มุมวิจัย รูปแบบการประเมิน ... · 2016. 3. 24. ·...

3
จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ ฉบับที่ 1 ปี 2559 จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ ฉบับที่ 1 ปี 2559 School of health science’s e-pamphlet School of health science’s e-pamphlet รูปแบบการประเมินโครงการ ตอนที่ 1 เมื่อปีท่แล้วได้เขียนถึงการประเมินโครงการ ซึ่งในปัจจุบันกำาลังเป็นที่นิยมทำาทั้งในการประเมินโครงการที่เป็นโครงการปกติ ตลอดจน การประเมินโครงการในลักษณะของการวิจัยประเมินโครงการ อย่างไรก็ตามในการประเมินโครงการก็จะมีรูปแบบของการประเมินซึ่งผู้ประเมินควร ทำาความเข้าใจ เช่นเดียวกับที่นักวิจัยต้องทำาความเข้าใจรูปแบบการวิจัย ดังนั้นจุลสารฉบับนี้จึงจะเขียนถึงประโยชน์และประเภทของรูปแบบการ ประเมินและปัญหาที่พบในการใช้รูปแบบการประเมิน ตลอดจนยกตัวอย่างรูปแบบการประเมินที่นิยมใช้ รูปแบบการประเมินโครงการจะเป็นแนวทางในการประเมินโครงการให้เป็นรูปธรรม ซึ่งรูปแบบการประเมินแต่ละรูปแบบจะมีแนวคิด ทฤษฎีในการประเมินโครงการบางส่วนทีแตกต่างกันและบางส่วนที่เหมือนกัน ดังนั้นนักประเมินโครงการถึงแม้ว่าจะทำาการประเมิน โครงการโดยใช้รูปแบบหรือไม่ได้ใช้รูปแบบในการประเมินโครงการก็ตาม จำาเป็นต้องทำาความ เข้าใจถึงรูปแบบในการประเมินโครงการ จะทำาให้มีการเชื่อมโยงจากแนวคิดเชิงทฤษฎีการ ประเมินสู่แผนการปฏิบัติการในการประเมินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งนี้รูปแบบ หรือ แบบจำาลอง (Model) ในการประเมินโครงการ หมายถึง กรอบแนวคิดเค้าโครงหรือร่างในการ ประเมินโครงการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ รายการ ที่ควรประเมิน กระบวนการของการประเมิน รูปแบบของการประเมินโครงการในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการประเมินทางการศึกษา แต่ได้นำามาใช้เป็นเครื่อง มือของศาสตร์การจัดการโครงการ แต่ในการใช้รูปแบบในการประเมินในบางครั้งอาจพบ ปัญหา คือรูปแบบที่ใช้ไม่ครอบคลุมทุกประเด็นที่ควรประเมิน การใช้แบบจำาลองใช้เพียงบาง ส่วนของแบบจำาลอง ขาดการอธิบาย เลือกแบบจำาลองมาใช้โดยไม่เหมาะสมกับโครงการทีต้องการประเมิน และบางครั้งเมื่อนำามาใช้แล้วผู้ประเมินไม่สามารถอธิบายว่าทำาไมถึงเลือกใช้ รูปแบบในการประเมินโครงการรูปแบบดังกล่าว ผู้ประเมินมักเลือกใช้รูปแบบการประเมินที่มี ตัวอย่างให้ศึกษาหรือให้ดูเป็นตัวอย่างมาก ๆ หรือ ผู้ประเมินไม่เข้าใจรายละเอียดของรูปแบบ ในการประเมินอย่างแท้จริงทำาให้สร้างเครื่องมือ สร้างตัวชี้วัดในการประเมินได้ไม่ ครอบคลุมหรือไม่ตรงประเด็น โดยประโยชน์ของรูปแบบการประเมิน มีดังต่อไป นี้ (สมคิด พรมจุ้ย, 2550, หน้า 49-50) 1. ช่วยให้เห็น แนวทาง หรือ กรอบความคิดในการประเมิน การเรียนรูเรื่องรูปแบบการประเมินที่หลากหลาย จะทำาให้เกิดประสบการณ์ในการตัดสินใจ เลือกใช้รูปแบบการประเมินได้อย่างเหมาะสมกับสิ่งที่มุ่งประเมิน 2. ช่วยให้กำาหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินให้มีความคมชัด และ ครอบคลุมเนื่องจากรูปแบบการประเมินแต่ละรูปแบบมีกรอบความคิดเชิงเหตุผล ดังนั้น การเลือกใช้ หรือประยุกต์ใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็มีแนวโน้มที่จะกำาหนด วัตถุประสงค์ของการประเมินให้สอดคล้องกับรูปแบบนั้นไดรองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จันทร์คง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิ ราช มุมวิจัย

Upload: others

Post on 15-Nov-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: มุมวิจัย รูปแบบการประเมิน ... · 2016. 3. 24. · สคริฟเว่น (Michael Scriven) และโพรวัส (Malcolm

จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ฉบับที่ 1 ปี 2559

จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ฉบับที่ 1 ปี 2559

School of health science’s e-pamphletSchool of health science’s e-pamphlet

รูปแบบการประเมินโครงการ ตอนที่ 1 เมื่อปีที่แล้วได้เขียนถึงการประเมินโครงการ ซึ่งในปัจจุบันกำาลังเป็นที่นิยมทำาทั้งในการประเมินโครงการที่เป็นโครงการปกติ ตลอดจนการประเมินโครงการในลักษณะของการวิจัยประเมินโครงการอย่างไรก็ตามในการประเมินโครงการก็จะมีรูปแบบของการประเมินซึ่งผู้ประเมินควรทำาความเข้าใจ เช่นเดียวกับที่นักวิจัยต้องทำาความเข้าใจรูปแบบการวิจัย ดังนั้นจุลสารฉบับนี้จึงจะเขียนถึงประโยชน์และประเภทของรูปแบบการประเมินและปัญหาที่พบในการใช้รูปแบบการประเมินตลอดจนยกตัวอย่างรูปแบบการประเมินที่นิยมใช้

รูปแบบการประเมินโครงการจะเป็นแนวทางในการประเมินโครงการให้เป็นรูปธรรมซึ่งรูปแบบการประเมินแต่ละรูปแบบจะมีแนวคิด ทฤษฎีในการประเมินโครงการบางส่วนที่แตกต่างกันและบางส่วนที่เหมือนกัน ดังนั้นนักประเมินโครงการถึงแม้ว่าจะทำาการประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบหรือไม่ได้ใช้รูปแบบในการประเมินโครงการก็ตาม จำาเป็นต้องทำาความเข้าใจถึงรูปแบบในการประเมินโครงการ จะทำาให้มีการเชื่อมโยงจากแนวคิดเชิงทฤษฎีการประเมินสู่แผนการปฏิบัติการในการประเมินได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งนี้รูปแบบ หรือแบบจำาลอง (Model) ในการประเมินโครงการหมายถึง กรอบแนวคิดเค้าโครงหรือร่างในการประเมินโครงการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับการประเมินโครงการ รายการที่ควรประเมิน กระบวนการของการประเมิน รูปแบบของการประเมินโครงการในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นรูปแบบที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการประเมินทางการศึกษา แต่ได้นำามาใช้เป็นเครื่องมือของศาสตร์การจัดการโครงการ แต่ในการใช้รูปแบบในการประเมินในบางครั้งอาจพบปัญหา คือรูปแบบที่ใช้ไม่ครอบคลุมทุกประเด็นที่ควรประเมิน การใช้แบบจำาลองใช้เพียงบางส่วนของแบบจำาลอง ขาดการอธิบาย เลือกแบบจำาลองมาใช้โดยไม่เหมาะสมกับโครงการที่ต้องการประเมิน และบางครั้งเมื่อนำามาใช้แล้วผู้ประเมินไม่สามารถอธิบายว่าทำาไมถึงเลือกใช้รูปแบบในการประเมินโครงการรูปแบบดังกล่าว ผู้ประเมินมักเลือกใช้รูปแบบการประเมินที่มีตัวอย่างให้ศึกษาหรือให้ดูเป็นตัวอย่างมาก ๆ หรือ ผู้ประเมินไม่เข้าใจรายละเอียดของรูปแบบ

ในการประเมินอย่างแท้จริงทำาให้สร้างเครื่องมือ สร้างตัวชี้วัดในการประเมินได้ไม่ครอบคลุมหรือไม่ตรงประเด็น โดยประโยชน์ของรูปแบบการประเมิน มีดังต่อไปนี้(สมคิดพรมจุ้ย,2550,หน้า49-50)

1. ช่วยให้เห็นแนวทางหรือกรอบความคิดในการประเมินการเรียนรู้เรื่องรูปแบบการประเมินที่หลากหลาย จะทำาให้เกิดประสบการณ์ในการตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบการประเมินได้อย่างเหมาะสมกับสิ่งที่มุ่งประเมิน

2. ช่วยให้กำาหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินให้มีความคมชัดและครอบคลุมเนื่องจากรูปแบบการประเมินแต่ละรูปแบบมีกรอบความคิดเชิงเหตุผลดังนั้นการเลือกใช้หรือประยุกต์ใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็มีแนวโน้มที่จะกำาหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินให้สอดคล้องกับรูปแบบนั้นได้

รองศาสตราจารย์ดร.วรางคณาจันทร์คง

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มุมวิจัย

Page 2: มุมวิจัย รูปแบบการประเมิน ... · 2016. 3. 24. · สคริฟเว่น (Michael Scriven) และโพรวัส (Malcolm

จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ฉบับที่ 1 ปี 2559

จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ฉบับที่ 1 ปี 2559

School of health science’s e-pamphletSchool of health science’s e-pamphlet

3. ช่วยกำาหนดตัวแปรหรือประเด็นสำาคัญในการประเมินได้อย่างชัดเจน

4.ทำาให้ผลงานมีความเป็นระบบครอบคลุมเป็นที่ยอมรับสื่อความหมายได้ชัดเจน

ประเภทของรูปแบบการประเมิน

ดังที่กล่าวมาแล้วว่ารูปแบบการประเมินเป็นกรอบหรือแนวความคิดที่สำาคัญที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการหรือรายการประเมินซึ่งมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อตกลงเบื้องต้นซ่ึงมีนักวิชาการทางด้านการประเมินได้เสนอกรอบแนวคิดให้นักประเมินได้เลือกใช้มีอยู่หลายรูปแบบ

รูปแบบการประเมินผลโครงการออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ3กลุ่มคือ

1.รูปแบบการประเมินที่เน้นจุดมุ่งหมาย(ObjectiveBasedModel)เป็นรูปแบบที่เน้นการตรวจสอบผลที่คาดหวังได้เกิดขึ้นหรือไม่หรือประเมินโดยตรวจสอบผลที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายเป็นหลักโดยดูว่าผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานบรรลุจุดหมายที่กำาหนดไว้หรือไม่ได้แก่รูปแบบการประเมินของไทเลอร์(RalphW.Tyler)ครอนบาช(Cronbach)และเคริ์กแพทริค(DonaldL.Kirkpatrick)

2.รูปแบบการประเมินเน้นการตัดสินคุณค่า(JudgementalEvaluationModel)เป็นรูปแบบการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล สารสนเทศ สำาหรับกำาหนดและวินิจฉัยคุณค่าและโครงการนั้นได้แก่รูปแบบการประเมินของสเต็ก(RobertE.Stake)สคริฟเว่น(MichaelScriven)และโพรวัส(MalcolmM.Provus)

3.รูปแบบการประเมินเน้นการตัดสินใจ(Decision-OrientedEvaluationModel)เป็นรูปแบบการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล และข่าวสารต่าง ๆ เพื่อช่วย

ผู้บริหารในการตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ได้แก่รูปแบบการประเมินของเวลช์(WayneW.Welch)สตัฟเฟิลบีม(DanialL.Stufflbeam)และอัลคิน(MarvinC.Alkin)

ปัญหาที่พบในการใช้รูปแบบการประเมิน

ในการประเมินโครงการบ่อยครั้งที่ผู้ประเมินพยายามที่จะใช้รูปแบบในการประเมินโครงการโดยไม่ได้มีการพิจารณาถึงความเหมาะสมของรูปแบบนั้นๆทั้งนี้ปัญหาที่พบในการใช้แบบรูปแบบการประเมินมีดังต่อไปนี้(สุวิมลติรกานันท์,2547,หน้า48-49)

1. รูปแบบการประเมินหรือแบบจำาลองที่ใช้ไม่ครอบคลุมทุกประเด็นท่ีควรประเมินเช่นการใช้แบบจำาลองการประเมินโครงการของ Kirkpatrick เมื่อมีการประเมินด้านปฏิกิริยาซึ่งเป็นการสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมต่อวิทยากร จะได้รับคำาตอบจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นเพียงความพึงพอใจหรือความคิดเห็นเท่านั้น โดยไม่สามารถยืนยันว่าเป็นความจริงหรือไม่ เช่น วิทยากรบางท่านอาจมีวิธีการสอนที่สนุกสนานทำาให้ผู้เรียนไม่เบื่อ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่จะชอบวิทยากรลักษณะนี้ทำาให้ผลการประเมินวิทยากรดี แม้ว่าในบางครั้งจะพบว่าเนื้อหาสาระที่ได้จากวิทยากรลักษณะนี้บางท่านมีค่อนข้างน้อย และเมื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรมกลับได้ผลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำาให้การสรุปผลการฝึกอบรมคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง

2.ผู้ประเมินใช้เพียงบางส่วนของแบบจำาลอง ขาดการอธิบายแบบจำาลองที่ถูกนำามาใช้ปัญหาที่พบในลักษณะนี้ได้แก่แบบจำาลองCIPPของสตัฟเฟิลบีมซึ่งประกอบด้วยการประเมินใน 4 ด้านด้วยกัน คือ Context Input Process และ Product การนำา

Page 3: มุมวิจัย รูปแบบการประเมิน ... · 2016. 3. 24. · สคริฟเว่น (Michael Scriven) และโพรวัส (Malcolm

จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ฉบับที่ 1 ปี 2559

จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์ฉบับที่ 1 ปี 2559

School of health science’s e-pamphletSchool of health science’s e-pamphlet

ไปใช้ควรที่จะทราบว่าภายใต้สภาวการณ์แบบใดที่ควรใช้แบบจำาลองนี้ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมมักพบเสมอว่า มีการอ้างว่าใช้แบบจำาลองนี้โดยจะใช้เพียง 3ด้านคือ InputProcess และ Product แต่ไม่มีการให้เหตุผลว่าทำาไมจึงไม่มีการประเมิน Context ซึ่งลักษณะการประเมิน3ด้านนี้ควรจัดอยู่ในแนวคิดเดียวกับการประเมินเชิงระบบ(SystemPerspective)จะเหมาะสมกว่า

3. ผู้ประเมินเลือกแบบจำาลองมาใช้โดยไม่เหมาะสมกับโครงการที่ต้องการประเมินตัวอย่างเช่น การใช้แบบจำาลองของ CIPP กับโครงการพัฒนาชนบทที่มีเป้าหมายหลักที่ต้องการให้ชาวชนบทมีการพัฒนาจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไปในอนาคต แต่จากแบบจำาลองไม่พบว่ามีประเด็นใดกล่าวถึงการติดตามผลที่เกิดขึ้นต่อไปในอนาคตอย่างต่อเนื่องหรือที่เรียกว่าการติดตามผล(Followupstudy)ทำาให้ไม่มีคำาตอบเกี่ยวกับผลการพัฒนา

และนอกจากนี้ปัญหาท่ีพบในการใช้รูปแบบในการประเมินที่เป็นปัญหาของผู้ประเมินเป็นสำาคัญคือ

1. ผู้ประเมินไม่สามารถอธิบายว่าทำาไมถึงเลือกใช้รูปแบบในการประเมินโครงการรูปแบบดังกล่าว

2.ผู้ประเมินมักเลือกใช้รูปแบบการประเมินที่มีตัวอย่างให้ศึกษาหรือให้ดูเป็นตัวอย่างมากๆเช่นCIPPModelเป็นต้น

3. ผู้ประเมินไม่เข้าใจรายละเอียดของรูปแบบในการประเมินอย่างแท้จริงทำาให้สร้างเครื่องมือสร้างตัวชี้วัดในการประเมินได้ไม่ครอบคลุมหรือไม่ตรงประเด็น

สรุปได้ว่าปัญหาที่พบในการใช้แบบจำาลอง คือแบบจำาลองที่ใช้ไม่ครอบคลุมทุกประเด็นที่ควรประเมิน การใช้แบบจำาลองใช้เพียงบางส่วนของแบบจำาลอง ขาดการอธิบาย

เลือกแบบจำาลองมาใช้โดยไม่เหมาะสมกับโครงการที่ต้องการประเมิน และบางครั้งเม่ือนำามาใช้แล้วผู้ประเมินไม่สามารถอธิบายว่าทำาไมถึงเลือกใช้รูปแบบในการประเมินโครงการรูปแบบดังกล่าว ผู้ประเมินมักเลือกใช้รูปแบบการประเมินที่มีตัวอย่างให้ศึกษาหรือให้ดูเป็นตัวอย่างมาก ๆ หรือ ผู้ประเมินไม่เข้าใจรายละเอียดของรูปแบบในการประเมินอย่างแท้จริงทำาให้สร้างเครื่องมือ สร้างตัวชี้วัดในการประเมินได้ไม่ครอบคลุมหรือไม่ตรงประเด็น

สำาหรับรูปแบบการประเมินที่นิยมใช้ติดตามได้ในฉบับต่อไปนะคะ

------------------------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง

สมคิดพรมจุ้ย.(2550).เทคนิคการประเมินโครงการ.(พิมพ์ครั้งที่5).นนทบุรี:จตุพร

สมหวังพิธิยานุวัฒน์.(2553).วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า(พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมลติรกานันท์.(2547).การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.