lanna dhamma book chest wat sungmen & wat phraluang phrae

52
ตู้ และ หบธรรมล้านนา วัดสูงเม่น และ วัดพระหลวง จังหวัดแพรพันธวัช ภราญคำา

Post on 23-Jul-2016

246 views

Category:

Documents


7 download

DESCRIPTION

ตู้และหีบธรรมล้านนา วัดสูงเม่นและวัดพระหลวง จังหวัดแพร่

TRANSCRIPT

Page 1: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

ตู้ และ

หีบธรรมล้านนา

วัดสูงเม่น และ

วัดพระหลวง

จังหวัดแพร่

พันธวัช ภิราญคำา

Page 2: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 3: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

1 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

แนวคิดและต้นกำาเนิดตู้พระธรรมโบราณ

ต้นกำาเนิดตู้ไทยโบราณ เป็นตู้ที่มีลักษณะพิเศษเป็นแบบฉบับของไทยโดย

เฉพาะ ในปัจจุบันยังไม่พบ หลักฐานว่าตู้ดังกล่าวมีต้นกำาเนิดเริ่มต้นใช้กันมาตั้งแต่

ครั้งใด แม้ในศิลาจารึกจะกล่าวถึงการสร้างวัสดุสิ่งของหลายสิ่งหลายอย่าง เพื่อ

เป็นการบูชา อุทิศแด่พระศาสนาไว้ตามที่ต่างๆ มากมายแต่ไม่ปรากฏข้อความใน

ศิลาจารึกหลักใด ณ ที่ใดบ่งบอกว่าได้มีการสร้างตู้ หรืออุทิศตู้ให้แก่วัดหรือพระ

ศาสนา แต่ยังคงมีแต่คำาบางคำาปรากฏอยู่ในศิลาจารึกบางหลักซึ่งนำามาพิจารณาใช้

เป็นจุดโยงของต้นกำาเนิดตู้พระธรรม เช่น คำาว่าพระมนเทียรธรรม หอปิฏก หอพระ

ปิฏกธรรม ซึ่งหมายถึง หอหรืออาคารที่เก็บพระไตรปิฏก หรือพระธรรมคัมภีร์ ถ้า

จะเรียกกันตามความนิยมในปัจจุบันคำาว่า พระมนเทียรธรรม หอปิฏก และหอปิฏก

ธรรม ก็คือหอไตรหรือหอหนังสือ หรือหอสมุดก็อาจจะเรียกได้ คำาทั้งสามดังกล่าว

ข้างต้นนี้ปรากฏเป็นครั้งแรก ในศิลาจารึกหลักต่างๆ

Page 4: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 5: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

3 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ลักษณะตู้ไทยโบราณ

ตู้ไทยโบราณมีลักษณะอยู่ในทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ด้านบนสอบทำา ให้ดู

แคบกว่าด้านล่าง ส่วนมากมุมขาตู้ทั้ง 4 ด้าน มีขาตั้งเป็นขาสี่เหลี่ยม (ตู้ไทยโบราณ

ลักษณะแบบนี้ได้ชื่อว่า ตู้ขาหมู) เหนือตู้ขึ้นไปมีเสาหัวเม็ดทรงมันอยู่ทั้ง 4 มุม เช่น

กันบางตู้ช่างไม่ได้กลึงเป็นรูปหัวเม็ด แต่จะทำาเสาสี่เหลี่ยมสูงให้ได้ส่วนสัดแต่พอ

งามกับความสูงของตู้ไทยโบราณซึ่งมีขนาดแตกต่างกันไปมีทั้ง ใหญ่และเล็กแต่บาง

ครั้งช่างไม่ได้ทำาเสาหัวเม็ดไว้เลยก็มี ความสูงของตู้ไทยโบราณนั้นอยู่ในระหว่าง 100

ซ.ม. – 288 ซ.ม. ด้านหน้ากว้างระหว่าง 80 ซ.ม. – 200 ซ.ม. ด้านข้างกว้างระหว่าง

57 ซ.ม. –180 ซ.ม. ขอบตู้ด้านบนประกอบด้วยขอบซึ่งตกแต่งด้วยลายอยู่เหนือ

ส่วนที่กลึง หรือจำาหลักเป็นรูปบัวหงาย ส่วนขอบตู้ด้านล่างประดิษฐ์ขอบอยู่เหนือ

ส่วนที่ทำาเป็นรูปบังหงาย รูปบัวคว่ำาก็มีอยู่บ้าง แต่ทำากันเป็นส่วนน้อย ด้านที่ใช้ปิด

และเปิดประตูตู้คือด้านหน้า ซึ่งมีบานประตูติดบานพับเพื่อสะดวกในการปิด เปิด

2 บาน ภายในตู้มีชั้นไม้ซึ่งเดิมพับสะดวกในการปิด เปิด 2 บาน ภายในตู้มีชั้นไม้ซึ่ง

เดิมใช้สำาหรับวางพระคัมภีร์ ซึ่งห่อไว้อย่างดีโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ชั้น และไม่ตกแต่ง

ลวดลาย ส่วนใหญ่มักจะลงรักแดงทึบส่วนสำาคัญของตู้ไทยโบราณที่ก่อกำาเนิด

ประเภทของตู้ให้มีชื่อแตกต่างกันไปนั้น คือส่วนล่าง นับตั้งแต่ใต้ขอบล่างของตู้ลงมา

ตู้ไทยโบราณที่มีขาตู้เป็นขาสี่เหลี่ยม

Page 6: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 7: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

นิยมทำาเป็นรูปลักษณะแตกต่างกันหลายอย่าง และมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังต่อไปนี้

1.ตู้ขาหมู ได้แก่ ตู้ที่ใต้ขอบตู้ด้านล่างลงไปมีขาตู้เป็นขาตรงทรงสี่เหลี่ยมทั้ง

4 ขา และบางตู้อาจมีเชิงตู้เป็นรูปปากสิงห์ หรือหูช้าง

2. ตู้ขาหมูมีลิ้นชัก ได้แก่ ตู้ที่มีขาสี่เหลี่ยมเหมือนตู้ขาหมูดัง แต่เพิ่มส่วนที่

เป็นกรอบลิ้นชักและตัวลิ้นชักเข้าไปใต้ขอบล่าง ก่อนถึงขาตู้

3. ตู้เท้าสิงห์ ได้แก่ ตู้ที่มีการจำาหลักส่วนล่างของขาตู้ให้เป็นรูปเท้าสิงห์ มี

นิ้วและเล็บสิงห์ งดงาม บางตู้ช่างได้ประดิษฐ์พิเศษขึ้นไป ทำาเป็นรูปเท้าสิงห์เหยียบ

อยู่บนลูกแก้ว

4. ตู้เท้าสิงห์มีลิ้นชัก ได้แก่ ตู้ที่มีขาตู้เป็นรูปเท้าสิงห์ แต่เพิ่มส่วนที่เป็นก

รอบลิ้นชัก และตัวลิ้นชักเข้าไป ใต้ขอบล่าง ก่อนถึงขาตู้

5. ตู้ฐานสิงห์ ได้แก่ ตู้ที่ไม่มีขา แต่ตัวตู้ตั้งอยู่บนแท่นฐานเป็นชั้นซ้อน

จำาหลักลายรูปขาสิงห์ และปากสิงห์

6. ตู้เท้าคู้ ได้แก่ ตู้ที่มีส่วนของขาตู้ตอนบนต่อจากขอบล่างลงไป ทำาเป็นรูป

สี่เหลี่ยม และลบเหลี่ยมนอกตรงมุมขาตู้ให้มนเล็กน้อย ส่วนตอนล่างของขาตู้โค้งคู้

เข้าไปใต้พื้นตู้

ลักษณะส่วนสำาคัญของตู้ไทยโบราณที่ปรากฏมีมาและราชบัณฑิตได้

กำาหนดอายุ และแบ่งสมัยของศิลปะตู้ไทยโบราณออกเป็น ๓ สมัย ด้วยกันดังนี้ คือ

สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์

5 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

Page 8: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 9: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

7 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

การตกแต่งตู้พระธรรมและหีบพระธรรม

1. การตกแต่งตู้พระธรรม

ตู้พระธรรมส่วนมากมักตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของตู้ด้วยลวดลายไทย เป็น

ลายรดน้ำาบนพื้นรักดำาที่ทำาเป็นลายกำามะลอลายจำาหลักประดับกระจก และลาย

ประดับมุก ก็มีบ้างแต่เพียงส่วนน้อย สำาหรับลายที่ใช้ตกแต่งในแต่ละส่วนของตู้ ช่าง

ก็จะเลือกใช้ลายตามประเภท หรือหน้าที่อันเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะลายไทย

เช่น ลายหน้ากระดาน จะใช้ตกแต่งเฉพาะขอบบน และขอบล่างของตู้ ส่วน ลายเชิง

ใช้เฉพาะเสาขอบตู้ตอนบนและตอนล่าง

2.ส่วนต่างๆ ของตู้พระธรรมที่มีการตกแต่ง

ด้านหน้าและด้านข้างของตู้ ด้านหน้าซึ่งทำาเป็นบานประตู 2 บาน และด้าน

ข้างทั้งซ้ายและขวาเป็นส่วนที่ตกแต่งลวดลายลักษณะเดียวกัน เช่น มีลายกระหนก

เปลวเครือเถา ลายกระหนกใบเทศ ลายก้านขด ลายเหล่านี้ช่างมักตกแต่งให้มีนก

คาบ นาคคาบ หรือออกเถาแบบต่างๆ เคล้าภาพสัตว์ มีนก กระรอก ลิง เป็นอาทิ

บางตู้ก็มีภาพประกอบ ทั้งภาพเล่าเรื่อง และภาพลอยตัว เช่น ภาพพุทธประวัติ

วรรณกรรมชาดก รามเกียรติ์ เทพทวารบาล และสัตว์หิมพานต์

Page 10: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 11: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

9 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ขอบตู้ด้านบนและด้านล่าง จะใช้ลายหน้ากระดาน เช่น ลายประจำายาม

ลูกฟัก ลายประจำายามลูกฟักก้ามปู ลายดอกซีก ดอกซ้อน ลายหมอนทอง ลาย

เกลียวใบเทศ ลายสังวาลเพชรพวง

เสาขอบตู้ทั้ง 4 เสา ระหว่างช่วงกลางเสานิยมเขียนลายก้านต่อดอก ลาย

รักร้อย ซึ่งมีทั้งลายรักร้อยหน้าสิงห์ ลายรักร้อยบัวร้อย และลายรักร้อยใบเทศ ส่วน

ตอนบนและตอนล่าง ของเสาขอบตู้ มักเป็นลายกรวยเชิง และมีบางตู้ที่ช่วงกึ่งกลาง

เสาตกแต่งด้วยลายประจำายามรัดอก

เชิงตู้ ตู้พระธรรมที่มีเชิงตู้ส่วนมากจะทำาเป็นรูปปากสิงห์ หรือหูช้าง ซึ่งนิยม

ทำาด้วยกรรมวิธีต่างๆ กัน เช่น ลายรดน้ำาประดับกระจก และจำาหลักฉลุโปร่ง สำาหรับ

ลวดลายที่ใช้มีลายก้านขด ลายดอกพุดตานลายกระหนกเปลวเครือเถา นกคาบ

นาคคาบ ออกเถาเทพนม ช่อเปลวหางโต

เสาขาตู้ โดยเฉพาะตู้ขาหมู นิยมตกแต่งด้วยลายกรวยเชิง ลายกาบพรหม-

สิงห์ ลายครุฑจับนาค และที่เขียนเป็นภาพยักษ์แบก ลิงแบก และท้าวเวสสุวัณยืน

ถือตระบอง ก็มี ส่วนตู้เท้าสิงห์นั้น นอกจากจะจำาหลักขาตู้เป็นรูปเท้าสิงห์ ซึ่งมีเล็บ

สิงห์เรียวแหลมแล้ว ยังนิยมทำาเท้าสิงห์นั้นเหยียบอยู่บนลูกแก้วด้วย และบางตู้ยัง

ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยลายต่างๆ เช่น ลายก้านขด และที่เขียนเป็นภาพนารายณ์ทรง

ครุฑยุดนาคก็มี

สำาหรับตู้ฐานสิงห์นั้น ส่วนใหญ่จะทำาเป็นฐานจำาหลักประดับกระจก ส่วน

ที่เป็นลายหน้ากระดานมักทำาเป็นลายประจำายามลูกฟักก้ามปู เรียงลำาดับชั้นฐาน

ด้วยลายบัวหลังสิงห์ ปากสิงห์ และเท้าสิงห์ ลายทั้งหมดประดับด้วยกระจกสีแดง สี

เหลือง สีเขียว สีขาว และสีน้ำาเงิน โดยส่วนใดที่ไม่ประดับกระจกสี ก็จะลงรักปิด

ทองทึบ องค์ประกอบของลายจำาหลักประดับกระจก แสดงให้เห็นถึงความสามารถ

อันชาญฉลาดของช่างไทยโบราณ ที่ตกแต่งส่วนต่างๆ ของตู้ ให้มีความผสมผสาน

กัน ระหว่างกระจกสี และลายทอง ขาตู้อีกประเภทหนึ่งคือ ตู้เท้าคู้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่

นิยมตกแต่งลวดลาย มักลงรักทึบเพียงอย่างเดียว

Page 12: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 13: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

11 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ความเป็นมาของหีบพระธรรมล้านนา

หีบธรรม หรือ หีดธัมม์ (หีดธรรม) เป็นตู้พระธรรมหรือตู้พระไตรปิฎก

ในภาคกลางเป็น คำาที่ชาวเหนือใช้เรียกหีบเก็บคัมภีร์ใบลาน มีใช้สืบต่อกันมาแต่

โบราณกาลในดินแดนล้านนา ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์ใบลานที่จารด้วยอักษรธรรมล้าน

นาซึ่งเป็นอักษรที่ใช้อย่างแพร่หลายบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย หีบพระธรรม

ที่ใช้ในภูมิภาคนี้นับว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากหีบเก็บคัมภีร์ใบลานของ

ภาคอื่น เพราะมีลักษณะเป็น “ทรงลุ้ง” คือเป็นทรงสี่เหลี่ยม ด้านล่างของฐานสอบ

เข้า ส่วนปากหีบผายออก มีฝาครอบปิดด้านบนซึ่งมีหลายลักษณะทั้งฝาตัด ฝาคุ้ม

และฝาเรือนยอด

หีบพระธรรมจึงเป็นโบราณวัตถุที่ใช้สำาหรับบรรจุหรือเก็บพระธรรม เป็น

ภาชนะสำาหรับการเก็บรักษาพระธรรมคัมภีร์ไม่ให้เสียหายจากแมลงหรือสัตว์ที่จะ

มาทำาลายตัวพระธรรมคัมภีร์ หีบพระธรรมล้านนานั้นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

ตัวไม่เหมือนกับโบราณวัตถุที่เก็บรักษาคัมภีร์ของทางภาคอื่น เนื่องจากชาวล้านนา

นั้นมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ตัวหีบพระธรรมได้ถูกเสนอตัวให้ทำาหน้าที่ไว้

อย่างชัดเจน คือเป็นที่เก็บพระธรรมคัมภีร์ตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้าง

Page 14: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 15: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

13 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ลักษณะของหีบพระธรรมล้านนา

หีบพระธรรมล้านนามีรูปแบบลักษณะที่ตกต่างจากตู้พระธรรมของภาค

กลาง ซึ่งตู้พระธรรมนั้นมีลักษณะเป็นตู้มีประตูเปิดปิดด้านหน้าหรือด้านข้าง แต่หีบ

พระธรรมล้านมานั้นมีลักษณะเป็นกล่องไม้ทำาเป็นหีบสำาหรับเก็บสิ่งของ มีฝาปิดเปิด

อยู่ทางด้านบนของตัวหีบ ฐานล่างของตัวหีบจะแคบกว่าปากหีบด้านบนสูงกว่าขึ้นมา

จะคอดกิ่วเล็กลงเอว สอบลงโดยกองขึ้นไปจะกว้างขึ้นจนไปถึงขอบปาก ฝาปิดเป็น

อีกชิ้นหนึ่งแยกจากตัวหีบ

หีบพระธรรมประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ตัวหีบ ส่วนฐาน และฝาปิด นิยม

ใช้ไม้สักเป็นวัสดุเนื่องจากเนื้อไม้ไม่เสียรูปทรงเมื่อนำามาแกะสลัก และมีความคงทน

ต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นงานหัตถศิลป์ที่เน้นความแข็งแรงเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ใบ

ลานให้อยู่รอดปลอดภัยในสภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด ลักษณะหีบพระธรรมพบในล้าน

นาสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างดังนี้

1.หีบพระธรรมแบบทรงสี่เหลี่ยมคางหมู

2.หีบพระธรรมแบบทรงสี่เหลี่ยมจัตตุรัส

3.หีบพระธรรมแบบทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

Page 16: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 17: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

15 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

โดยโครงสร้างของหีบธัมม์แบบล้านนาดูจะไม้ซับซ้อนมากนัก เนื่องจากเป็นครุภัณฑ์

ที่สร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอย จึงเน้นความแข็งแรงเป็นสำาคัญ ซึ่งแยกออกเป็นส่วน

ต่างๆ ดังนี้

1. ส่วนฐาน เป็นส่วนที่รับน้ำาหนัก มีขนาดกว้างจะ มีการซ้อนชั้นต่างๆ

จากขนาดเล็กไปหาใหญ่ ใช้วิธีเข้าไม้โดยการอาศัยการเข้าเดือยยึดสี่มุมเข้าด้วยกัน

เนื่องจากส่วนฐานนี้เป็นส่วนที่รับน้ำาหนักมากที่สุดจึงป็นส่วนที่สำาคัญ จึงจำาเป็นต้อง

ใช้ไม้ที่มีขนาดหนาและมีน้ำาหนักจึงจะเหมาะสมและเกิดความมั่นคงและแข็งแรง

2. ตัวหีบ หรือส่วนกลางของหีบ มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู

ทรงสี่เหลี่ยมจัตตุรัส และทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ว่าจะใช้รูปทรงแบบ

ไหน องค์ประกอบของตัวหีบ ท้องไม้หรือฝาโดยรอบทั้งสี่ด้านเป็นไม้กระดานต่อกัน

โดยอาศัยเสาสี่ต้นเป็นโครงยึดติดเข้าด้วยกัน อาศัยการเข้าไม้โดยใช้เดือยยึดการเข้า

ไม้เป็นฝาสี่ด้านโดยการใช้เดือยยึดกับเสาจะทำาให้เกิดการงัดขบกันของเดือย ฝาไม้

ทั้งสี่ด้านจะมีแรงผลักดัน รักษาตัวโครงสร้างให้คงรูปไว้อย่างมั่นคง บริเวณปากหีบ

จะทำาเป็นสลักตัวผู้ไว้มีลักษณะคล้ายกับการซ้อนปากหีบที่มีลักษณะเล็กเท่าตัวหีบ

จริง เพื่อสวมกันกับบริเวณส่วนที่เป็นฝา

3. ส่วนฝา คือส่วนที่ใช้ปิดตัวหีบมีลักษณะคล้ายฝาบาตรพระเพียงแต่มี

รูปทรงสี่เหลี่ยม โดยจะสร้างพอดีกันกับตัวหีบเวลาสวมปิดฝา ส่วนที่เป็นฝานี้บริเวณ

ด้านบนของฝาจะใช้ไม้กระดานต่อกันเข้าเดือยยึดกับด้านข้างทั้งสี่ด้านประกอบกัน

เป็นรูปทรง ฝาด้านบนสุดจะเป็นแผ่นไม้กระดานติดกันจนเป็นแผ่นเรียบเป็นเนื้อ

เดียวกันกับด้านข้างจะผายออกตรงปลายเพื่อให้สวมสนิทกันกับส่วนที่เป็นส่วนตัว

หีบ

ซึ่งหีบพระธรรมล้านนาโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นทรงลุ้ง ด้านบนผาย ด้าน

ล่างสอบเข้าทางด้านใน มีอยู่สองแบบด้วยกันคือ แบบฝาตัด และแบบฝาเรือนยอด

Page 18: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 19: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

17 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

3. การตกแต่งหีบพระธรรม

หีบพระธรรมมีโครงสร้างที่เป็นแผ่นไม้กระดานประกอบกันเป็นกล่อง

ลักษณะสี่เหลี่ยมแผ่นไม้กระดานโดยรอบ ที่เป็นพื้นผิวรองรับงานประดับตกแต่ง

ได้เป็นอย่างดี ช่างในสมัยโบราณจึงมักสร้างลวดลายมาประดับ เพื่อมิให้ดูแล้วเป็น

เพียงกล่องไม้สี่เหลี่ยมธรรมดาโดยอาศัยเทคนิคและวิธีการที่ค่อนข้างจะประณีต

บรรจง เนื่องจากเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาลวดลายประดับตกแต่งนี้จึง

เป็นองค์ประกอบที่สำาคัญของหีบพระธรรม ส่งให้เห็นคุณค่าทางความงามของศิลปะ

ล้านนาได้อย่างชัดเจน

Page 20: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 21: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

19 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

4. ที่มาของลวดลาย

ในสมัยโบราณนิยมที่จะให้มีการสร้างลวดลายต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้ประดับ

ตกแต่งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และงานประณีตศิลป์ ลวดลาย

ต่างๆ เหล่านี้จึงมิได้เจาะจงใช้เฉพาะในงานประเภทหนึ่ง แต่จะมีการถ่ายเทรูปแบบ

ให้แก่กัน ในงานศิลปกรรมต่างแขนงกันลวดลายประดับของหีบพระธรรมล้านนา

ก็ได้รับอิทธิพลจากลวดลายประดับของงานศิลปกรรมประเภทอื่นด้วยเช่นกัน ที่เห็น

ได้ชัดเจนคือ จากงานจิตรกรรมและสถาปัตยกรรม จุดประสงค์ของช่างก็เพื่อให้เกิด

คุณค่าทางความงามยกระดับให้เป็นของใช้ที่มีค่าสำาหรับศาสนา นอกจากนี้ ยังเป็น

สื่อให้เกิดจินตนภาพสร้างอารมณ์ของบุคคลที่ได้พบเห็นให้เข้าถึงสัจธรรมของพระ

ศาสนาเป็นพื้นฐานเบื้องต้น

5. ลักษณะของลวดลาย

ลวดลายประดับหีบพระธรรม จัดว่าเป็นสิ่งที่มีความสำาคัญมากเป็น

คุณลักษณะเด่นที่สุดเพราะช่างจะตกแต่งลวดลายด้วยเทคนิคต่างกัน เพื่อให้ดูแล้ว

ไม่เป็นเพียงแต่หีบไม้ธรรมดาเท่านั้นเทคนิคที่พบได้แก่ เทคนิคการปรุการดาษลาย

รดน้ำา ประดับกระจกกระแหนะ ความงามนั้นอยู่ที่ลวดลายและจังหวะของช่องไฟ

การจัดวางองค์ประกอบ ลักษณะลวดลายส่วนใหญ่ที่ได้มาจากลวดลายประดับของ

งานศิลปกรรมประเภทอื่น นอกจากนี้ยังมีที่พิเศษคือ มีการเขียนภาพเล่าเรื่อง เช่น

ชาดก ทศชาติ เป็นต้น

Page 22: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 23: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

21 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ลักษณะการประดับลวดลายที่ใช้ในหีบพระธรรม มักจะเป็นพื้นฐานของ

ลวดลายไทย เช่น ลายก้านขด ลายเครือเถาธรรมชาติ โดยการประดิษฐ์จากเถาไม้

ใบไม้ ดอกไม้ ลายรัศมีวงกลม ลายกนก สานใน โครงรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และ

ลายประกอบอิสระ เช่น ภาพเล่าเรื่องต่างๆ โดยนำาไปใช้ตามส่วนต่างๆ ดังนี้

การประกอบลายแนวนอน เช่น ลายหน้ากระดาน ลายท้องไม้ และส่วน

ฐานนิยมทำาเป็นลายดอกไม้ ลายรัศมีทรงกลม ลายก้านขด ลายก้านแย่ง มีการใช้

ลายประจำายาม หรือลายประจำายามผสมกนกในส่วนที่เป็นฐานหีบพระธรรมล้านนา

มักจะไม่ใช้ลายกนกมากนัก เนื่องจากเป็นความเชื่อว่าเป็นลายที่ร้อนไม่เป็นมงคล

การประกอบลายตามแนวตั้ง เช่น ลายเสา ของต่างๆ นิยมใช้ลายดังนี้ ลาย

ก้านแย่ง คือการแตกลายออกไปทั้งสองข้างเท่าๆกัน ลายเครือเถานำามาจากการ

เลื้อยของเถาไม้ตามแนวตั้ง ส่วนลวดลายที่เป็นการแสดงภาพเล่าเรื่อง เป็นภาพ

ชาดก ทศชาติ ลักษณะของลวดลายถึงแม้จะยึดถือตามแบบประเพณี แต่ก็ได้สอด

แทรกลักษณะอันเป็นส่วนบุคคลลงไปในงานด้วย ช่างจะแสดงถึงลักษณะสิ่งแวดล้อ

มรอบๆตัว องค์ประกอบของสังคมในสมัยนั้นจากภาพ เครื่องใช้ เครื่องพิธีกรรม การ

แต่งกาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของท้องถิ่น

Page 24: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 25: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

23 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

6. ลักษณะของพื้นผิว

ลักษณะของพื้นผิวในงานลวดลายหีบพระธรรมล้านนา ขึ้นอยู่กับเทคนิค

ต่างๆ ที่ช่างใช้ ซึ่งเทคนิคก็จะแสดงออกถึงลักษณะพื้นผิว อารมณ์ความรู้สึกที่แตก

ต่างกัน เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำาหีบพระธรรมนั้นเป็นไม้ซึ่งสามรถแปลงการประดับ

ตกแต่งได้หลายประเภท ลักษณะพื้นผิวจึงมีลักษณะแตกต่างกันออกไป

พื้นผิวเทคนิคลายรดน้ำา เทคนิคนี้สามารถตกแต่งได้อย่างละเอียดและ

ชัดเจนที่สุด แต่ก็เป็นเทคนิคที่มีกรทำาซับซ้อนมากที่สุดอีกด้วย ลักษณะลายพื้นผิว

จะเรียบมัน มีความแวววาวจาก การปิดทอง เกิดความสว่าง เสริมให้งานตู้และ

หีบพระธรรมล้านนามีค่ามากยิ่งขึ้น

พื้นผิวลายปรุกระดาษ พบมากในหีบพระธรรมล้านนา จะใช้ลวดลายที่ซ้ำาๆ

เป็นจังหวะที่เท่ากัน ความละเอียดของลายจะไม่ละเอียดมากเท่ากับลายรดน้ำา แต่

ยังคงความเป็นระเบียบอยู่มาก พื้นผิวจะหยาบกว่าพื้นผิวลายรดน้ำา แต่ยังคงความ

แวววาวของทองให้เห็นอยู่

พื้นผิวเทคนิคการเขียนรักปิดทอง อาจทำาให้เกิดความละเอียดประณีต

หรือหยาบขึ้นอยู่กับฝีมือของช่างแต่ละบุคคล

พื้นผิวที่เกิดจากเทคนิคการเขียนรักลงชาด พบมากเช่นเดียวกันกับเทคนิค

ลายประกบกระดาษ พื้นผิวของรักจะดูดกลืนความสว่าง ชัดเจนไปมาก ลวดลาย

ชาดสีแดงจึงไม่ชัดเจนเท่าใดนัก

พื้นผิวที่เกิดจากเทคนิคปูนปั้นรักกระแหนะ มีลักษณะเป็นนูนต่ำา ให้ความ

สำาคัญของลวดลายมาก ให้ความรู้สึกที่หยาบกระด้างกว่าเทคนิคอื่นๆ โดยมากไม่มี

การปิดทองทับ

พื้นผิวที่เกิดจากเทคนิคการติดแก้วอังวะ เทคนิคการประดับกระจกให้เกิด

ความรู้สึกแวววาวระยิบระยับตาจากการหักเหของแสงที่มาตกกระทบ เกิดมิติบน

เนื้อไม้ พื้นผิวแต่ละชนิดของเทคนิคต่างๆ จะนำามาซึ่งความรู้สึกต่างกัน ช่างในสมัย

โบราณมีความถนัดในแต่ละเทคนิค จึงสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างหลากหลาย

ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

Page 26: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 27: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

25 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

การจำาแนกข้อมูลตู้และหีบพระธรรม

ข้อมูลตู้และหีบพระธรรมภายในวัดสูงเม่นและวัดพระธาตุหลวงเนิ้ง ซึ่งตู้

และหีบพระธรรมที่พบในทั้งสองวัดก็จะมีรูปทรงเทคนิคการตกแต่งและรายละเอียด

ของลวดลายที่แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน

1.การจำาแนกข้อมูลตามรูปทรงของตู้และหีบพระธรรม

รูปทรงของตู้และหีบพระธรรมที่พบ สามารถจำาแนกเป็นรูปทรงได้ คือ

หีบพระธรรมรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู

หลักการจำาแนก

รูปสี่เหลี่ยมรูปหนึ่งจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ก็ต่อเมื่อมุมที่อยู่ติดกันรวม

เป็นมุมประกอบสองมุมฉาก (180 องศา) จำานวนสองคู่ เงื่อนไขอีกอย่างหนึ่งที่สำาคัญ

และเพียงพอคือ เส้นทแยงมุมตัดกันด้วยอัตราส่วนของความยาวเท่ากัน (ค่านี้เป็น

ค่าเดียวกับอัตราส่วนระหว่างด้านคู่ขนาน) กล่าวคือ หีบพระธรรมที่มีลักษณะรูป

ทรงก้นแคบแต่ปากหีบผายออก หีบพระธรรมที่มีรูปทรงในลักษณะนี้ จะถูกจัดให้อยู่

ในกลุ่มของหีบพระธรรมรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู

ลักษณะรูปทรงของตัวหีบพระธรรมในส่วนล่างของตัวหีบจะมีลักษณะแคบ

กว่าบริเวณปากหีบ คือ ก้นแคบปากผายออก ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้

ฝาหีบพระธรรม

ตัวฝาหีบพระธรรมก็จะมีลักษณะคล้ายกันกับตัวหีบพระธรรม แต่กลับกัน

ตรงที่ฝาหีบนั้นจะมีลักษณะสอบเข้า มี 2 ลักษณะด้วยกับ คือ แบบฝาตัด และฝาคุ่ม

เมื่อมองดูแล้วจะมีลักษณะดังนี้

ฐานหีบพระธรรม

ฐานหีบพระธรรมส่วนใหญ่จะนิยมทำาฐานหีบธรรมเป็นฐานบัว หรือฐาน

ปัทม์ธรรม ลูกแก้วออกไก่ ฐานสอบ คล้ายกับฐานของหตู้พระธรรมทรงสี่เหลี่ยมผืน

ผ้าแต่มีลักษณะที่เตี้ยกว่า

Page 28: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 29: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

27 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ตู้พระธรรมทรงตู้

หลักการจำาแนก

ลักษณะของตู้พระธรรมทรงตู้ ก็กล่าวคือ ตู้ที่มีลักษณะ มีประตู เปิด – ปิด

ด้านหน้า และมีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมอาจจะมีขาหรือไม่มีขา แต่ขอมีประตูสำาหรับ

ปิด – เปิด ก็จะจำาแนกจัดอยู่ในกลุ่มของตู้พระธรรมทรงตู้

ตัวตู้พระธรรม

ตัวตู้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าของตู้ มีประตู เปิด – ปิด ได้สอง

บาน โดยใช้บานพับเป็นตัวยึด

ฐานตู้พระธรรม

มีลักษณะเป็นฐานขาหมู แบบมีลิ้นชักและไม่มีลิ้นชัก

Page 30: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 31: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

29 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ตู้พระธรรมทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

หลักในการจำาแนก

รูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มุมทั้งสี่ของมันเป็นมุมฉาก ส่วนคำาว่า รูปสี่เหลี่ยมผืน

ผ้า หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หีบธรรมนั้นก็จะจัดอยู่ใน

กลุ่มของรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ตัวหีบธรรม

เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านกว้างคูณด้านยาว

ฐานตู้พระธรรม

เป็นฐานบัว ลูกแก้วอกไก่ ตามีลักษณะความสูงค่อนข้างมากกว่าฐานหีบ

พระธรรมทรงสี่เหลี่ยมคางหมู

Page 32: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 33: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

31 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

การจำาแนกตามเทคนิคตกแต่งของตู้และหีบพระธรรม

เทคนิคลายรดน้ำา

ลักษณะ ลวดลายหรือภาพรวมไปถึงภาพประกอบลายต่างๆที่ปิดด้วย

ทองคำาเปลวบนพื้นรัก โดยลวดลายหรือภาพลายทองที่ปรากฏ สำาเร็จในขั้นสุดท้าย

ด้วยการเอาน้ำารด กล่าวโดยย่อ “ลายรดน้ำา” คือ ลายทองที่ล้างด้วยน้ำา ลายรดน้ำา

จัดเป็นงานประณีตศิลป์ ประเภทการตกแต่งประเภทหนึ่ง ลักษณะพิเศษของลาย

รดน้ำา คือ มีกรรมวิธีในการ เขียนผิดแผกแตกต่างไปจากงานจิตรกรรมทั่วไป ที่ใช้

สีหลายสี หรือแม้แต่งานจิตรกรรมประเภทเอกรงค์เองก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการ

เขียนลายรดน้ำา ใช้น้ำายาหรดาลเขียนบนพื้นซึ่งทาด้วย ยางที่ได้จากต้นรัก เมื่อเขียน

เสร็จแล้วจึงเช็ดรัก ปิดทองแล้วเอา น้ำารดน้ำายาหรดาลที่เขียน เมื่อถูกน้ำาก็จะหลุด

ออก ส่วนที่เป็นลวด ลายทองก็ติดอยู่ ทำาให้ลวดลายหรือรูปภาพที่ปรากฏ หลังการ

รด น้ำาเป็นสีทองเพียงสีเดียว บนพื้นสีดำาหรือสีแดง

เทคนิคลายรดน้ำานี้เป็นเทคนิคที่ทำาสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ จัด เป็นงาน

ช่างศิลป์ ประเภทหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในช่างรักอันเป็นช่างหมู่ หนึ่งในบรรดาช่างหลวง

หรือช่างประจำาราชสำานักซึ่งเรียกกันว่า “ช่างสิบหมู่”

Page 34: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 35: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

33 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

เทคนิคฉลุลายกระดาษปิดทอง

ลักษณะ เป็นการสร้างลวดลายประดับตกแต่งโดย ใช้วิธีทำาแบบลวดลาย

ขึ้นบนกระดาษบ้าง หนังแพะบ้าง แล้วฉลุตัวลายให้ขาดเป็นช่องๆ ตามรูปแบบลาย

นั้น ขึ้นไว้บนพื้นกระดาษนั้น เมื่อจะทำาลวดลาย ก็เอาน้ำายาขึ้นไปทาพื้น ตรงที่จะ

ทำาให้เป็นลวดลาย แล้วเอาแบบลวดลายปะติดเข้าตรงที่ต้องการให้ติดแน่น จึงเอา

ทองคำาเปลวปิดลงตรงช่องที่เจาะ ทำาเป็นตัวลายบนแบบนั้นให้ทั่ว พอทองจับติด

พื้นดี แล้วจึงแกะแบบถอนออกจากพื้น ตามแบบลายฉลุที่ได้ทำาขึ้นเป็นแบบนั้น

แบบลายฉลุนี้อาจใช้ทำาลวดลายต่อเนื่องกันไปได้ไม่จำากัดลวดลาย และวิธีทำาให้เกิด

เป็นลวดลาย ลักษณะเช่นนี้จึงเรียกว่า งานลงรักปิดทองฉลุลาย

เทคนิคนี้จัดได้ว่าเป็นเทคนิคดั้งเดิมของชาวล้านนา จะพบลักษณะงาน

เทคนิคฉลุลายกระดาษปิดทองเหล่านี้ได้ตามวัดล้านนาทั่วไปโดยเฉพาะวัดล้านนาที่

มีอายุเก่าแก่

Page 36: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 37: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

35 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

เทคนิคปั้นรักประดับกระจก

ลักษณะ เป็นเทคนิคการสร้างลวดลายประดับโดยเริ่มจากการนำาเอารักที่

ผ่านการกรองเรียบร้อยแล้ว นำาเอามาทาในบริเวณที่ต้องการประดับกระจก บางที่

ก็อาจจะใช้ชาดสีแดงหาบนพื้นรัก จากนั้นก็นำาเอากระจกสีต่างๆ หรือ ที่เรียกกันว้า

กระจกจืน มาติดบริเวณที่ต้องการ โดยการตัดแต่งรูปทรงตามความต้องการของช่าง

อาจจะทำาเป็นจุดไข่ปลา ลายประจำายาม ลายพันธ์พฤกษา เป็นต้น เทคนิคนี้เป็น

เทคนิคที่ได้มาจากช่างพม่า ซึ่งพบได้จากงานเครื่องเขินนั้นเอง

Page 38: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 39: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

37 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

เทคนิคเขียนชาด

ลักษณะ เป็นเทคนิคการสร้างลวดลายโดยการเขียนสี โดยไม่มีการใช้

ทองในการประดับตกแต่ง หรือมีทองบ้างเพียงน้อยนิด ซึ่งเทคนิคนี้ ก็ไม่ต่างจาก

เทคนิคทั่วไปโดยการเขียนชาดลงไปในพื้นรัก เป็นเส้นดอกไม้ เครือเถา และลาย

พันธ์พฤกษา อาจจะหมายความได้ว่าจะพบในกลุ่มช่างตามชนบทที่ไม่มีการใช้ทอง

แต่ใช้ชาดในการเขียนลวดลายประดับตกแต่งในตัวตู้หรือหีบพระธรรมแทน

Page 40: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 41: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

39 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

การจำาแนกตามลวดลายประดับตกแต่งของตู้และหีบพระธรรม

กลุ่มลวดลายที่ใช้สัญลักษณ์เป็นหลัก ลวดลายประดับตกแต่งที่ปรากฏอยู่ในตู้และหีบพระธรรม ลักษณะ เป็น

ลวดลายประดับที่ต้องการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความหมายออกมา แทนความ

หมายในทางพระพุทธศาสนา และเพื่อให้ตัวลายนั้นเป็นตัวแทนของพุทธศาสนิกชน

ภาพบุคล หรือเทวดา

เป็นภาพที่มีการประดับตกแต่งโดยที่มีลักษณะเป็นตัวภาพบุคคล หรือตัว

เทวดาอาจจะเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างเพื่อเป็นการแทนการสักการะบูชาพุทธ

ศาสนา เช่น ตัวภาพพนมมือบนตัวหีบพระธรรม ก็อาจจะหมายความได้ว่า เป็นการ

สักการะคำาสอนของพระพุทธเจ้าแต่แสดงออกมาเป็นตัวแทนในเชิงสัญลักษณ์ ต่อผู้

ที่สร้างหีบพระธรรมใบนี้ก็แสดงถึงความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา

Page 42: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 43: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

41 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ตัวภาพหม้อบูรณฆฏะ

เป็นตัวภาพที่สื่อถึงคติความเชื่อของชาวล้านนาได้อย่างชัดเจน คือ ความ

หมายของหม้อบูรณฆฏะ หม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ คนล้านนา เชื่อว่า ดอกไม้ คือ

สิ่งที่สวยงามและมีคุณค่าในตัวเอง ดอกไม้ทุกดอกจะส่งกลิ่นหอมหวน และเมื่อนำา

มารวมกันใน หม้อไหดอกบูรณฆฎะ แล้ว กลิ่นหอมและความหลากหลายที่มารวม

กันนั้น จะยิ่งใหญ่ประมาณไม่ได้ โดยสิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ก็คือ คำาว่า บูรณฆฎะ

ที่ใช้ในการบูชาพระพุทธเจ้า ที่แสดงถึงความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา

Page 44: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 45: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

43 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ตัวภาพวัด หรือปราสาท

ตัวภาพวัดหรือปราสาทที่นำามาเป็นลวดลายประดับบนตัวหีบพระธรรมนั้น

พบน้อยมาก โดยส่วนใหณ่จะเป็นลวดลายที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากช่างผู้ที่ศรัทธาต่อ

วัดนั้นๆ และสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะถวายแก่วัด ตัวลวดลายประดับจึงเป็นตัววิหาร หรือ

ตัวอุโบสถ ไม่ก็เป็น ตัวเจดีย์ ที่จะแสดงให้เห็นถึง ความศรัทธาที่มีต่อวัดนั้นๆ

ตัวภาพผสม

เป็นกลุ่มภาพเชิงสัญลักษณ์ ที่มีความหมายในตัวภาพนั้นๆ ซึ่งอาจจะ

ประกอบไปด้วยตัวเหตุการณ์ หรือ ตัวภาพบุคคลที่แสดงถึงเรื่องราว ซึ่งเราเรียกตัว

ภาพกลุ่มนี้ว่า กลุ่มภาพเชิงสัญลักษณ์แบบผสม

Page 46: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 47: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

45 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

กลุ่มที่ใช้ลวดลายประดับตกแต่งเป็นหลัก

กลุ่มที่ใช้ลวดลายประดับตกแต่งนี้จะเน้นลวดลายประดับที่มีความสวยงาม

เป็นหลัก ไม่มีภาพเล่าเรื่อง ตัวลวดลายไม่มีความหมายแอบแฝง

ลายพันธ์พฤกษา

คือ ลวดลายประดับตกแต่งที่มีลักษณะเป็นลายธรรมชาติ เช่น ดอกไม้

ใบไม้ เครือเถา ต่างๆ ที่มีรูปทรงอิสระพลิ้วไหว ส่วนมากมักจะอยู่ในฐานวงกลมเป็น

ส่วนใหญ่ รวมไปถึงกระทั่งลายดอกไม้ประดิษฐ์ด้วย ลายพันธ์พฤกษานี้โดยส่วนใหญ่

แล้ว มักจะพบมาที่สุดในการตกแต่งลวดลายบนตัวหีบพระธรรม

Page 48: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 49: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

47 ตู้และหีบพระธรรม สูงเม่นและพระหลวง แพร่

ลวดลายผสม

คือ ลวดลายประดับ ที่มีการผสมลายกัน อย่างตัวลายประจำายาม ลายพันธ์

พฤกษา ลายเรขาคณิต หรือเพียงแค่ 2 อย่าง ก็เรียกว่าลายผสม ลายผสมนี้ ถือว่า

พบค่อนข้างมากในกลุ่มลวดลายประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม

ตู้และหีบพระธรรมภายในวัดสูงเม่นและวัดพระหลวงธาตุเนิ้ง พบตู้และหีบ

พระธรรมซึ่งสามารถจำาแนกรูปทรงของตู้และหีบพระธรรมได้ 3 รูปทรง คือ

1. รูปทรงตู้ 2. รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า

3. รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู

จากรูปทรงของตู้พระธรรมและหีบพระธรรม ที่พบมากที่สุดคือ ตู้พระธรรม

ทรงตู้ ซึ่งเป็นรูปทรงที่มาจากทางภาคกลาง ส่วนใหญ่ทรงตู้จะมีมากในวัดพระหลวง

ธาตุเนิ้ง และนอกจากนี้ ยังมี ตู้พระธรรมทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และหีบพระธรรมทรง

สี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งมีเทคนิคการตกแต่งที่สามารถจำาแนกออกมาได้อีก 4 เทคนิค

ดังนี้

1. เทคนิคลายรดน้ำา 2. เทคนิคฉลุลายกระดาษปิดทอง

3. เทคนิคปั้นรักประดับกระจก 4. เทคนิคเขียนชาด

เทคนิคการประดับตกแต่งที่พบมากที่สุด คือ เทคนิคฉลุลายกระดาษปิด

ทอง ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีมาตั้งแต่โบราณ ส่วนเทคนิคลายรดน้ำา ปั้นรักประดับกระจก

และเขียนชาด ก็มีบ้าง แต่ไม่มากนัก ลวดลายที่นิยมนำามาตกแต่งตัวตู้และหีบพระ

ธรรมนั้น จะเป็นตัวลายสัญลักษณ์และลายพันพฤกษา เนื่องจากชาวบ้านอาจจะ

ศรัทธาต่อพระพุทธศาสนามาก และใกล้ชิดกับธรรมชาติ จึงมักจะสร้างตู้และหีบ

พระธรรมที่มีลวดลายประดับเหล่านี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ลวดลายสัญลักษณ์เป็นหลัก 2. ลวดลายประดับตกแต่งเป็นหลัก

ภาพบุคคล ลายพันธ์พฤกษา

ภาพผสม ลายผสม

Page 50: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae

ชื่อเรื่อง ตู้และหีบพระธรรมล้านนาวัดสูงเม่นและวัดพระหลวง จังหวัดแพร่

© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย นายพันธวัช ภิราญคำา

สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558

จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรียบเรียงและออกแบบโดย นายพันธวัช ภิราญคำา

ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH Niramit AS

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม

และต่อยอดศักยภาพการศึกษา

ภายในภาควิชาศิลปะไทย

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม

Page 51: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae
Page 52: Lanna dhamma book chest Wat SungMen & Wat PhraLuang Phrae