บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1...

20
บทที่ 1 นวัตกรรมการศึกษา ปจจุบันวงการวิทยาศาสตรไดมีการพัฒนาไปอยางรวดเร็วและตอเนื่อง สงผลทําใหเกิด สิ่งประดิษฐและเทคโนโลยีใหมๆ ขึ้นมากมาย ทั้งดานอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การสื่อสาร และ การแพทย เปนตน มีการคิดคนนวัตกรรม โดยนําเทคโนโลยีดังกลาวมาประยุกตใช โดยเฉพาะดาน การสื่อสารและเครือขายคอมพิวเตอรที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ประชาชนทั่วไปสามารถเขาถึงขาวสาร จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อนําเทคโนโลยีเหลานี้มาใชในการศึกษา จึงเปนการสรางนวัตกรรม การศึกษาใหมที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองการเรียนรูของผูเรียนอยางมีประสิทธิผล เมื่อเกิดการ ยอมรับและนํามาใชเปนปกติในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน จะถือวาเปนเทคโนโลยี การศึกษาตอไป ซึ่งขณะนี้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสําคัญมากในการจัดการ เรียนรู ในบทนี้ควรทําความเขาใจเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา และเทคโนโลยีการศึกษา ดังนีแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) เปนนักนวัตกรรมที่ยิ่งใหญที่สุดในประวัติศาสตร อเมริกา เขาประดิษฐหลอดไฟเปนคนแรกของโลก หีบเสียง ภาพเคลื่อนไหวและสิ่งประดิษฐอื่นๆ เปน ผูที่สรางนวัตกรรมอยางเปนระบบ เขาเปนผูมีสมมรรถนะ 5 ดาน ไดแก (1) การมีวิสัยทัศนมุงสูการ แกปญหา (2) การคิดแบบลื่นไหลแปรเปลี่ยนตลอดเวลาอยางมีชีวิตชีวา (3) ทุมเทอยางถวาย ชีวิต (4) การใหความรวมมืออยางจอมวางแผน และ (5) การสรางคุณคาอยางเหนือชั้น ความสําเร็จ ในการเปนผูบุกเบิกดานวิทยาศาสตรและการสื่อสารของเขาเปนแรงบันดาลใจใหแกนักประดิษฐมา มากกวาศตวรรษ การมุงเนนความสําเร็จที่การสรางนวัตกรรมที่นําไปใชไดจริง ทําใหอเมริกา กลายเปนผูนําดานนวัตกรรมของโลก (Michael J. Gelb and Sarah Miller Caldicott, 2010) เขา กลาววา 99 เปอรเซ็นตของสิ่งประดิษฐทั้งหมด เกิดขึ้นจากความเพียรพยายามของนักคิดคน และมี เพียง 1 เปอรเซ็นตเทานั้นที่เกิดจากพรสวรรค ประเทศไทยไดมีการนําแนวความคิดดานการสรางนวัตกรรมมาใชในการศึกษา โดยยึด หลักการวา นวัตกรรมการศึกษาตองสะทอนใหเห็นแนวคิด วิธีการพัฒนาและผลสําเร็จที่เปนรูปธรรม มีคุณคาทางวิชาการและสามารถนําไปปฏิบัติไดจริง เกิดจากการมีสวนรวมและสงผลตอการพัฒนา คุณภาพผูเรียน ครู และทุกฝายที่มีสวนเกี่ยวของ นวัตกรรมการศึกษาสามารถคิดคนและสรางให เกิดขึ้นใหม หรือเปนการพัฒนาตอยอดจากของเดิม ซึ่งปจจุบันนิยมในวงการศึกษา นิยมสราง นวัตกรรมการศึกษาดวยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน วิจิตร ศรีสอาน (2553) นักการศึกษา ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย กลาววา นวัตกรรมเปนของแปลกใหมหรือนําสิ่งใหมเขามาใช มีการ ประยุกตและนํามาปรับแตงใหเหมาะสมกับสถานการณ การบรรลุผลการใชงานคือการพิสูจน

Upload: others

Post on 02-Mar-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

บทท่ี 1

นวัตกรรมการศึกษา

ปจจุบันวงการวิทยาศาสตรไดมีการพัฒนาไปอยางรวดเร็วและตอเน่ือง สงผลทําใหเกิดสิ่งประดิษฐและเทคโนโลยีใหมๆ ข้ึนมากมาย ทั้งดานอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การสื่อสาร และการแพทย เปนตน มีการคิดคนนวัตกรรม โดยนําเทคโนโลยีดังกลาวมาประยุกตใช โดยเฉพาะดานการสื่อสารและเครือขายคอมพิวเตอรที่เช่ือมโยงกันทั่วโลก ประชาชนทั่วไปสามารถเขาถึงขาวสารจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อนําเทคโนโลยีเหลาน้ีมาใชในการศึกษา จึงเปนการสรางนวัตกรรมการศึกษาใหมที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองการเรียนรูของผูเรียนอยางมีประสิทธิผล เมื่อเกิดการยอมรับและนํามาใชเปนปกติในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในช้ันเรียน จะถือวาเปนเทคโนโลยีการศึกษาตอไป ซึ่งขณะน้ีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสําคัญมากในการจัดการเรียนรู ในบทน้ีควรทําความเขาใจเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา และเทคโนโลยีการศึกษา ดังน้ี

แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา

โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) เปนนักนวัตกรรมที่ ย่ิงใหญที่สุดในประวัติศาสตรอเมริกา เขาประดิษฐหลอดไฟเปนคนแรกของโลก หีบเสียง ภาพเคลื่อนไหวและสิ่งประดิษฐอื่นๆ เปนผูที่สรางนวัตกรรมอยางเปนระบบ เขาเปนผูมีสมมรรถนะ 5 ดาน ไดแก (1) การมีวิสัยทัศนมุงสูการแกปญหา (2) การคิดแบบลื่นไหลแปรเปลี่ยนตลอดเวลาอยางมีชีวิตชีวา (3) ทุมเทอยางถวายชีวิต (4) การใหความรวมมืออยางจอมวางแผน และ (5) การสรางคุณคาอยางเหนือช้ัน ความสําเร็จในการเปนผูบุกเบิกดานวิทยาศาสตรและการสื่อสารของเขาเปนแรงบันดาลใจใหแกนักประดิษฐมามากกวาศตวรรษ การมุงเนนความสําเร็จที่การสรางนวัตกรรมที่นําไปใชไดจริง ทําใหอเมริกากลายเปนผูนําดานนวัตกรรมของโลก (Michael J. Gelb and Sarah Miller Caldicott, 2010) เขากลาววา 99 เปอรเซ็นตของสิ่งประดิษฐทั้งหมด เกิดข้ึนจากความเพียรพยายามของนักคิดคน และมีเพียง 1 เปอรเซ็นตเทาน้ันที่เกิดจากพรสวรรค

ประเทศไทยไดมีการนําแนวความคิดดานการสรางนวัตกรรมมาใชในการศึกษา โดยยึดหลักการวา นวัตกรรมการศึกษาตองสะทอนใหเห็นแนวคิด วิธีการพัฒนาและผลสําเร็จที่เปนรูปธรรม มีคุณคาทางวิชาการและสามารถนําไปปฏิบัติไดจริง เกิดจากการมีสวนรวมและสงผลตอการพัฒนาคุณภาพผูเรียน ครู และทุกฝายที่มีสวนเกี่ยวของ นวัตกรรมการศึกษาสามารถคิดคนและสรางใหเกิดข้ึนใหม หรือเปนการพัฒนาตอยอดจากของเดิม ซึ่งปจจุบันนิยมในวงการศึกษา นิยมสรางนวัตกรรมการศึกษาดวยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในช้ันเรียน วิจิตร ศรีสอาน (2553) นักการศึกษาที่มีช่ือเสียงของประเทศไทย กลาววา นวัตกรรมเปนของแปลกใหมหรือนําสิ่งใหมเขามาใช มีการประยุกตและนํามาปรับแตงใหเหมาะสมกับสถานการณ การบรรลุผลการใชงานคือการพิสูจน

Page 2: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

2

นวัตกรรมและการยอมรับของผูเกี่ยวของ กระบวนการสรางนวัตกรรม ไดแก จุดประกาย ขายความคิด พิชิตการเปลี่ยนแปลง และแสดงสัมฤทธิผล ดังน้ัน นวัตกรรมตองเปนของแปลกใหม ใชไดผล และคนยอมรับ ในบทน้ี เสนอความรูเบื้องตนเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา เพื่อเช่ือมโยงไปสูหลักการ แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู และนําไปสูการออกแบบ การประยุกตใชในการแกไขปญหาการเรียนการสอน หรือพัฒนาจุดเนนคุณภาพของผูเรียนตามหลักสูตรแกนกลางกําหนด รวมถึงการประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมการศึกษา ตอไป

ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา อาจเปนสิ่งที่มองเห็นไมได เชน แนวคิด กระบวนการ วิธีการใหมๆ หรือ สิ่งที่มองเห็นได เชน สิ่งประดิษฐ เกิดจากการที่นวัตกร ใชสมองซีกซายและซีกขวา โดยการคิดวิเคราะหและใชความคิดสรางสรรค นวัตกรรมการศึกษา จึงเกิดจากความรู ความฉลาด พรสวรรคในการทํางานหนักและทุมเทเพื่อนําไปสูเปาหมาย หากปราศจากสิ่งใดสิ่งหน่ึงขางตน นวัตกรรมยอมไมเกิดข้ึน มีนักวิชาการไดใหความหมายของนวัตกรรมการศึกษาไวดังตอไปน้ี

นวัตกรรม หรือ นวกรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 แปลวา การกอสราง หรือ สิ่งท่ีทําขึ้นใหม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ไดใหความหมายวา หมายถึง สิ่งที่ทําข้ึนใหมหรือแปลกไปจากเดิม ซึ่งอาจเปนความคิด วิธีการหรืออุปกรณ เปนตน

กิดานันท มลิทอง (2548) และ ทิศนา แขมมณี (2548) ไดใหความหมายของคําวา นวัตกรรม สรุปวา ไดแก แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคตางๆ ที่เกี่ยวของกับการศึกษา ซึ่งไดรับการคิดคนและจัดทําข้ึนใหม เพื่อชวยแกปญหาตางๆ ทางการศึกษา การนําน วัตกรรมมาใช ในวงการศึกษา จะเรียกวา นวัตกรรมการศึกษา (educational innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่ชวยใหการศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีย่ิงข้ึน ผูเรียนสามารถเกิดการเรียนรูไดอยางรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกวาเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียน ทั้งยังประหยัดเวลาในการเรียนไดอีกดวย นวัตกรรมเหลาน้ีอาจอยูในรูปแบบของวัสดุ อุปกรณ และวิธีการเพื่อนํามาใชในการเรียนการสอน ซึ่งก็คือการนําเทคโนโลยีสมัยใหมมาใชในวงการศึกษาน่ันเอง เมื่อนํานวัตกรรมการศึกษาเหลาน้ีมาใชและเปนที่ยอมรับอยางกวางขวางแลว จะเรียกวาเปนเทคโนโลยีการศึกษา

ทิศนา แขมมณี (2548) ไดใหขอสังเกตเกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรมดาน ความใหม วามิใชคุณสมบัติประการเดียวของนวัตกรรม ถาเปนเชนน้ันของทุกอยางที่ เขามาใหมๆ ก็จะเปนนวัตกรรมทั้งสิ้น ผูเขียนไดวิเคราะหและนําเสนอเปนตารางดังตอไปน้ี

Page 3: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

3

ตารางท่ี 1.1 ความหมายของคําวานวัตกรรมการศึกษาตามขอสังเกตของ ทิศนา แขมมณี (2548)

นวัตกรรมการศึกษา (ความใหม) ใหมทั้งหมดหรือ

ใหมเพียงบางสวน

เปนส่ิงที่ไมเคย นํามาใชมากอน

เปนส่ิงใหม ในชวงเวลาหนึ่ง

ไมถือวาเปนนวัตกรรม

อยูในกระบวนการพิสูจน/ทดลอง ยอมรับใชงานแตยังไมแพรหลาย ยอมรับแตยังไมใชในระบบงานปกต ิ ยอมรับเปนการใชในระบบงานปกต ิ

จันทรเพ็ญ เช้ือพานิช (2549) กลาววา นวัตกรรมการศึกษา คือ ความใหมในดาน

การศึกษา อาจเปนแนวคิดใหมทางการศึกษา เปนทฤษฎีใหม เปนวิธีสอนใหม เทคนิคการสอนใหม รวมทั้งการนําเสนอสาระดวยสื่อใหมๆ

นํ้าทิพย วิภาวิน และนงเยาว เปรมกมลเนตร (2551) กลาววา นวัตกรรม หมายถึง การรวบรวม ผสมผสาน หรือการสรางสรรคความรูที่ไมเคยมีมากอน ที่มีความเกี่ยวของและเพิ่มคุณคาใหกับผลิตภัณฑ หรือกระบวนการ หรือบริการ

พิมพันธ เดชะคุปต และพเยาว ยินดีสุข (2554) กลาววา นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง สิ่งที่ไดรับการคิดคน หรือพัฒนา ดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยูแลวใหทันสมัย และใชไดผลย่ิงข้ึน ไดแก แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ hardware, software การจัดการเรียนการสอน รูปแบบสื่อและเทคนิคตางๆ ที่เกี่ยวของกับการศึกษา เพื่อชวยใหการศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีย่ิงข้ึน ผูเรียนสามารถเกิดการเรียนรูอยางรวดเร็ว มีประสิทธิผลสูงกวาเดิม เกิดแรงจูงใจและประหยัดเวลาในการเรียน รวมทั้งแกปญหาตางๆ ทางการศึกษา

เนาวนิตย สงคราม (2556; 2557) ไดใหความเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรม สรุปไดวา เปนความหมายที่กวางและอาจตีความไดหลากหลาย รวมถึงมุมมองของแตละบุคคล จึงควรเตรียมบุคลากรใหมีความพรอมในการเปนผูสรางนวัตกรรม โดยคํานึงถึงการจัดการความรูในองคกร และกระบวนการสรางสรรคนวัตกรรม เน่ืองจากปจจุบันมีการแขงขันในทุกภาคสวน ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคการเกษตร ในวงการศึกษา เปนตน การจัดการความรูสามารถตอยอดทําใหเกิดความรูหรือนวัตกรรมใหมๆ ข้ึนมาได เพราะความรูที่อยูในแตละบุคคลมีโดยไดมาจากการสั่งสมประสบการณ พรสวรรค หรือจากการปฏิบัติและการเรียนรู อาจไมไดเขียนออกมาเปนลายลักษณอักษร ดังน้ันการจัดการความรูในองคกรสามารถสรางนวัตกรรมใหมๆ ใหมีประสิทธิภาพในการทํางานขององคกรมากย่ิงข้ึน นอกจากน้ียังเสนอวาอาจใชแบบวัดนวัตกรรม เพื่อดูวาผลงานนวัตกรรมน้ันอยูในระดับใด ใน 3 ระดับ ไดแก 1) เปนผลงาน วิธีการ กระบวนการที่มีอยูแลว แตนํามาปรับปรุงหรือพัฒนาบางสวนและไดผลดี 2) เปนผลงาน วิธีการ กระบวนการที่มีอยูแลวแตนํามาปรับรุงหรือพัฒนาและไดผลดี และ 3) เปนผลงาน วิธีการ กระบวนการใหม หรือ องคความรูใหมที่ไมเคยมีหรือปรากฎมากอน

สรุปไดวา นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง สิ่งที่สรางข้ึนมาใหม แปลกไปจากเดิมดัดแปลง หรือ ตอยอดจากของเกาทางดานการศึกษาที่ชวยใหการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีข้ึน ผูเรียนสามารถเกิดการเรียนรูไดอยางรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนรูอยางมีความหมาย สามารถนําสิ่งที่ไดเรียนรูไปประยุกตใชในชีวิตประจําวันอยางมีประสิทธิผล

Page 4: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

4

หลักการพื้นฐานของนวัตกรรมการศกึษา

ดังที่กลาวมาแลววา นวัตกรรมการศึกษาในความหมายของความใหมทั้งหมดหรือใหมเพียงบางสวนน้ันและเปนสิ่งใหมในชวงเวลาหน่ึง ตองเปนนวัตกรรมที่อยูในระดับยอมรับการใชงานแตยังไมแพรหลายและยังไมใชในระบบงานปกติ หากเปนสิ่งที่ไมเคยนํามาใชมากอนจะรวมถึงนวัตกรรมที่อยูในกระบวนการพิสูจนหรือทดลองอยูดวย และหากนวัตกรรมน้ันไดรับการยอมรับและใชในระบบงานปกติ จะไมถือวาสิ่งน้ันเปนนวัตกรรมแตถือวาเปนเทคโนโลยี นวัตกรรมไมวาจะเปนดานใด จําเปนตองมีคุณสมบัติที่สําคัญ ดังน้ี (ทิศนา แขมมณี, 2548)

1. เปนสิ่งใหม ซึ่งมีความหมายในหลายลักษณะดวยกัน ไดแก 1.1 เปนสิ่งใหมท้ังหมดหรือใหมเพียงบางสวน 1.2 เปนสิ่งใหมท่ียังไมเคยมีการนํามาใชในท่ีน้ัน คือ เปนสิ่งใหมในบริบทหน่ึง แต

อาจเปนของเกาในอีกบริบทหน่ึง ไดแก การนําสิ่งที่ใชหรือปฏิบัติกันในสังคมหน่ึงมาปรับใชในอีกสังคมหน่ึง นับเปนนวัตกรรมในสังคมน้ัน

1.3 เปนสิ่งใหมในชวงเวลาหน่ึงแตอาจเปนของเกาในอีกชวงเวลาหน่ึง เชน อาจเปนสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแลว แตไมไดผลเน่ืองจากขาดปจจัยสนับสนุน ตอมาเมื่อปจจัยและสถานการณอํานวยจึงนํามาเผยแพรและทดลองใชใหม ถือวาเปนนวัตกรรมได

2. เปนสิ่งใหมท่ีกําลังอยูในกระบวนการพิสูจนทดสอบวาจะใชไดผลมากนอยเพียงใดในบริบทน้ัน

3. เปนสิ่งใหมท่ีไดรับการยอมรับนําไปใชแตยังไมเปนสวนหน่ึงของระบบงานปกติ หากการยอมรับการนําไปใชน้ัน ไดกลายเปนการใชอยางปกติในระบบงานของที่น่ันแลว ก็ไมถือเปนนวัตกรรมอีกตอไป

4. เปนสิ่งใหมท่ีไดรับการยอมรับนําไปใชบางแลว แตยังไมแพรหลาย คือยังไมเปนที่รูจักกันอยางกวางขวาง

ลักษณะของนวัตกรรมการศกึษา กวาทีน่วัตกรรมการศึกษาจะไดรับการยอมรับน้ัน ตองใชระยะเวลาจึงจะเห็นผล ลักษณะของนวัตกรรมที่ ดีตองมีการพัฒนาที่ตอเน่ืองและย่ังยืน เปนสวนหน่ึงของการเปลี่ยนแปลง (intervention) ผูที่มีสวนเกี่ยวของจะตองยอมรับการเปลี่ยนแปลง ลักษณะของนวัตกรรมตามทัศนะของนักวิชาการและองคกรทางการศึกษา มีดังน้ี

1. ลักษณะของนวัตกรรมตามทัศนะของทิศนา แขมมณี (ทิศนา แขมมณี, 2548) นวัตกรรมที่ไดรับความสนใจและยอมรบันําไปใชอยางกวางขวาง มีลักษณะดังน้ี

1.1 เปนนวัตกรรมท่ีไมซับซอนและยากจนเกินไป ความยากงายของนวัตกรรมมีอิทธิพลอยางมากตอการยอมรับการนําไปใช หากนวัตกรรมน้ันมีลักษณะที่ผูใชเขาใจไดงาย ใชไดงาย ใชไดสะดวก การยอมรับนําไปใชก็มักเกิดข้ึนไดงาย ไมตองใชเวลาในการเผยแพรมากนัก

Page 5: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

5

1.2 เปนนวัตกรรมท่ีไมเสียคาใชจายแพงจนเกินไป นวัตกรรมที่จําเปนตองใชวัสดุอุปกรณและการบํารุงรักษาที่มีคาใชจายสูงยอมไดรับการยอมรับและนําไปใชนอยกวานวัตกรรมที่มีคาใชจายถูกกวา เน่ืองจากผูใชจํานวนมากมีขอจํากัดดานงบประมาณ แมจะมีความตองการใช แตขาดงบประมาณ ก็ไมสามารถใชได เพราะมีคาใชจายในการบํารุงรักษาและคาใชจายอื่นเขามาเกี่ยวของ

1.3 เปนนวัตกรรมท่ีสําเร็จรูป นวัตกรรมที่อํานวยความสะดวกในการใชมักไดรับการยอมรับและนําไปใชมากกวานวัตกรรมที่ผูใชจะตองนําไปจัดทําเพิ่มเติม ซึ่งผูใชจะตองใชเวลาจัดเตรียมเพิ่มข้ึน

1.4 เปนนวัตกรรมท่ีไมกระทบกระเทือนตอบริบทเดิมมากนัก นวัตกรรมที่มีผลกระทบตอบริบทเดิมมาก จําเปนตองปรับหรือเปลี่ยนแปลงบริบทเดิมมาก การนําไปใชยอมยากกวานวัตกรรมที่ไมมีลกระทบตอบริบทเดิมมากนัก

1.5 เปนนวัตกรรมท่ีใหผลชัดเจน นวัตกรรมที่สงผลเปนรูปธรรมเห็นไดชัดเจน มักไดรับการยอมรับสูงกวานวัตกรรมที่ใหผลไมชัดเจน

2. ลักษณะของนวัตกรรมการศึกษาตามโครงการ หน่ึงโรงเรียน หน่ึงนวัตกรรม ที่จัดข้ึนโดยสํานักงานเลขาธิการคุรุสภา (คุรุสภา, 2550) แบงตามมิติคุณภาพนวัตกรรมการศึกษาและระดับคุณภาพในระดับ 3 สรุปไดดังน้ี

2.1 ความมีคุณคาทางวิชาการของนวัตกรรมการศึกษา ไดแก กระบวนการคิดและพัฒนา ที่สะทอนถึงแนวคิด หลักการ ทฤษฎีหรือจุดเนนของนวัตกรรมที่สราง เกิดองคความรูใหม และสงผลตอสังคมโดยรวมอยางคุมคา

2.2 ประโยชนของนวัตกรรมการศึกษา ไดแก ความสําคัญตอวิชาชีพทั้งระดับโรงเรียนและสงผลถึงชุมชน เกิดการเรียนรูรวมกัน สามารถนําไปประยุกตใชอยางกวางขวาง

2.3 การมีสวนรวมในการสรางนวัตกรรมการศึกษา ไดแก ความหลากหลายของผูที่เขามาเกี่ยวของในการสรางนวัตกรรมการศึกษา ที่มีบทบาทในการรวมวิเคราะห วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทํา นําเสนอ ประเมินและช่ืนชมในผลที่เกิดข้ึน ในกระบวนการทํางานต้ังแตตนจนจบอยางตอเน่ือง

2.4 การนําเสนอนวัตกรรมการศึกษา ไดแก เทคนิคในการนําเสนออยางเปนลําดับข้ันตอน แสดงใหเห็นความเช่ือมโยง ความสัมพันธอยางเปนระบบ การนําเสนอกระชับ ชัดเจน นาสนใจ มีหลักฐานและรองรอยชัดเจนตรงตามงานที่ทําและมีความนาเช่ือถือ 3. ลักษณะของนวัตกรรมตามทัศนะของวิจิตร ศรีสอาน ดังน้ี (วิจิตร ศรีสอาน, 2553)

3.1 นวัตกรรมเปนสิ่งท่ีทําขึ้นใหมหรือนําสิ่งใหมเขามาใช มีการประยุกตและนํามาปรับแตงใหเหมาะสมกับสถานการณ เปนของแปลกใหมที่ใชไดผลและคนยอมรับ

3.2 กระบวนการสรางนวัตกรรม เปนกระบวนการที่ตองใชระยะเวลาทั้งการคิดคนและการขยายผลใหเปนที่ยอมรับ และไดรับการพัฒนาใหตอเน่ืองย่ังยืน

3.3 กระบวนการสรางนวัตกรรม เปนกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง นวัตกรรมจะเกิดข้ึนหรือไม ข้ึนอยูกับบุคลากรในองคกรวาจะยอมรับหรือไม

3.4 นวัตกรรมเกิดขึ้นในองคกรใหมไดงายกวา

Page 6: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

6

กระบวนการยอมรับนวัตกรรม (The Innovation-Decision Process)

เน่ืองจากนวัตกรรมมีคุณสมบัติและลักษณะหลากหลายแตกตางกันไปจึงทําใหเกิดการยอมรับนวัตกรรมน้ันมากนอยในระดับที่แตกตางกันไปดวย โดยทั่วไป การยอมรับนวัตกรรมน้ันมีอยู 5 ระดับ (Rogers, 1983) ผานชองทางการสื่อสาร (communication channel) และมีเงื่อนไขที่ตองมีมากอน (prior conditions) คือ

1) ไดฝกปฏิบัติการใชมากอน 2) รูสึกถึงความจําเปนของปญหา 3) ความเปนนวัตกรรม และ 4) บรรทัดฐานของระบบสังคม

รายละเอียดของการยอมรับนวัตกรรมแสดงเปนแผนภาพไดดังน้ี

ภาพท่ี 1.1 กระบวนการยอมรับนวัตกรรม

ท่ีมา: Rogers, 1983

Page 7: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

7

จากภาพที่ 1.1 สามารถอธิบายไดดังน้ี

1. ระดับความรูหรือการรับรู (knowledge/awareness) เปนการยอมรับในระดับตน คือ ยอมรับรูอยางคราวๆหรอือยางผวิเผนิในนวัตกรรมน้ัน องคประกอบของการตัดสินใจ ประกอบไปดวย 1) ลักษณะเศรษฐกิจและสังคม 2) ตัวแปรดานบุคลิกภาพ และ 3) พฤติกรรมในการสื่อสาร

2. ระดับการชักจูงหรือสนใจ (persuasion/interest) เปนการยอมรับในระดับที่มากข้ึนกวาระดับแรก คือ รับรูและเริ่มใหความสนใจในนวัตกรรมน้ัน ซึ่งอาจจะเน่ืองมาจากนวัตกรรมน้ันสอดคลองกับปญหาและความตองการของตน หรือไดเห็นคุณคาของนวัตกรรมน้ัน ผูที่มีการยอมรับในระดับน้ี จะแสดงความสนใจ ซักถามถึงรายละเอียดตางๆของนวัตกรรมน้ัน

3. ระดับการตัดสินใจ (decision) เปนการยอมรับในระดับที่สูงข้ึนกวาการใหความสนในใจ ผูที่มีการยอมรับในระดับน้ีจะมีการคิดไตรตรองถึงผลดี ผลเสีย และความเปนไปไดในการนํานวัตกรรมน้ันไปใช แยกเปน 2 ระดับยอยคือ 1) การยอมรับนวัตกรรม โดยวางแผนที่จะนํานวัตกรรมน้ันไปใช หรือ เลือกที่จะใชนวัตกรรมน้ันภายหลัง 2) การปฎิเสธนวัตกรรม ประกอบดวย การตัดสินใจที่จะยอมรับภายหลัง เมื่อใชนวัตกรรมน้ันและปฎิเสธภายหลัง หรือ ปฎิเสธการใชนวัตกรรมน้ันอยางถาวร

4. ระดับการทดลองใช (implementation) เปนการตัดสินใจที่จะนํานวัตกรรมน้ันไปใชโดยการทดลองใชในขอบเขตจํากัด เพื่อที่จะดูวาสามารถใชไดจริงและไดผลจริงมากนอยเพียงใด

5. ระดับการใชนวัตกรรม (confirmation) เปนการยอมรับในระดับสูงสุด กลาวคือหลังจากการทดลองใชแลวพบวานวัตกรรมน้ันเกิดประโยชนเปนที่นาพอใจ และเห็นวานวัตกรรมน้ันมีคุณคามากพอที่จะนําไปใชตอไปอยางตอเน่ือง

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

การพัฒนาผูเรียนใหมีคุณภาพ และนําไปสูการเปนผูที่ดี เกง สุข คือ การพัฒนาในดานตางๆ 4 ดาน ไดแก ปญญา อารมณ สังคม และรางกาย ปจจุบันมีนวัตกรรมการศึกษา ใหเลือกใชเพื่อแกไขหรือพัฒนาผูเรียนอยางมากมาย (ปรับจาก พิมพันธ เดชะคุปต, 2554 และ ทิศนา แขมมณี, 2548) แบงออกเปนหลายประเภท ดังน้ี ตารางท่ี 1.2 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

ประเภทนวัตกรรมการศึกษา ตัวอยางนวัตกรรมการศึกษาแตละประเภท 1. หลักสูตร - หลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน

- หนวยการเรียนรูมาตรฐาน - หลักสูตรทองถ่ิน - รายวิชาเพิ่มเติม - โปรแกรมทางการศึกษา ฯลฯ

Page 8: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

8

ประเภทนวัตกรรมการศึกษา ตัวอยางนวัตกรรมการศึกษาแตละประเภท 2. วัสดุหลักสตูร - คูมือ

- ประมวลการสอน - แผนรายหนวย - แผนการจัดการเรียนรู - หนังสือ / ตํารา - แบบเรียน - เอกสารประกอบการสอน / เอกสารคําสอน - หนังสืออานสงเสริมการอานนอกเวลา ฯลฯ

3. รูปแบบ วิธีการสอนและเทคนิคการสอน รวมท้ังแนวการสอน

3.1 รูปแบบการเรียนการสอน - การสอนที่เนนพุทธิพิสัย (มโนทัศน,กานเย) - การสอนที่เนนจิตพิสัย (บลูม,บทบาทสมมุติ) - การสอนที่เนนทักษะพิสัย (ซิมพซัน, เดวีส,แฮโรว) - การสอนที่เนนพัฒนาทักษะกระบวนการ (แกปญหา,คิดสรางสรรค) - การสอนที่เนนการบูรณาการ (4 MAT, การเรียนรูแบบรวมมือ) 3.2 วิธีการสอน

- แบบสืบสอบ - แบบไปทัศนศึกษา - แบบอุปนัย

- แบบนิรนัย

- แบบโครงงาน

- แบบอภิปรายกลุมยอย

- แบบกรณีตัวอยาง - บทบาทสมมุติ

- Inquiry webquest - แบบเกมการสอน

- แบบสถานการณจําลอง

- แบบศูนยการเรียน ฯลฯ

3.3 เทคนิคการสอน

- การใชคําถาม

- การสรางแรงจูงใจ

- การจัดบรรยากาศในช้ันเรียนทางกายภาพและจิตใจ

- การใชผังกราฟก

- การใช Information cooperative learning

Page 9: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

9

ประเภทนวัตกรรมการศึกษา ตัวอยางนวัตกรรมการศึกษาแตละประเภท - การเสริมแรง

- เทคนิคการพัฒนาพหุปญญา

- เทคนิคการนําเขาสูบทเรียน

- เทคนิคการควบคุมช้ันเรียน

- เทคนิคการแลกเปลี่ยนประสบการณการเรียนรู - การบริหารกายสูการบริหารสมอง

- หมวกเพื่อการคิด 6 ใบ

3.4 แนวการสอน

- การสอนตามแนวคอนสตรั๊คติวิสม - การสอนแบบสตอรี่ไลน - การสอนแบบโครงการ

- การสอนโดยใชแนวคิดเปนฐาน เชน ใชโครงงาน การสืบสอบ การเรียนแบบกระฉับกระเฉง การทดลอง แหลงเรียนรู เว็บ และ ไอซีที ฯลฯ

4. ชุดกิจกรรม - ชุดกิจกรรมการสอน / การเรียน/ การเรียนรู - แบบเรียน

- แบบโปรแกรม

- ชุดแบบฝก ฯลฯ

5. โปรแกรมคอมพิวเตอรชวยสอน - การสอน/การทบทวน

- การฝกหัด

- การจําลองสถานการณ - เกมเพื่อการสอน

- การคนพบ

- การแกปญหา

- การทดสอบ 6. - แบบสอบ - แบบวัด - แบบประเมิน

- แบบสอบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน - แบบสอบความถนัด - แบบวัดมโนทัศน - แบบวัดทักษะการคิด - แบบวัดการปฏิบัติ - แบบวัดเจตคติตอวิทยาศาสตร - แบบวัดการตัดสินใจ - แบบวัดความคิดสรางสรรค

Page 10: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

10

ประเภทนวัตกรรมการศึกษา ตัวอยางนวัตกรรมการศึกษาแตละประเภท - แบบวัดการอานเชิงวิเคราะห

- แบบวัดการอานเชิงวิพากษ - แบบวัดการคิดอยางวิจารณญาณ - แบบวัดการวิเคราะห - แบบวัดการสังเคราะห - แบบวัดพฤติกรรมการเรียน - แบบวัดบุคลิกภาพ - แบบวัดสมรรถภาพการสอน - แบบวัดการแกปญหา - แบบประเมิน - แบบสํารวจ

7. การเขยีนเชิงสรางสรรค 1. ประเภทความเรียง - บทความ - เรียงความ - เรื่องเลา 2. ประเภทบันเทิงคดี - เรื่องสั้น - นิทาน - นิทานประกอบภาพ - นิทานคุณธรรม - นวนิยาย 3. ประเภทสารคดี - สารคดีประวัติศาสตร - สารคดีเกี่ยวกับภูมปิญญาบุคคล ภูมิปญญาทองถ่ิน และภูมิปญญาชาติ - สารคดีทองเที่ยว - สารคดีพืชและสัตว

8. สื่อการเรยีนรู 8.1 ประเภทซอฟตแวร - วีดิทัศน - ภาพยนตร - สไลด - เทปเพลง - เทปบรรยาย 8.2 ฮารดแวร - กลองจุลทรรศน - อุปกรณเครื่องมือทางวิทยาศาสตร

Page 11: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

11

เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) เทคโนโลยีมีการใชมานับต้ังแตสมัยดึกดําบรรพ คนในยุคสมัยกอนฝนหินใหคมเพื่อใชเปนเครื่องมือในการลาสัตว ใชกอนหินตีกระทบกันจุดไฟเพื่อทําอาหารใหสุก ใชลอเลื่อนในการขนหินขนาดใหญของชาวอียิปตเพื่อสรางพีระมิด ตอมาไดมีนักวิทยาศาสตร นักประดิษฐคิดคนเครื่องมือตางๆ เชน พลังงานไอนํ้า เครื่องยนต การกระจายเสียงโดยใชคลื่นความถ่ี การแพรภาพโทรทัศนเพื่อรับชมขาวสารและความบันเทิง ระบบการสื่อสารดวยดาวเทียม และเครือขายอินเทอรเน็ต เปนตน เทคโนโลยีเหลาน้ีทําใหมนุษยมีความสามารถในการดํารงชีวิตและการทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน

1. ความหมายของเทคโนโลยี

กิดานันท มลิทอง (2548) กลาววา รากศัพทของคําวา เทคโนโลยี (technology) มาจากคําภาษากรีกวา tekhnologia หมายถึงการกระทําอยางเปนระบบของศิลปะ (systematic treatment of an art) ไดใหความหมายของเทคโนโลยีวา เทคโนโลยีเปนการนําแนวคิด หลักการ เทคนิค ความรู ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตรทั้งในดานสิ่งประดิษฐ วิธีการปฏิบัติมาประยุกตใชเพื่อขยายขีดความสามารถของมนุษย ชวยใหการทํางานดีข้ึน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานน้ันใหมีมากย่ิงข้ึน

สุมาลี ชัยเจริญ (2551) กลาววา เทคโนโลยี หมายถึงการนําแนวคิด หลักการ เทคนิควิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตรมาประยุกตใชในระบบงานตางๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานน้ันๆ ใหดีข้ึน และมีประสิทธิภาพย่ิงข้ึน

นอกจากน้ี กิดานันท มลิทองและสุมาลี ชัยเจริญ ไดเสนอความหมายของเทคโนโลยีของนักวิชาการและองคกรตางๆ สรุปไดดังน้ี

ตารางท่ี 1.3 ความหมายของเทคโนโลยี นักวิชาการ/องคกร/พจนานุกรม ความหมายของเทคโนโลยี

1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542) วิ ท ย าก า ร ที่ เกี่ ย วกั บ ศิ ล ป ะ ใน ก า ร นํ า เอ าวิทยาศาสตรประยุกตมาใชใหเกิดประโยชนในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

2. พจนานุกรม Merriam-Webster (www.merriam-webster.com/dictionary)

การกระทําอยางเปนระบบของศิลปะ มีความหมาย 3 ป ระ เด็ น คือ 1) การป ระยุ กต ใช ค วาม รู ในสาขาวิช าเฉพ าะ 2) ก ารทํ างานด วยก ารใชกระบวนการ วิธีการ หรือความรูดานเทคนิค และ3) ลักษณะพิเศษของขอบขายสาขาวิชาเฉพาะ

Page 12: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

12

นักวิชาการ/องคกร/พจนานุกรม ความหมายของเทคโนโลยี 3. สมาคมการศึกษาเทคโนโลยีระหวางประเทศ (2537)

1.นวัตกรรมของมนุษยในการกระทําซึ่งรวมถึงการกอเกิดความรูและกระบวนการในการพัฒนาระบบเพื่อการแกปญหาและขยายขีดความสามารถของมนุษย 2.นวัตกรรม ความเปลี่ยนแปลง หรือการดัดแปลงของสิ่ งแวดลอมทางธรรมชาติเพื่อสนองความจําเปนและความตองการของมนุษย

4. คารเตอร วี กูด (carter V.Good, 1973)

การนําวิทยาศาสตรมาประยุกตใชในงานดานตางๆ เพื่อปรับปรุงระบบน้ันๆ

5. เจมส ดี ฟนส (james D.Finn, 1972) กระบวนการ แนวความคิด แนวทางหรือวิธีการในการคิด ในการทําสิ่งใดสิ่งหน่ึง

6. เอดการ เดล (Edgar Dale, 1969) แผนงาน วิธีการทํางานอยางมีระบบ ที่ทําใหงานน้ันบรรลุตามแผนงานที่วางไว

สรุปวา เทคโนโลยี เปนการนําแนวคิด หลักการ เทคนิค ความรู ระเบียบวิธี

กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตรทั้งในดานสิ่งประดิษฐและวิธีการปฏิบัติมาประยุกตใชเพื่อปรับปรุงระบบงานใหมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากย่ิงข้ึน

ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจําแนกออกไดเปน 3 ลักษณะ คือ (Heinich and other 1989 อางใน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ, 2543)

1) เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process) เปนการใช วิธีการทางวิทยาศาสตรหรือความรูตางๆ ที่รวบรวมไว เพื่อนําไปสูการแกปญหาในทางปฏิบัติอยางเปนระบบ

2) เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณที่เปนผลมาจากการใชกระบวนการทางเทคโนโลยี

3) เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เชน ระบบคอมพิวเตอรซึ่งมีการทํางานเปนปฏิสัมพันธกันระหวางตัวเครื่องกับโปรแกรม เปนตน

2. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ไดมีพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

ตามการพัฒนาของเทคโนโลยี ในปจจุบันไดใชความหมายตามที่ สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology: AECT) แห งสหรัฐอเมริกาไดใหความหมายไวเมื่อป 2537 วา เทคโนโลยีการศึกษาเปนทฤษฏีและการปฏิบัติของการออกแบบ การพัฒนา การใช การจัดการ และการประเมินของกระบวนการและทรัพยากรสําหรับการเรียนรู อยางไรก็ตามปจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาอยางตอเน่ือง ดังน้ันอาจมีการเปลี่ยนแปลง

Page 13: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

13

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ไปในทิศทางที่สอดคลองกับเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาข้ึน นอกจากน้ี นักวิชาการไดใหความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไวดังน้ี (สุมาลี ชัยเจริญ, 2551)

ตารางท่ี 1.3 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา นักวิชาการ/องคกร/พจนานุกรม ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

1. คารเตอร วี กูด (carter V.Good, 1973) การนําหลักการทางวิทยาศาสตรมาประยุกตใชเพื่อการออกแบบ และสงเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเนนวัตถุประสงคทางการศึกษา ที่สามารถวัดไดอยางถูกตองแนนอน ยึดผูเรียนเปนศูนยกลางการเรียนมากกวาเน้ือหาวิชา ใชเครื่องมือโสตทัศนะ อุปกรณ รวมถึงเทคนิคการสอนที่ใชอุปกรณตางๆ เชน เครื่องคอมพิวเตอร สื่อประสมและการศึกษาดวยตนเอง

2. วิจิตร ศรีสอาน (2517) การประยุกต เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณและเครื่องมือใหมๆ มาชวยแกปญหาทางการศึกษา ในลักษณะขยายและปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน

3. กอ สวัสดิพานิช (2517) การนําวิธีการหรือเครื่องมือใหมๆ มาใชทางการศึกษาเพื่อชวยใหระบบการศึกษามีประสิทธิภาพสูงข้ึน

4. ชัยยงค พรหมวงศ (2526) ระบบการประยุกตผลิตกรรมทางวิทยาศาสตรและวิศวกรรมศาสตร โดยยึดวิธีการทางพฤติกรรมศาสตร มาชวยในการเพิ่ มประสิท ธิภาพทางการศึกษาใหสูงข้ึน

5. กิดานันท มลิทอง (2543) การประยุกตเอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุอุปกรณและสิ่งตางๆ อันสืบเน่ืองมาจากเทคโนโลยีมาใชในวงการศึกษา

สรุปไดวาเทคโนโลยีการศึกษา เปนกระบวนการที่ซับซอนซึ่งเกี่ยวของกับบุคคล

วิธีการ ความคิด เครื่องมือและองคกร กระบวนการน้ีมีข้ึนเพื่อการวิเคราะหปญหาและการวางแผนการนํามาใช การประเมินและจัดการหาทางแกปญหาทุกๆ อยางที่เกิดข้ึนอันเกี่ยวพันกับการเรียนรูของมนุษย

3. ขอบขายของเทคโนโลยีการศึกษา จากความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา มุงนําเอาเทคโนโลยี มาประยุกตใชใหเกิด

ประโยชนสูงสุด อันไดแกการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนของผูสอน และประสิทธิผลการเรียนรูที่ เกิดข้ึนกับผู เรียน จากความหมายดังกลาวไดแบงเทคโนโลยีการศึกษา

Page 14: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

14

ออกเปน 5 ขอบเขต (domains) ไดแก การออกแบบ (design) การพัฒนา (development) การใช (utilization) การจัดการ (management) และการประเมิน (evaluation) โดยแตละขอบเขตจะโยงเขาสูศูนยกลางของทฤษฎีและการปฏิบัติ ดังภาพที่ 1.2

ภาพท่ี 1.2 ขอบขายของเทคโนโลยีการศึกษา ท่ีมา: Seels and Richey, 1994 และ กิดานันท มลิทอง, 2548

4. พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

การใชเทคโนโลยีการศึกษามีมานานแลว โดยอาจนับยอนไปยุคสมัยที่นักบวชของชนเผาไดจัดระเบียบองคความรูดวยการประดิษฐภาพหรือสัญลักษณเพื่อบันทึกและถายทอดความรูสูชนรุนหลัง ทําใหเปนที่ประจักษชัดวาเทคโนโลยีการศึกษานับเปนผลผลิตที่สําคัญของสายธารแหงประวัติศาสตรอันย่ิงใหญที่ประกอบดวยการลองผิดลองถูก การปฏิบัติ และการแสดงออกอยางสรางสรรคและความเช่ือมั่นอยางไมธรรมดาของบุคคล ไดมนัีกการศึกษาที่นําเทคโนโลยีมาใชต้ังแตสมัยกอนคริสตกาลซึ่งนับเปนนักเทคโนโลยีการศึกษาพวกแรกคือ กลุมโซฟสต (The Elder

ทฤษฎี /

การปฏิบัต ิ

การพัฒนา

เทคโนโลยีการพิมพ์

เทคโนโลยีโสตทศัน์

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีบูรณาการ

การใช้

การใช้สอื

การแพร่กระจายนวตักรรม

การใช้งานและความเป็นองค์กร

นโยบายและกฎระเบียบ

การจดัการ

การจัดการโครงการ

การจัดการทรัพยากร

การจัดการระบบสง่ผ่าน

การจัดการสารสนเทศ

การประเมิน

การวิเคราะห์ปัญหา

การวัดผลแบบอ้างอิง

การประเมินความก้าวหน้า

การประเมินขนัสรุป

การออกแบบ

การออกแบบระบบการสอน

การออกแบบสาร

กลยทุธการสอน

ลกัษณะเฉพาะของผู้ เรียน

Page 15: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

15

Sophists) ไดใชการสอนแบบบรรยายเพื่อสอนมวลชน ตอจากน้ันไดมีนักการศึกษาดานน้ีอีกหลายทานที่เริ่มมีบทบาทในเทคโนโลยีการศึกษา เชน คอมินิอุส (Comenius) ที่ไดรับการยกยองวาเปนบิดาของโสตทัศนศึกษา ผูเห็นความสําคัญของภาพและเปนผูเริ่มใชภาพประกอบบทเรียนในหนังสือ The Orbis pictus หรือ โลกแหงรูปภาพ ในป ค.ศ.1658 เปนหนังสือสําหรับนักเรียนที่เรียนภาษาลาตินและวิทยาศาสตร โดยภาพๆ หน่ึง จะใชกับบทเรียนบทหน่ึงโดยเฉพาะ เน้ือหาในหนังสือเปนเรื่องเกี่ยวกับพระเจา โลก อากาศ ตนไม มนุษย ฯลฯ มีภาพประกอบรวมทั้งหมด 150 ภาพ ซึ่งสะทอนภาษิตจีนบทที่กลาววา ภาพหน่ึงภาพมีคาเทากับคําพูดหน่ึงพันคํา ดังภาพที่ 1.3

ภาพท่ี 1. 3 The Orbis pictus ท่ีมา: http://img.radio.cz

ตอมาไดมีนักการศึกษาที่ริเริ่มนําหลักการและทฤษฎีของจิตวิทยามาใชในเทคโนโลยีการศึกษาไดเปนอยางดี ตัวอยางเชน

เฟรดริด วิลเฮม เฟรอเบล (Friendrich Wilhelm Frobel) บิดาการศึกษาปฐมวัย เขาไดพัฒนาโรงเรียนอนุบาลข้ึนแหงแรก ในประเทศเยอรมนีในป ค.ศ. 1837 เปนผูริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยใหเปนไปอยางมีรูปแบบ กําหนดใหมีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสําหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝกหัดคร ูรวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยดวยการผลิตอุปกรณการสอน ที่เรียกวา ชุดอุปกรณ และการจัดกิจกรรมสําหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกวา การงานอาชีพ เฟรอเบลเช่ือวาเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงามมาต้ังแตเกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรูดวยการเลน การแสดงออกอยางอิสระ เด็กควรไดรับประสบการณจากการเรียนรูทั้งนอกช้ันและในช้ันเรียนโดยเฉพาะประสบการณที่ไดมาจากการเลน (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2551)

ภาพท่ี 1.4 Friendrich Wilhelm Frobel ท่ีมา: http://www.dnpb.gov.ua

Page 16: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

16

จอหน ดิวอ้ี (John Dewey) ผูคิดทฤษฎีประสบการณเพื่อใชในการเรียนรู ไดเสนอแนวคิดที่วาเหตุการณตางๆ ยอมเกิดและดําเนินอยูแนนอน แตสิ่งที่ เราจะตองคํานึงถึงก็คือ ความหมายที่แฝงอยูในสิ่งน้ันน่ันเอง เปนการเรียนรูโดยการปฏิบัติจริง หรือประสบการณตรง (Learning by doing) (กิดานันท มลิทอง, 2548)

ภาพท่ี 1.5 John Dewey ท่ีมา: http://media.web.britannica.com

สกินเนอร (B.F. Skinner) นักจิตวิทยา เปนผู คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขเชิงปฏิบั ติ (operant conditioning หรือ instrumental conditioning) เปนผูที่ ได รับความสนใจจากวงการศึกษามากที่สุด เขาเปนนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมทีส่นใจการเรียนการสอน และวิจารณการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเฉพาะเรื่องที่ครูไมมีเวลาที่จะใหแรงเสริมแกนักเรียน ทําใหนักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ในป ค.ศ.1954 เขาไดเสนอแนะวิธีสอนโดยใชเครื่องชวยสอน (teaching machine หรือการสอนแบบโปรแกรม (programmed instruction) เรียกวา linear program (บทเรียนแบบโปรแกรมเชิงเสน) (สุรางค โควตระกูล, 2554) วิธีสอนดังกลาวปจจุบันไดเปนรากฐานใหกับการออกแบบการเรียนการสอนสําหรับคอมพิวเตอรชวยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI) ในปจจุบัน

ภาพท่ี 1.6 B.F. SKINNER ท่ีมา: http://www.rugusavay.com

Page 17: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

17

นักเทคโนโลยีการศึกษา นักจิตวิทยา และนักวิทยาศาสตร เหลาน้ี เปนผูนําหลักการทางวิทยาศาสตรมาประยุกตใชในเทคโนโลยีการศึกษา และลวนมีสวนชวยในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาทั้งสิ้น การนําสื่อประเภทภาพและเสียง รวมถึงเทคนิควิธีการมาใชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนการสอน เรียกวา สื่อโสตทัศน (audio-visual aids) ซึ่งถือวาเปนจุดเริ่มตนของการใชเทคโนโลยีการศึกษาในปจจุบัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เปนประเทศแรกที่นํามาสงเสริมการเรียนการสอน ต้ังแตป พ.ศ. 2448 ตอมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง วงการทหารเริ่มนําวัสดุอุปกรณและเทคนิควิธีการตางๆที่ไดรับการพัฒนาในชวงสงคราม เพื่อนํามาใชในการฝกอบรมทหาร เชน การสอนแผนที่ การพัฒนาการสอนแบบโปรแกรม รวมถึงการเริ่มมีหองปฏิบัติการทางภาษา โดยเฉพาะการพัฒนารูปแบบการออกแบบการสอน และในป พ.ศ.2511 กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ไดขอใหผูเช่ียวชาญ ทั้งในวงการศึกษาและวงการอุตสาหกรรมจัดการฝกอบรมโดยใชวิธีระบบ (system approach) เพื่อการพัฒนาและการจัดการในองคกร

หลังจากน้ันมา จึงมีการยอมรับแนวคิดการใชโสตทัศนูปกรณและการพัฒนาเทคโนโลยีตางๆ มาใชในวงการศึกษากันอยางแพรหลาย เชน การใชบทเรียนแบบโปรแกรมดวยเครื่องชวยสอน เปนสื่อบรรจุบทเรียนตามแนวคิดพื้นฐานทางดานหลักจิตวิทยาของสกินเนอร ซึ่งระยะตอมามีการนําหลักการเรียนรูดานจิตวิทยามาใชผสมผสานในเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเพิ่มสัมฤทธ์ิผลการเรียนรูใหแกผูเรียน เชน การใชหลักจิตวิทยาของบรนูเนอร (Bruner) นํามาประยุกตใชกับการเรียนการสอน ดังที่ สุรางค โควตระกูล (2554) กลาววา วัตถุประสงคทั่วไปของการศึกษาในมุมมองของบรูนเนอร คือ การฝกนักเรียนใหใชความคิดหรือใหมีความสามารถสรางความรู-คิดเปน (the use of mind) เพื่อการกระทําหรือผลลัพธ (outcome) อยางใดอยางหน่ึง สิ่งที่นักเรียนเรียนรูควรจะเปนการเพิ่มความมั่นใจในตนเองวา ตนคิดได คิดเปน แกปญหาได โดยสรุปสิ่งที่นักเรียนรูจากโรงเรียนควรจะเปน สมรรถภาพในการคิด ไมใชการกระทํา หรือผลลัพธ

ภาพท่ี 1.7 Bruner, Jerome Seymour ท่ีมา: http://01.edu-cdn.com

การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) ถือเปนหัวใจหลักของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทุกประเภท โดยเฉพาะบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ที่ไดรับอิทธิพลมาจากแนวคิดกระบวนการเรียนการสอน 9 ข้ันของกาเย (Gagné, 1992) ประกอบไปดวยข้ันตอนดังน้ี (1) ข้ันกระตุนความสนใจ (2) ข้ันแจงวัตถุประสงค (3) ข้ันทบทวนความรูเดิม (4) ข้ันนําเสนอเน้ือหา

Page 18: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

18

ใหม (5) ข้ันแนะแนวทางการเรียนรู (6) ข้ันกระตุนใหผูเรียนแสดงความสามารถ (7) ข้ันใหขอมูลปอนกลับ (8) ข้ันประเมินผล และ (9) ข้ันจําและนําไปใช หลักในการนําทั้ง 9 ข้ันไปประยุกตใชกับบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ควรพิจารณาถึง การทําใหผูเรียนเกิดความรูสึกใกลเคียงกับการเรียนรูโดยผูสอนในช้ันเรียน โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรูใหสอดคลองกับสมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร อยางไรก็ตามผูสอนอาจไมเลือกทั้งหมด 9 ข้ัน แตปรับยืดหยุนใหเขากับลักษณะของเน้ือหาของบทเรียน

ภาพท่ี 1.8 Robert Gagné

ท่ีมา: http://itls.usu.edu

ปจจุบันเครื่องคอมพิวเตอรและเทคโนโลยีการสื่อสาร ไดถูกพัฒนาใหมีขนาดที่เล็ก ไรสาย ราคาถูกลง และสมรรถนะสูงข้ึน ในวงการศึกษาได นําคอมพิวเตอรมาใชชวยสอน เรียกวา คอมพิวเตอรชวยสอน หรือ ซีเอไอ (CAI) ลักษณะของบทเรียน ไดอาศัยแนวคิดจากทฤษฎีการเช่ือมโยงระหวางสิ่งเรากับการตอบสนอง ซึ่งพัฒนามาจากบทเรียนโปรแกรมในอดีต ผูเรียนสามารถเรียนรูจากคอมพิวเตอรชวยสอนในหลายรูปแบบ เชน การสอน การฝกหัด การจําลอง เกมเพื่อการสอน การคนพบ การแกปญหา และการทดสอบ ในแตละบทเรียนจะมีตัวอักษร ภาพกราฟก ภาพน่ิง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงประกอบ ในลักษณะของสื่อประสม (multimedia) และสื่อหลายมิติ (hypermedia) ทําใหผูเรียนสนุกไมเบื่อหนายในการเรียน

ยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology: ICT) คือ การใชเทคโนโลยีคอมพิวเตอรในการจัดการฐานขอมูล ประมวลขอมูลใหเปนสารสนเทศ รวบรวมและจัดเก็บอยางเปนระบบ เพื่ อคนคืน นําไปใชประโยชนไดตอไป และใชเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูง เพื่อสงผานสารสนเทศไดอยางรวดเร็ว ทําใหพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาต้ังแตป พ.ศ.2536 เปนตนมาจนถึงปจจุบัน มีการใชอินเทอรเน็ตและเวิลดไวดเว็บกันอยางแพรหลาย ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน โดยเฉพาะอยางย่ิงในระบบการศึกษาทางไกล ที่การเรียนการสอนสามารถทําไดทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ช่ัวโมง

Page 19: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

19

บทสรุป นวัตกรรมการศึกษา หมายถึงสิ่งที่สรางข้ึนมาใหม แปลกไปจากเดิม ดัดแปลงหรือตอยอดจากของเกา อาจอยูในรูปแบบของแนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคตางๆ เพื่อชวยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเรียนสอน ผูเรียนสามารถเกิดการเรียนรูไดอยางรวดเร็วมีประสทิธิผลมากกวาเดิม หากมีการยอมรับนวัตกรรมการศึกษาและนํามาใชในการจัดการเรียนการสอนตามปกติ จะไมเรียกวานวัตกรรมการศึกษา แตจะเรียกวาเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่ซบัซอน โดยมีขอบขายครอบคลุม การออกแบบ การพัฒนา การใช การจัดการและการประเมนิ โดยมุงเนนการนําทฤษฎีที่ไดรับการยอมรับนําไปปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน

คําถามทบทวน

1. จงวิเคราะหความแตกตางของ เทคโนโลยี และ เทคโนโลยีการศึกษา 2. จงอธิบายวงจรของการกลายจากนวัตกรรมการศึกษาไปสูเทคโนโลยีการศึกษา 3. จงสรุปหลักการพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา 4. จงยกตัวอยางระดับการยอมรับนวัตกรรม บริการธนาคารทางอินเทอรเน็ต หรือ

Online Banking ใหเห็นเปนรูปธรรม

หัวขอคนควา

ใหนักศึกษาคนควานวัตกรรมการศึกษาของไทยในปจจุบันมา 1 นวัตกรรม โดยเขียนสรุป วิเคราะหหลักการและข้ันตอนของการนํานวัตกรรมการศึกษามาใชในการจัดการเรียนการสอนและแสดงความคิดเห็นของตนเองที่เกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาน้ัน

Page 20: บทที่ 1 · 2017-07-23 · ตารางที่ 1.1 ความหมายของคําว านวัตกรรมการศึกษาตามข อสังเกตของ

20

ใบงานท่ี 1 การวิเคราะหปญหาการเรียนการสอนในช้ันเรียน

ใบงานที่ ภาระงาน กิจกรรม

1 การวิเคราะหปญหาการเรียนการสอนในช้ันเรียน

ใหวิเคราะหปญหาการเรียนการสอนในช้ันเรียนจากสถานศึกษาจริง และเปนรายวิชาที่ตรงกับสาขาวิชาเอกของนักศึกษาโดยมีแนวทางในการนําเสนอ ดังภาพ

คําอธิบายใบงานท่ี 1 : ภาระงานที่มอบหมายในใบงานน้ี คือ ใหศึกษาลักษณะของปญหาดานผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหรือพฤติกรรมของนักเรียนในช้ันเรียนจากสถานศึกษาจริง โดยสามารถวิเคราะหปญหาการเรียนการสอนได 3 แนวทาง ไดแก 1) การสํารวจช้ันเรียน 2) การวิเคราะหพฤติกรรมในช้ันเรียน หรือ 3) การศึกษาเฉพาะกรณี