lean six sigma pocket toolbook thai version - sample

54

Upload: eisquare-publishing

Post on 22-Feb-2015

1.412 views

Category:

Documents


9 download

TRANSCRIPT

Page 1: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample
Page 2: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

เครื่องมือ Lean Six Sigma

The Holistic Operational Strategy Series Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 3: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

ลิขสิทธิ์ภาษาไทย : บริษัท อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง จำกัด แต่เพียงผู้เดียว ห้ามลอกเลียนแบบไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

Original edition copyright © 2005 by George Group published by McGraw-Hill Companies, as set forth in copyright notice of Proprietor’s edition. All rights reserved. Thai translation rights © 2011 by E.I.Square Publishing Company Limited. All rights reserved.

เครื่องมือ Lean Six Sigma แปลจาก Lean Six Sigma Pocket Toolbook

Michael L. George, David T. Rowlands, Mark Price, John Maxey เขียน

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ พรเทพ เหลือทรัพย์สุข แปล

ข้อมูลบรรณานุกรม

จอร์จ, ไมเคิล แอล.

เครื่องมือ Lean Six Sigma.- - กรุงเทพฯ : อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์, 2554.

416 หน้า.

1. การควบคุมคุณภาพ. 2. การบริหารคุณภาพโดยรวม.

I. โรวแลนด์, เดวิด ที., ผู้แต่งร่วม. II. ไพร์ซ, มาร์ค, ผู้แต่งร่วม.

III. แมกเซย์, จอห์น, ผู้แต่งร่วม. IV. วิทยา สุหฤทดำรง, ผู้แปล.

V. พรเทพ เหลือทรัพย์สุข, ผู้แปลร่วม. VII. ชื่อเรื่อง. 658.562 ISBN 978-616-7062-15-0

10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 58 57 56 55 54

• บรรณาธิการบริหาร บัญจรัตน์ สุหฤทดำรง • กองบรรณาธิการ ธีรกร เกียรติบรรลือ, บุญส่ง ลิปิมาศ, จันทิมา คำยิ่ง • การตลาด/ขาย สุจิตรา อ่อนช่วย, มาลินี จำปาวะดี, นันต์ชิตา งานไธสง • ออกแบบปก [email protected] • ออกแบบรูปเล่ม อังสนา ชิตรัตน์

หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ้ำ หน้าขาดหาย สำนักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยนให้ใหม่ หากต้องการซื้อจำนวนมากเพื่อใช้ในการฝึกอบรม ส่งเสริมการขาย หรือเป็นของขวัญ กรุณาสอบถามราคาพิเศษได้ ยินดีน้อมรับความเห็นหรือคำติชม

ผลิตโดย อี.ไอ.สแควร์ สำนักพิมพ์

จัดจำหน่าย : บริษัท อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง จำกัด

เลขที่ 143/2 ซอยลาดพร้าว 94 ถนนลาดพร้าว แขวง พลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

พิมพ์ : บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด

ติดต่อ : [email protected] โทรศัพท์ 0 2539 3373, 081 923 4122 โทรสาร 0 2539 3379 www.eisquare.com

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 4: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

คำนำผู้แปล

การอยู่รอดขององค์กรท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง และในภาวะที่มีการ

เปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรในการ

มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร ทุกวงการธุรกิจเริ่มมีความจำเป็นที่

ต้องเปลี่ยนแปลง หรือในบางองค์กรก็ได้เริ่มมีวิวัฒนาการไปทำในสิ่งที่ตนเองไม่เคย

ปฏิบัติมาก่อนเพื่อความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจ มีการบูรณาการแนวคิดในการพัฒนา

ปรับปรุง นำแนวคิดในการพัฒนากระบวนการจากมิติการมองกระบวนการที่แตกต่างกัน

มารวมกัน เช่น โครงการ Six Sigma การผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) และการ

จัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ซึ่งแต่เดิมแล้ว องค์กรต่างๆ ได้เลือกใช้

แนวทาง “แต่ละแนวทาง” ตามที่แต่ละองค์กรเห็นว่าเหมาะสมกับตน การบูรณาการ

แนวคิดทั้งหลายเข้าด้วยกันนี้ ก็เพื่อที่จะได้พัฒนาองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งสู่

ความเป็นเลิศเชิงกระบวนการ (Process Excellence) ซึ่งหมายถึงว่าเป็นการบูรณาการ

ทั้ง Lean และ Six Sigma เข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการธุรกิจ (Business

Process) หรือในอีกมุมมองหนึ่งก็คือ กระบวนการโซ่อุปทาน (Supply Chain) นั่นเอง

นกัปฏบิตัแิละมอือาชพีทีอ่ยูใ่นแวดวงการปรบัปรงุกระบวนการดว้ยการบรูณาการ

Lean และ Six Sigma คงต้องเคยอ่านหนังสือของ Michael George และกลุ่มเพื่อนๆ

ของเขามาไม่มากก็น้อย ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มที่ปรึกษาด้าน Lean Six Sigma ที่เป็นระดับ

โลก ให้คำปรึกษาและแนะนำ รวมถึงตีพิมพ์หนังสือออกมามากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ทั้ง What

is Lean Six Sigma, The Lean Six Sigma Pocket Toolbook, Lean Six Sigma for

Service และ Lean Six Sigma : Combining Six Sigma Quality with Lean

Production Speed ผมและคุณพรเทพ ผู้แปลร่วม ได้ติดตามหนังสือของเขามาอย่าง

ตอ่เนือ่ง และเหน็รว่มกนัวา่มคีณุคา่และจะเปน็ประโยชนแ์กน่กัปฏบิตัใินธรุกจิอตุสาหกรรม

โดยที่เล่มแรกได้ออกวางจำหน่ายในภาษาไทยมาแล้ว และเล่มที่ท่านถืออยู่นี้เป็นการ

แปลจากเล่มที่ 2 ทั้งยังมีแผนงานที่จะนำ Lean Six Sigma for Service มาตีพิมพ์

เป็นฉบับภาษาไทยด้วยเช่นกัน

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 5: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

ผมหวังว่าเครื่องมือและวิธีการเกือบ 100 อย่างหนังสือ เครื่องมือ Lean Six

Sigma เล่มนี้ จะเป็นแหล่งอ้างอิงอย่างรวดเร็วให้กับผู้อ่านในแวดวงอุตสาหกรรมที่อยู่

ในเส้นทางสู่ความเป็นเลิศเชิงกระบวนการครับ

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

[email protected]

MB: 081-613-6137

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 6: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

สารบัญ

บทที่ 1 การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว คุณภาพ และต้นทุน 11

กำหนดนิยาม (Define) 16

วัดผล (Measure) 22

วิเคราะห์ (Analyze) 28

ปรับปรุง (Improve) 31

ควบคุม (Control) 35

ไคเซ็น DMAIC 39

การเลือกโครงการ 47

บทที่ 2 การทำงานกับแนวความคิด 49

การระดมสมอง 50

แผนผังความสัมพันธ์ (Affinity Diagram) 53

การลงคะแนนแบบหลายคะแนนเสียง 56

บทที่ 3 การวาดแผนผังสายธารคุณค่าและเครื่องมือการไหลของกระบวนการ 59

การวาดแผนผังกระบวนการ 61

การสังเกตกระบวนการ 64

SIPOC 66

ขั้นตอนในการวาดแผนผังกระบวนการ 68

ผังการขนส่งและผังสปาเก็ตตี้ (การไหลของงาน) 71

แผนผังการไหล Swim-lane (การแปรไปสู่การปฏิบัติ) 72

แผนผังสายธารคุณค่า (แบบพื้นฐาน) 74

สัญลักษณ์ผังการไหลและผังสายธารคุณค่า 82

การวิเคราะห์การเพิ่มคุณค่า (Value-add: VA) 83

เทียบกับไม่เพิ่มคุณค่า (Non-value-add: NVA)

แผนผังเวลาคุณค่า 86

แผนผังการเพิ่มคุณค่า (แผนผังเวลางาน หรือ Takt Time) 87

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 7: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

บทที่ 4 เสียงของลูกค้า (Voice of the Customer: VOC) 91

การจำแนกส่วนลูกค้า 93

แหล่งของข้อมูลลูกค้า 95

การเก็บ VOC: การสัมภาษณ์ 97

การเก็บ VOC: การสังเกตที่จุดใช้งาน (Point of Use) 98

การเก็บ VOC: การสนทนากลุ่ม (Focus Groups) 99

การเก็บ VOC: แบบสอบถาม 101

การวิเคราะห์ Kano 103

การพัฒนาข้อเรียกร้องที่สำคัญต่อคุณภาพ 108

บทที่ 5 การเก็บข้อมูล 111

ประเภทของข้อมูล 112

ข้อมูลอินพุต เทียบกับ เอาต์พุต 114

การวางแผนการเก็บข้อมูล 116

ตารางเลือกมาตรวัด 119

ปัจจัยแบ่งระดับชั้น (Stratification Factors) 120

คำจำกัดความเชิงปฏิบัติการ 122

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว 123

การสร้างรายการตรวจสอบ 124

รายการตรวจสอบแบบพื้นฐาน 125

รายการตรวจสอบแบบบันทึกความถี่ (Frequency Plot) 126

รายการตรวจสอบแบบนักเดินทาง (Traveler Checksheet) 127

รายการตรวจสอบตามตำแหน่ง 128

พื้นฐานของการสุ่มตัวอย่าง 129

ปัจจัยในการสุ่มตัวอย่าง 131

การสุ่มตัวอย่างกระบวนการ (และประชากร) ที่มีเสถียรภาพ 133

สูตรคำนวณสำหรับการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เล็กที่สุด 134

(ประชากร หรือ กระบวนการที่มีเสถียรภาพ)

การวิเคราะห์ระบบการวัด (Measurement System Analysis: MSA) 136

และภาพรวมของ Gage R&R

Gage R&R: การเก็บข้อมูล 138

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 8: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การตีความผลจาก Gage R&R 140

MSA: การวิเคราะห์ความโน้มเอียง 148

MSA: การวิเคราะห์เสถียรภาพ 150

MSA: การวิเคราะห์การแยกแยะ (Discrimination Analysis) 153

MSA สำหรับข้อมูลแบบแสดงคุณสมบัติ/ไม่ต่อเนื่อง 154

บทที่ 6 สถิติเชิงพรรณนาและการแสดงผลข้อมูล 161

ข้อตกลงเกี่ยวกับศัพท์ทางสถิติ 163

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม) 164

มาตรวัดของการกระจายตัว (พิสัย ความแปรปรวน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 167

แผนภูมิกล่อง 171

ผังความถี่ (ฮิสโตแกรม) 172

การแจกแจงปกติ 177

การแจกแจงไม่ปกติและทฤษฎีแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง 178

บทที่ 7 การวิเคราะห์ความแปรผัน 181

ทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับความแปรผัน 183

ผังอนุกรมเวลา (กราฟต่อเนื่อง) (Time Series Plots Run Charts) 185

ตารางกราฟต่อเนื่อง (Run Chart Table) 189

พื้นฐานเกี่ยวกับแผนภูมิควบคุม 189

การเลือกแผนภูมิควบคุม 190

แผนภูมิควบคุมสำหรับข้อมูลแบบต่อเนื่อง 191

การแบ่งกลุ่มย่อย (Subgrouping) สำหรับข้อมูลแบบต่อเนื่อง 194

สูตรคำนวณขีดจำกัดควบคุมสำหรับข้อมูลแบบต่อเนื่อง 196

ปัจจัยสำหรับสูตรคำนวณแผนภูมิควบคุม 197

การสร้างแผนภูมิ ImR 198

สร้างแผนภูมิ X, R หรือ X, S 199

แผนภูมิควบคุมสำหรับข้อมูลแบบคุณสมบัติ 199

การสร้างแผนภูมิ p-, np-, c- และ u- 202

สูตรคำนวณขีดจำกัดควบคุมสำหรับข้อมูลแบบคุณสมบัติ 203

สมมติฐานในการตีความแผนภูมิควบคุม 203

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 9: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การตีความแผนภูมิควบคุม (การทดสอบหาความแปรผันจากสาเหตุที่ผิดปกติ) 204

ความเป็นมาเกี่ยวกับการคำนวณความสามารถของกระบวนการ 207

ความสับสนเกี่ยวกับการคำนวณความสามารถของกระบวนการในระยะสั้น 209

เทียบกับระยะยาว

การคำนวณความสามารถของกระบวนการ 211

บทที่ 8 การระบุและยืนยันสาเหตุ 215

ส่วน A: การระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ 216

แผนภูมิพาเรโต 218

การถาม “ทำไม” 5 ครั้ง (5 Whys) 222

แผนภูมิสาเหตุและผลกระทบ (แผนภูมิก้างปลาหรือแผนภูมิ Ishikawa) 223

ตารางเหตุและผล (C&E Matrix) 226

ส่วน B: การยืนยันผลกระทบและผลลัพธ์จากสาเหตุ 228

ผังข้อมูลแบบแบบลำดับชั้น (Stratified Data Charts) 229

การทดสอบการแก้ไขอย่างรวดเร็ว/วิธีแก้ไขที่เห็นชัดเจน 231

ผังการกระจาย (Scatter Plots) 234

ภาพรวมของการทดสอบสมมติฐาน 237

ช่วงความเชื่อมั่น (Confidence Intervals) 239

ข้อผิดพลาดแบบ Type I และ Type II, 240

ความเชื่อมั่น (Confidence) พลัง (Power) และ p-values

ช่วงความเชื่อมั่นและขนาดกลุ่มตัวอย่าง 242

ภาพรวมของ t-test 243

การทดสอบ t แบบ 1 ตัวอย่าง 244

การทดสอบ t แบบ 2 ตัวอย่าง 247

ภาพรวมของสหสัมพันธ์ (Correlation) 249

สถิติเกี่ยวกับสหสัมพันธ์ (สัมประสิทธิ์) 250

ภาพรวมของการถดถอย (Regression) 251

การถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย (Simple Linear Regression) 253

การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) 255

ANOVA (ANalysis Of VAriance: การวิเคราะห์ความแปรปรวน) 260

ANOVA แบบทางเดียว 262

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 10: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

ระดับความเป็นอิสระ (Degrees of Freedom) 267

สมมติฐานของ ANOVA 267

ANOVA แบบ 2 ทาง 269

การทดสอบ Chi-square 272

เครื่องหมายและศัพท์ในการออกแบบการทดลอง (Design of Experiments: DOE) 274

การวางแผนออกแบบการทดลอง 276

DOE: แบบเต็มแฟกทอเรียล เทียบกับ แบบเศษส่วนเชิงแฟกทอเรียล (และเครื่องหมาย) 282

การตีความผลลัพธ์ DOE 285

การวิเคราะห์ Residual ในการทดสอบสมมติฐาน 291

บทที่ 9 การลดเวลานำและต้นทุนที่ไม่เพิ่มคุณค่า 295

แนวคิดพื้นฐานของลีน 299

มาตรวัดของประสิทธิภาพด้านเวลา 301

กับดักเวลา เทียบกับ ขีดจำกัดกำลังการผลิต 303

การบ่งชี้กับดักเวลาและขีดจำกัดกำลังการผลิต 304

ภาพรวมของ 5ส 307

การนำ 5ส มาใช้งาน 308

ระบบดึงแบบทั่วไป 316

ระบบดึงโดยการเติม 320

ระบบเติมแบบ 2 ถัง 326

การคำนวณขนาดชุดสำรองขั้นต่ำ 329

การปรับตั้งแบบด่วน 4 ขั้นตอน 330

การปรับใช้การปรับตั้งแบบด่วน 4 ขั้นตอนกับกระบวนการบริการ 336

การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance: TPM) 338

การป้องกันความผิดพลาด และผลจากความผิดพลาด 343

(Mistake Proofing & Prevention, Poka-yoke)

หลักการออกแบบการสมดุลกระบวนการ 345

การทำให้เซลล์การทำงานเหมาะสมที่สุด (Work Cell Optimization) 346

กลไกควบคุมกระบวนการด้วยสายตา (Visual Process Controls) 350

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 11: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

บทที่ 10 การวาดแผนผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน 355 และการวิเคราะห์ความซับซ้อน

ตารางกลุ่มผลิตภัณฑ์/บริการ 357

แผนผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน (Complexity Value Stream Map: CVSM) 358

ประสิทธิภาพของรอบกระบวนการ (Process Cycle Efficiency: PCE) 361

สมการของความซับซ้อน (The Complexity Equation) 361

ตารางความซับซ้อน (Complexity Matrix) 362

การคำนวณการเสื่อมของ PCE (สำหรับตารางของความซับซ้อน) 364

การวิเคราะห์โครงสร้างย่อย (Substructure Analysis) 365

การวิเคราะห์แบบ What-if กับข้อมูลตารางความซับซ้อน 367

บทที่ 11 การเลือกและการทดสอบวิธีการแก้ปัญหา 371

แหล่งข้อมูลวิธีแก้ปัญหา 373

การเทียบเคียง 373

คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกวิธีแก้ปัญหา 375

การสร้างและใช้งานเกณฑ์การประเมิน 376

ตารางเลือกวิธีการแก้ปัญหา 379

การจัดลำดับเปรียบเทียบเป็นคู่ (Pairwise Ranking) 383

การประเมินต้นทุน 387

ตารางผลกระทบ/ความพยายาม 388

ตาราง Pugh 389

เทคนิคการประเมินแบบอื่นๆ 394

ตารางประเมินการควบคุม (Controls Assessment Matrix) 395

การวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบ 396

(Failure Modes and Effects Analysis: FMEA)

การทดลองนำร่อง 402

เกี่ยวกับผู้เขียน 406

เกี่ยวกับผู้แปล 407

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 12: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว

คุณภาพ และต้นทุน 11

ภาพรวม

DMAIC (ออกเสียงว่า “เดอ-เม-อิก”) เป็นระเบียบวิธีการแก้ปัญหาที่มีแบบ

แผนและใช้กันอย่างแพร่หลายในธุรกิจ ตัวอักษรแต่ละตัวเป็นตัวย่อแทน 5 ขั้นของ

การปรับปรุงด้วย Six Sigma คือ Define-Measure-Analyze-Improve-Control (กำหนด

นิยาม-วัดผล-วิเคราะห์-ปรับปรุง-ควบคุม) ขั้นต่างๆ เหล่านี้จะนำทีมงานด้วยหลักเหตุ

และผลตั้งแต่การกำหนดนิยามปัญหาไปจนถึงการนำวิธีการแก้ปัญหาซึ่งเชื่อมโยงกับ

สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังไปใช้ และจัดทำเป็นข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) เพื่อให้แน่ใจ

ว่าวิธีการแก้ไขเหล่านั้นจะคงถูกใช้งานต่อไป

บทที่ 1

การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว

คุณภาพ และต้นทุน

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 13: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

12 เครื่องมือ Lean Six Sigma

จะใช้ DMAIC เมื่อใด

โครงสร้างของ DMAIC ส่งเสริมให้คิดอย่างสร้างสรรค์ภายในกรอบ เช่น การ

รักษากระบวนการพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์ หรือบริการเอาไว้ ถ้ากระบวนการของคุณย่ำแย่

ขนาดที่ต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์หรือถ้าคุณกำลังออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ

กระบวนการใหม่ ให้ใช้ Design for Lean Six Sigma (ออกแบบเพื่อ Lean Six Sigma

หรือ DMEDI) ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้

Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 14: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว

คุณภาพ และต้นทุน 13

การเลือกโครงการ DMAIC

หนังสือเล่มนี้มีสมมติฐานว่าผู้อ่านส่วนใหญ่จะทำงานในโครงการ DMAIC ที่

ผู้จัดการหรือผู้สนับสนุนเป็นผู้เลือกให้ (ถ้าไม่ได้เป็นเช่นนี้ และคุณมีส่วนในกระบวนการ

เลือกโครงการ ให้ดูสรุปสั้นๆ ที่หน้า 47 ตอนท้ายบทนี้

ทางเลือกในการนำ DMAIC มาใช้งาน

มีทางเลือกหลักอยู่ 2 ทางในการนำ DMAIC มาใช้งาน:

1. แนวทางแบบทีมประจำโครงการ

• Black Belt ถูกมอบหมายให้ทำงานในโครงการแบบเต็มเวลา

• สมาชิกทีมจะทำงานในโครงการแบบบางเวลา คือ งานของโครงการ

ถูกทำสลับกับงานปกติ

• สมาชิกทีมทุกคนมีส่วนร่วมในทุกช่วงของ DMAIC

• ระยะเวลาทั้งหมดอาจใช้เวลาตั้งแต่ 1 ถึง 4 เดือนตามขอบเขตของ

โครงการ (บางโครงการอาจกนิเวลานานกวา่นัน้ แตห่ากระยะเวลาสัน้กวา่

ก็จะดีกว่า เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับจะเกิดขึ้นเร็วกว่า)

2. แนวทางแบบไคเซ็น

• เร็วมาก (1 สัปดาห์หรือสั้นกว่านั้น) ดำเนินงานผ่าน DMAIC ทั้งหมด

ยกเว้นการนำมาใช้งานแบบเต็มขั้น

• งานขั้นเตรียมในขั้นกำหนดนิยาม และในบางกรณีก็ขั้นวัดผลด้วย จะทำ

โดยคนกลุ่มย่อย (หัวหน้าทีมกับ Black Belt 1 คน เป็นต้น)

• งานที่เหลือทำโดยทั้งกลุ่มในเวลาไม่กี่วันหรือสัปดาห์หนึ่งที่พวกเขาจะได้

ทำงานกับโครงการนี้เพียงอย่างเดียว (ผู้เข้าร่วมจะถูกดึงออกมาจาก

งานประจำ)

ขั้นตอนพื้นฐานของ DMAIC (หน้า 16-39) ใช้ได้กับทั้ง 2 แนวทางนี้ คำแนะนำ

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำโครงการไคเซ็น อยู่ในหน้า 39-48

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 15: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การทำงานกับแนวความคิด  49

บทที่ 2 

การทำงานกับแนวความคิด 

ภาพรวม 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

คุณค่าส่วนใหญ่ในการทำงานเป็นทีมอยู่ที่แนวความคิดและความเข้าใจอย่าง

ลึกซึ้งที่เกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการ เครื่องมือต่างๆ ในเนื้อหาส่วนนี้จะช่วยทีมคุณใน

การสร้าง จัดการ และประมวลความคิดต่างๆ

หมายเหตุ มีทรัพยากรดีๆ อีกมากมายให้อ้างอิงสำหรับทีมที่กำลังสร้างและ

ทำงานกับ “ข้อมูลที่เป็นคำพูด” เราได้ให้เครื่องมือ 3 อย่างที่ถูกใช้งานเป็นสากล ซึ่ง

เครื่องมือเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดาอีกหลายๆ เครื่องมือที่ปรากฏในหนังสือ

เล่มนี้ เราขอส่งเสริมให้ทีมสำรวจเครื่องมือสร้างความคิดสร้างสรรค์และวิธีการตัดสินใจ

แบบอื่นๆ เพิ่มเติม

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 16: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

50  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

การตัดสินใจเลือกเครื่องมือที่จะใช้งาน 

• การระดมสมอง (Brainstorming) ในส่วนต่อจากนี้จะแสดงแนวทาง

พื้นฐานสำหรับการจัดการพูดคุยเพื่อสร้างความคิดใหม่ๆ ทุกทีมจำเป็นต้อง

ใช้เครื่องมือนี้

• แผนผังความสัมพันธ์ (Affinity Diagram) ในหน้า 53 เป็นวิธีหนึ่ง

สำหรับการจัดระเบียบให้กับความคิดชุดใหญ่ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่

เป็นประโยชน์มากสำหรับทุกทีม ใช้หลังจากการระดมสมอง เมื่อกำลัง

วิเคราะห์ความเห็นของลูกค้า ฯลฯ

• การลงคะแนนแบบหลายคะแนนเสียง (Multivoting) หน้า 56 เป็นวิธี

บ่งชี้ลำดับความสำคัญหรือบีบทางเลือกต่างๆ ให้แคบลง เป็นประโยชน์

เมื่อคุณมีความคิดจำนวนมากกว่าที่ทีมของคุณจะจัดการได้

  การระดมสมอง 

วัตถุประสงค์ 

เพื่อทำให้กลุ่มคนสร้างความคิด ที่หลากหลายเกี่ยวกับหัวข้อใดก็ตาม

ใช้การระดมสมองเพื่ออะไร 

• การระดมสมองช่วยให้เกิดความคิดหรือวิธีการแก้ปัญหา เป็นจำนวนมากใน

ช่วงเวลาสั้นๆ

• การระดมสมองช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์

• การระดมสมองช่วยให้แน่ใจว่าทุกแนวความคิดของสมาชิกกลุ่มถูกนำมา

พิจารณา

ใช้การระดมสมองเมื่อใด 

ใช้การระดมสมองทุกครั้งที่กลุ่มของคุณต้องการทำให้แน่ใจว่ามีความคิดที่

หลากหลายถูกนำมาพิจารณา รวมไปถึง...

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 17: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การทำงานกับแนวความคิด  51

• เติมเนื้อหาในกฎบัตรโครงการให้สมบูรณ์

• บ่งชี้ลูกค้าที่จะรวมอยู่ในการวิจัย

• บ่งชี้สาเหตุที่เป็นไปได้ซึ่งจะนำมาสืบสวน

• บ่งชี้ประเภทของข้อมูลที่จะเก็บ

• บ่งชี้แนวความคิดในการแก้ปัญหา

ระดมสมองอย่างไร 

1. พิจารณานิยามของปัญหา

2. ทำให้เป้าหมาย/คำถามกระจ่างชัด และจัดหาข้อมูลใดก็ตามที่เกี่ยวข้อง

3. ให้เวลาเงียบๆ 2-3 นาทีกับทุกคนที่จะคิดเกี่ยวกับคำถามและให้แต่ละคน

เขียนบันทึกความคิดบางอย่างไว้

• เพื่อให้รวบรวมได้ง่ายขึ้นในภายหลัง ให้ทุกคนเขียนความคิดของตัวเอง

ลงบนกระดาษกระดาษโพสต์-อิทหรือการ์ด (1 ความคิดต่อการ์ด 1 ใบ)

• ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์; ในการระดมสมองนั้น ไม่มีความคิดใดที่

ถือว่าสุดโต่งเกินไป

4. รวบรวมแนวความคิด

• ให้ออกความเห็นทีละคน โดยแต่ละคนสามารถออกความเห็นได้ครั้งละ

1 ความเห็น หรือให้ทุกคนออกความเห็นได้อย่างอิสระ ใครสามารถออก

ความเห็นเมื่อใดก็ได้

• บันทึกทุกแนวความคิดเอาไว้...

- ถ้าแนวความคิดถูกเขียนบนกระดาษกระดาษโพสต์-อิทให้ติดมันบน

ผนัง กระดาน หรือฟลิปชาร์ท

- อีกทางเลือกหนึ่ง คือ ให้แต่ละคนอ่านทีละ 1 แนวความคิดเพื่อให้

เสมียนบันทึกไว้บนฟลิปชาร์ท ซึ่งติดไว้ในที่ซึ่งทุกคนเห็นได ้

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 18: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การวาดแผนผังสายธารคุณค่าและ

เครื่องมือการไหลของกระบวนการ 59

บทที่ 3

การวาดแผนผังสายธารคุณค่าและ

เครื่องมือการไหลของกระบวนการ

ภาพรวม

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้

• บันทึกกระบวนการออกมาเป็นภาพ (รวมถึงข้อมูลหลักดังที่บันทึกในแผนผัง

สายธารคุณค่า)

• ให้คำอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการตามข้อเท็จจริง เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการ

ทำความเข้าใจปัญหาปัจจุบัน (การไหลที่ไม่ดี วงจรการแก้ไขงาน ความ

ล่าช้า ฯลฯ) และโอกาสต่างๆ

• ช่วยให้ทีมเห็นโอกาสการปรับปรุงภายในกระบวนการและเริ่มต้นนิยาม X

ที่สำคัญ (สาเหตุที่อยู่เบื้องหลัง)

• ช่วยทีมให้เห็นว่ากระบวนการควรจะทำงานอย่างไร (สภาพอนาคต) เมื่อ

สามารถกำจัดความสูญเปล่าได้แล้ว

• ช่วยการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 19: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

60 เครื่องมือ Lean Six Sigma

ตัดสินใจเลือกเครื่องมือที่จะใช้

• คำแนะนำเกี่ยวกับการวาดแผนผังกระบวนการ (หน้า 61) ให้คำแนะนำ

ที่ใช้ได้จริงสำหรับการเขียนแผนผังกระบวนการที่เป็นประโยชน์ ให้ทบทวน

ตามที่จำเป็น

• การสังเกตกระบวนการ (หน้า 64) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกไปดูสิ่งที่

เกิดขึ้นจริงในกระบวนการ ซึ่งเป็นความคิดที่ดีเสมอ ในช่วงต้นของโครงการ

ปรับปรุงกระบวนการ แม้ว่าคุณคิดว่าสมาชิกทีมของคุณจะมีความรู้เกี่ยวกับ

กระบวนการมากแล้วก็ตาม

• SIPOC (หน้า 66) เป็นแผนผังแบบง่ายเพื่อระบุองค์ประกอบพื้นฐานของ

กระบวนการ (ขอบเขตคือ อินพุตของผู้จัดส่งวัตถุดิบ อินพุตของกระบวนการ

ขั้นตอน ลูกค้า และเอาต์พุต) ทีมส่วนใหญ่จะอยากทำผัง SIPOC ในช่วงต้น

โครงการเพื่อจับภาพมุมมองระดับสูงของปฏิบัติการที่เป็นเป้าหมาย (ช่วยใน

การสื่อสารกับผู้สนับสนุน และคนอื่นๆ) SIPOC เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับ

การแปลงข้อเรียกร้องของลูกค้าออกมาเป็นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับเอาต์พุต

และบ่งชี้ตัวแปรขาออกหลักของกระบวนการ (Key Process Output

Variables: KPOV) ที่เกี่ยวข้อง

• ขั้นตอนการวาดแผนผังกระบวนการ (หน้า 68) จะครอบคลุมองค์-

ประกอบต่างๆ ในการสร้างแผนภูมิการไหล

• ผังการขนส่ง แผนผังสปาเก็ตตี้ /การไหลของงาน (หน้า 71) เป็น

แผนผังพิเศษที่แสดงวิธีที่เป็นเอกลักษณ์ในการแสดงแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับ

การไหลของงาน ลองเปิดอ่านดูผ่านๆ ว่ามันสามารถช่วยโครงการคุณได้

หรือไม่

• แผนผังการไหล Swim-lane (การแปรไปสู่การปฏิบัติ) (หน้า 72) มี

ประโยชน์เป็นพิเศษเมื่อกระบวนการที่ศึกษาไหลผ่านหน้าที่งาน 3 หน้าที่

ขึ้นไป ซึ่งจะเกิดความไม่ต่อเนื่องในกระบวนการในการส่งมอบระหว่าง

หน้าที่งานบ่อยครั้งมาก แผนผังนี้มีประสิทธิผลในการแสดงการส่งมอบ การ

ขนส่ง แถวคอย และวงจรการแก้ไขงานภายในกระบวนการ

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 20: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การวาดแผนผังสายธารคุณค่าและ

เครื่องมือการไหลของกระบวนการ 61

• แผนผังสายธารคุณค่า (Value Stream Map) (หน้า 74) คือ “แผนผัง

กระบวนการพร้อมข้อมูล” เป็นเครื่องมือสำหรับการจับข้อมูลกระบวนการ

(เกี่ยวกับ WIP เวลาปรับตั้งเครื่องจักร เวลากระบวนการ/หน่วยกระบวนการ

อัตราความผิดพลาด เวลาว่าง ฯลฯ) และการไหล แผนผังนี้เป็นรากฐานของ

วิธีการปรับปรุงแบบลีน เป็นเครื่องมือที่บังคับให้ใช้สำหรับทุกทีมที่มีพันธกิจ

ในการเร่งความเร็วของกระบวนการและกำจัดต้นทุนที่ไม่เพิ่มคุณค่า (ดู

เพิ่มเติมที่ ผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน หน้า 358)

• การวิเคราะห์การเพิ่ม/ไม่เพิ่มคุณค่า (หน้า 83) ให้แนวทางสำหรับการ

บ่งชี้ว่างานส่วนใดในกระบวนการที่ลูกค้าของคุณให้คุณค่า และงานใดที่

พวกเขาไม่ให้คุณค่า ทุกๆ โครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกระบวนการ

ควรจะแสดงให้เห็นระดับของต้นทุนส่วนที่เพิ่มคุณค่าและส่วนที่ไม่เพิ่ม

คุณค่า

• แผนผังเวลาคุณค่า (Time Value Map) (หน้า 86) และแผนผังการเพิ่ม

คุณค่า (แผนผังเวลางานหรือ Takt Time) (หน้า 87) เป็นเครื่องมือภาพ

สำหรับเน้นให้เห็นว่าเวลากระบวนการถูกแบ่งเป็นงานที่เพิ่มคุณค่าและงาน

ที่ไม่เพิ่มคุณค่าอย่างไรบ้าง แนะนำเป็นพิเศษสำหรับทีมที่สมาชิกยังใหม่กับ

การคิดในเชิงของการเพิ่มคุณค่า/ไม่เพิ่มคุณค่า

การวาดแผนผังกระบวนการ

หลักการสำคัญ

• เอกสารไม่สามารถทดแทนการสังเกตการณ์ได้ คุณต้องเดินสำรวจ

กระบวนการ และพูดคุยกับพนักงานเพื่อหาว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในการ

ทำงานแต่ละวัน ต้องทำอย่างนี้แม้ว่าคุณกำลังศึกษางานส่วนที่คุณคิดว่า

คุณรู้จักดีอยู่แล้วก็ตาม!

• แผนผังการไหลเป็นเพียงวิธีการ ไม่ใช่คำตอบ อย่ายึดติดกับการสร้าง

แผนผังการไหลที่สมบูรณ์แบบ จนทำให้งานที่เพิ่มคุณค่าให้โครงการต้อง

ล่าช้า ลงรายละเอียดเท่าที่จะเป็นประโยชน์สำหรับโครงการ

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 21: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

เสียงของลูกค้า

(Voice of the Customer: VOC) 91

บทที่ 4

เสียงของลูกค้า

(Voice of the Customer: VOC)

ภาพรวม

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้

• เพื่อหาว่าลูกค้าสนใจสิ่งใดบ้าง

• เพื่อกำหนดลำดับความสำคัญและเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการ ของลูกค้า

• เพื่อพิจารณาว่าจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าข้อใดได้อย่างมีผล กำไร

การตัดสินใจเลือกเครื่องมือที่จะใช้

การจำแนกส่วนลูกค้า (Customer Segmentation) (หน้า 93) หลักการใน

การระบุส่วนย่อย (Subset) ของลูกค้าที่อาจมีความต้องการหรือข้อเรียกร้องที่ต่างกัน มี

ประโยชน์มากเป็นพิเศษสำหรับทีมใดก็ตามที่เผชิญกับฐานลูกค้าปริมาณขนาดกลาง

จนถึงขนาดใหญ่

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 22: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

92 เครื่องมือ Lean Six Sigma

ประเภทและแหล่งของข้อมูลลูกค้า (Types and Sources of Customer

Data) (หน้า 95) รายการข้อมูลทั่วไปของลูกค้าที่องค์กรของคุณอาจมีอยู่แล้วหรือ

สามารถหามาได้ ใช้เพื่อกระตุ้นความคิดของคุณเองก่อนจะเริ่มต้น VOC

การเก็บ VOC:

• การสัมภาษณ์ (หน้า 97) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ลูกค้าอย่าง

มืออาชีพ ซึ่งแนะนำสำหรับทีมใดก็ตามที่ต้องการพัฒนาความเข้าใจอย่าง

ลึกซึ้งเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าและวิธีที่ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์หรือ

บริการ

• การสังเกตการณ์ที่จุดใช้งาน (Point-of-use Observation) (หน้า 98)

ให้คำแนะนำว่าควรทำอะไรบ้างเมื่อเยี่ยมชมสถานที่ปฏิบัติงานของลูกค้า

หรือสังเกตจุดปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและผลิตภัณฑ์/บริการของคุณ ใช้

เพื่อเพิ่มความเข้าใจหรือเพื่อยืนยันผลจากการสัมภาษณ ์

• การสนทนากลุม่ (Focus Groups) (หนา้ 99) ใหค้ำแนะนำเกีย่วกบัวธิกีาร

จัดทำการสนทนากลุ่ม มีประสิทธิภาพมากกว่าการสัมภาษณ์แยกกัน แต่ก็

ใช้เวลามาก วิธีการนี้ใช้ตามที่จำเป็น

• แบบสอบถาม (Survey) (หน้า 101) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แบบ

สอบถาม ใช้ได้ดีสุดในการยืนยันหรือวัดค่าปริมาณของทฤษฎีที่พัฒนา

ขึ้นหลังจากการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า นอกจากนั้น ยังสามารถใช้เพื่อบ่งชี้

ประเด็นสำคัญที่สุดที่ต้องทำวิจัย วิธีการนี้ใช้ได้ดีในการรวบรวมข้อมูลเชิง

ปริมาณ

• การวิเคราะห์ Kano (Kano Analysis) (หน้า 103) ให้เทคนิคที่ช่วยให้คุณ

เข้าใจคุณค่าในระดับต่างๆ กันที่ลูกค้าให้แก่คุณสมบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์

หรือบริการของคุณ

• การพัฒนาข้อเรียกร้องที่สำคัญต่อคุณภาพ (Developing Critical-to-

quality Requirements) (หน้า 108) ให้คำแนะนำในการแปลงข้อความระบุ

ความต้องการของลูกค้าออกมาเป็นข้อเรียกร้องของผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ใช้เมื่อพันธกิจของคุณคือการส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่ตอบสนองความ

ต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 23: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

เสียงของลูกค้า

(Voice of the Customer: VOC) 93

คำแนะนำ

• สำหรับการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง (การสัมภาษณ์ การสังเกตลูกค้า การสนทนากลุ่ม) เดิมพันจะสูงมาก เพราะคุณจะต้องติดต่อกับลูกค้าแบบ

ตัวต่อตัว คุณจึงต้องสร้างความประทับใจที่ดี เตรียมตัวให้พร้อม เป็นมือ

อาชีพ และทำให้แน่ใจว่ามีการติดตามผล มิฉะนั้นลูกค้าจะรู้สึกว่าเขาเสีย

เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

• ทำงานกับฝ่ายขายหรือฝ่ายการตลาดเพื่อบ่งชี้และประสานการติดต่อกับ ลูกค้า ถ้าหลายคนจากหลายฝ่ายติดต่อลูกค้าด้วยตัวเอง ลูกค้าอาจมองว่า

คุณไร้ความสามารถ

• ถ้าคุณกำลังทำงานกับโครงการออกแบบ เราแนะนำให้คุณสำรวจวิธีการ VOC แบบซับซ้อนหลายแบบที่มักจะเชื่อมโยงกับ Design for Lean Six

Sigma หรือแนวทางแบบ DMEDI (เช่น House of Quality)

• การจัดการกับลูกค้าอาจเป็นเรื่องที่ต้องมีลูกล่อลูกชน ให้ขอความช่วยเหลือ จากผู้เชี่ยวชาญถ้าเป็นไปได้

การจำแนกส่วนลูกค้า

จุดสำคัญ

• ลูกค้าทุกรายไม่ได้เกิดมาเท่าเทียมกัน และไม่ได้สร้างคุณค่าสำหรับองค์กร เท่าเทียมกันด้วย

• การจำแนกส่วนหรือเซกเมนต์ลูกค้า (Customer Segmentation) เป็นวิธีการ บ่งชี้และเน้นที่ลูกค้ากลุ่มย่อยซึ่งสร้างคุณค่ามากที่สุดจากผลิตภัณฑ์ บริการ

หรือกระบวนการที่กำลังถูกออกแบบหรือปรับปรุง

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 24: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

110 เครื่องมือ Lean Six Sigma

ข้อเรียกร้องของลูกค้าที่ดี:

• จะเจาะจงและวัดผลได้ง่าย

• จะสัมพันธ์โดยตรงกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หรือบริการ

• ไมม่ทีางเลอืกอืน่และไมใ่ชอ้คตเิพือ่ใหก้ารออกแบบเอนเอยีงไปตามแนวทางใด แนวทางหนึ่งหรือเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง

• อธิบายว่าความต้องการคืออะไร ไม่ใช่อธิบายว่าจะตอบสนองได้อย่างไร

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 25: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การเก็บข้อมูล  111

บทที่ 5 

การเก็บข้อมูล 

ภาพรวม 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

เพื่อช่วยคุณเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้ซึ่งสัมพันธ์กับคำถามหลักๆ ที่คุณต้องการหา

คำตอบสำหรับโครงการของคุณ

การตัดสินใจเลือกเครื่องมือที่จะใช้ 

• ประเภทของข้อมูล (หน้า 112-113) จะกล่าวถึงประเภทของข้อมูลที่คุณ

อาจพบ และประเภทของข้อมูลมีอิทธิพลอย่างไรต่อวิธีการวิเคราะห์ หรือ

เครื่องมือใดที่คุณสามารถใช้งานหรือไม่สามารถใช้งานได้ ขอให้คุณทบทวน

ตามที่จำเป็น

• การวางแผนเก็บข้อมูล (หน้า 116-118) อธิบายเกี่ยวกับตารางเลือก

มาตรวัด (หน้า 119) การแบ่งระดับชั้น (หน้า 120) คำจำกัดความเชิง

ปฏิบัติการ (หน้า 122) และข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว

(หนา้ 123) ใช้แผนนี้ทุกครั้งที่เก็บข้อมูล

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 26: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

112  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

• รายการตรวจสอบ (Checksheets) (หน้า 124-128) ให้ตัวอย่างรายการ

ตรวจสอบแบบต่างๆ แบบพื้นฐาน (หน้า 125) รายการตรวจสอบบันทึก

ความถี่ (หน้า 126) แบบนักเดินทาง (หน้า 127) ตามตำแหน่ง (หน้า

128) และทบทวนเมื่อจำเป็น

• การสุ่มตัวอย่าง (หน้า 129-136) อธิบายเกี่ยวกับพื้นฐาน (หน้า 129)

ปัจจัยในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (หน้า 131) จำนวนประชากรและการ

สุ่มตัวอย่างกระบวนการ (หน้า 133) และการพิจารณาขนาดกลุ่มตัวอย่าง

ขั้นต่ำ (หน้า 134) แนะนำให้ทุกทีมทบทวนเรื่องเหล่านี้เพราะว่าการเก็บ

ข้อมูลเกือบทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับการสุ่มตัวอย่าง

• การวิเคราะห์ระบบการวัด (รวมถึง Gage R&R) (หน้า 136-148) กล่าว

ถึงประเภทของข้อมูลที่ต้องเก็บ (หน้า 138) และการตีความแผนผังที่โดย

ปกติแล้วจะถูกสร้างโดยโปรแกรมซอฟต์แวร์ MSA (หน้า 140-148) รวมถึง

คำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจหาความโน้มเอียง (Bias) (หน้า 148) เสถียร-

ภาพ (หน้า 150) และการแยกแยะ (หน้า 153) ซึ่งขอแนะนำให้กับทุกทีม

• การคำนวณ Kappa (MSA สำหรับข้อมูลแบบแสดงคุณสมบัติ) (หน้า

154-159) ซึ่งแนะนำเมื่อใดก็ตามที่คุณเก็บข้อมูลแบบแสดงคุณสมบัติ

  ประเภทของข้อมูล 

1. ข้อมูลต่อเนื่อง  

ความแปรผันใดๆ ที่วัดบนอนุกรมหรือแกนที่สามารถแบ่งออกได้ไม่มีที่สิ้นสุด

มีเครื่องมือทางสถิติที่ทรงพลังมากกว่านี้สำหรับการตีความข้อมูลต่อเนื่อง

ดังนั้นข้อมูลต่อเนื่องจึงมักถูกเลือกไว้เหนือข้อมูลที่ขาดตอน/ข้อมูลแบบแสดงคุณสมบัติ

ตัวอย่าง: เวลานำ (Lead Time) ต้นทุนหรือราคา ระยะเวลาของการโทรศัพท์

และมิติหรือคุณลักษณะทางกายภาพใดๆ ก็ตาม (ความสูง ความกว้าง ความหนาแน่น

อุณหภูมิ)

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 27: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

สถิติเชิงพรรณนาและการแสดงผลข้อมูล  161

บทที่ 6 

สถิติเชิงพรรณนาและการแสดงผลข้อมูล 

ภาพรวม 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการกระจายตัวและคุณสมบัติของข้อมูลกลุ่มหนึ่ง

ตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องมือใด 

• ข้อตกลงเกี่ยวกับศัพท์ทางสถิติ (Statistical Term Convention) (หน้า

163) กล่าวถึงมาตรฐานที่ใช้สำหรับสัญลักษณ์และศัพท์ที่ใช้ในสมการ

ทางสถิติ ขอให้คุณทบทวนตามที่จำเป็น

• การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency)

(หน้า 164) กล่าวถึงวิธีคำนวณค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median)

ฐานนิยม (Mode) คำนวณค่าเหล่านี้ด้วยตัวเองสำหรับชุดข้อมูลต่อเนื่อง

ใดก็ตามที่ซอฟต์แวร์ไม่ได้คำนวณให้

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 28: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

162  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

• มาตรวัดของการกระจายตัว (Measures of Spread) (หน้า 167)

แสดงวิธีคำนวณพิสัย (Range) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard

Deviation) และความแปรปรวน (Variance) คุณต้องใช้การคำนวณเหล่านี้

กับเครื่องมือสถิติหลายประเภท (แผนภูมิควบคุม การทดสอบสมมติฐาน

ฯลฯ)

• แผนภูมิกล่อง (Box Plots) (หน้า 171) อธิบายแผนภาพประเภทหนึ่งที่

สรุปการแจกแจงหรือกระจายตัวของข้อมูลแบบต่อเนื่อง คุณคงมีโอกาส

น้อยที่จะวาดด้วยมือ แต่มักเห็นได้บ่อยหากใช้ซอฟต์แวร์สถิติ ขอให้คุณ

ทบทวนตามที่จำเป็น

• ผังความถี่/ฮิสโตแกรม (Frequency Plot/Histogram) (หน้า 172) สรุป

ผังความถี่ประเภทต่างๆ และตีความรูปแบบที่แสดงความหมายออกมา

เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการประเมินการแจกแจงปกติ (Normality); เป็นสิ่งที่

แนะนำสำหรับกลุ่มตัวแทนของข้อมูลแบบต่อเนื่อง

• การแจกแจงปกติ (Normal Distribution) (หน้า 177) อธิบายคุณสมบัติ

ของการแจกแจง “ปกต”ิ หรือ “ระฆังคว่ำ” ขอให้คุณทบทวนตามที่จำเป็น

• การแจกแจงไม่ปกติ/ทฤษฎีแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (Non-Normal

Distribution/Central Limit Theorem) (หน้า 178) อธิบายการแจกแจง

หรือกระจายตัวประเภทอื่นๆ ที่พบกับข้อมูลแบบต่อเนื่อง และวิธีที่เรา

สามารถสรุปผลทางสถิติที่ใช้การได้แม้ว่าจะเป็นการแจกแจงแบบไม่ปกติ

ก็ตาม ขอให้คุณทบทวนตามที่จำเป็น

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 29: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การวิเคราะห์ความแปรผัน  181

บทที่ 7 

การวิเคราะห์ความแปรผัน 

ภาพรวม 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

• เพื่อแยกแยะความแปรผันจากสาเหตุที่ผิดธรรมชาติออกจากสาเหตุโดย ธรรมชาติ

• เพื่อจับแนวโน้ม (Trend) และรูปแบบ (Pattern) ในข้อมูล ซึ่งให้ร่องรอย เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของความแปรผัน (โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการลด

และการกำจัดแหล่งกำเนิดเหล่านี้)

การตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องมืออะไร 

หัวข้อส่วนนี้แสดงเครื่องมือ 2 ประเภทที่ใช้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความ

แปรผัน:

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 30: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

182  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

1. ผังอนุกรมเวลา(TimeSeriesCharts)ซึ่งใช้บันทึกข้อมูลตามลำดับที่เกิด

ขึ้น

2. การคำนวณความสามารถ (Capability Calculations) ซึ่งเปรียบเทียบ

ช่วงของเอาต์พุตจริงจากกระบวนการกับช่วง (ข้อกำหนดหรือค่าความเผื่อ) ที่ตอบสนอง

ข้อเรียกร้องของลูกค้า

เมื่อเก็บข้อมูลกระบวนการ ให้บันทึกข้อมูลลงบนผังดังต่อไปนี้ก่อนที่จะทำการ

วิเคราะห์อื่นๆต่อไป:

a. ผังอนุกรมเวลา (Time Series Plots) (หรือเรียกว่ากราฟต่อเนื่อง

[Runchart]): เป็นผังง่ายๆ จากข้อมูลกระบวนการที่ต้องคำนวณเพียงแค่ค่ามัธยฐาน

(หน้า 185)สามารถทำใน “ภาคสนาม” ได้ง่ายสำหรับจำนวนข้อมูลไม่เกิน 50ตัวอย่าง

โดยใช้เพียงแค่ดินสอกับกระดาษ

• ใช้ตารางกราฟต่อเนื่อง (หน้า 188) เพื่อบ่งชี้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับ ความแปรผันจากสาเหตุที่ผิดธรรมชาติ

b. แผนภูมิควบคุม (Control Charts): เป็นผังอนุกรมเวลาที่มีเส้นกลาง

(ค่าเฉลี่ย) และขีดจำกัดควบคุมที่คำนวณจากข้อมูลเพิ่มมาด้วยซึ่งแสดงช่วงของความ

แปรผันในกระบวนการที่คาดการณ์ไว้ (โดยปกติจะ ใช้ ± 3 ช่วงส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากค่าเฉลี่ย) แผนภูมินี้จะซับซ้อนกว่าผังอนุกรมเวลาเพราะว่าต้องการการคำนวณ

เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามมันสามารถตรวจจับความแปรผันจากสาเหตุที่ผิดธรรมชาติได้

หลายประเภท

•ข้อมูลประเภทที่ต่างกันเรียกร้องให้ใช้สูตรที่ต่างกันในการคำนวณเส้น กลางและขีดจำกัดควบคุม ดูขั้นตอนการเลือกการคำนวณประเภท

ที่ถูกต้อง(หน้า203)

• ใช้การทดสอบสำหรับความแปรผันจากสาเหตุที่ผิดปกติ(หน้า204) เพื่อบ่งชี้รูปแบบที่ระบุว่ามีความแปรผันจากสาเหตุที่ผิดธรรมชาติอยู่

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 31: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การระบุและยืนยันสาเหตุ  215

บทที่ 8 

การระบุและยืนยันสาเหตุ 

ภาพรวม 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

เพื่อเพิ่มโอกาสที่คุณจะระบุสาเหตุรากเหง้าที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งสามารถใช้

เป็นเป้าหมายสำหรับการปรับปรุงได้ต่อไป

เครื่องมือในบทนี้จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทที่แตกต่างกันอย่างมาก คือ:

a. เครื่องมือสำหรับระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ (เริ่มต้นที่หัวข้อต่อไปนี้) เป็น

เทคนิคเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาที่ได้สังเกต จุดเน้น

อยู่ที่การคิดกว้างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในกระบวนการของคุณ

b. เครื่องมือสำหรับยืนยันสาเหตุที่เป็นไปได้ (เริ่มที่หน้า 228) เป็นเครื่องมือ

ที่แตกต่างอย่างมากจากเครื่องมือประเภทแรก มุ่งเน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเคร่ง-

ครัดหรือการทดสอบทางสถิติที่เฉพาะเจาะจงเพื่อยืนยันว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ

และผลกระทบ (Cause-and-effect) อยู่หรือไม่ และความสัมพันธ์นั้นมีมากเพียงใด

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 32: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

216  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

ส่วน A: การระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

เพื่อช่วยคุณในการพิจารณาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่มีอยู่มากมาย เมื่อพยายาม

อธิบายรูปแบบต่างๆ ที่ปรากฏในข้อมูลของคุณ

มันจะช่วยคุณ …

a) นำเสนอตัวแปรXที่สำคัญ- เสนอความคิด (สมมติฐาน) เกี่ยวกับปัจจัย

(Xs) ที่มีส่วนในปัญหาที่เกิดในกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่เป็นเป้าหมาย

b) จัดลำดับตัวแปร Xที่สำคัญ - ระบุสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งควรจะ

นำมาศึกษาเพิ่มเติม

อย่าลืมใช้เครื่องมือในส่วน B เพื่อยืนยัน X ที่สงสัยด้วย

การตัดสินใจเลือกเครื่องมือที่จะใช ้

ในคำแนะนำนี้จะอธิบายเครื่องมือ 2 ประเภทที่ใช้ระบุสาเหตุที่เป็นไปได้:

• การแสดงผลข้อมูลมีเครื่องมือพื้นฐานหลายอย่างที่ถูกกล่าวถึงในเนื้อหา

ส่วนอื่นๆ ของหนังสือเล่มนี้ (เช่น ผังอนุกรมเวลา แผนภูมิควบคุม ฮิสโต-

แกรม ฯลฯ) ที่อาจจุดประกายความคิดของคุณเกี่ยวกับสาเหตุที่เป็นไปได้

ทีมของคุณควรทบทวนแผนภูมิที่ได้ถูกสร้างขึ้นในระหว่างการสืบสวนข้อมูล

เหล่านี้ เครื่องมืออีกตัวอย่างหนึ่งที่จะอธิบายในส่วนนี้คือ...

- แผนภูมิพาเรโต (Pareto Chart): เป็นแผนภูมิแท่งแบบเฉพาะที่ช่วย

คุณเน้นที่แหล่งของปัญหา “ที่สำคัญจำนวนไม่กี่สาเหตุ” จากนั้นคุณจะ

ได้มุ่งเน้นความพยายามในการระบุสาเหตุไปยังส่วนซึ่งงานที่คุณทำจะ

เกิดผลกระทบมากที่สุดได้

• เครื่องมือในการระดมสมองที่เน้นที่สาเหตุ: เครื่องมือทั้ง 3 อย่างในที่นี้

เป็นการระดมสมองในรูปแบบที่แตกต่างไป

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 33: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การระบุและยืนยันสาเหตุ  217

- การถามทำไม 5 ครั้ง (5 Whys) (หน้า 222): เป็นเทคนิคพื้นฐานที่

ใช้เพื่อผลักดันความคิดของคุณเกี่ยวกับสาเหตุที่เป็นไปได้ให้ลงลึกถึง

ระดับรากเหง้า ทำได้อย่างรวดเร็วและเจาะจงมาก

- แผนภูมิก้างปลา (FishboneDiagram) (แผนภูมิสาเหตุและผลกระทบ

หรือแผนภูมิ Ishikawa หน้า 223): เป็นรูปแบบหนึ่งที่ช่วยคุณจัดเรียง

และจัดระเบียบสาเหตุที่เป็นไปได้จำนวนมาก ส่งเสริมให้เกิดการคิดใน

เชิงกว้าง

- ตารางเหตุและผล (C&EMatrix) (หน้า 226): ตารางที่บังคับให้คุณ

คิดอย่างเจาะจงว่าอินพุตของกระบวนการส่งผลต่อเอาต์พุตอย่างไร

(และเอาต์พุตเชื่อมโยงกับข้อเรียกร้องของลูกค้าอย่างไร) มีหน้าที่คล้าย

กับแผนภูมิก้างปลา แต่มุ่งเป้าที่การแสดงการเชื่อมโยงระหว่างอินพุต-

เอาต์พุตมากกว่า

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 34: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การลดเวลานำและต้นทุนที่ไม่เพิ่มคุณค่า  295

บทที่ 9 

การลดเวลานำและต้นทุนที่ไม่เพิ่มคุณค่า 

ภาพรวม 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

• เพื่อขจัดขีดจำกัดด้านกำลังการผลิตในกระบวนการ

- ช่วยให้แน่ใจว่ากระบวนการสามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้

• เพื่อลดเวลานำและต้นทุนของกระบวนการ

- ขจัดต้นทุนที่ไม่เพิ่มคุณค่าและความสูญเปล่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

และความสามารถในการสร้างผลกำไรของกระบวนการ Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 35: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

296  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

การตัดสินใจเลือกเครื่องมือที่จะใช้งาน 

ทบทวน แนวคิดและนิยามพื้นฐานของลีน (หน้า 299) จากนั้น:

• หาว่าเวลาถูกใช้ไปอย่างไรและในที่ใดในกระบวนการ:

- บ่งชี้ขั้นตอนกระบวนการว่าเพิ่มคุณค่าหรือไม่เพิ่มคุณค่า (ในสายตา

ของลูกค้า) ดูบทที่ 3 หน้า 83

- คำนวณเวลานำรวม (Total Lead Time) ของกระบวนการ (หรือที่รู้จัก

ในชื่อรอบเวลาของกระบวนการ) หน้า 302

- หาอตัราการเสรจ็สิน้เฉลีย่ทีต่อ้งการ (Desired Average Completion

Rate) (อัตราอุปสงค์ของลูกค้า หรืออัตรา Takt) หน้า 299

- คำนวณประสทิธภิาพรอบของกระบวนการ (Process Cycle Efficiency)

หน้า 301

- หาและวัดค่ากับดักเวลา (Time Trap) และขีดจำกัดด้านกำลังการ

ผลิต (Capacity Constraints) หน้า 303-307

- คำนวณเวลาหมนุเวยีนของสถานงีาน (Workstation Turnover Time)

หน้า 302

• ผนวกข้อมูลเข้าไปในแผนผังสายธารคุณค่าของคุณ (บทที่ 3 หน้า 74)

การเลือกเครื่องมือหรือวิธีการเพื่อปรับปรุงการไหลและความเร็วของกระบวน-

การจะขึ้นอยู่กับประเภทของปัญหาที่คุณพบหลังจากเขียนผังสายธารคุณค่า (VSM)

เสร็จสิ้น

1. กระบวนการผลิตมากเกินไปเมื่อเทียบกับอุปสงค์ของลูกค้า

• นำระบบการเติมเต็มด้วยการดึงมาใช้ เพื่อเชื่อมโยงเอาต์พุตเข้ากับ

อุปสงค์ของลูกค้าโดยตรง (ร่วมกับระบบดึงแบบทั่วไป) (หน้า 316)

- คำนวณและปรับขนาดชุด (Batch) เพื่อพิจารณาขนาดชุดขั้นต่ำที่เป็น

ไปได้เพื่อสนองอุปสงค์ของลูกค้า (หน้า 329)

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 36: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การลดเวลานำและต้นทุนที่ไม่เพิ่มคุณค่า  297

2. กระบวนการผลิตไม่มากพอเมื่อเทียบกับอุปสงค์ของลูกค้า

• จู่โจมขีดจำกัดด้านกำลังการผลิต เน้นไปที่การกำจัดงานที่ไม่เพิ่ม

คุณค่าผ่านทางการลดความแปรผัน (ดูบทที่ 7 และใช้เครื่องมือที่อธิบาย

ในบทนี้:

- ลดการปรับตั้งเครื่องจักร การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม

(Total Productive Maintenance) การป้องกันความผิดพลาด การ

สร้างสมดุลให้กระบวนการ

3. กระบวนการสามารถตอบสนองอุปสงค์ลูกค้าได้ แต่มีเวลานำรวม

ยาวนานและมีต้นทุนโสหุ้ยสูง

• ใช้ 5ส. เพื่อปรับปรุงความสะอาดและจัดระเบียบพื้นที่ทำงาน (หน้า 307)

นี่เป็นเทคนิคพื้นฐานที่ควรใช้ในพื้นที่ทำงานทุกที่

• นำระบบดึงแบบทั่วไปมาใช้งาน เพื่อสร้างเสถียรภาพ แล้วจึงลดจำนวน

“สิ่งที่อยู่ระหว่างกระบวนการ” ซึ่งจะลดเวลานำรวมเพื่อให้การปรับปรุง

อื่นๆ ที่ตามมาได้รับผลสูงสุด (หน้า 316)

• ลดขนาดชุด (Batch Size) มาที่ขนาดชุดขั้นต่ำที่เป็นไปได้สำหรับ

ตัวแปรของกระบวนการที่สนใจ (หน้า 329)

• นำเทคนิคปรับปรุงของ Lean และ Six Sigma มาใช้กับกับดักเวลาตามที่ จำเป็น ตามลำดับของกับดักที่ก่อให้เกิดความล่าช้ามากที่สุดไปถึงน้อย

ที่สุด

- ถ้ากับดักเวลาเป็นขั้นตอนที่ไม่เพิ่มคุณค่า (หน้า 83) ให้ขจัดให้

หมดไป

- ถ้าเวลาการปรับตั้งหรือการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเป็นประเด็นปัญหา

ให้นำวิธีการปรับตั้งแบบด่วน 4 ขั้นตอน (Four Step Rapid Setup

Method) (หน้า 330)

- ถ้าเวลาที่เครื่องจักรหยุดทำงานเป็นปัญหา ให้ใช้การบำรุงรักษาทวี-

ผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (หน้า 338)

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 37: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

298  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

- ถา้ของเสยีทำใหต้อ้งทำงานซำ้ ดกูารปอ้งกนัความผดิพลาด (Mistake

Proofing หรือ Poka-Yoke ฯลฯ) (หน้า 343)

- ถ้าภาระงานของขั้นตอนกระบวนการไม่คงที่ ให้ใช้หลักการสมดุล

กระบวนการ (Process Balancing) เพื่อย้ายงานไปมา (หน้า 345)

- ถ้าอุปสงค์มีความแปรผัน ให้คำนวณสินค้าคงคลังสำรอง (Safety

Stock) (หน้า 323)

- ถ้ามีความแปรผันมากเกินไป ให้ทบทวน บทที่ 7

4. ขั้นตอนกระบวนการมีภาระงานไม่สมดุลกันทำให้แรงงานขาด

ประสิทธิภาพ

• ใช้ การสมดุลกระบวนการ (หน้า 345)

5. กระบวนการเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายข้อมูล/วัสดุเป็นปริมาณมาก;

การไหลของกระบวนการขาดประสิทธิภาพ

• ใชก้ารปรบัปรงุการไหลของกระบวนการเพือ่ลดระยะทางและเวลาระหวา่ง ขั้นตอนกระบวนการ ดูผังกระบวนการ (Process Maps) ใน บทที่ 3

หรือ การทำให้เซลล์การทำงานมีความเหมาะสมที่สุด (Work Cell

Optimization) (หน้า 346)

6. การไหลของกระบวนการมีประสิทธิภาพ แต่มีเวลาที่ไม่เพิ่มคุณค่า

มากเกินไป

• ใช้การวิเคราะห์เวลาเพิ่มคุณค่า (บทที่ 3 หน้า 83) เพื่อชี้และวัด

ค่าเวลาที่ไม่เพิ่มคุณค่าในขั้นตอนกระบวนการ แล้วจึงใช้วิธีของลีนและ

Six Sigma ตามท่ีจำเป็นเพื่อนำวิธีการแก้ไขมาใช้งาน

เมื่อคุณได้นำการปรับปรุงเหล่านี้มาใช้งานแล้ว ให้ใช้การควบคุมกระบวนการ

ด้วยสายตา (Visual Process Controls) (หน้า 350) เพื่อรักษาผลการปรับปรุงที่ได้

เอาไว้

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 38: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การวาดแผนผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน

และการวิเคราะห์ความซับซ้อน 355

บทที่ 10

การวาดแผนผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน

และการวิเคราะห์ความซับซ้อน

ภาพรวม

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้

เครื่องมือ Lean และ Six Sigma ถูกนำมาใช้บ่อยสุดในการศึกษาปัญหา

ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการเดียว ตัวอย่างเช่น แผนผังสายธารคุณค่าในหน้า

74 ซึ่งติดตามการไหลของกระบวนการของกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวที่มีปริมาณมาก แต่

บ่อยครั้งที่ปัจจัยซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนและเวลาที่ไม่เพิ่มคุณค่า คือ ผลิตภัณฑ์และบริการ

ที่หลากหลาย (โดยเฉพาะผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณต่ำ)

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ คือ เพื่อช่วยคุณวินิจฉัยและวัดค่าโอกาสจาก

ความซับซ้อนในหน่วยธุรกิจหรือสายธารคุณค่าของคุณ (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

การวิเคราะห์ความซับซ้อน และแนวทางเชิงยุทธศาสตร์สำหรับทั้งองค์กร คุณสามารถ

อ้างอิงได้จากหนังสือ Conquering Complexity in Your Business, McGraw-Hill,

2004)

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 39: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

356 เครื่องมือ Lean Six Sigma

ภาพรวมของเครื่องมือสำหรับความซับซ้อน

1. ตารางกลุ่มผลิตภัณฑ์/บริการ(Product/ServiceFamilyGrid)หน้า 357

จะจัดเรียงผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณออกเป็นกลุ่มๆ ตามขั้นตอนกระบวนการที่

ใช้และต้นทุนของมัน ใช้เป็นงานขั้นเตรียมสำหรับผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน (เพื่อ

ให้สามารถใช้แสดงความหลากหลายทั้งหมดโดยไม่ต้องเขียนผังสำหรับทุกผลิตภัณฑ์

หรือบริการในทุกขั้นของกระบวนการ)

2. แผนผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน (ComplexityValueStreamMap)

หน้า 358 จะแสดงภาพการไหลรวมของหลายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผ่านกระบวน-

การ ซึ่งชี้ให้เห็นจุดที่ความซับซ้อนมีผลกระทบมากที่สุด

3. สมการความซับซ้อน (Complexity Equation) สำหรับการประเมินผล

กระทบของความซับซ้อนต่อประสิทธิภาพของรอบกระบวนการ (Process Cycle

Efficiency:PCE)หน้า 361 ใช้เพื่อวินิจฉัยว่าปัจจัยใดในกระบวนการที่ทำให้ PCE ต่ำ

4. ตารางความซับซ้อน (Complexity Matrix) (รวมถึงการคำนวณการ

เสื่อมของ PCE) หน้า 362-365 เป็นตารางที่ช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบ

ประสิทธิภาพที่ “ถูกกินไป” โดยผลิตภัณฑ์หรือบริการในขั้นตอนกระบวนการที่สำคัญ

แต่ละขั้น เป้าหมายคือการตอบคำถามว่า สิ่งที่เราประสบอยู่เป็นปัญหากระบวนการหรือ

ปัญหาผลิตภัณฑ์/บริการ?

5 การวิเคราะห์โครงสร้างย่อย หน้า 365 จะแสดงโอกาสในการลด

ความซับซ้อนโดยการใช้ประโยชน์จากชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกัน ขั้นตอนที่เหมือนกัน ฯลฯ

ระหว่างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ทำโดยการตรวจสอบเพื่อป้องกันการกำจัดผลิตภัณฑ์หรือ

บริการที่สามารถทำให้ซับซ้อนน้อยลงได้ด้วยความพยายามเพียงเล็กน้อย

6. การวิเคราะห์“What-if” หน้า 367 ช่วยคุณในการวัดค่าผลกระทบของทาง-

เลือกต่างๆ ที่คุณเสนอเพื่อลดความซับซ้อนได้

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 40: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การวาดแผนผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน

และการวิเคราะห์ความซับซ้อน 357

ตารางกลุ่มผลิตภัณฑ์/บริการ

วัตถุประสงค์

• เพื่อช่วยคุณตัดสินว่าจะมุ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดไปทำการเก็บข้อมูลและ

การสังเกตการณ์ที่ใดเพื่อให้สามารถสร้างผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อนได้

สมบูรณ์ด้วยเวลาและความพยายามน้อยที่สุด

จะใช้ตารางกลุ่มผลิตภัณฑ์/บริการเมื่อใด

• ก่อนการสร้างแผนผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อนเพื่อบ่งชี้ผลิตภัณฑ์หรือ

บริการตัวแทนที่จะถูกรวมอยู่ในแผนผัง

จะสร้างตารางกลุ่มผลิตภัณฑ์/บริการได้อย่างไร

1. เขียนรายการกระบวนการย่อยในหน่วยธุรกิจ หรือภายในสายธารคุณค่าของ

โครงการของคุณ ที่ด้านบนของตาราง

2. เขียนผลิตภัณฑ์หรือบริการแต่ละรายการที่ด้านข้าง

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 41: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

358 เครื่องมือ Lean Six Sigma

3. ทำเครื่องหมายว่าผลิตภัณฑ์/บริการใดผ่านกระบวนการใดบ้าง

4. จัดประเภทผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นกลุ่มตามความคล้ายคลึงของการไหล

ของกระบวนการ

• คุณสามารถรวมปัจจัยอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน เช่น เวลาดำเนินการผลต่อ

หน่วย

• ตารางในหน้าก่อนจากบริษัทผู้ให้บริการด้านการเงิน ได้บ่งชี้บริการเป็น

4 กลุ่มด้วยกัน ในทางทฤษฎี พวกเขาสามารถจัดกลุ่มเงินกู้ “Home

Equity” (กลุ่ม C) กับทางเลือก Refinance 2 แบบ ที่ประกอบกันเป็น

กลุ่ม A แต่พวกเขาตัดสินใจที่จะให้ Equity Loan เป็นกลุ่มแยกออกมา

ต่างหาก เพราะมีปริมาณน้อยกว่าบริการอื่นๆ ในกลุ่ม A ทางเลือกทุก

แบบของกลุ่ม B จะต้องมีการตรวจสอบ กลุ่ม D เป็นบริการเพียงกลุ่ม

เดียวที่นำเสนอซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการประเมินราคา

คำแนะนำ

• ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอซึ่งมีปริมาณน้อยจะมีผลกระทบต่อความซับซ้อนแบบที่

ไม่ได้เป็นสัดเป็นส่วนกัน คุณสามารถจับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอที่มี

ปริมาณน้อยหลายตัวเข้าด้วยกัน แต่อย่าจับกลุ่มมันเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่

นำเสนอซึ่งมีปริมาณมากกว่า

• เป้าหมายคือ พยายามจับกลุ่มผลิตภัณฑ์/บริการให้ได้ 3-10 กลุ่ม

แผนผังสายธารคุณค่าแบบซับซ้อน

(Complexity Value Stream Map: CVSM)

วัตถุประสงค์

• เพื่อบันทึกผลออกมาเป็นภาพว่าการมีผลิตภัณฑ์/บริการหลายแบบไหล

ผ่านกระบวนการเดียวกันมีผลกระทบต่อกระบวนการอย่างไร

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 42: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

การเลือกและการทดสอบวิธีการแก้ปัญหา  371

บทที่ 11 

การเลือกและการทดสอบวิธีการแก้ปัญหา 

ภาพรวม 

วัตถุประสงค์ของเครื่องมือเหล่านี้ 

• เพื่อสร้างแนวคิดในการแก้ปัญหาสำหรับปัญหาที่บ่งชี้ได้

• เพื่อเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจากทางเลือกหลายๆ ทาง

• เพื่อนำวิธีการแก้ปัญหามาใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ

การตัดสินใจเลือกเครื่องมือที่จะใช้ 

• ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือในการคิดวิธีแก้ปัญหา...

- ทบทวนแหลง่ขอ้มลูวธิแีกป้ญัหา (หนา้ 373) และการเทยีบเคยีง (Bench-

marking) (หน้า 373)

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 43: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

372  เครื่องมือ Lean  Six Sigma

• ถ้าต้องการเปรียบเทียบทางเลือกวิธีแก้ปัญหา...

- คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกวิธีแก้ปัญหา หน้า 375

- สร้างและเลือกใช้เกณฑ์การประเมิน หน้า 376

- ตารางเลือกวิธีแก้ปัญหา หน้า 379

- การจัดลำดับเปรียบเทียบเป็นคู่ (Pairwise) หน้า 383

- การประเมินต้นทุน หน้า 387

- ตารางผลกระทบ/ความพยายาม หน้า 388

- ตาราง Pugh หน้า 389

- เทคนิคการประเมินแบบอื่นๆ หน้า 394

• ถ้าคุณต้องการบ่งชี้และลดความเสี่ยงสำหรับวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไป

ได้...

เครื่องมือเหล่านี้มักใช้กับแนวคิดในการแก้ปัญหาที่ผ่านการประเมินขั้นต้น:

- ตารางประเมินการควบคุม หน้า 395

- การวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบ (Failure Modes and Effects

Analysis: FMEA) หน้า 396

• ถ้าคุณต้องการวางแผนและทดสอบวิธีการแก้ปัญหา...

- การทดลองนำร่อง หน้า 402

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 44: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

406Stat... Stat..

เกี่ยวกับผู้เขียน

Michael L. George เป็นประธานบริษัท George Group ซึ่งเป็นที่ปรึกษา

ด้าน Lean Six Sigma ชั้นนำในระดับโลก เป็นผู้แต่งหนังสือหลายเล่ม รวมถึง What

is Lean Six Sigma? และ Lean Six Sigma for Service

David T. Rowlands เป็นรองประธานทางด้าน Lean Six Sigma ของ North

American Solution Group ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Xerox เขายังเป็นผู้แต่งร่วมของ

หนังสือ What is Lean Six Sigma? ด้วย

Mark Price เป็นรองประธานบริษัท George Group และได้ร่วมให้คำแนะนำ

ในโครงการริเริ่มเกี่ยวกับ Lean Six Sigma ในองค์กรชั้นนำหลายแห่ง

John Maxey เป็นผู้อำนวยการและ Master Black Belt ของบริษัท George

Group และเป็นผู้เขียนหลักสูตรสำหรับ Balck Belt ที่บริษัทของพวกเขาให้คำปรึกษา

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 45: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

407อภิธานศัพท์

เกี่ยวกับผู้แปล

ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัย

ศรปีทมุ เปน็นกัคดิ นกัเขยีน นกัวจิยั ทีป่รกึษา และวทิยากรเกีย่วกบัการจดัการลอจสิตกิส์

และโซ่อุปทาน แนวคิดแบบลีน การปรับปรุงกระบวนการ ฯลฯ

ดร.วิทยา มีงานเขียนบทความ หนังสือ และผลงานแปลมากมาย อาทิ วิถีแห่ง

โตโยต้า (The Toyota Way), ลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน อธิบายได้...

ง่ายนิดเดียว, แนวคิดแบบลีน, การจัดการกระบวนการตามหลัก Six Sigma ฯลฯ

ติดต่อดร.วิทยาได้ที่ [email protected]

พรเทพ เหลือทรัพย์สุข

ปัจจุบันเป็น Project Management Consultant และ Lean Sigma Facilitator

ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต พรเทพเคยเป็น Certified Six Sigma

Black Belt ที่บริษัท Seagate Technology (Thailand) Ltd. เป็น Certified Lean

Master ที่บริษัท Magnecomp Precision Technology PLC. และเป็น Assistant

Vice President ดูแลงาน Lean Six Sigma Deployment ขณะที่ทำงานฝ่าย Lean

Six Sigma ที่บริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต นอกจากนี้ยังเคยผ่านงานบริษัทข้ามชาติอย่าง

Hewlett-Packard (Thailand) Ltd. และ Innovex (Thailand) Ltd. ด้วย

พรเทพมีผลงานหนังสือทั้งงานเขียนและงานแปล โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับ

Lean Manufacturing, Lean Six Sigma และ Six Sigma ทั้งเป็นอาจารย์พิเศษ

มหาวิทยาลัย และวิทยากรรับเชิญของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (สสท.) และ

คณะกรรมการตัดสิน Lean Best Practice ป ี 2552, 2553 และคณะกรรมการตัดสิน

Thailand Lean Award ปี 2553, 2554 ของสสท.อีกด้วย

ติดต่อพรเทพได้ที่ [email protected]

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 46: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

408Stat... Stat..

หนังสือแนะนำจาก E.I. Square Publishing... http://publishing.eisquare.com

วิถีแห่งโตโยต้า : The Toyota Way เขียนโดย : Jeffrey K. Liker แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง ISBN : 974-93096-1-8 ISBN : 978-611-7062-07-0 ราคา : 390 บาท (ปกแข็ง) ราคา : 250 บาท (ปกอ่อน)

แกะรอยวิถีแห่งโตโยต้า คู่มือภาคสนาม : The Toyota Way Fieldbook เขียนโดย : Jeffrey K. Liker และ David Meier แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-09-6740-8 ราคา : 550 บาท

เก่งแบบโตโยต้า : Toyota Talent เขียนโดย : Jeffrey K. Liker และ David Meier แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ กชมล ศรีวงศ์ ISBN : 978-974-09-6745-3 ราคา : 450 บาท

หนังสือชุด “สถานที่ปฏิบัติงาน” (Shopfloor Series)

การผลิตแบบเซลลูล่าร์ Cellular Manufaturing : One-piece Flow for Workteams เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 974-94684-0-6 ราคา : 170 บาท การผลิตแบบทันเวลาพอดี : Just-in-Time for Operators เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 974-94684-1-4 ราคา : 170 บาท

การผลิตแบบดึง : Pull Production for the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 974-94684-5-7 ราคา : 170 บาท การบ่งชี้ “ความสูญเปล่า” : Identifying Waste on the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 974-94684-6-5 ราคา : 170 บาท คมับงั : Kanban for the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : บญุเสรมิ วนัทนาศภุมาต ISBN : 974-94684-4-9 ราคา : 170 บาท

งานที่เป็นมาตรฐาน : Standard Work for the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-7628-41-8 ราคา : 170 บาท คา่ประสทิธผิลโดยรวมของเครือ่งจกัร : OEE for Operators เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-7628-42-5 ราคา : 170 บาท

การปรบัเปลีย่นเครือ่งจกัรอยา่งรวดเรว็ : Quick Changeover for Operators เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-7628-43-2 ราคา : 170 บาท

การป้องกันความผิดพลาด : Mistake-Proofing for Operators เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข ISBN : 978-974-7628-44-9 ราคา : 170 บาท

ไคเซ็น : Kaizen for the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : บุญเสริม วันทนาศุภมาต ISBN : 978-974-7628-40-1 ราคา : 170 บาท

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 47: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

409อภิธานศัพท์

หนังสือแนะนำจาก E.I. Square Publishing... http://publishing.eisquare.com

วิถีแห่งโตโยต้า : The Toyota Way เขียนโดย : Jeffrey K. Liker แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง ISBN : 974-93096-1-8 ISBN : 978-611-7062-07-0 ราคา : 390 บาท (ปกแข็ง) ราคา : 250 บาท (ปกอ่อน)

แกะรอยวิถีแห่งโตโยต้า คู่มือภาคสนาม : The Toyota Way Fieldbook เขียนโดย : Jeffrey K. Liker และ David Meier แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-09-6740-8 ราคา : 550 บาท

เก่งแบบโตโยต้า : Toyota Talent เขียนโดย : Jeffrey K. Liker และ David Meier แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ กชมล ศรีวงศ์ ISBN : 978-974-09-6745-3 ราคา : 450 บาท

หนังสือชุด “สถานที่ปฏิบัติงาน” (Shopfloor Series)

การผลิตแบบเซลลูล่าร์ Cellular Manufaturing : One-piece Flow for Workteams เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 974-94684-0-6 ราคา : 170 บาท การผลิตแบบทันเวลาพอดี : Just-in-Time for Operators เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 974-94684-1-4 ราคา : 170 บาท

การผลิตแบบดึง : Pull Production for the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 974-94684-5-7 ราคา : 170 บาท การบ่งชี้ “ความสูญเปล่า” : Identifying Waste on the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 974-94684-6-5 ราคา : 170 บาท คมับงั : Kanban for the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : บญุเสริม วันทนาศภุมาต ISBN : 974-94684-4-9 ราคา : 170 บาท

งานที่เป็นมาตรฐาน : Standard Work for the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-7628-41-8 ราคา : 170 บาท คา่ประสทิธผิลโดยรวมของเครือ่งจกัร : OEE for Operators เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-7628-42-5 ราคา : 170 บาท

การปรบัเปลีย่นเครือ่งจกัรอยา่งรวดเรว็ : Quick Changeover for Operators เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-7628-43-2 ราคา : 170 บาท

การป้องกันความผิดพลาด : Mistake-Proofing for Operators เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข ISBN : 978-974-7628-44-9 ราคา : 170 บาท

ไคเซ็น : Kaizen for the Shopfloor เขียนโดย : The Productivity Development Team แปลโดย : บุญเสริม วันทนาศุภมาต ISBN : 978-974-7628-40-1 ราคา : 170 บาท

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 48: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

410Stat... Stat..

Andy & Me เซ็นเซกับผม : วิกฤต ในโรงงาน และการเดนิทางสู ่“ลนี” เขียนโดย : Pascal Dennis แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ธัญธร ขจรรุ่งศิลป์ ISBN : 978-974-7628-64-7 ราคา : 260 บาท Lean Logistics : ลอจสิตกิสแ์บบลนี เขียนโดย : Michel Baudin แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-7662-69-6 ราคา : 430 บาท ถอดรหัส DNA โตโยต้า : Inside The Mind of TOYOTA เขียนโดย : Satoshi Hino แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ธรีกร เกยีรตบิรรลอื ISBN : 978-974-0462-57-6 ราคา : 450 บาท ปรบัปรงุการผลติ ดว้ยแนวคดิแบบลนี : Improving Production with Lean Thinking เขียนโดย : Javier Santos, Richard Wysk, Jose Manuel Torres แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข ISBN : 978-974-0462-48-4 ราคา : 340 บาท ลอจิสติกส์การตลาด : Marketing Logistics เขียนโดย : Martin Christopher Ph.D., Helen Peck Ph.D. แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง ISBN : 974-94684-2-2 ราคา : 280 บาท

วิถีแห่งลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน

เขียนโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

ISBN : 974-91387-5-9

ราคา : 150 บาท

วิถีแห่งลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2

เขียนโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

ISBN : 974-92314-8-1

ราคา : 150 บาท

Andy & Me เซ็นเซกับผม 2 ตอน ประยุกต์ใช้แนวคิด แบบลีนกับนอกอาณาเขตโรงงาน เขียนโดย : Pascal Dennis แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-616-7062-10-5 ราคา : 390 บาท จากวัฒนธรรมแบบโตโยต้า สู่วัฒนธรรมแบบลีน : Creating a Lean Culture เขียนโดย : David Mann แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง ดร.อธิศานต์ วายุภาพ และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-2588-83-0 ราคา : 350 บาท แนวคิดแบบลีน : LEAN THINKING เขียนโดย : James P. Womack และ Daniel T. Jones แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพา กลอนกลาง ISBN : 978-974-7231-31-1 ราคา : 450 บาท การจัดการคลังสินค้าระดับโลก : World-Class Warehousing and Material Handling เขียนโดย : Edward H. Frazelle, Ph.D. แปลโดย : อนุวัฒน์ ทรัพย์พืชผล และ ไพบูลย์ กิจวรวุฒิ ISBN : 974-94684-3-0 ราคา : 330 บาท เพราะ “ลอจสิตกิส”์ เปน็มากกวา่ “การสง่” : ศิลป์แห่งการจัดการโซ่อุปทาน เขียนโดย : Damon Schechter, Gordon Sander แปลโดย : ปรียาธร พิทักษ์วรรัตน์ ISBN : 974-94420-9-1 ราคา : 330 บาท มองรอบทิศ...คิดแบบลอจิสติกส์

(หนังสือชุดวิถีแห่งลอจิสติกส์และ

โซ่อุปทาน 3)

เขียนโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

ISBN : 974-94063-7-0

ราคา : 150 บาท

หนังสือแนะนำจาก E.I. Square Publishing...

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 49: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

411อภิธานศัพท์

คู่มือ S&OP การวางแผนการขาย

และปฏิบัติการ

เขียนโดย : Thomas F. Wallace

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

และ ดร.วัชรพล สุขโหตุ

ISBN : 978-611-7062-05-6

ราคา : 350 บาท

วางหมากปรับกลยุทธ์ :

STRATEGY MOVES

เขียนโดย : Jorge A. Vasconcellos E S๋

แปลโดย : สุวัฒน์ หลีเหม

ISBN : 978-974-9468-48-7

ราคา : 290 บาท

Samsung ปะทะ Sony

เขียนโดย : Sea - Jin

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

และ พนดิา เกษมวรพงศก์ลุ

ISBN : 978-974-2368-21-0

ราคา : 295 บาท

วิถีแห่งแอปเปิล : The Apple Way

เขียนโดย : Jeffrey L. Cruikshank

แปลโดย : อนุวัฒน์ ทรัพย์พืชผล

และ ธีรกร เกียรติบรรลือ

ISBN : 978-974-8388-60-1

ราคา : 320 บาท

เปลี่ยน Mindset...ชีวิตเปลี่ยน

เขียนโดย : Carol S. Dweck

แปลโดย : วิโรจน์ ประสิทธิ์วรนันท์

ISBN : 978-974-7628-65-4

ราคา : 295 บาท

เอาต์ซอร์ส (Outsource) :

ใครเก่งสิ่งไหน ก็ทำสิ่งนั้น

The Manager’s Step-by-Step Guide to Outsourcing เขียนโดย : Linda R. Dominguez

แปลโดย : ดร.วัชรพล สุขโหตุ

ISBN : 978-974-7231-22-9

ราคา : 270 บาท

เจาะ “แก่น” โซ่อุปทาน :

Essentials of Supply Chain Management

เขียนโดย : Michael Hugos

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

ISBN : 974-93568-3-7

ราคา : 270 บาท

ต้นกำเนิดแบรนด์ : The Origin of Brands

เขียนโดย : AI Ries, Laura Ries

แปลโดย : สมวงศ์ พงศ์สถาพร

ISBN : 974-94253-2-4

ราคา : 350 บาท

Does IT Matter? : ฤๅ ไอที สำคัญ

เขียนโดย : Nicholas G. Carr

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

ISBN : 974-9391-78-0

ราคา : 250 บาท

ตามรอย...เดลล์ : How Dell Does It

เขียนโดย : Steven Holzner

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

และ ธีรกร เกียรติบรรลือ

ISBN : 978-974-9468-49-4

ราคา : 330 บาท

การคิดเชิงระบบ : Systems Thinking

เครื่องมือจัดการความซับซ้อนใน

โลกธุรกิจ

เขียนโดย : Virginia Anderson และ

Lauren Johnson

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

และ ศิรศักย เทพจิต

ISBN : 978-974-8388-61-8

ราคา : 260 บาท

การบริหารโปรเจ็คท์ให้สัมฤทธิ์ผล :

แบบตาบอดคลำช้าง

เขียนโดย : David A. Schmaltz

แปลโดย : ปรียาธร พิทักษ์วรรัตน์

ISBN : 974-91903-9-4

ราคา : 225 บาท

http://publishing.eisquare.com

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 50: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

412Stat... Stat..

การวัดสมรรถนะ อธิบายได้...

ง่ายนิดเดียว :

Performance Measurement Explained

เขียนโดย : Bjqrn Andersen,

Tom Fagerhaug

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ

ดร.ชชัชาล ีรกัษต์านนทช์ยั

ISBN : 974-94407-9-X

ราคา : 290 บาท

จากคิดได้อย่างไร

สู่อย่างไรก็คิดได้ด้วย TRIZ

เขียนโดย : ธนะศักดิ์ พึ่งฮั้ว

ISBN : 978-974-0547-37-2

ราคา : 190 บาท

Best Practices

ในการจัดการสินค้าคงคลัง

เขียนโดย : Dr.Tony Wild

แปลโดย : ไพบูลย์ กิจวรวุฒิ

ISBN : 978-974-2368-26-5

ราคา : 450 บาท

ERP สำหรับผู้บริหารประเด็น

ในการเลือกใช้ ดำเนินโครงการ

และขยายผล

เขียนโดย : David Olson

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

และ ดร.เผ่าภัค ศิริสุข

ISBN : 978-616-7062-01-3

ราคา : 320 บาท

ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน

Supply Chain Science

เขียนโดย : Wallace Hopp

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง,

ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ

และ ดร.อธศิานต ์วายภุาพ

ISBN : 978-616-7062-02-0

ราคา : 390 บาท

แปรนโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับ

วิสาหกิจแบบลีนด้วย Hoshin Kanri

เขียนโดย : Thomas L. Jackson

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง,

ไรย์วินท์ บุญสวัสดิ์

และ ยุพา กลอนกลาง

ISBN : 978-616-7062-04-4

ราคา : 390 บาท

What is Lean Six Sigma?

เขียนโดย : Michael L. George,

David Rowlands, Bill Kastle

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

และ พรเทพ เหลือทรัพย์สุข

ISBN : 978-616-7062-08-2

ราคา : 220 บาท คูม่อืการจดัการลอจสิตกิสแ์ละการกระจายสนิคา้ : The Handbook of Logistics and Distribution Management 3rd ed. เขียนโดย : Alan Rushton, Phil Croucher and Peter Baker แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง ดร.วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ ISBN : 978-974-09-6754-5

ราคา : 650 บาท RFID การนำไปใช้เชิงยุทธศาสตร์ และผลตอบแทน (ROI) เขียนโดย : Charles C.Poirier & Duncan McCollum แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง ดร.เผ่าภัค ศิริสุข และ ธวัชชัย อนุพงษ์อนันต์ ISBN : 978-974-2588-88-5 ราคา : 350 บาท

เมื่อลีนไม่ทำกำไร! แล้วควรจัดการ

อย่างไรด้วย Lean Accounting

เขียนโดย : Brian H. Maskell

และ Bruce Baggaley

แปลโดย : สมชาย ศุภธาดา

ISBN : 978-616-7062-00-6

ราคา : 490 บาท

TPM สำหรับโรงงานแบบลีน

เขียนโดย : Ken’ichi Sekine

และ Keisuke Arai

แปลโดย : ธานี อ่วมอ้อ

ISBN : 978-616-7062-03-7

ราคา : 550 บาท

การผลิตเวิลด์คลาส เหตุเกิดในโรงรถ

All I Need to Know about Manufacturing

I Learned in Joe’s Garage

เขียนโดย : William B. Miller

และ Vicki L. Schenk

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

ISBN : 978-616-7062-09-9

ราคา : 150 บาท

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 51: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

413อภิธานศัพท์

What is Lean Six Sigma?

เขียนโดย : Michael L. George,

David Rowlands,

Bill Kastle

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง

และ พรเทพ เหลือทรัพย์สุข

ISBN : 978-616-7062-08-2

ราคา : 220 บาท

การกระจายสินค้าแบบลีน :

Lean Distribution

เขียนโดย : Kirk D. Zylstra

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง และ

ดร.ชัชชาลี รักษ์ตานนท์ชัย

ISBN : 978-616-7062-06-8

ราคา : 350 บาท

มุง่สูล่นี ดว้ยการจดัการสายธารคณุคา่ : Value Stream Management เขียนโดย : Don Tapping, Tom Luyster, Tom Shuker แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง, ยุพา กลอนกลาง และ สุนทร ศรีลังกา ISBN : 978-974-9468-47-0 ราคา : 295 บาท

สถิติสำหรับ Six Sigma ง่ายนิดเดียว

เขียนโดย : Warren Brussee

แปลโดย : พรเทพ เหลือทรัพย์สุข

ISBN : 978-616-7062-05-1

ราคา : 400 บาท

PDCA แบบ Toyota ดว้ยการคดิแบบ A3 :

Understanding A3 Thinking

เขียนโดย : Durward K. Sobek และ

Art Smalley

แปลโดย : ดร.วทิยา สหุฤทดำรง, ไรยว์นิท ์บญุสวสัดิ ์

และ อัฑฒ์ สุนทรโรหิต

ISBN : 978-616-7062-11-2

ราคา : 320 บาท

สรา้งสถานะอนาคตแบบลนี

ดว้ยการจดัการสายธารคณุคา่

(Creating your Lean Future State)

เขียนโดย : Tom Luyster และ Don Tapping

แปลโดย : ดร.วทิยา สหุฤทดำรง, ไรยว์นิท ์บญุสวสัดิ,์

อัฑฒ์ สุนทรโรหิต และ ยุพา กลอนกลาง

ISBN : 978-616-7062-14-3

ราคา : 250 บาท

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 52: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

414Stat... Stat..

หนังสือชุด วินัย 5 ปÃะกาà ÊÓËÃѺͧ¤�¡ÃáË‹§¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ (Learning Organization) ©บับนิทาน

Peter Senge ศาสตราจารย์ของสถาบัน MIT และผู้เขียนหนังสือ The Fifth Discipline : The

Art and Practice of The Learning Organization ได้ให้ความหมายของ “Learning Organization” ไว้ว่า คือ

องค์กรที่ซึ่งคนในองค์กรสามารถขยายขอบเขตความสามารถของเขาเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการอย่าง

แท้จริงได้ เป็นที่ซึ่งส่งเสริมให้เกิดและขยายแนวความคิดใหม่ๆ ออกไป สามารถแสดงออกทางความคิดได้อย่าง

อิสระ และเป็นที่ซึ่งผู้คนเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง

เรียนรู้วินัยที่เป็นแก่นสำหรับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ใน หนังสือชุด วินัย 5 ประการ สำหรับ

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ฉบับนิทาน

The Tip of the Iceberg : ยอดของภูเขาน้ำแข็ง การจัดการพลังซ่อนเร้นซึ่งอาจสร้างหรือทำลายองค์กรของคุณ ISBN : 978-611-7062-00-1 ราคา : 200 บาท The Lemming Dilemma : สภาวะลำบากของหนูเลมมิงจ์ ใช้ชีวิตอย่างมีจุดประสงค์ นำอย่างมีวิสัยทัศน์ ISBN : 978-611-7062-01-8 ราคา : 200 บาท Shadows of the Neanderthal : เงาแห่งยุคหิน การทำความกระจ่างในความเชื่อที่จำกัดองค์กรของเรา ISBN : 978-611-7062-02-5 ราคา : 200 บาท Outlearning the Wolves : ฉลาดเกินหน้าหมาปา การอยู่รอดและเติบโตในองค์กรแห่งการเรียนรู้ ISBN : 978-611-7062-03-2 ราคา : 200 บาท Listening to the Volcano : สดับเสียงภูเขาไฟ การสนทนาที่เปดใจรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ ISBN : 978-611-7062-04-9 ราคา : 200 บาท

Systems Thinking

Personal Mastery

Mental Model

Team Learning

Dialogue

ÇԹѠ5 »ÃСÒà ÊÓËÃѺͧ¤�¡ÃáË‹§¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ (Learning Organization)

ฉบับนิทาน แบบชุด 5 เล่ม ISBN : 978-611-7062-06-3 ราคา : 850 บาท

เขียนโดย : David Hutchens แปลโดย : ดร.มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร และ กุลชรี ตัณศุภผล

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 53: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

415อภิธานศัพท์

The Tip of the Iceberg : ยอดของภูเขาน้ำแข็ง การจัดการพลังซ่อนเร้นซึ่งอาจสร้างหรือทำลายองค์กรของคุณ ISBN : 978-611-7062-00-1 ราคา : 200 บาท The Lemming Dilemma : สภาวะลำบากของหนูเลมมิงจ์ ใช้ชีวิตอย่างมีจุดประสงค์ นำอย่างมีวิสัยทัศน์ ISBN : 978-611-7062-01-8 ราคา : 200 บาท Shadows of the Neanderthal : เงาแห่งยุคหิน การทำความกระจ่างในความเชื่อที่จำกัดองค์กรของเรา ISBN : 978-611-7062-02-5 ราคา : 200 บาท Outlearning the Wolves : ฉลาดเกินหน้าหมาปา การอยู่รอดและเติบโตในองค์กรแห่งการเรียนรู้ ISBN : 978-611-7062-03-2 ราคา : 200 บาท Listening to the Volcano : สดับเสียงภูเขาไฟ การสนทนาที่เปดใจรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ ISBN : 978-611-7062-04-9 ราคา : 200 บาท

4 ¢Ñ鹵͹§‹ÒÂæ 㹡ÒÃÊÑ觫×éÍ

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 54: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - Sample

416Stat... Stat..

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING