บทที่ 4 การอ่านตีความ

38
บทที่ 4 การอ่านตีความ อาจารย์มัลลิกา ผ่องแผ้ว

Upload: ajmallika-phongphaew

Post on 19-Feb-2017

6.424 views

Category:

Education


1 download

TRANSCRIPT

บทที่ 4 การอ่านตีความอาจารย์มัลลิกา ผ่องแผ้ว

บทน าความเข้าใจในการอ่านเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญของการอ่าน

เป็นอย่างยิ่งหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจของการอ่านทั้งนี้เพราะจุดประสงค์เบื้องต้นของการอ่าน โดยทั่วไปคือ เพื่อความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน อ่านแล้วสรุปได้ใจความ ดังนั้นถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจเรื่องที่อ่านก็ท าให้ไม่ทราบว่าผู้เขียนต้องการที่จะสื่ออะไรท าให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการอ่าน

รายละเอียดเนื้อหาที่จะเรียนในบทเรียนนี้ความหมายของ “การอ่านตีความ”จุดมุ่งหมายของการอ่านตีความหลักการอ่านตีความลักษณะของข้อเขียนที่ต้องใช้การอ่านแบบตีความสิ่งที่ควรค านึงในการอ่านตีความความส าคัญของการอ่านตีความประเภทของการอ่านตีความขั้นตอนของการอ่านตีความข้อสังเกตในการอ่านตีความ

ความหมายของ “การอ่านตีความ”ก า ร อ่ า นตี ค ว าม ห ม า ย ถึ ง ก า ร อ่ า น เ พื่ อ ใ ห้ เ ข้ า ใ จ

ความหมาย ความคิดส าคัญของเรื่อง ความรู้สึก และอารมณ์สะเทือนใจจากบทประพันธ์ ซึ่งอาจเข้าใจได้มากน้อยลึกซึ้งเพียงใด ตรงกันกับผู้ประพันธ์หรือไม่ หรือผู้อ่านคนอื่นๆ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์เดิมและความรู้สึกของผู้อ่านแต่ละคน การตีความของทุกคนอาจไม่ตรงกันเสมอไป โดยในกระบวนการอ่านเพื่อตีความนั้นผู้อ่านจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการแปลความ จับใจความส าคัญ การสรุปความ รวมทั้งการเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ของข้อความ

จุดมุ่งหมายของการอ่านตีความการอ่านตีความมีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาข้อความหรือเรื่อง

นั้นๆ มีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไรและสามารถที่จะอธิบายถึงเจตนา และความคิดของผู้เขียนได้อย่างชัดเจน การตีความจากการอ่านจะแตกต่างกันไปด้วยสาเหตุหลายประการ ได้แก่

จุดมุ่งหมายของการอ่านตีความ (ต่อ)1. ความสามารถของแต่ละบุคคล 2. วัย เพราะความรู้สึกนึกคิด ความซาบซึ้ง ความสนใจ ตลอดจน

ความรู้ย่อมแตกต่างกันไปตามวัยต่างๆ กัน ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน3. ประสบการณ์ เนื่องจากความเข้าใจและความซาบซึ้งในเหตุการณ์

ต่างๆ ไม่เหมือนกันเพราะคนที่ไม่เคยประสบกับเหตุการณ์ใด ก็จะเข้าใจและซาบซึ้งน้อยกว่าคนที่มีประสบการณ์เรื่องนั้นมาแล้ว

จุดมุ่งหมายของการอ่านตีความ (ต่อ)4. ความเข้าใจถ้อยค า ซึ่งหมายถึง ความหมายของค า ซึ่งเป็นส่วนส าคัญของการตีความหากไม่เข้าใจถ้อยค า ก็จะตีความได้ไม่ถูกต้องและไม่ลึกซึ้ง 5. ความสามารถในการเปรียบเทียบกับเรื่องอื่น หมายถึง ความเข้าใจและสามารถน าไปเกี่ยวข้องกับข้อความอื่นที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นการตีความตามตัวอักษร ตีความตามเนื้อหาหรือตีความตามน้ าเสียงก็ตาม ตัวอย่าง เช่น

จุดมุ่งหมายของการอ่านตีความ (ต่อ)เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง

ตีความตามตัวอักษร : อันมูลช้างนั้นขนาดใหญ่กว่ามูลคน ฉะนั้นอย่าท าตามช้าง

ตีความหมายเนื้อหา : ให้รู้จักประมาณตน หรือ ท าสิ่งใดตามอัตภาพ

ตีความตามน้ าเสียง : ท าอะไรควรดูตามฐานะของตนเอง ไม่ควรตามอย่างคนที่มีฐานะดีกว่า

จุดมุ่งหมายของการอ่านตีความ (ต่อ)6. ความสามารถในการใช้ถ้อยค า ค าบรรยายข้อความของการตีความ ซึ่งบางคนเข้าใจเรื่องได้ดี แต่อธิบายไม่ได้ เพราะไม่สามารถบรรยายให้ดีดังที่ตนรู้และเข้าใจได้

การอ่านเพื่อตีความนั้น ผู้อ่านต้องใช้สติปัญญา เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้เขียนสามารถที่จะสรุปความคิด จับใจความส าคัญ และอธิบายขยายความได้

หลักการอ่านตีความ1. อ่านเรื่องที่จะตีความนั้นให้ละเอียด เพื่อจับประเด็นส าคัญให้ได้ เริ่มด้วยการอ่านทบทวน เพื่อส ารวจว่าข้อความตอนใดมีข้อเท็จจริง ตอนใดผู้เขียนสอดแทรกความคิดเห็นหรือความรู้สึก หรือตอนใดแสดงอารมณ์ของผู้เขียน ต่อจากนั้นพิจารณาว่าผู้เขียนมีเจตนาอย่างไรในการเสนองานเขียนชิ้นนั้น หรือผู้เขียนมุ่งหวัง ให้ผู้อ่านสนองตอบอย่างไร มีแง่คิดอะไรที่น่าสนใจบ้าง สารข้อใดส าคัญที่สุด สารข้อใดส าคัญรองๆ ลงไป

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)2. ขณะที่อ่านต้องพยายามคิดหาเหตุผล และใคร่ครวญอย่างรอบคอบ แล้วน ามาคิดไตร่ตรองกับความคิดของตนเอง ว่าเรื่องที่อ่านนั้นมีความหมายถึงสิ่งใด อาจเสนอแนวความคิดแทรกและความคิดเสริม เพราะใน ขณะที่อ่านเรื่องผู้อ่านอาจเกิดความคิดแทรกบางประการระหว่างที่ก าลังวินิจสารอยู่ หรือเกิดความคิดเสริม ที่สัมพันธ์กับแนวคิดของเรื่องหลังจากตีความสารจบแล้ว จึงควรบันทึกไว้ด้วยประโยคที่กระชับ สื่อความหมาย ชัดเจน และสมเหตุสมผล เพราะความคิดนั้นอาจได้รับความสนใจ และน าไปคิดต่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)3. พยายามท าความเข้าใจกับค าหรือวลีที่เห็นว่ามีความส าคัญ และจะต้องไม่ลืมตรวจดู บริบท(Context) ด้วยว่าได้ก าหนดความหมายของถ้อยค านั้นอย่างไร

4. การตีความไม่ใช่การถอดค าประพันธ์ที่ เป็นเพียงการเก็บความหมายของบทประพันธ์มาเรียบเรียง เป็นร้อยแก้วให้ครบความหมายเท่านั้นแต่การตีความเป็นการจับเอาแต่ใจวามส าคัญจะคงไว้ซึ่ งค าของข้อความเดิมไม่ได้ ถ้าข้อความนั้นมีสรรพนามจะต้องเปลี่ยนเป็นสรรพนามบุรษที่ 3 ทันที

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)5. การเรียบเรียงถ้อยค าที่ได้จากการตีความจะต้องมีความหมายที่ชัดเจน ซึ่งผู้อ่านจะต้องได้รับการฝึกฝนการวิเคราะห์สาร โดยเริ่มต้นจากการพิจารณารูปแบบ แล้วจึงพิจารณาแนวคิดและเนื้อเรื่องเพื่อดูว่ามีความกลมกลืนกันหรือไม่ จากนั้นพิจารณากลวิธีในการเสนอเรื่องและด าเนินเรื่องตลอดจนส านวนภาษา สามารถแบ่งลักษณะการวิเคราะห์งานเขียนได้ ดังนี้

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)5.1 การวิเคราะห์ค า เป็นการอ่านที่ต้องสังเกตค าในประโยคที่

อ่านว่าใช้ผิดแบบแผนของหลักภาษา อย่างไรผู้อ่านจะต้องรู้จักแก้ไขค าที่ผิดพลาดนั้นให้ถูกต้อง เช่น

ใช้ค าผิดความหมาย

- ประเทศจีนได้ปฏิรูปอุตสาหกรรมจากแรงงานคนเป็นแรงงานเครื่องจักร

- ประเทศจีนได้ปฏิวัติอุตสาหกรรมจากแรงงานคนเป็นแรงงานเครื่องจักร

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)ใชค้ าไม่เหมาะสม

- อาจารย์สุรชัยโล่งอกที่โครงการสร้างสรรค์เสียงศิลป์เข้าฝักแล้ว

- อาจารย์สุรชัยโล่งอกที่โครงการสร้างสรรค์เสียงศิลป์เข้าร่องเข้ารอยแล้ว

ใช้ค าฟุ่มเฟื่อย

- คนยากจนที่ขัดสนเงินทองย่อมต้องท างานหนัก

- คนยากจน ย่อมต้องท างานหนัก

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)5.2 การวิเคราะห์รูปแบบ ผู้อ่านจะต้องรู้ว่าข้อเขียนที่ตนอ่าน

นั้นมีรูปแบบการเขียนอย่างไร ได้แก่ ข่าว บทความ อนุทิน ฯลฯ

5.3 การวิเคราะห์ทัศนะของผู้แต่ง ผู้อ่านควรคิด พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบในขณะอ่านเพื่อจะได้รับประโยชน์จากการอ่านได้อย่างมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นทัศนะของผู้แต่งได้ว่าเป็นคนมองโลกในแง่ใด และยังเป็นความคิดในการพิจารณาว่าควรเห็นคล้อยตามด้วยหรือไม่การอ่านวิเคราะห์แบบนี้เป็นพื้นฐานของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณต่อไป

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)5.4 การวิเคราะห์รส ในการอ่านหนังสือทั่วไป โดยเฉพาะหนังสือบันเทิงคดีนอกเดหนือจากการอ่านเพื่อเข้าใจความหมายแล้ว ผู้อ่านควรพิจารณารสของหนังสือนั้นด้วย ซึ่งเป็นแนวทางให้ผู้อ่านเข้าถึง เรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้น รสของหนังสือมีมากมายหลายประเภท ดังที่กล่าวไว้ในต าราอลังการศาสตร์ของอินเดีย ดังนี้

- ศฤงคารรส รสแห่งความรัก- หาสยรส รสแห่งความขบขัน- กรุณารส รสแห่งความเมตตากรุณา- รุทธรส รสแห่งความโกรธเคือง- วีรรส รสแห่งความกล้าหาญ

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)- วีรรส รสแห่งความกล้าหาญ- ภยานกรส รสแห่งควมกลัว ความทุกข์เวทนา- พีภตสรส รสแห่งความชัง ความรังเกียจ- อพภูตรส รสแห่งความพิศวงประหลาดใจ- ศานติรส รสแห่งความสงบ

หลักการอ่านตีความ (ต่อ)6. ในการอ่านตีความทั้งที่เกี่ยวกับเนื้อหา และน้ าเสียงจากเรื่อง ผู้อ่านต้องค านึงเสมอว่าเป็นเพียงการตีความตามความรู้และความคิดของผู้อ่านเท่านั้น ผู้อื่นไม่จ าเป็นต้องเห็นด้วยกับความคิดของเราก็ได้ แต่จะพิจารณากันที่การให้เหตุผลเป็นประการส าคัญ

ลักษณะของข้อเขียนที่ต้องใช้การอ่านแบบตีความ

1. เป็นข้อเขียนที่ใช้ค าที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายแฝง ซึ่งหมายถึงความหมายในเชิงเปรียบเทียบ หรือความหมายที่ชักน าความคิดให้เกี่ยวโยงไปถึงสิ่งอื่น

2. เป็นข้อเขียนที่มีการเปรียบเทียบ หรือใช้โวหารเชิงเปรียบเทียบ

3. เป็นข้อเขียนที่ใช้สัญลักษณ์ หมายถึงข้อเขียนที่ผู้เขียนกล่าวถึงสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง

ส่ิงท่ีควรค านึงในการอ่านตีความการอ่านเพื่อการตีความควรค านึงสิ่งส าคัญต่อไปนี้1 . ความเข้าใจจุดประสงค์หรือ เจตนารมณ์ของผู้ เขียนและความหมายของสิ่งที่ผู้เขียนไดเ้ขียน

การแสดงเจตนาของผู้เขียนนั้นมีทั้งแสดงไว้ โดยชัดเจนและโดยซ่อนเร้น การแสดงเจตนาโดยชัดเจน ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ความคิด พิจารณามากมายนัก การแสดงเจตนาโดยซ่อนเร้น คือ ไม่บอกเจตนาตรงๆ กล่าวถึงเรื่องหนึ่งแต่มีความหมายถึงสิ่งหนึ่งก็ได้ การเข้าใจความหมายของเจตนาดังกล่าว ผู้อ่านจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และเข้าถึงความหมายของค าและข้อความนั้นๆ เสียก่อน

ส่ิงท่ีควรค านึงในการอ่านตีความ (ต่อ)2. แนวคิดส าคัญที่ได้จากการอ่าน

ที่ผู้เขียนอาจเสนออย่างจงใจหรือไม่จงใจก็ได้ การค้นหาสารเป็นขั้นตอนส าคัญในการเข้าถึงเรื่องที่อ่าน ซึ่งผู้อ่านต้องมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเข้าใจโครงสร้างของงานประพันธ์แต่ละประเภทให้ชัดเจน การค้นหาสาระส าคัญมิใช่การแปลความหมายของถ้อยค าอย่างตรงไปตรงมาเท่านั้น แต่ต้องจับเนื้อความให้ได้ครบถ้วน แยกแยะ ส่วนที่เป็นความรู้ ความคิด และความรู้สึก ส่วนใดส าคัญ ส่วนใดส าคัญรองลงมา รวมทั้งเสียงของค า มีท่วงท านอง ล าน า และจังหวะเป็นอย่างไร

ส่ิงท่ีควรค านึงในการอ่านตีความ (ต่อ)3. น้ าเสียงของผู้เขียนและสีสันบรรยากาศในการเขียน

ซึ่งอาจเป็นน้ าเสียงแสดงอารมณ์ขัน ล้อเลียน น้ าเสียงอ่อนโยน นุ่มนวล น้ าเสียงประชดประชัน เสียดสี เยาะเย้ย น้ าเสียงโกรธเกรี้ยว แสดงอารมณ์ร้อนแรง น้ าเสียงโศกเศร้า สลดหดหู่ ว้าเหว่ น้ าเสียงปลุกเร้าใจ น้ าเสียงเสียดาย อาลัยอาวรณ์ น้ าเสียงชื่นชม ยกย่อง สรรเสริญ และน้ าเสียงจริงจัง เคร่งขรึม ซึ่งบางครั้งในงานเขียนเดียวกันอาจจะมีน้ าเสียงหลายลักษณะปะปนกัน

ความส าคัญของการอ่านตีความการอ่านตีความเป็นการอ่านที่ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์

การสังเกต และการวิเคราะห์ ของผู้อ่าน การอ่านตีความเป็นการอ่านขั้นส าคัญที่ท าให้ เข้าใจงานเขียนทุกชนิด การอ่านตีความจึงมีความส าคัญ ดังนี้

1. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านได้หลายแง่ หลายมุม

2. ช่วยให้เห็นคุณค่าของวรรณกรรมอันมีผลเกี่ยวโยงถึงคุณค่าของชีวิตและสิ่งแวดล้อม

3. การอ่านตีความช่วยให้เกิดการฝึกคิด ฝึกไตร่ตรองเหตุผล เป็นผลให้ผู้อ่านมีความละเอียด ถี่ถ้วนและมีวิจารณญาณในการอ่านมากยิ่งขึ้น

ความส าคัญของการอ่านตีความ (ต่อ)4. การอ่านตีความเป็นเครื่องมือส าคัญในการเข้าถึงงานประพันธ์นั้นๆ 5. การอ่านตีความช่วยให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล ลึกซึ้ง มีใจกว้างยอมรับความแตกต่าง ของมนุษย์ด้วยกันได้

ประเภทของการอ่านตีความแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ1. การอ่านออกเสียงอย่างตีความ (การอ่านตีบท) เป็นการอ่านแบบท า

เสียงให้สมบทบาท ใส่อารมณ์กับบทที่อ่านและความรู้สึกให้เหมาะสม2. การอ่านตีความเป็นการอ่านที่ต้องศึกษาท าความเข้าใจงานเขียนทุก

แง่ทุกมุม เพื่อตีความเป็นพื้นฐานของการอ่านออกเสียงอย่างตีความ

ความรู้เกี่ยวกับการอ่านตีความ1.เสียง (ค า) และความหมาย เสียงของค าที่แตกต่างกัน ย่อมสื่อความหมายที่แตกต่างกัน ผู้อ่านต้องวิเคราะห์ว่าเสียงของค าที่ผู้เขียนใช้นั้น สัมพันธ์กับความหมายอย่างไร2.ภาพพจน์ ผู้อ่านต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาพพจน์ ซึ่งจะช่วยให้การอ่านตีความมีความกว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น ภาพพจน์ อุปมา อุปลักษณ์ นามนัย อธิพจน์ บุคลาธิษฐาน เป็นต้น3.สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ในทางวรรณกรรม หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมักจะเป็นรูปธรรม ที่เป็นเครื่องแทนนามธรรม เช่น ดอกไม้แทนหญิงงาม พระเพลิงแทนความร้องแรง ฯลฯ แบ่งเป็นสัญลักษณ์ตามแบบแผน และสัญลักษณ์ส่วนตัว

ความรู้เกี่ยวกับการอ่านตีความ (ต่อ)4. พ้ืนหลังของเหตุการณ์ คือ ความเป็นไปในสมัยที่งานเขียนเรื่องนั้นได้แต่งขึ้น รวมถึงลัทธิความเชื่อ สภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และความเป็นอยู่ของยุคสมัยนั้นๆ5. ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านตีความ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับประวัติผู้แต่ง ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา ปรัชญา ศาสนา

ความรู้เกี่ยวกับการอ่านตีความ (ต่อ)6. องค์ประกอบทีท่ าใหก้ารอ่านตีความแตกต่างกัน ได้แก่ ความสนใจ ประสบการณ์ จินตนาการ เจตคติ ระดับสติปัญญา ความรู้และวัย7. เกณฑ์การพิจารณา การอ่านตีความ การตีความงานเขียน ความผิดถูกไม่ใช่เรื่องส าคัญ อยู่ที่มีความลึกซึ้งกว้างขวางและมคีวามสมเหตุสมผล

ขั้นตอนของการอ่านตีความจุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มส าราญ (บรรณาธิการ)

(2547, หน้า 63) กล่าวถึงขั้นตอนของการอ่านตีความ ไว้ดังนี้

การอ่านตีความนั้น มักน าไปใช้ในงานเขียนที่มีความหมายซ่อนไว้ระหว่างบรรทัด ผู้อ่านต้อง ใส่ใจกับถ้อยค าที่ผู้เขียนเลือกสรรมาใช้ โดยประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนของการอ่านตีความ (ต่อ)1. ส ารวจงานเขียนนั้นด้วยการอ่านอย่างคร่าวๆ ว่างานเขียนนั้น

เกี่ยวกับเรื่องใด เป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง หรืองานเขียนประเภทใด เช่น เป็นค าประพันธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บทความ กวีนิพนธ์ หรือเป็นงานเขียนสั้นๆ แสดงคติสอนใจ 2. อ่านอีกครั้งอย่างละเอียดเพื่อพิจารณาเนื้อหาว่ามีใจความส าคัญ

กล่าวถึงเรื่องใด มีข้อความ ส่วนใดกล่าวถึงข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นการแสดงทรรศนะของผู้เขียน ส่วนใดเป็นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก

ขั้นตอนของการอ่านตีความ (ต่อ)3. วิเคราะห์ถ้อยค า อาจมีบางค าที่มีความหมายเฉพาะ เช่นเป็น

สัญลักษณ์ หรือมีถ้อยค าที่เป็น การกล่าวเชิงเปรียบเทียบ ด้วยการใช้ภาพพจน์ หรือเป็นส านวนโวหาร เป็นค าที่มีความหมายหลายนัย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านใช้ความหมายจากถ้อยค าในบริบทนั้นมาพิจารณาประกอบเพื่อให้เข้าใจความหมาย ได้มากชัดเจนยิ่งขึ้น 4. พิจารณารสของค าเพื่อประมวลหาน้ าเสียงของผู้เขียน อาจเป็นน้ าเสียงเชิงสั่งสอน น้ าเสียงแสดงการประชดประชัน น้ าเสียงแสดงความภูมิใจ ยินดี หรือเศร้าสลด เป็นต้น น้ าเสียงเหล่านี้จะสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของผู้เขียนที่ต้องการสื่อสารมาให้ผู้อ่านพิจารณาใคร่ครวญหรือคิดคล้อยตาม

ขั้นตอนของการอ่านตีความ (ต่อ)5. สรุปสารที่ได้จากการตีความข้อเขียนนั้นๆ การอ่านตีความ ผู้อ่าน

จะต้องเข้าใจจุดประสงค์สาร และน้ าเสียงที่อยู่ในงานประพันธ์นั้น เพื่อที่จะได้เข้าใจความคิดเห็น ประสบการณ์ จินตนาการ ฯลฯ ของผู้เขียนที่ส่งผ่านงานประพันธ์นั้น การอ่านตีความควรตีความทั้ง 2 ด้านควบคู่กันไป คือ ตีความด้านเนื้อหา และ ตีความด้านน้ าเสียง จึงจะท าให้เข้าใจสารนั้นได้อย่างถ่องแท้ เช่น “ ต าน้ าพริกละลายแม่น้ า”

ข้อสังเกตในการอ่านตีความ1. การตีความข้อเขียนชิ้นเดียวกับของผู้อ่านหลายคนอาจได้ผลไม่เหมือนกัน2. ผลของการตีความข้อเขียนชิ้นใดๆไม่ว่าข้อเขียนชิ้นนั้นจะกล่าวถึงเรื่องอะไรก็ตามผลที่ได้จะต้องเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เสมอ3. การตีความทุกครั้ง ผู้อ่านควรตีความด้านความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ เป็นไปตามหลักวิชา ไม่ตีความไปในทางที่จะเกิดเสียหายแก่ผู้เขียน หรือผู้ใดผู้หนึ่ง 4. การตีความข้อเขียนที่มุ่งเสนอข้อเท็จจริงหรือมุ่งให้ความรู้ตามหลักวิชา เราคงตีความได้ เฉพาะด้านเนื้อหาเท่านั้น

สรุปการอ่านตีความ1. การอ่านตีความเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน เพราะการสื่อสารในชีวิตประจ าวันนั้น บางครั้งไม่ได้สื่อออกมาตรงๆ คือ อาจมีค า ข้อความที่มีความหมายแฝงอยู่ 2. ผู้รับสารต้องศึกษาความหมายให้ถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และประสบการณ์ด้วยจึงจะ ตีความได้ว่าผู้ส่งสาร ต้องการจะสื่ออะไร เช่น รัฐบาลเปิดไฟเขียวเรื่องการแก้ปัญหาการจราจร เปิดไฟเขียวเป็นความหมายแฝง หมายถึง เปิดทางให้แก้ปัญหาโดยสะดวก ไม่ได้หมายถึงเปิด สัญญาณไฟเขียว

สรุปการอ่านตีความ (ต่อ)3. หากผู้รับสารไม่มีประสบการณ์ ความรู้เรื่องนี้ก็ไม่เข้าใจความหมายตามที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อสาร ให้ทราบ ท าให้ตีความผิดไปได้ ตัวอย่าง

ค า ข้อความ ที่มีความหมายแฝง หัวสูง หมายถึง ชอบใช้ของดี ราคาแพง

คอทองแดง หมายถึง นักดื่มสุรา นักร้องเสียงทอง หมายถึง นักร้องเสียงดี เป็นที่ยอมรับทั่วไป หนอนหนังสือ หมายถึง ผู้ที่ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ

สรุปการอ่านตีความ (ต่อ)4. การอ่านตีความนอกจากจะใช้กับค าหรือข้อความที่มีความหมายแฝงอยู่ ยังบอกได้ว่าผู้เขียนมีน้ าเสียงและจุดมุ่งหมายอย่างไร

จบการบรรยายบทที่ 4 หลักการตีความ