phonology morphology syntax semantics pragmatics · • semantics • pragmatics อ....

36
Language characteristics in intellectual disability Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics . ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Upload: others

Post on 29-Jul-2020

24 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

Language characteristics in intellectual disability • Phonology • Morphology • Syntax • Semantics • Pragmatics

อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Page 2: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

1. Phonological skills

•Articulation: ถ้าเรามุ่งเน้นที่ Articulation เราสนใจที่จะพิจารณาว่าเด็กจะเคลื่อนไหวอวัยวะที่ใช้ในการพูดอย่างไรให้ได้เสียงที่ถูกต้อง •Phonology: ถ้าเรามุ่งเน้นที่ Phonology เราจะสนใจว่าเสียงอะไรที่ปรากฏในภาษาและมีรูปแบบของการเกิดเสียงได้อย่างไร เช่น fronting, backing เป็นต้น •Phonological processes: เราจะสนใจว่าเด็กจะเปลี่ยน phonological rules (กฎของ เสียง) ได้อย่างไรเพื่อให้เป็น pattern ของตนเองโดยเสียงที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ถูกต้องแต่ สามารถออกได้ง่าย เช่น เด็กได้ยินคำว่า “คุด” มี pattern คือ CVC แต่เด็กพูดไม่ได้เด็ก จะพูดเป็น “คุ” ซึ่งมี pattern คือ CV แล้วเด็กจะเปลี่ยนเมื่อเด็กได้รับการฝึกฝนให้เป็น CVC หรือใกล้เคียงกับผู้ใหญ่เมื่อเด็กโตขึ้นในเด็กปกติ •Phonology ในแง่ของ receptive language จะคำนึงถึงเรื่อง การได้ยิน การแยกแยะเสียงในภาษา (discriminating of sounds in language) •Phonology ในแง่ของ expressive language จะคำนึงถึงเรื่อง การพูด การออกเสียงในภาษา (production of sounds in language)

ทบทวน

Page 3: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

โดยส่วนใหญ่แล้วเด็ก mental retardation กว่า 70% มักจะมีความยากลำบากในการเรียนรู้การออกเสียงพูดและมีปัญหาพูดไม่ชัด (Fristoe & Lloyd, 1979) ซึ่งระดับความรุนแรงของการพูดไม่ชัดขึ้นอยู่กับระดับความบกพร่องของสติปัญญา (degree of cognitive impairment) และปัญหาทางคลินิกด้านอื่นๆ เช่น genetic syndrome, orofacial anomalies (ได้แก่ cleft palate), hearing loss

3

ในด้านของ phonological process จะพบว่า เด็ก mental retardation จะมี patterns คล้ายคลึงกับเด็กปกติ เช่น deletion of consonants, distortions of sounds, substitution แต่มีข้อสังเกตว่า เด็ก mental retardation จะพบ pattern ของ deletion of consonants มากกว่า pattern อื่นๆ นอกจากนี้เด็กที่ีมีความบกพร่องของสติปัญญาในระดับที่รุนแรงมากขึ้นก็จะยิ่งมีปัญหาของการพูดไม่ชัดเพิ่มขึ้นด้วย (Shriberg & Widder, 1990)

Page 4: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

Phonological processes and children with Down syndrome

ในช่วงอายุ 18 เดือน - 2 ปี จำนวนและชนิดของ phonological process ที่เด็ก Down syndrome และเด็กปกติใช้จะเท่ากัน แต่เมื่ออายุ 4 ปี เด็ก Down syndrome จะยังคงใช้ phonological process อยู่และใช้มากกว่าเด็กปกติ

phonological process หรือ simplification rules ที่พบบ่อยในเด็ก down syndrome ได้แก่

‣Final consonant deletion: การไม่ออกเสียงคำท้ายหรือตัวสะกด เช่น ขุด เป็น ขุ

‣Consonant cluster reduction: การที่เสียงใดเสียงหนึ่งถูกละออกไปโดยที่เสียงสองเสียงนั้นจะต้องอยู่เรียงกัน เช่น ครู เป็น คู

‣Stopping: การใช้เสียง stop แทนเสียง affricate และ fricative เช่น [ t / s ]

‣Fronting: การใช้เสียงด้านหน้าแทนเสียงด้านหลังของปาก เช่น [ t / k ]

‣Backing: การใช้เสียงด้านหลังแทนเสียงด้านหน้าของปาก เช่น [ k / t ]

‣Weak consonant deletion: การไม่ออกเสียงพยางค์ที่ไม่เน้นในคำหลายพยางค์ พบในภาษาอังกฤษ เช่น hamburger เป็น hamger

4

Page 5: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

2. Morphological skills

Morphology: เป็นการใช้กฎที่ใช้ประกอบกันขึ้นมาเป็นคำ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่มีความหมาย แบ่งออกเป็น

-Free morpheme คำที่อยู่เป็นอิสระทำหน้าที่เหมือนกับคำ -Bound morpheme หน่วยของคำที่อยู่เป็นอิสระเองไม่ได้

✤ Inflectional morphology: จะสัมพันธ์กับโครงสร้างของภาษาและกฎไวยากรณ์ แต่กฎนี้จะไม่ก่อให้เกิดคำใหม่ เช่น การเติม “-s”, “-ed” ในภาษาอังกฤษ

5

ทบทวน

Page 6: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

✤Derivational morphology: การก่อให้เกิดคำใหม่ ได้แก่ -Compounding: combining two words (free morphemes) การเชื่อม free morpheme 2 morpheme เข้าด้วยกันเป็นคำใหม่ เช่น แม่ + น้ำ = แม่น้ำ -Affixation: adding bound morphemes to a base word การเติม bound morpheme ลงไปในคำเดิม เช่น “un-” , “อ-” -Conversion: simply changing a word from one class to another without adding any derivational affixes

เป็นการเปลี่ยนแปลงคำโดยที่ไม่ได้เติม bound morpheme ลงไป ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้เปลี่ยนชนิดของคำ เช่น คำว่า “ขัน” ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะที่ใช้ตักน้ำ ถ้าเป็นคำกริยาหมายถึงหัวเราะ, lunch กับ to lunch เป็นต้น

•Morphology ในแง่ของ receptive language จะคำนึงถึง ความเข้าใจหน่วยคำที่มีความหมาย (comprehending meaning units) •Morphology ในแง่ของ expressive language จะคำนึงถึง การใช้หน่วยคำที่มีความหมาย (producing meaning units)

ทบทวน

Page 7: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

เด็กจะเรียนรู้กฎของหน่วยคำหรือ morphological rules โดยการฟังจากบุคคลต่างๆ และการเรียนรู้ morphological skills มีความเป็นนามธรรม เช่น การใช้ “un-” , “อ-” ในความหมายเชิงลบ ดังนั้นกฎของหน่วยคำจะยากสำหรับเด็กที่มีสติปัญญาล่าช้า

โดยส่วนใหญ่แล้วการศึกษาเกี่ยวกับ morphological skills จะทำในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็ก Down syndrome (Eadie et al., 2002; Chapman et al., 1998; Laws & Bishop, 2003; Rutter & Buckley, 1994) พบว่าเด็ก mental retardation โดยเฉพาะเด็ก Down syndrome จะมีความลำบากในการใช้ grammatical morphemes ประกอบด้วย:

-Regular plural inflections -Irregular plurals (less impaired than regular plural inflections) -Present progressive -ing -Possessive morphemes -Regular past tense inflections -Irregular past tense words (less impaired than regular past tense

inflections)

7

Page 8: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

ความยากลำบากในการเรียนรู้ inflectional morphologic features อาจเกิดจากเด็กจะเรียนรู้ส่วน ประกอบในคำ (morphologic components) ได้ยากกว่าการเรียนคำทั้งคำ (Whole words) หรืออาจเกิดจากการออกเสียงของผู้ใหญ่ที่จะไม่เน้น inflectional morphologic features นอกจากนี้ปัญหา hearing loss ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กเรียนรู้ได้ช้า

8

Page 9: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

Brown stages (Brown, 1973) Stage I : MLU = 1.75 words (เด็กปกติอายุ 22 เดือน) Stage II : MLU = 2.25 words (เด็กปกติอายุ 28 เดือน) Stage III : MLU = 2.75 words (เด็กปกติอายุ 32 เดือน) Stage IV : MLU = 3.50 words (เด็กปกติอายุ 41 เดือน) Stage V : MLU = 4.00 words (เด็กปกติอายุ 45 เดือน)

9

Page 10: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

ตารางแสดงผลศึกษาการวัดความยาวเฉลี่ยของถ้อยความของเด็กอายุ 2 ถึง 4 ปีของอมรรัตน์ พงศ์จรรยากุล, 2553

อมรรัตน์ พงศ์จรรยากุล. Mean Length of Utterance of Thai children aged 2-4 years old on Khon kaen municipality, Thailand. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553.

Subject (months)

N Mean Standard Deviations

Min Max

25-30 30 2.55 0.53 1.47 3.99

31-36 30 3.14 0.58 2.26 4.65

37-42 30 3.29 0.65 2.28 4.68

43-48 30 4.18 1.02 2.64 6.38

Page 11: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

MLU 1.5 words – Down syndrome จะได้เมื่ออายุ 4 ปี MLU 3.5 words – Down syndrome จะได้เมื่ออายุ 6 ปี MLU 5+ words – Down syndrome จะได้เมื่ออายุ 15 ปี

(Chamberlain C.E. and Strode R.M., 1999)

11

Page 12: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

3. Syntactic skills

Syntax: คือการใช้ไวยากรณ์หรือกฎของการใช้รูปแบบของภาษา syntax ประกอบด้วยการเรียงลำดับคำ การสร้างประโยค และการใช้คำถาม

syntax มักจะไม่นำมาพิจารณาจนกว่าเด็กจะผ่านระยะการพูด 1 - 2 คำ

✦Syntax ในแง่ของ receptive language จะคำนึงถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของภาษาหรือลำดับของคำในประโยคว่าจะส่งผลต่อความหมายอย่างไร

✦Syntax ในแง่ของ expressive language จะคำนึงถึง การใช้โครงสร้างทางภาษาที่ใช้ในการสื่อความหมาย

12

ทบทวน

Page 13: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

ทักษะด้าน syntax ของเด็ก mental retardation จะพัฒนาช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน โดยเด็กที่มีสติปัญญาล่าช้า จะมีความสามารถด้านคำศัพท์ดีกว่าด้าน morphologic และ syntactic skills หรืออาจกล่าวได้ว่าทักษะด้าน morphologic และ syntactic skills จะเป็นทักษะที่บกพร่องและพัฒนาได้ยากมากที่สุดในเด็ก mental retardation

13

Page 14: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

ซึ่งเด็ก mental retardation จะสามารถเข้าใจและใช้ประโยคง่ายๆ ได้ แต่ไม่สามารถเข้าใจและใช้ประโยค ความรวม (compound) ประโยคเชิงซ้อน (complex) ได้ และจะมีความลำบากในการพูดตามประโยคที่มี ความยาวและซับซ้อนอีกด้วย (Eadie et al., 2002) นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กmental retardation เรียนรู้การใช้คำเชื่อม “และ” ได้ง่ายกว่า “เพราะว่า” อีกทั้งยังใช้ คำว่า “และ” มากเกินไปในการสนทนา (Kamhi & Johnston, 1982) เด็ก mental retardation จะใช้คำถาม น้อยและไม่หลากหลาย มักจะใช้คำถาม “อะไร” แทนคำถามแบบอื่นๆ (เช่น ใช้คำถาม “อะไร” แทน “ที่ไหน” “เมื่อไร”)

14

Page 15: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

สำหรับการศึกษาในเด็ก Down syndrome พบว่า ❖เด็ก Down syndrome จะมีอัตราพัฒนาการทักษะด้านไวยากรณ์ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน และมีพัฒนาการทักษะด้าน syntax ช้ากว่าด้าน semantic ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ว่าทักษะทางด้านไวยากรณ์ที่ล่าช้าเกี่ยวข้องกับทักษะทางด้านคำศัพท์ที่ล่าช้า

❖Buckley & Pennanen (2003) พบว่าเด็ก Down syndrome ต้องมีคำศัพท์อย่างน้อย 250 คำ ก่อนที่จะเริ่มใช้ไวยากรณ์เกี่ยวกับการแสดงความเป็นเจ้าของ, การใช้พหูพจน์, และการใช้ verb tenses

15

Page 16: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

❖การใช้ไวยากรณ์จะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก Down syndrome เนื่องจากเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมและมีความซับซ้อน และความลำบากในการใช้ไวยากรณ์อาจจะเนื่องมาจากปัญหาของการเรียงลำดับคำ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาหลักทางภาษาของเด็ก Down syndrome (Fowler, 1995) ❖โดยส่วนใหญ่แล้วเด็ก Down syndrome จะยังไม่ใช้คำที่เป็นไวยากรณ์จนกว่าอายุอย่างน้อย 5 ปี และเริ่มใช้มากขึ้นเมื่ออายุ 6 ปี

16

Page 17: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

4. Semantic skills

Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา บ่อยครั้งจะหมายถึงเนื้อหาของ ภาษา ซึ่งในแต่ละภาษาจะมีคำศัพท์ที่ใช้เรียกวัตถุสิ่งของรวมถึง concept ต่างๆ Vocabulary: ประกอบด้วยคำและ concept ที่เด็กเข้าใจ (receptive vocabulary) และคำศัพท์ที่เด็กใช้ในการพูด (expressive vocabulary)

คำศัพท์สามารถแบ่งย่อยได้เป็น * Concrete words and labels/basic words:

คำที่เกี่ยวกับรูปธรรมและคำศัพท์พื้นฐาน โดยคำเหล่านี้จะเรียนรู้ก่อนเป็นอันดับแรก แต่เราก็ยังคงเรียนรู้คำเหล่านี้ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ (เช่น คำที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ)

* Relational words such as time and space terms: คำที่มีความหมายสัมพันธ์กัน ได้แก่ คำที่แสดงเวลาและคำที่แสดงระยะห่าง เป็นคำที่จะ มีความหมายเมื่อเชื่อมโยงถึงคำอีกคำหนึ่ง เช่น คำว่า เช้า-สาย ก่อน-หลัง บน-ล่าง เป็นต้น

ทบทวน

Page 18: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

* Classification: คำที่ใช้จัดประเภทและแสดงหมวดหมู่ เป็นทักษะที่ใช้ในการจัดประเภทและจัดหมวดหมู่โดยเป็นความสามารถที่จะจัดกลุ่มสิ่งต่างๆไว้เป็นประเภทหรือหมวดหมู่เดียวกัน เช่น หมวดเครื่องแต่งกาย อาหาร การให้เด็กบอกชื่อสัตว์ หรือการให้เด็กบอกสิ่งที่มีสีส้ม

* Synonyms and antonyms: Synonyms คือคำที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น เล็ก - จ้อย ในขณะที่ antonyms คือคำที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น ร้อน-เย็น

18

ทบทวน

Page 19: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

นอกจากนี้ยังมีลักษณะการใช้คำศัพท์แบบ Underextension ซึ่งก็คือการใช้คำศัพท์ในความหมายที่แคบเกินไป เช่น ดินสอไม้ เด็กเรียกว่า ดินสอ แต่ถ้าเป็นดินสอกดเด็กจะบอกว่าไม่ใช่ดินสอ ตรงข้ามกันคือคำว่า Overextension หรือ Overgeneralization คือ การใช้คำศัพท์ในความหมายที่กว้างเกินไป เช่น เห็นสัตว์สี่ขาทุกตัวแล้วเด็กเรียกว่า “หมา”

•Semantics ในแง่ของ receptive language จะคำนึงถึง การเข้าใจความหมายของคำ •Semantics ในแง่ของ expressive language จะคำนึงถึง การใช้คำศัพท์ที่มีความหมายในภาษา

19

ทบทวน

Page 20: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

โดยทั่วไปเด็ก mental retardation จะมีความเข้าใจและสามารถใช้คำได้น้อย เป็นคำที่สั้นไม่ซับซ้อนและเป็น คำที่เป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน เด็กเหล่านี้จะมีความลำบากในการเข้าใจหรือการใช้คำที่เป็นนามธรรม เช่น สุภาษิต คำพังเพย (Ezell & Goldstein, 1991)

เด็ก mental retardation จะเรียนรู้คำศัพท์ที่ใช้เรียกวัตถุสิ่งของในลักษณะเดียวกับเด็กปกติ และจะสามารถ เรียนรู้คำกับความหมายของคำได้ แต่จะมีปัญหาในการใช้คำที่เป็นไวยากรณ์และจะมีปัญหาในการใช้คำ เหล่านี้ในระดับวลีหรือประโยค

20

Page 21: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

เด็ก Down syndrome จะมีอายุเฉลี่ยในการพูดคำแรกประมาณ 18 เดือน (Gillham, 1979) แต่ก็มีเด็กบาง คนสามารถใช้สัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเด็กมีความรู้ในคำศัพท์ตั้งแต่อายุก่อน 12 เดือน (Kumin, Goodman, Councill, 1991) การศึกษาของ Miller (1987, 1992) พบว่าเด็ก Down syndrome มักจะมีจำนวนคำศัพท์ไม่เท่ากับเด็กวัย เดียวกัน แต่ถ้าใช้อายุสมองเป็นเกณฑ์เด็กมักจะมีคำศัพท์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยกับช่วงอายุสมองของเด็ก

21

Page 22: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

การใช้คำศัพท์ในเด็ก Down syndrome (Buckley, 2000) อายุ 15-23 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 11-14 คำ อายุ 24-35 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 28-55 คำ อายุ 36-47 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 117-168 คำ อายุ 48-59 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 248-251 คำ อายุ 60-71 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 272-391 คำ

ความเข้าใจคำศัพท์ในเด็ก Down syndrome (Buckley, 2000) อายุ 15-23 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 125 คำ อายุ 24-35 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 167 คำ อายุ 36-47 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 233 คำ อายุ 48-59 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 300 คำ อายุ 60-71 เดือน มีจำนวนคำศัพท์ 334 คำ

22

Page 23: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5. Pragmatic skills Pragmatics คือความสามารถของการใช้ภาษาในการสื่อสารหรือในสถานการณ์ที่เป็นจริง ถึงแม้ว่าเด็กจะมี ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ดีแต่ pragmatics ยังคงรวมถึงความสามารถของการใช้คำศัพท์ในการมีปฏิสัมพันธ์ กับบุคคลอื่นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้น

•Pragmatics ในแง่ของ receptive language จะคำนึงถึง ความเข้าใจภาษาในบริบททางสังคม •Pragmatics ในแง่ของ expressive language จะคำนึงถึง การใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบริบททางสังคม

Pragmatics ประกอบด้วย:

Page 24: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.1 Kinesics Kinesics เป็นการใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย การใช้ท่าทางสามารถช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการสื่อความหมาย เช่น การพยักหน้า ส่ายหน้า การเรียนรู้การใช้ท่าทางในช่วงแรกจะเรียนรู้ผ่านทางการเลียนแบบ วัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็จะทำให้มีการใช้ท่าทางที่แตกต่างกัน เด็กๆก็จะเรียนรู้การใช้ท่าทางจากบุคคลต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก

▪เด็ก Down syndrome ไม่มีความลำบากในการใช้ท่าทาง ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะสามารถใช้ท่าทางได้เหมาะสมถ้าได้รับการฝึกฝนจากที่บ้านหรือในสังคม

24

Page 25: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.2 Proxemics Proxemics หมายถึง การที่คนเราจะมีระยะห่างระหว่างบุคคลในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งรวมถึง ลักษณะการวางท่าทาง ความใกล้ชิดระหว่างบุคคล การสัมผัสและความสนิทสนมทางกายภาพ ซึ่ง Proxemics จะมีความแตกต่างตามแต่วัฒนธรรมและภูมิภาค เช่น การกอดของชาวตะวันตก คนทางตะวันออกจะเห็นว่าไม่เหมาะสม

•เด็กทั่วไปจะเรียนรู้ Proxemics ที่เหมาะสมโดยการมองดู แต่เด็ก Down syndrome ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการสอน ซึ่งการสอนนั้นจะทำได้ดีที่สุดที่บ้านหรือในสังคมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง •ปัญหาของเด็ก Down syndrome ในเรื่อง proxemics ที่พบได้บ่อยคือ การรักษาระยะห่างทางกายภาพให้เหมาะสมต่อคนแปลกหน้าหรือคนรู้จัก เด็ก Down syndrome มักจะเข้าไปใกล้ชิด กอด หรือแสดงความสนิทสนมต่อผู้อื่นโดยไม่ได้สนิทสนมกัน

25

Page 26: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.3 Intent

Intent หมายถึงวัตถุประสงค์หรือเจตนาในการสนทนาของผู้พูด ถ้าเจตนาและข้อความของเด็กที่สื่อออกไปกับสิ่งที่ผู้ฟังได้รับเป็นสิ่งเดียวกันแล้วก็ถือว่าการสื่อสารนั้นประสบความสำเร็จ Intent อาจจะไม่ใช้การพูดก็ได้ เช่น เด็กแสดงให้เห็นเจตนาในการสื่อสารโดยไปหยิบรองเท้าเพื่อบอกว่าอยากจะออกไปข้างนอก

คนทั่วไปมี Intent ในการสื่อสารหลายชนิดได้แก่ * requesting การขอหรือแสดงความต้องการ * greeting การทักทาย * socializing / being friendly การสร้างความคุ้นเคย การสร้างสัมพันธภาพ * protesting การปฏิเสธ * regulating the environment การตั้งกฎ การออกกฎ * asking for information การถามเพื่อขอข้อมูล •เด็ก Down syndrome ส่วนใหญ่เริ่มแรกมักจะใช้ Intent โดยการใช้ท่าทาง

26

Page 27: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.4 Eye Contact

Eye Contact มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารทางสังคม ในบางวัฒนธรรมการมองหน้าสบตาตรงๆมีความสำคัญมาก เช่น การแสดงความจริงใจเมื่อถูกซักถาม อย่างไรก็ตาม eye contact ก็จะมีความแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม เช่น ในบางวัฒนธรรมการมองหน้าหมายถึงการก้าวร้าว •เด็ก Down syndrome มักจะก้มหน้าหรือไม่อยากมองสบตาผู้อื่น ดังนั้นจึงเป็นทักษะหนึ่งที่ควรฝึกปฏิบัติ

27

Page 28: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.5 Facial Expressions

ผลจากการวิจัยพบว่า การแปลความหมายของถ้อยความหรือการสื่อสารที่เราส่งถึงผู้ฟังจะเป็นความหมายจากการแสดงสีหน้าถึง 38% งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าผู้ฟังจะเชื่อ nonverbal massage มากกว่า ถ้า verbal และ nonverbal ไม่ไปด้วยกัน

•เด็ก Down syndrome มักจะชำนาญในการอ่านอารมณ์ของผู้อื่น พวกเขามักจะรู้ทันทีถ้าเรารู้สึกเศร้า แต่อย่างไรก็ตามในบางเวลาเด็ก Down syndrome ก็จะมีความลำบากในการอ่านสีหน้า เช่น อารมณ์หงุดหงิด รำคาญใจ •ดังนั้นจะเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่เด็ก Down syndrome จะสามารถเข้าใจหรือแปลความหมายของสีหน้าและอารมณ์ และสามารถใช้การแสดงสีหน้าได้เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการพูดของตนเอง

28

Page 29: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.6 Requests

เด็กทั่วไปจะเริ่มใช้ท่าทาง, การส่งเสียงหรือการจ้องมองเพื่อแสดงความต้องการ ในพัฒนาการระยะแรกเด็กมักจะแสดงการร้องขอโดยการชี้หรือมองไปยังสิ่งของพร้อมส่งเสียงหรือคำรามในคอ

•งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็ก Down syndrome จะใช้ nonverbal request น้อยกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งการใช้ท่าทางในการขอที่ล่าช้านั้นอาจจะสัมพันธ์กับทักษะการแสดงออกทางภาษาที่ล่าช้า

***จากข้อ 5.7 เป็นต้นไป จะเป็น pragmatics ที่ยากขึ้น ซึ่งเด็กที่มีปัญหาทางสติปัญญาจะทำได้ยาก

29

Page 30: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.7 Conversational skills

ทักษะในการสนทนาจะช่วยให้เรามีส่วนร่วมในการสนทนาทั้งในฐานะผู้พูดและผู้ฟัง ทักษะของการสนทนาพื้นฐานได้แก่ Turn - taking จะเริ่มเรียนรู้ก่อนที่เด็กจะเริ่มพูด ส่วนทักษะการสนทนาที่ก้าวหน้าขึ้นก็จะเรียนรู้จากประสบการณ์ ทักษะนั้นได้แก่ การเริ่มต้นการสนทนา การตอบสนองและการคงการสนทนานั้นได้ การดำเนินการสนทนา และการจบการสนทนานั้น นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุดพัก หรือเข้าไปขัดการสนทนาจะทำอย่างไร และการให้ feedback แก่ผู้พูดจะทำอย่างไร

•เด็ก mental retardation มักจะไม่เต็มใจหรือไม่สามารถเริ่มต้นการสนทนาได้โดยเด็กอาจจะตอบเมื่อถูกพูดคุยด้วยแต่จะหลีกเลี่ยงการเริ่มต้นการพูดเป็นคนแรก ยกเว้นเด็ก Williams syndrome ที่มักจะชอบทักทายและมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า (Doyle et al., 2004)

•เด็ก Down syndrome มักจะขัดจังหวะการสนทนาของครู มีการสลับบทบาทอย่างไม่เหมาะสม หรือถามคำถามที่ไม่ควรถามในช่วงที่เริ่มเข้าเรียน แต่เด็ก down syndrome จะหยุดยั้งพฤติกรรมแบบนี้ได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือน ถ้าการตอบสนองของครูและเพื่อนนักเรียนเป็นไปตามธรรมชาติ เช่น การพูดว่า “อย่าขัดจังหวะตอนนี้ ยังไม่ถึงตาเธอ” หรือ “หยุดพูด” ก็จะเป็นการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประสบการณ์และการฝึกฝนจะเป็นครูที่ดีที่สุดในการสร้างทักษะการสนทนา

30

Page 31: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.8 Stylistic Variations

Stylistic variations หมายถึง ทักษะในการปรับการสื่อสารให้เหมาะสมกับผู้ฟังและสถานการณ์ เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะเรียนรู้กฎเกณฑ์ต่างๆหรือการปรับเปลี่ยนการพูดเมื่ออยู่ในแต่ละสภาพสังคม เช่น การพูดกับเพื่อน, การพูดกับครู โดยทั่วไปพ่อแม่จะเป็นครูที่ดีที่สุดสำหรับการสอนทักษะนี้ โดยการบอกกับเด็กถึงวิธีที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์จริง อีกวิธีหนึ่งที่ดีในการสอน Stylistic variations คือสอนผ่านการเล่นบทบาทสมมติ

31

Page 32: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.9 Presuppositions

Presuppositions เป็นการที่เราคาดว่าผู้ฟังรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องราวที่เราจะพูดถึง โดยที่เราไม่ต้องบอกก่อนล่วงหน้า presuppositions ต้องใช้ความสามารถที่เราจะแทนตนเองลงไปในบทบาทของผู้ฟัง เด็กเล็กจะมี presuppositions ได้ยาก เนื่องจากเด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลางและเด็กยังมีภาษาที่ใช้อธิบายสิ่งต่างๆได้น้อย

•เด็ก Down syndrome ก็จะมี presuppositions ได้ยากและต้องได้รับการฝึกฝน เด็กต้องได้รับคำแนะนำและเตือนความจำที่จะเรียนรู้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ผู้ฟังต้องการรู้ ทักษะนี้จะพัฒนาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

32

Page 33: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.10 Turn-taking

เด็ก Down syndrome มักจะมีการสนทนาสั้นๆ เด็กจะตอบคำถามของเราแต่จะไม่ถามคำถามเพื่อให้การสนทนาดำเนินต่อไป และไม่มีการสลับบทบาทในการพูดคุยสนทนา

โดยส่วนมาก turn-taking และ topicalization จะต้องฝึกฝนไปพร้อมกันเพราะทั้งสองสิ่งนี้จะมาคู่กัน เมื่อถึงตาเราพูด เราก็ต้องรู้ว่าเราจะคงหัวข้อสนทนาให้ดำเนินต่อไปได้อย่างไรเพื่อให้การสนทนานั้นต่อเนื่อง

33

Page 34: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.11 Topicalization หัวข้อในการสนทนา (topics) เป็นพื้นฐานหรือส่วนสำคัญในการสนทนา โดยมีความสำคัญที่จะเรียนรู้ว่าเราจะเลือกหัวข้อในการสนทนาอย่างไร การเริ่มต้นหัวข้อในการสนทนา การคงหัวข้อในการสนทนา นอกจากนี้ยังมีการดำเนินหัวข้อการสนทนาให้ต่อเนื่อง และการเปลี่ยนหัวข้อของการสนทนา

การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเด็ก Down syndrome จะมีความลำบากในการเริ่มต้นหัวข้อสนทนาใหม่ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วไปในระดับของสติปัญญาและภาษาเดียวกัน (linguistic level) นอกจากนี้การคงหัวข้อการสนทนาและการดำเนินหัวข้อในการสนทนาก็ทำได้ยากในเด็ก Down syndrome ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากระดับสติปัญญาที่บกพร่องและการขาดประสบการณ์ในการพูดคุยสนทนา **เมื่อเราไม่สามารถ maintain topic การพูดก็จะสั้นและพูดวกวน ในที่สุดคนฟังก็จะไม่สนใจ

34

Page 35: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

5.12 Clarification and Repairs Clarification และ Repairs เป็นทักษะที่ดำเนินไปด้วยกัน Clarification คือการถามเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ผู้ฟังจะถามเพื่อความกระจ่าง เช่น “คุณพูดว่าอะไร” เพื่อความเฉพาะเจาะจง เช่น “คุณหมายความว่าอย่างไร” หรือเพื่อการยืนยันแน่นอน เช่น “นี่คือสิ่งที่คุณพูดใช่ไหม”

ส่วน Repairs หมายถึง ความสามารถจำได้ว่าการสื่อสารที่ถูกทำให้หยุดลงเกิดขึ้นเมื่อไหร่ สามารถเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของการสื่อสารที่หยุดชะงักไป และสามารถให้ข้อมูลที่ต้องการในการแก้ไขสิ่งที่ทำให้ความเข้าใจผิดไป

•เด็ก mental retardation ที่มีระดับสติปัญญาบกพร่องที่รุนแรงมากขึ้นจะมีทักษะในการแก้ไข (repairs) การพูดของตนได้ต่ำกว่าเด็กที่มีระดับสติปัญญาบกพร่องที่รุนแรงน้อย โดยเด็กบางคนมักจะพูดซ้ำสิ่งที่ตนเองพูดแทนที่จะพยายามแก้ไขหรืออธิบายส่ิงที่ผู้ฟังไม่เข้าใจ แม้แต่เด็ก Williams syndrome ที่มีทักษะทางภาษาดีกว่าเด็กประเภทอื่นๆ ก็ยังมีปัญหาในทักษะด้านนี้ (Laws & Bishop, 2004)

•นักวิจัยได้ทำการสังเกตว่าเด็ก Down syndrome ในวัยก่อนเรียนจะตอบสนองอย่างไรเมื่อผู้ใหญ่ส่งสัญญาณว่าไม่เข้าใจพวกเขา นักวิจัยสรุปว่าเด็ก Down syndrome ที่ยังเล็กจะพยายามตอบสนองต่อสัญญาณนั้นอย่างต่อเนื่อง แต่เด็กก็ยังไม่แน่ใจว่าจะจัดการกับความไม่เข้าใจนั้นให้ดีขึ้นได้อย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งพวกเขาตระหนักถึงความไม่เข้าใจของผู้ฟัง แต่ไม่รู้ว่าจะทำสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้อย่างไร

Page 36: Phonology Morphology Syntax Semantics Pragmatics · • Semantics • Pragmatics อ. ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์ ... Semantics เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความหมายในภาษา

References

Kumin L. (2012). Early communication skills for children with Down syndrome. (3rd ed.) USA: Woodbine house. Peccei J.S. (2006). Child language. New York: Routledge. Hedge M.N. And Maul C.A. (2006) Language Disorders in Children: An Evidence-Based Approach to Assessment and Treatment. Boston: Pearson Education Inc.

36