photostudio - untitled-scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์....

49

Upload: others

Post on 03-Nov-2019

58 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร
Page 2: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือคร ู

การบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร ์

Page 3: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

ศิริวรรณ เกตตุพันธ์ุ.

คูม่ือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์.—กรุงเทพฯ : ลานนา มีเดีย แอนด์ โปรดักช่ัน, 2554.

48 หน้า.

1. ประวัติศาสตร์ – การศึกษาและการสอน. 2. วิทยาศาสตร์ – การศึกษาและการสอน. I. ช่ือเรื่อง.

372.89

ISBN 978-974-496-996-5

พิมพ์ครั้งแรก เมษายน 2554

จํานวนพิมพ์ 1,000 เล่ม

ผู้จัดพิมพ์ หจก.ลานนา มีเดีย แอนด์ โปรดักช่ัน โทร.053-944-947

สนับสนุนการเผยแพร่โดย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สงวนลิขสิทธ์ิ © การผลิตและการลอกเลียนแบบหนังสือเล่มน้ีไม่ว่ารูปแบบใดทั้งสิ้นต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียนเท่าน้ัน

Page 4: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

ค าน า

ในช่วงเริ่มต้นกิจกรรมในคู่มือเล่มนี้ได้ถูกออกแบบเพื่อใช้กับโรงเรียนต้นแบบ

ระดับชั้นประถมศึกษา 13 โรงเรียนที่ร่วมโครงการประวัติศาสตร์ในมิติวิทยาศาสตร์

ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้รายวิชา

ประวัติศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่

(LLEN เชียงใหม่) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

(สกว.) ซึ่งมีรศ.สมโชติ อ๋องสกุลเป็นหัวหน้าโครงการ อย่างไรก็ตามผู้เขียนได้เน้น

ออกแบบแต่ละกิจกรรมเพื่อสามารถขยายการใช้งานให้แก่ครูทั้งระดับประถมศึกษา

และมัธยมศึกษา และน าออกไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวางและเกิด

ประโยชน์สู ง สุ ด ซึ่ งท างส านั ก ง านคณะกรรมการการศึ กษาขั้ นพื้ นฐ าน

กระทรวงศึกษาธิการได้สนับสนุนการตีพิมพ์ “คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับ

วิทยาศาสตร์” เล่มนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้แก่ศึกษานิเทศก์และครูทั่วประเทศ

กิจกรรมที่น าเสนอทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมที่ได้ผ่านการทดลองใช้กับนักเรียน

กลุ่มตัวอย่างในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยกิจกรรมดังกล่าวจะมุ่งเน้นให้

นักเรียนมีทักษะและกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การตั้งค าถาม

การคิดและวิเคราะห์ตามหลักเหตุและผล เป็นต้น อันเป็นไปตามแนวทางของ

ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั่นคือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู

ด้วยกระบวนการที่หลากหลาย ที่มุ่งให้ผู้ เรียนแสวงหาความรู้ซึ่งประกอบด้วย 4

ขั้นตอน ได้แก่ 1) ตั้งค าถาม 2) เตรียมการค้นหาค าตอบ 3) ด าเนินการค้นหาและ

ตรวจสอบค าตอบ และ 4) สรุปและน าเสนอผลการค้นหาค าตอบ ซึ่งเป็นหลักการ

ส าคัญในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในอนาคตต่อไปและยังก่อให้เกิดการเรียนรู้โดยเน้น

Page 5: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

ผู้เรียนเป็นส าคัญโดยใช้กระบวนการวิจัย ซึ่งส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมวิจัยให้แก่ครูและ

นักเรียนในอนาคต นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ในเชิง

บูรณาการ และสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับสาระวิชาอื่นๆเช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ

ภาษาไทย เป็นต้น ทั้งนี้ผู้เขียนได้เพิ่มเติมข้อเสนอแนะในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้ครู

สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับความยากง่ายให้เหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้น

มัธยมอีกด้วย กิจกรรมเหล่านี้ยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และ

มุมมองใหม่ๆในการศึกษารายวิชาประวัติศาสตร์ร่วมกับรายวิชาอื่นๆ โดยครูสามารถ

สอดแทรกกระบวนการวิจัย 4 ขั้นตอนในระหว่างการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผู้เขียนหวังว่า “คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์” เล่มนี้ จะ

สามารถจุดประกายและให้แนวคิดในการออกแบบและจัดกิจกรรม รวมทั้งท าให้ครู

สามารถปรับปรุงการเรียนการสอนให้เข้าสู่กระบวนการวิจัยและมีการคิดอย่างเป็น

ระบบให้แก่ผูเ้รียนได้

ขอขอบคุณรองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล หัวหน้าโครงก าร LLEN

เชียงใหม่ ที่ให้ข้อแนะน าในการจัดท ากิจกรรมและการจัดท าหนังสือเล่มนี้ นอกจากนี้

ผู้เขียนขอขอบคุณส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ที่สนับสนุนการตีพิมพ์คู่มือเล่มนี้ มา ณ ที่นีด่้วย

ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์

เมษายน 2554

Page 6: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

สารบัญ

หน้า

ข้อแนะน าวิธีการใช้คู่มือ 1

กิจกรรม 1: ความลับของสีในจิตรกรรม 3

กิจกรรม 2: สมบัติของหนานค า 11

กิจกรรม 3: มหัศจรรย์ปูนกับการปั้น 17

กิจกรรม 4: โลหะอะไรเอ่ย 21

กิจกรรม 5: เครื่องเขินพูดได้ 29

กิจกรรม 6: ประวัติศาสตร์ประทับใจ 35

ประวัติผู้เขียน 41

Page 7: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร
Page 8: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 1

ข้อแนะน าในการใช้คู่มือครู

การบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

ข้อแนะน าการใช้คู่มือส าหรับครูผู้สอน

กิจกรรมที่นําเสนอในคู่มือฉบับนี้เป็นกิจกรรมที่ได้ผ่านการทดลองใช้กับ

นักเรียนกลุ่มตัวอย่างในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งจัดทําภายใต้โครงการวิจัย

และพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ใน

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีรศ.สมโชติ อ๋อง

สกุลเป็นหัวหน้าโครงการ ผู้เขียนได้ทําการปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อเสนอแนะให้มาก

ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ครูผู้สอนเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมบูรณาการในชั้น

เรียนรายวิชาประวัติศาสตร์และรายวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาไทย เป็น

ต้น ได้ อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถน ากิจกรรมไปใช้ในการเรียนการสอนได้โดยตรง

หรือไม่ก็เปลี่ยนแปลงอีกเพียงเล็กน้อยส าหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและระดับ

มัธยมศึกษาที่ท่านสอนอยู่ได้

สําหรับเนื้อหากิจกรรมที่จัดพิมพ์อยู่ในคู่มือเล่มนี้ ประกอบด้วยการแนะนํา

ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมอย่างละเอียดจนครูสามารถนําไปใช้จัดกิจกรรมได้ด้วยตนเอง

ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ 1) จุดประสงค์ของกิจกรรม 2) เวลาที่ใช้จัดกิจกรรม

วัสดุอุปกรณ์และการแบ่งกลุ่มนักเรียน 3) การเตรียมจัดกิจกรรมล่วงหน้าและการจัด

กิจกรรม 4) ข้อเสนอแนะ 5) ผลที่คาดว่าจะได้รับ และ 6)ใบงาน แม้ว่าครูส่วนใหญ่ที่

นํากิจกรรมไปใช้จะไม่ได้เป็นครูสาขาวิทยาศาสตร์แต่ก็สามารถนํากิจกรรมไป

ประยุกต์ใช้ได้โดยง่าย เน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

Page 9: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 2

ข้อแนะน าก่อนน ากิจกรรมไปใช้

กิจกรรมประวัติศาสตร์บูรณาการในมิติวิทยาศาสตร์ทั้งหมดนี้สามารถ

นํามาใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียน แต่บางกิจกรรมอาจจะนําไปใช้ได้

มากกว่า 1 คาบเรียน

ครูสามารถนํากิจกรรมไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายสาระวิชา โดยสามารถจัด

ร่วมกับครูวิทยาศาสตร์ ครูวิชาภาษาไทยและศิลปะได้ ทําให้นักเรียนยังเห็น

คุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

หากมีเวลาสอนในโรงเรียนไม่พอ ขอแนะนําให้จัดกิจกรรมในรูปแบบของ

การจัดค่าย ซึ่งทําให้นักเรียนสนุกและไม่เคร่งเครียดจนเกินไป

ในการจัดกิจกรรม หากมีผู้ช่วยสอน จะใช้เวลาจัดกิจกรรมสั้นลงและมี

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดและตั้งคําถามเพื่อให้เกิดความคิด

สร้างสรรค์และพัฒนากระบวนการคิดให้เป็นระบบ

หากท่านมีข้อแนะนําในการจัดทํากิจกรรมหรือเอกสารสําหรับครู หรือ

ต้องการรับไฟล์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องในแต่ละกิจกรรม โปรดติดต่อตามที่

อยู่ด้านล่าง

อาจารย์ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

โทรศัพท์: 053-943336 ต่อ 102 แฟกซ์: 053-892277

Email: [email protected]

Page 10: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 3

กิจกรรมกิจกรรม ความลับของสีในจิตรกรรม

จุดประสงค์ของกิจกรรม

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องสีที่นิยมใช้วาดบนงานจิตรกรรมในอดีต

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของสีจากภาพจิตรกรรมใน

อดีตและปัจจุบัน

เวลาที่ใช้ 30 นาที

อภิปรายก่อนทํากิจกรรม 10 นาที

ขณะทํากิจกรรม 10 นาที

อภิปรายหลังทํากิจกรรม 10 นาที

วัสดุอุปกรณ์ แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 5-8 คน

1. ภาพพิมพ์สจีากจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์หรือวัดอื่นๆกลุ่มละ 2-3 ภาพ

(อาจใช้รูปจากเว็บไซต์)

2. กระดาษแก้วสีแดง สเีหลือง และสีน้ําเงิน ขนาด 5 x 5 นิ้ว อย่างละ 1 แผ่น

กลุ่มละ 1 ชุด

3. ไฟฉาย 1 อัน

4. วีซีดี “จิตรกรรมวัดอุโมงค์อันล้ําค่าแห่งล้านนา”

Page 11: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 4

การเตรียมล่วงหน้า

ครูค้นหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องสีและการมองเห็น สีและแหล่งที่มาที่พบในงาน

จิตรกรรมฝาผนังของไทยและต่างประเทศที่น่าสนใจ จัดเตรียมอุปกรณ์และภาพพิมพ์สี

พร้อมทั้งจัดเตรียมอปุกรณ์เพื่อให้นักเรียนได้ดูวีซีดี “จิตรกรรมวัดอุโมงค์อันล้ําค่าแห่ง

ล้านนา”

อภิปรายก่อนท ากิจกรรม

เริ่มจากครูตั้งคําถามความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานจิตรกรรมฝาผนังในสมัยโบราณ

เล่าประวัติความเป็นมาของวัดอุโมงค์ (เชิงดอยสุเทพ) และภาพที่ปรากฏบนงาน

จิตรกรรมวัดอุโมงค์สั้นๆประมาณ 5-10 นาที (สามารถเปิดซีดี “จิตรกรรมวัดอุโมงค์

อันล้ําค่าแห่งล้านนา” ให้ดูประกอบ) ครูอธิบายว่า สีเกิดจากอะไรและสีที่นํามาใช้ใน

Page 12: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 5

งานจิตรกรรมจากมีสีอะไรบ้าง ประมาณ 5 นาที และจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 5-8

คนพร้อมแจกใบงานและอุปกรณ์

ตัวอย่างของกิจกรรม

ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตสีบนจิตรกรรมที่ปรากฏบนภาพพิมพ์ว่า มีกี่สี

น่าจะมีที่มาจากแหล่งใด โดยลากเส้นจุดที่สังเกตเห็นสีบนภาพพิมพ์และระบุสีที่สังเกต

ได้ ทดลองนํากระดาษแก้วสีแดง สีเหลืองและสีน้ําเงินที่แจกให้แต่ละกลุ่มมาวาง

ซ้อนทับกัน สังเกตสีที่มองเห็น บันทึกลงในใบงาน

Page 13: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 6

อภิปรายหลังท ากิจกรรม

เลือกนักเรียนมา 1-2 กลุ่มเพื่อนําเสนอ ประมาณกลุ่มละ 2 นาที แล้ว ครูสรุปสิ่ง

ที่สังเกตได้ อภิปรายถึงสีในงานจิตรกรรมเพิ่มเติม ให้ความรู้ถึงสีที่ใช้ในปัจจุบันว่า มี

ความแตกต่างจากในอดีตอย่างไรสั้นๆประมาณ 5-10 นาที

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. นํากิจกรรมนี้มาประยุกต์ใช้กับหัวข้ออื่นได้ เช่น สีย้อม สิ่งทอโบราณ เป็นต้น

2. แนะนําให้นักเรียนเสนอแนวคิดของที่มาของสีที่ไม่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนัง

เช่น สีน้ําเงิน สีชมพู เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และให้ค้นหาความรู้

เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่นๆ

3. นํานักเรียนเดินทางไปทัศนศึกษาสังเกตสีบนจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ โดยไม่

ต้องใช้ภาพพิมพ ์

4. ครูอาจต้องเพิ่มชั้นของกระดาษแก้วสีเพื่อให้มองเห็นสีที่ซ้อนทับกันตรงตาม

ทฤษฎีได้ง่ายขึ้น

5. ครูอาจให้นักเรียนลองใช้แผ่นพลาสติกสีแทนกระดาษแก้วว่าได้ผลแตกต่างกัน

หรือไม่ อย่างไร

6. ครูสามารถจัดกิจกรรมอื่นๆเพิ่มเติมเช่น การมองแผ่นสีที่ซ้อนทับกันในกล่อง

ทึบแสง ว่า สามารถมองเห็นสีหรือไม่ และจัดอภิปรายกลุ่ม

Page 14: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 7

ความรู้เพิ่มเติมส าหรับครู

1. สีที่พบบนจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ ได้แก่ สีแดง สีน้ําตาลแดง สีเขียว สีดํา

และสีขาว โดยสีแดงและสีน้ําตาลแดงมาจากแร่ซินนาบาร์ ส่วนสีเขียวได้มาจาก

แร่มาลาไคต์1 สําหรับสีดําและสีขาวน่าจะได้มาจากคาร์บอนและแร่แคลไซต ์

ตามลําดับ2

2. สีหมายถึง สารที่มีส่วนผสมของผงสี สารยึด ตัวทําละลาย และสารเติมแต่ง 3

3. ความหมายของลวดลายสัญลักษณ์ของจีน เช่น ลายดอกโบตั๋นแสดง ความเป็น

ใหญ่ ความร่ํารวย เกียรติยศ ความรักและความเป็นมิตร ส่วนลายดอกบัวแสดง

ความบริสุทธิ์ พลังการสร้างสรรค์ ความฉลาดปราดเปรื่อง ความสมบูรณ์ดีพร้อม

เป็นต้น4

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องสีและการมองเห็นสี และสีที่นิยมใช้ในงานจิตรกรรม

ฝาผนังมากขึ้น

2. นักเรียนสามารถนําความรู้เรื่องสีมาประยุกต์ใช้กับสีที่พบในโบราณวัตถุอื่นๆ

ได้

แบบฝึกหัด

1. ให้นักเรียนสังเกตสีบนจิตรกรรมที่พบในวัดอื่นๆว่า มีความแตกต่างกับสีที่ใช้

ในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์อย่างไร

2. ให้นักเรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องเทคนิคการสีน้ําและสีฝุ่นที่ใช้ในงาน

จิตรกรรม

Page 15: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 8

ตัวอย่างค าถามที่ให้นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติม

1. ทําไมคนในอดีตนิยมใช้สีแดงหรือชาดในงานจิตรกรรมฝาผนัง

2. นักเรียนคิดว่า สีที่ใช้ในงานจิตรกรรมฝาผนังมีที่มาเหมือนกับสีย้อมบนผ้าทอ

หรือไม่ อย่างไร

3. ถ้านักเรียนพบภาพจิตรกรรมโบราณที่มีสีม่วง นักเรียนคิดว่า ที่มาของสีม่วง

น่าจะมาจากสิ่งใด

เอกสารอ้างอิง

1. อติชาต เกตตะพันธุ์, ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ และสุรชัย จงจิตงาม, จิตรกรรมฝา

ผนังและโครงสร้างเจดีย์ วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยวิธีการทางเคมีและ

คณิตศาสตร์เบื้องต้น, การสัมมนาวิทยาศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 3, 21-22

พ.ย. 2551, โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว, เชียงใหม่, หน้า 228-229.

2. ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ, เทคนิคและวัสดุจติรกรรมฝาผนังไทยแบบดั้งเดิม,

เมืองโบราณ, (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๑), หน้า 97.

3. อรอุษา สรวารี, สารเคลือบผิว (สี วาร์นิช และแลกเกอร์). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2537, หน้า 1-2.

4. สมศักดิ์ แตงพันธ์และวีระชัย วีระสุขสวัสดิ์, จิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย,

ชุดที่ 001 เล่มที่ 2, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ

ไทย จํากัด. 2533, หน้า 137.

Page 16: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 9

ใบงาน: ความลับของสีในจิตรกรรม

1. จงบันทึกสีที่นักเรียนสังเกตได้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่กําหนดให้ และระบุ

ตําแหน่งสีที่สังเกตได้ลงบนภาพ

ภาพที่ สีที่สังเกตได ้

2. ให้นักเรียนทดลองเปิดไฟฉายแล้วนํากระดาษแก้วสีต่างๆที่กําหนดให้มาวาง

ซ้อนทับกันทีละคู่ และบันทึกสีที่มองเห็นผ่านแสงจากไฟฉาย

สีกระดาษแก้วที่ซ้อนทับ สีที่สังเกตได ้

3. เมื่อนํากระดาษแก้วทั้งสามสีมาวางซ้อนทับกัน สีที่มองเห็นผ่านแสงจากไฟฉาย

คือ…………..…………………………………………………………………..

4. ให้นักเรียนนํากระดาษแก้วสองสีแดงกับสีน้ําเงิน วางซ้อนกันบนกระดาษA4

จะมองเห็นสีแตกต่างจากมองผ่านแสงหรือไม่ ให้นักเรียนทดลองกับสีคู่อื่นๆว่า

ได้ผลอย่างไร

…………………………………………………………………………………

Page 17: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 10

Page 18: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 11

กิจกรรมกิจกรรม สมบัติของหนานค า

จุดประสงค์ของกิจกรรม

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับแผนที่และสามารถเขียนแผนที่แสดงตําแหน่ง

อย่างง่ายได้

2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับทิศและตําแหน่งได้

เวลาที่ใช้ 30 นาที

อภิปรายก่อนทํากิจกรรม 10 นาที

ขณะทํากิจกรรม 10 นาที

อภิปรายหลังทํากิจกรรม 10 นาที

วัสดุอุปกรณ์ แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 5-8 คน

1. กระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น

2. ดินสอ ไม้บรรทัด และยางลบ คนละ 1 ชุด (นักเรียนเตรียมมาเอง)

การเตรียมล่วงหน้า

จัดเตรียมอุปกรณ์และค้นหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องแผนที่ (ดูเอกสารอ้างอิง) ศึกษา

ข้อมูลประวัติความเป็นมาของแผนที่ที่พบในจังหวัดของครูผู้สอนและขั้นตอนการทํา

แผนที่อย่างง่าย

Page 19: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 12

อภิปรายก่อนท ากิจกรรม

ครูเล่าประวัติความเป็นมาของแผนที่และสัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่ประมาณ 5-10

นาที โดยให้ครูอธิบายการอ่านแผนที่และการจัดทําแผนที่ ครูอาจจะสาธิตการใช้

อุปกรณ์เข็มทิศ (ถ้ามี) เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยก่อนจัดแบ่งกลุ่มนักเรียน

กลุ่มละ 5-8 คนพร้อมแจกใบงานและอุปกรณ์

ตัวอย่างของกิจกรรม

ให้นักเรียนสังเกต อ่านและวิเคราะห์จากข้อมูลที่กําหนดให้และจัดทําแผนที่บน

กระดาษ A4เตรียมนําเสนอว่า สมบัติซ่อนอยู่ในตําแหน่งไหนบนแผนที่ บันทึก

ข้อคิดเห็นและตอบคําถามลงในใบงาน

อภิปรายหลังท ากิจกรรม

เลือกนักเรียนมา 1-2 กลุ่มเพื่อนําเสนอแผนที่ที่จัดทําขึ้น ประมาณกลุ่มละ 2 นาที

แล้ว ครูสรุปสิ่งที่สังเกตได้ อภิปรายถึงการจัดทําแผนที่สมัยใหม่เพิ่มเติม ยกตัวอย่าง

อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ในปัจจุบันที่ใช้ในการทําแผนที่ว่า มีความแตกต่างจากในอดีต

อย่างไรสั้นๆประมาณ 5-10 นาที

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. ให้นักเรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่นๆ เพื่อเข้าใจถึงสัญลักษณ์

และมาตราส่วนในการทําแผนที่

2. ครูสามารถเพิ่มเรื่องราวต่างๆผ่านรูปภาพลงในแผนที่เพื่อแสดงชีวิตความ

เป็นอยู่ ลักษณะบ้านเรือนในสมัยโบราณ วิถีชีวิตในอดีต การเดินทางด้วยเกวียน

Page 20: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 13

หรือเพิ่มสัตว์ พืชสมุนไพร ตามรายทางก่อนจะเดินทางไปถึงจุดที่พบสมบัติ

เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกสังเกตและตั้งคําถาม

3. ครูสามารถให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทําคําบรรยายที่ตั้งของสมบัติของหนานคํา

มาล่วงหน้า แล้วแลกเปลี่ยนกันสร้างแผนที่ได้

4. ครูสามารถจัดทําการซ่อนสมบัติในบริเวณโรงเรียนแทนการบรรยาย ครูสอน

วิธีการดูทิศอย่างง่ายโดยไม่ต้องใช้เข็มทิศให้แก่นักเรียน นอกจากนี้ ครูควร

กําหนดขอบเขตของการค้นหาให้อยู่ในบริเวณที่ปลอดภัยและให้นักเรียน

สามารถกิจกรรมได้ภายในเวลาที่กําหนด ถ้าบริเวณที่จัดกิจกรรมใหญ่เกินไป

อาจทําให้กิจกรรมนี้ใช้เวลานานขึ้น ครูควรมีผู้ช่วยจัดกิจกรรมในการจัด

กิจกรรมนี้นอกสถานที่เพื่อดูแลให้กิจกรรมดําเนินไปตามเวลาที่กําหนด

5. ครูสามารถแนะนําเพิ่มเติมเรื่องการใช้เข็มทิศ โดยนําเข็มทิศมาสาธิตวิธีการใช้

ให้แก่นักเรียน

6. ครูสามารถนําแผนที่โลกมาให้นักเรียนดูแล้ว ตั้งคําถามเรื่องทิศ และซ่อนสมบัติ

ไว้ในประเทศต่างๆแทนก็ได้ เพื่อให้สามารถเพิ่มเติมหรือสอดแทรกข้อมูล

เกี่ ยวกับประเทศหรือเมืองสําคัญต่า งๆให้กับนักเรียน ในกรณีนี้ ถ้ ามี

ภาพประกอบของเมืองสําคัญและประวัติสั้นๆจะช่วยให้กิจกรรมน่าสนใจมาก

ขึ้น

7. ครูสามารถสอนให้นักเรียนฝึกถามทิศทางในการเดินทางเป็นภาษาอังกฤษได้

เพิ่มบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษเพื่อสอบถามข้อมูลไปยังที่ซ่อนสมบัติเป็นต้น

8. ครูสามารถเปลี่ยนภาษาไทยกลางที่ใช้ในใบง านเป็นภาษาท้องถิ่นเพื่อให้

นักเรียนเรียนรู้ความแตกต่างของภาษาในแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยได้ ซึ่ง

ภาษาในแต่ละท้องถิ่นจะมีคําศัพท์ที่ใช้การบอกทิศทางแตกต่างกันได้

Page 21: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 14

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจในการอ่านสัญลักษณ์และสร้างแผนที่ได้

2. นักเรียนสามารถนําความรู้เรื่องแผนที่มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้

เอกสารอ้างอิง

อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2525. แผนที่และการแปลความหมายจากแผนที่. กรุงเทพฯ: ไทย

วัฒนาพานิชย์ จํากัด

Page 22: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 15

ใบงาน: สมบัติของหนานค า

ให้นักเรียนวาดแผนที่แสดงที่ซ่อนหีบทองค าของหนานค าจากข้อความต่อไปนี ้แล้ว

ตอบค าถามด้านล่าง

ถ้าเริ่มเดินทางจากวัดหนานคําไปทางทิศใต้ 33 วา แล้วเลี้ยวไปทางขวาจะเห็นต้นโพธิ์

ใหญ่ประจําหมู่บ้านและเดินตรงไปอีก 33 วาผ่านสี่แยกใหญ่ แล้วเดินตรงไปอีก 33 วา

หลังจากนั้น ให้เดินเลี้ยวซ้ายไปอีก 33 วาจะมองเห็นบ้านของช่างอ้ายซึ่งมีอาชีพทอผ้า

ไหม ตั้งอยู่บนถนนฝั่งตรงกันข้ามกับดงกล้วย เดินเลี้ยวซ้ายไปตามดงกล้วยอีก 33 วา

จะเจอบ่อน้ําอยู่ทางซ้ายมือ เดินตรงไปทางทิศเหนืออีก 33 วา จะพบบ้านของหนานคํา

ซึ่งมียุ้งข้าวตั้งอยู่ทางซ้ายมือของบ้านหนานคํา หีบทองคําของหนานคํานั้นซ่อนอยู่ใต้

ต้นมะม่วงใหญ่ข้างยุ้งขา้วนั่นเอง

1. ให้นักเรียนทําเครื่องหมายแสดงว่า สมบัติอยู่ตําแหน่งใดบนแผนที่

2. นักเรียนคิดว่า วิธีบอกสถานที่เก็บหีบทองคําของหนานคําที่กําหนดให้ มีข้อดี

และข้อเสียอย่างไร

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

3. นักเรียน คิดว่า ประโยชน์ของแผนที่ ได้แก่

………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………….…

4. นักเรียนคิดว่า แผนที่ที่ดีควรเป็นอย่างไร

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

Page 23: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 16

Page 24: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 17

กิจกรรมกิจกรรม มหัศจรรย์ปูนกับการปั้น

จุดประสงค์ของกิจกรรม

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปูนปั้นในงานสถาปัตยกรรม

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถเห็นข้อแตกต่างระหว่างปูนตําและปูนซีเมนต์ในงาน

สถาปัตยกรรมและโครงสร้างของอาคารในอดีตและปัจจุบัน

เวลาที่ใช้ 30 นาที

อภิปรายก่อนทํากิจกรรม 10 นาที

ขณะทํากิจกรรม 10 นาที

อภิปรายหลังทํากิจกรรม 10 นาที

วัสดุอุปกรณ์ แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 5-8 คน จัดอุปกรณ์ต่อกลุ่ม ดังนี้

1. ดินน้ํามันสีขาว ขนาด 500 กรัม จํานวน 1-2 ก้อน

2. ดีวีดี “เทคนิคปูนปั้นวัดเกาะกลาง อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน” โดย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย

Page 25: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 18

การเตรียมล่วงหน้า

จัดเตรียมอุปกรณ์และภาพพิมพ์ส ี ค้นหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องปูนซีเมนต์และปูน

ปั้น และจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้นักเรียนได้ดูซีดี “เทคนิคปูนปั้นวัดเกาะกลาง อําเภอ

ป่าซาง จังหวัดลําพูน” โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย

อภิปรายก่อนท ากิจกรรม

เริ่มจากครูตั้งคําถามความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปูนปั้นและปูนซีเมนต์ เล่าประวัติ

ความเป็นมาของงานปูนปั้นและประวัติปูนซีเมนต์พอสังเขป ประมาณ 5-10 นาที

(สามารถเปิดซีดี “เทคนิคปูนปั้นวัดเกาะกลาง อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน” ให้ดู

ประกอบ) และจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 5-8 คนพร้อมแจกอุปกรณ์

ตัวอย่างของกิจกรรม

ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งดินน้ํามันสีขาวมาปั้นเป็นรูปต่างๆอย่างง่ายตามที่ครู

กําหนด เช่น ใบไม้ ดอกไม้ เป็นต้น แล้วนําเสนองานปั้น พร้อมเตรียมตอบคําถามหลัง

กิจกรรม

Page 26: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 19

อภิปรายหลังท ากิจกรรม

เลือกนักเรียนมา 1-2 กลุ่มเพื่อนําเสนอ ประมาณกลุ่มละ 2 นาที แล้ว ครูอธิบาย

เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานปูนปั้นที่น่าสนใจ และให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นว่า มีวัสดุใด

ในปัจจุบันที่นํามาใช้แทนปูนปั้นหรือมีลักษณะคล้ายกับปูนปั้นรวมทั้งค้นหาความรู้

เพิ่มเติมและเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้วัสดุอื่นแทนปูนปั้นได้ประมาณ 5-10

นาที

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. ให้นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปูนปั้นรูปเทวดาวัดเจ็ดยอดหรือวัดอื่นๆที่

น่าสนใจ หรือเปรียบเทียบงานปูนปั้นในวัดไทยและวัดจีน หรือสถานที่

ท่องเที่ยวอื่นๆว่า เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงปูนซีเมนต์และ

ปูนพลาสเตอร์

2. นํานักเรียนเดินทางไปทัศนศึกษางานปูนปั้นวัดเจ็ดยอด หรือ วัดอื่นๆที่น่าสนใจ

3. ครูสามารถนํากิจกรรมมาประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผาศิลาดล

เครื่องปั้นดินเผาที่เหมืองกุง งานเซรามิคชามตราไก่ จ.ลําปาง เป็นต้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนมีความเข้าใจความแตกต่างระหว่างปูนปั้นและปูนซีเมนต์มากขึ้น

2. นักเรียนสามารถนําความรู้ในเทคนิคการปั้นปูนเป็นรูปร่างต่างๆ มาอธิบายเชิง

เปรียบเทียบกับงานปั้นที่พบในที่อื่นๆได้

Page 27: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 20

ตัวอย่างค าถามที่ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

1. นักเรียนคิดว่า ในอดีตช่างใช้อุปกรณ์ใดในการทําลวดลายบนงานปูนปั้น

2. นักเรียนคิดว่า ถ้านําปูนซีเมนต์มาใช้ในงานปูนปั้นจะได้ผลงานออกมาแตกต่าง

จากงานที่ใช้ปูนตําอย่างไร

3. นักเรียนคิดว่า ถ้าผสมน้ําในปูนปั้นมากหรือน้อยเกินไป งานปูนปั้นที่ได้จะเป็น

อย่างไร

4. นักเรียนคิดว่า ทรายมีความสําคัญในการทําปูนปั้น และปูนซีเมนต์อย่างไร

5. ถ้านักเรียนตอ้งการเพิ่มสีลงในงานปั้นด้วยปูน สีที่ใช้ควรมีคุณสมบัติอย่างไร

เอกสารอ้างอิง

ปริญญา จินดาประเสริฐ และชัย จาตุรพิทักษ์กุล . ปูนซีเมนต์ ปอซโซลานและ

คอนกรีต, กรุงเทพฯ : สมาคมคอนกรีตไทย (ส.ค.ท), 2547, หน้า 1-3, 5

Page 28: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 21

กิจกรรมกิจกรรม โลหะอะไรเอ่ย

จุดประสงค์ของกิจกรรม

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโลหะชนิดต่างๆที่นํามาประดิษฐ์และสร้างเป็น

ชิ้นงานในอดีต

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างโลหะชนิดต่างๆได้พอ

สังเขป

เวลาที่ใช้ 40 นาที

อภิปรายก่อนทํากิจกรรม 10 นาที

ขณะทํากิจกรรม 20 นาที

อภิปรายหลังทํากิจกรรม 10 นาที

วัสดุอุปกรณ์ แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 5-8 คน

1. เหรียญ 25 สตางค์ เหรียญ 50 สตางค์ และเหรียญบาท อย่างละ 2-3 เหรียญ

2. กระดาษสีเงินหรือกระดาษทอง ขนาด 5x5 นิ้ว คนละ 2 แผ่น

Page 29: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 22

การเตรียมล่วงหน้า

ค้นหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องโลหะ1-3ที่นํามาประดิษฐ์และสร้างเป็นชิ้นงานจาก

โลหะที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น เงินตราโบราณ อาวุธโบราณ

เครื่องใช้และเครื่องมือโบราณที่ทําจากโลหะ เครื่องประดับ พระพุทธรูป เป็นต้น

ศึกษาข้อมูลประวัติความเป็นมาของครัวเงินครัวเนียมที่พบในเชียงใหม่และขั้นตอน

การทําครัวเงินครัวเนียมจากชุมชนหรือปราชญ์ชาวบ้าน และจัดเตรียมอุปกรณ์ในการ

จัดกิจกรรม

อภิปรายก่อนท ากิจกรรม

ครูอธิบายความหมายของโลหะและเล่าประวัติความเป็นมาในการนําโลหะชนิด

ต่างๆ เช่น เงิน ทอง ทองแดง อะลูมิเนียม เป็นต้น มาประดิษฐ์และสร้างเป็นชิ้นงานใน

อดีต ทั้งที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศพอสังเขป ครูถามคําถามให้นักเรียนลอง

ยกตัวอย่างโลหะที่นักเรียนรู้จักในชีวิตประจําวัน ประมาณ 5-10 นาที ครูอธิบายความ

แตกต่างระหว่าง ทอง ทองแดง ทองเหลืองและทองสําริด และประวัติความเป็นมาของ

ครัวเงินครัวเนียมที่พบในเชียงใหม่และขั้นตอนการทําครัวเงินครัวเนียมหรือชุมชนอื่น

ที่มีการผลิตเครื่องเงินเครื่องทองประมาณ 10 นาที และจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 5

คนพร้อมแจกใบงานและอุปกรณ์

ตัวอย่างของกิจกรรม

ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตและวิเคราะห์ว่า เหรียญชนิดต่างๆที่กําหนดให้

น่าจะทํามาจากโลหะชนิดใด บันทึกข้อคิดเห็นและตอบคําถามลงในใบงาน ครูอธิบาย

ถึงความหมายของเครื่องราชบรรณาการ4,5และสาธิตการประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษ

Page 30: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 23

สีเงินหรือสีทองเพื่อใช้สมมติเป็นตัวแทนดอกไม้เงินดอกไม้ทองที่ใช้ส่งเป็นเครื่องราช

บรรณาการ ซึ่งสามารถดูวิธีการพับดอกไม้อย่างง่ายได้ที่หัวข้อ “เว็บไซต์แนะนํา” โดย

นักเรียนแต่ละคนจะได้กระดาษสีเงินและสีทองอย่างละ 1 แผ่นนํามาพับดอกไม้เงิน

ดอกไม้ทองตามแบบที่สาธิตและทดลองพับดอกไม้ที่ประดิษฐ์ตามที่นักเรียนออกแบบ

ไว้ ส่งเป็นผลงานกลุ่ม 1 ชิ้นงาน

Page 31: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 24

อภิปรายหลังท ากิจกรรม

เลือกนักเรียนมา 1-2 กลุ่มเพื่อนําเสนอ ประมาณกลุ่มละ 2 นาที แล้ว ครูสรุปสิ่ง

ที่สังเกตได้ อภิปรายถึงการหล่อและหลอมโลหะเพิ่มเติม ยกตัวอย่างอุปกรณ์หรือ

เครื่องใช้ในปัจจุบันที่มีโลหะเป็นองค์ประกอบว่า มีความแตกต่างจากในอดีตอย่างไร

สั้นๆประมาณ 5-10 นาที

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. นํากิจกรรมนี้มาประยุกต์ใช้กับหัวข้ออื่นได้ เช่น โลหะกับการหลอ่พระพุทธรูป

ทองคํา เป็นต้น

2. แนะนําให้นักเรียนเสนอแนวคิดของที่มาของโลหะที่ใช้ประดิษฐ์ชิ้นงาน เช่น

ระฆัง พระพุทธรูป เงินพดด้วง อาวุธ เครื่ องใช้และเครื่ องมือทั่ วไป

เครื่องประดับ เครื่องราชบรรณาการ เป็นต้น และให้นักเรียนค้นหาความรู้

เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่นๆเพิ่มเติม

3. ครูสามารถยกตัวอย่างกลอนหรือโคลงในงานวรรณกรรมหรือประวัติศาสตร์ที่มี

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับงานโลหะ เช่น บทกลอนซึ่งบรรยายการทําดาบฟ้าฟื้นของ

ขุนแผนในเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นต้น มาให้นักเรียนได้เห็นภาพความสําคัญ

ของการใช้โลหะในงานวรรณกรรมและความเชื่อต่างๆได้

4. ครูสามารถประยุกต์ใช้เรื่องเงินตราโบราณและเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับเรื่อง

เศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนสกุลเงินได้

5. ครูสามารถประยุกต์ใช้เรื่องอาวุธโบราณและเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับ

เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เช่น สงครามโลก การสู้รบในดินแดนต่างๆ การล่ า

อาณานิคม เป็นต้น ครูสามารถสอดแทรกเรื่องอาวุธโบราณกับเรื่องราวใน

Page 32: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 25

จังหวัดหรือท้องถิ่นได้ เช่น เล่าเรื่องศิลปะการตีดาบกับเรื่องราวของพระยาพิชัย

ดาบหัก เป็นต้น

6. ครูสามารถใช้การสาธิตการพับกระดาษในหัวข้ออื่นๆที่ไม่ใช่โลหะได้ หรือ

สามารถใช้การพับกระดาษรูปแบบอื่นแทนดอกไม้ เช่น ทองคําแท่ง(ดูที่หัวข้อ

เว็บไซต์แนะนํา) เป็นต้น นอกจากนี้ ครูสามารถใช้ศิลปะการตัดกระดาษแทน

การพับกระดาษหรือใช้ทั้งสองแบบร่วมกันก็ได้ สําหรับศิลปะการตัดกระดาษมี

หลายแบบทั้งศิลปะการตัดกระดาษแบบล้านนา ศิลปะการตัดกระดาษแบบ

ญี่ปุ่น(Kirigami)ซึ่งสามารถหาซื้อหนังสือประกอบได้ตามร้านค้าทั่วไปและ

สามารถหาข้อมูลการตัดได้มากมายในอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับศิลปะการพับ

กระดาษแบบญี่ปุ่น(Origami)

7. นํานักเรียนเดินทางไปทัศนศึกษาการทําครัวเงินครัวเนียมในชุมชน หรือชมการ

สาธิตการทําเครื่องเงินเครื่องทองจากปราชญ์ชาวบ้าน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนสามารถมีความรู้เรื่องโลหะที่ใช้ประดิษฐ์ชิ้นงานในอดีตและนํามา

เปรียบเทียบกับการใช้โลหะประดิษฐ์ชิ้นงานในปัจจุบันได้

2. นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องความแตกต่างระหว่าง ทอง ทองแดง

ทองเหลืองและทองสําริดได้ถูกต้อง

เอกสารอ้างอิง

1. สุภารัตน์ จําปา (แปล). 2542. อะลูมิเนียม. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์

2. มานี จันทวิมล (แปล). 2542. ทองแดง เงินและทองค า. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์

Page 33: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 26

3. ประกอบ บุญยงค์. 2520. โลหะวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประกอบเมไตร. 204-

205.

4. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๓ คํา-เจ้า. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542, หน้า 1116

5. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑๕ เหตุหื้อเสียยศ-แฮริส, ศาสนา

จารย์ ดร.วิลเลียม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทย

พาณิชย์, 2542, หน้า 8060-8061

เว็บไซต์แนะน า

1. http://www.youtube.com/watch?v=75-sqhonXzA

2. http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hui&month=20-01-

2009&group=12&gblog=6

Page 34: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 27

ใบงาน: โลหะอะไรเอ่ย

จงตอบค าถามต่อไปนี้

a. นักเรียนคิดว่า โลหะใดใช้ในการผลิตเหรียญสลึง เหรียญ 50 สตางค์และ

เหรียญบาท

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

b. ยกตัวอย่างโบราณวัตถุที่ทํามาจากโลหะที่นักเรียนรู้จักในชุมชน มา 3

ตัวอย่าง

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

c. จากข้อ 2 นักเรียนคิดว่า โบราณวัตถุที่ยกตัวอย่างมานั้น ทํามาจากโลหะชนิด

ใด เพราะเหตุใด

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

d. จงอภิปรายถึงข้อดีและข้อเสียของการนําโลหะมาใช้ประดิษฐ์สิ่งของ

เครื่องใช้

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

e. ความแตกต่างระหว่างสิ่งของที่ทํามาจากพลาสติกและโลหะ คือ

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

Page 35: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 28

Page 36: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 29

กิจกรรมกิจกรรม เครื่องเขินพูดได ้

จุดประสงค์ของกิจกรรม

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและการทําเครื่องเขินใน

อดีต

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอภิปรายและนําเสนอว่า เครื่องเขินแตกต่างจากเครื่องใช้

อื่นๆอย่างไร

เวลาที่ใช้ 40 นาที

อภิปรายก่อนทํากิจกรรม 10 นาที

ขณะทํากิจกรรม 20 นาที

อภิปรายหลังทํากิจกรรม 10 นาที

วัสดุอุปกรณ์ แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 5-8 คน โดยจัดชุดอุปกรณ์ต่อกลุ่ม ดังต่อไปนี้

1. กระดาษโปสเตอร์หรือกระดาษแข็งสีดํา ขนาด 5 x 5 นิ้ว กลุ่มละ 2-3 แผ่น

2. พู่กัน เบอร์ 2 และเบอร์ 5 อย่างละ 2-3 อัน

3. จานสี 1-2 อัน

4. สีโปสเตอร์และ/หรือสีอะคริลิกสีแดง สีดําและสีทอง อย่างละ 1 ขวด

การเตรียมล่วงหน้า

จัดเตรียมอุปกรณ์ ค้นหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องเครื่องเขิน สีและยางรักที่พบใน

เครื่องเขินของไทยและต่างประเทศที่น่าสนใจ อาจจัดทําภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว

Page 37: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 30

เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมยางรักและขั้นตอนการทําเครื่องเขินให้นักเรียนได้ศึกษา

เพิ่มเติม

อภิปรายก่อนท ากิจกรรม

ครูเล่าประวัติความเป็นมาและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทําเครื่องเขินโดยสรุป

(ดูเอกสารอ้างอิงหมายเลข 1 และ 2) ประมาณ 5-10 นาที โดยครูอธิบายว่า สี ลวดลาย

และยางรักที่ใช้ในการทําเครื่องเขินมีอะไรบ้าง สมุกคืออะไร และจัดแบ่งกลุ่มนักเรียน

กลุ่มละ 5-8 คนพร้อมแจกใบงานและอุปกรณ์

ตัวอย่างของกิจกรรม

ให้นักเรียนแต่ละคนนําเสนอลวดลายอย่างง่ายเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของเครื่องเขิน

ลงบนกระดาษ A4 โดยระบายสีแดง สีดํา และสีทอง หรือสีที่ผสมด้วยสีดังกล่าวด้วย

พู่กันบนกระดาษโปสเตอร์หรือกระดาษแข็งสีดําที่กําหนดให้ (สมมติให้เป็นภาชนะ

Page 38: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 31

เครื่องใช้ เช่น ถาด จานรองแก้ว) ภายในเวลา 20 นาที สังเกตสีที่มองเห็นบนกระดาษ

และตอบคําถามความรู้เรื่องเครื่องเขินลงในใบงาน

อภิปรายหลังท ากิจกรรม

เลือกนักเรียนมา 1-2 กลุ่มเพื่อนําเสนอ ประมาณกลุ่มละ 2 นาที แล้ว ครูสรุปสิ่ง

ที่สังเกตได้ อภิปรายถึงสีและลักษณะของลวดลายบนจากเครื่องเขินของไทยและ

ต่างประเทศเพิ่มเติม ให้ความรู้เรื่องเครื่องเขินที่ใช้ในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างจากใน

อดีตอย่างไร ประมาณ 5-10 นาที

Page 39: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 32

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. นํากิจกรรมนี้มาประยุกต์ใช้กับหัวข้ออื่นได้ เช่น เครื่องปั้นดินเผา งานลงรักปิด

ทอง เครื่องจักสาน เป็นต้น

2. แนะนําให้นักเรียนเสนอแนวคิดของที่มาของลวดลายที่ต้องการนํามาใช้ในการ

ทําเครื่องเขิน และประยุกต์ใช้วัสดุอื่นๆในการทําลวดลายและสีบนเครื่องเขิน

เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และให้ค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้

อื่นๆ

3. นํานักเรียนเดินทางไปทัศนศึกษาการทําเครื่องเขินในชุมชนหรือชมการสาธิต

การทําเครื่องเขินจากปราชญ์ชาวบ้าน

4. แนะนําให้นักเรียนเสนอแนะรูปแบบและรปูทรงของเครื่องเขินปัจจุบันเพื่อเพิ่ม

มูลค่าเครื่องเขิน

5. แนะนําให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการแพ้ยางรักและวิธีการดูแลเมื่อเกิดอาการแพ้

ยางรัก

6. ครูสามารถใช้แผ่นฟิล์มยืดห่อหุ้มอาหาร 1 ม้วน (สามารถให้นักเรียนแบ่งใช้

ร่วมกันทั้งห้องได้) มาหุ้มงานของนักเรียนแทนการเคลือบเงาได้

7. ครูสามารถเน้นให้นักเรียนเรียนรู้และรู้สึกถึงความมีคุณค่าของงานศิลปะของ

ไทยที่มีความอ่อนช้อย สวยงาม ซึ่งช่างที่ทําต้องมีความอดทนและใช้

ความสามารถในการประดิษฐ์ผลงานออกมาแต่ละชิ้น ดังนั้น งานเหล่านี้เป็นสิ่ง

ที่ควรหวงแหนและสงวนรักษาไว้ให้ดํารงสืบต่อไป โดยสามารถให้นักเรียน

อภิปรายเพิ่มเติมในการค้นหาวิธีการอนุรักษ์งานที่มีคุณค่าเหล่านี้และมองหา

เทคนิคหรือวิธีการพัฒนาให้เกิดการสร้างงานแบบเดียวกันที่เหมาะสมกับยุค

สมัยมากขึ้น

Page 40: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 33

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติและการทําเครื่องเขินมากขึ้น

2. นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องการใช้ยางรัก สีและการสร้างลวดลายบนเครื่อง

เขินและนํามาประยุกต์ใช้กับการทําเครื่องเขินในปัจจุบันได้

3. นักเรียนสามารถนําเสนอแนวคิดในการเพิ่มมูลค่าเครื่องเขินในปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง

1. วิถี พาณิชพันธ์. 2544. ศิลปะเครื่องเขินในล้านนา. เชียงใหม่: สํานักส่งเสริม

ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ. 2538. เครื่องเขิน. ลําปาง: ศูนย์

การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ

Page 41: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 34

ใบงาน: เครื่องเขินพูดได้

1. จงวาดแสดงลวดลายและระบุสีที่นักเรียนออกแบบไว้เพื่อเพิ่มมูลค่าของเครื่อง

เขิน

2. จงตอบค าถามต่อไปนี ้

เครื่องเขินมีแหล่งกําเนิดมาจากประเทศ…………………………………

ประโยชน์ของเครื่องเขินคือ

………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………….……

…………………………………………………………………….……

นักเรียนคิดว่า สีแดงที่ผสมยางรักแล้วมองเหน็เป็นสีใด………………...

นักเรียนคิดว่า เหตุใดเครื่องเขินจึงไม่เป็นที่นิยมใช้ใน

ปัจจุบนั………………………………………………………………….

…………………………………………………………………….……

นักเรียนคิดว่า จะเพิ่มมูลค่าให้กับเครื่องเขินได้อย่างไร

…………………………………………………………………….……

…………………………………………………………………….……

…………………………………………………………………….……

Page 42: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 35

กิจกรรมกิจกรรม ประวัติศาสตร์ประทับใจ

จุดประสงค์ของกิจกรรม

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้และทําความเข้าใจในเนื้อหาประวัติศาสตร์ได้ด้วย

ตนเอง

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปและเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่

กําหนดได้

เวลาที่ใช้ 30 นาที

อภิปรายก่อนทํากิจกรรม 10 นาที

ขณะทํากิจกรรม 10 นาที

อภิปรายหลังทํากิจกรรม 10 นาที

วัสดุอุปกรณ์ แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 5-8 คน

1. เอกสารข้อมูลประวัติศาสตร์ที่มีความยาวเรื่องละ1หน้ากระดาษA4จํานวน 1-3

เรื่องกลุ่มละ 2 ชุด

2. กระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น

การเตรียมล่วงหน้า

ครูจัดเตรียมอุปกรณ์และค้นหาความรู้เพิ่มเติมในเอกสารที่มีความยาวเรื่องละ 1

หน้ากระดาษ A4 จํานวน 1-3 เรื่อง เตรียมคําอธิบายคําศัพท์ในเอกสารและอธิบาย

หลักการเขียนผังมโนทัศน์ให้กับนักเรียน ครูอาจให้นักเรียนเตรียมพจนานุกรมมาด้วย

เพื่อใช้หาความหมายของคําศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

Page 43: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 36

อภิปรายก่อนท ากิจกรรม

ครูให้ความรู้ในการเขียนผังมโนทัศน์และเปิดโอกาสให้นักเรียนถามคําศัพท์ที่

อยู่ในเอกสารข้อมูลประวัติศาสตร์ที่กําหนดให้ โดยครูสามารถสอนการอ่านคําศัพท์ที่

ถูกต้อง สําหรับคําศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคําราชาศัพท์หรือคําศัพท์เฉพาะที่ปรากฏใน

เอกสารนั้น ครูควรตั้งคําถามเกี่ยวกับคําศัพท์นั้นๆเพื่อให้นักเรียนได้คาดเดาความหมาย

จากเอกสารหรือหาความเชื่อมโยงกับความรู้ที่นักเรียนมีเพื่ออธิบายความหมายของ

คําศัพท์โดยไม่ต้องใช้พจนานุกรม ซึ่งจะทําให้นักเรียนจดจําคําศัพท์ได้ดีขึ้น หลังจาก

นั้นครูอธิบายที่มาของคําศัพท์เฉพาะ(ถ้ามี) ประมาณ 5-10 นาที จัดแบ่งกลุ่มนักเรียน

กลุ่มละ 5-8 คนพร้อมแจกใบงานและอุปกรณ์ นอกจากนี้ ครูสามารถอธิบายเพิ่มเติม

เกี่ยวกับหลักการค้นหาความหมายของคําศัพท์ในพจนานุกรมและทําความเข้าใจอักษร

ย่อที่ใช้ในพจนานุกรม

ตัวอย่างของกิจกรรม

ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านและวิ เคราะห์เอกสารข้อมูลประวัติ ศาสตร์ที่

กําหนดให้ 1-3 เรื่องว่า มีองค์ประกอบใดที่สามารถนํามาแยกแยะ และเขียนเป็นผัง

มโนทัศน์ได้ และให้นักเรียนแต่ละคนเลือกเอกสารข้อมูลประวัติศาสตร์มา 1 เรื่อง และ

เขียนแผนผังมโนทัศน์ลงในกระดาษ A4 แล้วแลกเปลี่ยนกันอ่านผังมโนทัศน์ในกลุ่ม

ของตนเอง นํามาแก้ไขปรับปรุงจากการอภิปรายในกลุ่ม ตอบคําถามในใบงาน

Page 44: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 37

อภิปรายหลังท ากิจกรรม

เลือกตัวแทนนักเรียนมา 1-2 กลุ่มเพื่อนําเสนอ ประมาณกลุ่มละ 2 นาที แล้ว ครู

สรุปสิ่งที่สังเกตได้ ให้นักเรียนร่วมอภิปรายถึงความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของ

ข้อมูลในผังมโนทัศน์ของนักเรียนกลุ่มที่นําเสนอ ประมาณ 5-10 นาที

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. ครูควรตั้งคําถามและทดสอบความเข้าใจในการอ่านและทําผังมโนทัศน์ของ

นักเรียนเพิ่มเติมหลังกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหามากขึ้น

2. ครูสามารถเลือกเอกสารข้อมูลทางประวัติศาสตร์ชุมชน ตํานานหรือนิทาน

ปรัมปรา ให้นักเรียนอภิปรายและทําผังมโนทัศน์เพื่อแสดงความเชื่อมโยงของ

เนื้อหาโดยวิเคราะห์ตามหลักเหตุและผลในเบื้องต้นได้

Page 45: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 38

3. แนะนําให้นักเรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่นๆเพื่อให้ได้ข้อมูล

ทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติมจากเอกสารที่กําหนดให้

4. ครูสามารถเสริมความรู้ด้านทักษะการใช้ภาษา ประเพณีและวัฒนธรรมที่

เกี่ยวข้องให้กับนักเรียนหลังทํากิจกรรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนสามารถมีความรู้เรื่องการเขียนผังมโนทัศน์ได้ด้วยตนเองในการทํา

ความเข้าใจเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่กําหนดให้ได้

2. นักเรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ข้อมูล และมีทักษะการใช้ภาษามาก

ขึ้น

3. นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เดิมและข้อมูลที่กําหนดให้กับการตีความโดยไม่

ต้องใช้พจนานุกรม

Page 46: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 39

ใบงาน: ประวัติศาสตร์ประทับใจ

ให้นักเรียนเขียนผังมโนทัศน์จากเอกสารที่ก าหนดให้ลงในกระดาษ A4 และตอบ

ค าถามต่อไปนี้

1. นักเรียนเลือกเขียนผังมโนทัศน์เรื่อง…………………………………………

2. ทําไมนักเรียนจึงเลือกเขียนผังมโนทัศน์เรื่องนี้

…………………………………………………………………………………

……..…...….……………………………………………………………………

3. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผังมโนทัศน์และเอกสารที่กําหนดให้ นักเรียนคิดว่า ผัง

มโนทัศน์มีข้อแตกต่างกับเอกสารนั้นอย่างไร

…………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………

4. ให้นักเรียนเขียนข้อดีของผังมโนทัศน์มา 2 ข้อ

…………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………

5. ให้นักเรียนเขียนข้อเสียของผังมโนทัศน์มา 2 ข้อ

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………

Page 47: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 40

Page 48: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ 41

ประวัติผู้เขียน

อาจารย์ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ (นามสกุลเดิม ศิรินินทศักดิ์)

เกิดที่ จ.ภูเก็ต ได้รับทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มี

ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.)

ในระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาเอกได้รับทุน Japanese

Government (Monbukagakusho:MEXT) Scholarship ไป

ศึกษาต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่น

ประวัติการศึกษา

- ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ (เคมี) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- ปริญญาโทสาขาอินทรียเคมี จากมหาวิทยาลัยมหิดล

- ปริญญาเอก (Doctor of Science) สาขาเคมี จาก Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น

ประวัติการท างาน อาจารย์ประจําภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นอกจากงานวิจัยทางเคมีแล้ว อาจารย์ดร .ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ยังมีผลงานทางด้านเคมีที่มี

ประโยชน์ต่อสังคม โดยได้รับการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยผลงานที่โดดเด่นมากที่สุดชิ้นหนึ่ง

คือ การศึกษาทางโบราณคดี ณ วัดอุโมงค์ (เชิงดอยสุเทพ) จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการ

ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันอาจารย์ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ ได้เน้นเรื่องการทํากิจกรรมเพื่อบูรณาการ

เรียนการสอนประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้เด็กเรียนประวัติศาสตร์อย่างได้

ทั้งสาระและความสนุกสนานไปพร้อมกัน ทั้งนี้ยังช่วยให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มี

ประโยชน์และเป็นเรื่องใกล้ตัว ทําให้เด็กรู้จักสังเกตและมีวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ

Page 49: PhotoStudio - Untitled-Scan~ · ศิริวรรณ เกตตุพันธุ์. คู่มือครูการบูรณาการประว ัติศาสตร

คู่มือครูการบูรณาการประวัติศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ดร.ศิริวรรณ เกตตะพันธ์ุ 42 

โครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายในพืน้ที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร ์ในระดับชัน้ประถมศึกษาปีที ่4-6 สถานศกึษาในจังหวัดเชียงใหม่