Transcript
Page 1: สื่อประจำmae.eng.kmutnb.ac.th/th/files/bulletin/bulletin_08.pdfสื่อประจำ ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ

สื่อประจำ� ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ ที่ทำาให้ประชาคมของเราชาว MAE ได้รับรู ้ข้อมูล ข่าวสาร ซึ ่งเป็นทั ้งข้อมูลวิชาการ สันทนาการและเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่นำาเสนอโดยคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกท่าน รวมถึงเรื่องราวความเป็นไปของทุกชีวิตในรั้ว MAE ของเรานั่นเอง.........ผ่านพ้นไปกับงาน “ถอดไทค์ใส่ช๊อป” ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทีจัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 18 พ.ย. 2557 ที่อาคาร 88 ห้อง 901 โดยมีอาจารย์มานพ คงคานิธิ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และนอกจากนี้ก็ยังมี ผศ.ดร. ปูมยศ วัลลิกุล ผศ.ดร. เพชร เจียรนัยศิลาวงศ์ และดร. สว่างทิตย์ ศรีกิจสุวรรณ เข้าร่วมงานอีกด้วย ก็นับเป็นการแสดงออกถึงความเปลี่ยนแปลงของน้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่จะเข้ามาเป็น “ว่าที่วิศวกร MAE” มากยิ่งขึ้น.......ภาควิชาฯ ได้มีความร่วมมือทางวิชาการ กับ Brandenburg University of Technology Cottbus-Senftenberg (BTU C-S) ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการฯ ตั้งแต่ปี 2006 โดยได้ดำาเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน โดยมี ผศ.ดร. บุญชัย วัจจะตรากุล เป็นผู้ประสานงาน และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยดังกล่าวจัดงานบรรยายพิเศษเรื่อง “The Next Collaboration on the Cutting Edge Technology of the Micro Gas Turbine – SOFC” ณ ห้องสัมมนาใหญ่ชั้น 9 ของสำานักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี “Micro Gas Turbine – SOFC” ให้กับคณาจารย์ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ของภาควิชาฯ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยนั่นเอง.........ดร. ปิยลักษณ์ เต๊ะวงษ์ ไปนำาเสนอภูมิปัญญาไทยในบทความทางวิชาการ เรื่อง “Wisdom of Indigo Hand Woven Fabrics of Tai Song Dam Ethnic Group” ณ สถาบันวิจัยพระพุทธศาสนาและบาลี เมืองแคนดี้ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายน 2557.........และเข้าอบรมเพิ่มพูนความรู้หลักสูตร “สุดยอดการเป็นหัวหน้างาน รุ่น 12” (Effective Leadership) ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2557 ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายาพาวิลเลียม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล........นายสกรรจ์ บุญคง ช่างเทคนิคภาควิชาฯ เข้าฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในระบบยานยนต์สมัยใหม่” โดยร่วมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสนและบริษัท EEGEM ประเทศอิสราเอลระว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2557 ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย........เมื่อวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมาน.ส. นพรัตน์ คล้ายคลึง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบริหารภาควิชาฯ เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “Refresh your English” ณ อาคารนวมินทรราชินี มจพ. เพื่อจะได้นำามาใช้ในการปฏิบัติงานจริงในภาควิชาฯ นั่นเอง

Page 2: สื่อประจำmae.eng.kmutnb.ac.th/th/files/bulletin/bulletin_08.pdfสื่อประจำ ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ

2

บุคลากร ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์อย่างเราๆ ท่านๆน่าจะรู้จักเครื่องดื่มที่เรียกว่า “เบียร์” หลายครั้ง เบียร์มักเป็นส่วนประกอบในการพูดคุย มีตติ้ง พบปะสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูง บ้างก็ใช้เบียร์เป็นเครื่องมือสำาคัญในการเจรจาธุรกิจ และถึงแม้หลายคนจะเป็นบุคคลปลอดแอลกอฮอล์ แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเบียร์มีส่วนสำาคัญเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมของประเทศไทยและของโลกของเรา อย่างมีนัยยะสำาคัญ

ประวัติศาสตร์ของเบียร์ เช่ือหรือไม่ว่าเบียร์เกิดพร้อมกับการที่มนุษย์เรียนรู้วิธีการทำาการเกษตร และลงหลักปักฐานสร้างเป็นสังคมขึ้น ว่ากันตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เครื่องดื่มหมักคล้ายเบียร์สามารถพบได้ท้ังในอารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมแถบจีนโบราณ การดื่มเบียร์ได้รับความนิยมและแพร่หลายในยุโรปตั้งแต่ก่อนคริสตกาลในบริเวณแถบประเทศเยอรมันในปัจจุบัน ส่วนเทคโนโลยีการหมักเบียร์ได้ถูกพัฒนาเรื่อยมาโดยบาทหลวงและนักบวชในช่วงนั้น เพื่อต้องการสร้างเครื่องดื่มสำาหรับบรรเทาความหนาวเย็นของสภาวะอากาศในบริเวณดังกล่าว เบียร์คุณภาพสูงหลายตัวที่หาได้ในปัจจุบันมาจากการหมักเบียร์ของบาทหลวงเหล่านั้น

ส่วนประกอบของเบียร์ เบียร์ เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่ง ซึ่งส่วนประกอบที่สำาคัญคือ น้ำา น้ำาตาลหรือแป้ง เช่น ข้าวบาร์เลย์ และตัวย่อยน้ำาตาลหรือแป้งให้กลายเป็นแอลกอฮอร์ ซึ่งตัวย่อยสำาหรับเบียร์ก็คือยีส นอกจากนี้ เบียร์ในปัจจุบันยังมีส่วนประกอบที่สำาคัญคือ ฮอปส์ (Hops) ซึ่งทำาหน้าที่เหมือนสารกันบูดและเพิ่มรสชาติให้กับเบียร์อีกด้วย ในส่วนของกระบวนการในการหมัก มีหลายส่วน ทั้งการผสมส่วนที่เป็นข้าวเข้ากับน้ำา การต้ม การหมัก การกลั่น การกรอง และอื่นๆ กระบวนการโดยละเอียดของการหมักเบียร์สามารถหาข้อมูลได้เพิ่มเติมจากการเยี่ยมชมโรงเบียร์ และจะได้ลองชิมเบียร์ด้วย

ข้าวบาร์เลย์ และ ฮอปส์

ประเภทของเบียร์ ประเภทของเบียร์แบ่งออกเป็นได้สองลักษณะใหญ่ ตามประเภทของยีสต์ที่ใช้ 1) Ale หรือ เอล เป็นเบียร์ที่ผลิตจากยีสต์ที่หมักที่อุณหภูมิตั้งแต่ 12 ถึง 21 องศาเซลเซียส เมื่อทำาการหมักจะทำาให้เกิดฟองลอยอยู่ด้านบนของหม้อหมัก และตะกอนตกลงไปด้านล่าง โดยทั่วไป เอล มักมีเนื้อของ

ส่วนประกอบที่ใช้หมักลอยอยู่ ทำาให้เบียร์ประเภทนี้มักขุ่นและมีรสชาติเข้มข้น และเมื่อหมักที่อุณหภูมิสูง ทำาให้กระบวนการหมักเป็นไปได้อย่างเข้มข้น ทำาให้เอล มีรสชาติขม มีกลิ่นหอมของผลไม้ มักดื่มที่อุณหภูมิสูง (7-12 องศาเซลเซียส) เพื่อให้กลิ่นอันเข้มข้นยังคงอยู่ 2) Lager หรือ ลาเกอร์/เลเกอร ์เป็นเบียร์ที่ผลิตจากยีสต์ที่หมักที่อุณหภูมิตั้งแต่ 3 ถึง 10 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิหมักที่ต่ำากว่าเอล การหมักเป็นการดำาเนินการของยีสที่ด้านล่างของหม้อหมักทำาให้ส่วนประกอบที่เป็นส่วนผสมของเบียร์นอนก้น เบียร์ลาเกอร์ที่ได้มีความใสกว่าเอล และเมื่อทำาการหมักที่อุณหภูมิต่ำา ทำาให้ปฏิกิริยาการหมักเกิดได้ช้า เบียร์ลาเกอร์ต้องหมักนานขึ้น และที่อุณหภูมิต่ำาทำาให้กลิ่นหอมของผลไม้ลดหรือหายไป เบียร์ลาเกอร์จะจืด เบาและนุ่มกว่าเอล มีฟองมาก มีกลิ่นจางๆ มักดื่มที่อุณหภูมิต่ำา (3-7 องศาเซลเซียส) ประเภทของเบียร์ยังแยกย่อยได้ตามสี กลิ่น รส ความแรงของแอลกอฮอล์ ประเภทของส่วนผสมที่ใช้ ประเภทของเบียร์ที่รู้จักกันทั่วไปคือ • Pale Ale เป็นเอลแบบบาง ใส สกัดมาจาก Pale Malt • Stout และ Porter เป็นเอลที่ทำาจาก malt หรือ barley ที่ผ่านการคั่ว ทำาให้เบียร์มีสีเข้ม รสชาติ เข้มข้น และมีแอลกอฮอล์สูง • Pale Lagers เป็นเบียร์ที่นิยมดื่มมากที่สุดในโลก ตั่วอย่างเช่น เบียร์ที่ดื่มในประเทศไทย เบียร์มักมีแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 3-8% แอลกอฮอล์ โดยเบียร์ลาเกอร์ ที่ดื่มในยุโรปและญี่ปุ่นมักมีเปอร์เซนต์แอลกอฮอล์ประมาณ 4-5 % แต่สำาหรับเบียร์ในประเทศไทยมักมีเปอร์เซนต์แอลกอฮอล์สูงกว่าปกติ เนื่องจากคนไทยนิยมดื่มเบียร์กับน้ำาแข็ง ขณะที่ในต่างประเทศ การดื่มเบียร์กับน้ำาแข็งถือว่าเป็นการทำาลายรสชาติของเบียร์และเป็นสิ่งไม่ควรทำา

เบียร์กับวิศวฯ เบียร์มีความสัมพันธ์กับวิศวกรอย่างแน่นแฟ้น เพราะนักศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรม รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องมักมีความชื่นชอบเบียร์เป็นอย่างมาก และขาดไม่ได้ในการสังสรรค์ต่างๆ นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถทำางานในโรงงานเบียร์ได้ เพราะต้องดูแลกระบวนการผลิต และบางคนยังคงชื่นชอบในการตรวจสอบคุณภาพของเบียร์ในการผลิตอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าเบียร์สัมพันธ์กับวิศวกรแต่อย่างใด ……

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Hops

Page 3: สื่อประจำmae.eng.kmutnb.ac.th/th/files/bulletin/bulletin_08.pdfสื่อประจำ ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ

ตอนที่ 11 พระเจ้าเหี้ยนเต้หนีตาย

โจโฉเมื่อได้เมืองกุนจิ๋วกลับคืนมาได้บำารุงกองทัพให้เข้มแข็ง ได้ขุนพลและที่ปรึกษามาเป็นขุนนางมากขึ้น ต่อมา ลิฉุย กุยกีผิดใจกัน ต้องการ

เป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวและต้องการพระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นตัวประกัน เพื่อต่อรองอำานาจ ทำาการหยาบช้าเป็นอันมาก ทำาให้พระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จหนีออกจากวัง

ณ นครเตียงฮัน พร้อมด้วยพระมเหสีและขุนนางที่จงรักภักดีไปอยู่เมืองลกเอี๋ยงราชธานีเดิม ลิฉุย กุยกีทราบว่าพระเจ้าเหี้ยนเต้หนีมายังเมืองลกเอี๋ยง จึงนำา

กองทัพมาจับพระองค์

ตอนที่ 12 โจโฉเป็นมหาอุปราช

พระเจ้าเหี้ยนเต้ เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพลิฉุย กุยกี ไล่ตามมา จึงรับสั่งขอกองทัพโจโฉมาช่วย เสด็จออกจากเมืองลกเอี๋ยงไปยังเมืองฮูโต๋ ระหว่าง

ทางกองทัพลิฉุย กุยกีไล่ตามทัน แต่กองทัพโจโฉมาถึงก่อน ได้สกัดและขับไล่กองทัพลิฉุย กุยกีแตกพ่ายไป พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงปลอดภัย โจโฉทูลเชิญให้ประทับ

ณ เมืองฮูโต๋ และทำาการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ ณ เมืองฮูโต๋ เนื่องจากลกเอี๋ยงถูกตั๋งโต๊ะเผาทำาลายจนมาสามารถบูรณะกลับคืนมาโดยเร็วได้

โจโฉได้รับการแต่งตั้งเป็น มหาอุปราช ผู้สำาเร็จราชการ พร้อมกับตั้งขุนนางตนเป็นข้าราชสำานัก ใคร ๆ ก็พากันคิดว่า อำานาจไม่ถึงพระเจ้าเหี้ยนเต้

สักที เพียงแค่เปลี่ยนมือผู้สำาเร็จราชการเท่านั้น

โจโฉได้เป็นใหญ่แล้ว คิดแก้แค้นเล่าปี่ โดยการใช้ลิโป้เครื่องมือ จึงมีราชโองการให้เล่าปี่นำาทัพโจมตีอ้วนสุด เตียวหุยน้องร่วมสาบานรักษาเมืองชีจิ๋ว

แต่เตียวหุยเอาแต่เสพสุรา มิสนใจป้องกันบ้านเมือง เป็นช่องให้ลิโป้ยกกองทัพจากเมืองเสียวพ่ายโจมตีเมืองชีจิ๋ว เมืองชีจิ๋วจึงเป็นของลิโป้ เมื่อเล่าปี่ทราบข่าว

ได้เจรจากัน เล่าปี่จึงถอยกลับมารักษาเมืองเสียวพ่ายแทน

เกร็ดประวัติตัวละครสำาคัญ

2 3

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : www.thaisamkok.com, www.สามก๊ก.com

พระเจ้าเหี้ยนเต้

เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าเลนเต้ เกิดจากนางอองบีหยิน พระสนมเอก เนื่องจากนางอองบีหยิน

ถูกนางโฮเฮามเหสีใส่โทษ จึงถูกประหารชีวิต หองจูเหียบจึงอยู่ในอุปถัมภ์ของพระนางตังไทฮอ พระราชชนนีของ

พระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ เกิดความวุ่นวานในเรื่องสืบราชสมบัติ หองจูเปียน ราชโอรสซึ่ง

เกิดจากนางโฮเฮาได้ครองเมืองอยู่้ 6 เดือนก็ถูกตั๋งโต๊ะถอด แล้วยกหองจูเหียบขึ้นแทนทรงพระนามภายหลังว่า

พระเจ้าเหี้ยนเต้( เซี่ยนตี้ ) แม้จะเป็นผู้ปรีชาสามารถ แต่ก็ตกอยู่ใต้อำานาจของขุนศึกตลอดเวลา เมื่อตั๋งโต๊ะตาย

แล้ว ตกอยู่ในอำานาจลิฉุย กุยกี สิ้นลิฉุย กุยกีแล้ว ตกอยู่ใต้อำานาจโจโฉ เคยคิดโค่นโจโฉ 2 ครั้ง แต่ไม่สำาเร็จ

ความแตก โจโฉจับนางตังกุยฮุย สนมเอกฆ่าเสียคนหนึ่ง ต่อมาจับนางฮกเฮามเหสี ฆ่าเสียอีกคนหนึ่ง แล้วถวาย

บุตรสาวให้เป็นมเหสีแทน เมื่อสิ้นบุญโจโฉแล้ว พระเจ้าเหี้ยนเต้ตกอยู่ใต้อำาอาจของโจผีต่อไป อยู่ในราชสมบัติ 12

ปี ถูกโจผีแย่งราชบัลลังก์ ตั้งราชวงค์วุยขึ้นแทน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนางชั้นก๋ง ( เจ้าพระยา ) ออกไปอยู่เมือง

ซันเอี่ยง มณฑลเหอหนาน จนสิ้นชีวิต

Page 4: สื่อประจำmae.eng.kmutnb.ac.th/th/files/bulletin/bulletin_08.pdfสื่อประจำ ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ

4


Top Related