suthep

12
SUTHEP KRITSANAVARIN สุเทพ กฤษณาวารินทร

Upload: saivarin-athibai

Post on 30-Mar-2016

219 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

photography profile

TRANSCRIPT

Page 1: suthep

SUTH E P K R I TSANAVAR INสุเทพ กฤษณาวารินทร

Page 2: suthep

สุเทพ กฤษณาวารินทร์Suthep Kritsanavarin

สุเทพ กฤษณาวารินทร์

เป็นหนึ่งในช่างภาพสารคดีชั้นแนวหน้าของเมืองไทย งานของ

เขาได้รับการตีพิมพ์ไปทั่วโลก อาทิ the New York Times,

International Herald Tribune, National Geographic

Thailand, Geographical, Aera, Japan Times, Geo และ

National Geographic Adventure งานถ่ายภาพของสุเทพยัง

ครอบคลุมไปถึงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม และสังคม เป็นเวลา

เกือบ 20 ปี

งานของสุเทพมีพื้นฐานมาจากความเชื่อมั่นที่ ว่า ช่างภาพ

สารคดีที่ดีต้องแสดงออกมาว่า เป็นผู้สังเกตที่รู้ผิดรู้ชอบต่อ

สังคม เขาส่งเรื่องออกตีพิมพ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทาง

สังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก เขา

ประสบความสำาเร็จตามเป้าหมายเหล่านี้ โดยการทำางานที่ใช้

เวลายาวนานเพื่อที่จะสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อเรื่อง ที่ทำา

และสร้างความเชื่อใจกับชุมชนที่เขาไปทำางานอยู่ ภาพที่ทรง

พลังของเขาได้สร้างสรรค์การเรียงร้อยทางสารคดีเชิงลึก ซึ่งกิน

เวลาอันยืดเยื้อในช่วงการเริ่มต้นและการระดมทุนของเขา

เมื่อ ไม่นานมานี้ สุเทพได้เดินทางไปพม่า ภายหลังหนึ่งสัปดาห์

หลังจากเกิดพายุนากีสที่ทำาลายชีวิตคนไปเป็นจำานวนมาก เขา

ได้บันทึกเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานของประชาชน ที่มีสาเหตุ

มาจากการปฏิบัติของรัฐบาลทหาร และการขาดแคลนอาหาร

ภาพถ่ายของเขาเปิดประตูสู่ผู้ชมให้เห็นถึงการทำาลายล้าง ความ

ทุกข์ทรมาน ความสิ้นหวังที่ไม่ได้เกิดจากแค่พายุแต่ยังเกิดจาก

การกระทำาที่ไร้เมตตาธรรม จากรัฐบาล

ภาพถ่ายเชิงสารคดีของเขาเกี่ยวกับสถานการณ์อันเลวร้าย ของ

ช้างไทย ที่ถูกดึงลงสู่ภาวะตกต่ำา จากสัญลักษณ์ของประเทศสู่

การเป็นขอทานตามถนนในกรุงเทพ การเรียงร้อยภาพถ่ายเกี่ยว

กับแม่โขงของเขา ที่ใช้เวลาถึงสามปีเป็นความตั้งใจที่จะดึงเอา

สารคดีที่มีชีวิต เพื่อที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนหาปลาที่

สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายชั่วอา ยุคน และชีวิตสัตว์ป่าที่อาจ

สูญพันธ์ โดยโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่

ปี 2008 สุเทพได้รับรางวัล Days Japan International Pho-

tojournalism Award และ National Press Photographers

Association (NPPA) ของอเมริกา ภาพสารคดีแม่โขงของเขา

ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Blue Earth Alliance

หลัง จากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2004 เขาได้ร่วมงานทำาหน้าที่

เป็นบรรณาธิการภาพของโครงการ InSIGHT Out โครงการ

นี้ได้สอนเด็กๆ ให้ถ่ายทอดชีวิตของพวกเขาผ่านทางภาพถ่าย

ในพื้นที่ที่โดนผลกระทบจากสึนามิ เช่น ที่ บันดาห์ อาเจะ

ประเทศอินโนนีเซีย และ พังงา ประเทศไทย

เขายังเป็นผู้ฝีกสอนชาวเอเชียเพียงคนเดียว ที่สอนช่างภาพ

เอเชียรุ่นใหม่ใน Angkor Photography Festival

สุเทพได้จัดแสดงงานนิทรรศการภาพถ่ายเชิงสารคดีใน

ประเทศไทย กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน และฝรั่งเศส

ประกอบด้วยภาพ Siphadon Mekong Fishing Under Threat,

Kuay and Elephants: Struggling for Survival, Life in Xinji-

ang, China and Hunters and Monk

ภาพถ่ายของสุเทพยังได้ ถูกใช้ตามองค์กรท้องถิ่น และ

นานาชาติเกี่ยวกับการรณรงค์และการศึกษาต่างๆเช่น กองทุน

สัตว์่ป่าโลก, the International Rivers Network และ มูลนิธิ

ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ใช้ภาพถ่ายของเขาจากงาน

โครงการแม่โขงในการรณรงค์เกี่ยวกับผลกระทบของการ สร้าง

เขื่อนในประเทศลาวและกัมพูชา

Page 3: suthep

สุเทพได้จัดแสดงงานนิทรรศการภาพถ่ายเชิง

สารคดีในประเทศไทยกัมพูชาจีนญี่ปุ่นเยอรมันและ

ฝรั่งเศส ประกอบด้วยภาพ Siphadon Mekong

Fishing Under Threat, Kuay and Elephants:

Struggling for Survival, Life in Xinjiang, China

and Hunters and Monk

ภาพถ่ายของสุเทพยังได้ ถูกใช้ตามองค์กรท้องถิ่น

และนานาชาติเกี่ยวกับการรณรงค์และการศึกษา

ต่างๆเช่น กองทุนสัตว์่ป่าโลก, the International

Rivers Network และ มูลนิธิฟื้นฟูธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม ก็ใช้ภาพถ่ายของเขาจากงานโครงการ

แม่โขงในการรณรงค์เกี่ยวกับผลกระทบของการ

สร้างเขื่อนในประเทศลาวและกัมพูชา

1. หลี่ ที่เป็นอุปกรณ์ขับปลาของชาวบ้าน

2. ภาพชาวบ้านไต่เส้นเชือกเพื่อข้ามไปยัง

หลี่ที่ตัวเองสร้างเอาไว้กลางแม่น้ำา

3. ชาวบ้านติดไฟฉ่ายเพื่อส่องสว่างใน

ความมืด

2

1

3 3

งานนิทรรศการและภาพถ่ายเชิงสารคดี

Page 4: suthep

ทรรศนะของ สุเทพ กฤษณาวารินทร์ผ่านบทสัมภาษณ์

:คุณนิยามตัวเองว่าเป็นช่างภาพแนวไหน

สารคดีหรือเปล่า? ในเมืองไทยชอบเรียกกันอย่างนั้น แต่

ผมว่ามันก็ไม่เชิง เมืองนอกเขาใช้คำาว่า documentary ใช้

เวลามากกว่างานถ่ายภาพทั่วไปสักหน่อย แต่ผมไม่เคยคิด

ว่าตัวเองเป็นช่างภาพ ผมเป็นเหมือน messenger ที่จะนำา

ข่าวสาร ใช้คำาว่าช่าง-ภาพ บางทีเดี๋ยวคนเขาจะจ้างไปถ่าย

ภาพตามสวนลุมฯ อะไรอย่างนั้น มันไม่ใช่ ส่วนหนึ่งเราอาจ

ต้องสร้างงานศิลปะด้วยหรือเปล่า ก็ไม่รู้นะ จุดมุ่งหมายที่

สำาคัญคือต้องการสื่อสาร มันเป็นการสื่อสารมากกว่าการ

เป็นช่าง เป็นการนำาสื่อออกไปให้คนจำานวนมากได้เห็น ได้

คิดตามพูดง่ายๆ ว่าเราเป็นผู้นำาข้อมูล ข้อเท็จ-จริงออกไป

สู่ผู้คน ผ่านมุมมองผ่านการถ่ายทอดของเรา เป็นตัวกลาง

ในการนำาสารมันอาจจะไม่สำาคัญเท่าไรว่าจะนิยามแบบไหน

เพียงเราพอใจในสิ่งที่เราทำา และสำาคัญที่สุดคืองานของเรา

เป็นประโยชน์ต่อสังคม -อย่างที่คุณว่าไว้และต่อตัวเราด้วย

คนถ่ายต้องอยู่รอดด้วย

ทุกวันนี้คุณอยู่ได้ด้วยรายได้จากการถ่ายภาพ

ช่างภาพแนวสารคดีอยู่ยาก แต่ห้าปีหลังจากเริ่มต้นถ่ายภาพ

ผมก็อยู่ได้มาตลอดยังไม่เคยทำางานประจำา

:เป้าหมายในการถ่ายภาพของคุณคืออะไร

การนำาเสนอความจริงผ่านภาพถ่าย และความจริงเหล่านั้น

จะนำาไปสู่การแก้ปัญหา และการปกป้องสิ่งมีคุณค่าที่เรา

นำามาถ่ายทอด โดยส่วนตัวผมถือว่าผมเป็นผู้สื่อสารออกไป

พยายามไม่ไปจัดอะไร อาจใช้มุมมองบ้าง มีแนวคิดของตัว

ช่างภาพบ้าง แต่ต้องเจือปนน้อยที่สุด เราพยายามให้คนดู

ได้อรรถรส แต่เนื้อหาต้องมีอยู่ในตัวของมันเอง

:ไม่จัดฉากหรือแต่งเติม

ใช่ แต่บางทีมันก็ต้องมีบ้าง อย่างกำาลังจะถ่ายมีขยะอยู่

ตรงหน้าชิ้นหนึ่ง ก็ไปเก็บออกก่อน แต่ไม่ใช่ไปเปลี่ยน โดย

เฉพาะการเปลี่ยนเนื้อหา หลายคนจัดโดยการเปลี่ยนเนื้อหา

จัดในสิ่งที่ไม่มีจริง อันนี้ใช้ไม่ได้ แต่การจัดอย่างบอกเขาให้

หันข้างอีกนิดมันเป็นปรกติที่ช่างภาพทุกคนก็ทำากัน มันต้อง

แยกให้ถูกว่าอันไหนเป็นวิธีที่ผิด อย่างการไปเปลี่ยนเรื่อง

ราว อย่างนั้นไม่ได้

:จากยุคฟิล์มมาสู่ดิจิตอล คุณมีข้อสังเกตอะไรไหมเกี่ยวกับ

การถ่ายภาพ

หลักการเหมือนเดิม ภาพถ่ายสร้างด้วยแสง แต่เทคโนโลยี

ไปของมัน ถ้าคุณตามไม่ทันก็ตกยุค

:อะไรที่ถือเป็นอุปสรรคในการทำางานของช่างภาพเมืองไทย

เงิน ค่าตอบแทนที่จะทำาให้อยู่ได้ เงินเป็นปัจจัยสำาคัญ ที่

ทำาให้ช่างภาพรุ่นใหม่เกิดได้ยาก งานแนวนี้ยังไม่ก้าวไปไหน

เพราะค่าตอบแทนยังอยู่ไม่ได้ อย่างช่างภาพหนังสือพิมพ์

ถ่ายทุกอย่างตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ วิ่งกันหัวหมุน ต่าง

ประเทศเขาก็วิ่งกันอย่างนี้ แต่ก็ยังพอครีเอตอะไรได้ ตาม

ถ่ายเรื่องลึกๆ ได้ หรือเน้นเฉพาะทางไปเลย คือเอาเวลา

ช่วงหนึ่งไปเลย ค่าตอบแทนก็สูงทำาให้อยู่ได้

:ภาพถ่ายภาพหนึ่ง คุณหวังว่ามันจะ‘ทำาหน้าที่’แค่ไหน

ผมเชื่อนะว่า ถ้ามันเป็นภาพที่ดี ที่มีความหมาย มีการนำา

เสนอที่ถูกต้อง และมันสามารถเข้าไปถึงผู้มีอำานาจในการ

ตัดสินใจและเขากล้าทำาในสิ่งที่ถูก ก็สามารถเปลี่ยน-แปลง

อะไรได้ ไม่ใช่แค่ภาพถ่าย แต่รวมถึงงานศิลป์ทุกแขนง ช่าง

ภาพทุกคนผมว่าฝีมือน่ะมี แต่จะเอาให้ได้คอนเซปต์ด้วย

เอาแบบมานำาเสนอได้ด้วย ตรงนี้ต้องหาสิ่งที่สำาคัญกว่า จะ

ถ่ายภาพให้สวยสักภาพหรือสักเรื่องก็ถ่ายได้ แต่จะให้เรื่อง

นั้นน่าสนใจด้วย เอาแบบนำาเสนอในเมืองไทยได้ ขายทั่วโลก

ได้ เป็นเรื่องที่ทุกคนควรได้รับรู้ และควรจะร่วมแก้ปัญหาที่

ได้รู้เห็น จะเป็นเรื่องอะไรล่ะ เรื่องนั้นเล็กหรือใหญ่ไม่สำาคัญ

แต่อยู่ที่ว่าทำาเรื่องนั้นเพื่ออะไร ตามงานประกวดภาพที่เห็น

กันอยู่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีว่า มุมมองของช่างภาพกระแส

หลักเป็นอย่างไร ผมยังไม่เห็นภาพที่สื่อความหมายในเมือง

ไทยสักเท่าไร อาจเพราะวงการเป็นอย่างนี้ทำาให้งานพัฒนา

ไปได้ยาก

“เนื่องจากภาพถ่ายมันบิดเบือนความจริงได้น้อยที่สุด สิ่งที่อยู่

ในภาพ มันคือสิ่งที่เราเห็น แล้วเราถ่ายถอดออกมา โอเค ..บาง

คนที่เขาถ่ายภาพไปในเชิงศิลปะก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ถ่ายภาพ

ในเชิงสารคดี เราต้องพยายามที่จะเก็บความเป็นจริงให้มาก

ที่สุด เพื่อสื่อสารให้คนได้เห็นว่า โลกหรือสิ่งที่เราเห็นมันเป็น

อย่างไร”

ล่าสุดสารคดีและภาพถ่ายชุด “โรฮิงญา...บนเส้นทางสุดขอบ

โลก” นำาเราไปรับรู้ถึงชีวิตที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของ

ชาวโรฮิงญา ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่มีถิ่นฐานอยู่ในรัฐอารกัน

หรือยะไข่ของพม่า ผู้ที่รัฐบาลพม่าและยะไข่อ้างว่าเป็นชาวบัง

คลาเทศที่เข้าเมืองผิดกฎหมายในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ขณะ

ที่ชาวโรฮิงญายืนยันว่าพวกเขามีประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ที่นี่มา

เป็นพันปีแล้ว

ความเป็นมาที่ไม่ชัดเจนเป็นเหตุที่ทำาให้โรฮิงญาเกิดความทุกข์

เข็นเช่นทุกวันนี้ รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับพวกเขาเป็นหนึ่งใน 135

ชนเผ่าของพม่า รวมทั้งได้สร้างกฎเกณฑ์และริดรอนสิทธิต่างๆ

เพื่อบีบให้พวกเขาออกไปอยู่นอกประเทศ

“แรกเริ่มผมก็เหมือนกับคนไทยทั่วไปที่สนใจเรื่องราวของ

โรฮิงญา จากข่าว บางรู้ว่าพวกเขาล่องเรือมาทางภาคใต้ แล้ว

ก็ถูกจับ แล้วเริ่มสนใจว่าพวกเขาเหล่านี้เป็นใคร มาจากไหน

ทำาไมเขาต้องมา และต้องละทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนมาเพื่ออะไร

กันแน่ พอเริ่มสนใจก็เลยเริ่มศึกษาค้นคว้า รวมถึงได้รับรู้ข้อมูล

จากองค์กรที่ทำางานเกี่ยวกับเรื่อง โรฮิงญา มากว่า 20 ปี ต่อมา

เมื่อรู้ข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเห็นว่าเรื่องของโรฮิงญาเป็นเรื่อง

ที่สำาคัญมาก คนประมาณ 3 ล้านคน ไม่มีสถานะของความเป็น

มนุษย์อยู่เลย ไม่มีประเทศไหนต้องการ ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ

ไม่ได้ ต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ มีแต่ความหวาดกลัว และไม่

เคยไว้ใจใครเลย

ผมมีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ควรมีการนำาเสนอออกมาให้

มันจริงจัง ไม่ใช่เป็นข่าวประเดี๋ยวประด๋าว อยากให้เกิดการแก้

ปัญหา ถึงตอนนั้นไม่จำาเป็นต้องมีประเทศไหนรับพวกเขาเป็น

ประชากรของประเทศของตัวเองก็ได้ เพียงแต่ให้โอกาสพวก

เขาได้มีสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์เหมือนคนทั่วไป สามารถที่จะไป

ไหนมาไหนก็ได้ สิทธิที่จะมีบ้านอยู่ ไม่ใช่คน 3 ล้านคนไม่มีบ้าน

“โรฮิงญา...บนเส้นทางสุดขอบโลก”

Page 5: suthep

:ภาพถ่ายภาพหนึ่ง คุณหวังว่ามันจะ‘ทำาหน้าที่’แค่ไหน

ผมเชื่อนะว่า ถ้ามันเป็นภาพที่ดี ที่มีความหมาย มีการนำา

เสนอที่ถูกต้อง และมันสามารถเข้าไปถึงผู้มีอำานาจในการ

ตัดสินใจและเขากล้าทำาในสิ่งที่ถูก ก็สามารถเปลี่ยน-แปลง

อะไรได้ ไม่ใช่แค่ภาพถ่าย แต่รวมถึงงานศิลป์ทุกแขนง ช่าง

ภาพทุกคนผมว่าฝีมือน่ะมี แต่จะเอาให้ได้คอนเซปต์ด้วย

เอาแบบมานำาเสนอได้ด้วย ตรงนี้ต้องหาสิ่งที่สำาคัญกว่า จะ

ถ่ายภาพให้สวยสักภาพหรือสักเรื่องก็ถ่ายได้ แต่จะให้เรื่อง

นั้นน่าสนใจด้วย เอาแบบนำาเสนอในเมืองไทยได้ ขายทั่วโลก

ได้ เป็นเรื่องที่ทุกคนควรได้รับรู้ และควรจะร่วมแก้ปัญหาที่

ได้รู้เห็น จะเป็นเรื่องอะไรล่ะ เรื่องนั้นเล็กหรือใหญ่ไม่สำาคัญ

แต่อยู่ที่ว่าทำาเรื่องนั้นเพื่ออะไร ตามงานประกวดภาพที่เห็น

กันอยู่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีว่า มุมมองของช่างภาพกระแส

หลักเป็นอย่างไร ผมยังไม่เห็นภาพที่สื่อความหมายในเมือง

ไทยสักเท่าไร อาจเพราะวงการเป็นอย่างนี้ทำาให้งานพัฒนา

ไปได้ยาก

:คุณให้ความสำาคัญกับความงามของภาพแค่ไหน

องค์ประกอบของภาพที่ดีคือหนึ่ง ต้องมีเรื่องราว ซึ่งเป็นสิ่ง

สำาคัญที่สุด อีกอย่างคือความงามทางศิลปะ ความงามตาม

ธรรมชาติมองเห็นง่าย แต่ความงามที่สร้างขึ้นจากเส้นสาย

อารมณ์ของคนเป็นอีกขั้นหนึ่ง แม้ภาพที่สื่ออารมณ์หดหู่ก็

ต้องมีองค์ประกอบของศิลปะแสงเงาเข้ามาช่วย

:คุณถ่ายภาพมาร่วมยี่สิบปี มีภาพไหนประทับใจที่สุด

มันไม่มีภาพไหนเป็นพิเศษ มีหลายช๊อตที่ถ่ายแล้วดี ได้เอา

ไปใช้ในงานรณรงค์ มันแล้วแต่ว่าประทับใจในแง่ไหน ถ้า

ประทับใจในแง่ส่วนตัวก็ภาพถ่ายครอบครัวเรา ลูกเราเพราะ

อย่างที่บอก ภาพถ่ายมันเป็นบันทึกความทรงจำา

:มีเรื่องหลังเลนส์อะไรจะเล่าให้คนดูภาพได้รับรู้อีกบ้าง

ทุกภาพที่เห็น คนถ่ายรูปพยายามสื่อความจริงออกมาให้

ตรงที่สุดแล้ว แต่เบื้องหลังคือการเสี่ยงอันตรายเพื่อจะนำา

ความจริงมาเสนอ บางคนใช้เวลาเป็นปีๆ เพื่อจะได้ภาพๆ

หนึ่งมา แต่คนดูภาพอาจไม่รู้ว่ามันได้มาอย่างไร

:ในความเห็นของคุณ การถ่ายภาพถือเป็นงานศิลปะไหม

แล้วแต่คนมอง ในระดับหนึ่งก็ใช่ แต่ต้องชั่งว่าอันไหน

สำาคัญกว่า งานประเภทนี้เรื่องราวมันก็ยังสำาคัญกว่า ศิลปะ

เป็นส่วนเสริมให้ภาพน่าดูมากขึ้น

:แล้วถือเป็นงานสร้างสรรค์ไหม

ผมว่าสร้างสรรค์สังคมมากกว่า ไม่ใช่สร้างสรรค์ในแง่

ของการสร้างภาพขึ้นมา ไม่ใช่ภาพลักษณะนั้น เป็นงาน

สร้างสรรค์ในเชิงคุณค่า

:มองปลายทางชีวิตช่างภาพของตัวเองอย่างไร

เป็นชีวิตหนึ่งที่เกิดมา ได้ทำาในสิ่งที่คิดว่าถนัดและรักมัน

ก่อนที่เราจะจากไป ได้ทิ้งอะไรที่เป็นประโยชน์กับคนใน

สังคมไว้บ้าง แค่นั้นก็โอ.เค.แล้ว แต่เราต้องอยู่รอดด้วย

ไม่ใช่ไปช่วยคนอื่น แต่ตัวเราอยู่ไม่ได้ อย่างนั้นใช้ไม่ได้

สุเทพ กฤษณาวารินทร์SUTHEP KRITSANAVARIN

Page 6: suthep

Cyclone Nagisสุเทพ กฤษณาวารินทร์SUTHEP KRITSANAVARIN

Page 7: suthep

สุเทพ กฤษณาวารินทร์SUTHEP KRITSANAVARIN

Page 8: suthep

Rohingyaสุเทพ กฤษณาวารินทร์SUTHEP KRITSANAVARIN

Page 9: suthep

สุเทพ กฤษณาวารินทร์SUTHEP KRITSANAVARIN

Page 10: suthep

สุเทพ กฤษณาวารินทร์SUTHEP KRITSANAVARIN

Page 11: suthep

Voice of Kauy Mahoutสุเทพ กฤษณาวารินทร์SUTHEP KRITSANAVARIN

Page 12: suthep

สุเทพ กฤษณาวารินทร์SUTHEP KRITSANAVARIN