tpm for the lean factory thai version -5

9
Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING รากฐานสำคัญของการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใด โดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า 4 ปัญหาหลากหลายต่างๆ กันไป ที่มีโอกาสพบได้กับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่มีการ ติดตั้งหรือใช้อยู่ในโรงงาน: 1. การหยุดเล็กน้อย โดยไม่ได้ตั้งใจ (ไม่เกิน 3 นาที) ที่ขัดจังหวะการไหลของสายการผลิต 2. การหยุดปานกลางและยาวนานโดยไม่ได้ตั้งใจ (4 นาทีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 นาที สำหรับการหยุดปานกลาง และมากกว่า 30 นาที สำหรับการหยุดยาวนาน) ที่ทำให้การผลิตต้องหยุดลง (คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการหยุดทั้งสองนีแตกต่างกับการหยุดเล็กน้อย แต่เราอยากให้คิดตามว่า ถ้ามองที่ผลลัพธ์สุดท้ายแล้ว จริงๆ มันก็คือเครื่องจักรหยุด เหมือนกัน) 3. การหยุดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งเครื่องจักร เพื่อเปลี่ยนทดแทนชิ้นส่วน หรือเพื่อแก้ไขการตั้งค่าทีผิดพลาดระหว่างการตั้งเครื่องจักรและเปลี่ยนรุ่นการผลิต ซึ่งทั้งหมดเกิดความสูญเปล่า 4. การหยุดเพื่อเปลี่ยนใบมีดหรือชุดอุปกรณ์คมตัดต่างๆ 5. ความสูญเปล่าจากการเกิดของเสียและการแก้ไขงาน หรืออัตราการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่ำ เนื่องจาก ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบของผู้ขาย (Supplier) มีคุณภาพไม่คงที6. ความสูญเปล่าจากการที่เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต้องอยู่เฉยๆ ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากขาดชิ้นส่วนทีจำเป็น 7. ความสูญเปล่าจากการที่สายการผลิตถูกรบกวน เนื่องจากพนักงานไม่อยู่ประจำสายการผลิต

Upload: eisquare-publishing

Post on 27-Apr-2015

183 views

Category:

Documents


3 download

TRANSCRIPT

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

69รากฐานสำคัญของการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

รากฐานสำคัญของการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใด

โดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

4

ปัญหาหลากหลายต่างๆ กันไป ที่มีโอกาสพบได้กับเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่มีการ

ติดตั้งหรือใช้อยู่ในโรงงาน:

1. การหยุดเล็กน้อย โดยไม่ได้ตั้งใจ (ไม่เกิน 3 นาที) ที่ขัดจังหวะการไหลของสายการผลิต

2. การหยดุปานกลางและยาวนานโดยไมไ่ดต้ัง้ใจ (4 นาทขีึน้ไป แตไ่มเ่กนิ 30 นาท ีสำหรบัการหยดุปานกลาง

และมากกว่า 30 นาที สำหรับการหยุดยาวนาน) ที่ทำให้การผลิตต้องหยุดลง (คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการหยุดทั้งสองนี้

แตกต่างกับการหยุดเล็กน้อย แต่เราอยากให้คิดตามว่า ถ้ามองที่ผลลัพธ์สุดท้ายแล้ว จริงๆ มันก็คือเครื่องจักรหยุด

เหมือนกัน)

3. การหยุดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งเครื่องจักร เพื่อเปลี่ยนทดแทนชิ้นส่วน หรือเพื่อแก้ไขการตั้งค่าที่

ผิดพลาดระหว่างการตั้งเครื่องจักรและเปลี่ยนรุ่นการผลิต ซึ่งทั้งหมดเกิดความสูญเปล่า

4. การหยุดเพื่อเปลี่ยนใบมีดหรือชุดอุปกรณ์คมตัดต่างๆ

5. ความสูญเปล่าจากการเกิดของเสียและการแก้ไขงาน หรืออัตราการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่ำ เนื่องจาก

ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบของผู้ขาย (Supplier) มีคุณภาพไม่คงที่

6. ความสูญเปล่าจากการที่เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต้องอยู่เฉยๆ ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากขาดชิ้นส่วนที่

จำเป็น

7. ความสูญเปล่าจากการที่สายการผลิตถูกรบกวน เนื่องจากพนักงานไม่อยู่ประจำสายการผลิต

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

70 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

นอกจากนี้เราคงต้องพูดถึงการหยุดอีกจำนวนหนึ่งที่เป็นการหยุดเนื่องจากการวางแผน (หรือบริหารจัดการ)

ที่มักจะเกิดจากการที่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าแทรกเข้ามาในระหว่างกำลังทำการผลิตด้วยแผนที่ลงตัวแล้ว แต่เราก็

สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ในสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งเราจะลงรายละเอียดกันในบทที่ 7

ความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการดังที่ปรากฏข้างต้น ทั้งหมดมีนัยสำคัญ ด้วยมุมมองของ TPM แต่ถ้าด้วยมุมมอง

ของลูกค้าแล้ว ความสูญเปล่าที่สำคัญที่สุดคือการเกิดของเสียอันเนื่องมาจากปัญหาเครื่องจักร

ในบทนี ้เราจะพจิารณาวา่ทำอะไรไดบ้า้งเพือ่กำจดัการหยดุของเครือ่งจกัร ทัง้เลก็นอ้ย ปานกลาง และยาวนาน

ขั้นตอนที่1ศึกษาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในปัจจุบัน

บางปัญหาสามารถเห็นและเข้าใจได้ในทันที แต่บางปัญหาก็ไม่ คุณจึงจำเป็นต้องเริ่มด้วยการศึกษาสถาน-

การณ์ปัจจุบันก่อนเพื่อนำไปสู่สถานการณ์ที่ควรเป็นต่อไป การสำรวจบางอย่างด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ

ต่อไปนี้ ช่วยคุณได้

1. แผนภูมิการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และปริมาณ (P-Q Analysis Chart) (ตัวอย่างในตารางที่ 5-1 หน้า 93)

2. ผังการไหลตามการวางผังโรงงาน (Layout Flow Diagram) (ตัวอย่างในภาพที่ 5-1 หน้า 90)

3. รายงานประสิทธิภาพของสายการผลิตประจำเดือน (แบบฟอร์มที่ 19 ในหน้า 308-309)

4. แผนภูมิการวิเคราะห์การปฏิบัติงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ (ตารางที่ 4-1)

5. แบบฟอร์มการวิเคราะห์สาเหตุของการหยุดเล็กน้อย (ตารางท่ี 4-2)

ขั้นตอนที่2สรุปปัญหาของแต่ละเครื่องจักรและสายการผลิต

1. ในรูปแบบที่ใช้กันทั่วไป คุณสามารถออกแบบตารางโดยให้หลัก (column) แสดงชนิดของปัญหาและ

แถว (row) แสดงชื่อของสายการผลิต อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจนและรายละเอียดที่มากขึ้น คุณสามารถแยกเอา

แต่ละสายการผลิตและแต่ละเครื่องจักร มาทำตารางในลักษณะเดียวกันได้ ดังตารางที่ 4-3 และ 4-4

2. คุณจะค้นพบว่าในบรรดาชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องจักรที่ใช้อยู่ในโรงงานของคุณ มีสมรรถนะ

ที่แตกต่างกัน และความแตกต่างนี้คุณจะพบได้ เมื่อคุณใช้แบบฟอร์มอย่างในตารางที่ 4-5 มาทำการแยกแยะ

3. อาจเป็นประโยชน์มากถ้าเรามีแบบฟอร์มสรุปเพื่ออ้างอิงการเกิดของเสียของแต่ละสายการผลิต (ตาราง

ที่ 4-6) แล้วคุณจะประหลาดใจที่พบว่าปริมาณการเกิดของเสียกับปริมาณการเกิดปัญหาในเครื่องจักร มันไปด้วยกัน

กล่าวคือ เมื่อเครื่องจักรเกิดปัญหามาก ปริมาณของเสียก็จะตามมา

ขั้นตอนที่3วิเคราะห์กลไกการเกิดการหยุดเล็กๆน้อยๆและสาเหตุ

ยืนยันสถานการณ์

คุณสามารถยืนยันสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นภายใต้การหยุดเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นมากมายด้วยตาของคุณเอง ถ้า

แต่ละครั้งมันไม่เกิดติดกันมากนัก อุปกรณ์ช่วยของคุณคือการบันทึกด้วยวีดีโอความเร็วสูง ทั้งนี้เพื่อให้คุณศึกษาสิ่ง

ต่างๆ ต่อไปนี้

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

75รากฐานสำคัญของการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

1. ธรรมชาติที่แท้จริงของการหยุดนั้นๆ เพื่อการวิเคราะห์ความผิดปกติทางไฟฟ้าและทางกล และตัดสินใจ

ไปตามผลการวิเคราะห์ที่ได้

2. วิธีการปฏิบัติงานที่ใช้

3. เครื่องจักรถูกตรวจด้วยวิธีการใด

4. ความสะอาดของอุปกรณ์

5. การเปรียบเทียบกับสายการผลิตอื่น

วิเคราะห์ระบบกลไกและตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่เป็นไปได้

ในการวิเคราะห์ระบบกลไก คุณต้องเดาสาเหตุไปตามการวิเคราะห์จากปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้ว

สรุปที่มาที่ไปของการปัญหาเหล่านั้นในเชิงทฤษฎี ว่าทำไมจึงเกิด (ภาพที่ 4-1)

ขั้นตอนที่4สร้างภาพความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์กลไก

และสาเหตุให้เห็นชัดเจน

ใช้การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม“ทำไม”(Why-WhyAnalysis)

เทคนิคการตั้งคำถาม “ทำไม” ใช้เพื่อทำให้เห็นภาพความสัมพันธ์จากสาเหตุที่แท้จริงมาจนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

การตั้งคำถาม ทำไม ทำไม หลายๆ ครั้งจะนำเราไปสู่สาเหตุต้นตอของปัญหา ในภาพที่ 4-2 แสดงให้เห็นว่าเทคนิคการ

ตั้งคำถามดังกล่าวใช้อย่างไรในการอธิบายปัญหาในภาพที่ 4-1 อย่างไรก็ตาม เทคนิคการตั้งคำถามไม่จำเป็นต้องถาม

ด้วย ทำไม ทำไม เสมอไป แต่อาจเป็นการตั้งคำถามที่เรียกกันว่า 5W-1H (Who, What, When, Where และ How)

เพื่อที่จะหาความจริงต่างๆ ที่เป็นมูลเหตุของปัญหา

ตารางที่ 4-4 แบบฟอร์มสรุปปัญหาแยกตามสายการผลิตและแยกตามเครื่องจักร

สายการผลิต

A-1 A-2 A-3 A-4 A-5 รวม

จำนวนที่ประกอบต่อวัน

เกิดปัญหาที่ขดลวด

เกิดปัญหาที่ตัวขันแน่น

เกิดปัญหาที่แม่พิมพ์

เกิดปัญหาที่เครื่องเคลือบ

เกิดปัญหาที่เครื่องเชื่อม

เกิดปัญหาที่เครื่องเป่าแห้ง

เกิดปัญหาที่ชุดควบคุมการหมุน

อัตราของเสียที่เกิดขึ้น

ผลิตภัณฑ์ P1

1,271

9

1

0.8%

P1

1,152

4

1

0.3%

P2

886

10

1.1%

P1

803

1

10

1.2%

P2

683

1

4

0.6%

4,795

2

37

1

1

0.8%

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

76 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

ขั้นตอนที่5ติดตั้งระบบการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใด

โดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

ให้การศึกษากับพนักงานเรื่องการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

ระบุรายการความเสียหายที่ต้องการดูแลด้วยการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า จาก

นั้นกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับแต่ละกรณี เพื่อนำไปอบรมให้กับพนักงานและเผยแพร่ต่อไปกับผู้เกี่ยวข้อง

ในโรงงาน

1.เปลี่ยนท่อยางลำเลียง

2.ดัดท่อให้อยู่ ในลักษณะที่เหมาะสม

3.เปลี่ยนตัวประคอง

4.ปรับระดับความสั่นที่ ใช้ ในการป้อนชิ้นส่วน

ปรากฏการณ์: การป้อนสกรูติดขัด

สาเหตุ: ความดันเปลี่ยนแปลง

สาเหตุที่แท้จริง: ความเสียดทานในท่อยางลำเลียง

แผนการปรับปรุง: เปลี่ยนมาใช้สายยางตัวนอกให้ ใหญ่ขึ้นและเรียว และถอดเปลี่ยนได้ โดยง่าย

หากเกิดการติดขัด

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

77รากฐานสำคัญของการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

ความแตกต่างที่ค้นพบ 1. สายความดันเป็นร่องอยู่ด้านในและทำให้สกรูตกลงไป 2. ความสั่นสะเทือนภายในระบบส่งชิ้นส่วน 3. วิธีการทำงานของไดร์ฟ

ตารางที่ 4-5 สมรรถนะที่ต่างกันของชิ้นส่วนต่างๆ

ไดร์ฟ X-Y ไดร์ฟ ลม ลม+ตัวปรับ

ลม ชุดสร้างแรงดันหลัก 6.0 กก./ซม.2 6.0 กก./ซม.2

แรงดันใช้งาน 1 2.5 กก./ซม.2 2.5 กก./ซม.2

แรงดันใช้งาน 2 3.5 กก./ซม.2 3.2 กก./ซม.2

แรงบิดขันสกรู

ตัวปรับสลักเกลียว กำลังขับ 4TK10GK-A-4GK9K 4TK10GN-A-4GN9K

รุ่นหรือยี่ห้อ มินิคอม มินิคอม

ชุดป้อน รุ่นหรือยี่ห้อ มินิคอม มินิคอม

แรงดันที่ใช้ 2.0 กก./ซม.2 2.0 กก./ซม.2

สาย สกปรก เป็นรอย สกปรก

ความสั่นสะเทือน 5.0 5.5

ชิ้นส่วน สลักเกลียว

อื่นๆ ตัวกรองดูดอากาศ สกปรก สกปรก มีผงโลหะ

ยางกันกลับ สึกหรอ สึกหรอ

งานคั่งค้าง

เครื่องเสียครั้งล่าสุด

O

O

O

O

O

ธรรมชาติของ

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

สายการผลิต (ผู้ผลิตและวันติดตั้ง)

B-2 (A/เมษายน) แตกต่าง (O) B-3 (B/ตุลาคม)

งาน

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

78 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

ตารา

งที่ 4

-6 ส

รุปคว

ามเส

ียหาย

(ที่เก

ิดกับ

เครื่อ

งจักร

และผ

ลิตภ

ัณฑ

์) ประ

จำสา

ยการ

ผลิต

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

79รากฐานสำคัญของการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

กำหนดรายการบำรุงรักษาหลัก

ดูแลรายการบำรุงรักษาหลักที่มีการกำหนดไว้อย่างเป็นระบบเพื่อความมั่นใจว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่าง

แน่นอน จัดทำแผนการปรับปรุงดังในตารางที่ 4-7 เพื่อช่วยให้กิจกรรมของคุณอยู่กันอย่างเป็นระเบียบกับอาการและ

สาเหตุต่างๆ ควรมีป้ายบ่งชี้หรือสติ๊กเกอร์เพื่อบ่งบอกว่ารายการตรวจสอบใดที่่ใดพนักงานควรเป็นผู้ทำ และรายการ

ตรวจสอบใดที่วิศวกรควรเป็นผู้ทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายการที่พนักงานเป็นผู้ทำต้องทำให้ครบทุกรายการตามที่

กำหนดไว้ก่อนเริ่มงานในแต่ละกะ ตัวอย่างดังต่อไปนี้

รายการสำหรับการตรวจสอบโดยพนักงาน รายการสำหรับการตรวจสอบโดยวิศวกร

G ตัวกรอง G ความเสียดทานที่ผิวโอริง (O-ring)

G แผ่นความดัน G ท่อยาง

G สกูรที่ตกลงมา G การปรับเครื่องวัดแรงบิด (torque meter)

ขั้นตอนที่6ส่งเสริมกิจกรรมการบำรุงรักษาด้วยตนเองของฝ่ายผลิต

1. ออกแบบแบบฟอร์มการบำรุงรักษาประจำวันสำหรับบำรุงรักษาด้วยตนเอง (ภาพที่ 4-3)

2. แขวนป้ายตรงบริเวณชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่สมควรตรวจเช็ค (ภาพที่ 4-4) เพื่อให้พนักงานผู้ใช้เครื่องได้

ใชใ้นขณะทำการตรวจเชค็ ระหวา่งดำเนนิกจิกรรมการบำรงุรกัษาดว้ยตนเองตามปกต ิ โดยการตรวจเชค็ดงักลา่วพนกังาน

จะทำตามรายการที่ระบุไว้บนป้ายด้านที่มีสีแดง และหลังจากเสร็จสิ้นก็จะยืนยันด้วยการกลับป้ายเพื่อให้ด้านสีฟ้า

ขึ้นมาแทน ในตารางที่ 4-8 แสดงรายการตรวจเช็ค ก่อนเริ่มทำงานในแต่ละกะ

3. จัดหมวดหมู่รายการตรวจเช็ค ทั้งนี้เพื่อให้รายการตรวจเช็คสำหรับพนักงานผู้ใช้เครื่องไม่เป็นภาระจนเกิน

ไป โดยทั่วไปก็จะให้ทำในรายการที่เล็กๆ ง่ายๆ ดังเช่นรายการตรวจเช็คเครื่องจักรประจำวันในภาพที่ 4-3

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

80 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

ขั้นตอนที่7จัดทำคู่มือการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใด

โดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

1. เมื่อเครื่องจักรอุปกรณ์เกิดปัญหาขึ้น ต้องจดบันทึกอย่างรวดเร็วเพื่อสรุปว่าเกิดอะไรขึ้น สาเหตุและ

แนวทางในการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้มีอะไรบ้าง (ตารางที่ 4-9)

2. และเมื่อใดก็ตามที่การแก้ไขเสร็จสมบูรณ์ ต้องมีการจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ (ภาพที่ 4-5)

3. รวบรวมบนัทกึตามขอ้ 2 เพือ่สรปุหาแนวทางการแกไ้ขทีด่ทีีส่ดุ และจดัทำเปน็คูม่อืตอ่ไป ในตารางที ่ 4-10

แสดงให้เห็นแนวทางหนึ่งในการจัดทำคู่มือที่ใช้ง่ายในรูปของเอกสาร

4. ขยายผลทั่วทั้งโรงงาน ให้ทุกคนสามารถเป็นได้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน (รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการ

บำรุงรักษาแนวทางนี้อยู่ในหนังสือ Kaizen for Quick Changeover โดย Sekine และ Arai, Productivity Press,

1992)

ทัง้หมดทีก่ลา่วมานี ้ ในการปฏบิตัจิรงิ ไมค่วรใชเ้วลาเกนิ 3 นาทใีนการตรวจตราปญัหาอยา่งละเอยีด พจิารณา

และวิเคราะห์สาเหตุที่เป็นไปได้ เปลี่ยนชิ้นส่วน และปรับแต่ง

การบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า คือสิ่งแรกและสิ่งที่เกือบสำคัญที่สุดของคุณ หาก

ว่าคุณยังเผชิญและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้กับปัญหาที่เกิดกับเครื่องจักรและอุปกรณ์

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

82 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

ภาพที่ 4-2 การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม “ทำไม” กรณีสกรูติด