สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 ·...

11
คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ 2.นางสาวหทัยชนก ชมพูพื้น กรรมการ 3.นายอานนท์ พัดเกิด กรรมการ 4.นางสาวจุฑามาศ เทพมาลี กรรมการ 5.นางสาวนิจติยา สุวรรณสม กรรมการ 6.นายกฤษณะ คู่เทียม กรรมการ 7.นางสาวกฤษณา พุกอินทร์ กรรมการ 8.นางสาวอัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์ กรรมการและเลขานุการ บรรณาธิการ นายณฐกร คำาแก้ว และ นางสาวอัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์ สารบัญ สารจากบรรณาธิการ สารจากคณบดี กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์ - กีฬาวิทย์-แพทย์สัมพันธ์ - งานประชุมมังสวิรัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - 1 คณะ 1 โมเดล เกร็ดความรู้และงานวิจัย - เกร็ดความรู้ “กินช็อกโกแลต ดีหรือไม่ ?” - งานวิจัย “การป้องกันโรคมะเร็งด้วยสารฟลาโวนอยด์จากผลไม้และผัก” ประชาสัมพันธ์หลักสูตร - วิทยาศาสตรบัณฑิต (โภชนาการและโภชนบำาบัด) สัมภาษณ์นักวิจัย - บทสัมภาษณ์นักวิจัย ดร. กนกกาญจน์ พรหมน้อย แนะนำาสมาชิกใหม่ สารจากบรรณาธิการ สวัสดีปีใหม่ 2556 ครับ ขอให้ผู้อ่านที่รักทุกท่านมีสุขภาพกายที่แข็งแรง มีสุขภาพใจที่แจ่มใสเบิกบาน มีพละกำาลังใน การทำางานด้วยความสุข และสร้างสรรค์งานได้ประสบความสำาเร็จ ก้าวหน้าดั่งใจปรารถนา และโชคดีตลอดปีใหม่ครับ จดหมายข่าว วิทย์-แพทย์ ปีท่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำาเดือนตุลาคม 2555 – มกราคม 2556 นี้ จะมีสีสันสดใสเพื่อเป็นการ เฉลิมฉลองในวาระดิถีขึ้นปีใหม่และร่วมเฉลิมฉลองในวาระท่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 85 พรรษา ขอ พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนนานอยู่เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไปครับ ตลอดช่วงเวลานี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมายทั้งภายในและภายนอกคณะ ซึ่งได้ดำาเนินการไปได้ด้วยดี ทางทีมงานจึงขอ รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อถ่ายทอดให้ผู้สนใจได้รับข้อมูลข่าวสารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ครบถ้วน รวมทั้งเป็น สื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลากร เจ้าหน้าที่และนิสิตทั้งเก่าและใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกด้วย ครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ ณฐกร คำาแก้ว และ อัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์ บรรณาธิการ

Upload: others

Post on 26-Feb-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

คณะกรรมการดำาเนินงาน

1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

2.นางสาวหทัยชนก ชมพูพื้น กรรมการ

3.นายอานนท์ พัดเกิด กรรมการ

4.นางสาวจุฑามาศ เทพมาลี กรรมการ

5.นางสาวนิจติยา สุวรรณสม กรรมการ

6.นายกฤษณะ คู่เทียม กรรมการ

7.นางสาวกฤษณา พุกอินทร์ กรรมการ

8.นางสาวอัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์ กรรมการและเลขานุการ

บรรณาธิการ

นายณฐกร คำาแก้ว และ นางสาวอัจฉราภรณ ์ อ่อนตะวงศ์

สารบัญสารจากบรรณาธิการ

สารจากคณบดี

กิจกรรมเคลื่อนไหว วิทย์-แพทย์

- กีฬาวิทย์-แพทย์สัมพันธ์

- งานประชุมมังสวิรัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

- 1 คณะ 1 โมเดล

เกร็ดความรู้และงานวิจัย

- เกร็ดความรู้ “กินช็อกโกแลต ดีหรือไม่ ?”

- งานวิจัย “การป้องกันโรคมะเร็งด้วยสารฟลาโวนอยด์จากผลไม้และผัก”

ประชาสัมพันธ์หลักสูตร

- วิทยาศาสตรบัณฑิต (โภชนาการและโภชนบำาบัด)

สัมภาษณ์นักวิจัย

- บทสัมภาษณ์นักวิจัย ดร. กนกกาญจน์ พรหมน้อย

แนะนำาสมาชิกใหม่

สารจากบรรณาธิการ

สวัสดีปีใหม่ 2556 ครับ ขอให้ผู้อ่านที่รักทุกท่านมีสุขภาพกายที่แข็งแรง มีสุขภาพใจที่แจ่มใสเบิกบาน มีพละกำาลังใน

การทำางานด้วยความสุข และสร้างสรรค์งานได้ประสบความสำาเร็จ ก้าวหน้าดั่งใจปรารถนา และโชคดีตลอดปีใหม่ครับ

จดหมายข่าว วิทย์-แพทย์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำาเดือนตุลาคม 2555 – มกราคม 2556 นี้ จะมีสีสันสดใสเพื่อเป็นการ

เฉลิมฉลองในวาระดิถีขึ้นปีใหม่และร่วมเฉลิมฉลองในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 85 พรรษา ขอ

พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนนานอยู่เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดไปครับ

ตลอดช่วงเวลานี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมายทั้งภายในและภายนอกคณะ ซึ่งได้ดำาเนินการไปได้ด้วยดี ทางทีมงานจึงขอ

รวบรวมเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อถ่ายทอดให้ผู้สนใจได้รับข้อมูลข่าวสารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ครบถ้วน รวมทั้งเป็น

สื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลากร เจ้าหน้าที่และนิสิตทั้งเก่าและใหม่ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกด้วย

ครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ

ณฐกร คำาแก้ว และ อัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์

บรรณาธิการ

Page 2: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

สุขสันต์ สวัสดีวันปีใหม่ 2556 ทุก ๆ ท่านครับ

ในระยะเวลาเปลี่ยนแปลงไปอีก 1 ปี ตามแรงเหวี่ยงของลูกโลกรอบดวงอาทิตย์ พวกเราก็มีอายุเพิ่มอีก 1 ปีด้วย ผมสงสัยว่า ทำาไมคนเรา

จึงมัวฉลองปีใหม่กันทั่วโลก ทั้ง ๆ ที่ตนเองแก่อีกหนึ่งปี? เขาควรหันมาพิจารณาความผิดพลาดที่ผ่านมาและวางแผนที่จะทำาความเจริญให้แก่ชีวิต

ตนเองในปีต่อไปมากกว่า

ในฤดูหนาวปีนี้ ภาคเหนืออากาศหนาวมากจนต้องใส่เสื้อหนาวหรือผิงไฟ แต่ในภาคใต้ไทยกลับมีพายุฝนตกหนักจนเกิดภาวะนำ้าท่วม

หลายจังหวัด ในระยะปีที่ผ่านมา โลกเราประสบเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่รุนแรงหลายอย่าง ดินฟ้า และเกิดจากการเคลื่อนที่หลายแห่งของแผ่นดิน

ที่เป็นเปลือกโลก มีการเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศโลกที่อุ่นมากขึ้น ทำาให้นำา้ทะเลเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นไอนำา้ มีพายุฝน หอบเมฆฝนมาตกบน

แผ่นดิน มีอากาศเกิดวิปริต มีนำา้ท่วม พายุรุนแรงไปทั่วโลก แต่โชคดีก็ไม่มากเท่าปีก่อน เรายังจำากันได้เสมอว่า แม้ว่าเหตุการณ์ที่ผ่านไป 8 ปีมาแล้ว

มีแผ่นดินไหวที่รุนแรง เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ในชายฝั่งทะเลอันดามันแถวอินโดนีเซีย และเมื่อปีกลายมีสึนามิ ที่ชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น ทั้งสองครั้งน่าสะ

พรึงกลัวยิ่งนัก ทำาให้คนตายไปมากกว่าหนึ่งหมื่นคน คลื่นยักษ์ตึกอาคารร้านค้าพินาศยับเยิน ตึกรามบ้านช่องถล่มทะลาย ล้มระเนระนาด โรงไฟฟ้า

ปรมาณูระเบิด และทรัพย์สินเสียหายมหาศาล ปีต่อไปเราก็ได้แต่ภาวนามิให้สิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นอีก แต่ก็สบายใจว่า แม้จะมีพายุสุริยะเกิดขึ้นก็ตาม ที่

ผ่านมา โลกเรายังไม่แตกดับวุ่นวายตามคำาทำานายของมายาและนักพยากรณ์หลายคน

ในปี 2555 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็เจริญก้าวหน้าไปตามระบบบริหารของมหาวิทยาลัย มีการเปลี่ยนแปลงไปมากหลาย

อย่างทั้งระบบการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาต่อชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญและสรุปย่อ ดังนี้

- ในด้านการเรียนการสอน ระยะปี 2555/2556 คณะ ฯ ได้เปิดหลักสูตรใหม่ 2 หลักสูตร คือ สาขาวิชาชีวเคมี และสาขาวิชาโภชนาการ

และโภชนบำาบัด มีนิสิตรุ่นแรกแต่ละหลักสูตร 62 คน และ 64 คน ตามลำาดับ

- มีอาจารย์ใหม่จำานวน 2 คนได้จบการศึกษา ป. โท และ ป. เอกกลับเข้ามาทำางานในสาขาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการเปิดรับอัตรากำาลัง

เพิ่มเติมจำานวน 6 คน ทำาให้จำานวนอาจารย์ในคณะฯ ที่กำาลังปฏิบัติงานมีจำานวน 49 คน และมีอาจารย์ที่ยังคงศึกษาต่อป. โท และ ป. เอกอยู่จำานวน

22 คน คาดว่า ในปี 2556 จะมีอาจารย์ใหม่กลับมาอีก จำานวน 5 คน หากอาจารย์อยู่ครบทั้งหมด คณะจะมีอาจารย์จำานวน 71 คน (http://www.

up.ac.th/medical/index)

- ในด้านการพัฒนาอาจารย์ตามนโยบายคณะ ฯ ในปีใหม่นี้ ผมหวังว่า อาจารย์ ที่ได้เข้ามาทำางานครบปีตามกำาหนดแล้ว คือ จบ ป. โทที่

ครบ 5 ปี และ ป. เอกที่ครบ 3 ปีแล้ว จะทำาการขอยื่นหลักฐานทางวิชาการเพื่อก้าวสู่ตำาแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ได้ไม่ตำ่ากว่า 3-4 คน

- ในด้านการวิจัย คณะ ฯ มีนโยบายที่ผลักดันงานวิจัยของคณะอย่างสมำ่าเสมอ โดยให้มีสัมมนางานวิจัยของอาจารย์เป็นประจำา และให้

อาจารย์มีโครงการวิจัยอย่างน้อยคนละ 1 เรื่อง คือ “หนึ่งอาจารย์ หนึ่งโครงการวิจัย” ปีที่ผ่านมานี้ ปรากฏว่า มีอาจารย์คณะ ฯ จำานวน 3 คน ได้

รับทุนวิจัยจากสำานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำานวน 2 คน จากสำานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และจำานวน 2 คน ได้

รับทุนวิจัยจากภายนอก รวมเป็นทุนวิจัยทั้งหมด 3,551,1128 บาท

- ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2555 คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับเจ้าภาพหลัก คือ สมาพันธ์มังสวิรัติ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดการประชุมนานาชาติ มังสวิรัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 5 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการบรรยายด้านวิชาการ

นิทรรศการ การจำาหน่ายอาหารและสินค้าสุขภาพ ผู้ร่วมประชุมทั้งคนไทยและต่างประเทศไม่ตำ่ากว่า 400 คน

- ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2555 คณะวิทย์แพทย์ ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดประชุมวิชาการนานาชาติครั้ง

ที่ 4 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อสุขภาพและความงาม (Natural Products for Health and Beauty หรือ NATPRO 4) ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์

คิด เชียงใหม่ ปรากฏว่า ประสบความสำาเร็จเป็นอย่างดียิ่งมีผู้ร่วมประชุมทั้งคนไทยและต่างประเทศไม่ตำ่ากว่า 700 คน

ในจดหมายข่าวฉบับนี้ ผมขอถือโอกาสอวยพรปีใหม่ 2556 มาถึงทุก ๆ ท่านขอให้ท่านทุกคนจงมีความสุขสบาย และความสดชื่น ขอให้ท่านจงมีแต่

สิ่งดี ๆ ทั้งทางสุขภาพแข็งแรงของร่างกาย และจิตใจที่มีแต่ความสุข ความสงบ ความสว่าง และความสะอาด ที่สำาคัญให้ชีวิตมีความเจริญด้านสติ

ปัญญา และทางธรรมยิ่งตลอดไป สุดท้าย ผมขอแต่งกลอนแปด ฝากอวยพรมาดังนี้

ปีใหม่นี้ จงดี กว่าปีผ่าน อย่าพบพาน สิ่งเลวร้าย ให้หายหนี

ความทุกข์ยาก ลำาบากใจ อย่าได้มี ให้เหลือแต่ สิ่งสุขี ที่ชื่นชม

ลดโลภะ ละโมโห เลิกโทสา เร่งศึกษา ปัญญาใส ให้สุขสม

สมาธิ สติมั่น ในอารมณ์ จิตนิยม แต่ความดี ยิ่งขึ้นเทอญ ฯ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ไมตรี สุทธจิตต์

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

สารจากคณบดี

Page 3: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

กิจกรรมเคลื่อนไหว

งานประชุมมังสวิรัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บรรลุเป้าหมาย

เน้นส่งเสริมให้ประชาชนในภูมิภาคอาเซียน รับประทานอาหารมังสวิรัติเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ร่วมแสดงพลัง “หนึ่งในองค์กรประชาคมอาเซียนที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนนานตลอดไป”

ตามที่คณะกรรมการแห่งสมาพันธ์มังสวิรัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Vegetarian Union หรือ SEAVU) ได้มอบหมาย

ให้สมาคมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมมังสวิรัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 5 (SEAVC 2012) เมื่อวันที่ 23-25 พฤศจิกายน

2555 ณ สำานักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ผ่านมานั้น ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ตำ่ากว่า 500

คน จากหลายประเทศรวมทั้งอินโดนีเซีย,มาเลเซีย,สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ลาว, อินเดีย,ออสเตรเลีย และไทย

งานดังกล่าวมีทั้งการบรรยายภาคภาษาอังกฤษและภาษาไทย มีวิทยากรจำานวนกว่า 30 คน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญโดดเด่นในแต่ละสาขา

ศาสนาและองค์กรต่างๆ หลายประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารเจและมังสวิรัติ อาทิ ศ. ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา, หมอเขียว ใจเพ็ชร กล้าจน, พระ

จันทร์เสฎโฐ, ภิกษุณีนันทญาณี, น.พ. วิชัย เอกทักษิณ, น.พ.รังสฤษดิ์ กาญจนะวณิชย์, Dr. Susianto Tseng, Mr. Pishu Murli Hassarum

เป็นต้น เพื่อแสดงความก้าวหน้า การตื่นตัว และการเคลื่อนไหวในเรื่องอาหารสุขภาพ อาหารมังสวิรัติ-เจ ในประชาคมอาเซียน แนวคิดหลักของ

งานนี้คือ Go Veg for a better world ซึ่งหมายถึง “สู่วิถีมังสวิรัติเพื่อโลกที่ดีกว่า” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้มีการรับประทานอาหาร

มังสวิรัติเพื่อสุขภาพมากขึ้น และส่งเสริมในด้านสันติภาพความเมตตา ปกป้องคุ้มครองสิทธิแห่งสัตว์ ปกป้องสิ่งแวดล้อมโลก รวมทั้งเป็นตัวอย่าง

ขององค์กรหนึ่งในประชาคมอาเซียน ที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนนานตลอดไป

สมาพันธ์มังสวิรัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มตั้งแต่ปี 2007 เป็นองค์กรเอกชนที่รวมกลุ่มกันระหว่างสมาชิกประเทศเพื่อนบ้าน 4

ประเทศ คืออินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และไทย ในอนาคตจะเพิ่มสมาชิกประเทศอื่นๆในประชาคมอาเซียน เช่น ลาว, พม่า, เวียดนามและ

ฟิลิปปินส์ จุดประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์มิตรภาพที่แท้จริง และความสามัคคีปรองดองของพวกเราชาวมังสวิรัติในภูมิภาคอาคเนย์

ศ. เกียรติคุณ ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา ในฐานะประธานสมาพันธ์มังสวิรัติแห่งประเทศไทยและ

ประธานคณะกรรมการบริหารการ จัดงานประชุมนี้ ได้กล่าวว่า “ในการจัดงานครั้งนี้ถือว่าประสบความสำาเร็จ ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากนานา

ประเทศในเอเชียอาคเนย์ และกลุ่มผู้รักสุขภาพ เพิ่มนักมังสวิรัติรุ่นใหม่ กระตุ้นให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพ เลือกบริโภคผักผลไม้มากขึ้น ลดการบริโภค

เนื้อสัตว์ลง ลดการทำาปศุสัตว์ ลดการทำาลายธรรมชาติ และลดปัญหาโลกร้อนได้ด้วย ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้รับความรู้ใหม่ๆ ร่วมแบ่งปันประสบการณ์

ความคิดและความหวังเพื่อสันติภาพและสุขภาพที่ยั่งยืนตลอดไป ในบริเวณงาน ยังเปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้ามาชม จับจ่ายซื้อของ มีการออกร้าน

จำาหน่ายสาธิตการนวด การรักษาโรคด้วยธรรมชาติบำาบัด โดยมีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ โดยในปีหน้า พ.ศ. 2556

ประเทศมาเลเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดงานมังสวิรัติเอเชีย ครั้งที่ 6 ที่กัวลาลัมเปอร์และปีนัง ส่วนในอีกสองปีข้างหน้า ประเทศลาวจะจัดงานมังสวิรัติ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 6 ที่เวียงจันท์”

Page 4: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

กิจกรรมเคลื่อนไหว

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา ตอกยำา้ความสำาเร็จของงานวิจัย ในโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล

ออกบูทโชว์ผลิตภัณฑ์นำ้ามันกระเทียมเพื่อสุขภาพ พร้อมกับเป็นเจ้าภาพร่วมในงานประชุมวิชาการ

ระดับนานาชาติด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สุขภาพและความงาม ครั้งที่ 4

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา นำาโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา ในฐานะนัก

วิจัยอาวุโส เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัย

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สุขภาพและความงาม ครั้งที่ 4

ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2555 เรื่อง “แนวโน้มอนาคตของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ : ความปลอดภัยและประสิทธิภาพสำาหรับทุกคน” ณ

โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จ.เชียงใหม่ มีผู้ร่วมประชุมจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและนานาชาติราว 700 คน ที่นำาผลงานวิจัย

หลายสาขาด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ พืชสมุนไพร อาหาร เครื่องสำาอาง สารสกัดจากพืชและสัตว์ ฯลฯ มาเผยแพร่ที่เน้นประสิทธิภาพและความ

ปลอดภัยในการเสริมสุขภาพและความงามแล้ว ยังมีการนำาเสนอผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจ จากผู้ประกอบการอีกด้วย ทั้งนี้ทางคณะฯใน

ฐานะเจ้าภาพร่วมในการจัดงานดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้ ดร.พยุงศักดิ์ ตันติไพบูลย์วงศ์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการแก่สังคม นำาผลงานวิจัยที่

โดดเด่นในโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ของมหาวิทยาลัยพะเยา ไปออกบูทเพื่อเผยแพร่งานวิจัยและจำาหน่ายผลิตภัณฑ์นำ้ามันกระเทียมเพื่อสุขภาพ

ของคณะให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีบุคคลากรในคณะเข้าร่วมเสนอผลงานวิจัยอีกหลายท่านเพื่อยกระดับความสามารถ

เพิ่มความรู้และเทคนิคใหม่ๆในการทำางานวิจัยต่อไป อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มภาคีที่ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านงาน

วิจัยอีกทางหนึ่ง”

สำาหรับงานประชุมวิชาการด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สุขภาพและความงามนั้น จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 โดยสำานักงานคณะ

กรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.เกียรติคุณ ดร.ไมตรี สุทธ

จิตต์ เป็นประธานจัดงานในครั้งแรกนั้น ประสบความสำาเร็จเป็นอย่างดีมาตลอด มีผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมมากขึ้นทุกปี จึงเล็งเห็นว่า

ควรมีการจัดต่อเนื่องต่อไปทุก 2 ปี จนถึงปีนึ้ครบรอบจัดงาน 4 ครั้งแล้ว ส่วนในปี.พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นเจ้าภาพการจัด

งานดังกล่าว ที่จังหวัดภูเก็ต

Page 5: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

กิจกรรมเคลื่อนไหว “1 คณะ 1 โมเดล”

เมื่อเร็วๆนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดี และผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและ

ประกันคุณภาพ ม.พะเยา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่อำาเภอดอกคำาใต้ เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำาเนินงาน 1 คณะ 1 โมเดล (1 คณะ

1 อำาเภอ) ของคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ ศูนย์สามวัย สานสายใยรักแห่งครอบครัว ในพระ

อุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ วยีนายเสมอ อินต๊ะสาร นายกเทศมนตรีต.บ้านถำ้า และนายพิเชษฐ์ ศักดิ์สูง นายก

องค์การบริหารส่วนต.ดอกคำาใต้ให้การกล่าวต้อนรับตำาบลบ้านถำ้า อำาเภอดอกคำาใต้ โดยมีนายเสมอ อินต๊ะสาร นายกเทศมนตรีตำาบลบ้านถำ้า

และนายพิเชษฐ์ ศักดิ์สูง นายกองค์การบริหารส่วนตำาบลดอกคำาใต้ ให้การต้อนรับ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวรายงานผลการดำาเนินงานโครงการ 1 คณะ 1

โมเดล ในหัวข้อเรื่อง “การแปรรูปผลิตภัณฑ์นำ้ามันหอมระเหยชนิดแคปซูลจากกระเทียมเพื่อสุขภาพ” ภายหลังการลงพื้นที่สำารวจปัญหา และความ

ต้องการของชุนชนตำาบลบ้านถำ้า พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพาะปลูกข้าวโพด หอมแดง และกระเทียม ที่ผ่านมาประสบ

ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกตำ่า ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุน นอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งโรคเบาหวาน ความดัน

โลหิตสูง แม้ว่าทางชุมชนมีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ทราบถึงวิธีการลดความเสี่ยงของโรคก็ตาม แต่ประชาชนในพื้นที่ ยังคงมีแนวโน้มเป็นผู้

ป่วยโรคดังกล่าว เพิ่มขึ้นทุกปี โดยทางคณะฯ ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาราคากระเทียมตกตำ่า และปัญหาด้านสุขภาพตามที่ชุมชนร้องขอ จึง

จัดให้มีการอบรม การแปรรูปผลิตภัณฑ์นำ้ามันหอมระเหยชนิดแคปซูลจากกระเทียมเพื่อสุขภาพ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตอบโจทย์ปัญหา

ราคากระเทียมตกตำ่า เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกระเทียมได้อีกทางหนึ่ง ทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชน หันมาบริโภคนำ้ามันกระเทียมที่แปรรูปได้

เนื่องจากกระเทียมนั้นมีสารสำาคัญ ช่วยป้องกันหลายโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตสูง และ

ต้านมะเร็ง ทำาให้ร่างกายมีสุขภาพดี ถือเป็นการตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้อีกประการหนึ่ง

ด้าน ดร.พยุงศักดิ์ ตันติไพบูลย์วงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการแก่สังคม ผู้รับผิดชอบโครงการฯ เปิดเผยว่า เมื่อเดือนพฤษภาคมที่

ผ่านมา ดร.พยุงศักดิ์และคณะทำางานจาก คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้หารือร่วมกับเทศบาลตำาบลบ้านถำ้า เพื่อจัดอบรมให้แก่ตัวแทนกลุ่มแม่

บ้านและชาวไร่กระเทียม พร้อมกับสาธิตการสกัดนำ้ามันกระเทียมจากกระเทียมสดที่ชาวบ้านนำามาทดลอง มีผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจ

มากกว่า 100 คน

ในปัจจุบัน ทางคณะ ฯ จึงได้มีการพัฒนาทั้งเครื่องมือสกัดให้ใช้งานง่าย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย การปรับปรุงกล่องบรรจุภัณฑ์แคปซูล

นำ้ามันกระเทียมให้สวยงาม ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.)ได้มาตรฐานสากล ดึงดูดใจผู้บริโภค สะดวกในการรับประทานมากยิ่ง

ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่จะดำาเนินการต่อเนื่องต่อไปเพื่อให้ชุมชนสามารถนำาไปต่อยอด ปรับใช้ในการทำาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยทางคณะยินดีให้ความ

ช่วยเหลือ ถ่ายทอดด้านความรู้ เทคโนโลยีการสกัด ตลอดจนการบรรจุเป็นแคปซูล เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพออกสู่ตลาดผู้บริโภคที่รัก

สุขภาพต่อไป

กิจกรรมเคลื่อนไหว

Page 6: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

โครงการ สนุก เฮฮา กีฬาสัมพันธ์ (กีฬาวิทย์แพทย์สัมพันธ์)

โครงการ สนุก เฮฮา กีฬาสัมพันธ์ หรือกีฬาวิทย์-แพทย์สัมพันธ์ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัย

พะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ เสริมสร้างความรัก และความสามัคคีระหว่างอาจารย์ บุคลากร และนิสิตภายในคณะฯ นอกจากนี้

ยังช่วยให้ทุกคนได้ผ่อนคลายจากการทำางาน การเรียน ได้ออกกำาลังกาย และทำากิจกรรมร่วมกัน ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เนติ เงินแพทย์ รองคณบดี

ฝ่ายบริหารเป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมีตัวแทนนิสิตเป็นผู้กล่าวรายงาน รูปแบบของการจัดงานนั้นจะแบ่งออกเป็นหมู่สีโดยในแต่ละสีนั้นจะ

ประกอบด้วยอาจารย์ บุคลากร และนิสิต และมีตัวแทนลงแข่งขันกีฬาในแต่ละประเภท ซึ่งกีฬาส่วนใหญ่จะเน้นความเฮฮา และสนุกสนาน เช่น เรือ

บก ตีกอล์ฟคนจน และชักเย่อ งานนี้ทั้งเสียงเชียร์ และเสียงหัวเราะลั่นสนามเลยทีเดียว ตอบวัตถุประสงค์ของการจัดงานได้เป็นอย่างดี

ดร.เนติ เงินแพทย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธี

โดยมีตัวแทนนิสิตกล่าวรายงาน

แข่งขันเรือบก

การแข่งขันตีกอล์ฟคนจน การแข่งขันชักเย่อ

อาจารย์และบุคลากรถ่ายรูปร่วมกัน อาจารย์ บุคลากร และนิสิตถ่ายภาพร่วมกัน

กิจกรรมเคลื่อนไหว

Page 7: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

เกร็ดความรู้

กินช็อกโกแลต ดีหรือไม่

CHOCOLATE (ช็อกโกแลต) ถูกค้นพบมาตั้งแต่สอง

พันปีที่แล้ว หลังสมัยพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ เป็นผลผลิตที่ได้

จากเมล็ดของต้นคาเคา (cacao) ในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา จัดอยู่

ในตระกูล Theobroma cacao แปลว่า “อาหารแห่งทวยเทพ” ชนก

ลุ่มแรกที่รู ้จักทำาช็อกโกแลตเป็นอารยธรรมโบราณที่อยู ่ในเม็กซิโก

และอเมริกากลาง ชนกลุ่มนี้ได้แก่ชาวมายา และชาวแอซเทค แห่ง

อารยธรรมเมโสอเมริกา คนเหล่านี้เอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับ

เครื่องปรุงหลายชนิดเพื่อทำาเป็น เครื่องดื่มที่มีรสขมเฝื่อน นอกจากใช้

ประกอบอาหารแล้วช็อกโกแลตยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเชิงศาสนาและ

สังคมด้วย

ในปัจจุบันพบว่าช็อกโกแลตเป็นขนมสุดโปรดของทุกเพศทุกวัยซึ่งจากการศึกษาถึงประโยชน์

และโทษของช็อกโกแลต พบว่าสารฟลาโวนอยด์ส ที่มีอยู่ในช็อกโกแลตช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระป้องกัน

มะเร็งบางชนิดและป้องกันไม่ให้เกิดคราบไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังเพิ่มการไหล

เวียนของเลือดป้องกันความดันโลหิตสูงและยังช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้อีกด้วย ส่วนสารทีโอ

โบรไมน์ (Theobromine) มีฤทธิ์คล้ายคาเฟอีนช่วยหยุดอาการไอเรื้อรังได้ ส่วนสารเฟนิลไทลามิน

(Phenylethylamine) เชื่อว่าสามารถผลิตความรู้สึกที่เรียกว่า“รัก”ได้

นอกจากผลทางสุขภาพผู้คนก็นิยมนำามาพอกตัวทำาสปาเพื่อผิวพรรณความงามภายนอก ผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะได้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส

เพราะช็อกโกแลตมีวิตามินเอและอีท่ีจะเป็นตัวช่วยเสริมสร้างเซลล์ผิวรักษาความชุ่มชื่นให้กับผิวกายช่วยชะลอความแก่เหี่ยวย่นนอกจากนี้

แมกนีเซียมในช็อกโกแลตยังช่วยคลายกล้ามเนื้อผ่อนคลายความตึงเครียดจากอาการเหนื่อยล้าได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามช็อคโกแลตก็มีข้อเสีย อาทิสารเฟนิลไทลามิน ทีโอโบรไมน์ และคาเฟอีนอาจทำาให้ระดับนำ้าตาลในเลือดและความดันโลหิต

สูงได้ นอกจากนี้ช็อกโกแลตยังให้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินเอ ดี เค และธาตุเหล็กค่อนข้างสูง หากรับประทานมากเกินไปอาจส่งผล

ต่อสุขภาพทำาให้เป็นโรคต่างๆได้ เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณช็อกโกแลตที่กินเข้าไปด้วยเช่นกัน เพราะช็อคโกแลตมีไขมันและนำ้าตาลในปริมาณมาก อาจจะทำาให้อ้วน

และเสียสุขภาพไปได้ถ้าบริโภคในปริมาณที่มากเกินความพอดี

Page 8: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

ทบทวนงานวิจัย (review article) โดย ดร.กนกกาญจน์ พรหมน้อย

สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ซึ่งได้รับรางวัลนำาเสนอผลงาน Best presentation

จาก The 5th Southeast Asian Vegetarian Congress (SEAVC2012)

ณ วันที่ 23-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 จ.เชียงใหม่

การป้องกันโรคมะเร็งด้วยสารฟลาโวนอยด์จากผลไม้และผัก

ปัจจุบันโรคที่คร่าชีวิตประชากรโลกรวมถึงประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งคือโรคมะเร็ง มีผลการวิจัย

มากมายเปิดเผยว่ามะเร็งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นการศึกษาถึงสาเหตุและวิธีป้องกันโรคมะเร็งจึง

เป็นสิ่งจำาเป็นยิ่ง โดยพบว่าสาเหตุสำาคัญที่สามารถเหนี่ยวนำาให้เกิดการตายด้วยโรคมะเร็งได้แก่ การสูบบุหรี่

การดื่มสุรา อาหาร โรคอ้วน การติดเชื้อ มลพิษสิ่งแวดล้อม และสารรังสี ซึ่งการวิจัยในระดับโมเลกุลพบว่า

ปัจจัยเหล่านี้เชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งผ่านทางกระบวนการอักเสบ ดังนั้นสารพฤกษเคมีที่สามารถยับยั้ง

การอักเสบถือเป็นสารสำาคัญที่ใช้ป้องกันและรักษาโรค

มะเร็งได้ ซึ่งสารตัวหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึง คือ ฟลาโวนอยด์

ที่พบได้ในพืชชั้นสูงทั่วไปและแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้หกกลุ่ม

ดังนี้ คือ ชาล์โคน ฟลาโวน ฟลาโวนอล ฟลาวาโนน แอน

โทไซยานิน และไอโซฟลาโวนอยด์ สารกลุ่มนี้เป็นส่วน

ประกอบสำาคัญในผลไม้ ผัก ถั่ว และเครื่องเทศ และมีฤทธิ์

ทางชีวภาพที่หลากหลาย อาทิเช่น ต้านภูมิแพ้ ต้านจุลินทรีย์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและ

ต้านมะเร็ง โดยผ่านกลไกในระดับโมเลกุลที่แตกต่างกัน

การศึกษาเกี่ยวกับสารฟลาโวนอยด์ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยทางห้องปฏิบัติการและสัตว์ทดลอง ในขณะที่การศึกษาทางคลินิกเป็นสิ่งที่ต้อง

ดำาเนินการต่อไปในอนาคต เนื่องจากโรคเรื้อรังเช่นโรคมะเร็งนั้นใช้ระยะเวลาการดำาเนินของโรคประมาณ 20–30 ปี จึงจะแสดงอาการให้เห็นได้ ดัง

นั้นการทดลองทางคลินิกจึงเป็นสิ่งสำาคัญมาก นอกจากนี้การศึกษาเพื่อยืนยันว่าสารฟลาโวนอยด์นั้นปลอดภัย มีฤทธิ์หลากหลาย มีประสิทธิภาพ

และตรงกับความต้องการสำาหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเรื้อรังอื่นๆ ยังคงจำาเป็นต้องมีการค้นคว้าต่อไปด้วยเช่นกัน

โครงสร้างทางโมเลกุลของฟลาโวน

ผลงานทางวิชาการ

Page 9: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

ประชาสัมพันธ์หลักสูตร

แนะนำาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและโภชนบำาบัด

(Bachelor of Science Program in Nutrition and Dietetics)

ปรัชญาของหลักสูตร

โภชนาการและโภชนบำาบัดเป็นศาสตร์ที่ประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านสารอาหารและโภชนาการเข้ากับวิทยาศาสตร์การ

แพทย์ นำาไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (โภชนาการและโภชนบำาบัด)

ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (โภชนาการและโภชนบำาบัด)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Nutrition and Dietetics)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Nutrition and Dietetics)

จำานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : 128 หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษาที่ใช้ : 4 ปี

อาชีพที่สามารถปฏิบัติได้หลังสำาเร็จการศึกษา

1. นักโภชนบำาบัดในโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน

2. บุคลากรทางการศึกษา นักวิจัย หรือเจ้าหน้าที่ด้านโภชนาการและโภชนบำาบัด ในสถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ที่

เกี่ยวข้องกับสุขภาพ

3. ที่ปรึกษาด้านโภชนาการและโภชนบำาบัดในสถานส่งเสริมสุขภาพ เช่น สปา ฟิตเนส เป็นต้น ตัวแทนจำาหน่ายผลิตภัณฑ์เสริม

อาหาร อาหารทางการแพทย์ และโภชนเภสัชภัณฑ์ หรือประกอบอาชีพอิสระ

Page 10: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

บทสัมภาษณ์นักวิจัย ดร. กนกกาญจน์ พรหมน้อย

หน้าที่ในปัจจุบันของอาจารย์มหาวิทยาลัยน้ันนอกจากงานด้านงานสอนแล้วยังต้องทำางานวิจัยเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและนำา

องค์ความรู้นั้นมาใช้ในการเรียนการสอน และยังสามารถนำาไปพัฒนาชุมชนและประเทศชาติต่อไปในอนาคต ในครั้งนี้ทีมงานได้รับเกียรติจาก

อ.ดร. กนกกาญจน์ พรหมน้อย สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้ได้รับรางวัล The Best Poster Presentation

Award จากงานวิจัยประเภทบทความทบทวนงานวิจัย (review article) หัวข้อ การป้องกันโรคมะเร็งด้วยสารฟลาโวนอยด์จากผลไม้และผัก จาก

งาน The 5th Southeast Asian Vegetarian Congress (SEAVC2012) ณ วันที่ 23-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 จ.เชียงใหม่มาให้สัมภาษณ์ค่ะ

ผู้สัมภาษณ:์ เนื้อหางานวิจัยเกี่ยวกับอะไรคะ

อ.ดร.กนกกาญจน:์ เป็นการรวบรวมงานวิจัยจากนักวิจัยหลายๆท่านในปัจจุบัน เพื่อเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารฟลาโวนอยด์ในการ

ต้านมะเร็งค่ะ

ผู้สัมภาษณ:์ อาจารย์คิดว่าเพราะอะไรอาจารย์ถึงได้รับรางวัลในครั้งนี้คะ

อ.ดร.กนกกาญจน์: งานวิจัยที่ทำาเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ซึ่งมีอุบัติการณ์อันดับ 1 ของประเทศไทย จึงเป็นที่สนใจแก่คนทั่วไป และสารที่

ศึกษาคือสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในผักผลไม้ที่เราบริโภคอยู่ทั่วๆไป เพราะฉะนั้นการที่เราเอาอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำาวันมา

ใช้ ก็น่าจะดึงดูดความสนใจ และเป็นสาเหตุที่ทำาให้ได้รับรางวัลค่ะ

ผู้สัมภาษณ์: ในระหว่างการทำาบทความทบทวนงานวิจัย อาจารย์พบอุปสรรคอะไรบ้างคะ

อ.ดร.กนกกาญจน:์ เนื่องจากงานของดิฉันเป็นบทความทบทวนงานวิจัย ซึ่งรวบรวมมาจากความคิดของผู้วิจัยที่หลากหลายจึงต้องมีการทำาการ

บ้านและเก็บข้อมูลอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังต้องหาข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อความน่าเชื่อถือ และให้เห็นถึงผลของสารฟลาโวนอยด์ต่อโรคมะเร็ง

ได้อย่างถูกต้องและชัดเจนค่ะ

ผู้สัมภาษณ:์ ในปี พ.ศ. 2556 อาจารย์มีเป้าหมายในการทำาวิจัยอย่างไรบ้างคะ

อ.ดร.กนกกาญจน:์ งานต่อไปก็ยังคงเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งและพืชสมุนไพรที่สามารถพบได้ในจังหวัดพะเยาเหมือนเดิมค่ะ เพราะว่าทาง

มหาวิทยาลัยของเราเน้นให้การวิจัยแบบเข้าถึงชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยค่ะ

ผู้สัมภาษณ:์ อาจารย์มีความคิดเห็นต่องานวิจัยของนักวิจัยไทยในปัจจุบันอย่างไรบ้างคะ:

อ.ดร.กนกกาญจน์: ในปัจจุบันงานวิจัยของประเทศไทยเน้นเกี่ยวกับด้านสุขภาพเพราะปัจจุบันคนไทยหันมาสนใจด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น และงาน

วิจัยก็จะเริ่มเน้นการเข้าถึงชุมชนเพื่อให้สมาชิกในชุมชนนำาไปใช้ได้จริงอีกด้วยค่ะ

ผู้สัมภาษณ:์ ท้ายนี้ผู้สัมภาษณ์อยากขอให้อาจารย์ช่วยให้คำาแนะนำาแก่นักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางแก่นักวิจัยรุ่นต่อๆไปค่ะ

อ.ดร.กนกกาญจน์: อย่างแรกคือ ต้องทราบว่าผู้วิจัยชอบและสนใจอะไร และอย่างที่สองคือ ต้องทราบว่าชุมชนต้องการอะไร แล้วก็มุ่งไปในจุดๆนั้น

เพื่องานวิจัยของเราจะได้สร้างประโยชน์แก่ชุมชนและจะได้ทำางานวิจัยนั้นๆได้อย่างมีความสุขค่ะ

สุดท้ายนี้ผู้สัมภาษณ์ต้องขอขอบพระคุณ อ.ดร. กนกกาญจน์ พรหมน้อย ที่เสียสละเวลาในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

บทสัมภาษณ์นักวิจัย

Page 11: สารจากบรรณาธิการ · 2013-01-23 · คณะกรรมการดำาเนินงาน 1.นายณฐกร คำาแก้ว ประธานกรรมการ

ดร. วชิราภรณ์ ทิพย์สุวรรณ

ปรด. (ชีวเคมี)

อาจารย์

[email protected]

ดร. จักรกฤษณ์ วังราษฎร์

วท.ด. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร)

อาจารย์

[email protected]

อัจฉราภรณ์ ดวงใจ

วท.ด. (เภสัชศาสตร์)

อาจารย์

[email protected]

(กลับจากการลาศึกษาต่อ)

ณฐกร คำาแก้ว

วท.ม. (วิทยาศาสตร์การแพทย์)

อาจารย์

[email protected]

อัจฉราภรณ์ อ่อนตะวงศ์

วท.ม. (สรีรวิทยา)

อาจารย์

[email protected]

ยุพา ชาญวิกรัย

วท.ม. (อาหารและโภชนาการ)

อาจารย์

[email protected]

อนงค์ภรณ์ ขอบรูป

วท.ม. (สรีรวิทยา)

อาจารย์

[email protected]

แนะนำาอาจารย์ใหม่

ยินดีต้อนรับสู่

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา