ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2...

38
15-1 หน่วยที15 ความรับผิดของฝ่ายปกครอง รองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์ วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยม), น.ม., นบ.ท., Dr.Jur ตำแหน่ง ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หน่วยที ่เขียน หน่วยที ่ 15

Upload: others

Post on 10-Jan-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-1

หน่วยที่15

ความรับผิดของฝ่ายปกครอง

รองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์

ชื่อ รองศาสตราจารย์ดร.กมลชัยรัตนสกาววงศ์

วุฒิ น.บ.(เกียรตินิยม),น.ม.,นบ.ท.,Dr.Jur

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

หน่วยที่เขียน หน่วยที่15

Page 2: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่15

ความรับผิด

ของฝ่าย

ปกครอง

15.1ประเภทของ

ความรับผิดและ

ประวัติข้อความ

คิดความรับผิด

ของฝ่ายปกครอง

15.4สาระสำคัญของ

พระราชบัญญัติ

ความรับผิดทาง

ละเมิดของ

เจ้าหน้าที่

พ.ศ.2539

15.2ความรับผิดทาง

ละเมิดและ

โครงสร้าง

ทางทฤษฎี

15.3สภาพปัญหาและ

ความรับผิดก่อน

พระราชบัญญัติ

ความรับผิดทาง

ละเมิดของ

เจ้าหน้าที่

พ.ศ.2539และ

กฎหมาย

ต่างประเทศ

15.1.1ประเภทความรับผิด

15.1.2ข้อความคิดความรับผิด

15.2.1การกระทำละเมิดโดยจงใจ

15.2.2การกระทำละเมิดโดยประมาทอย่างร้ายแรง

15.2.3การกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดา

15.3.1สภาพปัญหาและความรับผิดก่อน

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ

เจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

15.3.2กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

15.4.1สาระสำคัญส่วนที่เป็นสารบัญญัติ

15.4.2สาระสำคัญส่วนที่เป็นวิธีสบัญญัติ

Page 3: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-3

หน่วยที่15

ความรับผิดของฝ่ายปกครอง

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่15.1ประเภทของความรับผิดและประวัติข้อความคิดความรับผิดของฝ่ายปกครอง

15.1.1ประเภทความรับผิด

15.1.2ข้อความคิดความรับผิด

ตอนที่15.2ความรับผิดทางละเมิดและโครงสร้างทางทฤษฎี

15.2.1การกระทำละเมิดโดยจงใจ

15.2.2การกระทำละเมิดโดยประมาทอย่างร้ายแรง

15.2.3การกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดา

ตอนที่15.3สภาพปัญหาและความรับผิดก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ

เจ้าหน้าที่พ.ศ.2539และกฎหมายต่างประเทศ

15.3.1สภาพปัญหาและความรับผิดก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ

เจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

15.3.2กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ตอนที่15.4สาระสำคัญของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.

2539

15.4.1สาระสำคัญส่วนที่เป็นสารบัญญัติ

15.4.2สาระสำคัญส่วนที่เป็นวิธีสบัญญัติ

แนวคิด1. ความรับผิดที่อาจแก้ไขเยียวยาได้ แบ่งเป็น 4ประเภท ได้แก่ ความรับผิดต่อประชาชน

ความรับผิดในตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดตามนิติเหตุ และความรับผิดตามนิติกรรม

ทั้งนี้ ความรับผิดทางนิติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นนิติเหตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยลำพัง หรือ

นิติเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ต่างก็มุ่งหวังให้เกิดหน้าที่หรือความรับผิด

และสิทธิต่อกันแตกต่างจากความรับผิดอาญาที่มุ่งเน้นตัวผู้กระทำความผิดเพื่อป้องกัน

ไม่ให้มีโอกาสกระทำความผิดต่อไป และเพื่อให้มีโอกาสปรับปรุงแก้ไขความประพฤติ

ของผู้กระทำความผิด มากกว่าจะมุ่งเน้นที่ผลของการกระทำความผิด เพื่อนำไปสู่การ

พิจารณาค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาพเดิมมากที่สุดเหมือนในกรณีความ

รับผิดทางนิติเหตุ

Page 4: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-4

2. โครงสร้างความรับผิดทางละเมิด แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การกระทำละเมิดโดยจงใจ

การกระทำละเมิดโดยประมาทอย่างร้ายแรงและการกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดา

3. ในอดีตที่ผ่านมาก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.

2539 เมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดไม่ว่าจะเป็นการละเมิดต่อเอกชนหรือละเมิดต่อหน่วย

งานของรัฐความรับผิดของเจ้าหน้าที่จะเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนทำให้เจ้าหน้าที่

อาจถูกผู้เสียหายฟ้องและต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวและหากเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำ

ละเมิดหลายคนนั้นเจ้าหน้าที่จะต้องร่วมกันรับผิดส่งผลกระทบให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าที่จะ

บังคับใช้กฎหมายซึ่งในต่างประเทศส่วนใหญ่แล้วมีหลักกฎหมายว่ารัฐจะต้องรับผิดชอบ

การละเมิดที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่และรัฐจะเป็นผู้ฟ้องไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด

ในภายหลังเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้าย

แรงเท่านั้น กรณีมีความรับผิดทางละเมิดที่รัฐกับเจ้าหน้าที่จะต้องร่วมกันรับผิดแล้ว จะ

พิจารณาตามสัดส่วนของการกระทำละเมิด

4. กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อเอกชนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานของรัฐต้อง

รับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่ง

ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ส่วน

กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงต้องรับ

ผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะ

ฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้

อนึ่ง ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการ

ละเมิดของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหม

ทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วย

ความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและในการไล่เบี้ยของหน่วยงานของรัฐจะ

ต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมความผิดหรือความ

บกพรอ่งของหนว่ยงานของรฐัหรอืระบบการดำเนนิงานสว่นรวมและกรณีการละเมดิที่เกดิ

จากการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายคนเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน

เฉพาะส่วนการกระทำของตนเท่านั้นซึ่งให้นำหลักเกณฑ์การไล่เบี้ยแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐมา

ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากการปฏิบัติ

หน้าที่ด้วย

Page 5: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-5

อีกทั้ง กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อเอกชนนอกจากเอกชนจะมีช่องทางให้ตนเองได้รับ

การเยียวยาโดยการฟ้องศาลแล้ว กฎหมายยังได้กำหนดให้ทางเลือกเพิ่มขึ้นด้วยการให้สิทธิ

เรียกร้องแก่ประชาชนโดยไม่ต้องเดือดร้อนไปฟ้องศาลโดยกำหนดให้ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็น

ว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่า

สินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่15จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์ถึงประเภทของความรับผิดและประวัติข้อความคิดความรับผิดของ

ฝ่ายปกครองได้

2.อธิบายและวิเคราะห์ถึงความรับผิดทางละเมิดและโครงสร้างทางทฤษฎีได้

3. อธิบายและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาและความรับผิดก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทาง

ละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539และกฎหมายต่างประเทศได้

4. อธิบายและวิเคราะห์ถึงสาระสำคัญของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้า

หน้าที่พ.ศ.2539ได้

กิจกรรม1.กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่15

2)อ่านแนวการศึกษาประจำหน่วยที่15

3)ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียนหน่วยที่15

4)ศึกษาเนื้อหาสาระจาก

4.1)แนวการศึกษาหน่วยที่15

4.2)หนังสือประกอบการสอนชุดกฎหมายปกครองชั้นสูง

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6)ตรวจสอบคำตอบของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่15

Page 6: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-6

2.งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

แหล่งวิทยาการ1. สื่อการศึกษา

1) แนวการศึกษาหน่วยที่15

2)หนังสือประกอบการสอนชุดกฎหมายปกครองชั้นสูง

2.1) ดร.ชาญชัยแสวงศักดิ์(2541)กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของ

เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชน

2.2) อำพน เจริญชีวินทร์ (2545) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด

ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐกรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์นิติธรรม

3) หนังสือตามที่อ้างไว้ในบรรณานุกรม

การประเมินผลการเรียน1.ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2.ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 7: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-7

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “ความรับผิดของฝ่าย

ปกครอง”

คำแนะนำ อา่นคำถามแลว้เขยีนคำตอบลงในชอ่งวา่งที่กำหนดให้นกัศกึษามีเวลาในการทำแบบประเมนิ

ผลตนเองชุดนี้30นาที

1. จงอธิบายถึงละเมิดว่าเป็นความรับผิดประเภทใดและมีข้อความคิดอย่างไร

2. จงอธิบายว่าข้อความคิดความรับผิดทางนิติเหตุกับอาญามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

3. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.

2539แบ่งเป็นกี่ระดับอย่างไร

Page 8: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-8

ตอนที่15.1

ประเภทของความรับผิดและประวัติข้อความคิดความรับผิด

ของฝ่ายปกครอง

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่15.1.1 ประเภทความรับผิด

เรื่องที่15.1.2 ข้อความคิดความรับผิด

แนวคิด1. เมือ่ประชาชนได้รบัความเสยีหายอนัเนือ่งจากการปฏบิตัิหนา้ที่ของเจา้หนา้ที่หนว่ยงานของ

รัฐจะต้องรับผิดต่อประชาชนและเมื่อหน่วยงานของรัฐที่ได้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

แก่เอกชนผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่มีสิทธิเรียกให้

เจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงชดใช้ค่าสินไหม

ทดแทน

2.กรณีที่บุคคลกระทำการก่อให้เกิดนิติเหตุขึ้นเช่นละเมิดผู้ที่ทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหม

ทดแทนเพื่อการนั้นไม่ว่าจะมีเจตนามุ่งผลทางกฎหมายหรือไม่ก็ตามส่วนบุคคลที่กระทำ

การฝ่าฝืนนิติกรรมที่ตนเองก่อขึ้นย่อมต้องรับผิดตามนิติกรรมที่ตนผูกพันนั้นด้วย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ถึงประเภทความรับผิด

2.อธิบายและวิเคราะห์ถึงข้อความคิดความรับผิด

Page 9: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-9

เรื่องที่15.1.1 ประเภทความรับผิด

สาระสังเขป1. ความรับผิดต่อประชาชน ในประเทศที่ยึดหลักนิติรัฐ ประชาชนมีหลักประกันหรือได้รับความ

คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาล

รัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา27ขณะเดียวกันบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือ

เสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา

28 วรรคหนึ่ง การที่ประชาชนได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่จึงเป็นเหตุให้

หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถใช้สิทธิฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้รัฐ

ต้องปฏิบัติได้โดยตรงตามมาตรา28วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

2. ความรับผิดในตำแหน่งหน้าที่ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อเอกชนเนื่องจากการปฏิบัติ

หน้าที่ หน่วยงานต้องตกอยู่ในฐานะที่ต้องรับผิดต่อเอกชน และเมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับผิดชดใช้ค่า

สินไหมทดแทนแก่เอกชนผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท แต่

ไม่ถึงระดับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง(grossnegligence)จะได้รับความคุ้มครองมิให้ต้องรับผิดในค่า

สินไหมทดแทนทั้งนี้ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความกล้าในการบังคับใช้กฎหมายแต่เจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดด้วย

ความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงย่อมต้องมีความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการ

กระทำของตนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8 จึงกำหนดให้

หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้

ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ขณะเดียวกัน ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน

ของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจาก

เจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา8มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539กล่าวคือหากได้ความว่าเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้าย

แรงหน่วยงานของรัฐย่อมมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงาน

ของรัฐได้

3. ความรับผิดตามนิติเหตุบรรดาเหตุทั้งหลายที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิตามกฎหมายทำให้

สิทธินั้นเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับ โดยกฎหมายกำหนดถึงความรับผิดหรือหน้าที่ และสิทธิของ

บุคคลที่เกี่ยวข้องแบ่งออกเป็น

3.1นิติเหตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยลำพังไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยตรงเช่น

เหตุที่อสังหาริมทรัพย์อยู่ติดต่อใกล้เคียงกันทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ขึ้นตาม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1337ถึงมาตรา1355เช่นที่ดินต่ำกว่าต้องยินยอมให้ที่ดินที่สูง

Page 10: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-10

กว่าปล่อยน้ำไหลผ่านหรือ เหตุแห่งกาลเวลาที่ทำให้ฐานะของบุคคลเปลี่ยนไป เช่นบุคคลอายุครบ 20ปี

บริบูรณ์ทำให้เกิดสถานะบรรลุนิติภาวะตามมาตรา19แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นต้น

3.2นิติเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ

พาณิชย์ มาตรา 420 กำหนดให้ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสีย

หายถึงแก่ชีวิต แก่ร่างกายอนามัย เสรีภาพทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นมี2ประเภทคือ

3.2.1 เจตนาที่มุ่งผลทางกฎหมายเรียกว่า นิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและ

พาณิชย์มาตรา149อันจะกล่าวต่อไป

3.2.2 ไม่มีเจตนาที่มุ่งผลทางกฎหมาย เช่น ละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ

พาณิชย์มาตรา420ผู้ทำละเมิดไม่มีเจตนาทำเพื่อให้เกิดผลทางกฎหมายคือการใช้ค่าสินไหมทดแทนจัดการ

งานนอกสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา395ถึงมาตรา405ลาภมิควรได้ตามประมวล

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา409ถึงมาตรา416รวมทั้งการเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายแล้วได้รับรางวัลตาม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1324และมาตรา1325หรือเก็บสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าซึ่งซ่อนหรือ

ฝังไว้แล้วนำส่งเจ้าพนักงานก็มีสิทธิได้รับรางวัลตามมาตรา1328แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

4. ความรบัผดิตามนติกิรรมสญัญาทางแพง่หรอืสญัญาทางปกครองโดยที่นติกิรรมเปน็เหตกุารณ์

ในกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งผู้กระทำมีเจตนามุ่งให้การกระทำ

ของตนเกิดความผลผูกพันตามกฎหมายโดยมีการก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิหรือก่อให้

เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิตามมาตรา149แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังนั้นหากมีการฝ่าฝืน

นิติกรรมบุคคลก็ย่อมต้องรับผิดตามนิติกรรมที่ตนผูกพันนั้น

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือนิติกรรมและหนี้เล่ม1ภาคที่1หมวดที่1ส่วนที่1

โดยม.ร.ว.เสนีย์ปราโมช)

กิจกรรม15.1.1

จงอธิบายว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องรับผิดในตำแหน่งหน้าที่หรือไม่อย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.1.1

Page 11: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-11

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.1กิจกรรม15.1.1)

Page 12: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-12

เรื่องที่15.1.2ข้อความคิดความรับผิด

สาระสังเขป1. ข้อความคิดความรับผิดทางนิติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นนิติเหตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยลำพัง หรือ

นิติเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ กฎหมายมุ่งสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น โดยการชดเชยแก่

ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากนิติเหตุนั้นหรือผู้ที่สมควรจะได้รับรางวัลจากการกระทำของตนจึงกำหนดให้เกิด

หน้าที่หรือความรับผิดและสิทธิต่อกันกล่าวคือมีการรับรองและคุ้มครองโดยก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องให้มี

การชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่มีการละเมิดเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยากลับคืนสู่สถานะเดิม

เช่นความรับผิดทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420กำหนดให้ผู้ทำละเมิดต้องใช้

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นเป็นต้นหรือให้ผู้กระทำความดีส่งมอบของให้แก่เจ้าของหรือเจ้าพนักงานแล้ว

แต่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1324มาตรา1325และมาตรา1328

2. ข้อความคิดความรับผิดอาญา เมื่อมนุษย์รวมตัวกันเป็นสังคม เพื่อให้สังคมเกิดความสงบ

เรียบร้อย กฎหมายอาญาจึงต้องเข้ามาควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบ

เรียบร้อยด้วยการมุ่งเน้นที่ผู้กระทำความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้มีโอกาสกระทำความผิดต่อไป และเพื่อให้

มีโอกาสปรับปรุงแก้ไขความประพฤติของผู้กระทำความผิดมากกว่าจะมุ่งเน้นที่ผลของการกระทำความผิด

เพื่อนำไปสู่การพิจารณาค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาพเดิมมากที่สุดอันต่างไปจากในกรณีความ

รับผิดทางนิติเหตุดังนั้นความรับผิดทางอาญาจึงมุ่งเน้นที่เจตนาในการกระทำให้เกิดความเสียหายคุณธรรม

ทางกฎหมายของผู้อื่นเป็นหลักหรือประมาทในการละเมิดคุณธรรมทางกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตร่างกายและ

เสรีภาพของผู้อื่นและระดับการลงโทษก็ขึ้นอยู่กับว่าเจตนาหรือประมาทรุนแรงมากน้อยเพียงใดกล่าวคือจะ

ต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อกระทำโดยเจตนาหรือประมาทที่เป็นเรื่องร้ายแรงตามที่กฎหมายกำหนดเช่น

ประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายตามมาตรา291แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือบุคคลที่ได้

รับมอบหมายโดยข้อสัญญาให้กระทำการงานของเรือนจำ และได้รับผู้ต้องขังไว้ในความควบคุมเพื่อทำการ

งานนั้น กระทำให้ผู้ต้องขังหลบหนีไปโดยประมาท ให้ถือว่ามีความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์

พุทธศักราช2479มาตรา46แต่ในกรณีที่เป็นเรื่องประมาทเล็กน้อยหากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความ

ผิดบุคคลนั้นก็ไม่มีความผิดทางอาญาเช่นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายหรือ

กระทำโดยประมาทในการปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นต้น

กิจกรรม15.1.2

จงอธิบายว่าข้อความคิดความรับผิดทางนิติเหตุกับอาญามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

Page 13: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-13

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.1กิจกรรม15.1.2)

Page 14: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-14

ตอนที่15.2

ความรับผิดทางละเมิดและโครงสร้างทางทฤษฎี

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่15.2.1การกระทำละเมิดโดยจงใจ

เรื่องที่15.2.2การกระทำละเมิดโดยประมาทอย่างร้ายแรง

เรื่องที่15.2.3การกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดา

แนวคิด1.การจงใจหมายถึงการรู้สำนึกถึงผลหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน

2. ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หมายถึง การกระทำโดยประมาท โดยผู้กระทำไม่ใช้ความ

ระมัดระวังเสียเลยหรือกระทำโดยขาดความระมัดระวังที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐาน

อย่างมาก

3. การกระทำละเมิดโดยประมาทจึงหมายถึงการกระทำโดยประมาท แต่ไม่ถึงขั้นประมาท

อย่างร้ายแรง

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์การกระทำละเมิดโดยจงใจ

2. อธิบายและวิเคราะห์การกระทำละเมิดโดยประมาทอย่างร้ายแรง

3. อธิบายและวิเคราะห์การกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดา

Page 15: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-15

เรื่องที่15.2.1การกระทำละเมิดโดยจงใจ

สาระสังเขปความรับผิดทางละเมิดได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420โดยบัญญัติ

ว่า“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดีแก่ร่างกายก็

ดีอนามัยก็ดีเสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหม

ทดแทน”ในทางวิชาการอาจแบ่งความรับผิดเป็น3ระดับได้แก่การกระทำละเมิดโดยจงใจการกระทำละเมิด

โดยประมาทอย่างร้ายแรงและการกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดาดังจะกล่าวต่อไปตามลำดับ

การจงใจหมายถึงการรู้สำนึกถึงผลหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตนดังนั้นหากรู้

ว่าการกระทำของตนจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นแล้วยังกระทำการก็เป็นการกระทำโดยจงใจเช่นเจ้า

พนักงานท้องถิ่นทราบว่านายก.ไม่ได้ก่อสร้างอาคารผิดกฎหมายควบคุมอาคารแต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ยัง

สั่งการให้นายก.รื้อถอนอาคารเช่นนี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นกระทำการละเมิดด้วยความจงใจ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

บทที่3ดร.ชาญชัยแสวงศักดิ์)

กิจกรรม15.2.1

การกระทำละเมิดโดยจงใจมีความหมายว่าอย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.2กิจกรรม15.2.1)

Page 16: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-16

เรื่องที่15.2.2การกระทำละเมิดโดยประมาทอย่างร้ายแรง

สาระสังเขปประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หมายถึง การกระทำโดยประมาทซึ่งจะกล่าวต่อไปในเรื่องที่ 15.2.3

โดยผู้กระทำไม่ใช้ความระมัดระวังเสียเลย หรือกระทำโดยขาดความระมัดระวังที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์

มาตรฐานอย่างมาก เช่น การที่แพทย์และพยาบาลไม่นับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการผ่าตัด

หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้วทั้งๆที่ตามหลักมาตรฐานทางการแพทย์ทั่วไปแล้วจะต้องทำการนับถึงสองครั้งทำให้

หลงลืมกรรไกรไว้ในท้องของผู้ป่วยเป็นต้น

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

บทที่3ดร.ชาญชัยแสวงศักดิ์)

กิจกรรม15.2.2

การกระทำละเมิดโดยประมาทอย่างร้ายแรงมีความหมายว่าอย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.2กิจกรรม15.2.2)

Page 17: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-17

เรื่องที่15.2.3 การกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดา

สาระสังเขปการกระทำโดยประมาทได้มีบทนิยามไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา59วรรคสี่เป็นการกระทำ

โดยไม่จงใจแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลใน“ภาวะ”เช่นนั้นจักต้องมีตาม“วิสัย”และ

“พฤติการณ์”และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่การกระทำละเมิดโดยประมาท

จึงหมายถึงการกระทำโดยประมาทแต่ไม่ถึงขั้นประมาทอย่างร้ายแรงเช่นเจ้าหน้าที่ขับรถของหน่วยงานของ

รัฐขับรถด้วยความเร่งรีบเนื่องจากประสงค์จะส่งเอกสารราชการด่วนในพื้นที่จำกัดที่มีรถจอดอยู่ทำให้เฉี่ยว

ชนกระจกรถของนายก.ที่จอดอยู่บริเวณนั้นได้รับความเสียหายเป็นต้น

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

บทที่3ดร.ชาญชัยแสวงศักดิ์)

กิจกรรม15.2.3

การกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดามีความหมายว่าอย่างไร

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.2.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.2กิจกรรม15.2.3)

Page 18: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-18

ตอนที่15.3

สภาพปัญหาและความรับผิดก่อนพระราชบัญญัติความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539และกฎหมายต่างประเทศ

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.3แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่15.3.1 สภาพปัญหาและความรับผิดก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ

เจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

เรื่องที่15.3.2 กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

แนวคิด1. ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539เมื่อเจ้าหน้าที่

กระทำละเมิดไม่ว่าจะเป็นการละเมิดต่อเอกชนหรือละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐเอกชนหรือ

หน่วยงานของรัฐอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ และท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

เสมอรวมทัง้กรณีที่มีเจา้หนา้ที่กระทำละเมดิหลายคนเจา้หนา้ที่จะตอ้งรว่มกนัรบัผดิเทา่ๆ

กันทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่จึงไม่กล้าที่จะบังคับใช้กฎหมาย

2. ในต่างประเทศ เมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยเฉพาะแก่เอกชน รัฐจะต้องรับผิดชอบ

และรัฐจะฟ้องไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ ได้เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยจงใจหรือ

ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาและความรับผิดก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทาง

ละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

2. อธิบายและวิเคราะห์ถึงกฎหมายต่างประเทศ

Page 19: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-19

เรื่องที่15.3.1 สภาพปัญหาและความรับผิดก่อนพระราชบัญญัติ

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

สาระสังเขปในอดีตที่ผ่านมาเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดไม่ว่าจะเป็นการละเมิดต่อเอกชนหรือละเมิดต่อหน่วย

งานของรัฐความรับผิดของเจ้าหน้าที่จะเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนกล่าวคือเอกชนอาจฟ้องเจ้าหน้าที่

หรือหน่วยงานของรัฐต่อศาล เจ้าหน้าที่อาจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายหรือหน่วยงาน

ของรัฐอาจชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เอกชนแต่หลังจากนั้น หน่วยงานของรัฐก็จะไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ ใน

ฐานะที่เจ้าหน้าที่เป็นลูกจ้างและหน่วยงานของรัฐเป็นนายจ้างเมื่อนายจ้างร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่ง

ละเมิดซึ่งเจ้าหน้าที่ได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นทางการที่จ้างนายจ้างสามารถไล่เบี้ยให้ลูกจ้างรับ

ผิดตามมาตรา425และมาตรา426แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้หรือในฐานะที่เจ้าหน้าที่เป็น

ผู้แทนหน่วยงานของรัฐเป็นนิติบุคคลนิติบุคคลต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแต่ก็

สามารถไล่เบี้ยจากผู้แทนได้ตามมาตรา76อันจะเห็นได้ว่าไม่ว่ากระบวนการจะเป็นเช่นใดก็ตามเจ้าหน้าที่

จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวเสมอโดยหน่วยงานรัฐไม่ต้องรับผิดด้วยแต่อย่างใด

นอกจากนี้ หากมีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดหลายคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา

432ประกอบกับมาตรา 291 กำหนดให้เจ้าหน้าที่จะต้องร่วมกันรับผิดเท่าๆ กัน เช่น กรณีข้าราชการสอง

คนนำเงินไปส่งหน่วยงานด้านการเงินแต่เวลาส่งมอบข้าราชการคนหนึ่งไม่เข้าไปอยู่ด้วยและหยุดนั่งเพียงที่

หน้าห้องเป็นเหตุให้ข้าราชการอีกผู้หนึ่งที่ไปส่งเงินยักยอกเงินบางส่วนไปศาลวินิจฉัยให้ผู้ที่ยักยอกและผู้ที่

ประมาทให้เกิดการยักยอกต้องรับผิดชอบร่วมกัน(คำพิพากษาฎีกาที่73/2505)ซึ่งอาจเกิดปัญหาเจ้าหน้าที่

ที่จะต้องรับผิดในสัดส่วนเกินกว่าที่ตนกระทำละเมิด อันเป็นความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนการทำ

ละเมิดเพียงเล็กน้อยแต่ต้องรับผิดในสัดส่วนที่มากกว่าการกระทำละเมิดได้รวมทั้งในบางกรณีการกระทำ

ละเมิดของเจ้าหน้าที่อาจเกิดจากการกระทำโดยไม่เจตนาแต่เนื่องจากภารกิจของเจ้าหน้าที่มีเป็นจำนวนมาก

ภายใต้ระยะเวลาจำกัดทำให้เกิดการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ผิดพลาดได้

ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าที่จะบังคับใช้กฎหมายเช่นพระราชบัญญัติ

ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงโดย

มิชอบด้วยกฎหมายได้แต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่กล้าที่จะดำเนินการเพราะเกรงว่าอาจถูกเจ้าของอาคารฟ้อง

กลับในฐานกระทำละเมิดซึ่งเสี่ยงต่อการที่จะถูกศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เสี่ยงต่อตำแหน่ง

หน้าที่ราชการทั้งๆที่การดำเนินกิจการต่างๆของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐนั้นหาได้เป็นไปเพื่อแสวงหา

ประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ปฏิบัติงานใน

หนา้ที่และเกดิความเสยีหายแก่เอกชนเปน็ไปตามหลกักฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพง่และพาณชิย์

Page 20: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-20

จึงเป็นการไม่เหมาะสมเพราะจะทำให้การบังคับใช้กฎหมาย(lawenforcement)ไม่มีประสิทธิภาพเพราะ

เจ้าหน้าที่จะนิ่งเฉยไม่กล้าบังคับใช้กฎหมายอย่างที่ควรจะปฏิบัติ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

บทที่3ดร.ชาญชัยแสวงศักดิ์)

กิจกรรม15.3.1

จงอธิบายถึงผลทางกฎหมายที่เกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ได้กระทำการละเมิดต่อเอกชนอันเกี่ยว

เนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.3.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.3กิจกรรม15.3.1)

Page 21: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-21

เรื่องที่15.3.2กฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

สาระสังเขป1.กฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีรัฐธรรมนูญของเยอรมนี (Grundgesetz)

มาตรา34กำหนดหลักการว่ารัฐจะต้องรับผิดชอบการละเมิดที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ต่อประชาชนผู้เสียหาย

โดยตรงโดยรัฐจะเป็นผู้ไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดในภายหลังเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิด

โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้นและหากเจ้าหน้าที่การกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดา

รัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนนั้นเอง

2.กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสประเทศฝรั่งเศสมีระบบกฎหมายปกครองเรื่องละเมิด

ที่แยกจากกฎหมายเอกชนโดยมีหลักการว่ารัฐจะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่หากเจ้าหน้าที่

กระทำละเมิดเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่(fautedeservice)โดยไม่มีวัตถุประสงค์กลั่นแกล้งเอกชนเป็นการ

ส่วนตัวกรณีเช่นนี้รัฐจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายโดยตรงเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิดชอบและจะ

ไม่ถูกฟ้องเป็นการส่วนตัว

ถา้เปน็การกระทำละเมดิที่รฐัจะตอ้งรบัผดิและเจา้หนา้ที่ก็จะตอ้งรบัผดิเปน็การสว่นตวัดว้ย(Cumul)

ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่เป็นการส่วนตัวหรือจะฟ้องรัฐโดยตรงก็ได้ส่วนความรับผิดชอบของ

แต่ละฝ่ายที่จะอาจมีนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนแห่งการกระทำของแต่ละฝ่ายที่ก่อให้เกิดการละเมิดนั้น

หากเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดเป็นการส่วนตัว (faute personelle) เจ้าหน้าที่จะต้องรับ

ผิดชอบเป็นการส่วนตัวรัฐหาต้องร่วมรับผิดชอบกับเจ้าหน้าที่ด้วยไม่

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือคำอธิบายกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด

ของเจ้าหน้าที่บทที่2โดยดร.ชาญชัยแสวงศักดิ์วารสารกฎหมายปกครองเล่ม14ธันวาคม2538ตอน

3บันทึกเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐประกอบร่างพระราชบัญญัติฯโดยนายชัยวัฒน์

วงศ์วัฒนศานต์)

กิจกรรม15.3.2

จงอธิบายถึงความรับผิดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่กระทำละเมิดต่อเอกชนในประเทศ

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

Page 22: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-22

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.3.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.3กิจกรรม15.3.2)

Page 23: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-23

ตอนที่15.4

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด

ของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่15.4แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่15.4.1 สาระสำคัญส่วนที่เป็นสารบัญญัติ

เรื่องที่15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็นวิธีสบัญญัติ

แนวคิด1.กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อเอกชนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐต้อง

รับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่ง

ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ส่วน

กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้เสียหายอาจฟ้อง

เจ้าหน้าที่ได้โดยตรง

หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่

หน่วยงานของรัฐ กรณีหน่วยงานของรัฐได้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อ

การละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาท

เลินเล่ออย่างร้ายแรง

2.กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อเอกชนผู้เสียหายมีทางเลือก 2 ประการ ได้แก่ มีสิทธิ

ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและเมื่อหน่วยงานของ

รัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็

ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ภายใน90วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

ขณะเดียวกันอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงเมื่อเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำ

ละเมิดต่อเอกชนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่

Page 24: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-24

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่15.4จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ถึงสาระสำคัญส่วนที่เป็นสารบัญญัติของพระราชบัญญัติความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

2. อธิบายและวิเคราะห์ถึงสาระสำคัญส่วนที่เป็นวิธีสบัญญัติของพระราชบัญญัติความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

Page 25: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-25

เรื่องที่15.4.1สาระสำคัญส่วนที่เป็นสารบัญญัติ

สาระสังเขป1.ความรับผิดของรัฐในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นแก่เอกชนผู้เสียหาย หน่วยงานของรัฐต้องรับผิด

ต่อผู้เสียหายโดยตรง กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อเอกชนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งได้กระทำโดย

จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ว่าจะกระทำโดยประมาทเลินเล่อธรรมดาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตาม

มาตรา420แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2.การไล่เบี้ยเอาแก่เจ้าหน้าที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

2.1กรณีที่หน่วยงานของรัฐอาจไล่เบี้ย ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม

ทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด

ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือ

ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา8แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.

2539 เจ้าหน้าที่จะมีความรับผิดส่วนตัวเพียงสองระดับคือกรณีที่การกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาท

เลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดาก็ไม่อาจถูกไล่เบี้ยเพื่อให้ต้องรับ

ผิดเป็นการส่วนตัว

2.2หลักเกณฑ์การไล่เบี้ย

2.2.1 คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรม ไม่น่าจะเป็นไป

ได้ที่เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดมีเงินเดือนรายได้น้อย แต่จะต้องรับผิดชอบถูกไล่เบี้ยเมื่อเกิดความเสียหาย

จำนวนมากดังนั้นการไล่เบี้ยหรือการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยจงใจหรือ

ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนั้น จะต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมใน

แต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยอาจมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ ตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

2.2.2 ความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วน

รวมถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วน

รวมให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วยตามมาตรา8วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

2.3กรณีการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลาย

คนมิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วน

ของตนเท่านั้นตามมาตรา8วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

3.ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ที่ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิด

ต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติ

Page 26: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-26

หน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา8มาใช้บังคับโดยอนุโลมแต่ถ้า

มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้งนี้ตาม

มาตรา10แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

บทที่3ดร.ชาญชัยแสวงศักดิ์)

กิจกรรม15.4.1

จงอธิบาย หลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดต่อเอกชน เนื่องจากการปฏิบัติ

หน้าที่

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.4.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.4กิจกรรม15.4.1)

Page 27: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-27

เรื่องที่15.4.2สาระสำคัญส่วนที่เป็นวิธีสบัญญัติ

สาระสังเขป1.การฟ้องคดีต่อศาล

1.1ผู้ที่ต้องรับผิดชอบจากการฟ้องคดีต่อศาล

1.1.1 กรณีหนว่ยงานของรฐัตอ้งรบัผดิเมือ่หนว่ยงานของรฐัตอ้งรบัผดิตอ่ผู้เสยีหายใน

ผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐ

ดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้เช่นเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการควบคุมและสลายการชุมนุม

ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับความเสียหายกลุ่มผู้ชุมนุมจะฟ้องเจ้าหน้าที่หาได้ไม่แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐได้

เป็นต้น

ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวง

การคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้า

หน้าที่พ.ศ.2539

1.1.2 กรณีหนว่ยงานของรฐัไม่ตอ้งรบัผดิเปน็กรณีการกระทำละเมดิของเจา้หนา้ที่มใิช่

การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่เช่นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจควบคุมและสลายการชุมนุมออกเวรไม่ได้อยู่ระหว่าง

การปฏิบัติหน้าที่ ดื่มสุราแล้วทะเลาะกับผู้ชุมนุมจึงใช้ปืนยิงผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ แม้ผู้กระทำละเมิดเป็น

เจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่มิได้กระทำละเมิดเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงต้องรับผิดในการนั้นเป็นการ

เฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงแต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้ตามมาตรา6

แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

1.1.3 กรณีที่มีความเห็นไม่ตรงกันว่าเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือ

ต้องรับผิดร่วมกัน ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่

ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิดหรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงาน

ของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิดหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดี

นั้นอยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี ตามมาตรา 12 แห่ง

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

1.2ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา

1.2.1 ศาลปกครอง เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว ผู้เสียหายได้ใช้สิทธิ

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ต่อมาผู้เสียหายไม่พอใจในผลของ

คำวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา14แห่งพระราชบัญญัติ

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

Page 28: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-28

ขณะเดียวกันศาลปกครองก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีการกระทำละเมิดของหน่วย

งานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายกฎหรือคำสั่งจากการละเลยต่อหน้าที่

ตามที่กฎหมายกำหนดให้ตอ้งปฏบิตัิหรอืปฏบิตัิหนา้ที่ดงักลา่วลา่ชา้เกนิสมควรตามมาตรา9(3)แหง่พระราช-

บัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

1.2.2ศาลยุติธรรม หากมีการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่

อันเกิดจากการกระทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายกฎหรือคำสั่ง จากการละเลยต่อหน้าที่

ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรเช่นเกิดจากการกระทำทาง

กายภาพเปน็ตน้กรณีเชน่นี้ศาลปกครองยอ่มไมม่ีอำนาจพจิารณาพพิากษาเพราะไม่อยู่ในอำนาจการพจิารณา

พิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

พ.ศ.2542ในคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองให้ถือเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมคดีดังกล่าวจึง

อยู่ในอำนาจการพจิารณาพพิากษาของศาลยตุธิรรมตามหลกัอำนาจการฟอ้งคดีโดยทัว่ไป(Generalklausal)

ที่ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา218

2.การรอ้งขอให้หนว่ยงานของรฐัตอ้งรบัผดิชดใช้คา่สนิไหมทดแทนกรณีที่เจา้หนา้ที่กระทำละเมดิ

ตอ่เอกชนนอกจากเอกชนจะมีชอ่งทางให้ตนเองได้รบัการเยยีวยาโดยการฟอ้งศาลแลว้กฎหมายยงัได้กำหนด

ให้ทางเลือกเพิ่มขึ้นด้วยการให้สิทธิเรียกร้องแก่ประชาชนโดยไม่ต้องเดือดร้อนไปฟ้องศาลโดยกำหนดให้ใน

กรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด

ของเจา้หนา้ที่พ.ศ.2539ผู้เสยีหายจะยืน่คำขอตอ่หนว่ยงานของรฐัให้พจิารณาชดใช้คา่สนิไหมทดแทนสำหรบั

ความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณา

คำขอนั้นโดยไม่ชักช้า ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน

หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือ

กำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบและขออนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรี

ดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกิน 180 วันตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติ

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงาน

ของรัฐก็ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายใน90วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยได้

3.การเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชำระเงิน

3.1หน่วยงานของรัฐมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้อง

ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้อง

ใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10ประกอบ

กับมาตรา8ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวภายใน

เวลาที่กำหนดตามมาตรา8ซึ่งคำสั่งเรียกให้ชำระเงินตามมาตรา12นี้ไม่ใช่คำสั่งทางปกครองเนื่องจากไม่มี

นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายมหาชนแต่เป็นความรับผิดนิติเหตุตามกฎหมายแพ่งคำสั่งดังกล่าวจึงมีสถานะทาง

Page 29: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-29

กฎหมายในลักษณะหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ (notice) ซึ่งจะต้องระงับคดีโดยกระบวนการยุติธรรมทาง

แพ่งอย่างไรก็ตามศาลปกครองได้วินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง

3.2การให้เจ้าหน้าที่ผ่อนชำระเงินได้ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่ง

ต้องรับผิดตามมาตรา8และมาตรา10สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ฐานะ

ครอบครัวและความรับผิดชอบและพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วยตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติ

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

4. อายุความ

4.1อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กรณีที่เจ้าหน้าที่ละเมิดเป็นการส่วนตัว

มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ผู้เสียหายอาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยจะต้องฟ้องภายใน

1ปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือภายในกำหนด10ปีนับ

แต่วันทำละเมิด

4.2การขยายอายุความกรณีผู้ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิดกรณีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ

หรือเจ้าหน้าที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่

ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิดให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึง6

เดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุดตามมาตรา7วรรคสอง

4.3อายุความในการเรียกให้อีกฝ่ายชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้า-

หน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายสิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มี

กำหนดอายุความ1ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหายตาม

มาตรา9

4.4อายุความในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทด-

แทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความ 2ปีนับแต่ วันที่หน่วยงานของรัฐรู้

ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนได้แก่กรณีที่หัวหน้าหน่วยงานได้วินิจฉัย

สั่งการว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในทางละเมิด

แต่หากกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลัง

ตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิดให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความ1ปีนับแต่วันที่

หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังตามมาตรา10วรรคสอง

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

บทที่3ดร.ชาญชัยแสวงศักดิ์)

Page 30: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-30

กิจกรรม15.4.2

ให้นกัศกึษาอธบิายวา่ในกรณีที่เจา้หนา้ที่กระทำละเมดิตอ่ผู้เสยีหายที่เปน็เอกชนเนือ่งจากการ

ปฏิบัติหน้าที่กรณีใดบ้างที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและศาลยุติธรรม

บันทึกคำตอบกิจกรรม15.4.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่15ตอนที่15.4กิจกรรม15.4.2)

Page 31: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-31

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่15

ความรับผิดของฝ่ายปกครอง

ตอนที่15.1ประเภทของความรับผิดและประวัติข้อความคิดความรับผิดของฝ่ายปกครอง

แนวตอบกิจกรรม15.1.1

เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องรับผิดในตำแหน่งหน้าที่ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อเอกชน

เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่และเมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เอกชนผู้เสียหายเพื่อ

การละเมิดของเจ้าหน้าที่หากเจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงย่อม

ต้องมีความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำของตนขณะเดียวกัน ถ้าเจ้าหน้าที่กระทำ

ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่หากได้ความว่าเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาท

เลินเล่ออย่างร้ายแรง หน่วยงานของรัฐย่อมมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้

แนวตอบกิจกรรม15.1.2

กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบ

เรียบร้อยด้วยการมุ่งเน้นที่ผู้กระทำความผิดเพื่อป้องกันไม่ให้มีโอกาสกระทำความผิดต่อไปและเพื่อให้มี

โอกาสปรับปรุงแก้ไขความประพฤติของผู้กระทำความผิด อันต่างไปจากในกรณีความรับผิดทางนิติเหตุ ที่

มุ่งเน้นที่ผลของการกระทำความผิดเพื่อนำไปสู่การพิจารณาค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาพเดิม

มากที่สุด

ตอนที่15.2ความรับผิดทางละเมิดและโครงสร้างทางทฤษฎี

แนวตอบกิจกรรม15.2.1

การกระทำละเมิดโดยจงใจหมายถึง การรู้สำนึกในการกระทำและประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล

หรือความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้อื่นอันเนื่องมากจากการกระทำของตน

Page 32: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-32

แนวตอบกิจกรรม15.2.2

การกระทำละเมิดโดยประมาทอย่างร้ายแรงหมายถึงการกระทำโดยประมาทอันเป็นการกระทำ

โดยไม่จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลใน “ภาวะ” เช่นนั้นจักต้องมีตาม “วิสัย”

และ “พฤติการณ์” และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ โดยผู้กระทำไม่ใช้ความ

ระมัดระวังเสียเลยหรือกระทำโดยขาดความระมัดระวังที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมากซึ่งหาก

ใช้ความระมัดระวังเพียงเล็กน้อยผลความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้น

แนวตอบกิจกรรม15.2.3

การกระทำโดยไม่จงใจ แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลใน “ภาวะ” เช่นนั้นจัก

ต้องมีตาม“วิสัย”และ“พฤติการณ์”และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังได้แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่แต่ไม่

ถึงขั้นประมาทอย่างร้ายแรง

ตอนที่15.3 สภาพปัญหาและความรับผิดก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ

เจ้าหน้าที่พ.ศ.2539และกฎหมายต่างประเทศ

แนวตอบกิจกรรม15.3.1

เมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดไม่ว่าจะเป็นการละเมิดต่อเอกชนความรับผิดของเจ้าหน้าที่จะเป็นไป

ตามหลักกฎหมายเอกชนกล่าวคือเอกชนอาจฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐต่อศาลเจ้าหน้าที่อาจต้อง

รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายหรือหน่วยงานของรัฐอาจชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เอกชน

แต่หลังจากนั้นหน่วยงานของรัฐก็จะไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวเสมอ

รวมทั้ง หากมีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดหลายคน เจ้าหน้าที่เหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดเท่าๆ กันทำให้เกิด

ปัญหาเจ้าหน้าที่ที่จะต้องรับผิดในสัดส่วนเกินกว่าที่ตนกระทำละเมิดอันเป็นความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่

ที่มีส่วนการทำละเมิดเพียงเล็กน้อยแต่ต้องรับผิดในสัดส่วนที่มากกว่าการกระทำละเมิดได้ตลอดจนในบาง

กรณีการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อาจเกิดจากการกระทำโดยไม่เจตนาแต่เนื่องจากภารกิจของเจ้าหน้าที่

มีเป็นจำนวนมากภายใต้ระยะเวลาจำกัดทำให้เกิดการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ผิดพลาดได้ ส่งผลกระทบให้

เจ้าหน้าที่ไม่กล้าที่จะบังคับใช้กฎหมาย

แนวตอบกิจกรรม15.3.2

เมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อประชาชนผู้เสียหายโดยตรงเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ รัฐจะต้อง

รับผิดชอบการละเมิดที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและเมื่อรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายแล้ว

รัฐจะเป็นผู้ไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดในภายหลัง เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยจงใจ

หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้นและหากเจ้าหน้าที่การกระทำละเมิดโดยประมาทธรรมดารัฐจะเป็น

ผู้รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนนั้นเอง

Page 33: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-33

ตอนที่15.4สาระสำคัญของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

แนวตอบกิจกรรม15.4.1

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539มีบทบัญญัติที่คุ้มครองหรือเพื่อ

ให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองละเมิดต่อเอกชนเนื่องจาก

การปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ การกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายโดยตรงตามมาตรา 5 แห่ง

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และจะไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ให้รับผิดชดใช้

ค่าสินไหมทดแทนได้ก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539นอกจากนี้ ในการไล่

เบี้ยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละ

กรณีเป็นเกณฑ์โดยอาจมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ตามมาตรา8วรรคสองแห่งพระราช-

บัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539รวมทั้งให้คำนึงถึงความผิดหรือความบกพร่องของ

หน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมตามมาตรา8วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติความรับผิด

ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539ตลอดจนในกรณีการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนเจ้าหน้าที่แต่ละ

คนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้นตามมาตรา8วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติความ

รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

แนวตอบกิจกรรม15.4.2

ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษากรณีที่ผู้เสียหายไม่พอใจในผลของคำวินิจฉัยของหน่วย

งานของรัฐที่ผู้เสียหายได้ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามมาตรา 14 แห่ง

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีการกระทำ

ละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายกฎหรือคำสั่งจากการ

ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา

9(3)แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

ส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษากรณีการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือ

เจ้าหน้าที่อันเกิดจากการกระทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายกฎหรือคำสั่งจากการละเลยต่อ

หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรเช่นเกิดจากการกระทำ

ทางกายภาพเป็นต้นไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา

คดีปกครองพ.ศ.2542ในคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองให้ถือเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมโดย

เฉพาะ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรมาตรา 218กำหนดให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่

รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

Page 34: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-34

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “ความรับผิดของฝ่าย

ปกครอง”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้ นักศึกษามีเวลาในการทำแบบ

ประเมินผลตนเองชุดนี้30นาที

1. กฎหมายต่างประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่อย่างไร

2. จงอธิบายว่า กรณีที่หน่วยงานของรัฐสามารถไล่เบี้ยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดหลักเกณฑ์การไล่เบี้ยใด

บ้างและการเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินดังกล่าวมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายใด

3. กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเมิดต่อเอกชนเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ เช่น แพทย์โรงพยาบาลของรัฐผ่าตัด

รกัษาคนไข้ดว้ยความประมาทเปน็เหตุให้คนไข้ได้รบัความเสยีหายเอกชนสามารถนำเรือ่งไปฟอ้งที่ศาลใด

Page 35: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-35

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่15

ก่อนเรียน1.ละเมิดเป็นนิติเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง

และพาณิชย์ มาตรา 420กำหนดให้ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขา

เสียหายถึงแก่ชีวิตแก่ร่างกายอนามัยเสรีภาพทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดผู้นั้นทำละเมิดจำต้อง

ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นแม้ไม่มีเจตนาที่มุ่งผลทางกฎหมายก็ตามกฎหมายมุ่งสร้างความเป็นธรรม

ให้เกิดขึ้น โดยการชดเชยแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากนิติเหตุนั้น หรือผู้ที่สมควรจะได้รับรางวัลจากการ

กระทำของตนจึงกำหนดให้เกิดหน้าที่หรือความรับผิดและสิทธิต่อกันขึ้น

2.กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง

สงบเรียบร้อยด้วยการมุ่งเน้นที่ผู้กระทำความผิดเพื่อป้องกันไม่ให้มีโอกาสกระทำความผิดต่อไปและเพื่อ

ให้มีโอกาสปรับปรุงแก้ไขความประพฤติของผู้กระทำความผิดแตกต่างจากในกรณีความรับผิดทางนิติเหตุที่

มุ่งเน้นที่ผลของการกระทำความผิดเพื่อนำไปสู่การพิจารณาค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายกลับคืนสู่สภาพเดิม

มากที่สุด

3.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ

เจ้าหน้าที่พ.ศ.2539มี3ระดับดังนี้

3.1การจงใจหมายถึงการรู้สำนึกถึงผลหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน

3.2ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหมายถึงการกระทำโดยประมาท โดยผู้กระทำไม่ใช้ความ

ระมัดระวังเสียเลยหรือกระทำโดยขาดความระมัดระวังที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก

3.3การกระทำละเมิดโดยประมาทจึงหมายถึงการกระทำโดยประมาทแต่ไม่ถึงขั้นประมาท

อย่างร้ายแรง

หลังเรียน1.กฎหมายต่างประเทศได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

1.1กฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รัฐธรรมนูญของเยอรมัน (Grundg-

esetz)มาตรา34กำหนดหลักการว่า รัฐจะต้องรับผิดชอบการละเมิดที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ต่อประชาชนผู้

เสยีหายโดยตรงโดยรฐัจะเปน็ผู้ไล่เบีย้จากเจา้หนา้ที่ผู้กระทำละเมดิในภายหลงัเฉพาะกรณีที่เจา้หนา้ที่กระทำ

ละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และหากเจ้าหน้าที่การกระทำละเมิดโดยประมาท

ธรรมดารัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนนั้นเอง

Page 36: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-36

1.2กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสประเทศฝรั่งเศสมีระบบกฎหมายปกครองเรื่อง

ละเมิดที่แยกจากกฎหมายเอกชน โดยมีหลักการว่ารัฐจะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ หาก

เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ (faute de service) โดยไม่มีวัตถุประสงค์กลั่นแกล้ง

เอกชนเป็นการส่วนตัว กรณีเช่นนี้ รัฐจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายโดยตรง เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้อง

รับผิดชอบและจะไม่ถูกฟ้องเป็นการส่วนตัว

ถ้าเป็นการกระทำละเมิดที่รัฐจะต้องรับผิดและเจ้าหน้าที่ก็จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวด้วย

(Cumul) ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่เป็นการส่วนตัว หรือจะฟ้องรัฐโดยตรงก็ได้ ส่วนความรับ

ผิดชอบของแต่ละฝ่ายที่จะอาจมีนั้น ให้เป็นไปตามสัดส่วนแห่งการกระทำของแต่ละฝ่ายที่ก่อให้เกิดการ

ละเมิดนั้น

หากเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดเป็นการส่วนตัว(fautepersonelle)เจ้าหน้าที่จะต้อง

รับผิดชอบเป็นการส่วนตัวรัฐหาต้องร่วมรับผิดชอบกับเจ้าหน้าที่ด้วยไม่

2.กรณีที่หน่วยงานของรัฐสามารถไล่เบี้ยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐต้องยึดหลักเกณฑ์

การไล่เบี้ยดังนี้

2.1คำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรม ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่

เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดมีเงินเดือนรายได้น้อยแต่จะต้องรับผิดชอบถูกไล่เบี้ยเมื่อเกิดความเสียหายจำนวน

มากดังนั้นการไล่เบี้ยหรือการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาท

เลินเล่ออย่างร้ายแรงนั้นจะต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี

เป็นเกณฑ์โดยอาจมิต้องให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ตามมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติ

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

2.2ความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมถ้า

การละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมให้หัก

ส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วยตามมาตรา8วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด

ของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539

อนึ่ง คำสั่งเรียกให้ชำระเงินไม่ใช่คำสั่งทางปกครองเนื่องจากไม่มีนิติสัมพันธ์ทางกฎหมาย

มหาชน แต่เป็นความรับผิดนิติเหตุตามกฎหมายแพ่ง คำสั่งดังกล่าวจึงมีสถานะทางกฎหมายในลักษณะ

หนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ (notice) ซึ่งจะต้องระงับคดีโดยกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง อย่างไรก็ตาม

ศาลปกครองได้วินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง

3.ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษากรณีที่เอกชนไม่พอใจในผลของคำวินิจฉัยของหน่วยงาน

ของรัฐที่ผู้เสียหายได้ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 14แห่งพระราช-

บัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีการกระทำละเมิด

ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายกฎหรือคำสั่งจากการละเลย

ตอ่หนา้ที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ตอ้งปฏบิตัิหรอืปฏบิตัิหนา้ที่ดงักลา่วลา่ชา้เกนิสมควรตามมาตรา9(3)แหง่

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539กรณีตามปัญหาการรักษาคนไข้ของแพทย์

Page 37: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3

15-37

เป็นการกระทำที่ไม่มีลักษณะใช้อำนาจทางปกครองบังคับแก่คนไข้การกระทำของแพทย์ดังกล่าวจึงเป็นการ

กระทำทางกายภาพหรือปฏิบัติการทางปกครองไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองพิจารณาพิพากษาตามมาตรา9

แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542

อย่างไรก็ตามแม้การกระทำดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองแต่ให้ถือเป็นสิทธิที่

สามารถฟอ้งคดีตอ่ศาลยตุธิรรมโดยเฉพาะรฐัธรรมนญูแหง่ราชอาณาจกัรมาตรา218กำหนดให้ศาลยตุธิรรม

มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

Page 38: Ex.41712-15law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41712-15.pdf · 2015-03-24 · 15.4.2 สาระสำคัญส่วนที่เป็น วิธีสบัญญัติ 15-3