละไม่เกิน 10 คืน ส่วนค่ารักษาพยาบาลให้ไปใช้สิทธิของโรงพยาบาลรัฐ •ตาย–สมาชิกปีแรกเมื่อเสียชีวิตได้รับเงินช่วยเหลือ5,000บาทสมาชิกปีที่2เป็นต้นไปเมื่อเสียชีวิตได้รับเงินช่วยเหลือ6,000บาท

หลังจากที่กลุ่มออมทรัพย์สวัสดิการเปิดรับสมาชิกใหม่ ในเดือนสิงหาคมแล้วนั้นจะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกลุ่มวัยเรียน ด้วยการจัดทุนการศึกษาในการจดัสวสัดกิารดา้นใหม่ๆ นัน้จะตอ้งวเิคราะหต์น้ทนุความเสี่ยงที่จะเกิดในภายหน้าด้วย

กองทุนสวัสดิการยังได้เชื่อมโยงกับสวัสดิการระดับจังหวัดชัยนาทด้วย สมาชิกระดับตำบลสามารถสมัครเป็นสมาชิกระดับจังหวัดได้อีกก็จะได้รับสวัสดิการทั้งสองแห่ง

Page 66: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

65

บทบาทด้านการบูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานภายนอกการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานและท้องถิ่น ในประเด็นที่สอดคล้องกับที่สภาองค์กรชุมชนดำเนินการอยู่แล้ว โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นหน่วยงานหลักในการเข้ามาขับเคลื่อน โครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุขการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือนให้ครบทุกครัวเรือนนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และนำมาจัดทำแผนแก้ปัญหาความยากจน เป็นการทำงานบูรณาการร่วมกับสำนักงานจังหวัดอปท.พัฒนาชุมชนสกว.จะเป็นผู้ออกแบบข้อมูลบัญชีครัวเรือนจัดอบรมให้ความรู้ตำบลตลุกได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาเห็นผลสำเร็จจึงให้เป็นตำบลนำร่องจัดให้เป็นครูก.มีตัวแทนจากตำบลจำนวน 3 คน เข้าไปอบรมเป็นครู ก. เมื่ออบรมแล้วจะนำความรู้มาขยายในตำบลอื่นๆจัดทำบัญชีครัวเรือนให้ครบทั้งจังหวัดชัยนาท

เป็นการเชื่อมโยงภาคี ในนามของเครือข่ายภาคประชาชนเช่นสมัชชาสุขภาพสปสช.ตำบลตลุกมีกลไกการขับเคลื่อนงานที่สำคัญคืออสม.และผู้นำกลุ่ม/องค์กรมีทุกหมู่บ้านและทำงานร่วมกันมานานแล้ว เพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องใกล้ตัวฉะนั้นเมื่อก่อตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลหน่วยงานที่สภาองค์กรเข้าเชื่อมได้สำเร็จคือหน่วยงานที่อยู่ ในตำบลเช่นเทศบาลตำบลตลุกสาธารณสุขตำบล(รพสต.2แห่ง)

Page 67: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

66

5 เส

ือ...

ฐาน

ราก

การ

ผสา

นพ

ลังชุม

ชน

เกษตรตำบล พัฒนาชุมชน เป็นการดูแลสุขภาวะมวลรวมของตำบลและเชื่อมกับหน่วยงานของอำเภอ/จังหวัดที่เกี่ยวข้องเป็นลำดับขึ้นไป

การจัดกิจกรรมของสภาองค์กรชุมชน พยายามที่จะเชื่อมโยงกับเด็กเยาวชนเพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนแต่ยังไม่สามารถทำได้มากนักเนื่องจากเวลาที่สภาฯจัดกิจกรรมนั้นจะตรงกับเวลาเรียนของเด็ก เด็กของชุมชนที่เรียนอยู่ ในโรงเรียนพื้นที่ของตำบลจะมาขอข้อมูลศักยภาพของตำบลที่สภาองค์กรชุมชนได้จัดทำไว้ โดยมีศูนย์ข้อมูลชุมชนท้องถิ่นอยู่ที่สภาองค์กรชุมชน(ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากพอช.จำนวน40,000บาทเมื่อประมาณปี2552ถ้าเป็นช่วงปิดเทอมหรือช่วงที่ประสบอุทกภัยก็จะมีเด็กมาช่วยกิจกรรมซึ่งเด็กๆ รู้สึกสนุกที่ ได้รวมตัวกันมาช่วยงาน แม้จะเป็นงานเล็กๆน้อยๆเช่นจัดเอกสารจัดของการทำอาหารกับครัวสายใยรักฯการแจกคูปองแจกถุงยังชีพการแจกอาหารเป็นต้นอย่างไรก็ดีมีความร่วมมือกับโรงเรียนในการเป็นหน่วยการเรียนรู้ ในด้านกลุ่มอาชีพคือกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์กลุ่มเพาะเห็ดซึ่งไปสอดคล้องกับหลักสูตรท้องถิ่นที่ โรงเรียนดำเนินการอยู่แล้วขณะเดียวกันโรงเรียนก็มีความสนใจให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากแหล่งของจริงและสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสามารถนำมาเป็นอาชีพต่อไปภายหน้าได้

Page 68: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

67

สุณี โพธิ์ผ่อง ได้กล่าวสรุปว่า การรวมกลุ่มของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนสิ่งสำคัญคือการมีเป้าหมายเดียวกันทำงานด้วยหัวใจเดียวกัน เราต้องรักในการทำหน้าที่ ทำกิจกรรมของเราเปรียบเสมือนวงดนตรีที่ทุกคนบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีที่ถนัดแต่หากคิดว่าตนเองเก่งแล้วไปบรรเลงคนเดียวหรือตั้งวงใหม่ดนตรีจะไม่ ไพเราะและใช้เวลานานมาก...อาจจะมากกว่าเวลาที่ เราจะมีเหลืออยู่ด้วยซ้ำไปองค์กรที่ช่วยกันสร้างมาก็จะล้มลงได้ คณะทำงานและเครือขา่ยของตำบลตลกุจงึทำงานแบบพีน่อ้งและดว้ยความสามคัคีเท่านั้น การงานที่สำเร็จลุล่วงทุกครั้งเพราะพลังของสามัคคีความศรัทธาเชื่อมั่นว่าจะก้าวข้ามปัญหาได้ เราทำงานและดูแลกันอย่างครอบครัวเดียวกันพื้นที่ขยายผลของสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุกคือทั้ง7ตำบลของอำเภอสรรพยาสิ่งที่คนอื่นเข้ามาเรียนรู้คือ แนวคิดการเกิดสภาองค์กรชุมชน การริเริ่มกลุ่มกระบวนการทำงานของสภาองค์กรชุมชนซึ่งต้องใช้พลังความร่วมมือในการถักทอสานงานสานใจการที่มีคนมาดูงานที่กลุ่มกลุ่มเองก็ได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกจากนั้นกลุ่มยังได้ไปดูงานกลุ่มอื่นๆ อย่างน้อยปีละครั้งด้วยเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงอุดรูรั่วของกลุ่ม

Page 69: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”
Page 70: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

69

ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าปัจจัยความสำเร็จของสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุกประกอบด้วย

คน -ผู้นำมีผู้นำที่มีใจอาสาทำงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ริเริ่มกลุ่มสามารถต่อเชื่อมกับกลุ่มองค์กรภายในและภายนอกได้ -ทีมงานการสร้างทีมกลุ่มย่อยในระดับหมู่บ้าน โดยเริ่มจาก5เสือพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นครูก.ด้วยแนวคิดเดียวกันคือการสร้างแกนนำรุ่นต่อรุ่น

กลไกการทำงานที่เชื่อมร้อยกับทุกภาคส่วนได้จัดคนในการเชือ่มตอ่กบัองคก์รภายนอกตามความถนดัและกจิกรรมที่ดำเนินการที่สอดรับองค์กรภายนอกด้วย เป็นการเปิดกว้างจึงเกิดกระบวนการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้เป็นการพัฒนาความรู้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

แผนงานที่เกิดจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริงด้วยการจัดเวทีทุกหมู่บ้านให้ทุกคนได้มีโอกาสวิเคราะห์ตนเองเสนอปัญหาและทางออกจากแผนแม่บทชุมชนหมู่บ้านเป็นแผนพัฒนาตำบล

Page 71: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

รายชื่อผู้ถ่ายทอดความรู้

1.นางสุณี โพธิ์ผ่อง ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก 2.นายดำรงค์ ดำรงพันธ์ ที่ปรึกษาสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก 3.นางสุนทรี เขียวเย็น เลขากองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลตลุก 4.นายณรงค์ ขำเดช เลขานุการสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก 5.นางเสาวณีย์ สรรค์ประสิทธิ์ เหรัญญิกสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก 6.นางสำเริง แจ่มทรัพย์ไพศาล สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก

Page 72: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

7.นายสมพงษ์ วงศ์ก่อ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก 8.นายธีระ เขียวเย็น ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลตลุก 9.นางสาวยุพาพร มีเทศ ผู้ช่วยเหรัญญิกสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก 10.นางสุนีย์ อินคง รองประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก 11.นางประนอม หิรัญจันทร์สุข ประธานสภาองค์กรชุมชน ตำบลโพนางดำตกอำเภอสรรพยา 12.นางสาวทัศนีย์ เลขะวัฒนา ผู้ช่วยเลขานุการสภาองค์กรชุมชน ตำบลโพนางดำตกอำเภอสรรพยา

Page 73: “5 เสือ...ฐานรากการผสานพลังชุมชน”

สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ที่

นางสุณี โพธิ์ผ่อง ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลตลุก หมู่ 3 ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท 17150 โทร 056-478121 และ 089-5656563