cultural identity of chiangrai

89
เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ISBN:978-974-0009-90-9

Upload: meaus-acharee

Post on 22-Mar-2016

251 views

Category:

Documents


9 download

DESCRIPTION

Six identity of Chiangrai : history, race .language , traditions. Arts and local food

TRANSCRIPT

Page 1: cultural Identity of Chiangrai

เอกลักษณ์ทางวัฒ

นธรรม

เชียงราย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย

ISBN:978-974-0009-90-9

Page 2: cultural Identity of Chiangrai

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Page 3: cultural Identity of Chiangrai

“เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง”

แสดงให้เห็นว่า เชียงรายเป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน มีความสัมพันธ์กับแดนดินใกล้เคียง มีความหลากของกลุ่มชาติพันธุ์ และมีความงดงามด้วยธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ความยาวนานย้อนหลังไปในอดีตของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย ยืนยันได้จากหลักฐานของ นักโบราณคดีที่พบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคหินในบริเวณแถบนี้ ตลอดจนตำนานและพงศาวดารต่างๆ มากมาย ดร.ฮันส์ เพนธ์ (Hans Penth) ชี้ว่า ชินกาลมาลีปกรณ์เรียกอาณาจักรของราชวงศ์ลวจังกราชว่า

ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

“แคว้นโยนก” มีความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาแต่สมัยเชียงแสนหลวง สิบสองจุ ไท สิบสองปันนา กระทั่งถึงสมัยเชียงใหม ่ ลำพูน ลำปาง ฯลฯ นับเป็นวัฒนธรรมที่มีสายยาวมาก มีประเพณีสืบเนื่องกระทั่งปัจจุบัน เชียงรายได้ชื่อว่า “โยนกนคร” อันเป็นชื่อของกลุ่ม “ไทยวนหรือคนเมือง” เชียงรายถือเป็นอู่ทางวัฒนธรรมของที่ราบลุ่มที่สำคัญ ๔ แหล่ง คือ ที่ลุ่มแม่น้ำอิง ที่ราบลุ่มแม่น้ำกก ที่ลุ่มแม่น้ำลาว และที่ราบลุ่มเชียงแสน กลุ่ ม ช าติ พั น ธุ์ ล ะ ว้ า เ ป็ นชนพื้ น เมื อ งดั้ ง เ ดิ ม นักประวัติศาสตร ์นักมานุษยวิทยา และนักวิชาการด้านเกษตร ล้วนระบุตรงกันว่า ละว้าเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของสยามประเทศ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ๓ แคว้น คือ แคว้นโยนกในภาคเหนือ แคว้นโคตรบูรณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแคว้นทวารวดีในภาคกลาง ก่อนคนไทยจะเคลื่อนย้ายจากเมืองแถน หรือ เมืองเทียน (นครคุนหมิง) มาตั้งถิ่นฐานกระทั่งรวมตัวเป็นรัฐชาติ นอกจากนี้ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ยังได้ข้อสรุปว่า อักษรไทยยุคต้นคงมีใช้ในกลุ่มคนไทยที่มีความสัมพันธ์กับมอญ หลังคนไทยตั้งตัวอย่างถาวรใกล้คนมอญ และคนเขมรแล้ว ได้ปรับปรุงอักษรไทยยุคต้นให้เป็นมาตรฐาน มีการผสมอักษรสุโขทัยกับอักษรธรรมที่ปัจจุบันเรียกว่า “อักษรฝักขาม” ที่ใช้ในล้านนามาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๕๕ และแพร่หลายเลยเชียงตุงขึ้นไป ถือเป็นอักษรราชการของล้านนา จดหมายของทูตที่ส่งไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนก็เขียนด้วยอักษรฝักขาม นอกจากนี้ไทยยวนในล้านนายังใช้อักษรอีกชนิด ที่เรียกว่า “ตัวเมือง” หรือ “ตัวธรรม”

เอกลักษณ์ของผู้ชาย

ชาวไทยวน การสักมอม

ตั้งแต่บั้นเอวจรดหัวเข่า

ดอยตุงในอดีต

ตอนที่ 1 : ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 4: cultural Identity of Chiangrai

ตำนานล้านนา ล้วนกล่าวถึงชาวละว้าในดินแดนโยนกเอาไว้ว่า ละว้าตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่หลายแห่ง เช่น ดอยสามเส้า หรือดอยตายะสะ ดอยย่าเฒ่า และดอยตุง มีปู่เจ้าลาวจกต้นราชวงศ์ลวจังกราชเป็นผู้นำ ต่อมาได้ย้ายลงมาสร้างเมืองเชียงลาวในลุ่มน้ำละว้า (ลุ่มน้ำแม่สาย) และเวียงพางคำ ชาวโยนกรุ่นแรก สมัยพญามังรายและสมัยต่อๆ มา คงรับวัฒนธรรมละว้า เพราะนับถือผีบรรพบุรุษคล้ายคลึงกัน เช่น การนับถือผีปู่ย่า การใช้ตุงสามหางนำหน้าขบวนศพ การปลูกบ้านแล้วทำไม้ไขว้กันเหนือจั่วที่เรียกว่า “กาแล” (ครึแลในภาษาละว้า) ส่วนทะเลสาบเชียงแสนในตำบลเวียงโยนก สันนิษฐานว่าในอดีตเคยเป็นที่ตั้งเมืองโยนกนาคบุรีศรีช้างแสน(โยนกนาคพันธุ์) มีการพบกล้องยาสูบดินเผา (หม้อยา) จำนวนมากกระจายอยู่บริเวณรอบทะเลสาบ อีกทั้งในตัวเมืองเก่าเชียงแสน มีพระธาตุเจดีย์และโบราณสถาน รวมทั้งกำแพงเมืองและคูเมือง เช่นเดียวกับเมืองตำมิละ ที่ยังปรากฏซากกำแพงเมืองและคูเมืองอยู่ในพื้นที่ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ

ปัจจุบันที่เชียงรายมีชาวละว้า กลุ่มที่เรียกตนเองว่า “ลัวะ” “ว้า” และ “ปลัง” ตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ในพื้นที่ ๙ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงราย พาน เวียงแก่น เชียงแสน เวียงป่าเป้า แม่ลาว แม่จัน แม่ฟ้าหลวง และแม่สาย ชาวละว้า เหล่านี้คงสืบทอดองค์ความรู้ และภูมิปัญญา รักษาวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อดั้งเดิม เช่นเดียวกับละว้าในเชียงใหม่ที่ก่อนเข้าพรรษาแต่ละปี จะประกอบพิธี

ไหว้ดงหรือไหว้ผียักษ์ และมีการผสมกลมกลืนทางภาษาและวัฒนธรรมกับคนไทยที่เข้ามาอยู่ใหม่ โดยต่าง

ยอมรับในวัฒนธรรมของอีกฝ่าย พร้อมทั้งปรับตัวเข้าหากันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในด้านการเกษตร ชาวละว้าทำนาข้าวไร่หรือ “นาน้ำฟ้า” ใช้น้ำฝนเป็นหลัก ส่วนชาวไทยทำ “นาน้ำเหมือง” ใช้น้ำจากฝายหรือชลประทานราษฎร์ ดังมีคำกล่าวว่า “ลัวะเยี้ยไฮ่บ่หื้อตายคา ไทใส่นาบ่หื้อตายแดด” กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเชียงรายมีข้อสันนิษฐานว่า เคลื่อนย้ายลงมาจากพื้นที่แนวขนานแม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำแยงซีในมณฑลยูนนาน ลงมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่ราบลุ่มเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มที่สำคัญ และกระจายตัวไปในแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะในที่ราบเชิงเขา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไตกะได เช่น ไตลื้อ ไตยอง ไตใหญ่ ไตขืน (ไตเขิน) เคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานในเชียงรายและภาคเหนือตอนบนหลายวาระ ส่วนหนึ่งได้อพยพโยกย้ายในสมัยกรุงธนบุรีและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตามนโยบายเจ้ากาวิละอันเป็นช่วงที่เริ่มก่อร่างสร้างเมืองใหม่ หรือ “ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง” หลังเป็นอิสระจากอำนาจของพม่าที่เข้ามาปกครองในล้านนา หลังคณะมิชชันนารีอเมริกัน นำโดย William Clifton Dodd หรือ “หมอดอดด์” เดินทางขึ้นไปเผยแพร่คริสต์ศาสนาในยูนนาน ซึ่งประชากรส่วนหนึ่งเป็นชาวไตหย่า ชาวบ้านได้รับรู้ว่าดินแดนไทยอุดมสมบูรณ์ เปี่ยมด้วยสันติสุข จึงพากันรอนแรมลงมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอแม่สาย พร้อมทั้งเลิกนับถือผีซึ่งมีพ่อมด / ย่ามด เป็นตัวกลางในการติดต่อกับผีต่างๆ แล้วหันมานับถือคริสต์ศาสนา

การกระจายตัวของกลุ่มภาษาไตกะได

ตอนที่ 1 : ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 5: cultural Identity of Chiangrai

กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย อาจจำแนกตามกลุ่มภาษาเป็น ๖ กลุ่มใหญ่ คือ ๑) ตระกูลจีน – ธิเบต (Sino - Tibetan) แบ่งเป็น สาขาธิเบต - พม่า คือ ลิซู (ลีซอ) ลาหู่ และอาข่า สาขา คะเร็น คือ กะเหรี่ยง และสาขาม้ง – เย้า คือ ม้งและเย้า (อิ้วเมี่ยน) ๒) ตระกูลออสโตร – เอเชียติค (Austro - Asiatic) สาขามอญ – เขมร ได้แก่ ละว้า (ละเวือะ) ลัวะ (มัล) ลัวะ (ไปร) ขมุ (กำหมุ) มาบรี (ผีตองเหลือง) ปะหล่อง (ดาระอั้ง / เตออั้ง) ชาวสัก ส่วย โซ่ กุย เซมัง – ซานอย ซาไก ฯลฯ นอกจากวิธีจำแนกดังกล่าว ยังมีกลุ่มภาษาไตกะได ที่มีกลุ่มชนเข้าตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย จำนวนมาก ได้แก่ ไทลื้อ ไทยอง ไทเขิน และไทยโยนก วิธีที่สองด้านมานุษยวิทยา จำแนกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ ยึดวัฒนธรรมเป็นหลัก ได้แก่ ๑) กลุ่มวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับจีนหรือตระกูลจีน – ธิเบต (Sino – Tibetan Stock) ได้แก่ ม้งและเย้า ๒) กลุ่มวัฒนธรรมที่สืบเชื้อสายธิเบต – พม่า (Burmese – Tibetan Stock) ได้แก่ ลาหู่ ลีซู อาข่า และกะเหรี่ยง

พิธีไหว้ผีดอยตองเหลือง ของชาวเชียงราย

ดอยตุงในอดีต

ตอนที่ 1 : ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 6: cultural Identity of Chiangrai

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

kung
Sticky Note
หน้านี้ปรับรูปคุณบุญช่วย เล็กลงแล้ว แลขยายภาพหนังสือให้ใหญ่ขึ้น
Page 7: cultural Identity of Chiangrai

อาข่า

อาข่า เป็นกลุ่มย่อยของชนชาติโลโล อพยพมาจากแถบหยวนเชียง ซึ่งอยู่ห่างจากนครคุนหมิงประมาณ

๑๖๐ กิโลเมตร เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๓๕ กระจายตั้งถิ่นฐานในรัฐฉานทางตะวันออกของพม่า ในแขวงหลวงน้ำทา

และบ่อแก้วของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเข้ามาอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน

ของไทย เมื่อประมาณ ๙๐ – ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา โดยย้ายจากเชียงตุงมาอยู่ที่ดอยช้างงูหรือดอยสะโง้ ตำบลศรีดอนมูล

ใกล้สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของชาวละว้า

ผู้นำชาวอาข่าจากเชียงตุงคือ แสนอุ่นเรือน ได้พาผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบนดอยตุงหลังแสนอุ่นเรือนเสียชีวิต

ญาติพี่น้องได้แยกย้ายกระจายไปอยู่ในที่ต่างๆ แสนพรหมน้องชายไปตั้งหมู่บ้านผาหมี แสนใจผู้เป็นหลานนำอาข่าส่วน

หนึ่งย้ายไปอยู่ในพื้นที่แม่จันส่วนหนึ่งไปอยู่ที่กิ่วสะไตและในแนวลำน้ำกกตอนบนหลังปีพ.ศ.๒๔๙๒ชาวอาข่าบ้าน

ลาย เมืองฮาย ในสิบสองปันนาซึ่งเคยปลูกฝิ่นบนภูเขาปลังได้อพยพมาอยู่ที่ดอยตุง อำเภอแม่จัน เนื่องจากรัฐบาลจีนมี

นโยบายเข้มงวดห้ามมิให้ปลูกฝิ่นและค้าฝิ่นอย่างเด็ดขาด

จากการสำรวจอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.๒๕๔๕พบว่ากลุ่มอาข่าในเชียงรายมีจำนวน๕๙,๗๘๒

คน โดยทั่วไปชาวอาข่านิยมตั้งถิ่นฐานบนสันเขาในระดับความสูง๔,๕๐๐ฟุต

หรือประมาณ๑,๒๐๐เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางการเลือกทำเลที่ตั้ง

ชุมชนมักเลือกภูเขาลูกกลางแวดล้อมด้วยภูเขาสูงมีดินดำอุดมสมบูรณ์ ไม่

ไกลจากห้วยน้ำลำธาร แต่ไม่ใช่แม่น้ำใหญ่หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อ

ป้องกันโรคระบาดและภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมชุมชนมีทั้งขนาดเล็กและ

ขนาดใหญ่บางชุมชนมีถึง๒๐๐ครัวเรือนจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยครัว

เรือนละ๗คน

ลักษณะบ้านของอาข่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูงฝาเป็นไม้ไผ่สานหลังคามุงหญ้าคาช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีมีบันไดหน้าและบันไดหลังตัวบ้านแยกเป็นชานบ้านด้านหน้าบริเวณเตาไฟห้องฝ่ายชายห้องฝ่ายหญิงซึ่งมีหิ้งผีบรรพบุรุษและมีกระชุใส่พันธุ์ข้าวเชื้อบริเวณพื้นดินใกล้ห้องฝ่ายหญิงมีครกตำข้าวแต่ปัจจุบันมักนำไปสีที่โรงสีในหมู่บ้าน ครอบครัวอาข่าส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยายบุตรชายคนโตและครอบครัว และบุตรชายคนสุดท้องจะอยู่ร่วมในครัวเรือนเดียวกับพ่อแม่ส่วนบุตรชายคนอื่นๆและบุตรสาวจะแยกไปตั้งบ้านเรือนสร้างครอบครัวใหม่อาข่ามีแบบแผนการตั้งชื่อเป็นระบบที่สามารถบ่งบอกชื่อของบรรพบุรุษย้อนหลังไปได้ถึง๑๕ชั่วอายุเป็นอย่างน้อย ภาษาที่ชาวอาข่าใช้ มีหลายกลุ่มกลุ่มหลักคือJeuG’oeซึ่งใช้กันเป็นส่วนใหญ่

บ้านอาข่าในปัจจุบัน

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 8: cultural Identity of Chiangrai

พิธีกรรมสำคัญมีหลากหลาย เช่นพิธีทำประตูหมู่บ้านพิธีย้อมไข่แดงหรือพิธี

ชนไข่แดง เพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษพิธีเซ่นไหว้ผีบ่อน้ำ หรือพิธีปลูกข้าวพิธีโล้

ชิงช้า เป็นต้น พิธีทำประตูหมู่บ้านสำคัญมากถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แบ่งแยก

ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของภูตผีวิญญาณออกจากกันเป็นการรำลึกถึง“ซุมมิโอ”

บรรพบุรุษผู้ริเริ่มทำประตูหมู่บ้าน

ช่วงเมษายนชาวบ้านจะช่วยกันทำประตูเข้าด้านหน้าหมู่บ้านและด้านหลัง โดยมี

“ซยือมะ”หัวหน้าผู้ประกอบพิธีกรรมเป็นประธานเสาประตูทั้งสองข้างประดับไว้ด้วย“ตาแหลว”ที่

ใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปคล้ายดาวเรียงรายเป็นแถวมีตุ๊กตาไม้(ตาผ่ามะ)แกะสลักเป็นรูปชาย–หญิง

๑คู่ มีตุ๊กตาเก่าตั้งอยู่เป็นคู่ทั้งด้านซ้ายและขวาของประตู ชาวอาข่าเชื่อว่าตุ๊กตาเพศหญิง (ยามี

ยะ)นั้นเป็นหญิงชาวป่าลูกสาวพญานาคแกะสลักเต็มตัวตุ๊กตาดังกล่าวแสดงอวัยวะเพศชัดเจนโดย

ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่ง เป็นสัญลักษณ์การเจริญพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ส่วนตุ๊กตาเพศชาย

(ฮะจือหยะ)นั้นเป็นผู้ใหญ่ เป็นพ่อของคนแสดงอวัยวะเพศอย่างเปิดเผยการจัดวางตุ๊กตาหญิงชาย

ในท่าร่วมเพศเป็นการสื่อความหมายถึงการดำรงเผ่าพันธุ์

พิธีโล้ชิงช้า (หละเฉอะปิ) จัดขึ้นประมาณเดือนสิงหาคม เพื่อรำลึกถึงเทพธิดา

“อิ่มซาแยะ”ผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์แก่พืชผลในไร่นา และขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เช่น เทพน้ำ – เทพฝน (เย้อีซะ) มีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ (อะเพอะพี)

สำหรับชิงช้านั้นมักสร้างขึ้นใกล้ประตูหมู่บ้าน จัดทำขึ้น๓แบบคือแบบ

เสากระโจมเต็นท์อินเดียนแดงแบบระหัดวิดน้ำและแบบสำหรับเด็ก

วิถีชีวิตของอาข่าเป็นวิถีของเกษตรกรทำการเกษตรเพื่อ

ยังชีพปลูกข้าวไร่ ถั่ว และพืชผักเป็นอาหารการตั้งถิ่นฐานบน

ภูเขาสูงในผืนป่าฝนเขตร้อน เอื้ออำนวยให้มีการสั่งสมองค์ความรู้

และภูมิปัญญาด้านพืชสมุนไพรซึ่งปัจจุบันนำไปใช้ในตำรับปรุงยา

ของยูนนานและของบริษัทยาชั้นนำของโลกแพทย์พื้นบ้านอาข่ามี

ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านการต่อกระดูกที่หักหรือแตก

พิธีเซ่นไหว้ผีบ่อน้ำบ้านแสนสุข

ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

เสาประตูเข้าด้านหน้า

และด้านหลังหมู่บ้าน

การโล้ชิงช้าของชายหญิงอาข่า

ที่จัดขึ้นในจังหวัดเชียงราย

เครื่องแต่งกายของอาข่ามีอัตลักษณ์โดดเด่นผู้ชายสวมเสื้อผ้าที่นำพืชตระกูล“ห้อม”มา

ย้อมเป็นสีน้ำเงินเข้มปักด้ายหลากหลายสีเป็นลวดลายต่างๆสวมหมวกปักลวดลายประณีตผู้หญิง

สวมกระโปรงสั้นสีดำสวมเสื้อผ้าฝ้ายทอมือด้านหน้ามีแผ่นเงินกลมๆ เรียงรายลงมาจากหน้าอก

ด้านหลังปักลวดลายประณีตในรูปทรงเรขาคณิตทั้งหญิงชายสะพายย่ามปักลวดลายสวยงามผู้มี

ฐานะดีจะนำเหรียญเงินและกระดุมเงินมาประดับตบแต่งให้ดูภูมิฐานยิ่งขึ้น ส่วน

ผู้หญิงสวมหมวกประดับด้วยกระดุมเงินเป็นแถวยาวด้านล่างของหมวกประดับ

ด้วยเหรียญเงินรูปีของอินเดียหรือเหรียญเงินเปียสต้า (เงินหมันหัวหนาม)ของ

สหภาพอินโดจีนฝรั่งเศสนิยมนำขนนกหางกระรอกหรือขนลิงย้อมสีสดใสมา

อาหารสมุนไพรอาข่า

ประดับตกแต่งมีพู่ห้อยระย้าและสวมสร้อยลูกปัดสีสันสดใส

ชาวอาข่ามีอุปนิสัย ร่าเริงสนุกสนานชอบร้องเพลงมีบทเพลงและท่วงทำนองหลากหลายผู้หญิงนำกระบอก

ไม้ไผ่มาใช้เป็นเครื่องเคาะจังหวะพร้อมทั้งตีฆ้องกลองและฉาบ ในอดีตหนุ่ม-สาวเวลาเดินทางไปไร่หรือทำงานในไร่

มักร้องเพลงเกี้ยวพาราสีโต้ตอบกันในลักษณะ“ร้อยเนื้อทำนองเดียว”

ธรรมเนียมอาข่า มีข้อห้ามมิให้หนุ่ม–สาวเกี้ยวพาราสีกันในบ้านแต่ละหมู่บ้านจะมีข่วง(แดข่อง)เป็นลาน

วัฒนธรรมให้หนุ่ม–สาวได้เรียนรู้ด้านต่างๆรวมทั้งร้องเพลงและเต้นรำเป็นคู่ๆหากคู่ไหนพึงพอใจกันก็พัฒนาไปสู่

การสู่ขอและแต่งงานโดยความยินยอมของพ่อ-แม่ทั้งสองฝ่าย

ชาวอาข่ามีการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีการถ่ายโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพชนจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่น

หนึ่ง ผู้ชายสืบทอดวิธีการจักสานตะกร้าและภาชนะไม้ไผ่ บางคนมีฝีมือด้านการตีเหล็ก ตีมีด และเครื่องมือ

การเกษตร รวมทั้งมีฝีมือทำปืนแก๊ปสำหรับล่าสัตว์ ผู้หญิงอาข่าส่วนใหญ่มีฝีมือด้านหัตถกรรมปักผ้าเป็น

ลวดลายประณีตเรียนรู้จากย่ายายและแม่ดังมีสุภาษิตอาข่าบทหนึ่งกล่าวว่า“เมื่อแม่ตายจากไปมรดกที่มอบ

ให้ลูกสาวนอกจากกี่ทอผ้าแล้วยังมีลวดลายศิลปะการปักผ้าวิจิตรประณีต”

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 9: cultural Identity of Chiangrai

ลาหู่

ชาวลาหู่เป็นกลุ่มชนชาติโลโล ตระกูลย่อยธิเบต – พม่า คำว่า ลาหู่ หมายถึง ผู้มีความซื่อสัตย์และมีสัจจะ

ช่วงศตวรรษ ๑๘ และ ๑๙ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ภูเขาโหล่เฮ่ย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน มีพระเป็นผู้นำ จักรพรรดิ

พยายามแผ่ขยายอิทธิพลวัฒนธรรมเข้าครอบงำ ทว่าพระและชาวลาหู่ส่วนใหญ่ต่อต้านปฏิเสธ จักรพรรดิจึงส่งทหารเข้า

ปราบปราม ชาวลาหู่ต้านทานไม่ไหวหนีไปพึ่งพิงชาวละว้าบนภูเขาว้า ช่วงเวลานั้นชาวละว้ามีพิธีกรรมล่าศีรษะมนุษย์แต่

ก็ยกเว้นไม่ล่าศีรษะชาวลาหู่ เพราะหญิงชายลาหู่นิยมเคี้ยวหมากจนฟันดำ และนิยมใส่ลานหูเช่นเดียวกับชาวละว้า ชาว

ลาหู่และละว้ามักพึ่งพาอาศัยกันฉันพี่น้อง

ชาวลาหู่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากจำแนกกลุ่มย่อยได้ถึง๒๓กลุ่ม เฉพาะที่อพยพเข้ามาอยู่ใน

ภาคเหนือตอนบนของไทยมีเพียง๕กลุ่มย่อยตามภาษาที่พูดและสีของเสื้อผ้าที่สวมใส่อันได้แก่ลาหู่นะหรือลาหู่ดำลาหู่ยี

หรือลาหู่แดงลาหู่ซีหรือลาหู่เหลืองลาหู่ฟู่หรือลาหู่ขาวและลาหู่เฌเลหรือลาหู่เมี้ยว

ชาวลาหู่ในจีนส่วนหนึ่งเคลื่อนลงมายังรัฐฉานตั้งถิ่นฐานบนภูเขาในเขตเชียงตุงส่วนหนึ่งเข้ามาในไทยราว๑๐๐ปี

ที่ผ่านมาตั้งบ้านเรือนอยู่ด้านเหนือและด้านตะวันตกของเชียงรายเช่นดอยปู่ไข่ดอยตุงดอยแม่สลองดอยหินแตกและ

ดอยวาวี ในระดับความสูงประมาณ๔,๕๐๐ฟุตหรือประมาณ๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีสภาพภูมิ

อากาศหนาวเย็น

ลาหู่เฌเลและลาหู่ซี(ลาหู่เหลือง)ลาหู่นะ(ลาหู่ดำ)เคลื่อนย้ายเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือเมื่อประมาณไม่เกิน๙๐

ปีที่แล้วในเชียงรายมีเพียงไม่กี่หมู่บ้านส่วนใหญ่เลิกนับถือผีหันมานับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก

ชาวลาหู่สืบทอดองค์ความรู้ดั้งเดิมของบรรพชนไว้ได้อย่างดีมีการนำเปลือกต้นยางน่องซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่

มาทุบให้น้ำยางซึ่งมีพิษร้ายแรงออกจนหมดแล้วนำมาทำเป็นเสื้อคลุมหรือทำเสื่อปูรองนั่ง

ชาวลาหู่ในไทยนับถือคำสอนของผู้นำศาสนาคืออาขาฟูคูพร้อมทั้งเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุดเป็นผู้สร้างสิ่งดีงามในโลก ส่วนผีมีทั้งผีดีและผีร้าย ทุกหมู่บ้านมีหมอผีทำพิธีไสยศาสตร์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือปัจจุบันชาวลาหู่ในเชียงราย รวมทั้งในภาคเหนือมีความเชื่อและการนับถือศาสนาแตกต่างกัน มีทั้งนับถือ “เทพเจ้าหงื่อซา” ผีบรรพบุรุษหรือ“หนี่”บ้างนับถือพุทธและคริสต์ส่วนหนึ่งนับถือผีบรรพบุรุษควบคู่กับพุทธศาสนานิกายเถรวาทชาวลาหู่เลื่อมใสในพระป่าคือ“หลวงปู่มั่น”และสานุศิษย์อันได้แก่หลวงปู่แหวน สุจิณโณหลวงปู่สิม อาจารโร ฯลฯ อีกส่วนหนึ่งศรัทธาครูบาศรีวิชัยที่จาริกไปสร้างโบสถ์วิหารพระธาตุเจดีย์บูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถานต่างๆและสร้างโรงเรียนให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ชนบทห่างไกลทุรกันดารและบนภูเขาสูงทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้เข้าถึงการศึกษาอ่านออกเขียนได้สืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

ภาษาลาหู่ใช้ คำหลายคำเหมือนภาษาพม่าลีซอและอาข่าบางคำหยิบยืมจากภาษาจีนและภาษาไตลาหู่แต่ละกลุ่มพูดสำเนียงต่างกันเล็กน้อยสามารถสื่อสารกันได้ยกเว้นลาหู่เฌเลที่แตกต่างออกไปมากผู้มีอาชีพค้าขายมักพูดภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นยูนนาน(จีนฮ่อ)ได้ดีอีกทั้งในอดีตกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ภูเขาแถบแม่จันและแม่ฟ้าหลวง รวมทั้งในรัฐฉานมักใช้ภาษาลาหู่เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างกันมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตเข้มแข็งแต่ละครอบครัวจะต้องเข้าพิธีแต่งงาน๒ครั้ง ครั้งแรกเป็นการสร้างครอบครัวครั้งที่๒เป็นการทดแทนพระคุณพ่อ –แม่ โดยเชื้อเชิญคนทั้งหมู่บ้านมาร่วมงานคนในหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือญาติการแต่งงานความเป็นเพื่อนและการพึ่งพากันในเชิงเศรษฐกิจผู้ชายลาหู่มีอิสระในการเลือกหญิงสาวมาเป็นภรรยาและมักมีภรรยาเพียงคนเดียวมีการสู่ขอแต่งงานโดยการยินยอมของพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายมีผู้อาวุโสเป็นผู้ประกอบพิธีฝ่ายหญิงจะฆ่าหมู๑ตัวเพื่อเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษขอให้การแต่งงานมีความสุขหากจะหย่าร้างกันคนทั้งหมู่บ้านจะมาเป็นพยานมีการฆ่าหมูและจ่ายค่าธรรมเนียมให้หัวหน้าหมู่บ้าน “คะแซป่า”หรือหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบให้การดำเนินชีวิตของลูกบ้านอยู่ในกรอบขนบจารีตและกฎระเบียบของหมู่บ้าน

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 10: cultural Identity of Chiangrai

การตั้งถิ่นฐานของลาหู่ พิจารณาว่าบริเวณนั้นมีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคหรือไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวไร่

และพื้นที่ปลูกฝิ่นหรือไม่ ในอดีตชาวลาหู่ปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจทำการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอยอีกทั้งยังมีความ

สามารถเป็นเลิศในการล่าสัตว์ชาวไทใหญ่ในรัฐฉานเรียกพวกเขาว่าชนเผ่านายพรานหรือ“มูเซอร์”ปัจจุบันเปลี่ยน

จากการปลูกฝิ่นมาปลูกข้าวโพดแทน

การปลูกสร้างบ้านเรือนส่วนใหญ่ยึดแบบแผนสถาปัตยกรรมพื้นที่ใช้สอยในบ้านแยกเป็นสี่ส่วน คือ

เฉลียงหน้าบ้านติดกันเป็นพื้นที่เก็บฟืนและภาชนะใส่น้ำ ในตัวบ้านมีห้องโถงใหญ่เป็นที่ตั้งเตาไฟอีกส่วนเป็นห้อง

หัวหน้าครอบครัวและภรรยามีหิ้งบูชาผีเรือนหากเป็นลาหู่ยีจะมีกระบอกไม้ไผ่ก้อนหินจอกเหล้าและปุยฝ้ายวาง

อยู่ แต่หากเป็นลาหู่เฌเลจะเป็นประตูปิด-เปิดที่มุมด้านในสุดของห้องนอนบริเวณหน้าบ้านของหัวหน้าหมู่บ้านลาหู่

เฌเลจะต้องมีลานเต้น“จะคึ”เพื่อประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า“หงื่อซา”

การเต้นจะคึของเด็กสาวลาหู่ซี ในงานแลกเปลี่ยน

วัฒนธรรมชาติพันธุ์จังหวัดเชียงราย

ด้านพิธีกรรมชาวลาหู่เฌเลและลาหู่ยียึดถือปฏิบัติตามแบบแผน

ขนบจารีตดั้งเดิมอย่างเคร่งครัดดำเนินชีวิตตามความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีของ

ชาติพันธุ์ นิยมเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค ลาหู่ยีดั้งเดิมนับถือ “หงื่อซา”ไม่ฆ่าสัตว์เลี้ยงผี

โดยเฉพาะวัวหมู และไก่ ส่วนลาหู่เฌเลมีธรรมเนียมฆ่าหมูดำและไก่เซ่นไหว้พิธีกรรม

ของลาหู่มีหลากหลายเช่นกินข้าวใหม่ระหว่างตุลาคม–พฤศจิกายนถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดี

ที่สุดมีอาหารการกินบริบูรณ์มีการฆ่าหมูเพื่อเซ่นไหว้ผีใหญ่

วันดอซียีเทียบได้กับปีใหม่สงกรานต์ วันเข้าซียีเทียบได้กับวันเข้าพรรษา วันออกซียีเทียบได้กับวันออก

พรรษาพิธีฉลองปีใหม่หรือกินวอปีใหม่ (เขาะจ่าเว) จัดในช่วงเทศกาลตรุษจีน หัวหน้าหมู่บ้านหรือผู้อาวุโสเป็นผู้

กำหนดวันซึ่งแต่ละหมู่บ้านมักจัดไม่ตรงกัน เพื่อให้ญาติมิตรพี่น้องจากหมู่บ้านอื่นเดินทางมาร่วมนอกจากนี้ยังมีพิธี

เซ่นไหว้ผีป่าผีไร่ผีภูเขาฯลฯ

ชาวลาหู่มีอุปนิสัยสนุกสนานร่าเริงชอบร้องรำทำเพลงลาหู่เฌเลมีเครื่องดนตรีหลักคือกลองฆ้องฉาบ

แคนซึง และขลุ่ย ใช้บรรเลงในการเต้นจะคึ และมีจ้องหน่อง (อ่ะถะ) ใช้ดีดและเป่าในงานรื่นเริงและในการเกี้ยว

พาราสีช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่งตรงกับตรุษจีนและเทศกาลกินข้าวใหม่ญาติมิตรจากต่างบ้านทั้งหญิงชายจับมือเต้นรำ

เป็นวงกลมรอบต้นวอ โดยเต้นรำเฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืน เฉพาะลาหู่เฌเลจะไม่มีการจับมือถูกเนื้อต้องตัว

กันในขณะเต้นรำซึ่งจัดให้มีขึ้นเฉพาะในลานจะคึ โดยผู้หญิงจะเต้นรำในวงด้านในส่วนผู้ชายจะเต้นรำอยู่ในวงด้าน

นอกคนเล่นดนตรีส่วนมากมักเป็นผู้ชาย

การเต้นจะคึของชาวลาหู่ซี ในเทศกาลปีใหม่ (กินวอ)

บ้านจะพือ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

บ้านของชาวลาหู่ซี

จังหวัดเชียงราย

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 11: cultural Identity of Chiangrai

ด้านการแต่งกาย ลาหู่แบ่งเป็นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มแต่งกายแตกต่างกัน

ผู้ชายลาหู่ยีและลาหู่นะใส่เสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีดำชายเสื้อรั้งสูง ไม่ติด

กระดุม เดิมมักมีผ้าโพกศีรษะสีดำหรือน้ำเงิน สวมกางเกงจีนขายาวเลยเข่า

มีผ้าคาดเอวบางคนมีผ้าพันขาผู้ชายลาหู่เฌเลใช้ผ้าพันขาสีดำและสีขาว

ผู้หญิงลาหู่ยีสวมผ้าถุงและเสื้อสีดำมีแผ่นเงินกลมประดับเรียงรายที่ด้าน

หน้าของเสื้อ มีแถบผ้าสีแดง ขาว และสีอื่นเย็บติดชายเสื้อและขอบผ้าถุง ส่วนผู้หญิงเฌเล

สวมกางเกงหลวมขายาวถึงข้อเท้าสวมเสื้อคลุมยาวถึงปลายเท้ามีห่วงเงินติดที่หน้าอกยาวลงมาถึง

ขอบเอวด้านผู้หญิงลาหู่ซีมักสวมเสื้อและผ้าถุงหากเป็นโอกาสพิเศษจะสวมกางเกงและเสื้อคลุมยาว

คล้ายเครื่องแต่งกายผู้หญิงลีซอผู้หญิงลาหู่ทุกกลุ่มมักพันแข้งด้วยผ้าสีต่างๆส่วนเด็กทั้งชายหญิงมัก

แต่งกายแบบเดียวกับผู้ใหญ่

ผู้ชายชาวลาหู่นิยมสวมเครื่องประดับ คือ กำไลมือทำด้วยเงินแท้ คนที่ฐานะดีมักนำ

เหรียญเงินแท้มาติดที่เสื้อด้านหน้า เรียงเป็นแถวจากคอลงมาจนถึงเอวผู้ชายเมื่อก่อนนิยมใส่ลานหู

(ต่างหู)พร้อมทั้งมีรอยสักตามร่างกายบริเวณแขนแผ่นหลังหน้าอกและขาอ่อนส่วนผู้หญิง

มักประดับเสื้อด้วยกระดุมเงินเหรียญเงินรูปีและเหรียญเงินหมันหัวหนามคนมีฐานะดีมักใส่ลานหู

เงิน (ต่างหูเงิน)กำไลเงิน แหวนสร้อยคอและเข็มขัดเงินกลุ่มลาหู่นะมีความสามารถในด้าน

งานหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่เป็นภาชนะต่างๆนำไม้ไผ่มาทำเครื่องใช้ และเครื่องเฟอร์นิเจอร์

อีกทั้งยังเป็นช่างเหล็กและช่างเครื่องเงิน

กะเหรี่ยง

ชาวกะเหรี่ยงขาวหรือสกอว์ (ปกาเกอะญอ) บเว และโปว์ (โพล่ง) เป็นชนชาติโลโล เป็นชาติพันธุ์ที่มีจำนวน

ประชากรมากที่สุดในไทย คำว่า “ปกาเกอะญอ” มีความหมาย ว่า “คน” ส่วน “โพล่ง” มีความหมาย ว่า “ประชาชน”

ในอดีตคนไทยในภาคเหนือมักเรียกชาวกะเหรี่ยง ว่า “ยาง” และ “ยางกะเลอ”

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า ชาวกะเหรี่ยงมีถิ่นฐานดั้งเดิมบริเวณด้านตะวันตกของธิเบตแล้วย้ายเข้ามาตั้ง

ถิ่นฐานในจีนเมื่อประมาณ๗๓๓ปีก่อนพุทธกาล ในปีพ.ศ.๒๐๗ชาวกะเหรี่ยงถูกกองทัพหลวงของจักรพรรดิจีนรุกราน

จึงเคลื่อนย้ายลงมาตามลำน้ำแยงซีแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวินในเขตพม่าโดยส่วนใหญ่เคลื่อนลงไปตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบ

ลุ่มอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำอิระวดีหลังจากมอญทำสงครามครั้งใหญ่กับพม่าและตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ส่งผลให้ทั้งมอญและ

กะเหรี่ยงจำนวนมากพากันอพยพเข้ามาในไทย

การอพยพเข้ามาในไทยครั้งใหญ่ของกะเหรี่ยงมีขึ้นในปี๒๔๒๘ เมื่อจ่อปาละผ่อผู้นำกะเหรี่ยงไม่ยอมโอนอ่อนอยู่

ใต้อำนาจของอังกฤษอังกฤษส่งกำลังทหารเข้าปราบชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากหนีข้ามแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำเมยเข้ามาตั้ง

ถิ่นฐานปะปนกับชาวละว้า โดยเฉพาะบริเวณที่ราบสูงกองลอย แม่เหาะ เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาแดนลาว

โดยเข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนของละว้าและได้จ่ายค่าแผ่นดินให้ชาวละว้าต่อมาได้กระจายไปอยู่ที่แม่ตื่นอมก๋อยแม่โถ

แม่สะเรียงแม่แจ่มแม่วางแม่วินสันป่าตองแม่คองเชียงดาวห้วยแก้วแม่ปิงเมืองน้อยอำเภอปายต่อมาชาวกะเหรี่ยง

กลุ่มเดียวกับยางคำนุได้ข้ามเทือกเขาสันปันน้ำมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เชียงราย เช่นที่บ้านห้วยหินลาดตำบลบ้านโป่งอำเภอ

เวียงป่าเป้าเมื่อประมาณ๑๐๐ปีที่แล้วชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้มีความเชื่อในเรื่องผีและมีศรัทธาในพุทธศาสนาแรงกล้า กลุ่ม

ที่มาจากอมก๋อยและแม่แจ่มตั้งชุมชนในพื้นที่แม่สรวยกลุ่มที่มาจากแม่โถแม่แจ่มบ่อแก้วสะเมิงไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้าน

น้ำลัด อำเภอเมือง ก่อนจะแยกย้ายไปอยู่ที่บ้านรวมมิตร บ้านห้วยขม และบ้านโป่งน้ำตก ส่วนที่อำเภอดอยหลวง

มีกะเหรี่ยงโพล่ง(โปว์)ซึ่งบรรพบุรุษมีศรัทธาในครูบาศรีวิชัยไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านห้วยสักบ้านดอยฯลฯ

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

10

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

11

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 12: cultural Identity of Chiangrai

ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ที่อำเภอเมือง ๑๑ หมู่บ้าน อ.เวียงชัย ๑ หมู่บ้าน

อ.เวียงป่าเป้า๑๒หมู่บ้านอ.แม่สรวย๑๑หมู่บ้านอ.เวียงแก่น๑หมู่บ้านและอ.ดอยหลวง๔หมู่บ้าน รวมจำนวน

ประชากรทั้งสิ้น๗,๖๒๓คน(ตัวเลขการสำรวจเป็นทางการปี๒๕๕๑)

ชาวกะเหรี่ยงมักตั้งถิ่นฐานในหุบเขาที่มีห้วยน้ำลำธารไหลผ่านมีผืนป่าอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทาง

ชีวภาพสูงมีป่าเป็นแหล่งอาหารนอกจากพืชผักในผืนป่าแล้วยังมีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดเป็นแหล่งโปรตีนในห้วยน้ำลำธาร

อุดมด้วยกุ้งหอยปูปลา รวมทั้งพืชสมุนไพร ชาวบ้านส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตด้วยการทำเกษตรตามแบบแผนชาติพันธุ์ คือ

เกษตรผสมผสานในไร่หมุนเวียนปลูกพืชหลากหลายชนิดปะปนกับข้าวไร่ ไร่หมุนเวียนมีช่วงระยะเวลาการใช้พื้นที่แตกต่าง

กันโดยทั่วไปแปลงหนึ่งใช้เวลา๒–๓ปีแล้วเวียนไปแปลงอื่นบางหมู่บ้านเช่นหินลาดในอำเภอเวียงป่าเป้าใช้เวลาถึง

๗ปีจึงย้ายไปยังแปลงใหม่

เศรษฐกิจ ของชาวกะเหรี่ยงเน้นเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองปลูกข้าวไร่บนภูเขาและทำนาขั้นบันได เพื่อให้มีข้าว

เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปีพร้อมทั้งปลูกพืชผักหลากหลายชนิดในไร่ข้าวส่วนรายได้นั้นมาจากการขายสัตว์เลี้ยงเช่น

วัวควายหมูและไก่เป็นต้น

ชาวกะเหรี่ยงบนเทือกเขาถนนธงชัยและบนที่ราบสูงกองลอย เดิมมี

เพียงภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนมิชชันนารีชาวอเมริกันนิกายโปรเตสแตนท์ได้

นำตัวอักษรแบบพม่าหรือล้านนามาประยุกต์ใช้ในปี๒๓๗๕ส่วนตัวอักษรภาษา

กะเหรี่ยงที่ประยุกต์จากอักษรโรมันหรืออักษรในภาษาอังกฤษนั้น มิชชันนารีชาว

ฝรั่งเศสนิกายโรมันคาทอลิกได้ประยุกต์ขึ้นใช้ในปี๒๔๙๗

มิชชันนารีอเมริกันได้เผยแพร่คริสต์ศาสนาบนเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตกซึ่ง

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและละว้ามีการเปิดโรงเรียนสอนภาษากะเหรี่ยงและพระ

คัมภีร์ไบเบิลสนับสนุนให้มีการแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากะเหรี่ยงและละว้า บรรดาเด็ก

และเยาวชนละว้าบนเทือกเขาถนนธงชัย ทั้งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย

ล้วนได้เรียนภาษากะเหรี่ยงและภาษาละว้าอีกทั้งได้เรียนพระคัมภีร์ไบเบิลส่วนหนึ่งได้เปลี่ยน

มานับถือคริสต์ศาสนาบางคนเป็นผู้ประกาศศาสนาหรือศิษยาภิบาล

ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากยังคงนับถือผีอย่างเหนียวแน่นควบคู่ไปกับนับถือพุทธศาสนา

โดยมีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษช่วยคุ้มครองให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุขสงบร่มเย็นผีเจ้าที่ช่วยคุ้มครอง

ให้ทุกคนในหมู่บ้านทำมาหากินได้ผลผลิตดีมีการความอุดมสมบูรณ์ผีทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้ควบคุมกลไก

การขับเคลื่อนของสังคมไม่ว่าใครจะทำอะไรทั้งในที่สว่างและมืดแม้ว่าจะไม่มีใครเห็นแต่ว่าผีเห็นและรับรู้

ใครทำผิดจะถูกผีลงโทษซึ่งไม่เพียงลงโทษผู้กระทำผิดเท่านั้นหากแต่ลงโทษทุกคนในชุมชนด้วยการทำให้

เกิดเจ็บป่วยหรือเกิดวิบัติต่อทรัพย์สิน เช่น ข้าว สัตว์เลี้ยง รวมทั้งความปลอดภัยของทุกคนในหมู่บ้าน

ด้วยเหตุนี้ผู้กระทำผิดจึงต้องขอขมาต่อผีด้วยเหล้าและไก่หากทำผิดร้ายแรงผีอาจเลือกกินควาย๑ตัวหรือ

หมู๑ตัวหลังฆ่าควายหรือหมูแล้ว จะนำเอาดีมาพิจารณาหากว่าดีผิดปกติถือว่าใช้ประกอบพิธีไม่ได้ ต้อง

ซื้อควายหรือหมูตัวใหม่มาฆ่าเซ่นไหว้อีกตัว

ผู้นำตามประเพณีของชาวกะเหรี่ยงในแต่ละชุมชนคือ “ฮีโข่” รวมถึงกลุ่มผู้อาวุโส เป็นผู้นำ

ธรรมชาติที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น กำหนดวันประกอบพิธีปีใหม่ของหมู่บ้าน

ทุกครัวเรือนจะมาร่วมสักการะบวงสรวงผีเจ้าที่ ขอให้ช่วยปกครองคุ้มครองทุกคนในครัวเรือนให้อยู่ดีมีสุข

ดูแลให้ทุกคนในหมู่บ้านดำเนินชีวิตอยู่ในกรอบของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีหากมีผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ

ด้วยการปรับไหม

ทำพิธีเรียกขวัญเพื่อ

ให้ผีเจ้าที่ช่วยคุ้มครอง

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 13: cultural Identity of Chiangrai

ชาวกะเหรี่ยงมีการถ่ายโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญา

อย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้บทเพลงพื้นบ้านซึ่งเป็นวรรณกรรม

มุขปาฐะ เช่น ปริศนาคำทาย เพลงร้องเล่นของเด็ก นิทาน

(ปลอเลอเปลอ)และบทลำนำสุภาษิตหรือ“ธา” ซึ่งเป็นคำสอนของ

บรรพบุรุษ โดยอาจร้องในขณะเดินทางในป่าเขา เดินทางไปไร่นา ไปล่าสัตว์

ไปตักน้ำหรือหาฟืน ขณะนั่งจิบชาสนทนารอบเตาไฟในบ้านหรือบนลานดินหน้าบ้าน

รวมทั้งในงานศพ

การที่ชาวกะเหรี่ยงนับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายมารดาส่งผลให้ผู้หญิงมีบทบาท

สำคัญในทุกครัวเรือนสังคมกะเหรี่ยงถือว่าผู้หญิงเป็นใหญ่ชายหนุ่มที่แต่งงานจะไปอยู่

บ้านฝ่ายภรรยาและมีผัวเดียว–เมียเดียวเมื่อมีลูกชายหรือลูกสาวคนแรกก็จะเปลี่ยน

มาเรียกว่า“พ่อของ(ชื่อลูกคนแรก)”

เด็กสาวที่เป็นโสดจะสวมชุดผ้าฝ้ายสีขาวหากแต่งงานมีครอบครัวจะแต่งแบบ

สองท่อนคือสวมเสื้อแขนสั้นปักลวดลายและสวมซิ่นสีแดงพิธีศพถือเป็นงานสำคัญยิ่ง

ทุกคนต้องไปร่วมในพิธี คนหนุ่มสาวจะเดินแถวเรียงหนึ่งไปรอบๆศพผู้ตายขับขาน

“ธา” กันตลอดทั้งคืน หนุ่มสาวบางคู่ถือโอกาสนี้ทำความรู้จักกัน บ้างพัฒนาความ

สัมพันธ์ไปสู่การแต่งงาน

การตำ “โช่โต่” หรือครกกระเดื่อง

ชาวกะเหรี่ยงมีฝีมือในด้านงานหัตถกรรม ปลูกฝ้ายเพื่อนำมาทอผ้า ย้อม

สีธรรมชาตินำเมล็ดพืชมาประดับเป็นลวดลายงดงามประณีตมีความชำนาญในการนำ

ไม้ไผ่และหวายมาจักสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ อีกทั้งมีเครื่องดนตรีของชาติพันธุ์

ที่โดดเด่น คือ เตหน่า ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทพิณนักวิชาการด้านดนตรีจัดเป็น

พิณโบราณยุคแรก นอกจากนี้ยังมีฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ รวมทั้งฆ้องกบ (โกละ)

ที่นำมาเล่นเป็นดนตรีของชาติพันธุ์ รวมทั้งศิลปะการขับร้องและฟ้อนรำ เช่นการเล่นม้า

จกคอก(รำตง)หรือการเต้นรำกระทบไม้(โคยวะ)เหล่านี้ล้วนแสดงถึงการมีอารยธรรม

ของชาติพันธุ์

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 14: cultural Identity of Chiangrai

ม้ง

ชาวม้งจัดอยู่ในกลุ่มจีน – ธิเบต สาขาชนชาติจีน มีประวัติการตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำแยงซีมายาวนาน

คำว่า“ม้ง” มีความหมายว่า “อิสระชน” ต่อมาได้ทยอยเคลื่อนย้ายจากลุ่มน้ำแยงซี ลงสู่ดินแดนที่มีความ

อุดมสมบูรณ์ทางใต้ในช่วงศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ หลังมีปัญหาขัดแย้งทางการเมืองกับพระจักรพรรดิ มีการปะทะสู้รบกับ

กองทัพหลวงของจีน และประสบความพ่ายแพ้

ช่วงสงครามลับในลาวหรือที่ชาวลาวเรียกว่า“สงครามลาวฆ่าลาว”ชาวม้งจำนวนมากเป็นทหารรับจ้างในกองทัพซี

ไอเอภายใต้บัญชาการของนายพลวังเปาหลังพ่ายแพ้ต่อกองทัพขบวนการประเทศลาวชาวม้งพากันอพยพเข้ามาในไทย

และอพยพไปยังประเทศที่สามส่วนหนึ่งไปอยู่ฝรั่งเศสสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียกัมพูชาแคนาดา เยอรมันและกีอานา

ฝรั่งเศส

สำหรับชาวม้งที่เคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนภาคเหนือตอนบนของไทยจำแนกเป็น๓กลุ่มคือม้งขาว

ม้งน้ำเงินและม้งลายหรือม้งกอบั้งซึ่งมีจำนวนน้อยมาก โดยเคลื่อนย้ายจากกุ้ยโจวและกว่างสี –จ้วงผ่านชายแดนลาว

ส่วนหนึ่งเคลื่อนต่อลงมายังเมืองห้วยทรายแขวงบ่อแก้ว จากนั้นข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอเชียงของแล้ว

กระจายไปที่เวียงแก่นเทิงขุนตาล

ชาวม้งตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขา ในระดับความสูงประมาณ๑,๐๐๐ -๒,๐๐๐

เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นพื้นที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น ปลูกข้าวพอยังชีพ

ปลูกข้าวโพดเป็นพืชการ

เศรษฐกิจ การตั้งชุมชนอยู่ในระดับความสูงค่อนข้างมาก เป็นเขตรอยต่อของ

ระบบนิเวศ ระหว่างป่าเบญจพรรณกับป่าสนจึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมีสมุนไพร

หลากหลายชนิดชาวบ้านจึงมีองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านสมุนไพรรวมทั้งตำรับการแพทย์พื้นบ้านของชาติพันธุ์

สืบทอดสู่คนรุ่นหลัง

ชาวม้งแต่ละกลุ่มมีพูดภาษาคล้ายคลึงกันมากทั้งม้งขาวม้งน้ำเงินและม้งลายสามารถสื่อสารกันได้

แต่ว่าไม่มีภาษาเขียนต่อมามิชชันนารีได้นำตัวอักษรโรมันมาประยุกต์ใช้เป็นภาษาเขียน

เก็บเกี่ยวข้าวโพดของเด็กชาวม้งเขียว

บ้านกะแล ต.พญาเม็งราย อ.พญาเม็งราย

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 15: cultural Identity of Chiangrai

พิธีกรรมของชาวม้งมีหลากหลาย เช่นพิธีแต่งงานฝ่ายชาย

มักไปสู่ขอหญิงสาวหมู่บ้านอื่นที่มิใช่คนในตระกูลเดียวกับตนในตอน

เช้าตรู่ เมื่อสู่ขอได้แล้วจะจัดพิธีแต่งงานที่บ้านหญิงสาวในเช้าวันนั้น

ฝ่ายชายจะจัดเตรียมหมูและไก่สำหรับให้ฝ่ายหญิงเลี้ยงแขกพร้อมทั้ง

มีเหล้าต้มกลั่นเองเช่นเหล้าข้าวโพดรินแจกแขกผู้มาร่วมงานทุกคน

พิธีศพถือเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่อีกโลกหนึ่ง เป็น

งานใหญ่บรรดาญาติพี่น้องลูกหลานที่อยู่ห่างไกลจะเดินทางมาร่วมพิธีฝัง

ทั้งนี้ต้องรอวันที่ฤกษ์ดีเท่านั้น โดยมีความเชื่อว่าผู้ล่วงลับจะไปเกิดในสถานที่ดีมี

ความสุขลูกหลานจะร่ำรวยมั่งมีศรีสุข

หนึ่งในพิธีสำคัญของม้งคือพิธีปีใหม่หรือ “น่อเปโจ่วย์” เป็นพิธีสำคัญจัดขึ้น

หลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงประมาณเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี นอกจาก

เฉลิมฉลองความสำเร็จในการเพาะปลูกพืชพรรณธัญญาหารแล้วยังเป็นการเซ่นไหว้ผีฟ้าผีป่า

ผีบ้านและดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ช่วยดูแลรักษาผลผลิตให้เจริญงอกงาม และปกปักรักษา

ผู้คนให้มีความสุขปราศจากโรคภัยใดๆ

ชาวม้งมีการประกอบพิธีกรรม เช่นพิธี “ฮูปลี”หรือเรียกขวัญและพิธีเซ่นไหว้บูชา

บรรพบุรุษ ส่วนกิจกรรมบันเทิง มีการเล่น “จุเป๊าะ หรือโยนลูกช่วงของหนุ่มสาว การเล่น

“เดาต้อลุ๊”หรือการเล่นลูกข่างยิงหน้าไม้เป่าแคนร้องเพลงเต้นรำเช่นรำกระด้งรำเก็บใบชา

รำฟ้อนงิ้วเป็นต้น

ศาลพระภูมิในครัวเรือนที่นับถือผีบรรพบุรุษ

พิธีฮูวปรี่ (การเรียกขวัญ) ก่อนถึงปีใหม่ม้ง

เครื่องแต่งกายของชาวม้งทั้ง๓กลุ่มผิดแผกแตกต่างกันผู้ชายนิยมสวมกางเกงจีนเป้ากว้างสีดำคล้าย“เตี่ยวสะดอ”ของคนเมือง รอบเอวผูกผ้าผืนใหญ่สีแดงปักด้วยลวดลายต่างๆปล่อยชายผ้าลงมาปรกด้านหน้าประมาณ๑–๑.๕ฟุตคาดทับด้วยเข็มขัดสวมหมวกจีนสีดำมีพู่สีแดงที่ยอดหมวกสวมเสื้อครึ่งท่อนตัดเย็บรัดตัวแขนยาวถึงข้อมือ หญิงม้งน้ำเงินนุ่งกระโปรงสั้นสีครามหรือสีฟ้าแก่มีผ้าคาดเอวสีแดงคาดทับด้านหน้ามีผ้าปักลวดลายประณีตสวยงามตามแบบแผนของชาติพันธุ์หญิงม้งขาวนุ่งกางเกงขาก๊วยสีน้ำเงินส่วนหญิงม้งลายหรือม้งกอบั้งไม่มีแบบแผนเฉพาะ เครื่องประดับที่ชาวม้งนิยมคือห่วงคอและกำไลเงินบางคนสวมห่วงคอเงินหลายชิ้นแสดงถึงฐานะอันมั่งคั่ง ชาวม้งมีความเชื่อเรื่องผีอย่างเหนียวแน่นดำเนินชีวิตในกรอบขนบจารีตประเพณีและความเชื่อซึ่งผูกโยงร้อยรัดไว้กับ “ผี”หรือ “ด๊ะ” ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีการเล่นโยนลูกช่วงของหนุ่มสาวการเล่นลูกข่าง และการเป่าแคน โดยผู้เป่าแคนจะเต้นรำวาดลวดลายไปตามจังหวะพร้อมทั้งมีการทำขนมปุ๊กแจกจ่ายกัน ชาวม้งเชื่อว่าโลกนี้มีผีอยู่ทุกหนแห่งไม่ว่าจะเป็นท้องฟ้าสายลมแม่น้ำลำธารผืนป่าและภูเขาผีของชาวม้งมีหลายระดับผีสูงสุดคือ “ผีฟ้า” เป็นผู้สร้างทุกสิ่งในโลกมีอำนาจให้คุณให้โทษรองลงมาคือ “ผีหมู่บ้าน”หรือ “ดงเช้ง” จะคุ้มครองหมู่บ้านให้ร่มเย็นเป็นสุขถัดมาเป็นผีบรรพบุรุษหรือผีเรือนพร้อมทั้งมีความเชื่อเกี่ยวกับนรก–สวรรค์ว่าหากใครทำดีตายไปจะได้ไปสู่สวรรค์หากทำชั่วจะลงนรกใต้พื้นดินเผชิญความทุกข์ทรมานและความทุกข์ยากนานา ในอดีตชาวม้งดำเนินชีวิตด้วยการเกษตรกรรมเป็นหลักปลูกข้าวพอยังชีพในรอบปี และปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจปัจจุบันเปลี่ยนมาปลูกพืชเมืองหนาวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขิงข้าวและพืชผักต่างๆอีกทั้งยังนิยมเลี้ยงหมูดำและไก่เพื่อใช้ประกอบพิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษและผีต่างๆ สตรีชาวม้งส่วนใหญ่มีความสามารถสูงด้านงานหัตถกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปักผ้าเป็นรูปต่าง ๆ และการเขียนลวดลายบนผ้าด้วยเทียน เพื่อนำไปย้อมในลักษณะเดียวกับการย้อมผ้าบาติกต่างกันเพียงชาวม้งย้อมด้วยต้นครามหรือต้นห้อมที่ให้สีน้ำเงินเข้ม ชาวม้งมีกฎจารีตและขนบธรรมเนียมที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด กฎจารีตนั้นเกี่ยวโยงอยู่กับความเชื่อในเรื่องผีอย่างเหนียวแน่น หากใครกระทำ “ผิดผี” จะถูกลงโทษหรือถูกปรับไหม โดยหัวหน้าหมู่บ้านซึ่งดูแลรับผิดชอบในการรักษาขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีหากเป็นข้อพิพาทของคนในตระกูลเดียวกันจะมีผู้อาวุโสของตระกูลนั้นมาตัดสินหรือไกล่เกลี่ยแต่หากเป็นกรณีพิพาทของคนต่างตระกูล ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกลาง ที่หัวหน้าหมู่บ้านเป็นคนแต่งตั้ง หรือคู่กรณีของทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งในจำนวนเท่าๆกัน

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 16: cultural Identity of Chiangrai

เย้า (อิ้วเมี่ยน)

ชาวเย้าอยู่ในกลุ่มจีน – ธิเบต กลุ่มย่อยชนชาติจีน มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ลุ่มน้ำแยงซี ชาวเย้าแยกเป็นกลุ่มเย้า

เมียนและกลุ่มเย้ามุน ช่วงหนึ่งถูกปกครองโดยพระจักรพรรดิ์ที่โหดเหี้ยม ได้แบ่งแยกชาวเย้าออกจากกัน แล้วขับไล่ให้

ขึ้นไปอยู่บนเทือกเขาหนานหลิง อันหนาวเย็น ต้องเผชิญความทุกข์ยากแสนสาหัส ต่อมาได้เคลื่อนย้ายไปอยู่ที่เจียงซี

กวางตุ้ง ฮูหนาน กุ้ยโจว ยูนนาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเขตปกครองตนเองกวางสี – จ้วง

นักประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ระบุว่าการเคลื่อนย้ายของเย้าจากบนภูเขาตอนกลางของจีน ไปยังกวางตุ้งกุ้ยโจวและ

กวางสี ก่อนจะย้ายไปยังตอนเหนือของเวียดนามและตอนเหนือของลาว ดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานับศตวรรษ เย้ากลุ่ม

อิ้วเมี่ยนเคลื่อนลงมาสู่ภาคเหนือของไทยด้านจังหวัดน่าน บ้างตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขาที่เชื่อมต่อน่านกับพะเยา โดยเฉพาะที่

อำเภอปงบางส่วนย้ายไปอยู่แม่สลองอำเภอแม่ฟ้าหลวงบ้างไปตั้งชุมชนที่บ้านเล่าชีก๋วย อำเภอแม่จันบันทึกภายใต้การ

ครอบครองของนายแคะแว่นศรีสมบัติ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านใหม่ปางค่า ตำบลผาช้างน้อยอำเภอปงจังหวัดพะเยา

ระบุว่าชาวอิ้วเมี่ยนกลุ่มแรกเข้ามาอยู่ในไทยได้ประมาณ๑๓๒ปี (นับถึงปีพ.ศ.๒๕๕๔ได้๑๕๕ปี)บรรพบุรุษชาวเย้า

บันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนโดยใช้ภาษาจีน

หมู่บ้านเย้าในไทยแต่ละแห่งมีหมอผีประจำหมู่บ้าน (เจี้ย เจียว)ซึ่งได้รับการเคารพนับถือจากคนในชุมชนรับผิด

ชอบด้านการประกอบพิธีกรรมต่างๆรวมทั้งตัดสินปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ

ในรอบปีมีพิธีกรรมหลากหลายพิธีกรรมสำคัญคือ“กว๋าตัง”ซึ่งมีความ

หมายว่า “พิธีแขวนตะเกียง” เป็นการเซ่นไว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับและเสริมสร้างสิริ

มงคลให้ลูกหลานผู้สืบสกุลพิธีนี้นิยมเรียกว่า“พิธีบวชเมี่ยน”

เนื่องจากผู้เข้าพิธีทุกคนจะปฏิบัติตนเหมือนนักพรตหรือนักบวชที่รักษา

ศีลอย่างเคร่งครัด ในลักษณะเดียวกับ “การเข้ากรรม”ของพุทธศาสนิกชนคือ

ประพฤติพรหมจรรย์งดเว้นเบียดเบียนสัตว์งดเว้นดื่มสุราพูดคำหยาบไม่สวมใส่

เครื่องประดับมีค่าและอยู่ในพื้นที่จำกัดไม่ไกลจากสถานประกอบพิธีกรรม

ชาวเย้าแยกพิธีกรรมออกเป็นพิธีกรรมเฉพาะบุคคล และพิธีกรรมของ

หมู่บ้านหรือพิธีกรรมส่วนรวมแต่ละพิธีกรรมจะมีการเชิญผีและเลี้ยงผีที่แตกต่าง

กันพิธีกรรมเฉพาะบุคคลและพิธีกรรมในครอบครัว เช่นพิธีเรียกขวัญพิธีบนผี

จะเลี้ยงเฉพาะผีบรรพบุรุษยกเว้นงานศพที่จะมีการเชิญภาพผีใหญ่มาร่วมในพิธี

“พิธีกว๋าตัง” หรือ “พิธีบวชเมี่ยน”

ศาลพระภูมิในครัวเรือนที่นับถือผีบรรพบุรุษ

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

�1

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 17: cultural Identity of Chiangrai

ชาวเย้าเป็นคนขยันขันแข็งทั้งหญิงชาวมักช่วยกันทำงานในไร่นา

ฝ่ายชายใช้ไม้ไผ่ขุดหลุมฝ่ายหญิงเป็นคนหยอดเมล็ดข้าวแต่หากเป็นงาน

หนักต้องใช้แรงมากเช่นตัดต้นไม้ใหญ่ เผาไร่ขุดหลุมมักจะมอบหมาย

ให้เป็นภาระของฝ่ายชายฝ่ายหญิงจะถางหญ้ากำจัดวัชพืชและเก็บเกี่ยว

ผลผลิต

ผู้หญิงมีฝีมือด้านการปักผ้าที่เรียนรู้จากยายและแม่มีการสืบทอด

ลายผ้าต่อๆกันมาจากแม่สู่ลูกสาวและหลานสาวด้วยเหตุนี้การแต่งกาย

ของหญิงชายนอกจากแสดงถึงฝีมืออันเป็นเลิศในศิลปะการปักผ้าเป็น

ลวดลายงดงามประณีตแล้วยังบ่งบอกถึงการเป็นสาขาย่อยใดหรือกลุ่มย่อย

ใดและสามารถบ่งบอกได้ว่าอยู่หมู่บ้านใดแม้ปัจจุบันชาวอิ้วเมี่ยนจะเปลี่ยน

ไปแต่งกายตามสมัยนิยมแต่ทุกคนมักมีเครื่องแต่งกายตามจารีตประเพณี

ไว้ชุดหนึ่งเพื่อสวมใส่ในการประกอบพิธีกรรมหรือในงานสำคัญต่าง

การแต่งของชาย-หญิงอิ้วเมี่ยน

การปักลายผ้า

ลีซอ

ชาวลีซอเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลจีน – ธิเบต (Sino - Tibetan) เรียกตนเองว่า “ลีซฟู” (Li - sfu) เชื่อว่า

เดิมบรรพบุรุษของตนตั้งถิ่นฐานอยู่ภาคตะวันออกของที่ราบสูงทิเบต แล้วย้ายลงมายังตะวันตกเฉียงเหนือของยูนนาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลุ่มน้ำสาละวินตอนบน

ชาวลีซอไม่มีไม่มีตัวอักษรใช้มีเพียงภาษาพูดในตระกูลภาษาจีน–ธิเบตกลุ่มโลโลเช่นเดียวกับลาหู่และอาข่าจึง

ไม่มีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนเย้า

เอกสารประวัติศาสตร์ยูนนานบันทึกไว้ว่าลีซอตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณรอยต่อยูนนานเสฉวนและไกวเจา(กุ้ยโจว)

มาตั้งแต่ประมาณ๒๒๐ปีก่อนคริสตกาล

การอพยพเคลื่อนย้ายของลีซอมีขึ้นหลังมีปัญหาขัดแย้งกับฝ่ายปกครองของจีน ได้พากันจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้ แต่ว่า

สู้กองทัพหลวงจีนไม่ได้จึงอพยพลงมาอยู่ตอนเหนือของพม่าในช่วงต้นศตวรรษที่๒๐ต่อมาประสบปัญหาด้านการเมืองและ

ขาดแคลนที่ดินทำกินจึงเคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานที่เชียงใหม่และเชียงรายในช่วงปี๒๔๒๒–๒๔๖๔

ปัจจุบันชาวลีซอตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ที่เชียงดาวพร้าว เวียงแหงและแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง

แม่สรวยและเมืองเชียงรายปายและปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอนนอกจากนี้ยังกระจายไปอยู่ที่จังหวัดตาก เพชรบูรณ์

กำแพงเพชรลำปางสุโขทัยพะเยาและแพร่

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 18: cultural Identity of Chiangrai

โดยทั่วไปชาวลีซอมักตั้งบ้านเรือนบนภูเขาในระดับความสูงไม่ต่ำกว่า๘๐๐ เมตรมีแม่น้ำลำธาร

ไหลผ่านหรือมีบ่อน้ำซับที่มีน้ำตลอดปี เดิมมักปลูกบ้านคร่อมลงบนดินโดยบ้านตั้งอยู่บนเนินผนังทั้งสี่ด้านทำ

ด้วยดินมีความหนามากป้องกันความหนาวเย็นได้ดีหลังคามุงด้วยหญ้าคาช่วงฤดูร้อนจึงไม่ร้อนบริเวณพื้นที่

สูงสุดของหมู่บ้านเป็นที่ตั้งศาลผีประจำหมู่บ้านหรือศาลผีปู่ตาผู้เฒ่า ที่เชื่อว่าปกปักรักษาให้ทุกคนอยู่เย็น

เป็นสุขมีพืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ผีบรรพบุรุษทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมกลไกการขับเคลื่อนของสังคมผู้ทำผิดหรือ

ฝ่าฝืนขนบจารีตมักถูกผีบรรพบุรุษลงโทษให้เจ็บไข้ได้ป่วย ชาวลีซอมักประกอบพิธีเซ่นไหว้ขอโทษผีเป็นประจำ

พร้อมทั้งปรับปรุงความประพฤติเสียใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมผู้เปลี่ยนมานับถือคริสต์มีความเชื่อว่าพระเจ้าเป็น

ผู้สร้างสรรพสิ่งและเลิกล้มความเชื่อในเรื่องผีโดยสิ้นเชิง

ชาวลีซอสืบเชื้อสายทางบิดา ให้ความสำคัญกับผู้เฒ่าผู้แก่ในสายตระกูลและผูกพันช่วยเหลือกัน

ในหมู่ญาติพี่น้องเหนียวแน่นมากฝ่ายหญิงใช้นามสกุลสามีและไปอยู่บ้านสามี ยกเว้นเป็นลูกสาวคนเดียว

ต้องดูแลพ่อแม่กรณีนี้สามีต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงและในพิธีแต่งงานไม่ต้องเสียค่าสินสอด

ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน หากได้รับการยินยอมจากภรรยา ขณะเดียวกัน

หญิงลีซอก็มีอิสรภาพในการดำเนินชีวิต เช่นการเลือกคู่ครองและการหย่าร้างผู้หญิงทั้งโสดและแต่งงาน

แล้วนิยมสวมชุดสีสันสดใสมีเครื่องเงินประดับประดาเช่นห่วงคอเงินและกำไลเงิน

การแต่งกายของชาย การแต่งกายของหญิง

ประเพณีและพิธีกรรมในรอบปีนอกจากการเฉลิมฉลองปีใหม่พิธีการเกิดแต่งงานและการตาย

แล้วยังมีพิธีกรรมเกี่ยวพันกับการเกษตร เช่นการไหว้ผีหลวง ไหว้ผีไร่และผีนาการฉลองพืชผลใหม่ กิน

ข้าวโพดใหม่กินข้าวใหม่การอาศัยอยู่บนภูเขาแวดล้อมด้วยผืนป่าลีซอจึงสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา

ด้านพืชสมุนไพรและตำรับยาสมุนไพรรวมทั้งวิธีการรักษาโรคเช่นการกดจุดการนวดการฝังเข็มการ

ประคบร้อนซึ่งรับมาจากกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียงคือจีนฮ่อ

ชาวลีซอชอบร้องเพลงและเต้นรำ บทเพลงส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่

การเกษตรกรรมความเชื่อ เพลงเกี้ยวสาวที่ชาย–หญิงร้องโต้ตอบกันเป็นที่นิยมมากมีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจและมี

ท่วงทำนองไพเราะผู้ชายจะเป่าแคนน้ำเต้าและดีดซึง โดยนักดนตรีจะเล่นและเต้นอยู่กลางวงผู้ชายจะจับมือเต้นรำสนุกสนานอยู่วง

ด้านในส่วนหญิงจะจับมือกันเต้นรำอยู่วงด้านนอก

วิถีชีวิตของลีซอทำเกษตรผสมผสานปลูกข้าวและข้าวโพดเป็นหลัก รวมทั้งข้าวโพดสำหรับเลี้ยงหมูและ

ไก่ ในไร่ยังมีพืชอื่นๆ เช่นฟักฟักทองแตงถั่วชนิดต่างๆ เผือกมันผักกาดผักคะน้าฯลฯ ในอดีตชาวลีซอ

ปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาปลูกถั่วเหลืองข้าวโพดงากาแฟและกะหล่ำปลี

ชาวลีซอมีความเชื่อเกี่ยวกับ“ขวัญ”โดยเชื่อว่า“ขวัญ”เกี่ยวพันกับสุขภาพของแต่ละคนบทเพลงที่ใช้

เรียกขวัญ (เพลงโชฮาคูอื่มกัวะ)มีเนื้อหาตอนหนึ่ง ว่า “......การที่ท่านไม่มีเรี่ยวแรงเพราะขวัญของท่านหาย

ข้าพเจ้าได้ตามหาขวัญของท่านและพบอยู่ในโลกของวิญญาณจึงเอาเงินทองและสัตว์ถวายให้ดังนั้นขวัญจะกลับมา

สุขภาพของท่านจะกลับมาแข็งแรงดังเดิม.........”

การอบรมเลี้ยงดูเด็กของลีซอมุ่งเน้นว่ากล่าวตักเตือนด้วยเหตุผลไม่ใช้การลงโทษเฆี่ยนตีเมื่อมีปัญหาเด็กสามารถใช้เหตุผล

โต้แย้งกับผู้ใหญ่ได้โดยผู้ใหญ่ยินดีรับฟังเด็กวิธีการอบรมในแบบแผนดังกล่าวส่งผลให้ชาวลีซอมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 19: cultural Identity of Chiangrai

เจสส์จี.พูเรต์.ชนชาติเย้า เย้าเมี่ยนและเย้ามุนในจีน เวียดนาม ลาว และไทย.กรุงเทพมหานคร:รีเวอร์บุ๊คส์,๒๕๔๘

ณัฐธิดาจุมปา.พิธี“กว่าตัง”ในกลุ่มชาพันธุ์เมี่ยน.GMS News.ปีที่๒ฉบับที่๘ตุลาคม–ธันวาคม,๒๕๕๐.

พิทักษ์รัตนแสงสว่าง.พิธีปีใหม่ม้ง. GMS News.ปีที่๒ฉบับที่๘ตุลาคม–ธันวาคม,๒๕๕๐.

บุญช่วยศรีสวัสดิ์.๓๐ ชาติในเชียงราย.กรุงเทพมหานคร:รับพิมพ์,๒๔๙๙.

ประวิตร โพธิอาสน์.กะเหรี่ยงกับประเพณีวัฒนธรรม :ซึ่งนับวันจะเสื่อมทรามและสาปสูญ.ข่าวสารสถาบันวิจัยชาวเขา.

ปีที่๑๒ฉบับที่๓,๔กรกฏาคม–ธันวาคม,๒๕๓๑.

พรชัยปรีชาปัญญา.ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับระบบนิเวศเกษตรวนเกษตรบนแหล่งต้นน้ำลำธารในภาคเหนือ.เชียงใหม่:

ธนบรรณการพิมพ์,๒๕๔๔.

ลักขณาดาวรัตนพงษ์.สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ.กรุงเทพมหานคร:สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท

มหาวิทยาลัยมหิดล,๒๕๓๙.

สุนทรีศีลพิพัฒน์.ชาวเขาในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง,๒๕๒๖.

ฮันส์เพนธ์(ก).“จารึกวัดกานโถมและความเป็นมาของอักษรไทย”. ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติบ้านเมือง โบราณสถาน

และบุคคลสำคัญ. กรุงเทพมหานคร:โครงการส่งเสริมหนังสือตามแนวพระราชดำริ,๒๕๒๘.

------------- (ข). “การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ล้านนาจากศิลปกรรม”.ประวัติศาสตร์ล้านนา ประวัติบ้านเมือง โบราณสถาน

และบุคคลสำคัญ. กรุงเทพมหานคร:โครงการส่งเสริมหนังสือตามแนวพระราชดำริ,๒๕๒๘.

FeiXiaotong. “Revisiting theMountainsof theYaoPeople”.China’s Minority Nationalities [1]. Beijing :

GreatwallBooks,1984.

ภาพประกอบบางส่วนจากหอมรดกไทย,Mbblog.manages.co.th,postjung.com,www.hilltribe.org

เอกสารอ้างอิง

ตอนที่ 2 :พี่น้องหลากหลายชาติพันธุ์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 20: cultural Identity of Chiangrai

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Page 21: cultural Identity of Chiangrai

ภาษาล้านนาหรือเรียกกันทั่วไปว่า“คำเมือง”

ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคนต่างถิ่นหรือต่างจังหวัด

มักจะรู้จักภาษาล้านนาว่าเป็นภาษาที่ไพเราะและงดงาม

เช่น “ลำแต๊ๆ กินเข้าซอยโตยกั๋นบ๋อเจ้า” สัมพันธ์กับ

ความงดงามและอ่อนช้อยในด้านวัฒนธรรมอื่นๆทั้งการ

แต่งกายศิลปะการฟ้อนรำเป็นต้น

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย : ภาษา แต่ถ้าอาศัยคำศัพท์คำว่า“อร่อย”กับคำว่า“ลำ”เป็นหลักในการแบ่งแล้วจะพบว่าเส้น

แบ่งเขตภาษาระหว่างภาษาไทยกลางกับภาษาไทยเหนือนั้นมีปรากฏอยู่ใน๓จังหวัดคือจังหวัด

ตากจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอุตรดิตถ์ภาษานี้มีอักษรใช้เรียกว่า “ตัวเมือง”หรือ “ตัวธรรม”

และอักษรฝักขามมีผู้พูดไม่ตำกว่า๑๐.๔ล้านคนแต่หากนับเพียง๘จังหวัดภาคเหนือตอนบน

ของประเทศไทยมีผู้พูดประมาณ๖ล้านคน

คำเมือง เป็นภาษาที่ได้ชื่อว่าเป็นภาษาพูดที่น่าฟังเป็นที่สุด เพราะจะพูดช้าจนออกจะดู

เนิบนาบซึ่งตรงข้ามกับภาษาทางใต้อย่างสิ้นเชิง“คำเมือง”จะแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่โดยใน

แต่ละพื้นที่จะมีสำเนียงที่แตกต่างกันคำๆเดียวบางพื้นที่อาจจะออกเสียงสั้นบางพื้นที่อาจจะลาก

เสียงยาวแต่ถ้าเป็นคนเหนือแล้วจะรู้ว่าเป็นคำเดียวกัน

๑.๑ ภาษาพูด

ภาษาไทยถิ่นเหนือมีภาษาย่อย๒ภาษาถิ่นตามสำเนียงที่พูดคือ

ก. สำเนียงล้านนาตะวันออก (จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง จังหวัด

อุตรดิตถ์จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน)

ข.สำเนียงล้านนาตะวันตก(จังหวัดเชียงใหม่จังหวัดลำพูนและจังหวัดแม่ฮ่องสอน)

ซึ่งสำเนียงทั้งสองข้างต้นอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียง

ล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่ จะไม่พบสระเอือะสระเอือ แต่จะใช้สระเอียะ

สระเอียแทน(ซึ่งอาจมีเสียงสระเอือะและสระเอือแต่ทว่าคนต่างถิ่นฟัง

อาจไม่ชัดเจน เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับสระ

เอียะสระเอีย)ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยองเพราะ

ชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉานจึงมีสำเนียงเป็น

เอกลักษณ์

ภาษาล้านนามีอยู่หลายถิ่นย่อยหรือหลายสำเนียงด้วยกันที่ใช้พูด

อยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือ แม้สำเนียงจะแตกต่างกันบ้างแต่ระบบเสียงของภาษาล้านนาทั้งหมด

ประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะหน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาล้านนามี๒๐หน่วยเสียง คือ ก, ข (ค,ฆ), ง, จ,ญ

(นาสิก),ด(ฎ),ต(ฏ),ท(ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ธ),น(ณ),บ,ป,ผ(พ,ภ)ฝ(ฟ),ม,ย,ล,ว,ส

(ศ,ษ,ส,ซ),ห(ฮ),อ

๑. ลักษณะทั่วไปของภาษาล้านนา

ภาษาล้านนา เป็นสาขาหนึ่งของภาษาถิ่นตระกูลไทย (Thai) ที่พูดโดยคนไทยส่วนใหญ่ในพื้นที่

๘จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูนจังหวัดพะเยา

จังหวัดแพร่ จังหวัดน่านจังหวัดลำปาง จังหวัดแม่ฮ่องสอนนอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้พูดภาษาล้านนาในชุมชน

อื่นๆอีก เช่นที่อำเภอลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีตำบลบ้านคูบัวอำเภอบ้านโป่ง

จังหวัดราชบุรีและที่อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมาเป็นต้นทั้งนี้เพราะบรรพบุรุษของคนเหล่านี้อพยพมาจาก

ภาคเหนือนั่นเองแต่เดิมเผ่าชนคนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนั้นมีชื่อว่า“ยวน”หรือ“ไทยยวน”และเรียกภาษาที่

พูดว่า “ภาษาไทยยวน”ซึ่งชื่อนี้ยังคงอยู่กับคนไทยยวนที่อพยพมาอยู่ในต่างถิ่น เช่นที่ อำเภอเสาไห้ จังหวัด

สระบุรีที่ยังคงเรียกตัวเองว่า “ยวน”แต่สำหรับคนไทยในภาคเหนือปัจจุบันนี้ เรียกตัวเองว่า “คนเมือง”และ

เรียกภาษาของตนว่า “คำเมือง”หรือออกเสียงว่า “กำเมือง”คำเมืองหรือกำเมือง ถ้าเป็นคนยองซึ่งเป็นชน

อีกกลุ่มทางภาคเหนือก็จะพูดสั้นๆ ว่า “กำเมิง” แต่ทุกคำ ไม่ว่าจะ “คำเมือง” “กำเมือง”หรือ “กำเมิง”

ก็หมายถึงภาษาพูดของคนทางภาคเหนือ

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 22: cultural Identity of Chiangrai

ในหน่วยเสียงพยัญชนะทั้ง๒๐หน่วยเสียงนี้ มีหน่วยเสียงที่ภาษาล้านนาใช้ตรงกับ

ภาษาไทยกลาง๑๙หน่วยเสียงมีหน่วยเสียงหนึ่งที่ภาษาล้านนามี แต่ในภาษาไทยกลาง

ไม่มีคือหน่วยเสียงญนาสิกเวลาออกเสียงจะปรากฏเสียงขึ้นจมูกชัดเจนมาก

นอกจากนี้ยังมีหน่วยเสียงที่มีในภาษาไทยกลาง แต่ไม่มีในภาษาล้านนา

๒หน่วยคือหน่วยเสียงชฉและหน่วยเสียงรซึ่งหน่วยเสียงชฉในภาษาไทยกลาง

นั้นจะเปลี่ยนเป็นหน่วยเสียงจและซในภาษาล้านนาเช่น

ช้าง เป็น จ๊าง ช้า เป็น จ๊า

ชิม เป็น จิม ชมเชย เป็น ซมเซย

ส่วนเสียงรในภาษาไทยกลางก็จะเปลี่ยนเป็นหน่วยเสียงฮและล

ในภาษาล้านนาเช่น

รัก เป็น ฮัก เรือ เป็น เฮือ

รถ เป็น ลด รากเป็น ฮาก

หน่วยเสียงสระภาษาล้านนามีหน่วยเสียงสระตรงกับภาษาไทยกลาง

ก.สระเสียงเดี่ยวมีทั้งหมด๑๘หน่วยเสียงคืออะอาอิอีอึอือุอูเอะเอแอะแอโอะโอเออะเออเอาะออ

ข.สระเสียงประสม๖หน่วยเสียงคือเอียะเอียเอือะเอืออัวะอัว

ค.สระเกิน๓หน่วยเสียงคืออำ(อัม)ไอ(ใอ)เอา

บางจังหวัดมีคนพูดภาษาล้านนา เสียงสระเอือะ,เอือจะไม่พบในบางท้องถิ่นคือ ในถิ่นล้านนาตะวันออก ได้แก่

จังหวัดแพร่ จังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดลำปางและบางอำเภอของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจะออกเสียงเป็นสระเอียะ,

เอีย เช่นคำเมือง เป็นกำเมียง (มีเสียงเอือะและเอือ เพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็น

เสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะเอีย)

นอกจากนี้ยังมีสำเนียงแบบเมืองยองซึ่งพูดกันมากในจังหวัดลำพูน โดยจะไม่มีสระประสมสระอัวกลายเป็น โอ

สระเอียกลายเป็นเอและสระเอือกลายเป็นเออเช่นเมืองเป็นเมิง,เกลือเป็นเก๋อ,สวยเป็นโสย,หมี่เกี๊ยวเป็น

หมี่เก๊วเป็นต้น

หน่วยเสียงวรรณยุกต์ภาษาล้านนามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์๖หน่วยเสียงมากกว่าภาษาไทยกลาง๑ เสียง

แต่เท่ากับภาษาไทยถิ่นอีสาน คือ เสียงตรีเพี้ยนในบางคำคือเป็นเสียงประสมระหว่างเสียงตรีกับเสียงสามัญ (เรียกว่า

“วรรณยุกต์เบญจมา”)เช่น

หญ้าเป็น ญ้า ใบ้ เป็น ใบ๊

ข้าว เป็น เค้า เหล้าเป็น เล้า

๑.๒ ภาษาเขียน

ภาคเหนือมีอักษรใช้ถึง๓ชนิดคือมีอักษรธรรมล้านนาอักษรฝักขามและอักษร

ไทยนิเทศหรือขอมเมืองมีรายละเอียดดังนี้

อักษรธรรมล้านนาส่วนมากใช้เขียนตำราและจารึกลงในคัมภีร์ใบลานที่ปรากฏอยู่

ตามวัดต่างๆในภาคเหนือและอักษรชนิดนี้ยังคงมีใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน

อักษรฝักขามคืออักษรไทยสุโขทัยมีลักษณะผอมสูงและโค้งงอเหมือน

ฝักมะขามอันเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรสุโขทัยเป็นอักษรที่ใช้กับศิลาจารึก

เป็นส่วนใหญ่พบว่าศิลาจารึกที่ใช้อักษรฝักขามเก่าแก่ที่สุดคือจารึกวัดพระยืน

จังหวัดลำพูนสร้างเมื่อพ.ศ.๑๙๑๓อักษรฝักขามแพร่หลายที่สุดในช่วงสมัย

ของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕ –๒๐๓๐)พระสมัยของพระเมืองแก้ว

(พ.ศ.๒๐๓๘ –๒๐๖๘) โดยจะพบว่าศิลาจารึกที่ใช้อักษรชนิดนี้แพร่หลายใน

เขต๘จังหวัดภาคเหนือตอนบนรวมทั้งเมืองเชียงตุงและหลวงพระบาง

อักษรไทยนิเทศหรือขอมเมือง อักษรชนิดนี้ได้รวมอักษรหลายแบบไว้

ด้วยกันคืออักษรพ่อขุนรามคำแหงอักษรขอมและอักษรธรรมล้านนาดังนั้น

จึงเรียกว่าขอมเมือง เพื่อให้ชื่อเรียกแตกต่างจากอักษรอื่นอักษรชนิดนี้เท่าที่พบ

โดยมากใช้เขียนวรรณกรรมประเภทร้อยกรองมีอายุก่อน๓๐๐ปี ขึ้นไป เช่น

โคลงนิราศหริภุญชัยโคลงนิราศดอยเกิ้งโคลงพรหมทัตโคลงปทุมสังกาเป็นต้นไม่

ค่อยพบว่าอักษรชนิดนี้ใช้จารึกพระธรรมคำสั่งสอน

อักษรธรรมล้านนา อักษรฝักขาม และอักษรไทยนิเทศหรือขอมเมือง ในบรรดา

อักษรเหล่านี้อักษรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและใช้สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ คืออักษรธรรม

ล้านนาหรือตัวเมือง

อักษรชนิดนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่เหตุผลของผู้เรียก เช่น อักษร

ล้านนาเพราะว่าเป็นอักษรที่ใช้ในอาณาจักรล้านนาอักษรไทยยวนเรียกชื่อตามเผ่าชนดั้งเดิม

ล้านนาคือไทยยวนหรือไทยโยนกตัวหนังสือเมืองหรือตัวเมืองเพราะคนล้านนาเรียกตัวเองว่า

คนเมืองจึงเรียกอักษรที่ตนเองใช้ว่า “ตัวเมือง”ด้วยอักษรธรรมหรือตัวธรรมที่เรียกเช่นนี้

ก็เพราะตัวอักษรชนิดนี้นิยมใช้บันทึกพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ชื่อที่นิยมเรียกมากที่สุดคือ“ตัวเมือง”

รูปอักษรฝักขาม

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 23: cultural Identity of Chiangrai

คัมภีร์ใบลานที่จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนาที่พบเก่าที่สุดมีอายุเกินกว่า๕๐๐ปีพบที่วัดไหล่หินตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจทำทะเบียนพระธรรมคัมภีร์ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ระหว่างพ.ศ.๒๕๐๔-พ.ศ.๒๕๐๘ ความแพร่หลายของอักษรธรรมล้านนานั้นสันนิษฐานว่าคงได้รับความนิยมและใช้สื่อสารกันแพร่หลายมากที่สุด ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๐) เพราะทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ในการสังคายนาพระไตรปิฎก ณวัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ในปีพ.ศ.๒๐๒๐การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ พุทธศาสนาของประเทศไทยและเป็นครั้งที่ ๘ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท๑และได้ใช้ตัวอักษรธรรมล้านนานี้จารึก พระธรรมคัมภีร์ที่ตรวจชำระแล้วทั้งนี้คงจะถือว่าคัมภีร์ใดใช้ตัวฝักขามเป็นคัมภีร์ที่ยังไม่ได้รับการตรวจแก้คัมภีร์ใดที่แก้แล้วก็คงเขียนเป็นอักษรธรรมล้านนาและนับแต่นั้นมาอักษรธรรมหรือตัวเมืองก็ใช้กันแพร่หลายเพื่อสื่อสารกันในอาณาจักรล้านนา และดินแดนใกล้เคียง เช่น เผยแพร่ไปยังเชียงตุง และในปี พ.ศ. ๒๐๐๖กษัตริย์แห่งล้านช้างทรงส่งราชทูตมายังราชสำนัก นครเชียงใหม่เพื่อทูลขอคณะสงฆ์และคัมภีร์พระไตรปิฎกเพื่อนำไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรนั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเมืองแก้ว(พ.ศ.๒๐๓๐-๒๐๖๘)และพระองค์ทรงอาราธนาพระเทพมงคลเถระเป็นหัวหน้าไปพร้อมด้วยพระไตรปิฎก๖๐พระคัมภีร์๒นอกจากนี้รศ.สมหมายเปรมจิตต์๓ได้อธิบายและสรุปความเป็นมาของอักษรล้านนาดังนี้ ๑. ในช่วงที่ชาวล้านนาอพยพลงมาตั้งบ้านเมืองติดต่อดินแดนของพวกมอญหริภุญชัยนั้น ได้รับเอาพระพุทธศาสนาแบบมอญของพระนางจามเทวีและนำหนังสือมอญมาใช้ด้วยในขณะเดียวกันก็อาจรับเอาพระพุทธศาสนาที่พวกมอญกรุงหงสาวดีนำเข้ามาหริภุญชัยในคราวหนีมาตอนเป็นขบถ“ต่อมาราวพ.ศ.๑๘๐๖ลักษณะอักษรไทยยวนนั้นจะต้องมีลักษณะคล้ายอักษรมอญโบราณที่ปรากฏในศิลาจารึกหริภุญชัย” ๒. เมื่อถึงต้นยุคทองแห่งอาณาจักรล้านนาพระมหาสุมนเถระ ได้นำแบบอักษรสุโขทัยขึ้นมาด้วยส่วนมากใช้สำหรับจารึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านศาสนา อิทธิพลอักษรสุโขทัยอาจทำให้อักษรไทยยวนเปลี่ยนรูปและเพิ่มอักษรบางตัวเช่นค.คนฝ.ฝาและฟ.ฟันซึ่งไม่มีในอักษรพราหม์ มอญพม่า ตลอดจนบาลีสิงหล แต่มีในอักษรสุโขทัย ส่วนจำนวนอักษรและลักษณะทั่วไปคงใกล้เคียงกับอักษรมอญและอักษรพม่ารุ่นหลัง เพราะได้เค้ามาจากมอญโบราณเช่นกันแต่จำนวนอักษรคงยังไม่ถึง๔๑ตัวเหมือนภาษาบาลีสิงหล ๓.หลังจากพระมหาญาณคัมภีระ(พระเถระชาวเชียงใหม่)ไปสืบศาสนาในลังกามาแล้ว การศึกษาของพระสงฆ์ได้เฟื่องฟูมากจนพระภิกษุชาวล้านนามีความเชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นเลิศถึงกับสามารถแต่งหนังสือเป็นภาษาบาลีเล่มโตๆ จำนวนหลายเรื่อง และอิทธิพลจากภาษาบาลีสิงหลจะทำให้เกิดวิวัฒนาการใหม่แก่ภาษาไทยยวนจนทำให้จำนวนอักษรเพิ่มขึ้นจาก๓๒ตัวเป็น๔๑ตัวอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

อักษรธรรมล้านนาหรือตัวเมืองนี้นิยมจารหรือเขียนลงบนใบลานมากที่สุด รองลงไปคือหนังสือกระดาษสา (พับสา)ซึ่งโดยมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานอกจากนั้นก็เขียนเป็นจารึกต่างๆอาทิจารึกตามฐานพระพุทธรูปศิลาจารึกตามฐานพระพุทธรูปศิลาจารึกต่างๆเป็นต้นและยังใช้บันทึกวรรณกรรมต่างๆได้แก่สุภาษิตคำสอนตำนานนิทานค่าวฮ่ำจ๊อยซอฮ่ำต่างๆนอกจากนี้ยังปรากฏในการบันทึกตำรายาโหราศาสตร์ยันต์คาถากฎหมายเป็นต้น ๑)อายุของอักษรธรรมล้านนา

ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าอักษรชนิดนี้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่สมัยไหนมีก่อนอาณาจักรโยนกหรือก่อนสมัยพญามังรายเป็นต้นมา แต่เท่าที่ปรากฏการใช้อักษรธรรมล้านนาที่เก่าที่สุดที่พบในปัจจุบัน คือ จารึกลานทองพ.ศ.๑๙๑๙ซึ่งจารึกประวัติสมเด็จพระมหา เถรจุฑามณี โดยใช้อักษรธรรมล้านนาบันทึกภาษาบาลีและใช้อักษรสุโขทัยบันทึกภาษาไทย จารึกลานทองนี้ขุดพบบริเวณฐาน พระประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จารึกที่ฐานพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปาง อุ้มบาตรที่วัดเชียงมั่นอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่พ.ศ.๒๐๐๘นอกจากนี้ก็พบอักษรชนิดนี้ในจารึกต่างๆ ในสมัยต่อมาอีกและ

ภาพทวีปทั้ง ๔

ประกอบในไตรถูมิฉบับล้านนา

บันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 24: cultural Identity of Chiangrai

๒)รูปอักษรธรรมล้านนา

รูปอักษรธรรมล้านนามีระบบที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาไทยกลาง

คือประกอบด้วย รูปสระ รูปพยัญชนะรูปวรรณยุกต์ และรูปตัวเลขที่

แตกต่างจากภาษาไทยกลางคือรูปอักษรพิเศษซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะของ

อักษรล้านนาที่ไม่เหมือนกับอักษรไทยกลางลักษณะที่เด่นของรูปอักษร

ธรรมล้านนาคือตัวจะป้อมค่อนข้างกลมเมื่อเทียบกับอักษรชนิดอื่นๆที่มี

ใช้ในล้านนา เป็นสาเหตุทำให้อักษรธรรมล้านนาไม่นิยมใช้เขียนศิลาจารึก

เพราะยากต่อการจารึกบนวัสดุหิน

จารึกที่พบในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้เก็บไว้ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน มีจำนวนทั้งหมด ๒๗ จารึก

ปรากฏในหนังสือประชุมจารึกล้านนา เล่ม๑ : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ

เชียงแสน และในประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๖ จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ

เชียงรายภาคที่๒เป็นศิลาจารึกจำนวน๒๕จารึกส่วนอีก๒จารึก

เป็นพระพุทธรูปและรูปฤาษีโดยมีจารึกที่สำคัญดังนี้

จารึกดอยตุง (พ.ศ. ๒๑๔๗)

จารึกดอยตุง (ประดิษฐานอยู่ที่ส่วนคอดของภูเขาช้างยอด

ดอยตุงคาดว่าเป็นบริเวณวัดน้อยดอยตุง)เป็นรูปฤาษีทองสัมฤทธิ์นั่ง

ประนมมือยกเข่าขึ้นทั้งสองข้างนั่งอยู่บนฐานฐานทำเป็น๒ชั้นคือ

ชั้นบนและชั้นล่างมีห่วงติดไว้

ความย่อว่า “พ.ศ.๒๑๔๗ (สมเด็จ) บรมพิตรพระเป็นเจ้า

เมืองเชียงแสนพร้อมทั้งพระมหาสมเด็จราชครู วัดพระหลวงและสังฆ

โมลีสร้างรูปพระฤาษีต่อจากนั้นเป็นคำไหว้พระธาตุบนดอยตุงตำนาน

พระธาตุดอยตุงโดยย่อและคำอธิบายรูปที่ฐานรูปพระฤาษี”

จารึกเชียงของ (พ.ศ. ๑๙๘๘)

จารึกเชียงของ (วัดร้างในเขตเมืองเก่าเชียงของ) เป็นแผ่นหิน

สีเทาความย่อว่า “พ.ศ.๑๙๘๘ เจ้าหมื่นงัวเชียงของและหมื่นน้อยวัด

ขาวสร้างวิหาร รวมทั้งอุโบสถที่มหาเถรพุทธดำเพียร ได้รับอนุญาต

จากสมเด็จมหาราชและมหาเทวีให้สร้าง”

๒. เอกลักษณ์ด้านภาษาของเชียงราย

ภาษาของจังหวัดเชียงรายถือเป็นภาษาล้านนาหรือคำเมืองเช่นเดียวกับภาษาของจังหวัดอื่นๆใน

ล้านนาซึ่งมีลักษณะโดยภาพรวมคล้ายๆกันในที่นี้จะนำมาแสดงทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนดังนี้

๒.๑ เอกลักษณ์ด้านภาษาพูด

ในด้านภาษาพูดของจังหวัดเชียงรายมีลักษณะทางคำศัพท์ต่างๆคล้ายกันเป็นส่วนใหญ่แต่ที่เป็น

เอกลักษณ์คือสำเนียงซึ่งจัดเป็นกลุ่มภาษาล้านนาตะวันออกที่มีสำเนียงค่อนข้างห้วนสั้นแตกต่างจาก

ภาษาเชียงใหม่หรือกลุ่มภาษาล้านนาตะวันตกชัดเจน

๒.๒ เอกลักษณ์ด้านภาษาเขียน

ภาษาเขียนในจังหวัดเชียงราย ใช้อักษร๓ชนิดเช่นเดียวกับที่พบในจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ

ตอนบนซึ่งหลักฐานที่พบมากและถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย คือจารึก ใบลานและสมุด

ข่อยพับสาดังนี้

๑)จารึก

จารึกที่พบในจังหวัดเชียงรายมีหลายชนิดคือศิลาจารึกจารึกฐานพระจารึกก้อนอิฐและจารึก

ที่พบในวัสดุอื่นๆเรื่องราวที่บันทึกลงบนจารึกส่วนใหญ่เป็นเรืองของการสร้างศาสนสถานหรือวัตถุที่เกี่ยว

กับศาสนา เช่นพระพุทธรูปอุโบสถพระเจดีย์กำแพงวัดตลอดจนกล่าวถึงการปฎิสังขรณ์จำนวนเงิน

ทองและสิ่งของที่ใช้ในการบูรณะปฎิสังขรณ์การถวายข้าคนสิ่งของสัตว์ต่างๆให้กับวัดเป็นต้น

จารึกดอยตุง

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 25: cultural Identity of Chiangrai

จารึกวัดยางหมากม่วง (พ.ศ. ๒๐๒๒)

จารึกวัดยางหมากม่วง(วัดร้างในอำเภอพาน)เป็นแผ่นหินสีเทาส่วน

ล่างหักหายไปความย่อว่า “พ.ศ.๒๐๒๒ เจ้าหมื่นน้อยใสผู้ครองเมืองออย

ถวายนาและต้นหมากแด่วัดบ้านยางหมากม่วง”

จารึกดอยถ้ำพระ (พ.ศ. ๒๐๒๗)

จารึกดอยถ้ำพระตำบลแม่ยาวอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย เป็นแผ่นหินสีเทา

ความย่อว่า “พ.ศ.๒๐๒๗ เจ้าเมืองเชียงรายสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งไว้ในถ้ำแห่งนี้

ถวายข้าทาส๘ครอบครัวนาภาษี (หิน)ปูนและหมู่บ้านชื่อบ้านถ้ำ แด่พระพุทธรูป

เพื่อบูชาและดูแลรักษาพระพุทธรูปตราบ๕,๐๐๐ปี”

จารึกวัดพันต้องแต้ม เชียงแสน (พ.ศ. ๒๐๓๑)

จารึกวัดพันต้องแต้มพบที่วัดพันต้อง ในตัวเมืองเชียงแสนจังหวัดเชียงราย

เป็นแผ่นหินสีน้ำตาลและเทาความย่อว่า “พันต้องแต้ม เคยสร้างวัดแห่งหนึ่งในเมือง

เชียงแสนต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๑๓๐ลูกของท่านคือพันญากิตติและแม่เจ้าสาวคำร้อย

ถวายวัดนี้แด่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชมารดาสองพระองค์ทรงสั่งให้ถวายนามี

ภาษีรวม๖๐๐,๐๐๐เบี้ยและคน๑๕ครอบครัวแด่วัดพร้อมทั้งไม้สักเพื่อสร้างวิหาร

และหอพระไตรปิฎกและสั่งให้หมื่นญาดาบเรือนเป็นผู้รับคำสั่ง”

แผ่นหินจารึกสีเทาวัดยางหมากม่วง

แผ่นหินจารึกสีเทาดอยถ้ำพระ

จารึกวัดดอนยาง เชียงแสน (พ.ศ. ๒๐๒๓) จารึกวัดดอนยาง เป็นวัดร้างในเขตตัวเวียงเชียงแสน โดยพบที่วัดปงสนุกตำบลเวียงอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายจารึกเป็นฐานรองพระพุทธรูปทำด้วยหินลักษณะครึ่งวงกลมสีเทาความย่อว่า“พ.ศ.๒๐๒๓พระภิกษุสุมังคลเมธาวีอยู่เมืองฝางสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ถวายแด่วัดดอนยาง” จารึกวัดภูขิง เวียงชัย (พ.ศ. ๒๐๓๑) จารึกวัดภูขิง เป็นวัดร้างในเขตอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรายชาวบ้านเรียกวัดร้างนี้ว่า“วัดสันทราย”เป็นแผ่นหินสีน้ำตาลอ่อนความย่อว่า“พ.ศ.๒๐๓๐หมื่นบงถวายนาและคนแด่วัดภูขิง และวัดป่าตาลซึ่ง๒วัดนี้ เป็นวัดลูกของวัดบ้านรามห้ามรบกวนคนของวัด” จารึกวัดปราสาท เชียงแสน (พ.ศ. ๒๕๒๙) จารึกวัดปราสาทตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเวียงเชียงแสนตำบลเวียงอำเภอเชียงรายจังหวัดเชียงราย เป็นแผ่นหินสีเทาความย่อว่า “พ.ศ.๒๕๒๙ เจ้าหมื่นเชียงแสนคำล้านถวายวัดปราสาท”

แผ่นหินจารึกสีเทาวัดดอนยาง

แผ่นหินจารึกวัดปราสาท เชียงแสน

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

10

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

11

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 26: cultural Identity of Chiangrai

จารึกเวียงชัย (พ.ศ. ๒๐๖๘) จารึกเวียงชัยพบที่บริเวณเวียงชัยจังหวัดเชียงรายเป็นแผ่นหินสีเทาส่วนล่างหักหายไปที่เหลือคือส่วนบนแตกเป็น๔ชิ้นความย่อว่า“พ.ศ.๒๐๖๘กษัตริย์เชียงใหม่มีพระราชโองการแต่งตั้งให้เจ้าพวกดาบเรือน เป็นเจ้าพันสังฆการีเชียงรายมีอำนาจผูกพัทธสีมาในวัดข้าราชการจากหน่วยราชการต่างๆ(หินหัก)...”

๒)ใบลาน

ในจังหวัดเชียงราย พบว่า มีเอกสารใบลานมากมาย

หลายแหล่ง ส่วนมากจารด้วยอักษรธรรมล้านนา ทั้งที่เป็นภาษา

บาลี และภาษาล้านนา เช่นที่วัดศรีสุทธาวาสอำเภอเวียงป่าเป้า

เป็นต้น โดยใช้บันทึกพระสูตรต่างๆ ในพระพุทธศาสนา ชาดก

คัมภีร์เทศน์และค่าวธรรมเป็นต้น

วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา เป็นผลงานของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีต

นอกเหนือจากคุณค่าด้านความบันเทิงแล้วยังสะท้อนถึงภูมิปัญญาความคิดความอ่าน

คตินิยมและเป็นภาพสะท้อนถึงชีวิตและวัฒนธรรมที่แนบแน่นอยู่กับวิถีชีวิตชุมชนมา

ช้านานสำหรับต้นฉบับวรรณกรรมที่ปรากฏในจังหวัดเชียงรายนั้นมี๒ประเภทได้แก ่

๑. วรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว

วรรณกรรมร้อยแก้วแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น๕ประเภทได้แก ่

๑.๑ ตำนานและนิทานท้องถิ่น

ตำนานและนิทานที่เรียบเรียงเป็นภาษาท้องถิ่นนั้น ไม่อาจจะหาหลักฐาน

เกี่ยวกับผู้แต่งและเวลาแต่งได้ส่วนใหญ่ต้นฉบับเป็นการคัดลอกสืบทอดกันโดยเริ่มจาก

การบันทึกคำบอกเล่าแต่โบราณเป็นพื้นและมีหลายสำนวนด้วยกันซึ่งบางทีเนื้อความก็

แตกต่างกันออกไปตำนานเหล่านี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกำเนิดและประวัติความเป็นมาของ

เมืองต่างๆ ในล้านนาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับยุคเก่าแก่ที่สุดได้แก่ ตำนานสุวรรณโคมคำ

ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสนและตำนานสิงหนวัติกุมารที่มีเนื้อหากล่าวถึงยุคใกล้ๆ

เข้ามาก็เช่นตำนานพื้นเมืองเชียงรายตำนานสิบห้าราชวงศ์ฯลฯเป็นต้นนอกจากนี้

ยังมีตำนานเกี่ยวกับประวัติศาสนาพระธาตุ และพระพุทธรูปที่เขียนเป็นภาษาไทย

ล้านนาอีกเป็นจำนวนมากตำนานเหล่านี้ เป็นตำนานที่มีชื่อเสียงของเชียงรายและ

เป็นต้นเค้าของประวัติศาสตร์เชียงรายในยุคตำนานนอกจากนี้ยังมีนิทานประจำถิ่นซึ่ง

เป็นเรื่องคล้ายตำนาน เพียงแต่มักจะเป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาในลักษณะมุขปาฐะเป็น

ส่วนใหญ่เช่นนิทานสิรสากุมารชุมพูราชแต่งเขียวล้อมล้อมต่อมคำเป็นต้นโดยจะ

ได้นำมาแสดงพอเป็นตัวอย่างดังนี้

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย : วรรณกรรม

๓)พับสาและสมุดข่อย

พับสาและสมุดข่อยที่พบในจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่ใช้

บันทึกเรื่องราวที่ไม่ใช่พระสูตรชาดกและคัมภีร์เทศน์มักจะใช้บันทึก

เรื่องนอกพระพุทธศาสนาและเป็นเรื่องทางโลก ได้แก่กฎหมายโบราณ

ฤกษ์ยามขึ้นบ้านใหม่คาถาต่างๆคำบูชาคำเรียกขวัญคำเวนทานคำ

สอนตำรายาตำราดูลักษณะหญิงโคลงค่าวซอเป็นต้น

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 27: cultural Identity of Chiangrai

๑)ตำนานพระธาตุดอยตุง๔

พระธาตุดอยตุงชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นเจดีย์คู่ปีไก๊ คือปีช้าง

(ตรงกับปีกุนหรือปีหมูของภาคกลาง) ฉะนั้นพระธาตุดอยตุงจึงมีความ

สำคัญต่อคนที่เกิดในปีไก๊หรือปีกุนต้องไปนมัสการและปรนนิบัติพระธาตุ

เช่นปัดกวาดบริเวณของพระธาตุอย่างน้อย๑ครั้งในชีวิต เนื้อความโดย

สังเขปคือ

เมื่อพระพุทธเจ้า (องค์ปัจจุบัน) ยังทรงพระชนมายุ ได้เคยเสด็จมายัง

ที่ราบเชียงแสนและได้ประทับบนดอยแห่งหนึ่งตรัสทำนายว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับ

ขันธปรินิพพานไปแล้วพระมหากัสสปพระอรหันตสาวกจะนำพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูก

ไหปลาร้าข้างซ้าย)มาสถาปนาไว้ณที่นี้

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระมหากัสสปได้นำส่วนแบ่งเป็นพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้ายกับ

สรีริกอีกจำนวนหนึ่งมายังเมืองโยนกนครขณะนั้นกษัตริย์ผู้ครองเมืองคือพระเจ้าอชุตราช ได้นำพระธาตุขึ้นมาบนดอย

ตามพุทธทำนาย

ดอยแห่งนี้มีเจ้าของเป็นหัวหน้าอนารยชน (มิลักขุ) สองผัวเมีย คือปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้าลาวจกพระเจ้า

อชุตราชจึงขอซื้อที่ดิน เพื่อสถาปนาพระธาตุเจ้าไว้ตามพุทธทำนายสองผัวเมียได้เงินแล้วแบ่งให้ลูกๆ๓คน เพื่อจะได้ไป

สร้างบ้านเมืองอื่นๆบนที่ราบเชียงแสนส่วนตนเองได้เฝ้าอุปฐากพระธาตุเจ้า กับอนารยชนอื่นๆอีก๕๐๐คน เมื่อได้

สถาปนาพระธาตุแล้วพระมหากัสสปก็ได้ทำเสาตุงหรือเสาธงสูง๘,๐๐๐วาตุงยาว๗,๐๐๐วากว้าง๕๐๐วามีร่มเงา

ปกคลุมไปทั่วที่ราบเชียงแสนคนทั้งหลายจึงเรียกดอยที่สถาปนาพระธาตุเจ้านั้นว่าดอยตุงมาจนถึงทุกวันนี้ปู่เจ้าลาวจก

กับย่าเจ้าลาวจกสองผัวเมียอยู่ทำนุบำรุงพระธาตุเจ้าบนดอยตุงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อตายแล้วจึงได้ไปเกิดเป็นเทพบุตร

เทพธิดาบนสวรรค์

๒)ตำนานเมืองสุวัณณโคมคำ

พงศาวดารโยนก๕กล่าวว่าในช่วงปลายศาสนาของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะนั้นได้เกิดโรคระบาดราชบุตร

แห่งเมืองปาตลีบุตรจึงอพยพผู้คนไปตั้งเมืองอยู่ในเขตโพธิสารหลวงต่อมาราชบุตรชื่อว่ากุรุวงสากุมารได้สร้างเมือง

ขึ้นมาพอพระเจ้าโพธิสารหลวงทราบข่าวก็ไปรบหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้จนพระองค์ต้องยกราชสมบัติให้แก่ราชกุมารกุรุ

วงสาต่อมาได้เรียกชื่อแคว้นนั้นว่ากุรุรัชและเรียกประชาชนว่า“กล๋อม”

ก็มีกษัตริย์สืบมาถึง๔๔,๘๐๐องค์จนถึงสมัยพญาศรีวงสาได้ครองเมืองโพธิสารหลวงพระองค์มีราชบุตรสอง

องค์คืออินทรวงสาและไอยกุมาร โดยอินทรวงสาได้ครองราชย์สืบจากพระราชบิดาและมีไอยกุมารเป็นอุปราชสมัย

ต่อมาราชบุตรของอินทรวงสาชื่ออินทรปฐมได้อภิเษกกับธิดาของไอยอุปราช

พระนางอุรสาเทวีของพญาอินทรปฐมคลอดราชบุตรออกทางปากมีชื่อว่า“สุวัณณมุขทวาร”ทำให้พาหิรปุโรหิต

ใส่ร้ายและลอยแพในแม่น้ำโขงจนไปถึงท่าโคมคำ ไอยอุปราชจึงได้สร้างเมืองให้ชื่อว่า “สุวัณณโคมคำ”ฝ่ายเมืองโพธิสาร

เกิดโรคระบาดหลังจากใส่ร้ายพระราชเทวีและกุมารผู้คนที่เหลือจึงได้หนีออกจากเมืองไปอยู่ที่เมืองสุวัณณโคมคำ

กษัตริย์ในเมืองสุวัณณโคมคำสืบต่อจากพญาสุวัณณมุกขทวารมีถึง๘๔,๕๕๐องค์ จึงสิ้นสุดลงและเชื้อสาย

พาหิรปุโรหิตได้เป็นใหญ่ในเมืองสุวัณณโคมคำ ด้ข่มเหงชาวเมืองให้ได้รับความเดือดร้อน จนกระทั่งพญานาคนามว่า

“ศรีสัตตนาค” ได้ขุดฝั่งน้ำของหรือน้ำโขงทำให้เมืองล่มในราตรีทำให้เจ้าเมืองและชาวเมืองจมน้ำตายเป็นอันมาก

เมืองสุวัณณโคมคำจึงกลายเป็นเมืองร้างและเป็นท่าหลวงชื่อว่า“ท่าโคมคำ”

๓)ตำนานสิงหนวัติกุมาร

หลังจากเมืองสุวัณณโคมคำล่ม กลายเป็นท่าหลวงไปแล้ว ตำนานสิงหนวัติกุมารได้กล่าวถึงการอพยพของ

กลุ่มชาวไทเมืองแห่งนครไทเทศเข้ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ในบริเวณเมืองสุวัณณโคมคำที่ร้างไป และมีการสืบราชสมบัติต่อๆ

กันมาอีกนับพันปีตั้งแต่สมัยพุทธกาลกล่าวถึงพญานาคมาช่วยสร้างเมืองพันธุสิงหนวัตินครหรือเมืองโยนกนาคพันธุ์

จนกระทั่งเมืองล่มหลายเป็นหนองน้ำไป ชาวเมืองที่อยู่นอกเมืองก็มารวมกันสร้างเมืองใหม่ขึ้นเรียกว่าเมืองปรึกษา

มีการปกครองแบบขุนแต่งเมืองเป็นระยะเวลาประมาณ๙๓ปี

๔)ตำนานหิรัญนครเงินยาง

กล่าวถึงพระเจ้าอนุรุทธกษัตริย์แห่งเมืองพุกามจะตัดศักราชใหม่ โดยแต่งจุลศักราชในปีพ.ศ.๑๑๘๒นั้น

เมื่อจะประชุมเชิญท้าวพญาในชมพูทวีปมาร่วมในพิธี ก็ปรากฏว่าในเมืองปรึกษาไม่มีกษัตริย์ปกครองพระองค์จึงได้

ขอร้องพระอินทร์ให้ช่วยเหลือพระอินทร์จึงส่งลวจังกราชเทวบุตรมาเป็นกษัตริย์ กษัตริย์วงศ์ลวจังกราชนี้ได้สืบราช

สมบัติต่อๆกันมาในเมืองหิรัญนครเงินยางจึงถึงกษัตริย์องค์ที่๒๓คือพญามังรายเป็นยุคที่ขยายอาณาเขตและได้

รวบรวมหัวเมืองต่างๆเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาโดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง

พระธาตุดอยตุง

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 28: cultural Identity of Chiangrai

๕)นิทานเรื่องแมงสี่หูห้าตา

เรื่องแมงสี่หูห้าตาเป็นนิทานที่เล่าต่อๆกันมาที่วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วอำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายมีตำนาน

เล่าเกี่ยวกับเรื่องแมงสี่หูห้าตาว่า

ในเมืองพันธุมัตติราชธานีมีพญาชื่อพันธุมัตติมีเทวี๗นางในเมืองนี้มีทุคตะ๓พ่อแม่ลูกต่อมาแม่และพ่อได้ตาย

จากไปก่อนตายพ่อก็ให้โอวาทสั่งสอนและสั่งว่า ไม่ต้องจัดพิธีงานศพพ่อ เมื่อศพล่อนให้ลากเอาหัวและกะโหลกไปตามทางถ้า

ติดตรงไหนก็ให้ใส่แร้วตรงนั้น

เมื่อพ่อเสียชีวิตแล้วชายทุคตะได้ปฏิบัติตามที่พ่อสั่งไว้และดักแร้วได้สัตว์ที่มีลักษณะประหลาดคือมี๔หู๕ตา

จึงนำมาไว้ที่ตูบน้อยที่อยู่ของตนเองพบว่าแมงสี่หูห้าตาชอบกินถ่านไฟแดงเป็นอาหารและถ่ายมูลเป็นทองคำทุกวันชายทุคตะ

จึงได้ขนเอาไปฝังไว้ในสวนจำนวนมากโดยไม่มีใครทราบ

พญาพันธุมัตติราชมีราชธิดาชื่อนางสิมมามีรูปโฉมงดงามเมื่อพญาทั้งหลายมาสู่ขอพญาพันธุมัตติราชได้ประกาศว่า

ถ้าผู้ใดสามารถตีลินคำ (รางน้ำทองคำ)พาดจากเมืองของตนมาถึงคุ้มของพญาได้ ตนเองจะยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย ชาย

ทุคตะจึงหาช่างมาตีลินคำพาดจากตูบน้อยของตนเองไปถึงคุ้มพญาพญาจึงยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย

วันหนึ่งพญาพันธุมัตติราชจึงเรียกชายทุคตะมาสอบถามถึงที่มาของทองคำจำนวนมากที่นำมาตีเป็นลินคำ เขาจึงเล่า

ความจริงให้พญาฟังทั้งหมดพญาจึงให้คนไปขนเอาทองคำที่ฝังไว้มาเก็บในคลังหลวงและนำแมงสี่หูห้าตามายังคุ้มหลวงคนทั้ง

หลายพากันมามุงดูเป็นจำนวนมากแมงสี่หูห้าตาจึงหนีเข้าไปในช่องถ้ำที่อยู่ใกล้เมืองพญาและ

อำมาตย์ทั้งหลายจึงตามเข้าไปในถ้ำแต่ปากถ้ำได้พังทลายลงมาปิดไว้หาทางออกไม่ได้มีแต่

ช่องเล็กๆพญาจึงให้เทวีทั้ง๗มาหาและให้เปิดผ้านุ่งให้ดูมีนางเทวีคนที่๗คนเดียวที่

ตัดสินใจยอมเปิดผ้านุ่งให้ดู ทำให้ก้อนผาที่ปิดปากถ้ำหัวเราะและแตกออกพญาและ

อำมาตย์จึงออกมาได้พญาทั้งหลายจึงรักเมียปลายมากกว่าเมียเก๊ามาตราบทุกวันนี ้

ต่อมาพญาพันธุมัตติราชได้โปรดให้ราชาภิเษกลูกเขยเป็นพญา ได้

เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “พระยาธรรมมิกะราช” และมีการเฉลิมฉลองนับ๗วัน๗

คืนมีพระสงฆ์มาเผยแพร่พระพุทธศาสนา แล้วนำพระบรมพุทธสารีริกธาตุนิ้ว

ก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้ามาถวาย ในฐานะที่เป็นเจ้าเมืองพระยาธรรมมิกะ

ราชจึง โปรดฯ ให้สร้างวัดวาอารามต่างๆ เพิ่มขึ้นและได้สร้างวัดดอยเขาควาย

แก้วโดยนำเอาพระบรมพุทธสารีริกธาตุนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้าบรรจุใส่ไว้

ในเจดีย์ของวัดดอยเขาควายแก้วอีกด้วย วัดนั้นสร้างตรงยอดดอยที่มีถ้ำที่แมงสี่หู

ห้าตามาติดบ่วงแร้วได้ที่นั่นและเป็นวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วของจังหวัดเชียงราย

ในปัจจุบัน

๑.๒ กฎหมาย

กฎหมายของล้านนา เข้าใจว่าได้รวบรวมและตราขึ้นใช้ในสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาผู้สร้าง

เมืองเชียงใหม่มีชื่อว่า “มังรายศาสตร์”หรือ “วินิจฉัยมังราย”สันนิษฐานว่าพญามังรายอาจจะตรากฎหมายฉบับนี้โดยได้รับ

อิทธิพลของ “กฎหมายมังรายศาสตร์”ของมอญจากหริภุญชัยมังรายศาสตร์คงเป็นกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาตัดสินคดี

ต่างๆ สืบทอดต่อกันมาหลายสมัย นอกจากนี้ยังพบต้นฉบับกฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น กฎหมายเช่านา อวหาร๒๕

(ว่าด้วยการโจรกรรม๒๕)กฎหมายโคสาราษฎร์เป็นต้น

๑.๓ ตำรา

ได้แก่ ตำราโหราศาสตร์ ตำราสมุนไพร ตำราประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่

มูลประทีป (ว่าด้วยประเพณีการจุดประทีปตามบ้านเมือง) บูชาเคราะห์หลวง (ว่าด้วยประเพณีการสะเดาะเคราะห์ และ

ลักษณะขึดหรืออุบาทว์ต่างๆ)เป็นต้น

๑.๔ ชาดก

วรรณกรรมประเภทนิทานชาดกของล้านนามีอยู่เป็นจำนวนมากส่วนใหญ่จะเป็นชาดกนอกนิบาต ซึ่งสืบเนื่องมาจาก

การนำนิทานท้องถิ่นมาแต่ง เพื่อใช้เทศนาสั่งสอนโดยกล่าวอ้างว่าเป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์การแต่งจะมีลักษณะยกคาถาบาลี

ตั้งแล้วพรรณนาเป็นภาษาร้อยแก้วบางเรื่องก็มีลักษณะการแต่งปนกับร่ายซึ่งเรียกกันว่า“ธรรมค่าว”

๑.๕ คำสอน

วรรณกรรมคำสอนที่แต่งเป็นร้อยแก้วมักจะแต่งขึ้นใช้เทศน์เช่นเดียวกับวรรณกรรมประเภทชาดก โดยมีการยก

คาถาบาลีตั้งแล้วอธิบายขยายความเป็นร้อยแก้วหรือมีการแต่งเป็นร่ายปนด้วย วิธีการสอนนั้นมีทั้งการใช้เทศนาโวหารและ

สาธกโวหารโดยการยกอุทาหรณ์เป็นนิทานประกอบตัวอย่าง เช่นวรรณกรรมเรื่องปู่สอนหลานย่าสอนหลานโลกนัยคำสอน

โลกหานีคำสอนโลกธนะเป็นต้น

๒. วรรณกรรมประเภทร้อยกรอง

ร้อยกรองของล้านนาแบ่งตามลักษณะรูปแบบได้๖ประเภทคือโคลงร่ายค่าวซอคำฮ่ำกาพย์และซอที่ปรากฏ

เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์พบต้นฉบับส่วนใหญ่มีเพียง๓ประเภทคือ ร่าย (เรียกว่า “ธรรมค่าว”หรือ “ค่าวธรรม”) โคลง

และค่าวซอทั้งนี้เพราะคำประพันธ์อีก๓ชนิดคือกาพย์คำฮ่ำและซอนั้นเป็นลักษณะบทเพลงพื้นบ้านกล่าวคือกาพย์นั้น

เป็นเพียงบทแทรกสำหรับพระภิกษุสงฆ์ใช้สลับในการเทศน์(ลักษณะคล้ายกับแหล่ของภาคกลาง) คำฮ่ำเป็นบทขับขานในพิธีกรรม

ส่วนซอเป็นลักษณะเพลงปฏิพากย์คือมีนักร้องชายหญิงที่เรียกกันว่า“ช่างซอ”ขับร้องโต้ตอบกัน(คล้ายกับ“หมอลำ”ของ

ภาคอีสาน)ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยพบการแต่งคำประพันธ์ทั้งกาพย์คำฮ่ำและซอนี้เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์แต่อย่างใด

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 29: cultural Identity of Chiangrai

๒.๑ วรรณกรรมประเภทโคลง เท่าที่พบต้นฉบับแบ่งตามเนื้อหาได้ดังนี้ประเภทนิราศประเภทประวัติศาสตร์ประเภทนิทานประเภทคำสอนและโคลงกลบทต่างๆ ๒.๒ วรรณกรรมประเภทร่าย วรรณกรรมประเภทนี้เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาจึงมักเรียกว่าธรรมค่าวค่าวธรรมหรือกลอนธรรมกล่าวคือพระภิกษุแต่งขึ้นเพื่อใช้เทศนาธรรมเนื้อหาจึงจัดเป็นวรรณกรรมคำสอนโดยตรงส่วนใหญ่จะเป็นนิทานชาดกซึ่งมีที่มาทั้งจากนิทานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาจากอรรถกถาชาดกและปัญญาชาดกลักษณะการแต่งจะคาบเกี่ยวกับร้อยแก้วสำนวนเทศน์พัฒนาเป็นร่ายโบราณ(ที่มีวรรคละ๕คำเป็นหลัก)และเป็นร่ายยาว(ที่มีถึงวรรคละ๑๐คำก็ได้)เช่นเรื่องที่นิยมแต่งกันมากคือร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๒.๓ วรรณกรรมประเภทค่าวซอ เป็นคำประพันธ์ของล้านนาชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะวรรณกรรมค่าวซอเป็นวรรณกรรมที่สืบเนื่องมาแต่ “ธรรมค่าว” นักเขียนภาคเหนือนิยมแต่งกันมากในราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (เริ่มตั้งแต่ประมาณพ.ศ.๒๓๐๐อันเป็นระยะที่เชียงใหม่พ้นจากการปกครองของพม่าแล้วและในช่วงที่กวีรัตนโกสินทร์นิยมแต่งวรรณกรรมด้วยกลอนแปดหรือ กลอนสุภาพกวีภาคเหนือนิยมแต่งวรรณกรรมด้วยค่าวซอเป็นส่วนใหญ่)จุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อ“เล่าค่าว”หมายถึงการที่ผู้รู้อักษรล้านนา(ซึ่งบวชเรียนมาแล้ว)เป็นผู้อ่านค่าวซอเป็นทำนองเสนาะหรือที่เรียกว่าการ “จ๊อย”มีหลายทำนอง เช่นทำนองเชียงใหม่ทำนองเมืองเถินทำนองลำปางทำนองเชียงแสนทำนองโก่งเฮียวบงทำนองม้าย่ำไฟทำนองวิงวอนเป็นต้นเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องจักรๆวงศ์ๆเช่นค่าวซอหงส์หินค่าวซอเจ้าสุวัตรนางบัวคำค่าวซอก่ำกาดำเป็นต้น ๒.๔ วรรณกรรมประเภทค่าวฮ่ำ ค่าวฮ่ำคือค่าวที่พรรณนาถึงเหตุการณ์หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะบางเรื่องคล้ายกับจดหมายเหตุเช่นค่าวฮ่ำเชียงแสนแตกค่าฮ่ำบอกไฟขึ้นเป็นต้น ๑)ค่าวเชียงแสนแตก

ค่าวเชียงแสนแตกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการรบกับพม่าของกลุ่มคนไทย เพื่อยึดเชียงแสนต้นฉบับที่พบเป็นเอกสารใบลานของวัดม่วงตึ๊ดตำบลม่วงตึ๊ดอำเภอเมืองจังหวัดน่านจำนวน๑ผูกความยาว๔๒หน้าลานคัดลอกด้วยอักษรธรรมล้านนาแต่ไม่ปรากฏชื่อผู้คัดลอกและกวีผู้แต่ง ไพฑูรย์ดอกบัวแก้ว๖กล่าวว่า “ต้นฉบับเดิมของเอกสารนี้ขาดหายไปจำนวนหลายหน้า โดยเฉพาะในช่วงตอนท้ายจึงทำให้กวีพนธ์เรื่องค่าวเชียงแสนแตกไม่จบบริบูรณ์ โดยมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น๑๔ตอนประกอบด้วยกวีนิพนธ์จำนวน๕๒๘บทเฉพาะบทสุดท้ายมีเพียง๒วรรคความต่อเนื่องจากนั้นได้ขาดหายไป...” บทที่๑และ๒ขึ้นต้นด้วยการขอพรจากพระรัตนตรัยว่า ๑.อภิวันเทปูเชโครพ พระไตรภพติโลกาจารย์ นวธัมม์รัสสะหาร ทักขินัยยารัตนะแก้ว ๒.ชุลีกรบวนสว่างแล้ว เศียรใส่เกล้าสิรงค์ วันทานบคุลีเบงจงค์ ทังที่ติดที่เท้าทั้งห้า

เนื้อหาในค่าวเชียงแสนแตก เป็นการกล่าวถึงการขับไล่พม่าให้ออกจากเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ.๒๓๔๖ โดยมีกองทัพจากเมืองเชียงใหม่ลำปางและน่านร่วมมือกันเข้าตีเมืองเชียงแสน โดยกองทัพของทั้งสามเมืองได้ยกมาปิดล้อมเมืองไว้ จากนั้นจึงวางแผนที่จะเข้าโจมตีพร้อมกัน และนัดหมายให้ทหารในเมืองเชียงแสนเป็นฝ่ายเปิดประตูให้ กองทัพของทั้งสามเมืองจึงยกเข้าสู่ตัวเมืองเชียงแสนได้ โดยสะดวกเมื่อทุกอย่างเป็นไปตามแผนการที่วางไว้จึงสามารถยึดเมืองเชียงแสนได้ไม่ยากเย็นนักในสงครามครั้งนี้แม่ทัพพม่าถูกยิงที่ศีรษะเสียชีวิตบรรดาทหารที่เหลืออยู่ทั้งหมดจึงแตกพ่ายหนีไปปรากฏความว่า ๒๗๒.เตชะบุญกระหม่อมเหนือเกล้า มากนักปราบพลมาร หวานม่านร้ายหากม้วยสังขาร ชีวิตมารถูกปืนถูกเกล้า ๒๗๓.จับใส่หัวโป่ม่านผู้เถ้า ท่าวล้มข่วงอาราม ฝูงหมู่ลูกน้องสรวมหอบหยุบหาม ออกอารามแล่นหนีจากหั้น ม่านทังหลายต่างคนต่างดั้น พร่องลงเรือสู่น้ำ หลังจากยึดเมืองเชียงแสนคืนจากพม่าได้สำเร็จแล้วเจ้าเมืองเชียงใหม่ลำปางและน่านจึงอพยพกวาดต้อนผู้คนชาวเมืองเชียงแสนไปยังเมืองของตนทำให้เมืองเชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง

๒)ค่าวฮ่ำบอกไฟ๗

ค่าวฮ่ำบอกไฟเป็นค่าวที่ใช้สำหรับขับในคราวมีประเพณีจิบอกไฟ(จุดบั้งไฟ)ของชุมชนชาวบ้านส่วนมากจะจิสำหรับบูชาพระธาตุที่ชุมชนนับถือสำนวนภาษามักจะกล่าวถึงเหตุการณ์อย่างสนุกสนานเช่น มาเต๊อะมาเต๊อะปี่น้องทังหลายศรีเกิดเจียงรายปากั๋นวิ่งเต้นหาเฝ่าฝืนฟางดินไฟและขางหามาพร้อมถ้วนแล้วใส่ครกก้วน ตำสากมองดัง บางคนใคร่หัน สล่าเปิ้นสร้าง ขอเป็นลูกจ้าง แป๋งบอกไฟยาว สืบเจื้อสืบจ๋าว ต่อไปตางหน้า หมู่จุ๋มตู๋ข้า จักฮ่ำเฮียนเอาจ่วยกั๋นขูดเหลาไม้หวายลากเส้นตู๋ข้าบ่เว้นฮีตเก่าฮอยเดิมจักขอส่งเสริมบ่ละคว่างไว้ตู๋ข้ารับไจ้หามแห่เดินตางสนุกสนานตวยกันเป็นเส้นฟ้อนรำม่วนเล้นดีดเต้นนมมือขอพระบุญเหลือจ้วยก้ำจ้วยป้องจิบอกไฟยาวโห่ร้องเจี๋ยวจ๋าวตี๋กล๋างโต้งกว้างยกขึ้นใส่ก้างจิเสียยามแลงบ่ถ้ากินเหนงหมู่เฮาเปิ้นป๊องขึ้นก็ฟ้อนบ่ขึ้นก็ฟ้อนมันเป๋นตุกข์ย้อนได้ต๋อกได้ต๋ำตี๋นมือบอดำลำคอบอเส้าหมู่เฮานี้เล่าสนุกเมามัวแม่ฮ้างลืมครัวแม่เฮือนลืมผัวสาวจี๋ลืมจู้ก็หมู่นี้เนอ...

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 30: cultural Identity of Chiangrai

สถานการณ์ภาษาล้านนาในจังหวัดเชียงรายเป็นเช่นกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือคือมีการพูดภาษาล้านนา

(คำเมือง)ผสมกับภาษาไทยถิ่นกลางเป็นจำนวนมากซึ่งลักษณะการพูดคำเมืองผสมกับภาษาไทยนั้นคำเมืองจะเรียก

ว่าแปล๊ด(ปะ-แล๊ด,ไทยแปล๊ดเมือง)โดยมากแล้วมักจะพบในคนที่พูดคำเมืองมากๆแล้วพยายามจะพูดไทยหรือ

คนพูดภาษาไทยพยายามจะพูดคำเมืองเผลอพูดคำทั้ง๒ภาษามาประสมกันเช่น

แดดร้อนมากเลยเอาจ้องมากางดีกว่า

(ถ้าเป็นภาษาเมืองจริงๆต้องพูดว่าแดดฮ้อนแต๊เอาจ้องมาก๋างเลาะ)

อะไรเนี่ย!ทำไมมันแพงแต๊แพงว่า

(ถ้าเป็นภาษาเมืองจริงๆต้องพูดว่า“อะหยังนิจะ(ยิ)ไดมันแปงแต๊แปงว่า”

การพูดคำเมืองที่เป็นประโยคแบบดั้งเดิมนั้นหายากแล้วเนื่องจากมีการผสมผสานกับภาษาไทยภาคกลางทั้งใน

สำเนียงและคำศัพท์ยกตัวอย่างประโยคกำเมืองแบบดั้งเดิมเช่น

กิ๋นข้าวแล้วกา = ทานข้าวแล้วรึยัง

ยะอะหยั๋งกิ๋นกา(เจ้า) = ทำอะไรทาน(ค่ะ)ถ้าเป็น

ผู้ชายจะไม่ลงท้าย

คำว่าเจ้า

ไปตังใดมา(เจ้า) = ไปไหนมา(คะ)

ปริญญากายสิทธิ์.ประวัติพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย ตั้งแต่ง พ.ศ. ๑๙๑๒ – ๒๑๐๑.กรุงเทพฯ:ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาประวัติศาสตร์)

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร,๒๕๒๘(หน้าที่๑๑)

พระยาประชากิจกรจักร(แช่มบุนนาค).พงศาวดารโยนก. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๑๕.(หน้าที่๓๑๗)

สมหมายเปรมจิตต์อ้างถึงในบุญคิดวัชรศาสตร์.แบบเรียนภาษาเมืองเหนือ.พิมพ์ครั้งที่๖.เชียงใหม่:ธาราทองการพิมพ์,๒๕๒๗.

ตำนานพระธาตุดอยตุง ในประชุมตำนานพระธาตุภาคที่๑และภาคที่๒.กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,๒๕๑๓.

พระยาประชากิจกรจักร์(แช่มบุนนาค).พงศาวดารโยนก.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๑๕.

ไพฑูรย์ดอกบัวแก้ว.ค่าวเชียงแสนแตกในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๒.กรุงเทพฯ:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์,๒๕๔๒.

(หน้า๙๒๓–๙๒๔)

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,

๒๕๔๔.(หน้า๑๑๗–๑๑๘)

บรรณานุกรม

สถานการณ์ภาษาล้านนาในจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 31: cultural Identity of Chiangrai

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Page 32: cultural Identity of Chiangrai

ประเพณี พีธีกรรมคู่บ้านเมือง

ศิลป์งามศาสตร์พร้อม ชาวเมือง

งามเด่นดั่งดาวเรือง อยู่ฟ้า

เชียงรายรุ่งเรืองเมือง พญาพ่อมังราย

ตนเอกอ้างสง้า เสกสร้างเวียงสวรรค์

ด้วยปัจจัยทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกทั้งสภาพภูมิประเทศถิ่นที่อาศัยอยู่ถือเป็นมิติทางกายภาพหนึ่งที่แสดงออกถึงบริบททางสังคมคนล้านนาในจังหวัดเชียงรายได้อย่างชัดเจนผนวกกับความหลากหลายจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่สุด

ท้ายเรียกรวมตนเองว่า“คนล้านนา” เหล่านี้ก่อให้เกิดการผสมผสานเป็นกระบวนความคิดที่เราเรียกกันว่า“ภูมิปัญญา” ถือเป็นตัวปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชาวเชียงรายวันนี้ สามารถดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนให้ยังคงดำเนินอยู่ได้ แม้วันเวลาจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยหรือสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง วัฒนธรรมและประเพณีเมืองเชียงรายก็ยังคงอยู่ ด้วยการยึดมั่นในวิถีแห่งศรัทธา รวมไปถึงการมุ่งมั่นปฏิบัติในจารีตประเพณีท้องถิ่นตนเอง ให้เป็นเอกลักษณ์ เมื่อมองเปรียบเทียบกับวิถีชีวิตคนล้านนาสังคมกลุ่มอื่นๆ ทั่วไปก็ดูจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ทว่า ในความคล้ายคลึงกันนั้น มักจะมีความพิเศษอยู่ตรงที่จารีตประเพณีของเมืองเชียงรายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มิได้เป็นเพียงวัฒนธรรมหรือประเพณีที่มีรายละเอียดเชิงนามธรรมของการกล่าวอ้างถึงเท่านั้น ทุกอย่างยังคงมีรูปธรรมให้สามารถซึมซับสัมผัสอย่างชัดเจน โดยรับเอาจากแบบแผนประเพณีพิธีกรรมต่างๆซึ่งเป็นไปในลักษณะของการสืบทอดที่มีทั้งรูปแบบงานศิลป์และศาสตร์ในความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นพื้นบ้าน เกิดการอนุรักษ์สืบสานเพื่อการคงอยู่นับจากรุ่นสู่รุ่นดังเราจะเห็นได้จากความเด่นชัดในประเพณีและพิธีกรรมต่างๆที่ยังปรากฏให้พบเห็นในชีวิตประจำวันของกลุ่มคนแต่ละพื้นที่จังหวัดเชียงราย

หากลองสังเกตและพิจารณาให้ดีถึงคำกล่าวที่ว่า“เชียงรายเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมเป็นไปตามลักษณะทางกายภาพ

ของภูมิประเทศ”กล่าวคือ เมื่อเทียบกับประเพณีล้านนาใน๑๒ เดือนซึ่งถือเป็นพื้นฐานวงจรชีวิตคนล้านนาโดยทั่วไปแล้วพบว่าวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นเมืองเชียงรายยังมีความโดดเด่นจากการสอดแทรกและผสมผสานประเพณีด้านพิธีกรรม ในวิถีชีวิตประจำวันอื่นๆด้วยเพราะความหลากหลายทางชาติพันธุ์ผนวกกับปัจจัยทางด้านกายภาพพื้นที่ดังกล่าว เป็นสาเหตุ ให้ประเพณีพิธีกรรมบางอย่างกระทำขึ้นเฉพาะท้องถิ่นอาทิเช่นหมู่บ้านหาดไคร้อำเภอชียงของด้วยลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านที่ติดอยู่กับลำน้ำโขง วิถีชีวิตผู้คนส่วนใหญ่จึงผูกพันอยู่กับสายน้ำและทำอาชีพประมงเป็นหลัก จากวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กัน กับธรรมชาตินี้ ก่อให้เกิดมีประเพณีพิธีกรรมต่างๆขึ้นในชุมชนอย่างเช่นพิธีเลี้ยงผีลวงหรือพิธีบอกกล่าวเจ้าพ่อปลาบึก เพื่อขออนุญาตจับปลาบึกตามฤดูกาลในแม่น้ำโขง ถือเป็นการสร้างความเชื่อเพื่อการดูแลรักษาระบบนิเวศทางธรรมชาติ ที่ได้เอื้อคุณประโยชน์ต่อปากท้องและชีวิตมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์ก็เคารพและรักษาสิทธิประโยชน์ของธรรมชาติ ด้วยการตั้ง กฎกติกาเพื่อมาจัดการดูแลธรรมชาติสิ่งแวดล้อมนับเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชนบ้านหาดไคร้กับ ภูมิปัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัวเป็นต้น เหล่านี้จึงเกิดการรวมกันเป็นวัฒนธรรมและประเพณีที่เกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่เมืองเชียงรายกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแห่งนี้ โดยมีหลักฐานจากตำนานประวัติศาสตร์ที่ยาวนานนับ๗๕๐ปีเป็นเครื่องพิสูจน์พัฒนาผ่านกาลเวลาเรื่อยมาจนมีความงดงามปราณีตบรรจงในเชิงคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจในบริบทของวิถีชีวิตจารีตประเพณีและพิธีกรรมท้องถิ่นเชียงรายที่หลากหลายดังจะเห็นได้จากเนื้อหาต่อไปนี ้

วัฒนธรรมประเพณีเมืองเชียงราย : บริบททางสังคมคนล้านนาในมิติแห่งกาลเวลา

ช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่๑๙เมื่อ“พญามังรายมหาราช” แห่ง

เชียงแสนนคร ได้เข้ามาครอบครองและตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ราบลุ่มเชียงราย

แห่งนี้ ถือเป็นการลงหลักปักฐานว่าด้วยการวางผังบ้านภูมิเมืองที่มั่นคงถาวร

เป็นครั้งแรกของเมืองเชียงรายยังมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองสู่ดินแดนที่ราบลุ่ม

ระหว่างขุนเขาแห่งนี้ กอปรกับการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาของกลุ่มชาติพันธุ์

ที่หลากหลายพัฒนาการเรื่อยมาจนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ นำไปสู่การ

เป็นศูนย์กลางระบอบการเมืองการปกครอง ศาสนา อันมีแบบแผนทาง

วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการได้สัมผัสเรียนรู้กับสิ่งรอบๆตัวที่เรียก

ว่า“ธรรมชาติ”อ้างอิงอยู่กับฐานรากแห่ง“ศรัทธา”อันหมายถึงความเชื่อ

ในสิ่งที่ตนเคารพบูชาเป็นหลัก โดยมีทั้งเทพเจ้า ศาสนา รวมไปถึงดวง

วิญญาณบรรพบุรุษหรือวีรกษัตริย์นักรบในตำนานต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่

สัมพันธ์ เชื่อมโยงกลายมาเป็นวัฒนธรรมชนชาติ ที่มี เอกลักษณ์ทาง

ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี ถ่ายทอดออกมาเป็นวิถีชีวิตผู้คนใน

สังคมล้านนา รวมไปถึงเกิดการสืบทอดต่อยอดในศิลปะ วัฒนธรรมและ

ประเพณีของตนมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานดังเช่น สังคมวิถีชีวิตชาว

เมืองเชียงรายปัจจุบันที่ร่วมกันสืบสาน สืบทอดต่อยอดลมหายใจใน

วัฒนธรรมและประเพณีของตนเองให้คงอยู่มากระทั่งถึงทุกวันนี ้

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 33: cultural Identity of Chiangrai

พิธีบวงสรวงพญามังราย

พญามังรายเป็นกษัตริย์องค์ที่๒๕แห่งราชวงศ์ลวจังกราชพระองค์ได้

ทรงสร้างบ้านแปงเมืองเชียงรายขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๑๘๐๕ โดยกำหนดดอยทอง (ปัจจุบัน) ให้เป็น

จุดสะดือเมืองด้วยเห็นว่า เป็นชัยภูมิที่อุดมสมบูรณ์ และเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองให้เจริญ

รุ่งเรืองสืบต่อไปดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทางจังหวัดเชียงราย

จึงได้จัดพิธีการบวงสรวงพญามังรายขึ้นนับตั้งแต่วันที่๒๖มกราคม๒๕๒๖เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่บ้านเมือง โดยจะเริ่มต้นพิธีบวงสรวงบริเวณวัดงำเมืองจากนั้นจะ

ประกอบพิธีทำบุญเมืองพิธีสืบชะตาเมืองและพิธีบวงสรวงพญามังราย เป็นลำดับณบริเวณลาน

อนุสาวรีย์พญามังรายจังหวัดเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 34: cultural Identity of Chiangrai

ประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยตุงถือเป็นองค์ปฐมเจดีย์แห่งดินแดนล้านนาจัดเป็นโบราณสถานที่สำคัญและเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตามตำนานกล่าวไว้ว่า เป็นเจดีย์บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้ายของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งพระมหากัสสปเถระเจ้าได้นำมาถวายแด่พระเจ้าอชุตตราชกษัตริย์องค์ที่๓แห่งเมืองโยนกนาคนครภายหลังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วดังนั้นชาวพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวที่เลื่อมใสศรัทธาต่อพระธาตุเจดีย์อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้จึงได้เดินทางมากราบไหว้และสักการะบูชาเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง

ประเพณีการขึ้นพระธาตุดอยตุง เป็นขนบจารีตของชาวล้านนาที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยถือกำหนดเอาวัน

เพ็ญเดือน๔(ใต้)หรือเดือน๖เป็ง(เหนือ)เป็นวันประกอบพิธีใหญ่แต่ช่วงระยะเวลาของการจัดงานจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น๑๔-๑๕ค่ำและ

สิ้นสุดในวันแรม๑ค่ำของเดือนดังกล่าวทุกปี

บรรดาผู้เฒ่าผู้แก่บ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย เล่าให้ฟังว่า“...การเดินทางขึ้นนมัสการพระธาตุดอยตุงในสมัยอดีตเป็นไปด้วย

ความยากลำบาก หากไม่มีความศรัทธาต่อองค์พระธาตุดอยตุงแล้ว ก็ไม่อาจขึ้นไปกราบไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ได้ เพราะในอดีตถนน

หนทางที่ขึ้นพระธาตุดอยตุงนั้น เป็นเพียงเส้นทางเดินเท้าเล็กๆ ที่เลาะเลียบลำห้วยแม่ไร่ ชาวบ้านจะพากันเดินเป็นกลุ่มใหญ่ พร้อมด้วย

คณะสงฆ์ของวัดต่างๆ โดยจัดเตรียมข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน ขมิ้นส้มป่อย อาหาร และเงินสำหรับทำบุญไปด้วย หากผู้เฒ่าผู้แก่ที่

สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ต้องใช้เวลาราวหนึ่งถึงสองวันในการเดินทางขึ้นพระธาตุ โดยจัดเตรียมเสื้อผ้า ข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องครัว

สำหรับทำอาหาร รวมถึงเครื่องบูชาและถวายพระธาตุขึ้นไปด้วย ในระหว่างการเดินทางก็จะมีการสนทนาพูดคุยด้วยเรื่องที่สนุกสนาน อีก

ทั้งสอดแทรกคติชีวิตปรัชญา ช่วยผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย และลืมเรื่องระยะทางที่ยาวไกลลงไปได้สนิท..”

ในค่ำคืนของวันขึ้น๑๔ค่ำ เหล่าพระสงฆ์และสามเณรจะขึ้นไปพร้อมกันที่วัดพระธาตุดอยตุงน้อย เพื่อทำวัตรสวดมนต์ และทำพิธี

สวดเบิกท่านพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุงและเจ้าคณะอำเภอแม่สายได้ให้ข้อมูลว่าพิธีการสวดเบิกในอดีตนั้นจะต้องใช้

พระสงฆ์อย่างน้อย๕รูป๗รูปหรือ๙รูปโดยจะกราบอาราธนานิมนต์พระที่มีเสียงดีจากแต่ละสำนัก(วัด)ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นสวดหลังจากนั้น

ชาวบ้านก็จะฟังการแสดงพระธรรมเทศนาอันกล่าวถึงตำนานและอานิสงส์แห่งพระธาตุดอยตุงเป็นสำคัญ

รุ่งเช้าของวันขึ้น๑๕ค่ำชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตร เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะพากันขึ้นไปตักน้ำทิพย์จากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

เพื่อนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกก่อนที่จะนำไปสรงองค์พระธาตุดอยตุงครั้นพอถึงเวลากลางคืนจะพากันฟังพระสวดเบิกอีกครั้งพร้อมกับทำสมาธิ

และฟังการแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับตำนานพระธาตุดอยตุงเหมือนเช่นคืนแรก

ส่วนในช่วงเช้าของวันแรม๑ค่ำหลังจากถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และร่วมรับประทานอาหารกันตามหมู่คณะของตนแล้วชาวบ้าน

จะพากันเดินทางกลับด้วยความอิ่มเอิบใจแต่สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านถือปฏิบัติกันก่อนเดินลงจากพระธาตุคือการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบางคน

อาจมีการทำทุรกรรมจริตผิดละเมิดด้วยกายวาจาใจหรือบางคนขอขมาเพ่ืออธิษฐานนำน้ำทิพย์จากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์กลับมาฝากคนที่ไม่ได้ไปด้วย

ปัจจุบัน การเดินทางขึ้นไปนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุงมีความสะดวกสบายมากขึ้นมีการสร้างถนนสำหรับนำรถยนต์

ขึ้นไปได้ และไม่จำเป็นต้องไปตั้งปางที่พักค้างคืนเหมือนสมัยก่อนผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธาจึงหลั่งไหลหาโอกาสที่จะขึ้นไปสักการะบูชา

องค์พระธาตุเจ้าดอยตุงแห่งนี้ โดยเฉพาะผู้ที่เกิดปี “ไก๊”หรือปีกุน (ปีหมูหรือปีช้าง)จะเชื่อกันว่าพระธาตุเจ้าดอยตุงดังกล่าวเป็น

ธาตุประจำปีเกิดของตนหากได้ไปสักการะกราบไหว้บูชาแล้วจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 35: cultural Identity of Chiangrai

พิธีตานหาแม่ฟ้าหลวง

พิธีตานหาแม่ฟ้าหลวง เป็นพิธีทำบุญเพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีซึ่งชาวเชียงรายคุ้นเคย

กับพระองค์ในพระนามว่า“แม่ฟ้าหลวง”

ตามพระราชประวัติกล่าวไว้ว่าพลเอกหญิงพลเรือเอกหญิงพลอากาศเอกหญิงพลตำรวจเอกหญิงสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

หรือพระนามที่ประชาชนชาวไทยนิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า นั้น ทรงพระราชสมภพในวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ ตุลาคมพ.ศ. ๒๔๔๓

ณจังหวัดนนทบุรีพระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่๑๘กรกฎาคมพ.ศ.๒๕๓๘รวมพระชนมายุได้ ๙๔พรรษาพระองค์เป็นพระราช

ชนนีในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

รัชกาลที่๘และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงโปรดธรรมชาติมากทรงสร้างพระตำหนักดอยตุง ขึ้นบริเวณดอยตุง เนื้อที่ ๒๙ ไร่

๓งานที่บ้านอีก้อป่ากล้วยอำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงรายด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เองในพื้นที่เช่าของกรมป่าไม้เป็นเวลานาน

๓๐ปีโดยทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่าบ้านที่ดอยตุงทรงพัฒนาดอยตุงและส่งเสริมงานให้ชาวเขาหลายด้านดังนี ้

โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๑

ทรงพระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จและทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง

ทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกาและไม้ดอกมาปลูก

โครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่งกล้วยกล้วยไม้เห็ดหลินจือสตรอเบอรี่

จัดตั้งศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่บ้านผาหมีตำบลเวียงพางคำอำเภอแม่สายจังหวัด

เชียงราย

จากพระราชอุตสาหดังกล่าวและโครงการอีกหลายๆโครงการที่มิได้กล่าวถึงในที่นี้ทำให้ยอดดอยที่เคยโล่ง

เตียนจากการถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น ได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม ด้วยเหตุนี้

พระองค์จึงทรงได้รับการขนานพระนามว่าสมเด็จย่าจากชาวไทยบนพื้นราบและแม่ฟ้าหลวงจากชาวไทยภูเขา

เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๑๐๐ ปี องค์การ

วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินท

ราบรมราชชนนีทรงเป็น“บุคคลสำคัญของโลก”

ในฐานะที่จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

เป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ดังนั้นในวันที่๑๘กรกฎาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันครบรอบวันสวรรคตของพระองค์จึงได้

มีการจัดพิธีทำบุญเพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระองค์ เป็นการแสดงความจงรักภักดี และสำนึกใน

พระมหากรุณาธิคุณพิธีดังกล่าวเรียกว่า“พิธีทานหาแม่ฟ้าหลวง”โดยมีหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนพร้อมทั้ง

ข้าราชการและประชาชนเข้าร่วมพิธีอย่างเนืองแน่น โดยในช่วงเช้าเวลาประมาณ๐๗ .๓๐น.จะมีการจัดขบวนแห่

เครื่องสักการะและอัญเชิญพวงมาลาสักการะถวายณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ขบวนแห่ดังกล่าวจะเริ่มจากพิธีอัญเชิญเครื่องสักการะแบบล้านนาตามด้วยขบวนผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคณะผู้บริหาร

คณาจารย์ บุคลากรเจ้าหน้าที่ นักเรียนและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และในช่วงสายจะจัดให้

มีพิธีถวายเครื่องราชสักการะณอุทยานศิลปะและวัฒนธรรม (ไร่แม่ฟ้าหลวง) อำเภอเมืองเชียงรายมีขบวนแห่

เครื่องสักการะตามแบบประเพณีล้านนาโดยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน พร้อมทั้งข้าราชการและประชาชน

อย่างยิ่งใหญ่เครื่องสักการะในขบวนแห่ประกอบไปด้วยขันดอกต้นผึ้งหมากสุ่มหมากเบ็งและ

ต้นเทียนในช่วงบ่ายมีพิธีบำเพ็ญกุศลถวายณพระตำหนักดอยตุงอำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัด

เชียงรายพิธีทานหาแม่ฟ้าหลวงน้ีได้ริเริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๙และได้ถือปฏิบัติ

สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 36: cultural Identity of Chiangrai

พิธีเลี้ยงผีลวง-เจ้าพ่อปลาบึก

บ้านหาดไคร้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับลำน้ำโขง

ผู้คนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับสายน้ำโขงเป็นหลัก ดังมีอาชีพเก่าแก่หนึ่งที่ก่อให้เกิด

เป็นพิธีกรรมความเชื่อในลุ่มน้ำแห่งนี้ คือ“พิธีจับปลาบึก”ถือเป็นประเพณีพิธีกรรม

สำคัญที่มีการสืบทอดมาแต่ครั้งโบราณกาลเชื่อกันว่าปลาบึกเป็นปลาขนาดใหญ่มักจะมีผี

คอยปกปักรักษา ดังนั้นก่อนจะทำการล่าปลาบึกจึงต้องมีพิธีเซ่นสรวงเพื่อบอกกล่าว

ขออนุญาตจับปลาบึกจาก“ผีลวง”กล่าวกันว่าเป็นผีที่คอยดูแลรักษาปลาบึกในลำน้ำโขง

แห่งนี้

บุญเรียน จินาราช พรานล่าปลาบึกแห่งบ้านหาดไคร้ เล่าให้ฟังถึงการปรากฏตัวของปลา

บึกสามารถทราบได้จากฝูงนกนางนวลที่บินอพยพมาสู่ลำน้ำโขง โดยภายหลังการมาของฝูงนกนางนวล

ประมาณ๒สัปดาห์หรือในช่วงหลังสงกรานต์ประมาณ๔-๕วันชาวประมงจะเริ่มทำพิธีบวงสรวงผีลวง

หรือ “เจ้าพ่อปลาบึก”และทำกันเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอาชีพล่าปลาบึกเท่านั้น “ปางปลา” เป็นชื่อเรียกสถานที่

จัดพิธีกรรมดังกล่าวริมแม่น้ำโขง โดยชาวบ้านจะช่วยกันจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีต่างๆพร้อมกับสร้าง

ศาลเล็กๆขึ้นมา๑หลังจากนั้นพรานอาวุโสจะทำพิธีบอกกล่าวผีลวงเพื่อขออนุญาตจับปลาบึกหากจับได้

แล้วจะกลับมาถวายเครื่องเซ่นไหว้อีกครั้ง

หลังพิธีเลี้ยงผีลวงเสร็จสิ้น ก่อนจะนำเรือออกล่าปลาบึกจะต้องทำพิธีเลี้ยงผีแม่ย่านางเรือด้วย

เครื่องเซ่น๓อย่าง ได้แก่หมู ไก่แดงและไก่ขาว เพราะเชื่อกันว่าเรือ๑ลำจะมีแม่ย่านาง๓ตนคือ

นางผมหอมอยู่หัวเรือนางคำฟูอยู่กลางเรือและนางแก้วอยู่ท้ายเรือโดยจะก่อนทำพิธีเลี้ยงจะมีการเสี่ยงทาย

ด้วยการสุ่มหยิบข้าวเปลือกบนเครื่องเซ่นไหว้แต่ละอย่างหากนับเม็ดข้าวในเครื่องเซ่นใดได้จำนวนคู่ครบทั้ง

๓ครั้ง แสดงว่าแม่ย่านางเรือต้องการกินเครื่องเซ่นนั้นๆพรานปลาบึกจะนำดอกไม้สีแดงพร้อมทั้งหมาก

พลูและเทียนมาไหว้ แล้วนำไก่มาฟาดที่หัวเรือจนตายนำเลือดไก่มาทาตั้งแต่หัวเรือจรดท้ายเรือ เพื่อขอพร

แม่ย่านางเรือให้อำนวยโชคมาสู่ถือเป็นเสร็จพิธี หลังจากได้ปลาบึกมาแล้วพรานปลาจะนำมาทำพิธีเลี้ยงผี

ลวงอีกครั้งเป็นเชิงบอกกล่าวขอบคุณที่ทำให้การล่าปลาบึกครั้งนี้สำเร็จไปด้วยดี

แม้ว่าปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมจะเปลี่ยนไปมากแต่คนที่ทำอาชีพจับปลาบึกในลำน้ำโขง

ยังคงยึดมั่นตามความเชื่อดั้งเดิมนี้อย่างเคร่งครัดและถือปฏิบัติสืบต่อพิธีกรรมบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกอยู่เป็น

ประจำมิได้ขาดนับเป็นวิถีชีวิตที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนสัตว์และธรรมชาติอย่างกลมกลืน

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

10

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

11

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 37: cultural Identity of Chiangrai

ปอยลูกแก้ว คำว่า “ปอย” มาจากภาษาพม่าว่า “ปแว” แต่ชาวล้านนารับคำนี้มาแล้วปรับเสียงให้เข้ากับลิ้นของคนท้องถิ่นจึงออกเสียงว่า“ปอย”ในล้านนาโดยทั่วไปหมายถึงงานฉลองยกเว้นบางจังหวัดเช่นจังหวัดลำปางคำว่า “ปอย” หมายถึงงานศพ ส่วนคำว่าปอยลูกแก้วหมายถึงงานบรรพชาสามเณรเรียกอีกอย่างว่า“ปอยหน้อย” ซึ่งหมายถึงงานฉลองที่ไม่ใหญ่โตนักเมื่อเทียบกับงาน “ปอยหลวง” ที่ถือเป็นงานฉลองศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่มีผู้คนจากหลายหมู่บ้านหรือหลายหัววัดมาร่วมทำบุญกัน ปอยลูกแก้ว หรือ ปอยหน้อย เป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องมาเป็นเวลายาวนานโดยมากมักจะมีการแห่ ผู้ที่เตรียมเข้าพิธีบรรพชาไปตามที่ชุมชนต่างๆซึ่งเรียกว่าแห่ลูกแก้วคำว่า “ลูกแก้ว” มีความหมายโดยนัยว่าเป็นลูกของพระรัตนไตรหรือ แก้วทั้งสามดวงดังนั้นผู้ที่จะเข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณรจึงถูกเรียกว่าเป็น “ลูกแก้ว”หากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่จะเรียกพิธีเดียวกันนี้ว่า“ปอยส่างลอง”ซึ่งคำว่า“ส่าง” หมายถึงผู้ที่บวชเป็นสามเณรส่วนคำว่า“ลอง” มาจากคำว่า “อลองพญา”หมายถึงชนระดับปกครองหรือ ชาติเชื้อกษัตริย์ เป็นการให้ความหมายโดยนัยว่า ผู้ที่จะเข้าพิธีนั้นเปรียบเสมือนเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งเป็น ลูกกษัตริย์ ดังนั้นการแต่งตัวให้ “ส่างลอง” หรือผู้จะเข้าพิธีบรรพชาในปอยส่างลองจึงเต็มไปด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์และเครื่องประดับ อันวิจิตรตระการตายิ่งกว่า“ลูกแก้ว”

ประเพณีปอยลูกแก้วในจังหวัดเชียงรายนั้นประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธ์ุมากมาย ดังนั้นรูปแบบการจัดจึงแตกต่างกันออกไป โดยภาพรวมแล้วก็จะมีลำดับของการจัดงานที่คล้ายกันคือ เริ่มจากการกำหนดวันบรรพชาให้เป็นที่แน่นอน จากนั้นพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้าภาพในการบรรพชาสามเณรแต่ละรูปจะจัดหาเครื่องอัฐบริขารสำหรับเณรบวชใหม่ให้พร้อมสรรพประกอบด้วยสะบงธรรมดา๑ผืนจีวร๑ผืนอังสะ๑ผืนบาตร๑ ใบพร้อมด้วยกล่องเข็มมีดโกน ผ้ากรองน้ำและลูกประคำส่วนผ้ารัดเอว(รัดประคต)จะมีหรือไม่มีก็ได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องสักการะอาทิ เทียนบวชสมัยก่อนใช้๖เล่มแต่ปัจจุบันใช้เพียง๓เล่มดอกไม้ใส่ควัก(กระทง)หรือทำเป็นช่อใส่ลงไปในพานสำหรับขอบวช๑ชุด ใส่ในพานขอสรณะคมน์ และศีล๑ชุดและใส่ในพานขออุปัชฌาย์๑ชุดจากนั้นจะทำพิธีโกนหัวอาบน้ำขมิ้นส้มป่อยและทาแป้งแต่งตัวด้วยชุดลูกแก้วที่เตรียมไว้เพื่อนำไปแห่ตามบ้านผู้คนหรือในที่ชุมชน โดยมีชายฉกรรจ์ที่แข็งแรงทำหน้าที่เป็นม้ากัณฐกะให้ลูกแก้วขี่คอหรืออาจใช้ม้าจริงบางแห่งอาจใช้ช้างเป็นพาหนะก็ได้ ขบวนลูกแก้วจะแห่แหนไปรอบๆหมู่บ้านและขึ้นไปบนบ้านบุคคลที่มีอาวุโสเพื่อให้ผูกข้อมือให้พร เมื่อขบวนลูกแก้วกลับถึงวัดลูกแก้วจะเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเป็นนุ่งขาวห่มขาวเพื่อเข้าพิธีบรรพชาโดยมีพระอุปัชฌาย์เป็นผู้ทำพิธีบวชให้

ในงานปอยลูกแก้วมักจะจัดให้มีมหรสพเฉลิมฉลองเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้มาร่วมงาน ส่วนมหรสพจะยิ่งใหญ่ เพียงใดขึ้นอยู่กับฐานะของผู้เป็นเจ้าภาพคือบรรดาพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของลูกแก้วที่จะบวชบางคนพ่อแม่ยากจนทางวัดและประชาชนที่มีฐานะดีในหมู่บ้านจะร่วมกันเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากการบวชลูกแก้วเป็นการทำบุญอีกลักษณะหนึ่งที่ถือว่ามีอานิสงส์มาก เพราะการได้ร่วมสร้างเนื้อนาบุญขึ้นในบวรพระพุทธศาสนาเป็นโอกาสการทำบุญครั้งใหญ่ของบุคคลในชุมชนโดยอาจร่วมเป็นเจ้าภาพซื้อปัจจัย อัฐบริขารและร่วมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ เลี้ยงแขกที่มาร่วมงานหรือร่วมบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธานับเป็นโอกาสการทำบุญให้ทานที่เอื้ออานิสงส์ผลบุญแก่ผู้มีจิตศรัทธาได้จำนวนมากอีกประเพณีหนึ่ง

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 38: cultural Identity of Chiangrai

“ปางแปด” เจ้าหลวงเวียงแก่น

เวียงแก่น เป็นชื่อของอำเภอหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย ในอดีตเคยเป็นเมืองเวียงแก่นมีอายุประมาณ๗๐๐ปีเศษตรงกับสมัยกรุงสุโขทัยและเมืองเชียงราย เดิมเมืองเวียงแก่นเคยมี“เจ้าหลวงเวียงแก่น” เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย ภายหลังเกิดการสู้รบกับพญามังราย

บริเวณที่ราบทางทิศตะวันตกของเมือง และเจ้าหลวงเวียงแก่นสิ้นพระชนม์ในสนามรบแห่งนี้ ส่งผลให้เมืองเวียงแก่นถูกทิ้งร้างเป็นเวลานาน ในปัจจุบันเมืองเวียงแก่น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“เมืองโบราณดงเวียงแก่น” ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นแหล่งโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจ้าหลวงเวียงแก่นผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำงาว ได้ร่วมใจกันจัดพิธีบวงสรวงเจ้าหลวงเวียงแก่นขึ้นในช่วงเดือน๘ขึ้น๓-๔ค่ำของทุกปีเรียกอีกอย่างหนึ่งในภาษาถิ่นว่า “ปางแปด” โดยจะประกอบพิธีบริเวณหอเจ้าหลวงเวียงแก่น ซึ่ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านม่วงยายใต้ตำบลม่วงยายอำเภอเวียงแก่น การประกอบพิธีบวงสรวงเจ้าหลวงเวียงแก่นมีการกำหนดไว้๒วันคือวันขึ้น๓ค่ำและวันขึ้น๔ค่ำของเดือน๘หรือในราวเดือนมิถุนายนโดยสัตว์ที่ใช้เป็นเครื่องสังเวยในพิธีกรรมจะต้องเป็นหมูหรือควายตัวผู้สีดำเท่านั้นซึ่งจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันในแต่ละปีคือจะใช้หมูเป็นเครื่องประกอบพิธี๒ปีหลังจากนั้นจะเปลี่ยนมาใช้ควาย๑ปีการตระเตรียมสิ่งของหรือเครื่องประกอบพิธีกรรมต่างๆจะเป็นหน้าที่ของพ่อเข้าจ้ำ(ผู้รับหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างชาวบ้านกับดวงวิญญาณเจ้าหลวงฯ)และบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน รวมไปถึงกลุ่มวงดนตรีสะล้อซอซึงพื้นบ้านซึ่งถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในพิธีกรรมดังกล่าว

ในช่วงวันแรกของการทำพิธีซึ่งจะเริ่มเวลาประมาณบ่ายโมงของวันขึ้น๓ค่ำเดือน๘เรียกว่า“วันปาดหมาก” ผู้เฒ่าผู้แก่จะถือว่าวันดังกล่าวเป็น“วันก๋ำ”ตามประเพณีพิธีกรรมโบราณจะกำหนดระยะเวลาเอาไว้ ๒วันคือวันขึ้น๓ค่ำและ๔ค่ำ เดือน๘ข้อปฏิบัติในวันก๋ำดังกล่าวนี้คือจะห้ามไม่ให้ชาวบ้านออกไปทำงานหรือเดินทางไปไหนมาไหนจนกว่าจะผ่านพ้นวันขึ้น๔ค่ำโดยบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่จะมาช่วยกันจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีต่างๆอันได้แก่กรวยดอกไม้ธูปเทียนกรวยใบพลูหญ้าช้าง-หญ้าม้าผ้าขาว-ผ้าแดงหมากหัวและเหล้าขาว รุ่งขึ้นของเช้าวันขึ้น๔ค่ำ เดือน๘หรือที่เรียกกันว่า“วันปางหลวง”ชาวบ้านที่เข้าร่วมพิธีจะนำดอกไม้และเทียนมาถวายรวมกันที่หอเจ้าหลวงเวียงแก่นจากนั้นพ่อเข้าจ้ำจะนำหมูมาบอกกล่าวเซ่นไหว้เจ้าหลวงเวียงแก่นก่อนจะให้คนนำไปฆ่าเพื่อทำอาหารมาถวายภายหลังบรรยากาศในพิธีกรรมเลี้ยงเจ้าหลวงเวียงแก่นค่อนข้างครึกครื้น และเนืองแน่นไปด้วยผู้คนช่างซอพื้นเมืองจะบรรเลงดนตรีสะล้อซอซึง เพื่อขับขานอัญเชิญเจ้าหลวงเวียงแก่นให้มาประทับยัง“ที่นั่ง”หรือร่างทรงของเจ้าหลวงสลับกับการตีฆ้องและกลองตลอดช่วงประกอบพิธีกรรมส่วนช่างปี่ก็จะเป็นผู้ทำหน้าที่เชื้อเชิญเจ้าหลวงเวียงแก่นและเจ้าเมืององค์อื่นๆ ให้ลงมาประทับอยู่ทุกช่วงขณะอาทิเจ้าคำเหลืองเจ้าเวียงดึงเจ้าฟ้าแสนศึกเป็นต้น

เมื่อลงมาประทับแล้วพ่อเข้าจ้ำจะทำการผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายให้กับเจ้าหลวงแต่ละองค์ชาวบ้านที่เข้าร่วมพิธีจะตระเตรียมด้ายสายสิญจน์ และน้ำสะอาดบรรจุภาชนะไว้ เพื่อให้เจ้าหลวงเวียงแก่นร่ายมนต์คาถาปัดเป่าเคราะห์ภัยก่อนจะนำไปให้ลูกหลานและคนภายในครอบครัวดื่มกินเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะซักถามเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของคนภายในครอบครัวเพื่อหาทางเยียวยารักษาตามความเชื่อต่อไป จากนั้นพ่อเข้าจ้ำจะนำอาหารและเครื่องเซ่นไหว้ที่จัดเตรียมไว้ไปถวายให้กับเจ้าหลวงเวียงแก่นได้แก่ลาบแกงอ่อมส้า(ไม่ใส่เลือดแต่ใส่มะเขือแทน)เนื้อย่างและเครื่องในต้มที่สับเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำมาร้อยด้วยไม้ไผ่เรียกว่า“จิ้นหิ้ว” พร้อมทั้งหัวหมูต้มหาง และขาทั้ง๔ขา เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนพิธีถวายเครื่องบูชาเจ้าหลวง ชาวบ้านฝ่ายชายจะทำการยิงปืนจำนวน๑๖นัด เพื่อเป็นสัญญาณบอกกล่าวให้ผู้ที่เข้าร่วมพิธีสามารถรับประทานอาหารได้ หลังจากนั้นก็จะทำพิธีสู่ขวัญให้กับ“ที่นั่ง”หรือร่างทรงเพื่อเรียกขวัญกลับคืนและผูกข้อมือถือเป็นเสร็จพิธี

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

14

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 39: cultural Identity of Chiangrai

พิธีถ่ายหนังแดง “ถ่ายหนังแดง”หรือถวายหนังแดง เป็นพิธีกรรมการเลี้ยงผีป่าของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในอำเภอเวียงแก่น เป็นประเพณีพิธีกรรมดั้งเดิมที่ได้รับการปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพกาลผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่า ในอดีตครั้งหนึ่งได้เกิดโรคระบาดขึ้นในหลายหมู่บ้านทำให้ผู้คนและสัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมากหรือบางปีฝนฟ้าก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะถูกผีป่า ผีฟ้าหรือผีฮ้าย(ผีร้าย)มารังควานก่อกวนคนในหมู่บ้านทำให้เกิดความไม่สงบสุขร่มเย็นจำต้องทำการบนบานศาลกล่าวกับผีป่า เพื่อขอให้ช่วยคุ้มครองคนภายในหมู่บ้านให้คลาดแคล้วจากเภทภัยอันตรายต่างๆและช่วยดูแลเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านให้อุดมสมบูรณ์หากเป็นผลสำเร็จแล้วจะขอเซ่นสรวงดวงวิญญาณผีป่าด้วยวัวตัวผู้เป็นประจำทุกปี กลุ่มไทลื้อบ้านปอกลางตำบลปอ เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอเวียงแก่นที่ยังคงรักษาจารีตประเพณีดังกล่าวนี้ไว้โดยในทุกช่วงเดือนแปด(ไทลื้อ)หรือราวเดือนมิถุนายนของทุกปีชาวบ้านจะเก็บรวบรวมปัจจัยไปซื้อวัวเพื่อทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ผีป่าแต่ปัจจุบันได้มีหน่วยงานองค์กรท้องถิ่นเข้ามา ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดพิธีกรรมดังกล่าวนี้และถือเป็นประเพณีพิธีกรรมสำคัญประจำท้องถิ่นที่จัดขึ้นในระดับชุมชน พ่อวอน ไชยลังการ ปราชญ์อาวุโสในหมู่บ้านปอกลางเล่าว่า “...ในอดีตสมัยก่อน วัวที่จะใช้ในการเซ่นไหว้นั้นจะต้องเป็นวัวตัวผู้สีแดงเท่านั้น โดยจะนำมาปล่อยรวมกันไว้กลางทุ่งนา จากนั้นผู้อาวุโสจะจุดเทียนบอกกล่าวดวงวิญญาณผี

ป่าอารักษ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่าได้นำวัวมาเซ่นไหว้ถวายแล้ว จากนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ในการฆ่าวัวก็จะถือดาบลงไปไล่แทง หาก

วัวตัวไหนวิ่งช้า จะถือว่าเจ้าป่าได้เลือกวัวตัวนั้นแล้ว แต่ปัจจุบันในหมู่บ้านปอกลางไม่ค่อยมีคนเลี้ยงวัว ต้องออกไปหาซื้อ

จากหมู่บ้านอื่นๆ ใกล้เคียงแทน และไม่จำเป็นต้องเป็นวัวสีแดง หากแต่ต้องคงไว้ว่าเป็นวัวตัวผู้เท่านั้น...”

การประกอบพิธีเริ่มขึ้นอย่างเรียบง่ายบริเวณชายป่าที่กำหนดเป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านมากนักบรรดาผู้เฒ่าผู้แก่จะช่วยกันทำ“หิ้ง”หรือนั่งร้านไม้ไผ่สำหรับวางเครื่องสังเวยเลี้ยงผีป่า กว้างประมาณ๒ เมตรยกสูงจากระดับพื้นดินประมาณ๒ เมตรปูพื้นหิ้งด้วยใบตอง จากนั้นจะนำวัวที่ได้คัดเลือกไปผูกติดไว้กับต้นไม้ผู้อาวุโสในหมู่บ้านจะจุดเทียนบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในป่าที่ใช้ทำพิธี ก่อนจะให้คนนำวัวตัวดังกล่าวนั้นไปฆ่าแล้วนำมาประกอบอาหารเป็นเครื่องเซ่นไหว้ในพิธีกรรม เครื่องเซ่นไหว้ในพิธีถ่ายหนังแดง(ถวายหนังแดง)จะประกอบไปด้วยลาบเนื้อสดแกงอ่อมเนื้อย่างข้าวเหนียวเหล้าหนังวัวหางวัวหัววัวพร้อมด้วยขาทั้ง๔ขาส่วนเนื้อวัวจะทำเป็น“จิ๊นหาบจิ๊นหาม”คือเอาเนื้อวัวมาห้อยไว้กับไม้ไผ่ทำให้มีลักษณะคล้ายกับการหาบและการหามเชื่อกันว่าเมื่อผีป่ามารับเอาไปแล้วจะหาบหามสิ่งที่ไม่ดีออกจากหมู่บ้านไปด้วย เมื่อจัดเตรียมเสร็จแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่จะจุดเทียนบอกกล่าวผีป่า อารักษ์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มารับเครื่องเซ่นสังเวยที่เตรียมไว้จากนั้นรอให้เวลาผ่านไปประมาณ๒๐นาทีผู้อาวุโสฝ่ายชายจะเข้าไป

กล่าวคำขออาหารที่ถือว่าเป็นของเหลือจากผีป่ามาแบ่งสันปันส่วนแล้วมอบให้ชาวบ้านคนหนุ่มสาวที่มาช่วยงานเอาเนื้อวัวนั้นไปประกอบเป็นอาหารรับประทานกันภายในสถานที่ประกอบพิธี และภายหลังเสร็จสิ้นพิธีกรรมผู้เฒ่าผู้แก่จะนำหนังวัวที่ใช้ในการเซ่นไหว้ไปเก็บไว้ที่วัด เพื่อทำเป็นหนังหน้ากลองของหมู่บ้านต่อไป ความสำคัญของพิธีกรรมดังกล่าวนี้ นอกจากจะเป็นการสืบทอดทางประเพณีพิธีกรรมของบรรพบุรุษแล้ว ยังถือเป็นกิจกรรมหนึ่งทางวัฒนธรรมที่ช่วยหลอมรวมจิตใจของผู้คนในชุมชนให้รู้จักเคารพนบน้อมต่อสิ่งเหนือธรรมชาติซึ่งเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตและการทำมาหากินของชุมชนมาอย่างยาวนานแม้ในปัจจุบันอาจมีการปรับเปลี่ยนในแง่ของปฏิบัติการทางพิธีกรรมแต่ก็ถือเป็นการปรับตัวเพื่อเกิดการสืบทอดทางประเพณีพิธีกรรมของชุมชนท้องถิ่นให้สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 40: cultural Identity of Chiangrai

พิธีเข้ากรรมบ้าน ในช่วงประเพณีเดือนเจ็ดของวัฒนธรรมไทลื้อหรือประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปีกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่อพยพถิ่นฐานมาจากเมืองอูเหนือแคว้นสิบสองปันนาจะมีการประกอบพิธีกรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่เรียกว่า“พิธีเข้ากรรมบ้าน” หรือ “พิธีปางเจ็ด” ในหมู่บ้านท่าข้ามตำบลท่าข้ามอำเภอเวียงแก่นซึ่งเป็นหมู่บ้านดั้งเดิมหรือ “หมู่บ้านเก๊า”ของบรรพบุรุษชาวไทลื้อเมืองอูเหนือที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานยุคแรกๆ ในจังหวัดเชียงรายการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีเจ้าหลวงหรือผีบ้านผีเมืองของชาวไทลื้อบ้านท่าข้ามนั้นมีการถือปฏิบัติอย่างเรียบง่ายและสืบทอดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี พ่อเข้าจ้ำหรือผู้ประกอบพิธีกรรม เล่าว่า “...แต่ละปีจะมีผู้ชายชาวไทลื้อส่วนหนึ่งจากบ้านท่าข้าม บ้านโล๊ะ บ้านขวาก บ้านปอกลาง บ้านหล่าย บ้านปางหัด ในอำเภอเวียงแก่น และบ้านทุ่งหมด อำเภอเชียงของ เดินทางมาเข้าร่วมพิธีปางเจ็ด

ที่หมู่บ้านแห่งนี้เพราะเชื่อกันว่า เมื่อครบรอบขวบปีแล้วจะต้องทำพิธีบวงสรวงเลี้ยงผีบ้านผีเมือง ด้วยสัตว์ใหญ่ปีละ๑ ครั้ง

ถือเป็นการบอกกล่าวว่าชาวไทลื้อทุกคนไม่ได้ละทิ้งความเชื่อตามจารีตประเพณีเดิม หากแต่ยังปฏิบัติสืบทอดและให้ความ

เคารพนับถือมาจนถึงปัจจุบันนี้...”

การประกอบพิธีกรรมจะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเวลาเช้ามืดพ่อเข้าจ้ำจะนำควายตัวผู้สีดำ๑ตัวและไก่๑๒ตัว ไปบอกกล่าวเซ่นสรวงให้กับผีเจ้าหลวงบริเวณหน้าหอที่ทำพิธี ซึ่งเป็นเรือนไม้ สูงสองเมตรครึ่ง กว้างประมาณสองเมตรมุงด้วยกระเบื้องและมีแท่นสำหรับวางเครื่องประกอบพิธี๒ระดับ (สำหรับเจ้าหลวงและบริวาร) เมื่อพ่อเข้าจ้ำกล่าวขออนุญาตทำพิธีเสร็จแล้ว“หลัก”หรือคนทำหน้าที่ฆ่าสัตว์ใหญ่ในพิธีปางเจ็ดจะเป็นผู้ทำหน้าที่ฆ่าสัตว์ดังกล่าว เพื่อใช้ในการประกอบพิธีแล้วมอบให้ชาวบ้านนำไปทำเป็นอาหารมาเซ่นสังเวยแก่ผีเจ้าหลวง โดยอาหารที่ทำด้วยเนื้อสัตว์เหล่านี้จะแบ่งเป็นลาบควาย,

แกงอ่อม, เครื่องในต้ม, ไก่ต้ม, ข้าวเหนียว,น้ำและเหล้าพร้อมด้วยดอกไม้ ธูปเทียนที่ชาวบ้านเตรียมมาซึ่งการถวายจะกำหนดให้เฉพาะเพศชายเท่านั้นเป็นผู้นำมาเซ่นไหว้หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงพ่อเข้าจ้ำจะกล่าวคำขออนุญาตเพื่อลาเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆหรือที่เรียกว่า“แก๋งซากของเหลือ”มารับประทานร่วมกันเป็นอันเสร็จพิธี

ครั้นพอตกเวลาเย็นชาวบ้านจะมารวมกันเพื่อทำพิธีสู่ขวัญพ่อเข้าจ้ำและในช่วงค่ำบรรดากลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่จะพากันร้องเพลงพื้นบ้านที่เรียกว่า“ขับลื้อ”ณลานหน้าหอเจ้าหลวงซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณบ้านของพ่อเข้าจ้ำโดยมีช่างปี่ทำหน้าที่คอยบรรเลงขับกล่อมด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะช่างขับลื้อก็จะกล่าวบทลำนำสรรเสริญเยินยอคุณเจ้าหลวงองค์ต่างๆ ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือตามลำดับ เพื่อเชื้อเชิญให้เจ้าหลวงลงมาประทับทรง“ที่นั่ง”หรือ“หลักญิง”(หลักหญิง)บ้างก็เรียก“แม่เฒ่าที่นั่ง”เมื่อเจ้าหลวงมาประทับแล้วชาวบ้านจะพากันซักถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆในหมู่บ้านรวมถึงอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของคนภายในครอบครัว ในเวลารุ่งเช้าของวันต่อมาชาวบ้านจะมาร่วมทำพิธีสู่ขวัญให้กับแม่เฒ่าที่นั่ง เพื่อเรียกขวัญให้กลับคืนมาถือเป็นพิธีกรรมสุดท้ายของช่วงเข้ากรรมบ้านของชาวไทลื้อบ้านท่าข้าม พิธีเข้ากรรมบ้าน แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน และความกตัญญูกตเวทีต่อ บรรพบุรุษซึ่งหากพิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่งจะเห็นได้ว่าประเพณีพิธีกรรมดังกล่าว เป็นเชื่อมโยงสายสัมพันธ์และหลอมรวมชาติพันธุ์พลัดถิ่นที่มาจากถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนเดียวกันให้ได้มีโอกาสมาพบปะสังสรรค์ และร่วมกันรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอัตลักษณ์พิธีกรรมดั้งเดิมของตนเอาไว้อย่างแนบแน่น

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 41: cultural Identity of Chiangrai

ประเพณีทอผ้าทันใจ ประเพณีทอผ้าทันใจ หรือผ้าจุลกฐิน เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างหนึ่งของเหล่า พุทธศาสนิกชนในล้านนา นิยมทำกันตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ไปจนถึงกลางเดือน ๑๒ หรือประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม เชื่อกันว่าผู้ใดสามารถถวายผ้าจุลกฐินได้ ย่อมได้รับกุศลบุญ

อันยิ่งใหญ่ด้วยว่าการทอผ้าทันใจนั้นจะต้องอาศัยจิตศรัทธาและความอุตสาหะพยายามของผู้คนจำนวนมากที่นี้จะขอกล่าวถึง“ประเพณีการทอผ้าทันใจ” ของชาวไทลื้อบ้านหาดบ้ายหาดทรายทองตำบลริมโขงอำเภอเชียงของด้วยเป็นหมู่บ้านไทลื้อกลุ่มแรกๆของจังหวัดเชียงรายที่ยังคงรักษาประเพณีทอผ้าทันใจเอาไว้อย่างต่อเนื่อง แม่เฒ่าแสงคำ ปงกองแก้ว ผู้อาวุโสในหมู่บ้านหาดบ้ายฯกล่าวว่า “...ประเพณีทอผ้าทันใจ เป็นประเพณีที่ชาวไทลื้อ

ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นิยมทำในช่วง เดือนเจียงเป็ง หรือประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และจะทำ

ติดต่อกันเป็นเวลา ๓ ปี จากนั้นจะเว้นช่วงไปอีก ๓ ปี แล้วค่อยกลับมาทำอีกครั้ง เพราะเชื่อว่า เป็นบุญมหากุศลอันยิ่งใหญ่

หากทำกันเป็นประจำทุกปี ผู้ถวายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

แม่เฒ่าแสงคำยังกล่าวถึงขั้นตอนการทอผ้าทันใจว่า “...จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วง ๖ โมงเย็นไปจนถึงเวลา ๖ โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น ก่อนทำพิธีจะมีการบอกกล่าวกุศลบุญนี้แก่ เทวบุตร เทวดา เพื่อช่วยดลบันดาลให้ชาวบ้านสามารถทอผ้าทันใจให้แล้ว

เสร็จตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ จากนั้นจะเริ่มพิธีการทางสงฆ์ และเข้าสู่กระบวนการทอผ้า คือ การเก็บดอกฝ้ายมาอีด หรือ

หีบฝ้าย เสร็จแล้วนำไปดีด หรือยิงฝ้าย ม้วนให้เป็นหาง เพื่อให้ดึงออกมาเป็นเส้นด้าย จากนั้นก็นำมาปั่น เปีย ต้ม

แล้วนวดฝ้ายก่อนจะนำไปตากให้แห้ง หรือบางพื้นที่ใช้วีย่างกับไฟจนแห้งสนิท เมื่อเสร็จแล้วก็จะนำฝ้ายมากวัก และสาวเข้าฟืม

เพื่อทอเป็นผืน จากนั้นนำไปตัดเป็นผ้าสบง จีวร สังฆาฏิ และผ้ารัดอกผืนใหญ่ จำนวน ๑ ไตร ก่อนจะนำไปย้อมสี แล้วถวาย

เป็นผ้าจุลกฐินในรุ่งเช้าของอีกวัน ถือเป็นเสร็จพิธี...”

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

�1

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 42: cultural Identity of Chiangrai

พิธีสืบชะตาคนป่วยกับต้นโพธิ ์ พิธีสืบชะตาเป็นพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องในวิถีพุทธศาสนา

แบบล้านนา มีการถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้ งแต่โบราณกาล ดังมีปรากฏในคัมภีร์ชื่อ “อานิสงส์สืบ

ชาตา” เชื่อกันว่าสามารถต่ออายุดวงชะตาให้กับชีวิต เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครอบครัว

การสืบชะตาแบบล้านนาโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น๓ประเภทคือพิธีสืบชะตาคนพิธีสืบชะตาบ้านและพิธีสืบชะตาเมือง โดยแต่ละ

ประเภทจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสืบชะตาและการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมความเชื่อในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ณที่นี้จะขอกล่าวถึง “พิธีสืบชะตาคนป่วยกับต้นโพธิ์”ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อบ้านศรีดอนชัยอำเภอเชียงของ ด้วยเป็นพิธีกรรมที่มีรูปแบบการประกอบพิธีแตกต่างไปจากการสืบชะตาอื่นๆโดยทั่วไปอีกทั้งพิธีดังกล่าวยังคงมีการรักษาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน พิธีสืบชะตาคนป่วยกับต้นโพธิ์ เป็นพิธีกรรมในการบำบัดรักษาคนป่วยตามวัฒนธรรมความเชื่อของชาวไทลื้อ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยจนถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลทางญาติพี่น้องจะนำเอาวันเดือนปีเกิดของคนป่วยมาคำนวณตรวจตามหลักชะตาโหราศาสตร์จากนั้นพ่ออาจารย์ก็จะประกอบพิธีกรรมสืบชะตาดังกล่าวให้ พร้อมกับทำพิธีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นพิธีส่งชนหน้าชนหลังและพิธีสู่ขวัญคนป่วยเป็นต้น พ่อคำแดง วงศ์ชัยผู้ประกอบพิธีกล่าวว่าพิธีกรรมสืบชะตาคนป่วยกับต้นโพธิ์เรียกตามภาษาพื้นบ้านในล้านนาว่า“การทำพิธีสืบชะตาน้อย” ซึ่งจะต้องให้พ่ออาจารย์เป็นผู้ทำพิธี โดยใช้ต้นโพธิ์ภายในบริเวณวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเพราะชาวไทลื้อเชื่อกันว่า ต้นโพธิ์ใหญ่จะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือรุกขเทวดาสิงสถิตอยู่ การสืบชะตาคนกับ ต้นโพธิ์จึงเป็นเสมือนการฝากชะตาชีวิตไว้กับเทวดาอารักษ์ให้ช่วยปกปักรักษาและต่ออายุคนป่วยให้ยืนยาวต่อไปแต่กรณีผู้ป่วยที่มีอาการหนักมากจะต้องทำพิธีสืบชะตาใหญ่ โดยจะนิมนต์พระสงฆ์จำนวน๕,๗หรือ๙รูปมาทำพิธีที่บ้านของผู้ป่วยแทนซึ่งจะแตกต่างจากพิธีกรรมสืบชะตาน้อย

ในช่วงเช้าของวันประกอบพิธี บรรดาญาติพี่น้อง และผู้เฒ่าผู้แก่จะช่วยกันจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีกรรมให้ครบถ้วน จากนั้นจะนำเครื่องพิธีทั้งหมดไปที่ใต้ต้นโพธิ์ในวัดพ่ออาจารย์จะเอาตอกหรือเชือกมัดหน่อกล้วย หน่ออ้อย สะพาน แตะไม้ไผ่ กระบอกน้ำ กระบอกทรายกระบอกข้าวเปลือกกระบอกข้าวสาร ไม้ง่ามน้อยและไม้ง่ามใหญ่รวมกัน แล้วเอาทรายมาก่อเป็นเจดีย์๑กองเอาช่อสีขาวปักล้อมรอบเจดีย์และหน่อกล้วยเอาตุงสีขาวปักด้านหลังของเจดีย์ทรายแล้วใช้ก้อนหินกดทับทรายให้เป็นระดับขั้นบันได๓ขั้น จากนั้นพ่ออาจารย์จะนำด้ายสายสิญจน์ (๙เส้น)มาล้อมรอบต้นโพธิ์ แล้วเอาปลายด้ายสายสิญจน์วางตรงเครื่องบูชาที่จัดเตรียมมาก่อนจะจุดเทียน๓คู่วางตามขั้นบันไดบนเจดีย์ทราย(ขั้นละ๑คู่) เมื่อพร้อมแล้วพ่ออาจารย์จะเริ่มกล่าวคำอัญเชิญเทวดาหรือ “สักเคหลวง”และตั้งนะโม๓จบต่อด้วยการคำกล่าวสืบชะตาคนป่วยกับต้นโพธิ์ และตามด้วยบทสวดอภยปริตร(ยันทุนนิมิตตัง)๓จบจากนั้นพ่ออาจารย์จะกรวดน้ำพร้อมกล่าวคำกรวดน้ำและจุดผ้าติ๊บ(ผ้าทิพย์)หรือสีสายแล้วเอาเสื้อผู้ป่วยสะบัดใส่ในกองไฟคว่ำขันลงถือเป็นอันเสร็จพิธี ขั้นตอนสุดท้ายพ่ออาจารย์จะนำควักใบตองกลับไปทำพิธีสู่ขวัญคนป่วยที่บ้านอีก

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 43: cultural Identity of Chiangrai

พิธีสู่ขวัญข้าว พิธีสู่ขวัญข้าวหรือพิธีเรียกขวัญข้าวเป็นประเพณีวิถีชีวิตของชาวล้านนาที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต มีลักษณะการปฏิบัติในพิธีกรรมที่แตกต่างกันไปตามความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติพันธุ์ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่ยึดถือความเชื่อนี้มาอย่างยาวนานสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ และความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมชาติและสรรพสิ่งรอบตัว พิธีสู่ขวัญข้าวจะทำในช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว หรือช่วงที่ลำเลียงข้าวเปลือกจากท้องนา ใส่ยุ้งฉางเรียบร้อยแล้ว เชื่อกันว่าเป็นการเรียกขวัญข้าวให้กลับคืนมาอยู่กับข้าวเปลือกในยุ้งฉางนั้น จะเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ข้าวดูแลข้าวไม่ให้หมดเร็วและมีเพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปีรวมไปถึงปีต่อไปก็ขอให้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวเริ่มเลือนหายไปจากวัฒนธรรมสังคมของชาวล้านนาบ้างแล้ว มีปรากฏเป็นเพียงพิธีกรรมเล็กๆที่ยังทำกันอยู่ในชุมชนบางครอบครัวอย่างเช่นการทำพิธีสู่ขวัญข้าวในวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ บ้านศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ ยังคงรักษาประเพณีพิธีกรรมดังกล่าวไว้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตามคำบอกของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า ชาวไทลื้อบ้านศรีดอนชัย เดิมอพยพมาจากเมืองอูเหนือของแคว้นสิบสองปันนาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่ยังคงยึดถือจารีตประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษไว้อย่างเหนียวแน่นแม้ในบางพิธีกรรมจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและขั้นตอนพิธีกรรมไปบ้างแต่ก็ถือว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นการปรับตัวเพื่อการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมของชุมชน พิธีสู่ขวัญข้าว จึงเป็นอีกพิธีกรรมหนึ่งที่ชาวไทลื้อ ถือปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อกันว่าจะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ข้าวและเจ้าของบ้าน

พิธีกรรมการสู่ขวัญข้าวจะประกอบขึ้นบริเวณหน้ายุ้งข้าวผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวจะทำหน้าที่ตระเตรียมเครื่องประกอบพิธีกรรมต่างๆอันได้แก่ไก่ต้ม ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวเหนียว ปลากั้งปิ้ง (มีลักษณะคล้ายปลาช่อน) เกลือ มัน

เผา กล้วยสุก น้ำตาลทราย น้ำ เหล้า ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวต้มขนม ใบพลู ดอกไม้ธูปเทียน โดยจะวางไว้รวมกันในถาดภาชนะอาหารซึ่งมีบันไดไม้วางพาดระหว่างถาดอาหารกับจานใส่น้ำ และวางช้อนในลักษณะหงายขึ้น เชื่อกันว่าเมื่อขวัญข้าวมาแล้วจะทำการชำระล้าง แล้วไต่ขึ้นไปตามบันไดขวัญนอกจากนั้นยังมีน้ำส้มป่อยถังข้าวสารหม้อนึ่งไหข้าวข้าวเหนียว (ใส่กระติ๊บข้าว)รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือทำมาหากินและผลผลิตทางการเกษตรที่แสดงถึงความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์อาทิค้อน เคียว แห แน่ง มอง สวิง มีด พร้า ฟักทองเป็นต้นโดยผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นผู้ชายจะช่วยกันสานตาแหลว(เฉลว)แล้วนำไปปักรอบยุ้งข้าวทั้งสี่ด้านและดึงเอาขนไก่มาเสียบติดไว้กับตาแหลวจากนั้นนำเอาหน่ออ้อยต้นต้าวดอกไม้และต้นข่ามัดรวมกันกับตาแหลวจำนวน๔มัดนำไปผูกติดกับยุ้งข้าวทั้งสี่ด้านกรณียุ้งข้าวอยู่บนเรือนก็จะนำไปผูกติดบริเวณด้านหน้ายุ้งข้าวทั้งสองด้านแทน

เมื่อจัดเตรียมเครื่องประกอบพิธีเสร็จแล้วผู้เฒ่าผู้แก่ฝ่ายชายจะนำเอาด้ายสายสิญจน์มาโยงรอบยุ้งฉางจากนั้นผู้ประกอบพิธีกรรม(ผู้อาวุโสในครอบครัว/พ่ออาจารย์) จะเริ่มทำพิธีสู่ขวัญข้าว โดยจะหยิบข้าวสารเพื่อทำการเสี่ยงทายว่าขวัญข้าวมาแล้วหรือยังหากนับได้จำนวนคู่แสดงว่าขวัญข้าวมาแล้ว แต่หากนับได้จำนวนคี่ ผู้ทำพิธีจะกล่าวคำสู่ขวัญข้าวเพื่อทำการเสี่ยงทายใหม่อีกครั้ง เมื่อเสี่ยงทายเสร็จเรียบร้อยแล้วผู้ประกอบพิธีจะทำการป้อนข้าวขวัญด้วยการหยิบ ไก่ต้มกล้วยข้าวเหนียวมันปิ้ง ขนมต่างๆ ใส่ลงในจานจากนั้นก็เอาค้อนมากัดด้วยปาก๑ครั้ง เพื่อให้ข้าวมีเมล็ดแข็งแกร่งมั่นคงเหมือนค้อนแล้วเอาด้ายสายสิญจน์มามัดถังข้าวสารหม้อนึ่งไหข้าวและกระติ๊บข้าวเหนียวเพื่อให้เจ้าของบ้านมีข้าวกินตลอดทั้งปีไม่มีขาดเหลือแล้วก็จะนำข้าวขวัญในจานไปวางไว้ในยุ้งข้าวถือเป็นเสร็จพิธีและภายในช่วงระยะเวลา๓-๗วันจะห้ามนำเอาข้าวเปลือกออกจากยุ้งข้าวโดยเด็ดขาด

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

�4

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 44: cultural Identity of Chiangrai

วัฒนธรรมและประเพณี ไม่ได้เป็นสิ่งที่รังสรรค์ขึ้นเองจากธรรมชาติโดยตรง หากแต่เป็นสิ่งที่คนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้นมาด้วยรูปแบบพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์อันเกิดขึ้นจากทัศนคติ ค่านิยม เอกลักษณ์ และความเชื่อเหนืออำนาจมนุษย์อาทิดินฟ้าอากาศตลอดถึงภัยธรรมชาติต่างๆด้วยเหตุนี้จึงมีการร้องขอในสิ่งที่มนุษย์คิดว่าสามารถช่วยตนเองให้พ้นจากภัยพิบัตินั้นได้ และเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปมนุษย์จึงมีการตอบแทนบุญคุณมโนทัศน์ ความเข้าใจที่สรุปในสิ่งที่ร้องขอด้วยการสร้างสัญลักษณ์ ซึ่งมีทั้งความศรัทธาและการเคารพบูชา สะท้อนออกมาเป็นรูปแบบประเพณีและพิธีกรรมถือปฏิบัติสืบทอดเป็นระเบียบแบบแผนจนได้รับการยอมรับให้เป็นธรรมเนียมในวิถีชีวิตท้ายที่สุด

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณี : เชียงราย

มีคำกล่าวที่ว่า“ประเพณี ถือเป็นรากฐานสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวัฒนธรรม...โดยวัฒนธรรมก็ทำหน้าที่ปรุงแต่งให้ประเพณีดังกล่าวเกิดความเจริญรุ่งเรือง งอกงาม ด้วยการยอมรับ และนำมาถือปฏิบัติสืบต่อเป็นพฤติกรรมวิถีคนในสังคม” คำกล่าวข้างต้นทำให้ทราบถึงบริบทความสำคัญของประเพณีและพิธีกรรมในล้านนา ว่ามีความสัมพันธ์สอดคล้องในการทำหน้าที่ซึ่งกันและกันด้วยพิธีกรรมถือเป็น องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการขับเคลื่อนประเพณี และในแต่ละประเพณีที่ถูกกำหนดขึ้นก็มักจะมีพิธีกรรมเป็นรูปแบบวิธีการถ่ายทอดเสมอมา เช่นเดียวกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีของ ชาวเชียงรายถือเป็นแบบอย่างสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงผลดีของการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้วยเพราะประเพณีและพิธีกรรม จึงเป็นเสมือนวิธีการปฏิบัติตนของบุคคลในสังคม ทั้งยังเป็นกลไกเครื่องมือที่คอยควบคุมดูแลพฤติกรรมสังคมผู้คนเชียงราย ให้อยู่ในกรอบแห่งจารีตศีลธรรมอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ตามรอยทางศาสนาและวิถีบรรพชน โดยยืนอยู่บนพื้นฐานความศรัทธาเชื่อในสิ่งยึดเหนี่ยวเดียวกัน หลอมรวมเป็นอารยธรรมชนชาติอันมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดดเด่นดังเช่นการรักษาประเพณีและวัฒนธรรมของชาวเชียงรายในดินแดนวัฒนธรรมที่ราบลุ่มและขุนเขาแห่งนี้

สานสืบงานเก่าเกื้อ โบราณ

สานสืบยังตำนาน แต่เค้า

ถวายดั่งเปนทาน บุญห่มเชียงราย

เจ็ดร้อยห้าสิบปีเล้า จวบเข้ากาลสมัยเจ้าเฮย…………..

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 45: cultural Identity of Chiangrai

แหล่งที่มาข้อมูล ๑. พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์เจ้าคณะอำเภอแม่สาย๒. พระอธิการบรรพตคัมภีโรเจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาสอำเภอเวียงป่าเป้า๓. กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทลื้อบ้านปอกลางตำบลปออำเภอเวียงแก่น๔. กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทลื้อบ้านศรีดอนชัยตำบลศรีดอนชัยอำเภอเชียงของ๕. กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทลื้อบ้านหาดบ้ายตำบลริมโขงอำเภอเชียงของ๖. กลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่บ้านห้วยไคร้อำเภอแม่สายและบ้านป่าตึงอำเภอแม่จัน๗. กลุ่มสะล้อซอซึงบ้านม่วงยายตำบลม่วงยายอำเภอเวียงแก่น๘. นายจรัญธิมถาวงศ์บ้านปอกลางตำบลปออำเภอเวียงแก่น๙. นายทารวมจิตต์บ้านม่วงยายใต้ตำบลม่วงยายอำเภอเวียงแก่น๑๐.นายนิวัฒน์ร้อยแก้วบ้านหัวเวียงอำเภอเชียงของ๑๑.นายบุญเรียนจินาราชบ้านหาดไคร้ตำบลเวียงอำเภอเชียงของ๑๒.นายประสงค์แสงงามกลุ่มรักล้านนาเชียงใหม่๑๓.นายสุธรรมเกื้อบุญส่งสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย๑๔.นายไหลยาวิเลิง(พ่อเข้าจ้ำ)บ้านท่าข้ามอำเภอเวียงแก่น๑๕.นายอิ่นหมื่นลางบ้านปอกลางตำบลปออำเภอเวียงแก่น๑๖.ผู้ใหญ่บ้านและผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทลื้อบ้านท่าข้ามอำเภอเวียงแก่น๑๗.ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย๑๘.อาจารย์สมศักดิ์ติยะธะบ้านหาดบ้ายตำบลริมโขงอำเภอเชียงของ๑๙.อาจารย์เอกราชลือชานายกสมาคมไตลื้อจังหวัดเชียงราย

ตอนที่ 4 :ประเพณีพิธีกรรมคู่บ้านเมือง

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 46: cultural Identity of Chiangrai

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Page 47: cultural Identity of Chiangrai

“ศิลปะ” นอกจากจะสะท้อนความงดงามทั้งจากธรรมชาติ

และจากจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ของมนุษย์แล้ว ยังแสดงถึงองค์ความรู้

และภูมิปัญญาที่มีการปรับเปลี่ยนถ่ายทอดสืบต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า นับ

เป็นผลผลิตหนึ่งของวัฒนธรรมที่เปลี่ยนผ่านตามกาลเวลาควบคู่กับการ

เปลี่ยนแปลงเชิงสังคม โดยทั่วไป การสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเกิดจาก

ความต้องการตอบสนองต่อการดำรงชีวิต และตอบสนองต่อศาสนาและ

ความเชื่อ งานศิลปกรรมจึงมักแสดงออกใน ๒ รูปแบบ คือ ศิลปกรรม

ในศาสนาและศิลปกรรมนอกศาสนา

“ศิลปกรรมล้านนา” เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับระบบโครงสร้าง

สังคมบนพื้นฐานวัฒนธรรมการเกษตรและโลกทัศน์ทางพุทธศาสนา

กล่าวคือ โครงสร้างสังคมที่มีหน่วยทางการเมืองแบบจารีตเป็นพื้นฐาน

ประกอบกับหน่วยสังคมระดับหมู่บ้านและเมืองที่มีประชากรหลากหลาย

ชาติพันธุ์ ได้สะท้อนให้เห็นฐานันดรศักดิ์และอัตลักษณ์ในงานศิลปกรรม

ของล้านนาอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “งานช่างในวัฒนธรรม

พุทธศาสนา” ตัวอย่าง เช่น การอุปถัมภ์งานช่างหลวงเป็นบทบาทของ

กษัตริย์หรือเจ้านายที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองรองรับ ซึ่งมุ่งเน้น

การสร้างสรรค์งานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถาน เช่น วัดวา

อาราม โบสถ์ วิหาร ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และพระพุทธรูป

เป็นต้น ในขณะที่ช่างระดับชาวบ้านเน้นการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม

ภายใต้ความชำนาญและวัตถุดิบภายในท้องถิ่น โดยผลิตผลงานประเภท

เครื่องใช้ในวิถีชีวิตประจำวันเป็นหลัก ได้แก่ เครื่องจักสาน เช่น กระบุง

ครุตีข้าว เสื่อ เครื่องปั้นดินเผา เช่น เครื่องถ้วย จาน ชาม หม้อน้ำ

เครื่องโลหะ เช่น มีด เคียว จอบ เสียม เป็นต้น

ในศตวรรษที่ผ่านมา มีการขนานนามกลุ่มงานศิลปกรรมในพุทธศาสนาของล้านนาไว้ว่า “ศิลปะ

เชียงแสน – ล้านนา” โดยให้ความสำคัญกับกาลเวลาของงานศิลปกรรมในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ ยก

ตัวอย่างเช่น การเรียกชื่อกลุ่มพระพุทธรูปสำริดแบบพระสิงห์ว่า “พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ ๑” เป็นต้น ชี้ให้เห็น

ความสำคัญของศิลปกรรมเชียงรายในยุคแรกเริ่มเป็นอย่างดี

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ ศิลปกรรมเมืองเชียงแสน – เชียงราย นับว่าเป็นต้นแบบสำคัญให้กับ

งานช่างล้านนา อันเนื่องมาจาก “ความเป็นเมืองเศรษฐกิจการเมืองชายแดนสมัยจารีต” โดยผสมผสานงาน

ศิลปกรรมแบบหริภุญไชย สุโขทัย และพุกาม กระทั่งก่อให้เกิด “สกุลช่างเชียงแสน” ขึ้น หลักฐานที่สำคัญคือ

เจดีย์และพระพุทธรูป ซึ่งเห็นได้ชัดจากกลุ่มเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบล้านนา และกลุ่มพระพุทธรูปแบบพระสิงห์

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อันเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านของยุคทองแห่งการค้าในเอเชียและลุ่มน้ำโขง

รวมทั้งยุคทองแห่งพุทธศาสนาและงานศิลปกรรมในล้านนา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางรูปแบบศิลปกรรม ดัง

ปรากฏว่าเมืองเชียงรายเป็นบ่อเกิดแห่ง “พระพุทธรูปแบบพระแก้วมรกต” โดยมีอัตลักษณ์เฉพาะที่เด่นชัดมากคือ

การสร้างพระพุทธรูปแบบพระเศียรเกลี้ยงไม่มีขมวดพระโมลี นอกจากนั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมบางประการยังมี

ลักษณะร่วมกับกลุ่มวัฒนธรรมใกล้เคียงอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการประดับเส้นลวดบัวลูกแก้วไว้ที่ฐานเจดีย์ทรง

ปราสาทยอด อันเป็นวัฒนธรรมร่วมของกลุ่มเจดีย์แบบล้านช้าง – หลวงพระบาง

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ แม้เป็นช่วงที่ตกอยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของพม่า แต่ก็ปรากฏการ

สร้างงานศิลปกรรมในวัฒนธรรมพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อย หลักฐานสำคัญคือ การหล่อรูปฤาษีวัชรมฤค พ.ศ.๒๑๔๗

โดยจารึกตำนานพระธาตุดอยตุงแบบย่อไว้ที่ฐาน และยังมีจารึกฐานพระพุทธรูปพระเจ้าล้านทอง พ.ศ.๒๒๖๙

ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...พญาหลวงเจ้ามังคละสะแพก ตนเสวยราชสมบัติในเมืองเชียงราย เป็นโมยหว่วนในชัย

ลักขบุรีเชียงแสน...ได้หล่อวรชินพิมพ์รูปเจ้าองค์นี้...ไว้สถิตสำราญในอารามศรีสองเมืองที่นี้...”

ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ การฟื้นฟูบ้านเมืองล้านนาได้ก่อให้เกิดการฟื้นฟูงานช่างด้วย โดยมี

ลักษณะเด่น คือ การสร้างสรรค์งานศิลปกรรมในวัฒนธรรมพุทธศาสนาเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

กลุ่มไทลื้อ พม่า – ไทใหญ่ นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าในช่วงก่อนการเริ่มต้นของแนวคิดแบบ “รัฐศิลปกรรม” หรือ

การสร้างรัฐชาติในช่วงทศวรรษ ๒๔๘๐ – ๒๕๐๐ บทบาทงานช่างในวัฒนธรรมพุทธศาสนาได้ปรับเปลี่ยนไปเป็น

แบบแผนวัฒนธรรมกรุงเทพฯ มากขึ้น

ลือเลื่องงานศิลป์ “เจ็ดร้อยห้าสิบปีเข้า ขวบทองร่วมฉลอง

ศิลปะเชียงรายรอง เรืองเรื่อ

แดนดินศิลปินครอง แต้มวาดสัพพะช่าง

ตั้งมโนสานต่อเพื่อ ศิลป์สถานล้านนา”

ศิลปกรรมเชียงราย : พัฒนาการทางสังคมในมิติวัฒนธรรม

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 48: cultural Identity of Chiangrai

ลักษณะอีกประการหนึ่งของงานช่างในวัฒนธรรมพุทธศาสนาในช่วงหลังทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ได้ผลิตซ้ำความงามในรูปแบบใหม่มากขึ้น ทั้งยังมีการใช้วัสดุใหม่ในการสร้างสรรค์ รวมทั้งการเรียนรู้กรรมวิธีทางช่างแบบใหม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เกิดอาชีพช่างวาดและการสร้างงานจิตรกรรมฝาผนังสมัยใหม่ประดับไว้ในวิหาร – อุโบสถ โดยเน้นการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติชาดก หรือเวสสันดรชาดก ผ่านการอุปถัมภ์ของคณะศรัทธาในแต่ละชุมชน ประเด็นที่น่าสนใจในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ – ๒๕๔๐ คือเกิดระบบอุปถัมภ์ผ่านรูปแบบขบวนผ้าป่า – กฐินสามัคคี และการเป็นเจ้าภาพแต่ละชิ้นงาน ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นถึงงานพุทธศิลป์บนพื้นฐานความสัมพันธ์ของกลุ่มคนและหรือกลุ่มทุนในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ นอกจากนั้น ช่วงเวลาดังกล่าวยังปรากฏรูปแบบศิลปกรรมร่วมสมัยที่แตกต่างไปจากขนบวิธีปฏิบัติแบบงานช่างดั้งเดิม และหลุดพ้นจากการเขียนภาพจิตรกรรมบนฝาผนังในโบสถ์-วิหาร กลายมาเป็นความนิยมในการเขียนภาพบนแผ่นผ้าใบ แบบตะวันตก ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากวิทยาลัยเพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ถือกำเนิดขึ้น โดยได้ผลิตศิลปะบัณฑิต ที่เป็นชาวเชียงรายออกมาสู่สังคม กลุ่มชนชาวเชียงรายที่ได้รับการศึกษาด้านศิลปะจากสถาบันระดับอุดมศึกษาดังกล่าว ในยุคแรกๆ เช่น ดำรง วงศ์อุปราช, ถวัลย์ ดัชนี, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ์ เป็นต้นขณะเดียวกันกระแสศิลปะร่วมสมัย ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นก็ได้ส่งอิทธิพลถึงช่าง หรือ สล่าพื้นบ้านชาวเชียงรายที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาศิลปะจากสถาบันใดมาก่อน เช่น จำรัส พรหมมินทร์ หรือ สล่าขิ่น ก็เริ่มมีความกล้าที่จะนำเสนอการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่หลุดจากกรอบเดิม ดังที่ ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงรายได้กล่าวถึง สล่าขิ่นว่า “...สล่าขิ่นเป็นสล่าคนเดียวที่เขียนเป็นร่วมสมัย

ในขณะที่ช่างคนอื่นเขียนเป็นแบบจิตรกรรมฝาผนังที่กรุงเทพฯ แต่สล่าขิ่นหลุดออกมาแล้วจากฝาผนังมาเขียนเป็นทิวทัศน์

มาเขียนเป็นบ้านเป็นเมือง.....” ปรากฏการณ์ดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลให้เชียงรายกลายเป็นเมืองที่ก่อกำเนิดศิลปิน อย่างต่อเนื่อง จนได้ชื่อว่าเชียงรายคือ เมืองแห่งศิลปิน

งานพุทธศิลป ์

“วัด” เป็นศูนย์กลางของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นบ่อเกิดของการสร้างงานพุทธศิลป์ และ

งานศิลปกรรม ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ตามประโยชน์ใช้สอยแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความ

หมายเชิงสัญลักษณ์ หรือ “พุทธสัญลักษณ์” คือ การสื่อสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ปรากฏเป็นรูปธรรม โดยอาศัยคัมภีร์

หรือเนื้อหาจากพุทธประวัติเป็นตัวนำเรื่องในการอธิบายให้ชัดเจน เช่น พระไตรปิฎก, อรรถกถาชาดก, จักวาฬทีปนี

รวมถึงวรรณกรรมชาดกต่างๆ อาทิ เวสสันตรชาดก และ ปัญญาสชาดก เป็นต้น

วัสดุสำคัญที่ใช้ในการสร้างงานพุทธศิลป์มีหลากหลายประเภท คือ ๑.) ไม ้ ใช้ในโครงสร้างอาคาร หลังคา

คลุม งานแกะสลักหน้าบันพระวิหาร และพระพุทธรูป เป็นต้น ๒.) อิฐและปูนปั้น อิฐ เป็นโครงสร้างอาคารเครื่องก่อ

ส่วนปูน นอกจากจะทำหน้าที่เป็นงานฉาบแล้วยังมีการผสมปูนแบบโบราณเพื่อปั้นเป็นรูปลอยตัว หรือลวดลายประดับ

เรียกว่า “สตายจิ๋น” ๓.) แร่ธาตุและหินทราย ส่วนใหญ่ใช้ในการแกะสลักเป็นพระพุทธรูปหรือรอยพระพุทธบาท

เป็นต้น ๔.) สำริดและโลหะ สำริด (มีส่วนผสมสำคัญระหว่างแร่ทองแดงและตะกั่ว) นิยมหล่อเป็นพระพุทธรูป

นอกจากนั้น ยังปรากฏประติมากรรมในรูปแบบการดุนนูนลวดลายบนโลหะ (แบบนูนต่ำ) โดยเฉพาะการดุนนูนบน

“แผ่นทองจังโก” ใช้ประดับหุ้มพระเจดีย์องค์สำคัญ ๕.) วัสดุอื่นๆ เช่น แผ่นทอง ยางรัก เขาสัตว์ เป็นต้น เพื่อเหมาะ

สมต่องานประติมากรรมแต่ละชิ้น

ศิลปกรรมเชียงราย : ความหลากหลายและอัตลักษณ์เชิงช่าง

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 49: cultural Identity of Chiangrai

งานพุทธศิลป์ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

สถาปัตยกรรม อาจแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ เจดีย์และ

อาคารหลังคาคลุม เจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมือง

เชียงราย คือ “เจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบล้านนา” มีต้นแบบ

จากเจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน มีรูปแบบสำคัญ คือ เรือนธาตุ

ทรงสี่ เหลี่ยมรองรับยอดทรงระฆัง ประดับเจดีย์ประจำมุมทั้งสี่

(สถูปิกะ) ทำให้เกิดเป็นเจดีย์ห้ายอด รูปแบบดังกล่าวยังส่งอิทธิพลถึงกลุ่ม

เจดีย์ในเขตวัฒนธรรมล้านนา-สุโขทัย-ล้านช้าง ด้วย นอกจากนั้น ยังปรากฏ

เจดีย์องค์สำคัญที่มาจากโลกทัศน์ในตำนาน “พระเจ้าเลียบโลก” หรือ ชุด “พระ

ธาตุประจำปีเกิด” ดังเห็นได้ชัดจากพระธาตุดอยตุง

สำหรับอาคารหลังคาคลุม ได้แก่ วิหาร อุโบสถ หอไตร ฯลฯ มีหลัก

ฐานสำคัญ คือ วิหารวัดพระสิงห์และวัดพระแก้ว แม้สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษ

ที่ ๒๕ แต่ยังคงระเบียบงานช่างล้านนาเดิม คือ โครงสร้างหน้าบันแบบม้าต่าง

ไหมและการประดับไม้แกะสลักปิดทองเป็นลวดลายพรรณพฤกษาร่วมกับการ

ประดับกระจกเกรียบหรือที่เรียกว่า “แก้วจืน”

ประติมากรรม เอกลักษณ์เฉพาะเมืองเชียงราย คือ กลุ่มพระพุทธรูป

แบบพระสิงห์ มีลักษณะสำคัญ คือ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระวรกายอวบ

อ้วน พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุเป็นปม ขมวดพระโมลีใหญ่ ยอดอุษณีษะ

เป็นลูกแก้วคล้ายดอกบัวตูม ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ทั้งนี้ ช่างล้านนามี

มาตรในการกำหนดขนาดสัดส่วนของพระพุทธรูป หรือที่เรียกว่า “โฉลก” หรือ

“มอก” ตัวอย่าง เช่น วัดความยาวของฝ่าพระบาทได้เท่าใด แสดงว่ามีความสูง

ตั้งแต่สะดือจนถึงปลายคางหรือคอเท่ากับสี่เท่าของฝ่าพระบาท เป็นต้น

อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มพระแก้วมรกต มีลักษณะสำคัญคือ ประทับนั่ง

ขัดสมาธิราบ พระเศียรเรียบเกลี้ยงไม่มีขมวดพระโมลี ชายสังฆาฏิเรียวยาวจรด

พระนาภี รูปแบบดังกล่าวนี้ยังส่งอิทธิพลถึงพระพุทธรูปปูนปั้นที่สร้างขึ้นร่วมและ

หลังสมัยของพระแก้วมรกตด้วย ตัวอย่างสำคัญ คือ พระพุทธรูปวัดสันสลิด

อำเภอเวียงชัย พระเจ้าหินทิพย์เวียงห้าว อำเภอพาน เป็นต้น

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 50: cultural Identity of Chiangrai

งานศิลปหัตถกรรม

หัตถกรรม คือ งานช่างที่ทำด้วยมือและถือประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก เมื่อผสมผสานความงามตามวัฒนธรรมก่อให้เกิดงาน ศิลปหัตถกรรม ขึ้น ซึ่งงานดังกล่าวถือว่ามีความเชื่อมโยงกับงานศิลปะพื้นบ้านอยู่มาก กล่าวคือ

เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติเข้ามาประยุกต์ใช้ โดยมีวัสดุและรูปแบบที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ ทั้งยังสัมพันธ์กับระบบการผลิตแบบครัวเรือนและเศรษฐกิจแบบพึ่งพา

ตนเองเป็นหลัก เช่น การขายกุบ (งอบ) ที่เป็นงานจักสาน การสานก๋วยหมู หรือตะกร้าสำหรับพ่อค้าใช้ใส่ลูกหมูเร่ขายหรือรับซื้อลูกหมู เป็นต้น และยังสัมพันธ์กับระบบความเชื่อ พุทธศาสนา และประเพณีพิธีกรรมของท้องถิ่นอีกด้วย เช่น การทำพระพุทธรูปไม้เพื่อถวายวัดการนำดอกไม้และใบตองมาประดิษฐ์เป็นเครื่องสักการะ เป็นต้น เอกลักษณ์ของงานศิลปหัตถกรรมเมืองเชียงรายหลายประการที่ได้ถ่ายทอดและปรับปรุงขึ้นในสังคมล้านนา จนกระทั่งมาเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ เครื่องจักสาน วัสดุที่นิยมนำมาจักสาน คือ “ไม้ไผ่และหวาย” รวมถึงวัสดุธรรมชาติอื่นๆ เช่น ต้นกก ใบลาน เป็นต้น เครื่องจักสานจึงผลิตขึ้นเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้สอยในงานแต่ละประเภท เช่น ครุ หรือ แอ่ว ใช้ทำหน้าที่เป็นภาชนะรองรับการตีหรือนวดข้าว เป็นต้น เครื่องปั้นดินเผา กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาเขียนลายแบบเคลือบและไม่เคลือบ ตัวอย่างสำคัญ คือ “เตาเวียงกาหลง” อำเภอเวียงป่าเป้า และ “เตาโป่งแดง” ในอำเภอพาน ซึ่งก่อตัวด้วยอิฐมีปล่องไฟ มีการควบคุมทิศทางไหลของเปลวไฟดีและให้ความร้อนสูง เช่น เตาเวียงกาหลงในอำเภอเวียงป่าเป้า เป็นตัวอย่างแหล่งผลิตเครื่องถ้วยที่มีผิวเคลือบใสเป็นมัน ส่วนกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านร่องปลายนา อำเภอแม่ลาว ผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้อุณหภูมิต่ำ ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจึงไม่เคลือบผิว และสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี เครื่องโลหะ นิยมใช้วัสดุหลักอยู่ ๓ ชนิด คือ เหล็ก ทองเหลือง และทองแดง กลุ่มเครื่องโลหะเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำกันมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นวัสดุที่นิยมใช้กันมากถัดจากดิน เครื่องโลหะที่นิยมทำกันนั้น คือ เครื่องใช้ในครัวเรือนและการเกษตร เช่น มีด ขวาน ค้อน เคียว สิ่ว จอบ เสียม ในการทำเครื่องเหล็กเหล่านี้ จะต้องใช้ความร้อนเข้าช่วยเพื่อให้เหล็กอ่อนตัว และขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยวิธีการตี กลุ่มที่ทำเครื่องโลหะประเภทนี้ เช่น กลุ่มตีเหล็กอำเภอพาน เป็นต้น

ผ้าและสิ่งถักทอ การถักทอเส้นใยของ “ฝ้ายและไหม” เป็นเครื่องนุ่งห่มของชาวล้านนา มีหลากหลายกรรมวิธีตั้งแต่

การเก็บฝ้าย สร้างเส้นใย เข้าเครื่องทอ ฯลฯ จนกระทั่งประดับตกแต่งลวดลายด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น การจก ซึ่งเป็น

ที่มาของผ้าซิ่นตีนจก อาทิ ซิ่นตีนจกแบบไทลื้อบ้านหาดบ้าย ศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ เป็นต้น

งานแกะสลักไม้-หิน ใช้อุปกรณ์แกะสลักชนิดต่างๆ เดิมอาจแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑) งานแกะไม้ในเครื่องใช้ เช่น

กระบวยตักน้ำ ครก หำยนต์ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของประตูห้องนอนในเรือนล้านนา เป็นต้น และ ๒) งานแกะไม้ใน

เครื่องใช้ทางพุทธศาสนา เช่น นาคทัณฑ์ อันเป็นส่วนค้ำยันโครงสร้างของวิหาร – อุโบสถและพระพุทธรูป ปัจจุบันพบว่ามี

การนำไม้มาแกะสลักเป็นของใช้ ของเล่น เป็นการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเพื่อตอบสนองกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เช่น กลุ่ม

แกะสลักไม้พื้นบ้านถ้ำผาตอง เป็นต้น

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ในดินแดนล้านนายังปรากฏงานหัตถกรรมที่ใช้วัสดุประเภทอื่นๆ อาทิ เช่น

งานกระดาษ งานใบตอง งานดอกไม้ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมและความเชื่อ เช่น การทำเครื่องสักการะ เป็นต้น

ดนตรีและนาฏศิลป์

เป็นผลงานศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่แสดงออกด้วยการใช้เสียง การจัดจังหวะและท่วง

ทำนองของเสียงด้วยการเล่นดนตรีและการขับร้องเพลงที่มีผลต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์

รวมถึงการใช้ท่าทางประกอบเสียง การเต้น ระบำ รำ ฟ้อน การแสดงละคร ฯลฯ จัดหวัด

เชียงรายนับเป็นจังหวัดหนึ่งในดินแดนล้านนาที่มี ความโดดเด่นในด้านศิลปะการแสดงดนตรี

และนาฏศิลป์ อาทิ การฟ้อนสาวไหม การบรรเลงดนตรีพิณเปี๊ยะ การขับซอ เป็นต้น

ทัศนศิลป์และแหล่งเรียนรู้

ทัศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ งานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียภาพที่รับรู้ด้วยประสาทตา ซึ่งหมายถึง

ผลงานทางจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ในอดีตงานศิลปะของสังคมไทยถูกเชื่อมโยงเข้ากับความหมายของ

คำว่างานช่าง ได้แก่  ช่างเขียน ช่างแกะช่างสลัก เป็นต้น ในดินแดนล้านนาเราเรียกช่างผู้ที่มีองค์ความรู้ด้านการสร้างสรรค์

งานศิลปะว่า “สล่า” เช่น สล่าแต้ม(ช่างเขียน) สล่าต้องลาย(ช่างแกะ-ดุลลวดลาย) ฯลฯ ทัศนศิลป์เป็นวิธีการจำแนกรูปแบบ

ของศิลปะตามแนวคิดทางตะวันตก เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพ

คนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น และเรียกผู้ที่สร้างสรรค์งานศิลปะในรูป

แบบดังกล่าวว่าศิลปิน แหล่งเรียนรู้ด้านทัศนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็น ห้องจัดแสดงผลงงานศิลปะ Art gallery รวมไปถึง อาคาร

สถานที่ต่างๆ ที่รังสรรค์ขึ้นโดยศิลปินชาวเชียงราย นับว่าเป็นจุดเด่นอีกประการหนึ่งของเมืองเชียงรายที่ควรจะได้กล่าวถึง

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 51: cultural Identity of Chiangrai

ครุตีข้าว : เครื่องจักสานอันมหึมา ร่องรอยของภูมิปัญญาที่กำลังจะลบเลือน

ปัจจุบัน บทบาทของครุตีข้าวได้ถูกลบเลือนไปจากสังคมชาวนาในภาคเหนือ การจักสานครุตีข้าวจึงเป็นเพียงเรื่องเล่าแห่งความหลัง และเป็นเพียงความทรงจำที่แสนงดงามของช่างสานครุผู้หนึ่ง คือ ลุงแก้ว ดวงเกตุ ซึ่งเล่าว่า นานมาแล้วที่ตน ผู้เป็นช่างสานครุคนเก่าแก่แห่งเมืองพานไม่ได้จักตอก และขุดหลุมสานครุเหมือนเช่นที่เคยทำมาเมื่อครั้งอดีต ลุงแก้วให้เหตุผลหลายประการ ทั้งปัญหาเรื่องการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ค่อนข้างยุ่งยาก ประกอบกับช่างสานครุที่เคยลงแรงแลกเปลี่ยน ช่วยเหลือกัน หรือที่เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “เอามื้อ” ในการจักตอกและขุดหลุมด้วยกันก็ล้มหายตายจากไป ข้อสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือ ชาวนาในปัจจุบันไม่นิยมใช้ครุในการตีข้าวอีกต่อไป การนวดข้าวในภาคเหนือนั้นจะต่างไปจากการนวดข้าวในภาคกลาง คือ มักจะนวดข้าวในนา โดยขนเครื่องมือสำหรับนวดข้าวออกไปที่นาแทนการขนข้าวมานวดในลานที่ใกล้ยุ้งฉาง ครุตีข้าว จึงนับเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้สำหรับการนวดข้าวหรือ “ตีข้าว” ครุตีข้าวนับเป็นภูมิปัญญาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวของชาวนาในภาคเหนือมาอย่างช้านาน เป็นเทคโนโลยีชาวบ้านที่ทรงคุณค่าในยุคที่ยังไม่มีรถเกี่ยวข้าวเหมือนเช่นปัจจุบัน เนื่องจากครุสามารถยกเคลื่อนย้ายไปหากองข้าวที่เกี่ยวกองไว้เป็นจุดๆ จึงเป็นการสะดวก ง่าย และเหมาะกับสภาพภูมิประเทศภาคเหนือ ซึ่งมีพื้นที่บางแห่งแคบ ลาดเอียง และเป็นไหล่เขา ลุงแก้ว ดวงเกตุ ยังได้เล่าถึงภูมิปัญญาในการสานครุ ว่านอกจาก ครุ ซึ่งเป็นเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่แล้ว ขั้นตอนและกรรมวิธีในการสานครุตีข้าวยังแตกต่างไปจากการทำเครื่องจักสานชนิดอื่นๆ ด้วย การสานครุตีข้าว เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมากกว่าการสานภาชนะจักสานอื่นๆ ช่างแต่ละคนไม่สามารถสานครุทั้งใบให้แล้วเสร็จด้วยตัวเองได้ เพราะครุมีขนาดใหญ่ รูปทรงโค้ง เส้นตอกที่ใช้สานก็มีขนาดใหญ่ กรรมวิธีการสานมีลักษณะเฉพาะ และต้องใช้ผู้ชายที่มีกำลังพอที่จะบังคับเส้นตอกได้ดี ลงแรงช่วยกันครั้งละหลายๆ คน ช่างจักสานจะต้องมีความชำนาญและเข้าใจโครงสร้างของครุ เริ่มจากการจักตอกซึ่งจะต้องเหลาเส้นตอกเป็นพิเศษให้หัวท้ายเรียวเพื่อสามารถสานเข้ารูปได้ตามต้องการ ขั้นตอนในการจัดเตรียมตอกนับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ การเหลาตอกแต่ละเส้นต้องให้เรียบเนียน ไม่มีเสี้ยน เพื่อจะได้ภาชนะที่เรียบและลื่นเมื่อนำไปตีข้าว ช่างสานครุจึงต้องใช้เวลานานในการจักตอกเตรียมไว้ บางครั้งอาจกินเวลาถึง ๓ เดือน เพราะครุหนึ่งใบต้องใช้ตอกที่มีความยาวประมาณ ๖-๘ ศอก มากกว่า ๓๐๐ เส้น จากนั้นจะต้องขุดดินเป็นหลุมเพื่อใช้เป็นแม่แบบ เพราะครุเป็นเครื่องจักสานขนาดใหญ่ไม่สามารถบังคับรูปทรงได้ด้วยมือ จำเป็นต้องมีหลุมดินเป็นแม่แบบ ซึ่งสามารถปรับแต่งขนาดและรูปทรงได้ง่าย หลังจากขุดหลุมให้ได้ขนาดตามต้องการแล้ว ช่างจะนำโคลนจากก้นลำเหมืองมาเคลือบผิวแม่แบบ เพราะดินลำเหมืองเป็นดินที่ถูกทับถมด้วยใบไม้ใบหญ้ามานานปี มีคุณสมบัติเหนียว สามารถนำมาเคลือบผิวแม่แบบหลุมดินได้เรียบเนียนและมีความยืดหยุ่นตัวได้ดี ผิวไม่แห้งแตก ใช้รองรับการสานครุด้วยตอกขนาดใหญ่ได้

“ครุตีข้าว” เป็นภาชนะเครื่องจักสานขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ของชาวนาในภาคเหนือ ใช้สำหรับรองรับเมล็ดข้าวในขณะตีข้าว หรือนวดข้าวเพื่อแยกเมล็ดข้าวออกจากรวง และบรรจุข้าวเปลือก ก่อนจะนำไปเก็บยังยุ้งฉางต่อไป ครุตีข้าว ทำจากไม้ไผ่สาน มีรูปร่างคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางของ ปากครุกว้างประมาณ ๒.๕ – ๓ เมตร สูงประมาณ ๑ เมตร มีลักษณะปากกลมบาน ส่วนก้นสอบเข้าเล็กน้อย

11

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 52: cultural Identity of Chiangrai

การสานจะเริ่มสานจากจุดตรงกลางของตัวครุก่อน โดยให้ผิวของตอกอยู่ด้านใน เมื่อสานเป็นผืนแล้วจะต้องนำไปแช่น้ำนานประมาณ ๓ ชั่วโมง เพื่อให้ตอกดูดซับน้ำจนชุ่ม จากนั้นนำไปลนไฟประมาณ ๕ นาทีเพื่อให้ตอกอ่อนตัว แล้วรีบนำไปวางลงในหลุมดินให้ส่วนผิวไม้อยู่ด้านบน หลังจากนั้นใช้สากหรือท่อนไม้กระทุ้งพร้อมๆ กันประมาณ ๔-๕ คน โดยจะกระทุ้งไปรอบๆ เพื่อให้ตอกเข้ารูปกับแม่แบบหลุมดินให้ก้นครุนูนขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อรองรับการฟาดข้าว ส่วนที่นูนขึ้นมานี้เรียกว่า “หมง” จากนั้นใช้ลิ่มหรือ “ทอย” ตอกให้ชิดติดกันทีละเส้นจากก้นหลุมขึ้นมายังปากหลุม เมื่อสานเสร็จแล้วจะต้องเข้าขอบครุด้วยไม้พุทราหนาม ซึ่งคนล้านนาเรียกว่า “ไม้บ่าตันขอ” เป็นพุทราป่าที่ขึ้นอยู่ตามเทือกเขา เพื่อใช้มัดยึดปิดขอบส่วนบนสุดของครุ ไม้พุทราหนามที่ใช้ต้องมีความยาวเท่ากับตอกเส้นใหญ่ที่ใช้ประกบปิดปากครุ คือ ยาว ๒๐ ศอก หรือ ๑๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๔ เซนติเมตร ซึ่งปัจจุบันทางราชการห้ามตัดไม้ทำลายป่า และต้นพุทราหนามก็เริ่มหายากขึ้น ครุใบสุดท้ายที่สล่าสานครุคนนี้ได้สานขึ้นเมื่อ ๕- ๖ ปี ก่อน ได้ไม้พุทราหนามมาจากอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง   ด้วยลักษณะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมเกษตร มาสู่สังคมแบบอุตสาหกรรม ที่มีการใช้เครื่องจักร และเครื่องทุ่นแรงเข้ามาแทนที่แรงงานคน ประกอบกับค่าจ้างแรงงานเริ่มสูงขึ้น การเสียสละมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันเริ่มหมดไป ทำให้ผู้ทำการเกษตรนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการทำนาด้วยในหลายขั้นตอน เช่น การไถ จะใช้รถไถแบบเดินตามแทนการใช้ควาย ส่วนในช่วงของการนวดข้าวก็ใช้เครื่องจักรสำหรับโม่แทน และใช้รถเกี่ยวข้าวเข้ามาแทนการนวดข้าว เป็นต้น แต่หากเกษตรกรรายใดยังคงใช้วิธีการนวดข้าวแบบดั้งเดิมอยู่ ก็มักจะเปลี่ยนไปใช้วิธีตีแคร่แทน โดยนำผ้าพลาสติกผืนใหญ่ ซึ่งหาซื้อได้ตามท้องตลาด มาปูยังจุดที่เกี่ยวข้าวกองไว้ แล้วนำแคร่มาวางรองเพื่อตีหรือนวดข้าว ด้วยเหตุผลของความประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา สิ่งสำคัญ คือ ยังสามารถตี หรือนวดข้าวได้เช่นเดียวกับการใช้ครุ หากย้อนอดีตไปมองประวัติการผลิตครุตีข้าวในเขตจังหวัดเชียงราย จะพบว่าหลายท้องที่มีสล่าผู้ทรงภูมิความรู้ด้านการสานครุ กระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอรอบนอกที่มีการดำรงชีพด้วยวิถีการทำนา แต่ปัจจุบันสล่าสานครุเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน หนึ่งในนั้นคือ ลุงแก้ว ดวงเกตุ สล่าสานคุแห่งอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งฝึกการสานครุมาจากพ่อ หากแต่วันนี้ ลุงแก้วไม่

ได้จักตอกสานครุดังที่เคยทำมาในอดีตอีกแล้ว ครุตีข้าวหลายใบที่เคยแขวนอยู่ในยุ้งฉางของชาวนาหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวถูกปลดลงมาขายให้พ่อค้ารับซื้อของเก่า เปลี่ยนหน้าที่จากภาชนะในการตีข้าว มาเป็น

ของประดับตกแต่งร้านอาหาร และบ้านเรือนอันสวยหรูของชนชั้นนำผู้มีรสนิยมในการเสพศิลปะจากงานหัตถกรรมดั้งเดิม เป็นคำถามที่ไร้คำตอบว่า “ฤาเครื่องจักสานอันมหึมาในวัฒนธรรมข้าวของชาวล้านนา จะหลงเหลือเพียงแค่ร่องรอยภูมิปัญญาที่กำลังจะถูกลบเลือน...”

ครุตีข้าว : เครื่องจักสานอันมหึมา ร่องรอยของภูมิปัญญาที่กำลังจะลบเลือน

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 53: cultural Identity of Chiangrai

สาดไตหย่า :งานหัตถกรรมเสื่อกก ภูมิปัญญาที่มาจากแดนไกล

สาด ถือเป็นเครื่องใช้หรือเครื่องตกแต่งเรือนแบบดั้งเดิมของคนล้านนาที่นิยมนั่งกับพื้น ก่อนที่จะมีการรับเอาวัฒนธรรมในการนั่งโต๊ะ-เก้าอี้ แบบจีนและแบบตะวันตกเข้ามา สาดเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นและเหมาะกับบ้านเรือนที่สร้างด้วยไม้ โดยเฉพาะบนพื้นที่ปูด้วยฟากสับหรือแคร่ไม้ไผ่ เมื่อมีแขกมาเยือนถึงบ้าน เจ้าของบ้านมักจะปูสาดให้แขกนั่งแล้วจัดเอาน้ำต้นหรือคนโท ขันหมาก เหมี้ยง และบุหรี่มาต้อนรับแขก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันงดงามที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน “สาดไตหย่า” เป็นสาดหรือเสื่อที่ใช้ต้นกกเป็นวัสดุหลักในการทอ แต่ชาวล้านนาไม่นิยมเรียกกันว่า “สาดกก” หากแต่นิยมเรียกกันจนติดปากว่า “สาดไตหย่า” อาจจะเป็นเพราะเป็นการให้เกียรติผู้ที่คิดค้นหรือประดิษฐ์งานหัตถกรรมชนิดนี้ขึ้นมา “ไตหย่า” หรือ ไทหย่า คือ ชาวไทยกลุ่มหนึ่ง ที่รู้จักกันในชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ไตในประเทศจีน มีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมคือตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยี่วซี มณฑลยูนนาน ทางตอนบนของแม่น้ำแดง ชาวจีนเรียกขานชนกลุ่มนี้ว่า ฮวาเย่าไต (Huayaodai) แปลว่า ไตเอวลาย (Flowery Belted) ชาวไตหย่าบางกลุ่มได้อพยพย้ายถิ่นฐานออกจากโมซาเจียง ไปอาศัยอยู่แคว้นสิบสองปันนาในประเทศจีน บางกลุ่มเดินทางอพยพเข้ามายังประเทศไทย แต่ระหว่างเดินทางมีบางกลุ่มได้หยุดพักและตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในประเทศพม่า มีกลุ่มหนึ่งเดินทางต่อจนมาถึงประเทศไทย ทำให้มีกลุ่มไตหย่า อาศัยอยู่ในพื้นที่ของหลายประเทศต่างๆ กันไปหลายกลุ่ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ชาวไตหย่ากลุ่มหนึ่งได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย เป็นการเดินเท้าจากเมืองหย่า ผ่านเมืองซือเหมา สิบสองปันนา เมืองยอง และแม่สาย ได้หยุดพักรวมกันที่หมู่บ้านหนองกลม (ปัจจุบันคือ บ้านสันธาตุ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) แล้วไปตั้งหลักแหล่งแผ้วถางที่ดินทำมาหากินที่หมู่บ้านป่าสักขวาง ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มื่อจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นชาวไตหย่ากลุ่มหนึ่งได้แยกตัวออกมาหาที่อยู่ใหม่ คือในหมู่บ้านน้ำบ่อขาว ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย และยังคงอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน ชาวไตหย่าได้ผสมกลมกลืนกับคนไทยโดยการแต่งงานมีลูกหลาน และย้ายถิ่นฐานไปอยู่หลายที่หลายแห่งของประเทศไทย

ชาวล้านนาโดยทั่วไปเรียกเสื่อที่ใช้ปูพื้นรองนั่ง หรือ นอน ว่า “สาด” ซึ่งมีหลากหลายชนิด และมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามวัสดุและหน้าที่ใช้สอย เช่น สาดเทิ้ม สาดแหย่ง สาดต๋องขาว สาดบ่าง สาดล้อ สาดเจ้าที่ เป็นต้น ตามปกติแล้วสาดแต่ละชนิดจะนิยมทำจากวัสดุธรรมชาติจำพวกไม้ไผ่หรือหวาย โดยจักให้เป็นเส้นบางและยาวสานสอดกันไปมาให้เป็นผืน ซึ่งอาจมีลวดลายต่างๆ ตามการออกแบบของผู้สาน อีกทั้งมีขนาดและรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 54: cultural Identity of Chiangrai

“สาดไตหย่า” ที่ชาวล้านนารู้จักถูกผลิตและคิดค้นขึ้นโดยชาวไตหย่า กลุ่มแรกๆ ที่ เข้ามาตั้งหลักแหล่งในจังหวัดเชียงรายเมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา โดยระหว่างการเดินทางนั้น ชาวไตหย่าครอบครัวหนึ่งได้พบต้นกก และคิดว่าคงจะเกิดประโยชน์จึงขุดใส่กระบอกติดตัวมา ๓ ต้น และเมื่อมาถึงประเทศไทยก็ได้เพาะชำไว้ประมาณ ๓ ปี จึงตัดมาตากและนำมาทอเป็นผืนเสื่อเพื่อใช้เองและนำไปขาย ต้นกกที่นำมาปลูกไว้ก็ได้แพร่ขยายพันธุ์ไปทั่วหมู่บ้าน จึงทำให้เกิดการสืบทอดภูมิปัญญา ในการนำต้นกกมาทอเป็นเสื่อซึ่งรู้จักกันดีในนาม “สาดไตหย่า” มาจนถึงทุกวันนี้ ป้าเกสร ชัยบังวัน เล่าถึง กรรมวิธีในการทอเสื่อกก หรือ สาดไตหย่า ว่ามีความแตกต่างจากเสื่อกกชนิดอื่น นับตั้งแต่ขั้นตอนในการจัดเตรียมวัสดุหลัก คือ ต้นกก หรือที่ชาวบ้านห้วยไคร้เรียก ว่า “ไหล” มักชอบขึ้นอยู่ตามลุ่มน้ำลำคลอง แต่ก็ไม่เพียงพอกับการนำมาทอเสื่อ จึงนิยมปลูกต้นกกขึ้น ขั้นแรกมีการไถพื้นดินให้ร่วนซุยแบบเดียวกับการทำนา แล้วนำหน่อกกที่มีรากเหง้ามาปลูกลงในผืนดินที่เตรียมไว้ โดยปลูกห่างกันประมาณ ๑ คืบ เมื่อปลูกได้ประมาณ ๖ เดือน ก็สามารถตัดไปใช้ประโยชน์ได้ สำหรับการเก็บเกี่ยวต้นกกนั้นจะใช้เคียวเกี่ยว ลักษณะการเกี่ยวจะเหมือนกับการเกี่ยวข้าว แต่การเกี่ยวกกนั้นจะเกี่ยวลำต้นยาวตั้งแต่ส่วนที่ติดดิน ต้นกกที่เกี่ยวแล้วนั้นจะนำมาคัดขนาดให้ได้ความสั้นยาวที่เท่ากันเพื่อความสะดวกในการทอ จากนั้นจึงนำต้นกกไปตากแดด ระยะเวลาในการตากแดดประมาณ ๕-๗ วัน จนต้นกกแห้งสนิท เมื่อแห้งดีแล้วจึงนำมาแยกขนาด และนำมามัดเป็นกำๆ จัดเก็บไว้ใต้ถุนบ้านที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันเชื้อรา ต้นกกที่เตรียมไว้จะเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการนำมาทอเสื่อต่อไป ในส่วนของการนำต้นกกที่เตรียมไว้มาทอให้เป็นผืนนั้น ป้าเกสร ชัยบังวัน ช่างทอเสื่อไตหย่า วัย ๕๒ ปี เล่าว่าต้องใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอเสื่อกก คือ กี่ ส่วนใหญ่เป็นแบบกี่ตั้ง การทอ ต้องใช้คนช่วยกันถึง ๒ คนจึงจะทอได้ คือคนหนึ่งพุ่งกกเข้าฟืมและอีกคนหนึ่งกระทบฟืม ก่อนจะทอต้องมีการนำกกมาแกะหรือถอนเปลือกส่วนนอก หรือส่วนของกาบออกเสียก่อน ซึ่งส่วนกาบนี้ติดมากับกกตั้งแต่ตอนเก็บเกี่ยว จากนั้นจึงนำส่วนปลายหรือหางของกกไปแช่น้ำไว้ประมาณ ๑๕ นาที แล้วจึงจะสามารถนำไปทอได้ เมื่อทอเสร็จจึงตัดส่วนหางที่ยื่นออกมา ถ้าเสื่อกกที่ทอเสร็จยังไม่แห้งพอก็จะนำไปผึ่งแดดไว้ก่อนและรอการจำหน่ายต่อไป

ผู้สืบทอดมรดกการทอเสื่อไตหย่าแห่งบ้านห้วยไคร้ เล่าถึงระยะเวลาในการทอเสื่อแต่ละผืนว่า สามารถใช้เวลาในการทอประมาณ ๓๐ นาที คนที่มีความชำนาญและมีเวลาว่างในการทอเสื่ออย่างเต็มที่จะสามารถทอเสื่อได้ประมาณวันละ ๑๕ – ๒๐ ผืน ส่วนคนที่ไม่ค่อยชำนาญ หรือไม่ค่อยมีเวลาในการทอเสื่อจะสามารถทอได้วันละประมาณ ๑๐ ผืน ปัจจุบันชาวบ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ยังคงสืบสานภูมิปัญญาในการทอเสื่อ หรือ “สาดไตหย่า” ของบรรพชนไว้อย่างเหนียวแน่น มีการก่อตั้งกลุ่มทอสาดไตหย่าขึ้นในชุมชน และนอกจากจะนำต้นกกมาทอเป็นผืนเสื่อตามแบบดั้งเดิมแล้ว ชาวบ้านยังสามารถนำต้นกกมาประยุกต์เป็นงานหัตถกรรมอื่น เช่น กระเป๋า หมวก ตะกร้า กรอบรูป รวมทั้งของใช้ประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จึงนับว่าเป็นการต่อยอดองค์ความรู้และสืบสานภูมิปัญญาของบรรพชนไว้ได้อีกทางหนึ่ง

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 55: cultural Identity of Chiangrai

เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง : มรดกแห่งเครื่องเคลือบล้านนา

เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง นับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของเครื่องปั้นดินเผาล้านนา ซึ่งมีชื่อเสียงและรู้จักกันอย่างแพร่หลาย แหล่งเตาเวียงกาหลงกระจายตัวอยู่ในพื้นที่กว่า ๑๕ ตารางกิโลเมตร แหล่งใหญ่พบที่ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ไปจนถึงบริเวณลำน้ำลาว ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำแม่กก ใกล้กับเมืองโบราณใหญ่ชื่อ เวียงกาหลง ซึ่งเป็นนามที่มาของเครื่องถ้วยชนิดนี้ สันนิษฐานกันว่าเมืองโบราณแห่งนี้มีอายุร่วมสมัยกับช่วงเวลาที่มีการผลิตเครื่องถ้วยชนิดนี้ คือ อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒

ย้อนกลับไปประมาณ ปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ประเทศ ไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำโลกหรือ APEC ครั้งที่ ๑๑ ณ

กรุงเทพมหานคร ใครจะรู้ว่านอกจากจะเป็นการประชุมเพื่อแสดงศักยภาพของประเทศไทยให้ทั่วโลกได้ประจักษ์แล้ว ยังเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมจากหลากหลายตำบลของประเทศไทยสู่สายตาชาวโลก เครื่องปั้นดินเผาจากหมู่บ้านเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย เป็นหนึ่งในงานหัตถกรรมไทยที่สร้างความประทับใจให้บรรดาผู้นำจากทั่วโลก เนื่องจากเครื่องถ้วยเซรามิกจากหมู่บ้านนี้ได้รับการคัดเลือกเข้าไปนำเสนอในฐานะของภาชนะที่ใช้ในการประชุมในคราวนั้น  คุณทัน ธิจิตตัง ประธานกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงเล่าถึงความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงว่า หลังจากที่ขุดพบแหล่งเตาเผาและภาชนะต่างๆ แล้ว ตนได้เริ่มค้นคว้าหาวิธีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาดังกล่าว โดยใช้เวลาและทุนทรัพย์ในการทดลองทำอยู่หลายปีจึงสำเร็จได้ผลงานออกมาใกล้เคียงกับเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมมากที่สุด

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 56: cultural Identity of Chiangrai

เอกลักษณ์ที่สำคัญของเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง นอกจากจะมีลวดลายที่สวยงามแล้ว เนื้อดินที่ใช้ปั้นก็ถือว่า มีความสำคัญมากทีเดียว เพราะใช้ดินดำที่มีอยู่เฉพาะที่บริเวณเวียงกาหลงเพียงแห่งเดียว โดยดินดำของเวียงกาหลง เมื่อนำมาปั้นเป็นเครื่องเคลือบดินเผาแล้วจะสามารถทนความร้อนได้สูงถึง ๑,๓๐๐ องศาเซลเซียส โดยยังคงรูปร่างเดิมไม่บิดเบี้ยว เมื่อผ่านกรรมวิธีการเผาแล้ว เนื้อกระเบื้องที่ได้จะเป็นสีขาวนวลถึงสีครีม มีน้ำหนักเบา น้ำเคลือบบางใส มีรอยรานเป็นรอยเล็กละเอียด ถือว่ามีความพิเศษไม่เหมือนเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งอื่น ชื่อของเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เป็นต้นมา นับตั้งแต่พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) สำรวจพบซากเตาเผาจำนวนมากในพื้นที่ใกล้เคียงกับเมืองโบราณเวียงกาหลง และได้เขียนบทความ ผลการสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ตีพิมพ์ในวารสารของสยามสมาคม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงแบบโบราณส่วนใหญ่มักเคลือบถึงบริเวณขอบเชิงภาชนะ บางใบมีการเคลือบก้น หรือ ใช้น้ำดินสีน้ำตาลทาที่ก้น ผลิตภัณฑ์ที่พบมาก ได้แก่ จาน ชาม แจกัน โถมีฝา ผางประทีป ถ้วย รวมถึงตัวหมากรุกและตุ๊กตารูปสัตว์ต่างๆ จากการศึกษาของนักวิชาการส่วนใหญ่พบเครื่องปั้นดินเผาอยู่ ๓ ประเภท คือ ประเภทเขียนลายสีดำ ใต้เคลือบใส ประเภทเคลือบสีน้ำตาล และประเภทเคลือบสีเขียว ลวดลายตกแต่งที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องปั้นเวียงกาหลง ได้แก่ ลายกลีบดอกไม้หรือใบไม้ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ลายกา” นอกจากนั้น ยังพบลายช่อดอกไม้ ลายพันธุ์พฤกษา ลายดอกไม้ก้านขด ลายรูปสัตว์ รวมทั้งลวดลาย ที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากภายนอก เช่น ลายเก๋งจีนและภูมิประเทศ รวมทั้งลายกิเลน ส่วนประเภทเคลือบใสมักตกแต่งด้วยการขูดขีดลายซี่หวีหรือกลีบดอกไม้ลักษณะต่างๆ ผู้ริเริ่มพลิกฟื้นเตาเผาโบราณ และทำเครื่องปั้นดินเผาตามแบบโบราณเวียงกาหลง ยังเล่าถึงกรรมวิธีผลิตว่า เริ่มจากนำดินเหนียวที่มีอยู่ในพื้นที่เวียงการหลงมานวดให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงเริ่มปั้นขึ้นรูปบนแป้นหมุนให้ได้แบบที่ต้องการตามประสบการณ์และความชำนาญของช่างปั้นแต่ละคน จากนั้นนำมาตากจนแห้ง โดยใช้เวลาประมาณ ๑ วัน จึงเริ่มเขียนลายลงบนเครื่องปั้นแต่ละชิ้นด้วยดินแดง ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติของดินที่มีอยู่ในท้องถิ่น ไม่ใช้สีเคมี จึงปลอดภัยสำหรับ

ใช้ในการบรรจุอาหาร หรือจะใช้ปรุงอาหารด้วยความร้อนสูงในเตาไมโครเวฟก็ได้ เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตนั้นได้มาจากธรรมชาติทั้งหมด ลวดลายที่ชาวเวียงกาหลงเขียนลงบนภาชนะดินเผาแต่ละชิ้น ก็นำมาจากแบบที่มีอยู่เดิม โดยนำมาจากเศษเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบที่ตำบลเวียงกาหลง เช่น ลายก้านขด ลายหงส์ ลายปลา ลายดอกไม้ ลายนก ลายนกยูง เป็นต้น เมื่อทิ้งไว้จนลวดลายที่เขียนนั้นแห้งดีแล้ว จะเป็นขั้นตอนการเคลือบผิวเพื่อให้มีความเงางาม โดยจุ่มลงในน้ำขี้เถ้าหรือที่เรียกกันว่า น้ำเคลือบ มีบางสิ่งที่เราสังเกตเห็นก็คือเครื่องปั้นดินเผาที่นำไปชุบน้ำเคลือบเมื่อแห้งแล้วจะมองไม่เห็นลายที่เขียนลงบนภาชนะก่อนหน้านี้ ลวดลายดังกล่าวจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเผาด้วยอุณหภูมิ ๑,๒๕๐ องศาเซลเซียส หรือหลังจากเผาประมาณ ๑๐ ชั่วโมง หลังกระบวนการเผา ดินสีดำที่เห็นในขั้นตอนการปั้นนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวลหรือขาวขุ่น ภาชนะแต่ละชิ้นที่เผาเสร็จแล้วจะแตกลายและมีความมันวาว เพราะเกิดจากการรัดตัวของน้ำเคลือบในขณะเผา ส่วนสีจากดินแดงที่ใช้เขียนลายก่อนหน้านี้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีคล้ำเกือบดำ ผลิตภัณฑ์ที่ทำออกมาจำหน่ายมีหลายชนิด ได้แก่ แจกัน ซึ่งมีให้เลือกหลายขนาด ชุดถ้วยน้ำชาและกาแฟ จาน ถ้วย คนโท ไห กระปุกใส่ของ รูปปั้นวัว ม้า นก ช้าง อึ่งอ่าง สำหรับตั้งโชว์ และเชิงเทียนรูปสัตว์ เช่น หงส์ ม้า ช้าง วัว เป็นต้น เครื่องปั้นเวียงกาหลงได้รับการยอมรับว่าประณีตงดงาม ไม่ผิดเพี้ยนไปจากของโบราณเดิมที่ขุดพบ คนซื้อจากต่างประเทศและในประเทศต่างมีความชื่นชม ถือได้ว่าเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงเป็นเครื่องปั้นชั้นยอด และที่แห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งศึกษาด้านวัฒนธรรมโบราณ แหล่งศึกษาด้านศิลปะ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย แม้วันนี้เครื่องปั้นดินเผาของเวียงกาหลงยังไม่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักมากเท่าเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งอื่นๆ แต่ความมานะอดทนย่อมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำงานของช่างปั้น เป็นการร่วมฟื้นรูปแบบและลวดลายของเครื่องปั้นแบบเก่าให้กลับมามีชีวิตเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จักและชื่นชมกันอีกครา

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

�1

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 57: cultural Identity of Chiangrai

ตุงเชียงแสน : ธงชัยแห่งศรัทธา

ตุง เป็นชื่อเรียกวัตถุที่ใช้แขวนเพื่อสื่อแสดงถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา และเป็นสัญลักษณ์การส่งกุศลผลบุญถึงดวงวิญญาณที่อยู่อีกภพภูมิหนึ่ง ในความหมายของชนภาคกลางสามารถเทียบได้กับ “ธง” อันหมายถึง สัญลักษณ์แสดงตัวตนของประเทศ ดินแดน หน่วยงานหรือองค์กร แต่คนล้านนานอกจากตุงจะเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นอัตลักษณ์ชาติพันธุ์แล้ว ยังนิยมนำมาประดับตกแต่งถวายเป็นเครื่องสักการบูชา โดยจัดอยู่ในประเภทเครื่องสักการะล้านนาภาคพิธีกรรม ความหลากหลายในศิลปกรรมตุงนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละพิธีกรรมว่าควรต้องใช้ตุงชนิดใด เช่น “ตุงไจย” ใช้กับงานมหรสพสมโภช ที่เรียกว่า “ปอยหลวง” ส่วนตุงที่ทำจากกระดาษคละสี มีลักษณะเป็นพวงตาข่ายคล้ายแห เรียกว่า “ตุงไส้หมู” เป็นตุงที่ใช้ในช่วงประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์ เป็นต้น

ในจังหวัดเชียงราย งานด้านศิลปกรรมตุงประเภทต่างๆ มีให้พบเห็นมากมายทั้งชิ้นงานที่สร้างขึ้นมาใหม่ และงานที่เป็นศิลปกรรมดั้งเดิม ความโดดเด่นของงานศิลปกรรมตุงเชียงราย ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งเรื่องราวตำนานเล่าขาน และ ความหลากหลายในรูปแบบทางศิลปกรรมชิ้นหนึ่ง คือ “ตุงเชียงแสน” ความโดดเด่นของ ตุงเชียงแสน อยู่ที่ความประณีตละเอียดอ่อนของลวดลายผนวกกับความตั้งใจในกระบวนการถักทอเพื่อใช้ในพิธีกรรมหรือถวายเป็นพุทธบูชา โดยความยากง่ายนั้นขึ้นอยู่กับความชำนาญในการทอและจินตนาในการออกแบบลวดลายตุง ซึ่งเกิดจากการนำเอาตอกไม้ไผ่พันด้วยกระดาษสีทองสอดขัดสลับกับเส้นไหมที่ใช้ทอแผ่นตุงให้มีลักษณะเป็นผืนยาวลงมา ลวดลายที่นิยมทอ ได้แก่ ลายปราสาทธรรมมาสน์ ลายสัตว์มงคลล้านนา เช่น ช้าง ม้า และนกยูง นอกจากนี้ยังมีการทำเป็นลวดลาย “ตัวเปิ้ง” หรือลายสิบสองนักษัตรตามคติความเชื่อเรื่องการบูชาชะตาประจำปีเกิดของคนล้านนา เป็นต้น ปัจจุบันหน้าที่ของตุงเชียงแสน มิได้เป็นเพียงเครื่องสักการะที่ใช้ในพิธีกรรมทางพุทธศาสนาเท่านั้น หากแต่มีการปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคม อาทิ ผลิตเป็นสินค้า หรือเป็นวัสดุประดับตกแต่งอาคารสถานที่ ซึ่งผิดจากจารีตเดิมที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตุงอย่างระมัดระวัง ซึ่งเชื่อว่าการปักตุงหรือแขวนตุงในที่ใดที่หนึ่งจะต้องมีการถวายทาน และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายก่อน ซึ่งเน้นเจตนารมณ์ในการอุทิศกุศลผลบุญอันเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาอย่างมีความหมายและมีคุณค่า ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธาที่บอกผ่านพิธีกรรมนั้นๆ ทั้งยังสะท้อนถึงประเพณีวิถีชีวิตของคนล้านนาอย่างเด่นชัด ตามความเชื่อของชาวล้านนาแต่โบราณ ถือว่าตุงเป็นสื่อนำวิญญาณของผู้ถวายตุง และวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่ภพสวรรค์ เพื่อมุ่งหวังในการหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานอันเป็นผลของวิบากกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยโบราณ ตุงในความเชื่อของคนล้านนายังมีข้อห้ามเรื่อง “ขึด” เป็นตัวบังคับในวิธีการใช้ตุง เช่น การแขวนตุงบนยอดไม้ หรือการนำตุงขึ้นแขวนโดยไม่ผ่านพิธีกรรม ดังในคัมภีร์ โลกสมมุติ กล่าวไว้ว่า “ปกกะโดง ก๊างตุงในบ้าน ก็ขึด หรือ ตานตุงบ่ได้หยาดน้ำก็ขึด” ซึ่งหมายถึง การติดตั้งเสาเพื่อแขวนตุงในบ้าน เป็นอุบาทว์ และการถวายทานตุงโดยมิได้กรวดน้ำให้กับผู้ตายก็เป็นอุบาทว์ แต่ในปัจจุบัน ผู้คนขาดการสืบทอดความเชื่อแบบดั้งเดิม ทำให้ขาดความเข้าใจในความหมายของตุงล้านนา จึงเกิดกระแสการนำตุงไปใช้ในงานและสถานที่อันผิดจากความเชื่อดั้งเดิม ทำให้ตุงถูกปรับเปลี่ยนไปรับใช้ในทางธุรกิจร้านค้า เป็นเครื่องประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม หรือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น คุณค่าและความหมายเชิงพิธีกรรมความเชื่อที่แท้จริงเกี่ยวกับตุงจึงเลือนหายไป

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 58: cultural Identity of Chiangrai

ร้านขายสินค้าของที่ระลึกประเภทตุงล้านนาแห่งหนึ่ง ชื่อว่า เฮือนตุง เป็นร้านขายตุงที่มี หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะตุงเชียงแสน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านศรีดอนมูล ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีเจ้าของชื่อ ป้าบัวคลี่ ฟูกัน หญิงสูงวัยผู้มีใจอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่ได้รับ การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำตุงเชียงแสนมาจากบรรพบุรุษ แต่เดิมงานทำตุงเป็นงานฝีมือแบบพื้นบ้านที่ยังไม่มีรูปแบบสีสันมากมายดังเช่นปัจจุบัน ต่อมาป้าบัวคลี่ได้คิดวิธีปรับเป็นรูปแบบสินค้าของที่ระลึกและยังรับทำขนาดตามพอใจของผู้สั่ง ซึ่งการหันมาทำเป็นสินค้าของที่ระลึกนั้นมิใช่เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างเดียว หากแต่เล็งเห็นว่าปัจจุบันความรู้ความเข้าใจและวิธีการใช้ รวมไปถึงการสืบทอดวิธีการทำตุงแบบเชียงแสนเริ่มสูญหาย ตนจึงทุ่มเทแรงกายแรงใจในการอนุรักษ์และสืบทอดการทอตุงเชียงแสน โดย เริ่มต้นจากธุรกิจครอบครัวพัฒนาไปสู่การเป็นวิทยากรอบรมสอนการทำตุงเชียงแสนในสถาบันการศึกษา องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แม้ว่าการผลิตตุงในลักษณะของสินค้าทางธุรกิจอาจจะ ผิดไปจากจารีตวิถีตามบทบาทหน้าที่ของตุงแต่ดั้งเดิม แต่ด้วยกระแสสังคมโลกยุคปัจจุบันที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก จึงหวังเพียงให้เกิดการถ่ายทอดและสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญานี้ให้คงอยู่ต่อไป ปัจจุบันการหาทางออกเพื่อความอยู่รอดขององค์ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิม อาจต้องมีข้อยกเว้นในธรรมเนียมปฏิบัติลงไปบ้าง เพราะวิธีการสืบทอดในสมัยนี้นอกจากจัดการเรียนการสอนแล้ว สิ่งหนึ่งที่สามารถกระทำได้ คือ การนำเสนอสู่สังคม เช่น การจัดทำเอกสารวิชาการ การจัดนิทรรศการเผยแพร่และการจัดทำเป็นสินค้าของฝากของที่ระลึกต่างๆ ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านบางอย่างก็จัดอยู่ในองค์ความรู้ประเภทผลิตภัณฑ์ได้ เพื่ออย่างน้อย สังคมจะได้รับรู้ว่ายังมีองค์ความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านอันทรงคุณค่าประเภทนี้อยู่ใน แผ่นดินล้านนา

วิถีชีวิตของคนล้านนาแต่โบราณผูกพันอยู่กับงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านอย่างแนบแน่น โดยเฉพาะงานแกะสลักไม้ที่เริ่มจากการทำเครื่องใช้ไม้สอยในครัวเรือนและพัฒนาจนเกิดเป็นงานศิลปะที่สร้างอาชีพและรายได้แก่ครอบครัว

เสน่ห์แห่งรอยสิ่ว :ไม้แกะสลักบ้านถ้ำผาตอง

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 59: cultural Identity of Chiangrai

งานแกะสลักไม้เป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะตัว ใช้ความประณีต ละเอียด และอดทนสูง โดยช่างจะต้องถ่ายทอดลวดลายลงบนวัสดุ ด้วยการใช้เครื่องมือที่ทำจากโลหะเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียวทำให้เกิดความคมด้วยการตี เจียร แล้วตกแต่งด้วยสิ่วขนาดต่างๆ ทั้งแบบหน้าตรง หน้าโค้ง รวมทั้งใช้ฆ้อนไม้เป็นเครื่องมือช่วยในการแกะสลักอีกด้วย งานแกะสลักจึงเป็นการฝีมืออีกรูปแบบหนึ่งที่ช่างฝีมือจะใส่ตัวตนและจิตวิญญาณลงสู่ชิ้นงาน ดังงานแกะสลักไม้ที่ “บ้านถ้ำผาตอง” ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องการแกะสลักไม้และมีความงดงามไม่ด้อยไปกว่างานแกะสลักไม้แหล่งอื่นๆ เลย งานแกะสลักของบ้านถ้ำผาตองมีช่างฝีมือที่โดดเด่น ๒ คนด้วยกัน คนแรกเป็นเสมือนผู้จุดประกายงานด้านการแกะสลักไม้ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น นั่นคือ สล่าคำจันทร์ ยาโน (คำว่าสล่า เป็นภาษาพม่า ใช้พูดนำหน้าช่างฝีมือพื้นบ้านเป็นเชิงยกย่อง) ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และฝึกฝนฝีมือด้านการแกะสลักไม้จากผู้เป็นตา คือ พ่ออุ๊ยแสง ลือสุวรรณซึ่งเป็นสล่าแกะสลักกระบวยที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จากการเห็นงานแกะสลักอย่างชินตามาตั้งแต่เด็ก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ สล่าคำจันทร์สนใจงานแกะสลักไม้ โดยเริ่มสร้างผลงานชิ้นแรก คือ งานแกะสลักด้ามหนังสติ๊ก และกระบวย รูปลักษณ์ตามแบบของพ่ออุ๊ยแสงผู้เป็นตา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เกิดภาวะฝนแล้งการทำนาไม่ได้ผล ประกอบกับฝีมือการแกะสลักเริ่มเป็นที่ประจักษ์ จึงได้เริ่มทำงานแกะสลักไม้อย่างจริงจังโดยชักชวนเพื่อนอีก ๒ คน คือ สล่าสุวรรณ สามสี และ สล่าจิ๊ก มาร่วมงานแกะสลักไม้ด้วยกันเพื่อส่งไปจำหน่ายที่ร้านไม้มุงเงิน จังหวัดเชียงราย ซึ่งในช่วงแรกการตอบรับสินค้าไม่ค่อยดีนัก ประกอบกับชาวบ้านหลายคนมองว่าไม่คุ้มค่ากับการทำงานเพราะงานแกะสลักไม้เป็นงานที่ต้องงใช้ความอดทนสูงประณีต ละเอียดอ่อน และใช้เวลานานมากกว่าจะได้งานสักหนึ่งชิ้น แต่กลุ่มเพื่อนและเพื่อนบ้านคนอื่นๆ ที่สนใจยังคงอดทนทำงานแกะสลักเรื่อยมา จนฝีมือพัฒนาขึ้นและมีผลงานหลากหลายเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีคนสั่งซื้อผลงาน หัตกรรมไม้แกะสลักเข้ามามากจนไม่สามารถผลิตงานส่งได้ทัน จึงทำให้สล่าคำจันทร ์ ต้องสร้างกลุ่มคนทำงานแกะสลักไม้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับงานที่มีผู้สั่งซื้อจนกลายเป็น “กลุ่มแกะสลักไม้ บ้านถ้ำผาตอง” มีสมาชิกกว่า ๒๐ คน

สล่าคำจันทร์ มีความภาคภูมิใจที่ได้สร้างกลุ่มงานแกะสลักไม้พื้นเมืองบ้านถ้ำผาตอง ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างคน เพื่อให้คนสร้างงาน และงานก็สร้างเงิน ส่วนเงินก็ช่วยสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทำให้คนที่หันมาทำงานแกะสลักไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมอันไร้สาระอื่นๆ และมีหลายคนกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีจากที่เคยหลงผิดไปบ้าง จนสามารถสร้างผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างกว้างขวาง ส่วนคนที่มีฝีมืองานแกะสลักที่โดดเด่นอีกท่านหนึ่ง คือ สล่าสุวรรณ สามสีผู้ได้รับสมญานามว่า “สุวรรณแกะช้าง ๑๐๐ ลีลา” นับเป็นผู้มีความชำนาญในการแกะสลักช้างขนาดจิ๋วในลีลาท่าทางสวยงามต่างๆ เช่น ช้างเต้นรำ ช้างเกี้ยวพาราสีกัน และช้างกำลังออกลูก เป็นต้น ฝีมือการแกะสลักที่ประณีตละเอียดอ่อนนั้นสร้างสรรค์ขึ้นด้วยมีดเหลาไม้ขนาดเล็กที่สล่าสุวรรณ เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นทำขึ้นมาด้วยตนเอง วัตถุประสงค์หลักของการทำงานด้านแกะสลักของกลุ่มสล่าบ้านถ้ำผาตอง นอกจากรายได้แล้ว พวกเขายังมีความมุ่งมั่นในการสืบสานงานฝีมือและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป อีกทั้งร่วมกันพัฒนา เรียนรู้ ถ่ายทอด และทำการเผยแพร่ผลงานให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป โดยมุ่งเน้นใช้เศษวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น เศษรากไม้ ตอไม้ไผ่ กะลามะพร้าว และเมล็ดพืชเปลือกแข็งที่ไม่มีคุณค่า นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานหัตถศิลป์ที่ทรงคุณค่า จึงเป็นกลุ่มช่างที่มีศิลปะนิสัยชอบสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ

ผลงานแกะสลักของกลุ่มสล่าบ้านถ้ำผาตองที่พัฒนาขึ้นมาในภายหลังมีทั้งเครื่องมือ เครื่องใช้ และของตกแต่งบ้านหลากหลายชนิดตามแต่จะสรรหาวัสดุธรรมชาติมาสร้างสรรค์ขึ้นได้ ผลงานแกะสลักหลายชิ้นยัง

สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวชนบทในรูปแบบต่างๆ อาทิ วิถีการทำนาแบบดั้งเดิม การจับปลา และการเลื่อยไม้ เป็นต้น จุดเด่นที่สำคัญของงานแกะสลักบ้านถ้ำผาตองก็คือ การรังสรรค์นวัตกรรมจากภูมิปัญญาที่ทำให้หุ่นไม้ แกะสลักสามารถเคลื่อนไหว แสดงอากัปกิริยาแบบต่างๆ ด้วยกลไกที่ซ่อนอยู่ภายในเสมือนมีชีวิตจิตใจ ผลงานแกะสลักจึงมีความน่าสนใจและเพิ่มคุณค่าอันสะท้อนถึงศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 60: cultural Identity of Chiangrai

ของเล่นเด็กบ้านป่าแดด การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะที่สดใส บ่งบอกถึงความสุขความสนุกสนานของคนสองวัย ด้วยน้ำเสียงประหนึ่งรบเร้าขอให้ช่วยทำของเล่นเด็กจากวัสดุธรรมชาติ อาทิ ไม้โก๋งเก๋ง ก๊อบแก๊บกะลามะพร้าว กำหมุน กังหันลม ลิงไต่ราว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีของเล่นจากไม้ไผ่สานเป็นรูปสัตว์ชนิดต่างๆ อาทิ นก งู ปลาและกบ ภาพบรรยากาศนี้ทำให้ช่องว่างระหว่างวัยถูกลบเลือนไปในที่สุด เด็กๆ ได้กลับมาอยู่ใกล้ชิดกับ “พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย” หรือปู่ย่าตายาย อีกครั้งหลังจากที่ห่างเหินกันมานานด้วยสภาพสังคมที่แปรเปลี่ยนไปจากครั้งอดีต

ด้วยวิวัฒนาการทางสังคมในโลกปัจจุบัน เมื่อมีการสร้างและรับเอานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาตอบสนองต่อระบบการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ กรณีการผลิตของเล่นเด็กไทยในปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน มีพัฒนาการของการผลิตอันทันสมัย นับตั้งแต่ของเล่นที่ทำจากวัสดุประเภทพลาสติกไปจนถึงของเล่นที่สร้างขึ้นด้วยระบบเทคโนโลยีชั้นสูงต่างๆ อีกทั้งยังสามารถหาซื้อได้ง่ายสะดวกสบาย ต่างจากของเล่นพื้นบ้านยุคโบราณของบรรพบุรุษ ที่การเล่นของเล่นแต่ละครั้งต้องอาศัยเวลาในการหาวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนใช้เวลาในประดิษฐ์พอสมควร สำหรับเชียงรายในวันนี้ ได้เกิดการพลิกฟื้นเอาภูมิปัญญาการประดิษฐ์ของเล่นแบบโบราณขึ้นมา อีกครั้ง เด็กๆ กับผู้สูงอายุมีความใกล้ชิดสนิทสนม และต่างแบ่งปันความรู้สึกทางจิตใจให้แก่กันและกัน ด้วยการหยิบยกองค์ความรู้ภูมิปัญ ญาการทำของเล่นพื้นบ้านบนฐานวิธีคิดอันชาญฉลาดของกลุ่ม ผู้สูงอายุ ดังคำพูดของแม่อุ๊ยหน่อ คำแดง สมาชิกชมรมผู้สูงอายุและพิพิธภัณฑ์ของเล่นที่ว่า “ของเล่นสมัยหลุแล้วเสียเลย ซ่อมแป๋งก่ยากเสี้ยงเงินเสี้ยงทองบ่ดาย” แม่อุ๊ย กล่าวถึงของเล่นในยุคปัจจุบันเมื่อเสียแล้ว ซ่อมแซมยาก อีกทั้งเป็นเหตุให้ต้องสูญเสียเงินทองเพื่อซื้อหามาใหม่ ไม่เหมือนกับของเล่นแบบโบราณที่เสียแล้วสามารถทำขึ้นมาใหม่หรือซ่อมได้ด้วยวิธีง่ายๆ และที่สำคัญไม่สิ้นเปลืองเงินทองเพราะใช้วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติในท้องถิ่น ประกอบกับแนวคิดดังกล่าวตรงกับความต้องการของ ผู้ปกครองหรือพ่อแม่เด็กที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในดำเนินวิถีชีวิตแบบภูมิปัญญาโบราณ อันสะท้อนความเป็นอยู่แบบพอเพียงและความปลอดภัยในตัวบุตรหลานจากวัสดุภัณฑ์ของเล่นที่ผลิตจากธรรมชาติ จึงเห็นพ้องและส่งเสริมให้เยาวชนหันมาอนุรักษ์และสืบทอดวิธีการทำของเล่นโบราณ กลุ่มคนเฒ่าคนแก ่บ้านป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นอีกกลุ่มหนึ่งในบรรดาผู้สูงวัยที่ไม่ปล่อยให้องค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของตนต้องโรยราล่วงลับไปกับสังขารและวันเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนทุนจากนักพัฒนาและองค์กรพัฒนาทางสังคมเพื่อการฟื้นฟูวิถีชีวิตในการต่อสู้กับระบบทุนนิยม กลุ่มบุคคลเหล่านี้จึงได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มสมาชิกประมาณ ๖-๑๐ คน ขึ้นมาเพื่อทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์และถ่ายทอดการทำของเล่น พื้นบ้านให้กับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และเล็งเห็นถึงคุณค่าความสำคัญของของเล่นพื้นบ้าน เพราะของเล่นเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและเครือญาติเข้าด้วยกัน โดยการดำเนินงานของกลุ่มดังกล่าว มีการผลิตของเล่นทั้งจากรูปแบบเดิมและปรับประยุกต์ด้วยการบูรณาการเข้ากับรูปแบบของเล่นสมัยใหม่ อาทิ บ่าข่างโหว้ บ่าข่างสะบ้า พญาลืมแลง พญาลืมงาย เต่ ากระต่ายวิ่ ง กำหมุน จานบิน โหวด อมรเทพ ครกมอง ควายกินหญ้า งูดูด คนตำข้าว กังหันลม โมบายกระดิ่งลม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการผลิตในรูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้า อาทิ ม้า-หมูไม้หนีบ ฮอกพวงกุญแจ กล่องใส่นามบัตร และของเล่นประดับโต๊ะทำงานแบบต่างๆ

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 61: cultural Identity of Chiangrai

ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีการจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์เล่นได้” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่เด็กและเยาวชนสามารถสัมผัสจับต้องของเล่นพื้นบ้านได้ทุกชนิด ทั้งการทดลองเล่น หรือทดลองทำด้วยตนเอง โดยมีผู้เฒ่าผู้แก่คอยสอนและแนะนำวิธีเล่นให้อย่างใกล้ชิด ของเล่นแต่ละชิ้นจะมีชื่อเรียก และคำอธิบายแบบง่ายๆ พอเข้าใจ ทั้งยังบอกความเป็นมา วิธีการใช้ และให้ความหมายที่มาก กว่าการเป็นเพียงของเล่นธรรมดาชิ้นหนึ่ง จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของความสุขจากการได้นำเอาภูมิปัญญามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสืบทอดองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญา พื้นบ้านจากประสบการณ์ของคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ให้คงอยู่สืบไป

วิถีชีวิตของชาวเชียงรายตั้งอยู่บนความเคารพนบน้อมจนกลายเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติสืบมา นับเป็นความโดดเด่นทางวัฒนธรรมที่ชี้ให้เห็นวิถีชีวิตการดำรงอยู่ของสังคมล้านนาจากอดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังถือเป็นระเบียบแบบแผนหรือขนบประเพณีอันเป็นเครื่องมือที่คอยควบคุมผู้คน เฉกเช่นสังคมอื่นๆ ทั่วไป แต่มีความพิเศษที่การแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะอันแสดงถึง “ศรัทธา” ต่อบุคคลนั้นๆ อย่างสูงยิ่ง

จากเครื่องสักการะล้านนา... สู่ภูมิปัญญาแม่อุ๊ยตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 62: cultural Identity of Chiangrai

ศรัทธา เป็นลักษณะคิดในคติความเชื่อของคนล้านนา ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม โดยมีส่วนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้คน และคอยควบคุมดูแลผู้คนให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมอันดีงามและแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ด้วยวิถีการปฏิบัติตามรอยบรรพชนและแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา จนเกิด อัตลักษณ์ในรูปแบบของการเคารพที่เป็นรูปธรรมด้วยการประดิดประดอยเป็นเครื่องสักการะอันวิจิตรงดงามตระการตา เครื่องสักการะล้านนา ประกอบด้วย พุ่มหมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นเทียน ต้นผึ้ง ต้นพลูและต้นดอก ถือเป็นหนึ่งในเครื่องพลีกรรมที่เริ่มมีใช้มาตั้งแต่ยุคสมัยพญามังราย ตามตำนานเล่าว่าใช้เป็นเครื่องประกอบ ยศของชนชั้นเจ้านายในสมัยโบราณ และใช้ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอีกด้วย ต่อมามีการปรับเข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีของคนล้านนาโดยอนุโลมให้ใช้ได้กับบุคคลที่ควรแก่การเคารพ เพื่อเน้นการแสดงออกถึงความศรัทธาเป็นหลัก เครื่องสักการะดังกล่าวนับเป็นงานศิลปกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวล้านนา โดยถ่ายทอดออกมาจากกระบวนการคิดและมุมมองที่เป็นพื้นบ้านผสมผสานกับความเชื่อ โดยแสดงผ่านพิธีกรรมและวิธีการสร้างผลงานทางศิลปะอันประณีต อีกทั้งมีนัยยะทางสถาปัตยกรรม ตำนาน และอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบ ปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมีผลทำให้รูปแบบวิถีปฏิบัติในวัฒนธรรม และจารีตประเพณีลดบทบาทหน้าที่ลงไป เป็นสาเหตุให้เกิดการดิ้นรนเพื่อการคงอยู่ทางวัฒนธรรมดังกล่าวของกลุ่มผู้มีใจอนุรักษ์ ดังการอนุรักษ์สืบทอดวิธีการทำเครื่องสักการะล้านนาประเภท พุ่มหมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นเทียน ต้นผึ้ง ต้นพลู และต้นดอก ของครอบครัวแม่อุ๊ยตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ บ้านสันโค้ง หมู่ ๑๕ ตำลบรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผลงานของท่านมีลักษณะพิเศษและแตกต่างไปจากที่อื่นๆ คือ การคิดค้นกรรมวิธีที่จะทำให้เครื่องสักการะ ดังกล่าวมีอายุการใช้งานที่คงทนถาวร เหมาะสำหรับการนำไปจัดแสดงเผยแพร่ในงานที่ต้องอาศัยระยะเวลา การจัดแสดงนานๆ ซึ่งเดิมเครื่องสักการะล้านนาประเภทนี้จะทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติที่เรียกว่า “เครื่องสด”

แต่ในความเป็นชิ้นงานที่ผลิตจากวัสดุสดใหม่นั้นมักจะมีอายุ การใช้งานไม่ยาวนานนัก นอกจากนี้ การจะได้ชมชิ้นงานแต่ละครั้งต้องอาศัยช่วงเทศกาล หรือโอกาสที่มีการประกอบพิธีกรรม เป็นสาเหตุให้องค์ความรู้เรื่องเครื่องสักการะประเภทดังกล่าวนี้ไม่ได้รับความสนใจมากเท่าที่ควร แต่ด้วยวิธีคิดอันชาญฉลาดของแม่อุ๊ยตุ่นแก้ว แสนเพ็ญและครอบครัวผู้เป็นปราชญ์ด้านเครื่องสักการะล้านนา ที่ได้เคยลองผิดลองถูก ในการคิดหาวิธีการยืดอายุการใช้งานของเครื่องสักการะ อาทิ การทำให้ดอกผึ้ง ซึ่งทำมาจากวัสดุเรียกว่า ขี้ผึ้งแผ่น ไม่บิดเบี้ยวเมื่อถูกความร้อนจากแสงแดด โดยสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานยิ่งขึ้น แม่อุ๊ยจึงได้คิดค้นเทคนิควิธีด้วยการผสมกาวลาเท็กซ์ลงในขี้ผึ้งที่กำลังต้ม ด้วยอัตราส่วนของกาว ๑ ช้อนโต๊ะ ต่อขึ้ผึ้งแผ่นน้ำหนักครึ่งกิโลกรัม จากนั้นจึงชุบพิมพ์ดอกขี้ผึ้งแล้วรอให้แห้งสนิท ตัวกาวลาเท็กซ์จะทำปฏิกิริยากับเนื้อขี้ผึ้งเกิดการแข็งตัวจากเนื้อกาวและขี้ผึ้ง เมื่อโดนแสงแดดขี้ผึ้งจะไม่อ่อนตัว เป็นต้น นับว่าเป็นวิธีการประยุกต์เพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงบทบาทการใช้สอยและการผลิตเครื่องสักการะล้านนาประเภทดังกล่าวนี้อย่างเหมาะสม และด้วยความคิดเชิงบูรณาการเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดเครื่องสักการะล้านนา แม่อุ๊ยตุ่นแก้วจึงได้รับการยกย่องในฐานะเป็นครูภูมิปัญญาระดับฝีมือช่าง และได้รับคัดเลือกให้เข้ารับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปี ๒๕๔๓ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นับเป็นความภาคภูมิใจของครอบครัวและวงศ์ตระกูลอย่างยิ่ง แต่สำหรับความรู้สึกของแม่อุ๊ยตุ่นแก้วรวมไปถึงนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีกหลายๆ ท่านแล้ว เกียรติยศชื่อเสียงที่ได้มานั้นถือเป็นรางวัลตอบแทนความเหน็ดเหนื่อยในการทำงานเพื่อสังคมเท่านั้น แต่รางวัล และ ความภาคภูมิใจที่แท้จริงของแม่อุ๊ย คือ วันนี้ลมหายใจขององค์ความรู้ และ ภูมิปัญญาแผ่นดินล้านนาด้านการจัดทำเครื่องสักการะประเภทพุ่มหมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นเทียน ต้นผึ้ง ต้นพลูและต้นดอก ได้รับการเผยแพร่ออกสู่สังคม วงกว้างให้รับรู้ถึงคุณค่าทางศิลปกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนาไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาดังกล่าวนี้ให้คงอยู่สืบต่อไป

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 63: cultural Identity of Chiangrai

ฟ้อนสาวไหม : จากลีลาการปั่นฝ้ายสู่ท่าฟ้อนอันงดงาม

ฟ้อนสาวไหม เป็นฟ้อนที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวล้านนาแต่โบราณที่เคยปลูกฝ้ายและทอผ้าใช้เองในครัวเรือน ลีลาของการดึงเส้นฝ้ายจากเครื่องปั่นฝ้ายจึงเป็นต้นกำเนิดของท่าฟ้อนที่อ่อนช้อยสวยงาม เป็นที่มาของชื่อเรียกฟ้อนชนิดนี้

ผู้เป็นต้นกำเนิดท่วงท่าการฟ้อนสาวไหม น่าจะเป็นสตรีเพศ ผู้ซึ่งเหมาะกับงานปั่นฝ้าย แต่กลับเป็นบุรุษเพศผู้มีนามว่า นายกุย

สุภาวสิทธิ ์ ศิลปินที่ปัจจุบันได้ล่วงลับไปแล้วผู้ถนัดฟ้อนเชิงและฟ้อนดาบ มีถิ่นฐานอยู่บ้านศรีทรายมูล หมู่ที่ ๑๑ ตำบลรอบเวียง อำเภอ

เมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งแต่เดิมเป็นชาวบ้านแม่คือ ตำบลแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นายกุยได้สืบทอดศิลปะการต่อสู้

แบบโบราณมาจาก พ่อครูปวน คำมาแดง ที่มีความชำนาญในลีลาการต่อสู้ทั้งเชิงและดาบโบราณ จนได้รับสมญานามว่า “ปวนเจิง”

นายกุย ได้ถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนแบบต่างๆ แก่หนุ่มสาวชาวบ้านศรีทรายมูล โดยมีบุตรสาวผู้สืบสายโลหิตโดยตรง คือ นางบัว

เรียว (สุภาวสิทธิ์) รัตนมณีภรณ์ ได้รับการถ่ายทอดวิชาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟ้อนสาวไหม ตั้งแต่เมื่ออายุ

ประมาณ ๗ ขวบ ซึ่ง นายกุย ได้ประดิษฐ์การฟ้อนที่นำเอากระบวนการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนาผสมผสานกับลีลาการฟ้อนเชิงของผู้ชาย

มาประดิษฐ์ท่ารำขึ้นเรียกว่า “ฟ้อนสาวไหม”

นอกจากจะได้รับการถ่ายทอดท่ารำแบบฟ้อนสาวไหมจากบิดาแล้ว นางบัวเรียวยังได้เรียนรู้และใกล้ชิดกับครูโม ใจสม ซึ่งมาจาก

อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเป็นผู้มีความชำนาญในด้านการฟ้อนแบบไทยเดิมและวงดนตรีปี่พาทย์ ครูโม ได้อาศัย

อยู่วัดศรีทรายมูล และมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูวงปี่พาทย์พื้นเมือง (วงเต่งถิ้ง) ให้กับคณะศรัทธาวัดศรีทรายมูล พร้อมกับถ่ายทอดนาฏ

ศิลป์ไทยประยุกต์ให้กับชาวบ้านที่นี่ด้วย ทุกครั้งที่มีงานเฉลิมฉลองต่างๆ วงปี่พาทย์วัดศรีทรายมูล ที่ควบคุมโดยครูโม ใจสม จะได้เข้าร่วม

งาน และบรรเลงเพลงลาวสมเด็จ เพื่อใหน้างบัวเรียว ฟ้อนสาวไหมประกอบ ซึ่งแต่เดิมนายกุย สุภาวสิทธิ์ ได้ใช้วงดนตรีสะล้อ ซึง บรรเลง

เพลงปราสาทไหวประกอบการฟ้อนดังกล่าว การฟ้อนสาวไหมพร้อมเพลงบรรเลงลาวสมเด็จสร้างความประทับใจแก่ผู้ชมทุกครั้ง จนกระทั่ง

คณะดนตรีและช่างฟ้อนวัดอื่นๆได้ยินเพลงลาวสมเด็จ ได้ชมการฟ้อนสาวไหมของนางบัวเรียวบ่อยขึ้น จึงนำเพลงลาวสมเด็จไปบรรเลงจน

กลายเป็นทางเพลงสาวไหมเชียงรายในปัจจุบัน ทำให้คณะดนตรีและช่างฟ้อนวัดศรีทรายมูลในยุคนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วจังหวัดเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 64: cultural Identity of Chiangrai

ปัจจุบันการฟ้อนสาวไหมต้นแบบกลายเป็น

เอกลักษณ์การฟ้อนของจังหวัดเชียงราย จึงถือได้ว่า

นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ เป็นศิลปินช่างฟ้อนพื้นบ้าน

ที่เป็นปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของจังหวัดเชียงราย จากการที่

เป็นต้นแบบในการฟ้อนสาวไหม และได้ถ่ายทอดให้

เยาวชนรุ่นหลังจนมีลูกศิษย์มากมาย ตลอดจนนำออก

แสดงเผยแพร่ไปทั่วทั้งแผ่นดินล้านนาและทั่วประเทศ

ไทย จนในที่สุด นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ได้จด

ลิขสิทธิ์ท่ารำ รวมทั้งประวัติความเป็นมาของการฟ้อน

สาวไหมต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งแต่วันที่ ๑๑

มิถุนายน ๒๕๔๒ ตามคำขอเลขที่ ๗๑๘๔ ชื่อผลงาน

“ฟ้อนสาวไหม” จึงอาจนับได้ว่า ฟ้อนสาวไหม เป็น

มรดกทางศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่ล้ำค่าอย่างหนึ่งที่น่า

ภาคภูมิใจของจังหวัดเชียงราย

พิณเปี๊ยะ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด จัดอยู่ในตระกูลพิณ มีจำนวนสาย ๒-๗ สาย แต่เดิมจะใช้ผลน้ำเต้าแห้งผ่าครึ่ง ต่อมาพัฒนามาเป็นกะลามะพร้าวแห้งผ่าครึ่ง ส่วนปลายที่ผูกสายนั้นเดิมทำด้วยไม้ แต่ภายหลังเปลี่ยนมาทำด้วยวัสดุอื่น เช่น เขาสัตว์ งาช้าง โลหะหล่อ หรือสำริด ส่วนคันทวนของพิณเปี๊ยะใช้ไม้เนื้อแข็ง ลักษณะของหัวเปี๊ยะมักแกะเป็นรูปหัวช้าง มีงวง มีหูกางเพื่อใช้เป็นที่พาดสายทั้ง ๒ ข้าง ส่วนปลายด้ามทำเป็นปลอกสำหรับเป็นที่เสียบแกนไม้

แปง โนจา : ศิลปินพิณเปี๊ยะ แห่งเมืองเชียงราย

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 65: cultural Identity of Chiangrai

ความอัศจรรย์ของพิณเปี๊ยะอยู่ที่วิธีการเล่น ซึ่งผู้เล่นต้องเปลือยกายท่อนบน การเล่นดนตรีชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับเพศชายเท่านั้น เพราะจะต้องใช้กล่องเสียงที่กลวงเปล่าแนบสนิทกับเนื้อส่วนหน้าอกเพื่อใช้กล้ามเนื้อบังคับเสียงให้ดังกังวานไพเราะ ซึ่งผู้เล่นก็จะต้องมีกล้ามเนื้ออกที่แข็งแรงเต็มสัดส่วนด้วยเช่นกัน นักวิชาการสันนิษฐานว่าพิณเปี๊ยะพัฒนามาจากพิณน้ำเต้าที่พวกพราหมณ์เป็นผู้ทำขึ้นเล่นก่อน เพื่อประกอบการสวดโองการต่อพระผู้เป็นเจ้าในลัทธิพราหมณ์ ต่อมาพราหมณ์ได้เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อประมาณพันกว่าปีมาแล้ว เครื่องดนตรีชนิดนี้จึงติดตามเข้ามาด้วย และปรากฏอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า ประเทศเขมร ภาคเหนือตอนบนของไทย ภาคอีสานใต้ของไทย แม้แต่ในกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฏหลักฐานยืนยันว่ามีการเล่นพิณเปี๊ยะมาก่อน ซึ่งในเอกสารโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก พเยีย บางเล่มเรียก เพลี้ย หรือ เพียะ แต่ชาวล้านนาจะออกเสียงว่า “เปี๊ยะ” ตามอักษรที่เขียน เพราะเสียง พ ในภาษาล้านนา ออกเป็น เสียง ป คนที่เล่นเปี๊ยะได้มักถูกมองว่ามีความสามารถที่ไม่ธรรมดา เพราะท่วงท่าต้องสง่างามสมชายชาตรีด้วย คนที่เล่นได้จึงมักนำมาประชันแข่งขันกัน การเล่นพิณเปี๊ยะไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำกล่าวที่ว่า “หัดเปี๊ยะสามปี หัดปี่สามเดือน” เป็นสำนวนที่บ่งบอกถึงความยากง่ายของ การเล่นพิณเปี๊ยะเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีประเภทปี่ที่ใช่ว่าจะฝึกฝนในระยะเวลาอันสั้นด้วยเช่นกัน เพราะต้องใช้เวลานานสามเดือนกว่าจะเป่าได้ แต่หากจะหัดเล่นพิณเปี๊ยะให้ได้ดีนั้นกลับใช้เวลานานกว่าอีก คือ ใช้เวลาถึงสามปี เนื่องจากในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหมดของล้านนา “พิณเปี๊ยะ” นับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากที่สุด การจะบรรเลงเพลงเปี๊ยะให้ไพเราะได้นั้น ต้องใช้เทคนิคและความชำนาญเป็นอย่างมาก ผู้หัดจำต้องมีพื้นฐานทางดนตรีที่ดีมาก่อน ในอดีตเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายของชาวล้านนา โดยเฉพาะบรรดาหนุ่มๆ ที่เล่นเพื่อเกี้ยวสาว และแสดง ความสมบูรณ์ผึ่งผายของกล้ามเนื้อส่วนอก แต่เมื่อเวลาผ่านไป เสียงเปี๊ยะในดินแดนล้านนาจึงเริ่มแผ่วเบาและเงียบหายไปเมื่อไร้ผู้สืบสาน จนเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงราย ได้สดับยินเสียงที่พลิ้วพรมกังวาน สงบ และสง่างามของเครื่องดนตรี ชนิดหนึ่งที่ประเทศเดนมาร์ก ด้วยความประทับใจ จึงสอบถามได้ความว่าเป็นเสียงของ “พิณเปี๊ยะ” ที่บรรเลงโดยวณิพกตาบอดคน หนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อกลับมาเมืองไทย จึงเริ่มติดตามหาวณิพกผู้นั้นแต่กลับไม่พบ จนในที่สุดก็ได้พบกับ อดีตศิลปินพิณเปี๊ยะ

พ่ออุ๊ยแปง โนจา ชายชราวัย ๘๐ ปี ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งขณะนั้นได้หันไปประกอบอาชีพจักสานประทังชีวิตและเลิกเล่นพิณเปี๊ยะมากว่า ๔๐ ปีแล้ว พิณเปี๊ยะชิ้นสุดท้ายของพ่อเฒ่าถูกถอดด้ามไป ทำมีด ส่วนหัวเปี๊ยะสูญหายไปนานแล้ว อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้สนับสนุนให้ พ่ออุ๊ยแปง โนจา ฟื้นฟูฝีมือการบรรเลงพิณเปี๊ยะพร้อมกับประดิษฐ์พิณเปี๊ยะตัวใหม่ขึ้นมาจากความทรงจำ เสียง พิณเปี๊ยะที่ เคยหลับใหล จึงตื่นขึ้นอีกครั้งบนผืนแผ่นดินเมืองเชียงราย กลายเป็นจุดกำเนิดใหม่ของตำนานแห่งคีตกาลเพลง พิณเปี๊ยะล้านนา พ่ออุ๊ยแปง โนจา เมื่อฟื้นฟูฝีมือบรรเลงเพลงพิณเปี๊ยะ จิตวิญญาณแห่งคีตกรได้กลับคืนมาอีกครั้งพร้อมเสียงพิณเปี๊ยะ ที่กังวานหวานก้อง จนกระทั่งชายชราได้มีโอกาสบรรเลงเพลง พิณเปี๊ยะถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา นับเป็นการฟื้นชีวิตและจิตวิญญาณพิณเปี๊ยะขึ้นอย่างเต็มภาคภูมิ ชายชราจึงได้ถ่ายทอดวิชาแก่ลูกศิษย์ผู้สนใจเรียนรู้การเล่นพิณเปี๊ยะกว่า ๕๐ คนทั่วประเทศ หนึ่งในนั้นเป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านภาคเหนือชื่อดัง คือ จรัล มโนเพ็ชร ที่ปัจจุบันล่วงลับไปแล้ว ด้วยผลงานดังกล่าว คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงเชิดชูเกียรติให้ พ่ออุ๊ยแปง โนจา เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) จนเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พ่ออุ๊ยแปง โนจา ได้ละสังขารจากโลกนี้ไปด้วยวัย ๙๓ ปี แม้เสียงพิณเปี๊ยะของพ่ออุ๊ยแปง จะเงียบหายไปเกือบ ๑๐ กว่าปีแล้ว แต่ทว่าบทเพลงจากจิตวิญญาณที่ถูกปลุกให้ฟื้นคืนชีพโดยศิลปินพิณเปี๊ยะแห่งเมืองเชียงราย นามว่า แปง โนจา ยังคง แว่วหวานกังวานก้องอยู่บนผืนแผ่นดินล้านนาอย่างไม่มีวันจางหาย

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 66: cultural Identity of Chiangrai

ทัศนศิลป์และแหล่งเรียนรู้ศิลปะร่วมสมัย

เชียงราย จังหวัดเหนือสุดแดนสยาม เป็นดินแดนที่พรั่งพร้อมบริบูรณ์ด้วยธรรมชาติอันสวยงาม อบอุ่นอยู่ในอ้อมกอดของขุนเขา และอบอวลด้วยกลิ่นอายแห่งบุปผาปาริชาติ มีตลาดการค้าสุดชายแดนที่มีสินค้านานาชนิดของสามประเทศ คือ ไทย พม่าและจีน วิถีชีวิตของผู้คนในเมืองนี้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติ และ โลดแล่นไปตามครรลองธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ด้วยปัจจัยเหล่านี้เองจึงเป็นสิ่งบ่มเพาะหล่อหลอมให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งศิลปินผู้รักถิ่นกำเนิด และสร้างสรรค์งานศิลปะอันลือเลื่องออกสู่สังคมอย่างไม่ขาดสาย ศิลปินชาวเชียงรายที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศและระดับโลก ยังคงยึดมั่นในการรังสรรค์ผลงานศิลปะอยู่ใน ภูมิลำเนาเดิมอย่างเหนียวแน่น ดังศิลปินอาวุโสที่ลือนามท่านนี้ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรม ผู้อาศัยอยู่ที่บ้านดำ ตำบลนางแล อำเภอเมือง อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้ปักหลักอยู่ดูแลการสร้างวัดร่องขุ่น ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง นอกจากนี้ ยังมีบรรดาศิลปินชั้นครูในแขนงต่างๆ อาทิ อาจารย์ฉลอง พินิจสุวรรณ จิตรกรชื่อดังแห่งหอศิลป์ไตยวน ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง อาจารย์สมลักษ์ ปันติบุญ ประติมากรเจ้าของผลงานการออกแบบเซรามิคอันเลื่องชื่อที่ดอยดินแดง ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง อาจารย์นริศ รัตนวิมลช่างปั้นและแกะสลักหินอันวิจิตรแห่งลุ่มน้ำสาย อำเภอแม่สาย เป็นต้น ศิลปินผู้มีชื่อเสียงดังกล่าวยังได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้านทัศน์ศิลป์พร้อมจัดแสดงผลงานและสถานที่ทำงานของตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะร่วมสมัยแก่สังคมเชียงรายอีกด้วย ดังแหล่งแสดงผลงานที่มีชื่อต่อไปนี้

อาจา

รย์ถวัล

ย์ ดัชน

อาจา

รย์ฉล

อง พ

ินิจสุว

รรณ

อาจา

รย์เฉ

ลิมชัย

โฆษิต

พิพัฒ

น์

อาจา

รย์สม

ลักษณ

์ ปันต

ิบุญ

อภิรัก

ษ์ ปัน

มูลศิล

ป์

นริศ

รัตนว

ิมล

พาน

ทอง

แสงจ

ันทร์

พรห

มมา

อินยา

ศรี

เสงี่ย

ม ยา

รังสี

ทรงเดช

ทิพย์ท

อง

สมพล

ยารัง

ษี

�1

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 67: cultural Identity of Chiangrai

วัดร่องขุ่น ศิลปะสถาปัตยกรรมสีขาวที่รังสรรค์ขึ้นโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

ผู้เป็นทั้งจิตรกรและสถาปนิก อาจารย์เฉลิมชัย เป็นศิลปินที่มีผลงานจิตรกรรมไทย

โดดเด่นระดับชาติ จากการเขียนภาพวิถีชีวิตชาวพุทธมุ่งสู่การปฏิบัติธรรมบังเกิดเป็น

ภาพนิมิตที่วิจิตรงดงามอ่อนช้อย มีรูปแบบเฉพาะของตัวเอง ทั้งเส้นสี ลวดลาย รูปทรง และ

บรรยากาศของงานจิตรกรรมไทยรูปแบบใหม่ ผลงานชุดนี้เป็นแรงบันดาลใจและที่มาของรูปลักษณ์ลาย

ปูนปั้น รวมทั้งรูปทรงโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม จากพื้นฐานด้านงานจิตรกรรมอาจารย์เฉลิมชัย

ได้สร้างวัดร่องขุ่นขึ้นราวกับเนรมิตจิตรกรรมจากนามธรรมให้บังเกิดเป็นรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้

สถานที่แห่งนี้จึงเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมหลายด้าน ทั้งการออกแบบสถาปัตยกรรม ประติมากรรม

จิตรกรรม การตกแต่งวางผังภูมิสถาปัตย์ ผลงานชิ้นสำคัญนี้คือความเป็นศิลปสถานในยุคปัจจุบัน

ที่สะท้อนรูปลักษณ์ศิลปะสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเชียงราย

บ้านดำนางแล แหล่งเรียนรู้ศิลปะสถานของ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ตั้งอยู่

ที่ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จั งหวัด เชียงราย มีลักษณะเป็นกลุ่มงาน

สถาปัตยกรรมที่เน้นสีดำเป็นหลักสะท้อนถึงวิถีแห่งตะวันออกที่ขรึมขลังเต็มไปด้วย

ความหมายอันลุ่มลึก บ้านดำของ อาจารย์ถวัลย์ แสดงผลงานศิลปกรรมที่หลากหลาย

ภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียว เช่นเดียวกับบุคลิกภาพที่มีอัตลักษณ์อย่างเด่นชัดของศิลปินท่านนี้ ผลงาน

สถาปัตยกรรมแต่ละชิ้นเป็นงานจิตรกรรมที่แสดงออกทั้งสีและรูปทรง ราวกับวัตถุสะสมที่ซ่อนเรื่องราวไว้ให้

ผู้พบเห็นได้ขบคิดและตีความ การวางผังอาคารแบบแปลกตามีรูปทรงและโครงสร้างแตกต่างกันทั้ง ๓๖ หลัง

แสดงถึงความกลมกลืมและเชื่อมต่อ อันล้วนแสดงออกถึงจิตวิญญาณของศิลปินผู้สร้างสรรค์

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 68: cultural Identity of Chiangrai

9 art gallery ของ สมพงษ์ สารทรัพย์ จากประสบการณ์ที่ได้รับเชิญไปแสดง

นิทรรศการเดี่ยวในต่างประเทศหลายครั้ง ทำใหส้มพงษไ์ด้แนวคิดการสร้างห้องแสดงศิลปะ

สมัยใหม่ที่เรียบง่าย เน้นพื้นที่ใช้สอยให้ผลงานศิลปกรรมแสดงออกโดดเด่นเต็มศักยภาพ

แล้วนำประสบการณ์เหล่านั้นมาออกแบบสร้าง 9 art gallery ขึ้นเพื่อจัดแสดงผลงานศิลปะหมุนเวียน

ให้กับศิลปินท้องถิ่น ศิลปินชาวไทยและศิลปินต่างชาติ เป็นการเปิดประตูเชื่อมให้คนดูกับคนทำงาน

ศิลปะมาพบกัน เกิดการศึกษาเรียนรู้ ลดช่องว่างความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนทัศนะ อันจะก่อให้เกิด

พัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า โดยมีการจัดแสดงศิลปกรรมที่หลากหลายต่อเนื่องทุกเดือน

หรือประมาณ ๑๐ ครั้งต่อปี

หอศิลป์ไตยวน ของ อาจารย์ฉลอง พินิจสุวรรณ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จากแนวคิดของ

อาจารย์ฉลอง พินิจสุวรรณ จิตรกรชาวเชียงรายผู้มีผลงานโดนเด่นด้วยเทคนิคการวาดเส้นด้วยปากกาลูกลื่น

ที่ต้องการสร้างสมบัติชิ้นสุดท้ายไว้เป็นอนุสรณ์ อาคารหอศิลป์มีลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาร่วมสมัย ๒ ชั้น ชั้นล่างจัดแสดงผลงาน

ของอาจารย์ฉลองและเพื่อนศิลปิน มีทั้งภาพคน ภาพวิถีชีวิต ภาพเกี่ยวกับศาสนา รวมถึงภาพที่ให้แง่คิดต่างๆ อาทิ ภาพใบหน้าพระ

ซึ่งสื่อให้เห็นถึงความสว่างและสงบเย็นท่ามกลางสังคมที่กำลังวุ่นวาย เป็นต้น ผลงานของอาจารย์ฉลอง ทั้งหมดวาดขึ้นด้วยปากกาลูกลื่น

อันมีเอกลักษณ์ของงานอยู่ที่การใช้ปากกาลูกลื่นฝนจุดให้เป็นวงกลมเล็กๆ ในการสร้างรูปแทนการใช้ปากกาลากเส้นวาดให้

เกิดภาพ ความยากของการวาดภาพด้วยปากกาลูกลื่นนั้นอยู่ที่การลงน้ำหนักของภาพให้ดูมีมิติ อีกทั้งยังต้องใช้สมาธิสูง เพราะการใช้

ปากกาวาดไม่สามารถลบได้ หากมีข้อผิดพลาดย่อมหมายถึงงานชิ้นนั้นต้องเสียไป นอกเหนือจากจิตรกรรมวาดเส้นแล้ว อาจารย์ฉลอง

ยังสร้างสรรค์ผลงานการแกะสลักไม้ควบคู่ไปกับการเขียนหนังสือ ซึ่งทำได้ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่างานด้านจิตรกรรม

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 69: cultural Identity of Chiangrai

เครื่องปั้นดินเผา ดอยดินแดง เป็นโรงงานและศูนย์แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ของอาจารย์สมลักษณ์ ปันติบุญ ศิลปินประติมากรรมเซรามิคอันลือชื่อ หลังจากสำเร็จการศึกษาด้านศิลปะจากวิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพเชียงใหม่ เขาได้เดินทางไปศึกษาเพิ่มเติมกับปรมาจารย์ด้านเครื่องปั้นดินเผาที่ประเทศญี่ปุ่นนานถึง ๔ ปี เครื่องปั้นดินเผาของสมลักษณ์ มีความเด่นชัดในเรื่องของการสร้างรูป หรือลดทอนรูปทรง ซึ่งทั้งหมดเกิดจากทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะที่สั่งสมมา ด้วยผลงานเครื่องปั้นดินเผา ต้องผ่านกระบวนการ และเวลาหลายขั้นตอน ศิลปินต้องมีประสบการณ์มายาวนานจนช่ำชอง นับตั้งแต่การเตรียมดิน การขึ้นรูป การเผาครั้งแรก เคลือบแล้วผาครั้งที่สอง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับทักษะการคำนวณระยะเวลาให้พอดี อดทนรอคอยกว่าจะได้ผลงานที่มีคุณค่าทางศิลปะ ซึ่งสอดคล้องกับอุปนิสัยของสมลักษณ ์ ที่สุขุม รอบคอบ หากแต่หนักแน่นฉับไวในการลงมือ ความงามของผลงานเครื่องปั้นดินเผาแต่ละชิ้นของสมลักษณ์จึงล้วนเกิดจากกระบวนการคิดและการรอแทบทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะนี้ทำให้เกิดสถาปัตยกรรม ดอยดินแดงที่ลงตัว กลมกลืนกับวิถีชีวิต จากดินที่ถูกหมักผ่านเข้าสู่โรงงานจนถึงห้องแสดงล้วนเชื่อมโยงกัน สถานที่เรียบง่ายแต่ลุ่มลึก ในกระบวนการคิด การออกแบบเหมาะแก่การศึกษาเรียนรู้มากกว่าจะเป็นเพียงถ้วยชามที่รองรับการใช้สอยเท่านั้น

หอศิลป์บ้านนายพรหมมา อินยาศร ี สถานที่ที่เป็นทั้งบ้าน ห้องแสดงผลงงาน

ศิลปะและห้องทำงาน พรหมมา จบการศึกษาทางด้านประติมากรรม หากแต่ผลงาน

ส่วนใหญ่ของเขานำเสนอออกมาในรูปของงานจิตรกรรม ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับพรหมมา

คือภาพโลหะปราสาท ซึ่งเป็นลักษณะงานแบบจิตรกรรมไทยประเพณี มีความโดดเด่นในแบบ

อาคารพุทธศิลปะสถาน โลกแห่งจินตนาการที่มีมิติ เหมือนดังจะสัมผัสได้ โดยมีที่มาจากพื้นฐานความรู้

ด้านประติมากรรมที่ เขาศึกษา ประติมากรมักมองเห็นสรรพสิ่งมีมวลสาร มีด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง

งานจิตรกรรมของเขาจึงเหมือนมีมิติ มีความลึกดุจการมองทะลุผ่านหน้าและหลัง สามารถถอดแบบสร้างเป็น

สถาปัตยกรรมจริง

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 70: cultural Identity of Chiangrai

ห้องแสดงผลงงานของอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ จากประสบการณ์ที่ได้ทัศนาทิวทัศน์เมื่อครั้งขับขี่จักรยานยนต์พร้อมเพื่อนสามคนเดินทางมายังจังหวัดเชียงราย ทำให้นักศึกษาศิลปะจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประทับใจกับสีสันของดอกไม้  และเทือกเขาที่สลับซับซ้อนทึบทะมึนทอดยาวสุดสายตาของดอยแม่สลอง เขาจึงตัดสินใจขึ้นมาเขียนรูปและใช้ชีวิต ณ สถานที่แห่งนี้ ปัจจุบัน อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ศิลปินแนวอิมเพรสชันนิสม์ ผู้ที่หลงใหลในความงดงามของธรรมชาติ ได้ตัดสินใจปลูกบ้านและสร้างหอศิลป์บนผืนดินที่โอบล้อมด้วยทุ่งนาและขุนเขา ณ บ้านใหม่พัฒนา อำเภอแม่จัน ทางแยกขึ้นดอยแม่สลอง เพื่อปักหลักเขียนรูปอย่าง เอาจริงเอาจัง ถ่ายทอดความประทับใจต่อภูมิทัศน์และความเป็นไปของธรรมชาติและแสงแดดที่ส่องผ่านวันเวลา อันเป็นอิทธิพลของการเขียนงานจิตรกรรมแนวอิมเพรสชันนิสม์ที่มีรากฐานจากการปฏิวัติจิตรกรรมสมัยใหม่ในฝรั่งเศส งานของเขาจึงมักเขียนขึ้นจากสถานที่จริง เน้นความงามอันเกิดจากเส้นสีและฝีแปรงที่ปาดป้ายฉับไว จึงไม่น่าแปลกที่ทำให้เขาสามารถระบายผืนผ้าใบให้กลายเป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่สื่อถึงความงามของภูเขา ดอกไม้และท้องทะเลอย่างติดตาด้วยสีสันสดใสเคลื่อนไหวเสมือนจริง สร้างความสุขให้แก่ผู้ได้ชมผลงานของเขาอย่างเต็มเปี่ยม

บ้านวาดรูปของเสงี่ยม ยารังษี จากขุนเขาดอยแม่สลอง เสงี่ยม ยารังสี จิตรกรแนวอิมเพรสชันนิสม์

ผู้หลงใหลในความเป็นไปของธรรมชาติ ได้ย้ายถิ่นฐานสู่ท้องทุ่งตำบลนางแล จังหวัดเชียงราย เพื่อ

สร้างบ้านและห้องแสดงผลงานศิลปะบนผืนดินที่แวดล้อมด้วยทุ่งนาโล่งกว้าง ผลงานของ

เสงี่ยม แต่ละชิ้น เกิดจากความประทับใจในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งขุนเขา ป่าไม้

และดอกไม้ในท้องที่ต่างๆ ถูก นำมาแต่งแต้มแสงสีอย่างฉับไวส่งผ่านอารมณ์ความรู้สึก

สู่ผู้ชมราวกับได้เข้าไปสัมผัสกลิ่นอายและบรรยากาศของสถานที่นั้นด้วยตนเอง

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 71: cultural Identity of Chiangrai

ห้องแสดงผลงาน ทรงเดช ทิพย์ทอง ลูกหลานชาวเชียงราย ที่เติบโตขึ้นมาในสังคม

ชนบทอันสงบงาม ได้คลุกคลีกับญาติผู้ใหญ่ที่พาเข้าไปสัมผัสความสงบร่มเย็นของพุทธศาสนา

มาแต่ครั้งเยาว์วัย ทำให้หลังจบการศึกษา มหาบัณฑิตด้านจิตรกรรมไทยจากรั้วมหาวิทยาลัย

ศิลปากร ได้กลับมาสร้างสรรค์ผลงานที่บ้านเกิด ณ บ้านแม่คำสบเปิน อำเภอแม่จัน เขาตัดสินใจเลือก

ทางเดินชีวิตในการเป็นจิตรกรที่ถ่ายทอดความคิดและจิตใจผ่านปลายพู่กันลงบนผืนผ้าใบ โดยมุ่งมั่น

ที่จะรังสรรค์จิตรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนามาโดยตลอด ผลงานศิลปะของเขามักสื่อถึงความสงบ

เรียบง่ายผ่านลายเส้นอันอ่อนโยนและสีสันที่ละมุนละไม ทั้งบรรยากาศและลวดลายที่ขีดเขียนลงไปล้วน

มีรากฐานมาจากลายศิลปะพื้นเมืองแห่งล้านนา ศิลปะสถานในงานของเขาคล้ายจะลอยเลื่อนอยู่เหนือ

ม่านหมอกแห่งฤดูหนาว อบอุ่นและอิ่มเอม ปิติและละเมียดละไม เรียบง่ายแต่งดงามเกินคำบรรยาย

แกะสลักหิน นริศ รัตนวิมล ประติมากรผู้มองเห็นความนุ่มนวลของ

ก้อนหินอันแข็งแกร่ง นริศเกิดที่เชียงราย กว่า ๓๐ ปี หลังจากที่เขาจบการศึกษาจาก

วิทยาลัยเพาะช่างกรุงเทพ เขาได้กลับบ้านเกิดเพื่อรังสรรค์ผลงานการแกะสลักหิน โดยมาก

เป็นงานประติมากรรมแนวพุทธศิลป์ เขาบรรจงแกะสลักหินแต่ละก้อนที่มีน้ำหนักอันยาก

จะเคลื่อนย้ายได้รังสรรค์ให้เป็นพระพุทธปฏิมา อันมีนัยของมหาบุรุษผู้ปลาสนาการจาก

อาสวะกิเลสทั้งปวงได้อย่าง สงบงดงาม นริศ ได้สร้างโรงแกะสลักหินของเขาที่อำเภอแม่สาย

พร้อมกับจัดห้องแสดงผลงานเป็นอาคารสถาปัตยกรรมแบบล้านนาร่วมสมัยที่เรียบง่าย ขับเน้นให้

ผลงานที่จัดแสดงลอยตัวอย่างเด่นชัด สถานที่แห่งนี้จึงเป็นอีกแห่งหนึ่งในดินแดนเหนือสุดของสยามที่เหมาะ

แก่การเยี่ยมชมเพื่อเก็บความประทับใจก่อนเดินทางกลับบ้าน

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

�1

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 72: cultural Identity of Chiangrai

Phanthong Art Studio พานทอง แสงจันทร์ ศิลปินผู้มีถิ่นกำเนิดที่อำเภอพาน ดินแดนที่ก่อกำเนิดศิลปินน้อยใหญ่

จากอดีตถึงปัจจุบัน พานทองสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย โดยยึดโยงแนวคิดและหลักธรรมทางพุทธศาสนามาเป็น

แรงบันดาลใจ เกิดเป็นผลงานแนวพุทธศิลป์ใหม่ในความหมายแบบปัจจุบันสมัย งานของพานทองโดดเด่นด้วยการสลัดสี

ให้กลายเป็นหิน หรืออาจกล่าวได้ว่าเขาสามารถแสดงให้เห็นถึงรูปลักษณ์งานประติมากรรมผ่านผืนผ้าใบได้

อย่างงดงาม งานส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวของพุทธรูป โดยเน้นแสงเงาที่ทำให้ภาพเกิดมิติอันขรึมขลัง สะท้อนถึง

ร่องรอยแห่งการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งอันเป็นหลักธรรมอันเที่ยงแท้ในพุทธศาสนา ห้องทำงานและสถานที่

จัดแสดงผลงานของเขาแยกส่วนออกมาจากบ้านพักอาศัย เป็นอาคารโล่ง เน้นพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก

สถานที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งพบปะของสมาชิกศิลปินเมืองพาน และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะอีกแห่งหนึ่งใน

เชียงรายที่พร้อมต้อนรับผู้สนใจงานศิลปะเข้ามาเยี่ยมชม

บ้านและห้องทำงานของ สมพล ยารังษี ศิลปินชาวเชียงราย แห่งเวียงกาหลง ผู้ที่

หลงใหลในความงามของดอกไม้ ตลอดระยะเวลา ๓๐ ปี บนเส้นทางศิลปะของชายผู้นี้ไม่เคย

เปลี่ยนใจไปวาดภาพอื่นใด นอกจากดอกไม้นานาพันธุ์ โดยเฉพาะดอกไม้สายพันธุ์ล้านนา

ที่มีอยู่ในท้องถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย สมพลทำงานในแนวเรียลลิสติค หรืองานแบบ

เหมือนจริง ภาพวาดของเขาดูเหมือนสมจริงในกลีบสีของดอกไม้, ใบไม้, ต้นไม้ และ

ขุนเขา รายละเอียดทุกส่วนซ่อนแสดงอยู่ในภาพร่วมของบรรยากาศแบบล้านนาที่สงบนิ่ง

อบอุ่น ดอกไม้จากหัวใจผ่านปลายพู่กันมาสู่ผืนผ้าใบจึงเป็นความงดงามที่อิ่มเอม

ต่อสายตาของผู้ที่พบเห็น

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 73: cultural Identity of Chiangrai

ฉลอง พินิจสุวรรณ. สล่าพื้นบ้านพื้นเมือง. เชียงราย : อินเตอร์พริ้นท์. ๒๕๔๖ ชาญคณิต อาวรณ์. “ช่างในวัฒนธรรมล้านนา : จากหลักฐานจารึกและเอกสารทางประวัติศาสตร์” ศิลปากร ปีที่ ๕๑ ฉบับที่ ๒ มีนาคม – เมษายน, ๒๕๕๒. เธียรชาย อักษรดิษฐ์. “ชุธาตุ : บทบาทและความหมายของพระธาตุในอนุภูมิภาคอุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อเรื่องพระธาตุ ประจำปีเกิดในล้านนา,”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, ๒๕๔๕. ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์. “เปี๊ยะ : เด็งพันเมาแห่งล้านนาไทย”. ใน แปง โนจา ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (พิณเปี๊ยะ) ๒๕๓๖. หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพนายแปง โนจา : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ๒๕๓๘. รัตนาพร เศรษฐกุล. หนึ่งศตวรรษเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคเหนือ พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์, ๒๕๔๗. เลหล้า ตรีเอกานุกูล และ จุไรรัตน์ วรรณศิริ. “การดำรงอยู่ของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไตหย่าในประเทศไทย : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย”. การประชุมวิชาการเนรศวรวิจัยครั้งที่ ๖. ๒๙-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓. วรลัญจก์ บุณยสุรตัน์. วิหารล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๔. วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร (บก.), เชียงรายรำลึก ศิลปะและศิลปินเพื่อหอศิลป์เชียงราย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, ๒๕๔๗. วิถี พานิชพันธ์. ศิลปะเครื่องเขินในล้านนา. เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๔. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะเมืองเชียงแสน : วิเคราะห์งานศิลปกรรมร่วมสมัยกับหลักฐานทางโบราณคดีและเอกสารทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา, พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๒. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ หริภุญชัย – ล้านนา, พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๙. สุรพล ดำริห์กุล. แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๕. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย, ข้อมูลภูมิปัญญา ด้านงานช่างฝีมือพื้นบ้าน โครงการภูมิบ้านภูมิเมือง (เอกสารอัดสำเนา) มปท, มปพ.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. โบราณวัตถุ – โบราณสถาน ในวัดล้านนา. เชียงใหม่ : แสงศิลป์, ๒๕๔๙. อุดม รุ่งเรืองศรี. วรรณกรรมล้านนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.), ๒๕๔๖.

ข้อมูลอ้างอิง ศิลปกรรมเชียงราย : ความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา

เชียงรายเคยเป็นเมืองเก่าแก่ที่รุ่มรวยด้วยศิลปะ วัฒนธรรมและมรดกทางภูมิปัญญาอันหลากหลาย และ

ทรงคุณค่า สำหรับด้านกายภาพนั้น ตัวอาคารหลายแห่งในเมืองเชียงรายแสดงถึงความมีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่

โดดเด่น ดังลักษณะของสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงจากยุคเก่าสู่ยุคใหม่มากที่สุดคือ “อาคารสาธารณะ”

ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นเมืองเก่าแก่ไปสู่รูปแบบของจังหวัดตามการแบ่งเขตการปกครองของรัฐบาลกลาง

ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่สำคัญคือ โบสถ์คริสต์จักรที่ ๑ เวียงเชียงราย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย (หลังเก่า)

อันเป็นสถาปัตยกรรมที่เชื่อกันว่าเป็นผลงานการออกแบบของ ดร.บริกส์ มิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนารุ่นแรกๆ

ในเมืองเชียงราย โดยนำเอาสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเข้ามาพร้อมกับลัทธิความเชื่อทางศาสนา

สถาปัตยกรรมอีกแบบที่แปลกตาออกไป คือ ที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเวียงป่าเป้า ถือเป็นอาคารแบบ

ตะวันตกอีกหลังหนึ่งที่มีลักษณะหลังคาหน้าจั่ว ด้านหน้าปรากฏสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญสร้างจากไม้แกะสลัก พร้อมกับ

มีข้อความบอกไว้ว่า “รัฐธรรมนูญสถิตสถาพร” สะท้อนถึงแนวคิดการสร้างความเป็นรัฐชาติ และเอกภาพความเป็นไทย

ภายใต้นโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน เชียงรายได้ปรับตัวเข้าสู่ความเป็นเมืองแห่งศิลปิน โดยมีการสร้างงานศิลปกรรมร่วม

สมัยที่ปรับเปลี่ยนจากแนวความคิดเดิมทั้งในงานพุทธศิลป์และงานศิลปะแขนงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานศิลปหัตถกรรม

ที่แสดงเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ได้ถูกนำมาผลิตซ้ำเพื่อรองรับความเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยรวมทั้งมีการสร้าง

พื้นที่ของสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขึ้น

นอกจากนี้ สังคมเชียงรายในยุคปัจจุบันยังมีความตื่นตัวในการพยายามศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางศิลปกรรมเพื่อ

ถ่ายทอดในรูปแบบของหลักสูตรการเรียนรู้ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ขณะเดียวกันก็ปรากฏกลุ่มคนที่ทำหน้าที่

ในการอนุรักษ์ รวมทั้งเกิดกลุ่มประยุกต์ศิลปกรรมเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน เช่น การปั้นปูนแบบโบราณประดับอาคารทาง

ศาสนา การผลิตเครื่องเขินในรูปแบบใหม่ และการนำลวดลายแบบล้านนาไปดัดแปลงตกแต่งเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า

ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนางานศิลปกรรมเพื่อนำไปต่อยอดกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย เชียงรายจึงยังคง

ความเป็นเมืองที่มีความงดงามทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาอยู่มิเสื่อมคลาย กลายเป็นมนต์เสน่ห์ที่ชวนให้ผู้คน

หลงใหลและอยากมาชื่นชมเมืองนี้อยู่ทุกช่วงเทศกาล

“...๗๕๐ ปีแห่งงานศิลปกรรมเมืองเชียงราย จากอดีตกาลที่ผ่านเลย แม้จะเปลี่ยนยุคสมัยกว่าเจ็ดร้อยปี

หากเชียงราย ยังคงเฉิดฉายด้วยอลังการงานศิลปะอันวิจิตร กลายเป็นเมืองแห่งศิลปินที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เรืองรุ่งและร่าย

รำบนเส้นทางแห่งทุนทางวัฒนธรรม เพื่อสืบทอดวาทกรรมวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงอย่างสง่างามทุกราตรี...”

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 74: cultural Identity of Chiangrai

นางก๋องจั่ง ลือชา บ้านเลขที่ ๘/๒ หมู่ที่ ๑ หมู่บ้านท่าข้าม ต.ท่าข้าม อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย นายแก้ว ดวงเกตุ บ้านเลขที่ ๑๓๗ หมู่ ๑๗ ต.เมืองพาน อ.พาน จ. เชียงราย นายทัน ธิจิตตัง บ้านเลขที่ ๙๗ หมู่ที่ ๓ ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย นางตุ่นแก้ว แสนเพ็ญ บ้านเลขที่ ๓๖๒/๑ หมู่ที่ ๑๕ ถ.สันโค้งหลวง ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย นางบัวคลี่ ฟูกัน บ้านลขที่ ๔๖๕ หมู่ ๑๓ บ้านศรีดอนมูล ตำบลศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย นางบุญโยน สภาชนะ บ้านเลขที่ ๒๖ บ้านร่องปลายนา หมู่ที่ ๑๑ ต.บัวสลี อ.แม่ลาว จ.เชียงราย นางบัวคลี่ ฟูกัน บ้านลขที่ ๔๖๕ หมู่ ๑๓ บ้านศรีดอนมูล ตำบลศรีดอนมูล อ.เชียงแสน จ.เชียงราย นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ บ้านเลขที่ ๔๕/๑ ม. ๑๑ บ้านศรีทรายมูล ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย นางปี๋ ราชคมน์ บ้านเลขที่ ๗๐ หมู่ ๖ บ้านส้นไม้ฮาม ต. แม่เย็น อ.พาน จ.เชียงราย นางแว่นแก้ว ภิรมย์พลัด หมู่ที่ ๑๔ บ้านศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย นางศรีวรรณ ยาวิเลิง บ้านเลขที่ ๓๐ หมู่ ๑ บ้านท่าข้าม อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย นายแสง เชื้อเมืองพาน บ้านเลขที่ ๑๒๑ ซอย ๑ หมู่ ๑๗ ต.ม่วงคำ อ.พาน จ.เชียงราย

สัมภาษณ์

ตอนที่ 5 : ลือเลื่องงานศิลป์

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 75: cultural Identity of Chiangrai

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

ชาวเชียงราย

Page 76: cultural Identity of Chiangrai

อาหารพื้นบ้านของคนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย มีเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมวิถีชีวิตความ

เป็นอยู่ที่เรียบง่าย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติล้วนเป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศ เพราะ

คนพื้นเมืองนิยมนำพืชผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาทำอาหาร เช่น แกงแค แกงล่วง แกงปลี ตำบ่าหนุน

ผักกาดจอ อาหารบางชนิดมีขั้นตอนการทำที่ซับซ้อนและใช้เครื่องปรุงหลายประเภท เช่น การทำลาบ

ซึ่งแสดงถึงความเอาใจใส่ ความพิถีถันในการปรุงอาหาร ทำให้ได้อาหารที่มีรสชาติกลมกล่อม ได้ความ

หวานจากผัก มีกลิ่นหอมของเครื่องเทศที่เป็นสมุนไพร อาหารแต่ละจานที่ปรุงขึ้นจึงล้วนมีคุณค่าทางยา

มีประโยชน์ต่อร่างกาย

อาหารท้องถิ่นเชียงรายมักจะมีรสอ่อน ไม่นิยมใช้น้ำตาลปรุงรส เพราะได้ความหวานจากพืชผักสด

ตามธรรมชาติ ไม่นิยมใช้เครื่องเทศและกะทิในอาหารประเภทแกง วิธีการปรุงมีหลายวิธี ได้แก่ แกงจอ

ส้ายำเจียวปิ้งคั่วตำเป็นต้น

หัวใจของรสชาติอาหารเชียงราย คือน้ำปู๋ และถั่วเน่า น้ำปู๋ใช้ปรุงอาหารเช่นเดียวกับกะปิหรือ

ปลาร้าทำจากปูนานำมาโขลกกรองเอาแต่น้ำโขลกข่าตะไคร้เกลือแล้วเคี่ยวพร้อมกันจนข้นคล้ายกะปิ

เก็บไว้ได้นาน ส่วนถั่วเน่าทำจากถั่วเหลืองหมัก ปรุงรสด้วยเกลือ มีทั้งถั่วเน่าแข็บ (แบบแห้ง)

และถั่วเน่าเมอะ (ถั่วเน่าเปียก)ถั่วเน่าถือเป็นเครื่องปรุงรสสำคัญของน้ำพริกและกับข้าวต่างๆนอกจากนี้

รสชาติอาหารยังมาจากการใช้ข้าวคั่ว ปลาร้าและเครื่องเทศซึ่งเครื่องเทศจะแตกต่างจากภาคอื่น คือ

มะแขว่น(ใส่ลาบ)และมะแหลบ(ใส่แกงอ่อมเนื้อ)

ชาวเชียงรายมีภูมิปัญญาและประสบการณ์ในการเลือกผักพื้นบ้านที่มีความหลากหลาย

ในแต่ละฤดูกาลเพื่อนำมาประกอบอาหารบริโภค เช่น ฤดูร้อน นิยมบริโภคแกงผักเชียงดา

ซึ่งถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ เป็นไม้เถามีอายุยืนทนแล้งได้ดีแตกยอดตลอดปี

แต่ช่วงหน้าแล้งยอดผักเชียงดาอร่อยที่สุด พืชผักที่ผลิใบอ่อนในช่วงฤดูร้อน เช่น

ดอกครั่ง ดอกปู่ย่า ผักขี้ติ้ว ยอดมะม่วง นิยมนำเอาผักเหล่านี้มาส้า เช่น

ส้าผักแพะ ส่วนในฤดูฝนมีอาหารตามธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ในนามีพืช

“ของกิ๋นชาวเชียงราย” จากผลผลิตที่หาได้ตามฤดูกาลประกอบกับความนิยมและความเชื่อที่สืบทอดจากบรรพบุรุษสามารถจัดแบ่งอาหารเสริมสร้างสุขภาพ

ตามฤดูกาลได้ดังนี้

ฤดูร้อน(ฤดูแล้ง) นิยมบริโภคมอบปู๋แกงขนุนตำขนุนส้าผักแพะหลามบอนแกงผักเชียงดา

ฤดูฝน นิยมบริโภคเจียวผักปลังยำดอกขี้เหล็กยำเตายำผักจุ๋มป๋าอ่องปู๋คั่วผำอ๊อกปลา

ฤดูหนาว นิยมบริโภคแกงถั่วปียำสะนัดเจียวผักโขมมอบปู๋หลามบอนอ๋องปู่แกงขนุนแกงแคตำลูกยอ

ส้าผักแพะ

อาหารพื้นเมืองเชียงรายเรียกชื่อตามลักษณะของการปรุงอาหาร

จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมมาท่องเที่ยว เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

มากมายรวมทั้งอาหารพื้นเมืองที่นักท่องเที่ยว ไม่ควรพลาดหากมาเที่ยวเชียงรายคือลาบหมูน้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่วน้ำพริกอ่องแกงฮังเล

น้ำเงี้ยว แกงอ่อมแกงแค จอผักกาดและข้าวซอยไก่ การนำเสนอตำรับอาหารครั้งนี้จึงคัดเลือกอาหารที่นักท่องเที่ยวนิยมจากผลงานวิจัย

ได้แก่ ลาบหมู น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม แกงฮังเล น้ำเงี้ยว แกงแค ข้าวซอยไก่ แคบหมู อีกส่วนหนึ่งเป็นอาหารที่นิยมกันมากใน

จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ข้าวแรมฟืนและอาหารจากสาหร่ายไกซึ่งเป็นอาหารที่มีเฉพาะในอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงรายและอำเภอท่าวังผา

จังหวัดน่านเท่านั้นได้แก่ไกยีและน้ำพริกสาหร่ายไก

แกง (อ่านว่า แก๋ง) เป็นอาหารประเภทมีน้ำที่มีปริมาณน้ำแกงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับส่วนประกอบต่างๆในหม้อมีวิธีการทำคือตั้ง

หม้อแล้วเติมน้ำ รอจนเดือด ใส่เครื่องปรุงหรือส่วนผสมน้ำพริกแกงตามด้วยส่วนประกอบหลักของอาหารที่สุกยากจำพวกเนื้อสัตว์ เคี่ยวจน

เนื้อสุกเปื่อยแล้วจึงใส่ผักซึ่งสุกยากตามลำดับ บางสูตรนิยมคั่วเครื่องแกงกับน้ำมันเล็กน้อยจนมีกลิ่นหอมนำส่วนประกอบของอาหารที่เป็น

ประเภทเนื้อสัตว์ใส่คั่วจนเนื้อเริ่มสุก เติมน้ำแล้วใส่เครื่องปรุงอื่นๆรอจนน้ำเดือดแล้วใส่ผักที่ต้องการจนสุกยกลงจาเตาส่วนที่ไม่ใส่เนื้อสัตว์

ชาวบ้านเรียกว่า“แกงผักล้วง”เป็นแกงที่ใส่เฉพาะผักพื้นบ้านเช่นผักเชียงดายอดมันเทศยอดมะพร้าวอ่อนตำลึงเป็นต้น คั่ว หรือขั้วเป็นวิธีการทำอาหารที่นำน้ำมันปริมาณเล็กน้อยใส่กระเทียมลงเจียว

แล้วนำส่วนประกอบของอาหารผัดโดยใช้ไฟปานกลางจนสุกอีกแบบหนึ่งคือ

คั่วแบบไม่ใส่น้ำมันเพียงใส่น้ำลงไปเล็กน้อยรอจนน้ำเดือดนำส่วนประกอบ

ของอาหารลงผัดพร้อมกับปรุงรสคนไปเรื่อยๆจนสุกเช่น

คั่วมะเขือถั่วฝักยาว(คั่วบ่าเขือบ่าถั่ว)คั่วลาบการคั่วเมล็ดพืชเช่น

คั่วงาคั่วถั่วลิสงใช้วิธีคั่วแบบแห้งคือไม่ใช้ทั้งน้ำและน้ำมัน

น้ำปู (อ่านว่า ”น้ำปู๋”)เป็นวิธีการที่นำปูมาโขลกให้ละเอียด

คั้นเอาแต่น้ำนำไปเคี่ยวด้วยไฟแรงจนเหลือแต่น้ำปูในหม้อ

2ใน3ส่วนแล้วจึงลดไฟให้อ่อนลงแล้วเติมเกลือ

ตามชอบหากชอบเผ็ดก็โขลกพริกใส่เพิ่มได้

ประเภทสาหร่าย เช่น เตาและผำ สามารถนำมา

ประกอบอาหาร เช่นยำเตาคั่วผำ ในฤดูหนาวมีถั่วปี

ซึ่งมีผลผลิตปีละครั้ง และบอนนิยมนำมาประกอบ

อาหารเป็นหลามบอน

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 77: cultural Identity of Chiangrai

จอ เป็นการปรุงอาหารประเภทผัก โดยการนำน้ำใส่หม้อตั้งไฟปรุงด้วยเกลือกะปิปลาร้า เมื่อน้ำเดือด

จึงใส่ผักลงไปจากนั้นจึงเติมรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะขามเปียกหรือมะขามสด (ไม่นิยมน้ำมะนาวมะเขือเทศ

มะกรูด)การจออาจใส่กระดูกหมูด้วยก็ได้ ชนิดผักที่มีการนำมาจอ เช่นผักกาดผักหนามผักกูด

ผักบุ้งซึ่งบางแห่งนิยมใส่ถั่วเน่าแข็บผิงไฟและน้ำอ้อยลงไปด้วย

เจียว (อ่านว่า เจี๋ยว)เป็นวิธีการปรุงอาหารที่ใส่น้ำแล้วตั้งไฟให้เดือดปรุงรสด้วยกะปิเกลือหรือน้ำปลา

ปลาร้ากระเทียมหอมหัวเล็กพริกสดจากนั้นจึงใส่ผักหรือไข่ขณะที่น้ำเดือดหรือจะปรุงรสทีหลังก็ได้แต่งกลิ่น

ด้วยต้นหอมผักชีหรือพริกไทยถ้าชอบเผ็ดก็ใส่พริกสดหรือพริกสดเผาแกะเปลือกลงไปทั้งเม็ดการเจียว

มีลักษณะคล้ายจอแต่ไม่มีรสเปรี้ยวปริมาณน้ำแกงน้อยกว่าจอเช่นเจียวผักโขมเจียวไข่มดแดงเป็นต้น

ตำ (อ่านว่า ต๋ำ) เป็นอาหารประเภทเดียวกับยำมีวิธีการปรุง โดยนำส่วนผสมต่างๆพร้อมเครื่องคลุก

เคล้ากันในครกเช่นตำขนุน(ตำบ่าหนุน)ตำมะขาม(ตำบ่าขาม)ส่วนประกอบหลักได้แก่ เกลือกระเทียม

หัวหอมพริกแห้งหรือพริกสดกะปิถั่วเน่าแข็บ(ถั่วเน่าแผ่น)ปลาร้าซึ่งทำให้สุกแล้ว

ยำ ใช้กับของที่สุกแล้ว เช่นยำจิ๊นไก่ทำด้วยไก่ต้มยำผักเฮือด (ผัดผักเฮือดนึ่ง)ยำจิ๊นแห้ง (เนื้อต้ม)

วิธีทำคือใส่เครื่องยำหรือเรียกว่าพริกยำ ในน้ำเดือด แล้วนำส่วนผสมที่เป็นเนื้อ หรือผักลงไปต้มคนให้ทั่ว

เทคนิคในการต้มนำตับไก่ต้มจนสุกนำมาโขลกปรุงใส่ในน้ำยำจะทำให้น้ำยำเข้มข้นและมีกลิ่นหอม

น้ำพริก (อ่านว่า น้ำพิก)น้ำพริกพื้นเมืองจะต้องทำให้เครื่องปรุงทุกอย่างสุกก่อนด้วยการปิ้งย่างหมก

หรือเผาเช่นพริกหอมกระเทียมกะปิถั่วเน่าแข็บปลาร้ามะเขือเทศเป็นต้นปรุงรสด้วยเกลือนำส่วนผสม

ทั้งหมดมาโขลกรวมกันเพิ่มส่วนผสมหลักอื่นๆเข้าไปแล้วแต่จะปรุงเป็นน้ำพริกแต่ละชนิดและเรียกชื่อตามส่วน

ผสมหลักเช่นน้ำพริกหนุ่มน้ำพริกมะเขือเทศน้ำพริกถั่วเน่าน้ำพริกข่าเป็นต้น

นึ่ง หรือหนึ้งเป็นการทำให้สุกด้วยไอน้ำร้อนในไหการนึ่งมี2ลักษณะคือการนึ่งโดยตรงโดยที่อาหาร

นั้นไม่ต้องมีเครื่องห่อหุ้มเช่นการนึ่งข้าวนึ่งปลานึ่งกล้วยตากนึ่งเนื้อตากอีกลักษณะหนึ่งคืออาหารนั้นจะ

ห่อด้วยใบตองก่อนแล้วนำไปนึ่งเช่นขนมจ็อกขนมเกลือและห่อนึ่งต่างๆอาหารที่ใช้วิธีนึ่งมักจะเรียกตามชื่อ

อาหารนั้นๆลงท้ายด้วยนึ่งเช่นไก่นึ่งปลานึ่งกล้วยนึ่ง

ลาบ/หลู้ เป็นวิธีการปรุงอาหารโดยการสับเนื้อสัตว์ให้ละเอียดนำไปปรุงกับเครื่องปรุงน้ำพริกที่เรียกว่า

พริกลาบหรือเครื่องปรุงมักเรียกตามชื่อลาบชนิดของเนื้อสัตว์เช่นลาบไก่ลาบหมูลาบงัวลาบควายลาบฟาน

(เก้ง) ลาบปลา นอกจากนี้ ยังเรียกตามวิธีการปรุง เช่น ลาบดิบ ซึ่งเป็นการปรุงลาบแต่ยังไม่ทำให้สุก

คำว่าลาบโดยทั่วไปหมายถึงลาบดิบสามารถนำไปคั่วให้สุกเรียกว่า“ลาบคั่ว”และยังมี

ลาบอีกหลายประเภทเช่นลาบเหนียวลาบน้ำโทมลาบลอลาบขโมยลาบเก๊า

ลาบแม่ลาบเป็นอาหารยอดนิยมและถือเป็นอาหารชั้นสูงของชาวล้านนา

ส้า หรือยำผักสดแบบชาวเหนือ ผักที่ใช้มีหลายอย่าง เช่น ผักปู่ย่า

ผักมันปลาและผักกาดน้อย เป็นวิธีการปรุงอาหารที่นำเอาเครื่องปรุงเช่น เนื้อปลา

พริกสดหอมแดงกระเทียมมาย่างไฟให้สุกก่อน โขลกเครื่องปรุงทั้งหมดให้เข้า

กันเติมน้ำปลาร้าที่ต้มเตรียมไว้นำมาคลุกเคล้ากับผักสดที่ล้างเตรียมไว้แล้วเช่น

ส้าผักแพะส้ายอดมะม่วงปรุงรสให้เปรี้ยวด้วยมะกอกป่าหรือมะนาว

อ็อก เป็นการปรุงอาหารโดยนำอาหารห่อใบตอง นำใส่หม้อหรือกระทะ

เติมน้ำลงไปเล็กน้อยหรือนำเอาอาหารพร้อมเครื่องปรุงใส่ในหม้อเติมน้ำเล็กน้อย

ยกตั้งไฟนิยมทำกับอาหารที่สุกเร็วเช่นไข่ปลามะเขือยาวเรียกชื่ออาหารตาม

ชนิดของส่วนผสม เช่น อ็อกปลา อ็อกไข่ (ไข่ป่าม หรือป่ามไข่) อ็อกบ่าเขือ

(อ็อกมะเขือ)

อุ๊ก/ฮุ่ม ฮุ่ม เป็นการประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยหั่นเนื้อเป็น

ชิ้นโตปรุงอย่างแกง แล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ให้เนื้อเปื่อยนุ่มและเหลือน้ำแกง

เพียงเล็กน้อยเช่นจิ๊นฮุ่ม

อุ๊ก เป็นวิธีการทำอาหารชนิดเดียวกับ“ฮุ่ม”คือเป็นการทำอาหารประเภท

เนื้อสัตว์ที่ค่อนข้างเหนียว เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่หรือเนื้อเค็มตากแห้ง (ที่เรียกว่า

จิ๊นแห้ง)หากใช้เนื้อไก่ จะเรียกว่า อุ๊กไก่ หากใช้เนื้อวัว หรือเนื้อเค็มตากแห้ง

จะเรียกว่า จิ๊นฮุ่ม ซึ่งลักษณะของอาหารประเภทนี้ เนื้อจะเปื่อย และมีน้ำ

ขลุกขลิก

แอ็บเป็นการนำอาหารมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงก่อนแล้วห่อด้วยใบตอง

นำไปปิ้งหรือนึ่งเช่นแอ็บปลาแอ็บกุ้งแอ็บอี่ฮวก

ชาวเชียงรายมีขนม (อ่านว่า ข้าวหนม) เป็นอาหารประเภทของหวาน

ปรุงด้วยแป้ง กะทิ และน้ำตาลหรือน้ำอ้อย โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด โดยปกติ

มักจะทำขนมเมื่อมีเทศกาล โอกาสพิเศษ ใช้ในพิธีกรรมหรือเป็นการเตรียม

เพื่อทำบุญ เช่น วันพระ วันสำคัญทางพุทธศาสนา วันสงกรานต์ งานประเพณี

งานทำบุญขนมที่นิยมทำ เช่น ขนมจ็อกข้าวต้มหัวงอกขนมลิ้นหมาข้าวอีตู่

ขนมกล้วย ขนมศิลาอ่อนหรือซาลาอ่อน ขนมวงและข้าวแต๋นและยังมีของว่าง

เช่น กระบอง (ฟักทองทอด ปลีทอด) ชาวล้านนานิยมอมเมี่ยงหลังอาหาร

เพื่อความชุ่มคอ

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 78: cultural Identity of Chiangrai

ลาบหมูป็นอาหารสุขภาพหากพิจารณาจากปริมาณสารอาหารของลาบ100กรัม จะพบว่าลาบเป็นอาหารที่ให้สารอาหารครบทั้ง5หมู่คือโปรตีนไขมันคาร์โบไฮเดรตวิตามินและเกลือแร่ต่างๆนอกจากนี้เครื่องเทศและผักเครื่องเคียงที่ใช้กับลาบก็ล้วนมีสรรพคุณทางยาหรือเป็นสมุนไพรแทบทั้งสิ้นเช่นดีปลีขิงข่าอบเชยใบบัวบกผักคาวตองฯลฯ

ส่วนผสมน้ำพริกลาบ พริกแห้งคั่ว/ปิ้งไฟ 10 เม็ด ดีปลีคั่ว 1 ดอก ยี่หร่าคั่ว ½ ช้อนชา อบเชยคั่ว 1 ก้าน กระวาน 1 ดอก มะแขว่นคั่ว ½ ช้อนชาวิธีทำ นำส่วนผสมน้ำพริกลาบตำหรือบดให้ละเอียดโดยแยกพริกเครื่องเทศและมะแขว่นแล้วตักใส่ภาชนะพักไว้ส่วนผสมเครื่องลาบ ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่น ½ ช้อนโต๊ะ หอมแดง 5 หัว กระเทียม 15 กลีบ กะปิหมก ½ ช้อนโต๊ะวิธีทำ 1.นำเครื่องลาบทั้งหมดปิ้ง/คั่วให้สุกหอม 2.ปอกเปลือกกระเทียมหอมแดง โขลกรวมกับข่า ตะไคร้กะปิให้ละเอียดส่วนผสมลาบ เนื้อหมู 200 กรัม เลือดหมู 1 ช้อนโต๊ะ ตับ 20 กรัม

ผักที่นิยมกินกับลาบได้แก่ผักแปมผักคาวตอง ใบโกสนดีปลีมะแขว่นสะเดา เล็บครุฑถั่วมะแฮะ ผักชีฝรั่ง ชะพลู ผักไผ่ ฝักเพกา มะเขือม่วง มะเขือเปราะพื้นบ้าน สะระแหน่ยอดมะม่วงยอดมะกอกสะเดายอดมะยมเกี๋ยงพาดีงัวหว้าการทำลาบหมูมีดังนี้

ไส้อ่อน 45 กรัม กระเพาะ 10 กรัม ไส้ใหญ่ 10 กรัม ไส้หวาน 15 กรัม หนังหมู 70 กรัม น้ำต้มเครื่องใน ¼ ถ้วยตวง เกลือป่น 1 ช้อนชา ผักชีต้นหอมใบสะระแหน่ผักไผ่ผักชีฝรั่งวิธีทำ 1.ล้างเครื่องใน หนังหมู ให้สะอาด นำไปต้มให้สุกแล้วหั่น เป็นชิ้นเล็กๆพอประมาณ 2.หั่นเนื้อหมูแล้วสับให้ละเอียดโดยใส่เลือด ผักไผ่ในเนื้อหมู เล็กน้อยสับให้เป็นเนื้อเดียวกัน 3.หั่นผักชีต้นหอม ใบสะระแหน่ผักไผ่ผักชีฝรั่ง โดยแยกไว้ เป็นหมวดหมู่วิธีการปรุงลาบ 1.นำเนื้อหมูสับละเอียดใส่ลงในภาชนะ ใส่พริกลาบ 1ช้อนโต๊ะ เครื่องเทศ1ช้อนชามะแขว่น½ช้อนชาเกลือ1ช้อนชา คนให้เข้ากัน 2.ใส่เครื่องลาบและเครื่องในต้ม ลงในเนื้อลาบ คนให้เหนียว โรยหน้าด้วยผักชีต้นหอม ผักชีฝรั่ง ผักไผ่ หั่นละเอียด คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง 3.ตั้งกระทะ เติมน้ำเปล่าเล็กน้อย ใส่ลาบคั่วให้สุกหอมปรุงรส ด้วยน้ำปลา1ช้อนชา

ลาบหมู

ลาบหมู

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 79: cultural Identity of Chiangrai

น้ำพริกอ่องเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคเหนือตอนบน (อาหารล้านนา)ที่คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานกันทั่วไป เพราะมีลักษณะน่ารับประทานและรสชาติที่กลมกล่อม “อ่อง”แปลว่าใช้ไฟอ่อนไม่เดือดมากเคี่ยวนานๆ

น้ำพริกแกง

พริกแห้งขนาดกลาง 3 เม็ด

หัวหอม 5 หัว

กระเทียม 10 กลีบ

กะปิ ½ ช้อนโต๊ะ

ถั่วเน่าปิ้งป่น 1 ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสม

เนื้อหมูติดมันเล็กน้อยสับละเอียด 120 กรัม

มะเขือเทศหั่นชิ้นเล็ก 200 กรัม

น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ

น้ำเปล่า ½ ถ้วยตวง

ผักชีต้นหอม

ผักเครื่องเคียง

ผักขี้เหล็กลวกถั่วพูมะเขือเปราะหน่อข่ามะเขือพวงต้มสุกแตงกวาปอกเปลือกหั่นแว่นฯลฯ

วิธีทำ

1.โขลกน้ำพริกแกงให้ละเอียด

2.ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อนใส่กระเทียมทุบเจียวให้หอมตามด้วยน้ำพริกแกงผัดพอหอม

3.ใส่เนื้อหมูสับผัดให้เข้ากันจนเนื้อหมูสุกใส่มะเขือเทศสับละเอียดลงไป

4.ผัดจนมะเขือเทศสุกเติมน้ำเปล่าเคี่ยวจนสุกได้ที่ปรุงรสตามชอบ

5.ตักใส่ถ้วยรับประทานพร้อมผักเครื่องเคียง

น้ำพริกอ่องจะอร่อยต้องเคี่ยวโดยใช้ไฟอ่อนนานๆเครื่องปรุงน้ำพริกอ่องประกอบด้วยหมูติดมันพริกแห้งเกลือหอมแดงกระเทียมกะปิ มะเขือเทศและที่ขาดไม่ได้เลยคือ ถั่วเน่าแข็บลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่องคือมีสีส้มสีของมะเขือเทศและพริกแห้งข้นขลุกขลิกมีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อยมีรสชาติเค็มเผ็ดเปรี้ยวและไม่หวานนัก เครื่องเคียงที่รับประทานกับน้ำพริกอ่องได้แก่ แคบหมูและผัก ผักที่นิยมมีทั้งผักสดและผักลวกผักสดได้แก่แตงกวาถั่วฝักยาวกะหล่ำปลียอดกระถินหรือผักอื่นตามชอบผักลวก ได้แก่ผักขี้เหล็กลวกยอดสะเดาหรือดอกสะเดาลวก(หรือปิ้งไฟ)กะหล่ำปลีลวกมะเขือลวกผักขี้หูดลวกและผักอื่นๆตามชอบแต่ผักที่ถือว่ารับประทานกับน้ำพริกอ่องแล้วเข้ากันได้ดีเป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะผู้สูงอายุคือผักขี้เหล็กลวกเรียกว่า“จู้น้ำพริกอ่อง”

น้ำพริกอ่อง

น้ำพ

ริกอ่อง

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 80: cultural Identity of Chiangrai

แกงฮังเล เป็นอาหารท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงราย มีเอกลักษณ์ที่กลมกลืนกับ สภาพภูมิอากาศ เนื่องจากจังหวัดเชียงรายของไทยมีช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นนานกว่าภาคอื่นประชากรในภูมิภาคนี้จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่ให้พลังงานเพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย

ส่วนผสมน้ำพริกแกง

พริกแห้งเม็ดใหญ่ 4 กรัม

พริกแห้งเม็ดเล็ก 1 กรัม

ตะไคร้หั่นละเอียด 10 กรัม

กะปิ 15 กรัม

กระเทียมสับละเอียด70 กรัม

หอมแดงสับละเอียด 70 กรัม

เกลือแกง 20 กรัม

แกงฮังเล ประกอบด้วยวัตถุดิบหลัก คือ เนื้อหมู และหมูสามชั้น (ทำให้แกงมีสีสวยงาม)อย่างไรก็ตามอาจใช้เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่นเนื้อไก่ เนื้อวัว แทนเนื้อหมู ก็ได้มีเครื่องปรุงอื่นๆ เช่นกระเทียมหอมแดงพริกแห้งกะปิข่าขิงซอยผงแกงฮังเลซีอิ้วดำถั่วลิสงคั่ว ได้รสหวานจากน้ำอ้อยรสเปรี้ยวจากมะขามเปียก

แกงฮังเล

ส่วนผสม

เนื้อไก่ 1,000 กรัม

ผงฮังเล 15 กรัม

กระเทียม 50 กรัม

หอมแดง 70 กรัม

ขิงซอย 70 กรัม

กระเทียมดอง 20 กรัม

น้ำตาลอ้อย 100 กรัม

น้ำตาลทราย 20 กรัม

เกลือแกง 10 กรัม

น้ำปลา 7 กรัม

น้ำมะขามเปียก 30 กรัม

น้ำเปล่า 1,200 กรัม

วิธีทำ

1. ล้างไก่ให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นขนาด1.5นิ้ว

2.โขลกน้ำพริกแกงให้ละเอียด

3.นำเนื้อไก่ผสมผงฮังเลในอ่างผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันหมักไว้ประมาณ30นาที

4.นำน้ำพริกแกงลงผัดในหม้อพอหอมใส่เนื้อไก่ที่หมักผงฮังเลลงไปทีละน้อยจนหมด

5.ใช้ไฟปานกลางเคี่ยวเนื้อไก่พอเนื้อไก่สุกค่อยๆเติมน้ำเปล่าทีละน้อยจนหมด

6.พอน้ำแกงเดือดใส่กระเทียมหอมแดงกระเทียมดองและขิง เคี่ยวจนเนื้อไก่สุก

ปรุงรสด้วย เกลือน้ำปลาและน้ำมะขามเปียก เคี่ยวต่อจนกระทั่งเนื้อไก่เปื่อย

ยกลงจากเตา

7.ตักใส่ภาชนะ

แกงฮังเล

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

10

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

11

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 81: cultural Identity of Chiangrai

ข้าวซอยเป็นอาหารที่มาจากอาหารของชาวจีนฮ่อมุสลิมบางแห่งเรียกว่า ข้าวซอยฮ่อ หรือ ข้าวซอยอิสลามดังนั้นข้าวซอยจึงมีทั้งเนื้อไก่และเนื้อวัวสำหรับการทำข้าวซอยเนื้อควรใช้เนื้อสันคอ หั่นเป็นชิ้นพอคำ ต้มให้เปื่อย นำไปเคี่ยวกับน้ำพริกแกง ส่วนข้าวซอยไก่ควรเลือกน่องและสะโพก เพราะเป็นส่วนที่มีเนื้อรับประทานง่ายส่วนผสมของน้ำพริกแกงจะเน้นที่น้ำพริกต้องเข้มข้นใส่น้ำตาลปีบน้ำข้าวซอยต้องเป็นน้ำกะทิทำให้มีรสหวานมันรับประทานกับผักดองเพื่อตัดรสหวานมัน

ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกแห้งเม็ดใหญ่คั่ว 12กรัม ชะโกแกะเปลือกคั่วโขลกละเอียด 30 กรัม เปลือกชะโกคั่ว 10 กรัม ขิงซอยคั่ว 50 กรัม หอมแดงคั่ว 70 กรัม กระเทียมคั่ว 30 กรัม ขมิ้นคั่ว 50 กรัม กะปิคั่ว 30 กรัม เม็ดผักชีคั่ว 30 กรัม เกลือป่น 15 กรัม

ส่วนผสม ไก่หั่นเป็นชิ้น 1,000 กรัม บะหมี่ 1,000 กรัม บะหมี่สำหรับทอด 500กรัม

วิธีทำ 1.ล้างไก่ให้สะอาดหั่นไก่เป็นชิ้นๆขนาด2-3นิ้ว 2.โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด 3.ตั้งน้ำมันในหม้อพอร้อนผัดน้ำพริกแกงจนมีกลิ่นหอม เติมหัวกะทิทีละน้อย ผัดน้ำพริกแกง จนมีสีแดงและมีกลิ่นหอม 4.ใส่เนื้อไก่ผัดกับน้ำพริกแกงเติมหัวกะทิผัดจนเนื้อไก่ตึง 5.ใส่หางกะทิและเปลือกชะโกปรุงรสด้วยน้ำปลาซีอิ๊วขาวและน้ำตาลทรายเคี่ยวจนเนื้อไก่เปื่อย 6.เคี่ยวน้ำปรุงผักกาดดองให้หอม เทใส่ในภาชนะตามด้วยผักกาดดองซอย ใส่พริกแห้งคั่วป่น ขิงซอยหอมแดงซอยคนให้เข้ากันหมักไว้อย่างน้อย2ชั่วโมง 7.ลวกเส้นบะหมี่ให้สุกทอดบะหมี่ให้กรอบใส่ภาชนะพักไว้ 8.การรับประทานใส่บะหมี่ลวกในถ้วยตามด้วยเนื้อไก่น้ำข้าวซอย โรยหน้าด้วยบะหมี่ทอดกรอบ ผักชีต้นหอมซอยรับประทานกับผักกาดดองหอมแดงหั่นปรุงรสด้วยมะนาวพริกป่นผัดน้ำมัน

ข้าวซอยไก่ เกลือป่น 8 กรัม ซีอิ๊วขาว 25-30 กรัม น้ำปลา 15 กรัม น้ำมันพืช 15 กรัม น้ำตาลทราย 35 กรัม หัวกะทิ 1,000 กรัม หางกะทิ 3,000 กรัม

เครื่องปรุงผักกาดดอง ผักกาดดองซอย 200 กรัม หอมแดงซอย 30 กรัม น้ำส้มสายชู 30 กรัม น้ำตาลทราย 30 กรัม ขิงซอย 30 กรัม เกลือป่น 10 กรัม พริกป่นผัดน้ำมัน3 กรัม น้ำเปล่า 30 กรัม

เครื่องเคียง บะหมี่ทอดกรอบ ผักชีต้นหอมซอย ผักกาดดองหอมแดงหั่นมะนาวผ่าซีกพริกป่นผัดน้ำมันข้าวซอยไก่

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 82: cultural Identity of Chiangrai

แกงแคมีภูมิปัญญา ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม วิธีการปรุงที่ เป็นเอกลักษณ์ ตำรับแกงแคส่วนใหญ่ได้รับการสืบทอดวัฒนธรรมการทำมาจากคนเฒ่าคนแก่และมีการดัดแปลงตำรับให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป ชาวเชียงรายนิยมรับประทานแกงแคในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล เพราะเชื่อว่าพืชผักสมุนไพร จะช่วยปรับธาตุในร่างกายแกงแคโดยทั่วไปจะต้องประกอบด้วยจะค่านที่มีรสชาติเผ็ดร้อน

ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกแห้งเม็ดใหญ่ 7 กรัม พริกแดงเม็ดเล็ก 4 กรัม ตะไคร้หั่นละเอียด 15 กรัม กะปิ 6 กรัม กระเทียมสับละเอียด20 กรัม หอมแดงสับละเอียด 60 กรัม เกลือป่น 10 กรัม

เทคนิคการปรุงแกงแคให้อร่อยรสชาติเข้าในเนื้อผักคือการนวดผักก่อนใส่ลงในหม้อและการเคี่ยวน้ำพริกในหม้อให้ได้ที่ และที่สำคัญ เมื่อใส่ส่วนผสมทั้งหมดแล้วห้ามคนแกงก่อนน้ำเดือดเพราะจะทำให้มีกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ที่นำมาแกงและได้รสชาติไม่ดี

แกงแค

ส่วนผสม เนื้อไก่หั่นเป็นชิ้นพอคำ 500 กรัม บวบงูหั่นแฉลบ 100 กรัม มะเขือเปราะหั่นพอคำ 100 กรัม ผักขี้หูดเด็ดพอคำ 150 กรัม ถั่วฝักยาวหั่นท่อน 150 กรัม เห็ดนางฟ้าหรือเห็ดขอน 120 กรัม ดอกงิ้ว 50 กรัม ดอกแค 50 กรัม ดอกต้าง 50 กรัม ชะอมเด็ดเฉพาะยอด 50 กรัม ผักเผ็ด 120 กรัม ผักชีฝรั่งหั่นท่อน 50 กรัม ใบชะพลูฉีก 30 กรัม หางหวายแกะเปลือกหั่นท่อน50 กรัม น้ำมันพืช 25 กรัม น้ำปลา 30 กรัม น้ำเปล่า 700 กรัม

วิธีทำ 1.โขลกส่วนผสมน้ำพริกแกงให้ละเอียด 2.ล้างเนื้อไก่ให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ 3.ล้างผักแกงแคให้สะอาดแยกผักแต่ละชนิดออกจากกัน 4.ผัดน้ำพริกกับน้ำมันจนมีกลิ่นหอมตามด้วยเนื้อไก่พอเนื้อไก่สุก เติมน้ำเปล่าเคี่ยวประมาณ25-30นาที 5.ใส่ผักที่สุกยากก่อน ได้แก่ เห็ดนางฟ้าหรือเห็ดขอนตามด้วยหางหวาย เคี่ยวต่อประมาณ 10 นาที ตามด้วยผักเนื้อแข็ง ได้แก่ บวบงู มะเขือเปราะผักขี้หูดดอกต้างถั่วฝักยาวปรุงรสด้วยน้ำปลาตามด้วย ผักที่สุกง่าย ได้แก่ ดอกแค ใบชะอม ผักเผ็ด ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง คนให้เข้ากันยกลงจากเตา 6.ตักใส่ภาชนะพร้อมรับประทาน

แกงแค

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 83: cultural Identity of Chiangrai

พริกหนุ่มคือพริกสดที่ยังไม่แก่จัดน้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหาร พื้นบ้านจังหวัดเชียงรายที่รู้จักกันทั่วไปนิยมรับประทานกับแคบหมู น้ำพริกหนุ่มดั้งเดิมใส่เพียง พริกหนุ่มหอมแดงกระเทียมและเกลือ เท่านั้นปัจจุบันอาจมีการปรับเครื่องปรุงบ้างโดยบางสูตรใส่ปลาร้าสับและกะปิห่อใบตองย่างไฟบางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือแล้วแต่ชอบย่างส่วนผสมกับ ถ่านไม้น้ำพริกจะมีกลิ่นหอมและรสชาติดีถ้าไม่ชอบเผ็ดให้เอาไส้พริกออกบ้างจะช่วยให้เผ็ดลดลง

ส่วนผสม

พริกหนุ่ม 35 เม็ด

หอมแดง 15 หัว

กระเทียม 5 หัว

เกลือ 3 ช้อนชา

วิธีทำ

1.ปิ้งพริกหนุ่มหอมแดงกระเทียมให้สุกแล้วปอกเปลือก

2.โขลกหอมแดงและกระเทียมเกลือพอละเอียด

3.ใส่พริกหนุ่มลงไปโขลกให้เข้ากันอีกครั้ง

4.ตักใส่ภาชนะรับประทานกับแคบหมูและผักนึ่งต่างๆ

น้ำพริกหนุ่ม

น้ำพ

ริกหนุ่ม

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 84: cultural Identity of Chiangrai

ข้าวนึ่งคือ ข้าวสารเหนียวที่นำมานึ่งให้สุกโดยผ่านกระบวนการให้ความร้อนชื้น มีลักษณะจับตัวกันติดแน่น เหนียวติดมือ มีกลิ่นหอมนุ่ม ข้าวนึ่งเป็นอาหารหลักของ คนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้าวนึ่ง 100 กรัม มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

79.7กรัม

วิธีการนึ่งข้าว

1.นำข้าวสารเหนียวแช่ค้างคืนประมาณ6-8ชั่วโมง

2.นำข้ าวสารแช่ล้ าง ให้สะอาด แล้วนำมาใส่ ไหข้ าว

ที่เตรียมไว้

3.ตั้งหม้อนึ่งใส่น้ำสูงประมาณ3นิ้วรอจนน้ำเดือด

4.ยกไหข้าวขึ้นวางบนหม้อนึ่ง ใช้เตี่ยวหม้อนึ่ง (ผ้าคาด)

ชุบน้ำบิดหมาดๆ คาดไว้ระหว่างไหข้าวกับหม้อนึ่ง

นึ่งประมาณ30นาทีหรือจนข้าวสุก

5.ยกไหข้าวเทในกั๊วะข้าวที่พรมน้ำไว้พอหมาด ใช้ไม้พาย

คนไป-มา1นาทีเพื่อไล่ไอน้ำออก

6.นำข้าวเหนียวไปใส่กระติบที่เก็บความร้อนได้ดี

ข้าวนึ่ง

ข้าวนึ่ง

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 85: cultural Identity of Chiangrai

ขนมจีนน้ำเงี้ยว หรือขนมเส้นน้ำเงี้ยว เป็นอาหารของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งดั้งเดิมใช้เส้นก๋วยเตี๋ยว ชาวไทยใหญ่เรียกว่า ข้าวซอยเงี้ยว เครื่องปรุงดั้งเดิมมีน้ำพริกแกง มะเขือส้มหมูสับกระเทียมเจียวน้ำต้มกระดูกหมูถั่วงอกกะหล่ำปลีหั่นฝอยปรุงรสด้วยพริกน้ำส้มมะนาวพริกป่นกินกับหนังปอง(พอง)ปัจจุบันมาดัดแปลงเรียกขนมจีนน้ำเงี้ยวใช้เส้นขนมจีนแทนนอกจากนิยมรับประทานแล้วยังใช้เป็นอาหารรับแขกเวลามีงานพิธีต่างๆ

ลักษณะเฉพาะของขนมจีนน้ำเงี้ยว คือต้องมีความเข้มข้นไม่ใสจนเกินไปมีความมัน

และสีแดงรสเค็มนำตามด้วยเปรี้ยวเล็กน้อย เผ็ดปานกลางและหอมน้ำพริกแกงที่คลุกเคล้า

กับเนื้อหมูสับละเอียด รสเปรี้ยวเฉพาะตัวของมะเขือส้มพื้นเมืองและเลือดหมูต้องนิ่มพอดี

ไม่เละจนเกินไป ขนมจีนน้ำเงี้ยวกินกับผักเครื่องเคียง คือ ถั่วงอกดิบ กะหล่ำปลีดิบซอย

ผักกาดดอง เพื่อรสเปรี้ยวด้วยมะนาวพริกแห้งทอดแคบหมูและโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว

ต้นหอมผักชีหั่นฝอยรับประทานกับแคบหมู

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

ขนมจีน

น้ำเงี้ยว

ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกแห้ง 20-25 เม็ด กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ หัวหอมสับ 3 ช้อนโต๊ะ ถั่วเน่าผง 3 ช้อนโต๊ะ กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ

เครื่องปรุง เนื้อหมูบดละเอียด 500 กรัม ซี่โครงหมู 500 กรัม มะเขือเทศสับละเอียด 500 กรัม ดอกงิ้วแช่น้ำ 200 กรัม เลือดไก่หั่นเป็นลูกเต๋า 100 กรัม น้ำเปล่า 40 ถ้วยตวง ขนมจีนหรือเส้นก๋วยเตี๋ยว 2 กิโลกรัม น้ำปลาเกลือน้ำตาลตามชอบ

เครื่องเคียง ผักชีต้นหอมซอย กระเทียมเจียว มะนาว พริกป่นผัดน้ำมัน ผักกาดดองถั่วงอกน้ำปลาน้ำตาล

วิธีทำ 1.โขลกส่วนผสมน้ำพริกแกงให้ละเอียด 2.ต้มน้ำพอเดือด ใส่กระเทียม รากผักชี ซี่โครงหมู ดอกงิ้ว น้ำปลาน้ำตาลเคี่ยวจนซี่โครงหมูสุกเปื่อย 3.ตั้งกระทะพอน้ำมันร้อน ใส่เครื่องแกงผัดจนหอม ใส่หมูสับ ผัดพอสุก ตามด้วยมะเขือเทศและเติมน้ำเปล่าเล็กน้อย ผัดให้เข้ากันพอสุกตักใส่หม้อต้มกระดูกปรุงรสตามชอบ 4.รั บ ป ร ะ ท า น กั บ ข นม จี น ห ริ อ เ ส้ น ก๋ ว ย เ ตี๋ ย ว ถั่ ว ง อ ก กระหล่ำปลีซอยละเอียดและเครื่องเคียงอื่นๆตามชอบ

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

�1

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 86: cultural Identity of Chiangrai

ข้าวแรมฟืนหรือข้าวแรมคืน เป็นทั้งอาหารว่างและอาหารหลักทั้งอาหารคาวและหวานเป็นที่นิยมของชาวไทยใหญ่ไทลื้อและคนพื้นเมืองเชื่อว่านำเข้ามาจากทางสิบสองปันนาประเทศจีนผ่านมาทางพม่าแล้วเข้ามาสู่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงรายเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้วถือได้ว่าเป็นอาหารของชาวแม่สายไปแล้วคำว่า“ข้าวแรมฟืน”คงเพี้ยนมาจากข้าวแรมคืน

ตัวข้าวแรมฟืนเดิมมี 2 ชนิด คือ ข้าวแรมฟืนข้าว และข้าวแรมฟืนถั่วลันเตา ปัจจุบัน

ได้เพิ่ม ข้าวแรมฟืนถั่วดิน (ถั่วลิสง) เข้ามาด้วย ข้าวแรมฟืนข้าวทำจากการโม่ข้าวเจ้าแข็งทำแป้ง

แล้วนำน้ำแป้งที่ตกตะกอนมาเคี่ยวกับปูนขาวจนสุกจากนั้นเทใส่ภาชนะใดก็ได้ทิ้งไว้1คืนวันรุ่งขึ้น

แป้งจะแข็งตัวตามรูปภาชนะที่บรรจุ

                        ส่วนข้าวแรมฟืนถั่วนั้นจะมีสีเหลือง ซึ่งทำจากเม็ดถั่วลันเตาแช่จนเม็ดขยายแล้วจึง

นำมาโม่ จากนั้นนำตะกอนส่วนหนึ่งมาเคี่ยวจนเดือด สังเกตดูว่าตะกอนเริ่มเหนียวจึงเทใส่ภาชนะ

แต่ไม่นิยมทำค้างคืนหรือแรมคืนเพราะหากทิ้งไว้นานแป้งนี้จะเหลวไม่จับตัวแข็งเหมือนข้าวแรมฟืนขาว

เมื่อได้ข้าวแรมฟืนแล้วก็นำมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆเตรียมไว้

ข้าวแรมฟืนทอด

ส่วนประกอบ

ข้าวแรมฟืนถั่วลันเตาน้ำมันสำหรับทอด

น้ำจิ้ม

น้ำกากถั่วเหลืองพริกแห้งคั่วน้ำมันเกลือผงปรุงรสต้นหอมผักชี

วิธีทำ

1.ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อน

2.ใส่ข้าวแรมฟืนที่หั่นเป็นชิ้นๆ พอคำ ลงทอดให้สุกกรอบ

มีสีเหลืองตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน

3.นำน้ำที่ได้จากแป้งถั่วที่ตกตะกอนแล้ว นำมาต้มให้สุก

จะมีลั กษณะเหมือน เต้ าหู้ อ่ อน ใช้ สำหรับทำน้ ำจิ้ ม

ข้าวแรมฟืนทอด(เรียกว่าน้ำกากถั่วเหลือง)

4.คลุกเคล้าส่วนผสมน้ำจิ้มให้ เข้ากัน เวลารับประทาน

ให้นำข้าวแรมฟืนทอดจิ้มน้ำจิ้ม

ข้าวแรมฟืน

ข้าวแรมฟืน

วิธีการทำ “น้ำสู่” น้ำสู่เปรี้ยวและน้ำสู่หวาน การทำน้ำสู่เปรี้ยวคือนำน้ำตาลหรือน้ำอ้อยก้อนผสมน้ำเปล่า

เคี่ยวไฟให้ละลายทิ้งไว้ให้เย็นแล้วเทใส่โหลหรือโอ่ง หมักทิ้งไว้ให้เกิด

รสเปรี้ยวตามธรรมชาติ และอาจจะใส่ข้าวเหนียวปิ้งหรือกล้วยน้ำว้าปิ้ง

เพื่อทำให้เกิดรสเปรี้ยวเร็วขึ้นโดยใช้เวลาในการหมักประมาณ2-6เดือน

ส่วนน้ำสู่หวานคือนำสู่น้ำเปรี้ยวที่หมักได้ที่มาเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำ

อ้อยก้อนให้มีรสหวานนำ

ข้าวแรมฟืนน้ำสู ่

หั่นข้าวแรมฟืนขนาดพอดีคำราดน้ำสู่น้ำมะเขือเทศ(ซึ่งทำ

มาจากมะเขือเทศลูกใหญ่เพราะมีปริมาณเนื้อมากและไม่เปรี้ยวจัด

ใส่ลงในหม้อเติมน้ำให้ท่วมต้มจนมะเขือเทศสุกทิ้งไว้ให้เย็นแล้วบด

มะเขือเทศให้ละเอียดบางสูตรใส่เนื้อกระเจี๊ยบหรือยอดมะขามอ่อน

เพื่อเพิ่มความเปรี้ยว) พริกดิบต้มป่นละเอียด พริกป่นคั่วน้ำมัน

งาขาวคั่ว กระเทียมเจียว เกลือป่น น้ำตาล ขิงป่น ถั่วเน่าเมอะ

ถั่วเน่าปิ้งป่น กะหล่ำปลีหั่นฝอย ยอดถั่วลันเตา ถั่วฝักยาวซอย

ถั่วงอกผักชีต้นหอมซอยคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันรับประทาน

ได้ทันที

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 87: cultural Identity of Chiangrai

แคบหมูเป็นอาหารพื้นเมืองที่ชาวเชียงรายรับประทานในชีวิตประจำวันและ เป็นอาหารยอดนิยม ในสำรับอาหารทุกมื้อโดยใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารหลายชนิดเช่นรับประทานกับน้ำพริกหนุ่มน้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำผักน้ำพริกน้ำปูและน้ำพริกอื่นๆทุกชนิดแม้กระทั่งน้ำเงี้ยวส้มตำก็ต้องมีแคบหมูเป็นเครื่องเคียง จึงทำให้อาหารมื้อนั้นมีรสชาติอร่อยอาหารหลายชนิดต้องมีแคบหมูเป็นส่วนประกอบ เช่นตำบ่าหนุน แกงปลีตำหางหวายแกงบ่าหนุนนอกจากนี้ยังสามารถใช้แคบหมูเป็นของว่างของขบเคี้ยวได้อีกด้วย

การทำแคบหมูเป็นวิธีการแปรรูปและถนอมอาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เป็นผลผลิตจากการนำหนังหมูมาผ่านกรรมวิธีการทอด

จนกรอบพองมีกลิ่นหอมรสกลมกล่อม

เครื่องปรุงที่ใช้ในการหมักหนังหมูคือ เกลือป่นซีอิ๊วขาวซอสปรุงรสแต่บางพื้นที่

ใส่เพียงเกลือเท่านั้น

วิธีทำ

1.โกนขนและขูดสิ่งสกปรกออกจากหนังหมูล้างให้สะอาดนำไปผึ่งให้หมาด

2.นำหนังหมูที่หมาดมาหั่นเป็นชิ้นขนาด2x5เซนติเมตร

3.ผสมเครื่องปรุง(เกลือป่นซีอิ๊วขาว)นำไปคลุกเคล้ากับหนังหมู

หมักไว้10นาที

4.ตั้งกระทะ ใช้ไฟปานกลาง รอให้น้ำมันร้อน ใส่หนังหมูที่หมักลงต้ม

ประมาณ10นาทีตักขึ้นใส่ภาชนะพักไว้ให้เย็น

5.ตั้งกระทะใช้ ไฟปานกลางรอให้น้ำมันร้อน นำหนังหมูลงไปต้มอีกครั้ง

คนไป-มา จนกระทั่งหนังหมูมีลักษณะใส ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

แล้วราไฟแช่หนังหมูในน้ำมัน1คืนเรียกว่าหนังหมูฮ้วม

6.อุ่นหนั งหมูฮ้ วม โดยใช้ ไฟปานกลาง จนหนั งหมูพองตัว เล็กน้อย

ตักขึ้นพักให้เย็น

7.ตั้งกระทะรอจนน้ำมันร้อน ใส่หนังหมูลงทอด ขณะทอดใช้กระชอนกด

หนังหมูให้จมน้ำมันเพื่อให้แคบหมูพองตัวเต็มที่

8.ทอดจนแคบหมูมีสีเหลืองอ่อน ตักขึ้น พักให้สะเด็ดน้ำมัน และเย็น

พอประมาณบรรจุถุงหรือภาชนะ

แคบหมู

แคบหมู

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 88: cultural Identity of Chiangrai

ไกหรือสาหร่ายน้ำจืดแบ่งออกเป็น2ประเภทคือสาหร่ายไกไหมซึ่งเส้นสายจะมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหมและสาหร่ายไกค่าวซึ่งเส้นจะหยาบและแข็งกว่าสาหร่ายไกไหมแหล่งสาหร่ายไกที่สำคัญในประเทศไทยมี2แห่งคืออำเภอเชียงของจังหวัดเชียงรายซึ่งเกิดในแม่น้ำโขงและอำเภอท่าวังผาจังหวัดน่านเกิดในแม่น้ำน่าน

ไกย ีส่วนผสม

ไกแห้ง 250 กรัม

(ชาวเชียงของเรียกว่า“ไกเหยือง”)

น้ำมันหมู 10 กรัม

เกลือป่น 10 กรัม

วิธีทำ

1.นำไกแห้งไปปิ้งบนเตาถ่าน โดยใช้ไฟอ่อนจนกรอบ

มีสี เหลืองอ่อน ขณะปิ้ ง ให้หยอดน้ ำมันหมูพอ

ประมาณเพื่อไม่ให้ไกแห้งเกินไป และทำให้มีกลิ่น

หอมของน้ำมันหมู

2.ใช้ฝ่ามือขยี้ไกโรยด้วยเกลือป่นให้มีรสเค็มเล็กน้อย

นอกจากรับประทานไกยีเป็นกับข้าว โดยจิ้มหรือบ่าย

กับข้าวเหนียวแล้ว อาจนำไกยีเป็นเครื่องเคียงกับ

กับข้ าวอื่ น เช่น น้ ำพริกมะเขื อส้ม ลาบปลา

แกงขนุนซึ่งจะ“เปิงมาก”ปัจจุบันตำรับไกยี ให้มี

รสชาติถูกปากมากยิ่งขึ้นโดยเพิ่มกระเทียมเจียว

หอมแดงเจียวและใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันหมู

ไก หรือสาหร่ายน้ำจืด ชาวเชียงของ จังหวัดเชียงรายนิยมนำสาหร่ายไกมาทำเป็นอาหารรับประทานหลากหลายชนิด

บางชนิดได้รับการสืบทอดกันมาบางชนิดพัฒนาตำรับขึ้นมาในภายหลังที่นิยมกันมาก เช่น ไกแผ่น

ทรงเครื่องไกยีน้ำพริกไกห่อนึ่งไกหรือบางคนเรียกว่าห่อหมกไกเป็นต้น

ไกยี และน้ำพริกไกที่นำเสนอในที่นี้เป็นตำรับโบราณของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหาดไคร้

อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย

น้ำพริกไก ส่วนผสม

พริกแห้งปิ้งป่น 5 กรัม

ปลาแห้งปิ้งป่น 10 กรัม

ถั่วเน่าปิ้งป่น 10 กรัม

หอมแดงหมก50 กรัม

กระเทียมหมก 25 กรัม

เกลือป่น 10 กรัม

วิธีทำ

1.ผสมเครื่องปรุงทุกอย่างให้เข้ากัน นำไกแห้ง

ไปปิ้ งบนเตาถ่าน โดยใช้ ไฟอ่อน จนกรอบ

มีสีเหลืองอ่อน ใช้ฝ่ามือยีไกให้ป่นนำไปผสมกับ

เครื่องปรุงแล้วโขลกให้เข้ากัน

2.ปัจจุบันมีการพัฒนาตำรับสำหรับผู้รับประทาน

มั ง ส วิ รั ติ โ ดย ไม่ ใ ส่ ปล าแห้ งป่ น แต่ เ พิ่ ม

กระเทียมเจียว หอมแดงเจียว ขิงซอยทอดป่น

และเห็ดนางฟ้าซอยทอดกรอบ

ไกหรือสาห

ร่ายน้ำจืด

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 89: cultural Identity of Chiangrai

เอกสารอ้างอิง

บังอรทิศสกุล.สัมภาษณ์,2554

นิรุตน์บัวระกา,กรรณิการ์จะสาร,กุลธิด่าสารภี,ถนอมศรีมูลคำ,สุภาพิศพิเคราะห์และสุรีรัตน์สำรวลหันต์.

(2542). พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ:กรณีศึกษาอำเภอเมือง อำเภอแม่สาย

อำเภอเชียงแสนและอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย:โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

คณะวิทยาการจัดการสถาบันราชภัฏเชียงราย.

รัตนาพรพรหมพิชัย.(2542ก).แกง.ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม1.(หน้า472-482).

กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.

_______.(2542ข).ตำ.ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม5.(หน้า2406-2410).

กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.

_______.(2542ค).น้ำพริก.ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม6.(หน้า3247-2457).

กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.

_______.(2542ง).ยำ.ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม11.(หน้า5515-5516).

กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.

_______.(2542จ).ลาบ.ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม11.(หน้า2936-2941).

กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.

_______.(2542ฉ).ส้า.ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม13.(หน้า6806-6807).

กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.

_______.(2542ช).ไส้อั่ว.ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม15.(หน้า7257).

กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์.

ศรีสมรคุณากรบดินทร์และคณะ.ศักยภาพความพร้อมและจัดประเภทร้านอาหารพื้นเมืองสำหรับรองรับ

นักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย.เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,2549.

ศรีสมรคุณากรบดินทร์และคณะ.การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานด้านสุขลักษณะของร้านลาบเมืองเชียงราย

สู่ขันโตกเพื่อสุขภาพ.เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,2549.

มาลีหมวกกุลและคณะ.การวิจัยและพัฒนาขันโตกเพื่อสุขภาพสู่ครัวโลกเชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,2550

มาลีหมวกกุลและคณะ.การพัฒนาตำรับอาหารจากไก่พันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่1.

เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,2553

ตอนที่ 6 :“ของกิ๋น”...ชาวเชียงราย

��

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย