รายงานการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ...

7
รายงาน ฉบับที........................................ รายงานการสํารวจเบื้องต้น แหล่งซากดึกดําบรรพ์อุทยานแห่งชาติภูผายล ตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง)

Upload: lpkebook-laoponekaw

Post on 01-Feb-2016

234 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

 

TRANSCRIPT

Page 1: รายงานการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อ. โคกศรีสุพรรณ

รายงาน

ฉบับที่........................................

รายงานการสํารวจเบื้องต้น แหล่งซากดึกดําบรรพ์อุทยานแห่งชาติภูผายล

ตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร

ศูนยศ์ึกษาวิจยัและพพิิธภัณฑ์ไดโนเสาร ์(พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง)

Page 2: รายงานการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อ. โคกศรีสุพรรณ

รายงานเบื้องต้นการสํารวจซากดึกดาํบรรพ ์บริเวณแหลง่ตําบลเหล่าโพนค้อ อําเภอโคกศรีสพุรรณ จังหวัดสกลนคร

พื้นทีส่ํารวจ

ลักษณะทางธรณีวิทยา: พ้ืนที่บริเวณแหล่งสํารวจแสดงลักษณะการสลับช้ันของหินโคลนที่มี calcrete nodules หินทรายแป้งสลับกับช้ัน calcrete และหินทราย โดยส่วนล่างสุดเป็นหินโคลน สีน้ําตาลแกมแดง เนื้อปนปูน มี calcrete nodules ปนอยู่ในเนื้อหินจํานวนมาก รองรับหินทรายแป้ง สีน้ําตาลแกมแดง สีม่วงแกมแดง เนื้อปนปูน ดังรูปที่ 1 - 2 ซากดึกดําบรรพ์

ซากดึกดําบรรพ์ที่พบ: ประกอบด้วยเศษกระดูกของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ฟันไดโนเสาร์กินเนื้อ 2 ประเภท คือไดโนเสาร์กลุ่มไทรันโนซอริดส์ (รูปที่ 3 - 4) ไดโนเสาร์กลุ่มสไปโนซอริดส์ (รูปที่ 5 - 6) ฟันจระเข้ กระดองเต่า นอกจากนี้ยังได้เข้าตรวจสอบตัวอย่างที่เก็บรักษาไว้ที่สํานักงานองค์การบริหารส่วนตําบลเหล่าโพนค้อ พบกระดูกส่วนระยางค์ของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด คลาดว่าเป็นไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (รูปที่ 7 - 8)

อายุทางธรณีวิทยา: หมวดหินเสาขัว กลุ่มหินโคราช ยุคครีเทเชียสตอนต้น อายุประมาณ 130 ล้านปี ความสมบูรณ์และการปรากฏของซากดึกดําบรรพ์: ซากดึกดําบรรพ์ที่พบเกือบทั้งหมดในพื้นที่สํารวจมีลักษณะ

ไม่สมบูรณ์ การวางตัวของซากดึกดําบรรพ์ทั้งหมดเป็นไปอย่างกระจัดกระจาย (ภาพที่ 9)

(นางสาวกมลลกัษณ์ วงษ์โก) นักธรณวิีทยาปฏิบัติการ

Page 3: รายงานการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อ. โคกศรีสุพรรณ

รูปที่ 1 ลักษณะของชั้นหินในแหล่งสํารวจประกอบด้วยหินโคลน หินทรายแป้ง สลับช้ัน calcrete รูปที่ 2 ลักษณะหินทรายแป้ง สีน้ําตาลแกมแดง ที่พบในแหล่งสํารวจ

Page 4: รายงานการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อ. โคกศรีสุพรรณ

รูปที่ 3 ลักษณะตัวอย่างฟันที่พบในแหล่งสํารวจ คลาดเป็นฟันของไดโนเสาร์สยามโมไทรนันัส อิสานเอนซิส รูปที่ 4 ลักษณะของไดโนเสาร์กลุ่มไทรันโนซอริดส์ อาจอยู่ในกลุ่มสยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส

Page 5: รายงานการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อ. โคกศรีสุพรรณ

รูปที่ 5 ลกัษณะฟันของไดโนเสาร์กลุ่มสไปโนซอริด คลาดว่าเป็นไดโนเสาร์สยามโมซอรัส สุธีธรน ิที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย ปลายแหลม มีแนวร่อง รูปที่ 6 ลักษณะของไดโนเสาร์กลุ่มสไปโนซอริดส์ อาจอยู่ในกลุ่มสยามโมซอรัส สุธีธรนิ

Page 6: รายงานการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อ. โคกศรีสุพรรณ

รูปที่ 7 ลักษณะกระดูกส่วนกระดูกไหปลาร้า (scapula) ของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด คลาดว่าน่าจะเป็นไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน เนื่องจากพบในชั้นหินหมวดหินเสาขัว รูปที่ 8 ลักษณะของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด คลาดว่าเป็นไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส สิรนิธรเน

Page 7: รายงานการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เหล่าโพนค้อ อ. โคกศรีสุพรรณ

รูปที่ 9 ตัวอย่างซากดึกดําบรรพ์ในบริเวณดอยอ่างกุ้งและผาเจื่อน อุทยานแห่งชาติภูผายล อําเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร พบการกระจายตัวตามพ้ืนผิวไม่หนาแน่น