r to r ฉบับสมบูรณ์ - photharamhosp.go.th ·...

93
ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553 1 กลุ่มงานอายุรกรรม ชื่อผลงาน หน้า การพัฒนารูปแบบงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปี 2553 2 มาตรฐานการดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะวิกฤต หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง ปี 2553 15 ผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยใส่สาย สวนปัสสาวะ หอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรม (พิเศษ 1และ 4) 26 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อ ป้องกันปอดอักเสบ หอผู้ป่วยหนัก 37 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด้วย กระบวนการควบคุมคุณภาพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม 47 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาทางหลอดเลือดดา เพื่อลดภาวะหลอด เลือดดาอักเสบ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 57 การพัฒนารูปแบบการดูแลพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับ โดยใช้นาฬิกาพลิกตะแคงตัว หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 62 การศึกษาระดับน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาในคลินิก เบาหวานและศูนย์สุขภาพชุมชนใน เขตอาเภอโพธาราม 67 การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันและโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันทางโทรศัพท์ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 76 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือด โดยใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ หน่วยงานไตเทียม 81 การพัฒนารูปแบบการเจาะเลือดเพาะเชื้อในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 89 ผลของการใช้ HOPEเป็นแนวทางปฏิบัติที่ทาให้ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ H1N1 2009 ในผู้ป่วยและบุคลากร โรงพยาบาลโพธาราม 97 การพัฒนารูปแบบงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปี 2553 กนกวรรณ สินลักษณทิพย์, วรรณา สัตย์วินิจ, อภินันท์ ชูวงศ์ และคณะ วัชระ ก้อนแก้ว, สมชาติ โตรักษา, พีระ ครึกครื้นจิตร ที่ปรึกษา

Upload: others

Post on 02-Sep-2019

10 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    1

    กลุ่มงานอายุรกรรม

    o ชื่อผลงาน หน้า o การพัฒนารูปแบบงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง หอผูป้่วยอายุรกรรมหญิง

    โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปี 2553 2

    o มาตรฐานการดูแลผู้ป่วย เพือ่ป้องกันการเข้าสู่ภาวะวิกฤต หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง ปี 2553

    15

    o ผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ หอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรม (พิเศษ 1และ 4)

    26

    o การพัฒนารูปแบบการดูแลผูป้่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อป้องกันปอดอักเสบ หอผู้ป่วยหนัก

    37

    o การพัฒนารูปแบบการดูแลผูป้่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม

    47

    o การพัฒนารูปแบบการดูแลผูป้่วยที่ได้รับยาทางหลอดเลือดด า เพ่ือลดภาวะหลอดเลือดด าอักเสบ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง

    57

    o การพัฒนารูปแบบการดูแลพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับ โดยใช้นาฬิกาพลิกตะแคงตัว หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย

    62

    o การศึกษาระดับน้ าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาในคลินิกเบาหวานและศูนย์สุขภาพชุมชนใน เขตอ าเภอโพธาราม

    67

    o การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันและโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันทางโทรศัพท ์ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง

    76

    o การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือด โดยใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ หน่วยงานไตเทียม

    81

    o การพัฒนารูปแบบการเจาะเลือดเพาะเช้ือในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 89 o ผลของการใช้ HOPEเป็นแนวทางปฏิบัติที่ท าให้ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด

    ใหญส่ายพันธ์ุใหม่ ชนิด เอ H1N1 2009 ในผู้ป่วยและบุคลากร โรงพยาบาลโพธาราม 97

    การพัฒนารูปแบบงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปี 2553

    กนกวรรณ สินลักษณทิพย,์ วรรณา สัตย์วินิจ, อภินันท์ ชูวงศ์ และคณะ วัชระ ก้อนแก้ว, สมชาติ โตรักษา, พีระ ครึกครื้นจิตร ที่ปรึกษา

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    2

    ตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่19 ฉบับเพิ่มเติม 2 (พฤศจิกายน – ธันวาคม) 2553

    ABSTRACT

    A Model Development of High-Risk Patient Services at Female medical ward, Photharam Hospital, Ratchaburi Province, Thailand, 2010

    This experimental development research, two groups pre-test and post-test designs aimed to develop a working model to improve high-risk patient service. It was developed and implemented in the female medical ward of Photharam Hospital during January 1st, 2010 to June 15th, 2010. Ban Pong Hospital, the similar general hospital was selected to be the control. The samples were 131 high-risk patients and 403 persons who responded to the questionnaires. The model implementation outputs compared by descriptive statistics, Chi-square, Mann Whitney U-test, t test, paired-t test, and Wilcoxon signed rank test at alpha 0.05 The results revealed that the new working model was developed by applying a variety of academic concepts, principles and methods which were complete, correct, suitable, and

    บทคัดย่อ การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลังการทดลองครั้งนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบงานบริการผู้ป่วยที่มคีวามเสี่ยงสูง น าไปทดลองที่หอผูป้่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลโพธาราม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง 15 มิถุนายน 2553 โดยให้โรงพยาบาลบ้านโป่งเป็นกลุ่มควบคุม ในงานบริการผู้ป่วย 131 ครั้ง ผู้ตอบแบบสอบถาม 403 คน เปรียบเทียบผลการด าเนินงาน ด้วยสถิติพรรณนา ค่าสถิติไคสแควร์ ค่าสถิติที ค่าสถิติแพร์ที ค่าสถิติวิลค็อกสัน และค่าสถิติแมนวิทย์นียู ที่ระดับแอลฟา = 0.05 พบว่า ผลการวิจัย รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น เน้นการน าหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ ด้วยการก าหนดลักษณะและองค์ประกอบหลักของรูปแบบให้มีความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน โดยไม่เพิ่มภาระงาน และเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน ประกอบด้วยผังการไหลเวียนของมาตรฐานการปฏิบัติงาน 9 ขั้นตอนที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนยก์ลาง เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนที่ง่ายต่อการปฏิบัติ มีการติดตามประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขด้วยแนวคิดเชิงบวกอย่างสม่ าเสมอ หลังการทดลอง ผลการด าเนินงานดีกว่าเดิม คือ ความถูกต้องของการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานเพิ่มขึ้น(p

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    3

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    4

    บทน า ความเจริญก้าวหน้าของระบบสุขภาพของประเทศไทย มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ท่ี

    ทันสมัย การดูแลรักษาเป็นไปอย่างซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์จึงต้องมีการพัฒนาความรู้และศักยภาพ เพื่อการเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วย ในสังคมปัจจุบันความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้รับบริการลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต ท าให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกันลดลง(1) เมื่อเกิดความผิดพลาดในการดูแลรักษา โรงพยาบาลก็ได้รับผลกระทบด้วย คือ ต้องเสียชื่อเสียงด้านการบริการ และถูกฟ้องร้องทางกฎหมายเพื่อเรียกค่าเสียหาย(2) ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ความส าคัญกับความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้รับบริการเป็นอย่างมาก มีนโยบายระดับชาติและมีการก าหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลผู้ป่วยและการให้บริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง(3) โดยก าหนดมาตรฐานไว้ว่า “ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลผู้ป่วยและให้บริการที่มีความเสี่ยงสูงอย่างทันท่วงทีปลอดภัย เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพ”

    โรงพยาบาลโพธาราม เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 340 เตียง ของกระทรวงสาธารณสุข มีการก าหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้รับบริการที่ชัดเจน มีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความปลอดภัยมากที่สุด แต่ก็พบว่า ยังคงมีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมากที่สุด ทีมสุขภาพของโรงพยาบาลโพธาราม จึงร่วมกันทบทวนระบบงานหรือกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาของความไม่ปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ท าให้เกิดปัญหาหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักการของการวิเคราะห์สภาวการณ์การท างาน(4) ที่มีองค์ประกอบหลายประการ อาทิเช่น ลักษณะงานและการมอบหมายงานไม่เหมาะสมกับความพร้อมของผู้ให้บริการ ก็มีส่วนท าให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วยได้(2) ระดับภาระงานและความยากง่ายของงาน มีความส าคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย(5) รูปแบบการจัดบริการพยาบาลแบบใช้บุคลากรทางการพยาบาลที่มีทักษะต่างกัน(6) การส่งต่อกิจกรรมระหว่างบุคลากรในทีมที่ไม่มีประสิทธิภาพ(7) ความผิดพลาดหรือความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในแต่ละครั้ง ซึ่งมักจะมีสาเหตุจากปัจจัยมากกว่า 1 ด้านที่เสริมกัน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาด ท าให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยรุนแรงขึ้น(6,8)

    ในการแก้ปัญหาที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ให้เริ่มต้นจากการวางระบบงานที่ดี ซึ่งควรให้ผู้ปฏิบัติเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อให้ได้ระบบงานที่เหมาะสม และลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง(4,11) จะช่วยในการวางแผนการดูแลที่ครบถ้วนทุกกิจกรรม ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้เลือกการวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental Development research)(18) ซึ่งเป็นการวิจัย ด้วยการท างานอย่างเป็นระบบ โดยใช้ความรู้ทั้งหลายที่มีอยู่ ทั้งที่ได้รับจากการท าวิจัย และจากการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อการริเริ่มสร้างสรรค์ หรือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ / กระบวนการผลิต หรือ กระบวนการท างาน ใหม่ๆ และเลือกการแก้ไขโดยเร่ิมที่การวางระบบงานที่ดี โดยใช้เทคนิคการท าวิจัยเพ่ือการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (R&D for CSWI)(4) ซึ่งเป็นการค้นหาความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆส าหรับผู้ปฏิบัติงานเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงการปฏบิัติงานประจ าวันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่(4) ซึ่งที่ผ่านมา มีผู้น าวิธีนี้ไปใช้ในการพัฒนางานและประสบผลส าเร็จมากมาย อาทิเช่น การพัฒนารูปแบบการด าเนินงานให้ข้อมูลผู้ป่วยก่อนจ าหน่าย(12) การพัฒนางานบริการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ(13) การพัฒนางานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน(14) การพัฒนาแบบฟอร์มการบันทึกทางการพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน(15) การพัฒนารูปแบบการด าเนินงานฝ่ายบริหารทั่วไปโดยการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์(16)

    การพัฒนาการด าเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลบ้านโป่ง (17) เป็นต้น วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนารูปแบบของงานบริการผู้ป่วยท่ีมีความเสี่ยงสูง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี กระทรวงสาธารณสุข ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการด าเนินงาน ระหว่างรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น กับ รูปแบบเดิม ในด้านปริมาณงาน คุณภาพงาน เวลาและแรงงานที่ใช้ ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และ ด้านเศรษฐศาสตร์ วิธีการศึกษา การวิจัยนี้ ใช้แบบการวิจัย (Research design) เป็นการวิจัยพัฒนาเชิงทดลอง แบบ สองกลุ่ม ทดลอง-ควบคมุ วัดก่อน-หลังการทดลอง (Experimental Development Research: two-group experiment-control, Pre-test Post–test design) โดยการพัฒนารูปแบบใหม่ของงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ที่เหมาะสมกับหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาล

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    5

    โพธาราม จังหวัดราชบุรี แล้วน าไปด าเนินการในพื้นที่ทดลอง เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยให้หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีลักษณะ ขนาดโรงพยาบาล จ านวนเตียง การดูแลรักษา คล้ายคลึงกัน เป็นพื้นที่ควบคุม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

    2.1 ประชากรหลัก คือ งานการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงแต่ละคน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด คือ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ไปจนถงึ การให้บริการผู้ป่วยในวันจ าหน่าย ทั้งในพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม 2.2 ประชากรผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการด าเนินงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โดยจ าแนกเป็น ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย

    กลุ่มตัวอย่าง ใช้ประชากรทั้งหมด ที่มารับบริการในช่วงที่วัดผลการด าเนินงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง คือ ก่อนทดลอง ในช่วงวันที่ 15-28 กุมภาพันธ์ 2553 และ หลังการทดลอง ในช่วงวันที่ 1-15 มิถุนายน 2553 ทั้งในพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม ดังนี้

    กลุ่มตัวอย่าง

    พื้นที่ทดลอง พื้นที่ควบคุม รวม ก่อนทดลอง หลังทดลอง ก่อนทดลอง หลังทดลอง ก่อนทดลอง หลังทดลอง

    งานการบริการ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

    31

    38

    30

    32

    61

    70

    รวมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรหลัก คือ งานการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง รวม 131 ครั้ง และ ผู้ตอบแบบสอบถาม รวม 403 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. รูปแบบใหม่ของการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น 2. แบบบันทึกข้อมูลด้านบุคลากร 3. แบบบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ที่มีผลต่อการด าเนินงาน 4. แบบบันทึกกิจกรรม จ านวน 3 ชุด คือ 4.1 แบบบันทึกกิจกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานประจ าวัน 4.2 แบบตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 4.3 แบบบันทึกกิจกรรมของการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เฉพาะราย 5. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย เครื่องมือแต่ละชิ้น ได้น าไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข แล้วจึงน าไปด าเนินการในพื้นที่วิจัย โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ PCT และผู้อ านวยการโรงพยาบาลโพธาราม และ โรงพยาบาลบ้านโป่ง รวมทั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คณะผู้วิจัยเป็นผู้ด าเนินการเก็บข้อมูลเอง ร่วมกับผู้ช่วยวิจัย ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างครบ ถ้วนจากคณะผู้วิจัย การพัฒนารูปแบบการด าเนินงานใหม่ (The New Working Model Development) แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

    ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์รูปแบบเดิม และข้อมูลพื้นฐานที่จ าเป็นในการน ามาพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ให้ทราบอย่างละเอียดและครอบคลุม ทุกแง่ทุกมุม

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    6

    ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการด าเนินการเบื้องต้นของงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธารามโดยน าข้อมูลที่ได้มาจากขั้นตอนที่ 1 มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ ด้วยการก าหนดลักษณะและองค์ประกอบหลักของรูปแบบใหม่ที่จะพัฒนาขึ้น ให้มีความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน และง่ายต่อการน าไปปฏิบัติ โดยต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระงานแก่ผู้ปฏิบัติ และเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน เน้นการน าหลักวิชาการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ตามรูปแบบเดิม (รูปแบบที่ 1)

    ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ ใช้เวลา 5 เดือน โดยแบ่งเป็น 5 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะการเตรียมความพร้อมก่อนการทดลอง ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2553 โดย

    ด าเนินการเตรียมเก็บข้อมูล และเตรียมพื้นที่ทดลอง ที่จะด าเนินการวิจัย 2. ระยะเก็บข้อมูลก่อนการทดลอง (Pre-test) ในพื้นที่ทดลอง และในพื้นที่ควบคุมเป็นเวลา 2 สัปดาห์

    ในช่วงวันที่ 15-28 กุมภาพันธ์ 2553 3. ระยะเพิ่มความพร้อมก่อนลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ทดลอง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในช่วงวันที่ 1-15 มีนาคม

    2553 โดยน าข้อเสนอแนะของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทดลอง มาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบใหม่ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น (รูปแบบที่2) และชี้แจงให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งก่อนลงมือปฏิบัติจริง

    4. ระยะด าเนินการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ ใช้เวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2553 ถึง 15 มิถุนายน 2553 โดยมีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมของสภาวการณ์ของพื้นที่ทดลอง ด้วยความเห็นชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง (รูปแบบที่ 3)

    5. ระยะเก็บข้อมูลหลังการทดลอง (Post-test) ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1-15 มิถุนายน2553 เก็บข้อมูลผลการด าเนินงานเหมือนก่อนทดลองทั้งในพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม

    ขั้นตอนที่ 4 การสรุปผลการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 16-30 มิถุนายน 2553 โดยน าผลการด าเนินงานวิจัยทั้งหมดตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 มารวบรวมและวิเคราะห์อย่างละเอียด แล้วน าผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบใหม่ ให้เหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุด ได้เป็น “รูปแบบสุดท้าย” ที่เป็นผลสรุปของผลการวิจัยครั้งนี้ (รูปแบบที่ 4) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ใช้สถิติพรรณนา ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. ทดสอบการกระจาย ของข้อมูลผลการด าเนินงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งในพื้นที่ทดลอง และพื้นที่ควบคุม ด้วยค่าสถิติ Kolmogorov Smirnov Test 3. เปรียบเทียบผลการด าเนินงาน ด้วยค่าสถิติ Independent t-test ค่าสถิติ Mann Whitney U test ค่าสถิติ Pair t-test และค่าสถิติ Wilcoxon Match Pair Sign Rank Test ที่ระดับแอลฟ่า = 0.05 ผลการศึกษา 1. ผลการพัฒนารูปแบบของงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง จากขั้นตอนที4่ ของการพัฒนารูปแบบฯ ได้น าผลการด าเนินงานวิจัยทั้งหมดตั้งแต่ขั้น ตอนที่1 มารวบรวมและวิเคราะห์อย่างละเอียด แล้วน าไปปรับปรุงแก้ไขรูปแบบใหม่ ให้เหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุด ได้เป็น “รูปแบบสุดท้าย” (รูปแบบที ่4) ซึ่งมีลักษณะโดยสรุป ตามผังการไหลเวียนของมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ที่มี 9 กิจกรรมหลัก คือ

    o ปกติ o วิกฤติ o พิเศษ

    ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง มาถึงหอผู้ป่วย หรือ เกิดขึ้น 3. การต้อนรับอย่างประทับใจ ตั้งแต่แรก

    2. การเตรียมพร้อมก่อนผู้ป่วยมาถึง

    4. การให้บริการเร่งด่วน ตามลักษณะของผู้ป่วยแต่ละคนและญาติผู้ป่วย

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    7

    รูปแบบที่พัฒนาขึ้น เน้นการน าหลักวิชาการทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ ด้วยการก าหนดลักษณะและองค์ประกอบหลักของรูปแบบ ให้มีความเหมาะ สม ถูกต้อง ครบถ้วน และง่ายต่อการน าไปปฏิบัติ โดยต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระงานแก่ผู้ปฏบิัติ และเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เป็นดังนี้ 1) มีผังการไหลเวียนของงาน (Work Flow) ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง อย่างชัดเจน จ าแนกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะแรกรับเข้าสู่ภาวะที่ต้องเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง ระยะที่ 2 ระยะเฝ้าระวัง จนถึง 1 วันก่อนพ้นระยะเฝ้าระวัง ระยะที่ 3 ระยะผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ระยะที่ 4 ระยะ 1 วัน ก่อนพ้นระยะเฝ้าระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติ ระยะที่ 5 พ้นระยะเฝ้าระวัง และจ าหน่าย ในแต่ละระยะของการด าเนินงานนั้น ได้ผสมผสานกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ให้สอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วยตามกระบวนการหลักของหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซี่งจัดท าเป็นวิธีปฏิบัติงาน (Work Instruction) ตาม 9 กิจกรรมหลักของระบบงานบริการมาตรฐาน ที่มีแนวทางชัดเจนถึงวิธีปฏิบัติ เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ทุกคนรับรู้และถือปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 2) มีการเพิ่มกิจกรรมการเยี่ยมผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ในกิจกรรมหลักที่ 8 การให้บริการหลังจากผู้ป่วยและญาติกลับไปแล้วอย่างต่อเนื่องครบถ้วนสมบูรณ์และครบวงจร โดยจัดท าแนวทางปฏิบัติของวิธีปฏิบัติงาน (Work Instruction) ในการเยี่ยมผู้ป่วยทางโทรศัพท์ จัดท าคู่มือการให้ค าแนะน าแก่ผู้ป่วยและญาติ และแบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงทางโทรศัพท์ 3) ในส่วนหลักการของรูปแบบนั้น ประกอบด้วย หลักการบริหารงานทั่วไป 5 หลักการ, หลักการด้านบริหารโรงพยาบาลและสาธารณสุข 3 หลักการ, หลักวิชาการด้านความปลอดภัย 5 หลักการ, หลักการด้านวิชาการอื่นๆ 2 หลักการ, มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 3 มาตรฐาน และ หลักการด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง หลักการด้านสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ของทั้งผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ องค์การ และ ของชุมชนในพื้นที่ตั้งของโรงพยาบาล 4) ในส่วนโครงสร้างของรูปแบบนั้น ประกอบด้วยโครงสร้าง 4 ด้าน คือ 1) ด้านบุคลากร 2) ด้านวัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่ 3) ด้านงบประมาณ และ 4) ด้านระบบงาน 2. ผลการเปรียบเทียบผลการด าเนินงาน ระหว่างรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น กับรูปแบบเดิม

    ไม่เกิดภาวะวิกฤติ

    o ปกติ o วิกฤติ o พิเศษ

    เกิดภาวะวิกฤติ

    ไม่มีภาวะเสี่ยง มีภาวะเสี่ยง 5.2 การให้บริการผู้ป่วยที่

    ไม่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ตามแนวทางที่ก าหนดไว้

    5.1 การให้บริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงตามแนวทางที่ก าหนดไว้

    5.4 ด าเนินการดูแลรักษาและ

    แก้ไขตามแนวทางที่ก าหนดไว้ จนผู้ป่วยปลอดภัย

    ผู้ป่วยกลับบ้าน หรือ ออกจากหอผู้ป่วย

    1. การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มงานประจ าวัน/เวร ของหอผู้ป่วย

    6. การให้บริการก่อนผู้ป่วยและญาติจะกลับออกไป

    8. การให้บริการหลังจากผู้ป่วยและญาติกลับไปแล้วอย่างต่อเนื่อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และครบวงจร

    7. การด าเนินงานหลังจากผู้ป่วยกลับออกไปแล้ว

    9. การด าเนินงานก่อนเลิกงานประจ าวัน / เวร ของหอผู้ป่วย

    5. การให้บริการแก้ไขความเสี่ยงเบื้องต้นจนครบถว้น

    5.3 การให้บริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและเกิดภาวะวิกฤติแต่ละราย จนครบถ้วนตามแนวทางที่ก าหนดไว้

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    8

    คณะผู้วิจัยได้ท าการเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปและผลการด าเนินงาน ระหว่างรูปแบบใหม่ท่ีพัฒนาขึ้นกับรูปแบบเดิม ทั้งในพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม ใน 5 ด้าน คือ ด้านปริมาณงาน คุณภาพงาน เวลาและแรงงานที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และ ด้านเศรษฐศาสตร์ ได้ผลดังนี้ 1. ผลการเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป ระหว่างพ้ืนที่ทดลองกับพื้นที่ควบคุม ก่อนการน ารูปแบบใหม่ไปด าเนินการ พบว่า พื้นที่ทดลอง มีผู้ปฏิบัติงานมากกว่าพื้นที่ควบคุม 6 คน เนื่องจากพื้นที่ทดลองมีจ านวนเตียงที่ให้บริการมากกว่า 6 เตียง อัตราก าลังในแต่ละเวรพื้นที่ทดลองจึงจัดไว้มากกว่า เนื่องจากมีจ านวนผู้ป่วยเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 14 คน ในด้านเงินงบประมาณ ด้านเอกสาร สถานที่และเกณฑ์การรับผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน ในด้านอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยและญาติ รวมถึงจ านวนวันนอนของพื้นที่ทดลองและพื้นที่ควบคุม ไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบผลการด าเนินงานก่อนทดลอง ระหว่างพื้นที่ทดลองกับพื้นที่ควบคุม พบว่า ด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน ด้านระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ ด้านความพึงพอใจ และด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ดังตารางที่ 1 ตารางท่ี 1 เปรียบเทียบผลการด าเนินงาน ระหว่างพื้นทีท่ดลองกับพื้นทีค่วบคุม ก่อนน ารูปแบบใหม่ไปด าเนินการ

    ผลการด าเนินงาน พื้นที่ทดลอง พื้นที่ควบคุม p-value n X SD. n X SD.

    ด้านปริมาณงาน อัตราส่วนปริมาณงานเฉลี่ยต่อแรงงานที่ใช้ในงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 10,000 คน-วินาที

    31 70.1 4.4 30 69.4 3.4 0.486

    อัตราส่วนปริมาณงานเฉลี่ยต่อค่าแรงงานที่ใช้ในงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 1,000 บาท

    31 5.6 0.3 30 5.8 0.3 0.118

    ด้านคุณภาพ อัตราความถูกต้องของการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มปฏิบัติงานประจ าวัน

    31 93.4 6.5 30 91.1 9.4 0.282

    อัตราความถูกต้องของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

    31 95.9 4.2 30 94.2 5.2 0.167

    อัตราการไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของการให้บริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

    31 91.3 13.8 30 91.0 13.9 0.935

    ด้านระยะเวลาและแรงงานที่ใช้ ระยะเวลาเฉลี่ยของผู้ให้บริการที่ใช้ในการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง(นาที/ราย/เวร)

    31 239.7 44.3 30 246.8 31.31 0.473

    จ านวนแรงงานเฉลี่ยของผู้ให้บริการที่ใช้ในการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (คน-วินาที/ราย)

    31 14384 266.4 30 14812 18787 0.471

    ด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหาร 3 7.6 0.5 3 7.3 0.5 0.456b ผู้ให้บริการ 31 8.2 1.1 32 8.1 1.1 0.726 ผู้ป่วย 30 8.8 1.0 32 8.4 1.1 0.196 ญาติผู้ป่วย 30 8.8 1.1 32 8.4 1.2 0.157 ด้านเศรษฐศาสตร์ ร้อยละการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในหน่วยงาน 31 117.0 28.0 30 123.0 36.7 0.485 ความคุ้มค่าของการด าเนินงานให้บริการ 31 50.5 9.2 30 48.5 6.5 0.471 b. ใช้ค่าสถิติ Wilcoxon Signed Rank test

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    9

    2.ผลการเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป ในพื้นที่ควบคุมระหว่างก่อนกับหลังการน ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปด าเนินการในพื้นที่ทดลอง พบว่า ทั้งในด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ผลการด าเนินงานของกลุ่มควบคุม ระหว่างก่อนกับหลังการน ารูปแบบใหม่ไปด าเนินการด้านคุณภาพ พบว่า อัตราความถูกต้องและความครบถ้วนของการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง พบว่า ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ดังตารางที่ 2 ตารางท่ี 2 เปรียบเทียบอัตราความถูกต้อง ครบถ้วนของการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการผู้ปว่ยที่มีความเสี่ยงสูงของพื้นที่ควบคุม ระหว่างก่อนกับหลังการน ารูปแบบใหม่ไปด าเนินการ

    ผลการด าเนินงาน ก่อนทดลอง(n=30) หลังทดลอง(n=30) p-value X SD. X SD.

    1. การเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานประจ าวัน 100.0 0.0 100.0 0.0 1.000 2. การเตรียมพร้อมก่อนผู้รับบริการมาถึง 98.3 6.3 96.6 8.6 0.161 3. การต้อนรับอย่างประทับใจตั้งแต่แรก 96.6 10.2 98.3 5.1 0.326 4. การบริการเร่งด่วนตามลักษณะของผู้มารับบริการแต่ละคน 93.3 17.3 91.6 17.8 0.161 5. การให้บริการตามล าดับขั้นตามลักษณะของงาน 90.8 14.1 91.6 12.2 0.639 6. การให้บริการก่อนผู้รับบริการจะกลับออกไป 99.1 4.5 100.0 0.0 0.326 7. การด าเนินงานหลังจากผู้รับบริการกลับออกไปแล้ว 92.0 15.4 86.6 20.5 0.058 8. การให้บริการหลังจากผู้รับบริการกลับไปแล้วอย่างต่อเนื่อง 66.0 25.8 68.7 24.3 0.489 9. การด าเนินงานก่อนเลิกงานประจ าวัน 90.0 14.1 92.5 11.6 0.326 3. ผลการเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปในพื้นที่ทดลอง ระหว่างก่อนกับหลังการน ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปด าเนินการ พบว่า ทั้งในด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างกัน (p>0.05)

    เมื่อเปรียบเทียบผลการด าเนินงานของพื้นทีท่ดลอง ระหว่างก่อนกับหลังการน ารูปแบบใหม่ไปด าเนินการ พบว่า อัตราความถูกต้องครบถ้วนของการปฏิบัติตามมาตรฐานการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างกันในขั้นตอนการด าเนินงานหลังจากผู้รับบริการกลับออกไปแล้ว และการให้บริการหลังจากผู้รับบริการไปแล้วอย่างต่อเนื่องครบถ้วนสมบูรณ์ครบวงจรอย่าง (p=0.03 และ

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    10

    เมื่อเปรียบเทียบผลการด าเนินงานของกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนกับหลังการน ารูปแบบใหม่ไปด าเนินการ พบว่า ผลการด าเนินงานตามรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ของงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงดีกว่ารูปแบบเดิม เนื่องจากหลังการน ารูปแบบใหม่ไปด าเนินการผลการด าเนินงานด้านคุณภาพ และด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    11

    ส าคัญในการพัฒนางาน ท าให้เกิดรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงาน ช่วยให้ผลการด าเนินงานมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

    รูปแบบการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่พัฒนาขึ้นนี้ แตกต่างไปจากรูปแบบเดิม คือ การจัดท ารูปแบบโดยมีองค์ประกอบของรูปแบบอย่างครบถ้วน ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ น าหลักการบริหารโรงพยาบาล(4) แนวคิดและทฤษฎีการบริหารความปลอดภัยเชิงรุก(2) มาตรฐานบริการสาธารณสุข(19) มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ(3) 2) โครงสร้างของรูปแบบ น าระบบงานบริการ 9 กิจกรรมหลัก(4)มาปรับกระบวนการท างานที่เป็นขั้นตอนชัดเจนมีแนวทางปฏิบัติงานการให้บริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและWork flow ที่เปน็ลายลักษณ์อักษรชัดเจน ช่วยให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจง่ายขึ้น และปฏิบัติงานในแนวทางเดียวกัน ปรับกิจกรรมการให้บริการหลังจากที่ผู้ป่วยกลับออกไปแล้วอย่างครบถ้วน โดยมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยทางโทรศัพท์ภายใน 24 ชั่วโมง จัดท าคู่มือการปฏิบัติที่ชัดเจน และแบบบันทึกข้อมูลการเยี่ยมผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ซึ่งถือว่าเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและผู้ดูแล สามารถติดตามอาการได้อย่างรวดเร็ว ตอบข้อสงสัยหรือให้ค าแนะน าเพิ่มเติมเมื่อผู้ป่วยกลับบ้านไปแล้ว ช่วยลดความวิตกกังวลและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้(20) 3) การน ารูปแบบไปด าเนินการ ผู้วิจัยได้น าองค์ประกอบที่ส าคัญ ได้แก่ การเตรียมการที่ดี มีมาตรฐานการบริการ คู่มือการปฏิบัติ Work flow ที่ชัดเจน มีการชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบและเสนอแนะความคิดเห็นแล้วน ามาปรับปรุง มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ รวมถึงการแก้ไขปัญหาในขณะด าเนินการร่วมกัน มีการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

    กระบวนการพัฒนารูปแบบและการน ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปด าเนินการ ที่คณะผู้วิจัยใช้ในการวิจัยครั้งนี ้แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์รูปแบบเดิม 2) การสร้างรูปแบบเบื้องต้น 3) การทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ และ 4) การสรุปผลการทดลองใช้เพื่อสรุปเป็นรูปแบบสุดท้ายที่ดีและเหมาะสมที่จะน าไปใช้ในช่วงเวลาต่อไป ที่สามารถน าไปปฏิบัติได้จริงนั้น เป็นกระบวนการที่ดีและมีประสิทธิภาพสูง สอดคล้องกับการสร้างและพัฒนารูปแบบการด าเนินงานของสมชาต ิ โตรักษา (4) ซึ่งกระบวนการพัฒนารูปแบบนี้เน้นกระบวนการใช้ทรัพยากรที่อย่างจ ากัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ข้อยุติ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ได้รูปแบบใหม่ของการด าเนินงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ที่ดีกว่ารูปแบบเดิม โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ เนื่องจาก มีการน าหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ อย่างเหมาะสมและกลมกลืนกับบริบทที่เป็นจริงในการด าเนินงาน ท าให้มีองค์ประกอบของรูปแบบที่ครบถ้วน ทั้งหลักการของรูปแบบ โครงสร้างของรูปแบบ และวิธีการน ารูปแบบไปใช้ มีกระบวนการสร้างพัฒนาและน ารูปแบบไปปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในการด าเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนได้เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ มีองค์ประกอบที่ส าคัญอย่างครบถ้วน มีความเหมาะสมกับหน่วยงาน และสามารถน าไปปฏิบัติได้จริง พร้อมท้ังสามารถร่วมกันพัฒนาให้มีมาตรฐานสูงยิ่งๆขึ้น ได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ข้อเสนอแนะ

    1. ควรท าวิจัยเพ่ือการพัฒนางานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงนี้ต่อไป ให้ครอบคลุมองค์ประกอบและวัดผลการด าเนินงานให้ครบทั้ง 5 ด้านอย่างสมบูรณ์ คือ ด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน ด้านระยะเวลา ด้านความพึงพอใจ และด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้สามารถอธิบายผลการด าเนินงานที่สมบูรณ์มากขึ้น และควรพัฒนางานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง จนเป็นต้นแบบที่ดีและเป็นมาตรฐานของประเทศ

    2. ควรท าวิจัยเพ่ือการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (R&D for CSWI) ในลักษณะนี้กับงานอื่นๆ ทั้งระบบงานบริการ ระบบงานสนับสนุนทรัพยากร ระบบงานพัฒนางานและหน่วยงาน และ ระบบงานบริหารจัดการ โดยเน้นให้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เป้าหมายสูงสุด คือ การน าไปสู่ประโยชน์สูงสุดของประชาชนและ ผู้มารับบริการ โดยควรเน้นในแนวทางและวิธีการของท างานประจ าให้เป็นผลงานวิจัย (Routine to Research: R2R) กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความกรุณาของ นายแพทย์วันชัย ล้อกาญจนรัตน์ ผู้อ านวยการโรงพยาบาลโพธาราม และนายแพทย์สุวัฒน์ ดนายะพงษ์ ผู้อ านวยการโรงพยาบาลบ้านโป่ง ที่ได้ส่งเสริมการวิจัยนี้ ขอกราบขอบพระคุณ คุณสมจิตร

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    12

    ศักดิ์สิทธิกร หัวหน้ากลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลโพธาราม และ คุณวนิดา อินทรสันติ หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง ที่สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยนี้ ขอกราบขอบพระคุณบุคลากรทุกท่านในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลโพธาราม และหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลบ้านโป่ง ที่ได้ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล ตลอดจนกลุ่มตัวอย่างทุกคน ที่เสียสละเวลาเข้าร่วมกิจกรรม และให้ความร่วมมือในการด าเนินงานวิจัยนี้ จนส าเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เอกสารอ้างอิง

    1. ประเวศ วสี. สุนทรียสนธนา วิกฤตความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์.นนทบุรี.เดือนตุลา; 2549. 2. วีณา จีระแพทย์. การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2550. 3. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมฉลองสิริราช

    สมบัติครบ 60 ปี.นนทบุรี: หนังสือวันดี; 2549. 4. สมชาติ โตรักษา. หลักการบริหารโรงพยาบาล ภาคที่ 1 หลักการบริหารองค์การและหน่วยงาน. พิมพ์ครั้งที่ 3.

    กรุงเทพมหานคร: เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์; 2548 5. Carayon P, Gurses AP. A human factors engineering conceptual framework of nursing workload

    and patient safety in intensive care units. Intensive Crit Care Nurs 2005; 21: 284-301. 6. Jirapeat V,Jirapeat K, Sopajaree C. The nurses’ experience of barriers to safe practice in the

    neonatal intensive care unit in Thailand. JOGNN 2006; 35: 746-54. 7. Jirapeat V. Development of best practice guideline on patient safety in NICU: A collaborative

    project. Proceeding of the international Council of Nurse 23 rd Quadrennial Congress 2005. Taipei: Taiwan;2005

    8. Ternov S, Akselsson R. System weaknesses as contributing causes of accidents in health care.Int J Qual Health Care 2005; 17: 5-13

    9. ธงชัย สันติวงษ์. หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช; 2543. 10. สมเดช สีแสง. คู่มือการบริหารโรงเรียนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. ชัยนาท: ชมรมพัฒนา

    ความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู; 2547 11. สมยศ นาวีการ.ทฤษฎีองค์การ. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ; 2544. 12. จุไรรัตน์ แย้มพลอย. การพัฒนารูปแบบการด าเนินงานให้ข้อมูลผู้ป่วยก่อนจ าหน่าย หอผู้ป่วยสามัญศัลยกรรมหัวใจ

    โรงพยาบาลราชวิถี พ.ศ.2549 (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.

    13. พรทิพย์ บุญกันทะ. การพัฒนางานบริการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลนครปฐม พ.ศ.2547 (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547.

    14. ภารดี รัตนเจษฎา. การพัฒนางานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545

    15. ศรีสง่า คุ้มพทิักษ์. การพัฒนาแบบฟอร์มการบันทึกทางการพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพญาไท1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542

    16. นิคม เจริญดี. การพัฒนารูปแบบการด าเนินงานฝา่ยบริหารทั่วไปโดยการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลอัมพวา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540

    17. สมพร ลอยความสุข. การพัฒนาการด าเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลบ้านโป่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    13

    18. สมชาติ โตรักษา. การท างานประจ าให้เป็นผลงานวิชาการอยา่งต่อเนื่องและยั่งยืน เอกสารการประชุมวิชาการ โรงพยาบาลขอนแก่น ประจ าปี 2553; 8-11 มิถุนายน 2553; โรงพยาบาลขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2553

    19. กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานบริการสาธารณสุข เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.

    20. รัตนา แตงรอด. การสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวโดยใช้วิธีการติดตามทางโทรศัพท์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต).คณะพยาบาลศาสตร.์บัณฑิตวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550

    มาตรฐานการดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะวิกฤต หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปี 2553

    Pre-arrest Care Standard to prevent access to the crisis at Female medical ward, Photharam Hospital, Ratchaburi Province, Thailand, 2010

    กนกวรรณ สินลักษณทิพย์ , วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์)

    วัชระ ก้อนแก้ว, พ.บ.,ว.ว.(อายุรศาสตร์โรคหัวใจ) วรรณา สัตย์วินิจ (พยาบาลวิชาชีพระดับช านาญการ)

    อภินันท์ ชูวงศ์ (พยาบาลวิชาชีพระดับช านาญการ) ตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ ฉบับที่ 3/2553 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2553

    บทคัดย่อ

    เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จ าเป็นต้องมีพยาบาลและเจ้าหน้าที่เฝ้าดูแลอาการและช่วยเหลือผู้ป่วยตลอดเวลา หากเกิดภาวะวิกฤต ผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ดังนั้นจึงต้องมีมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤติ จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลังการทดลองนี้ เพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤต ที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ของโรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข น าไปทดลองที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลโพธาราม ระหว่าง 1 มีนาคม 2553 ถึง 15 มิถุนายน 2553 โดยให้โรงพยาบาลบ้านโป่งเป็นกลุ่มควบคุม ในงานบริการผู้ป่วย 131 ครั้ง ผู้เกี่ยวข้อง 386 คน เปรียบเทียบผลการด าเนินงาน ระหว่างก่อนกับหลังการน ามาตรฐานไปทดลอง ด้วยสถิติพรรณนา ค่าสถิติไคสแควร์ ค่าสถิติที ค่าสถิติแพร์ที และค่าสถิติวิลค็อกสัน ที่ระดับ

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    14

    แอลฟา = 0.05 พบว่า มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ตามข้อก าหนดของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล และ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สามารถเพิ่มคุณภาพการบริการผู้ป่วยโดยไม่ต้องเพิ่มทรัพยากร (p

  • ผลงานวิชาการ โรงพยาบาลโพธาราม ปี 2553

    15

    มาตรฐานการดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะวิกฤต หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปี 2553

    Pre-arrest Care Standard to prevent access to the crisis at Female medical ward, Photharam Hospital, Ratchaburi Province, Thailand, 2010

    กนกวรรณ สินลักษณทิพย์ , วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) วัชระ ก้อนแก้ว, พ.บ.,ว.ว.(อายุรศาสตร์โรคหัวใจ)

    วรรณา สัตย์วินิจ (พยาบาลวิชาชีพระดับช านาญการ) อภินันท์ ชูวงศ์ (พยาบาลวิชาชีพระดับช านาญการ)

    ความเป็นมาและความส าคัญ สถานบริการสุขภาพทุกแห่ง ต่างก็ให้ความส าคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยผู้ป่วย องค์การอนามัยโลก ได้จัดท ารายงาน WHO Patient Safety Research ขึ้นในปี ค.ศ.2009 ระบุว่า every year, tens of millions of patients worldwide suffer disabling injuries or death due to unsafe medical care. Nearly one in ten patients is harmed while receiving health care in well-funded and technologically advanced hospital settings. (WHO Patient Safety Research: World Health Organization, 2009; 1) จึงได้มีการก าหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย The Joint Commission ได้พัฒนาและก าหนด 2010 National Patient Safety Goals (NPSGs) ขึ้น มีผลบังคับตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ.2553 ในการนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ก าหนดนโยบายความปลอดภัยของผู้ป่วย (Thailand Patient Safety Goals) โดยมีแนวทางที่พัฒนาขึ้นโดยองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดท ามาตรฐานบริการสาธารณสุขขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาล และเป็นการประกันคุณภาพบริการที่ประชาชนจะต้องได้รับผลลัพธ์ที่ดีย่ิงๆขึ้นอย่างต่อเนื่อง (มาตรฐานบริการสาธารณสุข, 2550) ซึ่งได้มีการก าหนดคุณภาพของบริการที่ดี ที่ประชาชนควรจะได้รับตามสิทธิ์ เพื่อให้ทุกๆโรงพยาบาลได้น าไปเป็นแนวทางในการจัดและพัฒนาบริการที่ดีมีคุณภาพ

    โรงพยาบาลโพธาราม จ.ราชบุรี เป็นโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐขนาด 340 เตียง มีการก าหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้รับบริการที่ชัดเจน มีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความปลอดภัยมากที่สุด ได้มีการพัฒนาระบบงานบริการดูแลผู้ป่วย โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาศักยภาพและทักษะของผู้ให้บริการให้ช านาญมากขึ้น อีกทั้งมีการจัดท าคู่มือและแนวทางการดูแลผู้ป่วยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่จากผลการด าเนินงานที่ผ่านมา ยังคงมีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ทีมสุขภาพจึงได้ร่วมกันทบทวนระบบงานในการดูแลรักษาผู้ป่วย พบว่า มีองค์ประกอบหลายประการ ที่อาจมีผลต่อความไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วย จึงต้องการที่จะหาทางแก้ปัญหานี้ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และน ามาตรฐานที่พัฒนาขึ้นไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจากการวางระบบงานที่ดี (สมชาติ โตรักษา, 2548) ใช้หลักการและแนวทางของการบริหารแบบมีส่วนร่วม (สมยศ นาวีการ, 2544) โดยประยุกต์หลักวิชาการทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ด้วยทรัพยากรเท่าที่มีอยู่ การทบทวนวรรณกรรม

    มาตรฐานบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาล ได้ระบุลักษณะของการบริการในเรื่องการเฝ้าระวังดูแลขณะอยู่ในพื้นที่ ซึ่งก าหนดว่า ผู้รับบริการ จะได้รับการเฝ้าระวังดูแลอาการอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่รับบริการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยผู้รับบริการและญาติ จะได้รับความช่วยเหลือทันที หากพบอ�