newspaper to content provider

37
กรกษากระบวนการงานและการปบ วของหงอมความเนองกร ผตาวสาร กรกษา: The New York Times, The Washington Post @lekasina

Upload: asina-pornwasin

Post on 27-Jan-2017

220 views

Category:

News & Politics


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: newspaper to content provider

กรณีศึกษากระบวนการทำงานและการปรับตัวของหนังสือพิมพ์สู่ความเป็นองค์กรผู้

ผลิตข่าวสารกรณีศึกษา: The New York Times, The Washington Post

@lekasina

Page 2: newspaper to content provider

มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ทั่วโลก (หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ)

ที่มา: Newspaper Publishing, Global Entertainment and Media Outlook 2014 – 2018, PWC (2013)

Page 3: newspaper to content provider

มูลค่าอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ)

ที่มา: Newspaper Publishing, Global Entertainment and Media Outlook 2014 – 2018, PWC (2013)

Page 4: newspaper to content provider

Newsweek: Go Digital

ในต่างประเทศมีตัวอย่างของการปรับตัวของธุรกิจสื่ออยู่หลายกรณี โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2555 นิตยสาร Newsweek นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกาเป็นนิตยสารที่มียอดขายมากเป็นอันดับสองรองจากนิตยสาร Times ได้ยุติการพิมพ์นิตยสาร Newsweek ฉบับกระดาษอย่างถาวรและปรับธุรกิจเข้าสู่รูปแบบดิจิทัล

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 5: newspaper to content provider

Christensen Clayton M. Christensen (2012) ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของทฤษฎี Disruptive Innovation แนะนำว่า องค์กรธุรกิจควรมองหาหรือคิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสำคัญ ที่มีอยู่ นั่นคือ ห้องข่าว หรือ กองบรรณาธิการ

ด้วยการเปลี่ยนแนวคิดในการนำเสนอข่าวจากการนำเสนอข่าวสารในรูปแบบเดิมๆ ไปสู่การนำเสนอข่าวสารภายใต้แนวคิดใหม่ที่เชื่อว่า การนำเสนอข่าวสารคือการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคข่าวสาร

Christensen เรียกแนวคิดนี้ว่า แนวคิดการทำข่าวแบบ job-to-be-done

หมายถึงการนำเสนอข่าวสารเพื่อการตัดสินใจหรือเพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคข่าวสารในเรื่องต่างๆ

การนำเสนอข่าวสารภายใต้แนวคิดความนี้ องค์กรธุรกิจข่าวต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบเดิม ไปสู่กระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 6: newspaper to content provider

Christensen เสนอว่า องค์กรธุรกิจข่าวจำเป็นต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข่าว ด้วยการให้บริบทข่าว และให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล

การให้บริบทข่าว คือ การนำข่าวพร้อมอธิบายความ แทนการนำเสนอเพียงแค่ข้อมูลข่าวว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น แต่จะต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าได้ได้ว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และเหตุการณ์นี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน หรือเหตุกาณ์นี้มีนัยสำคัญอย่างไร

การตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล คือ การใช้ทักษะของความเป็นสื่อสารมวลชนในการตรวจสอบว่าข้อมูลข่าวที่เกิดขึ้นเป็นจริงเป็นเท็จอย่างไร

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 7: newspaper to content provider

Jim Moroney ซีอีโอของ The Dallas Morning News บอกว่า กระบวนการวารสารศาสตร์จะต้องเน้นการนำเสนอข่าวภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า PICA คือ การนำเสนอข่าวที่ต้อง

ให้มุมมองข่าว (Perspective) ให้การตีความข่าว (Interpretation) ให้บริบทข่าว (Context) และให้การวิเคราะห์ข่าว (Analysis) การทำให้เกิด

กระบวนการทำงานข่าวภายใต้แนวคิด PICA ได้ต้องสร้างให้การทำงานของกองบรรณาธิการ เกิดบรรยากาศในการรวบรวมข่าวสารจากหลายแหล่งข้อมูล การจดจ่ออยู่กับการสืบเสาะหาข้อมูล การค้นหาความจริง และการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 8: newspaper to content provider

Christensen ยังอธิบายต่อว่า นวัตกรรมได้สร้างความปั่นป่วนให้กับอุตสาหกรรมสื่อ เหตุผลมาจากเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับข่าวสารจากเดิมที่ผู้บริโภคติดตามข่าวสารจากการอ่านหนังสือพิมพ์ หรือดูรายการข่าวโทรทัศน์ ไปสู่การติดตามข่าวสารตามความชอบและความสนใจ ติดตามข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง และติดตามข่าวสาร ณ เวลาที่ตัวเองสะดวก

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า news segments a la carte หมายถึง ประชาชนผู้บริโภคข่าวสารเกิดการกระจายตัว ไม่รวมเป็นกลุ่มก้อนใหญ่กลุ่มก้อนเดียวเหมือนเช่นในอดีต

ดังนั้น กระบวนการนำเสนอข่าวสารขององค์กรธุรกิจสื่อจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการนำเสนอข่าวสาร เพื่อให้ข่าวสารเป็นที่ต้องการและเข้าถึงได้ทุกกลุ่มผู้บริโภคข่าวสารที่มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่แตกต่างกัน

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 9: newspaper to content provider

ธุรกิจสื่อจำเป็นต้องคิดค้นช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ๆ และมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งธุรกิจสื่ออาจจำเป็นต้องเปลี่ยนนิยามของคำว่า “ข่าว” ใหม่

ห้องข่าวหรือกองบรรณาธิการ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน และปรับรูปแบบการทำงาน โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร ได้แก่ ทรัพยากร กระบวนการทำงาน และการจัดลำดับความสำคัญ

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 10: newspaper to content provider

จากปี 2006 ถึง 2012 จำนวนนักหนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาลดลง 17,000 คน (ข้อมูลจาก Pew Research Center)

ในปี 2013 รายได้รวมของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ลดลง 2.6% percent คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ผลคือ The New York Times, The Wall Street Journal และ USA Today ต่างประสบปัญหาขาดทุนและแต่ละหนังสือพิมพ์เริ่มปลดคนในห้องข่าว

http://harvardpolitics.com/covers/future-print-newspapers-struggle-survive-age-technology/

Page 11: newspaper to content provider

มากกว่าครึ่งของหนังสือพิมพ์ในสหรัฐฯ ต่างมีเว็บไซต์ หรือ ออนไลน์เวอร์ชั่น (ข้อมูลจาก Fourth Annual Media in Cyberspace Study)

20% ของหนังสือพิมพ์ที่มีเวอร์ชั่นออนไลน์ (มีเว็บไซต์) บอกว่า อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเนื้อหาบนเว็บไซต์เป็นเนื้อหาเดิม(เนื้อหาเดียวกับเวอร์ชั่นกระดาษ)

http://harvardpolitics.com/covers/future-print-newspapers-struggle-survive-age-technology/

Page 12: newspaper to content provider

The Washington Post

http://www.niemanlab.org/

Page 13: newspaper to content provider

The Washington Post

สิงหาคม ปี 2013 ผู้ก่อตั้ง Amazon Jeff Bezos เข้าซื้อกิจการ The Washington Post นักวิเคราะห์เชื่อว่า Jeff Bezos จะพยายามทำให้ The Washington Post มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้นเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงคนอ่านออนไลน์และหลากหลายแพลตฟอร์มได้

การเปลี่ยนแปลที่น่าสนใจของ The Washington Post ภายใต้บังเหียนของ Jeff Bezos คือ การเน้นไปที่ “เว็บไซต์” ด้วยกลยุทธ์ให้สมาชิกของหนังสือพิมพ์กระดาษสามารถอ่าน The Washington Post ฟรีบนเว็บไซต์

http://harvardpolitics.com/covers/future-print-newspapers-struggle-survive-age-technology/

Page 14: newspaper to content provider

The Washington Post

ภายใต้การบริหารงานของ Jeff Bezos “The Washington Post ไม่ใช่หนังสือพิมพ์อีกต่อไป” แต่เป็น “media and technology company”

ปรับองค์กรด้วยการเพิ่มจำนวนนักข่าว เพิ่มการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ และเพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือ (digital tools) ในการทำให้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา (Storytelling) มีความหลากลายและน่าสนใจ

Page 15: newspaper to content provider

The Washington Post

ผลคือ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา The Washington Post เอาชนะ The New York Times ด้วยการมีจำนวน unique users 76 ล้านคนในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา [ข้อมูลจาก comScore]

สิ่งที่ The Washington Post ทำ คือ ปรับปรุงเว็บไซต์ และ mobile app / และใช้ประโยชน์จาก Amazon Fire/Kindle ด้วยการนำเสนอข่าวแบบ pre-load ด้วยราคาแบบมีส่วนลด เพื่อขยายฐานคนอ่าน

Jeff Bezos ใช้กลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จจาก Amazon มาใช้กับ The Washington Post ด้วยการนำ technology platform ที่เรียกว่า Arc ที่เรียนรู้ผู้อ่านว่าชอบอ่านข่าวอะไร สนใจข่าวอะไร เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการวางแผนการทำ/นำเสนอข่าว

Page 16: newspaper to content provider

The New York Times

http://www.niemanlab.org/2015/10/newsonomics-the-thinking-and-dollars-behind-the-new-york-times-new-digital-strategy/?relatedstory

Page 17: newspaper to content provider

The New York Times

ตุลาคม 2015 The New York Times มีสมาชิกที่สมัครฉบับดิจิทัลเกิน 1 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนสมาชิกที่ต้องใช้เวลาทั้งศตวรรษในการสร้างยอดสมาชิกได้เท่านี้ แต่เว็บไซต์และแอพลลิเคชั่นของ The New York Times สามารถสร้างยอดสมาชิกเกิน 1 ล้านคนได้ในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 5 ปี

การปรับตัวของ The New York Times คือ เน้นที่การสร้างรายได้จากการขายข่าวออนไลน์ ที่ต้องแข่งขันกับข่าวฟรีต่างๆ โดยเน้น 2 อย่าง คือ เน้นคุณภาพข่าว กับเน้นการนำเสนอข่าวผ่าน mobile app เพราะเชื่อว่า mobile app จะทำให้ผู้ผ่านใช้เวลาอยู่กับข่าว และเชื่อว่าผู้ลงโฆษณาจะหันมาลงโฆษณาบนมือถือมากขึ้น

http://www.niemanlab.org/

Page 18: newspaper to content provider

The New York Times

The New York Times ยังมีแผนให้บริการ Times Videos เพื่อดึงเม็ดเงินโฆษณาที่คาดว่า online video ads จะมีมูลค่า $12.82 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018

ปัจจุบันวีดีโอที่นำเสอนบนเว็บไซต์ยังเป็นวีดีโอสารคดี นักวิเคราะห์มองว่า NYT ควรเปิดช่องทีวีบนออนไลน์เหมือนที่ Huffington Post มี HuffPost Live เพื่อสร้างให้บริการ (ข่าว) บนออนไลน์มีความแตกต่างและหลากหลายเพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านยินดีที่จะจ่ายค่าสมาชิก

http://www.niemanlab.org/

Page 19: newspaper to content provider

The NYT 2020Digital strategy ใหม่ของ The New York Times

1. ทำระบบการสมัครสมาชิกง่ายและสะดวกเพื่อเข้าถึงคนอ่านกลุ่มที่เด็กลง

40% ของคนอ่านผ่านมือถือเป็นคนอายุต่ำกว่า 35

เคยพยายามราคาต่ำสำหรับเวอร์ชั่นมือถือ NYT Now แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงยกเลือก และหันมาให้อ่านฟรี มาพึ่ง ads

package หลายอุปกรณ์ อาทิ web-mobile, web-tablet, web-mobile-tablet

2. พัฒนารูปแบบโฆษณาและการสนับสนุน

ใส่ innovation ให้โฆษณาบนเว็บมีความน่าสนใจ ดึงดูดผู้ลงโฆษณา อาทิ จับมือกับ google ใช้ google maps

ตั้งบก.ที่ทำ sponsor content ประสานงานระหว่างฝ่ายการตลาดและฝ่ายบก.

ทำ mobile format เรียกMobile Moments เพื่อ support โฆษณาบนมือถือ

http://www.niemanlab.org/

Page 20: newspaper to content provider

The NYT 2020Digital strategy ใหม่ของ The New York Times

3. เน้นทุกสื่อ/แพลตฟอร์ม

เลิกเน้นการทำข่าวเพื่อป้อน print

เลิกประการชุมข่าวแบบเดิม (ประชุมข่าวสำหรับนสพ.) แต่คิดว่าจะทำข่าวยังไงเพื่อนำเสนอทุก platform

มีการตั้ง centralized editorial สำหรับดูภาพรวมของข่าว ว่าจะลง platform ไหนอย่างไร

มี mobile alert บอกผู้อ่านว่ามีข่าวอัพเดท

4. ขยายกลุ่มเป้าหมายสู่นานาชาติ ทั่วโลก

ขยายตลาดนอกเหนือตลาดสหรัฐอเมริกา

เริ่มเข้าตลาดเอเชีย เข้าตลาดจีน ร่วมมือกับ WeChat

http://www.niemanlab.org/

Page 21: newspaper to content provider

BBC

BBC ต้องปรับตัวรับเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการปรับกระบวนการผลิตข่าวให้มีลักษณะของการใช้สื่อผสมระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ เป็นการปรับตัวจากการเป็นเพียงห้องข่าวที่รายงานข่าวผ่านช่องทางสื่อเก่า ได้แก่ วิทยุ และโทรทัศน์ ไปสู่การรายงานข่าวผ่านสื่อหลากหลายช่องทาง

การปรับตัวของ BBC ในครั้งนี้ส่งผลให้นักข่าวของ BBC ต้องปรับตัวให้มีความสามารถในการผลิตชิ้นข่าวและความสามารถในการรายงานข่าวที่หลากหลาย

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 22: newspaper to content provider

The Wall Street Journal

http://www.niemanlab.org/2015/04/newsonomics-the-wall-street-journal-is-playing-a-game-of-digital-catchup/

Page 23: newspaper to content provider

The Wall Street Journal

redesign

multi-platform

mobile

ใช้ analytic วิเคราะห์ข้อมูล

@lekasina

Page 24: newspaper to content provider

องค์กรหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

การศึกษา “องค์กรสื่อและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจสื่อ” พบว่า องค์กรหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยอยู่ในจุดเริ่มต้นเชิญชวนผู้อ่านให้สมัครสมาชิกเพื่ออ่านทางออนไลน์ ในขณะที่องค์กรธุรกิจหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศมีความพยายามทดลองหลากหลายรูปแบบในการเก็บรายได้จากการบริโภคข่าว

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 25: newspaper to content provider

รูปแบบในการเก็บรายได้จากการการบริโภคข่าวของสื่อต่างประเทศ

1. การออกฉบับฟรี (Free Digital or Print) โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการอ่านเนื้อหาดิจิทัลทั้งหมด รูปแบบนี้จะได้ปริมาณของผู้อ่านสูงและสามารถถึงดูดโฆษณาได้ดี

2. เสียค่าสมัครสมาชิกฉบับกระดาษ แต่ได้อ่านฉบับดิจิทัลฟรี (Buy Print, Get Digital Free) เน้นสิ่งพิมพ์เป็นหลัก แต่ผลิตคู่ขนานกันไป โดยแบ่งรายได้จากการโฆษณากัน ในกรณีเชื่อว่าจะยังคงรักษาฐานลูกค้าหนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษไว้ได้

3. ขายพ่วง (Bundle Subscription) มีทั้งลักษณะที่ออกคู่ขนานกัน ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อแยกประเภทฉบับกระดาษและฉบับดิจิทัล แต่หาซื้อควบจะมีส่วนลดพิเศษ

4. ตั้งกำแพงการเก็บเงิน (Paywall) มีการแบ่งเนื้อหาเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ เนื้อหาทั่วไป ไม่เสียค่าใช้จ่าย และเนื้อหาพิเศษเฉพาะที่มีการเก็บค่าใช้จ่ายในการอ่าน

5. การเก็บเงินโดยใช้มาตรวัดจำนวนข่าว (Metered-Paywall) มีการกำหนดจำนวนของข่าวที่อ่านได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากเกินจำนวนที่กำหนดผู้อ่านจะต้องเสียค่าใช้จ่าย

6. การจ่ายแบบส่วนแบ่ง (Share-Payment Scheme) ผู้อ่านเหมาจ่ายเพียงครั้งเดียวสามารถอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ดิจิทัลทุกฉบับที่เข้าร่วมรายการ

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 26: newspaper to content provider

การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล* [thesis]

การปรับตัวทางธุรกิจในเครือเนชั่นสามารถแบ่งออกเป็น การปรับทิศทางธุรกิจ และการปรับตัวทางด้านงานข่าว

การปรับตัวทางธุรกิจของเครือเนชั่น

การปรับกลยุทธ์ธุรกิจ

การปรับโครงสร้างธุรกิจ

การปรับกระบวนการทำงานขององค์กรภายใน “การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 27: newspaper to content provider

การปรับตัวทางธุรกิจของหนังสือพิมพ์

คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการเครือเนชั่น กล่าวว่า

ภาพรวมของธุรกิจเครือเนชั่นต้องไปสู่ธุรกิจดิจิทัล คอนเทนต์ (Digital Content) ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่น (Application) ทั้งหมดจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนสู่ภูมิทัศน์สื่อใหม่

โดยมีการปรับวิธีการทำเนื้อหาข่าว(Content) และการบริหารของเครือเนชั่นให้เป็นห้องข่าวแบบหลอมรวม (Convergence Newsroom) เพื่อที่จะป้อนเนื้อหาข่าวของเครือเนชั่นเข้าไปในทุกช่องทางของสื่อในเครือเนชั่น

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 28: newspaper to content provider

การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล* [thesis]

ทิศทางธุรกิจของเครือเนชั่นจากนี้ต่อไปจะเปลี่ยนจากการเป็นองค์กรหนังสือพิมพ์ ไปสู่ องค์กรที่มีความหลากหลายมากขึ้น และจะเปลี่ยนจากการเป็นองค์กรที่ผลิตเนื้อหาข่าวขยายไปสู่การเป็นองค์กรผู้ผลิตเนื้อหาที่มีความหลากหลายมากขึ้น

การมุ่งผลิตเนื้อหาที่มีความหลากหลายของเครือเนชั่น จะยังคงเป็นเนื้อหาที่ยึดโยงอยู่กับสาระและเนื้อหาที่มีคุณภาพเป็นหลัก การขยายสู่เนื้อหาสาระที่หลากหลายจะต้องสอดคล้องกับสถานะของความเป็นองค์กรสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นคุณค่าหลัก หรือ Core Value ขององค์กร

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 29: newspaper to content provider

การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล* [thesis]

เครือเนชั่นต้องปรับวิธีการทำข่าว กระบวนการทำงาน และการบริหารห้องข่าวไปสู่การทำงานภายใต้แนวคิดห้องข่าวแบบหลอมรวม หรือ Convergence Newsroom

ห้องข่าวแบบหลอมรวมขึ้นเพื่อหลอมรวมการทำงานของฝ่ายข่าวของทุกสื่อในเครือเนชั่น ได้แก่หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต สื่อใหม่ รวมถึงฝ่ายสนับสนุน ได้แก่ ฝ่ายช่างภาพ และกราฟฟิก เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ในการร่วมกันพัฒนาเนื้อหาข่าวสารและร่วมกันนำเสนอเนื้อหาข่าวสารไปยังผู้บริโภคข่าวในทุกช่องทาง ห้องข่าวแบบหลอมรวม จะเป็นที่ที่บรรณาธิการของทุกสื่อในเครือเนชั่นจะรวมตัวกัน ทำงานร่วมกัน วางแผนข่าวและสารคดีข่าวต่างๆ ร่วมกัน เนื้อหาที่ผลิตออกมาจะถูกนำไปใช้ในทุกสื่อในเครือเนชั่น

“การปรับตัวทางธุรกิจขององค์กรสื่อเครือเนชั่นในยุคสื่อดิจิทัล” อศินา พรวศิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 30: newspaper to content provider

การปรับตัวขององค์กรสื่อหนังสือพิมพ์

นักข่าวและบก.ต้องทำงานหนักมากขึ้น ต้องทำ วีดีโอ ถ่ายภาพ และเขียนบล็อก ต้องทำ social media/ forum เพื่อสร้างชุมชนคนข่าวออนไลน์ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับ user generated content และกับ audience

บางที่มีการสร้างตำแนห่งงานใหม่ อาทิ community editors, Flash developers และ ’Data Delivery Editors’

@lekasina

Page 31: newspaper to content provider

การปรับตัวของหนังสือพิมพ์

การปรับตัวขององค์กรข่าว (News Organization)

การปรับตัวของเนื้อหาข่าว (News Content)

การปรับตัวของกองบรรณาธิการ (Editorial)

การปรับตัวของนักข่าว (Jounalist)

@lekasina

Page 32: newspaper to content provider

การปรับตัวขององค์กรข่าวปรับทิศทางมุ่งสู่ออนไลน์/ดิจิทัล (go online/go digotal)

กลยุทธ์ website + mobile + social media

ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับทิศทาง go online/ go digital (reorganization/restructure)

ใช้ทีมงาน/กองบก.เดิมรับผิดชอบออนไลน์ด้วย (ทีมงานเดียวกันทำ 2 platforms) อาทิ กองบก. The Nation คมชัดลึก เป็นต้น

แยกทีมกองบก.ออนไลน์จากกองบก.หนังสือพิมพ์ (รับคนใหม่หรือใช้คนเก่า) อาทิ ไทยรัฐ-ไทยรัฐออนไลน์ Bangkokpost (มี online reporter) ผู้จัดการ 360 เป็นต้น

ตั้งทีม social media หรือ new media (ตั้งทีมใหม่/ใช้ทีมเก่า) รับผิดชอบการนำเสนอข่าวบน social media เป็นอีกหนึ่ง platform หลักขององค์กรข่าว อาทิ PPTV ไทยรัฐทีวี เป็นต้น

@lekasina

Page 33: newspaper to content provider

การปรับตัวเนื้อหาข่าว

เนื้อหาข่าว (News Content) ต้องมีการปรับ ทั้งในส่วนของตัว “เนื้อหา” (Content) และ “วิธีการนำเสนอ” (Storytelling)ให้สอดคล้อง/เหมาะสม กับช่องทางหรือ platform ที่นำเสนอ => หนังสือพิมพ์, ออนไลน์, mobile [mobile site/mobile app], social media

ต้องสมดุลเนื้อหาระหว่าง “ข่าวที่คนควรต้องรู้” กับ “ข่าวที่คนอยากรู้” ระหว่าง “ข่าวเจาะ” กับ “ข่าวกระแส”

ต้องสมดุลเนื้อหาระหว่าง “ข่าวที่ผลิตเอง” (original content) และ “ข่าวที่ประชาคมข่าวผลิต” (user-generated content)

@lekasina

Page 34: newspaper to content provider

การปรับตัวของกองบรรณาธิการปรับโครงสร้างกองบรรณาธิการ (structure) = การออกแบบห้องข่าวเพื่อให้ตอบโจทย์ทิศทางข่าว

ห้องข่าวหลอมรวม (Convergence Newsroom)

หลอมรวมเนื้อหา/ หลอมรวมทีมงาน

ปรับกระบวนการทำงานของกองบรรณาธิการ (workflow)

online first/ mobile first, then newspaper [or TV]

มีตำแหน่งงานใหม่ๆ อาทิ social media editor, content curator, content conductor, data mining editor, digital editor เป็นต้น

@lekasina

Page 35: newspaper to content provider

การปรับตัวของนักข่าวเกาะแกนความสามารถหลักด้านวารสารศาสตร์ (journalism skill)

เพิ่มความสามารถในการทำงานแบบหลากทักษะ (multi-skill journalist)

=> คนเดียวเขียนได้หลากรูปแบบ ข่าวสั้น ข่าวยาว สรู๊ป ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายวีดีโอคลิป ถ่ายวีดีโอยาว เป็นต้น

=> ความสามารถในการใช้ social media เพื่อประโยชน์ตลอดกระบวนการทำงานข่าว ตั้งแต่ หาประเด็น รวบรวมข้อมูล เผยแพร่ข่าว สร้างความสัมพันธ์กับผู้อ่าน/ผู้รับสาร

เพิ่มความสามารถในการทำงานเป็นทีม ท่ามกลางความสามารถในการทำงานแบบหลากทักษะ => ทำงานกับบก.เว็บ บก.กราฟฟิก ช่างภาพ เป็นต้น

@lekasina

Page 36: newspaper to content provider

สรุป

องค์กรข่าวปรับจาก “single platform” สู่ “multi-platform”

องค์กรข่าวปรับจาก “หนังสือพิมพ์” สู่ “ออนไลน์/ดิจิทัล”

ปรับโครงสร้าง [ทีมเดียว/แยกทีม]

ปรับกระบวนการทำงาน นำแนวคิด digital first [online first, mobile first] มาใช้

newspaper -> media and technology company/ media content provider

@lekasina

Page 37: newspaper to content provider

สรุปcontent [text/photo/video |news/ non-news] => journalism process => multi-platform [web/mobile/social media] ด้วย storytelling ที่หลากหลาย [text only/ text+photo/ multimedia | very short form, short form, long form]

content [origital created content vs user-generated content] โดยใช้ social media เป็นแพลตฟอร์มในการเชื่อมต่อ news community/audience เพื่อกระบวนการทำข่าวทั้งขาเข้า (pull) และขาออก (push) ทั้งยังสามารถใช้เพื่อสร้าง engagement กับผู้อ่าน

@lekasina