เอกสารแนะนำมูลนิธิ

21
“...ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น จะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความ สุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น...” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒

Upload: pidthong-org

Post on 15-Mar-2016

212 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

เอกสารแนะนำมูลนิธิ

TRANSCRIPT

Page 1: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

“...ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น จะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ

มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความ

สุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น...”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒

Page 2: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

น้อมนำหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทั้ง ๒๓ ข้อ มาเป็นหลักในการปฏิบัติงาน

ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

คือ ประโยชน์สุขสูงสุดของประชาชน

เพื่อ

Page 3: เอกสารแนะนำมูลนิธิ
Page 4: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

พระราชดำรัสที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาอันลึกซึ้ง เพื่อการมุ่งมั่นกระทำความดีอย่างไม่ย่อท้อ เพื่อปณิธานในการทำหน้าที่เพื่อหน้าที่

โดยถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลอันสมบูรณ์แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องประกาศการกระทำนั้นให้เป็นที่เปิดเผย

เป็นเวลา ๖๖ ปีแล้ว ที่คนไทยทั้งประเทศได้ประจักษ์แก่ใจว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงสอนปรัชญานี้ด้วยพระราช

กระแสเท่านั้น หากแต่ทรงสอนพวกเราทั้งปวง โดยพระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจที่ทรงอุทิศทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา

พระวิริยอุตสาหะ ทรงงานหนักมาตลอด เพื่อให้บ้านเมืองและประชาชนของพระองค์มีความเจริญมั่นคง เป็นปกติสุข โดยมิเคย

ทรงปรารภถึงประโยชน ์หรือแม้แต่ความสุขส่วนพระองค์แม้แต่น้อย

ด้วยความรักอันสุจริตมั่นคงที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นแก่ความสุขของราษฎร

ก่อนความสุขของพระองค์เองเสมอมา ไม่ว่าหนทางจะทุรกันดารห่างไกล ยากลำบากเพียงใด ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะอยู่ ณ แห่งหนใด

จะเสด็จพระราชดำเนินไปจนถึง เพื่อทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และจะทรงคิดค้น ค้นคว้า ทดลอง พิสูจน์

จนกว่าจะได้คำตอบของการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด แล้วจึงพระราชทานแนวทางนั้นมาแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป สืบเนื่องเช่นนี้มาแต่อดีต

จนถึงปัจจุบัน

พระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรอันยาวไกล คือ การก่อเกิดปรัชญาในการดำรงชีวิต ทฤษฎีในการปฏิบัติตน และโครงการ

พระราชดำริมากกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ ทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป้าหมายในที่สุด คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และการอยู่

ร่วมกันของทุกสรรพชีวิตด้วยความสงบสุขในสังคมแห่งความเอื้ออาทร

“...ปิดทองไปข้างหลังพระเรื่อย ๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง...”

ธ ทรง “ปิดทองหลังพระ” มาเนิ่นนาน

5

Page 5: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

ความสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่ งยืนตามแนวทาง

พระราชดำรินั้น เกิดขึ้นจากหลักและวิธีการทรงงาน ซึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นปฏิบัติตลอดมา คือ

แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ราษฎรกำลังต้องการการแก้ไข

อย่างเร่งด่วนก่อน พัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับความ

จำเป็น เพื่อให้มีรากฐานที่มั่นคงก่อนดำเนินการเพื่อความ

เจริญก้าวหน้าในลำดับต่อไป เน้นการพัฒนาที่มุ่งสร้างความ

เข้มแข็งแก่ชุมชนให้พึ่งตนเองได้ พัฒนาให้สอดคล้องกับ

“ภูมิสังคม” ในท้องถิ่นนั้น ๆ ใช้หลักการแก้ไขปัญหาด้วย

ธรรมชาติ เรียบง่ายและประหยัด ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ใน

ภูมิภาคนั้นมาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูง หรือใช้

เทคโนโลยีที่ยุ่งยาก สร้างเสริม “ตัวอย่างของความสำเร็จ”

ให้ราษฎรรู้เห็นตัวอย่างของความสำเร็จ สามารถนำไปปฏบิตัิ

ไดเ้อง แลว้กระจายไปสูท่อ้งถิน่ตา่ง ๆ ทัว่ประเทศ ให้เกิดการ

พัฒนา ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ไม่ว่า

จะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการ

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากที่สุด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพิสูจน์ให้คนไทยได้

ประจักษ์แล้วว่า การพัฒนาตามแนวทางสายกลางอย่างมี

ความสมดุล คือ มีขั้นตอน พอประมาณ มีเหตุมีผล และมี

ภูมิคุ้มกัน ผสมผสานความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งการมีสติ มี

คุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และมีความเพียรไม่ย่อท้อต่อปัญหา

และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ตามแนวทางพระราชดำริ คือ

แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้

ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่ถาโถมไหลบ่าเข้ามาอย่างรุนแรง

พระราชปณิธานอันเข้มแข็งในพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว และแบบอย่างจากพระราชกรณียกิจนี้เอง

คือ แรงบันดาลใจให้เกิดหน่วยงานเล็ก ๆ ที่มุ่งมั่นสานต่อ

พระราชปณิธานการทำความดีและการพัฒนาที่ยั่งยืน

นั่นคือ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

6

Page 6: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ พัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการปิดทองหลังพระ สืบสาน

แนวพระราชดำริ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ โดยมีพันธกิจที่สำคัญ คือ ให้ประชาชนสามารถเรียนรู้และสร้างประสบการณ์

ตรงจากแนวพระราชดำริมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เหมาะสมและ

มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพประชาชน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้น

จิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมไทย

ในเวลาต่อมา เพื่อให้การสืบสานแนวพระราชดำริขยายผลสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรี

จึงมีมติ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ จัดตั้งเป็น “มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” และ “สถาบันส่งเสริม

และพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” เพื่อรับผิดชอบการจัดการความรู้ และส่งเสริมการพัฒนาตามแนว

พระราชดำริอย่างเป็นระบบกว้างขวาง จนกระทั่งเป็นแนวทางการพัฒนาหลักของประเทศ โดยมีคณะกรรมการมูลนิธิเป็นผู้กำหนด

นโยบาย ควบคุม ดูแล ติดตาม และประเมินผล และมีคณะกรรมการสถาบันฯ ทำหน้าที่กำกับการบริหารของสถาบันฯ ให้เป็นไปตาม

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง

นายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร ได้จดทะเบียนมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ตามใบสำคัญแสดง

การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ทะเบียนเลขที่ กท ๑๙๑๙ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓

การรวมตัวอย่างเป็นเอกภาพ...เพื่อพัฒนาชาติ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำร ิ

คณะกรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำร ิ

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการและเลขาธิการ

ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี

ประธานกรรมการ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

กรรมการ

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักทรัพย์สิน

ส่วนพระมหากษัตริย์ กรรมการ

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ

กรรมการ

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กรรมการ

นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก กรรมการ

ดร.วิรไท สันติประภพ รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย กรรมการและเหรัญญิก

7

Page 7: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานกรรมการ

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองประธานกรรมการ

นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการ

นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา กรรมการ

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ กรรมการ

นายวิรไท สันติประภพ กรรมการ

ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ

ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ

ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ

ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ

เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรรมการ

ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กรรมการ

นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กรรมการ

นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กรรมการ

นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย กรรมการ

นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย กรรมการ

ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

8

Page 8: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมการ

นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ รองประธานอนุกรรมการ

นายวิรไท สันติประภพ อนุกรรมการ

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล อนุกรรมการ

นายธวัชชัย ยงกิตติกุล อนุกรรมการ

นายดุสิต นนทะนาคร อนุกรรมการ

นายวัฒนา โอภานนท์อมตะ อนุกรรมการ

นายพีระพงษ์ กลิ่นละออ อนุกรรมการ

นายสุขสรรค์ กันตะบุตร อนุกรรมการ

นายนิกม์ พิศลยบุตร อนุกรรมการ

นางปัทมา เพชรเรียง เลขานุการอนุกรรมการ

นางพิมพ์ใจ ยุทธบรรดล ผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมการ

คณะอนุกรรมการธุรกิจเพื่อสังคม

แนวทางการดำเนนิงานของมลูนธิฯิ และสถาบนัฯ คอื มุง่เนน้การบูรณาการความร่วมมือของภาคส่วน

ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดแนวทางที่หลากหลายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศตามภูมิสังคมอย่าง

ยั่งยืนตามแนวทางพระราชดำริ เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคีทุกภาคส่วน ในการพัฒนายุทธศาสตร์

แนวทาง และวิธีการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศตามแนวทางพระราชดำริ และเกิดการรับรู้

เข้าใจและความร่วมมือสนับสนุนจากภาคีรัฐ วิชาการ เอกชน ทอ้งถิน่ ชมุชน ประชาสงัคม และนานาชาต ิ

ในการรว่มสรา้งภมูคิุม้กนั และร่วมแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ

เมื่อดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสาน

แนวพระราชดำริ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อกำหนดนโยบายและวางกรอบ

การดำเนินงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคม และประสานไปยังเครือข่ายภาคธุรกิจ

9

Page 9: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

มิติที่ ๑ น้ำการปองกันและแกไขปญหาตั้งแตตนน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

มิติที่ ๒ ดินการปองกันและแกไขปญหาในเรื่องของสภาพดิน ซึ่งเปนปจจัยสำคัญในการทำการเกษตร

มิติที่ ๓ เกษตรการนำเกษตรทฤษฎีใหมมาใชใหเกิดประโยชนสูงสุดในแตละพื้นที่

มิติที่ ๔ พลังงานทดแทนการปรับใชพลังงานใหเหมาะสมกับทองถิ่นโดยการคิดคนและพัฒนาพลังงานทางเลือกที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได

มิติที่ ๕ ปาการลดการตัดไมทำลายปาและสงเสริมใหมีการปลูกปาในรูปแบบตาง ๆโดยการปลูกฝงจิตสำนึกใหชุมชนเห็นความสำคัญของปา

มิติที่ ๖ สิ่งแวดลอมการนำแนวทางการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียมาใชใหเกิดประสิทธิภาพ เปนการดำรงชีวิตอยูอยางเปนมิตรตอสิ่งแวดลอมในระยะยาว

หลักการที่ยึดมั่น

มิติที่ ๑ น้ำการปองกันและแกไขปญหาตั้งแตตนน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

มิติที่ ๒ ดินการปองกันและแกไขปญหาในเรื่องของสภาพดิน ซึ่งเปนปจจัยสำคัญในการทำการเกษตร

มิติที่ ๓ เกษตรการนำเกษตรทฤษฎีใหมมาใชใหเกิดประโยชนสูงสุดในแตละพื้นที่

มิติที่ ๔ พลังงานทดแทนการปรับใชพลังงานใหเหมาะสมกับทองถิ่นโดยการคิดคนและพัฒนาพลังงานทางเลือกที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได

มิติที่ ๕ ปาการลดการตัดไมทำลายปาและสงเสริมใหมีการปลูกปาในรูปแบบตาง ๆโดยการปลูกฝงจิตสำนึกใหชุมชนเห็นความสำคัญของปา

มิติที่ ๖ สิ่งแวดลอมการนำแนวทางการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียมาใชใหเกิดประสิทธิภาพ เปนการดำรงชีวิตอยูอยางเปนมิตรตอสิ่งแวดลอมในระยะยาว

เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนา โดยปรับน้ำหนักแต่ละเรื่องให้สอดคล้อง

เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมและสภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในที่สุด

๑. นำหลักการทรงงานและโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ ์ พระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เป็นองค์ต้นแบบเพื่อนำไปสู่การขยายผลการพัฒนาในระดับ

หมู่บ้าน

๒. ยึดองค์ความรู้ตามพระราชดำริ ๖ มิติ น้ำ ดิน เกษตร พลังงานทดแทน ป่า สิ่งแวดล้อม ที่สอดคล้องกับภูมิสังคม องค์ความรู้

ที่เป็นสากล องค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นกรอบการทำงาน

๓. ปฏิรูปการทำงานโดยสร้างระบบพัฒนาภูมิภาคยึดพื้นที่เป็นหลัก (Area based Development Approach) มุ่งเน้นระดับชุมชน

(Community Level)

ปรัชญาและวิธีการทำงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำร ิ

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มุ่งมั่นดำเนินการโดยยึดหลักการองค์ความรู้ ๖ มิติในการปฏิบัติงานตามรอย

พระยุคลบาท

10

Page 10: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

หลักการพัฒนา

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ยึดหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา เป็นบันได

๓ ขั้นสู่ความสำเร็จ

เริ่มต้นด้วยการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบาย หน่วยงานภาครัฐในจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น ท้องที่ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคชุมชน เกี่ยวกับแนวทางการทำงานของปิดทองหลังพระฯ และสร้างความ

พร้อมให้ชาวบ้านเป็นผู้ลุกขึ้นมาทำงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเอง

พัฒนาศักยภาพทีมทำงาน และอาสาสมัครปิดทองหลังพระ (อสพ.) ในพื้นที่ ที่จะอยู่กับชาวบ้านตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อเป็นแกน

หลักในการขับเคลื่อนงานและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปสู่ชาวบ้าน และสานต่อการพัฒนาเมื่อทีมพี่เลี้ยงถอนตัว

ทีมงานทั้งหมดจะเข้าถึงชาวบ้าน ด้วยการพบปะพูดคุย เรียนรู้วิถีชีวิต ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ความเชื่อ และลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล

เชิงลึกที่เป็นจริงของหมู่บ้านในทุกมิติ ทั้งรายบุคคล รายครัวเรือน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะกายภาพ (ดิน น้ำ ป่า) การใช้ประโยชน์

ที่ดิน ประชากร เศรษฐกิจ รายได้ รายจ่าย ปัญหาและความต้องการที่แท้จริง

จากนั้นจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจำแนกปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน และกำหนดเป็นแผนการพัฒนาพื้นที่

ต่อไป

เสนทางของ “โครงการปดทองหลังพระ”เสนทางของ “โครงการปดทองหลังพระ”

ความยั่งยืน ชุมชนคือเจาของ

เขาใจ

เขาถึง

พัฒนา

การพัฒนา เป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบหลักสูตรและเมนูการพัฒนา การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติของชุมชน

รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในชุมชน และติดตามสนับสนุนประเมินผล

การเข้าใจ คือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากของปัญหา และรวบรวมองค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศ

การเข้าถึง เป็นเรื่องการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม โดยมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจ และความมั่นใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความ

ต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากที่สุด

๔. เปลี่ยนวิธีคิดในการทำงาน โดยการยึดถือความคิด ความต้องการ ศักยภาพ ของประชาชนเป็นที่ตั้ง รับฟังความคิดเห็น

จากภาคประชาชนมากขึ้น (หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา) โดยประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ

เป็นเจ้าของ

๕. สร้างต้นแบบ “แผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ ประยุกต์ตามพระราชดำริ” ที่บูรณาการการทำงานของทีมปฏิบัติงานของ

ส่วนราชการระดับอำเภอ มีตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์จากความอยู่ดีมีสุขที่เพิ่มขึ้นของประชาชนในพื้นที่ว่า “ชาวบ้านได้อะไร” ในระดับอยู่รอด

พอเพียง และยั่งยืน พึ่งพาตนเอง

ปรัชญาและวิธีการทำงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำร ิ

11

Page 11: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

จากหลักปรัชญาและวิธีการทำงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ปิดทองหลังพระฯ ได้ริเริ่มแปร

แนวความคิดในการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริมาสู่การปฏิบัติ ด้วยโครงการบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่

“จังหวัดน่าน” ตามแนวพระราชดำริ เมื่อปี ๒๕๕๒

หลังการดำเนินงานในจังหวัดน่าน เห็นผลความสำเร็จในระดับที่ชุมชนในพื้นที่อยู่รอดได้อย่างพอเพียงแล้ว ปิดทองหลังพระฯ

จึงขยายผลสู่พื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ในปี ๒๕๕๔ โดยจัดทำเป็น

พื้นที่ต้นแบบการพัฒนารูปแบบใหม่ ที่เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกัน ทำเล็ก ประหยัด ขยายผลได้เร็วในวงกว้าง และได้ประโยชน์

สูงสุด

ในปี ๒๕๕๕ ปิดทองหลังพระฯ โดยความร่วมมือกับจังหวัดเชียงราย และมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ของพระมหาวุฒิชัย

วชิรเมธี จัดทำโครงการต้นแบบปิดทองหลังพระฯ แห่งที่ ๓ ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยสัก

อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาประยุกต์พุทธศาสนาเข้ากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ปิดทองหลังพระฯ ยังขยายผลออกไปอีก ๑๘ หมู่บ้าน ๑๐ จังหวัด ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ ์กระทรวงทรพัยากรธรรมชาตแิละสิง่แวดลอ้ม จงัหวดัและองคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่

ผลงานของปิดทองหลังพระฯ ที่ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน ด้วยลักษณะเฉพาะของการทำงานปิดทองหลังพระฯ ทำให้

๔ กระทรวงที่ทำงานร่วมกัน เห็นชอบนำปรัชญาและวิธีการทำงานของปิดทองหลังพระฯ บรรจุในแผนบริหารราชการแผ่นดิน

พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๘ ของแต่ละกระทรวง ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ เห็นชอบกับแผนบริหารราชการ

แผ่นดินดังกล่าว ภายใต้ชื่อเดียวกันว่า “แผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ” ซึ่งจะเป็นการทำงานของจังหวัด

และอำเภอเป็นหลักร่วมกับชาวบ้าน โดยปิดทองหลังพระฯ เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการทำงาน

จากหลักปรัชญาสู่เส้นทางปฏิบัติ

12

Page 12: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

พื้นที่ต้นแบบแห่งแรกของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เริ่มปฏิบัติการในพื้นที่ ๓ อำเภอของจังหวัดน่าน คือ ท่าวังผา สองแคว และเฉลิมพระเกียรติ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒

การคัดเลือกจังหวัดน่านเป็นพื้นที่ต้นแบบ เนื่องจากน่านเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์ เพราะเป็นต้นน้ำน่าน

ที่เป็นหัวใจสำคัญของระบบน้ำในประเทศไทย (ร้อยละ ๔๕ ของแม่น้ำเจ้าพระยา) และยังเป็นจังหวัดที่มีปัญหารุนแรงทั้งด้าน

เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการที่ป่าต้นน้ำน่านกำลังเผชิญกับการบุกรุก เพื่อเป็นพื้นที่ทำกิน อากาศเสีย

เพราะหมอกควันจากการเผาเตรียมพื้นที่การเกษตร ดินเสื่อมด้วยสารตกค้างจากการใช้เคมีการเกษตรเข้มข้น น้ำปนเปื้อนสารเคมี

และเต็มไปด้วยตะกอนจากการชะหน้าดิน ตามแนวลุ่มน้ำเกิดอุทกภัยรุนแรงซ้ำซาก ขาดความรู้ที่จำเป็นในการยังชีพ ยากจน เป็นหนี้

ไม่มีทางออก ร้อยละ ๗๕ ของชาว อ.สองแคว สุขภาพเสื่อมโทรม ด้วยสารพิษในเลือดสูงกว่าระดับปกติธรรมดาถึง ๕ เท่า

แต่โชคดีที่น่านมีข้าราชการและเครือข่ายประชาคมเข้มแข็ง ผู้คนกระตือรือร้น เปิดรับ เรียนรู้ตัวอย่างความสำเร็จ ทุกฝ่ายหารือ

ตกลงกันเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือ ระดมสรรพกำลัง โดยการสนับสนุนของปิดทองหลังพระฯ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ประยุกต์

องค์ความรู้จากโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้วในจังหวัดน่าน เป็นแนวทางร่วมกันดำเนินภารกิจ “ปิดทองหลังพระ

ณ ต้นน้ำน่าน”

จากจุดเริ่มต้นในพื้นที่นำร่องขนาดเล็ก ที่บ้านยอด ต.ยอด อ.สองแคว และบ้านน้ำป้าก ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา ขยายสู่ ต.ขุนน่าน

อ.เฉลิมพระเกียรติ และบ้านห้วยธนู ต.ตาลชุม บ้านห้วยม่วง ต.ศรีชุม อ.ท่าวังผา ตามคำร้องขอของชุมชนเอง

การดำเนินงานปิดทองหลังพระฯ คือ ส่งเสริมให้ชุมชนที่ยากจนสามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จากการปลูกพืชอาหาร

ปศุสัตว์และประมงให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งของตนเองและทั้งจังหวัดน่านได้ตลอดปี โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้จากโครงการ

อนัเนือ่งมาจากพระราชดำร ิ “ลดการใชพ้ืน้ทีป่า่ ปลกูนาขัน้บนัได” ในสมเดจ็พระนางเจา้ฯ พระบรมราชินีนาถ มาขยายผลในพื้นที่ทั้งสาม

โครงการบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ “จังหวัดน่าน” ตามแนวพระราชดำริ

13

Page 13: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภค ควบคู่กับการลดพื้นที่แผ้วถางป่า

เพื่อปลูกข้าวไร่ พร้อมกับพัฒนาต้นแบบการถ่ายทอดความรู้อื่น ๆ ควบคู่กันไป

เช่น พัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำ ปรับปรุงปัจจัยการผลิตพื้นฐาน

เสริมสร้างความรู้ด้านการเพาะปลูก การสุขาภิบาลสัตว์ การแปรรูปและพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยการ

พัฒนาคน ปลูกฝังความคิดและค่านิยมของการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสืบสาน

งานพัฒนาในด้านต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

แนวทางปิดทองหลังพระฯ นำมาซึ่งการรับรู้และความเข้าใจที่ดี จนเมื่อวันที่

๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ประชาชนจังหวัดน่านทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันประกาศ

เจตนารมณ์ “วาระน่าน–โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

จังหวัดน่าน” เพื่อเตรียมความพร้อม เตรียมคน เตรียมแผนงาน เตรียม

งบประมาณและสรรพกำลัง สืบสานและขยายผลงานพัฒนาที่ปิดทองหลังพระฯ

บุกเบิกไว้ จากพื้นที่ดำเนินการ ๓ อำเภอ สู่พื้นที่ขยายผลอีก ๑๒ อำเภอ

ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนสืบไป

ความร่วมมือในโครงการต้นแบบน่าน

การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบจังหวัดน่าน เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม

ราชินีนาถ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน ประชาคมในจังหวัด

น่าน โดยมีหน่วยงานราชการ เช่น ประมงจังหวัด สนับสนุนวัคซีนและยารักษาโรค พัฒนาที่ดินจังหวัด สนับสนุนเรื่องการทำนา

ขั้นบันไดและเทคนิคการปรับปรุงดิน จังหวัดทหารบก สนับสนุนแรงงานในการปลูกข้าวและเทคนิคการปรับปรุงดิน ปศุสัตว์จังหวัด

สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ และชลประทานจังหวัด สนับสนุนการทำแท็งก์น้ำและฝาย ให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายร่วมกัน

ในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนชาวน่าน

14

Page 14: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

นาหมื่น

นานอย

เวียงสา

แมจริมภูเพียง

เมืองนานสันติสุข

บอเกลือ

ปว

เชียงกลาง

ทาวังผา

สองแคว

ทุงชาง

เฉลิมพระเกียรติ

บานหลวง

อำเภอทาวังผา๓ หมูบาน ในลุมน้ำสบสาย คือบานน้ำปาก ต.ตาลชุมบานหวยธนู ต.ตาลชุมบานหวยมวง ต.ศรีภูมิ

อำเภอสองแคว๓ หมูบาน ในลุมน้ำยาว ลุมน้ำยอด คือบานยอด ต.ยอดบานผาหลัก ต.ยอด บานน้ำเกาะ ต.ยอด

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ๑๓ หมูบานตนน้ำนาน ในตำบลขุนนาน คือ บานงอมเปา (หวยกานต)บานเปยงกอบานดาน (หวยสม)บานเปยงซอบานนาคุบานหวยฟองบานสะจุกบานสะเกี้ยงบานกิ๋วจันทรบานน้ำชางพัฒนาบานน้ำรีพัฒนา บานบวกอุมบานหวยเตย

การดำเนินการที่ผ่านมา มีการสร้างฝายเพื่อการเกษตร ฝายเพื่อการอนุรักษ์ ฝายเพื่อการอุปโภคบริโภค สร้างบ่อพวงสันเขา

ระบบคลองและท่อส่งน้ำ ขุดนาขั้นบันได ปรับปรุงสภาพดิน จัดตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด งาม่อน กองทุน

พืชหลังนา กองทุนปุ๋ย กองทุนสุกร กองทุนสัตว์ปีก กองทุนปลา กองทุนยาและสุขภาพสัตว์ กองทุนอาหารสัตว์ กองทุนหัตถกรรม

และการแปรรูป กองทุนเครื่องบดข้าวโพด เตาเผาเศรษฐกิจ หัตถกรรมจากแหย่ง แปรรูปมะแขว่น กองทุนจอบ เตาเผาน้ำส้มควันไม้

โรงสีข้าวขนาดเล็ก

• อำเภอทุง่ชา้ง บา้นเฉลมิราช หมูท่ี ่๘ ตำบลปอน ลุม่นำ้นา่นตอนบน • อำเภอเชยีงกลาง บา้นกอก หมูท่ี ่๘ ตำบลเชยีงกลาง ลุม่นำ้เปอื-นำ้กอน

• อำเภอบ้านหลวง บ้านโป่งศรี หมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านฟ้า ลุ่มน้ำสวด • อำเภอสองแคว บ้านสะเกิน ตำบลยอด

• อำเภอนาหมื่น บ้านน้ำอูน หมู่ที่ ๑ ตำบลเมืองลี ลุ่มน้ำอูน • อำเภอนาน้อย บ้านทุ่ง หมู่ที่ ๑๒ ตำบลสถาน ลุ่มน้ำแหง

• อำเภอแม่จริม บ้านสว่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลหนองแดง ลุ่มน้ำว้า • อำเภอภูเพียง บ้านห้วยคำ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลฝายแก้ว ลุ่มน้ำห้วยคำ

• อำเภอสันติสุข บ้านราษฎร์รัฐพัฒนา ตำบลพงษ์ และบ้านโป่งคำ ตำบลดู่พงษ์

• อำเภอเวียงสา บ้านน้ำปุ๊สามัคคี หมู่ที่ ๓ ตำบลส้านนาหนองใหม่ ลุ่มน้ำว้า

• อำเภอบ่อเกลือ บ้านน้ำว้า หมู่ที่ ๖ ตำบลบ่อเกลือเหนือ ลุ่มน้ำน่านตอนบน

• อำเภอเมืองน่าน บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ ๑ ตำบลเรือง และบ้านห้วยปุก ตำบลสะเนียน ลุ่มน้ำสมุนตอนล่าง

เปรียบเทียบรายได้ระหว่างปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓

พื้นที่ดำเนินการ โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน

พื้นที่ขยายผล ตามประกาศจังหวัดน่าน ลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๓

15

Page 15: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.อุดรธาน ี

หลังการดำเนินงานในจังหวัดน่าน เห็นผลความสำเร็จในระดับที่ชุมชนในพื้นที่

อยู่รอดได้อย่างพอเพียงแล้ว “ปิดทอง” จึงขยายผลมาสู่พื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ตามข้อเสนอของมูลนิธิชัยพัฒนา

ที่ให้พิจารณาคัดเลือกอ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ยังใช้ประโยชน์ได้

ไม่เต็มประสิทธิภาพ มาเป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาในรูปแบบใหม่ คือ ทำเล็ก ประหยัด

เกิดการขยายผลเร็วในวงกว้าง และได้ประโยชน์สูงสุด

บ้านโคกล่าม และบ้านแสงอร่าม ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี คือ พื้นที่

ซึ่ง “ปิดทอง” เลือกเป็นต้นแบบการพัฒนาในรูปแบบใหม่นี้

ในพื้นที่นี้ “ปิดทอง” ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ทำการพัฒนาระบบน้ำ เช่น เสริม

ตอม่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำอีก ๓๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร วางระบบท่อส่งน้ำ

และระบบกระจายน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ตลอดปี ซ่อมแซมฝายเดิม ๓ ฝายที่ชำรุด

ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำห้วยก้านเหลือง พร้อมระบบท่อส่งน้ำและระบบกระจายน้ำ ฯลฯ

และร่วมกับโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พัฒนาการเกษตร โดย

คัดเลือกพื้นที่เกษตรของชาวบ้าน ๒ แปลงมาพัฒนาเป็นฟาร์มตัวอย่าง ทำการปรับปรุง

ดินให้มีธาตุอาหารเพียงพอแล้วทำการเกษตรผสมผสาน ด้วยการปลูกพืช ๓ ระดับ คือ

พืชชั้นสูง ชั้นกลางและพืชกินหัว ปลูกพืชที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว เลี้ยงหมูจินหัว

เป็ดอี้เหลียง และปลาในบ่อ

จากน่านสู่อุดรธาน ี

16

Page 16: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายฯ เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของมูลนิธิ

ชัยพัฒนา โดยใช้องค์ความรู้จากโครงการฟาร์มตัวอย่าง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และการสนับสนุนจากปูนซิเมนต์ไทย

กรมชลประทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา

ภูพาน จังหวัดอุดรธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี องค์การบริหารส่วนตำบลกุดหมากไฟ โดย “ปิดทองฯ” เป็น

ผู้ประสานเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งหมดให้ทำงานร่วมกัน

บูรณาการทำงานในโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างห้วยคล้ายฯ

รูปแบบฟาร์มตัวอย่าง พื้นที่ 1 ไร่

พืชชั้นสูง ๒,๑๐๐ บาท

พืชชั้นกลาง ๒,๗๕๐ บาท

พืชค้าง ๑๕๐ บาท

พืชผักเศรษฐกิจ ๔,๓๓๑ บาท

ปุ๋ย ๓,๖๘๐ บาท

ปศุสัตว์ ๕,๓๐๐ บาท

ประมง ๘๐๐ บาท

บ่อตอกน้ำตื้น ๔,๐๐๐ บาท

พันธุ์ข้าว ๑๕๐ บาท

รวมต้นทุนต่อไร่ ๒๓,๒๖๑ บ า ท

ผลที่จะได้ = ๑๐๖,๐๐๐ บาท

ผักบุง

ฟกทอง ขา ตะไคร

กระเฉดน้ำ

กลวย แค สะเดา มะรุม

ตำลึงถั่วพู บวบ

กองปุยคอก

ปลา กุง หอย

ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน

คอกสุกร เปด ไกพริก มะเขือ

มะมวง มะพราว

17

Page 17: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

ผลผลิตขาว ๓,๙๒๐,๐๐๐ บาทปริมาณขาว ๓๕๐ กิโลกรัมตอไร ผลผลิตขาว ๑๓,๘๖๘,๔๐๐ บาท

ปริมาณขาว ๖๐๐ กิโลกรัมตอไร

ผลผลิตขาวเพิ่มขึ้น

การพัฒนาในช่วงเพียงหนึ่งปี ทำให้เกษตรกรตกกล้าและปลูก

ข้าวได้เต็มพื้นที่รับประโยชน์ ๑,๗๘๘ ไร่ ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔

โดยไม่ต้องรอน้ำฝน และผลผลิตข้าวในพื้นที่โครงการ เพิ่มจาก

๓,๙๒๐,๐๐๐ บาท เป็น ๑๓,๘๖๘,๔๐๐ บาท หรือเพิ่มขึ้น

๙,๙๔๘,๔๐๐ บาท เนื่องจากมีน้ำใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง ทำให้ข้าว

เมล็ดไม่ลีบ ปริมาณข้าวมากขึ้นจาก ๓๕๐ ก.ก./ไร่ เป็น ๖๐๐ ก.ก./ไร่

โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นยังไม่รวมรายได้จากพืชก่อนนาและพืชหลังนา

ในปัจจุบัน จากแปลงเกษตรนำร่อง ๒ แปลงมีการขยายผลเป็น

๑๕๒ ครัวเรือน จากครัวเรือนทั้ง ๒ หมู่บ้าน ๑๙๖ ครัวเรือน ทำให้

เกษตรกรมีอาหารกิน ประหยัดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยครัวเรือนละ ๒๐ บาท

ต่อวัน มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกพืชก่อนนาเฉลี่ยเดือนละ ๕๐๐

บาท ต่อแปลงต่อเดือน เกษตรกรขายลูกสุกรไปแล้ว ๗๐ ตัว คิดเป็น

เงิน ๙๖,๔๐๐ บาท

นอกจากนี้ ยังมีกองทุนต่าง ๆ ที่ปิดทองฯ ให้การสนับสนุน

ส่งเสริม เพื่อให้ชาวบ้านอยู่ได้อย่างยั่งยืนมั่นคงในอนาคต เช่น

กองทุนสุกร กองทุนพันธุ์ข้าว กองทุนปุ๋ย กองทุนเป็ด กองทุนเมล็ด

พันธุ์ผัก กองทุนการตลาด กองทุนยาและเวชภัณฑ์ กองทุนแม่บ้าน

ล่าสุด ชาวบ้านยังมีแนวคิดที่จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดขึ้นเอง และ

จัดตั้งโรงสีข้าวชุมชนอีกด้วย

เปรียบเทียบผลผลิตข้าวในพื้นที่โครงการ

18

Page 18: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

คณะกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มีมติเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์

๒๕๕๕ อนุมัติตามที่จังหวัดเชียงรายเสนอให้พื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัด

เชียงราย เป็นโครงการต้นแบบปิดทองหลังพระฯ แห่งที่ ๓ โดยความร่วมมือระหว่างจังหวัดเชียงราย สถาบันส่งเสริมและพัฒนา

กิจกรรมปิดทองหลังพระฯ และมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาประยุกต์

พุทธศาสนาเข้ากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยชาวบ้านสามารถพึ่งพาตัวเองได้ด้วยองค์ความรู้ ๖ มิติ ของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว

หลังการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลกายภาพ เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้านแล้ว

แนวทางการทำงานต่อ จะเป็นการคัดเลือกชาวบ้านที่สมัครใจเป็นอาสาพัฒนาชุมชน (อสพ.) มอบหมายผู้ปฏิบัติงานเป็นข้อต่อระดับ

จังหวัดกับอำเภอและมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ แก้ไขปัญหาแบบเร่งด่วนของหมู่บ้าน (Quick Win) เพื่อสร้างความเชื่อมั่น

ศรัทธาของชาวบ้านกับทีม แล้วประยุกต์พุทธศาสนาเข้ากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการอบรมชาวบ้านที่ทำกระบวนการ

เข้าใจ เข้าถึง แล้วให้เรียนรู้วิปัสสนากรรมฐานทุกวันพระ พร้อมทั้งประมวลข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ชุมชนและแผนที่ทำกิน

การสำรวจจับพิกัด GPS พื้นที่ที่ดินทำกินที่ไม่มีการบันทึกในระบบราชการ คืนข้อมูลให้ชุมชน และจัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่

ประยุกต์ตามพระราชดำริร่วมกับชุมชน

โครงการต้นแบบปิดทองหลังพระฯ อ่างเก็บน้ำห้วยสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย

19

Page 19: เอกสารแนะนำมูลนิธิ

ก้าวต่อไปของ “ปิดทอง” จากความสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริ ที่จังหวัดน่านและ

อุดรธานี ซึ่งปรากฏผลเป็นรูปธรรม คือ ชาวบ้านในพื้นที่เข้าใจ รู้ปัญหาและความ

ต้องการของตนในทุกมิติ และลงมือแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง จนในที่สุดสามารถ

ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้และชำระหนี้สินได้ คณะกรรมการสถาบันฯ จึงอนุมัติให้

ดำเนินงานในพื้นที่ขยายผล ตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทย วุฒิอาสา ธนาคาร

สมองของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

อีก ๑๘ หมู่บ้าน ใน ๑๐ จังหวัด

การดำเนินการในพื้นที่ขยายผล กระทรวงมหาดไทย จะแจ้งให้จังหวัดแต่งตั้ง

ทีมปฏิบัติการพื้นที่ระดับอำเภอ โดยเลือกจากข้าราชการที่มีภารกิจแก้ไขปัญหาของ

ประชาชน และพร้อมทำงานร่วมกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยมีสถาบัน

ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการทำงาน

จนกระทั่งจัดทำเป็นแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริได้ ซึ่งมี

ขั้นตอนการทำงาน ๗ ขั้นตอน

สร้างทีมปฏิบัติการพื้นที่ระดับจังหวัดลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำงานร่วมกับชาวบ้านตั้งแต่เริ่มต้น

จัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ ๒ ระยะ คือ ๑. แก้ไขปัญหาเร่งด่วนของหมู่บ้าน (Quick win) และ ๒) แผนพัฒนาชนบทฯ (ฉบับสมบูรณ์) ที่สอดคล้องกับหลักการองค์ความรู้ ๖ มิติ และหลักการทรงงาน โดยชาวบ้านต้องมี ส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมทำงานในทุกกิจกรรม และวัดผลสำเร็จของโครงการและแผนงานว่า ตรงตามความต้องการ ของชาวบ้านได้

จัดทำแผนชีวิตชุมชน ประมวลเป็นความต้องการระดับหมู่บ้าน โดยชาวบา้นตอ้งเตรยีมความพรอ้มกอ่นการพฒันา ดว้ยการพฒันาระบบนำ้ ปรบัปรงุดนิ การรวมกลุม่เกษตรกร การอบรมชาวบา้นเปน็อาสาสมคัร

นำแผนชีวิตชุมชนของชาวบ้าน มาวิเคราะห์กับความรู้ เทคนิคและความเปน็ไปไดท้ีเ่หมาะสมกบัพืน้ที ่ จดัทำรายละเอยีด แผนงาน กิจกรรม เสนอชาวบ้าน แล้วสรุปเป็นแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ ที่ตรงกับปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน

ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ

จัดประชุมชาวบ้าน ให้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทั้งหมด ค้นหาประเดน็หลกัของหมูบ่า้น เพือ่จดัลำดบัความสำคญัเรง่ดว่นในการแกป้ญัหา

สำรวจข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และวิเคราะห์ข้อมูล โดยสัมภาษณ์ชาวบ้านทุกครัวเรือน และเดินสำรวจข้อมูลกายภาพ

สรา้งความเขา้ใจปรชัญาแนวทางและวธิกีารทำงานของปดิทองหลงัพระฯ รบัฟงัปญัหาและความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน

20

Page 20: เอกสารแนะนำมูลนิธิ
Page 21: เอกสารแนะนำมูลนิธิ