oct._2011_what is management in supply chain management (iii)

2
Global Knowledge 50 Logistics Digest October 2011 อีกกรอบโครงสร้างหนึ่ง หรือที่เป็น เครื่องมือเชิงแนวคิด คือ วิธีการวางแผน การ พยากรณ์ และการเติมเต็มร่วมกัน CPFR ถูกอธิบายไว้ว่าเป็นรูปแบบบนอินเทอร์เน็ต ที่ออกแบบมาเพื่อประสานงานกิจกรรม ต่างๆ ระหว่างหุ้นส่วนคู่ค้าในโซ่อุปทาน เช่น การวางแผนการผลิตและการจัดซื้อ การ พยากรณ์อุปสงค์ และการเติมเต็มสินค้า คงคลัง ในปี 1998 Voluntary Inter-Industry Commerce Standards Association (VICS) ได้ก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อระบุหลักปฏิบัติ ชั้นนำและสร้างแนวทางแนะนำสำหรับการ ออกแบบเพื่อนำมาใช้กับ CPFR ผลลัพธ์จาก ความพยายามเหล่านี้ คือ CPFR เป็นระเบียบ วิธีที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ใน การปรับปรุงการทำงานร่วมกันในโซ่อุปทาน (Attran และ Attran 2007) วัตถุประสงค์ของ CPFR คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในที่ได้ เลือกไว้ผ่านเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานร่วมกัน เพื่อให้มีมุมมองของอุปสงค์ในโซ่อุปทานทีเชื่อถือได้ดีขึ้นและยาวไกลมากขึ้น (Fliedner 2003) ความสามารถในการมองเห็นและรับ รู้ข้อมูล (Visibility) ในการวางแผนที่ดีขึ้นใน โซ่อุปทานมีโอกาสสร้างประโยชน์ในหลาย ด้านด้วยกัน เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น สินค้า คงคลังลดลง และการบริการลูกค้าที่ปรับปรุง ดีขึ้น สำหรับทั้งผู้ค้าปลีกและผู้ผลิต (Cassivi 2006) CPFR จะเน้นที่เทคโนโลยีสารสนเทศ มากกว่ากรอบโครงสร้างแบบ SCOR และ GSCF ที่เน้นที่กระบวนการอยู่บ้าง ความ แตกต่างอีกข้อหนึ่งที่ควรกล่าวถึงระหว่าง CPFR และแบบจำลองความร่วมมือในโซ่ อุปทานแบบก่อนๆ คือ CPFR ไม่จำเป็นต้อง ใช้จำนวนผู้ใช้งานในการดำเนินงานมากนัก แต่ช่วยให้บริษัทปรับปรุงสมรรถนะได้โดย การมีความสัมพันธ์แบบร่วมมือกันกับหุ้น ส่วนโซ่อุปทานเพียงความสัมพันธ์เดียว ความ แตกต่างข้อนี้ พร้อมกับการมีส่วนร่วมและ การสนับสนุนของ VICS ช่วยทำให้จำนวน บริษัทที่ยินดีทดลองใช้ CPFR มีจำนวนเพิ่ม มากขึ้น กระบวนการ CPFR นั้นถูกแบ่งออก เป็นช่วงๆ ขั้นที่ 1 คือ การวางแผน จะ เกี่ยวข้องกับข้อตกลงก่อนการดำเนินงาน และการสร้างแผนธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้จัด ส่งวัตถุดิบและลูกค้า ขั้นที่ 2 การพยากรณ์ อุปสงค์และอุปทาน จะเกี่ยวข้องกับการ พยากรณ์ยอดขายและคำสั่งซื้อ ในขั้นการ ดำเนินงาน จะมีการสร้างคำสั่งซื้อและมีการ จัดส่งผลิตภัณฑ์ มีการรับเข้าและจัดวางบน ชั้นขายปลีก ในขั้นสุดท้าย คือ การวิเคราะห์ หุ้นส่วนคู่ค้าจะมารวมกันเพื่อแบ่งปันสิ่งทีได้เรียนรู้และปรับยุทธศาสตร์เพื่อปรับปรุง สมรรถนะการวางแผนและการดำเนินงานใน อนาคต (Cassivi 2006; Attran และ Attran 2007) ใน CPFR ช่วงการวางแผนที่ดีเป็นสิ่งทีขาดไม่ได้ - ช่วงนี้เป็นจุดที่หุ้นส่วนโซ่อุปทาน พัฒนาโครงการความร่วมมือ เช่นเดียวกับ เงื่อนไขข้อตกลงสำหรับแต่ละฝ่าย สำหรับ ขั้นอื่นๆ นั้น โดยธรรมชาติแล้วเป็นเชิงปฏิบัติ การเสียมากกว่า และจะต่อยอดจากหลักการ ที่กำหนดไว้ในช่วงการวางแผน เรื่องสำคัญทีต้องเน้นคือ การไม่ให้ CPFR ถูกมองว่าเป็น มาตรฐานเชิงเทคนิค และกระบวนการ CPFR ไม่ได้พึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก ถึงแม้ว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เน้นก็ตาม แต่ CPFR จะ ใช้เครื่องมือและกระบวนการพื้นฐานเพื่อ ปรับปรุงการวางแผนโซ่อุปทานผ่านทางการ ไหลของข้อมูลที่ปรับปรุงดีขึ้น ดร.วิทยา สุหฤทดำรง แบบจำลอง CPFR และการเติมเต็มร่วมกัน What is Management in Supply Chain Management? (III) การวางแผนการพยากรณ์ Manufacturer Strategy and planning Demand & Supply Management Analysis Execution Performance assessment Order generation Collaboration agreement Order planning/ forecasting Joint business plan Sales forecasting Exception management Order fulfillment Retailer Consumer

Upload: eisquare-publishing

Post on 02-Dec-2014

118 views

Category:

Documents


3 download

TRANSCRIPT

Page 1: Oct._2011_What is Management in Supply Chain Management (III)

Global Knowledge

50Logistics Digest October 2011

อีกกรอบโครงสร้างหนึ่ง หรือที่เป็นเครือ่งมอืเชงิแนวคดิคอืวธิีการวางแผนการพยากรณ์ และการเติมเต็มร่วมกัน CPFRถูกอธิบายไว้ว่าเป็นรูปแบบบนอินเทอร์เน็ตที่ออกแบบมาเพื่อประสานงานกิจกรรมต่างๆระหว่างหุ้นส่วนคู่ค้าในโซ่อุปทานเช่นการวางแผนการผลิตและการจัดซื้อ การพยากรณ์อุปสงค์ และการเติมเต็มสินค้าคงคลงัในปี1998VoluntaryInter-IndustryCommerceStandardsAssociation(VICS)ได้ก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อระบุหลักปฏิบัติชั้นนำและสร้างแนวทางแนะนำสำหรับการออกแบบเพือ่นำมาใช้กบัCPFRผลลพัธ์จากความพยายามเหลา่นี้คอืCPFRเปน็ระเบยีบวิธีที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในการปรับปรุงการทำงานร่วมกันในโซ่อุปทาน(AttranและAttran2007)วัตถุประสงค์ของCPFRคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในที่ได้เลือกไว้ผ่านเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานร่วมกันเพื่อให้มีมุมมองของอุปสงค์ในโซ่อุปทานที่เชือ่ถอืได้ดีขึน้และยาวไกลมากขึน้(Fliedner2003)ความสามารถในการมองเห็นและรับรู้ข้อมูล(Visibility)ในการวางแผนที่ดีขึ้นในโซ่อุปทานมีโอกาสสร้างประโยชน์ในหลายด้านด้วยกัน เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น สินค้าคงคลงัลดลงและการบรกิารลกูคา้ที่ปรบัปรงุดีขึน้สำหรบัทัง้ผู้คา้ปลกีและผู้ผลติ(Cassivi2006)

CPFRจะเน้นที่เทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่ากรอบโครงสร้างแบบSCORและGSCF ที่เน้นที่กระบวนการอยู่บ้าง ความแตกต่างอีกข้อหนึ่งที่ควรกล่าวถึงระหว่างCPFRและแบบจำลองความร่วมมือในโซ่อุปทานแบบก่อนๆคือCPFRไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนผู้ใช้งานในการดำเนินงานมากนักแต่ช่วยให้บริษัทปรับปรุงสมรรถนะได้โดยการมีความสัมพันธ์แบบร่วมมือกันกับหุ้นสว่นโซ่อปุทานเพียงความสมัพันธ์เดยีวความแตกต่างข้อนี้ พร้อมกับการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนของ VICS ช่วยทำให้จำนวนบริษัทที่ยินดีทดลองใช้CPFRมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น กระบวนการCPFRนั้นถูกแบ่งออกเป็นช่วงๆ ขั้นที่ 1 คือ การวางแผน จะเกี่ยวข้องกับข้อตกลงก่อนการดำเนินงานและการสร้างแผนธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้จัดส่งวัตถุดิบและลูกค้า ขั้นที่ 2 การพยากรณ์อุปสงค์และอุปทาน จะเกี่ยวข้องกับการพยากรณ์ยอดขายและคำสั่งซื้อ ในขั้นการดำเนินงานจะมีการสร้างคำสั่งซื้อและมีการจัดส่งผลิตภัณฑ์มีการรับเข้าและจัดวางบนชั้นขายปลีกในขั้นสุดท้ายคือการวิเคราะห์หุ้นส่วนคู่ค้าจะมารวมกันเพื่อแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้และปรับยุทธศาสตร์เพื่อปรับปรุงสมรรถนะการวางแผนและการดำเนนิงานในอนาคต(Cassivi2006;AttranและAttran

2007)ในCPFRชว่งการวางแผนที่ดีเปน็สิง่ที่ขาดไม่ได้-ช่วงนี้เป็นจุดที่หุ้นส่วนโซ่อุปทานพัฒนาโครงการความร่วมมือ เช่นเดียวกับเงื่อนไขข้อตกลงสำหรับแต่ละฝ่าย สำหรับขัน้อืน่ๆนัน้โดยธรรมชาติแลว้เปน็เชงิปฏบิตัิการเสยีมากกวา่และจะตอ่ยอดจากหลกัการที่กำหนดไว้ในชว่งการวางแผนเรือ่งสำคญัที่ต้องเน้นคือการไม่ให้CPFRถูกมองว่าเป็นมาตรฐานเชงิเทคนคิและกระบวนการCPFRไม่ได้พึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เน้นก็ตามแต่CPFRจะใช้เครื่องมือและกระบวนการพื้นฐานเพื่อปรับปรุงการวางแผนโซ่อุปทานผ่านทางการไหลของข้อมูลที่ปรับปรุงดีขึ้น

ดร.วิทยา สุหฤท ดำรง

แบบจำลองCPFR

และการเติมเต็มร่วมกัน

What is Managementin Supply Chain Management? (III)

การวางแผนการพยากรณ์

Manufacturer

Strategy andplanning

Demand & SupplyManagement

Analysis

Execution

Performanceassessment

Ordergeneration

Collaborationagreement

Order planning/forecasting

Jointbusiness plan

Salesforecasting

Exceptionmanagement

Orderfulfillment

Retailer

Consumer

Page 2: Oct._2011_What is Management in Supply Chain Management (III)

Global Knowledge

October 2011 Logistics Digest

51

กรอบโครงสร้างแบบMentzer กรอบโครงสร้างแบบ Mentzer ที่ เรานำมาพิจารณาถูกพัฒนาโดยMentzerและคณะ (2001) เพื่อจะมีวิธีสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานที่คงเส้นคงวาMentzer และเพื่อนร่วมงานของเขานิยามการจัดการโซ่อุปทานในบทวิเคราะห์นี้ว่าเป็น “การประสานงานหน้าที่งานธุรกิจแแบบดั้งเดิม และกลยุทธ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ และอย่างมียุทธศาสตร์ ในบริษัทหนึ่งๆ และระหว่างธุรกิจภายในโซ่อุปทานเพือ่ปรบัปรงุสมรรถนะในระยะยาวของแตล่ะบริษัทและโซ่อุปทานโดยรวม” คำอธิบายSCMของผู้เขยีนองิมาจากการพจิารณางานเขียนมากมายเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะที่เป็นคุณลักษณะของการจัดการโซ่อุปทานจากนยิามนี้SCMมีสว่นเกีย่วขอ้งกบัหลายหนว่ยงานและกิจกรรมธุรกิจหลายด้านและอิงที่กระบวนการเพื่อประสานงานกิจกรรมต่างๆระหว่างแต่ละหน้าที่งานและระหว่างแต่ละองค์กรในโซ่อุปทานนิยามนี้นำไปสู่แนวคิดการพัฒนาแบบจำลองของการจัดการ โซ่อุปทานดังที่แสดงในภาพที่4ด้านล่าง ในกรอบโครงสร้างนี้ โซ่อุปทานถูกแสดงในรปูของทอ่สง่(Pipeline)ที่แสดงการไหลของโซ่อุปทานการประสานงานระหว่างหนา้ที่งานของหนา้ที่งานดัง้เดมิในธรุกจิและการประสานงานระหว่างบริษัทระหว่างหุ้นส่วนโซ่อุปทานตั้งแต่ผู้จัดส่งวัตถุดิบของผู้จัดส่งวัตถุดิบ จนถึงลูกค้าของลูกค้า จนถึงการสร้างคุณค่าและความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคMentzerและเพื่อนร่วมงานเล็งเห็นว่าคุณค่าและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและความสามารถในการทำกำไรสำหรับแต่ละบริษัทในโซ่อุปทานและสำหรับโซ่อุปทานโดยรวม (Mentzer และคณะ2001) ทัง้3กรอบโครงสรา้งที่กลา่วมาขา้งตน้คอืSCOR,GSCFและCPFRมีการนิยามไว้มากพอควรแลว้และสามารถนำมาใช้งานใน

องค์กรหลากหลายรูปแบบกรอบโครงสร้างแบบGSCFมีขอบเขตกว้างมากขอบเขตที่กว้างมากนี้อาจสร้างความท้าทายในการนำมาใช้งาน โดยเฉพาะที่กรอบโครงสร้างนี้แนะนำให้องค์กรเปลี่ยนจากการอิงหน้าที่งานมาอิง/จัดการตามกระบวนการ กรอบโครงสร้างSCORอาจนำมาใช้งานได้งา่ยกวา่เพราะวา่เกีย่วขอ้งกบัแค่หนา้ที่งานของธรุกจิในด้านการจัดหาการผลิตและลอจิสติกส์ แต่ก็อาจเพิ่มความเหมาะสมได้เพียงเฉพาะจดุ(Sub-optimization)และจดัการโซ่อปุทาน โดยไม่ได้มีข้อมูลจากหน้าที่งานส่วนอื่นๆ(Lambertและคณะ2005)กรอบโครงสร้างCPFRนั้นมีขอบเขตแคบกว่า ทำให้แต่ละบริษัทมีอิสรภาพในการตัดสินใจว่าจะใช้ความสัมพันธ์แบบร่วมมือกันมากน้อยเพียงใดในแต่ละช่วงเวลา ความง่ายในการนำCPFRมาใช้งานและการที่สามารถวดัผลการปรบัปรงุได้จากความสมัพนัธ์แบบรว่มมอืกนัเพียงความสัมพันธ์เดียว ถือเป็นจุดแข็งข้อใหญ่ทีส่ดุของกรอบโครงสรา้งแบบนี้อยา่งไรก็ตาม สิ่งที่แตกต่างจากกรอบโครงสร้างอีก 2แบบคือCPFR ไม่ได้ให้ความมั่นใจว่าทรัพยากรภายในองค์กรมีการจัดเรียง กันอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็น

จดุออ่นขณะที่กรอบโครงสรา้งของMentzerเน้นที่การปฏิสัมพันธ์ข้ามหน้าที่งานภายในองคก์รและความสมัพนัธ์ใหม่ๆ ที่ถกูสรา้งขึน้กับส่วนอื่นๆของโซ่อุปทานแต่ก็ไม่ได้มีการอธิบายกระบวนการที่ต้องนำมาใช้งาน ติดตามตอนที่ 4 “คำศัพท์เฉพาะทางของSCM”การทำงานรว่มกนัการบูรณาการและความยั่งยืน เราจะพบแนวคิดสำคัญๆหลายเรื่องด้วยกันจากการพิจารณางานเขียนเกี่ยวกับSCMอย่างละเอียดเช่นเดียวกบันยิามของSCMและกรอบโครงสรา้งของSCMนอกเหนอืจากการประสานงานการไหลและกจิกรรมที่เปน็นยิามที่ชดัเจนแลว้นยิามและกรอบโครงสร้างมักจะใช้คำศัพท์ต่างๆเช่น การทำงานร่วมกันและการบูรณาการนอกจากนั้น ความยั่งยืนก็เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในหัวข้อต่อจากนี้ เราจะพยายามชำแหละคำศัพท์แต่ละตัวขณะที่ยังเน้นที่ความหมายและสาระของมัน

ดร.วิทยา สุหฤท ดำรง ผู้ อำนวย การ สถาบัน วิทยาการ โซ่ อุปทาน มหาวิทยาลัย ศรีปทุม [email protected]

แบบจำลองของMentzer

SupplyChainFlows

CustomerSatisfaction/

Value/Profitability/CompetitiveAdvantage

Supplier’s Supplier Supplier Focal Firm Customer Customer’s Customer

Inter-FunctionalCoordination(Trust,Commitment,Risk,Dependence,Behaviors)

Products

Services

Information

FinancialResources

Demand

Forecasts

The Supply Chain

The Global Environment

Inter-Corporate Coordination(Functional Shifting, Third-Party Providers, Relationship Management, Supply Chain Structures)

Marketing

Sales

Research and Development

Forecasting

Production

Purchasing

Logistics

Information Systems

Finance

Customer Service