บทความพิเศษ

2
º·¤ÇÒÁ¾ÔàÈɹ‹ÒÃÙŒ

Upload: nanthiporn-chuadai

Post on 11-Mar-2016

215 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

 

TRANSCRIPT

Page 1: บทความพิเศษ

º·¤ÇÒÁ¾ÔàÈɹ‹ÒÃÙŒ

Page 2: บทความพิเศษ

การบริหารหนี้สาธารณะของญี่ปุ่น

ณัฐพล สุภาดุลย ์ส านักนโยบายการคลัง ส านักงานเศรษฐกิจการคลัง

ในปัจจุบันจะพบว่าสถานการณ์หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นมีสัดส่วนต่อ GDP สูงถึงร้อยละ 2061 ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก และสูงกว่าระดับหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรปที่มีปัญหาการคลัง (Portugal, Italy, Ireland, Greece: PIIGS) อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นยังไม่ประสบวิกฤตการณ์ทางการคลังเหมือนกับประเทศ PIIGS ดังนั้นระบบและวิธีการบริหารหนี้สาธารณะญี่ปุ่นจึงเป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจ โดยบทความนี้จะมีเนื้อหาหลัก 2 ส่วน คือ ความรู้ทั่วไปของพันธบัตรญี่ปุ่น และส่วนที่สอง คือ แนวทางการไถ่ถอนหนี้สาธารณะ

พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ General Bonds และ The Fiscal Investment and Loan Program Bonds (FILP Bonds) โดย General Bonds เป็นพันธบัตร ที่นับรวมเป็นหนี้สาธารณะเท่านั้น ส าหรับ FILP มีหน้าที่หลักเป็นแหล่งเงินแก่โครงการสาธารณะประโยชน์ ซึ่งการไถ่ถอนพันธบัตรประเภทนี้จะมาจากการชดใช้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม จึงไม่ถูกจ ากัดความว่าเป็นหนี้สาธารณะของภาครัฐ ส่วน General Bonds สามารถแบ่งออกเป็นพันธบัตรย่อยได้ 3 ประเภท คือ (1) New Financial Resource: พันธบัตรดังกล่าว ประกอบด้วย Construction Bonds (เพ่ือบริหารรายจ่ายลงทุน) และ Special Deficit-financing Bonds (เพ่ือบริหารรายจ่ายประจ า) (2) Reconstruction Bonds: เพ่ือบริหารรายจ่ายฟ้ืนฟูประเทศจากภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิปี 2554 และ (3) Refunding Bonds: เพ่ือใช้คืนในส่วนที่พันธบัตรรัฐบาลทั้งหลายครบก าหนด

การไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลทั้งหมดของ General Bond จะท าผ่านกองทุนเพ่ือการบริหารพันธบัตรรัฐบาล (Government Debt Consolidation Fund : GDCF) โดยมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเรื่องก าหนดระยะเวลาในการไถ่ถอนพันธบัตรที่จะต้องไถ่ถอนให้เสร็จสิ้นภายใน 60 ปี และแหล่งเงินที่ใช้ในการไถ่ถอน จะมาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นเงินจากกองทุน GDCF และส่วนที่สองเป็นเงินจากการออก Refunding Bonds ซึ่งมีกฎหมายก าหนดให้รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องน าส่งเงินเข้ากองทุน GDCF ร้อยละ 1.6 ของมูลค่าพันธบัตรคงเหลือตอนต้นปีงบประมาณ หรือประมาณ 1/60 ยกเว้นในส่วนของ Reconstruction Bonds รัฐบาลญี่ปุ่นได้ก าหนดระยะเวลาในการช าระคืนทั้งจ านวนภายในปีงปบระมาณ 2580 โดยมีแหล่งเงินเพ่ิมจากการขึ้นอัตราภาษีเงินได้ (Special Tax for Reconstruction)

จากแนวทางข้างต้น สรุปได้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีกลไกการไถ่ถอนพันธบัตรที่ชัดเจน โปร่งใส และมีวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นแบบอย่างแนวทางที่ดีส าหรับการบริหารหนี้สาธารณะของ ประเทศไทย เช่น การจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจนในการช าระคืนพันธบัตร กรอบระยะเวลาที่ต้องไถ่ถอนพันธบัตร อัตราตายตัวในการช าระคืนต้นเงินกู้หรือไถ่ถอนพันธบัตร เป็นต้น โดยรูปแบบหนึ่งของการจัดสรรงบประมาณที่เป็นรูปธรรมในการไถ่ถอนพันธบัตร เช่น การจัดตั้งกองทุนเพ่ือการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น โดยแนวทางส าคัญที่ประเทศไทยอาจน ามาปรับใช้ในการปฏิบัติการเบื้องต้นอาจก าหนดเป็นกรอบ การด าเนินการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศ โดยก าหนดระยะเวลาและวิธีการช าระหนี้ที่ชัดเจนลงในกฎหมายเพื่อสร้างวินัยการคลังในการบริหารหนี้สาธารณะและสร้างความยั่งยืนทางการคลังของประเทศต่อไป 1ข้อมลูมาจาก Central Intelligence Agency (CIA): 2554

12/2555