แผนยุทธศาสตร์...

81
แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ ส�ำนักนโยบำยและแผนกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน กระทรวงศึกษำธิกำร

Upload: others

Post on 10-Sep-2019

18 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

แผนยุทธศาสตร์พ

ัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ

.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

ส�ำนักนโยบำยและแผนกำรศึกษำขั้นพื้นฐำนส�ำนักงำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำขั้นพื้นฐำน

กระทรวงศึกษำธิกำร

Page 2: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

กลุมวิจัยและพัฒนานโยบาย

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

Page 3: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

ปที่พิมพ พ.ศ. ๒๕๕๘

จํานวนพิมพ ๒๐,๐๐๐ เลม

หนวยงานที่ผลิต สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

จัดพิมพเผยแพร กลุมวิจัยและพัฒนานโยบาย

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

โทร. ๐-๒๒๘๐-๕๕๓๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๑-๕๒๓๒

เอกสารสํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขที่ ๓/๒๕๕๘

พิมพที่ โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด

๗๙ ถนนงามวงศวาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐

โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑

นายโชคดี ออสุวรรณ ผูพิมพผูโฆษณา

แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กพ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

Page 4: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

สืบเน่ืองจากคณะกรรมการเครือขายการศึกษาทางเลือก โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียน

ของชุมชน ไดมีมติในคราวประชุม ครั้งที่ ๕/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ หองประชุม

สพฐ. ๑ อาคาร สพฐ. ๔ ชั้น ๒ โดยมีนางสิริกร มณีรินทร เปนประธาน ไดมอบสํานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทําแผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

เพื่อขับเคลื่อนและการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

สาํนกังานคณะกรรมการการศกึษาข้ันพืน้ฐาน โดยสาํนกันโยบายและแผนการศกึษาขัน้พืน้ฐาน

จงึไดจดัทาํแผนยทุธศาสตรพฒันาโรงเรยีนขนาดเลก็ พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ ซึง่เนือ้หาสาระประกอบดวย

บทที่ ๑ ความเปนมาและสภาพโรงเรียนขนาดเล็ก บทที่ ๒ กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย และเอกสาร

ท่ีเกี่ยวของ บทท่ี ๓ แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ บทที่ ๔

ปจจัยสูความสําเร็จ และภาคผนวก สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังเปนอยางยิ่งวา

แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ จะเปนทิศทางในการขับเคลื่อน

โรงเรียนขนาดเล็กใหมีคุณภาพและประสิทธิภาพตอไป

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

คํานํา

Page 5: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์
Page 6: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

หนา

คํานํา ก

สารบัญ ข

สารบัญตาราง ค

บทที่ ๑ ความเปนมาและสภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ๑

ความเปนมา ๓

สภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ๗

แนวโนมการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ๙

นิยามศัพทเฉพาะ ๑๐

บทที่ ๒ กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย และเอกสารที่เกี่ยวของ ๑๑

กฎหมายและระเบียบ ๑๔

นโยบาย ๒๗

บทที่ ๓ แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ ๔๕

บทที่ ๔ ปจจัยสูความสําเร็จ ๕๙

บรรณานุกรม ๖๔

ภาคผนวก ๖๕

สารบัญ

Page 7: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์
Page 8: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

ตารางที่ หนา

๑ จํานวนโรงเรียนขนาดเล็ก ปการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๗ ๓

๒ จํานวนโรงเรียนขนาดเล็ก ปการศึกษา ๒๕๕๗ จําแนกตามจํานวนนักเรียน ๔

๓ จํานวนโรงเรียน นักเรียน ครู หองเรียน ปการศึกษา ๒๕๕๗ ๔

สารบัญตาราง

Page 9: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์
Page 10: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

ความเปนมา

และสภาพโรงเรียนขนาดเล็ก

บทที่

Page 11: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑2

Page 12: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 3

ความเปนมา สํานักงานคณะกรรมการการศกึษาขัน้พืน้ฐาน กระทรวงศกึษาธกิาร มภีารกจิหลกัทีส่าํคญั คอื

การจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยางทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อใหเด็กในวัยเรียนทุกคนไดเรียน

อยางทั่วถึง มีการบริหารจัดการศึกษาอยางมีคุณภาพ สอดคลองกับพระราชบัญญัติการศึกษา

แหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แกไขเพิ่มเติมทุกฉบับ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แกไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

กฎกระทรวงกาํหนดหลกัเกณฑและวธิกีารกระจายอาํนาจการบริหารและการจัดการศกึษา พ.ศ. ๒๕๕๐

และประกาศสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เร่ืองการกระจายอํานาจการบริหาร

และการจัดการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังคณะกรรมการ

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ. ๒๕๕๐ นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และความตองการของประชาชน

จากสภาพบริบทดานสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงสงผลใหโรงเรียน

ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแนวโนมปรับเปลี่ยนขนาดเปนโรงเรียนขนาดเล็ก

(โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต ๑๒๐ คนลงมา) เพิ่มมากขึ้นอยางตอเนื่อง ดังตารางที่ ๑

ตารางที่ ๑ จํานวนโรงเรียนขนาดเล็ก ปการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๗

ปการศึกษา จํานวน จํานวน คิดเปนรอยละ

โรงเรียนทั้งหมด โรงเรียนขนาดเล็ก

๒๕๕๔ ๓๑,๒๕๕ ๑๔,๖๓๘ ๔๖.๘๓

๒๕๕๕ ๓๑,๑๑๖ ๑๔,๘๑๖ ๔๗.๖๒

๒๕๕๖ ๓๑,๐๒๑ ๑๕,๓๘๖ ๔๙.๖๐

๒๕๕๗ ๓๐,๙๒๒ ๑๕,๕๐๖ ๕๐.๑๕

Page 13: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑4

เมื่อจําแนกกลุมโรงเรียนขนาดเล็กในปการศึกษา ๒๕๕๗ พบวา

ตารางที่ ๒ จํานวนโรงเรียนขนาดเล็ก ปการศึกษา ๒๕๕๗ จําแนกตามจํานวนนักเรียน

จํานวน จํานวน คิดเปนรอยละ

นักเรียน โรงเรียนขนาดเล็ก

๐ ๑๙๗ ๑.๒๗

๑-๒๐ ๗๙๓ ๕.๑๑

๒๑-๔๐ ๒,๔๐๓ ๑๕.๕๐

๔๑-๖๐ ๓,๓๗๒ ๒๑.๗๕

๖๑-๘๐ ๓,๕๒๐ ๒๒.๗๐

๘๑-๑๐๐ ๒,๘๑๙ ๑๘.๑๘

๑๐๑-๑๒๐ ๒,๔๐๒ ๑๕.๔๙

สําหรับดานขอมูลจํานวนโรงเรียน นักเรียน ครู และหองเรียน ปการศึกษา ๒๕๕๗ ทั้งหมด

ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจํานวนโรงเรียน นักเรียน ครู และหองเรียน

โรงเรียนขนาดเล็ก พบวา

ตารางที่ ๓ จํานวนโรงเรียน นักเรียน ครู หองเรียน ปการศึกษา ๒๕๕๗

รายการ โรงเรียนทุกประเภท โรงเรียนขนาดเล็ก รอยละ

โรงเรียน ๓๐,๙๒๒ ๑๕,๕๐๖ ๕๐.๑๕

นักเรียน ๗,๑๑๔,๘๐๔ ๑,๐๑๗,๓๖๓ ๑๔.๓๐

ครู ๔๐๒,๔๑๒ ๘๖,๗๑๑ ๒๑.๕๕

หองเรียน ๓๔๖,๓๔๒ ๑๒๐,๒๐๘ ๓๔.๗๑

อนึ่ง จากขอมูลทางการศึกษาขางตน เปนปจจัยสําคัญที่สงผลตอการใชทรัพยากรที่ไมคุมคา

การจดัสรรอัตรากาํลงัคร ูงบบุคลากร และการยกระดบัคณุภาพทางการศกึษา ทาํใหโรงเรยีนขนาดเลก็

สวนใหญมีสภาพปญหา ดังนี้

Page 14: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 5

๑. ปญหาดานคุณภาพการจัดการศึกษาคอนขางตํ่า ดังจะเห็นไดจากผลการประเมินคุณภาพ

ภายนอกรอบสอง พบวาโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนตํ่ากวา ๓๐๐ คน) มีจํานวนรอยละ ๒ อยูในระดับ

ปรับปรุง รอยละ ๖๗.๙๑ อยูในระดับพอใช และรอยละ ๒๙.๙๙ อยูในระดับดี และเมื่อศึกษา

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบวา นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กในทุกชวงชั้นในทุกพ้ืนท่ีมีคาเฉล่ีย

ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู ตํ่ากวานักเรียนในโรงเรียนขนาดอื่น

๒. ปญหาดานการบรหิารจดัการ สภาพบริบทของการคมนาคมทีผ่านมานบัวาไมคอยสะดวก

มากนัก รัฐบาลจึงจําเปนจัดตั้งโรงเรียนใหครอบคลุมทุกพื้นที่ของประชากรที่อาศัยอยู แตปจจุบัน

ความจําเปนดังกลาวไดลดลงเนื่องจากการคมนาคมสะดวกขึ้น ประกอบกับประชากรมีแนวโนมลดลง

อยางตอเนื่อง จึงสงผลทําใหขนาดของโรงเรียนปรับเปลี่ยนเปนโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น สงผลให

อัตราสวนครูตอนักเรียน และนักเรียนตอหองเรียนตํ่ากวามาตรฐาน คาใชจายตอนักเรียน ๑ คน

สูงกวาโรงเรียนขนาดอื่น ๆ นอกจากนี้โรงเรียนขนาดเล็กจํานวนหนึ่งอยู ในพื้นที่ลักษณะพิเศษ

อยูในพื้นที่หางไกลความเจริญ อยูบนภูเขาสูง บนเกาะ นักเรียนมีปญหาในการเดินทาง นอกจากนี้

ผูบรหิารโรงเรยีนขนาดเลก็สวนใหญขาดทกัษะในการบรหิารจดัการโรงเรยีน และปญหาอกีประการหนึง่

คือ การอพยพเคลื่อนยายของประชากรวัยเรียนที่ยายติดตามผูปกครองไปรับจางทํางานตางถิ่น

ทําใหเกิดปญหาอุปสรรคในการดําเนินงานของโรงเรียนเปนอยางยิ่ง

๓. ปญหาดานการเรียนการสอน พบวา ครูสวนใหญขาดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนในสภาพท่ีครูไมครบชั้นและมีจํานวนนักเรียนนอยในแตละชั้น ครูสอนไมเต็มเวลา

เต็มความสามารถเพราะครูมีภารกิจอื่นที่นอกเหนือจากการสอนเปนจํานวนมาก หลักสูตรและ

แผนการจัดการเรียนรูไมคอยสอดคลองกับบริบทของโรงเรียน สื่อการเรียนการสอนและแหลงเรียนรู

มีจํานวนจํากัดซึ่งสาเหตุมาจากไดรับงบประมาณนอย ส่ือเทคโนโลยีและการส่ือสารมีใชอยางจํากัด

และที่มีอยูก็ไมสามารถใชไดอยางมีประสิทธิภาพ

๔. โรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญอยูในชุมชนขนาดเล็ก ประชากรมีฐานะยากจน ทําใหไมมี

ศักยภาพในการระดมทรัพยากรเพื่อนํามาชวยสนับสนุนการจัดการศึกษาใหกับโรงเรียน

๕. ปญหาที่เดนชัดอีกประการหนึ่งของโรงเรียนขนาดเล็ก คือ การขาดแคลนครู (ทั้ง ๆ ที่

อัตราสวนครูตอนักเรียนของทั้งประเทศก็ไมตางจากอัตราสวนของประเทศท่ีพัฒนาแลวท้ังหลาย)

จํานวนครูไมครบชั้น ครูไมครบตามรายวิชาเอก ตองใชครูวิชาเอกอยางหนึ่งไปสอนอีกวิชาหนึ่ง

มีปญหาครูยายออกบอย ครูขาดขวัญและกําลังใจ และครูไมสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ที่หลากหลายได จึงสงผลทําใหประสิทธิภาพและคุณภาพของการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก

ไมเปนไปตามเปาหมาย

จากสภาพปญหาดังกลาว สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไดกําหนดนโยบาย

และแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กที่สอดคลองกับนโยบายรัฐบาลที่ผานมา

อยางตอเนื่อง ดังนี้

Page 15: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑6

๑. การศกึษามาชวยแกปญหาความยากจน ใหเด็กในชนบทยากจนไดรบัโอกาสทางการศกึษา

ในโรงเรียนที่มีคุณภาพอยางทั่วถึง และลดภาระคาใชจายผูปกครอง

๒. มีกระบวนการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กอยางตอเนื่อง เชน

การจัดรถโมบายคอมพิวเตอรเคลื่อนท่ี การหมุนเวียนครูเขาสอน การพัฒนาครูดานภาษาอังกฤษ

ดาน ICT รูปแบบ e-Learning สรางเครือขายเพื่อใหเกิดการพัฒนาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู

โดยชวยเหลือแบงปนในเรื่องทรัพยากร อาคารสถานที่ สื่อ วัสดุและอุปกรณ การแลกเปลี่ยนความรู

ในเรื่องนวัตกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนที่ไดทดลองแลวเห็นวาเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรูจากทั่วโลกโดยการใชอินเทอรเน็ต การพัฒนาใชส่ือเทคโนโลยีการศึกษา

ทางไกลผานดาวเทียม การจัดสรรสิ่งอํานวยความสะดวกในการเรียนรู ประกอบดวย วัสดุ อุปกรณ

วิธีการ งบประมาณ ตลอดจนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สอดคลองกับบริบท เชน เรียนรวม

ทั้งโรงเรียน เรียนรวมเปนชวงชั้น เรียนรวมบางวิชา เรียนคละชั้น เรียนแบบบูรณาการ เปนตน

๓. สงเสริมสรางเครือขายจากทุกภาคสวน โดยเฉพาะองคกรปกครองสวนทองถิ่น

เพื่อใหเกิดการพัฒนาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู โดยชวยเหลือแบงปนในเรื่องทรัพยากร อาคาร

สถานที่ สื่อ วัสดุอุปกรณ

๔. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เชน จัดทําแผนยุทธศาสตรเรงพัฒนาคุณภาพโรงเรียน

ขนาดเล็กที่ไมสามารถยุบได กําหนดยุทธศาสตรการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก

ภายใตนโยบายการพัฒนาการศึกษา โดยจัดตั้ง “โรงเรียนดีศรีตําบล” สรางความเขมแข็งของโรงเรียน

สรางวิธีการปฏิบัติงานท่ีเปนเลิศ เชน เสอเพลอโมเดล เครือขายแกงจันทรโมเดล สามเกลอโมเดล

ไตรภาคี ศูนยเรียนรวมโรงเรียน บานยางนอย ศูนยปญจวิทยาคาร CPACC ๕ ยุทธศาสตรการพัฒนา

ใจประสานโมเดล เครือขายเรียนรวม “ภูหลวงพัฒนา” การบริหารจัดการแบบศูนยโรงเรียน โรงเรียน

ขนาดเล็กหุนสวนที่ดีของทองถิ่นชุมชน เปนตน

๕. เพิ่มงบประมาณ เงินอุดหนุนรายหัวใหกับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา

ที่มีนักเรียน ๑๒๐ คนลงมา และโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีนักเรียน ๓๐๐ คนลงมา

๖. จัดทําโครงการวิจัยเพื่อกําหนดอนาคตโรงเรียนขนาดเล็กของประเทศไทย ภายใต

หลักการสําคัญ ๓ ประการ คือ ๑) คุณภาพของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ๒) สิทธิและโอกาส

ในการไดรับการศึกษาข้ันพื้นฐานของประชาชนคนไทยทุกคนตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด และ

๓) ประสทิธภิาพการบรหิารจดัการของภาครฐั โดยมกีารศกึษาวจิยัเกีย่วกบัโรงเรยีน จาํนวน ๑๖ หวัขอ

๗. สงเสริมการจัดการศึกษาทางไกลผานดาวเทียม เพื่อใหนักเรียนไดเรียนแตละชั้น

ในทุกกลุมสาระอยางมีคุณภาพ

Page 16: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 7

สภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดําเนินการวิเคราะหสภาพแวดลอม

การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก พบวา

สภาพแวดลอมภายนอก พบวา ปจจยัดานผูรับบริการเปนโอกาสตอการพัฒนา คอื ผูปกครอง

พรอมสงบุตรหลานใหเรียนในโรงเรียนดีมีคุณภาพ การเขาสู ประชาคมอาเซียนสงผลใหเกิด

การเคลื่อนยายของประชากรวัยเรียนจากประเทศเพื่อนบานสูโรงเรียนบริเวณชายขอบ หรือโรงเรียน

ที่ใชแรงงานจากตางชาติมาก ดานอุปสรรค พบวา ประชากรวัยเรียนที่เปนสัญชาติไทยมีแนวโนม

ลดลงทุกป ผูปกครองนิยมสงบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและโรงเรียนเอกชนสงผลให

โรงเรียนในชุมชนมีแนวโนมปรับขนาดเปนโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้น

ดานการเมืองและนโยบาย พบวา มีโอกาสตอการพัฒนา คือ นโยบายการพัฒนาคุณภาพ

โรงเรยีนขนาดเลก็มคีวามตอเนือ่ง กาํหนดใหมกีารควบรวมโรงเรียน มแีผนยทุธศาสตรการบริหารจัดการ

ที่ยึดหลักการมีสวนรวมและการกระจายอํานาจ สงเสริมและสนับสนุนใหนําเทคโนโลยีมาใชในการ

จัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการโรงเรียนสงผลใหโรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญไดพัฒนา

อยางตอเนื่อง ดานอุปสรรค พบวา รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนนิติบุคคลตามแนวทาง

การกระจายอํานาจเปนรูปแบบเดียวกันทุกโรงเรียน ไมสอดคลองกับบริบทโรงเรียนขนาดเล็ก

นโยบายและแนวทาง นอกจากนี้ดานการบริหารงานบุคคลของสํานักงานคณะกรรมการขาราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่สวนใหญเหมือนกันทุกโรงเรียน ไมเอื้อตอการพัฒนาคุณภาพ

และประสิทธิภาพตอการปฏิบัติงานและขวัญกําลังใจของบุคคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก

ดานการเงิน พบวา รัฐบาลจัดสรรเงินใหโรงเรียนบริหารจัดการลักษณะเงินอุดหนุน

สงผลใหโรงเรียนขนาดเล็กสามารถวางแผนการใชงบประมาณได แตการจัดสรรงบเงินอุดหนุน

เปนรายหัวตามจํานวนนกัเรยีนสงผลตอโรงเรยีนขนาดเลก็ขาดแคลนงบประมาณสาํหรบับรหิารจดัการ

และพัฒนาคุณภาพโดยเฉพาะดานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนที่ตองใชคาสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น

ดานเทคโนโลยี พบวา ความกาวหนาทางเทคโนโลยีสงผลใหโรงเรียนสามารถประยุกตใช

เพื่อการเรียนการสอนและการบริหารจัดการไดภายใตขอจํากัดดานกําลังคน ดานอุปสรรค พบวา

เทคโนโลยีมีราคาสูงและปรับเปลี่ยนบอย สงผลใหโรงเรียนขนาดเล็กมีภาระคาใชจายสูง

ดานสังคม วัฒนธรรม และประชากร พบวา ความเขมแข็งของชุมชน ชุมชนมีสวนรวม

และสนับสนุนการจัดการศึกษา ความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีภูมิปญญาทองถิ่น ปราชญชาวบาน

และแหลงเรียนรู สงผลใหโรงเรียนขนาดเล็กสามารถระดมทรัพยากรและใชแหลงเรียนรู สนับสนุน

การจดัการศกึษาทีส่อดคลองกบัทองถิน่ ดานอปุสรรค พบวา ชมุชนสวนใหญรอบ ๆ โรงเรียนขนาดเล็ก

เปนชุมชนเกษตร ผูปกครองสวนใหญประกอบอาชพีดานเกษตร รบัจาง ฐานะยากจน สงผลใหโรงเรยีน

ตองแสวงหาทรัพยากรเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนใหนักเรียนไดเรียนอยางตอเนื่องจนจบหลักสูตร

Page 17: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑8

สภาพแวดลอมภายใน พบวา ดานโครงสรางของโรงเรียนมคีวามเขมแข็ง เนือ่งจากเปนโรงเรียน

นิติบุคคล ไดรับการกระจายอํานาจท่ีบริหารจัดการแบบมีสวนรวม มีอํานาจในการตัดสินใจ

ในการบริหารจัดการและสามารถกําหนดแผนการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งดานวิชาการ ดานบุคคล

ดานการเงิน และดานบริหารทั่วไป แตรูปแบบโรงเรียนนิติบุคคลของโรงเรียนขนาดเล็กเปนจุดออน

เนือ่งจากขาดแคลนบคุลากรทีป่ฏบิตังิานตามโครงสรางและกรอบงานไมเพียงพอจึงไมสามารถบริหาร

จัดการไดอยางมีประสิทธิภาพ

ดานผลผลิตและการบริการ พบวา โรงเรียนขนาดเล็กสามารถใหโอกาสแกประชากรวัยเรียน

ไดมีโอกาสไดรับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยางทั่วถึง เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยูในทุกชุมชนของประเทศไทย

ทุกพื้นที่ ทุกสภาพภูมิศาสตร แตมีประเด็นที่เปนจุดออน คือ ภาพรวมคุณภาพผูเรียนดานผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน ชั้นประถมศึกษาปที่ ๖ ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๖ จากการประเมิน

ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแหงชาติ (สทศ.) พบวา ภาพรวมตํ่ากวาคาเฉลี่ยระดับสํานักงาน

คณะกรรมการการศกึษาขัน้พืน้ฐานและระดบัประเทศ ทกุกลุมสาระ เนือ่งจากครไูมครบตามรายวชิาเอก

ครูสวนใหญขาดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูสอนไมเต็มเวลา เต็มความสามารถ

เพราะครมูภีารกจิอืน่ทีน่อกเหนอืจากการสอน หลกัสูตรและแผนการจัดกจิกรรมการเรียนรูไมสอดคลอง

กับบริบทของโรงเรียน

ดานบุคคลากร พบวา ผูบริหารและครูโรงเรียนขนาดเล็กสามารถดูแลนักเรียนไดอยางทั่วถึง

รวมทั้งรู จักครอบครัวนักเรียน เนื่องจากมีนักเรียนจํานวนนอย อัตราสวนครูตอนักเรียนต่ํา

ประเด็นจุดออน คือ การขาดแคลนครู ครูไมครบตามรายวิชาเอก ผูบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญ

ยังไมมีความชํานาญในการบริหารจัดการ เนื่องจากสวนใหญเปนผูบริหารบรรจุใหม ครูไมสามารถ

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายได ครูยายบอย ครูขาดขวัญและกําลังใจ เนื่องจาก

มีภาระงานที่นอกเหนือการสอนมาก และนักเรียนสวนใหญฐานะยากจน

ดานงบประมาณ พบวา โรงเรียนขนาดเล็กมีงบประมาณไมเพียงพอตอการพัฒนาคุณภาพ

เนื่องจากไดรับจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเปนรายหัว การบริหารจัดการสวนใหญจายเปน

คาสาธารณูปโภค รวมถึงไมสามารถระดมทรัพยากรจากภายนอกไดอยางเพียงพอ เนื่องจาก

ผูปกครองสวนใหญฐานะยากจน จึงเปนจุดออน

ดานวัสดุอุปกรณ พบวา โรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญมีวัสดุอุปกรณไมเพียงพอตอการจัด

กิจกรรมการเรียนรู วัสดุอุปกรณที่มีอยู บางสวนก็ชํารุดไมสามารถหาทดแทนหรือซอมแซม

ใหอยูในสภาพดีได เนื่องจากงบประมาณเงินอุดหนุนที่ไดรับไมเพียงพอ

Page 18: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 9

ดานการบริหารจัดการ พบวา โรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญไมสามารถบริหารจัดการ

ตามขอบขายงาน ๔ งาน คือ งานวิชาการ งานบริหารงานบุคคล งานอาคารสถานที่ และงานบริหาร

ทั่วไปได ตามที่กําหนด เนื่องจากขาดแคลนบุคลากร รวมถึงการขาดแคลนขอมูลพ้ืนฐาน

โรงเรียนขนาดเล็กรายโรงเรียนที่ไมสามารถนํามาสําหรับการตัดสินใจไดทันเวลา เนื่องจากไมมี

ระบบฐานขอมูลที่ถูกตองเพียงพอตอการใชงาน โดยเฉพาะขอมูลดานบุคลากร จึงเปนจุดออน

ดานจดุแขง็ พบวา ชมุชนมสีวนรวมในการจดัการศกึษาตามศกัยภาพจงึเกดินวตักรรมการบรหิารจดัการ

ที่หลากหลายรูปแบบ

สรุปไดวาโรงเรียนขนาดเล็กมีสภาพแวดลอมภายนอกเปนปจจัยเอื้อตอการสรางโอกาส

ตอการเรียนรูที่มีคุณภาพของนักเรียน และสภาพแวดลอมภายในเปนจุดออนตอการบริหารจัดการ

เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียน สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงจัดทํา

แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ เพื่อใหสามารถบริหารจัดการ

โรงเรียนขนาดเล็กไดอยางมีประสิทธิภาพ

แนวโนมการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ๑. การศึกษาสําคัญสูงสุด

๒. รัฐสงเสริมการมีสวนรวมของทุกภาคสวน กระทรวงศึกษาธิการจะตองสงเสริมและ

กํากับดูแล ทดแทนการเปนผูจัด

๓. สงเสริมความเปนนิติบุคคลของโรงเรียน ใหบริการอยางดี มีประสิทธิภาพและคุณภาพ

(รับผิดรับชอบ) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเนนยํ้าใหทําโรงเรียนเปนนิติบุคคล

๔. สรางความเปนธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ําโดยใหงบประมาณใหท่ัวถึง ต้ังแตชั้นปฐมวัย

เปนตนไป

๕. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู พัฒนาครูและบุคลากร

๖. สงเสรมิการสรางสภาพแวดลอมทางการเรียนรู ส่ือสาธารณ เชน แหลงเรียนตามธรรมชาติ

๗. สงเสริมการเรียนการสอน โดยใชการศึกษาทางไกลผานดาวเทียมเปนเครื่องมือในการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษา

๘. นโยบายทางการศึกษาตองมีความตอเนื่อง การเมืองไมควรแทรกแซงการบริหาร

Page 19: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑10

นิยามศัพทเฉพาะ โรงเรียนขนาดเล็ก หมายถึง โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาท่ีมีนักเรียน

จํานวนตั้งแต ๑๒๐ คนลงมา

รวม หมายถงึ การรวมโรงเรยีนขนาดเลก็ทีต้ั่งอยูใกลกนัต้ังแตสองแหงข้ึนไป เพ่ือใหการบริหาร

และจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ เกิดผลดีแกผูเรียนทั้งในดานสิทธิ โอกาส และคุณภาพการศึกษา

เลิก หมายถึง การเลิกโรงเรียน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แผนดําเนนิงานแบบขัน้บนัได หมายถงึ กระบวนการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก โดยกาํหนด

เปาหมายและระยะเวลาดําเนินการอยางชัดเจน

โรงเรียนหลัก หมายถึง โรงเรียนที่รับนักเรียนจากโรงเรียนมารวม

โรงเรียนที่ตั้งอยูในพื้นที่พิเศษ หมายถึง โรงเรียนที่ตั้งอยูในพื้นที่หางไกล กันดาร ภูเขา

เกาะ ชายแดน และพื้นที่เสี่ยงภัย ไมสามารถรวมกับโรงเรียนใดได ใหจัดการเรียนการสอนตามปกติ

โดยไดรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

Page 20: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย

และเอกสารที่เกี่ยวของ

บทที่

๒บทที่

Page 21: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์
Page 22: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 13

จากการศึกษา พบวา มีกฎหมาย ระเบียบ และเอกสารที่เกี่ยวของกับการบริหารจัดการ

โรงเรียนขนาดเล็ก ดังนี้

๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แกไขเพิ่มเติม

๒. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕

๓. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และ

ที่แกไขเพิ่มเติม

๔. กฎกระทรวงแบงสวนราชการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง

ศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖

๕. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑการแบงสวนราชการภายในสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๔๖

๖. กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑการแบงสวนราชการภายในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน หรือสวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่น พ.ศ. ๒๕๔๗

๗. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการควบคุมดูแลการใชรถโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๓๖

๘. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหนาที่

ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปนนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖

๙. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ. ๒๕๕๐

๑๐. นโยบายการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่ผานมา

๑๑. นโยบายการศึกษา

Page 23: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑14

กฎหมายและระเบียบ พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แกไขเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แกไขเพิ่มเติม กําหนดใหรัฐตองจัด

การศึกษาใหแกบุคคลไมนอยกวาสิบสองป ดังนี้

มาตรา ๑๐ กําหนดวา “การจัดการศึกษาตองจัดใหบุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน

ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไมนอยกวาสิบสองปท่ีรัฐตองจัดใหอยางท่ัวถึงและมีคุณภาพ

โดยไมเก็บคาใชจาย การจัดการศึกษาสําหรับบุคคลซ่ึงมีความบกพรองทางรางกาย จิตใจ สติปญญา

อารมณ สงัคม การสือ่สาร และการเรยีนรู หรอืมรีางกายพกิาร หรอืทพุพลภาพหรอืบคุคลซ่ึงไมสามารถ

พึง่ตนเองได หรอืไมมผีูดแูล หรอืดอยโอกาส ตองจัดใหบคุคลดังกลาวมสิีทธแิละโอกาสไดรับการศกึษา

ขั้นพื้นฐานเปนพิเศษ การศึกษาสําหรับคนพิการในวรรคสอง ใหจัดต้ังแตแรกเกิดหรือพบความพิการ

โดยไมเสียคาใชจาย และใหบุคคลดังกลาวมีสิทธิไดรับสิ่งอํานวยความสะดวก สื่อ บริการและ

ความชวยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑและวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง การจัด

การศึกษาสําหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ตองจัดดวยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคํานึงถึง

ความสามารถของบุคคลนั้น”

มาตรา ๓๗ การบรหิารและการจดัการศกึษาขัน้พืน้ฐานใหยดึเขตพืน้ทีก่ารศกึษา โดยคาํนงึถงึ

ระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวนสถานศึกษา จํานวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสม

ดานอื่นดวย เวนแตการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายวาดวยการอาชีวศึกษา ใหรัฐมนตรี

โดยคําแนะนําของสภาการศึกษา มีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดเขตพื้นที่การศึกษา

เพือ่การบรหิารและการจดัการศกึษาขัน้พืน้ฐาน แบงเปนเขตพืน้ทีก่ารศกึษาประถมศกึษาและเขตพืน้ที่

การศึกษามัธยมศึกษา ในกรณีท่ีสถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและ

ระดบัมธัยมศกึษา การกาํหนดใหสถานศกึษาแหงนัน้อยูในเขตพ้ืนทีก่ารศกึษาใด ใหยดึระดับการศกึษา

ของสถานศึกษานั้นเปนสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยคําแนะนําของคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไมอาจบริหารและจัดการไดตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดใหมี

การศึกษาขั้นพื้นฐานดังตอไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได

(๑) การจดัการศกึษาขัน้พืน้ฐานสาํหรบับคุคลทีม่คีวามบกพรองทางรางกาย จิตใจ สติปญญา

อารมณ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู หรือมีรางกายพิการหรือทุพพลภาพ

(๒) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษา

ตามอัธยาศัย

(๓) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสําหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ

(๔) การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ใหบริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา

Page 24: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 15

มาตรา ๓๘ กําหนดวา “ในแตละเขตพื้นที่การศึกษา ใหมีคณะกรรมการและสํานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา มีอํานาจหนาที่ในการกํากับดูแลสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐานและสถานศึกษา

ระดับอุดมศึกษาระดับตํ่ากวาปริญญา รวมท้ังพิจารณาการจัดต้ัง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา

ประสาน สงเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพ้ืนที่การศึกษา ประสานและสงเสริม

องคกรปกครองสวนทองถิ่น ใหสามารถจัดการศึกษาสอดคลองกับนโยบาย และมาตรฐานการศึกษา

สงเสรมิและสนบัสนุนการจดัการศกึษาของบุคคลครอบครวั องคกรชมุชน องคกรเอกชน องคกรวชิาชพี

สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย

รวมทัง้การกาํกบัดูแลหนวยงานดานศาสนา ศลิปะ และวฒันธรรม ในเขตพืน้ทีก่ารศกึษา คณะกรรมการ

การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม...”

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ กําหนดใหบิดา มารดา หรือผูปกครอง

มีหนาที่จัดใหบุตรหรือบุคคลซึ่งอยูในความดูแลไดรับการศึกษาภาคบังคับจํานวนเกาป ดังนี้

มาตรา ๔ กําหนดวา “การศึกษาภาคบังคับ หมายความวา การศึกษาชั้นปที่หนึ่งถึง

ชั้นปที่เกาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายวาดวยการศึกษาแหงชาติ”

มาตรา ๖ กําหนดวา “ใหผูปกครองสงเด็กเขาเรียนในสถานศึกษา เมื่อผูปกครองรองขอ

ใหสถานศึกษามีอํานาจผอนผันใหเด็กเขาเรียนกอนหรือหลังอายุตามเกณฑการศึกษาภาคบังคับได

ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑและวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด”

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และ

ที่แกไขเพิ่มติม

พระราชบัญญตัริะเบียบบรหิารราชการกระทรวงศกึษาธกิาร พ.ศ. ๒๕๔๖ และทีแ่กไขเพิม่เติม

เปนกฎหมายที่ปรับปรุงโครงสรางการบริหารใหม โดยกําหนดใหมีการจัดระเบียบบริหารราชการ

เขตพื้นที่การศึกษา ดังน้ัน สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษาและสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจําเปนที่จะตอง

ดําเนินการรวมและเลิกสถานศึกษาตามความเหมาะสม ดังนี้

มาตรา ๓๓ กาํหนดวา “การบรหิารและการจดัการศกึษาขัน้พืน้ฐาน ใหยดึเขตพืน้ทีก่ารศกึษา

โดยคํานึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวนสถานศึกษา จํานวนประชากร วัฒนธรรม และ

ความเหมาะสมดานอื่นดวย เวนแตการจัดการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ตามกฎหมายวาดวยการอาชีวศึกษา

ใหรัฐมนตรีว าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคําแนะนําของสภาการศึกษามีอํานาจประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษากําหนดเขตพื้นท่ีการศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แบงเปนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Page 25: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑16

ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา

การกาํหนดใหสถานศกึษาแหงนัน้อยูในเขตพืน้ท่ีการศกึษาใด ใหยดึระดับการศกึษาของสถานศกึษานัน้

เปนสําคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยคําแนะนําของคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน ในกรณีที่มีความจําเปนเพื่อประโยชนในการจัดการศึกษาหรือมีเหตุผลความจําเปน

อยางอื่น ตามสภาพการจัดการศึกษาบางประเภท คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอาจประกาศ

กําหนดใหขยายการบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพ้ืนที่การศึกษาหนึ่งไปในเขตพ้ืนที่การศึกษา

อื่นได”

มาตรา ๓๔ กําหนดวา “ใหจัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

(๑) สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(๒) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่น

การแบงสวนราชการภายในตาม (๑) ใหจัดทําเปนประกาศกระทรวงและใหระบุอํานาจ

หนาที่ของแตละสวนราชการไวในประกาศกระทรวง ทั้งนี้ โดยคําแนะนําของคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน

การแบงสวนราชการภายในตาม (๒) และอํานาจหนาที่ของสถานศึกษาหรือสวนราชการ

ท่ีเรียกชื่ออยางอื่นใหเปนไปตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพ้ืนท่ีการศึกษาแตละเขตพ้ืนท่ีการศึกษา

กําหนด

การแบงสวนราชการตามวรรคสองและวรรคสามใหเปนไปตามหลักเกณฑที่กําหนด

ในกฎกระทรวง”

มาตรา ๓๕ กําหนดวา “สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา ๓๔ (๒) เฉพาะที่

เปนโรงเรียน มีฐานะเปนนิติบุคคล เมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่ง ใหความเปนนิติบุคคล

สิ้นสุดลง”

มาตรา ๓๖ กําหนดวา “ในแตละเขตพื้นที่การศึกษา ใหมีคณะกรรมการและสํานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา มีอํานาจหนาที่ในการกํากับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในเขตพื้นที่การศึกษา ประสาน สงเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา

ประสานและสงเสริมองคกรปกครองสวนทองถิ่น ใหสามารถจัดการศึกษาสอดคลองกับนโยบาย

และมาตรฐานการศึกษา สงเสริมและสนับสนุน การจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องคกรชุมชน

องคกรเอกชน องคกรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา

ในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา และปฏิบัติหนาที่อื่นที่เกี่ยวของกับอํานาจหนาที่

ที่ระบุไวขางตน ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง...”

Page 26: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 17

มาตรา ๓๗ กําหนดวา “ใหมีสํานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษา เพ่ือทําหนาท่ีในการดําเนินการ

ใหเปนไปตามอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการตามที่กําหนดไวในมาตรา ๓๖ และใหมีอํานาจหนาที่

เกี่ยวกับการศึกษา ตามที่กําหนดไวในกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และมีอํานาจหนาที่ ดังนี้

(๑) อํานาจหนาที่ในการบริหารและการจัดการศึกษา และพัฒนาสาระของหลักสูตร

การศึกษา ใหสอดคลองกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของสํานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๒) อํานาจหนาที่ในการพัฒนางานดานวิชาการและจัดใหมีระบบประกันคุณภาพภายใน

สถานศึกษารวมกับสถานศึกษา

(๓) รับผิดชอบในการพิจารณาแบงสวนราชการภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา

และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(๔) ปฏิบัติหนาที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนด...”

มาตรา ๓๙ กําหนดวา “สถานศึกษาและสวนราชการตามมาตรา ๓๔ (๒) มีอํานาจหนาที่

ตามที่กําหนดไวใหเปนหนาที่ของสวนราชการนั้น ๆ โดยใหมีผูอํานวยการสถานศึกษา หรือหัวหนา

สวนราชการ ที่เรียกชื่ออยางอื่นเปนผูบังคับบัญชาขาราชการและมีอํานาจหนาที่ ดังนี้

(๑) บริหารกิจการของสถานศึกษาหรือสวนราชการใหเปนไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ

ขอบังคับของทางราชการและของสถานศึกษาหรือสวนราชการ รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค

ของสถานศึกษาหรือสวนราชการ

(๒) ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน

การพัสดุ สถานที่ และทรัพยสินอื่นของสถานศึกษาหรือสวนราชการใหเปนไปตามกฎหมาย ระเบียบ

และขอบังคับของทางราชการ

(๓) เปนผู แทนของสถานศึกษาหรือสวนราชการในกิจการทั่วไป รวมทั้งการจัดทํา

นิติกรรมสัญญาในราชการของสถานศึกษาหรือสวนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษา

หรือสวนราชการไดรับตามที่ไดรับมอบอํานาจ

(๔) จัดทํารายงานประจําปเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาหรือสวนราชการเพ่ือเสนอตอ

คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

(๕) อํานาจหนาที่ในการอนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถานศึกษาใหเปนไป

ตามระเบียบที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด

(๖) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ ได รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว าการกระทรวงศึกษาธิการ

ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน เลขาธิการ

คณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผูอํานวยการสํานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งงานอื่นที่กระทรวงมอบหมาย...”

Page 27: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑18

กฎกระทรวงแบงสวนราชการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง

ศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหนาที่กําหนดหลักเกณฑ แนวทาง และ

ดาํเนินการเก่ียวกับการสนบัสนนุทรพัยากร การจดัตัง้ จดัสรรทรพัยากร และบรหิารงบประมาณอดุหนนุ

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในกฎกระทรวงฉบับนี้กําหนดวา

ขอ ๑ ใหสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและ

การสงเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใหมีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้

(๑) จัดทําขอเสนอนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษา มาตรฐานการจัดการศึกษา และหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๒) กําหนดหลักเกณฑ แนวทาง และดําเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนทรัพยากร การจัดตั้ง

จัดสรรทรัพยากร และบริหารงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๓) พัฒนาระบบการบริหาร และสงเสริม ประสานงานเครือขายขอมูลสารสนเทศ

การนําเทคโนโลยีสารสนเทศไปใชในการเรียนการสอน รวมทั้งสงเสริมการนิเทศการบริหารและ

การจัดการศึกษา

(๔) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษา

(๕) พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ประสาน สงเสริม สนับสนุน และกํากับดูแลการจัด

การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อคนพิการ ผูดอยโอกาสและผูมีความสามารถพิเศษ และประสาน

สงเสริม การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเอกชน องคกรปกครองสวนทองถิ่น บุคคล ครอบครัว

องคกรชุมชน องคกรเอกชน องคกรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น

ของเขตพื้นที่การศึกษา

(๖) ดําเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๗) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดใหเปนอํานาจหนาที่และความรับผิดชอบของ

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

Page 28: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 19

กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑการแบงสวนราชการภายในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

พ.ศ. ๒๕๔๖

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอํานาจหนาที่ตามกฎกระทรวง ดังนี้

ขอ ๖ ในการระบุอํานาจหนาที่ของแตละสวนราชการไวในประกาศกระทรวงตามมาตรา ๓๔

แหงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ใหระบุอํานาจหนาท่ี

ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยใหสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหนาที่ดําเนินการใหเปนไป

ตามอํานาจหนาที่ของสํานักงานเขตที่การศึกษาตามกฎหมายวาดวยระเบียบบริหารราชการ

กระทรวงศึกษาธิการ และมีอํานาจหนาที่ ดังตอไปนี้

(๑) จัดทํานโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาใหสอดคลอง

กับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาข้ันพ้ืนฐานและความตองการ

ของทองถิ่น

(๒) วิเคราะหการจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหนวยงาน

ในเขตพื้นที่การศึกษา และแจงการจัดสรรงบประมาณท่ีไดรับใหหนวยงานขางตนรับทราบ รวมท้ัง

กํากับตรวจสอบ ติดตามการใชจายงบประมาณของหนวยงานดังกลาว

(๓) ประสาน สงเสรมิ สนบัสนนุ และพฒันาหลักสูตรรวมกบัสถานศกึษาในเขตพ้ืนท่ีการศกึษา

(๔) กํากับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และในเขตพื้นที่การศึกษา

(๕) ศึกษา วิเคราะห วิจัย และรวบรวมขอมูลสารสนเทศดานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

(๖) ประสานการระดมทรัพยากรดานตาง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อสงเสริม สนับสนุน

การจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

(๗) จดัระบบการประกนัคณุภาพการศกึษา และประเมนิผลสถานศกึษาในเขตพ้ืนท่ีการศกึษา

(๘) ประสาน สงเสริม สนับสนุน การจักการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องคกรปกครอง

สวนทองถิ่น รวมทั้งบุคคล องคกรชุมชน องคกรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และ

สถาบันอื่นที่จัดรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา

(๙) ดําเนินการและประสานงาน สงเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่

การศึกษา

(๑๐) ประสาน สงเสริม การดําเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทํางานดานการศึกษา

(๑๑) ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองคกรหรือหนวยงานตาง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

และองคกรปกครองสวนทองถิ่น ในฐานะสํานักงานผูแทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษา

(๑๒) ปฏิบัติหนาที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิไดระบุใหเปนหนาที่

ของหนวยงานใดโดยเฉพาะ หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ไดรับมอบหมาย สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา

อาจมีอํานาจที่นอกเหนือไปจากท่ีกําหนดไวในวรรคหนึ่งก็ได โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

Page 29: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑20

กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑการแบงสวนราชการภายในสถานศึกษาที่จัดการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน หรือสวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่น พ.ศ. ๒๕๔๗

สถานศึกษามีการแบงสวนราชการ ดังนี้

ขอ ๒ การแบงสวนราชการภายในสถานศึกษา และสวนราชการที่เรียนชื่ออยางอื่นใหเปนไป

ตามแนวทางดังตอไปนี้

(๑) สอดคลองกบัภารกจิหลกัและรองรบัการกระจายอาํนาจการบริหารและการจัดการศกึษา

จากสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ

(๒) มคีวามเปนเอกภาพในทางการบรหิารจดัการ มคีวามยดืหยุน และพรอมตอการปรบัเปลีย่น

(๓) มีกลไกลในการประสานงานอยางทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในและภายนอก

สถานศึกษาหรือสวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่น

(๔) มุงผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจ ความคุมคา ลดขั้นตอนการบริหารงาน เพิ่มประสิทธิภาพ

และประสิทธิผลการบริหารจัดการ

(๕) คํานึงถึงความสัมพันธที่เกื้อกูลตอผลสัมฤทธิผลของคุณภาพ ระดับ และขนาดของ

สถานศกึษาหรอืสวนราชการทีเ่รยีกชือ่อยางอืน่ จาํนวนนกัเรียน ผูรับบริการ และความเหมาะสมดานอืน่

Page 30: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 21

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการควบคุมดูแลการใชรถโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๓๖

สถานศึกษาที่มีการบริการรถโรงเรียนจะตองปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

วาดวยการควบคุมดูแลการใชรถโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๓๖ ดังนี้

รถโรงเรียน หมายความวา รถที่โรงเรียนใชรับสงนักเรียน และใหหมายความรวมถึงรถที่ไดรับ

ใบอนุญาตประกอบการขนสงนําไปใชในการรับสงนักเรียน และรถที่โรงเรียนใหบุคคลภายนอก

มารับสงนักเรียนเพื่อการศึกษาตามปกติ

ขอ ๔ ผูดําเนินกิจการรถโรงเรียน มีหนาที่ดังนี้

๔.๑ ควบคุมดูแลและเอาใจใสเรื่องความปลอดภัยในการรับสงนักเรียน

๔.๒ จัดใหมีเครื่องหมายเปนแผนปายพื้นสีส มสะทอนแสง ขนาดกวางอยางนอย

๓๕ เซนติเมตร และยาวอยางนอย ๘๕ เซนติเมตร มีขอความวา “รถโรงเรียน” เปนตัวอักษรสีดํา

ความสูงไมนอยกวา ๑๕ เซนติเมตร ติดอยูที่ดานหนาและดานทายของตัวรถ ใหสามารถมองเห็น

ไดชัดเจนในระยะไมนอยกวา ๕๐ เมตร และมีชื่อโรงเรียนติดอยูดานขางทั้งสองขางของตัวรถ

พรอมทั้งหมายเลขโทรศัพท (ถามี)

๔.๓ คัดเลือกพนักงานขับรถและผู ควบคุมดูแลนักเรียนตามหลักเกณฑที่กําหนดไว

ในระเบียบนี้

Page 31: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑22

๔.๔ จัดใหมไีฟสญัญาณสเีหลอืงอาํพนัปดเปดเปนระยะ (กระพรบิ) ในขณะทีใ่ชรบัสงนกัเรยีน

ติดไวที่ดานหนาและดานทายของตัวรถ เพื่อใหผูขับรถที่สวนทางมาหรือขับตามหลัง สามารถมองเห็น

ไดชัดเจน ในระยะหางไมนอยกวา ๑๕๐ เมตร

เมื่อมิไดใชรถนั้นเปนรถโรงเรียนใหงดใชสัญญาณไฟสีเหลืองอําพันดังกลาว

๔.๕ จัดใหมีเครื่องมือเครื่องใชที่จําเปนเพื่อชวยเหลือนักเรียน เมื่อมีอุบัติเหตุหรือ

มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ดังตอไปนี้

๔.๕.๑ เครื่องดับเพลิง

รถท่ีใชในการขนสงผูโดยสารท่ีมีจํานวนที่นั่งไมเกิน ๒๐ ที่นั่ง ตองมีเครื่องดับเพลิง

อยางนอย ๑ เครื่อง รถที่ใชในการขนสงผูโดยสารที่มีจํานวนที่นั่งเกิน ๒๐ ที่นั่ง ตองมีเครื่องดับเพลิง

อยางนอย ๒ เครื่อง

เครื่องดับเพลิงตองมีขนาดพอสมควร และติดตั้งไวภายในรถในที่ที่เหมาะสมพรอมที่จะ

ใชการไดทุกขณะ

๔.๕.๒ ฆอนทุบกระจก ๑ อัน

๔.๕.๓ เหล็กชะแลง ๑ อัน

ฆอนทุบกระจก และเหล็กชะแลง ตองเก็บไวในที่ปลอดภัยและสามารถนําไปใชงานได

โดยสะดวก

๔.๖ จัดใหมีแผนปายแสดงขอความเตือนเรื่องความปลอดภัยในการโดยสาร ตามที่

กรมการขนสงทางบกประกาศกําหนด หรือตามที่กรมการขนสงทางบกใหความเห็นชอบติดไว

ภายในตัวรถตําแหนงที่สามารถมองเห็นไดงาย

๔.๗ จัดใหมีเครื่องมือปฐมพยาบาลประจํารถโรงเรียนทุกคัน

๔.๘ รายงานผลการจัดรถโรงเรียนใหโรงเรียนทราบทุกเดือน

๔.๙ รายงานใหทางโรงเรียนทราบโดยทันทีที่เกิดเหตุหรือมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น

๔.๑๐ แจงผลการตรวจสภาพรถประจําปใหโรงเรียนทราบทุกป

ขอ ๕ โรงเรียนมีหนาที่ในการกํากับดูแลการจัดรถโรงเรียน ดังนี้

๕.๑ กํากับดูแลการจัดรถโรงเรียนของผูดําเนินกิจการรถโรงเรียน

๕.๒ จัดใหมีทะเบียนรถโรงเรียน ทะเบียนประวัติของพนักงานขับรถ และผูควบคุมดูแล

นักเรียนตามแบบที่กําหนด ทายระเบียบนี้

๕.๓ รายงานผลการใชรถโรงเรียนตออธิบดีกรมเจาสังกัด หรือสวนราชการที่ควบคุมดูแล

สําหรับในเขตกรุงเทพมหานคร และรายงานตอหนวยงานตนสังกัด หรือหนวยงานที่ควบคุมดูแล

ที่ตั้งอยูในพื้นที่สําหรับจังหวัดอื่น ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง ตามแบบที่กําหนดทายระเบียบนี้

ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุใหรายงานใหทราบเปนการดวน

Page 32: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 23

ขอ ๖ พนักงานขับรถโรงเรียนมีคุณสมบัติ ดังนี้

๖.๑ มีอายุไมตํ่ากวา ๒๕ ป

๖.๒ มีใบอนุญาตขับรถยนตมาไมนอยกวา ๓ ป

๖.๓ เปนผูมีสุขภาพดี แตงกายสุภาพและมารยาทสุภาพเรียบรอย

๖.๔ มปีระวตัคิวามประพฤตดิ ีมคีวามชาํนาญ สขุมุรอบคอบ และรูเสนทางทีใ่ชรบัสงนกัเรยีน

เปนอยางดี

๖.๕ มคีวามสามารถตรวจสอบดแูลอปุกรณ เคร่ืองมอื เคร่ืองใชและสัญญาณตาง ๆ ภายในรถ

ใหอยูในสภาพที่ใชการไดตลอดเวลา

๖.๖ ไดเขารับการอบรมตามหลักเกณฑท่ีกระทรวงศึกษาธิการ หรือกรมการขนสงทางบก

หรือกรมตํารวจกําหนด

ขอ ๗ พนักงานขับรถโรงเรียนตองมีหนาที่ ดังนี้

๗.๑ ตองประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ และระเบียบ วาดวยการนั้น โดยเครงครัด

๗.๒ ตรวจสอบสภาพรถและอุปกรณตาง ๆ ใหอยูในสภาพดี และพรอมที่จะใชการได

ตลอดเวลา

๗.๓ ไมขับรถในขณะที่มีอาการมึนเมาหรือเสพสุราหรือวัตถุท่ีออกฤทธิ์ตอจิตและประสาท

ระหวางการขับรถโรงเรียน

๗.๔ รายงานใหทางโรงเรียนทราบทันทีที่เกิดเหตุหรือมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น

ขอ ๘ ผูควบคุมดูแลนักเรียนมีคุณสมบัติ ดังนี้

๘.๑ เปนครูหรือบุคคลที่มีอายุไมตํ่ากวา ๑๘ ป

๘.๒ ไดเขารับการอบรมตามหลักเกณฑท่ีกระทรวงศึกษาธิการ หรือกรมการขนสงทางบก

หรือกรมตํารวจกําหนด

๘.๓ เปนผูมีสุขภาพดี แตงกายสุภาพ และมารยาทสุภาพเรียบรอย

Page 33: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑24

ขอ ๙ ผูควบคุมดูแลนักเรียนมีหนาที่ ดังนี้

๙.๑ ตรวจสอบจาํนวนนกัเรยีนท่ีรบัสง แตละเทีย่วใหถกูตองครบถวนตรงตามรายชือ่นกัเรยีน

พรอมทั้งจัดทําบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ใชบริการตามแบบที่กําหนด ทายระเบียบนี้

๙.๒ ประจําอยูกับรถโรงเรียนตลอดเวลาที่รับสงนักเรียน เพื่อควบคุมดูแล และชวยเหลือ

นักเรียนใหเกิดความปลอดภัยตลอดการเดินทาง

๙.๓ รายงานใหทางโรงเรียนทราบทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้น

ขอ ๑๐ ใหรถโรงเรียนรับนักเรียนจากที่อยูอาศัย หรือสถานที่ที่นัดหมาย และสงมอบใหกับ

โรงเรียนในบริเวณโรงเรียน หรือสถานที่ที่ตกลงกันไว

ใหรถโรงเรียนสงนักเรียนถึงที่อยูอาศัย หรือสงมอบแกผูปกครองโดยตรง หรือสง ณ สถานที่

ที่ไดตกลงกันไว

ขอ ๑๑ ใหผูดําเนินกิจการรถโรงเรียนจัดใหมีการประกันรถยนต โดยใหมีความคุมครอง

ผูโดยสารและบุคคลที่ ๓

ขอ ๑๒ สีของรถโรงเรียนเปนสีเหลืองคาดดํา ตามแบบของกรมการขนสงทางบก

สําหรับรถโรงเรียนที่มีสีเปนอยางอื่น แตกตางจากที่กลาวตามวรรคหนึ่ง กอนวันที่ระเบียบนี้

ใชบังคับ ใหคงใชไดตอไป จนกวาจะไดมีการเปลี่ยนแปลงแกไขใหเปนไปตามระเบียบนี้ ทั้งนี้

จะตองดําเนินการ ใหเสร็จสิ้นภายใน ๔ ป นับแตวันที่ระเบียบนี้ใชบังคับ

ขอ ๑๓ เพือ่ใหเกดิความสะดวกในการตดิตอ ควรจัดใหมเีคร่ืองมอืส่ือสารประจํารถทีส่ามารถ

ติดตอกับโรงเรียน หรือผูปกครองไดในขณะที่ใชรถโรงเรียน

Page 34: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 25

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหนาที่

ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปนนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖

สถานศึกษาจะมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณ ตามระเบียบ ดังนี้

ขอ ๙ สถานศึกษาจะมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณในสวนของที่ตั้งไวสําหรับ

สถานศกึษา ตามทีไ่ดรบัการกาํหนดวงเงนิและไดรบัมอบอาํนาจจากเลขาธกิารคณะกรรมการการศกึษา

ขั้นพื้นฐาน และผูอํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามหลักเกณฑที่เลขาธิการคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด ทั้งนี้ ยกเวนงบประมาณในหมวดเงินเดือน

ขอ ๑๐ สถานศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัสดุในสวนที่อยูในความดูแล

รบัผดิชอบ หรอือยูในวงเงนิงบประมาณทีไ่ดรบัมอบตามหลักเกณฑท่ีระบใุน ขอ ๙ ท้ังนี ้ตามหลักเกณฑ

ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศกําหนด

ขอ ๑๑ การรับบริจาคเงินหรือทรัพยสินที่มีผูอุทิศใหแกสถานศึกษา ใหสถานศึกษารับบริจาค

ตามระเบียบกระทรวงการคลังวาดวยการรับเงินหรือทรัพยสินที่มีผู บริจาคใหทางราชการ และ

ตามหลักเกณฑที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศกําหนด

ขอ ๑๒ การบริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินและบัญชีของสถานศึกษาใหเปนไปตามระเบียบ

ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด

ขอ ๑๓ ใหสถานศึกษาจัดทําบัญชีแสดงรายการรับจายเงินและทรัพยสินที่มีผู อุทิศให

ตามขอ ๖ ไวเปนหลักฐานและใหสรุปรายการบัญชีทรัพยสินดังกลาวรายงานใหผู อํานวยการ

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สถานศึกษานั้นสังกัดทราบทุกสิ้นปงบประมาณ

ให ผู อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดให มีการตรวจสอบความถูกต อง

ของบญัชีทรพัยสนิดงักลาว แลวรายงานใหเลขาธกิารคณะกรรมการการศกึษาขัน้พืน้ฐานทราบโดยเรว็

ขอ ๑๔ การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ใหเปนไปตามหลักเกณฑที่กําหนดในกฎหมาย

วาดวยระเบียบขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ขอ ๑๕ เมื่อมีประกาศยุบ รวม เลิก สถานศึกษา ใหสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดใหมี

การตรวจสอบทรัพยสินและชําระบัญชี รวมทั้งดําเนินการโอนหรือจําหนายทรัพยสินที่ยังคงเหลืออยู

ตามหลักเกณฑและวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด

Page 35: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑26

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการวาดวยการจัดต้ัง รวม หรือเลิกสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน

พ.ศ. ๒๕๕๐

การรวมหรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใหดําเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

วาดวยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนี้

ขอ ๙ ใหคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาตั้งแตสองแหงขึ้นไป

เพื่อใหสถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลดีแกผูเรียน ทั้งในดาน

สิทธิโอกาส และคุณภาพการศึกษา โดยจัดเปนชั้นหรือชวงชั้น

ขอ ๑๑ ใหคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเลิกสถานศึกษา เมื่อสถานศึกษานั้น

มีลักษณะอยางใดอยางหนึ่ง ดังตอไปนี้

(๑) ไมมีนักเรียนที่จะจัดการเรียนการสอน

(๒) จํานวนนักเรียนลดลง จนไมสามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทาง

การปฏิรูปการศึกษาได

Page 36: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 27

นโยบาย นโยบายการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่ผานมา

นายอดิศัย โพธารามิก (๒๕๔๗) รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ ไดบรรยายพิเศษ

ในการประชมุชีแ้จงโครงการยกระดบัคณุภาพโรงเรยีนขนาดเลก็แกผูเขารวมประชมุซ่ึงเปนผูรบัผดิชอบ

โครงการนโยบายการพฒันาโรงเรยีนขนาดเลก็ท่ัวประเทศ จาํนวน ๑๗๕ เขตพืน้ทีก่ารศกึษา ทัว่ประเทศ

เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร กรุงเทพมหานคร ดังนี้

แนวคิดและวิธีการในการพัฒนาและยกระดับโรงเรียนขนาดเล็ก

๑. โรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งมีจํานวนนักเรียน ๑๒๐ คนลงมา จํานวน ๑๐,๘๐๐ โรงเรียน

ทั่วประเทศ เปนหนึ่งในยุทธศาสตรสูการปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการที่ตองการใหเด็กในชนบท

ยากจนไดรับโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นอยางรวดเร็ว ซึ่งการศึกษาของชาติจะทิ้งใหชนบท

ไมเติบโตไมได จึงจําเปนตองเรงการพัฒนา ฉะน้ัน ความเร็วของการเรงการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

จึงตางกันกับการพัฒนาโรงเรียนในเมืองที่จําเปนตองเรงความเร็วมากขึ้น คําวา “เรง” หมายถึง

เรงพัฒนาในทุกดาน คือ วัสดุ อุปกรณ วิธีการ งบประมาณ บุคลากร

๒. กระบวนการยกระดับโรงเรียนขนาดเล็ก จําเปนตองใชวิธีการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

และกระบวนการตาง ๆ เขาไปพัฒนา เชน การจัดวิธีการเรียนการสอนแบบใหม การจัดสิ่งอํานวย

ความสะดวกในการเรียนรู อาทิ การจัดรถโมบายคอมพิวเตอรเคลื่อนที่เขาไปชวยสอนคอมพิวเตอร

แกนักเรียน การหมุนเวียนครูเขาไปสอน การจัดอบรมครูดานภาษาอังกฤษและ ICT ซึ่งจะเปน

สวนสําคัญของการพัฒนาเครือขายครูดวยกันตอไป

Page 37: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑28

๓. สภาพของโรงเรียนขนาดเล็กมีความแตกตางกัน ดังนั้นไมควรต้ังกติกาการทํางานหรือ

คําสั่งที่ดิ้นไมไดแตควรใหผูบริหารโรงเรียนเสนอวิธีการพัฒนาการทํางานและความตองการเขามา

โดยกระทรวงศึกษาธิการเปนผูควบคุมคุณภาพของครูและนักเรียน เชน บางโรงเรียนในหองเรียนเดียว

มี ๒ ชั้นเรียน แตมีครูคนเดียวสอน ลักษณะเชนนี้ตองฟงครูผูสอนวาตองการอะไร

๔. นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กตองมีคุณภาพดีขึ้นภายในสิ้นปการศึกษา ๒๕๔๗

ดวยกระบวนการตาง ๆ ดังกลาวขางตน แตหากการพัฒนายังไดผลเหมือนเดิม และไมเปนไปตาม

เปาหมาย ก็จําเปนตองหาแนวทางตรวจสอบและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมตอไป

นายจาตุรงค ฉายแสง รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานการเสวนายุทธศาสตร

การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ ๒๕๔๙ ในการประชุมทางไกลผานดาวเทียม

พรอมกันในทุกเขตพื้นที่การศึกษา ถายทอดสดทางสถานีโทรทัศน ชอง ๑๑ ณ โรงแรมวังธารา

แอนด รีสอรท จังหวดัฉะเชงิเทรา สรปุประเดน็สาํคญัไดดงันี ้(เอกสารประกอบการประชมุผูอาํนวยการ

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ. ๒๕๔๙ : ๑-๒)

๑. นโยบาย

เนือ่งจากป ๒๕๔๙ นี ้เปนปแหงการปฏริปูการเรยีนการสอน ซึง่มเีรือ่งทีจ่ะตองดาํเนนิการ

หลายเรื่อง และโรงเรียนขนาดเล็ก เปนเรื่องหนึ่งท่ีตองดูแล เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็ก จํานวน

๑๑,๗๒๐ โรงเรียน กําลังประสบปญหาตาง ๆ เชน ครูไมครบชั้นเรียน หรือขาดแคลนครู

ขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน และอาคารทรุดโทรม โดยที่กวารอยละ ๘๐ ของโรงเรียนขนาดเล็ก

มีความขาดแคลนรุนแรง ซึ่งปญหาโรงเรียนขนาดเล็ก ถือเปนปญหาทางดานการศึกษาของคนยากจน

เปนนโยบายหนึ่งของรัฐบาลในการแกปญหาความยากจน โดยมุ งประเด็นวาจะใหการศึกษา

มาชวยแกปญหาความยากจนอยางไร

๒. ปญหา และแนวทางการแกปญหา

โรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญอยูในชุมชนที่หางไกลและยากจน จะมีปญหาความขาดแคลน

ที่แตกตางกันหลายรูปแบบ และตองการการดูแลดานงบประมาณ การแกปญหาโรงเรียนขนาดเล็ก

ซึ่งจะตองแกปญหา ทั้งความขาดแคลนและรูปแบบการบริหารจัดการ ซึ่งมีวิธีการหลากหลาย

การยุบเลิกโรงเรียนเปนวิธีหนึ่งในการแกปญหาดานงบประมาณ ซึ่งจะตองดูบริบทตาง ๆ

ของโรงเรียนดวย เชน ไมมีนักเรียนแลว และไดวางแผนยุบเลิกที่ชุมชนเห็นดวยแลว หรือมี

จํานวนนักเรียนนอย และมีโรงเรียนขนาดเดียวกันที่ตั้งอยูใกลเคียง นักเรียนสามารถเดินทางไปเรียนได

การยุบเลิกก็เปนความจําเปน เพื่อประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน และ

การบริหารจัดการทรัพยากร

Page 38: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 29

สําหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่ไมสามารถยุบเลิกไดแมจะมีจํานวนนักเรียนนอย เนื่องจาก

อยู ในที่หางไกล ทุรกันดาร และไมมีโรงเรียนในพื้นที่ใกลเคียง ตองมีการแกปญหาและพัฒนา

เพื่อโอกาสทางการศึกษาของนักเรียน โดยมีแนวทางดังนี้

๒.๑ ใหการดูแลเปนพิเศษ โดยเติมเต็มในสวนที่ขาดแคลน ดังนี้

๒.๑.๑ จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเปนทุนสํารองในการพัฒนาคุณภาพ

๒.๑.๒ ดูแลเรื่องอาคารสถานที่ใหเพียงพอ

๒.๑.๓ จัดสื่อการเรียนการสอน พรอมเทคโนโลยีสมัยใหม

๒.๑.๔ จัดสรรครู และจัดอบรมใหครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

ชวงช้ันไดโดยใชสื่อ ICT และการจัดการเรียนการสอนทางไกลผานดาวเทียม สนับสนุน และพัฒนา

ครูเกง ๆ เพื่อชวยเผยแพรความรูดวย

๒.๑.๕ จัดสรรอัตรากําลังภารโรงและครูสนับสนุนการสอน

๒.๑.๖ ประสานสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการกําหนดใหสถาบัน

ท่ีผลิตครูสงนักศึกษามาชวยฝกสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อใหผู ที่จะไปประกอบอาชีพครู

มีประสบการณการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กสวนใหญมีสภาพการจัด

การเรยีนการสอนทีย่าก และตองมกีารพฒันาเปนศาสตร ทัง้นีอ้าจใหสอนในโรงเรยีนทีม่คีวามพรอมกอน

๒.๑.๗ ใหครูในโรงเรียนขนาดเล็กมีโอกาสไดรับการพัฒนาและความกาวหนา

เปนพิเศษโดยเฉพาะการพัฒนาความรูเกี่ยวกับ e-learning ซึ่งมีคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อและ

บทเรียนอิเล็กทรอนิกส ในโครงการ Mega Project ที่ดูแลเรื่องการผลิตโปรแกรมการเรียนการสอน

ตาง ๆ ใหครูและนักเรียนศึกษาคนควาไดดวยตนเอง

๒.๑.๘ ทบทวนนโยบายการประหยัดสาธารณูปโภค เนื่องจากสวนทางกับ

การสนับสนุนใหใชคอมพิวเตอรเพื่อการเรียนการสอน

๒.๑.๙ รวมมือกับสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

(องคการมหาชน) โดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องคการมหาชน)

ใหความสนับสนุน ดังนี้

๑) กําหนดเกณฑการประเมินเพ่ือเนนการพัฒนาครู โดยเพ่ิมคะแนน

ในสวนของการพัฒนาใหมากขึ้น และใหรางวัลเพื่อเปนขวัญกําลังใจ การเรียนการสอน ใหผูเชี่ยวชาญ

รวมกับโรงเรียนขนาดเล็กในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยเลือกโรงเรียนตนแบบขนาดเล็ก

มารับการอบรมพัฒนาแนวใหม เป นการรวมศูนย วิชาการ พร อมทั้งทําความเข าใจและ

ขอความรวมมือจากชุมชนดวย และสงเสริมใหมีการแลกเปลี่ยนเรียนรูกันมากขึ้นระหวางโรงเรียน

ขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป กับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพ

Page 39: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑30

๒) รณรงคขอความสนับสนุนงบประมาณจากเอกชนในโครงการนํารอง

พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก จํานวน ๔๐๐ โรงเรียน ๆ ละ ๔๐๐,๐๐๐ บาท

๒.๒ สรางเครือขายเพื่อใหเกิดการพัฒนาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู โดยชวยเหลือ

แบงปนกันในเรื่องทรัพยากร อาคารสถานท่ี สื่อ วัสดุ และอุปกรณ ฯลฯ และแลกเปลี่ยนความรูกัน

ในเรื่องนวัตกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนที่ไดทดลองแลวเห็นวาเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

หรือเปนการแลกเปลี่ยนความรูจากทั่วโลก โดยการใชอินเทอรเน็ต

๒.๓ การพัฒนาใชสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม ดังนี้

๒.๓.๑ ใช เทคโนโลยีสารสนเทศ เช น การศึกษาทางไกลผ านดาวเทียม

หนวยคอมพิวเตอรเคลื่อนที่ (Mobile Unit)

๒.๓.๒ ใชเทคโนโลยีการบริหารจัดการ เปนการพัฒนากลุมโรงเรียนขนาดเล็ก

ซึ่งแบงเปนโรงเรียนที่พรอมเปนแกนนํา โรงเรียนพรอมแกปญหาตนเองได โรงเรียนที่ไมสามารถ

ชวยตนเองได โรงเรียนที่สมควรยุบเลิก และโรงเรียนในพื้นที่พิเศษ โดยวิธีรวมกลุมโรงเรียน ๒–๓ โรง

ทีม่คีวามสะดวกในการเดนิทางไปเรยีนรวมกนั หรอืใหครเูดนิทางไปสอน ซึง่อาจสรางสรรครปูแบบอืน่ ๆ

จากประสบการณใหเหมาะสมกับพื้นที่

๓. แผนการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก

ไดมอบหลกัการใหสาํนกังานเขตพืน้ทีก่ารศกึษาทัว่ประเทศจดัทาํแผนการพฒันาการศกึษา

โรงเรียนขนาดเล็ก พรอมทั้งจัดสงใหสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

๓.๑ แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กเปนรายโรง ที่ประกอบดวยกระบวนการ

จัดการในรูปแบบตาง ๆ เพื่อดําเนินการรวมกับโครงการนํารองของ สํานักงานรับรองมาตรฐาน

และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และกระทรวงศึกษาธิการ

๓.๒ แผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในระดับเขต โดยไมตองลงรายละเอียด

รายโรงเพื่อใหเห็นภาพรวมความขาดแคลนครู และจะหมุนเวียนครูอยางไร รวมทั้งการแกไขปญหา

ดานตาง ๆ

ดร.วิจิตร ศรีสอาน รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ (ป ๒๕๔๙-๒๕๕๑) ไดเสนอ

ยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจํานวนนักเรียน ๑๒๐ คนลงมา หรือคิดเปนรอยละ ๔๐

ของจํานวนโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เขาสูการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อของบประมาณ ๒,๗๐๐ ลานบาท

ทําโครงการระยะ ๓ ป (๒๕๕๑-๒๕๕๓) ยกระดับโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมดนี้ใหมีคุณภาพ โดยปจจุบัน

โรงเรียนขนาดเล็กเกือบทุกแหงมีปญหาเกี่ยวกับการบริหารการจัดการเรียนการสอนใหมีคุณภาพ

งบประมาณ ขณะที่การมีสวนรวมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนก็มีปญหา สงผลตอประสิทธิภาพ

Page 40: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 31

และคุณภาพการศึกษา แตโรงเรียนสามารถยุบได เพราะตองการใหมีโรงเรียนกระจายอยูตาม

พื้นที่ตาง ๆ เด็กในพื้นที่หางไกลจะไดไมตองเดินทางไกลเพ่ือไปเรียน ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ

ควรเสนอใหคณะรัฐมนตรีเขาใจวา มีความจําเปนสรางยุทธศาสตรสําหรับเรงพัฒนาคุณภาพ

ของโรงเรียนขนาดเล็กที่ไมสามารถยุบได รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ กลาวดวยวา

พรอมสรางความเขมแข็งของโรงเรียน สงเสริมการมีสวนรวมกับทุกภาคสวนในการพัฒนาโรงเรียน

โดยเฉพาะสงเสรมิความรวมมอืกบัองคกรปกครองสวนทองถิน่ เพราะการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กนัน้

หากอาศัยเพียงแคกําลังของกระทรวงศึกษาธิการฝายเดียวอาจทําไมสําเร็จ อยางไรก็ตาม

เมื่อครบ ๓ ป แลวจะมีการประเมินคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขนาดเล็ก

ดีขึ้นหรือไม การประเมินจะใชการประเมินของสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ

การศึกษา (องคการมหาชน) (สมศ.) มาเปนตัวเทียบเคียง และการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก

ประหยัดขึ้นบางหรือไม เพราะปจจุบันคาใชจายรายหัวของโรงเรียนขนาดเล็กสูงกวาขนาดอื่น ๆ

จากคาใชจายรายหัวตามปกติ รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ กลาว

นายจุรินทร ลักษณวิศิษฏ รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ เปดเผยภายหลังการประชุม

คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ วา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่

กระทรวงศึกษาธิการ เสนอใหเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวใหกับนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กระดับ

ประถมศึกษาที่มีนักเรียน ๑๒๐ คนลงมา และโรงเรียนมัธยมศึกษา ท่ีมีนักเรียน ๓๐๐ คนลงมา

จํานวน ๔๓๗ แหง เพราะกอนหนานี้ไดศึกษาวิจัย พบวา การเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวใหกับเด็ก

โดยเพิ่มประถมอีก ๕๐๐ บาท เปน ๒,๔๐๐ บาท

นายชนิวรณ บณุยเกยีรต ิรฐัมนตรวีาการกระทรวงศกึษาธกิาร (สํานกันโยบายและยทุธศาสตร

สป.ศธ. : ๒๕๕๓) ไดกําหนดนโยบายการพัฒนาการศึกษา โดยจัดตั้ง “โรงเรียนดีประจําตําบล”

นํารองเขตพื้นที่ การศึกษาละ ๑ โรงเรียน ๑ ตําบล โดยคัดโรงเรียนในกํากับของชุมชน ใหมีชุมชน

สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา องคกรปกครองสวนทองถิ่น หลังจากนั้นจัดทํา MOU รวมกันระหวาง

กระทรวงศึกษาธกิารกับนายกเทศมนตร ีโดยมใีหนายกรฐัมนตรเีปนประธาน เพื่อรวมกนัจัดการศึกษา

ตอบสนองตอยุทธศาสตรในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก และยุทธศาสตร

ในการลดภาระความรับผิดชอบคาใชจายของผูปกครอง

นายวรวัจน เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) (หนังสือพิมพมติชน)

เปดเผยวา ไดมอบนโยบายใหสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หามยุบเลิก

โรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อใหเด็กตางจังหวัดมีที่เรียนใกลบาน เพราะผูปกครองเองก็คงไมอยากใหลูก

จากบานไปเรียนท่ีอื่น อยางไรก็ตาม หากโรงเรียนใดมีนักเรียนนอยก็ใหแกปญหาเปนจุด ๆ ไป

เพราะแตละพื้นที่ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะไมยุบรวม หรือยุบเลิกโรงเรียน

Page 41: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑32

ขนาดเล็ก เพราะโรงเรียนขนาดเล็กเปนจุดเชื่อมโยงที่สําคัญของชุมชน จึงไดมอบหมายใหสํานักงาน

เขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ไปวางแผนบริหารจัดการโรงเรียนใหเกิดประสิทธิภาพ โดยจะเปดรับฟง

ความคิดเห็นจากกลุมสภาการศึกษาทางเลือก และผูเกี่ยวของวาจะมีขอเสนอแนะอยางไร เพ่ือนําไป

ปรับปรุงการสอนของโรงเรียนขนาดเล็กใหมีประสิทธิภาพ โดยจะตองใหชุมชนเขามามีสวนรวมในการ

แกปญหาดังกลาวดวย การยุบรวมหรือยุบเลิก คงไมใชวิธีเดียวในการแกปญหา เพราะแมจะเปน

โรงเรียนขนาดเล็ก แตถือเปนองคประกอบที่สําคัญในชุมชนถายุบเลิกก็จะเปนศูนยกลางในการเชื่อม

ความสัมพันธ สวนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู อยางจํากัดนั้น จะมอบหมายใหเขตพื้นที่

การศึกษาไปหาวิธี โดยอาจจะใหโรงเรียนในเขตพื้นที่ใกลกัน มาจัดการเรียนการสอนในชวงชั้นเดียว

กันได สวนสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะสนับสนุนงบประมาณในสวนคาเดินทาง

หากนักเรียนตองไปเรียนท่ีอื่นความสะดวกและดูแลเรื่องความปลอดภัย ที่ผานมานโยบายยุบรวม

และยบุเลกิโรงเรยีนขนาดเลก็ พุงเปาไปทีก่ลุมโรงเรยีนขนาดเลก็ทีม่นีกัเรยีน ๔๐ คนลงมา เปนอนัดบัแรก

โรงเรียนกลุมนี้มีประมาณ ๒,๕๐๐ โรง ขอมูลลาสุดของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พบวาโรงเรียนที่ยังคงตั้งอยูแตไมมีนักเรียน ๑๓๗ โรงเรียน มีนักเรียน ๑-๒๐ คน ๔๔๔ โรง มีนักเรียน

๒๑-๔๐ คน ๑,๙๖๗ โรง มีนักเรียน ๔๑-๖๐ คน ๓,๐๘๒ โรง มีนักเรียน ๖๑-๘๐ คน ๓,๓๕๕ โรง

มีนักเรียน ๘๑-๑๐๐ คน ๓,๐๔๐ โรง มีนักเรียน ๑๐๑-๑๒๐ คน ๒,๓๗๒ โรง รวม ๑๔,๓๙๗ โรง

ศาสตราจารยสุชาติ ธาดาธํารงเวช รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ ไดมีการประชุม

ทางไกล (Video Conference) กบัผูบรหิารสาํนักงานเขตพืน้ทีก่ารศกึษาทัว่ประเทศ เรือ่ง มอบนโยบาย

การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ ๒๕๕๕ ณ หองประชุมศูนยปฏิบัติการ

DOC อาคาร สพฐ. ๕ ชั้น ๙ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มติชนรายวัน ฉบับวันที่

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕ ปที่ ๓๕ ฉบับที่ ๑๒๓๗๔) ตองการใหโรงเรียนขนาดเล็กจัดการศึกษา

เพื่อใหนักเรียนมีอนาคต ไมไดตองการยุบโรงเรียน เพียงแตเสนอแนะใหไปรวมหารือถึงแนวทาง

การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กใหมีคุณภาพ เพื่อตองการเนนใหสามารถจัดการเรียนการสอนใหกับ

นักเรียนอยางเต็มที่และมีคุณภาพ ซึ่งตองทําความเขาใจครูผูสอน รวมทั้งผูปกครอง และชุมชนดวย

กรณีตัวอยาง แกงจันทรโมเดล ซึ่งเปนตัวอยางของความสําเร็จในการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก

ในจังหวัดเลย จํานวน ๔ แหง ไวดวยกัน มีนักเรียนเพียง ๑๒๐ คน โดยแกงจันทรโมเดล (Kangjan

Model) เริ่มจากผูอํานวยการโรงเรียนบานปากมั่งหวยทับชาง ผูอํานวยการบานนาโม ผูอํานวยการ

โรงเรียนบานหาดคัมภีร และผูอํานวยการโรงเรียนบานคกเวา จังหวัดเลย รวมกับรองผูอํานวยการ

สาํนกังาน เขตพืน้ท่ีการศกึษาประถมศกึษาเลย เขต ๑ ประชมุหารอืเพือ่พฒันาการจดัการศกึษาในอนาคต

ของโรงเรยีนขนาดเลก็ จากนัน้ไดเชญิผูมสีวนไดสวนเสียมารับทราบ รวมแลกเปล่ียนเกีย่วกบัปญหาและ

แนวทางการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง ๔ แหง รวมทั้งไดทําความเขาใจกับผูปกครอง

Page 42: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 33

ดวยการจัดประชุมชี้แจงถึงแนวทางการพัฒนา ซึ่งผูปกครองก็ใหการตอบรับเปนอยางดี จึงไดจัดทํา

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใชช่ือโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก

ในตําบลหาดคัมภีร เครือขายแกงจันทร ซึ่งไดใชรูปแบบรวมกันเปนเครือขาย ไดแก โรงเรียนบานนาโม

สอนช้ันอนุบาล ๑-๒ รวมเปน ๑ หองเรียน และชั้นประถมศึกษาปที่ ๑-๒ จํานวน ๒ หองเรียน

โรงเรยีนบานปากมัง่หวยทบัชาง สอนชัน้อนบุาล ๑-๒ รวมเปน ๑ หองเรียน และชัน้ประถมศกึษาปที ่๔

จํานวน ๑ หองเรียน โรงเรียนบานหาดคัมภีร สอนชั้นประถมศึกษาปที่ ๕-๖ จํานวน ๒ หองเรียน

และโรงเรียนบานคกเวา สอนชั้นอนุบาล ๑-๒ จํานวน ๑ หองเรียน และชั้นประถมศึกษาปที่ ๓

จํานวน ๑ หองเรียน สําหรับกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้ง ๔ โรงเรียน ไดดําเนินการรวมกัน

ในทุกเรื่องไมวาจะเปนหลักสูตร กิจกรรมพัฒนาการเรียน กิจกรรมวิชาการ และกิจกรรมผูกเสี่ยว

รวมทั้งการพัฒนาครูร วมกันดวย เชน การอบรมครู การศึกษาดูงาน การประชุมวิชาการ

รวมกันเดือนละ ๒ ครั้ง และการรวมบริหารงานสนับสนุนอื่น ๆ ทั้งงานวิชาการ งานบริหารบุคคล

งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป และกรณีตัวอยาง โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัด

นครสวรรค ไดมีการควบรวม ๓ โรงเรียน มารวมพัฒนาจนผานเกณฑมาตรฐานทั้ง ๓ โรงเรียน

จนถึงขณะนี้โรงเรียนท้ัง ๓ โรงเรียน ก็ยังไม มีโรงเรียนใดถูกยุบ ในขณเดียวกันประชาชน

ไดรับความพึงพอใจและมีความศรัทธาตอผู บริหารและครูมากขึ้น ในการควบรวมโรงเรียน

อาจจะขอรับงบประมาณสนับสนุนในการซื้อรถยนต หรือจะนํางบประมาณที่ไดรับการสนับสนุน

จากองคการบริหารสวนตําบล มาซื้อรถยนตปรับอากาศ ๑๖ ที่นั่ง พรอมทั้งมีโทรทัศน เพื่อใหบริการ

รับ-สงนักเรียน/ครู ท้ังยังสามารถท่ีจะใชรถยนตในการรับ-สงนักเรียนและครูไปทัศนศึกษา

ในชวงวันหยุดไดดวย หากโรงเรียนใดที่ยังไมสามารถจะควบรวมได เชน โรงเรียนบนดอย

หรืออยู ในพื้นที่ห างไกล อาจจะเนนการเรียนการสอนทางไกลผานดาวเทียม หรือเรียนจาก

คอมพิวเตอรแท็บเล็ตมากขึ้น พรอมทั้งใหผู ปกครอง ชุมชน และองคกรปกครองสวนทองถ่ิน

เขาไปมีสวนรวมในการจัดการศึกษามากขึ้น

ตอมา ศาสตราจารยสุชาติ ธาดาธํารงเวช ไดใหสัมภาษณผูสื่อขาว วาเดินหนายุบโรงเรียน

ขนาดเลก็ สงักดัสาํนกังานคณะกรรมการการศกึษาขัน้พืน้ฐาน กวา ๑ หมืน่โรง จาก ๓ หมืน่แหงทัว่ประเทศ

เหตุนักเรียนมีนอย พรอมยายนักเรียนไปเรียนโรงเรียนใกลเคียงแทน ดานเลขาธิการคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน ช้ีปญหาโรงเรียนขนาดเล็กตองมองหลายมิติ โดยเฉพาะดานสังคม อยามองแค

มิติเศรษฐศาสตรที่มุงแคตนทุนบริหารจัดการ (หนังสือพิมพมิติชนรายวัน)

ศาสตราจารยสชุาต ิธาดาธาํรงเวช รฐัมนตรวีาการกระทรวงศกึษาธกิาร (ศธ.) กลาวถงึนโยบาย

ที่ต องการถายโอนโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน

Page 43: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑34

ที่มีอยูกวา ๑๐,๐๐๐ โรง ใหองคกรปกครองสวนทองถิ่น (อปท.) วา แนวทางดังกลาวไมใชหมายถึงวา

จะใหยบุโรงเรยีนทัง้ ๑๐,๐๐๐ โรง แตเนือ่งจากขณะนีพ้บวา มโีรงเรยีนขนาดเลก็ ๒๐ โรง ทีไ่มมไีฟฟาใช

และอีก ๒,๐๐๐ โรง ที่มีนักเรียนตํ่ากวา ๑๐ คน ดังนั้น จึงมอบใหสํานักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐานไปจัดทําหลักเกณฑที่เหมาะสม โดยใหหารือกับองคกรปกครองสวนทองถ่ิน และครู

วาจะทําเชนไรที่จะพัฒนาการเรียนการสอนของเด็ก เชน โรงเรียนไมมีไฟฟา แตใกลบาน แตเด็ก

อาจไมมีอนาคต แตถาใหเด็กไปเรียนโรงเรียนไกลบาน แตมีเคร่ืองมืออุปกรณการเรียน คอมพิวเตอร

จะดีกวาหรือไม แลวไดการศึกษาที่มีคุณภาพ อันนี้ก็ใหไปหารือกัน (หนังสือพิมพแนวหนา วันท่ี

๒๖ มกราคม ๒๕๕๕)

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (กพฐ.) กลาววา

ที่ประชุมผูบริหารระดับสูงของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไดหารือกรณี

ศาสตราจารยสุชาติ ธาดาธํารงเวช มีความเห็นวาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีมากกวา ๑๐,๐๐๐ แหง นาจะมีปญหาเชิงประสิทธิภาพและคุณภาพ

จงึมอบใหสาํนักงานคณะกรรมการการศกึษาขัน้พืน้ฐานไปหาแนวทางบรหิารจดัการโรงเรยีนขนาดเลก็

ใหเกิดประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีการยุบรวม หรือยกเลิกโรงเรียนขนาดเล็กนั้น

เปนวิธีการที่เคยเสนอมาแลว ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานไดหารือกับ

สภาการศึกษาทางเลือก และเขตพื้นที่การศึกษา ทําใหมีขอมูลและมุมมองที่เปนมิติทางสังคมมากขึ้น

ดังนั้น เรื่องโรงเรียนขนาดเล็กจึงเปนเรื่องท่ีตองมองจากหลายมิติ หากมองดานเศรษฐศาสตร

จะหมายถงึประสทิธภิาพ หรอืทุนการบรหิารจดัการ แตหากมองในมติขิองสงัคม ถอืวาโรงเรยีนขนาดเลก็

มีบทบาทสําคัญที่เกี่ยวของกับชุมชน บาน และวัดอยางมาก ซึ่งถือเปนโครงสรางพื้นฐานที่มีมา

แตกอนแลว

นายพงศเทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ ไดมอบนโยบายดานการ

จัดการศึกษาโดยใหความสําคัญอันดับแรก เรื่อง เรงคุณภาพการศึกษา โดย การปฏิรูปหลักสูตร

การศึกษาทุกระดับ การผลิตกําลังคนใหตรงกับความตองการของประเทศ เนนการผลิตคนดานอาชีวะ

วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เนนความรูคู คุณธรรม ระเบียบวินัย ใหมีการพัฒนาครูโดยเฉพาะ

ครทูีส่อนไมตรงวฒุ ินอกจากนีใ้หเนนการเรงรดัพฒันาคณุภาพของโรงเรยีน โดยเฉพาะเรือ่งการบรหิาร

จัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ไมเนนยุบเลิกโรงเรียน แตใหเนนนวัตกรรม การเคล่ือนยายนักเรียน

ทํา School Mapping แลวจัดทําแผนการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน

จากประเด็นการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก นายพงศเทพ เทพกาญจนา รองนายก

รัฐมนตรี และรัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ ไดใหสัมภาษณหนังสือพิมพ คม ชัด ลึก เมื่อวันที่

๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ถึงนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศวา “สําหรับโรงเรียนที่มีปญหา ก็คือ

โรงเรียนขนาดเล็กท่ีมีนักเรียนตํ่ากวา ๖๐ คน และบางแหงมีเพียง ๒๐ คน ซ่ึงคุณภาพการศึกษา

ของโรงเรียนเหลานี้ เมื่อเทียบกับมาตรฐานกลางของประเทศถือวาตํ่า อีกทั้งปริมาณครูก็มีนอย

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

Page 44: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 35แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 35

เมื่อเทียบกับจํานวนนักเรียน หมายความวาครูหนึ่งคนจะตองสอนหลายชั้นเรียนพรอมกัน อีกท้ัง

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไมสามารถจัดหาอุปกรณการเรียนการสอนใหโรงเรียนเหลาน้ีได

เรื่องดังกลาวขณะนี้อยู ในข้ันตอนการสํารวจ ซึ่งมีโรงเรียนเล็กที่เขาขายอยู หลายพันโรงเรียน”

นายพงศเทพ กลาวตอวา “สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติ คือ การควบรวมโรงเรียนโดยใหโรงเรียน

ขนาดเล็กตาง ๆ ที่เคยจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นชั้นประถมศึกษาปที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษา

ปที่ ๖ โดยแบงใหบางโรงเรียนจัดชั้นเรียนเพียงแคชั้นประถมศึกษาปท่ี ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปท่ี ๒

และในบางโรงเรียน แคชั้นประถมศึกษาปที่ ๓ ถึงชั้นประถมศึกษาปที่ ๔ หรือชั้นประถมศึกษาปที่ ๕

ถึงชั้นประถมศึกษาปที่ ๖ สวนบางโรงเรียนที่คอนขางทรุดโทรมก็สามารถยุบเลยไดโดยเปลี่ยนใหเปน

การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) หรือใชประโยชนอยางอื่น อยางไรก็ตามจะมีการใชระบบรับสงนักเรียน

ไปยังโรงเรียนโดยผู ปกครองจะไมเสียคาใชจาย แตคุณภาพการศึกษาจะดีขึ้น” นายพงศเทพ

กลาวเพิ่มเติมวา “สวนพื้นที่ใดที่เห็นวา การรับสงนักเรียนเปนไปดวยความยากลําบาก ก็อาจพิจารณา

เปนกรณีวาอาจไมตองยุบ นอกจากนี้ยังเปนผลดีตอบุคลากรทางการศึกษา เพราะจากเดิมครูหนึ่งคน

ท่ีเคยสอนนักเรียน ๖ ชั้นเรียน เมื่อมีการยุบรวม ก็จะไดสอนเพียง ๑-๒ ชั้นเรียน ถือเปนประโยชน

แกบุคลากรเหลานี้ สวนโรงเรียนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใตนั้น ตองดูเปนกรณีพิเศษไป”

“สิง่ทีเ่ราเปนหวงกค็อืคณุภาพการศกึษาของเดก็ในโรงเรยีนขนาดเลก็ เพราะโดยเฉลีย่คณุภาพ

ตํ่ากวามาตรฐานมาก การที่จะยกระดับไดนั้นตองปรับใหโรงเรียนตาง ๆ มีความพรอมมากกวานี้

การควบรวมจะทาํใหความพรอมของโรงเรยีนมมีากขึน้ สวนความปลอดภยัเรือ่งการเดนิทางเราจะดแูล

ใหดีที่สุด” นายพงศเทพ กลาว

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 35

Page 45: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑36 แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑36

นอกจากนั้น นายพงศเทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว าการ

กระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงในรายการรัฐบาลยิ่งลักษณพบประชาชน วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ถึงเหตุผลในการยุบโรงเรียน ขนาดเล็กท่ีมีนักเรียนตํ่ากวา ๖๐ คน ทั่วประเทศวา ความหมายของ

การยุบโรงเรียน คือ ยุบรวมกับควบรวม ไมใชยุบโรงเรียนไปเลย เพราะสุดทายเด็กยังมีท่ีเรียน

ครูมีงานทํา ไมไดรับผลกระทบ เหตุที่ตองยุบหรือควบรวมโรงเรียนไดพิจารณาจากคุณภาพการศึกษา

เทียบคาเฉล่ียทั้งประเทศท่ีตํ่ากวาควรจะเปน ครูตองแบงเวลาสอน แตละชั้นเรียน ไมเหมือนครู

ในโรงเรียนขนาดใหญ และเมื่อรัฐบาลใหเงินรายหัวแตละโรงเรียน นักเรียนมีจํานวนนอยเงิน

ก็นอยตาม ซึ่งไมสามารถนําไปพัฒนาโรงเรียนได สวนกรณีโรงเรียนที่มีการรวมกันมีคุณภาพดีอยูแลว

ก็จะเขาสงเสริม และที่ผานมามีการยุบควบรวมไปแลว หรือ ๒๐ ปที่ผานมา ควบรวมไปแลว

๓ พันกวาแหง ทั้งนี้การยุบโรงเรียนตองไดรับความเห็นชอบจากประชาชนในพื้นที่ รวมถึง มีการหารือ

กับผูปกครองและผูอํานวยการโรงเรียน ที่ตองเห็นดวยกับนโยบายดังกลาว โดยในการพิจารณายุบ

ทางผูอํานวยการโรงเรียน ผูอํานวยการสํานักงานเขตการศึกษาตองไปสํารวจขอมูล อยางไรก็ตาม

จะมีการจัดระบบขนสง รวมทั้งจัดหาซื้อรถจักรยานใหกับผูปกครองที่รองขอ เพื่ออํานวยความสะดวก

ในการเดินทางไปศึกษายังโรงเรียนใหมที่ทําการยายไปดวย นายพงศเทพ เทพกาญจนา ยืนยันวา

โรงเรยีนขนาดเลก็ไมวาเลก็ขนาดไหน ถาจดัการการศกึษาไดดี กใ็หอยูและใหการสนบัสนนุ แตทีจ่ะยบุ

หรือควบรวมคือโรงเรียนขนาดเล็กและไมมีคุณภาพ สวนงบประมาณ เชน เรื่องแท็บเล็ต ก็เพื่อใหเด็ก

มีความคุนเคย เปนเครื่องมือปกติในชีวิต คนรุนใหมในอนาคตตองคุนเคยกับการใชเครื่องมือเหลานี้

เด็กในชนบทหางไกลไมถูกจํากัดในหนังสือเทาที่มีเทานั้น แตเปนการยกระดับความเทาเทียม

ทางการศึกษา

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑36

Page 46: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 37

นายอภชิาต ิจรีะวฒุ ิเลขาธกิารคณะกรรมการการศกึษาขัน้พืน้ฐาน ไดใหสมัภาษณหนงัสอืพมิพ

สยามรัฐ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ ภายหลังการเขารับตําแหนงเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน วันแรก วา ในสวนของโรงเรียนนั้นมีหลายขนาด ต้ังแตเล็กจ๋ิวไปจนถึงใหญพิเศษ

บางแหงมีครูเพียง ๑-๒ คน แตก็ตองทํากิจกรรมแผนงานโครงการเหมือนกับโรงเรียนใหญ

ซึ่งไมเปนธรรม โดยจะตองมาคลี่ดูโครงการเพื่อทําใหชัดวาโครงการใดไมจําเปนสําหรับโรงเรียน

บางประเภทก็ตองตัดออกไป ไมไดหมายความวาโรงเรียนทั้ง ๓๐,๐๐๐ กวาแหง จะตองทําแผนงาน/

โครงการเหมือนกันทั้งหมด อาจจะเหมือนกันแค ๑๐ แผนงาน/โครงการ สวนโครงการอื่น ๆ ก็มาดู

ตามกําลังความจําเปน โครงการแบบปูพรมท่ีเคยทํา ก็นาจะรวบพรมไดแลว เพื่อใหครูมีเวลา

จัดการเรียนการสอนใหนักเรียนมากขึ้น ใหเด็กไดเรียนรู อานออกเขียนไดมากขึ้น เพราะการอานออก

เขียนไดจะเปนเครื่องหมายในการเรียนการสอนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก

นายกมล รอดคลาย เลขาธกิารคณะกรรมการการศกึษาขัน้พืน้ฐาน ไดใหสมัภาษณหนงัสอืพมิพ

เดลินิวส เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ วา จะไมมีการยุบโรงเรียนขนาดเล็กอีกตอไป แตมีนโยบาย

สงเสริมโรงเรียนขนาดเล็กท่ีจัดการเรียนการสอนอยางมีคุณภาพ จึงจะคัดเลือกโรงเรียนขนาดเล็ก

ที่มีวิธีปฏิบัติเปนเลิศ ประจําป พ.ศ. ๒๕๕๗ เพ่ือยกยองและประกาศเกียรติคุณโรงเรียนขนาดเล็ก

ที่มีวิธีปฏิบัติที่ เปนเลิศและประสบผลสําเร็จในการพัฒนาโรงเรียนแบบมีสวนรวมของชุมชน

Page 47: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑38

สงเสริมขวัญกําลังใจใหโรงเรียนขนาดเล็กที่ปฏิบัติงานสําเร็จมีผลเปนที่ประจักษ และเพื่อใหโรงเรียน

เหลานี้เปนตนแบบนํารองในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กอื่น ๆ ใหเปนโรงเรียนของชุมชนอยางยั่งยืน

เพื่อรับรางวัล ๓ ประเภท ดังน้ี ๑. รางวัล ๑๐ สุดยอดโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติเปนเลิศ (Top Ten)

จํานวน ๑๐ รางวัล ๒. รางวัลระดับภูมิภาค ๕ ภูมิภาค (ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคใต และภาคเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต) จํานวน ๑๘๒ รางวัล และ

๓. รางวัลระดับโซนของ ๕ ภูมิภาค จํานวน ๓๖๔ รางวัล ทั้งนี้ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐานจะประกาศรายชื่อโรงเรียนขนาดเล็กที่ไดรับรางวัลในแตละประเภทภายในเดือนมกราคม

๒๕๕๘ โดยโรงเรียนจะไดรับมอบโล เกียรติบัตร ชุดความรู และเงินรางวัล

พลเรือเอกณรงค พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ กลาวถึงกรณีที่

สมเดจ็พระเทพรตันราชสดุา ฯ สยามบรมราชกมุาร ีทรงมพีระราชดํารสัตอนหนึง่ในโอกาสทรงบรรยาย

พิเศษ เรื่อง “อดีต เพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ” วามีเด็กขาดโอกาสทางการศึกษา

เพราะไมมีโรงเรียนใกลบาน และที่ผานมาจะแกปญหาดวยระบบไอซีที การเรียนการสอนทางไกล

ผานดาวเทียม ศูนยการเรียนชุมชน ซึ่งไมแนใจวาจะไดผลมากนอยแคไหน แตเมื่อถามเด็กวา

ทําไมไดคะแนนไมดี เด็กก็ตอบวาจะเอาอะไรกับหนูเพราะหนูเรียนกับทีวี วากระทรวงศึกษาธิการ

และรัฐบาลไมไดเนนสงเสริมการเรียนการสอนทางไกลผานดาวเทียมเพียงอยางเดียว แตตอง

นําการเรียนการสอนทางไกลผานดาวเทียมไปใชอุดชองวางในโรงเรียนขนาดเล็ก หรือโรงเรียนพื้นที่

ไมมีครูคณิตศาสตร หรือครูอังกฤษท่ีมาทําการสอนโดยตรงก็จะไดครูจากโครงการการศึกษาทางไกล

ผานดาวเทียมโรงเรียนวังไกลกังวลมาทดแทน แตไมใชใหเรียนผานจอตูอยางเดียว เปนการนําไป

ทดแทนไปเสรมิในสวนทีข่าดเพือ่ใหเดก็ไดรบัการจัดการศกึษาอยางครบถวนโดยกระทรวงศกึษาธกิาร

ยังพยายามแกปญหาเนนการกระจายครูใหครบตามความตองการ

พลเรอืเอกณรงค พพิฒันาศยั รฐัมนตรวีาการกระทรวงศกึษาธกิาร กลาวตอไปวา สวนปญหา

นักเรียนขาดโอกาส เพราะไมมีโรงเรียนใกลบานนั้นยืนยันวา กระทรวงศึกษาธิการไมมีนโยบายในการ

ยบุโรงเรยีนขนาดเลก็ สวนแนวทางแกปญหาคงตองเนนในเรือ่งของการหาครใูหครบตามความตองการ

ขณะเดียวกัน บางพื้นที่ที่มีนักเรียนนอยก็อาจจะตองดูในรายละเอียดและความจําเปน เชน

โรงเรียนน้ันเหลือเด็กอยูไมกี่คน ก็ตองมาดูวาจําเปนที่จะตองควบรวมใหเกิดการใชทรัพยากรรวมกัน

อยางคุมคาหรือไม แตยังไมเปนนโยบายวา จะยุบ หรือควบรวม อยางไรก็ตาม จะเชิญสํานักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงหนวยงานที่เกี่ยวของทั้งหมดมาหารือถึงแนวทางแกปญหา

ใหเกิดขึ้นเปนรูปธรรมตอไป

(ที่มา : หนังสือพิมพเดลินิวส วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗)

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

Page 48: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 39

นโยบายรัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอก ณรงค พิพัฒนาศัย) ประจํา

ปงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘

นโยบายทั่วไป

๑. การพัฒนาและปฏิรูปการศึกษา จะตองยึดหลักการมีสวนรวมการกระจายอํานาจ

และความตองการของทุกภาคสวนในสังคม มีความสอดคลองกับทิศทางการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพ

การแขงขันของประเทศ รวมท้ังเปนไปตามกระบวนการของสภาปฏิรูปแหงชาติและสภานิติบัญญัติ

แหงชาติ และแนวนโยบายของคณะรัฐมนตรีเพื่อใหการดําเนินงานเปนที่ยอมรับและเกิดความมั่นคง

ยั่งยืนในระบบการศึกษาของไทย

๒. การสรางโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยจะตองใหความสําคัญกับการสรางความ

เทาเทยีมและเปนธรรม โดยการนอมนาํแนวทางการพฒันาระบบการจดัการศกึษาของพระบาทสมเดจ็

พระเจาอยูหวั และเทคโนโลยสีารสนเทศเพือ่การศกึษาสมยัใหมเขามาประยกุตใช เพ่ือเปนการสงเสริม

ใหประชาชนทุกกลุมไดมีโอกาสเขาถึงองคความรูไดโดยสะดวก และสามารถพัฒนาและประยุกตใช

องคความรูในการดําเนินชีวติไดอยางตอเน่ือง รวมทัง้เปนการยกระดบัคณุภาพการศกึษาอยางเทาเทยีม

๓. การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตรทางการศึกษา จะตองให

ความสําคัญกับการยกระดับความรูใหมีคุณภาพและไดมาตรฐานสากล ควบคูไปกับการสงเสริม

การเรียนรูภูมิปญญาทองถิ่น และปลูกฝงคุณธรรมการสรางวินัย ปลูกฝงอุดมการณความยึดมั่น

ในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย การมีจิตสาธารณะ ความตระหนักถึงผลประโยชนของ

สวนรวมมากกวาสวนตน และเสริมสรางความรู ความเขาใจที่ถูกตองในหลักการประชาธิปไตย

เคารพความคิดเห็นของผูอื่น ยอมรับความแตกตางหลากหลายทางความคิดอุดมการณและความเชื่อ

รวมทั้งรูคุณคา และสืบสานวัฒนธรรมและขนบประเพณีอันดีงามของไทย

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 39

รวมทั้งรูคุณคา และสืบสานวัฒนธรรมและขนบประเพณีอันดีงามของไทย

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 39

Page 49: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑40

๔. การสงเสริมและยกสถานะของครู ซึ่งเปนบุคลากรหลักในระบบการศึกษา จะตองให

ความสําคัญกับการสรางเสริมใหวิชาชีพครูเปนวิชาชีพชั้นสูงในสังคมเปนบุคลากรที่ไดรับการยกยอง

วาเปนแบบอยางท่ีดีในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม มีภูมิความรูและทักษะในการสื่อสารถายทอด

ความรูที่เหมาะสม มีทัศนคติท่ีดีตอวิชาชีพครู ตลอดจนมีฐานะและคุณภาพชีวิตที่ดีสอดคลองกับ

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปจจุบัน

๕. การบริหารและการปฏิบัติราชการกระทรวงในทุกระดับ จะตองใหความสําคัญกับ

การบรูณาการการปฏบิตัขิองทกุหนวยงานในสงักดัใหเปนไปในทศิทางเดยีวกนัและประสานสอดคลอง

กับหนวยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนที่เกี่ยวของ รวมทั้งเปนไปตามหลักธรรมาภิบาล

ปราศจากการทุจริตคอรัปช่ัน ตลอดจนใหความสําคัญกับการเผยแพรขอมูลขาวสารเกี่ยวกับ

งานดานการศึกษาที่ถูกตอง รวดเร็ว และตรงกับความตองการของสังคม

Page 50: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 41

ขอเสนอการศกึษาบรรจุในรัฐธรรมนญูฉบบัใหม “ขจดัเหลือ่มลํา้-โปรงใส หามแทรกแซง”

วนัที ่๑๖ ธนัวาคม ๒๕๕๗ นายกมล รอดคลาย เลขาธกิารคณะกรรมการการศกึษาขัน้พืน้ฐาน

ในฐานะคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย สมาชิกสภาปฏิรูปแหงชาติ

(สปช.) เปดเผยวา ในการประชุมสภาปฏิรูปแหงชาติ วันท่ี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ท่ีผานมา

กรรมาธิการทั้ง ๑๘ คณะ ได เสนอแนวคิดและขอเสนอแนะในการยกรางรัฐธรรมนูญวา

ควรบรรจุเรื่องใดบาง

ในสวนของกรรมาธิการการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย ไดเสนอสาระสําคัญ

ในสวนของสทิธ ิเสรภีาพในการศกึษาของบคุคล อาทิ บคุคลตองมหีนาท่ีเขารับการศกึษาและมสีวนรวม

จัดการศึกษา ไดรับการปลูกฝงทัศนคติและมีสํานึกในความซ่ือสัตยสุจริต ตอตานการทุจริตและ

ประพฤตมิิชอบ รวมรบัผดิชอบสาธารณประโยชนของสวนรวม มสีวนรวมในการตรวจสอบและปองกนั

การทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมท้ังเคารพในสิทธิ ความตางหลากหลายทางดานความคิด

และศักยภาพบุคคลอ่ืน และสิทธิ เสรีภาพในการศึกษาของบุคคล โดยบุคคลมีสิทธิเทาเทียมกัน

ในการจัดการศึกษา เขาถึงและใชประโยชนจากการศึกษาที่มีคุณภาพ ในรูปแบบที่หลากหลาย

เพื่อการพัฒนาตนเองตั้งแตแรกเกิดจนตลอดชีวิต

Page 51: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑42

นายกมล รอดคลาย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลาวตอวา ขณะเดียวกัน

ยังมีขอเสนอในแนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐ ดานการศึกษาที่สําคัญ ๗ เรื่อง ดังนี้

๑. การศึกษา คือ การพัฒนาคนใหเปนมนุษยที่สมบูรณเปนกําลังในการพัฒนาประเทศ

จึงตองกําหนดใหเปนนโยบายระดับชาติที่มีความสําคัญสูงสุด โดยตองมีความเชื่อมโยงกับนโยบาย

การพัฒนาทุกดานและสอดคลองกับวิสัยทัศนของประเทศ เพื่อการอยู ร วมกันอยางสันติสุข

มีความสามารถในการแขงขันและการธํารงรักษาเอกลักษณของสังคมไทย

๒. รัฐตองสงเสริมสนับสนุนใหทุกภาคสวนของสังคมที่มีศักยภาพเขามามีสวนรวมในการจัด

และสนับสนุนการศึกษาทุกระดับ ตั้งแตครอบครัว ชุมชน องคกรอื่น ๆ และรัฐตองปรับเปลี่ยน

และลดบทบาทจากการเปนผูจัดการศึกษามาเปนผูสงเสริม สนับสนุน รวมถึงการกํากับนโยบาย

แผน มาตรฐาน และติดตามประเมินผล

๓. รัฐต องส งเสริมความเป นนิติบุคคลของสถานศึกษาให สามารถบริหารจัดการ

ไดอยางมีประสิทธิภาพ มีความเปนอิสระและความรับผิดชอบตอคุณภาพของผลการจัดการศึกษา

๔. การจดัการศกึษาตองสรางความเปนธรรรม ขจดัความเหลือ่มลํา้ ใหโอกาสเขาถงึการศกึษา

ท่ีมีคุณภาพแกบุคคลอยางเทาเทียมและเปนธรรม โดยรัฐตองจัดสรรคาใชจายพื้นฐานที่เพียงพอ

ตอการไดรับการศึกษาอยางมีคุณภาพแกผูเรียน ต้ังแตปฐมวัยถึงการศึกษาภาคบังคับ ตามความ

แตกตางของผูเรียนและสถานศึกษา

๕. การจดัการศกึษาตองสรางกระบวนการเรยีนรู ตัง้แตหลกัสตูร วธิกีารจดัการเรยีนการสอน

และการพัฒนาระบบครู คณาจารย บุคลากรทางการศึกษา ปราชญชาวบาน รวมถึงผูที่มีความรูตาง ๆ

ที่ถายทอดความรูแกผู เรียนที่เปนสากลและพัฒนาอยางตอเนื่อง มีความหลากหลายตามบริบท

และความแตกตางของภูมสิังคม เพือ่เพิ่มสมรรถนะการเรยีนรูและความสามารถในการประกอบอาชีพ

การงานของบุคคล ตลอดชีวิตภายใตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๖. รัฐตองสงเสริมการสรางสภาพแวดลอมทางการเรียนรูในสังคมไทย โดยใหมีแหลงเรียนรู

และสื่อสาธารณะดานการศึกษา วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรมและศาสนา เพื่อบมเพาะ

จิตสํานึกความเปนพลเมืองไทยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม

๗. นโยบายการศกึษาตองมคีวามตอเน่ือง มคีวามโปรงใส สามารถตรวจสอบได และปราศจาก

การแทรกแซงใด ๆ จากกลุมผลประโยชน

Page 52: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 43

“สภารางรัฐธรรมนูญจะเปนผูพิจารณาวาใน ๗ ขอดังกลาว ขอใดบางควรเสนอ เพื่อบรรจุ

รางรัฐธรรมนูญ โดยสวนตัวผมมองวาประเด็นสําคัญที่ควรกําหนดไวในรัฐธรรมนูญ คือ ขอที่ ๑

นโยบายดานการศึกษาระดับชาติเพื่อใหสอดคลองกับแผนพัฒนาประเทศและขอที่ ๗ ที่ตองกําหนด

กลไกไมใหมกีารแทรกแซง โดยอาจจะตองมซีปุเปอรบอรดหรือคณะกรรมการของกระทรวงศกึษาธกิาร

ที่เขามากํากับนโยบายดานการศึกษา จะเสนอใหนายกรัฐมนตรีเปนประธาน มีรัฐมนตรีวาการ

กระทรวงศกึษาธกิาร รฐัมนตรกีระทรวงท่ีเกีย่วของเปนคณะกรรมการ เพือ่กาํกบัดูแลและกาํหนดทศิทาง

การศึกษาและผลิตกําลังคน ตามตองการของประเทศ” ที่มา : หนังสือพิมพมติชน วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗

(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=๑๔๑๘๗๑๗๑๖๓)

สรุปไดวาการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก มีกฎหมายและระเบียบที่เอื้อตอการพัฒนาและ

การบริหารจัดการใหสามารถบริการประชากรวัยเรียนไดอยางมีคุณภาพและประสิทธิภาพได

Page 53: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑44

Page 54: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 45

แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

บทที่

Page 55: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑46

Page 56: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 47

วิสัยทัศน โรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการมีสวนรวมของ

ทุกภาคสวน

พันธกิจ ๑. สงเสริมและสนับสนุนใหประชากรวัยเรียนทุกคนในเขตบริการของโรงเรียนขนาดเล็ก

ไดรับการศึกษาอยางทั่วถึงและเสมอภาค

๒. สงเสริมใหผู เรียนมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค และ

มีสมรรถนะสําคัญของผูเรียนตามหลักสูตร

๓. พัฒนาระบบการบริหารจัดการบนพ้ืนฐานของการวิจัยและพัฒนาอยางตอเนื่อง

โดยเนนการมีสวนรวม

เปาประสงค ๑. ประชากรวัยเรียนทุกคนไดรับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอยางทั่วถึงและเสมอภาค

๒. ผูเรยีนมคีณุภาพ มคีณุธรรม จรยิธรรม มคีณุลักษณะอนัพึงประสงค และมสีมรรถนะสําคญั

ของผูเรียนตามหลักสูตร

๓. มีรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท

๔. โรงเรียนบริหารจัดการแบบมีสวนรวมในการจัดการศึกษา

ยุทธศาสตร ยุทธศาสตรที่ ๑ สรางโอกาสทางการศึกษา

ยุทธศาสตรที่ ๒ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

ยุทธศาสตรที่ ๓ พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ยุทธศาสตรที่ ๔ สรางความเขมแข็งและความพรอมในการเปนนิติบุคคลของสถานศึกษา

ยุทธศาสตรที่ ๕ สงเสริมการมีสวนรวมของทุกภาคสวนในการจัดการศึกษา

Page 57: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑48

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

รวม

มาตรการ ยุทธศาสตรที่ ๑ สรางโอกาสทางการศึกษา

มาตรการ

สรางโอกาสทางการศึกษาอยางทั่วถึงและเสมอภาค

โครงการ

๙.๑๐

๑๘๒.๐๐

๑๘.๒๐

๑๖๓.๘๐

๑๙๑.๑๐

-

-

-

-

-

๙.๑๐

๑๘๒.๐๐

๑๘.๒๐

๑๖๓.๘๐

๑๙๑.๑๐

๙.๑๐

๑๘๒.๐๐

๑๘.๒๐

๑๖๓.๘๐

๑๙๑.๑๐

๒๗.๓๐

๑๘๒.๐๐

๑๘.๒๐

๑๖๓.๘๐

๑๙๑.๑๐

๑) โครงการพฒันาการเกณฑเดก็มาเขาเรยีน

และการจัดสรรโอกาสทางการศึกษา

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- จัดทําขอมูลสารสนเทศ

โรงเรียนขนาดเล็ก

- จัดทําสํามะโนประชากรวัยเรียน

ในเขตพื้นที่บริการ

- จัดทําขอมูลสารสนเทศนักเรียน

รายบุคคล

๒) โครงการสรางความเขมแข็งระบบดูแล

ชวยเหลือนักเรียน

- สุขภาวะนักเรียน (๑๘๒ เขต × ๑๐

โรงเรียน × ๑๐,๐๐๐ บาท)

- ทุนการศึกษา

(๑๘๒ เขต × ๓๐๐ คน × ๓,๐๐๐ บาท)

(ลานบาท)

Page 58: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 49

ยุทธศาสตรที่ ๒ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

มาตรการ

๒.๑ พัฒนาหลกัสตูรและการจดักระบวนการเรียนรูแบบบรูณาการทีเ่อือ้ตอการจัดการเรียนรู

๒.๒ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

๒.๓ พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

โครงการ

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

(ลานบาท)

๑) โครงการจัดการเรียนการสอนทางไกล

ผานดาวเทียม

- โรงเรยีนขนาดเลก็จดัการเรยีนการสอน

ทางไกลผานดาวเทียมทุกชั้น

ทุกกลุมสาระ

๒) โครงการพัฒนาการบริหารวิชาการ

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- ปรับหลักสูตรสถานศึกษาและ

กระบวนการเรียนรู

- ปรับวิธีการวัดและประเมินผล

ใหสอดคลองกับสภาพจริง

- สรางความเขมแข็งระบบประกัน

คุณภาพภายใน

- ผลิต พัฒนา และใชสื่อเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร

เพื่อการจัดการเรียนรู

- วิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู

สื่อนวัตกรรม

-

-

๑๐.๐๐

๙.๑๐

๑๐.๐๐

๙.๑๐

๑๐.๐๐

๙.๑๐

๓๐.๐๐

๒๗.๓๐

Page 59: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑50

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

๓) โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา

เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

(๑๘๒ เขต × ๘๐ โรงเรียน ×

๑๐,๐๐๐ บาท)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- เรงรัดการอานออกเขียนได

- การคิดวิเคราะห

- O-NET และ NT

๔) โครงการสงเสริมคุณธรรมและจริยธรรม

(๑๘๒ เขต × ๘๐ โรงเรียน ×

๕,๐๐๐ บาท)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- คุณลักษณะอันพึงประสงค

- คานิยม ๑๒ ประการ

- หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๕) โครงการสงเสริมการเรียนรูเขาสู

ประชาคมอาเซียน

(ครูตางชาติ ๑ คน : ๕ โรงเรียน)

(๑๘๒ เขต × ๑๕ คน ×

๒๐,๐๐๐ บาท/เดือน × ๑๒ เดือน)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- พัฒนาทักษะดานภาษา

- พัฒนาหลักสูตร

- พัฒนาทักษะศตวรรษที่ ๒๑

(ความเปนพลโลก)

-

-

-

๑๕๔.๗๐

๗๒.๘๐

๖๕๕.๒๐

๑๕๔.๗๐

๗๒.๘๐

๖๕๕.๒๐

๑๕๔.๗๐

๗๒.๘๐

๖๕๕.๒๐

๔๖๔.๑๐

๒๑๘.๔๐

๑,๙๖๕.๖๐

(ลานบาท)

Page 60: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 51

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

๖) โครงการสงเสริมความเปนครู

และบุคลากรทางการศึกษาสูความเปน

มืออาชีพ

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

- สงเสริมความกาวหนาทางวิชาชีพ

- อบรมและพัฒนาศักยภาพ

ตามความตองการ

- สรางขวัญกําลังใจในการทํางาน

- จัดสวัสดิการในสถานศึกษา

รวม

-

-

๙.๑๐

๙๑๐.๙๐

๙.๑๐

๙๑๐.๙๐

๙.๑๐

๙๑๐.๙๐

๒๗.๓๐

๒,๗๓๒.๗๐

(ลานบาท)

Page 61: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑52

ยุทธศาสตรที่ ๓ พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

มาตรการ

๓.๑ พัฒนาโรงเรียนใหมีการบริหารจัดการที่เปนระบบในบริบทของโรงเรียนขนาดเล็ก

อยูบนพื้นฐานการวิจัยและพัฒนา และการมีสวนรวมของทุกฝาย

๓.๒ พฒันาการบรหิารจดัการของเขตพืน้ทีก่ารศกึษา และสาํนกังานคณะกรรมการการศกึษา

ขั้นพื้นฐานที่มีความตอเนื่อง และเปนระบบ

๓.๓ สรางแรงจูงใจและใหขวัญกําลังใจแกผูบริหารโรงเรียน และครูในโรงเรียนขนาดเล็ก

๓.๔ สนับสนุนงบประมาณ วัสดุครุภัณฑใหเพียงพอที่จะมีคุณภาพตามมาตรฐาน

โครงการ

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

(ลานบาท)

๑) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการ

- จัดงบประมาณพื้นฐาน

(๑๕,๐๐๐ โรงเรียน ×

๑,๗๐๐ บาท × ๑๒ เดือน)

- เพิ่มคาพาหนะนักเรียน

(๘๐,๐๐๐ คน × ๑๕ บาท

× ๒๐๐ วัน)

- สื่อ/ครุภัณฑ

(๓,๐๐๐ โรงเรียน/ป ×

๕๐,๐๐๐ บาท)

- ปรับปรุงซอมแซมสิ่งกอสราง

(๓,๐๐๐ โรงเรียน/ป ×

๕๐,๐๐๐ บาท)

- ปรับปรุงหองสมุดมีชีวิต

หองปฏิบัติการ

(๓,๐๐๐ โรงเรียน/ป ×

๑๐๐,๐๐๐ บาท)

๒,๘๖๗.๖๘

๓๐๖.๐๐

๒๔๐.๐๐

๑๕๐.๐๐

๑๕๐.๐๐

๓๐๐.๐๐

๒,๘๖๗.๖๘

๓๐๖.๐๐

๒๔๐.๐๐

๑๕๐.๐๐

๑๕๐.๐๐

๓๐๐.๐๐

๒,๘๖๗.๖๘

๓๐๖.๐๐

๒๔๐.๐๐

๑๕๐.๐๐

๑๕๐.๐๐

๓๐๐.๐๐

๘,๖๐๓.๐๔

๙๑๘.๐๐

๗๒๐.๐๐

๔๕๐.๐๐

๔๕๐.๐๐

๙๐๐.๐๐

-

-

-

-

-

-

Page 62: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 53

(ลานบาท)

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

- จัดสรรงบแลกเปา

พัฒนาคุณภาพการศึกษา

(๑๘๒ เขต × ๕๐๐,๐๐๐ บาท)

- จางบุคลากรสายสนับสนุน

(ธุรการ)

(นักเรียน > ๖๐ คน = ๘,๗๔๑

โรงเรียน × ๑๕,๐๐๐/

เดือน × ๑๒ เดือน)

- งบบริหารจัดการรถโมบาย/

รถตู/รถปคอัพ

(๓๐ คัน + ๓๐๐ คัน +

๒๔๓ คัน = ๕๗๓ คัน ×

๑๐๐,๐๐๐ บาท)

๒) โครงการนิเทศ ติดตาม กํากับ

ชวยเหลืออยางเปนระบบ

และตอเนื่อง

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- นเิทศถงึหองเรยีนการเรยีนรวม

การคละชั้น

- สรางนวัตกรรมการเรียนรวม

การคละชั้น

๙๑.๐๐

๑,๕๗๓.๓๘

๕๗.๓๐

๙.๑๐

๙๑.๐๐

๑,๕๗๓.๓๘

๕๗.๓๐

๙.๑๐

๙๑.๐๐

๑,๕๗๓.๓๘

๕๗.๓๐

๙.๑๐

๒๗๓.๐๐

๔,๗๒๐.๑๔

๑๗๑.๙๐

๒๗.๓๐

-

-

-

-

Page 63: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑54

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

รวม

๓) โครงการสงเสริมพัฒนารูปแบบ

การบริหารจัดการ

- วิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบ

การบริหารจัดการ

(๑๘๒ เขต × ๑ เรื่อง ×

๑๐๐,๐๐๐ บาท)

- การศึกษาดูงานตางประเทศ

(๑๖ คน × ๑๕๕,๓๐๐ บาท)

๔) โครงการคัดเลือกโรงเรียน

ขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เปนเลิศ

- จัดประกวดคัดเลือกโรงเรียน

(๕ ภูมิภาค × ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท)

- ถอดประสบการณโรงเรียน

(๑๐ โรงเรยีน × ๑๐๐,๐๐๐ บาท

๒๐.๖๘

๑๘.๒๐

๒.๔๘

๓๑.๐๐

๓๐.๐๐

๑.๐๐

๒,๙๒๘.๔๖

๒๐.๖๘

๑๘.๒๐

๒.๔๘

๓๑.๐๐

๓๐.๐๐

๑.๐๐

๒,๙๒๘.๔๖

๒๐.๖๘

๑๘.๒๐

๒.๔๘

๓๑.๐๐

๓๐.๐๐

๑.๐๐

๒,๙๒๘.๔๖

๖๒.๐๔

๕๔.๖๐

๗.๔๔

๙๓.๐๐

๙๐.๐๐

๓.๐๐

๘,๗๘๕.๓๘

-

-

-

-

-

-

-

(ลานบาท)

Page 64: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 55

ยุทธศาสตรที่ ๔ สรางความเขมแข็งและความพรอมในการเปนนิติบุคคลของสถานศึกษา

มาตรการ

๔.๑ จัดทํามาตรฐานการเปนนิติบุคคลของโรงเรียนขนาดเล็ก

๔.๒ จัดทําขอเสนอปรับปรุงแกไขกฎหมายที่เกี่ยวของกับการเปนนิติบุคคลของสถานศึกษา

ขนาดเล็ก

โครงการ

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

-

-

(ลานบาท)

๑) โครงการพัฒนารูปแบบการบริหาร

นิติบุคคลโรงเรียนขนาดเล็ก

(๓๐ คน × ๒,๖๔๐ บาท × ๓ ครั้ง ๆ ละ

๕ วัน)

- จัดทํามาตรฐานการเปนนิติบุคคล

โรงเรียนขนาดเล็ก

- จัดทําขอเสนอการเปนนิติบุคคล

โรงเรียนขนาดเล็ก

๒) โครงการนํารองสถานศึกษาขนาดเล็ก

นิติบุคคล

- พัฒนารูปแบบนิติบุคคล

โรงเรียนขนาดเล็ก

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

- พัฒนาการบริหารงาน ๔ ดาน

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

- พัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน

(๑๘๒ เขต × ๒ คน × ๒,๖๔๐ บาท

× ๒ วัน)

รวม

๑.๑๙

๒๐.๑๒

๙.๑๐

๙.๑๐

๑.๙๒

๒๑.๓๑

๑.๑๙

๒๐.๑๒

๙.๑๐

๙.๑๐

๑.๙๒

๒๑.๓๑

๑.๑๙

๒๐.๑๒

๙.๑๐

๙.๑๐

๑.๙๒

๒๑.๓๑

๓.๕๗

๖๐.๓๖

๒๗.๓๐

๒๗.๓๐

๕.๗๖

๖๓.๙๓

Page 65: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑56

ยุทธศาสตรที่ ๕ สงเสริมการมีสวนรวมของทุกภาคสวนในการจัดการศึกษา

มาตรการ

๕.๑ สงเสริมบทบาทของภาคีเครือขายทุกภาคสวนในการจัดการศึกษา

๕.๒ สรางความตระหนักและพัฒนาระบบการจูงใจในการรักชุมชนทองถิ่นของตนเอง

๕.๓ สรางชองทางสือ่สารรบัฟงความคดิเหน็/ขอเสนอแนะ และประชาสัมพันธใหสาธารณชน

เขามามีสวนรวมในการจัดการศึกษา

โครงการ

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

(ลานบาท)

๑) โครงการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

เปนโรงเรียนของชุมชนแบบยั่งยืน

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- จัดการศึกษาแบบมีสวนรวมและ

ความรับผิดชอบ

- ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา

- สรางเครือขายโรงเรียนชุมชน

- สงเสริมบทบาทภาคีเครือขาย

- เพิ่มชองทางการลดหยอนภาษี

เพื่อการศึกษา

- แตงตั้งกรรมการโรงเรียนของชุมชน

๒) โครงการพัฒนาการสื่อสารและ

ประชาสัมพันธการมีสวนรวมของชุมชน

(๑๘๒ เขต × ๑๐๐,๐๐๐ บาท)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู

- ประชาสัมพันธผานสื่อที่หลากหลาย

- เปดชองทางรับฟงความคิดเห็น

จากชุมชน

๙.๑๐

๑๘.๒๐

๙.๑๐

๑๘.๒๐

๙.๑๐

๑๘.๒๐

๒๗.๓๐

๕๔.๖๐

-

-

Page 66: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 57

ตัวชี้วัดความสําเร็จ ๑. รอยละของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

๒. รอยละของโรงเรยีนขนาดเลก็ทีม่กีารพฒันาและบรหิารจดัการทีม่ปีระสทิธภิาพและยัง่ยนื

๓. รอยละของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีความเขมแข็งเปนไปตามมาตรฐานโรงเรียนขนาดเล็ก

ดานบุคลากร งบประมาณ วัสดุ และครุภัณฑ

๔. รอยละของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีความพรอมเปนนิติบุคคล

๕. รอยละของโรงเรียนขนาดเล็กที่ไดรับความรวมมือ ชวยเหลือในการจัดการศึกษา

จากทุกภาคสวน

โครงการ/กิจกรรมปงบประมาณ

รวม๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑

๓) โครงการยกยองคนดี องคกรดี

ที่มีสวนรวมและสนับสนุน

การจัดการศึกษา

(๑๘๒ เขต × ๕๐,๐๐๐ บาท)

โดยสงเสริมการดําเนินการ

- โล เกียรติบัตร

- จัดเวทียกยองคนดี องคกรดี

รวม

๒๗.๓๐

๑๐๙.๒๐

๙.๑๐

๓๖.๔๐

๙.๑๐

๓๖.๔๐

๙.๑๐

๓๖.๔๐

-

-

(ลานบาท)

Page 67: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑58

Page 68: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 59

ปจจัยสูความสําเร็จ

บทที่

Page 69: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑60

Page 70: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 61

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ใหมีคุณภาพและไดมาตรฐาน จัดการศึกษาตั้งแตระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ในปการศึกษา ๒๕๕๗ มีโรงเรียนในสังกัด จํานวน ๓๐,๙๒๒ แหง ในจํานวนโรงเรียนเหลานี้

เปนโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียน ๑๒๐ คนลงมา จํานวน ๑๕,๕๐๖ แหง คิดเปนรอยละ ๕๐.๑๕

ของจํานวนโรงเรียนทั้งหมด สาเหตุที่จํานวนโรงเรียนขนาดเล็กเพ่ิมมากข้ึนทุกป ดวยปจจัยท่ีเกิดจาก

อัตราการเกิดของประชากรลดลงมาอยางตอเนื่อง โรงเรียนขนาดเล็กดังกลาว ประสบปญหา

ดานการบริหารจัดการ สงผลโดยตรงตอคุณภาพและประสิทธิภาพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตํ่า

ดังนั้น เพื่อใหแผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กขับเคลื่อนอยางตอเนื่องชัดเจน สํานักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกําหนดปจจัยและเงื่อนไขสูความสําเร็จ ๓ ระดับ ดังนี้

๑. ระดับสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๑.๑ ประกาศนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เปนวาระแหงชาติ และ

ตองเปนนโยบายที่ชัดเจนตอเนื่อง สามารถนําไปสูการปฏิบัติไดทุกระดับ

๑.๒ สรางความเขาใจกับสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต ใหตระหนัก รับรู นโยบาย

และแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก

๑.๓ ปรับแกกฎ ระเบียบ หรือขอบังคับตาง ๆ ที่เปนอุปสรรคตอการดําเนินนโยบาย

เชน ระเบียบการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ เปนตน (ในกรณีที่นอกเหนือจาก

อํานาจหนาที่ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใหประสานดําเนินการตอหนวยงาน

ที่มีอํานาจดําเนินการ)

๑.๔ กํากับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามแผน

การดําเนินงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

๑.๕ สรางแรงจูงใจ เพื่อเปนการดําเนินการกระตุนและชวยเหลือสํานักงานเขตพื้นที่

การศึกษาที่ยังไมสามารถดําเนินการได ใหมีความเขมแข็งในการดําเนินการ เชน ประกาศเชิดชูเกียรติ

ครูและบุคลากรทางการศึกษา การใหรางวัลตอสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนที่ดําเนินการ

ประสบผลสําเร็จ

Page 71: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑62

๑.๖ สนับสนุนงบประมาณ/วิชาการ การดําเนินงานของสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา

ในการดําเนินการพัฒนาโรงเรียนในดานสภาพแวดลอมการเรียนรูใหเอื้อตอการพัฒนาคุณภาพผูเรียน

๑.๗ ดําเนินการประชาสัมพันธหลากหลายรูปแบบ

๑.๘ สรางเครือขายความรวมมือกับทุกภาคสวนท้ังภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะกับ

องคกรปกครองสวนทองถิ่น หรือหนวยงานที่เกี่ยวของ

๑.๙ ดาํเนนิการวจิยั พฒันา เพือ่หาแนวทางการดาํเนนิงานทีม่ปีระสทิธภิาพ และรายงาน

ผลการดําเนินงาน

๒. ระดับสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

๒.๑ สรางความตระหนกั รบัรูกบัผูบรหิารโรงเรยีน และผูเกีย่วของ และองคกร คณะบคุคล

ใหเห็นชอบในหลักการตามนโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสํานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒.๒ จัดทําขอมูลพื้นฐานของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดเปนรายโรงเรียน

๒.๓ จดัทําแผนบรหิารจดัการโรงเรยีนขนาดเลก็ของสาํนกังานเขตพืน้ทีก่ารศกึษาเสนอตอ

คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อใหความเห็นชอบ

๒.๔ รายงานแผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตอสํานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒.๕ ดําเนินการตามแผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก

๒.๖ นิเทศ ติดตาม กํากับ และประเมินผลการจัดการศึกษาอยางตอเนื่อง

๒.๗ กระตุน ชวยเหลือโรงเรียนที่ยังไมสามารถดําเนินการได

๒.๘ ประชาสัมพันธรูปแบบที่หลากหลาย

๒.๙ ดําเนินการวิจัย ประเมินผล และรายงานผล

Page 72: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 63

๓. ระดับโรงเรียน

๓.๑ สรางความเขาใจกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู ปกครอง ชุมชน

องคกรปกครองสวนทองถิ่น องคกรเอกชน และสถาบันศาสนา ใหตระหนักรับรูถึงเหตุผลและ

ความจําเปนของทางราชการในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่สงผลตอประสิทธิภาพ

การบริหารบุคลากร งบประมาณ และคุณภาพการศึกษา

๓.๒ สงเสรมิการศกึษาทางไกลผานดาวเทยีมเปนเครือ่งมอืในการพฒันาคณุภาพการศกึษา

๓.๓ วิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู สื่อและนวัตกรรม

ในบริบทของโรงเรียนที่สงผลตอคุณภาพนักเรียน

๓.๔ สรางบรรยากาศใหเอื้อตอการเรียนรูเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน

๓.๕ สรางปฏิสัมพันธที่ดีระหวางครู นักเรียน และชุมชน โดยจัดใหมีกิจกรรมรวมกัน

๓.๖ เผยแพร ประชาสัมพันธการดําเนินงานตอสาธารณชน

Page 73: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑64

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). พระราชบัญญัติการศึกษาแห งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

และท่ีแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพองคการรับสงสินคา

และพัสดุภัณฑ.

______ . (๒๕๔๖). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ.

______ . (๒๕๔๖). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖

พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (๒๕๔๘). พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.

______ . (๒๕๔๗). กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑการแบงสวนราชการภายในสถานศึกษาที่จัด

การศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสวนราชการที่เรียกช่ืออยางอื่น พ.ศ. ๒๕๔๗. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.

Page 74: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 65

ภาคผนวก

Page 75: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑66

Page 76: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 67

Page 77: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑68

ที่ ศธ ๐๔๐๐๖/ว ๕๐๒ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ กทม. ๑๐๓๐๐

๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘

เรื่อง แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

เรียน ผูอํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขต

ผูอํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทุกเขต

สิ่งที่สงมาดวย แผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ จํานวน ๑ ชุด

ดวย สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไดจัดทําแผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียน

ขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

รายละเอียดดังสิ่งที่สงมาดวย

ในการนี้ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงขอสงแผนยุทธศาสตรพัฒนา

โรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ ใหสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขับเคลื่อนการพัฒนา

โรงเรียนขนาดเล็กตอไป

จึงเรียนมาเพื่อทราบและพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

(นายกมล รอดคลาย)

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โทรศัพท ๐ ๒๒๘๐ ๕๕๓๐

โทรสาร ๐ ๒๒๘๑ ๕๒๓๒

Page 78: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 69

คณะทํางาน

จัดทําแผนยุทธศาสตรพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑

๑. นายรังสรรค มณีเล็ก ประธานคณะทํางาน

รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒. นายอํานาจ วิชยานุวัติ รองประธานคณะทํางาน

ผูอํานวยการสํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓. นายอโณทัย ไทยวรรณศรี คณะทํางาน

ผูอํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒

๔. นายอนันต พันนึก คณะทํางาน

รองผูอํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๒

๕. นางสุภาภรณ กิตติรัชฎานนท คณะทํางาน

ศึกษานิเทศกเชี่ยวชาญ

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

๖. นายเจตนา เมืองมูล คณะทํางาน

ศึกษานิเทศกเชี่ยวชาญ

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลําพูน เขต ๑

๗. นางนิรมล ตูจินดา คณะทํางาน

รองผูอํานวยการสํานักบริหารงานการศึกษาภาคบังคับ

๘. นางสาววิจิตรา เอื้อจิตราเจริญ คณะทํางาน

ผูอํานวยการกลุมนโยบายและแผน

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑

Page 79: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑70

๙. นางเทียมจันทร สุขศิริ คณะทํางาน

ผูอํานวยการกลุมนโยบายและแผน

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต ๑

๑๐. นางสาวสุนิตย ดีประหลาด คณะทํางาน

ผูอํานวยการกลุมนโยบายและแผน

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑

๑๑. นางวิลาวัลย ทองแยม คณะทํางาน

ผูอํานวยการกลุมนโยบายและแผน

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑

๑๒. นางสาวกฤษณา เกิดบุญสง คณะทํางาน

ผูอํานวยการกลุมนโยบายและแผน

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

๑๓. นางสาวละออ จรรยา คณะทํางาน

ผูอํานวยการกลุมนโยบายและแผน

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแกว เขต ๑

๑๔. นายสันติ ชัยชนะ คณะทํางาน

ผูอํานวยการโรงเรียนบานหนองบัวนอย

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแกน เขต ๑

๑๕. นายวิชัย ประทุมไทย คณะทํางาน

ผูอํานวยการโรงเรียนบานนางเมง

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑

๑๖. นางบุษบา ฤทธิสาร คณะทํางาน

ผูอํานวยการโรงเรียนวัดชองลาภ

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑

Page 80: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ 71

๑๗. นายมณฑล ไตรรัตนสิงหกุล คณะทํางาน

ขาราชการบํานาญ

๑๘. นางสุดาพร ปานกลิ่น คณะทํางาน

ขาราชการบํานาญ

๑๙. นางสาวเสริมสุข ธรรมกิจไพโรจน คณะทํางาน

ผูอํานวยการกลุมสารสนเทศ

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๐. นางสาวเพ็ญสุภา ชัยโชติกุลชัย คณะทํางาน

นักวิเคราะหนโยบายและแผนชํานาญการ

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๑. นางปทมา ปนทวังกูร คณะทํางาน

นักวิเคราะหนโยบายและแผนชํานาญการ

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๒. นายวิโรจน ธานมาศ คณะทํางาน

นักวิเคราะหนโยบายและแผนปฏิบัติการ

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๓. นายพงษพิสุทธิ์ นาคะสิงห คณะทํางาน

นักวิเคราะหนโยบายและแผนปฏิบัติการ

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๔. นางสาวสุกัลยา ปาสาบุตร คณะทํางาน

นักวิเคราะหนโยบายและแผนปฏิบัติการ

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Page 81: แผนยุทธศาสตร์ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กphatthalung1.go.th/plan_group/data58/strategic Plan school small.pdf · แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร�พัฒนาโรงเร�ยนขนาดเล็ก พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑72

๒๕. นางสาวจิรภัทร ซิวประโคน คณะทํางาน

พนักงานธุรการ

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๖. นางกฤษณา สวางแสง คณะทํางานและเลขานุการ

นักวิเคราะหนโยบายและแผนชํานาญการพิเศษ

รักษาการในตําแหนงผูเชี่ยญชาญดานติดตามตรวจสอบ

การดําเนินงานการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๗. นางกุสุมา ไฟนสตีน คณะทํางานและผูชวยเลขานุการ

นักวิเคราะหนโยบายและแผนชํานาญการพิเศษ

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๘. นางเพ็ญศรี วิลาวรรณ คณะทํางานและผูชวยเลขานุการ

นักวิเคราะหนโยบายและแผนชํานาญการพิเศษ

รักษาการในตําแหนงผูเชี่ยวชาญ

ดานการติดตามและตรวจสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒๙. นางจรินทร พุมพวง คณะทํางานและผูชวยเลขานุการ

เจาพนักงานธุรการชํานาญงาน

สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ออกแบบปก/รูปเลมและตรวจสอบเนื้อหา

ดร.กฤษณา สวางแสง

รักษาการในตําแหนงผูเชี่ยญชาญดานติดตามตรวจสอบ

การดําเนินงานการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน