การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ...

22

Upload: nontalee-verachai

Post on 19-Mar-2016

229 views

Category:

Documents


5 download

DESCRIPTION

เพื่อรอยยิ้มผู้สูงวัย ร่วมใส่ใจสุขภาพช่องปาก

TRANSCRIPT

Page 1: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5
Page 2: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5
Page 3: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

ที่ปรึกษา

ดร.นายแพทยส์มยศดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย

นายแพทยส์มศักดิ์ภัทรกุลวณิชย์ รองอธิบดีกรมอนามัย

ทันตแพทยส์ุธาเจียรมณีโชติชัย ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข

จัดทำโดย

สำนักทันตสาธารณสุขกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข

กองบรรณาธิการ

ทพญ.วรางคนา เวชวิธี

ทพญ.สุปราณี ดาโลดม

ทพญ.ชวัลลักษณ์ แก้วมงคล

ทพญ.นนทลี วีรชัย

นายเสนห่์ ครุฑษา

พิมพ์ครั้งที่๓

กันยายน๒๕๕๕จำนวน๑๐๐,๐๐๐เลม่

พิมพ์ที่

สำนักงานกิจการโรงพิมพอ์งคก์ารสงเคราะหท์หารผา่นศึก

Page 4: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

. . . คำนำ ...

การมีอนามัยช่องปากที่ดี มีฟันใช้เคี้ยวอาหาร

อย่างเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากจะทำให้สุขภาพ

ช่องปากดี ไม่มีโรค ลดการสูญเสียฟันแล้ว ยังส่งผลต่อ

สุขภาพและคุณภาพชีวิตทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

หนังสือชุดการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุเล่มที่๕“ร่วมคืนรอยยิ้มผู้สูงวัยร่วมใส่ใจสุขภาพ

ช่องปาก” จึงได้จัดทำขึ้นโดยรวบรวมเนื้อหาสาระที่

เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง จาก

หนังสือ“ร่วมคืนรอยยิ้มผู้สูงวัยร่วมใส่ใจสุขภาพช่องปาก”

ที่จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๙ และเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

จึงได้เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของการดูแลสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องการผู้ดูแล ซึ่งกรมอนามัย

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ รวมทั้งนักวิชาการ

และบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพ

ผู้สูงอายุต่อไป

(ดร.นายแพทย์สมยศดีรัศมี)

อธิบดีกรมอนามัย

สิงหาคม๒๕๕๕

Page 5: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5
Page 6: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

1

สำหรับผู้สูงวัย

✏ ฟันเป็นอวัยวะสำคัญ ที่ต้องใช้ในการกิน

อาหาราทั้งการเคี้ยวกัดกลืนและการพูด

✏ การสูญเสียฟัน การเกิดรอยโรค และความ

เจ็บปวดในช่องปาก จัดเป็นปัญหาสำคัญเรื่องหนึ่งในผู้สูงวัย

ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และ

คุณภาพชีวิต

✏ การรักษารอยโรค หรือการใส่ฟันเทียม

แก่ผู้สูงวัยมักจะยุ่งยากซับซ้อนกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ เนื่องจาก

สุขภาพร่างกาย และสภาวะโรคในช่องปากที่เรื้อรังมานาน

ทำให้ใช้เวลานาน หลายครั้ง หลายขั้นตอน ที่ต้องการ

ความร่วมมือจากผู้สูงวัยที่มารับบริการ จึงไม่สะดวกทั้งตัว

ผู้สูงวัยและผู้ดูแล

✏ ดังนั้นการดูแลสุขภาพด้วยตนเองหรือผู้ดูแล

ที่บ้าน และการป้องกันโรคในช่องปากเพื่อลดโรค ลดการ

สูญเสียฟันย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้สูงวัย

Page 7: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

2

การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ

สามารถปฏิบัติได้ ด้วยตัวผู้สูงวัยเอง หรือ

โดยผู้ดูแลในกรณีที่ผู้สูงวัยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สำหรับ

ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้

เรื่องที่ต้องการการดูแลมี4เรื่องคือ

1. การทำความสะอาดฟันแท้และฟันเทียม

(ฟันปลอม)

2. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง

3. การเลือกรับประทานอาหาร

4. การรับบริการตรวจป้องกันและรักษาจาก

ทันตบุคลากร

1. การทำความสะอาดฟันแท้และฟันเทียม(ฟันปลอม) กรณีที่มีฟันแท้

ควรทำความสะอาด ด้วยการ

แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า

และก่อนนอนให้ทั่ วถึงทุกซี่ ทุกด้าน

ให้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณคอฟัน

ด้วยแปรงสีฟันขนาดเล็กเหมาะสมกับ

ขนาดช่องปาก ขนแปรงนิ่ม ซึ่งอาจใช้

แปรงสีฟันสำหรับ เด็ก นำมาดัดแปลง

Page 8: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

3

ด้ามแปรง เพื่อให้จับได้ถนัดมือขึ้นร่วมกับการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ที่มีจำหน่ายทั่วไป

✏ สำหรับด้านหลังของฟันซี่สุดท้าย หรือฟันที่เหลือซี่เดี่ยว โดยไม่มีฟันข้างเคียง การใช้แปรงกระจุกเดียวจะทำความสะอาดได้ง่ายกว่าและดีกว่า

Page 9: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

4

✏ บริเวณระหว่างซี่ฟันหรือซอกฟัน ขนแปรงสีฟันอาจเข้าไม่ถึงควรใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดเพิ่มเติม

✏ ถา้มชีอ่งระหวา่งซีฟ่นัทีก่วา้ง ควรใชแ้ปรงซอกฟนั หรือไม้จิ้มฟันช่วยกำจัดเศษอาหารด้วย ซึ่งถ้าเลือกใช้ไม้จิ้มฟันก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังโดย • ไม้จิ้มฟันที่ใช้ต้องมีปลายเรียว บาง มนกลมไม่มีเสี้ยน • ใช้เพื่อเขี่ยเศษอาหาร ออกจากบริเวณซอกฟันเพิ่มเติมจากการแปรงฟันปกติ • ถ้าใช้ทำความสะอาดคอฟัน ควรทำให้ปลายแตกเป็นพู่ก่อน แล้วค่อยๆ ครูดไประหว่างคอฟันและขอบเหงือก

Page 10: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

5

กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้

✏ ถอดฟันเทียมออกทุกครั้งก่อนทำความสะอาดฟันแท้ตามปกติ ✏ หลังอาหารทุกมื้อ ให้ถอดฟันเทียมออกมาทำความสะอาด ✏ ก่อนนอนทุกครั้ง ทั้งนอนกลางวัน และกลางคืน ให้ถอดฟันเทียมออกมาทำความสะอาด และแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ ✏ การทำความสะอาดฟันเทียมชนิดถอดได้ สามารถทำได้โดยใช้แปรงสีฟันขนนิ่ม ชุบน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจานแปรงให้ทั่วแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือใช้แปรงสีฟันขนนิ่ม และยาสีฟันชนิดครีมแปรงให้ทั่ว แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ไม่ใช้ยาสีฟันที่เป็นผงเพราะจะทำให้ฟันเทียมที่เป็นพลาสติกสึกง่าย ✏ กรณีที่ฟันเทียมนั้นใช้มานาน ติดสีน้ำตาลดำ มีคราบบุหรี่หรือคราบอาหารที่ล้าง และแปรงด้วยน้ำสบู่ ไม่ออก ให้ใช้เม็ดฟู่สำหรับแช่ทำความสะอาดฟันเทียมช่วย ซึ่งมีจำหน่ายในคลินิกทันตกรรมทั่วไป

Page 11: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

6

2. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่างทำให้เนื้อเยื่อในช่องปาก เช่นกระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น เกิดอาการอักเสบ แสบ ร้อน ระคายเคืองอาจกลายเป็นสาเหตุของรอยโรคในช่องปากได้ตั้งแต่เชื้อรา ไปจนถึงเป็นมะเร็งในช่องปากดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเช่น ✏ การสูบบุหรี่ยาเส้นยานัตถุ์ นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เนื้อเยื่อ เช่นการติดเชื้อราไปจนถึงเป็นมะเร็งในช่องปากแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์สูญเสียกระดูกที่หุ้มรอบตัวฟัน อาจทำให้ฟันโยก โดยไม่มีอาการบวมแดงที่เหงือก และต้องสูญเสียฟันในที่สุด นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้ เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดอุดตันและมะเร็งปอดอีกด้วย ✏ การเคี้ยวหมากหรือเคี้ยวหมากผสมยาเส้น ✏ การดื่มเครื่องดื่ม หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมบ่อยๆ ✏ การละเลยต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเช่น • ปล่อยให้มีรากฟัน หรือฟันผุที่ต้องถอนอยู่ใน

ช่องปากนานๆ • ปล่อยให้มีวัสดุอุดฟันแตกบิ่น • มีฟันเทียมที่ใช้มานานหลวม ขยับไปมา เวลา

เคี้ยว อาหาร หรือ ฟันเทียมแตก หัก ชำรุดคม บาดแก้ม และลิ้นหรือฟันเทียมที่ไม่พอดีกดบริเวณข้างแก้มจนเจ็บเป็นแผล

• มีแผลในช่องปากเรื้อรังจากการกัดข้างแก้มกัดลิ้น

Page 12: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

7

3. การเลือกรับประทานอาหาร

✏ ควรรับประทานอาหารให้เป็นมื้อ งดอาหารว่างและหลีกเลี่ยงการรับประทานหลังการแปรงฟันและ ก่อนนอน ✏ ถ้างดอาหารว่างไม่ได้ ควรเลือกรับประทาน อาหารพวกโปรตีน ถั่วต้ม หรือผลไม้สด แทนอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล โดยเฉพาะที่หวาน หรือติดฟันง่าย แปรงออกจากฟันได้ยาก ✏ หลีกเลี่ยงอาหารที่เหนียวและแข็ง ที่อาจทำให้ฟันและวัสดุอุดฟันบิ่นหรือแตกหัก ✏ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ บุหรี่ ยาเส้น ยานัตถุ์หมากเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

Page 13: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

8

4. การรับบริการตรวจ ป้องกันและรักษาโรค จากทันตบุคลากร

ควรตรวจสุขภาพช่องปากทุก6 เดือน เพื่อการป้องกันและรักษาโรคในช่องปากในระยะแรกเริ่ม ซึ่งบริการที่ควรได้รับได้แก่ ✏ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง และเหมาะสม ✏ การทาฟลูออไรด์แบบเข้มข้น บริเวณคอฟันเช่นฟลูออไรด์เจลวานิชเพื่อป้องกันรากฟันผุ ✏ การอุดฟันในกรณีฟันผุ ด้วยวัสดุชนิดกลาสไอโอโนเมอร์ซึ่งปลดปล่อยฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุซ้ำ ✏ การขูดหินน้ำลายและทำความสะอาดฟันเพื่อป้องกันการเกิดเหงือกอักเสบโรคปริทันต์หรือรำมะนาด

Page 14: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

9

ข้อแนะนำในการดูแลอนามัยช่องปากสำหรับ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรยึดหลักการให้ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดก่อน เช่น ถ้าผู้สูงอายุจับแปรงเองได้ก็ให้จับแปรงเอง และช่วยตรวจดูว่าสะอาดหรือไม่ ถ้าจับแปรงเองไม่ได้ จึงเข้าไปช่วย พยายามให้มีกิจกรรมช่วยเหลือตนเองแบบง่ายๆถ้าทำไม่ได้จริงๆค่อยทำให้

1.1อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ แปรงสีฟัน1-2ด้าม

ผ้าขนหนูชามรองรูปไตและถุงมือ

1.2ตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการแปรงฟัน

ให้ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุนอนตะแคงพร้อมมีอ่างหรือชามรูปไตรอง ถ้าวางไม่ได้ให้ใช้ผ้าขนหนูรอซับน้ำที่ตำแหน่งนั้น ผู้ช่วยเหลือหรือผู้ดูแลอาจจะอยู่ทางด้านหลัง หรืออยู่ ด้านข้างหรือให้ผู้ป่วยหนุนตัก

1.3วิธีการ

• ใช้แปรงสีฟัน 2 อัน อันหนึ่งใช้สำหรับแปรงฟัน อีกอันหนึ่งใช้ด้ามแปรงช่วยรั้งช่องปาก โดยอาจปรับรูปร่างทำให้ด้ามแปรงงอเป็นมุมเหมือนกระจกส่องปาก

การดูแลอนามัยช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

1. การแปรงฟันผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

Page 15: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

10

นอกจากนี้ อาจใช้ไม้กดลิ้นพันผ้าก๊อซหนาๆ ให้ผู้สูงอายุกัดเพื่อให้มีช่องว่างในช่องปากที่สามารถเข้าไปทำความสะอาดฟันได้ • แปรงสีฟันไฟฟ้า ปัจจุบันใช้ได้ดี สะดวกกับผู้ดูแลที่จะแปรงให้ มีรายงานว่า หัวแปรงแบบกลมๆ หมุน มีประสิทธิภาพดทีี่สุด • ในห้องดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน (ICU) หรือ หอผู้ป่วย นิยมใช้ฟองน้ำที่เรียกว่า oral swab เพื่อเอาเศษอาหารก้อนใหญ่ออก ตามด้วยการแปรงฟัน หรือใช้ผ้าก๊อซ ถูซ้ำเพราะผู้ที่ดูแลตัวเองไม่ได้มักมีเศษอาหารติดข้างกระพุ้งแก้มOralSwabมี2แบบคือแบบที่ไม่ชุบอะไรเลยถ้าเอามาชุบน้ำยาบ้วนปาก จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความสะอาด และแบบที่ชุบ lemon glycerin ห้ามใช้ใน ผู้สูงอายุเพราะจะทำให้เนื้อเยื่อแห้ง

1.4ลำดับขั้นตอน วิธีการแปรงฟัน ควรทำเป็น

ระบบโดย

1) ใช้ Oral Swab หรือผ้าก็อซ นำเศษ

อาหารก้อนใหญ่ออกก่อน

Page 16: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

11

2) แปรงด้านนอก

หรือด้านกระพุ้งแก้ม โดยให้คนไข้

กัดฟันไว้ แล้วแปรงด้านนอกให้

ครบทุกซี่

3) แปรงด้านใน ซึ่งมักจะมีปัญหาว่าผู้สูงอายุไม่อ้าปาก ให้เอามือลูบแก้มทั้ง 2 ข้าง โดยใช้นิ้วลูบ ริมฝีปากให้รู้สึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แล้วค่อยๆ เอานิ้ว ล้วงลงไปให้อ้าปากเริ่มจากแปรงฟันหน้าบนโดยวางแปรงในแนวตั้งแปรงฟันหลังบนแล้วแปรงฟันหน้าล่างฟันหลัง

ล่างเป็นตำแหน่งสุดท้าย

ใช้ผ้าพันตะเกียบเพื่อช่วยผู้สูงอายุอ้าปาก

ใช้ด้ามแปรงเพื่อช่วยผู้สูงอายุอ้าปาก

อ่างรองน้ำบ้วนปาก

ฟองน้ำ,ผ้าก๊อซ,ผ้าสาลูเช็ดเหงือก

Page 17: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

12

4) คอยซับน้ำลายและเศษอาหารตลอดเวลา

กรณีที่อยู่ ในโรงพยาบาลก็ ใช้ที่ดูดน้ำลายในหอผู้ป่วย

ซึ่งอนาคตที่โรงพยาบาลจะมีผู้สูงอายุกลุ่มที่ติดเตียงมากขึ้น

ถ้าเป็นที่บ้านก็ใช้ผ้าซับ กรณีที่ไม่มีที่ดูดน้ำลาย แต่สำหรับ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาอื่นๆ เช่น กลืนลำบาก (dysphagia)

ต้องมีที่ดูดน้ำลายที่บ้าน เพราะน้ำที่จะใช้บ้วนปาก ต้องใส่

กระบอกฉีดยา (Syringe) ขนาด 10 ซีซี ค่อยๆ ฉีดน้ำ

ทีละน้อยระหว่างแปรง และต้องใช้ที่ดูดน้ำลายตลอดเวลา

เพื่อไม่ให้สำลัก

สำหรับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ให้

ยืดหยุ่น อาจจะไม่ยืดหยุ่นต้องแปรงเช้าและเย็นเสมอไป

เพราะบางทีตอนเช้ามีกิจกรรมมาก เช่น เช็ดตัว กินข้าว

ย้ายจากเตียงมานั่ง เปลี่ยนเวลามาแปรงฟันเวลาบ่ายก็ได้

แต่อย่างน้อยที่สุดผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ขอให้

ผู้ดูแลและแปรงฟันให้วันละครั้ ง โดยใช้ยาสีฟันผสม

ฟลูออไรด์และผู้ดูแลอาจต้องช่วยกันมากกว่าหนึ่งคน

1.5ข้อควรระวังสำหรับผู้ดูแล

• ใช้แปรงจับให้ถนัดทั้ง2ด้าม

• ใส่ถุงมือเสมอ และอย่าเอานิ้วไปอยู่

ระหว่างฟัน

12

Page 18: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

13

• ใช้แปรงขนนุ่มหัวแปรงเล็ก

• กรณีใส่ฟันเทียม ควรถอดออกก่อน

เสมอ เพื่อทำความสะอาดทั้งฟันเทียมและในช่องปากของ

ผู้สูงอายุทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร

• เวลาแปรงให้ผู้ป่วยชูมือขึ้น ผู้ดูแลกอด

จากด้านหลังหรือให้ผู้สูงอายุนอนตะแคงใช้เทคนิคลูบหน้า

ลูบริมฝีปากให้อ้าปาก

• ที่สำคัญต้องมีคนอื่นเข้ามาช่วย และ

ต้องสื่อสารกับญาติให้ดี

ควรดูแลริมฝีปาก โดยเฉพาะมุมปากไม่ให้แห้ง

ป้องกันการมีรอยแตกเป็นแผล ดูแลภายในช่องให้ชุ่มชื่น

ถ้าช่องปากแห้งควรให้จิบน้ำอุ่น

สามารถช่วยทำความสะอาดช่องปากได้ โดยใช้

ไม้กดลิ้นเปิดช่องปากผู้สูงอายุ ใช้ปากคีบ คีบผ้าก๊อซ สำลี

ที่ชุบน้ำหมาดๆ เช็ดฟัน ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ให้ทั่ว

หรือใช้นิ้วพันผ้านุ่มชุบน้ำหมาดเช็ดในปากให้ทั่วก็ได้

2. การดูแลริมฝีปากผู้สูงอายุ

3. กรณีผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และไม่รู้สึกตัว

Page 19: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

14

นอกจากนี้ผู้ดูแลควรจะสังเกตความผิดปกติอื่นๆ

ในช่องปากผู้สูงอายุขณะทำความสะอาดด้วยโดยดูว่า

• ฟันปลอมหรือฟันเทียมของผู้สูงอายุที่ใส่อยู่

หลวมหรือเสื่อมสภาพแตกหักไปบางส่วน บาดเนื้อเยื่อใน

ช่องปากเป็นแผลหรือไม่ มีการอักเสบบริ เวณใต้ฐาน

ฟันปลอมหรือไม่

• ตรวจดูในปากว่ามีรอยโรคลักษณะอื่นๆ เช่น

ฝ้าขาว แผล เนื้องอกเป็นก้อนที่ผิดปกติ เชื้อราหรือไม่

ถ้าสงสัยให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์หรือ

ทันตบุคลากรเพื่อทำการรักษาต่อไป

Page 20: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

15

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวง

สาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

เล่มที่ 3 : การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สู งอายุ .

มกราคม2554

2. ภาพจากชมรมผู้สูงอายุ บ้านพัวรัง ต.บ้านดอนเจดีย์

อ.พนมทวนจ.กาญจนบุรี

http://www.hkpr.on.ca/uploadedFiles/OralHealth-WEB.pdf

. . . อ้างอิง ...

Page 21: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5

16

เหงือก และฟันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต สามารถอยู่กับเราได้ตลอดชีวิตถ้าดูแลรักษาถูกต้องสม่ำเสมอ ➲ ผู้สูงวัยบางราย ประสบปัญหา ปวดฟันเสียวฟันฟันโยกบวมทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เกิดความเจ็บปวด ความเครียด นอนไ่ม่หลับบั่นทอนสุขภาพ ➲ ผู้สูงวัยบางรายสูญเสียฟันแท้ไปแล้วต้องใส่ฟันเทียมเพื่อช่วยในการบดเคี้ยวการพูดและความสวยงามแต่ฟันเทียมไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่าฟันแท้ สภาวะช่องปากผู้สูงอายุที่พบได้ มีตั้งแต่มีฟันครบในปาก มีโรคในช่องปากไปจนถึงสูญเสียฟันทั้งปากจากสภาพที่พบจริงๆ แต่ไม่ว่าสภาพช่องปากจะเป็นอย่างไรการดูแลสุขภาพช่องปาก ยังเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคนเพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดการลุกลาม ความเจ็บปวดจากรอยโรค และการสูญเสียฟันที่อาจเกิดขึ้นใหม่ได้แล้วยังสร้างความรู้สึกสะอาดสบายมั่นใจให้กับตัวผู้สูงอายุและคนรอบข้างด้วย

. . . บทส่งท้าย ...

Page 22: การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่ม 5