enlaw · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง...

36
EnLAW

Upload: others

Post on 12-Aug-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

EnLAW

Page 2: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

เสวนาวิชาการ กฎหมายส่ิงแวดล้อม “คุ้มครองหรือลดทอน” มาตรการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม

วันที่ 14 มกราคม 2561 เวลา 09.00 – 13.00 น.

ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

เนื่องด้วยปัจจุบัน “ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ . . )

พ.ศ. ....” หรือร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับแก้ไขเพ่ิมเติมที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ถูกน าเข้าสู่การพิจารณาของสภา

นิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ

แห่งชาติ (สนช.) และได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาต่อไปนั้น

สาระส าคัญของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... นั้นมุ่ง

แก้ไขเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีประเด็นส าคัญอยู่ที่การแก้ไขลดทอนขั้นตอน

กระบวนการพิจารณาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) เพียงส่วนเดียวเท่านั้น โดยไม่ได้มีการแก้ไข

กฎหมายดังกล่าวทั้งฉบับเพ่ือให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิมได้แล้ว

ยังเป็นร่างกฎหมายที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การเพ่ิมเ ติมเนื้อหาตาม

ค าสั่งหัวหน้า คสช. และการก าหนดกรอบเวลาเร่งรัดการพิจารณารายงาน EIA / EHIA เพ่ือเอ้ือให้สามารถด าเนินการ

โครงการได้รวดเร็วและง่ายขึ้นกว่าเดิม แทนที่จะเพ่ิมระบบการกลั่นกรองโครงการที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อ

สิ่งแวดล้อมเพ่ือปกป้องสิ่งแวดล้อมจากการถูกท าลาย

อย่างไรก็ตาม แม้ภาคประชาชนจะได้ติดตามแสดงความคิดเห็นและพยายามน าเสนอแนวทางการแก้ไข

ปรับปรุงต่อร่างกฎหมายฉบับนี้แก่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดว่าร่างกฎหมายที่เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติ

บัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มิได้เป็นไปตามหลักการที่เป็นสาระส าคัญเพ่ือปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงตาม

เจตนารมณ์ของกฎหมาย และยังมีปัญหาข้อบกพร่องในสาระส าคัญทั้งในทางเนื้อหาและกระบวนการยกร่างกฎหมาย

ในหลายประเด็น แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการน าข้อเสนอภาคประชาชนไปพิจารณาการ

แก้ไขกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด

ภาคประชาชนในนามเครือข่ายประชาชนเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเห็นว่าการจัดเวทีเสวนาวิชาการเพ่ือ

วิพากษ์หรือน าเสนอความคิดเห็นของภาคประชาชนต่อกฎหมายสิ่งแวดล้อมจะเป็นการสื่อสารต่อสาธารณะเพ่ือการ

รับรู้และเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ต้องการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่

ยั่งยืนอย่างแท้จริง

Page 3: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

ก าหนดการ

เสวนาวิชาการ กฎหมายสิ่งแวดล้อม “คุ้มครองหรือลดทอน” มาตรการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 14 มกราคม 2561 เวลา 09.00 – 13.00 น.

ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

-----------------------------------------------------------------------------

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 – 09.15 น. กล่าวเปิดเวทีเสวนาวิชาการ โดย ตัวแทนจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อ๊ึงภากรณ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

09.15 - 13.00 น. กฎหมายสิ่งแวดล้อม “คุ้มครองหรือลดทอน” มาตรการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม โดย...

O คุณสรณรัชฎ์ กาญจนะวณชิย์ มูลนิธิโลกสีเขียว

O คุณภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ สมั ชช าองค์ กร เอกชนด้ านการคุ้ มครอง

สิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)

O อาจารย์สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ อาจารย์ประจ า คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

O ตัวแทนชุมชน “ประเด็นปัญหากระบวนการ EIA/EHIA กับร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อม

ฉบับที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช.”

จัดโดย : เครือข่ายประชาชนเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

Page 4: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 5: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 6: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 7: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 8: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 9: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 10: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 11: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 12: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 13: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 14: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 15: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 16: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 17: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
Page 18: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

23 2560

www.enlawfoundation.org

Page 19: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

เมื่อกฎหมายสิ่งแวดล้อมถูกท าให้กลายเป็นกฎหมายส่งเสริมการลงทุน

เลิศศักดิ์ ค าคงศักดิ์ 23 ธันวาคม 2560

ปมด้อยของรัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. ก็คือไม่เป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก นอกจากการเร่งฟ้ืนฟูความ

เชื่อมั่นและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเรื่องประชาธิปไตยที่ต้องประกาศให้แจ้งชัดว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วได้เมื่อไหร่่แล้ว ยังมีวิธีกลบปมด้อยอยู่อีกเรื่องหนึ่งนั่นก็คือต้องท าให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตให้ได้ในสภาวะที่บ้านเมืองปกครองด้วยระบอบเผด็จการ

ทั้งสองเรื่องเป็นโจทย์ใหญ่ที่ไขว้ไปมาจากความไม่ชัดเจนของประชาคมโลกเองว่าจะจัดล าดับความส าคัญให้เรื่องไหนมาก่อนเรื่องไหนมาทีหลัง มันจึงท าให้ คสช. ตอบสนองในเรื่องที่ง่ายกว่าก่อน นั่นก็คือการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้แก่นักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ ส่วนเรื่องประชาธิปไตยและการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่ คสช. ไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย อย่างน้อยก็ในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ (ซึ่งระยะเวลาสามปีกว่านับแต่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ก็เลยช่วงระยะเวลาอันใกล้มามากแล้ว)

ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากรัฐประหารผ่านมาได้สองสัปดาห์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในฐานะหัวหน้า คสช. ออกประกาศ คสช. ฉบับที่ 55/2557 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2557 แต่งตั้งตัวเองเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ เพราะเล็งเห็นว่ารัฐประหารครั้งนี้ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการลงทุนเพ่ือกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตให้ได้

นอกจากหน่วยงาน/องค์กรและกลไกทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที ่คสช. ควบคุมไว้ทั้งหมดในฐานะที่เป็นรัฐบาลแล้ว อุปสรรคส าคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการกลั่นกรองและพิจารณาโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ประเภทต่าง ๆ ท่่่ไม่เอ้ือต่อการกระตุ้นการใช้จ่ายเงินภาครัฐและเอกชนเพ่ือการลงทุนในกิจการสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมและบริการมากนัก ก่อนหน้าที่หัวหน้า คสช. จะลงนามแต่งตั้งตัวเองเป็นประธานกรรมการบีโอไอหนึ่งสัปดาห์ แนวคิดเรื่อง EIA Fast Track ก็ผุดขึ้นมาเพ่ือต้องการให้หน่วยงานที่ท าหน้าที่พิจารณาผ่านความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA สร้างช่องทางลัดพิเศษขึ้นมาเพ่ือท าให้ระยะเวลาการพิจารณาผ่านความเห็นชอบ EIA สั้นที่สุดเท่าที่จะท าได้ (อย่างมากที่สุดต้องไม่เกิน 105 วัน) ส าหรับโครงการน าร่องในการก้าวขึ้นสู่การเป็นรัฐบาลของ คสช. อันได้แก่โครงการรถไฟทางคู่ 5 สาย รถไฟฟ้าหลายเส้นทาง และมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด เป็นต้น

กลางปี 2558 แนวคิดเรื่อง EIA Bypass ก็เกิดขึ้นตามมาจากข้อเสนอของหัวหน้า คสช. ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษ (กนพ .) ตามค าสั่ ง คสช . ที่ 72/2557 เรื่ อง แต่งตั้ ง

Page 20: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2557 ที่ลงนามแต่งตั้งตัวเองเป็นประธานได้เสนอให้มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบและเงื่อนไขไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเพ่ือหลีกเลี่ยงการจัดท าและพิจารณา EIA บางขั้นตอนให้มีระยะเวลาสั้นลงเพ่ือผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษมีผลเชิงรูปธรรมเร็วขึ้น โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือจัดให้มีคณะกรรมการผู้ช านาญการพิจารณา EIA ด้านอุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภค (คชก.) ระดับจังหวัด[1]ที่มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสามารถเป็นผู้อนุมัติ/อนุญาต EIA ได้เอง ไม่ต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณา EIA แบบเดิมที่ใช้ระยะเวลายาวนานในการพิจารณาผ่านความเห็นชอบอีกต่อไป

ปลายปี 2558 ความพยายามที่จะท า EIA Fast Track และ EIA Bypass ยิ่งชัดเจนขึ้น โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ทั้งนี ้ก็เพ่ือให้ขั้นตอนในการด าเนินการ ประกอบด้วย การจัดเตรียมโครงการ การเสนอโครงการ การคัดเลือกเอกชน และการคัดเลือกโครงการ สามารถจัดท าไปพร้อมกับการจัดท ารายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study : FS) และการจัดท า EIA โดยที่ไม่จ าเป็นต้องรอให้ FS หรือ EIA ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน ที่แต่เดิมหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องศึกษา พิจารณาและอนุมัติ/อนุญาตตามข้ันตอนต่าง ๆ ที่ถูกก าหนดไว้ เรียงล าดับดังนี้ เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดเตรียมโครงการ การเสนอโครงการ การคัดเลือกเอกชน และการคัดเลือกโครงการ ฯลฯ ตามล าดับก่อนหลัง แต่มติ ครม. ดังกล่าวสามารถให้หน่วยงานต่าง ๆ ศึกษา พิจารณาและอนุมัติ/อนุญาตตามขั้นตอนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอ านาจหน้าที่ของตัวเองไปพร้อม ๆ กันหรือคู่ขนานกันไปได้เลย ไม่ต้องรอล าดับก่อนหลังอีกต่อไป ซึ่งรัฐบาลอ้างว่าเป็นการปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ที่สามารถย่นระยะเวลาให้กับโครงการที่เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ จากระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี 10 เดือน เหลือเพียง 9 เดือนเท่านั้น

เบื้องต้น คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 อนุมัติโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมที่มีความพร้อมในการด าเนินการตามมาตรการ PPP Fast Track จ านวน 5 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 334,207 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มูลค่าโครงการ 56,725 ล้านบาท โครง

[1] แนวคิดให้มีคณะกรรมการผู้ช านาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ระดับจังหวัด ถูกผลักดันจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2558 ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ข้อ 4.2 ที่สั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาก าหนดแนวทางให้มีคณะกรรมการผู้ช านาญการระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยเฉพาะในพ้ืนที่ที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการลงทุน หรือพ้ืนที่ที่ต้องเร่งพัฒนาหรือด าเนินการตามนโยบายของรัฐบาล เพ่ือให้โครงการและกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาลสามารถเริ่มด าเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Page 21: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ าเงิน ช่วงหัวล าโพง – บางแคและช่วงบางซื่อ – ท่าพระ มูลค่าโครงการ 82,600 ล้านบาท โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางประอิน – นครราชสีมา มูลค่าโครงการ 84,600 ล้านบาท และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี มูลค่าโครงการ 55,620 ล้านบาท

การปูทางเพ่ือการนี้มีมาเป็นล าดับ ไม่ว่าจะเป็นค าสั่งหัวหน้า คสช. ที ่3/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพ้ืนที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 20 มกราคม 2559 เพ่ือขยายอ านาจ ม.44 ตามค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 17/2558 เรื่อง การจัดหาที่ดินเพ่ือใช้ประโยชน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ที่ก าหนดให้ที่ดินในพ้ืนที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะ 3 จังหวัด คือ บริเวณต าบลป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ต าบลส านักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา และอ าเภอเมือง จ.หนองคาย ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายผังเมือง เปลี่ยนเป็นยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองครอบคลุมพ้ืนที่เขตเศรษฐกิจพิเศษท้ังหมด ๑๐ จังหวัด ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา ตราด[2] หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนม กาญจนบุรี[3]

ค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมส าหรับการประกอบกิจการบางประเภท ลงวันที่ 20 มกราคม 2559 เพ่ือขยายอ านาจ ม.44 ให้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองในโรงงานบางประเภทเพ่ิมข้ึนอีก เช่น โรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าชีวมวล หรือโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงอื่น ๆ โรงงานก าจัดขยะและของเสียต่าง ๆ เป็นต้น

ค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 9/2559 เรื่อง การแก้ไขเพ่ิมเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 7 มีนาคม 2559 เพ่ือยกเว้นโครงการด้านคมนาคมขนส่ง การสร้างเขื่อนและชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัย สามารถจัดหาผู้รับเหมาเอกชนเพ่ือด าเนินโครงการหรือกิจการได้โดยไม่ต้องรอให้ EIA ได้รับความเห็นชอบเสียก่อน

ค าสั่งว่าด้วยระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corrodor : EEC ได้แก่

ค าสั่งหัวหน้า คสช .ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนา EEC ค าสั่งหัวหน้า คสช .ที่ 28/2560 เรื่อง มาตรการเพ่ิมประสิทธิภาพการพัฒนา EEC และค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 47/2560 เร่่่อง ข้อก าหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินในพ้ืนที่

[2] 5 จังหวัดแรก ตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ .) ที่ 1/2558 เรื่อง ก าหนดพ้ืนที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 19 มกราคม 2558 [3] อีก 5 จังหวัดหลัง ตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่ 2/2558 เรื่อง ก าหนดพ้ืนที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที ่2 ลงวันที่ 24 เมษายน 2558

Page 22: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

EEC โดยรวมทั้งสามค าสั่งดังกล่าวมีขึ้นมาเพ่ือแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการพัฒนา EEC และคณะกรรมการบริหารการพัฒนา EEC ให้มีอ านาจและหน้าที่ส่งเสริมและอ านวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนเป็นหลักด้วยการ (1) ก าหนดสิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุน (2) ให้ผู้ลงทุนเช่าที่ดินระยะยาว (3) ยกเว้นบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและยกเลิกผังเมืองรวมสามจังหวัดที่ไม่สอดคล้องกับแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานและระบบสาธารณูปโภคในพ้ืนที่ EEC ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง (4) ให้มี คชก. พิจารณา EIA/EHIA ของโครงการหรือกิจการในพ้ืนที่ EEC เป็นการเฉพาะ โดยว่าจ้างจากผู้ช านาญการต่างประเทศที่ไม่จ าเป็นต้องมีสัญชาติไทยก็ได้ และให้มีค่าตอบแทนพิเศษแก่ คชก. เฉพาะพ้ืนที่ EEC ด้วย และ (5) ต้องเร่งรัดให้การพิจารณา EIA/EHIA ส าหรับโครงการหรือกิจการในพื้นท่่ี EEC แล้วเสร็จให้ได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับรายงาน

รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560 ให้ยุบคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) ที่เป็นองค์กรอิสระท าหน้าที่ให้ความเห็นประกอบรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ก่อนมีการด าเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง เพ่ือยึดอ านาจผูกขาดในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ EHIA กลับมาอยู่ ในมือของส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม (สผ .) คณะกรรมการผู้ช านาญการพิจารณา EIA/EHIA (คชก .) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กกวล.) เช่นเดิม หลังจากที่ถูก กอสส. แย่งชิง แทรกแซงและลดทอนอ านาจผูกขาดในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ EHIA ไปนานกว่าเจ็ดปีนับแต่เดือนมิถุนายน 2553

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือล าดับการก่อตัวเพ่ือสร้างเหตุผลและความชอบธรรมในการแก้ไขเพ่ิมเติมกฎหมายสิ่งแวดล้อมเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพียงส่วนเดียว แทนที่จะแก้ไขทั้งฉบับเพ่ือท าให้มิติการพัฒนาตระหนักถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชนเกิดความสมดุลย์และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันหรือพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 แม้โดยรวมจะไม่ดีมากนักแต่ก็มีพัฒนาการในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนดีขึ้นมาเป็นล าดับ

ดังนั้น หากจะต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมก็ควรแก้ไขปรับปรุงให้การมีส่วนร่วมของประชาชนทันสมัยขึ้นด้วยการเพ่ิมบทบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือสิทธิชุมชน หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติที่ประชาคมโลกรวมทั้งประเทศไทยตกลงร่วมกันที่จะใช้เป็นกรอบในการด าเนินงานด้านการพัฒนาใส่ลงไปในกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ รวมถึงการเพ่ิมบทบัญญัติว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) เข้ามาเพ่ือประเมินศักยภาพพ้ืนที่และความต้องการใช้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ส าหรับนโยบาย โครงการหรือกิจการที่การจัดท า EIA/EHIA ไม่สามารถตอบสนองการประเมินผลกระทบได้รอบด้านและครบถ้วน และปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนในการจัดท าและพิจารณา EIA/EHIA ด้วยการให้มีองค์กรอิสระที่ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล

Page 23: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

ครอบง าของเจ้าของโครงการและหน่วยงานผูกขาดอ านาจและหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ EIA/EHIA ของรัฐ คือ สผ. คชก. และ กกวล. ฝ่ายเดียวอีกต่อไป

แต่ปัจจุบัน ‘ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....’ หรือร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับแก้ไขเพ่ิมเติมที่เสนอโดย ครม. ชุดที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีถูกส่งต่อไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาอยู่ในขณะนี้กลับท าตรงกันข้าม โดยมุ่งแก้ไขเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพ่ือต้องการท าให้ระยะเวลาในการจัดท าและพิจารณาผ่านความเห็นชอบ EIA/EHIA มีขั้นตอนและกระบวนการที่ลัดสั้นที่สุดเท่าที่จะท าได้ เป็นเสมือนการสร้างช่องทางด่วนหรือช่องทางลัดเพ่ือมุ่งเอ้ือประโยชน์ให้แก่การลงทุนมากเกินไปจนละเลยคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการน าค าสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 9/2559 มาขยายความให้ครอบคลุมโครงการหรือกิจการมากขึ้นกว่าเดิมใส่ลงไปในมาตรา 50 วรรคสี่ ที่แต่เดิมยกเว้นเฉพาะโครงการด้านคมนาคมขนส่ง การสร้างเขื่อน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัย ให้สามารถจัดหาผู้รับเหมาเอกชนเพ่ือด าเนินโครงการหรือกิจการได้โดยไม่ต้องรอให้ EIA ได้รับความเห็นชอบเสียก่อน โดยเพ่ิมโครงการหรือกิจการด้านความมั่นคงทางพลังงานเข้ามาอีกประเภทหนึ่ง นั่นก็คือโครงการหรือกิจการเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะถ่านหินที่รัฐก าลังผลักดันให้เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา ที่เพ่ิงถูกสลายการชุมนุมและฟ้องคดีโดยรัฐเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นต้น รวมถึงโครงการหรือกิจการจากสัมปทานขุดเจาะส ารวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งทะเลและบนบก ก็จะถูกยกเว้นด้วยการสามารถจัดหาผู้รับเหมาเอกชนเพื่อด าเนินโครงการหรือกิจการได้โดยไม่ต้องรอให้ EIA ได้รับความเห็นชอบเสียก่อนได้เช่นเดียวกัน

ไม่เพียงเท่านั้น โครงการหรือกิจการเหล่านี้ตามมาตรา 50 วรรคสี่ ยังถูกบังคับให้ คชก. ต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบ EIA/EHIA อย่างเร่งรีบภายใน 120 วัน หาก คชก. ไม่มีความเห็นภายในก าหนดเวลาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้ กกวล. ท าหน้าที่แทนโดยพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ครม. ได้โดยไม่ต้องรอความเห็นจาก คชก. อีกต่อไปได้เลย

ประเด็นต่อมา มาตรา 48 ของร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ที่เหมือนกับมาตรา 46 วรรคสามของกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันตรงที่สามารถให้โครงการหรือกิจการประเภทหรือขนาดใด หรือที่จะจัดตั้งขึ้นในพ้ืนที่ใดมี EIA ไว้แล้ว (ไม่รวม EHIA เข้ามาในกรณีนี้) และเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้กับโครงการหรือกิจการประเภทหรือขนาดเดียวกัน หรือในพ่้นที่ลักษณะเดียวกันได้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดท า EIA ซ้ าอีก หมายถึง สามารถน าส าเนา EIA โครงการหนึ่งมาใช้กับอีกโครงการหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ต่างพ้ืนที่ได้เลย

แต่ที่เพ่ิมเข้ามาก็คือมาตรา 49 ในกรณีโครงการหรือกิจการใดได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดท า EIA มีการดัดแปลง ขยาย ต่อเติม เพ่ิม ลด หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ให้จัดท า EIA ขึ้นมาเสนอต่อ สผ. หรือ ‘หน่วยงานของรัฐแห่งอ่ืน’ ตามท่่่ กกวล. มอบหมายให้ปฎิบัติหน้าที่แทนก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น โครงการเหมืองแร่ชนิดหนึ่งใช้ส าเนา EIA

Page 24: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

จากโครงการเหมืองแร่ชนิดเดียวกันที่มีขนาดและพ้ืนที่คล้ายคลึงกันต้องการเปลี่ยนแปลงแผนผังการท าเหมืองและเพ่ิมเติมชนิดแร่ที่จะผลิต ก็จัดท า EIA ขึ้นมาโดยเสนอต่ออธิบดีกรมอุตสาหกรรมพ้ืนฐานและการเหมืองแร่ตามกฎหมายแร่แทนการเสนอต่อ สผ. และ คชก. ได ้ เป็นต้น ซึ่งจะท าให้ EIA ที่จัดท าข้ึนมาผ่านความเห็นชอบได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการและข้ันตอนการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ สผ. และ คชก. แต่อย่างใด

จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติที่เพ่ิมเข้ามาค่อนข้างอันตราย เนื่องจากว่าอ านาจผูกขาดในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ EIA/EHIA ของ สผ. คชก. และ กกวล. ซึ่งปรากฎอยู่ในร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับนี้และค าสั่งหัวหน้า คสช. ว่าด้วยการพัฒนาพ้ืนที่ EEC อาจจะน ามาซึ่งโครงการหรือกิจการที่ท าส าเนา EIA เต็มไปหมดในพ้ืนที่ EEC มิหน าซ้ า การดัดแปลง ขยาย ต่อเติม เพ่ิม ลด หรือเปลี่ยนแปลงโครงการหรือกิจการไปจากเดิมก็อาจไม่ต้องผ่านกระบวนการและข้ันตอนการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ สผ. และ คชก. ได ้

ไม่เว้นแม้แต่โครงการหรือกิจการโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงงานก าจัดขยะและของเสียต่าง ๆ ที่อยู่อาศัยตึกสูงที่ผุดขึ้นเต็มกรุงเทพฯและหัวเมืองต่าง ๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันทั้งในด้านขนาดและพ้ืนที่ ก็คงจะมีการท าส าเนา EIA เต็มไปหมด และก็เช่นเดียวกัน การดัดแปลง ขยาย ต่อเติม เพ่ิม ลด หรือเปลี่ยนแปลงโครงการหรือกิจการไปจากเดิมก็อาจไม่ต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ สผ. และ คชก. ได ้

อีกประเด็นหนึ่ง มาตรา 51 เปิดโอกาสให้โครงการหรือกิจการที่ต้องจัดท า EIA/EHIA สามารถเสนอต่อ สผ. หรือ ‘หน่วยงานของรัฐแห่งอ่ืน’ ตามที่ กกวล. มอบหมายให้ปฎิบัติหน้าท่่่แทนก็ได้ หมายความว่า EIA/EHIA ส าหรับโครงการหรือกิจการประเภทใดที่ยากและใช้เวลานานในการพิจารณาให้ความเห็นชอบของ สผ. และ คชก. ก็ให้หน่วยงานที่มีอ านาจอนุญาตตามกฎหมายนั้นท าหน้าที่เป็น สผ. และ คชก. แทน ยกตัวอย่างเช่น โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าประเภทหนึ่งก็ให้คณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่เป็นผู้พิจารณาใบอนุญาตซื้อขายไฟฟ้าท าหน้าที่เป็นผู้พิจารณาผ่านความเห็นชอบ EIA/EHIA เพ่ิมเติมอีกหน้าที่หนึ่ง เป็นต้น

หน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของกฎหมายสิ่งแวดล้อมก็คือมีหน้าที่ เป็นตาข่ายคอยดักและกลั่นกรองการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความสมดุลย์ ในการใช้และการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการมองมิติความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างค่อยเป็นค่อยไปในหลายชั่วอายุคน และค านึงถึงการพัฒนาที่เป็นประโยชน์สุขของประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เจ็บไข้ได้ป่วยง่ายเกินไปจากมลพิษในภาคอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่รายรอบที่อยู่อาศัย แต่สิ่งที่รัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. กระท าคือตัดตาข่ายของกฎหมายสิ่งแวดล้อมทิ้ง ซึ่งจะท าให้การกลั่นกรองเพ่ือรับประกันให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้นทั้งในทางสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาวะอนามัยอ่อนแอลงจากการเปลี่ยนกฎหมายสิ่งแวดล้อมให้กลายเป็นกฎหมายส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง

Page 25: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

EnLAW)

www.enlawfoundation.org

Page 26: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

สรุปความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนต่อการแก้ไข

พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับใหม ่

โดย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

ครั้งที่ 1 : 16 มิ.ย. 2560 เข้าหารือเรื่องการปฏิรูปร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ ที่ต้องการให้แก้ไขทั้งฉบับ ซึ่งเครือข่ายฯ เห็น

ว่าไม่มีการแก้ไขให้กระบวนการจัดท าที่ดีข้ึน ที่ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.)

ครั้งที่ 2 : 24 ก.ค.2560 ยื่นข้อเสนอภาคประชาชนในนามเครือข่ายประชาชนเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อการจัดท าร่าง

ฯ หมวดการจัดท ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อ รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- หน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม โดยมี นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ รองปลัดกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทนกระทรวงฯ รับหนังสือจากเครือข่ายฯ

ครั้งที่ 3 : 14 ก.ย.2560 ยื่นข้อเสนอภาคประชาชนต่อการปฏิรูปการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในส่วนการจัดท าร่าง

กฎหมายฯ หมวดการจัดท ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อ ประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการและ

ขับเคลื่อนการปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้าง (อบป.)

ครั้งที่ 4 : 22 ก.ย.2560 รวมตัวคัดค้านและยื่นข้อเสนอต่อการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ฉบับใหม่ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีนายสมชัย มาเสถียร รองปลัดกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายสุโข อุบลทิพย์ รองเลขาธิการส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและ

สิ่งแวดล้อมมาเจรจา

ครั้งที่ 5 : 14 พ.ย.2560 เครือข่ายประชาชนเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืนยื่นข้อเสนอต่อการจัดท าร่างฯ ต่อ นายกรัฐมนตรี

เ ลขาธิ ก ารณะกรรมการกฤษฎี กา ที่ ส านั ก งานคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ (กพร . ) โ ดยมี

นายพันศักดิ์ เจริญ ส านักงานปลัดส านักนายกรัฐมนตรีเป็นตัวแทนรับข้อเสนอ จากนั้นประชุมร่วมกับ พ.อ.คฑาวุฒิ

ขจรกิตติยุทธ ผู้อ านวยการศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี ส านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ครั้งที่ 6 : ภาคประชาชนรวมตัวกันบริเวณ กพร. /ท าเนียบรัฐบาล วันที่ 6-7 ธันวาคม 2560 ยื่นหนังสือข้อเสนอต่อ

สาธารณะและรัฐบาล ต่อนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้อเสนอภาคประชาชนต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ... ขอให้ยุติร่างพระราชบัญญัติ... โดยมีนายสมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดส านักนายกออกมารับ

หนังสือพร้อมแถลงการณ์ท าไมไม่เอากฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ และให้ยกเลิกร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ ที่

ไม่ปฏิรูป EIA/EHIA

Page 27: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

สรุปความเคลื่อนไหวการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ....

โดย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

เมษายน 2560 -เผยแพร่ร่างกฎหมายผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 20

เมษายน ถึง 9 พฤษภาคม 2560 (ท้ังหมด 121 มาตรา)

17 ก.ค.2560 -จัดประชุมสัมมนาเพ่ือรับฟังความคิดเห็นต่อการปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... ครั้งที่ 2 เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2560 ()

(เป็นการแก้ไขเพ่ิมเติมร่างฯ ครั้งที่สอง มีทั้งหมด 122 มาตรา)

18 ก.ย.2560 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และค าชี้แจงของ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งช าติ

พ.ศ. ....

จากช่องทางอ่ืน ๆ (การยื่นหนังสือของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง ) และสรุปผลพิจารณาต่อเครือข่ายประชาชนเพื่อการ

พัฒนาที่ยั่งยืน (จากการยื่นหนังสือเมื่อวันที่ 24 ก.ค.2560)

ร่างฯ ฉบับก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และ คณะรัฐมนตรี(ครม.)

-แก้ไขเพ่ิมเติมในส่วนอัตราค่าธรรมเนียม โดยเพิ่มค่าธรรมเนียมการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบ

สิ่งแวดล้อม โครงการละ 100,000 บาท (จากฉบับเดิมเม่ือวันที่ 17 ก.ค.2560 ไม่มีค่าธรรมเนียมรายการนี้)

(หมวด 4 การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 4 การจัดท ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรา 50 -63

ร่างฯฉบับนี้มีทั้งหมด 130มาตรา )

ร่างฯฉบับที่ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และน าเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

รอการพิจารณาวาระ ที่ 1 (ข้อมูลวันที่ 27 พ.ย.2560)

-สนช.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับร่าง (ครบก าหนด 60 วัน วันที่ 19 ม.ค.2560)

-แก้ไขเพ่ิมเติม มาตรา 50 , 51 เป็น 51/1-51/9 เพ่ิมเติมโทษ 101/1-101/2

อยู่ในการพิจารณาวาระท่ี 2 (ข้อมูลวันที่ 12 มกราคม 2561)

-ประกาศสนช. เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

อ้างอิงจาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/lawdraft.php

Page 28: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

www.enlawfoundation.org

Facebook page :

Page 29: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

ข้อเสนอภาคประชาชน

ต่อการจัดท าร่างกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.....

(ฉบับที่ร่างโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) โดยได้ยื่นข้อเสนอเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2560

ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 ก าหนดให้ก่อนการตรากฎหมาย ทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างร อ บ ด้ า น แ ล ะ เ ป็ น ร ะ บ บ ร ว ม ทั้ ง เ ปิ ด เ ผ ย ผ ล ก า ร รั บ ฟั ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น แ ล ะ ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ นั้ น ต่อประชาชน ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 ได้ก าหนดแนวทางให้หน่วยงานรัฐด าเนินการตราร่างพระราชบัญญัติตามหลักการที่รัฐธรรมนูญก าหนด โดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก าหนดเกณฑ์ข้ันต่ าของการรับฟังความคิดเห็นไว้ว่า ให้หน่วยงานรัฐเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์อย่างน้อย 15 วัน ผลปรากฏว่าหน่วยรัฐจ านวนมากเร่งด าเนินการน าร่างกฎหมายเปิดรับฟังความคิดเห็นด้วยหลักเกณฑ์ขั้นต่ าดังกล่าว โดยไม่สนใจว่าจะเป็นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงหรือไม่

หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ส่ งผลต่อประชาชนผู้มีส่วนได้ เสีย ซึ่ งผู้ที่ ได้รับผลกร ะทบกลับไม่สามารถ มีส่วนร่วมต่อร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว เช่น การรับฟังความคิดเห็นของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... ที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ที่ ผ่ า น ม า เ ป็ น ก า ร ข า ด ก า ร รั บ ฟั ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ก่ อ น ก ร ะ บ ว น ก า ร ร่างกฎหมาย โดยที่รัฐเป็นผู้ร่างกฎหมายอยู่ฝ่ายเดียว และน ามารับฟัง ความคิดเห็นเม่ือร่างกฎหมาย ทั้งฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว และด้วยระยะเวลาแสดงความคิดเห็นที่สั้น ช่องทางการแสดงความคิดเห็น ที่แคบ ตลอดจนไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อประกอบการรับฟังความคิดเห็นในด้านต่างๆ เช่น สภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาของกฎหมายดังกล่าว หลักการอันเป็นสาระส าคัญของกฎหมายที่จะตราขึ้น ความจ าเป็นที่ต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่อแก้ปัญหานั้น ประเด็นที่จะรับฟังความคิดเห็นหรือร่างพระราชบัญญัติที่จะรับฟังความคิดเห็น

ดังนั้นกระบวนการร่างกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ พ.ศ..... ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ปิดรับฟังความคิดเห็นไปแล้วนั้น สะท้อนถึงความไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย และไม่เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 77

ตามท่ีมาตรา 58 ของรัฐธรรมนูญ ก าหนดให้การด าเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ด าเนินการ อันจะมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส าคัญของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องด าเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อน ามาประกอบการพิจารณาด าเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ ประกอบกับ

Page 30: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

มาตรา 278 ที่ให้หน่วยงานของรัฐที่คณะรัฐมนตรีก าหนดด าเนินการ ให้จัดท าร่างกฎหมายที่จ าเป็นตามมาตรา 58 ให้แล้วเสร็จและเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น

เมื่อพิจารณามาตรา 50 ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งก าหนดว่า กรณีที่โครงการหรือกิจการประเภทหรือขนาดใดหรือที่จะจัดตั้งขึ้นในพ้ืนที่ใด มีการจัดท ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและได้รับความเห็นชอบแล้ว และเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้กับโครงการหรือกิจการประเภทหรือขนาดเดียวกันหรือในพ้ืนที่ลักษณะเดียวกันนั้น และรัฐมนตรีสามารถประกาศก าหนดให้โครงการหรือกิจการ ในท านองเดียวกันถือปฏิบัติโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ได้ ต ล อ ด จ น ก า ร ใ ห้ เ จ้ า ห น้ า ที่ ซึ่ ง มี อ า น า จ อ นุ ญ า ต ต า ม ก ฎ ห ม า ย น า ม า ต ร ก า ร ต่ า ง ๆ ที่ก าหนดไว้ส าหรับโครงการหรือกิจการที่ผ่านการตรวจสอบจากส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไปก าหนดเป็นเงื่อนไขในการสั่งอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาต โดยให้ถือเป็นเงื่อนไขที่ก าหนดตามกฎหมายในเรื่องนั้นด้วย

จากที่กล่าวมา มาตรา 50 กลับเป็นการลดทอนสิ่งที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้แคบลงอย่างเห็นได้ชัดจากที่รัฐธรรมนูญก าหนดให้เป็นการด าเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ด าเนินการ กลับลดทอนเหลือเพียงเป็นโครงการหรือกิจการเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงการด าเนินการของรัฐที่อาจเกิดผลกระทบขึ้น อีกท้ังยังขาดรายละเอียดในการก ากับการใช้อ านาจรัฐ ซึ่งเป็นการเขียนอ านาจลอยไว้ โดยไม่มีการก าหนดให้ชัดเจน ทั้งนี้ควรจะมีการออกกฎหมายลูกเพ่ือรองรับหลักเกณฑ์ต่างๆ และต้องก าหนดรายละเอียดเงื่อนไข เพ่ือก ากับการใช้อ านาจรัฐไว้ เพ่ือที่จะสามารถใช้สิทธิกระบวนการทางศาลตรวจสอบได้ หากว่าไม่เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทก าหนดไว้ เช่น

- การ ไม่ เ ปิ ด เ ผยร าย ง านการประ เมิ นผลกระทบสิ่ ง แ วดล้ อม ( EIA) ให้ ชุ มชน ได้ รั บทราบ ซึ่งต้องก าหนดเงื่อนไขเก่ียวกับการพิจารณารายงาน EIA ว่าต้องเปิดเผยรายงานให้ชุมชนได้รับทราบ

- มีการหลบเลี่ ย งการท า EIA เช่ น กรณี โ รง ไฟฟ้าชี ว มวลนั้ นก าหนดขนาดที่ ต้ อ งจั ดท า EIA อยู่ที่ขนาด 10 เมกะวัตต์ แต่กลับพบว่าบริษัทผู้ประกอบการหลบเลี่ยงการท า EIA โดยยื่นขออนุญาต เป็นขนาด 9.9 เมกะวัตต์ เพ่ือหลบเลี่ยงการจัดท า EIA

ดังนั้น มาตรา 50 ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .. . จึงเป็นการบัญญัติที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

ภาคประชาชน และเครือข่ายองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมในนามเครือข่ายประชาชนเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงได้มีข้อเสนอเพ่ือให้เป็นมาตรฐานในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

Page 31: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

1. ระบบของการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากระบบการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. … ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นนั้น กล่าวถึงระบบของการประเมินผลก ร ะ ท บ ด้ า น สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม เ พี ย ง แ ค่ 2 ร ะ บ บ คื อ ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ผ ล ก ร ะ ท บ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ( Environmental Impact Assessment- EIA ) และ กระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ( Environmental Health Impact Assessment – EHIA )

ซึ่งในเรื่องนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีข้อสรุปในเรื่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment - SEA ) ปรากฏตามผลการรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายดังกล่าวว่าจะด าเนินการตามข้อเสนอการปฏิรูปของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คือใช้ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูป SEA ของประเทศ

ภาคประชาชนเห็นว่าการอาศัยการด าเนินการตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีนั้นอาจไม่เพียงพอ ต่อการน ามาปฏิบัติ จึงเห็นว่า ควรมีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment - SEA ) ที่เป็นการประเมินศักยภาพและข้อจ ากัดของสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสามารถช่วยให้เห็นถึงความเหมาะสมกับพ้ืนที่และเป้าหมายการพัฒนาพ้ืนที่ โดยลักษณะของโครงการพัฒนาต้องสอดคล้องกับ SEA ของแต่ละพ้ืนที่และการเกิดขึ้นของโครงการจะต้องมีการประเมินเชิงยุทธศาสตร์ก่อนว่าสอดคล้องกับการพัฒนาพ้ืนที่หรือไม่ หากว่าสอดคล้องจึงค่อยมีการจัดท ารายงาน EIA/EHIA หากไมส่อดคล้องต้องไม่ด าเนินการโครงการนั้น

นอกจากนั้นแล้วภาคประชาชนเห็นว่าต้องมีการก าหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อเป็นกรอบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังต่อไปนี้

ต้องพิจารณาถึงทางเลือกอย่างรอบด้านโดยมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนโดยรวมของแต่ละทางเลือก ทั้งท่ีเป็นต้นทุนด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านสุขภาพ

ต้องศึกษาประเมินผลกระทบ และความเสียหาย โดยรวมถึงการประเมินต้นทุนภายนอก (Externality) ทั้ ง ในด้ าน เศรษฐกิจ สิ่ งแวดล้อม สั งคม และสุขภาพ และคิดรวมคุณค่ า ในเชิงระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ต้นทุนการให้บริการเชิงนิเวศ (Ecological Service) ต้องเอาต้นทุนภายนอกนี้ไปรวมกับต้นทุนภายใน และใช้ประกอบการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ

หากพ้ืนที่ที่ด าเนินโครงการนั้นอยู่ในพ้ืนที่ระบบนิเวศเฉพาะ ต้องออกแบบการศึกษาเป็นการเฉพาะส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ค ว า ม จ า เ พ า ะ ข อ ง ร ะ บ บ นิ เ ว ศ เ ช่ น พ้ื น ที่ ชุ่ ม น้ า ที่ มี ค ว า ม ส า คั ญ ระดับนานาชาติ (Ramsar Site)

Page 32: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

ต้องก าหนดแยกสัญญาว่าจ้างการก าหนดขอบเขตการศึกษาและแนวทางการประเมิน ผลกระทบโดยสาธารณะ (Public Scoping) กับสัญญาว่ าจ้ า งการด า เนิ นการประ เมิน ผลกระทบ (Assessment) ออกจากกัน เพ่ือน าผลจากการท า Public Scoping มาก าหนดเป็นสัญญาว่าจ้างการประเมินผลกระทบที่เหมาะสมและมีงบประมาณด าเนินการเพียงพอ โดยจะต้องให้มี ก ล ไ ก พิ จ า ร ณ า เ ห็ น ช อ บ ข อ บ เ ข ต ก า ร ศึ ก ษ า แ ล ะ แ น ว ท า ง ป ร ะ เ มิ น ผ ล ก ร ะ ท บ โดยสาธารณะก่อนที่จะมีการด าเนินการประเมินผลกระทบต่อไป

ข้อเสนอของภาคประชาชนดังกล่าวนั้นมีความสอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... ของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ฉบับคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม) ที่ได้ก าหนดไว้ในหมวดที่ 6 การประเมินสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 1 การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ อันเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ได้เสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดท ากฎหมาย ประกอบกั บ ร่ า ง ม ติ ข อ ง ส มั ช ช า สุ ข ภ า พ ค รั้ ง ที่ 5 ( ม ติ 6 ผ น ว ก 1 วันที่ 20 ธันวาคม 2555 ) ที่ส านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดท าขึ้นโดยผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนจากหลายภาคส่วน โดยเสนอให้ค านึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อนให้ ความเห็นชอบนโยบายและแผนด้านการพัฒนา และมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยเพ่ิมเติมเรื่องการจัดท ารายงาน SEA และความเชื่อมโยงระหว่างการท า SEA กับ EIA/EHIA

2. มีการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) ของพ้ืนที ่

ภาคประชาชนเห็นว่า ควรมีการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับ(Carrying Capacity) ของพื้นที่ ในการศึกษาข้อจ ากัดต่างๆ ไม่ว่าจะด้านพ้ืนที่ ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติในพ้ืนที่ ตลอดจนถึงการแก้ไขผลกระทบหรือการเยียวยา โดยค านึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหากมีโครงการหรือกิจกรรมเพ่ิมเข้าไปในพ้ืนที่จะส่งผลต่อศักยภาพในการรองรับของพ้ืนที่อย่างไร ซึ่งเห็นควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพ่ือให้สอดรับกับศักยภาพของพ้ืนที่และการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นแ น ว ท า ง ใ น ก า ร ป รั บ ป รุ ง แ ก้ ไ ข ก ฎ ห ม า ย ที่ ไ ด้ เ ส น อ แ น ะ ต่ อ ห น่ ว ย ง า น ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง ในการจัดท ากฎหมาย ประกอบกับร่างมติของสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 5 (มติ 6 ผนวก 1 วันที่ 20 ธันวาคม 2555) ที่ส านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดท าขึ้น

และปรากฏว่าในมาตรา 53 วรรค 4 ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... นั้นเป็นการน าค าสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 9/2559 มาบัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ซึ่งก าหนดว่า ในกรณีมีความจ าเป็นเร่งด่วนเพ่ือประโยชน์ในการด าเนินโครงการหรือกิจการด้านการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การป้องกันสาธารณภัย โรงพยาบาล ที่อยู่อาศัย หรือความมั่นคงทางพลังงาน ในระหว่างที่ รอผลการ

Page 33: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

พิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอ่ืนของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการหรือกิจการนั้น อาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพ่ือพิจารณาอนุมัติให้ด าเนินการเพ่ือให้ได้มาซึ่งเ อ ก ช น ผู้ รั บ ด า เ นิ น ก า ร ต า ม โ ค ร ง ก า ร ห รื อ กิ จ ก า ร ไ ป พ ล า ง ก่ อ น ไ ด้ แต่จะลงนามผูกพันในสัญญาหรือให้สิทธิกับเอกชนผู้รับด าเนินการตามโครงการหรือกิจการไม่ได้

การก าหนดไว้เช่นนี้เข้าข่ายละเมิดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 58 ที่ก าหนดให้รัฐต้องด าเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสียของประชาชนก่อน เพ่ือน ามาปร ะกอบ ในกา ร พิ จ า รณาการด า เ นิ นก ารหรื ออนุญ าต ร วมทั้ ง เ ป็ นก าร ลดทอน ไม่ ใ ห้ ค ว ามส า คั ญ กับการปฏิบัติตามกระบวนการขั้นตอนของ EIA ให้ครบถ้วนก่อนการด าเนินการใดๆ ตามหลักป้องกันไว้ก่อน(Precautionary Principle) จึงเห็นว่าสมควรตัดมาตราดังกล่าวออกจากร่างกฎหมายฉบับนี้

3. อ ง ค์ ก ร บ ริ ห า รจั ด ก า ร ร ะบบประ เ มิ น ผลก ร ะทบสิ่ ง แ วดล้ อ ม ค ว รแ ยก เ ป็ น หน่ ว ย ง า น อิส ร ะ หรือหน่วยงานกลาง

ในการจัดท าการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ช านาญการในการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และฉบับร่างกฎหมายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทีม่ีการเปิดรับฟังความคิดเห็นนั้น

เห็นว่าควรก าหนดบทบัญญัติในเรื่องการจัดจ้างผู้จัดท ารายงานฯ โดยมีการตั้ งหน่วยงานขึ้นใหม่ ให้มีหน้าที่จัดจ้างผู้จัดท ารายงาน (ไม่ใช่การว่าจ้างโดยเจ้าของโครงการตามที่ปฏิบัติในปัจจุบัน) ภาคประชาชนจึงมีข้อเสนอเพ่ิมเติมต่อไปนี้

กระบวนการจัดท ารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม - ผู้จัดท ารายงานต้องเป็นหน่วยงานกลางที่มีการยอมรับร่วมกัน - ความสัมพันธ์ของเจ้าของโครงการและบริษัทผู้จัดท ารายงานประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมต้องแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง - มีการจัดท ารายงานผลการรับฟังความคิดเห็นโดยการมีส่วนร่วม และแสดงถึงผล การพิจารณาข้อคิดเห็นของประชาชน เ พ่ือสร้างความเชื่อมั่นของกระบวนการ มีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย - ก า ห น ด ขั้ น ต อ น ก า ร รั บ ฟั ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ใ ห้ เ ป็ น ไ ป โ ด ย ช อ บ ธ ร ร ม

โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบควบคุมดูแลในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็ น โดยเฉพาะ

Page 34: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

- ก าหนดให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงขั้นตอนการท าร า ย ง านฯ ได้ ตลอดทั้ ง ใ น ร ะยะก่ อน เ ริ่ ม ด า เ นิ นก าร ร ะหว่ า ง ด า เ นิ นก า ร และหลังจากด าเนินการ

คณะกรรมการผู้ช านาญการ - คณะกรรมการผู้ช านาญการในการพิจารณาอนุมัติรายงานจะต้องมีองค์ประกอบ

ที่เท่าเทียมกันระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ และชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ และอาจมีคณะกรรมการผู้ ช านาญการในระดับพ้ืนที่ เช่น คณะกรรมการผู้ ช านาญการ ในระดับจังหวัด โดยจะมีความสอดคล้องตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... ของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (ฉบับคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม) ที่ได้เสนอเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ไว้

ดังนั้นเมื่อร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติ

บัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังมีปัญหาข้อบกพร่องในสาระส าคัญท้ังในทางเนื้อหาและกระบวนการยกร่างกฎหมาย

ในหลายประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้น เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่

เกี่ยวข้องยุติการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

พ.ศ. .... ที่ด าเนินการอยู่ และต้องท าการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

แห่งชาติในสาระส าคัญทั้งฉบับ และต้องให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.

2560 มาตรา 58 ด้วย มิใช่แต่เพียงเร่งรีบด าเนินการเสนอและพิจารณาร่างกฎหมายโดยอ้างกรอบระยะเวลา

240 วัน ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 278 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 โดยไม่ค านึงถึงเนื้อหาและเจตนารมณ์

ของกฎหมายและในกระบวนการขั้นตอนแก้ไขปรับปรุงต้องมีการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านจากประชาชนผู้มี

ส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย

(RIA) และเป็นไปตามหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.enlawfoundation.org และ

Facebook : เครือข่ายประชาชนเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืน

Page 35: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

ข้อเสนอภาคประชาชน

ต่อการจัดท าร่างกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.....

เครือข่ายประชาชนเพ่ือการพัฒนาที่ยั่งยืนขอยืนยันเจตนารมณ์ไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ

ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... ฉบับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก

เป็นกระบวนการปรับแก้กฎหมายที่มิได้น าไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สั่งสมมาเป็นเวลาหลายสิบปีอย่างแท้จริง

โดยเฉพาะในประเด็นกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้ช่วยส่งเสริม

การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นการเอ้ือให้เกิดการละเมิดต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

ของประชาชนมากยิ่งขึ้น

การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ให้ความส าคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องรอง ส่วนเรื่องหลักคือการ

เอ้ือให้โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ท าลายสิ่งแวดล้อมสามารถด าเนินการได้ง่ายขึ้น โดยเห็นได้จากการน าเนื้อหาของ

ค าสั่งหัวหน้า คสช. ตามรัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว มาตรา 44 บรรจุลงไปในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย อันเป็นการ

ลดทอนสิ่งที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 58 ให้แคบลงอย่างเห็นได้ชัด

ร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ที่คณะรัฐมนตรีน าเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กลับมีทิศทาง

ตรงกันข้าม โดยมุ่งแก้ไขเฉพาะในหมวดว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ เป็นหลัก เพ่ือต้องการ

ท าให้ระยะเวลาในการจัดท าและพิจารณาผ่านความเห็นชอบ อีไอเอ มีขั้นตอนและกระบวนการที่ ลัดสั้นที่สุดเท่าที่จะ

ท าได้ เป็นเสมือนการสร้างช่องทางด่วน เพ่ือมุ่งเอ้ือประโยชน์ให้แก่การลงทุนมากเกินไป ละเลยคุณภาพชีวิตของ

ประชาชน โดยมีประเด็นส าคัญ ดังนี้

1. การน าค าสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 9/2559 มายัดไส้ใส่ลงไปในมาตรา 50 วรรคสี่ ที่ละเว้นให้กิจการด้าน

คมนาคมขนส่งและการสร้างเข่ือนที่ตัดผ่านเข้าไปในผืนป่าและพ้ืนที่ที่มีความอ่อนไหวทางระบบนิเวศ กิจการด้านความ

มั่นคงทางพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือสัมปทานขุดเจาะส ารวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งทะเลและบนบก เป็นต้น

ไม่ต้องรอให้ อีไอเอ ผ่านความเห็นชอบก่อน แต่สามารถหาผู้ประมูลโครงการไว้ก่อนได้นั้น เป็นการเอ้ือประโยชน์หรือ

เปิดโอกาสให้แก่กิจการหรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เหล่านั้นสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาวะ

อนามัยของประชาชนให้รุนแรงยิ่งขึ้นได้โดยไร้การมีส่วนร่วม ควบคุม และตรวจสอบจากประชาชน

Page 36: EnLAW · รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – ส าโรง มูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท

2.การขยายอ านาจและเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ กกวล.

คณะกรรมการผู้ช านาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ คชก. และส านักงานนโยบาย

และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นเอ้ือประโยชน์ให้แก่การลงทุนเป็นหลัก ไม่

สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs โดยละเลยภารกิจหลักท่ีเคยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ค านึงถึงคุณภาพ

ชีวิตของประชาชนเพื่อความสมดุลย์และยั่งยืน

ขอให้ยุติการด าเนินการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

พ.ศ. .... ที่ด าเนินการอยู่ และต้องท าการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

ในสาระส าคัญทั้งฉบับ และต้องให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 58 ด้วย มิใช่แต่เพียง

เร่งรีบด าเนินการเสนอและพิจารณาร่างกฎหมายโดยอ้างกรอบระยะเวลา 240 วัน ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 278

ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 โดยไม่ค านึงถึงเนื้อหาและเจตนารมณ์ของกฎหมาย และในกระบวนการขั้นตอนแก้ไข

ปรับปรุงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย เพ่ือให้สอดคล้องกับ

มาตรฐานสากลในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (RIA) เพ่ือให้เป็นไปตามหลักการมาตรา 77

ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 และเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและประชาชนอย่างแท้จริง

ภาคประชาชนมีข้อเสนอต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฉบับ คสช.

ที่คณะรัฐมนตรีน าส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น เป็นร่างกฎหมายที่ไม่ผ่านการจัดท าตามมาตรา ๗๗ และไม่เป็นไป

ตามมาตรา ๕๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ภาคประชาชนได้มีความพยายามยื่นข้อเสนอต่อ

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดท าร่างกฎหมาย คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด แต่ข้อเสนอ

ของภาคประชาชนไม่ได้รับการบรรจุเป็นเนื้อหาในร่างกฎหมายแต่อย่างใดจึง “ขอให้ยุติร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้” ไว้

ก่อนและมีข้อเสนอดังนี้

1. ขอให้ตั้งคณะท างานขึ้นมาชุดหนึ่ง เรียกว่า “คณะท างานยกร่างกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมและ

รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม” เพ่ือยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาใหม่

2. ให้ “คณะท างานยกร่างกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม” ประกอบด้วย

ภาคประชาชนและภาครัฐ ในสัดส่วนที่เท่ากัน

3. หลักการอ่ืนใดให้เป็นที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย จนเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน