บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

34

Click here to load reader

Upload: decode-ac

Post on 18-Jun-2015

10.679 views

Category:

Documents


14 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

บทท่ี 10

บุคลิกภาพและคุณลักษณะของครูปฐมวัย

แผนการเรียนประจ าบท

1. จุดประสงคก์ารเรียนรู ้

1. เพ่ือให้เข้าใจความหมายและความส าคัญของครู

2. เพ่ือให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกบับุคลิกภาพของครูปฐมวัย

3. เพ่ือให้เข้าใจบทบาทหน้าท่ีของครูปฐมวัย

4. เพ่ือให้สามารถพัฒนาบุคลิกภาพตนเองได้

2. สาระการเรียนรู้

1. ความหมายของคร ู

2. บุคลิกภาพของครูปฐมวัย

3. คุณวุฒิครูปฐมวัย

4. บทบาทของครูปฐมวัย

5. คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักค าสอนในพระพุทธศาสนา

6. คุณลักษณะตามผลการวิจัย

3. กิจกรรมการเรียนรู้

1. ทดสอบก่อนเรียน (แบบทดสอบ)

2. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน

3. อภิปราย ซักถาม

4. แบ่งกลุ่มวิเคราะห์คุณลักษณะของครูปฐมวัย

5. แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้า (วิจัย) เก็บข้อมูลเก่ียวกับคุณลักษณะของครูปฐมวัย

6. ทดสอบหลังเรียน

4. ส่ือการเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการสอน

2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point)

3. เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง (Internet)

4. ตัวอย่างกรณีศึกษา

5. หนังสือ ต ารา วารสาร งานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง

Page 2: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

264

5. การประเมินผล

1. ผลการทดสอบ

2. แบบฝกึหัดท้ายบท

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4. รายงานผลการศึกษาค้นคว้า (วิจัย) คุณลักษณะของครูปฐมวัย

5. ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของเนื้อหา

Page 3: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

265

บทท่ี 10

บุคลิกภาพและคุณลักษณะของครูปฐมวัย

ทุกคนเกิดมาต้องมีครู และทุกคนต้องเป็นครู โดยครูคนแรกก็คือ บิดา มารดา ใน

กรณีที่บุคคลใดเกิดมาแล้วไม่ได้พบหน้าบิดา มารดา ก็ให้ถือว่าผู้อุปการะเล้ียงดูอย่าง

ใกล้ชิดนั้นเป็นครูคนแรกของตน ส่วนที่กล่าวว่า “ทุกคนต้องเป็นครู” นั้น เพราะทุกคนสอน

ตนเองได้ทุกขณะที่มีสติสัมปชัญญะ เช่น เตือนให้ตัวเองระมัดระวังขณะเดินทางไปท างาน

หรือไปศึกษาเล่าเรียน เตือนให้ตนเองรู้จักประหยัดในการใช้จ่ายเงิน หรือการให้ค าแนะน า

บุคคลอ่ืนในการกระท าบางส่ิงบางอย่าง เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงสารระที่เกี่ยวข้องกับ

วิชาชีพครูตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ความหมายของคร ู

2. บุคลิกภาพของครูปฐมวัย

3. คุณวุฒิครูปฐมวัย

4. บทบาทของครูปฐมวัย

5. คุณลักษณะของครูที่ดีตามหลักค าสอนในพระพุทธศาสนา

6. คุณลักษณะตามผลการวิจัย

1. ความหมายของครู

1.1 ความหมายของครูตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายค าว่า ”ครู” นั้นมาจากรากศัพท์ใน

ภาษาบาลีว่า “คุรุ – ครุ” หรือจากภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” ในความหมายที่เป็นค านาม

แปลว่า “ผู้สั่งสอนศิษย์หรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์” ส่วนในความหมายที่เป็นค าวิเศษณ์

ในภาษาบาลี แปล ว่า หนั ก สู ง ส่ วน ในภาษาสันสกฤตแปลว่า ใหญ่ หรือ หนั ก

(ราชบัณฑิตยสถาน. 2546 : 225)

1.2 ความหมายของครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่

แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545

ตามมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข

เพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 นิยามความหมายของค าว่าครูไว้ว่า “ครู” หมายความว่า

บุคลากรวิชาชีพซ่ึงท าหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของ

ผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

ตามกฎหมายนี้ครูมีองค์ประกอบที่ส าคัญ คือ

Page 4: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

266

1. ท าหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย

วิธีการต่าง ๆ

2. ท าการสอนในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

3. เป็นบุคลากรวิชาชีพ

1.3 ความหมายของครูจาก Dictionary of Education ในหนังสือ Dictionary of

Education ของกู๊ด (Good. 1973 : 586) ได้ให้ความหมายของครูไว้หลายนัยด้วยกันดังนี้

1. ครู คือ บุคคลที่ทางราชการจ้างไว้เพ่ือท าหน้าที่ให้ค าแนะน าหรืออ านวยการใน

การจัดประสบการณ์การเรียนส าหรับนักเรียนหรือนักศึกษาในสถาบันการศึกษาไม่ว่าจะ

เป็นของรัฐหรือเอกชน

2. ครู คือ บุคคลที่มีประสบการณ์หรือมีการศึกษามากหรือดีเป็นพิเศษ หรือมีทั้ง

ประสบการณ์และการศึกษาดีเป็นพิเศษในสาขาใดสาขาหนึ่งที่สามารถช่วยท าให้บุคคลอ่ืน

ๆ เกิดความเจริญงอกงามและพัฒนาก้าวหน้าได้

3. ครู คือ บุคคลที่ส าเร็จหลักสูตรวิชาชีพจากสถาบันฝึกหัดครู และการฝึกอบรม

นั้นได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ โดยการมอบประกาศนียบัตรทางการสอนให้แก่

บุคคลนั้น (ยนต์ ชุ่มจิต. 2550 : 3 - 6)

จากที่กล่าวมา สรุปว่า ครู หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมี

ประสบการณ์ สู ง ผ่ านหลักสูตรการศึกษา การอบรม การปฏิบั ติ การสอน ใน

สถาบันการศึกษาและได้ผ่านการรับรองใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภาสามารถสอนใน

สถานศึกษาได้

2. บุคลิกภาพของครูปฐมวัย

บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมีความส าคัญอย่างย่ิง เพราะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อเด็กทั้ง

ทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือเด็กสามารถที่จะเรียนรู้พฤติกรรมต่าง ๆ จากบุคคลใกล้ชิด

เพราะเด็กชอบการเลียนแบบจากส่ิงที่พบเห็น โดยเฉพาะพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกมา

ทั้งด้านดีและไม่ดี ดังนั้นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กจะต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีมี

จริยธรรมคุณธรรม ที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กในอนาคตได้ ครูปฐมวัยเป็นบุคคลที่

มีความใกล้ชิดกับเด็ก มากรองจากพ่อแม่ เพราะเวลาประมาณ 1 ใน 3 เด็กจะใกล้ชิดกับ

ครู ครูผู้สอนจึงมีหน้าที่ใน การปรับพฤติกรรมเด็กให้มีความเหมาะสม และท าตัวให้เป็น

แบบอย่างแก่เด็กอีกด้วย

Page 5: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

267

บุคลิกภาพ (Personality)

บุคลิกภาพมีผู้ที่ให้ความหมายของบุคลิกภาพมากมายที่พอสรุปได้มีดังต่อไปนี้

ธีรศักด์ิ อัครบวร (2542 : 81 - 83) บุคลิกภาพเป็นเรื่องส่วนของบุคคลที่ต้องไป

เกี่ยวข้องกับผู้อ่ืนและสังคม การอธิบายเรื่องบุคลิกภาพนั้นส่วนใหญ่จะอธิบายในเชิงของ

จิตวิทยา

ไพพรรณ เกียรติโชติชัย บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่

รวมอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมีผลท าให้บุคคลนั้นมีความแตกต่างไปจากบุคคลอ่ืน

ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะทั้งภายในและภายนอกของ

บุคคลที่แสดงออกมาให้คนอ่ืนมองเห็นและรับรู้ได้ ซ่ึงท าให้ลั กษณะของบุคคลนั้นมี

ความแตกต่างไปจากคนอ่ืน

บุคลิกภาพที่ส าคัญของครูปฐมวัย

บุคลิกภาพที่ส าคัญของครูปฐมวัยอาจจ าแนกเป็น 4 ด้านดังนี้

1. บุคลิกภาพทางกาย

บุคลิกภาพทางกายเป็นบุคลิกภาพที่สังเกตได้ง่ายและเป็นส่ิงที่ปรากฏต่อบุคคล

ทั่วไป เป็นความประทับใจครั้งแรกที่เกิดกับบุคคลที่พบเห็น บุคลิกทางกายโดยทั่วไปมีดังนี้

1.1 รูปร่างหน้าตาและผิวพรรณ บุคลิกภาพส่วนนี้เป็นมาโดยก าเนิด อาจแก้ไข

ได้ยากแต่ก็สามารถปรับปรุงได้ หน้าตาครูต้องสะอาดถึงจะไม่สวยไม่หล่อก็ตาม

1.2 การแต่งกาย การเสริมบุคลิกภาพที่ส าคัญที่สุดคือการแต่งกาย เพราะ

การแต่งกายช่วยกลบเกล่ือนรูปร่างหน้าตาและผิวพรรณได้ ช่วยท าให้รูปร่างหน้าตาและ

ผิวพรรณดูดีข้ึนตัวเอง การแต่งกายของครูเป็นส่ิงแรกที่ลูกศิษย์ ผู้ปกครองและประชาชน

มองเห็น จึงมีผลต่อการสร้างเจตคติที่ดีต่อตัวครู การแต่งกายที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพ

ของครูควรค านึงถึงเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1) แต่งกายให้เหมาะสมกับความนิยมของสังคมในโอกาสต่าง ๆ

2) แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่ เช่น ศาสนสถาน ที่ราชการ สนามกีฬา

เป็นต้น

3) การแต่งกายให้เหมาะสมกับฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ คือต้อง

แต่งตัวให้เหมาะสมกับสถานภาพ ต าแหน่ง หน้าที่ บทบาทและวิชาที่สอนแต่ละคน

นอกจากนี้ครูจะต้องไม่แต่งหน้าหรือแต่งตัวเกินความจ าเป็น

4) แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานภาพ โดยค านึงถึงเพศ วัย อายุ และ

ผิวพรรณของตน เช่นสี และแบบของเสื้อผ้า รองเท้าและกระเป๋าถือ

Page 6: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

268

5) ความสะอาดของเครื่องแต่งกาย ทั้งเส้ือผ้าและรองเท้าไม่จ าเป็นต้องมี

ราคาสูงนัก แต่จ าเป็นต้องมีความสะอาดอยู่เสมอ

6) สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับรูปทรงและเรียบร้อยอยู่เสมอ

7) การเสริมสวยตามความจ าเป็น ครูควรใช้เครื่องส าอางช่วยเสริม

ความงามเพียงเพ่ือท าให้เกิดความเรียบร้อยแก่ร่างกาย ใช้เพ่ือส่งเสริมให้มีบุคลิกภาพดีข้ึน

เช่น สบู่ฟอกตัว น้ ามันใส่ผม แป้ง น้ าหอม ใช้แต่เพียงเท่าที่จ าเป็นเท่านั้น ควรเสริมสวยแต่

พอดี ไม่ควรมากจนเกินไป

8) การใช้เครื่องประดับที่มีค่า ครูไม่ควรใช้ของมีค่าที่มีราคามากเกินไป

เช่น ทอง เพชร พลอย ราคาแพง แต่ถ้าจ าเป็นต้องใช้ก็ควรจะต้องดูกาลเทศะ แม้ว่า

เครื่องประดับมีค่าเป็นเครื่องส่งเสริมบุคลิกภาพ แต่ครูไม่จ าเป็นต้องเสริมบุคลิกภาพด้วย

ส่ิงเหล่านี้เสมอไป

1.3 กิริยามารยาท บุคลิกภาพส่วนนี้เป็นความประพฤติและการปฏิบัติส่วน

บุคคลต่าง ๆ ในสังคมนั้นเอง กิริยามารยาทดีก็คือ การวางตัวให้ถูกกาลเทศะ ให้เหมาะกับ

บุคคลที่สนทนาด้วย โดยมีบุคลิกภาพเป็นพื้นฐานที่ส าคัญที่สุด กิริยามารยาทของครูนั้น

อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1) บุคคลที่มีศักด์ิสูงกว่าตน ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา ครูที่มีอาวุโสกว่า

ตลอดจน ผู้ปกครองทั่วไป ครูควรวางตัวโดยยึดแบบขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทย

โดยเคร่งครัด การมีสัมมาคารวะ โดยไม่ตีตนเสมอท่าน รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน แต่ก็ไม่

จ าเป็นถึงขั้นประจบประแจง หรือพินอบพิเทา

2) ผู้มีศักด์ิเสมอตน ได้แก่ เพ่ือนครูด้วยกัน ตลอดจนเพ่ือนฝูงต่างอาชีพ

หรือข้าราชการต่างสังกัด ครูควรวางตัวให้มีขอบเขตไม่ล่วงล้ าสิทธิส่วนบุคคลของผู้อ่ืน

และต้องระลึกไว้เสมอว่า กิริยาที่สุภาพต่อกันเป็นแบบแผนของความประพฤติที่ดี แต่ต้อง

ไม่เคร่งครัดเป็นพิธีการอยู่ตลอดเวลาจนเป็นอุปสรรคตอ่สัมพันธภาพ แต่ต้องระวังไม่ท าตน

เหนือคนอ่ืน

3) ผู้มีศักด์ิต่ ากว่าตน ได้แก่ ศิษย์ บุคลากรในโรงเรียน ตลอดจนเพ่ือนครูที่

อาวุโสน้อยกว่า ครูควรวางตัวโดยให้ความเมตตาและเจตนาดี ไม่โอ้อวดหรือย้ าสิทธิของ

ตนว่าเหนือกว่า หรือข่มขู่วางอ านาจเพราะการสร้างความเคารพนั้นไม่ได้เกิดจาก

การประกาศศักดา

ส าหรับกิริยามารยาทที่ดีนั้น เจ้าพระยาสมเด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล)

อธิบายไว้ในหนังสือสมบัติผู้ดีว่า ผู้ดีต้องรักษาความเรียบร้อยทั้งกายจริยา วจีจริยา และ

มโนจริยาดังนี้

Page 7: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

269

กายจริยาคือ

1. ย่อมไม่ใช้กิริยา อันข้ามกายบุคคล

2. ย่อมไม่อาจเอื้อในต าแหน่งที่สูง

3. ย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อ่ืนซ่ึงไม่ใช่หยอกกันฐานะเพื่อน

4. ย่อมไม่เสียดสีกระทบกระทั้งกายบุคคล

5. ย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินให้พรวดพราดโดนคนหรือส่ิงของแตกเสียหาย

6. ย่อมไม่ส่งของให้ผู้อ่ืน ด้วยกิริยาอันเลือกใสผลัดโยน

7. ย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อ่ืน

8. ย่อมไม่เอะอะเมื่อเวลาผู้อ่ืนท ากิจ

9. ย่อมไม่อื้ออึงในเวลาประชุมสดับรับฟัง

10. ย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตัง หรือพูดจาอึกทึกในบ้านแขก

วจีจริยาคือ

1. ย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด

2. ย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน

3. ย่อมไม่เสียงดังตวาดหรือพูดจา กระโชก กระชาก

4. ย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหารดึงดัง

5. ย่อมไม่ใช้ถ้อยค าอันหยาบคาย

มโนจริยาคือ

1. ย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านก าเริบหยิ่งโยโส

2. ย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา

2. บุคลิกภาพทางสังคม

บุคลิกภาพทางสังคมเป็นบุคลิกภาพที่แสดงออกให้ผู้อ่ืนพบเห็นได้ เช่นเดียวกับ

บุคลิกภาพทางร่างกาย เพียงแต่บุคลิกภาพทางสังคมนั้นอาจมีผลจากบุคลิกภาพกายใน

ของบุคคลนั้น ๆ เป็นแรงขับที่ส าคัญมาก โดยเฉพาะค่านิยมทางสังคมทัศนคติ เจตคติ

ตลอดจนคุณธรรม บุคลิกภาพทางสังคมของครู ได้แก่

2.1 มารยาทที่ ดีงาม มารยาทนอกจากเป็นบุคลิกภาพทางกายแล้ว ยังเป็น

บุคลิกภาพทางสังคมที่ส าคัญที่สุดของครู การมีสัมมาคารวะ วาจาอ่อนหวาน พู ดจา

ไพเราะ รู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน องอาจ สง่าผ่าเผย รู้จักทักทาย ล้วนเป็นมารยาทที่เสริม

บุคลิกภาพทางสังคมดีทั้งสิ้น

Page 8: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

270

2.2 ความจริงใจ เป็นบุคลิกภาพที่ส าคัญมากในการสอน ครูที่สอนอย่างจริงใจจะมี

ความจริงจังน่าเช่ือถือ นอกจากนี้ความจริงใจยังช่วยให้คนเช่ือถือช่วยให้คนมีมิตรแท้ มีผู้

อยากสนิทสนมด้วย

2.3 ความรับผิดชอบ เป็นบุคลิกภาพที่ช่วยท าให้เป็นคนที่ ได้รับความเช่ือถือจาก

บุคคลอ่ืนคนในสังคม

2.4 ความซ่ือสัตย์ ช่วยเสริมสร้างเกียรติยศและความเลื่อมใสให้กับบุคคลต่าง ๆ

2.5 รู้จักผ่อนปรน เป็นบุคลิกอย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาน้ าใจและประสานความรู้สึกที่ดี

ต่อกัน

นอกจากที่กล่าวมาแล้วครูปฐมวัยยังมีลักษณะทางกายที่ส าคัญดังต่อไปนี้

1. ความสะอาดของร่างกาย เป็นความสะอาดภายนอกที่บุคคลทั่วไปมองเห็นได้

สัมผัสได้ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ได้แก่

1.1 เล็บ เล็บมือและเท้าควรสะอาดและสั้น

1.2 ใบหน้า ต้องดูแลให้สะอาด ตกแต่งให้สวยงามพอเหมาะพอควรไม่แต่งหน้า

มากจนเกินไป

1.3 ผม ท าผมให้สะอาดเรียบร้อยเหมาะสมกับใบหน้า

1.4 ฟัน ควรรักษาความสะอาด ให้อยู่ในลักษณะที่กล่ินสะอาดไม่ควรปล่อยให้

เหลืองด า

1.5 กล่ินตัว ควรรู้จักรักษาให้ปราศจากกล่ิน

ความสะอาดของร่างกายดังกล่าวเป็นส่ิงส าคัญย่ิง นอกจากความสะอาดของ

เครื่องแต่งกาย เพราะจะท าให้ผู้พบเห็นมีความรู้สึกดีประทับใจ เกิดความศรัทธาในตัวครู

และความสะอาดของครูจะเป็นรูปแบบที่ดีส าหรับเด็ก

2. การแต่งกาย ครูปฐมวัยเป็นผู้ที่แต่งกายให้ดูเรียบร้อย สุภาพ สวยงามเหมาะสม

กับเด็กวัยและหน้าท่ี และไม่จ าเป็นต้องทันสมัย แต่ไม่ควรล้าสมัยจนเกินไป ควรแต่งกายให้

สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก สามารถเคล่ือนไหวได้คล่องตัว และไม่สมควรสวม

เครื่องประดับที่อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น เข็มกลัดที่มีส่วนแหลม ต่างหู เป็นต้น

3. การพูดจา ครูปฐมวัยจะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ค าพูด ควรพูดจาสุภาพ

อ่อนโยนพูดให้ชัดเจน ใช้ค าพูดที่เข้าใจง่ายและไพเราะ ไม่ใช้ค าพูดที่หยาบ ค าแสลง ไม่ใช้

สรรพนามเรียกเด็ก หรือใช้วาจาเหย้าแหย่เด็กในลักษณะล้อเล่น หรือกระทบจิตใจในทาง

ลบ เช่น เป๋ โย่ง เหล่ เตี้ย อ้วน เป็นต้น

Page 9: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

271

4. กิริยามารยาท ครูปฐมวัยควรมีมารยาทงาม ท่าทางสง่างาม รู้จักกาลเทศะ รู้จัก

มารยาทต่าง ๆ ตามแบบที่ดีที่ใช้ในสังคมไทย ทั้งมารยาทในการเดิน นั่ง ยืน ฯลฯ เพ่ือให้

เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก

5. ยิ้มแย้ม ครูปฐมวัยจะต้องปฏิบัติงานร่วมกับผู้อ่ืน สัมพันธ์กับผู้ปกครอง และ

สัมพันธ์กับเด็กตลอดเวลาท่ีปฏิบัติงาน ครูปฐมวัยจะต้องย้ิมแย้มเสมอ

6. คล่องแคล่วว่องไว ธรรมชาติของเด็กเคล่ือนไหวซุกซนตลอดเวลา ครูปฐมวัย

จะต้องเป็นผู้ที่มีความคล่องแคล่วว่องไวสามารถติดตามดูแลเด็กได้ทัน

7. สุขภาพ ครูปฐมวัยมีหน้าที่ดูแลเด็กปฐมวัยทั้งวัน และมีกิจกรรมที่ครูต้องยืน

เดิน หรือเคล่ือนไหวตลอดเวลา ดังนั้นครูจึงจ าเป็นต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ครูจึ งต้อง

ท างานบางอย่างที่เด็กไม่สามารถจะช่วยเหลือได้

3. คุณลักษณะทางจิตใจของครูปฐมวัย

ครูปฐมวัยมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนครูผู้สอนในระดับอ่ืน ๆ เพราะไม่ได้ท าหน้าที่

สอนเพียงอย่างเดียว ต้องท าหน้าที่เป็นทั้งแม่ ตลอดจนเป็นเพ่ือนเล่น และเด็กต้องการเอา

ใจใส่เป็นพิเศษ ดังนั้นครูปฐมวัยจึงต้องมีจิตใจหรือจิตส านึกของความเป็นครู ซ่ึงเป็นเรื่อง

ของนามธรรม ลักษณะทางจิตใจมีดังต่อไปนี้

1. รักเด็ก การให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็กเป็นความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนและ

ลึกซึ้ง ครูปฐมวัยจะต้องรักเด็กอย่างแท้จริง จึงจะอยู่กับเด็กได้อย่างมีความสุข

2. เมตตา กรุณา เด็กจะมีความเมตตากรุณาถ้าเด็กได้รับการอบรมดูแลด้วย

ความเมตตากรุณาเอื้ออาทรห่วงใยเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ผลที่ได้รับจะท าให้เด็กว่า

ง่ายสอนง่าย เป็นเด็กดี ดังนั้นครูปฐมวัยจะต้องเป็นคนมีความเมตตากรุณาเป็นผู้ที่มีจิตใจ

รักเอื้ออาทรแก่เดก็

3. อารมณ์ดี ครูปฐมวัยจะต้องเป็นผู้ที่ควบคุมอารมณ์ อดทนอดกลั้นต่อทุกส่ิงได้ดี

ไม่ควรแสดงอารมณ์โกรธ เกลียด โมโหง่าย ไม่ท าให้เด็กสะเทือนใจ ไม่ตื่นตระหนกตกใจ

เอะอะโวยวาย และมีอารมณ์สนุกร่วมกับเด็กเวลาท ากิจกรรมต่าง ๆ

4. ใจเย็น ครูปฐมวัยจะต้องท าตัวให้เหมือนพ่อแม่เด็ก ครูจะต้องรับความจริงว่า

เด็กแต่ละคนได้รับการอบรมเล้ียงดูและการฝึกจากทางบ้านที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน

เด็กอาจจะแสดงกิริยาท่าทาง หรือวาจาที่ไม่น่าพึงพอใจต่อบุคคลต่าง ๆ ในสถานศึกษา ครู

ไม่ควรคิดว่าการแสดงออกของเด็กปฐมวัยที่ไม่เหมาะสมนั้น เป็นการแสดงออกเพ่ือเป็น

ปฏิปักษ์ต่อครู แต่ครูจะต้องใจเย็นและท าตนให้เป็นมิตรกับเด็ก

Page 10: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

272

5. อดทน การที่ครูมีจิตใจที่เข้มแข็งสามารถเผชิญกับสภาวะที่ไม่พึงพอใจได้

บ่อยครั้งที่ เด็กอาจจะเลอะเทอะ เปรอะเปื้อน หรือท าในส่ิงที่ เกิดความเสียหายและ

ผิดพลาด ส่ิงเหล่านี้ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ส าคัญส าหรับเด็ก ครูจะต้องเข้าใจเด็กและ

อดทน ให้อภัยแก่เด็กด้วยความเต็มใจ

6. ซ่ือสัตย์ ผู้ที่มีความซ่ือสัตย์ย่อมประพฤติตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา และใจ ทั้ง

ต่อตนเองและผู้อ่ืน ต่อหน้าที่การงาน เป็นต้น การปฏิบัติงานในสถานศึกษาปฐมวัย มี

บุคลากรที่ปฏิบัติงานหลายหน้าที่อยู่ร่วมกัน ทุกคนจะต้องมีความซ่ือสัตย์ต่อกัน จะท าให้

การท างานลุล่วงและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

7. ขยัน งานในหน้าที่ครูปฐมวัยในแต่ละวันจะมีความเกี่ยวข้องกัน เริ่มตั้งแต่ก่อนที่

เด็กจะมาถึงโรงเรียน ครูจะต้องเอาใจใส่ต่อหน้าที่ของตนเองอยู่เสมอ ไม่ท้อถอย เพ่ือให้

งานบรรลุเป้าหมาย และมีความกระตือรือร้นในการท างาน เป็นการฝึกความรับผิดชอบต่อ

ตนเองในขั้นพื้นฐาน

8. มีมนุษยสัมพันธ์ ครูปฐมวัยจะต้องเป็นบุคคลที่จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นผู้ที่มี

มนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากรในสถานศึกษา และบุคลากรภายนอก นอกจากนั้นยังเป็น

บุคคลส าคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน และจะท าให้ผู้ปกครองเด็ก

มีความเช่ือถือไว้วางใจครู และทางโรงเรียน

9. มีวินัย การปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎระเบียบและวัฒนธรรม สามารถควบคุมกาย

วาจา ใจรวมถึงการประพฤติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี

10. มีความเป็นระเบียบ สะอาด และประหยัด พร้อมทั้งฝึกเด็กให้เคยชินด้วย

การจัดสภาพห้องเรียน เช่น จัดมุมเล่นของเด็กให้เป็นระเบียบ สะอาด และรู้จักรักษา ช่วย

ซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ

11. วาจาสุภาพ มีน้ าเสียงอ่อนโยน และการพูดกับเด็กต้องใช้ค าพูดสุภาพเสมอ จะ

ช่วยเป็นแบบอย่างทีดี่ให้แก่เด็ก จะท าให้เด็กมีวาจาทีดี่ด้วย และประโยคที่พูดกับเด็กจะต้อง

เป็นประโยคที่สมบูรณ์และชัดเจน

12. ยุติธรรมและตัดสินใจดี ครูปฐมวัยจะต้องมีความยุติธรรม เมื่อมีปัญหาเกิดข้ึน

จะต้องพิจารณาปัญหาอย่างรอบคอบ วางตนเป็นกลาง รู้จักเหตุและผล ตัดสินปัญหาตาม

เหตุและผล และสามารถตัดสินใจกระท าสิ่งใดส่ิงหนึ่งที่จะแก้ปัญหาได้

13. เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็ก เด็กเล็ก ๆ ยังต้องการความดูแล

เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ครูผู้สอนควรให้ความอบอุ่นแก่เด็กเสมือนคนในครอบครัวของตนเอง

ส่ิงนี้จะช่วยให้เด็กอยากมาโรงเรียน ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก

และสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านต่าง ๆ ได้

Page 11: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

273

14. ชอบศิลปะ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยควรมีความสามารถในการวาดภาพ การร้อง

เพลง การท างานฝีมือ เล่นดนตรี ส่ิงเหล่านี้จะช่วยสอนเด็กได้เป็นอย่างดี

15. สุขภาพดี ครูควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ย่ิงอยู่กับเด็กเล็กมากเท่าใด ครูจะต้อง

ระวังในเรื่องสุขภาพให้มาก เพราะจะต้องพูด จะต้องเคล่ือนไหวอยู่เสมอ บางทีจะต้องเล่น

กับเด็ก

16. มีความคล่องแคล่ว ว่องไว การอยู่กับเด็กเล็ก ๆ ซ่ึงซุกซนและเคล่ือนไหวอยู่

เสมอ ครูปฐมวัยจึงต้องคล่องแคล่วว่องไว กระฉับกระเฉง สามารถติดตามเด็กได้ทัน

(เยาวพา เดชะคุปต์. 2542 : 110 -111)

3. คุณลักษณะด้านคุณวุฒิ

ในปัจจุบันคุณลักษณะที่ส าคัญอย่างหนึ่ งของครูปฐมวัยประการหนึ่ งคือ

คุณลักษณะตามคุณวุฒิ ซ่ึงถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ส าคัญมาก เพราะคุณวุฒิจะเป็นส่ิงที่จะ

บ่งบอกได้ว่าบุคคลที่จะเข้ามาท าหน้าที่ในบทบาทของครูปฐมวัยนั้นมีความรู้ความสามารถ

เพียงพอในการท าหน้าที่ ซ่ึงคุณลักษณะด้านคุณวุฒิมีดังนี้

1. ส าเร็จการศึกษาด้านการศึกษาปฐมวัย หรือการศึกษาสาขาอ่ืน ๆ และผ่าน

การอบรมความรู้ด้านการศึกษาปฐมวัย

2. มีความรู้ด้านจิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการ โดยมีความเข้าใจพัฒนาการเด็ก

อย่างแม่นย า

3. มีความรู้ด้านหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สามารถพัฒนาหลักสูตรการศึกษา

ปฐมวัยได้

4. มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมได้ตามหลักสูตรและหลักการจัด

การศึกษาในระดับปฐมวัย

5. มีความรู้ในการพัฒนาส่ือส าหรับเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมกับกิจกรรมแต่ละ

กิจกรรมที่จัดให้กับเด็ก

6. มีความรู้ในการประเมินพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นรายบุคคล

7. มีความรู้ในด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย

8. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัย และสามารถท าวิจัยในระดับปฐมวัย และ

น าเอาผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ได้

5. คุณลักษณะด้านความสามารถ

Page 12: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

274

1. มีความสามารถในการวางแผนการจัดประสบการณ์ การด าเนินงานในชั้นเรียน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มีความสามารถในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่อบอุ่น ที่ เอ้ือต่อ

การพัฒนาเด็กทุกด้าน

3. มีความสามารถในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โดยให้โอกาสเด็กเลือกและ

ตัดสินใจในการปฏิบัติตามความสนใจและความต้องการของเด็ก

4. มีความสามารถในการจัดกิจกรรม โดยให้เด็กได้ฝึกทักษะการคิด การเรียนรู้

จากการปฏิบัติจริง ตามแนวการจัดประสบการณ์ของหลักสูตรและแผนการจัดกิจกรรม

5. มีความสามารถในการเล่านิทาน การพูด การเตรียมเด็กให้พร้อมโดยใช้วิธีการ

ต่าง ๆ

6. มีความสามารถในการจัดกิจกรรมในรูปแบบการบูรณาการ ให้เด็กเรียนรู้ผ่าน

การเล่นอย่างมีความสุข

7. มีความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่ ดีงาม และ

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับเด็กโดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

8. มีความสามารถในการจัดหาและผลิตส่ือ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

9. มีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี และสามารถน ามาใช้ใน

การจัดการเรียนการสอนได้

10. มีความสามารถในการประเมินพัฒนาการที่หลากหลาย และมีการจัดเก็บ

ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อสรุปการประเมินผลพัฒนาการและน าไปพัฒนาเด็ก

6. คุณลักษณะด้านอุดมการณ์ในวิชาชีพครู

1. รักและศรัทธาต่ออาชีพครู

2. อุทิศเวลา ก าลังกาย ก าลังใจ และก าลังสติปัญญาให้กับงานวิชาชีพครู

3. มีความส านึกในหน้าที่ ของความเป็นครู ปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างเต็ม

ความสามารถ

4. มีความภูมิใจในความเป็นครูปฐมวัย ซ่ึงเป็นผู้วางรากฐานที่ดีให้กับเด็กที่จะ

เติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต

5. มีความมุ่งมั่นไม่ทอดทิ้ง และเบื่อหน่ายต่อการสอน

6. มีความเช่ือว่าเด็กแตกต่างกัน การจัดประสบการณ์จึงเน้นเด็กเป็นส าคัญ และ

ช่วยพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ

Page 13: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

275

7. มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอเพื่อพัฒนาตนเอง ซ่ึงจะเกิดผลดีต่อ

เด็กและเพ่ือนครู

7. คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์

1. ท างานร่วมกับผู้อ่ืนได้ดี ปรับตัวเข้าบุคคลทุกระดับได้อย่างเหมาะสม

2. ยอมรับความคิดเห็นและความสามารถของบุคคลอ่ืน

3. เข้าใจความรู้สึก และความต้องการของผู้ปกครอง

4. มีสัมพันธภาพที่ดีกับเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกันและเป็นกันเองกับ

ทุกคน

5. มีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลและหน่วยงานอ่ืน มองบุคคลอ่ืนและมองโลกในแง่ดี

6. มีศิลปะในการพูด ใช้ค าพูดต่อเด็ก เพ่ือนร่วมงาน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไปได้

อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

8. คุณลักษณะด้านจริยธรรมและคุณธรรม

1. มีความเมตตา กรุณา ซ่ือสัตย์สุจริต

2. มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผ่ือแผ่ มีความขยันหมั่นเพียร

3. มีความเชื่ออย่างมีเหตุผลไม่หลงงมงาย

4. มีสติมั่นในการคิดและการกระท า

5. มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามสิทธิและหน้าท่ีของพลเมืองดี

6. มีความเป็นกัลยามิตรกับเด็ก เพื่อนร่วมงาน ผู้ปกครองและบุคคลอ่ืน

7. รักเด็กเอาใจใส่ให้ความดูแลช่วยเหลือเมื่อเด็กมีปัญหา

8. ปฏิบัติตนในจรรยาบรรณวิชาชีพครู

คุณลักษณะของครูปฐมวัยตามส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ยังได้ก าหนด

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของครูปฐมวัยไว้ 2 มาตรฐาน ดังนี้

1. มาตรฐานที่ 9

2. มาตรฐานที่ 10

Page 14: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

276

1. มาตรฐานที่ 9 ครูมีคุณธรรมจริยธรรม มี วุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงาน

ที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี และมีครูพอเพียง มีทั้งหมด 7 ตัวบ่งช้ี

ดังนี้

9.1 มีคุณธรรมจริยธรรม และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู

9.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ผู้ปกครองและชุมชน

9.3 มีความมุ่งมั่นในการอุทิศตน ในการสอนและพัฒนาเด็ก

9.4 มีการแสวงหาความรู้และเทคนิควิธีการใหม่ ๆ รับฟังความคิดเห็นใจกว้างและ

ยอมรับการเปล่ียนแปลง

9.5 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่าข้ึนไป

9.6 สอนตรงตามวิชาเอก – โท หรือตรงตามความถนัด

9.7 มีจ านวนพอเพียง (หมายรวมทั้งครูหรือบุคลากรสนับสนุน)

2. มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพและเน้นเด็กเป็นส าคัญ มีทั้งหมด 7 ตัวบ่งชี้ดังนี้

10.1 มีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายการจัดการศึกษาและหลักสูตรการศึกษา

ปฐมวัย

10.2 มีการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล

10.3 มีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นส าคัญ

10.4 มีความสามารถในการใช้สื่อท่ีเหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก

10.5 มีการประเมินพัฒนาการของเด็กตามสภาพจริงโดยค านึงพัฒนาการตามวัย

10.6 มีการน าผลการประเมินพัฒนาการมาปรับเปล่ียนการจัดประสบการณ์ เพ่ือ

พัฒนาให้เด็กเต็มตามศักยภาพ

10.7 มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและน าผลไปใช้พัฒนาเด็ก (ส านักงาน

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. 2548. 52 – 54)

4. บทบาทของครูปฐมวัย

ครูปฐมวัยเป็นบุคคลที่มีความส าคัญย่ิงต่อเด็ก ซ่ึงเป็นผู้ที่มีความส าคัญใน

การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 114 – 119

อ้างอิงจาก ลัดดา นีละมณี. 2524 : 216 – 262) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูปฐมวัยที่ควร

พิจารณา มีดังนี้

Page 15: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

277

1. การปฏิบัติของครูปฐมวัยต่อเด็ก ครูปฐมวัยจะต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของ

เด็กปฐมวัยในเรื่องต่อไปนี้

1.1 เด็กไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบเคล่ือนไหว อยากรู้ อยากเห็น ครูจะต้องมีการจัด

กิจกรรมอยู่เสมอ

1.2 ชอบเล่น เด็กต้องการโอกาสท่ีจะได้เล่นอย่างร่าเริงแจ่มใส

1.3 เด็กมีระยะเวลาความสนใจสั้น เกณฑ์เฉล่ียช่วงระยะเวลาความสนใจของ

เด็กปฐมวัยในการเล่นเครื่องเล่นมีดังนี้

เด็กอาย ุ2 ปี มีระยะความสนใจประมาณ 7 นาที

เด็กอายุ 3 ปี มีระยะความสนใจประมาณ 8.9 นาที

เด็กอายุ 4 ปี มีระยะความสนใจประมาณ 10.10 นาที

เด็กอายุ 5 ปี มีระยะความสนใจประมาณ 13.60 นาที

1.4 สนใจส่ิงแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว ชอบสีต่าง ๆ ที่แปลกตา ชอบรูปภาพ

1.5 เบื่อง่าย เด็กจะเบื่อเมื่อเห็นของเก่า ๆ ซ้ า ๆ ซาก ๆ อยู่นานเป็นแรมสัปดาห์

แรมเดือน แรมปี

2. รู้ความต้องการของเด็ก เด็กแต่ละคนอาจจะมีความต้องการในบางส่ิงบางอย่าง

แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วเด็กจะมีความต้องการตรงกันในเรื่องต่อไปนี้

2.1 ความรัก เด็กทุกคนต้องการความรักอย่างสม่ าเสมอ เสมอต้นเสมอปลาย

โดยเฉพาะความรักจากพ่อแม่และบุคคลท่ีใกล้ชิด

2.2 ความปลอดภัย เด็กทุกคนต้องการความปลอดภัยทางร่างกาย คือ อาหาร

เส้ือผ้า เครื่องนุ่งห่ม ต้องการความปลอดภัยทางสังคม คือ เพ่ือน โดยเฉพาะเพ่ือนในวัย

เดียวกัน ทางจิตใจ ต้องไม่ถูกรบกวน รังแก รังควานจากผู้ใด เด็กจะเป็นสุขเมื่อได้รับ

ความปลอดภัยเหล่านี้

2.3 การยอมรับว่าเป็นบุคคลส าคัญคนหนึ่ง ต้องการให้มีการยอมรับว่าเขาเป็น

บุคคลส าคัญคนหนึ่งในบ้าน ในชั้นเรียน ในกลุ่ม ของสถานศึกษา อยากจะช่วย อยากแสดง

ความสามารถ เพ่ือจะให้ได้รับค ายกย่องชมเชย

2.4 ความเป็นคนส าคัญของตัวเอง อยากทดลอง อยากท า อยากรู้ อยากเห็น

เด็กจะพยายามท าทุกส่ิงทุกอย่างด้วยตัวเอง ต้องการช่วยตนเอง เด็กจะมีความสุขและ

ภาคภูมิใจเมื่อท าส่ิงใดส่ิงหนึ่งประสบความส าเร็จด้วยตัวเอง

2.5 การเลียนแบบผู้ใหญ่ เด็กจะประพฤติตนตามแบบอย่างผู้ที่เด็กรัก และอยู่

ใกล้ชิดกับเด็ก ดังนั้นผู้ใหญ่ เช่น พ่อ แม่ ครู จะต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก

Page 16: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

278

2.6 การเหนี่ยวรั้งควบคุมตัวเอง ต้องการแนะน าซักจูง มีคนคอยเอาใจใส่ให้

ก าลังใจ

2.7 การยึดถือ เช่ือมั่น เพ่ือยึดเป็นแนวทางปฏิบัติในทางที่เหมาะที่ควร ปฏิบัติ

ด้วยความเช่ือมั่น เพ่ือเป็นแนวหรือวิถีชีวิตน าเด็กให้เช่ือฟังเคารพนับถือ เช่ือฟังค าสั่งสอน

ของศาสนาที่ตนนับถือ

2.8 ค าแนะน าและเหตุผล เด็กจะคอยซักถาม ทั้งนี้เพราะต้องการค าแนะน าที่

ถูกต้อง ต้องการทราบเหตุผลจากผู้ใหญ่ เช่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู เป็นต้น

3. ให้ความอบอุ่นแก่เด็ก ครูแสดงความสนใจและให้ความอบอุ่นอย่างจริงใจกับ

เด็กแต่ละคนอย่างทั่วถึง โดยไม่เลือกท่ีรักมักที่ชัง ด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้

3.1 แสดงให้เด็กเห็นว่าครูรักเด็กเสมอ พร้อมที่จะให้อภัยในความผิดพลาดของ

เด็ก และยังคิดว่าเด็กเป็นบุคคลท่ีมีคุณค่าเสมอ

3.2 ยอมรับความจริงในความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ดูถูกเหยียดหยามเด็ก

พยามหลีกเล่ียงไม่ให้มีการเปรียบเทียบ ซ่ึงจะท าให้เกิดความอิจฉาริษยา

3.3 ควรให้โอกาสเด็กแต่ละคนได้ประสบความส าเร็จด้วยความภูมิใจโดยปล่อย

ให้เด็กท าอะไรเสร็จก่อนเพื่อนในชั้นบ้าง

3.4 พยายามมองหาส่วนที่ดีของเด็ก ใช้วิธีการชมอย่างฉลาดเพ่ือให้เด็กเกิด

ความภาคภูมิใจ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปล่อยให้เด็กหัวเราะเยาะเพื่อนเมื่อท าผิดพลาด

3.5 ใช้วิธีละมุนละไมในการปกครองเด็ก ไม่ควรท าโทษ หยิกเด็ก ควรใช้วิธีเตือน

ด้วยสายตา หรือให้อาณัติสัญญาณ เพียงให้เด็กรู้สึกตัวเมื่อเด็กท าผิด และไม่ควรให้เด็กทั้ง

ชั้นเดือดร้อนเพราะความผิดของเด็กเพียงส่วนน้อยหรือเพียงคนเดียว

4. การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กทุกคนไม่ชอบหยุดนิ่งจะต้อง

มีกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นในการจัดกิจกรรมส าหรับเด็กเพ่ือส่งเสริมความพร้อมใน

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องส าคัญมาก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้เห็นมาก ๆ ได้

ฟังมาก ๆ หรือช่วยให้เข้าใจความหมายจะท าให้เด็กอยากเห็นอยากฟัง อยากรู้มากข้ึน และ

ย่ิงเด็กได้รับรู้ ได้ประสบการณ์จากการได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ความรู้ประสบการณ์ก็จะ

กว้างขวางออกไปทุกที จะท าให้เด็กมีประสบการณ์มากข้ึน มีความสามารถเกิดการเรียนรู้

ย่ิงขึ้น ดังนั้นการจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย ควรค านึงถึงเรื่องต่อไปนี้

4.1 การจัดกิจกรรมโดยเปิดโอกาสหลาย ๆ ทาง ให้เด็กได้คิดค้นด้วยตนเอง

ปล่อยให้ใช้ความคิดอย่างเต็มที่โดยไม่เร่งเด็ก ปล่อยให้เด็กตัดสินใจเอง มอบงานให้

รับผิดชอบตามความสามารถ ช่วยเหลือเด็กเมื่อจ าเป็นจริง ๆ ให้เด็กซักถาม ช่วยในส่ิงที่

Page 17: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

279

เกินความสามารถ ฯลฯ ให้เด็กได้ใช้ความคิดของตนเอง เพราะส่ิงที่เด็กคิดย่อมส่งผลต่อ

ความภาคภูมิใจ เข้าใจลึกซึ้งกว่า และจ าได้นานกว่าส่ิงที่ผู้อ่ืนบอกให้

4.2 การจัดการ ต้องนึกถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล คนเราถึงแม้ว่าอายุ

เท่ากัน อยู่ในวัยเดียวกัน แต่ความสามารถ ระยะเวลา ความสนใจ ตลอดจนรูปร่าง

สติปัญญาอาจจะไม่เท่ากัน ฉะนั้นควรจัดกิจกรรมให้เด็กตามความสามารถที่จะท า

กิจกรรมนั้น ๆ ให้ส าเร็จ เพ่ือไม่ให้เกิดความท้อถอย คอยสนใจการกระท าของเด็กเลือกหา

ที่ชมเชย คอยซักถาม คอยดูแลให้ก าลังใจ

4.3 ท าตัวอย่างที่ดีให้เด็กเลียนแบบ เพราะเด็กชอบเลียนแบบผู้ที่ใกล้ชิด ผู้ที่เด็ก

รัก ควรปล่อยให้เด็กได้ใช้ความพยายามของเด็กเอง เพ่ือหาวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปญัหาด้วย

ตนเอง ให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างสุดฝีมือ ครูควรช่วยแนะน าเพียงเล็กน้อย เพราะ

คนเราเรียนรู้หลายอย่างโดยไม่มีครู หรือใคร ๆ สอน ปล่อยให้เด็กเติบโตข้ึนอย่างอิสระ ไม่

ควรเข้าไปขัดขวางขณะที่เด็กก าลังท ากิจกรรม ปล่อยให้เด็กใช้ความสามารถของตนเอง

อย่างเต็มที่ แต่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด คอยเติมความรู้ให้ คอยสนับสนุนให้พูด ให้

แสดงออก คอยตั้งค าถามให้เด็กพูด ให้เด็กคิด ให้เด็กแสดงออกมาก ๆ

4.4 ครูปฐมวัยควรเล่นกับเด็ก แต่อย่าพยายามเล่นจนเด็กเหนื่อย เด็กบางคน

กลัว การแข่งขัน ดังนั้นควรหลีกเล่ียงการเปรียบเทียบว่า คนนั้นดีกว่า คนนี้ดีกว่า พี่เก่งกว่า

น้องเก่งกว่า ฯลฯ ทางที่ดีควรยกย่องชมเชยผลงานของเด็กแต่ละคนจะดีกว่า

4.5 จัดส่ิงแวดล้อมเพ่ือให้เด็กหาประสบการณ์ตามส่ิงที่ต้องการ จัดห้องเรียน

ส าหรับเด็กให้เป็นห้องท างาน จัดวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม เด็กอาจจะเล่นน้ า เล่นทราย เล่น

บล็อก ปั้นดินเหนียว ระบายสี ซ่ึงจะมีการเตรียมที่เก็บวัสดุให้แก่เด็ก วัสดุอุปกรณ์เหล่านี้

จะช่วยให้เด็กได้ค้นคว้าทดลอง ท าให้ประสบการณ์ของเด็กกว้างขวางมากข้ึน พยายามเก็บ

ส่ิงที่เป็นอันตรายออก ให้มีความปลอดภัยแก่เด็ก ครูไม่ต้องคอยห้ามเด็กตลอดเวลา ให้เด็ก

ได้ทดลอง ได้กระท า ได้ปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา ส่ิงเหล่านี้จะเป็นส่ิงที่จะกระท าให้เด็กเกิด

การเรียนรู้ตลอดเวลา และขยายประสบการณ์ของเด็กเพ่ิมมากขึ้น

5. การประเมินความพร้อมในการเรียนรู้ เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ก าลังเจริญเติบโต

ความสามารถและการแสดงออกอาจจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมและ

ประสบการณ์ การประเมินผลส าหรับเด็กไม่ใช่การตัดสินแบบได้หรือตก แต่ เป็น

การประเมินในเรื่องการวัดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์

ทางด้านสังคม และทางด้านสติปัญญา เพ่ือหาแนวทางในการส่งเสริมและแก้ไขลักษณะ

นิสัยต่าง ๆ ที่ไม่พึงประสงค์ ถ้าเด็กได้แสดงพฤติกรรมในทางไม่ดี ถ้าเด็กท าบ่อย ๆ จะ

กลายเป็นนิสัยติดตัวเด็กจนโต จึงจ าเป็นต้องประเมินความพร้อมของเด็กปฐมวัย และควร

Page 18: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

280

ใช้หลาย ๆ วิธี เช่น การสังเกต การสนทนา การตรวจผลงาน การสอบปากเปล่า และ

การทดสอบ เป็นการประเมินผล ควรจะได้มีการบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นระยะ ๆ เพ่ือจะ

ได้น าข้อมูลมาประกอบการพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงวิธีการส่งเสริมความพร้อม

ในการเรียนรู้ของเด็กต่อไป

ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2523 : 352 – 475) ได้เสนอ

บทบาทของครูปฐมวัยมีดังต่อไปนี้

1. บทบาทในฐานะที่เป็นแบบอย่างแก่เด็ก ได้แก่

1.1 มีบุคลิกภาพเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ กิริยาท่าทาง การแต่งกาย การทรงตัว

การพูดจาที่เหมาะสมตามสภาพของวัฒนธรรมท้องถ่ิน

1.2 ใช้เสียงอ่อนโยน สุภาพ และประโยคที่ควรพูดควรเป็นประโยคที่ชัดเจน

1.3 ฝึกความมีระเบียบ ความสะอาด ความประหยัด โดยการจัดสภาพห้องเรียน

มุมเล่นของเด็ก ให้เคยชินกับความเป็นระเบียบ และความสะอาด การรู้จักเก็บรักษาและ

ซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์

1.4 ปฏิบัติต่อเด็กทุกคนด้วยความรักเสมอหน้ากัน ไม่แสดงความล าเอียงเพราะ

เด็กจะมีความรู้สึกไวในเรื่องน้ี

2. บทบาทของครูในการเสริมสร้างบุคลิกภาพและการสร้างสรรค์

2.1 ตั้งใจฟังเวลาเด็กพูด

2.2 สนใจต่อค าถามของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กอยากรู้อยากเห็น

2.3 ชมเชย หรือแสดงกิริยาช่ืนชมในผลงานของเด็ก พยายามช่วยให้เด็กมี

ความมั่นใจในความสามารถของตน

2.4 เคารพในความแตกต่างของเด็ก ไม่เปรียบเทียบเด็ก

2.5 ให้โอกาสเด็กได้เล่นและท ากิจกรรมด้วยตนเองอย่างอิสระสร้างสรรค์

3. บทบาทของครูในการส่งเสริมโภชนาการเด็ก

3.1 ร่วมกับผู้ปกครอง โดยเล้ียงสัตว์และปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารตามสภาพของ

ท้องถ่ิน

3.2 จัดท าอาหารกลางวันและอาหารว่างส าหรับเด็ก โดยร่วมมือกับผู้ปกครอง

3.3 ประเมินสภาพโภชนาการเป็นระยะ ๆ ร่วมกับผู้ปกครองในการศึกษานิสัย

ของเด็กและแก้ไขปรับปรุงที่เป็นปัญหา

4. บทบาทของครูในการส่งเสริมนิสัยส่วนตัวและสังคม

Page 19: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

281

4.1 ฝึกเด็กให้มีนิสัยในการเรื่องกิจวัตรส่วนตัวอย่างมีระเบียบ การขับถ่าย

การรักษาความสะอาด การเล่น หรือเรียน เป็นต้น

4.2 ให้เด็กเล่นดนตรีง่าย ๆ

4.3 แก้ไขปรับปรุงการทรงตัวให้เหมาะสมกับเด็ก

5. บทบาทของครูในการส่งเสริมความเข้าใจภาษา

5.1 สนทนากับเด็ก และจัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กสามารถบอก ช่ือ วัน ค าตรง

ข้าม ค าบอกลักษณะ ต าแหน่งได้

5.2 ครูเล่านิทานหรืออ่านเรื่องจากหนังสือพิมพ์ เพ่ือฝึกความสามารถในการฟัง

ของเด็ก และเพ่ิมพูนความรู้ศัพท์ใหม่ ๆ

5.3 ให้เด็กเล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเอง สิ่งที่ได้พบเห็น หรือส่ิงที่นึกคิดได้

5.4 ส่งเสริมให้เด็กเล่นบทบาทสมมุติ โดยการจัดเป็นมุมบ้านและมุมอื่น ๆ

ลัดดา นีละมณี (2524 : 160 – 161) ได้แบ่งหน้าที่ของครูปฐมวัยในแต่ละวันใน

สถานศึกษาไว้ดังนี้

1. หน้าท่ีในการสอน

2. หน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก

3. งานธุรการประจ าวัน

4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน

หน้าที่ของครูผู้สอนในระดับการศึกษาปฐมวัยในห้องเรียน

1. บทบาทหน้าที่ทางวิชาการ

1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนว (หลักสูตร) และแผนการจัดประสบการณ์

1.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน

1.3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล

1.4 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดท าสื่อการเรียนการสอน

1.5 มีการเตรียมตัวและพัฒนาตนเองของครู

1.6 สอนและพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน

2. บทบาทหน้าที่ทางธุรการ

2.1 จัดบริการให้ค าแนะน า หรือช้ีแจงแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการศึกษาชั้น

เด็กเล็ก

2.2 จัดท าประวัตินักเรียน

2.3 จัดท าบัญชีเรียกชื่อนักเรียน

Page 20: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

282

2.4 จัดท าสมุดประจ าชั้นนักเรียน

2.5 จัดท าสมุดรายงานประจ าตัวนักเรียน

2.6 จัดท าตารางกิจกรรมประจ าวัน

2.7 จัดท าใบตรวจสุขภาพ

2.8 จัดท าสมุดหมายเหตุประจ าวัน

2.9 จัดท าบัญชีวัสดุ อุปกรณ์ตลอดจนครุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

การเรียนการสอน

2.10 จัดบริเวณที่เล่นของเด็กให้สะอาดเรียบร้อยปลอดภัย

2.11 จัดท าเรื่องอ่ืน ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

3. บทบาทหน้าที่ในการจัดชั้นเรียน

การจัดชั้นเรียนของเด็กระดับปฐมวัยควรให้มีสภาพเป็นทั้งบ้านและที่เรียนของเด็ก

ทั้งเปรียบเสมือนเป็นโลกของเด็ก ครูก็เหมือนสมาชิกคนหนึ่งของบ้าน ท าหน้าที่อบรม

สั่งสอน เล้ียงดูแลเด็ก ดังนั้นการจัดชั้นเรียนต้องท าให้สอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน มี

ความมุ่งหมายก็เพ่ือให้เด็กมีความสุข สนุก สะดวกสบาย ตามความต้องการของเด็ก ให้

เด็กได้เล่น ท างาน และอยู่กับเพ่ือนในวัยเดียวกัน และให้เด็กได้มีประสบการณ์ ใน

การเรียนรู้ส่ิงต่าง ๆ ตามวัยด้วย ฉะนั้นการจัดชั้นเรียนของเด็กครูควรพิจารณาด าเนินการ

ในเรื่องต่อไปนี้

3.1 สี เด็กชอบส่ิงต่าง ๆ ที่มีสีสัน สีของห้องเรียนควรเป็นสีอ่อน ๆ เย็นตา เช่น สี

ฟ้า สีเขียว สีชมพู สีเหลือง เป็นต้น เครื่องเล่นของเด็กควรมีสีสันสวยงามให้กลมกลืนกัน

กับสีของห้องเรียน

3.2 แสง ห้องเรียนต้องมีแสงสว่างเพียงพอ มีหน้าต่างหลายบาน และไม่ควรอยู่

สูงจากพื้นเกิน 70 เซนติเมตร เพ่ือเด็กจะได้มองดูภาพภายนอกจากหน้าต่างได้ และติดไฟ

ในห้องเรียนเพ่ิมแสงสว่าง

3.3 อากาศ เด็กควรได้รับอากาศบริสุทธิ์ ปราศจากกล่ินเหม็น และห้องต้องมี

ประตูหน้าต่างที่ระบายอากาศ เพื่อจะได้มีอากาศพอเพียง

3.4 ความสะอาด บริเวณใกล้เคียงกับห้องเรียนจะต้องดูแลรักษาความสะอาด

เพราะเด็กชอบนั่ง นอน กล้ิงไปมากับพื้น มีถังขยะไว้บริเวณมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน

3.5 ความเรียบร้อย มีการวางส่ิงของต่าง ๆ ให้เป็นที่ เป็นระเบียบ จัดส่ิงของ

ต่าง ๆ ไว้เป็นหมวดหมู่

3.6 ความปลอดภัย ห้องเรียนจะต้องไม่มีส่ิงที่เป็นอันตรายแก่เด็ก เช่น โต๊ะเก้าอ้ี

ตู้จะต้องไม่มีมุมแหลม รวมไปถึงส่ืออุปกรณ์การเรียนการสอนด้วย

Page 21: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

283

3.7 ห้องเรียนควรมีน้ าด่ืมส าหรับเด็ก พร้อมแก้วน้ าส าหรับเด็ก

3.8 ความสุขสบาย ส่ิงของเครื่องใช้ โต๊ะ เก้าอ้ี ตู้ เตียง จะต้องมีขนาดที่

เหมาะสมกับเด็ก และเพียงพอกับเด็ก

3.9 ความสนุก ในห้องเรียนจะต้องมีเครื่องเล่น ส่ือ มุมศึกษา ตลอดจนมีส่ือ

วัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ และมีความหลากหลาย เพ่ือให้เด็กสามารถเล่น และส่งเสริม

การเรียนรู้ส าหรับเด็กได้

3.10 การส่งเสริมประสบการณ์ ห้องเรียนส าหรับเด็กควรจัดส่ือ วัสดุ อุปกรณ์

เพ่ือส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กได้ตลอดเวลา

บทบาทหน้าที่ของครูผู้สอนที่มีต่อผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอ่ืนที่เกี่ยวข้อง

1. ผู้ปกครอง เพ่ือช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจลูกของตนเองได้ดีข้ึน และเข้าใจเกี่ยวกับ

การจัดการเรียนการสอน การติดต่อกับผู้ปกครองจึงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการเตรียมการซ่ึง

ครูอาจจะท าในลักษณะดังต่อไปนี้

1.1 ก่อนจะรับเด็ก ควรให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์

และแนวทางการเรียนการสอน

1.2 พยายามหาโอกาสพูดคุยสนทนากับผู้ปกครองทั้งอย่างเป็นทางการและไม่

เป็นทางการ ถึงลักษณะพฤติกรรมทั้งที่เป็นปัญหาและไม่เป็นปัญหาแก่เด็ก ในขณะที่อยู่

โรงเรียนและอยู่ที่บ้าน การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ อาจจะเป็นช่วงพบปะกับผู้ปกครอง

ตอนเช้าหรือตอนเย็นเมื่อผู้ปกครองมารับส่งนักเรียน ส่วนการพูดคุยอย่างเป็นทางการคือ

การจัดประชุมผู้ปกครองเป็นกลุ่มย่อย ๆ อาจจะท าในช่วงปิดเทอมหรือระหว่างเทอมก็ได้

1.3 จัดเวลาและหาโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้าสังเกตการเรียนการสอน

1.4 จัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองที่มีการประกอบอาชีพและมีประสบการณ์ในด้าน

ต่าง ๆ เข้ามามีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเด็ก

1.5 เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือกิจการของโรงเรียน

ตามความถนัด เช่น ช่วยเลี้ยงดูเด็ก ปรุงอาหาร หรือท าของเล่นให้กับเด็ก เป็นต้น

1.6 จัดท าเอกสารหรือส่ิงพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนแจกให้

ผู้ปกครอง

1.7 ไปเย่ียมบ้านเด็กเพ่ือพบปะสนทนากับผู้ปกครองของเด็กในยามปกติ

ตลอดจนในยามเจ็บป่วยหรือเดือดร้อน

2. ชุมชน

Page 22: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

284

2.1 ติดต่อเย่ียมเยียนชุมชนอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ ทั้งในยามปกติและยามเจ็บป่วย

หรือเดือดร้อน

2.2 ช่วยเหลือชุมชนในการติดต่อกิจธุระภายในโรงเรียน

2.3 มีการประชุมร่วมกับชุมชน

2.4 ช่วยเหลืองานชุมชน เช่น การพัฒนาส่ิงต่าง ๆ

2.5 ร่วมมือในพิธีการต่าง ๆ ตามประเพณีของชุมชน

2.6 จัดท าเอกสารหรือส่ิงพิมพ์ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนชั้นเด็กเล็ก

แจกให้ชุมชน

3. หน่วยงานอ่ืน ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันการให้การศึกษาและบริการแก่เด็ก

ปฐมวัยได้ขยายกว้างขวางและมีหน่วยงานจัดท าอยู่ ถึงแม้รูปแบบจะแตกต่างกัน แต่

จุดหมายใหญ่เป็นไปในท านองเดียวกัน คือ เพ่ือพัฒนาบุคลิกภาพ ความพร้อม และ

การศึกษาของเด็ก ครูที่สอนในหน่วยงานอ่ืน ๆ เช่น สาธารณสุข กรมพัฒนาชุมชน

กรมประชาสงเคราะห ์เป็นต้น ทั้งนี้ครูอาจจะได้มีโอกาสประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ให้

เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานทุก ๆ ฝ่าย การติดต่อประสานงานอาจจะท าได้ในลักษณะ

ดังต่อไปนี้

3.1 เย่ียมชมการจัดการเรียนการสอนหรือการอบรมเล้ียงดูเด็กปฐมวัยของ

หน่วยงานอื่น

3.2 เชิญชวนให้ครูหรือผู้ดูแลเด็กของหน่วยงานอ่ืน ๆ มาเย่ียมชมการจัด

การเรียน การสอนในระดับปฐมวัยในโรงเรียนของตน

3.3 ประชุมพบปะแลกเปล่ียนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการท างาน

ร่วมกับครูหรือผู้ดูแลเด็กเล็กในหน่วยงานอื่น

3.4 ประชุมวางแผนร่วมกับครู หรือผู้ดูแลเด็กของหน่วยงานอ่ืน เพ่ือให้แนวทาง

ใน การบริการ และการศึกษาเด็กให้เป็นไปในท านองเดียวกัน และมีการแลกเปล่ียนการใช้

ส่ือ การเรียนการสอนระหว่างกัน

3.5 จัดงานสังสรรค์ระหว่างโรงเรียน อาจจัดในระดับครูหรือนักเรียนก็ได้ตาม

ความเหมาะสม เช่น การแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน เพ่ือให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกันในกลุ่ม

โรงเรียนที่ใกล้เคียง

5. คุณลักษณะของครูท่ีดีตามหลักค าสอนในพระพุทธศาสนา

คุณธรรมพื้นฐานของความเป็นครู หลักธรรมหมวดนี้คือ กัลยาณมิตรธรรม ซ่ึงมี

อยู่ด้วยกัน 7 ประการ ดังนี้

Page 23: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

285

1. ปิโย - น่ารัก หมายความว่า บุคคลที่เป็นครูนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่น่ารัก ศิษย์

ได้พบเห็นแล้วรู้สึกท าให้อยากเข้าไปพบหาปรึกษาไตร่ถาม สบายใจเมื่อได้พบปะพูดคุยกับ

ครูอาจารย์ผู้นั้น การท าตนให้เป็นที่น่ารักของศิษย์นั้นมิใช่การที่ครูไม่ยอมว่ากล่าวตักเตือน

เมื่อศิษย์ท าส่ิงใดผิดพลาด ตรงกันข้ามจะต้องท าหน้าที่ของครูให้ตลอดเวลา นั้นคือ หาก

ศิษย์คนใดกระท าไม่ถูกต้อง ครูจะต้องคอยช้ีน า ตักเตือน ห้ามปรามมิให้ศิษย์กระท าส่ิงนั้น

ๆ ส าหรับแนวทางกระท าตนให้เป็นที่น่ารักของศิษย์นั้นสามารถท าได้ดังนี้

1.1 มีเมตตาหวังดีต่อเด็กเสมอ

1.2 ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่บึ้งตึงเวลาท าการสอน และนอกเวลาสอน

1.3 ให้ความสนิทสนมกับศิษย์ตามสมควรแก่กาลเทศะ

1.4 พูดจาอ่อนหวานสมานใจ

1.5 เอาใจใส่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง

1.6 เป็นเพ่ือนในสนามกีฬา เป็นครูที่งามสง่าในห้องเรียน

1.7 เมื่อเด็กมีความทุกข์ ครูให้ความเอาใจใส่คอยปลอบประโลมให้ก าลังใจ

2. ครุ – น่าเคารพ หมายความว่า บุคคลที่ เป็นครูนั้นต้องเป็นผู้ประพฤติตน

เหมาะสมแก่ฐานะของความเป็นครู การกระท าตนให้เป็นแบบอย่างที่ ดีแก่ศิษย์ทั้ง

พฤติกรรมทางกายและทางวาจา จิตใจสงบ เยือกเย็น มีเหตุผล ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ เป็น

คนเสมอต้นเสมอปลายทกุ ๆ กรณี มีบุคลิกลักษณะประดุจผู้ทรงศีล ท าให้เป็นผู้ท่ีน่าเคารพ

ศรัทธาเลื่อมใสของศิษย์

3. ภาวนีโย – น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง หมายความว่า บุคคลที่เป็นครูนั้นจะต้อง

กระท าตนให้เป็นที่น่าเจริญใจหรือน่ายกย่องของศิษย์และบุคคลทั่วไป มีความรู้และ

ภูมิปัญญาอย่างแท้จริง มีคุณธรรมความดีควรแก่การกราบไหว้บูชาของศิษย์เสมอ ดังนั้นผู้

ที่เป็นครูจะต้องหมั่นอบรมตนให้เจริญงอกงามศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์

เปิดใจรับความรู้ใหม่ ๆ ไม่กระท าตนย่ าอยู่กับที่ เป็นครูเวลาท าการสอน เป็นนักเรียนเมื่อมี

เวลาว่าง นอกจากนี้ผู้เป็นครูจะต้องพยายามพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ในด้านอ่ืน ๆ ให้

เจริญก้าวหน้า ไม่ปล่อยชีวิตให้ซอมซ่อ น่าหดหู่แก่ผู้พบเห็นทั่วไป

4. วัตตา – มีระเบียบแบบแผน หมายความว่าบุคคลที่เป็นครูนั้นจะต้องท าตนให้

เป็นบุคคลที่เคารพระเบียบกฎเกณฑ์ มีระเบียบแบบแผน ขณะเดียวกันต้องคอยอบรม

ตักเตือนให้ศิษย์เป็นผู้มีระเบียบแบบแผนว่ากล่าวตักเตือนในส่ิงที่ควรกระท าเป็นที่ปรึกษาที่

ดีของศิษย์ด้วย

5. วจนักขโม – อดทนต่อถ้อยค า หมายความว่า บุคคลท่ีเป็นครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มี

ความอดทนต่อค าพูดของศิษย์ที่มากระทบต่อความรู้สึก เพราะบางครั้งค าพูดของศิษย์ที่

Page 24: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

286

กล่าวออกมานั้นอาจจะท าให้ครูรู้สึกไม่พอใจหรือไม่สบายใจ ครูก็ต้องอดทนและพร้อมที่จะ

รับฟังข้อซักถามและให้ค าปรึกษาหารือ แนะน า ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว

6. ค าภีรัญจะ กถัง กัตตา – แถลงเรื่องได้อย่างลึกล้ า หมายความว่า บุคคลที่เป็น

ครูนั้นจะต้องมีความสามารถในการสอน มีความสามารถในการใช้ค าพูดอธิบายเรื่องราว

ต่าง ๆ ให้ศิษย์ฟังได้อย่างแจ่มแจ้ง ดังนั้นครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และคิดหาเทคนิค

วิธีการอธิบายส่ือสารให้ศิษย์มีความเข้าใจได้ง่าย ๆ ท าเรื่องท่ียากให้เป็นเรื่องท่ีง่าย ท าเรื่อง

ที่ซับซ้อนให้เป็นเรื่องธรรมดา

7. โน จัฏฐาเน นิโยชเย – ไม่ชักน าศิษย์ไปในทางที่เส่ือม หมายความว่า บุคคลที่

เป็นครูนั้นจะต้องไม่ชักน าศิษย์ไปในทางที่เส่ือมทรามใด ๆ ทั้งทางด้านจิตใจและทางด้าน

ความประพฤติ เช่น อบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น (ยนต์ ชุ่มจิต. 2550. 128 – 130)

ธนู แสวงศักดิ ์มีความคิดเห็นว่าลักษณะของครูที่ดีมี 5 ประการ คือ

1. มีความสัมพันธ์กับนักเรียนที่ดี คือ ครูต้องสนใจเอาใจใส่ปัญหาของนักเรียน

คอยตอบค าถามให้กระจ่าง ให้ค าปรึกษา ไม่แสดงอารมณ์รุนแรง ไม่เยาะเย้ย รู้จักระงับ

อารมณ์ มีน้ าใจนักกีฬา อดทน วางตัวเหมาะสมกับเด็ก ไม่ท าให้ขายหน้า รู้จักชมเชย เปิด

โอกาสให้นักเรียนประเมินผลการสอนและตัดสินความดีงามของนักเรียนด้วยเหตุผล

2. มีความรักในอาชีพครู คือ มีส่วนร่วมในการแนะน าการเรียนการสอนเสมอ รับ

ฟังค าแนะน าปรับปรุงตัวเองเสมอ ทันสมัยต่อความรู้และกิจกรรมของครู ท าตนให้เป็น

ประโยชน์ต่อทางราชการ มีความสนใจในอาชีพ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการสอน

3. มีจรรยาครู ไม่แพร่ข่าวลือ ซ่ือสัตย์ต่ออาชีพ ไม่ขโมยผลงานของคนอ่ืน มี

มารยาทในการติดต่อราชการตามล าดับสายงาน ไม่อ้างอิงศาสนาให้ศาสนาอ่ืนเสียหาย

รักษาความลับของนักเรียน ไม่น าผู้อ่ืนมานินทาให้นักเรียนฟัง ไม่เรียกร้องเงินเดือนเพ่ือ

ตนเอง ไม่ควรท างานน้อยพอสมราคาค่าจ้าง ไม่สมควรสมัครงานอ่ืน ไม่ใช้อิทธิพลส่วนตัว

ในทางราชการและปฏิบัติตามสัญญาท่ีท าไว้กับราชการอย่างเคร่งครัด

4. มีคุณสมบัติส่วนตัวที่ดี มีความซ่ือตรง สติปัญญาดี เช่ือมั่นในตนเอง มีความคิด

ริเริ่มกระตือรือร้น คิดปรับปรุงโรงเรียน เป็นกันเองกับนักเรียน รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา มีน้ า

ใสใจจริง สุภาพอ่อนโยน สุขภาพดี รู้จักร่วมมือ ไม่ท ากิริยาอันน่าร าคราญ ตรงต่อเวลา พูด

ได้ชัดเจน

5. มีรูปร่างท่าทางดี มีใบหน้าสะอาด ตัดผมเรียบร้อยสุภาพ สวมใส่เส้ือผ้าให้

เหมาะสมกับเทศกาล รักษาท่าทางให้สง่างาม ไม่สูบบุหรี่หรือเค้ียวหมากฝรั่งหรืออาหาร

Page 25: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

287

ระหว่างสอน รักษานิ้วเล็บมือให้สะอาดอยู่เสมอ รักษาฟัน ซ่อมฟันให้สะอาดเรียบร้อย

แต่งกายสุภาพ ให้เหมาะสมกับการเป็นครู

ทรงศรี เนียวกุล (2534 : 1 - 2) กล่าวถึงลักษณะของครูที่ดี 5 ด้าน ดังนี้

1. ด้านคุณธรรมและความประพฤติ ได้แก่ ความเที่ยงธรรม ความซ่ือสัตย์ และ

การตรง

ต่อเวลา ความร่าเริงแจ่มใส รู้จักเสียสละ วาจาสุภาพเรียบร้อย เป็นกันเองกับเด็กและเข้า

กับเด็กได้เป็นตัวอย่างประพฤติที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่งกายเรียบร้อยและมีบุคลิกภาพ

ที่ดี สุภาพอ่อนโยน เว้นจากอบายมุขต่าง ๆ ไม่ท าตัวเสเพล มีระเบียบวินัย มีอารมณ์มั่นคง

มีความเมตตาปราณี รู้จักปกครองตามระบบประชาธิปไตย เป็นคนมีเหตุผลรู้จักสิทธิและ

หน้าที ่

2. ด้านยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายความว่า เป็นส่ิงจ าเป็น

อย่างย่ิงส าหรับบุคคลที่ท าหน้าที่ เป็นครูที่จะให้การศึกษาแก่อนุชนของชาติไทยให้มี

ความรักและหวงแหนในส่ิงที่เป็นองค์ประกอบส าคัญของความเป็นไทย

3. ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน รู้จักเตรียมการสอนเพ่ือให้ผลการเรียน

บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ เอาใจใส่การเรียนการสอนและอบรมความประพฤติ ปลูกฝัง

ค่านิยมอันดีงามให้กับนักเรียน มีความขยันขันแข็ง มีความกระตือรือร้นที่จะท าหน้าที่ของ

ตนให้ดีที่สุด มีความศรัทธาต่ออาชีพครู อุทิศตัวเพ่ือการศึกษาของนักเรียน รู้จักติดต่อ

ผู้ปกครองเพ่ือปรึกษาหารือในด้านที่เป็นประโยชน์แก่เด็ก

4. ด้านสามารถในการใช้ภาษาส่ือสาร หมายความว่า หลักการพูด การอธิบาย

บทเรียน

ให้แจ่มชัด การรู้จักภาษาอย่างถูกต้อง

5. ด้านการค้นคว้าความรู้ เพ่ิม เติมอยู่ เสมอ หมายความว่า รู้จักติดตาม

ความเคล่ือนไหวทางการศึกษาอยู่เสมอโดยเฉพาะแผนการแห่งชาติและหลักสูตรรู้จักปรับ

วิธีการสอนให้ใหม่และเหมาะสมอยู่ตลอดเวลาหาโอกาสที่จะปรับปรุงตัวเองในวิชาการให้

ก้าวหน้าอยู่เสมอโดยไม่หยุดยั้ง

อร่าม หิรัญวรณ์ (2542 : 194) จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าบุคลิกภาพของคนเรา

สามารถจ าแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือบุคลิกภายนอก และบุคลิกภาพภายใน

ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงบุคลิกภาพที่ดีของครูควรพิจารณาให้ครอบคลุมทั้ง 2 ลักษณะ

ดังกล่าว

Page 26: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

288

ตัวอย่างบุคลิกภาพที่ดีของครู

บุคลิกภาพภายนอก บุคลิกภาพภายใน

1. ร่างกายสมส่วนไม่อ้วนไม่ผอม 1. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2. สุขภาพแข็งแรง 2. มีความรู้รอบตัว

3. ร่างกายสะอาด 3. ปฏิญาณไหวพริบดี

4. ผิวพรรณผ่องใส 4. ความจ าดี

5. หน้าตายิ้มแจ่มใส 5. อารมณ์มั่นคง

6. แต่งกายสะอาดเรียบร้อย 6. มีอารมณ์ขัน

7. ใช้เสื้อผ้าที่เหมาะสม 7. รับผิดต่อตนเองและผู้อ่ืน

8. กิริยาอาการสงบเสงี่ยม 8. รับผิดชอบต่องานสูง

9. ยืน เดิน นั่ง เรียบร้อยเสมอ 9. กระตือรือร้น

10. กิริยาท่าทางสภุาพอ่อนโยน 10. ซ่ือสัตย์จริงใจ

11. ท างานคล่องตัว 11. มีเมตตาอารี

12. พูดจาไพเราะอ่อนหวาน 12. ตรงต่อเวลาเสมอ

13. พูดจาชัดถ้อยชัดค า 13. กตัญญูกตเวทิตา

14. น้ าเสียงชัดเจน 14. ช่างสังเกต

15. พูดคล่องแคล่ว 15. มีความอดทน

ฯลฯ ฯลฯ

6. ลักษณะครูตามผลการวิจัย

ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของครูดี มีดังต่อไปนี้

1. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

2. พูดจาสุภาพอ่อนโยน ชัดเจน เข้าใจง่าย

3. มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

4. มีคุณวุฒิสูง

5. รักและเมตตากรุณาต่อนักเรียน

6. สุขุม เยือกเย็น ใจดี

7. อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง

8. เข้มงวดต่อความประพฤติของนักเรียนเวลาสอน

9. ขยันอดทน

Page 27: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

289

10. มีสุขภาพสมบูรณ์

11. มีความยุติธรรม

12. วางตัวได้เหมาะสม

13. มีความสามารถในการสอน

14. มีสัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียน

15. มีความรู้ขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้

16. มีบุคลิกแบบแสดงตัว

17. เข้ากับสังคมได้ดี

18. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

19. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง

20. มีความเสียสละ

21. ตรงต่อเวลา

22. มีความมั่นคงทางอารมณ์

23. มีเหตุผล รู้จักใช้เหตุผล

24. มีความซ่ือสัตย์

25. มีความประพฤติเรียบร้อย

(ยนต์ ชุ่มจิต. 2550 : 136 – 139) ได้กล่าวถึงข้อบกพร่องของครูจากผลการวิจัยมี

ดังต่อไปนี้

1. ความบกพร่องของครูชายมีดังต่อไปนี้

1.1 ความประพฤติไม่เรียบร้อย

1.2 มัวเมาในอบายมุข

1.3 การแต่งกายไม่สุภาพ

1.4 พูดจาไม่สุภาพ

1.5 ไม่รับผิดชอบต่อการงาน

2. ความบกพร่องของครูหญิง

2.1 แต่งกายไม่สุภาพ

2.2 เป็นคนเจ้าอารมณ์

2.3 ประพฤติไม่เรียบร้อย

2.4 ไม่รับผิดชอบการงาน

2.5 ชอบนินทา

2.6 จู้จี้ข้ีบ่น

Page 28: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

290

2.7 วางตัวไม่เหมาะสม

2.8 คุยมากเกินไป

ครูที่เด็กชอบท่ีสุดมีลักษณะดังน้ี

1. ครูช่วยงานดี ช่วยอธิบายบทเรียนให้ง่ายชัดเจน

2. ยิ้มแย้มแจ่มใส

3. เป็นกัลยาณมิตร

4. สนใจและเข้าใจเด็ก

5. ท าให้งานเป็นส่ิงที่น่าสนใจ ท าให้งานในชั้นเป็นเรื่องสนุก

6. เข้มงวดในการควบคุมห้องเรียน แต่ต้องนับถือบุคคล

7. ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

8. อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่ยากที่จะเข้าใจ

9. ท าให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในการเรียนจริงๆ

10. อดทนและเมตตากรุณา

11. บุคลิกภาพดี

12. ให้ความยุติธรรมกับเด็ก

13. วินัยดี

14. ให้เด็กท างานอย่างมีประสิทธิภาพ

15. เข้าใจความรู้สึกของเด็ก

16. รู้จริงและท าให้เข้าใจได้ดี

17. ยอมรับความคิดเห็นของเด็ก

18. ไม่ท าตนให้เป็นผู้ทุกอย่าง

19. ให้เด็กท างานได้อย่างสมเหตุสมผล

20. ไม่เข้มงวดอย่างบ้าบิ่น

21. ช่วยเด็กแก้ปัญหา

22. แต่งตัวดี เรียบร้อย มีรสนิยม

23. ไม่แก่เกินไป

24. ท างานอย่างมีแผน

25. กระตือรือร้นสนใจในเรื่องการสอบ

26. ให้เวลาท างานเพียงพอ

27. การบ้านมีเหตุผล

Page 29: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

291

28. มีความเข้าใจในความแตกต่างของเด็ก

29. ตรงไปตรงมา

30. หน้าตาดี ดึงดูดใจ

31. สอนมากกว่าในวิชา

32. สนใจในกิจกรรมของโรงเรียน

33. ใส่ใจในวิชา

34. ทันสมัย

35. สุภาพอ่อนโยน

36. เสียงดี

37. ฉลาด

38. ทันทีทันควัน ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง

39. ซ่ือสัตย์จริงใจ

40. มีความรู้กว้างขวาง

41. มีน้ าใจนักกีฬา

42. ตัดสินใจดี

43. มีวัฒนธรรม

ครูที่เด็กไม่ชอบมากท่ีสุด มีลักษณะดังน้ี

1. อารมณ์เครียด เข้าใจยาก

2. แบ่งพรรคแบ่งพวก

3. ไม่ช่วยงาน

4. ชอบท าตัวว่ารู้ทุกอย่าง

5. ไม่มีเหตุผล เข้มงวดรุนแรง

6. ไม่ยุติธรรม

7. ไม่เข้าใจความรู้สึกของเด็ก ชอบประจานเด็ก ท าให้กลัว

8. ไม่เข้าใจและไม่สนใจเด็ก

9. ให้งานไม่มีเหตุผล

10. วินัยหย่อนยานไม่คุมชั้น

11. ไม่ตั้งใจสอนชอบเอาเร่ืองส่วนตัวมาพูด พูดมาก

12. โง่

13. ล้าสมัย

Page 30: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

292

14. ความสัมพันธ์กับเด็กไม่มี

15. รู้แต่ท าให้กระจ่างไม่ได้

16. ไม่มีมาตรฐาน อ่อนเอนไปตามงาน

17. ไม่สนในส่ิงที่เด็กต้องการ

18. ให้งานยากไม่เหมาะกับเด็ก

19. ไม่รู้จริง

20. ไม่ยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอ่ืน

21. ไม่ยอมรับความคิดเห็นของเด็ก

22. รวนเร ไม่มั่นคง

23. เกียจคร้านไม่สนใจงานสอน

24. ไม่เป็นมิตรกับผู้เรียน

25. แสดงให้เห็นว่าชอบนักเรียนชายหรือหญิง

26. แต่งตัวไม่น่าด ู

27. ไม่ซ่ือสัตย์จริงใจ

28. บุคลิกภาพไม่น่าสนใจ

29. ไม่เข้าใจในความแตกต่างของเด็ก

30. น้ าเสียงไม่ดี (ไม่นุ่มนวล)

คุณลักษณะของครูผู้สอนตามผลการวิจัยเป็นข้อมูลที่มีความส าคัญมาก เพราะใน

การวิจัยจะสอบถามข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้เสียกับวิชาชีพครู

เช่น นักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก ชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ผลการวิจัยที่ได้ยังสะท้อนให้

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลกระบวนการผลิตครู ผู้ใช้ครู รวมถึงผู้ที่สนใจในวิชาชีพครูทั้ง

ปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี) จะต้อง

ตระหนักถึงความส าคัญในการพัฒนาวิชาชีพครูให้มีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ วิชาชีพ

ครู มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีคุณภาพที่ดีข้ึน จนเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในปัจจุบัน

และอนาคต

Page 31: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

293

บทสรุป

บุคลิกภาพของบุคคลมีความส าคัญทั้งในด้านส่วนตัว และอาชีพการงานของบุคคล

โดยเฉพาะครูผู้สอนเด็กทุกระดับชั้น บุคลิกภาพจะมีผลต่อผู้เรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม

ครูที่มีลักษณะบุคลิกภาพดีย่อมเป็นที่ ช่ืนชอบของลูกศิษย์ที่ ได้พบเห็น บุคลิกภาพ

ประกอบด้วยบุคลิกภาพภายใน และบุคลิกภาพภายนอก ดังนั้นครูและผู้ดูแลเด็ก

จ าเป็นต้องได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี เพราะครูจะต้องมีการพบปะกับผู้เรียนหรือมี

ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอ่ืนทุกระดับในสังคมอยู่เสมอ เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง เพ่ือนครู และ

ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างย่ิงเด็กในระดับปฐมวัย ที่ครูมีหน้าที่ดูแลอบรมสั่ง

สอนโดยตรง บุคลิกภาพของครูที่แสดงออกมานั้น เด็กจะน าเอาเป็นแบบอย่างโดยรู้ตัวและ

ไม่รู้ตัวซ่ึงจะมีผลต่อพฤติกรรมเด็กตามมาอีกด้วย นอกจากบุคลิกภาพแล้วผู้ที่จะประกอบ

อาชีพครูจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณสมบัติด้านอ่ืน ๆ ที่ดีและเหมาะสมกับ

วิชาชีพครู เช่น มีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์ของคุรุสภาที่ก าหนดไว้ เพราะเกณฑ์

มาตรฐานดังกล่าวเป็นส่ิงที่ยืนยันได้ว่าครูเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและพร้อมที่

จะปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาและเป็นครูที่ดีในอนาคตได้

Page 32: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

294

ค าถามท้ายบท

1. จงอธิบายความหมายของบุคลิกภาพ

2. จงอธิบายคุณลักษณะของครูปฐมวัยที่ดี

3. บุคลิกภาพของครูมีความแตกต่างจากอาชีพอ่ืนอย่างไร

4. บุคลิกภาพของครูปฐมวัยมีความแตกต่างจากครูสาขาอ่ืนอย่างไร

5. จงอธิบายบทบาทของครูปฐมวัยที่มีต่อเด็กและการจัดการเรียนการสอน

6. ให้อธิบายคุณลักษณะของครูตามแนวทางในพระพุทธศาสนา

7. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองได้อย่างไร

8. จงอธิบายมาตรฐานของครูตามประกาศของคุรุสภา

9. คุณลักษณะของครูตามผลการวิจัยเป็นอย่างไรบ้าง

10. ให้ศึกษาคุณลักษณะของครูปฐมวัยที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของครูและ

ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

Page 33: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

295

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว, 2546.

กุลยา ตันติผลาชีวะ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส าหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ :

เบรน-เบส บุ๊คส ์, 2551.

จุฑา บุรีภักด์ิ. การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : Smile print, 2549.

นารี ศิริทรัพย์. ศิลปะส าหรับครูปฐมวัย. นครปฐม : สถาบันราชภัฏนครปฐม, 2542.

พัชรี สวนแก้ว. จิตวิทยาและการดูแลเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์ดวงกมล,

2536.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. การสร้างประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษา.

นนทบุรี : ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ฝึกอบรมและผู้เก่ียวข้องกับการอบรมเล้ียงดูเด็ก

ปฐมวัยศึกษา. นนทบุรี : ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535.

สุรางค์ โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. การวัดและประเมินแนวใหม่ : ปฐมวัย. กรุงเทพฯ :

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2545.

ส านักงานเลขาธิการคุรุสภา. คู่มือการด าเนินงานรับรองปริญญาและประกาศนียบัตร

ทางการศึกษาเพ่ือการประกอบอาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว,

2550.

ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ ์

การพิจารณา เพ่ือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รอบท่ี 2 (2549 – 2553). กรุงเทพฯ : ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน

คุณภาพการศึกษา, 2549.

ยนต์ ชุ่มจิต. ความเป็นคร.ู พิมพ์ครั้งที่ 4. ส านักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2550.

เยาวพา เดชะคุปต์. การศึกษาปฐมวัย. กุรงเทพฯ : ส านักพิมพ์แม็ค, 2542.

เยาวพา เดชะคุปต์. การจัดการศึกษาส าหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์แม็ค,

2542.

วัฒนา บุญฤทธิ์. การจัดสภาพแวดล้อมในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ :

สถาบันราชภัฏพระนคร, 2542.

Page 34: บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55

296

หรรษา นิลวิเชียร. ปฐมวัยศึกษา : หลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้น

ติ้งเฮาส์, 2535.

Brewer,J.A. Introduction to early childhood education : Preschool to Primary

grade. Boston : Allyn an Bacon.

Essa,E, Introduction to early childhood education. 2nd ed. Albany : Delmar

publishers Inc, 1996.

Morrison, G.S. Early childhood education today. 2nd ed. New Jersey :

Prentice-Hall,inc,1995.