tiwrm.haii.or.thtiwrm.haii.or.th/.../word_files/appendix_issue2-12ddpm-15nectec… · web...

215
ภภภภภภภ ภภภภ 2 : ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ กกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกก กกกกกก 6 กกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกก 267.8000 กกกกกกก กกกก กกก กกกก กกก กกกกกกกกกกก กก กกกกก (กก.) 36. ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ ภภภภภภภภภภภภภภภภภ 96.00 00 37. ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ ภภภภภภภภ ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ ภภภภภภภภภภภภ 16.30 00 38. ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ 3.800 0 39. ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ ภภภภภภ (Rescue Alerts) 70.00 00 40. ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ (E-Stock) 1.700 0 - 1 -

Upload: phamngoc

Post on 29-Aug-2019

220 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

จำนวน 6 โครงการ

งบประมาณรวมทั้งสิ้น 267.8000 ล้านบาท

หมายเลขโครงการ

ชื่อโครงการ

งบประมาณ (ลบ.)

36.

โครงการศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลสาธารณภัยด้านน้ำ

96.0000

37.

โครงการสนับสนุนการใช้ข้อมูลสารสนเทศระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติเพื่อการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่

16.3000

38.

โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและรูปแบบการประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ

3.8000

39.

โครงการระบบแจ้งเตือนการปฏิบัติการกู้ภัย (Rescue Alerts)

70.0000

40.

โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสิ่งของสำรองจ่าย (E-Stock)

1.7000

41.

โครงการจัดการมาตรฐานการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และการประเมินสถานการณ์อุทกภัย

80.0000

-------------------------------------------------------

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

ข้อเสนอกิจกรรมหลักที่ 1

โครงการศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลสาธารณภัยด้านน้ำ

จัดทำโดย

ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

1. ชื่อกิจกรรม : โครงการศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลสาธารณภัยด้านน้ำ

2. หน่วยงานเจ้าของโครงการ : ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย

3. หัวหน้าโครงการ : ชื่อ-สกุล นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร

ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย

โทรศัพท์ 02-637-3550 email [email protected]

4. ผู้ประสานงานโครงการ :ชื่อ-สกุล นายวรัตม์ มาประณีต

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์

โทรศัพท์02-637-3575 email [email protected]

5. ประเภทแผนพัฒนาระบบ : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะปกติ (N : Normal)

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะวิกฤต (C : Crisis)

ระบบสนับสนุนการพัฒนา/อนุรักษ์/ซ่อมบำรุง (D : Development)

ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (I : Infrastructure)

ข้อมูลด้านสาธารณภัยมีความจำเป็นอย่างมาก ในการนำมาใช้เพื่อการติดตามสถานการณ์ การวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ สามารถช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลด้านสาธารณภัยประกอบด้วย ข้อมูลจากหน่วยงานทางวิชาการ และข้อมูลในพื้นที่ประสบภัย ดังนั้น ระบบฐานข้อมูลที่ดี จึงต้องมีข้อมูลที่มีความแม่นยำ รวดเร็ว และมีค่าสถิติที่มากเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการคำนวณแนวโน้มสาธารณภัยในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้น เพื่อให้เกิดระบบฐานข้อมูลสาธารณภัยที่ครบถ้วน จึงจำเป็นต้องจัดให้มีระบบโปรแกรมในการรับรายงาน จัดเก็บนำเข้ามูล และสามารถช่วยประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจบริหารจัดการสาธารณภัยได้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ตลอด 24 ชั่วโมง

6. ลักษณะระบบงาน : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบกลาง

ระบบเฉพาะหน่วย

ระบบในพื้นที่

ศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยจะรวบรวมข้อมูลที่ได้รับการรายงานจากหน่วยงานวิชาการ และพื้นที่ประสบภัย โดยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่รายงานข้อมูลทาง Web Application ซึ่งเมื่อข้อมูลมีการนำเข้าสู่ระบบแล้ว หน่วยงานทุกระดับได้แก่ กรม ศูนย์ ปภ. เขต จังหวัด และสาขา จะสามารถติดตามสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด และใช้ข้อมูลในการวางแผนการบริหารจัดการสาธารณภัยได้อย่างเหมาะสม

7. สถานะของระบบปัจจุบัน

ขณะนี้ ปภ. มีระบบฐานข้อมูล MIS/GIS ที่ดำเนินโครงการตั้งแต่ ปี 2550 แต่เกิดการใช้งานน้อย การแสดงผลสรุปในภาพรวมยังมีข้อมีจำกัด ประมวลผลช้า และระบบเริ่มล้าสมัย นอกจากนี้ ในด้านของการประเมินความเสี่ยงเพื่อการวางแผนป้องกันยังไม่มีความสมบูรณ์ เนื่องจากไม่ได้นำค่าปัจจัยจากสภาพแวดล้อมในพื้นที่จริงมาร่วมในการวิเคราะห์ นอกจากนี้ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ตลอดจนแม่น้ำสายหลัก ทั่วประเทศ อุทกภัย ดินโคลนถล่ม ได้จัดเจ้าหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการประสานการปฏิบัติและเชื่อมโยงระบบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรธรณี รวมทั้งติดตามเว็บไซต์ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ แต่เป็นไปภายใต้ระบบเทคโนโลยีที่มีความเสถียรจำกัด ขาดระบบการประมวลและประเมินสถานการณ์ภัยด้านน้ำ ซึ่งส่งผลต่อการแจ้งเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยหรือการแจ้งเตือนภัยแก่พื้นที่ประสบภัย

โครงการที่เสนอจะดำเนินงานโดย (ใส่เครื่องหมาย )

ซ่อมบำรุงระบบเดิม

พัฒนาระบบเพิ่มเติม

พัฒนาระบบใหม่

เพื่อให้โครงการการพัฒนาศูนย์ข้อมูลสาธารณภัย สามารถใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรทำการพัฒนาระบบเพิ่มเติม ดังนี้ (1) พัฒนาระบบให้มีโปรแกรมคำนวณความเสี่ยงภัย โดยสามารถนำเข้าข้อมูลจากแหล่งวิชาการต่าง ๆ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา สสนก. กรมชลประทาน กรมการปกครอง กรมทรัพยากรธรณี มาประมวลผลเพื่อจัดทำแนวโน้มการเกิดสาธารณภัยและระบบเตือนภัยได้ (2) พัฒนาระบบให้มีการจัดทำรายงานโดยมีรูปแบบที่ช่วยในการตัดสินใจในสภาวะวิกฤตได้ (3) พัฒนาระบบการรายงานให้มีรูปแบบที่ทันสมัยลดความซับซ้อน และง่ายต่อการใช้งาน (4) พัฒนาระบบสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในภาคสนามหรือมีการสำรวจข้อมูลนอกสำนักงาน เช่น ระบบการรายงานทางช่องทางสมาร์ทโฟน

8. หลักการและเหตุผล

ข้อมูลด้านสาธารณภัยมีความจำเป็นอย่างมากในการนำมาใช้เพื่อการติดตามสถานการณ์ การวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ สามารถช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ระบบฐานข้อมูลจึงต้องมีความแม่นยำ ประกอบกับมีค่าสถิติที่มากเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการคำนวณแนวโน้มสาธารณภัยในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้แล้ว ยังต้องมีเป็นการรายงานที่มีความรวดเร็ว ฉับไว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ การได้รับข่าวสารหรือข้อมูลสาธารณภัยที่รวดเร็วและแม่นยำ ย่อมเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจวางแผนการบริหารจัดการสาธารณภัยในภาวะวิกฤตได้สอดคล้องกับภาวการณ์แท้จริง สามารถช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์สาธารณภัยว่าจะมีความรุนแรงขยายตัวเพิ่มขึ้นหรือไม่ ทำให้เกิดการเตรียมการป้องกันเพื่อลดผลกระทบได้อย่างเหมาะสม สามารถลดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินที่คาดว่าจะเกิดมีขึ้นได้ล่วงหน้า นอกจากนี้ ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและสมบูรณ์อยู่เสมอ สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาจุดเด่นจุดด้อยเพื่อปรับปรุงและแก้ไขกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถจัดการสาธารณภัยของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้เกิดระบบฐานข้อมูลสาธารณภัยที่ครบถ้วน เป็นระบบ มีค่าสถิติที่ถูกต้องครบถ้วน จึงจำเป็นต้องจัดให้มีนำเข้าข้อมูลสู่ระบบโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสาธารณภัยอย่างครบถ้วน โดยระบบจะต้องมีความทันสมัย มีความสามารถในการประมวลผล สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถจัดเก็บข้อมูล ค่าสถิติย้อนหลังสำคัญ ได้เป็นจำนวนมาก และพร้อมใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การได้รับข่าวสารหรือข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ ย่อมเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ก่อให้เกิดผลดีต่อหน่วยงานและเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด นั่นหมายถึงก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานหน่วยงานและส่งผลถึงประสิทธิภาพขององค์กรในระดับสูงขึ้นไปตามลำดับ จนถึงประสิทธิภาพระดับประเทศ องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและสมบูรณ์อยู่เสมอ สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาจุดเด่นจุดด้อยเพื่อปรับปรุงและแก้ไขกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถจัดการสาธารณภัยของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นคลังข้อมูลด้านสาธารณภัยแห่งชาติที่สมบูรณ์ ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการสาธารณภัยเพื่อการจัดการน้ำ และมีข้อมูลสารสนเทศในการประมวลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ และวางแผนได้ถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยภัยเพื่อการจัดการน้ำขึ้น โดยการสร้างความพร้อมให้แก่ ศูนย์ ปภ. เขต ควบคู่กับ ปภ. จังหวัด ปภ.สาขา ในพื้นที่รับผิดชอบ ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูลสาธารณภัยทั้งระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับสาขา สามารถประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สร้างความสามารถด้านการวิเคราะห์ ติดตาม โดยจัดให้มีระบบซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย สามารถประมวลผลได้สูง อยู่ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(เป็นระบบหลัก) และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 18 แห่ง (เป็นระบบสำรอง) มีการนิเทศงานด้านการจัดการข้อมูลสาธารณภัยโดยอาศัยระบบฐานข้อมูลสาธารณภัย MIS/GIS ทำให้เกิดศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยที่มีความพร้อมสามารถใช้งานในการบริหารจัดการภัยในทุกระดับ และเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ประชาชนทั่วไปได้เกิดการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที

9. วัตถุประสงค์

9.1เพื่อให้เกิดศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยเพื่อการจัดการน้ำที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพทั้งในระดับพื้นที่ โดยให้ศูนย์ ปภ. เขต เป็นแหล่งรวมข้อมูลด้านสาธารณภัยของจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบที่สมบูรณ์ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลทั่วประเทศกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9.2เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูลสาธารณภัยในพื้นที่ที่มีความสามารถใช้งานระบบข้อมูลสร้างความสามารถในการรายงานสถานการณ์สาธารณภัย ติดตาม และวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์สาธารณภัยได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และประสานงานระหว่างกันได้อย่างคล่องตัว

9.3เพื่อจัดหารระบบการตรวจสอบข้อมูล ติดตามข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ส่งผลให้การตัดสินใจของผู้อำนวยการในแต่ละระดับ ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี ในการบริหารจัดการสาธารณภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติด้านน้ำตลอด 24 ชั่วโมง

9.4เพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยเพื่อการจัดการน้ำ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยกระดับการบริหารจัดการสาธารณภัยด้านน้ำ (อุกทกภัย – ภัยแล้ง)

10. เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการ

10.1เป้าหมาย : มีระบบการวางแผนการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และแม่นยำ บนพื้นฐานของระบบฐานข้อมูลภัยพิบัติด้านน้ำที่เป็นมาตรฐานเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ

10.2ผลผลิตจากการดำเนินงาน : ระบบข้อมูลสาธารณภัยด้านน้ำเพื่อการบริหารจัดการ

10.3ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน : หน่วยงานทุกระดับทุกภาคส่วน สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัยได้

11. ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

11.1กลุ่มเป้าหมาย: ศูนย์ ปภ. เขต 18 แห่ง ปภ.จังหวัด 76 จังหวัด ปภ.สาขา 30 สาขา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลด้านการบริหารจัดการน้ำ

11.2ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: หน่วยงานด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยและประชาชน

11.3อิทธิพลที่มีต่อโครงการ: อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อการนำเข้าข้อมูล ระบบโปรแกรม และความสามารถในการรายงานข้อมูลของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติด้านน้ำ

12. ขั้นตอนการดำเนินงาน

12.1 ประชุมคณะทำงานออกแบบระบบศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยเพื่อการจัดการน้ำ การกำหนดค่าดัชนีความเสี่ยง การกำหนดกรอบข้อมูล การจัดทำโมเดล ตัวแปรค่าระบบต่างๆ

12.2 จัดทำระบบศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยเพื่อการจัดการน้ำ ดำเนินการติดตั้งเครื่องมือและระบบให้ทุกระดับ

12.3 ปรับปรุงห้องปฏิบัติการภัยพิบัติด้านน้ำ และติดตั้งระบบประมวลผล

12.4 จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูลสาธารณภัย และประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงการใช้งานให้คลอดคล้องเหมาะสม

12.5 ตรวจติดตามความก้าวหน้าการใช้งานระบบ การนำเข้าข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลสาธารณภัยทุกรูปแบบ

13. แผนการดำเนินงาน

รายละเอียด/กิจกรรมหลัก

ระยะเวลาการดำเนินงาน

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

1) จัดประชุมคณะทำงานออกแบบระบบ

2) จัดทำระบบและติดตั้ง

3) ปรับปรุงห้องปฏิบัติการภัยพิบัติด้านน้ำอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนความเห็น

4) อบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนความเห็น

5) ตรวจติดตามความก้าวหน้าการใช้งานระบบ

14. งบประมาณโครงการ

หน่วย : ล้านบาท

ประเภทงบรายจ่าย

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

รวม

งบลงทุน

50

50

งบดำเนินงาน

16

15

15

46

รวม

66

15

15

96

15. การติดตามและประเมินผล

15.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : ระบบข้อมูลสาธารณภัยหลัก / ระบบข้อมูลสาธารณภัยสำรอง 18 แห่ง / เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับจังหวัดรายงานข้อมูล 76 จังหวัด และ 30 สาขา

15.2 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : มีข้อมูลสถิติสาธารณภัยที่ทันเหตุการณ์ สามารถใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงสาธารณภัยได้อย่างแม่นยำ และใช้เป็นข้อมูลในการช่วยบริหารจัดการสาธารณภัยได้ในภาวะวิกฤต

16. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

16.1 มีศูนย์ข้อมูลสาธารณภัยที่แหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศสาธารณภัย ในระดับพื้นที่ที่สมบูรณ์ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

16.2 มีระบบการรายงานข้อมูลสาธารณภัยที่เข้มแข็ง มีฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ สามารถนำข้อมูลสารสนเทศมาวิเคราะห์และตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านการบริหารและการจัดการด้านสาธารณภัยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

16.3 มีศูนย์ปฏิบัติการภัยพิบัติด้านน้ำที่สามารถใช้งานด้านการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ อย่างแท้จริง สามารถเผยแพร่แก่องค์กร หน่วยงาน และบุคคลต่างๆ ที่ประสงค์จะนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

ข้อเสนอกิจกรรมหลักที่ 2

โครงการสนับสนุนการใช้ข้อมูลสารสนเทศระบบข้อมูล

สาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อการบริหารจัดการภัยพิบัติด้านน้ำในระดับพื้นที่

จัดทำโดย

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

1. ชื่อกิจกรรม : โครงการสนับสนุนการใช้ข้อมูลสารสนเทศระบบข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติเพื่อการบริหารจัดการภัยพิบัติด้านน้ำในระดับพื้นที่

2. หน่วยงานเจ้าของโครงการ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

3. หัวหน้าโครงการ :ชื่อ-สกุล นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

โทรศัพท์....................................................... email ………………………………….…….

4. ผู้ประสานงานโครงการ :ชื่อ-สกุล นายน้ำมนต์ ตาลลักษณ์

ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ

โทรศัพท์ 026373605 email [email protected]

5. ประเภทแผนพัฒนาระบบ : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะปกติ (N : Normal)

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะวิกฤต (C : Crisis)

ระบบสนับสนุนการพัฒนา/อนุรักษ์/ซ่อมบำรุง (D : Development)

ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (I : Infrastructure)

6. ลักษณะระบบงาน : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบกลาง

ระบบเฉพาะหน่วย

ระบบในพื้นที่

ระบบ Web Application ข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ ภายใต้ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

7. สถานของระบบปัจจุบัน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีการพัฒนาระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านสาธารณภัยของประเทศ โดยมีการบูรณการข้อมูลด้านสาธารณภัยจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในมิติของการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัย การตอบโต้สถานการณ์ระหว่างเกิดภัย การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังเกิดภัย เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนทั่วไป

(เอกสารรายละเอียดระบบ/ผังระบบ) http://dpmapp.disaster.go.th/

โครงการที่เสนอจะดำเนินงานโดย (ใส่เครื่องหมาย )

ซ่อมบำรุงระบบเดิม

พัฒนาระบบเพิ่มเติม

พัฒนาระบบใหม่

8. หลักการและเหตุผล

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีการพัฒนาระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านสาธารณภัยของประเทศ โดยมีการบูรณการข้อมูลด้านสาธารณภัยจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในมิติของการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัย การตอบโต้สถานการณ์ระหว่างเกิดภัย การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังเกิดภัย เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนทั่วไป แต่การบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ จำเป็นต้องบูรณการข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงานและบุคลากรในพื้นที่เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในทุกมิติ ซึ่งข้อมูลระดับพื้นที่บางส่วนไม่มีการเชื่อมโยงอยู่ในระบบคลังข้อมูลสาธารณภัย เช่น ข้อมูลระดับน้ำที่ตรวจวัดโดยเจ้าหน้าที่ ข้อมูลประชากรในพื้นที่ หรือข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่ จึงจำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ที่สามารถบูรณการข้อมูลในระดับพื้นที่เข้ากับข้อมูลสารสนเทศจากระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ ที่เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศระดับประเทศจากหน่วยงานต่างๆ มาใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในในทุกมิติ

9. วัตถุประสงค์

9.1เพื่อสนับสนุนการใช้ข้อมูลสารสนเทศระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ สำหรับบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่

9.2เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ภายใต้ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

10. เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการ

10.1เป้าหมาย : หน่วยงานระดับศูนย์เขต และระดับภูมิภาค มีระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ ภายใต้ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

10.2ผลผลิตจากการดำเนินงาน : ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ ภายใต้ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

10.3ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน : หน่วยงานจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ มีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานได้ครอบคลุมทุกมิติของการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่

11. ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

11.1กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่

11.2ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณภัย ผู้ประสบภัย และประชาชนทั่วไปในพื้นที่

11.3อิทธิพลที่มีต่อโครงการ : .......................................................................................................................................................................................................................................................................

12. ขั้นตอนการดำเนินงาน

1) พัฒนา/ปรับปรุงระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ ภายใต้ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

2) ส่งเสริมบุคลากรในระดับพื้นที่ใช้งานระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และระดับจังหวัด

13. แผนการดำเนินงาน

รายละเอียด/กิจกรรมหลัก

ระยะเวลาการดำเนินงาน

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

1. พัฒนา/ปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ (ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1-18)

2. พัฒนา/ปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ (สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 77 จังหวัด)

3. พัฒนา/ปรับปรุงระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

14. งบประมาณโครงการ

หน่วย : ล้านบาท

ประเภทงบรายจ่าย

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

รวม

งบลงทุน

5.000

5.000

งบดำเนินงาน

3.600

4.000

3.700

11.300

รวม

3.600

4.000

8.700

16.300

15. การติดตามและประเมินผล

15.1ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : จำนวนหน่วยงานระดับศูนย์เขต / จังหวัด ที่มีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยระดับพื้นที่ ภายใต้ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

15.2ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยระดับพื้นที่ ภายใต้ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

16. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

16.1 หน่วยงานระดับพื้นที่มีระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับพื้นที่ ภายใต้ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ

16.2ระบบคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติ มีข้อมูลสาธารณภัยที่ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบัน

16.3หน่วยงานส่วนกลาง หน่วยงานที่เกี่ยวกับข้องกับการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับประเทศ หน่วยงานเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และประชาชนทั่วไป มีแหล่งข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณภัยที่ครอบคลุมครบถ้วน ทั้งในระดับพื้นที่ ระดับประเทศ

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

ข้อเสนอกิจกรรมหลักที่ 3

โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและรูปแบบการประเมิน

ความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ

จัดทำโดย

สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

1. ชื่อโครงการ : โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและรูปแบบการประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

2. หน่วยงานเจ้าของโครงการ : สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ

3. หัวหน้าโครงการ :ชื่อ-สกุล นางนุชนาถ ประสพทรัพย์

ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ

โทรศัพท์ 02-6373652 email [email protected]

4. ผู้ประสานงานโครงการ :ชื่อ-สกุล นางประภัสสร นิลโชติ

ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

โทรศัพท์ 02-6373670 email [email protected]

5. ประเภทแผนพัฒนาระบบ : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะปกติ (N : Normal)

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะวิกฤต (C : Crisis)

ระบบสนับสนุนการพัฒนา/อนุรักษ์/ซ่อมบำรุง (D : Development)

ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (I : Infrastructure)

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะวิกฤต (C : Crisis) และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่จำเป็นในการวิเคราะห์และประเมินความต้องการช่วยเหลือประชาชน และศึกษารูปแบบการประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย พื้นที่เสี่ยงภัยอย่างเป็นระบบ โดยการออกแบบและพัฒนาระบบนำเข้าข้อมูลที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการตัดสินใจด้านต่าง ๆ เช่น จำนวนประชากร สภาพพื้นที่ การแจ้งเตือนภัย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อใช้ในการวางแผนจัดการทรัพยากรและนำเข้าข้อมูลที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการตัดสินใจ และเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (GIS Database) เพื่อการพัฒนาระบบวิเคราะห์และประเมินผลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Application) และเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา สภาพพื้นที่ เสี่ยงภัย ที่มีความแตกต่าง ความรุนแรงของภัยพิบัติ ทำให้สามารถวางแผนในการบริหารจัดการและการตัดสินใจ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัยในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ลักษณะระบบงาน : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบกลาง

ระบบเฉพาะหน่วย

ระบบในพื้นที่

แก้ไขและปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมที่เป็นข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่เสี่ยงภัย และพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถรองรับการจัดเก็บหรือการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณภัย ข้อมูลความต้องการช่วยเหลือของผู้ประสบภัย เพื่อเชื่อมโยงไปยังคลังข้อมูลสาธารณภัย

7. สถานะของระบบปัจจุบัน

การพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมที่เป็นข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่เสี่ยงภัยอุทกภัยและดินโคลนถล่มในรูปไฟล์เอกสาร

โครงการที่เสนอจะดำเนินงานโดย (ใส่เครื่องหมาย )

ซ่อมบำรุงระบบเดิม

พัฒนาระบบเพิ่มเติม

พัฒนาระบบใหม่

แก้ไขและปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมที่เป็นข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่เสี่ยงภัย โดยดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสำรวจและบริหารจัดการข้อมูลพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดอุทกภัย เพื่อให้สามารถรองรับการจัดเก็บหรือการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณภัย ข้อมูลความต้องการช่วยเหลือของผู้ประสบภัยเชื่อมโยงไปยังคลังข้อมูลสาธารณภัย และศึกษารูปแบบการประเมินความต้องการผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ

8. หลักการและเหตุผล

การพัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลเดิมที่เป็นข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่เสี่ยงภัย และพัฒนาระบบเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจ และศึกษารูปแบบการประเมินความต้องการของผู้ประสบภัย เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน มูลนิธิ และองค์กรเครือข่ายสามารถให้ความช่วยเหลือตรงตามความต้องการ ของผู้ประสบภัยในพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม

9. วัตถุประสงค์

9.1เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินความต้องการจากภัยพิบัติ และเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการภัยพิบัติของประเทศ

9.2เพื่อพัฒนาระบบนำเข้าข้อมูลพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยสำหรับหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ให้สามารถตรวจสอบและรายงานผลการนำเข้าข้อมูลในแต่ละพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุทกภัย

9.3เพื่อศึกษารูปแบบในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ตามความต้องการและเหมาะสม

9.4เพื่อให้มีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้ตรงตามความต้องการและตามความเหมาะสมในพื้นที่ที่ประสบภัย

10. เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการ

10.1เป้าหมาย : พัฒนาระบบฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุทกภัย เพื่อใช้ในการประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และรูปแบบการประเมินความต้องการของผู้ประสบภัย

10.2ผลผลิต : ได้ฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการประเมินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

10.3ผลผลิตจากการดำเนินงาน :

· ได้รูปแบบการประเมินความต้องการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

· ได้ฐานข้อมูลที่เป็นข้อมูลปัจจุบัน

11. ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

11.1กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติ

11.2ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : หน่วยงานของรัฐ/เอกชน มูลนิธิ และองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

11.3อิทธิพลที่มีต่อโครงการ : ความแตกต่างของสภาพพื้นที่

12. ขั้นตอนการดำเนินงาน

ศึกษาและวิเคราะห์ สำรวจและปรับปรุงข้อมูลในจังหวัดพื้นที่เสี่ยงภัย การออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูล และการศึกษารูปแบบการประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

13. แผนการดำเนินงาน

รายละเอียด/กิจกรรมหลัก

ระยะเวลาการดำเนินงาน

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

1. ศึกษาค้นคว้า แนวคิด ทฤษฎี

2. สำรวจข้อมูลพื้นฐานความต้องการของผู้ประสบภัย

3. ปรับปรุงและพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่จำเป็นในการวิเคราะห์ เพื่อใช้ประเมินผลความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

4. วิเคราะห์ ประมวลผลการศึกษาฐานข้อมูลและรูปแบบฯ

5. จัดอบรมหน่วยงาน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการใช้ข้อมูล (ระบบนำเข้าข้อมูลและเรียกใช้ข้อมูล)

6. จัดทำเอกสารผลการศึกษา

7. เผยแพร่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

14. งบประมาณโครงการ

หน่วย : ล้านบาท

ปีที่ 1

ปีที่ 2

ปีที่ 3

รวม

งบประมาณ

3,8000,000.-

-

-

3,800,000.-

15. การติดตามและประเมินผล

15.1แนวทางการติดตามประเมินผล : แต่งตั้งคณะทำงานติดตามประเมินผล

15.2ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูลและรูปแบบ ในการประเมินความต้องการ ช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย

16. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

16.1มีระบบฐานข้อมูลที่จำเป็นในการวิเคราะห์ เพื่อประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

16.2รูปแบบในการประเมินความต้องการที่ตรงตามความต้องการและเหมาะสม สามารถใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนการตัดสินใจ

16.3หน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนและจัดการสาธารณภัยได้

ภาคผนวก

ประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและศึกษารูปแบบการประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

กิจกรรมการดำเนินงาน

· ศึกษาวิเคราะห์หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องและพัฒนาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และสนับสนุนการประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และจัดทำรูปแบบการประเมิน ความต้องการการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

· ติดตั้งและทดสอบระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น

· จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการสำรวจข้อมูล

· จัดทำแผนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและท้องถิ่นในพื้นที่ต้นแบบ รวมถึง สรุปประเมินผลการดำเนินการฝึกอบรม

· จัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่ให้หน่วยงาน และองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียด

งบประมาณ/บาท

1. ศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศและฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และสนับสนุนการประเมินความต้องการ

320,000

2. ค่าออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

300,000

- ระบบนำเข้าข้อมูลผลการสำรวจ

- ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูล

- ระบบวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

- ค่าดูแลระบบระยะเวลา 1 ปี (ภายหลังส่งมอบงาน)

800,000

3. ศึกษารูปแบบการประเมินความต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

830,000

4. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมในพื้นที่ส่วนภูมิภาคสำหรับเจ้าหน้าที่ ปภ.

750,000

5. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ต้นแบบ 2 จังหวัด

600,000

6. ค่าดำเนินการในการบริหารโครงการ

200,000

รวม

3,800,000

รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น (สามล้านแปดแสนบาทถ้วน)

ข้อมูลโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

ข้อเสนอกิจกรรมหลักที่ 4

โครงการระบบแจ้งเตือนการปฏิบัติการกู้ภัย

จัดทำโดย

ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

1. ชื่อกิจกรรม : โครงการระบบแจ้งเตือนการปฏิบัติการกู้ภัย

2. หน่วยงานเจ้าของโครงการ : ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

3. หัวหน้าโครงการ : ชื่อ-สกุล นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร

ตำแหน่ง ผู้อำนวยศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย

โทรศัพท์ 0 2637 3550

4. ผู้ประสานงานโครงการ : ชื่อ - สกุล นายพีรพงษ์ หมื่นผ่อง

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการ

โทรศัพท์ 0 2637 3565

5. ประเภทแผนพัฒนาระบบ : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะปกติ (N : Normal)

· ระบบการบริหารในภาวะวิกฤต (C : Crisis)

· ระบบสนับสนุนการพัฒนา/อนุรักษ์/ซ่อมบำรุง (D : Development)

ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (I : Infrastructure)

6. ลักษณะงาน : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบกลาง

· ระบบเฉพาะหน่วย

· ระบบในพื้นที่

การจัดทำระบบแจ้งเตือนหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่ประสบเหตุ เพื่อระดมการให้ความช่วยเหลือ และติดตามโดยการใช้พิกัดแผนที่ในการเชื่อมโยงข้อมูลพื้นที่เกิดเหตุ กับหน่วยการให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) หนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย (OTOS) และ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)

7. สถานะของระบบปัจจุบัน

เมื่อเกิดเหตุการณ์สาธารณภัยฉุกเฉิน พื้นที่ประสบเหตุจะมีการประสานร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งมีขั้นตอนการประสานงานหลายขั้นตอน เกิดความล่าช้าในการเข้าให้ความช่วยเหลือ และบางครั้งเจ้าหน้าที่ไม่ชำนาญเส้นทาง ทำให้ไม่สามารถไปถึงพื้นที่ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว

โครงการที่เสนอจะดำเนินงานโดย (ใส่เครื่องหมาย )

ซ่อมบำรุงระบบเดิม

พัฒนาระบบเพิ่มเติม

พัฒนาระบบใหม่

8. หลักการและเหตุผล

ในการเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนนั้น หากเจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถเข้าให้ความช่วยเหลือได้ด้วยความรวดเร็ว ก็จะช่วยลดผลกระทบและความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินอันมีค่าของประชาชนได้ ซึ่งในการประสานขอความช่วยเหลือมาทางราชการอาจมีขั้นตอนหลายขั้นตอน อาจทำให้มีความล่าช้า ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเวลา อีกทั้ง การร้องขอความช่วยเหลือในบางพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ไม่มีความชำนาญเส้นทาง ก็อาจทำให้เสียเวลาในการเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ได้

ดังนั้น หากมีระบบแจ้งเตือนการปฏิบัติการกู้ภัย (Rescue Alerts) จะช่วยให้ประชาชนสามารถร้องขอความช่วยเหลือได้ทันที โดยระบบจะเป็นตัวแจ้งพิกัด และค้นหาหน่วยกู้ภัยหรือเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงที่สุด และแจ้งเตือนอัตโนมัติให้แก่เจ้าหน้าที่ได้ทราบและตอบรับการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่กู้ภัยจะสามารถทราบพิกัดที่เกิดเหตุ และสามารถติดตามเข้าให้การช่วยเหลือได้ทันการณ์ นอกจากนี้ ผู้บริหารก็ยังสามารถติดตามการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ได้ และสามารถสั่งการให้เหมาะสมกับสภาพสถานการณ์ โดยการจัดสรรทรัพยากร กำลังพลเจ้าหน้าที่ ให้เหมาะสมทำให้การบริหารจัดการสาธารณภัยเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

9. วัตถุประสงค์

9.1เพื่อให้มีระบบในการแจ้งพิกัดพื้นที่ประสบภัย ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามเส้นทางในการเข้าไปให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

9.2เพื่อให้มีระบบการสั่งการแบบ real time และผู้บริหารสามารถติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เกิดเหตุได้ และสามารถใช้ในการตัดสินวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรเจ้าหน้าที่กู้ภัย และเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม

9.3เพื่อให้มีระบบการแจ้งเตือนหน่วยปฏิบัติให้ทราบ และสามารถปฏิบัติการการให้ความช่วยเหลือได้ทันที

10. เป้าหมายและผลลัพธ์ของโครงการ

10.1เป้าหมาย : เพื่อให้เกิดระบบการแจ้งเตือนการปฏิบัติการ ที่เป็นระบบรับข้อมูลการร้องขอความช่วยเหลือของพื้นที่ประสบภัย ทำให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถทราบตำแหน่งและเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ได้ทันที

10.2ผลผลิตจากการดำเนินงาน : ประเทศไทยมีระบบที่มีประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนการปฏิบัติการได้

10.3ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน : หน่วยงานด้านการปฏิบัติการกู้ภัย มีระบบการแจ้งเตือนการร้องขอความช่วยเหลือของพื้นที่ประสบเหตุที่ทราบพิกัดจุดที่เกิดเหตุได้อย่างชัดเจน

11. ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

11.1กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงานด้านการปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย และประชาชนทั่วไป

11.2ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : หน่วยงานด้านการปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัย และประชาชน

11.3อิทธิพลที่มีต่อโครงการ : ความสามารถในการใช้ระบบเครื่องมือของเจ้าหน้าที่

12. ขั้นตอนการดำเนินงาน

12.1ประชุมคณะกรรมการออกแบบระบบแจ้งเตือนการปฏิบัติการกู้ภัย (Rescue Alerts)

12.2ติดตั้งระบบแจ้งเตือนการปฏิบัติการกู้ภัย (Rescue Alerts) ทดสอบการใช้งานระบบในหน่วยงานนำร่อง ได้แก่ ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) หนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย (OTOS) และ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)

12.3ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อซักซ้อมแนวทางการใช้งานระบบแจ้งเตือนการปฏิบัติการกู้ภัย

12.4จัดทำสำรวจความเห็นการใช้งาน และทำการปรับปรุง พัฒนาระบบ

12.5เปิดใช้งานระบบแจ้งเตือนการปฏิบัติการกู้ภัยอย่างเต็มรูปแบบ

12.6 พัฒนาระบบให้ทันสมัยและแพร่หลาย

13. แผนการดำเนินงาน

รายละเอียด/กิจกรรมหลัก

ระยะเวลาการดำเนินงาน

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ประชุมคณะกรรมการออกแบบระบบ

ติดตั้งระบบแจ้งและทดสอบการใช้งาน

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อซักซ้อม

จัดทำสำรวจความเห็นและปรับปรุงระบบ

เปิดใช้งานระบบแจ้งเตือนฯ

พัฒนาระบบให้ทันสมัยและแพร่หลาย

14. งบประมาณโครงการ

หน่วย : ล้านบาท

ประเภทงบรายจ่าย

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

รวม

งบลงทุน

งบดำเนินงาน

30

20

20

70

รวม

30

20

20

70

15. การติดตามและประเมินผล

15.1ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : หน่วยงานนำร่อง (ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) หนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ชีพกู้ภัย (OTOS) และ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) มีการติดตั้งระบบเพื่อรองรับการใช้งาน

15.2ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : หน่วยงานนำร่องสามารถปฏิบัติการกู้ภัยได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดผลกระทบและความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

16. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

16.1ประชาชนสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้รวดเร็ว และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าให้ความช่วยเหลือ สามารถลดความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

16.2มีระบบการสั่งการแบบ real time และผู้บริหารสามารถติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เกิดเหตุได้ และสามารถใช้ในการตัดสินวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรเจ้าหน้าที่กู้ภัย และเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

ข้อเสนอกิจกรรมหลักที่ 5

โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสิ่งของสำรองจ่าย (E-Stock)

จัดทำโดย

สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข้อเสนอโครงการ

ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ

1. ชื่อกิจกรรม : โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสิ่งของสำรองจ่าย (E-Stock)

2. หน่วยงานเจ้าของโครงการ : สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย

3. หัวหน้าโครงการ :ชื่อ-สกุล นายปิยะ วงศ์ลือชา

ตำแหน่ง นิติกรชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่ง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ รักษาราชการแทน

ผู้อำนวยการสำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย

โทรศัพท์ 02-6373502email -

4. ผู้ประสานงานโครงการ :ชื่อ-สกุล นายกลวัชร ทรัพย์ส่งสุข

ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ

ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการส่วนสนับสนุนและบริการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

โทรศัพท์ 02-6373503 email : [email protected]

ชื่อ-สกุล นายสรพงษ์ เศรษฐสนิท

ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ

โทรศัพท์ 02-6373516 email : [email protected]

5. ประเภทแผนพัฒนาระบบ : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบสนับสนุนการบริหารในภาวะปกติ (N : Normal)

ระบบการบริหารในภาวะวิกฤต

ระบบสนับสนุนการพัฒนา/อนุรักษ์/ซ่อมบำรุง (D : development)

ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (I : Infrastructure)

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสิ่งของสำรองจ่าย (E-Stock) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นการดำเนินการพัฒนา Web Application ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ฐานข้อมูล ทั้งในส่วนของการบันทึกข้อมูล การสืบค้นข้อมูล และการนำเสนอรายงานข้อมูลสถานะความมีอยู่ของสิ่งของสำรอง การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย การใช้จ่ายวงเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน สถานะความมีอยู่ของสิ่งของบริจาค รวมถึงแผนที่การเดินทาง สามารถใช้งานผ่าน Web Browser โดย ทำงานร่วมกันกับระบบแผนที่เดิมของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน โดยมุ่งหมายให้สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ในระบบมาสนับสนุนการบริหารจัดการภัยพิบัติ ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับภัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

6. ลักษณะระบบงาน : (ใส่เครื่องหมาย )

ระบบกลาง

ระบบเฉพาะหน่วย

ระบบในพื้นที่

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสิ่งของสำรองจ่าย (E-Stock) ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นระบบที่มีการรวบรวมข้อมูลระดับจังหวัดเกี่ยวกับการการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประ�