คิดด้วยภาพ (think in pictures) - การเรียนรู้ ... · web...

17
-1- คคคคคคคคคค คคคคคคคคคคคคคคคคคคคค ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใ ใ ใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใ ใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ “ใใใใใใใใใใ” ใใใใใใใใใ ใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใ ใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ คคคคคคคค

Upload: others

Post on 23-Jan-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

คิดด้วยภาพ (Think in Pictures)

-2-

คิดด้วยภาพ

ความคิดและการสื่อสาร

ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและข้อมูลข่าวสาร ชีวิตประจำวันของแต่ละคนดูจะยุ่งและวุ่นวายไปหมด การสื่อสารและการถ่ายทอดประเด็นหลักให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ภายในเวลาสั้น ๆ จะกลายเป็นเรื่องสำคัญ และไม่อาจมองข้าม จึงต้องการวิธีการจัดระเบียบข้อมูลที่รวดเร็ว แม่นยำ และสื่อสารได้อย่างไม่ติดขัด รูปภาพและแผนภาพจึงเป็นวิธีที่ดีสำหรับการถ่ายทอดความคิด

ความคิดในสมองสามารถนำมาเขียนเป็นภาพลงในกระดาษได้ และทุกเรื่องสามารถเขียนเป็นแผนภาพได้หมด โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตไม่กี่ชนิด คำสำคัญ และใช้ลูกศร หรือเส้นตรงลากเชื่อมข้อมูล เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันของคำสำคัญ เราก็จะสามารถเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ และจะทำให้เห็นได้ลึกขึ้นและมีมุมองใหม่เพิ่มขึ้น

เคล็ดลับและความชำนาญในการเขียนแผนภาพ จะเกิดขึ้นเองภายหลังการฝึกฝน “คิดด้วยภาพ” หลายครั้ง จนเปลี่ยนเป็นนิสัยการคิดไปอย่างอัตโนมัติ

การคิดด้วยภาพ คือ การคิดด้วยดวงตา แทนที่จะคิดด้วยสมองแบบวนไปวนมา การใช้ดวงตาจะช่วยให้เราคิดกลับไปกลับมาระหว่างสมองกับภาพที่วาดบนกระดาษ ซึ่งจะช่วยพัฒนาการคิดให้มีความหลากหลายและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หลายครั้งการคิดด้วยภาพช่วยให้เราเห็นโครงสร้างที่เป็นเหตุเป็นผลของข้อมูล และนำไปสู่การมองเห็นมาตรการแก้ไขปัญหา

สมองคนเราเป็นสิ่งที่แปลก ยิ่งใช้มากเรายิ่งเก่ง เพราะฉะนั้นต้องไม่ลังเล ต้องใช้สมองให้มากที่สุด

ความจริง

การใช้รูปภาพถ่ายทอดจินตนาการ จะช่วยสามารถดึงความคิดสร้างสรรค์ของและคนออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดเวลาในการอธิบาย

แผนภาพ ไม่ได้หมายถึง รูปภาพ หรือภาพประกอบอย่างเดียว แต่รวมไปถึงคำสำคัญ (Key Word) ที่เป็นประโยคหรือข้อความสั้น ๆ ที่กระชับและได้ใจความ

แผนภาพ ประกอบด้วย รูปทรง (สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม) ตาราง กราฟ คำสำคัญ และประโยคสั้น ๆ ที่ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงประเด็นสำคัญ

การเขียนแผนภาพ จะช่วยจัดระเบียบข้อมูลและเรื่องราว ทำให้เราสื่อสารได้ง่ายและชัดเจน เนื่องจากการสื่อสารด้วยประโยคหรือข้อความ มักเกิดความกำกวมได้ง่าย บางครั้งก็สื่อสารเรื่องราวได้ไม่ครบถ้วน มีการเติมคำว่า “เป็นต้น” ลงในท้ายประโยค

การสื่อด้วยแผนภาพทำให้สามารถมองเห็นเนื้อความได้ในครั้งเดียว ตัวอย่างเช่น ตารางนัดหมายประจำเดือนในสมุดไดอารี่

การเริ่มเขียนแผนภาพใหม่ ๆ ให้นำคำสำคัญมาเขียนแบบลองผิดลูกถูกไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสามารถอธิบายและทำให้ผู้อื่นยอมรับในความคิดของเราได้ สิ่งที่เป็นพื้นฐานแห่งการยอมรับ คือ การมีตรรกะและเหตุผลเป็นสิ่งจำเป็น ปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ มักจะเขียนแผนภาพจำลองธุรกิจใช้ในการสื่อสาร เช่นเดียวกัน โรงเรียนก็น่าจะเขียนแผนภาพจำลองการจัดการเรียนการสอน ภาพปัจจัยของการเรียนรู้ หรืออื่น ๆ ดังในรูปที่ 1

10 % 30 % 50 % 10 %

30 % 10 % 30 % 10 % 5 % 5 %

รูปที่ 1 แผนภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

การอ่านแผนภาพไม่ต้องอ่านตามลำดับ จะเริ่มอ่านจากส่วนไหนของแผนภาพก็ได้ ก็สามารถรับใจความหลัก หรือเนื้อหาที่ต้องการได้ จึงเป็นการรับข้อมูลแบบสุ่ม (random access) แตกต่างจากการอ่านเนื้อความ ซึ่งจะต้องอ่านตามลำดับโดยขณะอ่านจะต้องคิดถึงความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า การรับข้อมูลตามลำดับ (sequential access)

จิตวิทยาเกี่ยวกับสมองส่วนบนของมนุษย์ได้อธิบายหน้าที่ของสมองซีกซ้ายกับซีกขวา ว่าสมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่รับข้อมูลตามลำดับก่อนหลัง ทำให้สามารถรับรู้และสะสมความเข้าใจเกี่ยวกับตัวอักษรตัวเลข และตรรกะต่างๆ ส่วนสมองซีกขวาทำหน้าที่รับข้อมูลแบบสุ่ม จึงสามารถรับรู้รูปทรงต่าง ๆ และทำให้เกิดประกายความคิดใหม่ รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ได้ดี คนคิดด้วยภาพจึงสามารถใช้งานสมองซีกขวาได้อย่างเต็มที่ สมองซีกขวาอีกชื่อหนึ่งก็คือ “สมองส่วนที่หลับใหลอยู่” เพราะคนเราสามารถใช้สมองซีกขวาได้ ไม่ถึง 3% ของประสิทธิภาพที่มีอยู่ ในมุมกลับกันหากเราใช้สมองซีกขวาได้ 100% ก็จะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าที่เป็นอยู่ 30 เท่า เลยทีเดียว

การใช้แผนภาพสื่อสาร อันที่จริงก็เหมือนกับการใช้โปรแกรม Power Point นำเสนอ/สื่อสารแทนโปรแกรม Microsoft Word โดยการเขียนประโยคสั้น ๆ เน้นคำสำคัญ และรูปทรงพื้นฐาน

แนวปฏิบัติในการคิดด้วยภาพ

การเขียนแผนภาพไม่ใช่เรื่องยาก แค่เขียนรูปทรงพื้นฐานทางเรขาคณิต คำ/ข้อความสำคัญ และเส้น/ลูกศร ก็จะได้แผนภาพอย่างง่ายๆ ไม่ควรพยายามเขียนแผนภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในครั้งแรก แต่จะใช้การเขียนไปปรับไป แต่งไป โดยเชื่อว่าไม่มีสิ่งไหนที่เขียนออกมาเป็นแผนภาพไม่ได้ หากเขียนไม่ได้ แสดงว่าต้องมีสิ่งขัดแย้งกันอยู่ หรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ ข้อแนะนำในการเขียนแผนภาพ

(1) ในการคิดด้วยภาพ เราต้องคิดและเขียนย้อนกลับไปกลับมา ยางลบจึงเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ การเขียนครั้งแรกจะได้แผนภาพที่ยาก จึงปรับแต่งด้วยการลบและเขียนใหม่หลายครั้ง

(2) ทิ้งข้อมูลที่ไม่จำเป็น เลือกเฉพาะคำสำคัญ (Key Word) ข้อมูลที่ไม่จำเป็นได้แก่ คำขยายหรือคำเชื่อมต่าง ๆ ซึ่งจะไม่ค่อยมีความหมาย ตัดออกแล้วจะไม่กระทบเนื้อหาหรือใจความรวม ใช้ลูกศรแสดงแทนคำเชื่อม ในที่นี้คำสำคัญ หมายถึง คำที่เลือกขึ้นมาใช้แทนประโยค ซึ่งผู้เขียนต้องฝึกเลือกคำสำคัญ จากเนื้อความ

(3) เชื่อมคำสำคัญด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน การเขียนคำสำคัญออกมาหมดก็จะเห็นภาพรวมและใจความหลัก ทำการจัดกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน ให้อยู่รวมกันในกลุ่มเดียวกัน ที่ซ้ำกันก็ตัดทิ้ง เขียนรูปทรงเรขาคณิตล้อมคำสำคัญ แล้วใช้ลูกศรลากเชื่อมระหว่างคำสำคัญที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลเหล่านั้น ก็จะได้ภาพของข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร

(4) หนึ่งใจความหลักต่อหนึ่งหน้า หากมีเนื้อหามากเกินไปในแผนภาพรูปเดียว จะทำให้ผู้อ่านสับสนและเข้าใจยากขึ้น แนะนำให้แยกเนื้อหาที่ซับซ้อนออกจากกัน ก็จะทำให้ถ่ายทอดได้ง่ายขึ้น ส่วนชื่อเรื่องที่ถ่ายทอดในแผนภาพหนึ่งให้เขียนประมาณ 15 ตัวอักษร

(5) หนึ่งใจความหลักต่อหนึ่งประโยค กล่าวคือ ข้อความหนึ่งประโยคในแผนภาพควรมีข้อมูลที่ต้องการถ่ายทอดเพียงข้อมูลเดียวเท่านั้น หากข้อมูลซับซ้อนก็ให้เขียนเป็นหลายประโยค และเขียนข้อความให้กระชับและเข้าใจง่าย

แผนภาพที่ดี

แผนภาพที่ดี ต้องเป็นแผนภาพที่มีความสอดคล้องในเชิงตรรกะ จัดข้อมูลเป็นกลุ่มและแยกเป็นลำดับขั้น ระบุเฉพาะข้อมูลสำคัญเท่านั้น มีนำวิธีการวิเคราะห์ปัญหาที่ใช้แผนภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์

แผนภาพช่วยให้ทำความเข้าใจได้ง่าย มองครั้งเดียวก็สามารถเข้าใจเรื่องราวหรือข้อมูลที่ต้องการได้ทันที แม้จะไม่สามารถถ่ายทอดข้อมูลได้ทั้งหมด แต่แผนภาพก็เหมาะสมสำหรับการถ่ายทอดใจความสำคัญในเวลาสั้นๆ แผนภาพช่วยจัดระเบียบข้อมูล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ (mapping) บนระนาบ จึงเหมาะสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันขององค์ประกอบสองอย่างขึ้นไป เช่น การจัดวางตำแหน่งขององค์ประกอบ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ความสัมพันธ์เชิงขนาด ใช้ลูกศรอธิบายความสัมพันธ์เชิงตรรกะหรือลำดับก่อน-หลังได้เป็นอย่างดี

แผนภาพที่ดีต้องมีความสอดคล้องและสมเหตุสมผล เช่นในรูปในแผนภาพ “เหตุผลที่ต้องลดคนงาน” คือ ยอดขายและกำไรลด เป็นสาเหตุทำให้เกิด “ช่องว่างของโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เกิดจากการย้ายฐานการผลิต” “การก้าวขึ้นมายู่แนวหน้าของประเทศในแถบเอเชีย” น่าจะเป็นสาเหตุโดยตรงของ“ช่องว่างของโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เกิดจากการย้ายฐานการผลิต” ดังในรูปที่ 2

รูปที่ 2 แผนภาพเหตุผลในการลดจำนวนพนักงาน

ความสัมพันธ์เชิงตรรกะ หมายถึง การหาข้อสรุปที่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างมีเหตุผล เพื่อไม่ให้เป็นเพียงกระดาษทด การเขียนแผนภาพต้องผ่านการคิดแบบตรรกะ โดยการนำข้อมูลมาจัดระเบียบให้เรียบร้อย การจับประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างกันของแต่ละองค์ประกอบ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง แผนภาพที่ดี ต้องผ่านการจัดให้เป็นระเบียบด้วยการแบ่งกลุ่มและแยกเป็นลำดับขั้น ดังเช่น แผนภาพ “มาตรการในการปรับปรุงผลกำไรของบริษัท” ซึ่งนำเอาคำสำคัญมาเรียงกันเป็นกลุ่ม แล้วจัดแบ่งแยกประเภทเป็น “เพิ่มยอดขาย”และ “ลดต้นทุน” แล้วเขียนใหม่โดยใช้ผัง logic tree เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันที่ชัดเจนขึ้น ดังในรูปที่ 3

แผนภาพที่ดี ต้องเขียนอย่างสั้นแลกระชับ ดูแล้วเข้าใจในทันที เช่น แผนภาพ “กลยุทธ์ที่นำเสนอระบบสารสนเทศ มาใช้งานขาย” ดังในรูปที่ 4

แผนภาพที่ดี ควรจะเขียนให้เป็นระเบียนโดยใช้ตาราง หรือวิธีการวิเคราะห์อื่นๆ เช่น แผนภาพวิธีวิเคราะห์ SWOT ดังในรูปที่ 5

รูปที่ 3 แผนภาพ logic tree ในการเพิ่มกำไร

รูปที่ 4 แผนภาพกลยุทธ์ที่นำระบบสารสนเทศใช้ในงานขาย

รูปที่ 5 แผนภาพวิธีวิเคราะห์ SWOT

การคิดแบบตรรกะ

การคิดแบบตรรกะเป็นการสร้างนิสัยแบบมององค์ประกอบทั้งหมดให้ชัดเจนก่อน มีการคิดแบบมหภาค (macro) สู่จุลภาค(micro) ขั้นแรกต้องจับประเด็นของภาพรวมทั้งหมดให้ได้ก่อน แล้วค่อยดูในรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบทั้งหมดให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการเดินเข้าไปในป่า ต้องมองเห็นภาพรวมของทั้งป่าจึงจะไม่หลงป่า นั่นคือ มองจากมุมสูงให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ก่อนจะลงมาดูในรายละเอียดต้นไม้และแม่น้ำ

การอ่านเอกสาร 100 แผ่นในเวลาอันสั้นเพื่อแยกแยะประเด็นจะเกินความสามารถ หากมีแผ่นสรุปใจความสำคัญ (ภาพรวมของเอกสารทั้งหมด) ก็สามารถจับประเด็นได้ในเวลาสั้น ๆ ดังนั้นเวลาจะอธิบายหรือชี้แจงเรื่องใด การเล่าเรื่องจากภาพรวมก่อน แล้วค่อยขยายส่วนที่เป็นองค์ประกอบ จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและไม่หลงประเด็น เช่นเดียวกับการอ่านหนังสือ ขั้นแรกให้จับประเด็นภาพรวมของหนังสือ โดยอ่านชื่อบทต่างๆ ที่เรียงอยู่ในสารบัญ จากนั้นค่อยอ่านแต่ละหัวข้อที่อยู่ในแต่ละบท การจับประเด็นจากสารบัญและค่อยอ่านหัวข้อที่สนใจ จะทำให้เข้าใจข้อมูลอันมากมายมหาศาลที่อยู่ในหนังสือได้ในเวลาอันสั้น

การคิดต้องคอยระวังอยู่เสมอไม่ให้เกิดการตกหล่น หรือซ้ำซ้อนกัน โดยใช้วิธีการแยกแยะจัดหมวดหมู่

หลังจากจับประเด็นได้แล้ว ให้นำมาจัดเรียงความสัมพันธ์ก่อนหลัง

ความสัมพันธ์เชิงตรรกะ แสดงได้ด้วยการเขียนเป็นผัง logic tree แผนผังโครงสร้างพีระมิด (pyramid structure) และผังที่เขียนด้วยสูตรคณิตศาสตร์

การเขียนผัง logic tree สำหรับหาวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมาย นั้น จะเขียนโดยใช้คำถาม “แล้วจะทำอย่างไร” เพื่อจุดมุ่งหมาย “การเพิ่ม….” ขั้นแรก นำหัวข้อที่เป็นเป้าหมายมาวางในตำแหน่งซ้ายมือของภาพ จากนั้นเขียนหัวข้อย่อยด้วยคำถาม “แล้วจะทำอย่างไร” ที่นึกได้ทั้งหมด มาเขียนทางขวามือของภาพ จะได้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลอยู่บนกระดาษเพียงแผ่นเดียว ดังในรูปที่ 3

การเขียนแผนผังโครงสร้างพีระมิด เป็นการนำข้อสรุปและเหตุผลของข้อสรุปมาแสดงเป็นขั้น ๆ โดยขั้นแรกเอาข้อสรุปมาวางไว้ข้างบน จากนั้นค่อยรวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ มาเชื่อมโนยงด้วยความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล การสร้างแผนภาพนี้ค่อนข้างยาก ต้องปรับเปลี่ยนหลายครั้ง เคล็ดลับคือ ใช้กระดาษ Post-it ช่วยในตอนจัดเรียง

ทั้งแบบผัง logic tree และแผนผังโครงสร้างพีระมิด ถูกออกแบบเป็นขั้น ๆ เพื่อแก้จุดด้อยของขีดจำกัดในการจำของมนุษย์ ซึ่งจำได้ในคราวเดียว 7

±

1 อย่างเช่น ถ้าจะให้บอกชื่อของกินในตู้เย็น จะรู้สึกว่าข้อมูลมากเกินไป หากลองเอาของกินมาจัดหมวดหมู่ เป็นผัก ผลไม้ เนื้อ นม ขนม ก็จะรู้สึกว่าบอกได้หมดว่ามีอะไรบ้าง โดยให้แต่ละกลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 7 กลุ่มใดมีจำนวนมากว่า 7 ก็ให้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยลงไปอีก

คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของตรรกะวิทยา ดังนั้นการใช้สูตรคณิตศาสตร์อธิบายด้วย + - x / ก็จะช่วยทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

รูปที่ 6 แผนภาพความสัมพันธ์เชิงตรรกะ

ตัวอย่างแผนภาพต่าง ๆ

รูปที่ 7 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกัน

รูปที่ 8 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล

รูปที่ 9 แผนภาพแสดงขั้นตอนของกระบวนการ

รูปที่ 10 แผนภาพแสดงสถานะ และสภาพ

รูปที่ 11 แผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลง

การคิดทำวิจัยด้วยภาพ

หลายคิดว่าการทำให้คนมีความสุข โดยการพัฒนาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยการลงทุนการผลิตเพื่อแปลงทรัพยากรเป็นสินค้า ซึ่งใช้แรงงานจากภายในและพลังงานจากภายนอก ทำให้งานพัฒนาคน (สังคม)มีน้อยจนเกิดสภาพไม่สมดุล การทุ่มทรัพยากรไปกับการศึกษาไม่ปรากฏผล รังแต่จะไปทำลายวิธีการเรียนรู้ของคนไทย ที่ผูกติดอยู่กับวิถีชีวิต

การวิจัยจึงเป็นยาอีกชนิดหนึ่ง กำลังถูกฉีดเข้ามาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคนในระบบ ให้มีความสามารถในการเรียนรู้แบบค้นคว้า โดยนำปัญหาของโรงเรียน ปัญหารอบโรงเรียน มาเป็นโจทย์

การคิดโจทย์วิจัยอาจเป็นเรื่องยาก และที่ยากกว่านั้น คือ การออกแบบวิธีการวิจัย ที่ไม่ติดกรอบเดิมแบบที่เคยเรียนกันมา เพราะวิธีแบบเดิมทำให้ได้ข้อมูล ได้ความรู้แต่ไม่สามารถทำให้เกิดการนำไปใช้งานจริง หรือสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมในโรงเรียนได้ การคิดทำวิจัยด้วยภาพอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยสร้างสรรค์วิธีการวิจัยใหม่ ซึ่งพาออกไปจากกรอบคิดเดิมได้

หลักคิดในการทำวิจัย

1. มีความเหมาะสมในภาพรวม คือ ไม่ผิดหลักธรรมชาติ เหมาะสมกับบริบท

2. มีความลึกจากความรู้เดิม ซึ่งตรวจวัดได้จากผลงานที่สืบค้นมา ระดับของการสืบค้นมี 3 ระดับ คือ ระดับแรกเพื่อรู้ว่า “ทำอย่างไร” แล้วนำมาทำซ้ำ ระดับที่สอง เพื่อเข้าใจปัญหาและรู้ว่า “ควรทำอย่างไร” แต่ยังไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาได้ และระดับสูงสุด เพื่อจะรู้ว่า “ควรทำอะไร และทำอย่างไร” จึงจะแก้ปัญหาได้ คือ ใช้งานได้ตามบริบท

3. มีวิธีการวิจัยที่ถูกต้อง

4. มีความเป็นไปได้ไม่ติดกับสิ่งที่คุ้นเคยในอดีตโดยใช้เป้าหมายในการนำทาง

รูปที่ 12 โครงการ การปรับปรุงคุณภาพลูกชิ้นที่มีกากถั่วเหลืองเป็นองค์ประกอบ

การเขียนแผนภาพกิจกรรมวิจัย ควรเขียนเฉพาะกิจกรรมที่จำเป็นต่อการตอบคำถาม หลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่จำเป็น ( redundant ) นั่นก็หมายความว่า จะคิดทำอะไร จะเก็บข้อมูลอะไร ต้องมีเป้าหมาย ประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ครูวางแผนทำวิจัยไม่เป็น ส่วนหนึ่งก็เพราะไปทำงานที่ไม่จำเป็น ไม่ตอบวัตถุประสงค์

การเขียนแผนภาพ เป็นวิธีการหนึ่งของการสร้างสรรค์ น่าจะเกิดนวัตกรรม (innovation) ในการออกแบบวิธีการวิจัย หลักคิดของวิธีการวิจัยจะถูกควบคุมด้วยความพอเพียงหรือความพอดีของงาน

บรรณานุกรม

1. ประวัติ เพียรเจริญ . 2550. คิดด้วยภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

2. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. 2552. ถอดรหัสการเขียนโครงงานวิจัย ประเภททุนแข่งขัน : เพื่อเพิ่มคุณค่าของการวิจัยไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ความรู้จากภายนอก

ความรู้จากภายใน

โรงเรียน/บรรยากาศ

ครู

นักเรียน

ผู้บริหาร

การจัดการเรียนการสอนการสอน

สาระ/เนื้อหา

สื่อการสอน

เทคนิคสอน

กิจกรรม

เวลา

งบประมาณ

การวัดผล

การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

การเชื่อมโยงกับภายนอก

ชุมชน

ห้องสมุด

ชุดทดลอง

70 %

5 %

5 %

5 %

5 %

10 %

_1316604612.unknown