· web viewในป พ.ศ. 2464 การประกาศใช พระราชบ ญญ...

45
รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร “รรรรรรรร รรรรรรรร” รรรรรรรรรรร “รรรรรรรรรรรรรรรรร” รรรรรรรรรร รรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรร รรรรรร รรรรรรรรรรร รรรรรรรรรร รรรร 512012054 รรรรรร 801 รรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรร รรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรร 2554/2 รรรรรรรรรรรรรรรรรรรร

Upload: others

Post on 29-Dec-2019

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

รายงานกระบวนวิชากฎหมายกับสังคม

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสมรสจากรูปแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย”

ไปสู่รูปแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทย และ

การเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวในสังคมไทย

จัดทำโดย

นางสาว ประทินทิพย์ วิรุณพันธ์ รหัส 512012054 เซคชัน 801

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เสนอต่อ

อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคการศึกษาที่ 2554/2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายกับสังคม ซึ่งจะบอกเล่าเรื่องราวอันเกี่ยวกับ 3 ประเด็นของการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยกับประเด็นในทางกฎหมาย อันได้แก่เรื่อง ความเหลื่อมล้ำด้านโครงสร้างภาษี การเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวในสังคมไทย และ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสมรสจากรูปแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” ไปสู่รูปแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทย ให้ได้เห็นบทบาทของกฎหมายต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อควรพิจารณาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ

รายงานฉบับนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของผู้จัดทำที่จะรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ รวมถึงหนังสือหลากหลายแขนง เพื่อให้เห็นมุมมองหลากหลายด้านของการเปลี่ยนแปลง ผนวกกับแนวคิดด้านกฎหมายของผู้จัดทำ ที่จะสะท้อนให้เห็นนัยสำคัญของกฎหมายต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น อนึ่ง ผู้จัดทำขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านผู้ถ่ายทอดความรู้วิชากฎหมายและมุมมองประเด็นต่างๆในสังคม ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะนำสิ่งที่ได้นั้น นำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

ประทินทิพย์ วิรุณพันธ์

ผู้จัดทำ

สารบัญ

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสมรสจากรูปแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” ไปสู่รูปแบบ

“ผัวเดียวเมียเดียว”

สถาบันครอบครัวกับการสมรส1

สังคมไทยในอดีต2

การเปลี่ยนแปลงจากสังคม “ผัวเดียวหลายเมีย” ไปสู่รูปแบบ7

“ผัวเดียวเมียเดียว”

การเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวในสังคมไทย

พัฒนาการของสังคมไทยสู่ค่านิยมการมีลูกน้อย12

ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวในสังคมไทย13

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวในสังคมไทย20

ข้อเสนอแนะต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวในสังคมไทย31

บรรณานุกรม33

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสมรสจาก

รูปแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย”

ไปสู่รูปแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว”

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสมรสจากรูปแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” ไปสู่รูปแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว”ในสังคมไทย

ส ถ า บั น ค ร อ บ ค รั ว กั บ ก า ร ส ม ร ส

สถาบันครอบครัวเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของโครงสร้างสังคม ซึ่งเป็นสถาบันมูลฐานหรือเป็นสถาบันแรกของการวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ ที่เป็นหน่วยองค์การที่มีขนาดเล็กที่สุดของสังคม และ มีมาคู่กับสังคมมนุษย์ทุกยุค ทุกสมัยและทุกระดับของสังคม

สถาบันครอบครัวเป็นตัวแทนของสังคมในการให้กำเนิดสมาชิกใหม่ ให้การอบรมเลี้ยงดูและถ่ายทอดระเบียบแบบแผน ค่านิยม ปทัสถาน ของสังคมไปยังเด็กเพื่อให้เติบโตเป็นสมาชิกที่ทำหน้าที่ให้กับสังคมได้เต็มที่ ก่อนที่จะนำไปสู่การสร้างครอบครัวนั้น กระบวนการสุดท้ายที่จะนำไปสู่การสร้างครอบครัวนั้นคือ การสมรส โดยในแต่ละชาติแต่ละสังคมจะมีพิธีการและแบบแผนการสมรสแตกต่างกันออกไป ตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่กำหนดไว้ของชนในแต่ละชาติ สังคมในแต่ละสังคมจะมีบรรทัดฐาน ค่านิยม และวัฒนธรรมแตกต่างกัน รูปแบบการสมรสของแต่ละสังคมก็จะแตกต่างกันด้วย ซึ่งอาจแบ่งรูปแบบการสมรส เมื่อใช้การนับจำนวนคู่สมรสเป็นเกณฑ์ ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. แบบ Monogamy เป็นการสมรสแบบชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบการสมรสที่เป็นบรรทัดฐานในยุคสมัยใหม่ มีกฎหมายในรูปแบบของการจดทะเบียนสมรสได้เพียงคนเดียว

2. แบบ Polygamy เป็นการสมรสแบบที่ชายและหญิงสามารถมีคู่สมรสได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกัน ซึ่งแบ่งงออกเป็น 3 แบบได้แก่

2.1 Polygyny การสมรสที่เปิดโอกาสให้ชายมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน

2.2 Polyyandry การสมรสที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสามีได้หลายคนในเวลาเดียวกัน

2.3 Promiscuity การสมรสหมู่ กล่าวคือ ชายหญิงทุกคนมีฐานะเป็นสามีและภรรยาของทุกคน เป็นการสมรสแบบที่ชายหญิงสามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศกับใครก็ได้โดยไม่มีแบบแผน

สั ง ค ม ไ ท ย ใ น อ ดี ต

สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมแบบ “ ผัวเดียวหลายเมีย ” ชายไทยมักมีภรรยาหลายคนไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูง หรือชนชั้นธรรมดา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ กลไกทางสังคมที่หล่อหลอมให้คนในสังคมมีวัฒนธรรมความเชื่อในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง ตลอดจนกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ชายมีสถานะเหนือหญิงในหลายๆ ด้านเช่น ในสมัยอยุธยา กฎหมายลักษณะผัวเมียที่ตราขึ้นในปี พ.ศ. 1904 ได้เปิดโอกาสให้ชายมีภรรยาได้หลายคน และแบ่งประเภทภรรยาเป็น 3 ประเภทซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งสิ้น คือ 1) เมียกลางเมือง หมายถึง ภรรยาหลวง 2) เมียกลางนอก หมายถึง อนุภรรยาหรือเมียน้อย 3) เมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา หมายถึง หญิงที่มีทุกข์ยาก ชายไถ่ตัวมาเลี้ยงให้เป็นภรรยา หรือ อาจรวมถึงที่ถูกฉุดคร่ามาเป็นเมียและทาสรับใช้ รวมถึงกฎหมายยังเปิดโอกาสให้สามีสามารถขายบุตรและภรรยาเป็นทาสได้ซึ่งเป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้สังคมไทยมีค่านิยมการมีภรรยาหลายคน

ในกลุ่มชนชั้นสูง การมีภรรยามากสัมพันธ์ทางสถานะทางเศรษฐกิจและการเมือง ดังที่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมชเคยกล่าวว่า การที่กษัตริย์มีนางสนมหลายคนเป็นความต้องการเสริมอำนาจทางการเมืองของเหล่าขุนนาง โดยเอาสตรที่เป็นบุตรของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาเป็นเจ้าจอมการมีเจ้าจอมหลายคนเป็นเครื่องประดับบารมีและป้องกันการคิดกบฏของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

บรรทัดฐานนี้สะท้อนผ่านเนื้องานของสื่อในอดีต วรรณคดีไทยจำนวนไม่น้อยที่พระเอกมีภรรยาเป็นจำนวนมาก โดยสะท้อนให้เห็นได้ชัดในวรณคดีเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” ซึ่งตัวเอกอย่างขุนแผนนั้นได้ชื่อว่า เจ้าชู้มีเมียมาก เพราะนอกจากนางพิมพิลาไลย ซึ่งเป็นเมียเอกแล้ว ขุนแผนยังมีเมียอีกเต็มไปหมด ปีนหน้าต่างเข้ามาบ้าง แอบไปได้เสียแล้วพากลับมาที่บ้านบ้าง รวมถึง'พระอภัยมณี' ซึ่งมีเมียมาก ไม่ว่าจะเป็นนางผีเสื้อสมุทร นางเงือก นางสุวรรณมาลี นางละเวง สะท้อนให้เห็นถึงสังคมที่มีประเพณีให้ชายมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ในขณะที่วรรณคดีเรื่อง กากี หญิงจะถูกประนามและเป็นที่รังเกียจจากสังคมหากมีสามีหลายคน

รวมถึงสะท้อนให้เห็นถึง การผลิตวาทกรรมที่สร้างกรอบอำนาจว่า หญิงเป็นอย่างไร ชายเป็นอย่างไรในสังคมไทย โดยสถาปนาชุดความรู้ของตนในแบบที่ตนเองต้องการเพื่อควบคุมชนอีกกลุ่มให้มีสถานะที่ด้อยกว่า

สาเหตุของการเกิดสังคมที่มีประเพณีให้ชายมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกันในอดีตนั้น มาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องชายเป็นใหญ่ในอดีต มีอิทธิพลต่อการเกิดสังคมแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” เป็นอย่างมากและนับว่าถือเป็นรากแก้วของการเกิดสังคมแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” โครงสร้างสังคมที่ชายเป็นใหญ่ สร้างค่านิยมที่มองว่า ผู้ชายมีธรรมชาติของการมีคู่ได้มากกว่า 1 คน ในขณะที่ผู้หญิงถูกทำให้เชื่อว่า มีธรรมชาติของการมีคู่ได้ครั้งละคนเดียว รวมถึงความเชื่อว่าการมีภรรยาหลายคนเป็นการส่งเสริมฐานะทางสังคม รวมทั้งเป็นสัญญะแสดงถึงความสามารถในทางเศรษฐกิจและทางเพศ

ความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชายทางสรีระได้นำไปสู่ความเชื่อเรื่องชายเป็นใหญ่ ความแตกต่างดังกล่าวถูกมองว่าเป็นความแตกต่างที่มีมาตาม "ธรรมชาติ" ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และการที่สังคมเชื่อว่าผู้หญิงด้อยกว่าผู้ชายในเชิงความสามารถ สติปัญญาและพละกำลัง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดกลไกที่กีดกันผู้หญิงไม่ให้ผู้หญิงได้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพไว้อย่างซับซ้อนและแนบเนียน

ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีความแตกต่างจากผู้ชายได้นำไปสู่สถานะของผู้หญิงที่ด้อยกว่าผู้ชาย เช่น ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ไม่มีเหตุผลชอบใช้อารมณ์ นำไปสู่การที่สังคมไม่ยอมรับผู้หญิงให้เป็นผู้นำเพราะมีคุณสมบัติทางเพศที่ไม่เหมาะสม, ความเชื่อที่ผู้หญิงรู้สึกว่าด้อยกว่าชาย ความรู้สึกที่ต้องการพึ่งพิงผู้ชาย ความรู้สึกที่ต้องการมีผู้ชายในชีวิตเพื่อทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์ขึ้น ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงมีคุณสมบัติหรือความสามารถทางเพศในการดูแลผู้อื่น เช่น เด็ก คนแก่ ทำให้ ผู้หญิงต้องเป็นผู้รับบทบาทในการดูแลลูกและคนในครอบครัว ในขณะที่ผู้ชายถูกสะท้อนควบคู่กับการทำงานนอกบ้าน การเป็นผู้นำ และความเป็นผู้กล้า

แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างหญิงและชายในวัฒนธรรมไทย ที่ผู้หญิงถูกสอนให้ยอมรับความเป็นรองชายมาแต่เล็กแต่น้อย ทำให้ผู้หญิงจึงทนรับการเอารัดเอาเปรียบ การเหยียดหยามของผู้ชายได้อย่างไม่ปริปาก (นิธิ เอียวศรีวงศ์ ,2538 : 90) อันเป็นเหตุให้เกิดการยอมรับสังคมแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” โดยไม่ปริปากและบดบังความทุกข์ของผู้หญิงในสังคมไทย

สังคมชายเป็นใหญ่ในอดีตถูกตราให้เป็นรูปธรรมในรูปของกฎหมาย ซึ่งมีอิทธิพลในการสร้างบรรทัดฐานของสังคม “ผัวเดียวหลายเมีย” ในอดีตให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรมชาติของลักษณะการครองคู่ โดยนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้ชื่อกฎหมายว่า “พระไอยการลักษณผัวเมีย” ตราขึ้นเมื่อพ.ศ.1904 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปีพ.ศ. 1905 เป็นพระราชบัญญัติเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งปันสินสมรสระหว่างผัวเมีย โดยมีลักษณะที่เอื้อต่อสังคม “ผัวเดียวหลายเมีย”ปรากฎอยู่ในหลายเรื่องอันได้แก่

พระไอยการลักษณผัวเมีย บทที่ 25

กล่าวถึงบทลงโทษของชายที่เป็นชู้กับหญิงที่มีสามีแล้ว หากทำชู้กับภริยาชายใด สามารถให้ชายชดใช้เบี้ยให้แก่สามีของหญิงนั้น มาตรานี้สะท้อนถึงมโนทัศน์เรื่องการที่ภรรยานั้นเป็นทรัพย์สินของสามี หากผู้ใดล่วงละเมิดโดยการเป็นชู้กับภริยาตนก็ต้องชดใช้เบี้ยให้แก่สามีของหญิงที่ตนไปทำชู้นั้น เสมือนการล่วงละเมิดทรัพย์สินของตนให้เสียหาย

ทว่าไม่มีบทบัญญัติอันเกี่ยวกับการลงโทษของหญิงที่มาเป็นชู้กับสามีของผู้หญิง อันสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง เป็นการเปิดโอกาสให้ชายมีเมียได้หลายคนโดยที่ภริยาไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากคนที่มาเป็นชู้กับสามีตน อย่างเช่นกรณีของชายได้เลย เป็นการตอกย้ำถึงค่านิยมชายเป็นใหญ่ในสมัยก่อน ที่สิทธิของหญิงด้อยกว่าแม้กระทั่งไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้จากหญิงอื่นที่มาเป็นชู้กับสามีตนได้ เป็นกฎหมายที่กดขี่เพศหญิงให้ต้องทนรับสภาพที่ด้อยกว่าชาย

พระไอยการลักษณผัวเมีย บทที่ 30

บทบัญญัตินี้เป็นหนึ่งในเงื่อนไขการสมรส หากหญิงจะสมรสใหม่ในกรณีที่สามีตาย ต้องทำการเผาศพของสามีที่ตายไปเสียก่อน มิฉะนั้นจะต้องถูกลงโทษ ส่วนชายที่เป็นชู้นั้นให้ชดชใช้เบี้ยกับญาติพี่น้องของสามีหญิงที่ตายไป แสดงให้เห็นถึงบทบัญญัตที่ต้องการปกป้องศักดิ์ศรีของชายที่เป็นสามี มิให้หญิงลบหลู่โดยการมีสามีใหม่ในขณะที่ศพของสามีเดิมยังไม่เผา แต่ในขณะเดียวกันกับไม่มีบทบัญญัติให้ลงโทษสามีที่มีภริยาในกรณีที่ศพของภริยาเดิมยังไม่เผา เป็นบทบัญญัติ อันสะท้อนให้เห็นถึง การที่สังคมไม่ได้ให้ความสำคัญของศักดิ์ศรีของหญิงเท่าเทียมกับชาย และทำให้การมีภริยาใหม่ในทันทีหลังจากที่ภริยาเดิมตาย เป็นเรื่องไม่ผิดบรรทัดฐานของสังคม เป็นเรื่องไม่แปลก ไม่จำเป็นต้องให้เกียรติเท่าเทียมกับผู้หญิง โดยชายสามารถมีภริยาใหม่ได้ทันทีแม้ศพของภริยาเดิมยังไม่เผา ดังนี้ ตามกฎหมายนี้ การที่ศพของภริยาเดิมยังไม่เผาจึงไม่ใช่เงื่อนไขการสมรสของชาย

พระไอยการลักษณผัวเมีย บทที่ 50และ 67

บทที่ 50และบทที่ 67 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสิ้นสุดการสมรส สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นใหญ่ของเพศชาย จากการสิ้นสุดการสมรสโดยการตัดสินใจของเพศชายมากกว่าฝ่ายหญิง หรือเอาเจตนาของเพศชายเป็นหลักในตัดสินใจการสิ้นสุดการสมรส หากฝ่ายชายยังไม่ได้มีเจตนาสิ้นสุดการสมรส ก็ไม่สามารถสิ้นสุดการสมรสได้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในระหว่างสามีภรรยานั้น ภรรยาด้อยสิทธิต่อสามีอยู่มาก โดยกฎหมายเปิดโอกาสโดยตรงรับรองให้สามีกดขี่ภริยาได้ โดยภรรยาไม่สามารถตัดสินใจสิ้นสุดการสมรสเองได้เลยยกเว้นในกรณีในที่ไม่เคารพบุพพการีฝ่ายหญิงตามเนื้อความในบทที่ 61

พระไอยการลักษณผัวเมีย บทที่ 61

สาระสำคัญของกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยสรุป

1) กฎหมายอนุญาตให้ชายมีภริยาได้หลายคนในขณะเดียวกัน

2) หญิงที่อายุยังไม่ครบ 20 ปี ยังอยู่ในอิสระของบิดามารดา จะเลือกคู่ครองด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาไม่ได้

3) การสมรสทำได้โดยการแสดงออกโดยพิธีแต่งงานตามประเพณี โดยไม่ต้องจดทะเบียน

4) สามีสละภริยาไปบวช หรือภริยาสละสามีไปบวช ถือว่าขาดจากการสมรส

5) เมื่อภริยาทำผิดให้สามีมีสิทธิโบยได้ตามสมควรในฐานปราบปราม แต่จะทำร้ายร่างกายเกินสมควรไม่ได้

6) เมื่อหย่าขาดจากกันให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน และหญิงได้ 1 ส่วน สำหรับบุตรนั้นถ้าตกลงกันไม่ได้ หากเป็นบุตรชายให้อยู่กับมารดา และบุตรสาวอยู่กับบิดา เว้นแต่ สามีมีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป ให้สามีมีอำนาจเลือกบุตรได้

7) ถ้าภริยาหนีสามีมาอยู่บิดามารดา หรือพี่น้อง หรือบุคคลใด หากสามีถามหาบุคคลนั้นอำพราง ซุกซ่อน หรือเสือกไสไปด้วยประการใดๆ ให้ปรับไหมเป็นข้อละเมิด(วิชา มหาคุณ,2523)

ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง จ า ก สั ง ค ม แ บ บ

“ ผั ว เ ดี ย ว ห ล า ย เ มี ย ” สู่ “ ผั ว เ ดี ย ว เ มี ย เ ดี ย ว”

อิทธิพลของความคิดสมัยใหม่แบบตะวันตกในประเด็นสถานภาพสตรีและครอบครัว สภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมที่แปรเปลี่ยนไป บทบาทและหน้าที่ของสตรีจึงค่อยๆเริ่มมีมากขึ้นเป็นลำดับ อาทิ ผู้หญิงไทยเป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้นำในหน่วยงานทางปกครอง ประวิงเวลาแต่งงานออกไปช้ากว่าเดิมและการเข้าสู่ภาคแรงงานของสตรีมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความตระหนักถึงเรื่องสิทธิสตรีแพร่ขยายไปพร้อมกับการได้รับการศึกษาของสตรีที่เพิ่มมากขึ้น เกิดความตระหนักถึงสิทธิที่เท่าเทียมระหว่างเพศ และเห็นถึงการตกเป็นเบี้ยล่าง การถูกกดขี่ในครอบครัวผัวเดียวหลายเมีย ทำให้สังคมแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” ไม่สามารถเดินต่อไปได้ภายใต้บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้อย่างราบรื่นดังเช่นอดีต

ในประวัติศาสตร์การพัฒนาสิทธิสตรีในประเทศไทยที่ค่อยๆนำไปสู่ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศนั้น การต่อสู้เรียกร้องสิทธิสตรีไทยเท่าที่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 คือ อำแดงจั่น เป็นกรณีของการเรียกร้องสิทธิที่จะเป็นเจ้าของร่างกายของตนมิให้ถูกขายไปเป็นทาส ได้ร้องทุกข์ขึ้นว่า สามีจะนำเธอไปขาย แต่เธอไม่เต็มใจ จึงมีประกาศในรัชกาลที่สี่ กล่าวไว้ในพระราชบัญญัติผัวเมีย เมื่อพ.ศ.2411 ว่า “การที่กฏหมายยอมให้ผัวขายเมียได้เสมือนหนึ่งเห็นผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน หายุติธรรมไม่ ให้ยกเลิกเสีย” การต่อสู้ของสองสตรีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายผัวขายเมีย บิดามารดาขายบุตร เมื่อปี พ.ศ.2411 โดยระบุว่าผัวจะขายเมียไม่ได้ถ้าเมียไม่ยินยอม (วิษณุ เครืองาม, 2536)

อนึ่ง แนวคิดและการพยายามให้ประเทศไทย เปลี่ยนแปลงเป็นสังคมแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว” นั้น ริเริ่มเด่นชัดเมื่อรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการริเริ่ม การจดทะเบียนสมรส ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของค่านิยมแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว”ในสังคมไทย

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกี่ยวกับการแต่งงานชั่วคราว ที่แฝงแนวคิดผัวเดียวเมียเดียวของผู้นำในอดีต

"....ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะพูดกับท่านผู้มีสติปัญญาความคิดและซึ่งความเห็นมีน้ำหนัก ท่านเห็นว่าเป็นของควรแหละหรือ ที่เมืองไทยอันเป็นประเทศที่รุ่งเรืองแล้วในหมู่ประเทศทั้งหลาย จะยังคงมีหลักแห่งสกุลวงศ์ง่อนแง่นอยู่เช่นนี้ ถ้าเราจะทำให้กิจการภายในครอบครัวของเราแน่นหนากว่าการแต่งงานชั่วคราวไม่ได้แล้ว นามสกุลใหม่ของเราจะมีประโยชน์อะไรเล่า เมื่อไม่มีความมั่งคงตราบใด สมบัติและเกียรติคุณแห่งสกุลวงศ์ของเราก็ไม่ปราศจากอันตรายได้ตราบนั้น ลักษณะแห่งการแต่งงานกันโดยธรรมดาโลกนั้นย่อมขัดกับทางจรรยา ข้อนี้ย่อมปรากฏแก่คนทั้งปวง เพราะเหตุเป็นเครื่องบำรุงความชั่วร้ายหลายอย่าง มีการร่วมประเพณีปนเปและการทำชู้เป็นต้น ทั้งเปิดประตูให้แก่หญิงแพศยาได้เข้ามาในสมาคมแห่งหญิงผู้ดี และให้โอกาสแก่หญิงเถื่อนเหล่านี้มาล่อลวงชายหนุ่มๆ ที่จะเป็นคนดีให้ฉิบหายขายตนไปมากแล้ว

ท่านจะไม่คิดถึงบุตรหญิงและบุตรชายของท่านซึ่งจะเป็นผู้รับรักษาเกียรติคุณแห่งชาติไทยต่อไปบ้างหรือ ท่านทั้งหลายจะไม่ช่วยกันขัดขวางไม่ให้เขาฆ่าชาติของเขาเสียเองหรือ ท่านจะไม่ช่วยกันทำลายความประพฤติอันลามกไม่มีอายซึ่งมีอยู่ในหมู่เราโดยเปิดเผยหรือ

ขอจงสงสารผู้หญิงและเด็กสาวของเราบ้าง ขอจงช่วยให้เขาได้รับความยุติธรรมและเสมอภาค ขอจงช่วยให้เขาได้รับเกียรติยศอย่างที่เขาควรจะได้ในฐานะที่จะเป็นมารดาแห่งชาติเรา ขอจงช่วยให้เขาได้รู้สึกความภูมิใจในนามว่าภรรยา โดยใช้ศัพท์อันนี้ในทางที่ควรเถิด ถ้าท่านทั้งหลายได้ช่วยกันทำให้สำเร็จแล้ว ก็จะเป็นข้อที่เราทั้งหลายควรจะรู้สึกภาคภูมิใจได้อันหนึ่งโดยแท้"

ต่อมาในปี 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกได้บัญญัติให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

ปี 2517 เป็นครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับพุทธศักราช 2517 บัญญัติว่าหญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน และมีมาตราที่บัญญัติให้รัฐบาลต้องทบทวนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องที่เป็นการเลือกปฏิบีติต่อสตรีเพศให้เสร็จสิ้นภายในเวลาสองปี

ปี 2522 รัฐบาลได้ประกาศใช้แผนพัฒนาสตรีระยะยาว (พ.ศ. 2522-2544) ขึ้นเป็นครั้งแรก

ปี 2528 รัฐบาลได้ลงนามเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีเพศในทุกรูปแบบโดยวิธีภคยานุวัติ คือการยอมรับที่จะปฏิบัติตามอนุสัญญาบางส่วนและยังคงมีข้อสงวนที่จะไม่ปฏิบัติตามบางส่วน

ปี 2534 คณะรัฐมนตรีได้สั่งการให้ส่วนราชการทุกแห่งทบทวนข้อจำกัดและเงื่อนไขของทางราชการที่เป็นอุปสรรคหรือปิดกั้นความเสมอภาคในการดำรงตำแหน่งและความก้าวหน้าของสตรี

จนถึงปัจจุบัน มีการบรรจุกฎหมาย เรื่องของสิทธิสตรีไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2550 ในหลายประเด็นเช่น

มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

มาตรา 40 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้

(6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับ ความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติ ที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ

มาตรา 81 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ดังต่อไปนี้

(5) สนับสนุนการดำเนินการขององค์กรภาคเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัว

(7) ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบ แรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้ง คุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ

มาตรา 97 การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน... ต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสม และความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย

มาตรา 114  ให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาดําเนินการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพและภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเท่าจํานวนที่จะพึงมีตามที่กําหนดในมาตรา 111 วรรคหนึ่ง

ในการสรรหาบุคคลตามวรรคหนึ่ง ให้คํานึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสําคัญ และให้คํานึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคลในแต่ละภาคตามวรรคหนึ่งที่ใกล้เคียงกันรวมทั้งการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย

มาตรา 152  การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่า มีสาระสําคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ หากสภาผู้แทนราษฎรมิได้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้น มีจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจํานวนกรรมาธิการทั้งหมด ทั้งนี้ โดยมีสัดส่วนหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่ออกมาใช้บังคับเพื่อคุ้มครองสิทธิสตรีโดยเฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งแม้บทนิยามจะคุ้มครองบุคคลในครอบครัวทุกคน แต่ในแนวคิดก็คือ คุ้มครองผู้อ่อนด้อยทางกายภาพ ไม่ว่า เด็กหรือสตรี และกฎหมายบางฉบับก็ถูกออกแบบมา เพื่อให้สตรีมีทางออกในสภาพปัญหาต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2548 ให้สิทธิในการเลือกใช้นามสกุล หรือ พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเลือกใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้

ส่วนในมิติด้านจริยธรรมแล้ว การมีเมียมากถือเป็นเรื่องขัดศีลธรรม ไม่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การมีเมียมากนั้นถูกประณามและถูกมองว่าเป็นสังคมอนารยะ อันนำไปสู่การเลือนหายของสังคมแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” และการยกย่องสังคมแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว” จะนำไปสู่สังคมที่สงบสุข

นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดจากการมีภรรยาหลายคน เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่เพียงพอสำหรับดูแลภรรยาหลายคน และลูกอันเกิดจากภรรยาแต่ละคน ,ปัญหาการสืบทอดทายาทและสมบัติ, ปัญหาการเกิดอารมณ์หึงหวง และเกิดการทะเลาะวิวาทตบตีกันในหมู่ภรรยา ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังที่ได้กล่าวมา ทำให้ความคิดเรื่องครอบครัวและการครองคู่ในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรม “ผัวเดียวเมียเดียว” ถูกเข้าแทนที่และทับซ้อนด้วยมาตรฐานของจริยธรรมการครองคู่ที่ต้องรักเดียวใจเดียว และสร้างบรรทัดฐานในการมองว่า วัฒนธรรม “ผัวเดียวหลายเมีย” เป็นเรื่องขัดมาตรฐานจริยธรรม และเป็นการกดขี่ทางเพศ จนนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายครอบครัวให้เป็นแบบผัวเดียวเมียเดียวในที่สุด โดยมีการตรวจชำระและยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นโดยชาวฝรั่งเศส โดยเทียบเคียงกฎหมายต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประกาศให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2478 (ยกเว้นในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่) ซึ่งนับเป็นจุดสิ้นสุดรูปแบบการสมรสแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” ในประเทศไทย โดยนิตินัย

กฎหมายครอบครัวที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ( ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสมรสจากรูปแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” ไปสู่ “ผัวเดียวเมียเดียว” โดยรับรองการสมรสให้สามารถสมรสในเวลาเดียวกันได้เพียงคนเดียวเท่านั้น รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบการสมรม ให้เหลือเพียง “การจดทะเบียน” เท่านั้น ทำให้สังคมยอมรับความเป็นสามีภรรยาอย่างเป็นทางการ จากการจดทะเบียนสมรสเพียงสิ่งเดียว ความสัมพันธ์ซ้อนหรือ นอกสมรสนั้น ไม่ถูกรับรองโดยกฎหมาย อันเป็นการลดคุณค่าของภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส การไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยา จึงเสมือนไม่ได้มีฐานะสามีภรรยา แม้จะมีสถานภาพเป็นสามีภรรยาในความเป็นจริงก็ตาม อันเป็นการสร้างวัฒนธรรมการครองคู่ให้เหลือเพียง การสมรสกับคนคนเดียวเท่านั้นและมีนัยยะในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดจากครอบครัว “ผัวเดียวหลายเมีย”ต่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ทั้งปัญหาด้านครอบครัว สถานภาพสตรีและอาชญากรรม

อนึ่ง บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เป็นบรรทัดฐานของค่านิยม “ผัวเดียวเมียเดียว” บัญญัติอยู่ในบรรพ 5 อันได้แก่

มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้

มาตรา 1457 การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียน แล้วเท่านั้น

มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449,มาตรา 1450,มาตรา 1452 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ

มาตรา 1496 คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ ฝ่าฝืน มาตรา 1449,มาตรา 1450 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ

คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส อาจร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มี ส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้

บทบัญญัติดังกล่าว นับเป็นจุดสิ้นสุดสังคมแบบ “ผัวเดียวเมียเดียว”โดย “นิตินัย” และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนทิศทางรูปแบบการสมรสของสังคมไทยเป็นอย่างมาก

ดังนี้ กฎหมายครอบครัวที่บังคับใช้ในปัจจุบัน (บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2478) จึงมีบทบาทในการสร้างบรรทัดฐานในเรื่อง วัฒนธรรม “ผัวเดียวเมียเดียว” รวมถึง การรักเดียวใจเดียว ให้เป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสมและดีงามของสังคม ซึ่งส่งผลต่อต่อการเปลี่ยนทิศทางสังคมไปสู่สังคม “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทย

การเปลี่ยนแปลง

ขนาดครอบครัวในสังคมไทย

การเปลี่ยนแปลง“ขนาดครอบครัว”ในสังคมไทย

พัฒนาการของสังคมไทยสู่ค่านิยมการมีลูกน้อย

ค่านิยมการมีลูกมาก-น้อย เกิดขึ้นจากการกำหนดของโครงสร้างในแต่ละยุค อันเนื่องมาจากความต้องการกำลังคนของโครงสร้างสังคม ดังนี้ สังคมจึงมีนโยบายการจัดการจำนวนประชากรในสังคม ทั้งในรูปแบบนโยบายรัฐและในวิถีชีวิตของประชาชนซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพสังคมในแต่ละยุค

ในอดีต ความพยายามมีลูกมากของครอบครัวในวิถีชีวิตของหมู่บ้านตั้งอยู่บนเป้าหมายการผลิตยังชีพ โดยอาศัยแรงงานในครอบครัวและการแลกเปลี่ยนแรงงานในระบบเครือญาติ การที่ครอบครัวต้องอาศัยระบบเครือญาติ เนื่องจากภายในขอบเขตของหมู่บ้านนั้น เทคโนโลยีการผลิตอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น การผลิตจึงไม่อาจบรรลุเป้าหมายในระดับครอบครัวได้ ( นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2527 : 155-177 ) นอกจากนี้การมีลูกมากของแต่ละครอบครัว นอกจากจะขึ้นอยู่กับแรงงานเพื่อช่วยทำนาและเลี้ยงดูพ่อแม่ยามชราแล้ว ยังมีข้อจำกัดที่มาจากอัตราการตายของเด็กและทารกในระดับสูง อันเนื่องมาจากระบบสาธารณสุขที่ยังไม่ก้าวหน้า ถึงแม้ว่าจะมีนโยบาย การนำระบบสาธารณสุขแบบตะวันตกมาใช้ เพื่อลดอัตราการตาย ตั้งแต่ก่อนศตวรรษ 2490 แต่นโยบายนี้ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากเป็นการให้บริการสาธารณสุขเฉพาะในเขตเมืองและเขตหัวเมืองบางแห่ง และความพยายามที่จะขยายสถานีอนามัยสู่ประชาชนในชนบทยังดำเนินไปค่อนข้างช้า (ลือชัย ศรีเงินยวง,2529 )

ในเวลาต่อมาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม อันได้แก่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม โครงสร้างอำนาจรัฐและอุดมการณ์การพัฒนา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนขนาดครอบครัวในสังคมไทย โดยการสร้างเงื่อนไขการมีลูกมากเป็นการสร้างภาระทางเศรษฐกิจ ทั้งภาระด้านค่าเลี้ยงดู การศึกษา การรักษาพยาบาล ส่งผลให้ประชาชนเกิดความต้องการชะลอการเกิดของประชากร ทั้งโดยการคุมกำเนิด การอยู่เป็นโสด การเลื่อนอายุการแต่งงาน และการทำแท้ง

ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงค่านิยมการมีลูกของสังคมไทย จากการมีลูกมากไปสู่การมีลูกน้อย ทำให้ครอบครัวไทยจากเดิมที่มีจำนวนบุตรในครอบครัวมาก โดยเฉลี่ย 4-8 คนเหลือเพียงจำนวนบุตรเฉลี่ยครอบครัวละ 2คนในปัจจุบัน เกิดการลดลงอย่างรวดเร็วของภาวะเจริญพันธุ์ จากค่าอัตราการเจริญพันธุ์รวมยอดเท่ากับ 6.6 ในระหว่างปี พ.ศ.2493-2498 เป็น 2.0 ในระหว่างปี พ.ศ. 2528-2533 จึงถือเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวที่ชัดเจนมาก

ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวในสังคมไทย

1 นโยบายและการจัดการของรัฐ

การจัดการของรัฐตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปี พ.ศ. 2533 มีการจัดการองค์กรอันได้แก่ สถาบันการศึกษา และสถาบันสุขภาพ รวมถึงนโยบายการวางแผนครอบครัวซึ่งล้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัว กล่าวคือ

I.สถาบันการศึกษา

โรงเรียนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัวโดยตรง จากการที่เด็กต้องเรียนเป็นเวลาอย่างน้อย 4-6 ปี ทำให้เด็กซึ่งเคยมีบทบาทเป็นแรงงานของครอบครัวในการช่วยทำงานของครอบครัวและงานบ้าน ต้องมีบทบาทลดลง ในขณะเดียวกัน พ่อแม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นจากการเข้าเรียนของบุตร เช่น ค่าอุปกรณ์การเรียน ถึงแม้จะเป็นการศึกษาที่รัฐจัดให้ฟรีก็ตาม

การศึกษาของประชากรเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์พัฒนาของประเทศ รัฐเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะพาประเทศไปสู่การพัฒนา รัฐจึงสนับสนุนให้พ่อแม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียน รวมถึงจัดตั้งองค์กรการศึกษาเพื่อรองรับเด็กนักเรียน ดังนี้ อิทธิพลของแนวคิดที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษา ทำให้สิทธิที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นที่ยอมรับว่า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับ และนำไปสู่การออกนโยบายและกฎหมายให้ประชาชนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเวลาต่อมา

ในปีพ.ศ. 2464 การประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา พ.ศ. 2464 เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาภาคบังคับ (บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2464) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บุตรซึ่งเคยเป็นสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ แปรเปลี่ยนมาเป็นภาระทางเศรษฐกิจ โดยใจความสำคัญของพระราชบัญญัติ ประถมศึกษา พ.ศ. 2464 บังคับให้ผู้ปกครองซึ่งหมายความถึง บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึง บุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำ หรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน ส่งเด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดถึงสิบสี่ปีนั้น เข้าเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา โดยบังคับให้ศึกษาจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยในเวลาต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัตินี้อีกหลายครั้ง

ดังนี้ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในพ.ศ. 2475 นโยบายการจัดการศึกษาของคณะราษฎร์ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงเป็นเป้าหมายสำคัญหรืออุดมการณ์ของคณะราษฎร์ โดยปรากฏอยู่ในหลัก 6 ประการ ข้อที่ 6 เนื่องจากคณะราษฎร์มีความเห็นว่าการที่จะให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง เมื่อประชาชนมีการศึกษาดีย่อมจะทำให้ประเทศชาติเจริญขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา พ.ศ. 2475 กล่าวไว้ว่า “….การจัดการศึกษาเพื่อจะให้พลเมืองได้มีการศึกษาโดยแพร่หลาย ก็จะต้องอนุโลมตามระเบียบการปกครองที่ให้เข้าลักษณะเกี่ยวกับแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ หลักสูตรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะต้องขยายให้สูงขึ้นเท่าเทียมอารยประเทศ ในการนี้จะต้องเทียบหลักสูตรของนานาประเทศ หลักสูตรใดสูงถือตามหลักสูตรนั้น” ต่อมามีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว โดยจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ๆ ให้ตั้งสภาการศึกษา พ.ศ. 2475 ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ

ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ได้มีการยกเลิก พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2523 โดยกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 และให้บังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวแทน (บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2546) โดยใจความสำคัญของ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 บังคับให้ผู้ปกครองซึ่งหมายความถึง บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึง บุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำ หรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน ส่งเด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16 เข้าเรียนในสถานศึกษาจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หากไม่ปฎิบัติตามมีโทษทางอาญา อันได้แก่ โทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท (พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 13 )

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติ การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ยังมีสภาพบังคับรวมไปถึงผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปกครองแต่มีเด็กซึ่งมิได้เข้าเรียนอาศัยอยู่ด้วย ให้ต้องแจ้งหน่วยงานของรัฐ (เว้นแต่ ผู้ปกครองได้อาศัยอยู่กับผู้นั้น) หากไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 16 )

เนื้อหาของพระราชบัญญัติ ประถมศึกษาและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ได้ถูกโฆษณาอย่างแพร่หลายโดยรัฐ โดยเฉพาะสื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่สามารถเข้าถึงประชาชนโดยง่าย เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กตื่นตัวและตระหนักต่อการส่งบุตรหลานสู่สถานศึกษา รวมทั้งบอกล่าวถึงโทษจากการไม่ปฎิบัติตาม เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวในโทษที่จะได้รับจากการไม่ใส่ใจต่อการศึกษาของบุตรหลาน ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของเด็กในครอบครัว คือ “การเรียนอย่างเดียว” และความเชื่อที่ว่า “ยิ่งมีลูกมาก ยิ่งมีภาระมาก”

นอกจากนี้ ในมิติด้านบทบาทของการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นทางการของสตรียังมีผลต่อการตัดสินใจในการมีบุตรของสตรีด้วย ส่วนในมิติด้านความยากจนนั้น การลงทุนด้านการศึกษาแก่บุตรหลาน ยังเป็นหนทางให้ได้อาศัยเลี้ยงชีพในภายภาคหน้า

ดังนี้ โรงเรียนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนคุณค่าของบุตรจากการมองบุตรว่าเป็นสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ มาเป็นภาระทางเศรษฐกิจมากขึ้น อันนำไปสู่ความต้องการจำกัดจำนวนบุตรในครอบครัว

II.ระบบสาธารณสุข

การขยายบริการด้านสาธารณสุขของรัฐ มีผลต่อการสร้างเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงขนาดครอบครัว จากการเพิ่มค่าใช้จ่ายของครอบครัวเกี่ยวกับสุขภาพในการเลี้ยงดูลูก ตั้งแต่การฝากครรภ์ ไป จนถึงค่าทำคลอดที่มีราคาสูง เนื่องจากการแพทย์ปัจจุบันเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการแพทย์สมัยก่อน (ยกตัวอย่างเช่น ค่าทำคลอดในโรงพยาบาลเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า ค่าหมอตำแย หลายสิบเท่า) ทำให้การมีลูกมากกลายเป็นภาระทางเศรษฐกิจ จนนำไปสู่การเกิดความต้องการในการจำกัดขนาดครอบครัวในที่สุด

III.การดำเนินการวางแผนครอบครัวในประเทศไทย

การวางแผนครอบครัวเป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของอุดมการณ์พัฒนา เนื่องจากผลที่ได้รับจากนโยบายวางแผนครอบครัว สนับสนุนเป้าหมายนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐเช่น

การพัฒนาการศึกษา

สนับสนุนเป้าหมายในการช่วยเพิ่มโอกาสการพัฒนาโครงสร้างทางการศึกษา จากการที่รัฐสามารถลดสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสังคม โดยรัฐเชื่อว่าการให้บริการด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงแก่ประชาชน จะทำให้ประชากรในประเทศมีศักยภาพเต็มที่ในการพัฒนาตนเอง เกิดการขยายโอกาสในการพัฒนาตนเองและช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านรายได้สูงขึ้น ยังผลให้มีที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การป้องกันรักษา และอนามัยที่ดีขึ้น นำไปสู่การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม

การพัฒนาสุขภาพอนามัย

บริการการแพทย์และอนามัยที่เพียงพอและทั่วถึง ทำให้ประชากรมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เกิดความมั่นใจในการดำรงชีวิต ยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชากร

ความพยายามที่จะนำวิธีการคุมกำเนิดมาให้บริการกับคนไทย ได้เริ่มต้นมาหลายสิบปีก่อนการประกาศนโยบายประชากรแห่งชาติในปี 2513 เป็นต้นว่า มีการนำถุงยางอนามัยเข้ามาใช้ในเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 และสมาคมครอบครัวบริการแห่งประเทศไทยได้เริ่มขยายงานวางแผนครอบครัวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ส่วนมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2504 ได้เปิดทางให้กระทรวงสาธารณสุขและภาคเอกชนขยายขอบเขตของการวางแผนครอบครัวไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ดังรายละเอียดโดยย่อดังต่อไปนี้

พ.ศ. 2475 นายโกศล โกมลจันทร์ แปลและเรียบเรียงวิธีการคุมกำเนิดลงในหนังสือพิมพ์รายวัน “สยามใหม่” เป็นครั้งแรก วิธีคุมกำเนิดที่นิยมใช้ได้แก่ การทำหมันหลังคลอด สูตินรีแพทย์รุ่นแรกๆ ได้แก่ นายแพทย์เติม บุญนาค นำวิธีผ่าตัดทำหมันหลังคลอดแล้วได้เริ่มใช้ห่วงอนามัยแบบกราเฟนเบอร์ก

พ.ศ. 2498 เริ่มต้นสมาคมครอบครัวบริการ โดยนายแพทย์เอิบ ณ บางช้าง

พ.ศ. 2506 เดือนมิถุนายน เริ่มให้บริการวางแผนครอบครัวที่วชิรพยาบาล

พ.ศ. 2506 เดือนกันยายน เริ่มให้บริการวางแผนครอบครัวที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค โดยนายแพทย์ เอ็ด วิน บี แมคแดเนียล

พ.ศ. 2507 เริ่มงานโครงการวางแผนครอบครัวอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

พ.ศ. 2508 เดือนมกราคม เริ่มให้บริการวางแผนครอบครัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

พ.ศ. 2508 เดือนมิถุนายน เริ่มให้บริการวางแผนครอบครัวที่โรงพยาบาลหญิง

พ.ศ. 2509 เริ่มโครงการคลีนิคคุมกำเนิดหลังคลอดที่โรงพยาบาล 4 แห่งในกรุงเทพฯ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์ ศิริราช วชิระ และ โรงพยาบาลหญิง ต่อมาในปี 2512 โครงการนี้ได้ขยายไปยังโรงพยาบาลใหญ่ ในต่างจังหวัดอีก 11 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลประจำจังหวัด ลำปาง จันทบุรี ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา พิษณุโลก อุบลราชธานี อุดรธานี และศูนย์อนามัยแม่และเด็กจังหวัดขอนแก่น ราชบุรี และยะลา

ต่อมาได้ขยายงานคลีนิควางแผนครอบครัวในโรงพยาบาลอีก 2 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลวชิระ

พ.ศ. 2510 เริ่มต้นคลีนิควางแผนครอบครัวเคลื่อนที่ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเริ่มงานนี้เช่นกันที่หน่วยวางแผนครอบครัวโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2512

พ.ศ. 2511 โครงการอนามัยครอบครัว FAMILY HEALTH PROJECT ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข ได้ขยายงานวางแผนครอบครัวตามโรงพยาบาลประจำจังหวัด�