งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยedit)id699-11-08-2017_22:29:30.pdf ·...

15
การศึกษาความพร้อมของนักบัญชีต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาสานักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย สุกัญญา ฮิวส์ 1* ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล 2 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected] 2 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ 10400 [email protected] บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและความสัมพันธ์ที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีต่อ นโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา สานักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย โดยเลือกใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากนักบัญชีที่สังกัดสานักงาน บัญชีคุณภาพทั่วประเทศ จานวน 400 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชีมีความพร้อมต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ระดับปานกลาง นัก บัญชีส่วนใหญ่มีการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายและโครงการที่ระดับน้อย การได้เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับ นโยบายและโครงการดังกล่าวมีผลต่อความพร้อมของนักบัญชี ยังพบด้วยว่า นักบัญชีในแต่ละภูมิภาคและ ขนาดของสานักงานที่นักบัญชีสังกัดอยู่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีเช่นกัน อีกทั้งปัจจัยสภาพแวดล้อม ขององค์กร ได้แก่ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ระบบสารสนเทศ และความมีธรรมาภิบาลของ สานักงานมีความสัมพันธ์ต่อความพร้อมของนักบัญชี คำสำคัญ: ควำมพร้อม, ระดับกำรรับรู, National e-Payment, สำนักงำนบัญชีคุณภำพ Abtract This research has the objective to study the factors that affected and correlated to accountant readiness for the National e-Payment Master Plan, e-Tax system and e- transaction documents scheme of the qualified accounting firms in Thailand. The 400

Upload: others

Post on 04-Jun-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

การศึกษาความพร้อมของนักบัญชีต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

กรณีศึกษาส านักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย สุกัญญา ฮิวส์1* ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล2

1คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected]

2คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ 10400

[email protected]

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาปัจจัยและความสัมพันธ์ที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาส านักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย โดยเลือกใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากนักบัญชีที่สังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพทั่วประเทศ จ านวน 400 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชีมีความพร้อมต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ระดับปานกลาง นักบัญชีส่วนใหญ่มีการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายและโครงการที่ระดับน้อย การได้เข้าอบรมความรู้เกี่ยวกับนโยบายและโครงการดังกล่าวมีผลต่อความพร้อมของนักบัญชี ยังพบด้วยว่า นักบัญชีในแต่ละภูมิภาคและขนาดของส านักงานที่นักบัญชีสังกัดอยู่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีเช่นกัน อีกท้ังปัจจัยสภาพแวดล้อมขององค์กร ได้แก่ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ระบบสารสนเทศ และความมีธรรมาภิบาลของส านักงานมีความสัมพันธ์ต่อความพร้อมของนักบัญชี ค ำส ำคัญ: ควำมพร้อม, ระดับกำรรับรู้, National e-Payment, ส ำนักงำนบัญชีคุณภำพ

Abtract

This research has the objective to study the factors that affected and correlated to

accountant readiness for the National e-Payment Master Plan, e-Tax system and e-

transaction documents scheme of the qualified accounting firms in Thailand. The 400

Page 2: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

samples who are accountants and work at qualified accounting firms in Thailand were

selected by sampling method. The result founds that the samples are ready for the National

e-Payment Master Plan, e-Tax system and e-transaction documents scheme at the medium

level. Most of the samples perception of the Master Plan and the Scheme is at the low level.

Knowledge training affects accountant readiness and additionally the difference of region

and firm size effects the accountant readiness. Organization environment factor; Learning

organization, Organization information system, and a Good governance in organization

correlated the accountant readiness.

Keywords: Readiness, Perception, National e-Payment, Qualified accounting firm

1. บทน า ประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจมาหลายครั้ง โดยเริ่มจาก “Thailand 1.0” ที่เน้นภาคเกษตรกรรม ไปสู่ “Thailand 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และ “Thailand 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ปัจจุบันคือช่วงเปลี่ยนผ่านจาก “Thailand 3.0” ไปสู่ “Thailand 4.0” การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 อย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวทางที่แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้วางไว้ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยขับเคลื่อนผ่านกลไก “ประชารัฐ” โดยเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value Base Economy” หรือ “เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ในช่วงห้าปีต่อจากนี้ หน่วยงานทางการเงินการคลังจะปรับเปลี่ยนการด าเนินงานเป็นแบบดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการด าเนินธุรกรรมทางธุรกิจในวงกว้าง และการปฏิบัติงานของนักบัญชีโดยตรง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใหม่ การศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์ต่อนักบัญชีเพ่ือใช้วางแนวทางการพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงรูปแบบและวิธีการส่งเสริมเพ่ือให้โครงการประสบผลส าเร็จตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติที่ก าหนดไว้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาระดับการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของนักบัญชี เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานั้น มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชี

Page 3: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

2. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง 2.1 นโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบภาษีและเอกสารธุรกกรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการบูรณาการการจัดท าและน าส่งข้อมูลใบก ากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) รวมทั้งการน าส่งรายงานการท าธุรกรรมทางการเงินและการน าส่งภาษีเมื่อมีการช าระเงิน ผ่านระบบ e-Payment ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุน ระยะเวลา และขั้นตอนของภาคเอกชน ในการจัดท าเอกสารและการช าระภาษี เชื่อมโยงระบบการช าระเงินกับระบบภาษีและการจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพและเพ่ิมศักยภาพในการแข่งขัน โดยมีกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการให้บริการ ซึ่งประกอบด้วย 3 ระบบงาน ดังนี้ 1. ระบบ e-Withholding Tax เป็นระบบงานที่เปิดให้ผู้จ่ายเงินได้ฯ ที่จ่ายผ่านธนาคารมีหน้าที่หักภาษีและน าส่งต่อธนาคารทันทีที่มีการจ่ายเงิน และให้ธนาคารรับเงินและส่งเงิน รวมทั้งส่งข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กรมสรรพากรด้วย 2. ระบบ e-Tax Invoice / e-Receipt เป็นระบบที่คู่ค้าส่งข้อมูลใบก ากับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่กันแล้ว ต้องส่งให้กับกรมสรรพากรด้วย โดยมีช่องทางจัดส่งใบก ากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย 3. ระบบ e-filing เป็นระบบช าระภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้ให้บริการมาหลายปีแล้วแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยการปรับเปลี่ยนให้ การยื่น e-Filing เป็นการยื่นตามปกติทั่วไป และการยื่นด้วยกระดาษเป็นกรณียกเว้น รวมทั้งให้มีการจัดท าบัญชีในรูปอิเล็กทรอนิกส์ กรอบระยะเวลาการด าเนินงานของ 3 โครงการ คือ มกราคม 2560 พร้อมใช้งานระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt และสามารถคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยพร้อมเพย์ได้ จากนั้น มกราคม 2561 บังคับใช้ระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt ส าหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ส่วนราชการ และองค์การหรือสถานสาธารณกุศล และมกราคม 2562 บังคับใช้ระบบ e-Filing ส าหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ส่วนราชการ (ท่ีมา : กรมสรรพากร, มีนาคม 2560) 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และความเข้าใจ

การรับรู้ เป็นกระบวนการจิตวิทยาพ้ืนฐานของบุคคล เพราะถ้าปราศจากซ่ึงการรับรู้แล้วบุคคลจะไม่สามารถมี ความจ า ความคิด หรือการเรียนรู้ โดยลักษณะของการรับรู้มี 6 ประการ คือ ต้องมีพ้ืน

Page 4: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

ฐานข้อมูลหรือความรู้ในเรื่องนั้นมาก่อน จะต้องประกอบด้วยข้อวินิจฉัย จะต้องมีความสามารถในการแยกแยะ ลักษณะของการรับรู้จะต้องมีสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กระบวนการรับรู้จะต้องอาศัยการดัดแปลง และการะบวนการรับรู้มักจะเป็นโดยอัตโนมัติ (ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม, 2544 : 135) สามารถแยกองค์ประกอบของการรับรู้ได้ ดังนี้ สิ่งเร้า (Stimulus) ตัวรับความรู้สึก (Sensory receptor) ความรู้สึก (Sensation) กระบวนการรับรู้ (Perception process) การรับสิ่งเร้าจากภายนอก (Sending) การเลือก (Selection) การใส่ใจ (Attention) การแปลความหมาย ( Interpreting) ให้ความหมาย (Meaning) (Schiffman and Kanuk, 1991, อ้างถึงใน เอนก สุวรรณบัณฑิต, ภาสกร อดุลพัฒนกิจ, 2548 : 68)

2.3 แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อม ความพร้อม หมายถึง สภาวะความสามารถทางด้านร่างกาย ความพอใจ ความเต็มใจและความกระตือรือร้นของบุคคลในการเรียนรู้ ปฏิบัติ และด าเนินการกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connected Theory) ได้กล่าวเกี่ยวกับกฏแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) ว่าสถาพความพร้อมของผู้เรียนทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความพร้อมทางร่างกายหมายถึง ความพร้อมวุฒิภาวะและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทางด้านจิตใจหมายถึง ความพร้อมที่เกิดจากความพึงพอใจเป็นส าคัญ ถ้าเกิดความพึงพอใจย่อมน าไปสู่การเรียนรู้ ถ้าเกิดความไม่พึงพอใจ จะท าให้ไม่เกิดการเรียนรู้หรือท าให้การเรียนรู้หยุดชะงักไป (Thorndike, 1814-1949 อ้างถึงใน ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์, 2551 : 61) ดังนั้น เมื่อน ากฏแห่งความพร้อมไปใช้กับการเรียนรู้ของบุคคล ต้องแน่ใจว่าบุคคลคนนั้นมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ทั้งทางร่างกายจิตใจหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมควรจะมีการเตรียมความพร้อมก่อน โดยยึดหลักของความพึงพอใจ อย่าฝืนใจหรือบีบบังคับเพราะจะไม่ท าให้เกิดการเรียนรู้ไดแ้ละยังจะส่งผลต่อทัศนะคติที่ไม่ดีต่อสิ่งนั้นด้วย ความพร้อมประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้ ทางกาย (Physiological Factors) ได้แก่ การบรรลุวุฒิภาวะทางด้านร่างกายทั่วไป ทางสติปัญญา (Intellectual Factors) ได้แก่ ความพร้อมด้านสติปัญญาโดยทั่วไป ความสามารถในการรับรู้และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล ทางอารมณ์ แรงจูงใจและบุคลิกภาพ (Emotional Factors) ได้แก่ ความมั่นคงทางอารมณ์และความต้องการที่จะเรียนรู้ และทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors) ได้แก่ สภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง(Downing and Thackrey, 1971 อ้างถึงใน วรรณา เจริญนาน, 2556 : 9) โดยทฤษฎีความพร้อมของ เฮอร์เซย์และบลันชาร์ด มีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ด้าน คือ ด้านความสามารถ (Ability) ประกอบด้วย

Page 5: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และประสบการณ์ และด้านความเต็มใจ (Willingness) ประกอบด้วย การให้ค าม่ันสัญญาหรือความผูกพัน แรงจูงใจการท างาน และความม่ันคง (Hersey and Blanchard, 1998 อ้างถึงใน นฤมล สุมรรคา, 2554 : 7) 2.4 งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง เอกราช อะมะวัลย์ (2554) การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนช่างฝีมือทหารในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาต่อการเข้าเป็นประชาคมอาเซียน ได้แก่ ปัจจัยด้านความเข้าใจ ปัจจัยศักยภาพบุคลากร ปัจจัยคุณภาพมาตรฐาน และปัจจัยการเปิดเสรีการศึกษา ประกอบด้วย การจัดท าความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพส าคัญต่าง ๆ เพ่ือรองรับการเปิดเสรีการศึกษา ควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน สุดท้ายงานวิจัยยังได้ให้ข้อเสนอแนะเพ่ือเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนช่างฝีมือทหาร เพ่ือเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาความร่วมมือ นฤมล สุมรรคา (2554) ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษกิจอาเซียนของบุคลากรทางบัญชีในสถานประกอบการจังหวัดสระบุรี ผลการศึกษาพบว่า เพศและอายุที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระดับการศึกษามีผลต่อความพร้อมทุกด้าน ได้แก่ ด้านวิชาชีพ ด้านภาษา ด้านกฎหมายและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนประสบการณ์ท างานบัญชีมีผลต่อความพร้อมด้านภาษาและด้านกฎหมาย ระดับความรู้ความเข้าใจในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของบุคลากรทางบัญชีในสถานประกอบการมีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพ่ือรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านวิชาชีพบัญชีและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มณีณทร นหันต์ และชาตรี ปรีดาอนันทสุข (2556) การเตรียมความพร้อมด้านทักษะและความรู้ ของพนักงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการศึกษาพบว่า เพศ อายุ และประสบการท างานที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมด้านทั กษะ ด้านภาษา และการปรับตัว ส่วนระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของพนักงานสายสนับสนุนอยู่ในระดับน้อย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสัมพันธ์ในทิศทาง

Page 6: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

เดียวกันกับความเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษและการปรับตัว เพ่ือเข้ าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างมีนัยทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ขนิฐา นิลรัตนานนท์ (2559) ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไทยเพ่ือรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชีไทยมีความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านภาษา กฎหมายและโทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ระดับปานกลาง มีเพียงด้านวิชาชีพบัญชีที่มีความพร้อมในระดับมาก โดยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในทุกด้านอย่างมีนัยส าคัญ 2.5 กรอบแนวคิดการวิจัย

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

ข้อมูลส่วนตัว • เพศ • อายุ • การศึกษา • ประสบการณ์การท างาน/อบรม ข้อมูลองค์กร • ท าเลที่ตั้ง • ขนาดองค์กร • ประเภทองค์กร • อายุองค์กร

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม • ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

• ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร • ความเป็นธรรมภิบาลขององค์กร

การรับรู้เกี่ยวกับนโยบาย National e-Payment โครงการ 3

ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ความพร้อมของนักบัญชีสังกัด

ส านักงานบัญชีคุณภาพต่อนโยบาย

National e-Payment โครงการ 3

ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรม

อิเล็กทรอนิกส์

Page 7: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

3. วิธีการศึกษา 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย ซ่ึงไม่ทราบจ านวนที่แน่นอน โดยส านักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยมีด้วยกันทั้งสิ้น 143 ส านักงาน (ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, พฤษภาคม 2560) ส าหรับการวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นจ านวน 400 ตัวอย่าง โดยได้ส่งแบบสอบถามด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ และเลือกใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งแบบสอบถามเป็น 6 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นค าถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล จ านวน 7 ข้อ ลักษณะค าถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list)

ส่วนที่ 2 เป็นค าถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของส านักงานที่นักบัญชีสังกัด จ านวน 5 ข้อ ลักษณะค าถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list)

ส่วนที่ 3 เป็นค าถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนโยบาย National e-payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จ านวน 10 ข้อ ลักษณะค าถามมีหลายค าตอบ (Multiple choice questions) โดยให้เลือกเพียงค าตอบเดียว

ส่วนที่ 4 เป็นค าถามสอบถามปัจจัยสภาพแวดล้อมในองค์กร จ านวน 15 ข้อ ลั ก ษ ณ ะ ข อ งค าถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)

ส่วนที่ 5 เป็นค าถามสอบถามความพร้อมนักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะของค าถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)

ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะอ่ืน

Page 8: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ท าการเก็บรวบรวมข้อมูลส าหรับการศึกษาครั้งนี้ ดังนี้ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพ่ือศึกษาความพร้อมของนักบัญชี

นักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย จ านวน 400 คน เนื่องจากข้อจ ากัดด้านเวลา ผู้วิจัยจึงเลือกวิธีการจัดส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) ถึงหัวหน้าส านักงานบัญชีคุณภาพทั่วประเทศ (ท่ีมา : สมาคมส านักงานบัญชีคุณภาพ, พฤษภาคม 2560) โดยใช้เวลารวบรวมมูลทั้งสิ้น 2 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง วันที่ 15 มิถุนายน 2560

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนนี้มาจากการศึกษา ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเอกสาร หนังสือ รายงานวิชาการ และผลงานวิจัยจากหอสมุดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งการค้นหาข้อมูลเพ่ิมเติมจากเว็บไซต์ (Website) เพ่ือน าข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้น าข้อมูลไปประมวลผลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมส า เร็จรูปทางสถิติ SPSS แล้วน าผลที่ได้มาประมวลผลวิเคราะห์และน าเสนอผลการวิจัย โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยดังต่อไปนี้

1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) เพ่ือใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม โดยใช้มาตราการวัดค่าของตัวแปรด้วยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD)

2. สถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics) เพ่ือใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้สถิติทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการทดถอยเชิงพหุของความสัมพันธ์ (Regression) 4. ผลการศึกษา ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านส่วนบุคคลและองค์กรที่นักบัญชีสังกัด โดยลักษณะส่วนบุคคล พบว่า นักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพที่ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยสูงกว่า 35 ปีมากที่สุด จ านวน 148 คน ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จ านวน 274 คน โดยมากมีประสบการณ์การท างานน้อยกว่า 6 ปี จ านวน 175 คน มีประสบการณ์ท างานด้านบัญชีระหว่าง 1-5 ปีมากที่สุด จ านวน 149 คน และส่วนใหญ่จ านวน 235 คน ไม่เคยเข้ารับการ

Page 9: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

อบรมเกี่ยวกับนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และลักษณะองค์กรที่นักบัญชีสังกัด พบว่า นักบัญชีที่ตอบแบบสอบถามในงานวิจั ยครั้งนี้ส่วนใหญ่สังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพในเขตกรุงเทพมหานคร จ านวน 157 คน โดยเป็นส านักงานที่มีทุนจดทะเบียนอยู่ระหว่าง 1,000,000 – 3,000,000 บาทมากที่สุด จ านวน 209 คน ส านักงานส่วนใหญ่จดทะเบียนจัดตั้งในรูปบริษัทจ ากัด จ านวน 321 คน อายุของส านักงานมากกว่า 20 ปีมากที่สุด จ านวน 160 คน และจ านวน145 คน สังกัดอยู่ภายใต้ส านักงานที่มีจ านวนพนักงานน้อยกว่า 15 คน สมมติฐานที่ 1 ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ท างาน และการเข้ารับการอบรมมีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพในนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุ รกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ท างานทั้งที่ไม่ใช่ด้านบัญชีและด้านบัญชีที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีในนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกันในทุกด้าน เว้นแต่จ านวนชั่วโมงการเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของนักบัญชีที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีที่แตกต่างกัน

สมมติฐานที่ 2 ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยด้านองค์กรที่ต่างกัน ได้แก่ ที่ตั้ง ทุนจดทะเบียน รูปแบบองค์กร อายุ และจ านวนพนักงาน มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพในนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ พบว่า ทุนจดทะเบียน อายุของส านักงานที่แตกต่างมีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีในนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกันในทุกด้าน ยกเว้นปัจจัยด้านท าเลที่ตั้งของส านักงาน และจ านวนพนักงานของส านักงานที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีในนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน

Page 10: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

สมมติฐานที่ 3 ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของระดับการรับรู้ของนักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพกับความพร้อมต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ระดับการรับรู้ของนักบัญชีสัมพันธ์กับความพร้อมของนักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพในนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในทิศทางเดียวกัน

สมมติฐานที่ 4 ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของนักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพกับความพร้อมต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของนักบัญชีสัมพันธ์กับความพร้อมในนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในทิศทางเดียวกัน

ผลการทดสอบสมมติฐานการถดถอยเชิงพหุของความสัมพัน์ระหว่างระดับการรับรู้ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความพร้อมของนักบัญชีต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ระดับการรับรู้และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับความพร้อมของนักบัญชีในระดับน้อย และเม่ือพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่า ความเป็นความเป็นธรรมาภิบาลของส านักงาน และองค์กรแห่งการเรียนรู้ของส านักงาน สามารถพยากรณ์ความพร้อมของนักบัญชีได้ ส่วนระดับการรับรู้เกี่ยวกับนโยบายและโครงการ และระบบสารสนเทศของส านักงาน ไม่สามารถพยากรณ์ความพร้อมของนักบัญชีได้

5. สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการศึกษา

1. ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านส่วนบุคคลและองค์กรที่นักบัญชีสังกัด โดยลักษณะส่วนบุคคล พบว่า จ านวนชั่วโมงเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันของนักบัญชีสังกัดส านักงานคุณภาพที่ตอบแบบสอบถามครั้งนี้มีผลต่อความพร้อมที่แตกต่างกัน ส่วนด้านองค์กรที่นักบัญชีสังกัด พบว่าจ านวนพนักงานของส านักงานที่แตกต่างกันมีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีที่แตกต่างกัน

Page 11: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

2. ปัจจัยด้านการรับรู้ส่วนบุคคล พบว่า นักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพที่ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้ส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้เกี่ยวกับนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์น้อย โดยระดับการรับรู้ของนักบัญชีนั้นสัมพันธ์กับความพร้อมของนักบัญชีในทิศทางเดียวกันด้วย

3. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สภาพสิ่งแวดล้อมในองค์กรที่นักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพที่ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้ภาพรวมอยู่ในระดับมากในทุกด้านเรียงล าดับได้ดังนี้ ระบบสารสนเทศของส านักงานมากที่สุด โดยส านักงานบัญชีคุณภาพที่นักบัญชีสังกัดอยู่มีการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการท างาน การเข้าถึงระบบอินราเน็ตและอินเตอร์เน็ต การเข้าถึงข้อมูล จัดให้มีกา รน าซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมส าเร็จรูปมาใช้ในการท างาน มีอุปกรณ์ส านักงานที่ทันสมัยและเพียงพอ รองลงมาคือความมีธรรมาภิบาลของส านักงาน โดยส านักงานบัญชีคุณภาที่นักบัญชีสังกัดอยู่มีความชัดเจน โปร่งใส่ ตรวจสอบได้ สนับสนุนให้พนักงานมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองรวมถึงสังคม มีความเสมอภาค เท่าเทียม จัดให้มีช่องทางในการับฟังข้อร้องเรียน และมีการจัดท าแผนพัฒนาองค์กรที่ชัดเจน รองลงมาคือความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยส านักงานบัญชีคุณภาพที่นักบัญชีสังกัดอยู่สนับสนุนให้เรียนรู้และใฝ่หาความรู้เพ่ิมเติม สนับสนุนการมีส่วนร่วม น าความรู้ใหม่ ๆ มาใช้เพ่ิมประสิทธิภาพในการท างาน จัดโครงสร้างองค์กรเพื่อเอ้ือต่อการเรียนรู้ และจัดบรรยากาศในองค์กรเพ่ือส่งเสริมความส าคัญของการเรียนรู้ โดยพบว่าปัจจัยที่กล่าวมานี้มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของนักบัญชี

จากการศึกษาความพร้อมของนักบัญชีด้วยปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น พบว่า นักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพที่ตอบแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้มีความพร้อมต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในระดับปานกลาง โดยผลการศึกษายังพบอีกว่าความเป็นธรรมาภิบาลและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของส านักงานที่นักบัญชีสังกัดอยู่สามารถใช้คาดคะเนความพร้อมของนักบัญชีได้

5.2 อภิปรายผล 1. ความพร้อมของนักบัญชีสังกัดส านักงานบัญชีคุณภาพต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีระดับเท่าเทียมกัน ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย ทั้งทางด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิ โดยไม่สอดคล้องกับ นฤมล สุมรรคา (2554) ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการรองรับประชาคมเศรษกิจอาเซียนของบุคลากรทางบัญชีในส ถานประกอบการจังหวัดสระบุรี ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษามีผลต่อความพร้อมทุกด้าน ได้แก่ ด้าน

Page 12: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

วิชาชีพ ด้านภาษา ด้านกฎหมายและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้การศึกษาครั้งนี้พบว่า สิ่งที่บ่งชี้ได้ถึงความแตกต่างของความพร้อมของนักบัญชีได้คือการพัฒนาความรู้เฉพาะบุคคลด้วยการฝึกอบรม ซึ่งสอดคล้องกับ เดโช สวนานนท, 2512 : 249 อ้างถึงใน ภชพน เชื่อมทอง, 2556 : 44 กล่าวว่า สภาพความพร้อมของบุคคลนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่ส าคัญหลายประการ ได้แก่ ภาวะร่างการสมบูรณ์ สิ่งเร้า แรงจูง การฝึกอบรม เป็นต้น อีกทั้ง การหาความรู้เพ่ิมเติม ส่งเสริมการเรียนรู้ของตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นเดียวกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพนักบัญชี (CPD) สอดคล้องกับ RothWell and Herbert, (2007) ได้ศึกษาเรื่อง นักบัญชีวิชาชีพกับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ที่ว่า การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพมีส่วนท าให้วิชาชีพประสบความส าเร็จมากกว่าการมีประสบการณ์ในวิชาชีพ โดยไม่แบ่งว่าจะเป็นเพศใด หรืออายุเท่าไหร่และมีวุฒิการศึกษาระดับใดก็ตาม ดังนั้นนักบัญชีที่รักษาระดับความรู้ ทักษะความช านาญในการท างานและเพ่ิมเติมความรู้ใหม่ ๆ ให้ทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถือเป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์โดยตรงต่อนักบัญชีเอง เนื่องจากผู้ท าบัญชีเป็นผู้ที่จะต้องน าความรู้ หลักการและวิธีปฏิบัติทางบัญชีมาใช้ในการท างาน

2. ปัจจัยด้านองค์กรของส านักงานบัญชี อาทิ ทุนจดทะเบียน อายุของส านักงาน และประเภทส านักงานไม่สร้างความแตกต่างต่อความพร้อมของนักบัญชีในนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามความพร้อมของนักบัญชีในแต่ละภูมิภาคและในองค์กรที่มีจ านวนพนักงานไม่เท่ากันก็มีความแตกต่าง โดยภูมิภาคที่มีนักบัญชีมีความพร้อมมากที่สุดคือภาคตะวันออก รองลงมาคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร และภาคใต้ ตามล าดับ และนักบัญชีที่สังกัดอยู่ในส านักงานที่มีพนักงานมากกว่า 50 คนมีความพร้อมมากที่สุด รองลงมาคือ 15 – 30 คน 31 – 50 คน และต่ ากว่า 15 คน ตามล าดับ สอดคล้องกับทฤษฏีการจัดการองค์กรขนาดใหญ่ หรือระบบราชการ (Weber, 1947 : 329 – 331, อ้างถึงใน จุฑามาศ วิเวโกม, 2555 : 17) เป็นรูปแบบการจัดองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีลักษณะส าคัญ 6 ประการ คือ การใช้แบบความสัมพันธ์ที่เป็นทางการในการปฏิบัติงาน การจ้างงานและการเลื่อนต าแหน่งตั้งอยู่บนพ้ืนฐานของหลักความสามารถ การใช้แรงงานตามหลักความช านาญเฉพาะและระบุความรับผิดชอบที่ชัดเจน การใช้กฎระเบียบเป็นหลักในการท างาน การมีล าดับชั้นในการบังคับบัญชา และการแบ่งแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องขององค์กรอย่างชัดเจน

3. ระดับการรับรู้ของนักบัญชีมีความสัมพันธ์ต่อความพร้อมของนักบัญชี โดยนักบัญชีที่ มีการรับรู้และเข้าใจนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับสูง มีความพร้อมนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรม

Page 13: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

อิเล็กทรอนิกส์ในระดับสูงเช่นกัน สอดคล้องกับ เอกราช อะมะวัลย์ (2554 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนช่างฝีมือทหารในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการศึกษาต่อการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนได้แก่ ปัจจัยด้านความเข้าใจ

4. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของนักบัญชี ได้แก่ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ระบบสารสนเทศและความมีธรรมาภิบาลของส านักงานมีความสัมพันธ์ต่อความพร้อมของนักบัญชี สอดคล้องกับ Syarifah Nizaha and Said khairani, 2014 ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้กับความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง กรณีศึกษา Hanjin Shipping Line Malaysia พบว่า องค์ประกอบของการองค์การแห่งการเรียนรู้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ พลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) การปรั บ เปลี่ ยนองค์ การ (Organization Transformation) การส่ ง เสริ มความรู้ แก่บุ คคล (People Emplowerment) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการน าเทคโนโลยีมาใช้ (Technology Application) สัมพันธ์กับความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส าคัญ

5.3 ข้อเสนอแนะส าหรับการศึกษาครั้งนี้ จากการศึกษาความพร้อมของนักบัญชีต่อนโยบาย National e-Payment โครงการ 3 ระบบภาษีและอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาส านักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย มีข้อเสนอแนะส าหรับการศึกษาครั้งนี้ ดังนี้ 1. ด้านบุคคล เนื่องจากนโยบาย National e-Payment เป็นวาระแห่งชาติที่จะส่งผลกระทบต่อทุกคนในประเทศไทย อีกทั้ง ประเทศพันธมิตรที่มีการท าธุรกรรมกับประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การมีความรู้และเข้าใจในนโยบายดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่จ าเป็นส าหรับประชาชนคนไทยทุกคนไม่จ ากัดเฉพาะนักบัญชีเท่านั้น อย่างไรก็ตามในฐานะนักบัญชี ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในวิชาชีพตามกฎหมายอย่างถูกต้องและเคร่งครัด จึงปฏิเสธไม่ได้ถึงความส าคัญของการศึกษาในรายละเอียดของนโยบายแห่งชาตินี้ โดยไม่จ ากัดเฉพาะโครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่ควรท าความเข้าใจในทุก ๆ โครงการด้วย เพ่ือประโยชน์ส่วนบุคคลของตนเองและเพ่ือการน าไปใช้ปฏิบัติงานในฐานะนักบัญชี 2. ด้านองค์การ ผู้น าขององค์การทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ จ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากโยบายแห่งชาติครั้งนี้ การเตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์เครื่องใช้ในการท างาน และระบบสารสนเทศขององค์การจึงเป็นสิ่งที่จ าเป็น องค์การควรจัดเตรียมอุปรณ์เครื่องใช้ในการท างาน เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้เพียงพอกับจ านวนของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน และมี

Page 14: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

การพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การให้มีความทันสมัย เป็นต้น อีกท้ังการพัฒนาองค์การให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร จัดการฝึกอบรมพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ไม่เฉพาะแต่ด้านวิชาชีพเท่านั้น รวมถึงการน าหลักธรรมภิบาล 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปรงใส่ หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มาใช้ในการบริหารองค์การเพ่ือการท างานร่วมกันอย่างมีความสงบสุข ลดข้อขัดแย้ง 3. หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย National e-Payment ต้องท าการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายและโครงการอย่างต่อเนื่องและคลอบคลุมในทุกพ้ืนที่ เพ่ือกระตุ้นการรับรู้ของประชาชนและองค์การต่าง ๆ และจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทั้งแบบองค์รวมของนโยบายแห่งชาติส าหรับทุกคน และเจาะลึกลงไปในแต่ละโครงการเฉพาะกลุ่มเป้าหมายเพ่ือให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องท าอย่างต่อเนื่อง สม่ าเสมอ อีกท้ัง เมื่อกฎหมายต่าง ๆ มีผลบังคับใช้แล้ว หน่วยงานภาครัฐควรมีการติดตามประเมินผลเพ่ือเป็นแนวทางในการช่วยเหลือและพัฒนาการให้ความรู้ต่อไป 5.4 ข้อเสนอแนะส าหรับการศึกษาครั้งต่อไป ผู้วิจัยควรศึกษาความพร้อมของนักบัญชีทั่วประเทศ เนื่องจากการโครงการ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวาระแห่งชาติที่มีผลกระทบต่อนักบัญชีทั้งประเทศ อีกทั้งควรศึกษาเพ่ิมเติมถึงความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้และการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐกับความพร้อมของนักบัญชีเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว เพ่ือเป็นแนวทางให้ภาครัฐด าเนินการสนับสนุนนักบัญชีเข้าใจวิธีการและกระบวนการท างานให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพ่ือลดข้อขัดแย้งระหว่างภาครัฐและเอกชนอีกด้วย เนื่องจากนักบัญชีเป็นบุคลกรที่ส าคัญในขับเคลื่อนองค์กรของภาคเอกชน บรรณานุกรม

เอกราช อะมะวัลย์ (2554). การพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนช่างฝีมือทหารในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 (วิทยานิพนธ์-มหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา

เอนก สุวรรณบัณฑิตและภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพมหานคร : เพรส แอนด์ ดีไซน์

Page 15: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยEdit)Id699-11-08-2017_22:29:30.pdf · ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2559). รายช่ือส านักงานบัญชีคุณภาพ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก www.dbd.go.th

กรมสรรพากร. (2560). คู่มือผู้ประกอบการในการจัดท า ส่งมอง และเก็บรักษาใบก ากับภาษีผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก www.rd.go.th

ขนิฐา นิลรัตนานนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (บทความวิจัย). กรุงเทพมหานคร : วารสารวิชาชีพบัญชี

จุฑามาศ วิเวโก. (2555). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงพยาบาลนายายอาม จังหวัดจันทบุรี (ปัญหาพิเศษมหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา

ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

นฤมล สุมรรคา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา สถานประกอบการ จังหวัดสระบุรี (งานค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี ภชพน เชื่อมทอง. (2556). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษา

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

มณีณทร นหันต์ และชาตรี ปรีดาอนันทสุข. (2556). การเตรียมความพร้อมด้านทักษะและความรู้ของพนักงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (บทความ). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร

วรรณา เจริญนาน. (2556). ความพร้อมในการบริหารงานคลังด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (e-LASS) ขององค์การบริหารส่วนต าบล ในจังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏร าไพพรรณี.

Downing, J. and D. Thackrey. (1971) Reading Readiness. Lond : University of London Press. Syarifah Nizaha and Said Khairani. (2014). Learning Organization and Readiness to

Change at Hanjin Shipping Line Malaysia. Kedah : Universiti Utara Malaysia.