thai kitchen in visegrad

100

Upload: national-food-institutethailand

Post on 28-Mar-2016

221 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

สถาบันอาหารร่วมมือกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการทำวิจัยจากโครงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในต่างประเทศ เพื่อวางกลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทย ซึ่งเป็นโครงการศึกษาเพื่อหาประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นช่องทางใหม่สำหรับการเปิดตลาดให้กับผู้ประกอบการไทยที่สนใจไปเปิดร้านอาหารในตลาดใหม่ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าในยุโรปตะวันออก ประเทศฮังการี สาธารณรัฐโปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก เป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพต่อการเปิดตลาดธุรกิจร้านอาหารไทยมากที่สุด ดังนั้นจึงได้จัดทำหนังสือ “ครัวไทยใน Visegrád” เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาของโครงการ ออกสู่สาธารณชนในครั้งนี้

TRANSCRIPT

Page 1: Thai kitchen in visegrad
Page 2: Thai kitchen in visegrad
Page 3: Thai kitchen in visegrad
Page 4: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrádผู้เขียน : รองศาสตราจารย์ ดร. แก้วตา โรหิตรัตนะ พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน พ.ศ. 2556

จ�านวน : 500 เล่ม

ISBN : 978-616-335-906-3

จัดพิมพ์โดย : รองศาสตราจารย์ ดร. แก้วตา โรหิตรัตนะ

พิมพ์ท่ี : บริษัท สุมนพับลิชชิ่ง จ�ากัด 38/69 หมู่ 9 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230 โทร. 0 2349 7588 - 9

สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย สถาบันอาหาร

สงวนลิขสิทธิ์ ©

หนังสือเล่มนี้พิมพ์บนกระดาษถนอมสายตา

Page 5: Thai kitchen in visegrad

ในปัจจุบัน อาหารไทยเป็นท่ีรู้จักแก่ชาวต่างชาติและได้รับความนิยมอย่าง

แพร่หลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทยที่ขายตามร้านอาหาร หรือในรูปแบบของ

อาหารแช่แข็งหรือพร้อมทาน อย่างไรก็ตามในบางประเทศนั้นยังไม่ค่อยพบเห็นร้าน

อาหารไทยเปิดด�าเนินกิจการเท่าใดนัก จึงเป็นสาเหตุบางส่วนที่ท�าให้ชาวท้องถิ่นนั้นๆ

ไม่รู้จัก และไม่เคยลองทานอาหารไทยมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ

ไทยที่จะสามารถขยายตลาดร้านอาหารไทยไปยังต่างแดนได้อีก

จากค�าแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายก

รัฐมนตรี แถลงต่อสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 94 ง หน้าที่ 20 ข้อ 3.3.4 (3) และ (5) นั้น ได้กล่าวถึงนโยบาย

เศรษฐกิจด้านการตลาด การค้า และการลงทุน โดยรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการ

เปิดร้านอาหารไทยของคนไทย ตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็น

ครัวอาหารโลก อีกทั้งยังส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้าง

ตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้า

และบริการในตลาดใหม่นั้น ยุโรปตะวันออก เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเป้าหมายที่อยู่

ในการส่งเสริมตามนโยบายรัฐบาล

ค�ำน�ำ

Page 6: Thai kitchen in visegrad

จากนโยบายรัฐบาลดังกล่าว สถาบันอาหารจึงได้มีความร่วมมือกับสถาบัน

วิจัยและให้ค�าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการท�าวิจัยจากโครงการ

ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในต่างประเทศ เพื่อวางกลยุทธ์ผลักดัน

การเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทย ซึ่งเป็นโครงการศึกษาเพื่อหาประเทศที่มี

ศักยภาพในการเป็นช่องทางใหม่ส�าหรับการเปิดตลาดให้กับผู้ประกอบการไทย

ที่สนใจไปเปิดร้านอาหารในตลาดใหม่ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าในยุโรปตะวัน

ออก ประเทศฮังการี สาธารณรัฐโปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก เป็นกลุ่ม

ประเทศที่มีศักยภาพต่อการเปิดตลาดธุรกิจร้านอาหารไทยมากที่สุด ดังนั้นจึง

ได้จัดท�าหนังสือ “ครัวไทยใน Visegrád” เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาของโครงการ

ออกสู่สาธารณชนในครั้งนี้

คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเผยแพร่ผลการศึกษาฯ เล่มนี้ จะก่อ

ประโยชน์ให้กับผู้ที่สนใจเปิดร้านอาหารไทยในกลุ่มประเทศดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทาง

ในการด�าเนินกิจการร้านอาหารไทยให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค และเป็น

แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของร้านอาหารไทยที่มีอยู่แล้วในประเทศ

นั้นๆ อีกทั้งยังเป็นข้อเสนอแนะให้แก่ภาครัฐในการให้การสนับสนุนธุรกิจร้านอาหาร

ไทยในต่างประเทศให้เป็นที่แพร่หลาย และประสบความส�าเร็จต่อไปในอนาคต

รองศาสตราจารย์ ดร. แก้วตา โรหิตรัตนะ

Page 7: Thai kitchen in visegrad

สำรบัญ

บทที่ 1 : Visegrád...ชื่อที่ไม่คุ้นหู 7

ประเทศฮังการี (Hungary) 11

สาธารณรัฐโปแลนด์ (Republic of Poland) 13

สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) 15

บทที่ 2 : การบริโภคอาหารใน Visegrád 17

อาหารไทยในต่างแดน 19

การบริโภคอาหารในประเทศฮังการี 22

การบริโภคในสาธารณรัฐโปแลนด์ 33

การบริโภคในสาธารณรัฐเช็ก 44

บทที่ 3 : ผลการส�ารวจ 55

พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน 57

พฤติกรรมการรับประทานอาหารไทยของผู้ตอบแบบสอบถาม 64

ผู้ตอบแบบสอบถามท่ีเคยรับประทานอาหารไทย 65

ผู้ตอบแบบสอบถามท่ีไม่เคยรับประทานอาหารไทย 71

ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 75

ผลการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย 78

หน้า

Page 8: Thai kitchen in visegrad

บทที่ 4 : การส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยใน Visegrád 81

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมร้านอาหารไทย

ที่ด�าเนินการอยู่แล้วในกลุ่มประเทศเป้าหมาย 83

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย

ให้ออกไปลงทุนยังประเทศเป้าหมาย 85

ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ส�าหรับผู้ประกอบการในการพัฒนา

การบริการให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค 88

บรรณานุกรม 91

คณะผู้วิจัย 96

Page 9: Thai kitchen in visegrad

บทที่ 1

Visegrád...ชื่อที่ไม่คุ้นหู

Page 10: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád8

“Countries of the Visegrád Group” ภำพโดย CrazyPhunk

Page 11: Thai kitchen in visegrad

Visegrád...ช่ือที่ไม่คุ้นหู9

Visegrád...ชื่อที่ไม่คุ้นหู...

Visegrád (วีเซอกราด) คือ ชื่อของเมืองเล็กๆ ที่อยู่ในประเทศฮังการี ตั้งอยู่ทางด้าน

เหนอืของเมอืงหลวงบดูาเปสต์ ต่อมาในปี 1991 เมอืงนีไ้ด้ถูกใช้เป็นท่ีจัดประชมุของการร่วมมอืกนั

เป็นพันธมิตรระหว่างประเทศฮังการี สาธารณรัฐโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และสาธารณรัฐสโลวัก

โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ Visegrad Group, Visegrad Triangle, Visegrad Four หรือ V4

ในปี 2556 สถาบันอาหารได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยและให้ค�าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์ ในการท�า “โครงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในต่างประเทศ เพื่อวาง

กลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทย” เพ่ือหาประเทศที่มีศักยภาพในการเป็น

ช่องทางใหม่ส�าหรับการเปิดตลาดให้กับผู้ประกอบการไทยที่สนใจไปเปิดร้านอาหารในต่างแดน

ซึ่งจากการศึกษาโดยพิจารณาข้อมูลทางสถิติ อันได้แก่ สถานการณ์การท่องเที่ยวของโลก

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ อัตราการเติบโตสะสมของ GDP ต่อประชากร และการส่งออก

สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยไปยังทวีปยุโรปนั้น พบว่ากลุ่มประเทศในทวีปยุโรปตะวันออก

มีแนวโน้มของตลาดที่ก�าลังขยายตัว และเมื่อพิจารณาเจาะลึกลงไปในรายประเทศ โดยดูจาก

ข้อมูลตัวช้ีวัดทางเศรษฐกิจ GDP (PPP) Per Capita และ การค�านวณทางสถิติ จากดัชนีการ

บริโภคอาหาร (Food Consumption per capita Index - FCI) รายได้จากการท่องเที่ยว

ระหว่างประเทศ (International Tourism Receipts) การให้คะแนนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

โดย BMI (BMI’s Business Environment Rating %) และอัตราการเติบโตสะสม 5 ปีของ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมท่ีแท้จริง (Accumulate Real GDP Growth % 5 Years) พบว่า ประเทศ

ฮังการี สาธารณรัฐโปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศ Visegrad นี้ เป็นประเทศ

ที่มีศักยภาพเหมาะสมส�าหรับผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนร้านอาหารไทยมากท่ีสุด

ส�าหรับสาธารณรัฐสโลวักนั้นพบว่ายังไม่มีศักยภาพที่เพียงพอต่อการศึกษา เช่น การมีรายได้จาก

การท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่ต�่า เป็นต้น โดยทั้ง 3 ประเทศดังกล่าวมีข้อมูลเบื้องต้นดังต่อไปนี้

Page 12: Thai kitchen in visegrad

Flag map of Kingdom of Hungary ภำพโดย MacedonianBoy

เมือง Budapest

Statue of Liberty บนเนิน the Gellért Hill เมือง Budapest

Page 13: Thai kitchen in visegrad

Visegrád...ช่ือที่ไม่คุ้นหู11

ประเทศฮังการี (Hungary)

ฮังการีเป็นประเทศท่ีไม่มีทางออกทางทะเล ทิศเหนือติดกับสโลวักและยูเครน

ทิศใต้ติดกับโครเอเชีย เซอร์เบีย และมอนเตเนโกร ทิศตะวันออกติดกับโรมาเนีย ทิศตะวันตกติด

กับออสเตรีย และสโลเวเนีย พื้นที่รวม 93,030 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของพื้นที่

ประเทศไทย มีระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซ่ึงเป็นระบบสภาเดียวโดยมี

ประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้งท�าหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ อยู่ในต�าแหน่งวาระละ 5 ปี

และด�ารงต�าแหน่งได้ 2 วาระ เขตการปกครองแบ่งเป็น 19 เทศมณฑล (County) และมีเมือง

หลวง คือ กรุงบูดาเปสต์

ฮังการีมีประชากรประมาณ 9.9 ล้านคน (ปี 2553) มากกว่า 90% เป็นชาวฮังกาเรียน

มีฤดูหนาวที่ชื้น และฤดูร้อนที่อบอุ่น อุณหภูมิโดยเฉลี่ยในฤดูหนาวมีอุณหภูมิที่ 0 ถึง -15 องศา

เซลเซียส โดยช่วงฤดูร้อนมีอุณหภูมิ 27-35 องศาเซลเซียส ฮังการีใช้ภาษาฮังกาเรียนเป็นภาษา

ราชการกว่า 98% และมากกว่า 51% ของชาวฮังการีนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

เป็นหลัก

ส�าหรับสกุลเงิน ฮังการีใช้หน่วยเงินตราโฟรินท์ (Forint) ในปี 2554 มีผลิตภัณฑ์

มวลรวมในประเทศ 140 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีรายได้ประชาชาติต่อหัว 19,571 เหรียญ

สหรัฐฯ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 1.7 และมีสินค้าน�าเข้าส�าคัญ คือ เคร่ืองจักรและ

อุปกรณ์น�้ามันเชื้อเพลิงไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบ ส่วนสินค้าส่งออกส�าคัญ คือ เครื่องจักร

และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และวัตถุดิบน�้ามันเช้ือเพลิงไฟฟ้า 1

1 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบูดาเปสต์

Page 14: Thai kitchen in visegrad

A map of Poland ภำพโดย Halibutt

Wroclaw Cathedral

อำคำร Stalin ใน Warsaw

Page 15: Thai kitchen in visegrad

Visegrád...ช่ือที่ไม่คุ้นหู13

สาธารณรัฐโปแลนด์ (Republic of Poland)

สาธารณรัฐโปแลนด์ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของทวีปยุโรป ทางตะวันออกของประเทศ

เยอรมัน ทิศเหนือติดกับทะเลบอลติก มีพื้นที่ทั้งสิ้น 312,679 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ

ของส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีเทือกเขาทอดตัวเป็นแนวยาวตลอดชายแดนทางทิศใต้ สภาพภูมิอากาศ

ในทั่วไปมีอากาศหนาว มีเมฆมาก ช่วงฤดูใบไม้ผลิจะมีฝนหรือลูกเห็บตกลงมา หน้าร้อนมีฝนตก

ปรอยๆ ไปจนถึงฝนตกฟ้าคะนอง เมืองหลวงของประเทศ คือ กรุงวอร์ซอ และมีการแบ่งเขต

การปกครองเป็น 16 เขต

โปแลนด์มีจ�านวนประชากรประมาณ 38.4 ล้านคน มีอัตราการเติบโตของประชากร

-0.062 ต่อปี (ค่าประมาณ ปี 2553) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 721.3 พันล้านเหรียญ

สหรัฐฯ และในปี 2554 มีรายได้ประชาชาติต่อหัว 19,571 เหรียญสหรัฐฯ 2 ทั้งนี้ โปแลนด์มี

หน่วยเงินตรา เรียกว่า สลอดี้ (Zloty)

2 www.apecthai.org

Page 16: Thai kitchen in visegrad

Map of the Czech Republic ภำพโดย Creative Commons

Prague

ผู้คนกรำบไหว้นักบุญ Nepomuk บนสะพำน Charles Bridge

หอนำฬิกำดำรำศำสตร์

Page 17: Thai kitchen in visegrad

Visegrád...ช่ือที่ไม่คุ้นหู15

สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic)

สาธารณรัฐเช็กต้ังอยู่กลางทวีปยุโรป มีพรมแดนติดกับโปแลนด์ ออสเตรีย สโลวาเกีย

และเยอรมนี มีพื้นที่ 78,866 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพ้ืนที่ขนาดประมาณ 1 ใน 6 ของ

ประเทศไทย มีเมืองหลวง คือ กรุงปราก (Prague) ในปี 2554 มีจ�านวนประชากร 10.5 ล้านคน

และใช้ภาษาเช็กเป็นภาษาราชการ

หน่วยเงินตราของสาธารณรัฐเช็ก เรียกว่า โครูน่า (Koruna) ในปี 2554 เช็กมีผลิตภัณฑ์

มวลรวมในประเทศ 218.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีรายได้ประชาชาติต่อหัว 25,763 เหรียญ

สหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.7 สินค้าน�าเข้าส�าคัญ ได้แก่ เครื่องจักร

อุปกรณ์ขนส่ง วัตถุดิบ เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ ส่วนสินค้าส่งออกส�าคัญ ได้แก่ เครื่องจักร อุปกรณ์

ขนส่ง วัตถุดิบ เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์

เช็กเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป ในปี 2554

มีมูลค่าการค้ารวม 1,111.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออก 951.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

และน�าเข้า 160.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 790.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าส่งออกที่ส�าคัญของไทย ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทองแดงและของที่

ท�าด้วยทองแดง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วน

ประกอบ ส่วนสินค้าท่ีไทยน�าเข้าจากเช็ก ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า

และส่วนประกอบ นมและผลิตภัณฑ์นม ยุทธปัจจัย อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์

การลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศยังมีปริมาณน้อย และมีเพียงในรูปแบบกิจการร่วมทุน

ร้านอาหารไทย หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวเช็กนิยมเดินทางมากรุงเทพฯ

และท่องเที่ยวแถบชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะพัทยา เกาะสมุย ภูเก็ต และกระบี่ เนื่องจากเช็กไม่มี

ทางออกทะเล โดยปี 2554 มีชาวเช็กเดินทางมาประเทศไทย 29,814 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2553

เล็กน้อยซึ่งมีจ�านวน 28,068 คน 3

3 กระทรวงการต่างประเทศ

Page 18: Thai kitchen in visegrad
Page 19: Thai kitchen in visegrad

บทที่ 2

กำรบริโภคอำหำรใน Visegrád

Page 20: Thai kitchen in visegrad
Page 21: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád19

อาหารไทยในต่างแดน...

ในอดีตอาหารไทยไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนักในต่างประเทศ จนกระทั่งมีกลุ ่ม

นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเริ่มเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจ�านวนมากขึ้น และได้มีโอกาสสัมผัส

กับอาหารไทยตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่าง

ประเทศของไทย 4 ร้านอาหารไทยในต่างประเทศเริ่มกลายเป็นแหล่งอาหารท้องถิ่นของชาวไทย

ที่อพยพไปอยู่ในต่างแดนโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 5 เริ่มจากในปี 2510 มี

ร้านอาหารไทยในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เพียง 4 ร้าน แต่ในปัจจุบันพบว่ามีร้านอาหาร

ไทยในประเทศอังกฤษกว่า 1,600 ร้าน และมีร้านอาหารไทยทั่วทวีปยุโรปกว่า 3,200 ร้าน6

ในปัจจุบันอาหารไทยได้รับความนิยมจากนานาชาติอย่างรวดเร็ว จากผลส�ารวจด้าน

การรับรู้เก่ียวกับอาหารที่จัดท�าข้ึนโดย Kellogg School of Management และสถาบันศศินทร์

พบว่าอาหารประจ�าชาติท่ีผู้ตอบแบบสอบถามนึกขึ้นได้เป็นอันดับแรกนั้น อาหารไทยอยู่อันดับ

ที่ 4 รองจากอาหารอิตาเลี่ยน ฝรั่งเศส และจีน และเป็นอาหารที่ชื่นชอบท่ีสุดเป็นอันดับที่ 6 รอง

จากอาหารอิตาเลี่ยน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย

จากข้อมูลล่าสุดของสถาบันอาหารในปี 2555 พบว่ามีร้านอาหารไทยในต่างประเทศ

11,645 ร้าน โดยร้อยละ 41 อยู่ในอเมริกาเหนือ ร้อยละ 28 อยู่ในยุโรป ร้อยละ 14 อยู่ในเอเชีย

ร้อยละ 13 อยู่ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และอีกร้อยละ 4 อยู่ในประเทศอ่ืนๆ ทั้งนื้ สาเหตุ

หน่ึงที่ท�าให้อาหารไทยดึงดูดชาวตะวันตก คือ เป็นอาหารส�าหรับสุขภาพและไม่ท�าให้อ้วน และ

แม้ว่าในอดีตร้านอาหารไทยในต่างประเทศถือเป็นแหล่งอาหารท้องถิ่นส�าหรับลูกค้าชาวไทยที่

ย้ายไปอาศัยอยู่ ณ ประเทศนั้น แต่ในปัจจุบันร้านอาหารไทยตามเมืองใหญ่ๆ ในต่างประเทศจะ

เน้นไปที่ลูกค้าท่ีไม่ใช่คนไทย โดยเฉพาะลูกค้าชาวตะวันตกในยุโรปและอเมริกา

4 Sirijit Sunanta (2005). The Globalization of Thai Cuisine. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2555. จาก http://www.yorku.ca/ycar/Publications/CCSEAS_Papers_2005/Sunanta.pdf

5 Vatcharin Bhumichitr (1988). The Taste of Thailand. London: Pavilion Books Limited.6 สถาบันอาหาร (2555).

Page 22: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád20

สัดส่วนร้ำนอำหำรไทยในต่ำงประเทศ ปี 2555

ที่มา: สถาบันอาหาร (2555)

รัฐบาลของไทยในปัจจุบันได้ให้ความส�าคัญกับธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

กับอาหารในต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยได้น�าโครงการ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” กลับมาด�าเนิน

งานอีกคร้ังอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้อาหารไทยได้รับความนิยมไปทั่วโลก และสนับสนุนให้

ร้านอาหารไทยในต่างประเทศเป็นศูนย์การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของ

ประเทศไทย นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้สานต่อโครงการ “Thai Select” เพื่อสนับสนุนการเปิด

ธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศอย่างมีมาตรฐานที่เป็นสากล โดยตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลได้จัดให้มีกิจกรรม “Thai Restaurant Week” ในประเทศต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์

โครงการครัวไทยสู่ครัวโลกอย่างต่อเนื่อง

จากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การบริโภคและการใช้จ่าย

ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกลดลง เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศใน Visegrad ท่ีเป็นเป้าหมายในการ

ศึกษานี้ ซึ่งได้แก่ ประเทศฮังการี สาธารณรัฐโปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก ที่ต่างได้รับผลกระทบ

เช่นกัน โดยพบว่าผู้บริโภคในประเทศฮังการีนิยมท�าอาหารในครัวเรือนมากขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย

ส่วนผู้บริโภคในโปแลนด์หันมาบริโภคสินค้าที่มี่ยี่ห้อหรือผลิตโดยผู้ขายส่งหรือตัวแทนจ�าหน่าย

(Private label products) มากข้ึน เนื่องจากมีราคาถูกและมีคุณภาพเหมาะสม ส่วนผู้บริโภคใน

อเมริกาเหนือ

เอเซีย

อื่นๆ

ยุโรป

ออสเตรเลียและนิวซีแลนด

41%

4%13%

14%

28%

Page 23: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád21

เช็กต่างลดการบริโภคอาหารแบบตามอ�าเภอใจ อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคใน 3 ประเทศดังกล่าว

ต่างเริ่มตระหนักในและใส่ใจในสุขภาพ โดยจะเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น เช่น

อาหารที่มีไขมันต�่า เป็นต้น7

ด้านภาพรวมประชากรของทั้ง 3 ประเทศนั้น จากการศึกษาโดยกระทรวงเกษตรและ

อาหารของประเทศแคนาดา ในปี 2012 พบว่าทั้ง 3 ประเทศดังกล่าว มีลักษณะของประชากรที่

คล้ายคลึงกัน คือ มากกว่าร้อยละ 90 ของประชากรมีสัญชาติและเชื้อชาติของประเทศนั้นๆ โดย

มีสัดส่วนของอายุประชากรที่ใกล้เคียงกัน โดยกว่า 2 ใน 3 ของประชากรเป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง

15 - 64 ปี และมีแนวโน้มท่ีจะมีจ�านวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นผลมา

จากครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง คนโสดและคู่แต่งงานที่ไม่มีบุตรมีจ�านวนเพิ่มมากข้ึน นอกจากน้ี

ยังพบว่าประชากรมีการศึกษาสูงขึ้น และเพศหญิงเริ่มมีบทบาทส�าคัญในตลาดแรงงานมากขึ้น

เรื่อยๆ

7 International Markets Bureau, Agriculture and Agri-Food Canada. (2012). Comparative Consumer Profile: The Czech Republic, Hungary and Poland. Ontario, Canada. Minister of Agriculture and Agri-Food Canada.

Page 24: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád22

การบริโภคอาหารในประเทศฮังการี

การบริโภคของชาวฮังการี

แม้ในปี 2554 เศรษฐกิจโลกยังคงวิกฤติ ซึ่งประเทศฮังการีต่างได้รับผลกระทบเช่นกัน

แต่เศรษฐกิจยังคงเติบโตและมีอัตราค่าจ้างท่ีสูงขึ้น จึงส่งผลให้การบริโภคในธุรกิจบริการด้าน

อาหาร (Consumer Foodservice) มีมูลค่ารวมเพ่ิมขึ้น โดยในปี 2554 ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายใน

ธุรกิจบริการด้านอาหารคิดเป็นมูลค่ารวม 597,200 ล้านโฟรินท์ฮังการี (2,514.42 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ หรือ 73,743.32 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่เดิมมีการใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 595,366

ล้านโฟรินท์ฮังการี (2,506.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 73,516.85 ล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วน

ท่ีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานส่งผลให้

ผู้บริโภคต่างตระหนักในการใช้จ่ายมากข้ึน อาหารกลายเป็นปัจจัยส�าคัญในการช่วยประหยัด

ค่าใช้จ่ายของชาวฮังกาเรียน ผู้บริโภคนิยมท�าอาหารรับประทานเองที่บ้านมากกว่าการออกไป

รับประทานตามร้านอาหาร โดยจะใช้วัตถุดิบหลากหลายที่ผลิตในประเทศ ท่ีมีราคาถูกแต่มี

คุณภาพสูง (Euromonitor, 2012)

จากราคาอาหารและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ในขณะที่ผู ้บริโภคมีก�าลังซื้อที่ลดลง

ส่งผลให้มีเพียงเครือธุรกิจอาหาร (Chain Restaurant) ไม่กี่รายเท่านั้นท่ีพอจะสามารถรับมือกับ

ปัญหาดังกล่าวได้ เช่น Nordsee และ Pizza เป็นต้น (Euromonitor, 2012) ส�าหรับร้านอาหาร

แบบให้บริการเต็มรูปแบบ (Full-Service Restaurant) พบว่าในปี 2553 มีจ�านวนลดลง ทั้งน้ี

มูลค่าของยอดขายในธุรกิจดังกล่าวเพิ่มขึ้นนับต้ังแต่ปี 2550 แต่เป็นการเพิ่มขึ้นจากราคาอาหาร

ท่ีเพิ่มขึ้นเท่านั้น เศรษฐกิจภายในประเทศยังคลุมเครือ และการเติบโตยังคงซบเซาจากวิกฤติ

เศรษฐกิจยูโรโซน (Liddle, A. J., 2012) แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีการคาดการณ์ว่าในอนาคตมูลค่า

การบริโภคและจ�านวนร้านอาหารจะเพ่ิมมากขึ้น (Business Monitor, 2012)

จากข้อมูลโดยสถาบันวิจัยทางการตลาด GfK (อ้างใน Csiszarik-Kocsir, A., Fodor,

M., & Varga, E., 2008.) พบว่าร้อยละ 31 ของผู้บริโภคในฮังการีมักรับประทานอาหารแบบเป็น

ครั้งเป็นคราวและไม่เป็นระบบ โดยปกติรับประทานอาหารที่วันละ 3 มื้อ กลุ่มที่รับประทาน

วันละ 4 ม้ือขึ้นไปนั้นเริ่มมีอัตราท่ีเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวได้ว่าผู้บริโภคมีลักษณะการ

รับประทานอาหารท่ัวไปและอาหารว่างท่ีเพิ่มมากขึ้น ดังน้ัน Food Court จึงน่าจะเป็นทางเลือก

Page 25: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád23

ส�าหรับคนกลุ่มนี้ในการรับประทานอาหารที่นอกเหนือจากอาหารมื้อหลัก นอกจากนี้ ผู้บริโภค

ส่วนใหญ่จะใส่ใจเมนูอาหารทั้งการรับประทานท่ีบ้านและร้านอาหารนอกบ้าน จึงเป็นสาเหตุให้

อาหารเพื่อสุขภาพนั้นได้รับความนิยม และสามารถพบเห็นอาหารสูตรลดน�้าหนัก หรือไขมันต�่า

ได้ตามร้านอาหารทั่วไป

อาหารท้องถิ่นของชาวฮังการี

ประเทศฮังการี ได้ชื่อว่าเป็นประเทศแห่งการรับประทานซุป “Soup-Eating Nation”

โดยที่นิยม คือ ซุปไก่ ซุปมันฝรั่ง ซุปถั่ว ซุปแกง ผักตุ๋นเนื้อวัว (Goulash – กูลาช) ซุปปลา และ

ซุปผลไม้ อาหารจานหลักมักเป็นมันฝรั่งผสมเน้ือหมู วัว แกะ ไก่ หรือไก่งวงเป็นหลัก ในขณะที่

เป็ด ห่าน เนื้อสัตว์ป่า (เช่น กวาง และหมูป่า) เคร่ืองในสัตว์ก็ถูกใช้เป็นส่วนผสมเช่นกัน ซอส

รสเผ็ด สตูว์ หรืออาหารที่มีลักษณะเป็นน�้าจะเป็นที่นิยมมากกว่าอาหารที่มีลักษณะแห้ง ส�าหรับ

เครื่องเคียง (Side dish) ท่ีนิยม คือ มันฝรั่ง ข้าว และพาสต้า ด้านเครื่องปรุงนั้น พริกหยวกแดง

(Red Paprika) กระเทียม และหัวหอม ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของอาหารฮังกาเรียน ในขณะที่

พริกไทยแดง พริกไทยเขียวสด มะเขือเทศ ครีมรสเปร้ียว และน�้ามันหมูนั้นถือเป็นวัตถุดิบส�าคัญ

เช่นกัน ของหวานนิยมเป็นผลไม้ ไอศกรีม แพนเค้ก หรือเค้ก ซึ่งเค้กฮังกาเรียนจะมีรสหวานมาก

และเต็มไปด้วยครีม ส่วนขนมสตรูเดิล (Strudel) เป็นที่นิยมและเป็นขนมที่มีชื่อเสียงของฮังการี

(Water and Fire, n.d.)

Page 26: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád24

.

ขนมสตรูเดิล (Strudel) ภำพโดย Creative Commons

ซุปกูลำช (Goulash)

Page 27: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád25

การวิเคราะห์ตลาดอาหารโดย SWOT Analysis

Business Monitor – BMI (2013) ได้วิเคราะห์อุตสาหกรรมอาหารในประเทศของ

ฮังการี โดย SWOT Analysis ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

จุดแข็ง (Strengths) :

� อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารของฮังการีถือว่ามีความทันสมัยที่สุดในยุโรปกลาง

และยโุรปตะวนัออก โดยอตุสาหกรรมฯ เน้นการส่งออกผลิตภณัฑ์ไปยงัต่างประเทศ

เป็นหลัก

� อุตสาหกรรมการผลิตอาหารเป็นที่ดึงดูดแก่ต่างชาติในการเข้ามาลงทุนโดยตรง

ในประเทศ (Foreign Direct Investment-FDI)

� ฮังการีมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ซึ่งเอื้อต่อการกระจายสินค้าและการขนส่ง

� เกษตรกรและผู้ค้าปลีกประเภทซูเปอร์มาร์เก็ตมีความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน

จุดอ่อน (Weaknesses) :

� ลักษณะการบริโภคอาหารในแต่ละท้องถ่ินแตกต่างกันตามรายได้ ซ่ึงปัจจุบันพบ

ว่าความไม่เท่าเทียมกันของรายได้มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

� ผู้ประกอบการต่างชาติบางรายที่เข้ามาลงทุน และได้รับผลประกอบการต�่ากว่า

เป้าหมาย มีแนวโน้มจะออกจากตลาดและหันไปลงทุนในประเทศอื่นแทน

� ผู้บริโภคฮังกาเรียนอ่อนไหวต่อราคาสินค้ามาก

� จากการท่ีหลายธุรกิจในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารของฮังการีพึ่งพิงการส่งออก

เป็นหลัก จึงท�าให้ฮังการีเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่อาจจะตกต�่าได้ หากการส่งออกหดตัว

� ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และอุปสงค์ที่ลดลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรม

อาหารลดลง

Page 28: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád26

โอกาส (Opportunities) :

� แนวโน้มการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจะช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์บางชนิดที่

เดิมไม่เป็นที่นิยม เช่น ขนมธัญพืชแบบแท่ง เป็นต้น

� ภาษีมูลค่าเพิ่มในอาหารลดลง ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น

� อุตสาหกรรมฯ มีโอกาสทางนวัตกรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะในอาหารประเภท

เพื่อสุขภาพ ส่งผลให้อาหารประเภทเบเกอร่ีและธัญพืชได้รับความนิยมสูง

� ที่ดินเพื่อการเกษตรในฮังการี คาดว่าจะมีราคาเป็น 1 ใน 4 ของราคาเฉลี่ยใน

สหภาพยุโรป ซึ่งดึงดูดนักลงทุนจากประเทศอื่นในยุโรปเข้ามาลงทุนในฮังการี

มากข้ึน

� ธุรกิจย่อยในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ธุรกิจขนมหวาน ที่ต่างชาตินิยมเข้ามาลงทุน

ในประเทศนั้น พบว่ามีอัตราการเติบโตอย่างมีนัยส�าคัญ โดยมีรายได้หลักหักภาษี

(Disposable Income) เพิ่มขึ้น

� จากการที่ผู้หญิงมีบทบาทในแรงงาน และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (Lifestyle) ที่

เน้นความสะดวก ผู้บริโภคจึงเร่ิมหันไปบริโภคอาหารกึ่งส�าเร็จรูป (Convenience

Food) มากขึ้น

� อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารมีการวางแผนการลงทุน และมีผลตอบแทนที่ดี สร้าง

ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในประเทศ และภาคการส่งออก

� ธรุกจิรบัส่งอาหาร (Food Delivery) เติบโตข้ึนทุกปี ตัวอย่างเช่น บริษทั Netpincer

ที่ก่อตั้งข้ึนในปี 1999 เพื่อท�าธุรกิจส่งอาหารนั้น พบว่าธุรกิจใช้เวลาเพียง 3 ปี

ในการคืนทุน (Csiszarik-Kocsir, A., Fodor, M., & Varga, E., 2008. อ้างถึง

A vendeg, 2007)

อุปสรรค (Threats) :

� มาตรการการจัดการปัญหาเศรษฐกิจ โดยเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิต

เช่นเดียวกับการเพิ่มการจัดเก็บภาษีในห่วงโซ่ธุรกิจค้าปลีก ส่งผลกระทบต่อ

ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก

Page 29: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád27

� การเก็บภาษีในอาหารท่ีไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ส่งผลให้ภาคธุรกิจนี้ลดการ

ลงทุน

� สินค้ายี่ห้อของผู้ค้าปลีกหรือผู้กระจายสินค้า (Private Label Product) ที่เป็นของ

บริษัทต่างชาติ เป็นที่นิยมมากขึ้นในหลายภาคการผลิต

� การที่รัฐบาลล้มเหลวในการตอบสนองอุปสงค์ด้านการเงินไม่ได้นั้น ส่งผลให้สกุล

เงินของชาติอ่อนตัวลง

� การรวมกลุ่มกันของร้านลดราคา อาจท�าให้ราคาอาหารโดยรวมลดลงได้

สถานภาพการท�าธุรกิจร้านอาหารไทยในประเทศฮังการี

ส�าหรับการท�าธุรกิจในประเทศฮังการีนั้น พบว่ามีความสะดวกกว่าประเทศอื่นๆ ใน

ภูมิภาคเดียวกัน โดยฮังการีได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ง่ายต่อการเข้าไปประกอบธุรกิจ

เป็นอันดับรวมที่ 49 จาก 185 ประเทศทั่วโลกในปี 2555 โดยพบว่าการเริ่มท�าธุรกิจในประเทศ

(Starting a Business) มีความง่ายเป็นอันดับที่ 39 และการบังคับใช้สัญญา (Enforcing

Contracts) ให้เป็นไปตามก�าหนดน้ัน อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก คือ อันดับที่ 18 ซึ่งฟื้นตัวขึ้นมา

จากอันดับที่ 22 ในปี 2554 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจยูโรโซน แต่อย่างไรก็ตามยังคงพบว่าฮังการีมี

การคุ้มครองนักลงทุนอยู่ในอันดับที่ต�่า คือ ที่อันดับ 124 ของโลก

ตลำด Vaci ในเมือง Budapest

Page 30: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád28

กำรจัดอันดับควำมง่ำยในกำรเข้ำไปประกอบธุรกิจ

(Ease of Doing Business) ของประเทศฮังกำรี

ปี 2550 2551 2552 2553 2554 2555

อันดับรวม (จำก 185 ประเทศท่ัวโลก) 45th 50th 41st 52nd 46th 49th

- ความง่ายในการเริ่มท�าธุรกิจ 87th 67th 27th 39th 35th 39th

- การขอใบอนุญาตก่อสร้าง 143th 87th 89th 88th 86th 53th

- การได้รับกระแสไฟฟ้า - - - - 100th 106th

- การจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ 103th 96th 57th 61st 41st 41st

- การได้รับเครดิต 21st 26th 28th 30th 32nd 52nd

- การคุ้มครองนักลงทุน 118th 107th 113th 119th 120th 124th

- การจ่ายภาษี 118th 127th 111st 122nd 109th 117th

- การซื้อขายข้ามชายแดน 76th 45th 68th 70th 73th 77th

- การบังคับใช้สัญญา 12nd 12nd 12nd 14th 22nd 18th

- การแก้ปัญหาการล้มละลาย 48th 53th 55th 58th 62nd 67th

ที่มา: Euromonitor (2012).

จากการวิเคราะห์โดย Euromonitor (2012) พบว่า ร้านอาหารเอเชียในประเทศฮังการี

มีแนวโน้มเติบโตที่สูงและอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยคาดการณ์ว่า จ�านวนร้านมีอัตราเพิ่มข้ึน

เฉลี่ยที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี หรือ ร้อยละ 19.9 ส�าหรับระยะเวลารวมตลอด 5 ปี (2554-2559) เช่น

เดียวกับด้านมูลค่ายอดขายท่ีคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉล่ียที่ร้อยละ 7.3 ต่อปีและ

ร้อยละ 42.2 ส�าหรับระยะเวลา 5 ปี (2554-2559)

Page 31: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád29

กรำฟประมำณกำรจ�ำนวนร้ำนอำหำรเอเชียแบบให้บริกำรเต็มรูปแบบ

(Asian Full-Service Restaurants) ในประเทศฮังกำรี ปี 2554-2559

ท่ีมา: Euromonitor (2012).

กรำฟประมำณกำรมูลค่ำยอดขำยของร้ำนอำหำรเอเชียแบบให้บริกำรเต็มรูปแบบ

(Asian Full-Service Restaurants) ในประเทศฮังกำรี 2554-2556

ท่ีมา: Euromonitor (2012).

292 301 311324

336350

250

300

350

400

2554 2555 2556 2557 2558 2559 ป

จํานวนราน

44.27 46.16 49.03 53.32 57.8363.04

0.00

20.00

40.00

60.00

80.00

2554 2555 2556 2557 2558 2559

ลานเหรียญสหรัฐฯ

Page 32: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád30

จากการเข้าพบหารือระหว่าง ผู้อ�านวยการส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

ณ กรุงบูดาเปสต์ และ Dr. Peter Farago รองประธานหน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุน

ประเทศฮังการี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 นั้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าอุตสาหกรรมอาหารเป็น

หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ควรมีการส่งเสริมร่วมกัน โดยทางหน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุน

ประเทศฮังการี มองว่าอุตสาหกรรมฯ จะสามารถจูงใจ และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่นักลงทุน

ด้วยปัจจัยที่ฮังการีเป็น Logistics Hub ของยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก แรงงานมีทักษะสูง

และภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในด้านต่างๆ8

นอกจากนี้ข้อมูลโดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (2553)

ยังระบุว่า ในปัจจุบันร้านอาหารไทยในเมืองบูดาเปสต์ก�าลังเป็นที่นิยม และร้านอาหารไทยใน

ลักษณะเดียวกันนั้นยังไม่มีการด�าเนินการโดยบริษัทข้ามชาติ คู่แข่งทางธุรกิจจึงได้แก่ร้านอาหาร

นานาชาติอื่นๆ เช่น ร้านอาหารญ่ีปุ่น และร้านอาหารเกาหลี เป็นต้น โดยคู่แข่งที่ส�าคัญ คือ ร้าน

อาหารจีน ซึ่งมีอยู่จ�านวนมากและมีเมนูอาหารที่หลากหลาย ราคาแตกต่างไปตามคุณภาพและ

ความพิถีพิถัน ทั้งน้ี มีข้อแนะน�าว่าร้านอาหารเอเชียทุกร้านควรปรับรสชาติให้เข้ากับความ

ต้องการ และความเคยชินของกลุ่มลูกค้า ในขณะที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของอาหารคงเดิมไว้

ท้ังนี้จากข้อมูลการสัมภาษณ์พบว่ามีร้านอาหารไทยประมาณ 5 ร้านในฮังการี

การจัดต้ังร้านอาหารในฮังการี

� กฎระเบียบการเปิดร้านอาหาร

ผู้ประกอบการท่ีมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพื่อสถานประกอบการอาหาร/จัดเลี้ยงนั้น ไม่

จ�าเป็นต้องมีใบอนุญาตในเชิงพาณิชย์ หรือการลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไรก็ตาม

ฮังการีมีกฎหมายที่เข้มงวดซึ่งก�ากับโดยหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซ่ึงการจะเปิดประกอบ

การร้านอาหารได้นั้น ผู้ประกอบการจะต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานต่างๆ ของฮังการี ดังนี้9

8 ส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี. (15 กุมภาพันธ์ 2556). รายงานการเยี่ยมพบหน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนประเทศฮังการี (Hungarian Investment and Trade Agency: HITA). ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2556, จากฐานข้อมูลออนไลน์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

9 ส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุง บูดาเปสต์ ประเทศฮังการี. (2554). Hungarian Investment Environment - To open Thai restaurants in Hungary. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2556, จากฐานข้อมูลออนไลน์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

Page 33: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád31

1. ส�านักงานสาธารณสุขแห่งชาติและส�านักงานเจ้าหน้าที่การแพทย์

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านอนามัยสัตว์

3. แผนกดับเพลิงกลาง

ในกรณีที่สถานประกอบการมีกิจกรรมเกี่ยวกับการพนันด้วย จะต้องมีใบอนุญาตจาก

หน่วยงาน ดังนี้

1. ส�านักงานก�ากับดูแลกิจกรรมการพนัน

2. นายกเทศมนตรีท้องถิ่น

3. เจ้าหน้าที่ต�ารวจท้องถิ่น

� การจ่ายค่าจ้าง :

ต้องจ่ายเป็นสกุลเงินโฟรินท์ฮังการี และเป็นจ�านวนเงินตามค่าแรงขั้นต�่าที่รัฐบาล

ก�าหนด คือ 114,000 โฟรินท์ฮังการี (480 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 14,068.85 บาท) ต่อเดือน

(ส�านักนายกรัฐมนตรีฮังการี, 19 ธันวาคม 2555) โดยก�าหนดเวลาท�างานที่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง

ต่อวัน (Eurostat, 2013)

� สถานที่ประกอบการ :

ตามพระราชบัญญัติการซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยบุคคลชาวต่างชาตินั้น อนุญาตให้

สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ โดยต้องได้ใบอนุญาตจากผู้อ�านวยการท้องถิ่นของส�านักงานบริหาร

สาธารณะระดับภูมิภาค ซึ่งหากถูกปฏิเสธใบอนุญาต สามารถยื่นค�าร้องต่อศาลได้ ส�าหรับการเช่า

ชาวต่างชาติสามารถเช่าอพาร์ทเม้นท์หรือบ้านในฮังการีได้ โดยผู้เช่ามีสิทธิในการใช้สถานที่นั้นๆ

� ระบบภาษี :

ฮังการีใช้ระบบภาษีท่ีสอดคล้องกับระบบภาษีของสหภาพยุโรป โดยนักลงทุนชาว

ต่างชาติจะได้รับสิทธิพิเศษทางการลงทุน และสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายภาษีที่เก่ียวข้อง เช่น

ที่ดิน แรงงาน และพลังงาน เป็นต้น ฮังการีได้เข้าร่วมในสนธิสัญญาการหลีกเลี่ยงการเก็บภาษี

ซ้อนกับกว่า 60 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 253310 และได้

บัญญัติให้เป็นกฎหมายแห่งชาติ

10 กรมสรรพากร. อนุสัญญาภาษีซ้อนที่มีผลบังคับใช้แล้ว. สืบค้นจาก http://www.rd.go.th/publish/765.0.html

Page 34: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád32

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2553 ฮังการีได้เปลี่ยนระบบการเก็บภาษี โดยเปลี่ยนจากระบบ

ภาษีเงินได้แบบอัตราก้าวหน้า มาเป็นระบบแบบอัตราเดียวเหมือนกับประเทศเพ่ือนบ้านใน

สหภาพยุโรป โดยมีผลบังคับใช้ในปี 2554 เป็นต้นไป ดังนี้ (ส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่าง

ประเทศ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี, 2554)

y ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (Individual Income Tax) : เดิมเป็นแบบอัตราก้าวหน้าที่ร้อย

ละ 17 และร้อยละ 32 แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นแบบอัตราคงที่ที่ร้อยละ 16 โดย

บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป

y ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Tax) : รัฐบาลก�าหนดให้ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป ผู้

ประกอบการที่มีเงินได้ต�่ากว่า 500 ล้านโฟรินท์ฮังการี (2.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ

61.71 ล้านบาท) ต่อปี ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 10 (จากปกติร้อย

ละ 19) โดยการลดอัตราภาษีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการจ้างงานและเพิ่มความ

สามารถการแข่งขันในภูมิภาค

y ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) : ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีฐานเดียวกับอัตราภาษี

ของสหภาพยุโรป คือ จัดเก็บท่ีร้อยละ 27 ส�าหรับสินค้าและบริการ โดยลดภาษี

เหลือร้อยละ 18 ส�าหรับผลิตภัณฑ์นมและขนมปัง สินค้าและบริการบางชนิดท่ี

เก่ียวข้องกับการรักษาทางการแพทย์ และร้อยละ 5 ส�าหรับหนังสือและหนังสือพิมพ์

y ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) : ฮังการีจัดเก็บภาษีสรรพสามิตกับสินค้าบางประเภท

เช่น น�้ามันไฮโดรคาร์บอน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ เป็นต้น ในอัตราระหว่าง

ร้อยละ 28.4 – 52 หรือก�าหนดเป็นจ�านวนเงินในบางกรณี โดยภาษีนี้จะเรียกเก็บ

กับผู้ผลิต ผู้น�าเข้า หรือผู้ค้าส่ง และไม่มีการจัดเก็บส�าหรับกรณีการขายเพื่อส่งออกไป

ยังต่างประเทศ

Page 35: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád33

การบริโภคในสาธารณรัฐโปแลนด์

การบริโภคอาหารของชาวโปแลนด์

ในปี 2554 ท่ีท่ัวโลกต่างประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต�่า โดยเฉพาะใน

ทวีปยุโรป แต่ในสาธารณรัฐโปแลนด์นั้น พบว่า บางอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจบริการด้านอาหาร

(Foodservice) ยังสามารถเติบโตได้ โดยในปีดังกล่าว พบว่ามูลค่ายอดขายและจ�านวนร้านอาหาร

มีเพ่ิมขึ้น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและรายได้หลังหักภาษีที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ภาพรวมของธุรกิจ

ดังกล่าวมีทิศทางท่ีดี โดยมีการคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะเติบโตเฉลี่ย

ร้อยละ 3-4 ต่อปี ในตลอดระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (2554-2559) ซ่ึงจะเป็นผลให้ผู้บริโภคมี

รายได้และอุปสงค์การบริโภคอาหารในร้านอาหารต่างๆ เพิ่มมากขึ้น (Liddle, A. J., 2012)

นอกจากนี้ การท่ีผู้บริโภคมีรสนิยมท่ีทันสมัย ส่งผลให้นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อย

กว่าเดิม การจัดโปรโมชั่นของร้านอาหารต่างๆ จะช่วยเพิ่มความนิยมในการสั่งอาหารกลับบ้าน

(Home Delivery Service) มากขึ้น โดยร้านที่เป็นที่นิยม คือ ร้านอาหารจานด่วนและร้านกาแฟ

(Euromonitor, 2012)

ร้านอาหารท่ีประกอบการแบบอิสระ (Independent) และร้านอาหารแบบเครือข่าย

(Chain) พบว่ามีมูลค่าเติบโตอย่างมาก โดยร้านอาหารท่ีประกอบการแบบอิสระ มีสัดส่วนมูลค่า

ยอดขายเป็นส่วนมากของธุรกิจบริการด้านอาหารทั้งหมด ในด้านของสถานที่พบว่าร้านอาหาร

ที่ตั้งอยู่แบบอิสระ (Stand-alone) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะร้านที่ตั้งอยู่บนถนน

ที่มีการจราจรคับคั่ง ใกล้ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารส�านักงาน สถานีรถไฟ มหาวิทยาลัย และ

แหล่งท่ีเข้าถึงได้สะดวกน้ันเติบโตเร็วมาก (Euromonitor, 2012)

ร้านอาหารแบบให้บริการเต็มรูปแบบ (Full-Service Restaurant) มีมูลค่ายอดขายที่

เพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยยอดขายต่อปีประมาณร้อยละ 4 ทั้งนี้ ผู้บริโภคจะนิยมลอง

รับประทานอาหารจานใหม่ๆ ในร้าน ร้านพิซซ่า Da Grasso ซึ่งจัดเป็นร้านอาหารแบบเครือข่าย

ที่ให้บริการเต็มรูปแบบนั้น พบว่า มีมูลค่าธุรกิจและจ�านวนสาขาสูงท่ีสุดในปี 2554 ส�าหรับร้าน

อาหารประเภทเครือธุรกิจ และยังถือเป็นแบรนด์ท่ีเป็นที่รู้จัก และได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีใน

โปแลนด์ (Euromonitor, 2012)

Page 36: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád34

สัดส่วนมูลค่ำธุรกิจร้ำนอำหำรเครือข่ำยแบบให้บริกำรเต็มรูปแบบ

(Chained Full-Service Restaurants) ในสำธำรณรัฐโปแลนด์ ปี 2554

ที่มา: Euromonitor (2012).

ปัจจุบันผู้บริโภคชาวโปแลนด์มีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคให้

ความส�าคัญกับปัจจัยด้านราคามากท่ีสุด โดยอาหารท่ีผู้บริโภคอ่อนไหวต่อราคานั้น ได้แก่

ก๋วยเตี๋ยว ซอส ผลิตภัณฑ์นม ผลไม้ และผัก ในขณะที่คุณภาพของอาหารก็เป็นปัจจัยที่ใช้

พิจารณาในการเลือกซื้อเช่นกัน โดยสินค้าที่อ่อนไหวต่อด้านคุณภาพนั้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เน้ือ

นม ผลไม้ และผัก เป็นต้น Horska, Urgeova และ Prokeinova (2011) ได้ท�าการศึกษากลุ่ม

ตัวอย่างผู้บริโภคในโปแลนด์เกี่ยวกับความส�าคัญของการรับรู้คุณภาพอาหารต่อการเลือกบริโภค

ซึ่งผลการศึกษาพบว่า นอกจากปัจจัยด้านราคาแล้ว ปัจจัยอื่นที่ผู้บริโภคใช้เป็นเกณฑ์ในการ

เลือกซื้ออาหารเป็นอันดับแรก คือ ความสะอาดถูกอนามัย (Food hygiene) รองลงมา คือ ความ

ปลอดภัย (Safety) และรสชาติ (Taste) โดยที่ผู้บริโภคไม่ได้พิจารณาถึงบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

เท่าใดนัก แต่จะพิจารณาฉลากด้านคุณภาพที่ติดบนสินค้าแทน นอกจากนี้ ชาวโปแลนด์มากกว่า

ร้อยละ 50 มองว่าสินค้าจากต่างชาตินั้นดีกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีคุณภาพสูง และจะ

นิยมซื้อของตามศูนย์การค้า (Shopping Center Hypermarket และ Supermarket) เป็น

ประจ�า

Da Grasso24%

Pizza Hut20%

Other39%

Sphinx17%

Page 37: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád35

อาหารท้องถิ่นของชาวโปแลนด์

อาหารหลักของชาวโปแลนด์มักเน้นที่เนื้อสัตว์ นม ผัก และนิยมรับประทานซุป โดยมี

ซุปที่หลากหลาย เช่น ซุปเห็ด ซุปแกง ซุปบีท (Beet) เป็นต้น เปโรกี (Pierogi) เป็นแป้งห่อเนื้อ

สัตว์หรือที่มีลักษณะคล้ายเกี๊ยวนั้น ถือเป็นอาหารส�าคัญของชาวโปแลนด์ เนื้อสัตว์ที่เป็นที่นิยม

คือ เนื้อหมู รองลงมาเป็น ไก่และเนื้อวัว เนื้อกวางและเป็ดมักใช้ท�าหรับอาหารจานพิเศษ

ส่วนปลาเริ่มเป็นที่นิยมบ้างจากเดิมท่ีมีสถิติรับประทานที่ต�่า (ประมาณ 5 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

(Business Monitor, 2013)) ของหวานมักเป็นชีสเค้ก ทาร์ตแอปเปิ้ล สปันจ์เค้ก และเอแคลร์11

เปโรกี (Pierogi)

11 International Markets Bureau, Agriculture and Agri-Food Canada. (2012). Comparative Consumer Profile: The Czech Republic, Hungary and Poland. Ontario, Canada. Minister of Agriculture and Agri-Food Canada.

Page 38: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád36

การวิเคราะห์ตลาดอาหารโดย SWOT Analysis

Business Monitor – BMI (2013) ได้วิเคราะห์อุตสาหกรรมอาหารในประเทศของ

โปแลนด์ โดย SWOT Analysis มีรายละเอียด ดังนี้

จุดแข็ง (Strengths) :

� ธุรกิจอาหารประเภทค้าปลีกมียอดขายเติบโตเป็นอย่างดี เป็นส่วนสนับสนุนให้กับ

อุตสาหกรรมอาหารของประเทศ

� โปแลนด์มีประชากรกว่า 40 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ในภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก

� มีสภาพแวดล้อมการท�าธุรกิจที่ดี และอุตสาหกรรมอาหารมีการเติบโตอย่างมี

นัยส�าคัญ

� โปแลนด์เป็นประเทศท่ีเป็นท้ังผู้ผลิตและผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

และเกษตรอาหาร

จุดอ่อน (Weaknesses) :

� บริษัทต่างชาติเข้าครอบครองสินทรัพย์ในธุรกิจอาหารแล้วเป็นจ�านวนมาก ส่งผล

ให้ธุรกิจท่ีจะเข้ามาใหม่ต้องหันไปเน้นผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Product)

มากขึ้น

� รายได้หลังหักภาษีท่ีต�่า จะส่งผลต่อการเปิดรับแนวโน้มการบริโภคของอาหาร

ราคาแพงมากขึ้น (Premiumisation trend)

� การบริโภคอาหารต่อคนโดยรวมของโปแลนด์นั้นยังคงต�่ากว่าบางพื้นที่ในภูมิภาค

ยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก

Page 39: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád37

โอกาส (Opportunities) :

� การบริโภคอาหารต่อคนในหลายๆ ภาคธุรกิจ มีอัตราการเติบโตที่ดี

� ผู้บริโภคเริ่มตระหนักและใส่ใจในสุขภาพ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ

(Functional Foods) และอาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Foods) มีโอกาสเติบโต

ได้ดีข้ึน

� จากการได้เปรียบการมีต้นทุนแรงงานที่ต�่า โปแลนด์จึงใช้กลยุทธ์การเป็นประตูสู่

ตลาดยุโรปให้แก่นักลงทุนต่างชาติ

� กลุ่มชาวโปแลนด์ที่ไปท�างานยังต่างประเทศจ�านวนมาก ได้น�าความนิยมการ

บริโภคอาหารต่างชาติ หรืออาหารแปลกใหม่ (Exotic Food) เข้ามาในประเทศ

อุปสรรค (Threats) :

� ราคาอาหารที่สูง อาจท�าให้การบริโภคอาหารพรีเมียม (Premium) ที่มีราคาแพง

ลดลง

� สินค้าตราห้าง หรือสินค้าของผู้จัดจ�าหน่าย (Private Label Product) ที่มีราคาถูก

และการจัดโปรโมชั่นลดราคาที่ก�าลังเป็นที่นิยมนั้น จะส่งผลให้มูลค่าตลาดรวม

ลดลง

� หลายธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารค้าปลีกก�าลังประสบปัญหาการจัดหาพนักงาน

� การว่างงานท่ีสูงนั้น (ร้อยละ 12.7, CIA, 2012) จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการ

บริโภคของหรูหรา (Premiumisation Trends)

� การยกเลิกการให้เงินอุดหนุนเกษตรกรในนโยบายเกษตรร่วมกันของประเทศใน

สหภาพยุโรป (EU Common Agricultural Policy - CAP) ส่งผลกระทบต่อ

เกษตรกรรายย่อยเป็นจ�านวนมาก

Page 40: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád38

สถานภาพการท�าธุรกิจร้านอาหารไทยในสาธารณรัฐโปแลนด์

ส�าหรับการท�าธุรกิจในสาธารณรัฐโปแลนด์นั้น ในปี 2555 ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น

ประเทศที่ง่ายต่อการเข้าไปประกอบธุรกิจเป็นอันดับรวมที่ 74 จาก 185 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็น

อันดับที่ต�่าที่สุดใน 3 ประเทศเป้าหมาย โดยความง่ายในการเริ่มท�าธุรกิจอยู่ในอันดับที่ 129 และ

ยังพบว่าการขอใบอนุญาตก่อสร้างในโปแลนด์นั้นมีอันดับที่ต�่ามาก คือ ที่ 157 อย่างไรก็ตาม

โปแลนด์ถือเป็นประเทศต้นๆ ท่ีให้เครดิตแก่นักลงทุนได้ง่าย โดยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 4 ใน

ปี 2555 และมีการคุ้มครองนักลงทุนมากที่สุดใน 3 ประเทศเป้าหมายคืออยู่ในอันดับที่ 46

กำรจัดอันดับควำมง่ำยในกำรเข้ำไปประกอบธุรกิจ(Ease of Doing Business) ของสำธำรณรัฐโปแลนด์

ปี 2550 2551 2552 2553 2554 2555

อันดับรวม (จำก 185 ประเทศท่ัวโลก) 74th 72nd 72nd 73rd 59th 74th

- ความง่ายในการเริ่มท�าธุรกิจ 114th 129th 145th 117th 113th 129th

- การขอใบอนุญาตก่อสร้าง 146th 156th 158th 164th 164th 157th

- การได้รับกระแสไฟฟ้า - - - - 64th 130th

- การจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ 86th 81st 84th 88th 86th 87th

- การได้รับเครดิต 65th 68th 28th 15th 15th 4th

- การคุ้มครองนักลงทุน 33rd 33rd 38th 41st 44th 46th

- การจ่ายภาษี 71st 125th 142nd 151st 121st 124th

- การซื้อขายข้ามชายแดน 102nd 40th 41st 42nd 49th 49th

- การบังคับใช้สัญญา 112nd 68th 68th 75th 77th 84th

- การแก้ปัญหาการล้มละลาย 85th 88th 82nd 85th 81st 91st

ที่มา: Euromonitor (2012).

Page 41: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád39

จากการวิเคราะห์โดย Euromonitor (2012) พบว่า ร้านอาหารเอเชียแบบให้บริการ

เต็มรูปแบบ (Full-Service restaurant) ในโปแลนด์มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต

โดยคาดการณ์ว่าจ�านวนร้านมีอัตราเพิ่มข้ึนเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี หรือร้อยละ 7.9 ในระยะ

เวลา 5 ปีข้างหน้า (2554-2559) เช่นเดียวกับด้านมูลค่ายอดขายที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการ

เติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.7 ต่อปีและร้อยละ 8.9 ส�าหรับระยะเวลา 5 ปี (2554-2559)

กรำฟประมำณกำรจ�ำนวนร้ำนอำหำรเอเชียแบบให้บริกำรเต็มรูปแบบ(Asian Full-Service Restaurants) ในสำธำรณรัฐโปแลนด์ ปี 2554-2559

ท่ีมา: Euromonitor (2012).

10211045

10621077

1090 1102

950

1000

1050

1100

1150

2554 2555 2556 2557 2558 2559 ป

จำนวนราน

Page 42: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád40

ประมำณกำรมูลค่ำยอดขำยของร้ำนอำหำรเอเชียแบบให้บริกำรเต็มรูปแบบ(Asian Full-Service Restaurants) ในสำธำรณรัฐโปแลนด์ ปี 2554-2559

ที่มา: Euromonitor (2012).

ทั้งนี้ พบว่าร้านอาหารไทยในโปแลนด์มีประมาณ 10-15 ร้าน โดยผู้ประกอบการร้าน

อาหารไทยในกรุงวอร์ซอท่ีมีสัญชาติไทย ยังมีเพียงแค่ 2 รายเท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะเป็นชาว

โปแลนด์ท่ีอาจจะจ้างลูกจ้างไทยไปท�างาน ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงมีความได้เปรียบในด้าน

ความต่างของอาหารไทย และธุรกิจบริการของโปแลนด์ยังคงต้องพัฒนาอีกมาก ซึ่งผู้ประกอบการ

ไทยจะมีโอกาสขยายกิจการได้12

การจัดต้ังร้านอาหารในโปแลนด์

จากข้อมูลในปี 2554 ของส�านักงานการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐ

โปแลนด์ ระบุว่าธุรกิจอาหารไทยและร้านอาหารไทย เป็นกลุ่มธุรกิจท่ีมีโอกาสขยายตลาดสูงและ

มีลู่ทางที่ดีในสาธารณรัฐโปแลนด์ โดยปัจจุบันมีบริษัทไทยต่างๆ ที่เริ่มเข้าไปเปิดตลาดในโปแลนด์

แล้ว เช่น กลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่เคยมาส�ารวจลู่ทาง และ ส.ขอนแก่น ท่ีเข้าไปต้ัง

ฐานการผลิตในโปแลนด์ โดยจ้างให้บริษัท Paruzel เป็นผู้ผลิต ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาการกีดกันจาก

12 ชาคร ศิริสุวรรณสิทธิ์. กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. Europe : บัวแก้วน�าเอกชนเยือนโปแลนด์ เปิดประตูธุรกิจสู่ภูมิภาคยุโรป. 18 ก.ค. 2556.

297.53303.25

310.55317.04

321.57 323.91

280.00

290.00

300.00

310.00

320.00

330.00

2554 2555 2556 2557 2558 2559 ป

ลานเหรียญสหรัฐฯ

Page 43: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád41

การส่งเนื้อหมูเข้าไปขายในตลาดยุโรปและบางส่วนขายให้กับร้านอาหารในโปแลนด์ ซ่ึงปัจจุบัน

ได้ด�าเนินกิจการมาประมาณ 2 ปี ณ เมืองคาโตวิเซ่13

ความจงรักภักดีต่อตราสินค้า (Brand Loyalty) ถือเป็นกุญแจส�าคัญที่จะท�าให้ธุรกิจ

บริการอาหารประสบความส�าเร็จ การแข่งขันที่สูงขึ้นส่งผลให้ธุรกิจแต่ละรายต้องน�าเสนอ

นวัตกรรมและโปรโมช่ันใหม่ๆ แก่ผู้บริโภค เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นเคร่ืองมือที่จะช่วยดึงดูด

ผู้บริโภคและเพิ่มการรับรู้ในตราสินค้าได้เป็นอย่างมาก สังคมออนไลน์ (Social Network) เช่น

Facebook ถูกน�ามาใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดอย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มความจงรักภักดีใน

ตราสินค้า กลยุทธ์ เช่น Loyalty Card ที่น�ามาใช้อย่างแพร่หลายในร้านกาแฟ โดยโปรโมชั่นที่

เป็นที่นิยมมาก คือ ได้รับอาหารฟรีเพิ่มเมื่อซื้ออาหารตามเซ็ตหรือมูลค่าที่ก�าหนด อีกกลยุทธ์หนึ่ง

คือ การท�าความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มท่ัวไป เช่น บางร้านอาหารมีโปรโมชั่น

ฟรีค่าเช่าจักรยาน ฟรีตั๋วคอนเสิร์ต ฯลฯ (Euromonitor, 2012)

� กฎระเบียบการเปิดร้านอาหาร :

จากข้อมูลโดย State Sanitary Inspection ของสาธารณรัฐโปแลนด์ท่ีเป็นหน่วยงาน

รัฐที่ตรวจสอบด้านสุขาภิบาลระบุว่า ผู้ประกอบการใดๆ ที่ด�าเนินงานด้านการผลิตและการตลาด

เกี่ยวกับอาหาร เครื่องส�าอาง และผลิตภัณฑ์ที่เก่ียวกับอาหาร จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก

ผู้ตรวจสอบด้านสุขาภิบาลของภาครัฐ และเป็นไปตามข้อก�าหนดตามบทบัญญัติด้านสุขาภิบาล

และอนามัย ดังนี้

y กฎหมายความปลอดภัยของอาหารและโภชนาการ 25 สิงหาคม 2549 (วารสาร

กฎหมายปี 2006. เลขที่ 171 รายการ. 1225)

y ระเบียบ (EC) No 178/2002 ของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป 28 มกราคม 2545 ว่า

ด้วยการหลักการทั่วไปและข้อก�าหนดของกฎหมายอาหารในการจัดต้ังองค์การความ

ปลอดภัยของอาหารแห่งยุโรป และการก�าหนดขั้นตอนกระบวนการด้านความปลอดภัย

ของอาหาร

13 ผู้จัดการ 360 องศา. (16 มีนาคม 2556). ส.ขอนแก่น... ออกจากก้นครัวไทย สู่โต๊ะอาหารชาวโลก. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2556, จาก http://www.gotomanager.com/content/สขอนแก่น-ออกจากก้นครัวไทย-สู่โต๊ะอาหารชาวโลก.

Page 44: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád42

y ระเบียบ (EC) เลขที่ 852/2004 ของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป 29 เมษายน 2547

ว่าด้วยสุขอนามัยอาหาร

y ต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานรัฐท้องถิ่นอย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนเริ่มด�าเนิน

กิจการ

� การจ่ายค่าจ้าง :

อัตราค่าจ้างขั้นต�่าของโปแลนด์อยู่ที่ 1,600 สวอต้ีโปแลนด์ (หรือ 14,373.34 บาท) ต่อ

เดือน โดยในการท�างานปีแรกของลูกจ้าง นายจ้างสามารถจ่ายเงินเดือนร้อยละ 80 ของอัตรา

ค่าจ้างขั้นต�่าได้ (เช่น 1,280 สวอตี้โปแลนด์) เว้นแต่ในกรณีค่าจ้างของพนักงานแบบเต็มเวลา

(Full-time) แบบรายเดือน จะต้องจ่ายค่าจ้างไม่ต�่าว่าอัตราค่าจ้างข้ันต�่าที่ก�าหนด (1,600 สวอตี้

โปแลนด์) 14

� สถานที่ประกอบการ :

ชาวต่างชาติท่ีต้องการจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องได้รับใบอนุญาตการซ้ืออสังหา-

ริมทรัพย์จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของโปแลนด์ 15

� ระบบภาษี :

ตั้งแต่ปี 2533 โปแลนด์ได้เริ่มพัฒนาระบบภาษีเร่ือยมา ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการลงทุนใน

โปแลนด์และกระตุ้นการสร้างงานเป็นหลัก โดยมีการวางระบบภาษีให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ

ของสหภาพยโุรปเพือ่ความเป็นเอกภาพ โดยปัจจบุนัโปแลนด์มกีารจัดเกบ็ภาษท้ัีงหมด 12 ประเภท

โดยภาษีหลักของโปแลนด์มี 3 ประเภท ได้แก่ ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 16

14 Polish Information and Foreign Investment Agency. (January 1, 2012). Labour regulations. Retrieved March 22, 2013, from http://www.paiz.gov.pl

15 Polish Information and Foreign Investment Agency. (January 1, 2012). Purchase of real estate by foreigners. Retrieved March 22, 2013, from http://www.paiz.gov.pl

16 Polish Information and Foreign Investment Agency). (2012). Taxation. Retrieved March 22, 2013, from http://www.paiz.gov.pl

Page 45: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád43

- ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (Individual Income Tax) : จัดเก็บแบบอัตราก้าวหน้าที่ร้อยละ

18 และ ร้อยละ 32 โดยมีข้อยกเว้นส�าหรับบุคคลที่ท�าธุรกิจให้จัดเก็บภาษีแบบอัตรา

คงที่ท่ีร้อยละ 19 หรือตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องก�าหนด

- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Tax) : จัดเก็บร้อยละ 19

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) : สอดคล้องกับอัตราภาษีของสหภาพยุโรป โดย

มีอัตราขั้นพื้นฐานที่ร้อยละ 23 ยกเว้นร้อยละ 8 ส�าหรับสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง

กับการป้องกันอัคคีภัย ร้านขายของช�าแบบจ�าเพาะ การบริการที่เกี่ยวกับอาหารและ

โรงแรม ศิลปะพื้นบ้าน และการบูรณะสิ่งก่อสร้างส�าหรับสังคม (เช่น บ้านขนาดไม่เกิน

300 ตารางเมตร หรือแฟลตขนาดไม่เกิน 150 ตารางเมตร) และร้อยละ 5 ส�าหรับ

หนังสือและนิตยสาร และผลิตภัณฑ์อาหาร

� ประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่พบ

จากข้อมูลโดยส�านักงานการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์

(2554) ระบุว่า ปัญหาและอุปสรรคการท�าธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐ

โปแลนด์มีดังนี้

- คนโปแลนด์ไม่รู้จักประเทศไทยและสินค้าไทย จึงท�าให้ยังไม่กล้าทดลองสินค้าไทย

และนักธุรกิจโปแลนด์ก็ยังเดินทางมาประเทศไทยไม่มาก เมื่อเทียบกับจ�านวนนักธุรกิจ

โปแลนด์ท่ีเดินทางไปประเทศจีนและเวียดนาม

- นักธุรกิจโปแลนด์ไม่ติดต่อกับคนที่ไม่รู้จัก นักธุรกิจไทยที่ส่งอีเมล์แนะน�าสินค้า/บริษัท

จะไม่ได้รับค�าตอบ จะต้องรู้จักและพบตัวกันก่อน จึงจะเริ่มการติดต่อค้าขายระหว่างกัน

- ความไม่สะดวกในการการเดินทางระหว่างไทย-โปแลนด์ เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินโดยตรง

(Direct Flight) ท�าให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงและไม่สะดวก นักธุรกิจขนาดกลาง

และเล็กไม่อยากเดินทางมาลงทุน โดยมักมองว่าไม่คุ้มค่า นอกจากนี้การไม่มีเท่ียวบิน

โดยตรงยังเป็นปัญหาในการส่งสินค้าผักและผลไม้สดด้วย

- ราคาสินค้าของคู่แข่งจากประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียดนามมีราคาต�่า

Page 46: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád44

การบริโภคในสาธารณรัฐเช็ก

การบริโภคอาหารของชาวเช็ก

ในปี 2554 การบริโภคในธุรกิจบริการด้านอาหาร (Consumer Foodservice) ใน

สาธารณรัฐเช็กมีอัตราการเติบโตท่ีลดลง แต่อยู่ในอัตราที่ลดลงไม่มาก และดีขึ้นจากปี 2553

ด้วยปัจจัยจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศมีจ�านวนมากขึ้น และอาหาร (ที่ขายผ่าน

ภาคธุรกิจบริการ) มีราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ทั้งนี้ ร้านขายอาหารต่างๆ ยังมี

จ�านวนคงที่ ไม่มีจ�านวนการปิดร้านท่ีเป็นนัยส�าคัญ ในขณะที่ร้านเปิดใหม่โดยเฉพาะร้านกาแฟ

น�้าผลไม้ บาร์ และร้านอาหารจานด่วน (Fast Food) มีจ�านวนเพ่ิมขึ้นอย่างรวดเร็ว เพ่ือ

ตอบสนองอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคชาวเช็กและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่ส่วนมากมักเลือก

รับประทานร้านอาหารที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง เนื่องจากยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้จ่าย

ในด้านอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่นิยมไปบริโภคร้านอาหารจานด่วนแทนร้านอาหารแบบให้บริการเต็ม

รูปแบบ (Full-service Restaurant) แทน (Euromonitor, 2012)

ในปีถัดมา 2555 สาธารณรัฐเช็กยังคงต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ซบเซา ทั้งจาก

ปัญหายูโรโซน (Liddle, A. J., 2012) ราคาน�้ามันที่สูงขึ้น และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้น โดย

ผลิตภัณฑ์มวลรวมลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบจากปีก่อน และยอดขายของร้านขายปลีกในเดือน

มกราคม-กันยายน 2555 ลงลดร้อยละ 3.3 เม่ือเทียบจากช่วงเวลาเดือนเดียวกันในปีก่อน จาก

เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ผู้บริโภคค�านึงถึงปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก สินค้าที่มียี่ห้อที่เป็นของ

ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือไฮเปอร์มาร์เก็ตนั้น ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกและมีคุณภาพ

เป็นท่ียอมรับ นอกจากน้ีผู้บริโภคยังนิยมซ้ือสินค้าที่มีการลดราคา หรือการส่งเสริมการขาย

(Promotion) มากขึ้น (กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, 2555)

อย่างไรก็ตามในต้นปี 2556 ที่ผ่านมา การบริโภคของชาวเช็กเริ่มดีขึ้น โดยดัชนีราคา

ผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2556 สูงขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบจากเดือนเดียวกันในปีก่อน สาเหตุมา

จากภาษีที่เพ่ิมขึ้น และราคาของอสังหาริมทรัพย์ อาหารและเครื่องด่ืม ที่ปรับตัวสูงขึ้น (The

Czech Statistical Office, 2013) ส�าหรับในระยะยาว จากการคาดการณ์โดย Business

Monitor พบว่ามูลค่าการบริโภคอาหารต่อคนของชาวเช็กนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ไปจนถึงปี 2560 โดยคาดว่ามูลค่าการบริโภคต่อคนมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 1.49

Page 47: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád45

มูลค่ำกำรบริโภคอำหำรต่อคนของสำธำรณรัฐเช็ก ปี 2553-2560

หมายเหตุ : e/f คือ การประมาณการและคาดการณ์โดย Business Monitor โดยวิเคราะห์จากข้อมูลของ BMI ส�านักงานสถิติสาธารณรัฐเช็ก และธนาคารแห่งชาติสาธารณรัฐเช็ก

ท่ีมา: Business Monitor (2013).

จากการท่ีผู้บริโภคชาวเช็กระมัดระวังการใช้จ่าย ราคาจึงเป็นปัจจัยแรกที่ผู้บริโภค

พิจารณาและอ่อนไหวต่อราคาเป็นอย่างมาก โดยอาหารท่ีอ่อนไหวต่อราคาน้ัน ได้แก่ น�้าผลไม้

เครื่องดื่ม อาหารประเภทเส้น ซอส และถั่ว ในขณะที่คุณภาพของอาหารก็เป็นปัจจัยที่ใช้พิจารณา

ในการเลือกซื้อเช่นกัน โดยสินค้าที่อ่อนไหวต่อด้านคุณภาพนั้น ได้แก่ ผลไม้และผัก ผลิตภัณฑ์

เนื้อ และผลิตภัณฑ์นม (Horska, E., Urgeova, J., & Prokeinova, R.,2011) ในปี 2554 Horska,

E. และคณะได้ท�าการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในสาธารณรัฐเช็กเกี่ยวกับความส�าคัญของการ

รับรู้คุณภาพอาหารต่อการเลือกบริโภค จากผลการศึกษาพบว่า นอกจากปัจจัยด้านราคาแล้ว

ปัจจัยอื่นที่ผู้บริโภคใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้ออาหารเป็นอันดับแรก คือ ความสะอาดถูกอนามัย

(Food hygiene) รองลงมา คือ ด้านรสชาติ (Taste) และระบบคุณภาพระหว่างการผลิต

(The System of Quality Safety during Production) ดังนั้น ฉลากคุณภาพสินค้าจึงมีบทบาท

ส�าคัญมาก และถูกน�าไปใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดส�าหรับสินค้าอาหาร จากผลส�ารวจโดย

1080

1175

1099

10421056

1084

1131

1186

950

1000

1050

1100

1150

1200

2553 2554 2555e 2556f 2557f 2558f 2559f 2560f ป

ลานเหรียญสหรัฐฯ

Page 48: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád46

กระทรวงเกษตรของสาธารณรัฐเช็กในเดือนตุลาคม ปี 2554 พบว่า ผู้สูงอายุและผู้มีการศึกษาสูง

ในเช็กนั้น นิยมรับประทานอาหารที่ผลิตในท้องถ่ิน โดยร้อยละ 95 ของผู้ตอบแบบสอบถามมี

ความพึงพอใจในตราสินค้า (Logo) ที่สื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งกล่าวได้ว่าตรา

สินค้ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

จากความนิยมในการเลือกรับประทานอาหารที่ผลิตในท้องถิ่น ชาวเช็กส่วนใหญ่มี

มุมมองว่าสินค้าของเช็ก เช่น เบียร์ เครื่องดื่มแอลกฮอล์ หรือ ขนมหวาน น้ัน จะมีคุณภาพสูงกว่า

สินค้าท่ีมาจากต่างประเทศ และนิยมซื้อสินค้าที่ไฮเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากมีสินค้าให้เลือกซ้ือ

หลากหลาย บางส่วนเลือกซื้อสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะความสะดวกและความสะอาดเป็น

ระเบียบ ในขณะที่บางกลุ่มซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อ เนื่องจากเข้าถึงง่ายและพนักงานเป็นกันเอง

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้บริโภครุ่นใหม่ท่ีอายุต�่ากว่า 40 ปีและมีการศึกษานั้นนิยมเลือกซื้อสินค้าที่

ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ต ในขณะที่ผู้สูงอายุและมีการศึกษาต�่ากว่าจะนิยมซื้อสินค้าที่

ร้านสะดวกซือ้และร้านลดราคา (กรมส่งเสรมิการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, 2555)

ในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้บริโภคตระหนักถึงสุขภาพโดยเลือกบริโภคผักและผลไม้มากขึ้น

จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้บริโภคหลายคนเริ่มมองหาอาหารสะดวกซื้อมากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์แช่แข็ง

อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้บริโภคเช็กจะหันไปบริโภคอาหารที่รักษาสุขภาพมากขึ้น แต่อาหารส่วนใหญ่

ท่ีนิยมรับประทานยังคงมีแคลอร่ี ไขมัน และน�้าตาลในปริมาณสูง และนิยมซื้ออาหารกระป๋อง

เป็นอาหารประจ�าอยู่ (International Markets Bureau, Agriculture and Agri-Food

Canada, 2012)

ส�าหรับร้านอาหารแบบให้บริการเต็มรูปแบบ (Full-Service Restaurant) ใน

สาธารณรัฐเช็กน้ันส่วนใหญ่เป็นขนาดเล็ก มีเจ้าของเป็นชาวท้องถิ่นและมีสาขาเดียว โดยร้าน

อาหารท้องถิ่นที่มีมากกว่า 1 สาขาและประสบความส�าเร็จนั้น ได้แก่ Pravek (ร้านอาหารสไตล์

ยุคกลาง) Huang He (ร้านอาหารจีน) Italian Chain Villa (ร้านอาหารอิตาเลี่ยน) ร้าน The

Sushi Point Chain (ร้านอาหารญี่ปุ่น) และร้าน Vytopna เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีร้านอาหาร

ท้องถิ่นที่มีสาขากระจายอยู่ตามสถานีรถไฟต่างๆ อีกด้วย (Euromonitor, 2012)

Page 49: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád47

อาหารท้องถิ่นของชาวเช็ก

ในแต่ละมื้อ ชาวเช็กจะเร่ิมด้วยการรับประทานซุป เช่น ซุปมันฝร่ัง ซุปกระเทียม

ก๋วยเต๋ียวซุปไก่ ซุปเน้ือและเก๊ียวตับ ซุปกะหล�่าปลีดอง (Sauerkraut) หรือ ซุปผักชีฝรั่ง ตามด้วย

อาหารจานหลักที่มักเป็นเนื้อสัตว์เป็นหลัก (โดยเฉลี่ย 85 กิโลกรัมต่อคนต่อปี (Business

Monitor, 2013)) และมีกับข้าว โดยร้อยละ 50 นิยมรับประทานเนื้อหมู รองลงมาเป็นเนื้อไก่

และเนื้อวัว ส่วนเนื้อปลาไม่ค่อยรับประทานเป็นประจ�า เช่น ปลาแซลมอน และอาหารทะเลจะมี

เฉพาะในร้านอาหาร ในขณะท่ีปลาคาร์พจะรับประทานเฉพาะเทศกาลคริสมาสต์อีฟ กับข้าว

ส่วนใหญ่เป็นมันฝรั่ง ข้าว และสลัด โดยซุปและสลัดจะเสิร์ฟพร้อม ขนมปัง ซอส และเครื่องปรุงรส

ส่วนขนมและของหวาน มีไขมันสูง มีส่วนผสมของเนยและวิปครีม (International Markets

Bureau, Agriculture and Agri-Food Canada, 2012 อ้างถึง My Czech Republic, 2010)

Sauerkraut Soup ภำพโดย www.slovakcooking.com

Page 50: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád48

การวิเคราะห์ตลาดอาหารโดย SWOT Analysis

จากการวิเคราะห์ SWOT Analysis ของตลาดอาหารโดย Business Monitor (2013)

พบว่าในอุตสาหกรรมอาหารของสาธารณรัฐเช็กมีรายละเอียด ดังนี้

จุดแข็ง (Strengths)

� เช็กจัดได้ว่าเป็นหนึ่งประเทศที่อุตสาหกรรมด้านอาหารมีการพัฒนามากท่ีสุดใน

ยุโรปตะวันออก

� การบริโภคอาหารต่อคนสูง

� มีการแข่งขันในธุรกิจอาหารสูง

จุดอ่อน (Weaknesses)

� การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ต�่าส่งผลกระทบต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารพรีเมี่ยม

� การบริโภคสินค้าตราห้าง หรือสินค้ายี่ห้อของผู้ค้าปลีก (Private Label Products)

ที่มากขึ้น ส่งผลด้านลบต่อมูลค่ายอดขายรวม

� ผู้ผลิตนมก�าลังเผชิญกับปัญหาการแข่งขันในประเทศที่สูงขึ้น และประสบปัญหา

การขาดแคลนวัตถุดิบ

โอกาส (Opportunities)

� ผลิตภัณฑ์อาหารที่เพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value-added Food Products) และผลิตภัณฑ์

อาหารเพื่อสุขภาพ (Functional Food Products) เช่น นม เป็นต้น ยังคงมีการ

เติบโตที่ดีในระยะยาว และสร้างก�าไรได้มากขึ้น

� ตลาดอาหารเสริม (Food Supplements) และอาหารเพื่อสุขภาพ (Functional

Food) มีศักยภาพ และมีการเติบโตท่ีสูงมาก

� การเจาะตลาดของไฮเปอร์มาร์เก็ต และการขยายตัวซูเปอร์มาร์เก็ตเปิดโอกาสให้

ผู้บริโภคมีสินค้าให้เลือกหลากหลายมากขึ้น

Page 51: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád49

อุปสรรค (Threats)

� จากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ส่งผลต่อการฟื้นตัวของการบริโภค

ของผู้บริโภคในประเทศ

� การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment-FDI) ก�าลังเพ่ิมขึ้น

โดยเน้นที่กลุ่มประเทศเกิดใหม่ในยุโรป

สถานภาพการท�าธุรกิจร้านอาหารไทย

ปัจจุบัน การท�าธุรกิจในสาธารณรัฐเช็กนั้นพบว่ามีความยาก และไม่สะดวกเท่ากับ

ประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป โดยในปี 2555 แม้จะมีการจัดอันดับให้เช็กเป็นประเทศที่ง่ายในการ

เข้าไปท�าธุรกิจเป็นประเทศท่ี 67 จาก 185 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่สูงขึ้นจากสองปี

ก่อนหน้า แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดย่อยจะพบว่าความง่ายในการเริ่มท�าธุรกิจในปีเดียวกันนั้น

อยู่ในอันดับที่ 136 และเป็นอันดับที่ต�่าลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามในช่วง

2 ปีที่ผ่านมาพบว่าสาธารณรัฐเช็กมีการแก้ไขปัญหาการล้มละลายได้ดีมาก โดยจากเดิมในปี 2553

เช็กได้รับการจัดอันดับท่ี 116 ซึ่งต่อมาได้ข้ึนเป็นอันดับที่ 32 และ 34 ในปี 2554 และ 2555

ตามล�าดับ

Page 52: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád50

กำรจัดอันดับควำมง่ำยในกำรเข้ำไปประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของสำธำรณรัฐเช็ก

ปี 2550 2551 2552 2553 2554 2555

อันดับรวม (จำก 185 ประเทศท่ัวโลก) 56th 65th 66th 82nd 70th 67th

- ความง่ายในการเริ่มท�าธุรกิจ 74th 91st 86th 113rd 130th 136th

- การขอใบอนุญาตก่อสร้าง 110th 83rd 86th 76th 76th 76th

- การได้รับกระแสไฟฟ้า - - - - 149th 141st

- การจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ 58th 54th 65th 62nd 47th 33rd

- การได้รับเครดิต 21st 26th 43rd 43rd 46th 52nd

- การคุ้มครองนักลงทุน 83rd 83rd 88th 93rd 93rd 98th

- การจ่ายภาษี 110th 113rd 118th 121st 128th 120th

- การซื้อขายข้ามชายแดน 41st 30th 49th 53rd 62nd 71st

- การบังคับใช้สัญญา 57th 97th 95th 82nd 78th 76th

- การแก้ปัญหาการล้มละลาย 113rd 108th 113rd 116th 32nd 34th

ที่มา: Euromonitor (2012).

จากการวิเคราะห์โดย Euromonitor (2012) พบว่า ร้านอาหารเอเชียแบบให้บริการ

เต็มรูปแบบ (Full Service Restaurant) ในสาธารณรัฐเช็ก มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องใน

อนาคต โดยคาดการณ์ว่าจ�านวนร้านมีอัตราเพ่ิมขึ้นเฉลี่ยท่ีร้อยละ 0.5 ต่อปี หรือ ร้อยละ 2.7

ส�าหรับระยะเวลารวมตลอด 5 ปี (2554-2559) เช่นเดียวกับด้านมูลค่ายอดขายที่คาดการณ์ว่าจะ

มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี และร้อยละ 1.4 ส�าหรับระยะเวลา 5 ปี (2554-2559)

Page 53: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád51

กำรประมำณกำรจ�ำนวนร้ำนอำหำรเอเชียแบบให้บริกำรเต็มรูปแบบ (Full-Service Restaurants) ในสำธำรณรัฐเช็ก ปี 2554-2556 - ลักษณะร้ำนท่ีประกอบกำรแบบอิสระ (Independent)

ที่มา: Euromonitor (2012).

กำรประมำณกำรมูลค่ำยอดขำยของร้ำนอำหำรเอเชียแบบให้บริกำรเต็มรูปแบบ(Full-Service Restaurants) ในสำธำรณรัฐเช็ก ปี 2554-2559

ท่ีมา: Euromonitor (2012).

837840

844849

854860

820

830

840

850

860

870

2554 2555 2556 2557 2558 2559 ป

จำนวนราน

140.65

138.04 138.24

140.28

142.48 142.62

134.00

136.00

138.00

140.00

142.00

144.00

2554 2555 2556 2557 2558 2016 ป

ลานเหรียญสหรัฐฯ

Page 54: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád52

ในสาธารณรัฐเช็ก ร้านอาหารแบบให้บริการเต็มรูปแบบที่มีบรรยากาศสบายๆ (Casual

dining full-service restaurant) นั้นยังไม่แพร่หลายมากนัก ผู้บริโภคชาวเช็กที่ชอบรับประทาน

อาหารในร้านลักษณะนี้จึงหันไปเข้าผับท้องถิ่นแทน ในปัจจุบัน มีกลุ่มเครือธุรกิจ 2 รายที่เปิด

ร้านอาหารประเภทนี้ ได้แก่ TGI Friday’s และ Sphinx โดย TGI Friday’s เปิดให้บริการ 3 ร้าน

ในสาธารณรัฐเช็ก ส่วน Sphinx เปิดให้บริการเพียงร้านเดียวซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์การค้าในกรุงปราก

(Euromonitor, 2012)

ส�าหรับร้านอาหารไทย พบว่ายังมีจ�านวนไม่มาก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับร้านอาหาร

ต่างชาติอื่นๆ ร้านอาหารจีนจานด่วนน้ันมีมากที่สุดที่ประมาณ 200 - 300 ร้าน ดังนั้นการเปิด

ร้านอาหารไทยหรือประเภทอาหารจานด่วนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งส�าหรับคนไทยที่อาศัยอยู่ใน

ต่างแดนที่มีเงินทุน หากเจ้าของร้านฯ มีความรู้ภาษาอังกฤษและภาษาเช็กในการติดต่อสื่อสาร

ความรู้เรื่องร้านอาหาร และการปรับรสชาติให้สอดคล้องกับผู้บริโภคท้องถิ่น จะช่วยให้การเปิด

ร้านอาหารไทยประสบความส�าเร็จมากข้ึน 17

ปัจจุบันรัฐบาลไทย โดยกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายเน้นให้กระจายสินค้าและบริการ

ของไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมองว่าสาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศหนึ่งที่มีความ

ได้เปรียบทางด้านท�าเลที่ต้ัง ที่ล้อมรอบด้วยเยอรมนี โปแลนด์ ออสเตรีย และสโลวาเกีย และยัง

มีศักยภาพด้านการผลิต มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยใช้เช็กเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออก

ไปยังประเทศข้างเคียง เช่นเดียวกับรัฐบาลเช็กที่มีนโยบายสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนใน

ประเทศ จึงเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้ภาคการท่องเที่ยวของเช็ก

สร้างรายได้หลักเป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยมีนักท่องเท่ียวกว่าปีละ 100 ล้านคน และภาค

บริการยังไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เพียงพอและมีคุณภาพที่ด้อยกว่าไทย ร้านอาหารไทย

ในเช็กได้รับความนิยมจากชาวเช็กและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบัน ในปี 2556 มีจ�านวน

12 ร้าน 18 เพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2548 ที่มีจ�านวน 7 ร้าน (สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก สา

ธารณรัฐเช็ก, 2548) โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงปรากเป็นหลัก

17 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก. (7 ตุลาคม 2548). ร้านอาหารไทยในสาธารณรัฐเช็ก. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://news.thaieurope.net/content/view/605/126/

18 ผู้จัดการออนไลน์. (12 กุมภาพันธ์ 2556). แนะสาธารณรัฐเช็ก ประตูการค้ายุโรปตะวันออกน่าลงทุน. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ ์2556, จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000018250.

Page 55: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád53

การจัดต้ังร้านอาหารในเช็ก

� กฎระเบียบการเปิดร้านอาหาร

จากข้อมูลโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปราก (2548) และส�านักงานส่งเสริม

การค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก (2554) สรุปได้ว่าการยื่นขออนุญาตจัดตั้ง

บริษัทในเช็กนั้นไม่มีข้อจ�ากัดเรื่องของเงินลงทุนหรือการเป็นเจ้าของกิจการ ดังนั้นชาวต่างชาติ

จึงเป็นเจ้าของได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่จ�าเป็นต้องมีผู้ช่วยเป็นชาวเช็ก ในการยื่นขอใบอนุญาตต่างๆ

หรือจ�าเป็นต้องจ้างทนายชาวเช็กในการท�าเร่ืองขอเปิดร้านฯ ท้ังนี้จะต้องยื่นเรื่องขอจัดตั้งบริษัท

ที่ Commercial Register ท้ังนี้ ร้านอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางจะ

จัดตั้งโดยจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทจ�ากัด (Limited Liability Company) หรือในภาษาเช็ก

คือ S.R.O. (Spolecnost s Rucenim Omezenym) โดยผู้ยื่นขออนุญาติต้องเตรียมเอกสาร

ดังนี้

- ยื่นขอใบอนุญาตประกอบการค้า (Trade Permit) จากทางการ

- หลักฐานเงินทุนจดทะเบียน 200,000 โครูน่าเช็ก (ประมาณ 291,000 บาท) และต้อง

แจ้งให้ Commercial Register ทราบอย่างน้อย 90 วันหลังบริษัทได้รับใบอนุญาต

- กรณีที่จะปรับปรุงหรือตกแต่งสถานท่ีจะต้องขออนุญาตจาก Construction Depart-

ment (Colaudation) ก่อน และหากที่ต้ังร้านอยู่ในเขตประวัติศาสตร์ของเมืองปราก

จะต้องขออนญุาตจาก Historical Sites Protection หรอื Conservation Department

ด้วย

- ต้องมีแผนป้องกันอัคคีภัย มีระบบติดตั้งจากบริษัทที่ได้รับการยอมรับ มีเงินลงทุนใน

การจัดระบบดังกล่าวอย่างน้อย 5,000 โครูน่าเช็ก

- เจ้าของกิจการจะต้องยื่นแบบร้าน ครัวและข้อมูลอื่นๆ ให้สอดคล้องกับระเบียบ

สุขอนามัยและระเบียบการประกอบการร้านอาหาร เช่น หากเป็นร้านเช่าที่มีผู้อยู่อาศัย

อยู่ชั้นบนของร้านก็จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อยู่อาศัยอื่นๆ

- ต้องมีใบอนุญาตที่ให้ประกอบการตามมาตรฐาน Hazard Analysis Critical Control

Points (HAACP)

Page 56: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád54

ทั้งน้ี ระยะเวลาในการเปิดกิจการ 6 - 8 เดือน ซ่ึงต้องผ่านการพิจารณาจากหลาย

หน่วยงาน แต่หากเอกสารต่างๆ มีความพร้อมในเร่ืองเงินทุน และด�าเนินการถูกต้อง ก็จะมีความ

รวดเร็วขึ้น

� การจ่ายค่าจ้าง

รัฐบาลสาธารณรัฐเช็กก�าหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต�่าอยู่ที่ 8,000 โครูนาเช็ก

(398.29 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 11,690.56 บาท) ต่อเดือน19 โดยมีชั่วโมงการท�างาน 40 ชั่วโมงต่อ

สัปดาห์ 20 จากข้อมูลในปี 2551 พบว่ารายได้เฉลี่ยของพ่อครัวแม่ครัวในกรุงปรากอยู่ที่ 8,591

ยูโร/ปี (หรือประมาณ 28,000-30,000 บาท/เดือน) 21 และหากแบ่งเป็นระดับของพ่อครัวจะ

พบว่ารายได้เฉลี่ยของ Commis Chef อยู่ท่ี 20,000-25,000 โครูน่าเช็กต่อเดือน (32,000-

40,000 บาทต่อเดือน) Chef de Partie อยู่ที่ 30,000 โครูน่าเช็กต่อเดือน (49,000 บาทต่อ

เดือน) 22

ทั้งน้ี ส�าหรับพ่อครัวแม่ครัวชาวไทยนั้น จากข้อมูลโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ

กรุงปราก (2548) พบว่าในกรุงปรากมีการจ้างในอัตราเงินเดือนประมาณ 15,000 โครูน่าเช็ก

(22,000 บาท) ร้านอาหารไทยบางแห่งมีการจ้างแม่ครัวมาจากเมืองไทย และมีการเช่าบ้านพัก

ให้แก่พนักงานแม่ครัวคนไทย และให้สวัสดิการอ่ืนๆ แล้วแต่ตกลง ส่วนพนักงานเสิร์ฟมีค่าจ้างต่อ

เดือนท่ีประมาณ 8,000 - 10,000 โครูน่าเช็ก (11,700 – 14,600 บาท)

� สถานที่ประกอบการ

การหาท�าเลที่ดีในใจกลางเมืองค่อนข้างเป็นปัญหา เนื่องจากมีค่าเช่าและเงินเรียกเก็บ

กินเปล่าเมื่อเร่ิมต้นสัญญาท่ีสูง เช่น ย่าน Old Town ค่าเช่าอยู่ที่ประมาณ 150,000 – 250,000

โครูนาเช็กต่อเดือน (220,000 – 363,000 บาท) และพ้ืนที่ไกลออกไปจะอยู่ที่ 80,000 โครูนาเช็ก

ต่อเดือน (116,000 บาท) ซ่ึงยังไม่รวมค่าเงินเรียกเก็บกินเปล่าเมื่อเริ่มต้นสัญญา ทั้งนี้ระยะเวลา

19 Ministry of Labour and Social Affairs. (2012) อ้างใน Pavelka, T. (2012). The Minimum Wage in the Czech Republic – The Instrument for Motivation to Work?. The 6th International Days of Statistics and Economics. Prague, September 13-15, 2012.

20 Ministry of Labour and Social Affairs. (2012) อ้างใน Eurostat. (2013, January 1). Monthly Minimum Wages – Country Specific Information. Minimum Wage Statistics. Retrieved 2012, Mar 23, from http://epp.eurostat.ec.europa.eu/cache/ITY_SDDS/Annexes/earn_minw_esms_an4.pdf

21 Bord Bia Irish Food Board. (2008). Czech Republic Market Overview.22 http://www.expats.cz

Page 57: Thai kitchen in visegrad

การบริโภคอาหารใน Visegrád55

การให้เช่าขึ้นอยู่กับการตกลงกับผู้ให้เช่าสถานที่นั้นๆ (สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปราก,

2548)

� ระบบภาษี

จากข้อมูลโดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแห่งสาธารณรัฐเช็ก ในปีที่ผ่านมา

ได้มีการปรับอัตราการจัดเก็บภาษีต่างๆ โดยมีผลบังคับใช้ในปี 2556 ดังนี้

- ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (Individual Income Tax) : ใช้อัตราภาษีแบบคงที่โดยจัดเก็บ

ภาษีเงินได้ส่วนบุคคลที่ร้อยละ 15 ท้ังส�าหรับชาวเช็กและชาวต่างชาติ

- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Tax) : จัดเก็บท่ีอัตราร้อยละ 19

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) : อัตราปกติจัดเก็บที่ร้อยละ 21 และร้อยละ 15

ในกรณีลดภาษี โดยบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2556 ถึงปี 2558

Page 58: Thai kitchen in visegrad
Page 59: Thai kitchen in visegrad

บทที่ 3

ผลกำรส�ำรวจ

Page 60: Thai kitchen in visegrad
Page 61: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ59

จากวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการทราบพฤติกรรมและปัจจัยในการเลือก

รับประทานอาหารในร้านอาหารไทยในประเทศนั้น ทางโครงการฯ ได้มีการส�ารวจกลุ่มตัวอย่าง

โดยการเก็บแบบสอบถามผู้บริโภค และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยใน 3 ประเทศ

โดยการเก็บแบบสอบถามนั้น เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านและ

ปัจจัยในการเลือกรับประทานร้านอาหารไทยในประเทศดังกล่าว ส่วนการสัมภาษณ์ผู้ประกอบ

การร้านอาหารไทยใน 3 ประเทศน้ัน เพื่อให้ทราบถึงสภาพแวดล้อม การด�าเนินธุรกิจ และปัญหา

ที่พบ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมีรายละเอียดดังนี้

พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน

จากผลส�ารวจพบว่าชาวฮังการีและชาวเช็กรับประทานอาหารนอกบ้านมีความถี่มาก

ที่สุดที่ 5-10 ครั้งต่อสัปดาห์ ในขณะที่ชาวโปแลนด์นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน 2-3 ครั้งต่อ

เดือน

แสดงควำมถี่ในกำรรับประทำนอำหำรนอกบ้ำน (ร้อยละ)

ควำมถี่ในกำรรับประทำนอำหำรนอกบ้ำน

ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

น้อยกว่ำ 1 ครั้งต่อเดือน 4.17 4.17 4.55

1 ครั้งต่อเดือน 4.17 29.17 18.18

2 – 3 คร้ังต่อเดือน 8.33 33.33 18.18

1 ครั้งต่อสัปดำห์ 8.33 12.50 13.64

2 – 5 ครั้งต่อสัปดำห์ 29.17 8.33 18.18

5 – 10 คร้ังต่อสัปดำห์ 33.33 8.33 22.73

มำกกว่ำ 10 ครั้งต่อสัปดำห์ 12.5 4.17 4.55

Page 62: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád60

จากผลส�ารวจพบว่า ชาวฮังการีนิยมรับประทานนอกบ้านส่วนมากเป็นช่วงเวลาอาหาร

กลางวัน และมื้อเย็นรองลงมา ในขณะที่ชาวโปแลนด์นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านส่วนมาก

เป็นช่วงมื้อเย็นและมื้อกลางวันรองลงมา ส่วนชาวเช็กนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านส่วนมาก

เป็นมื้อเย็น

แสดงช่วงเวลำที่นิยมรับประทำนอำหำรนอกบ้ำน (ร้อยละ)

ช่วงเวลำ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

ส่วนมำกเป็นช่วงเวลำอำหำรกลำงวัน 45.83 33.33 13.64

ช่วงเวลำอำหำรกลำงวัน 4.17 4.17 9.09

ส่วนมำกเป็นช่วงเวลำอำหำรเย็น 37.5 41.67 59.09

ช่วงเวลำอำหำรเย็น 12.5 20.83 18.18

จากผลส�ารวจพบว่าในมื้อเย็น ชาวเช็กนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน 2-3 ครั้งต่อ

เดือน รองลงมาเป็นชาวโปแลนด์ท่ีรับประทานอาหารนอกบ้าน 1 ครั้ง หรือน้อยกว่า 1 ครั้งต่อ

เดือน ในขณะที่ชาวฮังการีรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน

แสดงควำมถี่ในกำรรับประทำนอำหำรเย็นนอกบ้ำน (ร้อยละ)

ควำมถี่ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

น้อยกว่ำ 1 ครั้งต่อเดือน 41.67 25 4.55

1 ครั้งต่อเดือน 29.17 29.17 27.27

2 – 3 ครั้งต่อเดือน 12.50 25 40.91

1 ครั้งต่อสัปดำห์ 8.33 8.33 18.18

2 – 5 ครั้งต่อสัปดำห์ 4.17 8.33 4.55

5 – 10 ครั้งต่อสัปดำห์ 4.17 4.17 4.55

มำกกว่ำ 10 คร้ังต่อสัปดำห์ 0 0 0

Page 63: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ61

ทั้ง 3 ประเทศนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านที่มีประเภทของร้านใกล้เคียงกัน คือ

นิยมรับประทานที่ ร้านอาหาร/ภัตตาคาร ศูนย์อาหาร และร้านอาหารจานด่วนเป็นหลัก โดย 3

อันดับสถานที่แรกที่ชาวฮังการีนิยมไปรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นอันดับ 1 คือ ร้านอาหาร

จานด่วน รองลงมาเป็นร้านอาหาร/ภัตตาคาร และศูนย์อาหาร ตามล�าดับ ส�าหรับชาวโปแลนด์

นิยมไปรับประทานอาหารนอกบ้านที่ร้านอาหาร/ภัตตาคารเป็นอันดับแรก ตามด้วยศูนย์อาหาร

และร้านอาหารจานด่วน เช่นเดียวกับชาวเช็กที่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหาร/

ภัตตาคาร รองลงมาเป็นร้านอาหารจานด่วน และคาเฟ่/บาร์

แสดงอันดับประเภทของร้ำนอำหำรท่ีรับประทำนนอกบ้ำน

อันดับ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

1 ร้ำนอำหำรจำนด่วน ร้ำนอำหำร/ภัตตำคำร ร้ำนอำหำร/ภัตตำคำร

2 ร้ำนอำหำร/ภัตตำคำร ศูนย์อำหำร ร้ำนอำหำรจำนด่วน

3 ศูนย์อำหำร ร้ำนอำหำรจำนด่วน คำเฟ่/บำร์

4 ร้านค้าขนาดเล็ก/แผงลอย ร้านค้าขนาดเล็ก/แผงลอย ศูนย์อาหาร

5 คาเฟ่/บาร์ คาเฟ่/บาร์ ร้านค้าขนาดเล็ก/แผงลอย

3 ปัจจัยอันดับแรกที่ชาวฮังการีค�านึงถึงเมื่อรับประทานอาหารนอกบ้านนั้น ได้แก่

ปัจจัยด้านราคา การบริการของร้าน และการเลือกทานตามกระแสนิยม ในขณะที่ชาวโปแลนด์

จะเน้นพจิารณาถงึคณุภาพของอาหารเป็นหลกั ตามด้วยบรรยากาศและการบริการของร้านอาหาร

เช่นเดียวกับชาวเช็กที่เน้นเรื่องของคุณภาพของอาหารเป็นอันดับแรก ตามด้วยการพิจารณาด้าน

ราคาและบรรยากาศของร้านอาหาร

Page 64: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád62

แสดงอันดับปัจจัยท่ีท�ำให้เลือกรับประทำนอำหำรนอกบ้ำน

อันดับ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

1 รำคำ คุณภำพของอำหำร คุณภำพของอำหำร

2 กำรบริกำรของร้ำน บรรยำกำศภำยในร้ำน รำคำ

3 กระแสนิยม กำรบริกำรของร้ำน บรรยำกำศภำยในร้ำน

4 บรรยากาศภายในร้าน ราคา การบริการของร้าน

5 คุณภาพของอาหาร กระแสนิยม สุขภาพ/ปลอดสารพิษ

6 สุขภาพ/ปลอดสารพิษ สุขภาพ/ปลอดสารพิษ กระแสนิยม

ชาวฮังการีและชาวเช็กมากกว่าร้อยละ 60 เลือกรับประทานอาหารนอกบ้านเพื่อการ

พบปะสังสรรค์กับเพื่อนหรือครอบครัวเป็นหลัก เช่นเดียวกับชาวโปแลนด์ที่จะรับประทานอาหาร

นอกบ้านเพื่อการพบปะเพื่อนและครอบครัว และรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นปรกติอยู่แล้ว

แสดงถึงเหตุผลที่เลือกรับประทำนอำหำรนอกบ้ำน (ร้อยละ)

เหตุผล ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

รับประทำนอำหำรนอกบ้ำนเป็นปรกติ 20.9 37.3 18.1

รับประทำนอำหำรกับคนรัก 8.4 12.5 4.7

เจรจำธุรกิจ 4.1 4.6 4.7

พบปะสังสรรค์กับเพ่ือน หรือ ครอบครัว 62.6 37.3 67.9

ฉลองในโอกำสพิเศษ เช่น วันเกิด, วันครบรอบ, งำนแต่งงำน ฯลฯ

4.1 8.3 4.7

อื่นๆ 0.0 0.0 0.0

Page 65: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ63

จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่าชาวฮังการีและชาวโปแลนด์ส่วนใหญ่มียอดค่าใช้จ่าย

เฉลี่ยต่อคนในการรับประทานอาหารนอกบ้านที่ 21-25 ยูโรต่อคน ส่วนชาวเช็กมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย

ที่ต�่ากว่าเล็กน้อย ที่ 16-20 ยูโรต่อคน

แสดงค่ำใช้จ่ำยโดยเฉลี่ยต่อคนท่ีรับประทำนอำหำรนอกบ้ำน (ร้อยละ)

ค่ำใช้จ่ำยเฉลี่ยต่อคน ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

น้อยกว่ำ 10 ยูโร 4.1 4.3 0.0

11 – 15 ยูโร 25.2 4.3 31.8

16 - 20ยูโร 20.9 12.5 36.2

21 – 25 ยูโร 33.3 49.9 13.7

26 – 30 ยูโร 12.5 20.8 9.3

มำกกว่ำ 30 ยูโร 4.1 8.3 9.0

ชาวฮังการีและชาวเช็กมากกว่าร้อยละ 50 นิยมไปรับประทานอาหารนอกบ้านร่วมกับ

อีก 2-3 คน ในขณะที่ชาวโปแลนด์จะรับประทานร่วมกับกลุ่มคนที่ใหญ่ข้ึนไป คือ 4-5 คน

แสดงจ�ำนวนบุคคลที่ร่วมรับประทำนอำหำรนอกบ้ำนด้วย (ร้อยละ)

จ�ำนวนบุคคล ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

ไม่มี 8.4 4.3 4.7

1 คน 20.9 12.5 18.1

2 – 3 คน 54.2 37.3 54.5

4 – 5 คน 8.4 41.6 18.1

มำกกว่ำ 6 คน 8.1 4.3 4.7

Page 66: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád64

ชาวโปแลนด์และชาวเช็กส่วนมากจะใช้เวลาในการรับประทานอาหารนอกบ้านเฉลี่ยท่ี

1-1.30 ช่ัวโมง ส่วนชาวโปแลนด์จะใช้เวลาที่น้อยกว่า คือ 30-60 นาที

แสดงเวลำโดยเฉล่ียที่ต่อคนท่ีใช้ในกำรรับประทำนอำหำรนอกบ้ำน (ร้อยละ)

ระยะเวลำเฉลี่ย ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

น้อยกว่ำ 30 นำที 8.4 4.3 4.7

30 – 60 นำที 20.6 49.9 18.1

1 – 1.30 ชั่วโมง 50.1 29.1 40.8

1.31 – 2 ชั่วโมง 12.5 12.5 27.1

มำกกว่ำ 1.30 ชั่วโมง 8.4 4.3 9.3

พฤติกรรมการรับประทานอาหารไทยของผู้ตอบแบบสอบถาม

ผู้ตอบแบบสอบถามชาวโปแลนด์และชาวเช็กส่วนใหญ่ ร้อยละ 75 ข้ึนไป เคยรับ

ประทานอาหารไทย ในขณะท่ีชาวฮังการีร้อยละ 58.3 เคยรับประทานอาหารไทย และไม่เคย

รับประทานอาหารไทยถึงร้อยละ 41.7

แสดงสัดส่วนกำรรับประทำนอำหำรไทย (ร้อยละ)

กำรรับประทำนอำหำรไทย ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

เคยรับประทำนอำหำรไทย 58.3 79.2 81.6

ไม่เคยรับประทำนอำหำรไทย 41.7 20.8 18.4

Page 67: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ65

ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยรับประทานอาหารไทย

ส�าหรับผู้ที่เคยรับประทานอาหารไทยน้ัน จากผลแบบสอบถามมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มตัวอย่างของทั้ง 3 ประเทศ ฮังการี โปแลนด์ และเช็ก มากกว่าร้อยละ 65 ขึ้นไป

นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นอาหารไทยส่วนมากเป็นช่วงม้ือเย็น

แสดงช่วงเวลำที่รับประทำนอำหำรนอกบ้ำนเป็นอำหำรไทย (ร้อยละ)

ช่วงเวลำ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

ส่วนมำกเป็นช่วงเวลำอำหำรกลำงวัน 14.4 0.0 16.8

ส่วนมำกเป็นช่วงเวลำอำหำรเย็น 71.6 73.7 66.8

ช่วงเวลำอำหำรกลำงวัน 7.0 10.4 11.1

ช่วงเวลำอำหำรเย็น 7.0 15.8 5.4

การรับประทานอาหารนอกบ้านที่เป็นอาหารไทยนั้น กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ประเทศนิยม

รับประทานที่ร้านอาหารไทยโดยตรง โดยจะมีบางส่วนที่รับประทาน ณ ร้านที่ไม่ใช่ร้านอาหารไทย

หรือปรุงรับประทานเองที่บ้าน

แสดงสถำนที่ที่รับประทำนอำหำรไทย

ประเภทของสถำนท่ี ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

ร้ำนอำหำรไทย 60.7 54.5 66.7

ไม่ใช่ร้ำนอำหำรไทย 13.0 33.3 14.8

ปรุงรับประทำนเองที่บ้ำน 8.8 6.0 14.8

อำหำรก่ึงส�ำเร็จรูป / อำหำรพร้อมรับประทำน 8.8 3.1 0.0

งำนจัดแสดงอำหำร / งำนเทศกำลอำหำร 8.8 3.1 3.8

อื่น 0.0 0.0 0.0

Page 68: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád66

ทั้งนี้ ปัจจัย 2 อันดับแรกที่ท�าให้ทุกกลุ่มประเทศตัวอย่างเลือกรับประทานอาหารไทย

เหมือนกัน คือ คุณภาพของอาหาร อันดับที่ 1 และราคา อันดับที่ 2 ส่วนปัจจัยอันดับที่ 3 ที่รอง

ลงมา กลุ่มตัวอย่างจากฮังการี เลือกรับประทานตามกระแสนิยม ชาวโปแลนด์เลือกเพราะ

บรรยากาศในร้าน ในขณะที่ชาวเช็กเลือกรับประทานเพราะอาหารไทยเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

และปลอดสารพิษ

แสดงอันดับปัจจัยท่ีท�ำให้รับประทำนอำหำรไทย

อันดับ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

1 คุณภำพของอำหำร คุณภำพของอำหำร คุณภำพของอำหำร

2 รำคำ รำคำ รำคำ

3 กระแสนิยม บรรยำกำศภำยในร้ำน เพื่อสุขภำพ / ปลอดสำรพิษ

4 บรรยากาศภายในร้าน กระแสนิยม บรรยากาศภายในร้าน

5 เพื่อสุขภาพ / ปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพ / ปลอดสารพิษ กระแสนิยม

6 การบริการของร้าน การบริการของร้าน การบริการของร้าน

จากตารางต่อไปนี้จะเห็นได้ว่า ในปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างชาวเช็กเคยรับประทาน

อาหารไทยถี่ที่สุด คือ 6-11 ครั้ง รองลงมาคือชาวโปแลนด์ ที่ 3-5 ครั้ง และชาวฮังการีที่มีความถี่

น้อยที่สุด คือ 1-2 ครั้ง

Page 69: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ67

แสดงจ�ำนวนครั้งที่เคยรับประทำนอำหำรไทยในปีท่ีผ่ำนมำ

จ�ำนวนคร้ัง ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

มำกกว่ำ 12 คร้ัง 7.0 10.4 22.1

6 – 11 ครั้ง 14.4 10.4 33.6

3 – 5 คร้ัง 28.4 47.5 22.1

1 – 2 คร้ัง 47.9 31.7 22.1

0 ครั้ง 2.3 0.0 0

โดยส่วนมากชาวโปแลนด์รับประทานอาหารไทยโดยรับเป็นการรับประทานอาหาร

นอกบ้านเป็นปรกติอยู่แล้ว ส่วนชาวเช็กนิยมเลือกรับประทานอาหารไทยนอกบ้านด้วยโอกาส

เพ่ือการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนหรือครอบครัวเป็นหลัก และมีบางส่วนที่รับประทานนอกบ้าน

เป็นปรกติ เช่นเดียวกับชาวฮังการีที่ทั้งรับประทานอาหารไทยนอกบ้านเป็นปรกติอยู่แล้ว และ

นิยมรับประทานในโอกาสเพื่อการพบปะเพื่อนและครอบครัว

แสดงวัตถุประสงค์ที่เลือกรับประทำนอำหำรไทยนอกบ้ำน (ร้อยละ)

วัตถุประสงค์ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

รับประทานอาหารนอกบ้านเป็นปรกติ 35.8 42.1 38.9

รับประทานอาหารกับคนรัก 7.0 5.4 5.7

เจรจาธุรกิจ 7.0 5.4 5.7

พบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือ ครอบครัว 35.8 41.7 49.6

ฉลองในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด,วันครบรอบ,งานแต่งงาน ฯลฯ

14.4 5.4 0.0

อื่นๆ 0.0 0.0 0.0

Page 70: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád68

ผู้ที่เคยรับประทานอาหารไทยนั้น ส่วนใหญ่รู้จักอาหารไทยมาจากเพื่อนและครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 29.5 ส�าหรับชาวฮังการี ร้อยละ 32.6 ส�าหรับชาวโปแลนด์ และร้อยละ 23.1 ส�าหรับชาวเช็ก นอกจากนี้ ชาวเช็กร้อยละ 23.1 ยังรู้จักอาหารไทยจากการเคยมาประเทศไทยอีกด้วย

แสดงช่องทำงหรือสื่อที่ท�ำให้รู้จักอำหำรไทย (ร้อยละ)

ช่องทำง/สื่อ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

เพื่อน / ครอบครัว 29.5 32.6 23.1

อินเตอร์เน็ต 18.2 18.6 9.6

โทรทัศน์ / วิทยุ 6.8 2.4 11.5

หนังสือพิมพ์ / นิตยสำร 4.6 16.2 11.5

ใบปลิว / โบรชัวร์ 13.6 16.2 11.5

งำนจัดแสดงสินค้ำ /งำนเทศกำลอำหำร 11.4 2.4 9.6

เคยมำประเทศไทย 15.9 11.6 23.1

อื่นๆ 0.0 0.0 0.0

โดยการเลือกรับประทานอาหารไทยของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม พบว่าชาว

ฮังการีและชาวเช็กตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารไทยด้วยตนเองถึงร้อยละ 64.2 และร้อยละ

50 ตามล�าดับ ในขณะที่ครอบครัวหรือญาติมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของชาวโปแลนด์ในการเลือก

รับประทานอาหารไทยร้อยละ 47.5

Page 71: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ69

แสดงบุคคลหรือส่ิงที่มีอิทธิพลต่อกำรเลือกรับประทำนอำหำรไทย

บุคคลหรือสิ่งที่มีอิทธิพล ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

เพื่อน 6.5 21.2 16.8

ครอบครัว/ญำติ 28.4 47.5 33.2

ตนเอง 64.2 31.3 50.0

สื่อโฆษณำ 0.9 0.0 0.0

อื่นๆ 0.0 0.0 0.0

จากการสอบถามผู้ที่เคยรับประทานอาหารไทยถึงอาหารเอเชียที่ชื่นชอบ พบว่ากลุ่ม

ตัวอย่างจากทั้ง 3 ประเทศต่างชื่นชอบ อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และอาหารไทย เป็น 3 อันดับแรก

โดยชาวเช็กให้อันดับอาหารไทยเป็นอาหารเอเชียที่ชื่นชอบในอันดับที่ 1 ส่วนชาวฮังการีและชาว

โปแลนด์ จัดอันดับอาหารไทยเป็นอาหารเอเชียที่ช่ืนชอบอยู่ในอันดับที่ 3

แสดงอันดับของชนิดของอำหำรเอเชียท่ีช่ืนชอบ

อันดับที่ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

1 อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น อำหำรไทย

2 อาหารญี่ปุ่น อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น

3 อำหำรไทย อำหำรไทย อาหารจีน

4 อาหารเวียดนาม อาหารอินเดีย อาหารเวียดนาม

5 อาหารอินโดนีเซีย อาหารเวียดนาม อาหารเกาหลี

6 อาหารอินเดีย อาหารอินโดนีเซีย อาหารอาหรับ

7 อาหารเกาหลี อาหารมาเลเซีย อาหารมาเลเซีย

8 อาหารมาเลเซีย อาหารเกาหลี อาหารอินโดนีเซีย

9 อาหารอาหรับ อาหารอาหรับ อาหารอินเดีย

10 อื่นๆ อื่นๆ อื่นๆ

Page 72: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád70

ส�าหรับด้านทัศนติต่ออาหารไทย พบว่า ในด้านราคา ชาวฮังการีและชาวเช็กค่อนข้าง

เห็นด้วยว่าอาหารไทยมีราคาเหมาะสม ในขณะที่ชาวโปแลนด์ส่วนใหญ่มีความเห็นเป็นกลาง

ด้านรสชาติ ชาวฮังการีและชาวโปแลนด์ส่วนใหญ่ค่อนข้างเห็นด้วยว่าอาหารไทยมีรสชาติดีและ

อร่อย ในขณะที่ชาวเช็กมีทั้งกลุ่มที่ค่อนข้างไม่เห็นด้วยและค่อนข้างเห็นด้วย ส�าหรับในภาพรวม

น้ันพบว่าชาวโปแลนด์พึงพอใจกับอาหารไทยอย่างย่ิง ในขณะที่ชาวฮังการีและชาวเช็กพึงพอใจ

ในอาหารไทยอย่างเป็นกลาง

แสดงทัศนคติเกี่ยวกับอำหำรไทยของชำวฮังกำรี

เห็นด้วยกับประโยคต่อไปนี้หรือไม่ไม่เห็นด้วย

ค่อนข้ำงไม่เห็นด้วย

เฉยๆค่อนข้ำงเห็นด้วย

เห็นด้วยอย่ำงย่ิง

อำหำรไทยมีรำคำเหมำะสม 0 21.4 35.8 42.8 0.0

อำหำรไทยมีรสชำติดี อร่อย 0 28.4 21.4 35.8 14.4

ควำมพอใจในอำหำรไทยโดยรวม 0 7.0 43.3 21.4 28.4

แสดงทัศนคติเกี่ยวกับอำหำรไทยของชำวโปแลนด์

เห็นด้วยกับประโยคต่อไปนี้หรือไม่ไม่เห็นด้วย

ค่อนข้ำงไม่เห็นด้วย

เฉยๆค่อนข้ำงเห็นด้วย

เห็นด้วยอย่ำงย่ิง

อำหำรไทยมีรำคำเหมำะสม 0 0.0 63.3 26.3 10.4

อำหำรไทยมีรสชำติดี อร่อย 0 31.7 15.8 42.1 10.4

ควำมพอใจในอำหำรไทยโดยรวม 0 26.3 15.8 21.2 36.7

Page 73: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ71

แสดงทัศนคติเกี่ยวกับอำหำรไทยของชำวเช็ก

เห็นด้วยกับประโยคต่อไปนี้หรือไม่ไม่เห็นด้วย

ค่อนข้ำงไม่เห็นด้วย

เฉยๆค่อนข้ำงเห็นด้วย

เห็นด้วยอย่ำงย่ิง

อำหำรไทยมีรำคำเหมำะสม 11.1 22.1 22.1 27.9 16.8

อำหำรไทยมีรสชำติดี อร่อย 0.0 27.9 22.1 27.9 22.1

ควำมพอใจในอำหำรไทยโดยรวม 5.7 16.8 50.0 27.9 5.4

ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยรับประทานอาหารไทย

ส�าหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยรับประทานอาหารไทยมาก่อนน้ัน พบว่าทั้ง 3 ประเทศ

เป้าหมาย มีสาเหตุหลักมาจากการไม่มีร้านอาหารไทยในพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ ผู้ตอบ

แบบสอบถามชาวฮังการีร้อยละ 29.9 ยังให้เหตุผลว่า ที่ไม่เคยรับประทานอาหารไทยมาก่อน

เป็นเพราะว่าไม่ต้องการลองอะไรใหม่ๆ ในขณะที่ชาวโปแลนด์ร้อยละ 39.7 ไม่เคยได้ยินหรือ

รู้จักอาหารไทยมาก่อน

แสดงเหตุผลที่ท�ำให้ไม่เคยรับประทำนอำหำรไทย

เหตุผล ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

ไม่เคยได้ยิน / รู้จัก อำหำรไทย 9.7 39.7 0.0

ไม่มีร้ำนอำหำรไทยในพื้นที่ใกล้เคียง 29.9 39.7 74.6

อำหำรไทยมีรำคำแพงมำกเกินไป 20.1 0.0 0.0

ไม่ต้องกำรลองอะไรใหม่ๆ 29.9 0.0 25.4

ไม่ชอบทำนอำหำรประเภทนี้ 10.4 20.5 0.0

อื่นๆ 0.0 0.0 0.0

Page 74: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád72

จากการที่มีกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มไม่เคยรับประทานอาหารไทย คณะที่ปรึกษาฯ

จึงตั้งค�าถามเพื่อหาแรงจูงใจในการเลือกรับประทานอาหารไทย ซึ่งจากผลแบบสอบถาม พบว่า

กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ประเทศได้เลือกให้คูปองโปรโมชั่นเป็นปัจจัยอันดับแรกที่อาจจะท�าให้เลือก

รับประทานอาหารไทย โดยปัจจัยอันดับท่ี 2 ชาวฮังการีและชาวเช็กได้เลือกปัจจัยการมีร้าน

อาหารไทยในละแวกใกล้เคียง ชาวโปแลนด์เลือกปัจจัยการจัดงานแสดงหรืองานเทศกาลอาหาร

ไทย ส่วนปัจจัยอันดับที่ 3 ชาวโปแลนด์และชาวเช็กเลือกปัจจัยการแข่งขันด้านราคาของร้าน

อาหาร ในขณะท่ีชาวฮังการีเลือกสื่อโฆษณาและการจัดงานแสดงหรืองานเทศกาล

Page 75: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ73

แสดงอันดับของปัจจัยที่อำจจะท�ำให้เลือกรับประทำนอำหำรไทย

อันดับที่ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

1 คูปองโปรโมชั่น คูปองโปรโมชั่น คูปองโปรโมชั่น

2 ร้ำนอำหำรไทยในละแวกใกล้เคียง

งำนจัดแสดง / งำนเทศกำลอำหำรไทย

ร้ำนอำหำรไทยในละแวกใกล้เคียง

3 - สื่อโฆษณำ- งำนจัดแสดง / งำน

เทศกำลอำหำรไทย

กำรแข่งขันด้ำนรำคำของร้ำนอำหำร

กำรแข่งขันด้ำนรำคำของร้ำนอำหำร

4 N/A (มี 2 ตัวเลือกได้คะแนนเท่ากันในอันดับท่ี 3)

ร้านอาหารไทยในละแวกใกล้เคียง

สื่อโฆษณา

5 การแข่งขันด้านราคาของร้านอาหาร

- ทดลองชิมอาหารไทยจากร้านหรือห้างสรรพสินค้า

- มีข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น

ทดลองชิมอาหารไทยจากร้านหรือห้างสรรพสินค้า

6 ทดลองชิมอาหารไทยจากร้านหรือห้างสรรพสินค้า

N/A (มี 2 ตัวเลือกได้คะแนนเท่ากันในอันดับท่ี 5)

มีข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น

7 มีข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น

สื่อโฆษณา งานจัดแสดง / งานเทศกาลอาหารไทย

8 อื่นๆ อื่นๆ อื่นๆ

นอกจากนี้ แบบสอบถามยังได้ตั้งค�าถามแก่ผู้ที่ไม่เคยรับประทานอาหารไทย ให้จัด

อันดับเลือกอาหารเอเชียที่อยากจะรับประทาน ซึ่งจากผลส�ารวจพบว่าอาหารไทยไม่ได้ติดอยู่ใน

3 อันดับแรก และอยู่เป็นตัวเลือกอันดับท้ายๆ ของทั้ง 3 ประเทศ ทั้งนี้พบกลุ่มประเทศดังกล่าว

อยากจะรับประทานอาหารจีนและอาหารญี่ปุ ่นเป็นหลัก รองลงมาเป็นอาหารอินเดียและ

เวียดนาม

Page 76: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád74

แสดงอันดับของชนิดของอำหำรเอเชียท่ีอยำกจะรับประทำน

อันดับที่ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

1 อำหำรจีน อำหำรจีน อำหำรญี่ปุ่น

2 อำหำรญ่ีปุ่น อำหำรญ่ีปุ่น อำหำรจีน

3 อำหำรอินเดีย อำหำรเวียดนำม อำหำรเวียดนำม

4 อาหารเวียดนาม - อาหารมาเลเซีย - อาหารอินเดีย

อาหารเกาหลี

5 อาหารอินโดนีเซีย N/A (มี 2 ตัวเลือกได้คะแนนเท่ากันในอันดับท่ี 4)

อาหารอินเดีย

6 อาหารเกาหลี อาหารเกาหลี - อาหารไทย - อาหารมาเลเซีย - อาหารอินโดนีเซีย - อาหารอาหรับ - อื่นๆ

7 อาหารมาเลเซีย อาหารอินโดนีเซีย N/A (มี 3 ตัวเลือกได้คะแนนเท่ากันในอันดับท่ี 8)

8 อาหารไทย - อาหารไทย- อาหารอาหรับ- อื่นๆ

N/A (มี 3 ตัวเลือกได้คะแนนเท่ากันในอันดับท่ี 8)

9 อาหารอาหรับ N/A (มี 3 ตัวเลือกได้คะแนนเท่ากันในอันดับท่ี 8)

10 อื่นๆ

Page 77: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ75

ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ในส่วนที่ 3 เป็นตารางข้อมูลเก่ียวกับผู้ตอบแบบสอบถามใน 3 ประเทศเป้าหมาย โดย

สรุปข้อมูลได้ ดังนี้

y ชำวฮังกำรี : กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 20 - 29 ปี ส่วนมากมี

การศึกษาสูงสุด คือ ระดับปริญญาตรี และมีสถานภาพทางครอบครัว คือ โสด โดยมี

รายได้ต่อครอบครัวอยู่ที่ 15,001 – 35,000 ยูโรต่อปี และส่วนมากท�าอาชีพอยู่ในภาค

เอกชน

y ชำวโปแลนด์ : กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 40 – 49 ปี ส่วนมาก

มีการศึกษาสูงสุด คือ ระดับปริญญาตรี และมีสถานภาพทางครอบครัว คือ โสด โดยมี

รายได้ต่อครอบครัวอยู่ที่ 35,001 – 55,000 ยูโรต่อปี และส่วนมากท�าอาชีพอยู่ในภาค

เอกชน

y ชำวเช็ก : กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 40 – 49 ปี ส่วนมากมีการ

ศึกษาสูงสุด คือ ระดับปริญญาตรี และมีสถานภาพทางครอบครัว คือ โสด โดยมีรายได้

ต่อครอบครัวอยู่ท่ี 15,001 – 35,000 ยูโรต่อปี และส่วนมากท�าอาชีพอยู่ในภาคเอกชน

แสดงเพศของผู้ตอบแบบสอบถำม (ร้อยละ)

เพศ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

ชำย 58.3 58.4 59.2

หญิง 41.7 41.6 40.8

Page 78: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád76

แสดงช่วงอำยุของผู้ตอบแบบสอบถำม (ร้อยละ)

ช่วงอำยุ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

น้อยกว่ำ 19 ปี 0.0 0.0 0.0

20 – 29 ปี 33.3 25.1 22.7

30 – 39 ปี 24.9 29.1 18.1

40 – 49 ปี 20.9 33.3 27.1

50 – 59 ปี 16.8 0.0 22.7

60 ปีขึ้นไป 4.1 12.5 9.3

แสดงระดับกำรศึกษำของผู้ตอบแบบสอบถำม (ร้อยละ)

ระดับกำรศึกษำ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

มัธยมศึกษำตอนปลำย หรือ ต�่ำกว่ำ 0.0 0.0 0.0

อนุปริญญำ 16.8 37.6 13.7

ปริญญำตรี 58.3 41.6 58.9

ปริญญำโท 20.9 20.8 22.7

ปริญญำเอก 4.1 0.0 4.7

Page 79: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ77

แสดงสถำนภำพทำงครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถำม (ร้อยละ)

สถำนภำพทำงครอบครัว ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

โสด 58.3 49.9 54.5

สมรส ไม่มีบุตร 29.3 20.8 22.7

สมรส มีบุตร 8.4 25.1 9.0

หย่ำร้ำง / ม่ำย (มีบุตร) 4.1 4.3 13.7

อื่นๆ 0.0 0.0 0.0

แสดงรำยได้ครอบครัวของผู้ตอบแบบสอบถำม (ร้อยละ)

รำยได้ของครอบครัว ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

น้อยกว่ำ 15,000 ยูโร ต่อปี 4.1 4.3 0.0

15,001 – 35,000 ยูโร ต่อปี 58.3 16.8 67.9

35,001 – 55,000 ยูโร ต่อปี 33.3 49.9 27.4

55,001 –75,000 ยูโร ต่อปี 4.3 29.1 4.7

มำกกว่ำ 75,001 ยูโร ต่อปี 0.0 0.0 0.0

Page 80: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád78

แสดงอำชีพของผู้ตอบแบบสอบถำม (ร้อยละ)

อำชีพ ฮังกำรี โปแลนด์ เช็ก

นักเรียน/นักศึกษำ 20.9 4.3 9.0

งำนภำคเอกชน 41.7 49.9 50.1

งำนภำครัฐบำล 16.8 20.8 27.1

เจ้ำของกิจกำร/ฟรีแลนซ์ 16.8 12.5 4.7

ว่ำงงำน 0.3 0.0 0.0

เกษียณอำยุ 3.5 12.5 9.0

อื่นๆ 0.0 0.0 0.0

ประเด็นผลการสัมภาษณ์ผู ้ประกอบการร ้านอาหารไทยในประเทศฮังการ ี

สาธารณรัฐโปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก

จากการส�ารวจตลาด ร้านอาหาร และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหารไทย ใน

ประเทศเป้าหมาย พร้อมส�ารวจตลาดในประเทศที่อยู่ในเส้นทางการเดินทางเพ่ิมเติม ได้แก่

ออสเตรีย และสโลวาเกีย โดยมีสรุปรายละเอียด ดังนี้

y ใน 3 ประเทศพบว่าแทบไม่มีร้านขายวัตถุดิบของไทยที่เจ้าของเป็นคนสัญชาติไทย แต่

เจ้าของมักเป็นคนสัญชาติเวียดนามหรือจีน

y รสชาติอาหารท้องถิ่นของทั้ง 3 ประเทศมีรสออกเค็ม แต่ขนมจะออกหวานถึงหวานจัด

และมีครีมมาก และจะนิยมทานซุปก่อนอาหารจานหลัก

y การเสิร์ฟอาหารไทยในร้านอาหารไทย จะเสิร์ฟแบบฝร่ัง คือ ไม่มีการแชร์อาหาร

ระหว่างกัน แต่หากต้องการเสิร์ฟแบบไทยสามารถแจ้งพนักงานได้

y ยังคงมีร้านอาหารไทยที่มีคนไทยเป็นเจ้าของค่อนข้างน้อยมาก (ไม่ถึง 10 ร้านในแต่ละ

ประเทศ)

Page 81: Thai kitchen in visegrad

ผลการส�ารวจ79

y ร้านอาหารไทยส่วนใหญ่รู้จักโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก และเครื่องหมาย Thai Select

แต่ไม่ได้ติดตามรายละเอียดโครงการ และมองว่าเคร่ืองหมาย Thai Select ไม่ได้ช่วย

สร้างให้ร้านมียอดขายเพิ่มขึ้น จึงไม่ได้เข้าร่วมโครงการต่อ

y ลูกค้าส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวต่างชาติท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในละแวก

ใกล้เคียง และเป็นกลุ่มวัยท�างาน ส่วนชาวต่างชาติอื่น และชาวไทยมีประมาณร้อยละ

20

Page 82: Thai kitchen in visegrad
Page 83: Thai kitchen in visegrad

บทที่ 4

กำรส่งเสริมธุรกิจร้ำนอำหำรไทย

ใน Visegrád

Page 84: Thai kitchen in visegrad
Page 85: Thai kitchen in visegrad

การส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยใน Visegrád83

จากผลการศึกษาที่พบว่าปัจจุบันร้านอาหารไทยยังคงมีจ�านวนน้อยมากในกลุ ่ม

ประเทศเป้าหมาย และประชาชนยังไม่รู้จักอาหารไทยเท่าใดนัก (ชาวฮังการีจ�านวนร้อยละ 58

ไม่เคยรับประทานอาหารไทย) ดังนั้น ธุรกิจร้านอาหารไทยจึงยังมีโอกาสในการเข้าไปท�าตลาด

และเติบโตได้ โดยเพื่อให้การส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทางโครงการ

จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายส�าหรับภาครัฐและกลยุทธ์ส�าหรับผู้ประกอบการ โดยได้แบ่งกลุ่ม

นโยบายในการส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายใน

การส่งเสริมร้านอาหารไทยท่ีด�าเนินการอยู่แล้วในกลุ่มประเทศเป้าหมาย และข้อเสนอแนะเชิง

นโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ออกไปลงทุนยังประเทศเป้าหมาย

 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมร้านอาหารไทยที่ด�าเนินการอยู่แล้วใน

กลุ่มประเทศเป้าหมาย

1. กำรจัดงำนแสดง/กำรจัดนิทรรศกำรอำหำรไทยในประเทศเป้ำหมำย

ภาครัฐควรสนับสนุนให้มีการจัดนิทรรศการอาหารไทย (Thai Food Festival) ใน

กลุ่มประเทศเป้าหมาย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์อาหารไทย และร้านอาหารไทยในประเทศ

นั้นๆ ให้เป็นท่ีรู้จักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐยังควรสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาส

เข้าร่วมกิจกรรมของท้องถ่ิน เพื่อเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์อาหารไทยให้หลากหลาย

มากข้ึน และกระตุ้นให้มีการรับประทานอาหารไทยบ่อยครั้งมากขึ้น

เนื่องจากผลการส�ารวจพบว่าประชาชนในประเทศเป้าหมายจ�านวนมากไม่เคย

รับประทานอาหารไทย (ประเทศฮังการี ร้อยละ 41.7 สาธารณรัฐโปแลนด์ ร้อยละ 20.8 สาธารณ

รัฐเช็ก ร้อยละ 18.4) นอกจากนี้ ในบางประเทศ เช่น ฮังการีกว่าร้อยละ 50 รับประทานอาหาร

ไทยเพียงปีละ 1-2 ครั้ง ในขณะท่ีโปแลนด์กว่าร้อยละ 50 รับประทานเพียงปีละ 3 ครั้ง มีเพียง

สาธารณรัฐเช็กที่รับประทานปีละ 6-11 ครั้ง ดังนั้น นโยบายการจัดนิทรรศการดังกล่าวควรมุ่งเน้น

ด้านความถี่ในการจัดงานที่ประเทศฮังการี สาธารณรัฐโปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็กตามล�าดับ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง

อุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 86: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád84

2. กำรประชำสัมพันธ์เคร่ืองหมำย Thai Select

ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์เครื่องหมาย Thai Select ให้ผู้บริโภคท้องถิ่นเข้าใจและรับรู้

ถึงความส�าคัญและที่มาของเครื่องหมายดังกล่าวให้มากขึ้น โดยอาจใช้ผู้ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่

รู้จักในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์ เช่น การให้ผู้มีชื่อเสียง (Celebrity) ของ

ท้องถิ่นมารับประทานอาหารในร้านอาหารไทยที่ได้รับเครื่องหมาย Thai Select เป็นต้น

เนื่องจากการสัมภาษณ์ผู ้ประกอบการร้านอาหารไทยในประเทศเป้าหมายพบว่า

ผู้บริโภคยังไม่รู้จักเครื่องหมาย Thai Select อีกทั้งการได้รับเครื่องหมายดังกล่าวยังไม่มีผลท�าให้

จ�านวนลูกค้าเข้ามารับประทานอาหารที่ร้านเพิ่มมากขึ้น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ

3. กำรสร้ำงฐำนข้อมูลและเครือข่ำยผู้ประกอบกำรร้ำนอำหำรไทยในประเทศ

เป้ำหมำย

หน่วยงานภาครัฐของไทยในประเทศเป้าหมาย เช่น Team Thailand ควรท�าการ

ส�ารวจจ�านวนผู้ประกอบการร้านอาหารไทย (ทั้งที่เจ้าของเป็นคนไทยและต่างชาติ) เพื่อให้มีข้อมูล

ส�าหรับใช้เป็นฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การติดต่อประสานงาน และการเชิญชวนเข้าร่วม

กิจกรรมต่างๆ อีกท้ัง ภาครัฐควรเป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการร้าน

อาหารไทยในประเทศนั้นๆ เช่น การตั้งสมาคมร้านอาหารไทย เป็นต้น

เนื่องจากผลการสอบทานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พบว่าจ�านวน

ร้านอาหารไทยในประเทศเป้าหมายมีข้อมูลไม่ตรงกันและไม่ทันสมัย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

4. ผลักดันนโยบำยกำรให้ค�ำปรึกษำด้ำนกำรพัฒนำกิจกำรของผู้ประกอบกำรร้ำน

อำหำรไทยในต่ำงประเทศ

ภาครัฐควรริเริ่มผลักดันนโยบายการให้ค�าปรึกษาด้านการพัฒนากิจการของผู้ประกอบ

การร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โดยควรมีบริการ เช่น การให้ค�าปรึกษาเรื่องข้อกฎหมายใน

ประเทศเป้าหมาย และชี้ช่องทางในการขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากแหล่งเงินทุนท้องถิ่น

Page 87: Thai kitchen in visegrad

การส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยใน Visegrád85

อาทิเช่น European Progress Microfinance Fund ท่ีเป็นกองทุนกู้ยืมส�าหรับธุรกิจขนาดเล็กที่

ต้องการเงินลงทุน โดยต้องมีพนักงานต�่ากว่า 10 คน และวงเงินกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 25,000 ยูโร

หรือประมาณ 1,025,000 บาท เป็นต้น23

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สถาบันอาหาร สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด

ย่อม ส�านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันเพิ่มผลผลิต

5. สถำบันอำหำรควรตั้งศูนย์ส่งเสริมกำรประกอบกิจกำรอำหำรไทยในต่ำง

ประเทศ

สถาบันอาหารควรตั้งศูนย์ส่งเสริมการประกอบกิจการอาหารไทยในต่างประเทศ โดย

มีองค์ประกอบในการท�างานเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของกิจการอาหารไทยในภูมิภาค/ประเทศ

เป้าหมาย โดยท�าหน้าที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลและสนับสนุนทางวิชาการ เพื่อผลักดันการลงทุนและ

ช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาในการประกอบธุรกิจ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สถาบันอาหาร

 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ออกไปลงทุนยัง

ประเทศเป้าหมาย

1. จัดท�ำนโยบำยและมำตรกำรในกำรส ่งเสริมกำรลงทุนในต ่ำงประเทศ

(Thailand Outward Investment) ที่เอื้อต่ออุตสำหกรรมบริกำรและกิจกำรอำหำรไทยใน

กำรไปลงทุนยังต่ำงประเทศ เพ่ือตอบสนองนโยบำยครัวไทยสู่ครัวโลกของรัฐบำล

หน่วยงานภาครัฐควรจัดท�านโยบายและมาตรการในการส่งเสริมการลงทุนใน

ต่างประเทศ (Thailand Outward Investment) ที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมบริการและกิจการ

อาหารไทยในการไปลงทุนยังต่างประเทศ เพื่อตอบสนองนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกของรัฐบาล

โดยควรจัดให้มีศูนย์อ�านวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ เช่น การให้ค�าแนะน�าในการจัดต้ังธุรกิจทั้ง

23 European Investment Find. สืบค้นจาก http://www.eif.org/what_we_do/microfinance/progress/index.htm

Page 88: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád86

ในด้านกฎระเบียบการจดทะเบียนธุรกิจ การบริหารการเงิน การบริหารบุคลากร วัฒนธรรมการ

ท�าธุรกิจในประเทศทั้งสาม รวมถึงการเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ นอกจากน้ี

ศูนย์อ�านวยความสะดวกดังกล่าวควรด�าเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในมณฑล

เป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพทางธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาระบบ

ธุรกิจ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในธุรกิจร้านอาหาร ตลอดจนการอ�านวยความสะดวกแก่

ธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในมณฑลเป้าหมาย โดยด�าเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐของ

สามประเทศ เพ่ือพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้ง่ายต่อการด�าเนินงานมากยิ่งขึ้น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ส�านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

2. สนับสนุนผู้ประกอบกำรไทยที่มีประสบกำรณ์ในธุรกิจอำหำรให้ออกไปด�ำเนิน

ธุรกิจร้ำนอำหำรไทยในประเทศเป้ำหมำย

ภาครัฐควรมุ่งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้รับทราบถึงโอกาสการด�าเนินธุรกิจร้าน

อาหารไทยในประเทศเป้าหมายผ่านทางกิจกรรมต่างๆ เช่น การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโอกาส

ทางธุรกิจร้านอาหารไทยในประเทศเป้าหมาย การจัดกิจกรรม Road show ในประเทศเป้าหมาย

พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ประกอบการ

ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจอาหาร เน่ืองจากสามารถต่อยอดธุรกิจจากประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมได้

ง่ายกว่า

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่าง

ประเทศ

3. ส่งเสริมให้กลุ ่มธุรกิจอำหำรแช่แข็ง (Frozen Food) และอำหำรพร้อม

รับประทำน (Ready-to eat) ส่งผลิตภัณฑ์ไปขำยยังกลุ่มประเทศเป้ำหมำย

ภาครัฐควรส่งเสริมให้กลุ่มธุรกิจอาหารแช่แข็ง (Frozen Food) และอาหารพร้อมรับ

ประทาน (Ready-to eat) ของไทย มีการส่งผลิตภัณฑ์ไปขายยังกลุ่มประเทศเป้าหมายมากขึ้น

เพื่อเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคเข้าถึงและรู้จักอาหารไทยได้มากข้ึน โดยภาครัฐควรขอความร่วมมือ

กับผู้ส่งออกไทยรายใหญ่ให้ร่วมมือกับผู้จัดกระจายสินค้าในประเทศเป้าหมายในการผลักดัน

สินค้าเข้าช่องทางมากยิ่งข้ึน ตลอดจนร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอาหารไทยให้มากขึ้น

Page 89: Thai kitchen in visegrad

การส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยใน Visegrád87

นอกจากนี้ ในระยะยาวอาจเป็นโอกาสให้มีการพิจารณาลงทุนในการตั้งโรงงานอาหารไทยพร้อม

รับประทานแช่แข็งในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกด้วย เช่น ประเทศฮังการี ที่มีอุตสาหกรรม

การแปรรูปอาหารทันสมัยที่สุดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก (Business Monitor, 2013)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมผู้ผลิตอาหาร

ส�าเร็จรูป สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย

4. ผลักดันให้เกิดกองทุนเพื่อส่งเสริม SMEs ให้ประกอบ/ขยำยกิจกำรร้ำนอำหำร

ไทยในต่ำงประเทศ

ภาครัฐควรผลักดันให้เกิดกองทุนเพื่อส่งเสริม SMEs ให้ประกอบ/ขยายกิจการร้าน

อาหารไทยในต่างประเทศ โดยโครงสร้างของกองทุนควรให้บริการในเรื่องต่างๆ อาทิ สินเชื่อ

การค้าเพื่อซื้อวัตถุดิบ (Trade Credit) เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) สินเชื่อเพื่อการ

ขยาย/ปรับปรุงกิจการ (Capacity Improvement Loan) เงินทุนเริ่มต้น (Equity Investment)

บริการค�าปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisory Services)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : ส�านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบัน

อาหาร กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

5. จัดท�ำคู่มือกำรเปิดร้ำนอำหำรไทยในประเทศเป้ำหมำย

หน่วยงานภาครัฐควรจัดท�าคู่มือการเปิดร้านอาหารไทยในประเทศเป้าหมาย โดยมี

ข้อมูลที่ส�าคัญ เช่น กฎหมายในการตั้งร้านอาหาร ภาษีที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการน�าเข้าพ่อครัว

แหล่งวัตถุดิบที่ส�าคัญ เป็นต้น

เนื่องจาก ผลการส�ารวจผู้ที่ไม่เคยรับประทานอาหารไทย พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก

ไม่มีร้านอาหารไทยในพื้นที่ใกล้เคียง (ประเทศฮังการี ร้อยละ 29.9 สาธารณรัฐโปแลนด์ร้อยละ

39.7 สาธารณรัฐเช็กร้อยละ 74.6)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์

Page 90: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád88

 ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ส�าหรับผู้ประกอบการในการพัฒนาการบริการให้

สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค

1. กำรวำงต�ำแหน่งทำงธุรกิจ

ผู้ประกอบการควรวางต�าแหน่งการแข่งขันทางธุรกิจของอาหารไทย โดยเน้นการ

แข่งขันด้วยคุณภาพและราคา โดยผลจากการส�ารวจพบว่าผู้บริโภคในกลุ่มประเทศเป้าหมาย

เลือกรับประทานอาหารไทย เนื่องจากเหตุผลด้านคุณภาพและราคา ดังนั้นผู้ประกอบการควร

รักษาระดับคุณภาพให้ได้มาตรฐานโดยมีราคาท่ีเหมาะสม

2. กำรเพ่ิมส่วนแบ่งของลูกค้ำท่ีรับประทำนอำหำรต่ำงชำติ

จากผลการส�ารวจพบว่าผู้บริโภคในกลุ่มประเทศเป้าหมาย นิยมรับประทานอาหารจีน

และอาหารญี่ปุ่นมากกว่าอาหารไทย เน่ืองจากมีจ�านวนร้านค้ามากกว่าและยังมีร้านขายวัตถุดิบ

อาหารของชาวจีนและเวียดนามจ�านวนมาก จึงท�าให้ผู้บริโภคคุ้นเคยและสะดวกต่อการเข้าถึง

ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาในการขยายสาขาของร้านไปยังพื้นใหม่ โดยควรเน้นไปที่

แหล่งชุมชนและย่านธุรกิจ

3. กลุ่มเป้ำหมำยในกำรส่งเสริม

ผู้ประกอบการควรเน้นประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มคนอายุ 20-29 ปี และประชาสัมพันธ์

เพิ่มเติมในกลุ่ม 40-49 ปี ในประเทศฮังการีและสาธารณรัฐเช็ค เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังไม่เคย

รับประทานอาหารไทย โดยควรเลือกสื่อประชาสัมพันธ์ให้เหมาะกับกลุ่มคนในช่วงอายุดังกล่าว

เช่น สื่ออินเตอร์เน็ตดังที่ได้เสนอไว้ข้างต้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรเน้นประชาสัมพันธ์ใน

กลุ่มอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน เน่ืองจากเป็นกลุ่มที่ยังรับประทานอาหารไทยน้อยเช่นกัน

4. ส่งเสริมกำรประชำสัมพันธ์ร้ำนอำหำรไทย

ผู้ประกอบการควรพิจารณาในการน�าเทคโนโลยีสมัยใหม่ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตและ

แอพพลิเคช่ัน (Application) ทางโทรศัพท์มือถือมาเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น

เนือ่งจากในปัจจบุนัพบว่าจ�านวนประชากรในประเทศฮงัการี สาธารณรัฐโปแลนด์ และสาธารณรัฐ

Page 91: Thai kitchen in visegrad

การส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารไทยใน Visegrád89

เช็ก มีสัดส่วนของจ�านวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 59 ร้อยละ 65 และร้อยละ 73

ตามล�าดับ ในขณะที่ประเทศไทยที่มีประชากรร้อยละ 24 ใช้อินเตอร์เน็ต 24 แต่อย่างไรก็ตามผล

จากแบบสอบถามกลับพบว่า มีเพียงชาวฮังการีร้อยละ 18.2 ชาวโปแลนด์ร้อยละ 18.6 และชาว

เช็กร้อยละ 9.6 เท่านั้น ที่รู้จักอาหารไทยผ่านอินเตอร์เน็ต

5. ส่งเสริมให้มีกำรรับประทำนอำหำรไทยเป็นอำหำรกลำงวันมำกขึ้น

จากผลการส�ารวจพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศเป้าหมาย พบว่า ผู ้บริโภคมีการ

รับประทานอาหารไทยเป็นอาหารกลางวันค่อนข้างน้อย ดังนั้น ผู้ประกอบการควรพัฒนารายการ

อาหารให้เหมาะกับอาหารมื้อกลางวันท่ีมีเวลาส้ัน รวมถึงควรจัดลักษณะของร้านให้เป็นการ

รับประทานอาหารกลางวันเพื่อการเจรจาธุรกิจ เนื่องจาก ผลการส�ารวจพบว่านักธุรกิจยังไม่นิยม

รับประทานอาหารไทยเพื่อการเจรจาธุรกิจ (ประเทศฮังการี ร้อยละ 7 สาธารณรัฐโปแลนด์ร้อยละ

5.4 และสาธารณรัฐเช็ค ร้อยละ 5.7)

6. พัฒนำรำยกำรอำหำรประเภทแกงและอำหำรท่ีมีน�้ำเป็นส่วนประกอบ

ผู ้ประกอบการควรพัฒนารายการอาหารประเภทแกงและอาหารที่มีน�้าเป็นส่วน

ประกอบมากขึ้น เนื่องจากผลการเก็บข้อมูลทั้งประเภทปฐมภูมิและทุติยภูมิ พบว่า ผู้บริโภคใน

กลุ่มประเทศเป้าหมายนิยมรับประทานซุปและอาหารที่มีน�้าเป็นส่วนประกอบ โดยรายการอาหาร

ไทยที่ผู้บริโภคในประเทศเป้าหมายนิยมรับประทาน เช่น พะแนง แกงเขียวหวาน เป็นต้น

7. ปรับปรุงกำรบริกำรเพื่อสร้ำงประสบกำรณ์ร่วมกับรสชำติของอำหำรไทย

จากผลการส�ารวจพบว่าผู้บริโภคในประเทศเป้าหมาย ไม่ได้เลือกรับประทานอาหาร

ไทยด้วยปัจจัยการให้บริการของร้านเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม การบริการนับเป็นหนึ่งในปัจจัย

ที่ส�าคัญยิ่งในการส่งเสริมให้ลูกค้ากลับมารับประทานอาหารซ�้าในอนาคต ดังนั้นผู้ประกอบการ

ร้านอาหารไทยอาจพฒันาในส่วนของการให้บริการ โดยอาจปรับปรุงบริการเพ่ือสร้างประสบการณ์

ที่ดีในการรับประทานอาหาร เพื่อให้ผู ้บริโภคเข้าถึงหรือรู้จักประเทศไทยมากข้ึน และยัง

สามารถจูงใจผู ้บริโภคให้มารับประทานอาหารไทยได้อีกด้วย

24 The International Telecommunication Union (ITU,) June 2012.

Page 92: Thai kitchen in visegrad
Page 93: Thai kitchen in visegrad

บรรณำนุกรม

Page 94: Thai kitchen in visegrad
Page 95: Thai kitchen in visegrad

บรรณานุกรม93

ผู้จัดการออนไลน์. (12 กุมภาพันธ์ 2556). แนะสาธารณรัฐเช็ก ประตูการค้ายุโรปตะวันออกน่าลงทุน.

ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/

ViewNews.aspx?NewsID=9560000018250.

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก. (7 ตุลาคม 2548). ร้านอาหารไทยในสาธารณรัฐเช็ก. ค้นเมื่อ 20

กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://news.thaieurope.net/content/view/605/126/

ส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุง บูดาเปสต์ ประเทศฮังการี. การเปลี่ยนระบบการเก็บ

ภาษีของฮังการี. หนังสือพิมพ์ The Budapest Times (22-28 November 2010).

ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2556, จากฐานข้อมูลออนไลน์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์.

ส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุง บูดาเปสต์ ประเทศฮังการี. (2556). รายงานการเยี่ยม

พบหน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนประเทศฮังการี (Hungarian Investment

and Trade Agency: HITA) เมื่อวันท่ี 15 กุมภาพันธ์ 2556. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2556,

จากฐานข้อมูลออนไลน์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

ส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุง บูดาเปสต์ ประเทศฮังการี. (2554). Hungarian

Investment Environment - To open Thai restaurants in Hungary. ค้นเมื่อ 20

มีนาคม 2556, จากฐานข้อมูลออนไลน์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวง

พาณิชย์.

ส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์. (2554). ข้อมูลเศรษฐกิจ

การค้า การลงทุน สาธารณรัฐโปแลนด์ โดย สคร. วอร์ซอ. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2556,

จากฐานข้อมูลออนไลน์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

ส�านักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์. (2553). ธุรกิจแฟรนไชส์

ในโปแลนด์. ค้นเม่ือ 20 มีนาคม 2556, จากฐานข้อมูลออนไลน์กรมส่งเสริมการค้า

ระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

ส�านักนายกรัฐมนตรี ประเทศฮังการี. (2555).

แอน. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภคและการเลือกซ้ือสินค้าของผู้บริโภคในสาธารณรัฐเช็ก. ค้นเมื่อ 20

มีนาคม 2556, จากฐานข้อมูลออนไลน์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวง

พาณิชย์.

Page 96: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád94

Benjasirichai. D. (n.d). Laws and Regulations Influencing Thai Restaurants: A Case Study

in the Netherlands. Laws and Regulations Influencing Thai Restaurants.

Retrived from www.maeus.grad.chula.ac.th.

Buniness Monitor. (2013, quarter 2). Czech Republic Food and Drink Report.

Buniness Monitor. (2013, quarter 1). Hungary Food and Drink Report.

Buniness Monitor. (2013, quarter 1). Poland Food and Drink Report.

Csiszarik-Kocsir, A., Fodor, M., & Varga, E., (2008). International and National Trends in

the Market of Eating Out. MEB 2008-6th International Conference on Man-

agement, Enterprise and Benchmarking. Budapest, Hungary

Euromonitor. (2012, October). Consumer Foodservice by Location in Hungary.

Euromonitor. (2012, September). Consumer Foodservice by Location in Poland.

Euromonitor. (2012, September). Consumer Foodservice by Location in Czech Republic.

Euromonitor. (2012, October). Consumer Foodservice in Hungary.

Euromonitor. (2012, September). Consumer Foodservice in Poland.

Euromonitor. (2012, September). Consumer Foodservice in Czech Republic.

Euromonitor. (2012, October). Full-Service Restaurants in Hungary.

Euromonitor. (2012, September). Full-Service Restaurants in Poland.

Euromonitor. (2012, September). Full-Service Restaurants in Czech Republic

Euromonitor. (2012, October). 100% Home Delivery/Takeaway in Hungary.

Euromonitor. (2012, September). 100% Home Delivery/Takeaway in Poland.

Euromonitor. (2012, September). 100% Home Delivery/Takeaway in Czech Republic.

Eurostat. (2013, January 1). Monthly Minimum Wages – Country Specific Information.

Minimum Wage Statistics. Retrieved 2012, Mar 23, from http://epp.eurostat.

ec.europa.eu/cache/ITY_SDDS/Annexes/earn_minw_esms_an4.pdf

Page 97: Thai kitchen in visegrad

บรรณานุกรม95

Eurostat (2013). Minimum Wages – Country Specific Information. Minimum Wage Statis-

tics Monthly.

Horska, E., Urgeova, J., & Prokeinova, R. (2011). Consumer’s Food Choice and Quality

Perception: Comparative Analysis of Selected Central European Countries.

Agric. Econ. - Czech, 57, 2011 (10), 493–499.

International Markets Bureau, Agriculture and Agri-Food Canada. (2012). Comparative

Consumer Profile: The Czech Republic, Hungary and Poland. Ontario, Can-

ada. Minister of Agriculture and Agri-Food Canada.

KPMG. (2012). President Approves Austerity Measures and Technical Amendment to

VAT Act. Financial Update, KPMG in the Czech Republic, December, 2012.

KPMG Ceska Republika.

Liddle, A. J. (2012). Examining growth opportunities in Eastern Europe. Nation’s

Restaurant News, 46(21), 24-n/a. Retrieved from http://search.proquest.

com/docview/1197690660?accountid=42455

Luna, D. and Gupta, S.F. (2001). An Integrative Framework for Cross-Cultural Consumer

Behavior. International Marketing Review, Vol. 18 No. 1, 2001, pp. 45-69.

Panswowa Inspekcja Sanitary (State Sanitary Inspection). Retrived from http://www.

sanepid.k-k.pl/aktualne.html.

Pavelka, T. (2012). The Minimum Wage in the Czech Republic – The Instrument for

Motivation to Work?. The 6th International Days of Statistics and Economics.

Prague, September 13-15, 2012.

Termorshuizen, J.G., Meulenberg, M.T.G. & Wierenga, B. (1984). Consumer Behavior in

Respect of Milk in the Netherlands. Euro. T. agr. Eco. 13(1986), 001-022.

Water and Fire (n.d.). Hungarian Cuisine. Retrieved from http://waterfire.fas.is/Hungary/

hungariancuisine.php

Page 98: Thai kitchen in visegrad

ครัวไทยใน Visegrád96

คณะผู้วิจัย

รองศำสตรำจำรย์ ดร. แก้วตำ โรหิตรัตนะ

นำงสำวหทัยธร บุญพร

รศ. ดร. แก้วตำ โรหิตรัตนะ รองศาสตราจารย์ประจ�าสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะ

พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก

Lancaster University สหราชอาณาจักร ในด้าน Management Science มีผลงานสอนและ

งานวิจัยในหลายด้าน อาทิเช่น การบริหารคุณภาพ การบริหาร การท่องเที่ยว การบริหาร

โรงแรม การส่งเสริมการลงทุนในประเทศจีน ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในประเทศ

นำงสำวหทัยธร บุญพร นักวิจัยในโครงการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในประเทศ

ต่างประเทศ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ การขนส่ง และ

โลจิสติกส์ จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประสบการณ์

ท�างานวิจัยในหลายด้าน ท้ังในด้านการส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในประเทศจีน

และการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ท่องเท่ียว

Page 99: Thai kitchen in visegrad
Page 100: Thai kitchen in visegrad