ค ำน ำ - coj.go.th...iii รายงานว จ ยฉบ บสมบ รณ...

351

Upload: others

Post on 15-Jul-2020

10 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • i

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    ค ำน ำ

    พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์แม้ว่าจะเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ในชั้นการพิจารณาคดีของศาลและมีน้้าหนักอยู่มาก แต่ปัจจุบันการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ยังประสบปัญหาอยู่มาก ซึ่งเป็นอุปสรรคส้าคัญในกระบวนการยุติธรรม การแก้ไขปัญหาจึงควรท้าเพ่ือมุ่งค้นหาหรือพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพ่ือน้าไปสู่การแก้ปัญหาหรือแก้ไขข้อบกพร่องในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นระบบ โครงการวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพ่ือสร้างความน่าเชื่อถือให้กับพยานหลักฐานและกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ และเสนอแนะแนวทางการน้าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมพร้อมกันกับการพัฒนาตัวบทกฎหมายให้สอดรับกับความก้าวหน้าทางวทิยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันจะท้าให้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริงต่อไป

    งานวิจัยครั้งนี้ไม่อาจส้าเร็จลุล่วงไปได้หากปราศจากการสนับสนุนจากบุคลากร ในกระบวนการยุติธรรมและผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการสะท้อนปัญหาและเสนอ แนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งในการประชุม การให้สัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถาม

    คณะผู้วิจัยขอขอบคุณสถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ ส้านักงานศาลยุติธรรม ที่ได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้ และเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ช่วยเหลือและประสานงานให้งานวิจัยครั้งนี้ส้าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ และท่านเข็มชัย ชุติวงศ์ ที่ปรึกษาโครงการวิจัย ท่านศิริชัย วัฒนโยธิน ท่านสุพิศ ปราณีตพลกรัง ท่านศุภวิทย์ ตั้งตรงจิตต์ ท่านมุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ท่านสมบัติ พฤฒิพงศภัค และท่านวัชรพล สุนทระศานติก คณะกรรมการก้ากับโครงการจ้างที่ปรึกษา และรองศาสตราจารย์ ดร. ประธาน วัฒนวาณิชย์ ผู้ให้ค้าวิพากษ์ ท่ีร่วมกันให้ค้าชี้แนะเพื่อให้คณะผู้วิจัยได้น้าไปปรับปรุงแก้ไขให้งานวิจัยนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

    คณะผู้วิจัย

  • ii

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    บทคัดย่อ

    ด้วยพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นพยานหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีความส้าคัญมากในกระบวนการยุติธรรม แต่การรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ยังประสบปัญหาอยู่มาก งานวิจัยนี้ได้จัดท้าขึ้นเพ่ือ ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการน้าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ทั้งของต่างประเทศและของไทย และพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้อย่างเป็นรูปธรรม

    ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย ทฤษฎีและวิธีการที่ เกี่ยวข้องกับการน้าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี หลักการและวิธีการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานประเภทต่าง ๆ การวิเคราะห์คดีต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในอดีต ในแง่มุมของการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์เพ่ือให้สะท้อนภาพการตัดสินคดีจากพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับงานนิติวิทยาศาสตร์ การศึกษาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศ การเปรียบเทียบการใช้กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ และปัญหาและการพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพ่ือให้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้

    การพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพ่ือให้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ ประกอบด้วย (1) พัฒนามาตรฐานการเก็บรวบรวมและการได้มาของพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนางานด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุ พัฒนามาตรฐานผู้ตรวจพิสูจน์ พัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์ทั้งระบบ และพัฒนากฎหมายที่ให้ความส้าคัญกับพยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ และ (2) พัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์แก่ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม พัฒนาความน่าเชื่อถือ คุณสมบัติ และความเป็นกลางของพยานผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนากฎหมายเพ่ือกลั่นกรองพยานผู้เชี่ยวชาญ

    ข้อเสนอแนะเพ่ือการปรับปรุงประสิทธิภาพการพิจารณาการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย (1) พัฒนาหลักเกณฑ์ของศาลเพ่ือเป็นระเบียบปฏิบัติในการตรวจสอบคัดกรองพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าสู่ศาลให้เหลือเพียงพยานหลักฐาน

  • iii

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    ทางนิติวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้ในวงการของศาสตร์นั้น ๆ และกลั่นกรองพยานผู้เชี่ยวชาญทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลทางนิติวิทยาศาสตร์ (2) ก้าหนดหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนพยานผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม (3) พัฒนาแบบฟอร์มการท้าความเห็นของพยานผู้เชีย่วชาญศาล (4) พัฒนากฎหมายเพ่ือให้มีการกลั่นกรองพยานผู้เชี่ยวชาญ และ (5) พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์

    เมื่อพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้มาโดยวิธีการที่น่าเชื่อถือ โดยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ อย่างเป็นกลางตรงตามความเป็นจริงของหลักวิชาการ และมีการส่งต่อพยานหลักฐานอย่างรัดกุมปราศจากการสับเปลี่ยนหรือปนเปื้อน พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์นั้นจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีคุณค่าและรับฟังได้ (Admissible evidence) ในชั้นศาล การรับฟังพยานหลักฐานทางนิตวิทิยาศาสตรใ์นชั้นพิจารณาคดี จึงเหลือเพียงประเด็นว่า การน้าสืบพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มีความสมเหตุสมผลน่าเชื่อถือหรือไม่ เ พ่ือให้ศาลใช้ดุลพินิจชั่งน้้าหนักพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประกอบกับพยานหลักฐานอื่น ๆ ในคดี และท้าการวินิจฉัยตัดสินคดี จึงจะท้าให้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกระบวนการยุติธรรมได้อย่างแท้จริง

  • iv

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    สำรบัญ

    หน้า ค ำน ำ…………………………………………………………………………………………………………………. i บทคัดย่อ……………………………………………………………………………………………………………. ii-iii สำรบัญ………………………………………………………………………………………………………………. iv-ix สำรบัญตำรำง…………………………………………………………………………………………………….. x 1. บทน ำ………………..………………………………………………………………………..…...........……

    1.1 ความสา้คัญและทีม่าของปัญหา…………………………....……………………...…….…………… 1.2 วัตถปุระสงคก์ารวิจัย……………………………………………………………...……..….…………… 1.3 ขอบเขตการวิจัย………………………………………………………………..……...……………….…. 1.4 รายละเอียดการวิจัยโดยย่อ……………………………………………..…………...………………… 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะไดร้ับ……………………………………………………..……...…….………… 1.6 วิธีการดา้เนนิงาน……………………………………………………………………………………….…..

    1 1 3 3 4 5 5

    2. หลักกำรตรวจพิสูจน์พยำนหลักฐำนทำงนิตวิิทยำศำสตร…์……………………………........ 6 2.1 แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการน้าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้

    เป็นพยานหลักฐานในคดี………........................................................…………………….... 2.1.1 แนวความคิดเกีย่วกับการพิสูจน์หลักฐาน.………………………..………………….... 2.1.2 ทฤษฎีการพิสูจน์หลักฐาน……………………………………………....………………..... 2.1.3 กฎแห่งพยานหลักฐาน…………………………....……………..………………………...... 2.1.4 กฎหมายเกี่ยวกับพยานหลักฐาน…….………………………………..…….…………....

    7 7 8 9

    10 2.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์พยานหลักฐานทางนติิวทิยาศาสตร.์.....................

    2.2.1 ส้านักงานพิสูจน์หลักฐานต้ารวจ.................................................................... 2.2.2 สถาบันนิติวทิยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม.................................................... 2.2.3 กรมสอบสวนคดพิีเศษ กระทรวงยุติธรรม...................................................... 2.2.4 การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐาน.........

    12 13 15 19 21

    2.3 ข้อมูลพ้ืนฐานที่ส้าคัญเกี่ยวกับพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์…………….….……… 2.3.1 นิยามของพยานหลักฐาน…………………………………………………………………..... 2.3.2 การจ้าแนกประเภทพยานหลักฐาน........………………………………………………..

    23 23 24

  • v

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    2.3.3 ความส้าคัญของพยานหลักฐาน………………………………………...….….……...... 2.3.4 แหล่งที่พบพยานวัตถุ…………………………………………………………..…………..... 2.3.5 ชนิดของพยานวัตถุในสถานที่เกิดเหตุ………………………..………………………... 2.3.6 ประวัติการพิสูจน์หลักฐาน………………………….……………..………...…………....

    25 26 27 28

    2.4 การตรวจสถานที่เกิดเหตุ…………………………………………………….…………………..…...... 2.4.1 หลักการตรวจสถานที่เกิดเหตุ……...……………....…………………..……….…….... 2.4.2 ขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุ………………………………………....…………..... 2.4.3 บทบาทของพนักงานสอบสวนในสถานที่เกิดเหตุ………………………………....... 2.4.4 บทบาทของเจ้าหนา้ที่ตรวจสถานที่เกดิเหตุ………………………………….………... 2.4.5 บทบาทของแพทย์ในสถานที่เกิดเหต…ุ……...…………….................…….……..... 2.4.6 การชันสูตรศพ...............................................................................................

    29 29 31 35 37 37 39

    2.5 การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ……….…..………... 2.5.1 การบันทึกรายละเอยีดและปิดผนกึหีบห่อวตัถุพยาน……………………….…...... 2.5.2 การเก็บและการรักษาวัตถุพยาน…………………………………..…..……………...... 2.5.3 วิธีทั่วไปในการเก็บวัตถุพยาน……………………………………..….………………......

    44 44 45 46

    2.6 การตรวจพิสูจน์พยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์................................................... 2.6.1 การตรวจพิสูจน์พยานหลกัฐานทางชีววิทยา...........................................….... 2.6.1.1 การตรวจพิสูจน์เส้นผมและเส้นขนเบือ้งตน้................................... 2.6.1.2 การตรวจพิสูจน์คราบอสุจิเบื้องตน้................................................ 2.6.1.3 การตรวจพิสูจน์คราบเลือดเบื้องตน้.............................................. 2.6.1.4 การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอในนวิเคลียส......................................... 2.6.1.5 การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรีย............................... 2.6.1.6 การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอในโครโมโซมวาย................................ 2.6.1.7 การตรวจวิเคราะห์โครงกระดูก..................................................... 2.6.2 การตรวจพิสูจน์พยานหลกัฐานทางพิษวิทยาและเคมี......…………..…….......... 2.6.2.1 เครื่องมือที่ใช้ตรวจพิสูจน์พยานหลกัฐานทางพิษวิทยาและเคมี...... 2.6.2.2 การตรวจหาปรมิาณแอลกอฮอล์.................................................... 2.6.2.3 การตรวจหาคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด....................................... 2.6.2.4 การตรวจหาไซยาไนด์ในเลือด........................................................

    47 47 47 52 55 56 67 70 72 77 77 80 81 82

  • vi

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    2.6.2.5 การตรวจพิสูจน์ชนิดของยา............................................................ 2.6.2.6 การตรวจหาสารเสพตดิ.................................................................. 2.6.2.7 การตรวจหายาฆ่าแมลงหรอืยาฆ่าหญา้.......................................... 2.6.2.8 การตรวจหาชนดิของสารระเบดิ..................................................... 2.6.2.9 การตรวจหาน้้ามันเชื้อเพลิง............................................................

    2.6.3 การตรวจพิสูจนพ์ยานหลักฐานทางฟิสิกส…์………………….…………………..…… 2.6.3.1 เครื่องมือที่ใช้ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางฟิสิกส์....................... 2.6.3.2 การตรวจพิสูจน์เสน้ใย.................................................................... 2.6.3.3 การตรวจพิสูจน์เขม่าปืน................................................................. 2.6.3.4 การตรวจพิสูจน์อาวุธปืนและเครื่องกระสนุปืน.............................. 2.6.3.5 การตรวจพิสูจน์พยานเอกสาร........................................................ 2.6.3.6 การตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิว้มือ..................................................... 2.6.3.7 การตรวจพิสูจนว์ัตถุพยานประเภทอื่น ๆ ...................................... 2.6.4 การตรวจพิสูจนพ์ยานหลักฐานดิจิตอล.......................................................... 2.6.4.1 เครื่องมือที่ใช้ตรวจพิสูจน์............................................................... 2.6.4.2 การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดจิิตอล........................................... 2.6.5 ตวัอย่างการวิเคราะห์คดดี้านการตรวจพิสูจน์พยานหลกัฐานทางนติิ วิทยาศาสตร์.................................................................................................. 2.6.5.1 คดีสาววัยรุน่ตกตกึ......................................................................... 2.6.5.2 คดีฆ่าพระและเผาวัด...................................................................... 2.6.5.3 คดีโครงกระดกูนรินาม....................................................................

    84 85 88 90 91 92 93 95 97

    100 103 110 116 118 118 119 123 123 126 129

    2.7 มาตรฐานสากลที่ใชใ้นการปฏิบัตงิานด้านนติิวิทยาศาสตร…์………………….……………… 2.7.1 หนว่ยงานทีใ่ห้การรับรองมาตรฐานสากลห้องปฏบิัติการทางนติิ วิทยาศาสตร์…................................................................................................ 2.7.2 มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการควบคมุคุณภาพมาตรฐานงานนิติ วิทยาศาสตร…์................................................................................................. 2.7.3 มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการควบคมุคุณภาพมาตรฐานงานนิตเิวช ศาสตร…์..........…............................................................................................ 2.7.4 การได้รบัการรับรองมาตรฐานสากลของหนว่ยงานด้านนติิวทิยาศาสตร์ของ

    132

    132

    134

    138

  • vii

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    ประเทศไทย................................................................................................... 140 3. กฎหมำยไทยและกฎหมำยตำ่งประเทศเกีย่วกับกำรรับฟังพยำนหลกัฐำนทำงนิติวิทยำศำสตร…์……………………………………………………………………...……………….……..…..…

    144

    3.1 กฎหมายไทยที่ใช้ในการรับฟังพยานหลักฐานทางนติิวิทยาศาสตร์……………………..… 3.1.1 การเข้าสูก่ระบวนการสอบสวนของพยานหลกัฐาน....................................... 3.1.2 การน้าพยานหลักฐานเข้าสบืตอ่ศาล.............................................................. 3.1.2.1 การยื่นบญัชีระบุพยานในคดแีพ่ง..................................................... 3.1.2.2 การยื่นบญัชีระบุพยานในคดีอาญา.................................................. 3.1.2.3 วิธกีารนา้พยานหลกัฐานเข้าสบืต่อศาล............................................ 3.1.2.4 หลักเกณฑ์ของศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน............................... 3.1.2.5 การรื้อฟ้ืนคดีขึน้พิจารณาคดีใหม่เมือ่คู่ความได้พยานหลักฐานใหม่. 3.1.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์…….…..…… 3.1.3.1 การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนติิวิทยาศาสตร์ในคดแีพ่ง…..….. 3.1.3.2 การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนติิวิทยาศาสตร์ในคดีอาญา....…

    144 147 150 150 151 154 161 166 168 170 172

    3.2 กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการรบัฟังพยานหลักฐานทางนติิวิทยาศาสตร์…….…… 3.2.1 การรับฟังพยานหลักฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์ในประเทศสหรฐัอเมรกิา……… 3.2.2 การรับฟังพยานหลักฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์ในประเทศองักฤษ................... 3.2.3 การรับฟังพยานหลักฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์ในประเทศเยอรมนี................. 3.2.4 การรับฟังพยานหลักฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์ในสาธารณรฐัฝรั่งเศส…...........

    176 177 184 187 191

    3.3 ตวัอย่างคดีและการวิเคราะห์การใช้กฎหมายไทยในการพิจารณาพยานหลกัฐานทาง นติวิิทยาศาสตร ์(วเิคราะห์จากฎกีา)..…………………………....……………..………….......... 3.3.1 ค้าพิพากษาฎีกาที่ 2236 - 2237/2550…………......………....……......………… 3.3.2 ค้าพิพากษาฎีกาที่ 6083/2546…………………………………..……....…………..… 3.3.3 ค้าพิพากษาฎีกาที่ 768/2536…………………………………….………….…………… 3.3.4 ค้าพิพากษาฎีกาที่ 1794/2542……………………………………..……………...…… 3.3.5 ค้าพิพากษาฎีกาที่ 4437/2531……………………………………..………………...… 3.3.6 ค้าพิพากษาฎีกาที่ 8745/2547……………………………………….…………..…….. 3.3.7 ค้าพิพากษาคดแีดงที่ อ.3819/2550............................................................

    199 199 203 207 209 211 214 216

    3.4 ตวัอย่างคดีต่างประเทศในการพิจารณาพยานหลักฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์………….. 222

  • viii

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    3.4.1 Frye v. United States (293 F.2s 1013, 1923)…….………….……………… 3.4.2 State of Florida v Leslie Demeniuk, a/k/a Leslie Ewing (5D04- 756, 2004)…................................................................................................ 3.4.3 Daubert v. Merrell Dow Pharmaceuticals (No. 92-102 509 U.S. 579, 1993)……............................................................................................. 3.4.4 Kumho Tire Co. v Carmichael (526 U.S.137 1999)……………………… 3.4.5 R v Turner [1975] 1 All ER 70………………………………………….......……… 3.4.6 R v Luttrell [2004] 2 Cr.App.R. 31......................................................... 3.5 ตวัอย่างคดตี่างประเทศในการพิจารณาพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์ในการ พิจารณาคดีอกีครัง้...................................................................................................... 3.5.1 Gary Dotson………………………………………....………………………..…………........ 3.5.2 Anthony Hinton………………………………………....………………………….……..... 3.5.3 Leven Brooks………………………………………………………………………..…………. 3.5.4 Randall Mills……………………………………………………………………………………. 3.6 การเปรียบเทียบการใช้กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศในการรบัฟัง พยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์.............................................................................

    222

    224

    225 227 230 232

    233 233 234 235 237

    238

    4. กำรพัฒนำแนวทำงเกีย่วกับกำรรับฟังพยำนหลักฐำนทำงนิติวิทยำศำสตร์.................. 251 4.1 ปัญหาที่เกี่ยวข้องกบัการรวบรวมและการได้มาของพยานหลักฐานทางนติิ วิทยาศาสตร์................................................................................................................

    4.1.1 ปัญหาความไม่ชดัเจนของบทบญัญตัิกฎหมาย................................................ 4.1.2 ปัญหาการรักษาสถานที่เกดิเหตุ การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางนิต ิ วิทยาศาสตร์ในสถานที่เกดิเหตุ และครอบครองพยานหลักฐานทางนติิ วิทยาศาสตร์................................................................................................... 4.1.3 ปัญหาด้านกระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์.......

    4.1.4 ปัญหาด้านบุคลากรที่ท้าหน้าทีเ่กี่ยวข้องกับพยานหลักฐานทางนติ ิ วิทยาศาสตร์................................................................................................... 4.2 ปญัหาที่เกี่ยวข้องกบัการรับฟังพยานหลักฐานทางนติิวิทยาศาสตร์...........................

    4.2.1 ปัญหาด้านความแตกตา่งในทางแนวความคิดพ้ืนฐานของนักวิทยาศาสตร์ และนักนติิศาสตร์...........................................................................................

    252 252

    253 254

    256 256

    257

  • ix

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    4.2.2 ปัญหาด้านความน่าเชือ่ถือ คุณสมบัตแิละความเป็นกลางของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ......................................................................................................

    4.3 การพัฒนาการเก็บรวบรวมและการได้มาของพยานหลักฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์... 4.3.1 พัฒนางานการตรวจสถานที่เกดิเหตุ.............................................................. 4.3.2 พัฒนามาตรฐานผู้ตรวจพิสูจน์....................................................................... 4.3.3 พัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์ทั้งระบบ.......................... 4.3.4 พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานนติิวิทยาศาสตร์...........

    4.4 การพัฒนาแนวทางการรบัฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์.............................. 4.4.1 พัฒนาความรู้ความเขา้ใจทางวิทยาศาสตรแ์ก่ผู้ปฏิบตัิงานในกระบวนการ ยุตธิรรม.......................................................................................................... 4.4.2 พัฒนาความน่าเชื่อถือ คุณสมบตัิ และความเป็นกลางของพยานผูเ้ชีย่วชาญ.. 4.4.3 พัฒนากฎหมายเพื่อกลั่นกรองพยานผู้เชี่ยวชาญ............................................

    257 259 260 261 264 265 266

    266 266 280

    5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ............................................................................................. 284

    ดัชนคี้าย่อ………………………………………………………………………………………….……………............ นิยามศัพท…์………………….…………………………………………………………………………….……………. บรรณานุกรม..………………………………………………………………..….……………………………………… ภาคผนวก 1 การประชมุกลุม่ย่อย........................................................................................... ภาคผนวก 2 สรุปเนื้อหาจากการประชุมกลุม่ย่อย.................................................................. ภาคผนวก 3 การสมัภาษณพั์นเอกปิยะวฒัก์ กิ่งเกตุ............................................................... ภาคผนวก 4 การสมัภาษณพั์นต้ารวจตรีอิทธิพล พรหมดวง................................................... ภาคผนวก 5 การบรรยายพิเศษเรื่องการปฏิรูปงานนติิวทิยาศาสตร์....................................... ภาคผนวก 6 ข้อมูลจากแบบสอบถามขอ้คิดเหน็เกี่ยวกบัการปฏิรูปงานนิตวิิทยาศาสตร์ของ ประเทศไทย ในโครงการเสวนาวิชาการ “การศกึษาแนวทางการปฏิรปูงานนติ ิ วิทยาศาสตร์ของประเทศไทย”..........................................................................

    290 292 296 310 313 325 331 333

    338

  • x

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    สำรบญัตำรำง

    หน้า ตารางที่ 1 ตัวอย่างการรายงานผลการตรวจลายพิมพ์ดีเอน็เอในนวิเคลียส จ้านวน 16

    ต้าแหนง่.......................................................................................................

    62 ตารางที่ 2 ตัวอย่างการรายงานผลการตรวจลายพิมพ์ดีเอน็เอในไมโทคอนเดรีย.......... 68 ตารางที่ 3 ตัวอย่างการรายงานผลการตรวจลายพิมพ์ดีเอน็เอในโครโมโซมวาย........... 71 ตารางที่ 4 ระยะเวลาที่สามารถตรวจพบสารเสพติดชนิดต่าง ๆ ในปัสสาวะ................. 88 ตารางที่ 5 สาขาการทดสอบและประเภทการทดสอบส้าหรบัห้องปฏิบัติการนิติ

    วิทยาศาสตรต์ามมาตรฐาน ASCLD/LAB....................................................

    135 ตารางที่ 6 ประเดน็ส้าคญัของมาตรฐานสากลทีน่้ามาใช้ในงานนติวิิทยาศาสตรแ์ละ

    นิติเวชศาสตร์...............................................................................................

    140 ตารางที่ 7 ข้อสังเกตพัฒนาการของการรับฟังพยานหลักฐานทางนติิวิทยาศาสตร์ใน

    สหรัฐอเมรกิา...............................................................................................

    182 ตารางที่ 8 สรุปเอกลักษณ์และหลกัการส้าคัญในการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิติ

    วิทยาศาสตร์ในกฎหมายต่างประเทศ...........................................................

    194 ตารางที่ 9 เปรียบเทียบการใช้กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศในการรวบรวม

    และการรบัฟังพยานหลักฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน......................

    239 ตารางที่ 10 บัญชีรายการตรวจสอบความน่าเชือ่ถือของพยานผู้เชี่ยวชาญทางนติิ

    วิทยาศาสตร์................................................................................................

    269 ตารางที่ 11 สรุปปญัหาและข้อเสนอแนวทางการพัฒนาความน่าเชื่อถือ คุณสมบตัิ

    และความเปน็กลางของพยานผู้เชี่ยวชาญ....................................................

    282

  • 1

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    บทที่ 1 บทน ำ

    1.1 ควำมส ำคัญและที่มำของปัญหำ

    นิติวิทยาศาสตร์คือการน าเอาหลักการ วิธีการ และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ มาใช้ในการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานและพยานเอกสารที่พบในสถานที่เกิดเหตุเพ่ือพิสูจน์ให้ได้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดีต่าง ๆ ให้ปรากฏเพ่ือช่วยในการผดุงความยุติธรรมหรือเพ่ือแก้ปัญหาทางกฎหมายอย่างอื่น ในปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นกว่าในอดีตมาก ท าให้ข้อเท็จจริงซึ่งได้มาโดยผ่านกระบวนการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มีความน่าเชื่อถือในขั้นตอนพิจารณาคดีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการน าเอาผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบการพิจารณาคดีต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น โดยในประเทศไทยมีหลาย ๆ คดีที่ได้น าเอาพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาประกอบการพิจารณาคดีแล้วช่วยให้สามารถพิจารณาคดีได้อย่างถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของสังคม หรือแม้แต่ช่วยคลี่คลายประเด็นค าถามหรือปัญหาต่าง ๆ ของสังคมในคดีที่เป็นที่สนใจของสังคมไทยในอดีต เช่น คดีฆาตกรรมนายปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2544 คดีฆาตกรรม น.ส. เจนจิรา พลอยองุ่นศรี นักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล การตรวจพิสูจน์ความเป็นพ่อ ลูก ของนายมนต์สิทธิ์ ค าสร้อย นักร้องชื่อดังกับบุตรสาวที่เกิดกับหญิงสาวชาวบ้านที่กล่าวอ้างว่าเคยมีความสัมพันธ์กันจนมีบุตร เป็นต้น

    หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือมากกว่าพยานบุคคล เพราะค าให้การของพยานบุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้นอยู่กับตัวบุคคล (Subjective) ซึ่งแม้ว่าจะมีการยอมรับในชั้นพนักงานสอบสวน แต่ก็อาจกลับค าให้การได้ในชั้นพิจารณาของศาล ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับกระบวนการยุติธรรมเป็นอันมาก ต่างจากพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ผลการตรวจพิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากตัวของวัตถุพยาน (Objective) ที่เปลี่ยนแปลงได้ยากหากได้ผ่านกระบวนการตรวจพิสูจน์ที่ถูกต้องและมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เชื่อถือได้ จึงท าให้การน าเอาพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมกลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ทั้งมีแนวโน้มที่จะน าไปใช้ในกระบวนการค้นหาความจริงต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นด้วย คดีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ และคดีที่เกิดสืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ก็ต้องใช้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานส าคัญในการอ านวยความยุติธรรมแทบทั้งสิ้น

  • 2

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    แม้ว่าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นพยานหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีความส าคัญมากในกระบวนการยุติธรรมปัจจุบัน แต่การใช้พยานหลักฐานประเภทนี้ก็ยังประสบปัญหาอยู่มากในปัจจุบัน

    ประการแรกเป็นปัญหาของตัวพยานหลักฐานเอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในขั้นตอนการรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ ขั้นตอนการน าเอาผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ของพยานหลักฐานในคดีเข้าสู่ส านวน และขั้นตอนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในชั้นศาล โดยปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ การเก็บรักษาและครอบครองวัตถุพยาน การตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการ การแปลและรายงานผลข้อมูลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และการเขียนบรรยายผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นถ้อยค าส านวนหรือข้อความให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลเข้าใจ ซึ่งการรวบรวมพยานหลักฐานก่อนน าไปสู่การวินิจฉัยชี้ขาดคดีมีความส าคัญต่อการพิจารณาตัดสินคดีโดยศาลเป็นอย่างมาก เพราะศาลจ าเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงตามส านวนคดีที่เสนอมาโดยพนักงานสอบสวน ดังนั้นหากส านวนฟ้องมีความบกพร่องหรือไม่ชอบธรรมในทางใดทางหนึ่ง ก็เป็นการยากที่พนักงานอัยการและศาลจะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมได้

    ประการที่สองเป็นปัญหาของการน าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชั้นพิจารณาคดี เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในทางปฏิบัติว่าพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะน ามาใช้เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการยุติธรรมนั้นต้องน ามาใช้ในรูปแบบอย่างไรและใช้ในกรณีใดบ้าง เพ่ือให้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตามหลักกฎหมายว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน โดยหากยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนอาจท าให้คู่ความใช้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์กลั่นแกล้งกันได้โดยง่าย

    ประการที่สามเป็นปัญหาของตัวบุคลากร เนื่องจากบุคลากรอีกมากในหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมยังขาดทักษะและความช านาญในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ท าให้การพิจารณาคดีอาญาในหลาย ๆ คดีต้องยกผลประโยชน์ให้จ าเลย หรือยกฟ้อง ซึ่งบางครั้งพบว่ามีสาเหตุมาจากความไม่เข้าใจในผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์

    ประการที่สี่ เป็นความบกพร่องหรือความไม่ทันสมัยของตัวบทกฎหมายที่มีเนื้อหาไม่ครอบคลุมหรือก้าวไม่ทันต่อพัฒนาการของอาชญากรรมใหม่ ๆ และพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ใช้ในงานนิติวิทยาศาสตร์

    การแก้ไขปัญหาจึงควรท าเพ่ือมุ่งค้นหาหรือพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ เพ่ือน าไปสู่การแก้ปัญหาหรือแก้ไขข้อบกพร่องในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเข้าใจในหลักการและกระบวนการงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติ

  • 3

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    วิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ และการแก้ไขเพ่ิมเติมประมวลกฎหมายดังที่เคยท าในอดีต เช่นการแก้ไขเพ่ิมเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 128/1 ในปี พ.ศ. 2550 “...ในกรณีที่จ าเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพ่ือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดที่เป็นประเด็นส าคัญแห่งคดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลมีอ านาจสั่งให้ท าการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุหรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้...” และการแก้ไขเพ่ิมเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยในปี พ.ศ. 2551 โดยเพ่ิมมาตรา 244/1 ขึ้น โดยก าหนดให้คดีซึ่งมีอัตราโทษจ าคุกนั้น หากมีความจ าเป็นที่ต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพ่ือพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นส าคัญแห่งคดี ให้ศาลมีอ านาจสั่งให้ท าการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งการพัฒนาทั้งสองด้านที่กล่าวมาไปด้วยกันจะช่วยในการแก้ไขปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ในชั้นศาลได้

    ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับพยานหลักฐานและกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ และเสนอแนะแนวทางการน าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมพร้อมกันกับการพัฒนาตัวบทกฎหมายให้สอดรับกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพัฒนาการของอาชญากรรม คดีอาญาและแพ่งในโลกปัจจุบัน เพื่อให้การพิสูจน์ความจริงแห่งคดีนั้นเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย อันจะท าให้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริงต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์กำรวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการน าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี 1.2.2 เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ทั้งของต่างประเทศและของไทย 1.2.3 เพ่ือพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้อย่างเป็นรูปธรรม 1.3 ขอบเขตกำรวิจัย

    การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาและพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ สร้างความเข้าใจในหลักการและกระบวนการงาน

  • 4

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ ศึกษาและวิเคราะห์ถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศ และศึกษาถึงรูปแบบและความเป็นไปได้ในการน าพยานหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดี โดยการศึกษาวิเคราะห์วิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึง ข้อดี ข้อเสีย สภาพปัญหา และอุปสรรคในการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ เพ่ือพัฒนาแนวทางให้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้อย่างเป็นรูปธรรม 1.4 รำยละเอียดกำรวิจัยโดยย่อ 1.4.1 พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

    1) ความส าคัญของพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ 2) แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการน าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้

    เป็นพยานหลักฐานในคดี 3) พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ 4) การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ (รวมถึงลักษณะ

    และข้อจ ากัดของพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ ข้อจ ากัดและข้อควรระวังของการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ)

    5) การตรวจพิสูจน์และการแปลผลการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ (รวมถึงข้อจ ากัดและข้อควรระวังของการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ)

    6) มาตรฐานสากลที่ใช้ในการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ 1.4.2 กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ 1) กฎหมายไทยที่ใช้ในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ (รวมถึงการเข้าสู่กระบวนการสอบสวนของพยานหลักฐาน การน าพยานหลักฐานเข้าสืบต่อศาล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใชพ้ยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์) 2) กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ 3) ตัวอย่างคดีและการวิเคราะห์การใช้กฎหมายไทยในการพิจารณาพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ 4) ตัวอย่างคดีที่ ใช้กฎหมายต่างประเทศในการพิจารณาพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

  • 5

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    5) การเปรียบเทียบการใช้กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

    1.4.3 การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ให้เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ 1) ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ 2) การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ให้ เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้อย่างเป็นรูปธรรม 1.5 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ

    1.5.1 ทราบแนวคิด ทฤษฎี และวิธีการที่ เกี่ยวข้องกับการน าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี

    1.5.2 ทราบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ทั้งของต่างประเทศและของไทย และตัวอย่างคดีที่มีการน าพยานหลักฐานทางนิ ติวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบการพิจารณาคดี

    1.5.3 ทราบแนวทางในการพัฒนาแนวทางการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม

    1.6 วิธีกำรด ำเนินงำน ศึกษาโดยวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยท าการศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และ

    วิธีการที่เกี่ยวข้องกับการน าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี ศึกษาถึงกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทยในเชิงเปรียบเทียบว่ามีข้อจ ากัดในการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพ่ือพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีอย่างไรบ้าง ตลอดจนกระบวนการอันที่จะท าให้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ และจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus group discussion) สัมภาษณ์เชิงลึก และประชุมสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้อง เพ่ือรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาการเก็บรวบรวมหรือการได้มาของพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม

  • 6

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    บทที่ 2

    หลักกำรตรวจพิสูจน์พยำนหลักฐำนทำงนิติวิทยำศำสตร์

    ปัจจุบันพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มีความส าคัญมากในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากเป็นพยานหลักฐานที่เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงได้ยาก จึงเป็นข้อมูลที่จะบอกถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสถานที่เกิดเหตุได้ ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีได้ ข้อเท็จจริงที่จะได้จากพยานวัตถนุั้นจะตอ้งผ่านกระบวนการตรวจพิสูจนท์างวทิยาศาสตร์หลากหลายแขนง ด้วยขั้นตอนและวิธีการที่มีมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพ่ือให้ได้ซึ่งข้อสรุปและการแปลผลที่สามารถน าไปใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ สิ่งส าคัญหนึ่งของการพิจารณาคดีที่มีพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประกอบอยู่ในส านวนคือ ผู้ที่ท าการพิจารณาคดีมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ทราบถึงข้อจ ากัดและเงื่อนไขต่าง ๆ ของพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ และเข้าใจนัยของผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เพ่ือสามารถน าข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจพิสูจน์ไปประยุกต์เข้ากับหลักกฎหมาย และเกิดการพิจารณาคดีที่สามารถอ านวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง ปัญหาประการหนึ่งคือ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ใช่บุคลากรในสายวิทยาศาสตร์ ยังไม่เข้าใจธรรมชาติ ข้อจ ากัด ขั้นตอน และวิธีการ การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ ซึ่งอาจท าให้ประเด็นแห่งการพิจารณาคดีมีความไม่สมบูรณ์ ขาดรายละเอียดบางประการ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคและเทคโนโลยีการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะมีความรู้ด้านกฎหมายดีเพียงใดก็ตาม ก็อาจเกิดการพิจารณาตัดสินที่ขาดความสมบูรณ์ได้ ดังนั้นเพ่ือสร้างความเข้าใจในองค์รวมและรายละเอียดที่ส าคัญของหลักการและกระบวนการงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ เนื้อหาในบทนี้จึงจัดท าขึ้นเพ่ือมุ่งให้บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ใช่สายวิทยาศาสตร์ได้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลพ้ืนฐานที่ส าคัญเกี่ยวกับพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการน าพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดี ขั้นตอนและสาระส าคัญของการตรวจสถานท่ีเกิดเหตุซึง่เป็นตน้ทางของคดี หลักการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ หลักและวิธีการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง ๆ การเขียนรายงานและการแปลผลการตรวจพิสูจน์ การเก็บสิ่งส่งตรวจ ปัญหาและ

  • 7

    รายงานวิจยัฉบบัสมบูรณ์ “การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลกัฐานทางนิตวิิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี”

    ข้อควรระวังในการตรวจพิสูจน์และแนวทางการแกป้ัญหา และข้อดีและข้อด้อยของการตรวจพิสูจน์แต่ละวิธี รวมถึงมาตรฐานสากลที่ใช้ในการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1 แนวควำมคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกำรน ำพยำนหลักฐำนทำงนิติวิทยำศำสตร์มำใช้เป็นพยำนหลักฐำนในคดี

    2.1.1 แนวควำมคิดเกี่ยวกับกำรพิสูจน์หลักฐำน การพิสูจน์หลักฐาน (Criminalistics) ที่จริงแล้วเป็นค าที่มีการใช้ครั้งแรกในต ารา An

    Introduction to Criminalistics ซึ่งเขียนโดย Charles E. O’ Hara กับ Osterberg เมื่อปี ค.ศ. 19521 โดยสมาคมนักพิสูจน์หลักฐานแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (California Association of Criminalists) ได้ให้ความหมายของการพิสูจน์หลักฐานไว้ว่า “Criminalistics is that profession and scientific discipline to the recognition, identification and evaluation of physical evidence by application of the natural sciences to law-science matter” ซึ่งตีความหมายได้ว่า เป็นกฎเกณฑ์ทั้งทางวิชาชีพและทางวิทยาศาสตร์ ที่มุ่งในการให้การรับรองการชี้เฉพาะ การจ าแนก และการตีความหมายของพยานวัตถุ โดยน าวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในกรณีที่เกี่ยวข้องระหว่างกฎหมายก