r&d พลังขับเคลื่อน “scg eco...

4
August-September 2010, Vol.37 No.212 17 Talk 96 ปี เส้นทางการพัฒนา…สู่องค์กรแห่งนวัตกรรม เครือซิเมนต์ไทย (SCG) เป็นองค์การที่เติบโตควบคู่กับการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมายาวนานกว่า 96 ปี นับตั้งแต่ SCG ได้ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2456 ด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราช- ประสงค์ให้ประเทศไทย ทำการผลิตปูนซีเมนต์จากทรัพยากรภายในเพื่อใช้เองใน ประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากสมัยนั้นเป็นยุคของ การก่อสร้างสาธารณูปโภค เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ SCG เริ่มต้นจากความมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตปูนซีเมนต์และ คอนกรีต ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า จนได้รับความไว้วางใจ ภายหลัง ได้พัฒนาต่อยอดสู่ธุรกิจการก่อสร้างครบวงจร เพื่อตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิต กองบรรณาธิการ คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG R&D พลังขับเคลื่อน “SCG Eco Value” หากจัดลำดับองค์การแห่งนวัตกรรมที่มีการนำ “การวิจัยและพัฒนา” มาใช้เป็นเครื่องมือ ในการสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง (high value added product and service) หรือ สินค้า HVA ตลอดจนการบริหารจัดการองค์การเพื่อความยั่งยืนแล้วหละก็ SCG หรือ เครือซิเมนต์ไทย คือ หนึ่งในองค์การธุรกิจชั้นนำของประเทศ ที่ได้มีการดำเนินงานในเรื่อง นี้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องมาตลอด 96 ปี

Upload: others

Post on 20-Jul-2021

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: R&D พลังขับเคลื่อน “SCG Eco Value”...กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG. R&Dพลังขับเคลื่อน

August-September 2010, Vol.37 No.212

17 Talk

96 ปี เส้นทางการพัฒนา…สู่องค์กรแห่งนวัตกรรม เครือซิเมนต์ไทย (SCG) เป็นองค์การที่เติบโตควบคู่กับการพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมายาวนานกว่า 96 ปี นับตั้งแต่ SCG ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2456 ด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราช-ประสงค์ให้ประเทศไทย ทำการผลิตปูนซีเมนต์จากทรัพยากรภายในเพื่อใช้เองในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากสมัยนั้นเป็นยุคของการก่อสร้างสาธารณูปโภค เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ

SCG เริ่มต้นจากความมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตปูนซีเมนต์และคอนกรีต ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า จนได้รับความไว้วางใจ ภายหลังได้พัฒนาต่อยอดสู่ธุรกิจการก่อสร้างครบวงจร เพื่อตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิต

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG

R&D พลงัขบัเคลือ่น “SCG Eco Value”

หากจัดลำดับองค์การแห่งนวัตกรรมที่มีการนำ “การวิจัยและพัฒนา” มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง (high value added product and service) หรือ สินค้า HVA ตลอดจนการบริหารจัดการองค์การเพื่อความยั่งยืนแล้วหละก็ SCG หรือ เครือซิเมนต์ไทย คือ หนึ่งในองค์การธุรกิจชั้นนำของประเทศ ที่ได้มีการดำเนินงานในเรื่องนี้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องมาตลอด 96 ปี

Page 2: R&D พลังขับเคลื่อน “SCG Eco Value”...กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG. R&Dพลังขับเคลื่อน

18

ที่ไม่หยุดนิ่งของผู้บริโภคแล้ว SCG ได้ขยายสู่ธุรกิจกระดาษ

ครบวงจร และทดสอบความเป็นมืออาชีพในการดำเนินธุรกิจด้วย

การก้าวเข้าสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ยุทธศาสตร์การคิดนอกกรอบ ถือ

เป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้ SCG ต้องตื่นตัวในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอด

เวลา นอกจากนี้ SCG ยังสร้างธุรกิจจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งโดยขยายเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศ ดำเนิน

ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และธุรกิจโลจิสติกส์ เพื่อให้บริการขนส่งและกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และ SCG ยังได้ร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำระดับโลก เพื่อต่อยอดให้ทุกธุรกิจพัฒนาศักยภาพได้สูงสุด

ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี ที่ SCG ได้ทุ่มเทวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตรวมทั้งสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มอย่างไม่หยุดนิ่ง รองรับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ส่งผลให้ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า ทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน

คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG บอกเล่าเรื่องราวความภาค-ภูมิใจของ SCG ที่ดำเนินธุรกิจมาครบ 96 ปี หรือ 8 รอบแห่งความยั่งยืนว่า นับตั้งแต่ SCG เริ่มต้นดำเนินธุรกิจในปี พ.ศ.2456 SCG ได้ยึดถืออุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด นั่นก็คือ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม และเรามุ่งมั่นสู่การเป็นต้นแบบขององค์การที่ดำเนินตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราเชื่อมั่นว่า เส้นทางที่ SCG จะมุ่งไปนั้น จะนำพาธุรกิจและสังคมให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างมั่นคง

ทั้งนี้ คุณกานต์ ได้ให้คำนิยามของคำว่า ความยั่งยืน ในบริบทของ SCG ว่า ความยั่งยืนในความหมายของพวกเรา จริง ๆ ก็คือ การพัฒนาทั้งด้านสังคมและสิ่ง-แวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้หลักบรรษัทภิบาล กล่าวคือ ต้องมีความซื่อสัตย์ เปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ดังนี้

ด้านสิ่งแวดล้อม

SCG มองสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องร่วมกันดูแล SCG มุ่งมั่นสู่การเป็นธุรกิจที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Business โดยใชก้ลยทุธใ์น 2 แนวทาง-หลัก คือ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่ง-แวดล้อม (green process) เช่น การจัดการก๊าซเรือนกระจก และมลสารทางอากาศ การบริหารจัดการทรัพยากรและพลังงาน การจัดการน้ำ การจัดการของเสียอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น และผลิตภัณฑ์ที่ เป็นมิตรกับสิ่ง-แวดล้อม (green product) ด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ ส่ งผลกระทบต่อสิ่ ง -แวดล้อมน้อยกว่า เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน รวมถึงผลิตภัณฑ์และเทคโน- โลยีในการสร้างบ้าน ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคารในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่ห่วงใยสิ่ง-แวดล้อม

“SCG เรามุง่เนน้การพฒันากระบวน-การผลิต รวมทั้งผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือไม่ใช่เฉพาะตัวผลิต-ภัณฑ์เท่านั้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระ-บวนการผลิตก็มีส่วนสำคัญมากที่จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อยากจะเรียนว่า เทคโน-โลยีการผลิตทั้งหมด SCG เลือกสรรเฉพาะเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลกมาใช้ และก็ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนที่ประเทศไทย หรือประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ก็ใช้มาตร-ฐานการเลือกสรรเทคโนโลยีเดียวกัน” คุณกานต์ กล่าว

Talk

Page 3: R&D พลังขับเคลื่อน “SCG Eco Value”...กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG. R&Dพลังขับเคลื่อน

August-September 2010, Vol.37 No.212

19 Talk

ตวัอยา่งความเอาใจใสต่อ่สิง่แวดลอ้ม ของ SCG ได้มีการประมวลตัวเลขที่สามารถลดได้จากกระบวนการผลิตที่ เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมไว้น่าสนใจ ดังนี้

● สามารถลดปริมาณขยะขวดแก้วในปริมาณเทียบเท่ากับความสูงของตึกใบหยก 7 ตึก โดยนำไปผลิตเป็นฉนวนกันความร้อน

● สามารถรักษาต้นไม้ได้มากพอที่จะปลูกบนเกาะเสม็ดได้ 2 เกาะ โดยใช้เยื่อ Eco Fiber มาผลิตกระดาษแทนการตัดต้นไม้

● สามารถรักษาน้ำได้มากเท่ากับคนไทยทั้งประเทศจะดื่มกินได้ 26 วัน โดยใช้ระบบหมุนเวียนน้ำในการผลิตเคมีภัณฑ์

● สามารถลดก๊าซคาร์บอนได-ออกไซด์ได้เท่ากับการดูดซับของต้นไม้ 24 ล้านต้น หรือ 3 เท่าของป่าเขาเขียว โดยนำลมร้อนเหลือทิ้งจากการผลิตปูนซีเมนต์ มาเป็นพลังงานไฟฟ้า

สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ SCG ที่จะดูแลสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้ หรือของเสียในอุตสาหกรรมมาปรับปรุง ใช้เป็นวัตถุดิบและเป็นเชื้อเพลิงแทน

“ผมขอเรียนว่า เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ แม้ว่าจะต้องใช้งบ-ประมาณในการลงทุนที่สูงมาก แต่ SCG ก็เลือกที่จะทำมาใช้ในกระบวนการผลิต อาทิ เทคโนโลยีการนำลมร้อนเหลือใช้ (WHG) ในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์กลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งวันนี้เราสามารถที่จะใช้พลังงานไฟฟ้า 25 เปอร์เซ็นต์จากที่เราผลิตเอง เทคโนโลยีนี้ เราลงทุนไปทั้งสิ้นประมาณ 6,000 ล้านบาท

ซึ่งก็ส่งผลดีอย่างยิ่งที่ว่า สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกได้ถึงปีละ 3 แสนตัน ถ้าเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรม ก็เท่ากับการดูดซับคาร์บอนได-ออกไซด์จากต้นไม้ทั้งหมดประ-มาณ 24 ล้านต้น นอกจากนี้เราก็มีการใช้เยื่อที่เราเรียกว่า Eco Fiber ซึ่งก็คือ เยื่อจากการเกษตร จำพวก ชาน-อ้อย หรือ เศษกระดาษใช้แล้ว นำกลับเข้ามาสู่กระบวนการรีไซเคิลใหม่ ที่รู้จักกันดีในแบรนด์ที่เรียกว่า Idea Green นอกจากจะเป็นกระดาษถนอมสายตาแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดการตัดต้นไม้จากป่าปลูกได้ถึง 2.5 ล้านต้นทีเดียว” คุณกานต์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ทั้งนี้ SCG ยังเป็นองค์การธุรกิจรายแรกในประเทศไทย ที่กำหนดนโยบายด้านการจัดซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2547 ต่อมาในปี พ.ศ.2550 SCG มีสินค้าในรายการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสิ้น 254 รุ่น และสามารถขยายเครือข่ายผู้ส่งมอบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ถึง 6 ราย ทั้งนี้การจัดซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสินค้าและบริการของ SCG ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้ฉลาก “SCG Eco Value”

ด้านสังคม

ทั้งนี้ SCG ยังมีความเชื่อที่ว่า องค์การจะยั่งยืนได้ สังคมต้องเข้มแข็งด้วย เป็นเหตุผลที่ SCG ให้ความสำคัญกับการดูแลสังคม ดูแลชุมชนอย่างยั่งยืน ในทุกพื้นที่ที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ เพื่อให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูล พึ่งพาตนเองได้ และพัฒนาสู่การเป็นชุมชนและสังคมที่เข้มแข็ง

“เรามุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคน โดยให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนทั้งในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านที่เราไปลงทุนอยู่ รวมแล้วปีละประมาณ 5,000 ทุน และนอกจากนี้ยังมีการมุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน อาทิเช่น โครงการ SCG รักษ์น้ำเพื่ออนาคต โดยสนับสนุนให้ชุมชนสร้างฝายชะลอน้ำ รักษาความชุ่มชื่นของผืนป่า คืนความสมดุลสู่ระบบนิเวศ โดยโครงการนี้ SCG ได้ริเริ่มและดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 เป็นต้นมา ปัจจุบัน SCG ได้ร่วมสร้างฝายให้กับชุมชน โดยร่วมมือกับองค์การที่เป็นพันธมิตรที่มาร่วมกับเรารวมแล้วกว่า 10,000 ฝาย และตั้งเป้าหมายว่า ในโอกาสฉลอง

Page 4: R&D พลังขับเคลื่อน “SCG Eco Value”...กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG. R&Dพลังขับเคลื่อน

Talk

20

ครบ 8 รอบแห่งความยั่งยืนในปีนี้ จะสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มให้ได้ครบ 20,000 ฝาย ในเรื่องของ

การสร้างฝายนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ได้ฝายสำหรับคืนความชุ่มชื่นให้ผืนป่า

เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว คือ การได้สร้างฝายในใจคน ซึ่งก็คือ การพัฒนาคน

นั่นเอง” คุณกานต์ กล่าวถึงจุดหมายที่ SCG มุ่งหวังอยากให้เป็นไป

ด้านเศรษฐกิจ นอกจากการดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งในกระบวนการผลิต

และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว SCG ได้มุ่งมั่นต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการให้เป็นสินค้านวัตรรม ด้วยการทุ่มในงานวิจัยและพัฒนาสำหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ SCG Eco Value เพื่อเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง โดยในปีที่ผ่านมา SCG สามารถสร้างยอดขายจากสินค้าประเภท HVA หรือ High Value Added Product and Service ได้เพิ่มมากขึ้นเป็น 25 เปอร์เซ็นต์จากยอดขาย หรือประมาณ 6 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว ที่ยอดขายผลิตภัณฑ์และบริการประเภท HVA มีเพียงแค่ 8 พันล้านบาท จากยอดขายรวมของตลาดทั้งสิ้นประมาณ 2 แสนล้านบาท หรือคิดเพียงประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

“ท่านคงทราบดีว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ส่งผลให้สินค้าที่ไม่ใช่ HVA ยอดขายตกทั่วโลก แต่ยอดขาย HVA ของเรายังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คือ มสีดัสว่นเพิม่สงูถงึ 25 เปอรเ์ซน็ต ์และไตรมาสแรกปนีีต้วัเลขเพิม่ขึน้มาเปน็ 27 เปอรเ์ซน็ต์ ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นทุ่มเทในเรื่องของการมุ่งสู่การเป็นองค์การแห่งนวัต-กรรม ทั้งในเรื่องบรรยากาศการทำงาน เรื่องการลงทุน ด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว เราใช้งบประมาณไปกับการวิจัยและพัฒนาปีละประมาณ 40 ล้านบาท หลังจากนั้นก็เพิ่มงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาสูงขึ้นเป็น 70 ล้านบาท 150 ล้านบาท 330 ล้านบาท และ 730 ล้านบาท ปีที่แล้วแม้จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่เราก็ยังคงเพิ่มงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาเป็น 880 ล้านบาท และในปีนี้จะเป็นปีแรกที่ SCG จะใช้งบประมาณเกิน 1 พันล้านบาท สำหรับการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเราคิดว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง และเราก็พยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางนี้” คุณกานต์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเบื้องหลังการก่อเกิดของผลิตภัณฑ์และบริการตระกูล HVA ต้นแบบองค์การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ความมุ่งมั่นเพื่อก้าวสู่การเป็นต้นแบบองค์การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น นอกจากต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอแล้ว ยังต้องเป็นผู้เชิญชวนให้ผู้ประกอบการรายอื่นพัฒนาตนเอง เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนด้วย โดยล่าสุด SCG ได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จำนวน 5 แห่ง จัดทำโครงการ เพื่อนช่วยเพื่อน หรือ Partnership Model นับเป็นความร่วมมือกันของอุตสาหกรรมครั้งแรกในเมืองไทย ที่มีการ

ทำข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีระบบตรวจสอบและดูแลกันเอง พร้อมทั้งเน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ทั้งด้านสุขภาพ และการศึกษา เพื่อให้ชุมชนและอุตสาหกรรม สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ในช่วงท้าย คุณกานต์ กล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม บนพื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ SCG ยึดถือมาโดยตลอด จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ ที่ทำให้ SCG เติบโตอย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง พร้อมก้าวต่อไปอย่างยั่ง-ยืน เพื่อเป็นแบบอย่าง และเป็นผู้นำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแท้จริง

จากอุดมการณ์ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จนส่งผลให้ SCG ได้รับรางวัลแห่งความสำเร็จมากมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนถึงวันนี้ SCG พร้อมก้าวต่อไป เพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นผู้นำด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน

Talk