woodwork motifs adorn the temple pa sang

18
Woodwork Motifs Adorn the Temple Pa Sang หัทยา สีธิใจ เครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารป่าซาง

Upload: nikz-phimp

Post on 29-Mar-2016

219 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

 

TRANSCRIPT

Page 1: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

Woodwork Motifs Adorn the Temple Pa Sang

หัทยา สีธิใจ

เครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารป่าซาง

Page 2: Woodwork motifs adorn the temple pa sang
Page 3: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

เครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารป่าซางWoodwork Motifs Adorn the Temple Pa Sang

Page 4: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

เครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารป่าซางอำาเภอป่าซาง

อำาเภอป่าซาง

ป่าซางนั้นเป็นเมืองที่มีชุมชนที่เก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยล้านนา เพราะอยู่บน

เส้นทางคมนาคมแต่โบราณ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีเนินเขาเตี้ยๆไม่สูงมาก

นักกระจายอยู่ทางทิศใต้ของอำาเภอ ในเขตตำาบลนครเจดีย์และตำาบลมะกอก ผู้คน

ในอำาเภอป่าซางนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวไทยองหรือชาวยองได้อพยพมาจากสิบสองปัน

นา ในอำาเภอป่าซางจังหวัดลำาพูนนั้นถือว่าอุดมไปด้วยมรดกศิลปะและวัฒนธรรม

ที่มีความเจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะในด้านขององค์ประกอบของศิลปกรรมเครื่องไม้

ของวิหารที่มีความหลากหลาย และควรค่าแก่การอนุรักษ์ ซึ่งวัดที่มีลักษณะโดดเด่น

เกี่ยวกับเครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารนั้นได้แก่วัด วัดป่าแดด เลขที่ 99 หมู่ที่ 11

ตำาบลแม่แรง อำาเภอป่าซาง จังหวัดลำาพูน วัดดอนหลวง เลขที่ 160 หมู่ที่ 7 บ้าน

ดอนหลวง ตำาบลแม่แรง อำาเภอป่าซาง จังหวัดลำาพูน วัดหนองเงือก ตั้งอยู่เลขที่

240 หมู่ที่ 5 บ้านหนองเงือก ตำาบลแม่แรง อำาเภอป่าซาง จังหวัดลำาพูน

Page 5: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

องค์ประกอบหลักของเครื่องไม้ประดับวิหาร

เครื่องไม้ลวดลาย

ประดับวิหารนั้นเป็นการ

แกะสลักสวดลายต่างๆ ยก

ตัวอย่าง องค์ประกอบของ

งานศิลปกรรมเครื่องไม้ของ

วิหาร ซึ่งวิหารมีองค์ประกอบ

ทางสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่

ช่วยทำาให้รูปทรงของอาคาร

มีความสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งองค์

ประกอบเหล่านี้ สร้างขึ้นโดย

มีจุดประสงค์ทั้งในแง่ของการ

ตกแต่ง และเป็นส่วนหนึ่งของ

โครงสร้าง โดยมีความเชื่อ

ต่างๆ ที่แฝงอยู่งานแกะสลัก

ไม้นั้นมักจะเป็นการแกะสลัก

สวดลายที่สามารถมองเห็นได้

อย่างชัดเจน ซึ่งองค์ประกอบ

ของลวดลายประดับวิหารนั้น

มีองค์ประกอบอาทิ ขื่อ แป

อกไก่ ดั้ง เต้า คันทวย ดาว

เพดาน ช่อฟ้า ใบระกา หาง

รูปตัวอย่างองค์ประกอบของลวดลายประดับวิหารที่มา http://www.novabizz.com/CDC/Process14.htm

รูปตัวอย่างโครงสร้างวิหารโบราณที่มา http://www.novabizz.com/CDC/Process14.htm

หงส์ บราลี บัวหัวเสา ดาวเพดาน ช่อฟ้า ฯลฯ โครงสร้างวิหารนั้นส่วนของหลังคา

นิยมสร้างด้วยไม้ใช้ระบบเสาและคานในการรับน้ำาหนัก โครงสร้างที่ถ่ายทอดน้ำานัก

นี้เรียกว่า ระบบขื่อม้าต่างไหม ส่วนใหญ่นั้นองค์ประกอบเครื่องไม้ในป่าซางนั้น นิยม

การแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ และนิยมที่มากที่พบคือ ลายพันธุ์พฤกษา ลายเครือ

เถา ลายดอกไม้ เป็นต้น

Page 6: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

รูปแบบของลวดลายขององค์ประกอบเครื่องไม้ประดับวิหาร

ลวดลายที่ปรากฏนั้น เป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งการที่มีของลวดลาย

นี้เป็นองค์ประกอบหลักๆที่ปรากฏอยู่นั้น ก็เนื่องมาจากแนวคิดคติเรื่องจักรวาล

และลวดลายพันธุ์พฤกษาที่ปรากฏซึ่งสื่อถึงแนวความคิดเรื่องจักรวาล และ

ลวดลายลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นคติที่หมายความถึง ป่าหิมพานต์ โดยการ

ตกแต่งบริเวณด้านหน้าของวิหารนั้นถือได้ว่าเป็นการตกแต่งที่มีความสำาคัญ โดย

เป็นการจำาลองป่าหิมพานต์ โดยใช้ลวดลายลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นองค์ประกอบ

หลักในการใช้ตกแต่ง และลายที่ได้รับความนิยมที่รองมาจากลวดลายพันธุ์พฤกษา

นั้นก็คือ ลวดลายของสัตว์แต่ยังคงใช้ลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นองค์ประกอบหลัก

โดยมีลวดลายของสัตว์ป่าหิมพานต์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์นั้นๆมาเสริม ซึ่งเมื่อ

ได้ผ่านป่าหิมพานต์ที่อยู่ในส่วนต่างๆของเขาพระสุเมรุก็จะได้พบกับองค์ประธานซึ่ง

เป็นตัวแทนพระพุทธองค์ซึ่งผู้รู้ตรัสรู้

รูปตัวอย่างลวดลายพันธุ์พฤกษาที่มา http://thongthailand.igetweb.com/index.php?lite=article&qid=627956

Page 7: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

การจำาแนกประเภทลวดลายประดับวิหาร

ลวดลายแบบล้านนา

ลวดลายแกะสลักไม้ที่นิยมกันมากในล้านนามีที่มาเช่นเดียวกับภาคกลาง

คือ ส่วนใหญ่นั้นมากจากธรรมชาติ และจากพุทธศาสนา ลวดลายที่ลอกเลียน

หรือประดิษฐ์จากธรรมชาติก็มีทั้งที่มีในภาคกลาง เช่นลายนก และลายเครือเถา

ชนิดต่างๆ และไม่มีในภาคกลางแต่ไม่มีในภาคเหนือ เช่น ลายครุฑ

ลายกนก

กนกภาคกลางโดยเฉพาะรุ่นหลังๆ มักเป็นกนกเปลว ละเอียดแน่น แต่

กนกล้านนามัก ขดกลมแปลกตา เช่น กนกเชิงหาง นกผักกูดก้านฝักขดมะขาม

กนกหงอนไก่ กนกคาบทั้งชนิดขมวดหนึ่งหัวและขมวดสองหัว กนกล้านนามีหาง

ตวัดอย่างเสรีมาก อาจตวัดโค้งงอนมาทางหัวที่ขมวดหรือตวัดไปในทางทิศทาง

ตรงกันข้ามก็ได้ แล้วแต่ความกลมกลืนของตัวลาย ลายกระหนกล้านนามีลักษณะ

พิเศษไม่เหมือนกับของภาคกลางเสียทีเดียว แม้ว่าบางรูปแบบจะคล้ายกันก็ตาม จึง

เห็นสมควรกล่าวถึงกระหนกล้านนาที่ต่างจากของภาคกลางไว้ ดังนี้

- กระหนกหงอนไก่ ตัวกระหนกที่ต่อกับก้านมีลักษณะเชิด หัวโตและหาง

โค้งงอนเหมือนหงอนไก่

- กระหนกเหงาสามตัวหางรวน มีรูปแบบเป็นกระหนกเหงาสามตัวของ

ภาคกลาง แต่หัวม้วนขอด หางโค้งงอน

- กระหนกชิงหาง เป็นกระหนกที่เรียบง่าย ตัวผอมจับคู่สลับหัว-หางกัน

- กระหนกผักกูด ก้านขดฝักมะขามเทศโดยมีหัวขดเป็นหยักๆ สลับกับ

กระหนกหัวขอด หางตวัดโค้งงอนมาก

- กระหนกชนิดที่มีหัวขอดกลมโตเป็นก้นหอย ส่วนปลายโค้งงอนมาก

Page 8: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

ตัวอย่างภาพลายกระหนกของล้านนา

- กระหนกคาบ ซึ่งเป็นกระหนกจับตัวก้านมีลักษณะหัวขอด ปลายหางตวัด

โค้ง มี 2 ชนิด คือ หัวหนึ่งขมวดและสองขมวด กระหนกชนิดหัวหนึ่ง ขมวดนี้ มี

ลักษณะคล้ายที่พบบนบานเฟี้ยมแกะสลักที่พิพิธภัณฑ์สงขลา ซึ่งเป็นจวนเจ้าเมืองเก่า

อาคารแบบจีน อาจกล่าวได้ว่ากระหนกในข้อนี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากจีนไม่มาก

ก็น้อย สำาหรับกระหนกหัวสองขมวด มีลักษณะคล้ายกระหนกเมฆไหล จึงอาจจัด

เป็นกระหนกเมฆก็ได้

Page 9: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

๙ลายเครือเถา

ตัวอย่างลายเครือเถา

คือลวดลายที่มีแนวความคิดมาจาดเครือเถาวัลย์ที่เลื้อยคดเคี้ยวไปมา

เกิดเป็นรูปร่างต่างๆขึ้น ลายเครือเถาวัลย์จึงมีลักษณะเกี่ยวกันไปมา ส่วนมาก

ใช้ตกแต่งพื้นที่ว่างให้เต็ม รวมลายก้นขด ลายกาบหมาก และลายผักผูกไว้ด้วย

กัน ลายชนิดนี้อาจมีดอกหรือไม่มีดอกเลย เน้นที่ก้านและใบ อาทิ ก้านลายมี

กาบหลายชั้นและมีก้านรัด ลายผักกูด กาบซ้อนกันหลายชั้นเป็น ลักษณะล้าน

นาแท้ก้านลายซึ่งกาบซ้อนกันหลายชั้น ลายก้านขดผักกูดลายกาบหมาก เป็นต้น-

กระหนกผักกูด ก้านขดฝักมะขามเทศโดยมีหัวขดเป็นหยักๆ สลับกับกระหนกหัว

ขอด หางตวัดโค้งงอนมาก

Page 10: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

๑๐ลายดอกไม้ใบไม้

มักเป็นดอกที่มีก้านและใบประกอบกันมีลักษณะเป็นธรรมชาติ มักไม่มี

ลักษณะกนกปน มีทั้งที่คล้ายแบบภาคกลางและลักษณะเฉพาะของล้านนา ลาย

ดอกไม้ที่คล้ายภาคกลางคือ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ดอกพุดตาน ดอกประจำายาม

และดอกจันทร์ ส่วนลายที่มีเอกลักษณ์เป็นของล้านนา คือดอกทานตะวัน ดอก

เรณู ดอกสับปะรด(ดอกตาขนัด) ซึ่งเป็นรูปทั้งลูกแล้วมีใบ ใบไม้ชนิดต่างๆ

เป็นการสลักลายที่ประกอบด้วยดอกไม้เป็นส่วนใหญ่ มีก้านของดอกและใบเป็น

ตัวประกอบด้วย รูปแบบของลายที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ก้านและดอกมีลักษณะใกล้เคียง

ธรรมชาติ ไม่มีลักษณะของกระหนกอยู่ด้วย ส่วนประกอบที่เป็นดอกนั้น มีหลายรูป

แบบและมีหลายๆดอกที่พบได้บ่อย คือ พุ่มข้าวบิณฑ์ ดอกพุดตาน ดอกประจำายาม

ดอกใบเทศ (มีชนิดคล้ายภาคกลางและชนิดที่เป็นเอกลักษณ์ล้านนา) ดอกทานตะวัน

ดอกเรณู ดอกจันทน์ ดอกสับปะรด มีลักษณะคล้ายลูกสับปะรด เป็นต้น ลายดอก

นั้นเป็นดอกบานส่วนใหญ่ดอกตูมมีน้อย เพื่อความเข้าใจถึงลายดอกชนิดต่างๆ จึง

ขออธิบายลักษณะดอกที่พบบ่อยในลายไทย ลายรับก้านลาย อาจพบเกี่ยวพันสลับ

ซับซ้อนได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับลายชนิดอื่นๆ คือ ก้านลายมีขนาดใหญ่และแกะ

ซ้อนเป็นชั้นๆ และยังมีข้อก้านเป็นกระเปาะใหญ่ ที่เป็นเอกลักษณ์ของลาย เป็นรูป

แบบที่งามและไม่มีที่อื่นเหมือน

ตัวอย่างภาพลวดลายไม้ใบไม้

ตัวอย่างลายเมฆไหลที่ใช้กระหนกปน

Page 11: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

๑๑ลายเมฆหรือลายเมฆไหล

ดังได้กล่าวแล้ว ลายเมฆและลายเมฆไหลเป็นลายเอกลักษณ์ของศิลปะ

ล้านนาโดยเฉพาะที่เป็นลายแกะ สลักไม้ เท่าที่พบนั้นปรากฏมีลายเมฆไหล ซึ่งเป็น

ปูนปั้นน้อยมากหรืออาจเรียกว่าแทบไม่มีเลย โดยขดและหยักดูเหมือนเชื่อมโยง

ไหลไปมา และตวัดกลับอย่างเฉียบพลันทำาให้ดูทรงไว้ซึ่งพลัง ตรงบริเวณที่ตวัดกลับ

จะเป็นหัวขมวด สังเกตว่าเมฆไหล มีการผูกลายหลายแบบมาก แต่ละแบบก็งาม

แตกต่างกันไป และมีลีลาการผูกลายแยบยลดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ทั้งนี้กระหนก

ลายเมฆและลายเมฆไหลคงมีอีกมากรูปแบบซึ่งยังพบไม่หมด ลายเมฆไหลอาจแบ่ง

ได้ ๒ ชนิด คือลายเมฆไหลที่มีกระหนก หรือลายดอกปนกับลายเมฆไหลล้วนๆ ไม่มี

กระหนกปน

ลายเมฆไหลที่ใช้กระหนกปน

ส่วนมากพบว่ามีกระหนกเป็นตัวจับ

ก้านลายเมฆ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับใบจับ

ก้านกระหนก ตัวจับก้านของลายเมฆไหล

มีลักษณะตัวกระหนกสามเหลี่ยม (เหงา)

ซึ่งมีลักษณะเป็นกระหนกหัวขอดม้วนพ้น

ก้าน ส่วนหางแหลมโค้งงอสะบัด และมี

ลายดอกเช่นเดียวกับที่อยู่ตรงกลางแซม

อยู่ที่ส่วนอื่นของลายด้วยก็พบได้ ลายเมฆ

ที่ใช้กระหนกลายเมฆชนิดต่างๆ ประกอบ

ลวดลาย มีลักษณะเฉพาะของล้านนาและ

งดงาม เท่าที่ศึกษาพอที่จะจำาแนกได้ คือ

กระหนกทักขิณาวัฎ กระหนกลายเมฆก้าน

ขด กระหนกเมฆบังรุ้ง กระหนกคาบ ตัวอย่างลายเมฆไหลที่ใช้กระหนกปน

Page 12: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

ลายพญานาค

เป็นลายที่แกะสลักให้เหมือน

ตัวพญานาคหรืองู ขดเกี่ยวพันกันและ

มีเศียรและหาง เท่าที่พบเศียรพญานาค

ไม่สลักให้เหมือนพญานาคอย่างที่นิยม

สลักหรือเป็นรูป ปั้นที่อยู่ตามวัด แต่

มีเค้าโครงคล้ายกัน เศียรพญานาค

ออกแบบให้เป็นกระหนกเหงาสาม

ตัวแทน สำาหรับหางของนาคมีลักษณะ

เป็นกระหนกเหงาสามตัวเช่นกัน แต่ไม่

เน้นเท่าเศียร รูปแบบนี้มีความสวยงาม

ทรงพลังและดูไม่เบื่อ เพราะมีการ

ออกแบบที่แยบยล เห็นตัวพญานาคขด

พันซ้อนกันและยังดูทรงพลัง นาคยัง

อาจหมายถึงน้ำาที่อุดมสมบูรณ์อีกด้วยตัวอย่างของลวดลายพญานาค

๑๒

ลายอื่นๆ

ลายที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้เป็นลายที่มีรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว

ซึ่งอาจรวบรวมและจำาแนกได้ ดังนี้

- ลายเครือเถาแบบยุโรป โดยได้รับอิทธิพลจากต่างชาติทำาให้ศิลปะไทย

ต้องแปรปรวนไป มีข้อสังเกตว่าลวดลายชนิดปัจจุบันพบมากในงานแกะ

สลักเครื่องเรือน ทำาให้บางคนหลง ผิดว่าเป็นไทย

- ลายประแจจีนเป็นลายของจีน และอาจมีการสริมลายอื่นเข้าปะกอบ เช่น

มีดอกแซม

Page 13: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

๑๓ - ลายพม่า-ไทใหญ่ เป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากแหล่งของศิลปะใกล้

เคียง มีการ ประดิษฐ์ที่ผสมผสานกับลายไทยดูสวยงามแปลกอีกแบบหนึ่งเช่น

กัน มักออกแบบเป็นลาย ก้านขด

- มีรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น รูปสัตว์ตามปีนักษัตร สัตว์ในวรรณคดีโหราศาสตร์

เช่นราหู (กาละ) และสัตว์ป่า เช่น นก ช้าง เป็นต้น

- ลายโบราณอื่น ๆ ซึ่งยากที่จะเรียกได้ถูกต้อง

- ลายเบ็ดเตล็ด ซึ่งไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ และบางครั้งออกแบบเอง

โดยไม่ยึดถือ ประเพณีนิยมบางครั้งก็ดูสวยงาม บางครั้งก็ดูแปลก บางครั้งก็ดู

หยาบเกินกว่าที่จะจัดเป็น งานศิลปะได้

ลวดลายของสัตว์

มีลักษณะเป็นตัวสัตว์โดยมากแล้วเป็นสัตว์หิมพานต์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่มีอยู่

จริง มีแต่วรรณคดี และได้ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาจากคติความเชื่อต่างๆ ที่มา

ประดับในพุทธศาสนสถานซึ่งรายละเอียดต่างๆสามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

นาค มอม กิเลน สิงห์ เงือก ค่างมีปีก กินนรนกยูง ลายหน้ากาล ลายลิง

ลายครุฑ ลายช้าง เหมราช คชสิงห์ เป้นต้น

ตัวอย่างของลวดลายสัตว์

Page 14: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

ตัวอย่างของลวดลายสัตว์

ลักษณะงานแกะสลักขององค์ประกอบเครื่องไม้ประดับวิหาร

งานแกะสลักเครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้น

มาภายในศาสนสถานอย่างหนึ่ง ซึ่งมีการแฝงความเชื่อในการสร้างสรรค์งานเพื่อ

เป็นลักษณะหรือเครื่องหมาย มีทั้งส่วนที่ใช้ประดับเชิงคติทางศาสนา ส่วนที่ประดับ

เพื่อความสวยงาม และบางส่วนก็ผูกพันอยู่กับโครงสร้าง ช่างไทยโบราณ นิยม

ใช้ลวดลายต่างๆ ประดับลงบนสิ่งของ เครื่องใช้ ศิลปวัตถุ หรือศิลปะสถานต่างๆ

เกือบทุกชนิด ศิลปกรรมของล้านนา จึงมีความละเอียดวิจิตรบรรจง ศิลปกรรม

ลวดลายประดับทุกชนิดนั้นมีความละเอียด ประณีต วิจิตรบรรจง เป็นศิลปะแบบ

อุดมคติ มีความรู้สึกทางความงามเหนือธรรมชาติ ช่างล้านนามีฝีมือ ความคิด และ

ความชำานาญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการกำาหนดส่วนสัด

ช่องไฟ การตกแต่งลวดลายลงไปในพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง

๑๔

Page 15: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

๑๕

ลวดลายของชาวล้านนานั้น แสดงให้เห็นเจตนาอันบริสุทธิ์ ความคิดริเริ่ม

ที่มีแบบอย่างเป็นของตนเอง ลวดลายทั้งหลายจะแสดงคุณค่าความรู้สึกในเชื้อชาติ

และ เอกลักษณ์อย่างชัดแจ้ง ลวดลายมีเส้นสลับซับซ้อน ตัวลาย ทรง ลาย ช่อลาย

หรือถ้ามีเถาลายจะมีความคดโค้ง อ่อนช้อยสัมพันธ์กัน สร้างอารมณ์อ่อนไหวละมุน

ละไม การสร้างลวดลายกนกทุกเส้น ทุกตัว ทุกทรง และทุกช่อ ประสานสัมพันธ์กัน

ทั้งในส่วนละเอียด ส่วนย่อย และส่วนใหญ่ ไม่มีการหักงอ หรือแข็งกระด้าง ไม่ว่า

ส่วนไหนก็ตาม ลวดลายส่วนใหญ่ของล้านนาได้รับความบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อม

จากธรรมชาติ ทั้งพืช สัตว์ และสิ่งอื่นๆ ซึ้งล้านนาเป็นอาณาจักรที่เริ่มก่อตัวขึ้นใน

ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวระหว่างศิลปะอยู่สมัยอู่ทอง อโยธยา

และลพบุรี กับศิลปะตอนต้องของอยุธยาตอนต้น โดยทางศิลปกรรมของล้านนาก็มี

การพัฒนาการเรื่อยๆ เช่นเดียวกับงานศิลปกรรมโดยทั่วไป ซึ่งงานศิลปกรรมได้รับ

อิทธิพลจากดินแดนที่ใกล้เคียงต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งรูปตามลวดลายได้ ทำาให้เกิด

สิ่งที่หน้าสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของเครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารซึ้งเป็นการแกะ

สลักลวดลายที่มีความสวยงาม ละเอียดวิจิตรบรรจง ความอ่อนช้อย ในการแกะ

สลัก ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งทำาให้ตระหนักถึงคุณค่าความงามของศิลปะในการ

แกะสลักไม้ ในแบบพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี

ประเภทการแกะสลักไม้

1.การแกะสลักภาพลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้นให้มี

ความหนักเบาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น

2.การแกะสลักภาพนูนตำ่า เป็นการแกะสลักภาพให้นูนขึ้นสูงจากพื้นแผ่น

ของไม้เพียงเล็กน้อยไม่แบนราบเหมือนภาพลายเส้น

3.การแกะสลักภาพนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้ลอยสูงขึ้นมาเกือบ

สมบูรณ์เต็มตัว ความละเอียดของภาพมีมากกว่าภาพนูนตำ่า

4.การแกะสลักภาพลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ให้มีลักษณะเป็น 3 มิติ

มองเห็นได้รอบด้าน

Page 16: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

๑๖

ขั้นตอนและวิธีการแกะสลักไม้

1. กำาหนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำาหนดรูปแบบและลวดลาย

นับเป็นขั้นตอนแรกที่สำาคัญในการออกแบบ สำาหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักใน

การออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำามาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือ

เสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และ

แบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง

2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำาแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้

หรือนำามาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำามาวางทาบ

บนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำากาว หรือน้ำาแป้งเปียกไว้แล้วทำาการตบด้วยลูกประคบ

ดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำากระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้น

ผิวหน้าไม้

3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่อง

มือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูป

ร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำาดับเพื่อ

จะนำาไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น

หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับ

ตัวภาพ

4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่ว

ต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อ

รูปตัวอย่างสิ่วแกะสลักไม้

ที่มา http://art-dsr-602.blogspot.com/p/blog-page_6018.html

Page 17: Woodwork motifs adorn the temple pa sang

เครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารป่าซาง

นางสาวหัทยา สีธิใจ

รหัสประจำาตัว 530310143

ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สงวนลิขสิทธิ์

พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ออกแบบโดย นางสาวหัทยา สีธิใจ

Page 18: Woodwork motifs adorn the temple pa sang