curel 07 2008 - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · 2011. 9. 23. ·...

13
จุฬาสัมพันธ์ จุฬาสัมพันธ์ ปีที่ ๕๒ ฉบับที่ วันจันทร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒ หน้า หน้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร เสด็จฯทรงบาตรเนื ่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ครบ ๙๒ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ สรรคุณค่าวิชาการสู่สากล เภสัชฯ จุฬาฯ จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมทางยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาฯ หน้า

Upload: others

Post on 05-Feb-2021

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • จุฬาสัมพันธ์จุฬาสัมพันธ์ปีที่ ๕๒ ฉบับที่ ๒ วันจันทร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒

    หน้า ๒

    หน้า ๔

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯทรงบาตรเน่ืองในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา

    คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ครบ ๙๒ ปี

    สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ สรรคุณค่าวิชาการสู่สากล

    เภสัชฯ จุฬาฯ จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาฯหน้า ๓

  • จุฬาสัมพั

    นธ์ ฉบับ

    ที่ ๒

    ๑๙

    มกราคม

    ๒๕๕

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯทรงบาตรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา

    คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ครบ ๙๒ ปี

    วันจันทร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๐๗.๐๐ น. ณ บริเวณด้านหลังหอประชุมจุฬาฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกมุารี เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์ร่วมทรงบาตรพระสงฆ์จำนวน ๑๘ รูป เน่ืองในโอกาสวนัคล้ายวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ครบรอบ ๙๒ ป ีวันท่ี ๓ มกราคมของทกุปี โดยมี ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.จรัสสุวรรณเวลา นายกสภามหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์คณาจารย ์ บุคลากร นสิิตเกา่และนสิิตปจัจบัุน เฝา้รบัเสดจ็ฯ

    ในโอกาสนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะประธานคณะกรรมการมูลนิธิมหาจักรีสิรินธรเพื่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสด็จฯทอดพระเนตรความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารมหาจักรีสิรินธร ซึ่งเป็นอาคารหลังใหม่ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่จัดสร้างขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ ๙๐ ปีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อใช้ทดแทนอาคารอักษรศาสตร์หลังเดิม

    ข้อมลูนา่รูจ้าก ก.พ.ว. สำหรบัคณาจารยจุ์ฬาฯทีข่อกำหนดตำแหนง่ทางวชิาการคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัย (ก.พ.ว.) นำเสนอข้อมูลท่ีน่าสนใจท่ีคณาจารย์ควรรู้ ๒ เร่ือง ดังน้ีเรื่องแรกคือ “ความลับ” ตามข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากร

    ของมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน ข้อ ๑๔ กำหนดให้การดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคลากรให้ดำรงตำแหนง่ทางวิชาการทกุข้ันตอนเปน็ความลบั ดังนัน้เจา้หนา้ที ่ก.พ.ว.ทุกคนไมอ่าจตอบคำถามของคณาจารยท่ี์ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ว่าปัจจุบันได้ดำเนินการไปถึงขั้นตอนใดแล้ว จึงขอให้คณาจารย์เข้าใจในข้อบังคับจุฬาฯในเรื่องนี้ด้วย

    เร่ืองท่ีสอง คือเร่ืองอุทธรณ์ เม่ือผลการประเมนิผลงานทางวชิาการของอาจารยค์นใดคนหนึง่ไม่ผ่านเกณฑ ์และอาจารย์เห็นว่าผลการประเมินไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม อาจารย์มีสิทธิ์อุทธรณ์ โดยทำคำอุทธรณ์เป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อเลขานุการสภามหาวิทยาลัยภายใน ๙๐ วันนับจากวันที่ทราบมติสภาไม่แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่ขอ (ขอให้ท่านดูรายละเอยีดในขอ้บังคับมหาวิทยาลัยท่ีกล่าวถึงข้างต้น หมวด ๔) เร่ืองท่ีอยากเนน้ให้ท่านทราบคอืวิธีการเขยีนคำอทุธรณ์ ขอให้ท่านชี้แจงประเด็นทางวิชาการเพื่อแย้งว่าคำวิจารณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านประเมินผลงานทางวิชาการของท่านไม่ถูกต้องเป็นประเด็นๆ ไปเพ่ือ ก.พ.ว.จะได้นำกลับมาพิจารณาใหม่ หากท่านไม่แย้งประเด็นทางวิชาการแต่กลับร้องทุกข์แทน (เช่นเขียนว่ามีการประวิงเวลาการพิจารณาคำขอกำหนดตำแหน่งของท่าน) คำร้องทุกข์ก็จะถูกส่งไปที่หน่วยงานอื่นแทน ก.พ.ว. เพราะ ก.พ.ว. (ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย) มีหน้าที่เฉพาะการพิจารณาผลงานทางวิชาการเท่านั้น นอกจากนี้ท่านไม่จำเป็นต้องแถลงในหนังสืออุทธรณ์ว่าวิชาของท่านมีจำนวนนิสิตลงทะเบียนเรียนมากมาย นิสิตชอบวิชาของท่านมาก วิชาของท่านเป็นประโยชน์สูงสุด ฯลฯ เพราะข้อความเหล่านี้มิได้แย้งคำวิจารณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิที่อ่านประเมินผลงาน การอุทธรณ์นี้ (มีผู้เห็นว่าคำว่า “อุทธรณ์” ไม่เหมาะสมกับกรณีนี้และควรใช้ “การขอทักท้วงผลการพิจารณา” แทน) ก.พ.ว.มีมติให้ท่านทำได้ ๒ ครั้ง โดยคณะของท่านเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายจนจบกระบวนการพิจารณา

  • ๓ จุฬาสัมพันธ์

    ศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาฯ

    คณะเภสชัศาสตร ์ จุฬาฯ จัดตัง้ศนูยน์วตักรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(CU.D.HIP) เพือ่สร้างความรว่มมือในการวจัิยและพฒันายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพกับภาคอุตสาหกรรม สถาบันอุดมศึกษา และภาครัฐพร้อมส่งเสริมและถา่ยทอดเทคโนโลยนีวัตกรรมยาและผลติภัณฑ์สุขภาพเชิงพาณิชย์ โดยเน้นให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อการเรียนการสอนและการพัฒนาในภาคธุรกิจยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

    ร.ศ.ภญ.ดร.พรเพ็ญ เปรมโยธินคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงท่ีมาของการจัดต้ังศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาในประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศในสัดส่วนที ่ส ูงมากขึ ้นตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี

    ที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่าการนำเขา้ยาจากตา่งประเทศมีปริมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการบริโภคยาทั้งหมดของประเทศประกอบกับระเบ ียบกฎเกณฑ์การอนุม ัต ิทะเบ ียนยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอยู ่ระหว่างการปรับเปลี ่ยนให้สอดรับกับมาตรฐานสากลตามข้อตกลง ASEAN Harmonizationอุตสาหกรรมยาจึงต้องการกระบวนการวิจัยและพัฒนาที่เข้มแข็งมากขึ้นเพื่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนและแข่งขันได้ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนายาทุกข้ันตอน จึงเตรียมจัดต้ังศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU.D.HIP เพ่ือรองรับการขยายตัวของการวิจัยยา เคร่ืองสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพอ่ืน ๆ

    ผศ.ภญ.ดร.บุญศรี องค์พิพัฒนกุลผู้จัดการโครงการศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์ส ุขภาพแห่งจ ุฬาฯได้กล่าว ถึงงานหลัก ๖ ด้านภายใต้ศูนย์ฯซ่ึงประกอบด้วย ๑. การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเภสัชภัณฑ์และการผลิตเพื่อวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์

    ด้านนวัตกรรมร่วมกับอุตสาหกรรมการผลิตยา ให้บริการวิจัยและรวบรวมข้อมูลวิชาการที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และผลิตยาสำเร็จรูปตัวอย่างเพ่ือใช้ประกอบการข้ึนทะเบียนตำรับยาต่อสำนักงาน

    คณะกรรมการอาหารและยาตามข้อกำหนดของ ASEAN CommonTechnical Dossier(ACTD) หรือผลิตยาเพือ่การทดลองทางคลิน ิกพัฒนาสถานที่ฝึกปฏิบัติสำหรับนิสิตและบุคลากรของโรงงานผลิตยาในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริง โดยจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต และด้านหลักเกณฑ์วิธีการท่ีดีในการผลิต ๒.สมุนไพรเน้นการพัฒนาสารสกัดสมุนไพรให้มีชนิดและปริมาณสารสำคัญที่เหมาะสมและให้ผลในทางการรักษา มีคุณสมบัติทางกายภาพและความคงตวัทีด่ ี เพือ่รองรบัความต้องการสารสกัดสมุนไพรมาตรฐานเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการต่อยอดงานวิจัยพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ๓. จุลชีววิทยา ศึกษาการควบคุมคุณภาพทางดา้นจุลชีววิทยาของเภสชัภัณฑ์ เคร่ืองสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อรองรับความต้องการงานบริการการตรวจวิเคราะห์ด้านจุลชีววิทยา และการศึกษาวิจัย การปนเป้ือนจุลินทรีย์ในสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ๔. เภสัชวิทยา ใช้กระบวนการศกึษาภายในเซลล์และสัตว์ทดลองเพื่อค้นหาเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาในกระบวนการเกิดโรค โมเลกุลใหม่ที่ทรงฤทธิ์ทางชีวภาพ กลไกการออกฤทธิ์ใหม่ ตัวชี้วัดที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อฤทธิ์ยาตลอดจนระบบประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา๕. การประกันคุณภาพยา เสริมศักยภาพการดำเนินงานของอุตสาหกรรมยาในประเทศโดยเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาวิธีวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สารสำคัญในเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ ๖. ด้านผลิตภัณฑ์เครือ่งสำอาง สร้างนวัตกรรมเครื่องสำอางท่ีมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยโดยเน้นการใช้เทคโนโลยี กระบวนการหรือวัตถุดิบที่พัฒนาได้ในประเทศ เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้บริการทดสอบประสทิธิภาพของเครือ่งสำอางท่ีได้ มาตรฐานสากล งานหลักต่าง เๆหล่าน้ีจะนำมาเช่ือมต่อกับการเรียนการสอนของนิสิตด้วย

    ศูนย์นวัตกรรมทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งจุฬาฯต้ังอยู่ท่ีอาคารวิจัย ช้ัน ๔ - ๖ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คาดว่าจะเปิดให้บริการในวันสถาปนาจฬุาฯ ครบรอบ ๙๒ ปี วันท่ี๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒

    จฬุาฯ ของเรา

  • จุฬาสัมพั

    นธ์ ฉบับ

    ที่ ๒ ๑๙

    มกราคม

    ๒๕๕

    สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ สรรคุณค่าวิชาการสู่สากลร่วมมือสำนักพิมพ์ต่างประเทศเผยแพร่หนังสือ “ไฟไนต์เอลิเมนต์” ไปทั่วโลก

    ตำราซึ ่งหนังสือวิชาการจากผลงานการกล ั ่นกรองสร ้างสรรค ์ของคณาจารย์ นักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัยนับเป็นองค์ความรู ้ท ี ่ทรงคุณค่า เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและต่อยอดความรู้ของผู้อ่าน สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯเป็นหน่วยงานของจุฬาฯ ท่ีทำหน้าท่ีส่งเสริม

    และสนับสนุนการผลิตตำราและหนังสือทางวิชาการที่มีคุณภาพมาเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี มีผลงานหนังสือและตำราที่มีคุณค่าทางวิชาการจากการผลิตและจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯในแต่ละปีเป็นจำนวนมากบางเรือ่งไดรั้บความสนใจจากผูอ่้านจนไดรั้บการตพิีมพ์ซ้ำหลายครัง้ หนึง่ในนัน้คอืหนงัสือ “ไฟไนตเ์อลเิมนต์อย่างง่าย พร้อมซอฟต์แวร์” ผลงานของ ศ.ดร.ปราโมทย์ เดชะอำไพ ภาควิชาวิศวกรรมเคร่ืองกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.ดร.สุทธิศักดิ์ พงศ์ธนาพาณิช ภาควิชาวิศวกรรมเคร่ืองกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซ่ึงมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษในช่ือ “Easy Finite Element Method with Software” และได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างมากเช่นกัน

    ล่าสุดสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯไดร่้วมมือกับบริษัทช้ันนำในตา่งประเทศในการเผยแพร่หนังสือ “Easy FiniteElement Method with Software” ให้เป็นท่ีแพร่หลายในระดบันานาชาต ิท้ังน้ีเม่ือวันพุธท่ี ๗ มกราคม ๒๕๕๒ณ ห้องประชุม ๒๐๓อาคารจามจุรี ๓ ได้มีพิธีแสดงความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ และสำนักพิมพ์อัลฟาไซน์ อินเตอร์เนชันแนล (AlphaScience International Ltd.) ซ่ึงมีสำนกังานอยูท่ี่ประเทศองักฤษ และมศัีกยภาพในการเผยแพรห่นงัสือคุณภาพจากผลงานของนักวิชาการไทยเลม่น้ีไปสู่ผู้อ่านท่ัวโลก โดยมีผู้บริหารสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ และศูนย์หนังสือจุฬาฯ ผู้บริหารสำนักพิมพ์อัลฟา ไซน์อินเตอร์เนชันแนล พร้อมด้วยอาจารย์ผู้เขียนหนังสือท้ังสองท่านร่วมในพิธี

    หนังสือ “ไฟไนต์เอลิเมนต์อย่างง่ายพร้อมซอฟต์แวร์” เป็นหนังสือท่ีอธิบายทฤษฎีเบ้ืองต้นของระเบียบวิธีไฟเนต์เอลิเมนต์โดยเนน้การแกปั้ญหาพืน้ฐานในสองมติิท่ีเกีย่วขอ้งกบัการถา่ยเทความรอ้น การเสยีรูป และความเคน้ในของแขง็ รวมทัง้การไหลแบบหนืดที่ความเร็วต่ำและแบบอัดตัวได้ทีความเร็วสูง ซอฟต์แวร์ EasyFEM ที่แนบมาพร้อมกับหนังสือเล่มนี้ได้ประดิษฐ์ขึ้นเพ่ือให้สามารถใช้งานได้ง่าย นับต้ังแต่การสร้างรูปร่างท่ีซับซ้อน การสร้างเอลิเมนต์โดยอัตโนมัติ การประยุกต์ภาระโหลดในรปูแบบต่างๆ กัน และการแสดงผลดว้ยกราฟิกส์สี ความสามารถในการใชซ้อฟต์แวร์ไฟเนต์เอลิเมนต์ได้อย่างถูกต้อง จะช่วยทำให้ผู้วิเคราะห์สามารถออกแบบงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นองค์ความรู้ที ่นำเสนอและซอฟต์แวร์ท่ีบรรจุในหนังสือเล่มน้ีสามารถนำไปประยุกต์เพ่ือการทำวิทยานิพนธ์และงานวิจัยข้ันสูงได้ หนังสือเล่มน้ีนับเป็นตำราทางวิชาการ ๔ สี เล่มแรกของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ และติดอันดับหนังสือขายดีของสำนักพิมพ์ฯอีกด้วย

    ผศ.มานิต รุจิวโรดม กรรมการผู้อำนวยการสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ เปิดเผยว่าความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ และสำนักพิมพ์อัลฟาไซน์ อินเตอร์เนชันแนล ในครั้งนี้นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งกลุ่มเป้าหมายคือนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่ศึกษาทางด้านการวศิวกรรมการคำนวณความร่วมมือในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ ที่จะก้าวสู่สำนักพิมพ์ระดับนานาชาติในอนาคต โดยสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯมีโครงการจะจัดพิมพ์หนังสือที่เป็นความรู้ของไทยนำมา

    แปลเป็นภาษาอังกฤษเพ่ือเผยแพร่ความรู้สู่ผู้อ่านในวงกว้างเพ่ิมมากข้ึนMr. Sascha Mehra ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์อัลฟาไซน์ อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่าหนังสือเล่มน้ี

    เป็นผลงานวิชาการที่มีคุณค่าและควรค่าแก่การเผยแพร่ไปยังผู้อ่านทั่วโลก สำนักพิมพ์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งท่ีได้จัดจำหน่ายหนังสือเล่มน้ี ซ่ึงนับเป็นคร้ังแรกท่ีทางสำนักพิมพ์ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหวังว่าจะเป็นจุดเร่ิมต้นท่ีจะจัดจำหน่ายหนังสืออีกหลายๆเล่มจากผลผลิตของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯไปท่ัวโลก

    จุฬาฯโลกาภิวัตน์

  • ๕ จุฬาสัมพันธ์

    ศ.ดร.ปราโมทย ์ เดชะอำไพ อาจารยค์ณะวิศวกรรมศาสตร ์ จุฬาฯ ซ่ึงได้รับการประกาศเกยีรติคุณเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ ปี ๒๕๕๑ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยด้ีานวิศวกรรมการคำนวณ กล่าวถึงเน้ือหาในหนังสือเล่มนี ้ว ่าเป็นการนำเอาเทคโนโลยีการคำนวณสมัยใหม่มาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆทางวิศวกรรมความพิเศษของหนังสือเล่มนี ้อยู ่ที ่คอมพิวเตอร์โปรแกรมที่บรรจุอยู ่ภายในเล่ม ความร่วมมือระหว่างสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯกับสำนักพิมพ์อัลฟา ไซน์ อินเตอร์เนชันแนล ในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดประตูทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงาน

    ของคณาจารย์จุฬาฯ สู่ระดับสากล โดยบริษัทฯจะจัดจำหน่ายหนังสือเล่มนี้ในรูปแบบหนังสือปกแข็ง เผยแพร่ในตลาดต่างประเทศอย่างกว้างขวาง

    ครุศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมร่วมมือกับเขตพื้นที่การศึกษา นำเด็กดีเด็กเก่งมาเรียนครูศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะครุศาสตร์มีความพร้อมในการ

    ผลิตครูที่มีคุณภาพสูงให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาภาครัฐ เอกชน และองค์กรท้องถิ่น โดยจะร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ ่น และหน่วยงานเอกชนในการคัดเลือกเด็กดีเด็กเก่งในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษามาศึกษาต่อทางด้านครุศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์พร้อมที่จะร่วมผลิตและต่อยอดวิชาดังกล่าวกับคณะวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตบัณฑิตที่จะเป็นครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่รู ้ลึกรู้จริง เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง

    ให้กับโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ นอกจากนี้คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ยินดีที่จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อยกร่างเรื ่องดังกล่าวเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในเรื ่องของการอนุมัติให้ทุนการศึกษาแก่เด็กดีเด็กเก่งที่จะมาเรียนรู้ เมื่อจบออกไปแล้วจะได้เป็นครูที่มีคุณภาพทำงานในท้องถิ่นของตนเองต่อไป

    อาจารย์จุฬาฯ ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษในการสัมมนานานาชาติกีฬามหาวิทยาลัยแห่งอาเซียน ครั้งที ่ ๑๔ ที่มาเลเซีย

    ศ.ดร.สมบัติ กาญจนกิจ อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “Governance of University Sport in Thailand” ในการสัมมนานานาชาติเน่ืองในเทศกาลมหกรรมกฬีา The 14th Asean University Games 2008 เร่ือง “Role of University Sportin National Sport Development” จัดโดยคณะกรรมการจัดการประชุมทางวิทยาศาสตร์การกีฬาสัมมนานานาชาต ิกระทรวงการอดุมศึกษา ประเทศมาเลเซยี และมหาวทิยาลัย University Putra Malaysia ณ โรงแรมEquatorial Bangi Putrajaya ประเทศมาเลเซีย เมื่อเร็วๆ นี้ การสัมมนาครั้งนี้มีนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ

    จากหลายประเทศมาร่วมบรรยาย มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจำนวน ๒๕๐ คน ประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ผู้ฝึกสอนและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในอาเซียน ๑๑ ประเทศ ผลการสัมมนาจะนำเสนอไปยังคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนตอ่ไป

    เปิดตัวศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯจุฬาลงกรณม์หาวทิยาลัยจัดต้ังศูนย์การสื่อสารนานาชาติแห่งจุฬาฯ (Chula International Communication Center)

    เพ่ือปรับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยช้ันนำระดับนานาชาติท่ีเก่าแก่แต่มีความก้าวหน้าทางวิชาการและรับใช้สังคมประเทศชาตไิดอ้ยา่งเขม้แขง็ ม่ันคง ศนูย์ CIC จะเปน็ศนูยก์ลางในการจดัการและสรา้งระบบการสือ่สารทีท่นัสมยัใหเ้ปน็คลงัปญัญาและสร้างห้องแห่งการสื่อสารออนไลน์ โดยเน้นความเป็นนานาชาติ นำเสนอผลงานของโครงการ Asian World Education Gatewayในการดำเนินงานของศูนย์ CIC จะมุ่งประสานความร่วมมือกับสำนักงานวิรัชกิจและสำนักงานสารนิเทศ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการสื่อสารองค์กรให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป

    ศูนย์ CIC มีท่ีทำการชัว่คราวอยูท่ี่ห้อง ๒๐๕ อาคารจามจรีุ ๒ โทร.๐-๒๒๑๘-๓๒๘๐

  • บุกเบิกความรู้ สมชื่อมหาวิทยาลัยวิจัย สนับสนุนสังคมไทย ก้าวไกลสู่สังคม Searching for

    http://www.research.chula.ac.th/ ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย สำนักบริหารวิชาการ

    จุฬาสัมพั

    นธ์ ฉบับ

    ที ๒ ๑๙

    มกราคม

    ๒๕๕

    จุฬาฯ วิจัย

    อาจารย์จุฬาฯ พัฒนา“เครื ่องปฏิกรณ์เคมีแบบหลายหน้าที ่”ประหยัดต้นทุนไม่เป็นพิษต่อสิ ่งแวดล้อม

    “เคร่ืองปฏิกรณ์เคมี” มีหน้าท่ีเปล่ียนสารตัง้ต้นให้เป็นผลิตภัณฑ์ท่ีต้องการ เช่น เปล่ียนก๊าซธรรมชาตเิป็นพลาสตกิ ฯลฯส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและอื่นๆ แต่ข้อจำกัดต่างๆ เช่น การทำปฏิกิริยาเคมีเปล่ียนสารต้ังต้นท่ีไม่สมบูรณ์ ทำให้เหลือสารปะปนอยู่ในผลิตภัณฑ์ จึงต้องมีหน่วยที่ทำหน้าที ่แยกสารดังกล่าวออกมา ทำให้เกิดความยุ่งยาก เสียเวลา เสียทรัพยากรและแรงงานมาก

    ศ.ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ เป็นผู้ท่ีศึกษาวิจัยเก่ียวกับเคร่ืองปฏิกรณ์เคมีแบบหลายหน้าท่ีสำหรับอุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมีมามากกว่า ๑๑ ปี ผลงานวิจัยน้ีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม

    เคมีหรือปิโตรเคมีในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จนได้รับการประกาศเกยีรติคุณจากสำนกังานคณะกรรมการวจัิยแห่งชาติ(วช.) เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๑ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวจัิย และได้รับทุนส่งเสริมกลุม่วิจัยเมธีวิจัย อาวุโส สกว. ประจำปี ๒๕๕๑

    ศ.ดร.สุทธิชัย กล่าวว่าเคร่ืองปฏิกรณ์เคมีแบบหลายหน้าท่ีถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ข้อจำกัดของเครื่องปฏิกรณ์เคมีแบบเดิมโดยนำกระบวนการแยกสารตัง้ต้นท่ีปะปนในผลิตภัณฑ์มารวมในเคร่ืองปฏิกรณ์เคมี เพ่ือลดข้ันตอนการผลติ ลดการแพรค่วามร้อนออกสู่ส่ิงแวดล้อม เพ่ิมค่าการควบคุมการเลือกเกิดของผลิตภัณฑ์ลดปฏิกิริยาบางอย่างที่อาจเปลี่ยนสารตั้งต้นเป็นผลิตภัณฑ์ท่ีมี

    มูลค่าน้อยกว่าที่ต้องการและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สารตั ้งต ้นแปลงเป ็นผลิตภัณฑ์ได้มากกว่าเดิม การผลิตจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้ต้นทุนที่น้อยลง ทำให้สามารถแข่งขันทางการค้ากับต่างชาติและบริษัทอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น และเป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติประเภทพลังงานอีกด้วย เคร่ืองปฏิกรณ์เคมีแบบหลายหน้าที่มีหลายชนิดและได้รับการพัฒนามาในระยะเวลาไม่เท่ากัน มีท้ังใช้เวลา ๒๐ ปี จนถึง ๑๐๐ ปี ขณะนีค้ณะผู้วิจัยกำลังศึกษาและพัฒนาในส่วนของหอกลั ่นแบบมีปฏิกิริยาเพื่อให้การเกิดปฏิกิริยาการแยกสารนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

    ศ.ดร.สุทธิชัย กล่าวเพิ ่มเติมว่า เครื ่องปฏิกรณ์เคมีเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่และใช้เงินลงทุนสูงมาก โดยค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเครื่องปฏิกรณ์เคมีหนึ่งเครื่องนั้นสูงกว่า ๑๐๐ ล้านบาทการพัฒนาจึงต้องดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องมีการทดลองจนมั่นใจก่อนว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถใช้ในโรงงานได้จริงและจะไม่เกิดปัญหาตามมา การทำงานวิจัยต้องร่วมมือกับบริษัทต่างๆเช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี นอกจากนี้การได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ช่วยให้สามารถสร้างทีมวิจัยมาต่อยอดเพื่อศึกษาการนำเครื่องปฏิกรณ์เคมีแบบหลายหน้าที่มาใช้กับการผลิตไบโอดีเซลซึ ่งมีค ่าใช้จ ่ายถูกกว่ามากเมื ่อเทียบกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอื ่นๆ ขณะนี้ได้เริ ่มต้นการวิจัยดังกล่าวเป็นปีแรก คาดว่าอีก ๑ - ๒ ปีจะสามารถรายงานความก้าวหน้าของการศึกษาวิจัยได้

    อาจารย์จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ ่นใหม่ ASAIHLผศ.นสพ.ดร.สนธยา เตียวศิริทรัพย์ หน่วยปรสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตว

    แพทยศาสตร ์จุฬาฯ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ “The 2008 ASAIHL-SCOPUS Young ScientistAwards” สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร ในการประชุม The 2008 ASAIHL 28th General Conferenceผศ.นสพ.ดร.สนธยาเป็นหนึ ่งในสามนักว ิทยาศาสตร ์ไทยที ่ได ้ร ับรางว ัลดังกล่าวซึ ่งจ ัดข ึ ้นเป็นปีแรกโดยสมาคมสถาบนัการศกึษาขัน้อดุมศกึษาแหง่ภมิูภาคเอเชยีตะวนัออกเฉยีงใต ้ (The Association of Southeast

    Asian Institutions of Higher Learning : ASAIHL) และสำนักพิมพ์ Elsevier ณ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย รัฐปีนังประเทศมาเลเซีย เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยรุ่นใหม่ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

    ผลงานวิจัยที่โดดเด่นของ ผศ.นสพ.ดร.สนธยา เป็นการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่ปล่อยออกมาจากหนอนพยาธิหัวใจสุนัข และขณะนี้กำลังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของยุง ค้างคาว และนกอพยพที่มีผลต่อการระบาดของเชื้อไวรัสสมองอักเสบ

  • ๗ จุฬาสัมพันธ์

    Knowledge - Flourishing as a Research University - Serving Thai Society - Entering the Global Arena

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช้ัน ๖ อาคารจามจุรี ๕ โทร. ๐-๒๒๑๘-๐๒๒๐ E-mail : [email protected]

    é

    แพทย์จุฬาฯได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมกุมารศัลยแพทย์แห่งภาคพื้นเอเซียเป็นทีย่อมรับกันวา่การแพทยไ์ทยมคีวามกา้วหนา้เป็นทีย่อมรับของนานาชาต ิท้ังในเชงิ

    วิชาการและการให้บริการในด้านการผ่าตัดเด็กหรือกุมารศัลยศาสตร์ แพทย์ไทยที่รู ้จักและมีความรู้ความสามารถไม่น้อยหน้าชาติใด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แจ้งว่า ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพกุมารศัลยแพทย์จากจุฬาฯ ซ่ึงปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกุมารศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยได้รับเลือกใหเ้ป็นนายกสมาคมกมุารศลัยแพทยแ์หง่ภาคพ้ืนเอเชยี (President of the AsianAssociation of Pediatric Surgeons) โดยมวีาระการดำรงตำแหนง่ ๓ ปี (ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๓)นับเป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้สำหรับสมาคมฯที่มีการจัดตั้งขึ้นมาถึง ๓๖ ปีแล้ว

    นอกจากนัน้จากการประชมุวิชาการนานาชาต ิThe Biennial Congress of Pediatric Surgeons ซ่ึง ศ.นพ.สุทธิพร เป็นประธานคณะกรรมการจัดการประชุมเมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมพูลแมนคิงเพาเวอร์ การประชุมประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยมีแพทย์ผ่าตัดเด็กจากทวีปเอเซียและทั่วโลกเข้าร่วมประชุมเกือบ ๓๐๐ คน มีการนำเสนอผลงานวิจัย ผลการรักษา วิธีการรักษารูปแบบใหม่ ๆ รวมกว่า๒๕๐ หัวข้อ มีแพทย์ผ่าตัดเด็กที่มีชื่อเสียงในระดับโลกเดินทางมาร่วมงานและร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์อีกนับสิบคนซึ่งถือเป็นโอกาสดียิ่งสำหรับแพทย์ผ่าตัดเด็กของไทยที่มีจำนวนไม่มาก ภาระงานสูง จะได้ติดตามความก้าวหน้า รวมถึงมีการสาธิตและอบรมการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องในเด็กซึ่งเป็นแนวโน้มการผ่าตัดในอนาคต การผ่าตัดแยกเด็กแฝดสยามหรือแฝดที่มีส่วนของร่างกายติดกันซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ยุ่งยากและอันตราย

    ศ.นพ.สุทธพิร จิตตมิ์ตรภาพ เคยดำรงตำแหนง่รองอธกิารบด ีรับผิดชอบดา้นการวจัิยและวรัิชกจิ รองคณบดบัีณฑติวทิยาลยัรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิชาการ ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งผู ้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย ของสภากาชาดไทย และรองประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

    วิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านสื่อมวลชน ปี ๒๕๕๑วิทยานิพนธ์เร่ือง “คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤติทางสังคม” ของ น.ส.เสริมศิริ

    นิลดำ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาฯ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านส่ือสารมวลชนประจำปี ๒๕๕๑ รางวัล “กำพล วัชรพล” ในฐานะที่เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นที่มีความสมบูรณ์และลึกซึ้งในแง่ประเด็นปัญหาการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งจะนำไปสู่การอ้างอิงเพื่อการพัฒนาวิชาชีพวารสารศาสตร์

    ว ิทยานิพนธ์เร ื ่องนี ้ม ีเป ้าหมายมุ ่งศ ึกษาปัญหาสื ่อมวลชนในด้านการรายงานข่าวและการนำเสนอประเด็นเนื ้อหาข่าว หรือองค์ประกอบข่าวเพื ่อ

    สร้างคุณค่าความเป็นข่าว โดยเฉพาะข่าวในภาวะวิกฤติทางสังคม ผู้วิจัยเลือกศึกษาสภาวะวิกฤติในสังคมไทยกรณีปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และวิกฤติไข้หวัดนก เพื่อแสวงหาข้อสรุปและแนวทางจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับรายงานข่าวในภาวะวิกฤตินี้ว่า สื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ควรจะมีแนวทางการนำเสนอข่าวอย่างไร และเนื้อหาข่าวควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เพื่อทำให้ข่าวที่นำเสนอมีทั้งคุณค่าทางข่าวและคุณค่าทางสังคมในการแก้ปัญหาวิกฤติสังคม

    งานวิจัยพบว่าที่ผ่านมาผู้กำหนดแนวทางนำเสนอเนื้อหาข่าวมักจะมาจากฝ่ายนักข่าว บรรณาธิการข่าว หรือผู้บริหารองค์กรข่าว โดยไม่ได้พิจารณาให้ความสำคัญต่อทัศนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนอื่นเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นประชาชนผู้เกี่ยวข้อง ผู้บริโภคข่าวสาร นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและฝ่ายปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

  • จุฬาสัมพั

    นธ์ ฉบับ

    ที่ ๒ ๑๙

    มกราคม

    ๒๕๕

    จัตุรัสจุฬาฯ

    จุฬาฯ กับ “หัวหมากเกมส์”

    เมื่อวันอังคารที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๒ ศ.นพ.ภิรมย์กมลรัตนกุล อธิการบดีเป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าของนิสิตนักกีฬาจุฬาฯ จำนวน ๓๒๒ คนที ่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฯ ครั ้งที ่ ๓๖“หัวหมากเกมส์” ซึ่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นเจ้าภาพระหว่างวันท่ี ๑๑ – ๑๘ มกราคม ๒๕๕๒ ร่วมชิงชัยเหรียญรางวัลใน ๒๒ ชนิดกีฬา ในโอกาสน้ีอธิการบดีได้กล่าวให้โอวาทแก่นิสิตนักกีฬาจากรั้วจามจุรีด้วย

    ต้อนรับนักวิชาการผู ้ทรงคุณวุฒิจากสวิตเซอร์แลนด์

    เม่ือวันพฤหัสบดีท่ี ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ ศ.นพ.สุรศักด์ิฐานีพานิชสกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และ ศ.ดร.สมบัติ กาญจนกิจจากสำนกัวชิาวทิยาศาสตรก์ารกฬีา ต้อนรับ Prof. Dr. Karl J.Neeser, Lausanne University ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา และคณะครุศาสตร์ซึ่งมาเยี่ยมกิจการและปรึกษาหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน

    พิธีวางพุ่มดอกไม้เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ

    ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตจุฬาฯ ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื ่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันท่ีระลึกวันพระราชทานรฐัธรรมนูญ เม่ือวันพุธท่ี ๑๐ ธันวาคม๒๕๕๑ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้าอาคารรัฐสภา

    สถาบันว ิทยบริการรับมอบหนังสือเพื ่อการศึกษา

    เม่ือวันพฤหัสบดีท่ี ๔ และวันศุกร์ท่ี ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ผศ.ดร.พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิทยบริการรับมอบหนงัสือ “Internal Auditing : Assurance & ConsultingServices” หนังสือประกอบการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการกำกับดูแลกิจการ คณะพาณิชยศาสตรแ์ละการบัญชี จาก ผศ.วันดา พัฒนากิจการุณรองประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และรับมอบหนังสือ“A Treasure Book” หนังสือสำคัญทางพุทธศาสนาจาก Mr.Wang Ping Kwei ประธานฝ่ายพิธีกรรม มูลนิธิ กาจู มาชางมอนัสเทอรี่ (ประเทศไทย) เพื่อให้สถาบันวิทยบริการเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้สำหรับนิสิต อาจารย์ ตลอดจนผู้สนใจในวิชาและศาสตร์ท่ีเก่ียวข้อง โดยมีคณะผู้บริหารของสถาบนัฯ ร่วมรับมอบ

  • ๙ จุฬาสัมพันธ์

    ผู้บริหารบริษัท ESSO บรรยายพิเศษ

    เม่ือวันศุกร์ท่ี ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ นายมงคลนมิิตรเอ้ือเชิดกุล กรรมการผู้บริหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ และ ดร.อดิศักด์ิแจ้งกมลกุลชัย กรรมการและผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการกล่ัน บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายพิเศษเรื่องEnergy in – all its form – is critical to economic growth,development and social welfare. ให้กับนิสิตวิทยาลัยปิโตรเลียมและปโิตรเคม ี จุฬาฯ เพือ่เพิม่พนูความรูแ้ละแนวทางการพฒันาด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมีของประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการด้านพลังงานในอนาคต”

    นิสิตขอพรปีใหม่จากผู้บริหารคณะนิติศาสตร์

    เมื ่อวันจันทร์ที ่ ๕ มกราคม ๒๕๕๒ รศ.ธิติพันธุ์เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ เป็นตัวแทนผู้บริหารและคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ รับมอบของที่ระลึกพร้อมให้พรปีใหม่แก่ตัวแทนนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเข้าเยี่ยมคารวะเนือ่งในโอกาสขึน้ปีใหม่ ๒๕๕๒

    สัมมนานำเสนอผลงานวิจัย

    ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาฯ จัดสัมมนานำเสนอผลงานวิจัยเร่ือง “ภาพลักษณ์พระพุทธเจ้าในสมัยวิกตอเรีย : กรณีศึกษากวีนิพนธ์ The Story of Gautama Buddha and His Creed: An Epic (1871) ของ Richard Phillips” นำเสนอโดย อ.วิศิษย์ป่ินทองวิชัยกุล สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมผู้รับทุนวิจัยของศูนย์ยุโรปศึกษาฯ โดยมี ผศ.ดร.จาตุรี ติงศภัทิย์ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร ์ จุฬาฯ เป็นผู้วิจารณ์ผลงานวิจัยเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ ห้อง ๒๐๓ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

    นิสิตรัฐศาสตร์ศึกษาภาคสนามที่หนองคาย – เวียงจันทร์

    เมื่อเร็วๆนี้ นิสิตชั้นปีที่ ๔ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จำนวน ๕๙ คน ท่ีเรียนวิชา “สังคมวิทยาชนบท” ซึ่งมี รศ.สุริชัย หวันแก้ว เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาได้เดินทางไปศึกษาภาคสนาม ณ จังหวัดหนองคาย และศึกษาดูงาน ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจถึงบทบาทของสังคมชนบทในสังคมไทยในปัจจุบัน นิสิตได้เข ้าพบนายกวีกิตติสถาพร ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ ในโอกาสน้ีนิสิตได้ไปเย่ียมคารวะและฟังข้อคิดเห็นจากนายวิบูลย์ คูสกุล เอกอัครราชทูตประเทศไทยประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากนั้นได้ไปศึกษาดูงานท่ีศูนย์อบรมร่วมพัฒนา (PADETC) ของ อ.สมบัด สมพอนผู ้ก ่อตั ้งศ ูนย์อบรมร่วมพัฒนา และเจ้าของรางวัลแมกไซไซสาขาผู้นำชุมชน ปี ๒๕๔๘

  • จุฬาสัมพั

    นธ์ ฉบับ

    ที่ ๒

    ๑๙

    มกราคม

    ๒๕๕

    ๑๐

    อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลผลงานวิชาการดีเด่น“TTF Award” ประจำปี ๒๕๕๑

    สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ได้นำเสนอหนังสือเร่ือง “นโยบายตา่งประเทศญ่ีปุ่น : ความเปล่ียนแปลงและความตอ่เน่ือง”ผลงานของ ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เข้ารับการพิจารณารางวัลผลงานทางวิชาการดีเด่น TTF Award ประจำปี ๒๕๕๑ ซึ่งมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้น เพื่อประกาศเกียรติคุณผลงานวิชาการของนักวิชาการไทยให้สร้างสรรค์ผลงานที่ทรงคุณค่า เอื้อประโยชน์ทางภูมิปัญญาแก่สังคมไทยให้เกิดการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน

    ผลปรากฎวา่หนังสือดังกล่าวได้รับรางวัลผลงานทางวิชาการดีเด่น TTF Award ประจำปี ๒๕๕๑ สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิธีมอบรางวัลมีข้ึนเม่ือวันศุกร์ท่ี ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ หอประชุมศรีบูรพามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    “นโยบายต่างประเทศญี่ปุ่น : ความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่อง” โดย ศ.ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชูเป็นผลงานวิชาการที่โดดเด่นมาก เพราะไม่เพียงนำเสนอการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้วยข้อมูลหลักฐานทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ทั้งจากนักวิชาการตะวันตกและนักวิชาการเอเชีย รวมทั้งญี่ปุ่น ยังนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างกว้างขวางคลอบคลุมนโยบาย

    ต่างประเทศญี่ปุ่นต่อภูมิภาคต่างๆ ที่สำคัญในโลก รวมทั้งมีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจความซับซ้อนของเนื้อหาได้อย่างชัดเจน นับเป็นงานวิชาการที่เปี่ยมด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง

    บัณฑิตและนิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัลศิลปะเพื่อเยาวชนไทย ๒๕๕๑นายกฤตย์ดิศร กรเกศกมล บัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ

    และนายสุระศักดิ์ อุตสาห์ นิสิตปริญญาโทภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ คว้ารางวัลยอดเย่ียมจากการประกวด “รางวัลศิลปะเพ่ือเยาวชนไทย ๒๕๕๑” คร้ังท่ี ๕(Young Thai Artist Award 2008) ในสาขาวรรณกรรมและสาขาการประพนัธ์ดนตรี จัดโดยมูลนิธิซิเมนตไ์ทย ได้รับเงินรางวลัคนละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท

    ผลงานของกฤตย์ดิศรที ่ได้รับรางวัลยอดเยี ่ยมสาขาวรรณกรรมเป็นบทกวีนิพนธ์มีชื่อว่า “โลกหมุนเร็วขึ้นกว่าเดิม” ซึ่งกล่าวถึงชีวิตของมนุษย์ในหนึ่งวันที่มีทั้งความจริงและจินตนาการการอยู่บนโลกและการหมุนตามโลก ทำให้ชีวิตถูกโยกไปทุกด้านกวีนิพนธ์เรื ่องนี ้ได้รับแรงบันดาลใจจากบางเหตุการณ์ที ่คนเรามักคิดว่าไม่สำคัญหรือไม่จำเป็นต่อชีวิตแท้จริงกลับสะท้อนความสัมพันธ์ ถึงกันอย่างล้ำลึก การมองชีวิตอย่างละมุนละไมบางคร้ังทำให้พบความจริงอันเป็นสุนทรียะแห่งความคดิและจิตใจ และจะทำใหม้นุษย์เปล่ียนแปลงโลกได ้ ซ่ึงคำตอบทีไ่ด้น้ันจะขึ้นอยู่กับจินตนาการของตัวมนุษย์เอง

    ส่วนรางวลัยอดเย่ียมสาขาการประพนัธ์ดนตรีของสุระศักด์ิเป็นบทเพลงทีมี่ช่ือว่า “ปฏิจจสมุปบาท Requiem : in memoriumZurazit Aoodsah (1989-2007)” มีแนวความคิดมาจากการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายและการอาศัยซึ่งกันและกันของสิ่งต่างๆทุกส่ิงล้วนเป็นอนิจจัง เช่นเดียวกับเสียงเพลง เม่ือเสียงน้ีบรรเลง จึงมีเสียงน้ันบรรเลง เม่ือเสียงน้ีหยุด เสียงอ่ืนๆ จึงหยุด และใช้โครงสร้างของศูนย์กลางเสียงในลักษณะเซอร์เคิล โปรเกรสช่ัน บทเพลงน้ีประพันธ์ข้ึนเพ่ือเป็นอนุสรณ์แด่นายสุรสิทธ์ิ อุตสาห์ น้องชายของสุระศักด์ิที่เสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรม

    ทั้งนี้ผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ดีเด่นและชมเชยจากการประกวดรางวัลศิลปะเพื่อเยาวชนไทย ๒๕๕๑ จะจัดแสดงณ พิพิธภัณฑสถานแหง่ชาติ หอศิลป์ (หอศิลปเจ้าฟ้า) กรุงเทพฯ ต้ังแต่บัดน้ี - ๓๑ มกราคม ๒๕๕๒

    เชิญร่วมการประชมุใหญส่ามัญประจำปร้ีานสหกรณจุ์ฬาฯขอเชิญสมาชิกสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีการเงิน ๒๕๕๑ ในวันพุธที่

    ๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมอาคารเปรมบุรฉัตร สมาชิกผู้ร่วมเข้าประชุมรับของสมนาคุณฟรีและมีสิทธิลุ้นรับของรางวัลพิเศษต่างๆ มากมาย

  • ๑๑ จุฬาสัมพันธ์

  • จัดทำโดย : สำนักงานสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ปรึกษา : อธิการบดีสถานที่ติดต่อ : สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐โทร. ๐-๒๒๑๘-๓๓๖๔-๘ โทรสาร ๐-๒๒๑๕-๔๘๐๔, ๐-๒๒๑๘-๓๓๖๙พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. ๐-๒๒๑๕-๓๖๑๒นางศรินทิพย์ นิมิตรมงคล ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาวันจันทร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๒

    ชำระคา่ฝากสง่เปน็รายเดอืนใบอนุญาตที่ 5/2530ปณฝ.จุฬาลงกรณ์

    Website : www.chula.ac.th/chula/th/news/curel/2005.html E-mail : [email protected]

    เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ประจำปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร ์ จุฬาฯ โดยความสนบัสนุนจากศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม จุฬาฯ ขอเชิญชมเทศกาล

    ภาพยนตร์นานาชาติ ประจำปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒ (Chulalongkorn University International Film Festival 2008) จัดฉายภาพยนตร์เร่ืองเย่ียมจากทัว่โลก ทุกวันศุกร์ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ ห้อง ๕๐๓ อาคารบรมราชกมุารี วันศุกร์ท่ี ๒๓ มกราคม ๒๕๕๒ เร่ือง “CaliforniaDreamin’” จากประเทศโรมาเนีย วันศุกร์ท่ี ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ เร่ือง “XXY” จากประเทศอาร์เจนติน่า และวันศุกร์ท่ี ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เร่ือง“The Red Balloon” และ “The Flight of the Red Balloon” จากประเทศฝรั่งเศส และเชิญฟังการเสวนาหลังชมภาพยนตร์โดย๓ นักวิจารณ์ภาพยนตรช่ื์อดัง ได้แก่ อ.กิตติศักด์ิ สุวรรณโภคิน รศ.นพมาส แววหงส์ และ อ.ก้อง ฤทธ์ิดี

    ผู้สนใจเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯโทร. ๐-๒๒๑๘-๔๘๐๒ หรือ chulafilmfest.multiply.com

    เปดิตวันสิิตจฬุาฯ “ผู้อัญเชิญพระเกีย้ว” งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๖๕น.ส.ธัญลักษณ์ ศิริรัตนสุคนธ์ นิสิตชั้นปีที่ ๓ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และ

    นายพฤฒิพงศ์ เตียวศิริชัยสกุล นิสิตชั้นปีที่ ๔ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ –ธรรมศาสตร์ คร้ังท่ี ๖๕ ซ่ึงจะจัดข้ึนในวันเสาร์ท่ี ๓๑ มกราคม ๒๕๕๒ ณ สนามศุภชลาศัย

    แนวคดิหลักของการจดังานในปน้ีีคือ “สานต่อก่อความคิด สร้างจิตสาธารณะ” เพ่ือให้นิสิตจุฬาฯสำนกึในการทำหนา้ท่ีตอบแทนสงัคมสมดังปณิธานที่ว่า “เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” ผ่านกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น ได้แก่ กิจกรรมรับบริจาคโลหิต“เลือดไม่แบ่งสี” และโครงการ “ฝากรักไปกับถุงผ้า” เพ่ือนำไปมอบให้กับเด็กๆในชุมชนคลองเตย

    พฤฒิพงศแ์ละธญัลักษณ์เปิดแผยวา่ รู้สึกเป็นเกยีรตแิละภาคภมิูใจอย่างยิง่ทีไ่ด้รับเลือกใหเ้ป็นผู้แทนนสิิตจุฬาฯ ในตำแหนง่ผู้อัญเชิญพระเกีย้ว ท้ังสองกล่าวว่า งานฟุตบอลประเพณจุีฬาฯ– ธรรมศาสตร์ เป็นกิจกรรมท่ีสานสัมพันธ์ระหว่างท้ังสองมหาวทิยาลัยซึ่งสืบทอดมายาวนาน กิจกรรมดังกล่าวเป็นการหล่อหลอมประสบการณ์การทำงานและความคิดของนิสิตนักศึกษาถ่ายทอดสู่สาธารณชนให้ได้รับรู้

    ทั้งสองได้กล่าวเชิญชวนนิสิต นักศึกษาทั้งสองสถาบัน รวมทั้งพี่เก่าจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ และประชาชนทั่วไปมาพิสูจน์พลังของนิสิตจุฬาฯ – นักศึกษาธรรมศาสตร์ ในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีที่เก่าแก่และมีความหมาย ซึ่งจะสร้างความประทบัใจแกผู้่ชมอยา่งแนน่อน

  • c