กฎออกเตต (octet rule)€¦  · web viewเรื่อง....

27
ใใใใใใใใใใใใ 2 ใใใใใใ ใใใใใใใใ / ใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใ ******************************************* ************* 1. ใใใใใใใใ (Octet rule) จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจ He, Ne,Ar,Kr จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจ จจจจจ 1 จจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจจจ 1 จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจ จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จ จ จจจ จ จ จ จ จจ จ จ จ จจ จ จจจ จ จ จจ จ จ จ จจ จ จ จจ จ จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจ จจ 8 จจ จจจจจจจจจจจจจจจ (จจจจจจจจจจ He จจ 2 ) จจจจ 2 He = 2 10 Ne = 2 , 8 18 Ar = 2 , 8 , 8 36 Kr = 2 , 8 , 18 , 8 จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ จจจจจจจจ จ จจจจ H , O , N 1 H = 1 8 O = 2 , 6 7 N = 2 , 5 จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ 8 จจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจจ

Upload: others

Post on 24-Oct-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

กฎออกเตต (Octet rule)

ใบความรู้ที่ 2

เรื่อง กฎออกเตต / ความยาวพันธะและพลังงานพันธะ

********************************************************

1. กฎออกเตต (Octet rule)

จากการศึกษาธาตุเฉื่อย เช่น He, Ne,Ar,Kr พบว่าเป็นธาตุที่จัดอยู่ในประเภทโมเลกุลอะตอมเดียวทุกสถานะ คือใน 1 โมเลกุลของธาตุเฉื่อยจะมีเพียง 1 อะตอมทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซในธรรมชาติเกือบจะไม่พบสารประกอบของธาตุเฉื่อยเลย แสดงว่าธาตุเฉื่อยเป็นธาตุที่เสถียรมาก เกิดปฏิกิริยาเคมีกับธาตุอื่นได้ยาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจค้นคว้าถึงเหตุผลที่ทำให้ธาตุเฉื่อยมีความเสถียร จากการศึกษาโครงสร้างอะตอมของธาตุเฉื่อยพบว่าธาตุเฉื่อยมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนวงนอกสุดเหมือนกัน คือ มี 8 เวเลนต์อิเล็กตรอน (ยกเว้นธาตุ He มี 2 ) เช่น

2He = 2

10Ne = 2 , 8

18Ar = 2 , 8 , 8

36Kr = 2 , 8 , 18 , 8

เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างอะตอมของธาตุอื่น ๆ เช่น H , O , N

1H = 1

8O = 2 , 6

7N = 2 , 5

ธาตุเหล่านี้มีเวเลนต์อิเล็กตรอนน้อยกว่า 8 ในธรรมชาติจะไม่สามารถอยู่เป็นอะตอมเดี่ยว ได้ ซึ่งไม่เสถียร ต้องรวมกันเป็นโมเลกุลซึ่งอาจจะมี 2 อะตอมหรือมากกว่า การที่ธาตุเฉื่อยมี 8 เวเลนต์อิเล็กตรอนแล้วทำให้เสถียรกว่าธาตุอื่นๆ ซึ่งมีเวเลนต์อิเล็กตรอนไม่เท่ากับ 8 ทำให้นัก วิทยาศาสตร์เชื่อว่าโครงสร้างของอะตอมที่มี 8 เวเลนต์อิเล็กตรอนเป็นสภาพที่อะตอมเสถียรที่สุด ดังนั้นธาตุต่าง ๆ ที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนน้อยกว่า 8 จึงพยายามปรับตัวให้มีโครงสร้างแบบธาตุเฉื่อย เช่น โดยการรวมตัวกันเป็นโมเลกุลหรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเพื่อทำให้เวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ส่วนไฮโดรเจนจะพยายามปรับตัวให้มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เหมือนธาตุ He

การที่อะตอมของธาตุต่าง ๆ รวมตัวกันด้วยสัดส่วนที่ทำให้มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎออกเตต

ดังนั้นธาตุต่าง ๆ จึงพยายามรวมตัวกัน เพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต ซึ่งจะทำให้ได้สารประกอบหรือโมเลกุลที่อยู่ในสภาพที่เสถียร สำหรับการรวมตัวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์จะมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอมคู่ร่วมพันธะ อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันถือว่าเป็นอิเล็กตรอนของอะตอมคู่ร่วมพันธะทั้งสอง

เช่น F2 มีสูตรแบบจุดเป็น

F F

อะตอมของ F มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7

เมื่อเกิดพันธะโคเวเลนต์มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่ ซึ่งอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 1 คู่นี้ถือว่าเป็นของฟลูออรีนทั้ง 2 อะตอม ทำให้ฟลูออรีนแต่ละอะตอมใน F2 มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8

จำนวนเวเลนต์อิเล็กตรอนของธาตุแต่ละชนิดอาจจะแสดงให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นโดยการเขียนวงกลมล้อมรอบแต่ละลอะตอม จำนวนอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงกลมของธาตุใดก็จัดว่าเป็นของธาตุนั้น เช่น

F F

ตารางที่ 1 ตัวอย่างโครงสร้างอะตอมของธาตุในสารประกอบชนิดซึ่งเป็นไปตามกฎออกเตต

He

Ne

Ar

H O H

H

2

O

O C O

CO

2

H C N

HCN

Cl P Cl

Cl

PCl

3

O

H C H

CH

2

O

NH

3

H N H

H

H

H C H

CH

4

H

H O C O H

O

H

2

CO

3

H C C H

H

H

C

2

H

4

ข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าอะตอมของธาตุต่าง ๆ มักจะรวมตัวกันเป็นสารประกอบเพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต ซึ่งจะทำให้สารประกอบนั้นอยู่ในสภาพที่เสถียร เช่น H2O, PCl3, NH3, CO2 อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการศึกษาให้กว้างขวางออกไปก็พบว่าสารประกอบบางชนิดมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามกฎออกเตต บางชนิดมีเวเลนต์อิเล็กตรอนน้อยกว่า 8 และบางชนิดมี เวเลนต์อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ซึ่งสารต่าง ๆ เหล่านี้แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามกฎออกเตต แต่ก็อยู่ในภาวะที่ไม่เสถึยร จัดว่าเป็นข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ก. พวกที่ไม่ครบออกเตต

ได้แก่สารประกอบของธาตุในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ ที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนน้อยกว่า 4 เช่น 4Be และ 5B

4Be = 2 , 2 เวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2

5B = 2 , 3 เวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 3

ธาตุ Be และ B เมื่อเกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ทั่ว ๆ ไปจะไม่ครบออกเตต

ตัวอย่างเช่น BF3 , BCl3 , BeCl2 และ BeF2 เป็นต้น

* ใน BF3 ธาตุ B จะมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 6 ซึ่งไม่ครบออกเตต ในขณะที่ธาตุ F ครบออกเตต

F B F

F

* ใน BeCl2 ธาตุ Be จะมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 4 ซึ่งไม่ครบออกเตต ในขณะที่ธาตุ Cl ครบออกเตต

Cl Be Cl

แต่ถ้าธาตุเหล่านี้เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน บางชนิดจะเป็นไปตามกฎออกเตต เช่น BF4-, BCl3.NH3

· ใน BF4- ทั้ง B และ F ต่างก็มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 เป็นไปตามกฎออกเตต

F B F

F

F

-

· ใน BCl3.NH3 ทั้ง B , Cl , N และ F ต่างก็เป็นไปตามกฎออกเตต

Cl B

Cl

Cl

N H

H

H

ข. พวกที่เกินกฎออกเตต

ตามทฤษฎีสารประกอบของธาตุที่อยู่ในคาบที่ 3 ของตารางธาตุเป็นต้นไป สารมารถสร้างพันธะแล้วทำให้อิเล็กตรอนเกิน 8 ได้ (ตามกฎการจัดอิเล็กตรอน 2n2 ในคาบที่ 3 สามารถมีอิเล็กตรอนได้เต็มที่ถึง 18 อิเล็กตรอน) แต่อย่างไรก็ตามพวกที่เกินออกเตตมักจะพบในสารประกอบบางตัวของ P , S และโลหะทรานซิชัน เช่นใน PCl5 , SF6 , Fe(CN)63- , Co(NH3)62+ , SiF62- และ Icl3 เป็นต้น

· ใน PCl5 ธาตุ P เกิดพันธะกับ Cl รวม 5 พันธะจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 10 ซึ่งเกินออกเตต ( 1 พันธะหรือ 1 เส้นประกอบด้วย 2 อิเล็กตรอน) สำหรับ PCl3 หรือสารประกอบอื่น ๆ ของธาตุ P ส่วนมากเป็นไปตามกฎออกเตต

P

Cl

Cl

Cl

Cl

Cl

· ใน SF6 ธาตุ S เกิดพันธะกับ F รวม 6 พันธะจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 12 ซึ่งเกินออกเตต แต่ใน SF2 หรือสารประกอบอื่น ๆ ของธาตุ S ส่วนมากเป็นไปตามกฎออกเตต

S

F

F

F

F

F

F

· ใน ICl3 ธาตุ I เกิดพันธะกับ Cl รวม 3 พันธะและมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ จึงรวมเป็น 10 อิเล็กตรอน ซึ่งเกินออกเตต แต่ ICl หรือสารประกอบอื่น ๆ ของ I ส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎออกเตต

I

Cl

Cl

Cl

· ใน Co(NH3)62+ ธาตุ Co เกิดพันธะกับ N ใน NH3 รวม 6 พันธะจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 12 ซึ่งเกินออกเตต

Co

NH

3

NH

3

NH

3

NH

3

NH

3

NH

3

นอกจากสารประกอบที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีสารประกอบอื่น ๆ อีกบางชนิดซึ่งไม่เป็นไปตามกฎออกเตต เช่น ออกไซด์บางตัวของธาตุไนโตรเจน ( NO และ NO2 )และออกไซด์ของคลอรีน (ClO2) เป็นต้น ธาตุเหล่านี้ (N และ Cl) สามารถมีอิเล็กตรอนที่ไม่ได้จับคู่ หรืออิเล็กตรอนเดี่ยว (Unpaired electron) ซึ่งทำให้แสดงสมบัติเป็น paramagnetic ได้

· ใน NO ธาตุ N มีเพียง 7 อิเล็กตรอนซึ่งไม่เป็นไปตามกฎออกเตต

N O

· ใน NO2 ธาตุ N เกิดพันธะกับธาตุ O แต่มีอิเล็กตรอนเพียง 7 ซึ่งไม่ครบออกเตต

N O

O

· ใน ClO2 ธาตุ Cl เกิดพันธะกับธาตุ O แต่มีอิเล็กตรอนเพียง 7 ซึ่งไม่ครบออกเตต

O

Cl O

ประโยชน์ของกฎออกเตต

กฎออกเตต นอกจากจะใช้สำหรับเขียนสูตรโครงสร้างสารแล้ว ยังสามารถใช้ช่วยทำนายสัดส่วนจำนวนอะตอมของธาตุที่ทำปฏิกิริยากัน และทำนายสูตรของสารประกอบต่าง ๆ ได้ เช่น

1. ทำนายว่าสารประกอบระหว่างธาตุคลอรีนกับธาตุฟลูออรีน ควรจะมีสูตรเป็น ClF

เนื่องจากธาตุ Cl และ F ต่างก็เป็นธาตุหมู่ที่ 7 จึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 ทั้ง Cl และ F ต่างก็ต้องการอีก 1 อิเล็กตรอนจึงจะครบออกเตต ดังนั้นจึงสร้างพันธะ 1 พันธะ แสดงว่า Cl กับ F ควรจะรวมกันเป็นสารประกอบโดยใช้อย่างละ 1 อะตอม

Cl + F Cl F

หรือ Cl - F

2. กรณีสารประกอบฟอสฟอรัสกับคลอรีน

โดยอาศัยกฎออกเตตจะทำนายได้ว่าสูตรของสารประกอบควรจะเป็น PCl3 เพราะ ธาตุ P เป็นธาตุหมู่ที่ 5 มี 5 เวเลนต์อิเล็กตรอน ต้องการอีก 3 อิเล็กตรอน หรือต้องเกิด 3 พันธะ จึงจะครบออกเตต ในขณะที่ Cl เป็นธาตุหมูที่ 7 มี 7 เวเลนต์อิเล็กตรอน ต้องการอีกเพียง 1 อิเล็กตรอนหรือต้องการเกิดเพียง 1 พันธะก็จะครบออกเตต

เพื่อให้ทั้ง P และ Cl ครบออกเตต จึงต้องใช้ Cl 3 อะตอมต่อ P 1 อะตอม สูตรของสารประกอบจึงเป็น PCl3

Cl

Cl P Cl

Cl P Cl

3( Cl ) +

P

Cl

หรือ

3. กรณีของสารประกอบระหว่างไนโตรเจนกับไฮโดรเจน

โดยใช้กฎออกเตต จะทำนายได้ว่าสารประกอบควรจะเป็น NH3

ธาตุ N มี 5 เวเลนต์อิเล็กตรอน ต้องการอีก 3 อิเล็กตรอนจึงจะครบออกเตตซึ่งก็ทำได้โดยการเกิด 3 พันธะ ส่วนธาตุ H มี 1 เวเลนต์อิเล็กตรอนต้องการอีก 1 อิเล็กตรอนจึงจะครบ 2 อิเล็กตรอนเหมือนธาตุ He ซึ่งก็ทำได้โดยการเกิด 1 พันธะ

ดังนั้น N 1 อะตอมต้องการ 3 พันธะ จึงต้องรวมกับ H 3 อะตอม ซึ่งแต่ละอะตอมต้องการ 1 พันธะ เพื่อให้ทั้ง N และ H ครบออกเตต สูตรของสารประกอบจึงเป็น NH3

H N H

H

H

N

3(H ) +

H N H

หรือ

4. กรณีสารประกอบระหว่างคาร์บอนกับคลอรีน

โดยใช้กฎออกเตต จะทำนายได้ว่าสูตรของสารประกอบควรจะเป็น CCl4

ธาตุ C มี 4 เวเลนต์อิเล็กตรอน ต้องการอีก 4 อิเล็กตรอนจึงจะครบออกเตต ดังนั้นจึงต้องเกิด 4 พันธะ ส่วน ธาตุ Cl มี 7 เวเลนต์อิเล็กตรอน ต้องการอีก 1 อิเล็กตรอนจึงจะครบออกเตต ดังนั้นจึงต้องเกิด 1 พันธะ

เพราะฉะนั้น C 1 อะตอม ต้องการ 4 พันธะ จึงต้องรวมกับ Cl 4 อะตอม ซึ่งแต่ละอะตอมต้องการ 1 พันธะ จึงจะทำให้ C และ Cl ครบออกเตต

สูตรของสารประกอบจึงเป็น CCl4

หรือ

Cl

C

4( Cl ) +

Cl C Cl

Cl C Cl

Cl

Cl

Cl

5. กรณีสารประกอบระหว่างคาร์บอนกับกำมะถัน

โดยใช้กฎออกเตต จะทำนายได้ว่าสูตรของสารประกอบควรจะเป็น CS2

ธาตุ C มี 4 เวเลนต์อิเล็กตรอน ต้องการอีก 4 อิเล็กตรอนจึงจะครบออกเตต ดังนั้นจึงเกิด 4 พันธะ ส่วนธาตุ S มี 6 มีเวเลนต์อิเล็กตรอนต้องการอีก 2 อิเล็กตรอนจึงจะครบออกเตต ดังนั้นจึงเกิด 2 พันธะ

เพราะฉะนั้น C 1 อะตอมต้องการ 4 พันธะ จึงต้องรวมกับ S 2 อะตอม ซึ่งแต่ละอะตอมต้องการ 2 พันธะ เพื่อให้ทั้ง C และ S ครบออกเตต

สูตรของสารประกอบจึงเป็น CS2

C

+

2( S )

S C S

หรือ S = C = S

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2. พลังงานพันธะและความยาวพันธะ

2.1 พลังงานพันธะ (Bond energy) คือ พลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะระหว่างอะตอมของธาตุภายในโมเลกุลที่อยู่ในสถานะก๊าซออกเป็นอะตอมเดี่ยว เช่น

H2 (g) + 436 kJ ( 2H (g)

จากสมการก๊าซ H2 1 โมลต้องการจะสลายเป็น H อะตอม 2 โมล ต้องใช้พลังงาน 436 kJ

HI (g) + 298 kJ ( H (g) + I (g)

ก๊าซ HI 1 โมลต้องการสลายเป็น H และ I อะตอมอย่างละ 1โมลต้องใช้พลังงาน 298 kJ

จากตัวอย่างข้างต้นนี้แสดงว่าสารต่างชนิดกัน จำนวนโมลเท่ากัน พลังงานที่ใช้สลายพันธะก็ต่างกัน การสลายพันธะชนิดเดียวกันในสารต่างชนิดกันจะใช้พลังงานสลายไม่เท่ากัน เช่น การสลายพันธะ C - H ใน CH4 และ C2H6 มีค่าไม่เท่ากัน

CH4 (g) + 435 kJ ( CH3 (g) + H (g)

C2H6 (g) + 400 kJ ( C2H5 (g) + H (g)

แลการสลายพันธะชนิดเดียวกันในสารเดียวกัน (ที่มีพันธะชนิดเดียวกัน) ก็ใช้พลังงานสลายไม่เท่ากัน เช่น การสลายพันธะ C - H ใน CH4

CH4 (g) + 435 kJ ( CH3 (g) + H (g)

CH3 (g) + 464 kJ ( CH2 (g) + H (g)

CH2 (g) + 422 kJ ( CH (g) + H (g)

CH (g) + 339 kJ ( C (g) + H (g)

เมื่อรวมขั้นทั้ง 4 เข้าด้วยกันจะได้ว่า

CH4 (g) + 1660 kJ ( C (g) + 4H (g)

พลังงานที่ทำให้โมเลกุล CH4 แตกออกเป็นอะตอมในสภาวะก๊าซ เรียกว่า Atomization energy และพลังงานเฉลี่ยของพันธะ C - H ใน CH4 = 1660/4 = 415 kJ เรียกพลังงานค่านี้ว่า พลังงานพันธะเฉลี่ย ( Average bond energy ) อนึ่งจากตารางที่ 6.1 ค่าพลังงานเฉลี่ยของพันธะ C - H ของสารทั่ว ๆ ไป มีค่า 413 kJ ซึ่งมีค่าต่างจากค่าพลังงานเฉลี่ยของพันธะ C - H ซึ่งหาได้จาก CH4 เท่านั้น

เนื่องจากพลังงานที่ใช้สลายพันธะแต่ละพันธะในคู่อะตอมเดียวกันไม่เท่ากัน จึงเป็นการยากที่จะจดจำและไม่สะดวกต่อการใช้ ดังนั้นเพื่อความสะดวกจึงนิยมใช้พลังงานพันธะเฉลี่ยแทน ดังในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 พลังงานพันธะเฉลี่ยระหว่างอะตอมคู่ต่าง ๆ

พลังงานพันธะ (kJ/mol)

หมู่ 4 A

หมู่ 5 A

หมู่ 6 A

หมู่ 7 A

C - H 413

C - C 348

C - N 305

C - F 485

C - Cl 339

C - Br 285

C - I 240

C - S 272

Si - H 323

Si - Si 226

Si - C 301

Si - O 368

C = C 614

C

º

C 839

C = N 615

C

º

N 891

C = O 745

C

º

O 1075

N - H 391

N - N 163

N - O 201

N - F 272

N - Cl 200

N - Br 243

N = N 418

N

º

N 945

O - H 463

O - O 146

O - F 190

O - Cl 203

O - I 234

S - H 367

S - F 327

S - Cl 253

S - S 255

O = O 498

S = O 523

S = S 418

H - H 436

H - F 567

H - Cl 431

H - Br 366

H - I 298

F - F 159

Cl - F 253

Cl - Cl 242

Br - F 237

Br - Cl 218

Br - Br 193

I - Cl 208

I - Br 175

I - I 151

ลักษณะสำคัญของพันธะเคมี

1. พลังงานพันธะมีหน่วยเป็น กิโลจูล/โมล (kJ/mol) หรือกิโลแคลอรี่/โมล (kcal/mol)

2. พลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะจำนวน 1 โมล หรือพลังงานที่ได้จากการเกิดพันธะจำนวน 1 โมล เรียกว่า พลังงานพันธะ

3. พันธะชนิดเดียวกัน พลังงานที่ใช้สลายพันธะและพลังงานที่ได้จากการเกิดพันธะจำนวนเท่ากัน มีค่าเท่ากันเสมอ แต่ถ้าสลายพันธะต่างชนิดกันจะใช้พลังงานต่างกัน

4. พลังงานพันธะบอกให้ทราบถึงความแข็งแรงของพันธะ คือ พันธะเคมีที่ต้องใช้พลังงานสลายสูงกว่า จะมีความแข็งแรงของพันธะมากกว่าพันธะเคมีที่ต้องใช้พลังงานสลายต่ำกว่า นั่นคือ พันธะระหว่างอะตอมคู่เดียวกัน ความแข็งแรงของพันธะเดี่ยว < พันธะคู่ < พันธะสาม

5. ปฏิกิริยาเคมีใด ๆ ที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปจะมีการสลายพันธะเดิม และการเกิดพันธะใหม่ พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไปในปฏิกิริยา จะเท่ากับผลต่างระหว่างพลังงานที่ระบบดูดเข้าไปสลายพันธะเดิมทั้งหมดกับพลังงานที่ระบบคายออกมาเมื่อเกิดพันธะใหม่ทั้งหมด

D

H = (พลังงานที่ระบบดูด) - (พลังงานที่ระบบคาย)

· ถ้าระบบดูดพลังงาน > คายพลังงาน

พลังงานที่เปลี่ยนแปลง (

D

H ) = (ดูด - คาย )

จะได้ค่า

D

H มีเครื่องหมายเป็นบวก แสดงว่าระบบมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบดูดพลังงาน

· ถ้าระบบดูดพลังงาน < คายพลังงาน

พลังงานที่เปลี่ยนแปลง (

D

H ) = (ดูด - คาย )

จะได้ค่า

D

H มีเครื่องหมายเป็นลบ แสดงว่าระบบมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบคายพลังงาน

6. ในปฏิกิริยาเคมีใด ๆ ที่มีแต่การสลายพันธะ ไม่มีการเกิดพันธะใหม่ เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน (Endothermic Reaction) เช่น

O2 (g) + 498 kJ ( 2O (g)

หรือO2 (g) ( 2O (g) ;

D

H = +498 kJ

CH4 (g) + 1660 kJ ( C (g) + 4 H (g)

หรือ CH4 (g) ( C (g) + 4 H (g) ;

D

H = +1660 kJ

7. ในปฏิกิริยาเคมีใด ๆ ที่มีแต่การเกิดพันธะใหม่ ไม่มีการสลายพันธะ จะเป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน (Exothermic Reaction) เช่น

O (g) + 2H (g) ( H2O (g) + 926 kJ

หรือ O (g) + 2H (g) ( H2O (g) ;

D

H = - 926 kJ

Cl (g) + Cl (g) ( Cl2 (g) + 242 kJ

หรือCl (g) + Cl (g) ( Cl2 (g) ;

D

H = - 242 kJ

8. ในปฏิกิริยาเคมีใด ๆ ที่มีทั้งการสลายพันธะและการเกิดพันธะใหม่ ปฏิกิริยานั้นอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดหรือคายพลังงานก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะ กับพลังงานที่เกิดจากการสร้างพันธะใหม่เป็นเกณฑ์

· ปฏิกิริยาที่มีพลังงานที่ใช้สลายพันธะทั้งหมด มากกว่าพลังงานที่ได้จากการเกิดพันธะใหม่ทั้งหมด เรียก ปฏิกิริยานั้นว่า ปฏิกิริยาดูดพลังงาน เช่น

2NH3 (g) + 92 kJ ( N2 (g) + 3H2 (g)

หรือ 2NH3 (g) ( N2 (g) + 3H2 (g) - 92 kJ

หรือ 2NH3 (g) ( N2 (g) + 3H2 (g) ;

D

H = + 92 kJ

· ปฏิกิริยาที่มีพลังงานที่ใช้สลายพันธะทั้งหมด น้อยกว่าพลังงานที่ได้จากการเกิดพันธะใหม่ทั้งหมดเรียกปฏิกิริยานั้นว่า ปฏิกิริยาคายพลังงาน เช่น

H2 (g) + F2(g) ( 2HF (g) + 539 kJ

หรือ H2 (g) + F2(g) -539 kJ ( 2HF (g)

หรือ H2 (g) + F2(g) ( 2HF (g) ;

D

H = -539 kJ

9. สำหรับปฏิกิริยาเคมีที่มีทั้งการสลายพันธะและการเกิดพันธะใหม่ แต่ไม่ทราบพลังงานพันธะก็อาจจะคาดคะเนได้ว่าเป็นปฏิกิริยาประเภทดูดหรือคายพลังงานได้ โดยใช้จำนวนพันธะที่สลายและจำนวนพันธะที่เกิดขึ้นใหม่เป็นเกณฑ์ คือ ถ้าจำนวนพันธะที่สลายทั้งหมดของสารตั้งต้น มากกว่าจำนวนพันธะที่เกิดใหม่ของสารผลิตภัณฑ์ทั้งหมดก็เป็นประเภทดูดความร้อน ถ้าน้อยกว่า ก็เป็นประเภทคายพลังงาน หรือพิจารณาได้จากลักษณะของปฏิกิริยา คือ ถ้าเป็นการสลายโมเลกุลใหญ่ออกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ส่วนมากเป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน แต่ถ้าเป็นการรวมโมเลกุลเล็ก ๆ เกิดเป็นโมเลกุลใหญ่ หรือเป็นปฏิกิริยาการเผาไหม้ ส่วนมากเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน เช่น

2NH3 (g) + 92 kJ ( N2 (g) + 3H2 (g) ดูดพลังงาน

C2H4 (g) ( C2H2 (g) + H2( g)

ดูดพลังงาน

H2 (g) + I2 (g) ( 2HI (g)

คายพลังงาน

2C2H2 (g) + 5O2 (g) ( 4CO2(g) + 2H2O (g) คายพลังงาน

การคำนวณพลังงานกับปฏิกิริยาเคมี

ตัวอย่างที่ 1 จงคำนวณพลังงานความร้อนในการเกิด HCl จากปฏิกิริยา

H - H (g) + Cl - Cl (g) ( 2 H - Cl (g)

กำหนดพลังงานพันธะ *D(H - H) = 436 kJ/mol

D(Cl - Cl) = 242 kJ/mol

D(H - Cl) = 431 kJ/mol

วิธีทำพันธะที่สลาย มี (H - H) 1 โมล

(Cl - Cl) 1 โมล

พลังงานที่ใช้สลายพันธะทั้งหมด = D(H - H) + D(Cl - Cl)

= 436 + 242 kJ = 678 kJ

พันธะที่เกิดมี ( H - Cl ) 2 โมล

พลังงานที่เกิดจากการสร้างพันธะทั้งหมด = 2 D(H - Cl)

= 2 (431) kJ = 862 kJ

พลังงานความร้อนของปฏิกิริยา = (678) - (862) = -184 kJ

พลังงานในการเกิดสารใหม่คิดเป็นค่าพลังงานต่อโมลของสารใหม่ที่เกิด

HCl 2 โมล พลังงานความร้อน = -184 kJ

HCl 1 โมล พลังงานความร้อน = -184 x

2

1

kJ

พลังงานในการเกิด HCl = -92 kJ

ซึ่งเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน

(* D = Dissociation energy หรือ Bond energy คือ พลังงานพันธะ)

ในการคำนวณพลังงานของปฏิกิริยาอาจใช้สูตรดังนี้

å

å

DH

DH

=

DH

ณฑ์)

(สารผลิตภั

-

น)

(สารตั้งต้

DH

= พลังงานของปฏิกิริยา ( Heat of reaction)

å

DH

(สารผลิตภัณฑ์) = พลังงานทั้งหมดที่คายออกมาจากการสร้างพันธะของสารผลิตภัณฑ์

å

DH

(สารตั้งต้น) = พลังงานทั้งหมดที่สลายพันธะของสารตั้งต้น

ตัวอย่างที่ 2 จงประมาณค่าพลังงานความร้อนที่เปลี่ยนแปลงในการเกิดไฮดราซีน (N2H4)

กำหนดพลังงานพันธะ D(N

º

N) = 945 kJ/mol

D(H - H) = 436 kJ/mol

D(N - N) = 163 kJ/mol

D(N - H) = 391 kJ/mol

สมการของปฏิกิริยาคือ

N N (g) + 2(H - H) (g)

N - N (g)

H

H

H

H

วิธีทำ

พันธะที่สลายมี (N

º

N) 1 โมล , (H - H) 2 โมล

พันธะที่สร้างมี (N - N) 1 โมล , (N - H) 4 โมล

DH

= [D(N

º

N) + 2 D(H - H)] - [D(N - N) + 4 D(N - H)]

= [ 945 + 2(436) ] - [ 163 + 4(391)] = +90 kJ

ตัวอย่างที่ 3 จงคำนวณหาพลังงานในการเกิดอะเซติลีน H - C

º

C - H

สมการในการเกิดอะเซติลีนจากธาตุคือ

2 C (แกรไฟต์) + H - H (g) ( H - C

º

C - H (g)

กำหนดพลังงานพันธะเป็นดังนี้

D(H -H) = 436 kJ/mol D(C - H) = 413 kJ/mol

D(C

º

C ) = 839 kJ/mol และพลังงานการระเหิดของแกรไฟต์คือ

C (แกรไฟต์) ( C (g) ;

DH

การระเหิด = +717 kJ/mol

วิธีทำ พันธะที่สลายมี C (แกรไฟต์) จากของแข็งเปลี่ยนเป็นก๊าซ 2 โมล , (H -H) 1 โมล

พันธะที่สร้างมี (C -H) 2 โมล , (C

º

C) 1 โมล

DH

= [2 C (แกรไฟต์) + D(H - H)] - [2D(C -H) + D(C

º

C)]

= [ 2(717) + 436] - [2(413) +839] = +205 kJ

2.2 ความยาวพันธะ

ความยาวพันธะ (Bond lengths) คือ ระยะทางระหว่างนิวเคลียสของอะตอมคู่หนึ่งที่มีพันธะต่อกันเนื่องจากพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะชนิดเดียวกันในสารต่าง ๆ ใช้ไม่เท่ากัน ดังนั้น ความยาวพันธะก็ยาวต่างกันด้วย แต่อย่างไรก็ตามความยาวพันธะของคู่อะตอมที่สร้างพันธะชนิดเดียวกันในสารประกอบต่างชนิดกันจะมีค่าใกล้เคียงกัน เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการจดจำจึงใช้เป็นค่าเฉลี่ย เรียกว่า ความยาวพันธะเฉลี่ย (Average bond lengths) เช่น

ความยาวพันธะของ H - H 74 pmความยาวพันธะของ C - O 143 pm

ความยาวพันธะของ C = O 122 pm

ตารางที่ 3 ความยาวพันธะเฉลี่ยระหว่างอะตอมคู่ต่าง ๆ

ความยาวพันธะ (pm*)

หมู่ 4 A

หมู่ 5 A

หมู่ 6 A

หมู่ 7 A

C - H 108

C - C 154

C - N 147

C - O 143

C - F 141

C - Cl 177

C - Br 194

C - I 210

C - S 182

Si - H 145

Si - Si 234

Si - C 194

Si - O 183

C = C 134

C

º

C 120

C = N 130

C

º

N 116

C = O 122

C

º

O 113

N - H 101

N - N 146

N - O 136

N - F 134

N - Cl 169

N - Br 184

N = N 125

N

º

N 110

O - H 97

O - O 148

O - F 130

O - Cl 165

O - I 199

S - H 134

S - F 158

S - Cl 203

S - Br 218

S - S 143

O = O 121

S = O 144

S = S 189

H - H 74

H - F 92

H - Cl 128

H - Br 141

H - I 160

F - F 142

Cl - F 163

Cl - Cl 199

Br - F 178

Br - Cl 213

Br - Br 228

I - Cl 232

I - Br 247

I - I 267

* 1 pm = 10-12 m

ลักษณะสำคัญของความยาวพันธะ

1. ความยาวพันธะใช้หน่วยวัดเป็น pm หรือ 0A โดย 1 0A = 10-10 m , 1 pm = 10-12 m

2. ความยาวพันธะของอะตอมคู่หนึ่งๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพันธะและพลังงานพันธะ

3. ในคู่อะตอมของธาตุที่เหมือนกัน สามารถเกิดพันธะได้มากกว่าหนึ่งชนิด พันธะแต่ละชนิดจะมีความยาวพันธะไม่เท่ากัน คือ ความยาวพันธะพันธะเดี่ยว > พันธะคู่ > พันธะสาม เช่น

C - C > C = C > C

º

C N - O > N = O > N

º

O

154 pm > 134 pm > 120 pm 136 pm > 115 pm > 108 pm

4. ในคู่อะตอมชนิดเดียวกัน ความยาวพันธะมีความสัมพันธ์กับพลังงานพันธะ คือ

ความยาวพันธะ พันธะเดี่ยว > พันธะคู่ > พันธะสาม

พลังงานพันธะ พันธะเดี่ยว < พันธะคู่ < พันธะสาม

เช่น ชนิดของพันธะ C - C C = C C

º

C

ความยาวพันธะ 154 pm 134 pm 120 pm

พลังงานพันธะ 348 kJ/mol 614 kJ/mol 839 kJ/mol

5. ในอะตอมคู่ที่เกิดจากธาตุหนึ่ง สร้างพันธะกับอีกธาตุอื่น ๆ ที่มีขนาดอะตอมต่างกัน ความยาวพันธะมีความสัมพันธ์กับขนาดของอะตอม คือ ความยาวพันธะเพิ่มขึ้นตามขนาดอะตอมที่ใหญ่ขึ้น เช่น ขนาดอะตอมของธาตุในหมู่ 4A , 5A และ 6A ดังภาพ

หมู่4A หมู่ 5A หมู่ 6A

C N O

Si P S

ดังนั้นการเปรียบเทียบความยาวพันธะระหว่าง C กับธาตุอื่น ๆ เป็นดังนี้

ความยาวพันธะใน C - N < C - C < C - P

147 pm 154 pm 184 pm

( ความยาวพันธะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา) (

ความยาวพันธะใน N = O < C = O

115 pm 122 pm

ความยาวพันธะใน C

º

N < C

º

C

116 pm 120 pm

6. ประโยชน์ของการศึกษาความยาวพันธะ ทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรวมตัวของอะตอมด้วยพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ ซึ่งเป็นพันธะโคเวเลนต์ชนิดหนึ่ง และทราบข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์เรโซแนนซ์

N N

N N

H C N

H - C N

***************************************************************************

แบบทดสอบเสริมประสบการณ์

เรื่อง พลังงานพันธะและความยาวพันธะ

1. พลังงานที่ต้องใช้ในการสลายพันธะระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอนค่ามากที่สุดในโมเลกุล

ก C2H6

ข C2H4

ค C2H2

ง C2H4Cl2

2. ปฏิกิริยา CH4 (g) C (g) + 4H (g) กำหนดค่าพลังงานพันธะ ดังนี้ H - H = 104 kJ / mol และ C - H = 81 kJ / mol ปฏิกิริยาข้างบนนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของพลังงานเป็น

ก ปฏิกิริยาดูดความร้อน พลังงานทั้งหมด = 185 kJ / mol

ข ปฏิกิริยาดูดความร้อน พลังงานทั้งหมด = 324 kJ / mol

ค ปฏิกิริยาคายความร้อน พลังงานทั้งหมด = 185 kJ / mol

ง ปฏิกิริยาคายความร้อน พลังงานทั้งหมด = 324 kJ / mol

3. ในการสลายแก๊สอะเซทิลีน (C2H2) 1 โมลเป็นอะตอมโดยสมบูรณ์ต้องใช้พลังงานเป็นกิโลจูล

ต่อโมลเท่ากับเท่าใด กำหนดพลังงานพันธะเฉลี่ย (kJ / mol) C - C = 348 , C = C = 614 ,

C= C = 839 ,C - H = 413 ,C - O = 358 ,C = O = 745 ,O - H = 463, O - O = 146

ก 1174

ข 1665

ค 1440

ง 1870

4. จากข้อมูลข้อ 3 ปฏิกิริยาต่อไปนี้ ปฏิกิริยาใดเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน

ก O2 2O

ข CO2 C + 2O

ค H2 O 2H + O

ง CH4 + 2O2 CO2 + 2H2 O

5. การสลายพันธะระหว่างอะตอมใดในโมเลกุล CH3COCl ใช้พลังงานมากที่สุด

ก C กับ H

ข C กับ C

ค C กับ O

ง C กับ Cl

6. ปฏิกิริยา C (g) + 4H (g) CH4 (g) คายพลังงาน x kJ / mol ของ CH4 และ

ปฏิกิริยา CH3CH3 (g) 2C (g) + 6H (g) ดูดพลังงาน y kJ / mol ของ CH3CH3

จงหาพลังงานพันธะ C - C จะมีค่ากี่กิโลจูลต่อโมล

ก y + 6x

ข y - 6x

ค y + 3x / 2

ง y - 3x / 2

คำชี้แจง ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 7 - 8

กำหนดพลังงานพันธะ (kJ / mol)

C - C = 348 , C = C = 614 , C= C = 839 ,C - H = 413

มวลอะตอม H = 1 , C = 12

7. ข้อใดถูกต้อง

ก สลาย C2H2 0.5 mol ใช้พลังงาน 832.5 kJ

ข สลาย C2H2 13 gใช้พลังงาน 720 kJ

ค สลาย C2H2 56 dm3 STP ใช้พลังงาน 416.3 kJ

ง การสลาย CH4 1 mol ใช้พลังงานเท่ากับการสลาย C2H2 0.5 mol

8. พลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะในโมเลกุลสภาวะแก๊สปริมาณ 1 mol เท่ากันของสารใดมากที่สุด

ก C4H6

ข C4H8

ค C4H10

ง C3H4

9. ให้ A2 (g) + 3B2 (g) 2AB2 (g) คายพลังงาน x kJ กำหนดพลังงานพันธะ B - B

และ A - B เป็น b และ c kJ / mol ตามลำดับพลังงานพันธะของ A2 เป็นกี่ kJ / mol

ก x

ข b + c - x

ค 2c - 3b - x

ง 6c - 3b - x

10. กำหนดพลังงานพันธะ (kJ / mol)

C - C = 348 , C = C = 614 , C - H = 413 ,C - Cl = 339 , Cl - Cl = 242

ถ้าไซโคลเฮกซีนเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวกับคลอรีนจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานกี่กิโลจูลต่อโมล

ก 170

ข 340

ค 412

ง 242

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

_1206184661.unknown
_1206184669.unknown
_1206184673.unknown
_1206184717.unknown
_1206184721.unknown
_1206184723.unknown
_1206184724.unknown
_1206184725.unknown
_1206184722.unknown
_1206184719.unknown
_1206184720.unknown
_1206184718.unknown
_1206184675.unknown
_1206184676.unknown
_1206184674.unknown
_1206184671.unknown
_1206184672.unknown
_1206184670.unknown
_1206184665.unknown
_1206184667.unknown
_1206184668.unknown
_1206184666.unknown
_1206184663.unknown
_1206184664.unknown
_1206184662.unknown
_1206184653.unknown
_1206184657.unknown
_1206184659.unknown
_1206184660.unknown
_1206184658.unknown
_1206184655.unknown
_1206184656.unknown
_1206184654.unknown
_1206184649.unknown
_1206184651.unknown
_1206184652.unknown
_1206184650.unknown
_1206184647.unknown
_1206184648.unknown
_1206184646.unknown