statistics for six sigma made easy thai version - 18

2
พิกัดความเผื่อที่ต้องการ อย่างแท้จริงเป็นเท่าใด 285 สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ในบทนี้ คือ พิกัดความเผื่อ (Tolerance) ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูก การกำหนดตามความจำเป็นในการใช้งาน บ่อยครั้งที่พิกัดความเผื่อสัมพันธ์กับความ ต้องการจริงเพียงเล็กน้อย ดังนั้น เราสามารถและควรตั้งคำถามกับพิกัดความเผื่อ คุณ ยังจะได้เรียนรู้วิธีการที่เรียกว่า RSS (Root Sum-of-Squares) ที่ใช้ในการคำนวณพิกัด ความเผื่อที่ซ้อนกันอยู่ (Stacked Tolerance) อีกด้วย พิกัดความเผื่อสามารถนำไปใช้ งานได้ในขั้นตอนปรับปรุง (Improve) และขั้นตอนควบคุม (Control) ของกระบวนการ DMAIC บทนี้ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับงานด้านการออกแบบ การผลิต และงานที่มีลักษณะ เป็นกระบวนการ พิกัดความเผื่อของชิ้นส่วนหนึ่งในตอนเริ่มแรกนั้นบ่อยครั้งจะถูกกำหนดตาม เครื่องจักรที่ผู้ออกแบบเชื่อว่าจะใช้ผลิตชิ้นส่วนชิ้นนั้น พิกัดความเผื่อที่เข้มงวดที่สุดทีเครื่องจักรสามารถทำได้จึงถูกนำมาใช้งาน หรือผู้ออกแบบอาจคัดลอกพิกัดความเผื่อนีมาจากชิ้นส่วนอีกชิ้นหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายๆ กันก็ได้ ไม่ค่อยได้มีการวิเคราะห์ความ ต้องการที่แท้จริงนัก พิกัดความเผื่อที่ต้องการ อย่างแท้จริงเป็นเท่าใด บ ท ที17 Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING

Upload: eisquare-publishing

Post on 08-Apr-2015

155 views

Category:

Documents


1 download

TRANSCRIPT

Page 1: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 18

พิกัดความเผื่อที่ต้องการอย่างแท้จริงเป็นเท่าใด 285

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้ในบทนี้ คือ พิกัดความเผื่อ (Tolerance) ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูก

การกำหนดตามความจำเป็นในการใช้งาน บ่อยครั้งที่พิกัดความเผื่อสัมพันธ์กับความ

ต้องการจริงเพียงเล็กน้อย ดังนั้น เราสามารถและควรตั้งคำถามกับพิกัดความเผื่อ คุณ

ยังจะได้เรียนรู้วิธีการที่เรียกว่า RSS (Root Sum-of-Squares) ที่ใช้ในการคำนวณพิกัด

ความเผื่อที่ซ้อนกันอยู่ (Stacked Tolerance) อีกด้วย พิกัดความเผื่อสามารถนำไปใช้

งานได้ในขั้นตอนปรับปรุง (Improve) และขั้นตอนควบคุม (Control) ของกระบวนการ

DMAIC บทนี้ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับงานด้านการออกแบบ การผลิต และงานที่มีลักษณะ

เป็นกระบวนการ

พิกัดความเผื่อของชิ้นส่วนหนึ่งในตอนเริ่มแรกนั้นบ่อยครั้งจะถูกกำหนดตาม

เครื่องจักรที่ผู้ออกแบบเชื่อว่าจะใช้ผลิตชิ้นส่วนชิ้นนั้น พิกัดความเผื่อที่เข้มงวดที่สุดที่

เครื่องจักรสามารถทำได้จึงถูกนำมาใช้งาน หรือผู้ออกแบบอาจคัดลอกพิกัดความเผื่อนี้

มาจากชิ้นส่วนอีกชิ้นหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายๆ กันก็ได้ ไม่ค่อยได้มีการวิเคราะห์ความ

ต้องการที่แท้จริงนัก

พิกัดความเผื่อที่ต้องการ

อย่างแท้จริงเป็นเท่าใด

บ ท ที่ 17 Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 2: Statistics for Six Sigma Made Easy THAI Version - 18

294

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในบทที่ 17

1. พิกัดความเผื่อสามารถใช้งานได้ในขั้นตอนปรับปรุง (Improve) และควบคุม

(Control) ของกระบวนการ DMAIC

2. พิกัดความเผื่อมักไม่ค่อยถูกนำมาคำนวณโดยอ้างอิงตามข้อกำหนดความ

ต้องการของลูกค้า ดังนั้นจึงมีโอกาสในการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมากหากได้

ทบทวนค่าพิกัดความเผื่อที่เป็นสาเหตุของประเด็นปัญหานี้

3. เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนชิ้นหนึ่ง บ่อยครั้งที่การดำเนินการแก้ไขจะทำ

โดยการกำหนดค่าพิกัดความเผื่อของชิ้นส่วนให้เข้มงวดขึ้น ไม่ว่าพิกัดความเผื่อนั้นจะ

เป็นสาเหตุของปัญหานั้นหรือไม่ก็ตาม

4. ถ้าชิ้นส่วนหลายๆ ชิ้นถูก “ซ้อนกัน” (Stack) ในการประกอบ ค่าพิกัดความ

เผื่อของชิ้นส่วนเหล่านี้มักถูกคำนวณโดยใช้วิธีกรณีที่แย่ที่สุด การใช้วิธี RSS มาคำนวณ

ค่าพิกัดความเผื่อสามารถทำให้พิกัดความเผื่อของชิ้นส่วนกว้างขึ้น หรือแสดงให้เห็นว่า

ส่วนประกอบนั้นมีค่าความแปรผันน้อยว่าที่คาดไว้

หนังสือและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง

Six Sigma Mechanical Design Tolerancing, Mikel J. Harry and Reigle Stewart,

2nd edition (Schaumburg, II: Motorola University Press, 1988).

MINITAB, Minitab Inc., State College, PA, www.minitab.com.

Crystal Ball 2000, Decisioneering Inc., Denver, CO, www.decisioneering.com.

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING