400 8 multiple regression analysis) - mba online utccedit)id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 ·...

19
ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานคร ธันยพร ชาญหรรษา บัณฑิตวิทาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย [email protected] กลุ่มวิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 [email protected] บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายใน ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยด้าน ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จานวน 400 คน ใช้วิธีการการสุ่มแบบ หลายขั้นตอนโดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากบัญชีรายชื่อร้านค้าที่วาง จาหน่ายเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักจานวน 8 แห่ง, ขั้นตอนที่ 2 แบ่งจานวนตัวอย่างเท่าๆกันในแต่ละ สาขาสาขาละ 50 คนและ ขั้นตอนที่ 3 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ส่วนวิธีการทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ( Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจใน ประเด็น ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพื่อลดน้าหนัก และ ปัจจัยด้านการเรียนรู้ใน ประเด็น การถ่ายทอดความรู้สรรพคุณมีผลต่อการซื้อมีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยทางสังคมคือปัจจัยทางด้านครอบครัวในประเด็น ครอบครัวแนะนาให้ท่านบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ด แมงลัก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 และยังพบว่าปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดไม่มีผลต่อ ความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ 0.05 คาสาคัญ: ปัจจัยภายใน , ปัจจัยทางสังคม , ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด , ความตั้งใจซื้อ , เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

Upload: others

Post on 14-Aug-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ธันยพร ชาญหรรษา

บัณฑิตวิทาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

[email protected]

กลุ่มวิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

[email protected]

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาปัจจัยภายใน ปัจจัยทางด้านสังคม และปัจจัยด้าน ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จ านวน 400 คน ใช้วิธีการการสุ่มแบบหลายขั้นตอนโดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากบัญชีรายชื่อร้านค้าที่วางจ าหน่ายเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักจ านวน 8 แห่ง, ขั้นตอนที่ 2 แบ่งจ านวนตัวอย่างเท่าๆกันในแต่ละสาขาสาขาละ 50 คนและ ขั้นตอนที่ 3 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ส่วนวิธีการทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจในประเด็น ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือลดน้ าหนัก และ ปัจจัยด้านการเรียนรู้ในประเด็น การถ่ายทอดความรู้สรรพคุณมีผลต่อการซื้อมีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนปัจจัยทางสังคมคือปัจจัยทางด้านครอบครัวในประเด็น ครอบครัวแนะน าให้ท่านบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ 0.05 และยังพบว่าปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ 0.05

ค าส าคัญ: ปัจจัยภายใน, ปัจจัยทางสังคม, ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด , ความตั้งใจซื้อ,เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

Page 2: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

Abstract

The objectives of this study were to study psychological, social and marketing

mix factors that affect the purchase intention of basil seed drink of consumers in

Bangkok. Data were collected by using the questionnaire with 400 participants.

Sampling by 3 step Multi - Stage Sampling method, step 1 sampling 8 place by sample

random sampling, step 2 sampling 50 participants per place, step 3 sampling by

accidental sampling. The statistical methods (frequency, percentage, mean and standard

deviation) were used for descriptive analysis. In addition, inferential statistic methods

was Multiple Regression Analysis. The results revealed that psychological factor in

term of motivation (Use basil seed drink for lose weight) and learning (Pass on

knowledge about basil seed drink); also social factor (Family advise to drink basil seed

drink) in term of family affects the purchase intention of basil seed drink at the

significant level of 0.05. In contrast, the marketing mix factor (product, price, place and

promotion) did not affect the purchase intention of basil seed drink at the significant

level of 0.05.

Key words: psychological, social, marketing mix, purchase intention, basil seed drink

1. บทน า

เนื่องจากในปัจจุบันประชากรประเทศไทยเริ่มหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้นโดยรายงานสุขภาพคนไทยในปี 57 พบว่าคนไทยน้ าหนักตัวเพ่ิมขึ้น 2 เท่าในรอบ 20 ปี และเมื่อเทียบกับ 10 ประเทศในเอเชีย พบว่าผู้ชายไทยอยู่ในอันดับ 4 ผู้หญิงไทยอยู่ในอันดับ 2 ซึ่งการที่น้ าหนักตัวเพ่ิมขึ้นนั้นเป็นสาเหตุน าสู่โรคเรื้อรัง และที่น่าแปลกใจคือคนในกรุงเทพฯเสี่ยงโรคอ้วนมากกว่าคนในต่างจังหวัด(ส านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),2557) รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557 ระบุว่า โรคอ้วนถือเป็นสาเหตุให้เจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวันอันควรจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases : NCDs) อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับถุงน้ าดี โรคซึมเศร้า ภาวะหายใจล าบากและหยุดหายใจขณะหลับ และโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น โดยคนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้มากกว่าปกติ 2-3 เท่า

จากสถิตข้างต้นประชากรประเทศไทยส่วนมากจึงหันมาใส่ใจสุขภาพมากข้ึน ไม่ว่าจะเป็นการออกก าลังกาย การกินอาหารที่มีประโยชน์ปราศจากสารเคมี การดีท็อกซ์ล าไส้ ฯลฯ ดังนั้นจึงท าให้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเม็ดแมงลักได้รับความนิยมมากขึ้น และจากการรายงานภาพรวมตลาดเครื่องดื่มพร้อมดื่มในปี 2559คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 225,000 – 230,000 ล้านบาท พบว่ามีการหดตัวในเชิงมูลค่าที่ร้อยละ 3.2 – 5.3 แต่มีการขยายตัวในเชิงปริมาณที่ร้อยละ 1.0 – 2.2 เมื่อเทียบกับ ปี2558 ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดโปรโมชั่นของร้านค้าปลีกไม่วาจะเป็นการลด แลก แจก แถม เพ่ือกระตุ้นยอดขายเครื่องดื่มพร้อมดื่มในสภาวะที่ก าลังซื้อของผู้บริโภคชะลอตัว และในอนาคตข้างหน้ายังคง

Page 3: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ต้องมีการติดตามมติคณะรัฐมนตรีในเรื่อง การเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ าตาล ถ้าหากมีผลบังคับใช้ จะส่งผลให้เครื่องดื่มท่ีมีน้ าตาลมีราคาสูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 ของราคาขายปลีกในปัจจุบัน (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย,2559) ดังนั้นผู้ประกอบการจึงหันมาผลิตเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ าตาลน้อยลง เช่น น้ าสมุนไพร, เครื่องดื่มที่ผสมน้ าตาลในปริมาณน้อย, ใช้สารให้ความหวานแทนน้ าตาลเป็นต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะท าการศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือประโยชน์ส าหรับผู้ประกอบการที่สนใจในธุรกิจเครื่องดื่มเพ่ือสุขภาพ

2. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง

แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด เป็นส่วนประกอบที่ส าคัญในการด าเนินงานทางการตลาด โดยเป็นปัจจัยที่กิจการสามารถควบคุมได้โดยทุกกิจการจะต้องมีการสร้างและจัดท าส่วนประสมทางการตลาดให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ที่ก าหนดไว้ในแต่ละวัตถุประสงค์ทางการตลาด (ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์, 2552) ส่วนประสมการตลาด ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ (Product), ด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย (Place), ด้านราคา (Price) และด้านส่งเสริมการตลาด (Promotion)

แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญลักษิตานนท์ และ ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) ว่าเป็นพฤติกรรมในการค้นหาข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นค้นหาข้อมูลทางด้านผลิตภัณฑ์หรือการบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจ าหน่ายเป็นต้น เพ่ือมาประกอบความต้องการในการซื้อ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลหลังการซื้อแล้วน าไปใช้ ถ้าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นสามารถตอบสนองความต้องการได้จะท าให้เกิดการซื้อซ้ า และท าให้เกิดความจงรักภักดีต่อตราสินค้าในที่สุด ปัจจัยที่มีผลกระทบ คือ ปัจจัยด้านจิตวิทยา (Psychological factor) หรือปัจจัยภายใน การเลือกซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านจิตวิทยา ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยภายในตัวผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้าปัจจัยภายใน ประกอบด้วย แรงจูงใจ, การรับรู้, การเรียนรู้, ทัศนคติ และ บุคลิกภาพ และ ปัจจัยด้านสังคม (Social Factor) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจ าวันและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ลักษณะทางสังคมจะประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรม, ครอบครัว และ กลุ่มอ้างอิง

แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับความตั้งใจซื้อ กิติทัศน์ ทัศกุณีน์ (2557) ได้กล่าวว่าเป็นการแสดงถึงการเลือกใช้สินค้าหรือบริการนั้น ๆ ทั้งนี้ความตั้งใจซื้อนั้นเป็นอีกปัจจัยที่นักการตลาดน าไปวิเคราะห์แนวโน้มในการตัดสิ้นใจซื้อสินค้าในอนาคตได้แต่อย่างไรก็ตามความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เสมอไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอก เช่น ทัศนคติของบุคคลอื่น (Attitudes of Other) ทั้งด้านบวกและด้านลบ, ปัจจัยสถานการณ์ท่ีคาดคะเนไว้ (Anituational

Page 4: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

Sticipated Factors) ผู้บริโภคจะท าการคาดคะเนถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การคาดคะเนค่าใช้จ่ายของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นค่าน้ าค่าไฟหรือสินค้าอุปโภคบริโภค การคาดคะเนต้นทุนของผลิตภัณฑ์ และการคาดคะเนผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ เป็นต้น, ปัจจัยสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดคะเนไว้ (Unanituational Sticipated Factors) ในขณะที่ผู้ซื้อก าลังตัดสินใจซื้อนั้น ปัจจัยสถานการณ์ท่ีไม่ได้คาดคะเนจะเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งส่งผลกระทบต่อการตั้งใจซื้อ เช่น พนักงานไม่สุภาพหรือบริการไม่ดี มีการจัดส่งเสริมการขายต่างๆที่น่าสนใจ ลด แลก แจก แถม เป็นต้น

งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง

1. พัชรี สุวรรณเกิด (2556) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคน้ าสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ของนักศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่นักศึกษาให้ความส าคัญมากท่ีสุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจ าหน่ายตามล าดับ และยังพบว่าความคาดหวังของคุณภาพผลิตภัณฑ์น้อยกว่าการรับรู้ของคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่แท้จริงอย่างมีนัยส าคัญ

2. พลอยไพลิน ค าแก้ว(2557) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะบริโภคอาหารเพ่ือสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านค่านิยมทางด้านสุขภาพด้านทัศนคติต่อรสชาติด้านความคาดหวังเรื่องความชื่นชอบและด้านการรับรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้ งใจที่จะบริโภคอาหารเพ่ือสุขภาพในจังหวัด กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 83.9 อย่างมีนัยส าคัญ 0.01

3. ณัชญ์ธนัน พรมมา(2558) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพ่ือสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ การรับรู้ความสามารถการควบคุมพฤติกรรมและปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพ่ือสุขภาพ ในงานวิจัยครั้งนี้ยังพบว่าปัจจัยด้านการรับรู้มีความยุ่งยากและความกังวลด้านสุขภาพมีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพ่ือสุขภาพ

4. รัชนก อัศวโกวิทกรณ์(2559) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อเครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมดื่มของนักศึกษาปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับสถานที่จัดจ าหน่าย อายุมีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการซื้อ จ านวนครั้งที่ซื้อ และสถานที่จัดจ าหน่าย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการซื้อ ความถี่ในการซื้อ จ านวนที่ซื้อในแต่ละครั้ง ช่วงเวลาที่นิยมซื้อ และสถานที่จัดจ าหน่าย รูปแบบการด ารงชีวิตมีความสัมพันธ์กับ

Page 5: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ความถี่ในการซื้อ รสชาติของเครื่องดื่ม จ านวนที่ซื้อในแต่ละครั้งและสถานที่จัดจ าหน่าย และยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความส าคัญด้านส่วนประสมทางการตลาดในระดับมาก

กรอบแนวคิด

3. วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้บริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถค านวณขนาดของ

ปัจจัยสังคม

- ด้านวัฒนธรรม

- ครอบครัว

- กลุ่มอ้างอิง

ปัจจัยภายใน

- แรงจูงใจ

- การรับรู้

- การเรียนรู้

- ทัศนคติ

- บุคลิกภาพ

ความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสม

เม็ดแมงลัก

ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด

- ด้านผลิตภัณฑ์

- ด้านราคา

- ด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย

- ด้านส่งเสริมการตลาด

Page 6: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรค านวณแบบไม่ทราบจ านวนประชากร (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2546) โดยก าหนดค่าความเชื่อมัน 95% และค่าความคาดเคลื่อนไม่เกิน5% ใช้ขนาดตัวอย่างในการวิจัยประมาณ 384 คน แต่เพ่ือให้สะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้จึงใช้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 คน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการการสุ่มแบบหลายขั้นตอนโดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากบัญชีรายชื่อร้านค้าดังต่อไปนี้ บัญชีร้าน 7-11 ทั้งหมด 5 เขตได้แก่ เขตจตุจักร จับฉลากได้สาขา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, เขตบางรัก จับฉลากได้สาขา สีลมซอย6, เขตพญาไท จับฉลากได้สาขา อนุสาวรีย์ชัย, เขตปทุมวัน จับฉลากได้สาขา BTS สยาม และ เขตดินแดง จับฉลากได้สาขา สาขา ประชาสงเคราะห์, บัญชีร้านแฟมิลี่มาร์ท ทั้งหมด 2 เขตได้แก่ เขตบางรัก จับฉลากได้สาขา สีลมสแควร์, เขตราชเทวี จับฉลากได้สาขา สาขาประตูน้ า และ Gourmet market สยามพารากอน, ขั้นตอนที่ 2 แบ่งจ านวนตัวอย่างเท่าๆกันในแต่ละสาขาสาขาละ 50 คนและ ขั้นตอนที่ 3 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ท าการเดินแจกแบบสอบถามบริเวณสถานที่ที่ก าหนดไว้ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถาม

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) เพ่ืออธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรด้านข้อมูลประชากรศาสตร์และพฤติกกรมการซื้อ ใช้การวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ทางด้านข้อมูล ความตั้งใจซื้อ,ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยภายใน, ปัจจัยด้านสังคมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดใช้การวิเคราะห์แบบหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตามเกณฑ์การให้คะแนน

2. สถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics) ส าหรับการอธิบายผลการทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่างดังต่อไปนี้ การวิเคราะห์เพ่ือทดสอบความสัมพันธ์หรือการส่งผลต่อกันระหว่างตัวแปรอิสระ ได้แก่ปัจจัยภายใน, ปัจจัยทางสังคม และ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับตัวแปรตาม คือ ความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) โดยวิธี Enter Method วัดระดับความเชื่อมั่นนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4. ผลการศึกษา

Page 7: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี สถานภาพการสมรสส่วนใหญ่โสด ระดับการศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน และมีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท

2. ระดับความคิด เห็นของผู้ ตอบแบบสอบถามเกี่ ยวกับ พฤติกรรมการซื้ อพบว่ า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก จ านวน 1-2 ขวด รสชาติที่ชอบมากท่ีสุดคือ รสเก็กฮวย ปัจจัยในการเลือกซื้อคือ รสชาติอร่อย เลือกซื้อเมื่อต้องการเก็บไว้บริโภควันหลัง และ เลือกซื้อที่ร้านสะดวกซ้ือมากที่สุด

3. ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความส าคัญกับหัวข้อ ท่านจะแนะน าให้ครอบครัวและญาติ ซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมากที่สุด ( = 3.68, S.D = 0.728), ท่านจะซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักอย่างแน่นอน ( = 3.65, S.D = 0.710) และ ท่านจะแนะน าให้เพ่ือนซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก ( = 3.60, S.D = 0.712) ตามล าดับ

4. ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเก่ียวกับปัจจัยภายในพบว่า

ตารางที่ 1 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ด้านแรงจูงใจ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือลดน้ าหนัก 3.67 0.657 ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือลดการดูดซึมของน้ าตาล

3.54 0.714

ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือลดระดับคอเลสเตอรอล

3.39 0.767

ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือแก้กระหายน้ า 3.40 0.746

เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมีความปลอดภัยด้านบริโภค 3.47 0.728

ด้านแรงจูงใจในประเด็น ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือลดน้ าหนัก ( = 3.67, S.D = 0.657) ,ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือลดการดูดซึมของน้ าตาล ( = 3.54, S.D = 0.714) และเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมีความปลอดภัยด้านบริโภค ( = 3.47, S.D = 0.728) ตามล าดับ

Page 8: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ตารางที่ 2 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการรับรู้ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

การรับรู้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ท่านตัดสินใจซื้อเพราะมีของตัวอย่างให้ชิม 3.60 0.739

ท่านคิดว่าเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก รสชาติอร่อย 3.51 0.746

เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมีกลิ่นหอมตามน้ าผลไม้ที่ผสมใน เม็ดแมงลัก

3.48 0.825

ท่านเคยเห็นโฆษณาทางนิตยสาร 3.42 0.825 ท่านเคยเห็นโฆษณาบน Facebook 3.33 0.857

ท่านเคยเห็นโฆษณาบนเว็ปไซต์ 3.33 0.818

ด้านการรับรู้ ในประเด็น ท่านตัดสินใจซื้อเพราะมีของตัวอย่างให้ชิม ( = 3.60 , S.D = 0.739), ท่านคิดว่าเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักรสชาติอร่อย ( = 3.51, S.D = 0.746) และเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมีกลิ่นหอมตามน้ าผลไม้ที่ผสมในเม็ดแมงลัก ( = 3.48, S.D = 0.825) ตามล าดับ

ตารางที่ 3 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการเรียนรู้ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

การเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

การถ่ายทอดความรู้สรรพคุณมีผลต่อการซื้อ 3.53 0.745

มีการศึกษาข้อมูลเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักด้วยตนเอง 3.47 0.810 ประสบการณ์ของท่านมีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

3.47 0.831

ด้านการเรียนรู้ ในประเด็น การถ่ายทอดความรู้สรรพคุณมีผลต่อการซื้อ ( = 3.53, S.D = 0.748 ), มีการศึกษาข้อมูลเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักด้วยตนเอง และ ประสบการณ์ของท่านมีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก ( = 3.47, S.D = 0.810 และ 0.831 ) ตามล าดับ

Page 9: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ตารางที่ 4 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านทัศนคติที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ด้านทัศนคติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ท่านมีความเชื่อว่าเม็ดแมงลักท าให้ขับถ่ายง่าย 3.51 0.736

ท่านมีความเชื่อว่าเม็ดแมงลักท าให้อิ่มท้อง 3.73 0.690

ท่านเชื่อว่าเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมีประโยชน์ต่อร่างกาย 3.78 0.676 ท่านรู้สึกสดชื่นเมื่อดื่มเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก 3.49 0.776

ท่านรู้สึกดีเม่ือได้ดื่มเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก 3.49 0.746

ด้านทัศนคติในประเด็น ท่านเชื่อว่าเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมีประโยชน์ต่อร่างกาย ( = 3.78, S.D = 0.676) ,ท่ า น มี ค ว า ม เ ชื่ อ ว่ า เ ม็ ด แ ม ง ลั ก ท า ใ ห้ อ่ิ ม ท้ อ ง ( = 3.73, S.D = 0.690) และท่านมีความเชื่อว่าเม็ดแมงลักท าให้ขับถ่ายง่าย ( = 3.51, S.D = 0.736) ตามล าดับ

ตารางที่ 5 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านบุคลิกภาพที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ด้านบุคลิกภาพ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักช่วยให้ท่านมีรูปร่างที่ดี 3.56 0.740

เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักช่วยให้ท่านมีผิวพรรณที่ดี 3.46 0.758 ท่านชอบทดลองของใหม่ เช่นแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ,การทดลองซื้อผลิตภัณฑ์แปลกใหม่

3.42 0.831

เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักตอบโจทย์รูปแบบการด าเนินชีวิตของท่าน

3.39 0.762

ด้านบุคลิกภาพ ในประเด็น เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักช่วยให้ท่านมีรูปร่างที่ดี ( = 3.56,

S.D = 0.740) ,เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักช่วยให้ท่านมีผิวพรรณที่ดี ( = 3.46, S.D = 0.758) และท่านชอบทดลองของใหม่ เช่นแสวงหาประสบการณ์ใหม่ , การทดลองซื้อผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ ( = 3.42, S.D = 0.831) ตามล าดับ

Page 10: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

5. ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเก่ียวกับปัจจัยด้านสังคมพบว่า

ตารางที่ 6 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ด้านวัฒนธรรม ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ค่านิยมในความสนใจด้านสุขภาพ ท าให้ท่านอยากดื่มเครื่องดื่มที่ผสมเม็ดแมงลัก

3.63 0.703

สรรพคุณของเม็ดแมงลักเป็นความรู้ที่ได้รับการสอนมาจากบรรพบุรุษ

3.55 0.774

นิยมใช้เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในประเพณีต่างๆ 3.46 0.806

ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากล 3.49 0.725

ด้านวัฒนธรรมในประเด็น ค่านิยมในความสนใจด้านสุขภาพ ท าให้ท่านอยากดื่มเครื่องดื่มที่ผสมเม็ดแมงลัก ( = 3.63, S.D = 0.703), สรรพคุณของเม็ดแมงลักเป็นความรู้ที่ได้รับการสอนมาจากบรรพบุ รุษ ( = 3.55, S.D = 0.774) และผลิตภัณฑ์มี คุณภาพ ได้ รั บการรั บรองจากมาตรฐานสากล ( = 3.49, S.D = 0.725) ตามล าดับ

ตารางที่ 7 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

กลุ่มอ้างอิง ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ท่านอยากมีหุ่นดีเหมือนพรีเซ็นเตอร์ที่โฆษณาเครื่องดื่มนี้ 3.57 0.762

ท่านซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักตามแบบเพ่ือน 3.49 0.739

กลุ่มอ้างอิงในประเด็น ท่านอยากมีหุ่นดี เหมือนพรี เซ็นเตอร์ที่ โฆษณาเครื่องดื่มนี้ ( = 3.57, S.D = 0.762) และท่านซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักตามแบบเพ่ือน ( = 3.49, S.D = 0.739) ตามล าดับ

Page 11: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ตารางที่ 8 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ครอบครัว ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ท่านต้องการซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพราะเห็นคนในครอบครัวบริโภค

3.52 0.739

ครอบครัวแนะน าให้ท่านบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก 3.65 0.744

ด้านครอบครัวในประเด็น ครอบครัวแนะน าให้ท่านบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก ( = 3.65, S.D = 0.744) และท่านต้องการซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพราะเห็นคนในครอบครัวบริโภค ( = 3.52, S.D = 0.739) ตามล าดับ

6 ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด

ตารางที่ 9 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ด้านผลิตภัณฑ์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักควรมีรสชาติที่หลากหลาย 3.69 0.761

มีการระบุคุณค่าทางโภชนาการ 3.59 0.792 บรรจุภัณฑ์สามารถปิดฝาได้สนิทเมื่อเปิดไปแล้ว 3.56 0.845

ต้องมีฉลากระบุส่วนผสม วันเดือนปีผลิตและวันหมดอายุ 3.53 0.813 ควรมีสูตรน้ าตาลน้อย/ไม่มีน้ าตาล 3.43 0.847

ฉลากมีระบุคุณประโยชน์ของเม็ดแมงลัก 3.40 0.785

ด้านผลิตภัณฑ์ ในประเด็น เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักควรมีรสชาติที่หลากหลาย ( = 3.69, S.D = 0.761), มีการระบุคุณค่าทางโภชนาการ ( = 3.59, S.D = 0.792) และบรรจุภัณฑ์สามารถปิดฝาได้สนิทเมื่อเปิดไปแล้ว ( = 3.56, S.D = 0.845) ตามล าดับ

Page 12: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ตารางที่ 10 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านราคาท่ีมีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ด้านราคา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ราคาต่ ากว่ายี่ห้ออ่ืนมีผลต่อการซื้อ 3.55 0.815

ท่านคิดว่าราคาที่สูงหมายถึงผลิตภัณฑ์มีคุณภาพท่ีดี 3.51 0.82

ด้านราคาในประเด็น ราคาต่ ากว่ายี่ห้ออ่ืนมีผลต่อการซื้อ ( = 3.55, S.D = 0.815) รองลงมาคือ ท่านคิดว่าราคาที่สูงหมายถึงผลิตภัณฑ์มีคุณภาพท่ีดี ( = 3.51, S.D = 0.820)

ตารางที่ 11 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านช่องทางการจัดจ าหน่ายที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่ม

ผสมเม็ดแมงลัก

ด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักควรมีวางจ าหน่ายในร้านค้าที่หลากหลาย 3.67 0.750

สามารถซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเว็บไซด์ของบริษัทผู้ผลิตได้ 3.55 0.845 ท่านนิยมเลือกซ้ือเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักที่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า(เช่น Tops, Supermarket, Big C, Lotus )

3.53 0.858

ท่านนิยมเลือกซ้ือเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักที่ร้านสะดวกซ้ือ (เช่น 7-Eleven, family mart)

3.51 0.835

ด้านช่องทางการจัดจ าหน่ายในประเด็น เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักควรมีวางจ าหน่ายในร้านค้าที่หลากหลาย ( = 3.67, S.D = 0.750), สามารถซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเว็บไซด์ของบริษัทผู้ผลิตได้ ( = 3.55, S.D = 0.845), ท่านนิยมเลือกซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักที่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า ( = 3.53, S.D = 0.858) ตามล าดับ

ตารางที่ 12 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านส่งเสริมการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสม

เม็ดแมงลัก

Page 13: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ด้านส่งเสริมการตลาด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ท่านคิดว่าการโฆษณามีส่วนกระตุ้นให้ซื้อ 3.58 0.765

ท่านต้องการให้มีการแจกตัวอย่างสินค้าให้ทดลองชิม 3.51 0.798

รายการแถมสินค้าที่ผลต่อการซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก 3.46 0.855

ด้านส่งเสริมการตลาดในประเด็น ท่านคิดว่าการโฆษณามีส่วนกระตุ้นให้ซื้อ ( = 3.58, S.D = 0.765), ท่านต้องการให้มีการแจกตัวอย่างสินค้าให้ทดลองชิม ( = 3.51, S.D = 0.798) และรายการแถมสินค้าท่ีผลต่อการซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก ( = 3.46, S.D = 0.855)

4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ( Inferential Statistics) โดยสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลของสมมติฐานทั้ง 3 ข้อ ดังนี้

1. สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยภายใน (แรงจูงใจ, การรับรู้, การเรียนรู้, ทัศนคติ, บุคลิกภาพ) ไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ตารางที่ 13 แสดงปัจจัยภายในที่มีต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

*นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

จากตารางที่ 1 ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่าเมื่อวิเคราะห์ความถดถอยด้วยค่าสถิติ Multiple regression แล้ว พบว่าปัจจัยทางด้านการรับรู้ ( sig 0.764 ), ปัจจัยทางด้านบุคลิกภาพ

Model Unstandardized

Coefficients Standardized Coefficients t Sig.

B Std. Error Beta

1

(ค่าคงที)่ 1.956 0.206 9.487 0.000 แรงจงูใจ 0.32 0.065 0.291 4.955 0.000 การรบัรุ ้ -0.019 0.063 -0.02 -0.301 0.764 การเรยีนรู ้ 0.172 0.054 0.203 3.191 0.002 ทศันคต ิ 0.033 0.069 0.032 0.475 0.635 บุคลกิภาพ -0.026 0.057 -0.027 -0.449 0.653

R-square = 0.175, F = 16.768, Sig. = 0.000

Page 14: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

( sig 0.653 ) และปัจจัยทางด้านทัศนคติ ( sig 0.635 ) ไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักโดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig ) มากกว่า 0.05 และ ปัจจัยทาง ด้านแรงจูงใจ ( sig 0.000 ) และปัจจัยด้านการเรียนรู้ ( sig 0.002 ) มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักโดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig ) น้อยกว่า 0.05

สมการพยากรณ์ ความตั้งใจซื้อ = 1.956 + 0.320แรงจูงใจ - 0.19การรับรู้ + 0.172 การเรียนรู้ + 0.033ทัศนคติ - 0.026บุคลิกภาพ

จากสมการเชิงเส้นตรงดังกล่าว จะเห็นว่า ค่าสัมประสิทธิ์ของแรงจูงใจ, การเรียนรู้,ทัศนคติ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวก ถือว่ามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในทิศทางเดียวกัน ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ของการรับรู้และบุคลิกภาพมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นลบ ถือว่ามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในทิศทางตรงกันข้าม

2. สมมุติฐานที่ 2 ปัจจัยทางสังคม (ด้านวัฒนธรรม, กลุ่มอ้างอิง, ครอบครัว) ไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ตารางที ่14 แสดงปจัจยัทางสงัคมทีม่ต่ีอความตัง้ใจซือ้เครือ่งดื่มผสมเมด็แมงลกั

Model Unstandardized Coefficients

Standardized Coefficients

t Sig.

B Std. Error Beta 1 (ค่าคงที่) 2.798 0.183 15.28 0.000

วัฒนธรรม 0.099 0.068 0.101 1.448 0.148

กลุ่มอ้างอิง -0.024 0.067 -0.028 -0.358 0.720 ครอบครัว 0.161 0.066 0.181 2.442 0.015

R-square = 0.55, F = 7.732, Sig. = 0.000

*นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

จากตารางที่ 2 ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยด้วยค่าสถิติ Multiple regression แล้ว พบว่าปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ( sig 0.148 ), กลุ่มอ้างอิง ( sig 0.720 ) ไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักโดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig ) มากกว่า 0.05 และปัจจัยทางด้านครอบครัว (sig 0.015 ) มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักโดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ (sig) น้อยกว่า 0.05

Page 15: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

สมการพยากรณ์ ความตั้งใจซื้อ = 2.798 + 0.099 วัฒนธรรม – 0.024กลุ่มอ้างอิง + 0.161ครอบครัว

จากสมการเชิงเส้นตรงดังกล่าว จะเห็นว่า ค่าสัมประสิทธิ์ของวัฒนธรรมและครอบครัว มีค่าสัมประสิทธิ์เป็นบวก ถือว่ามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในทิศทางเดียวกัน ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ของกลุ่มอ้างอิงมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นลบ ถือว่ามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในทิศทางตรงกันข้าม

3. สมมุติฐานที่ 3 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (ผลิตภัณฑ์ , ราคา , ช่องทางการ จัดจ าหน่าย, ส่งเสริมการตลาด) ไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ตารางที ่15 แสดงปจัจยัส่วนประสมทางการตลาดทีม่ต่ีอความตัง้ใจซือ้เครือ่งดื่มผสมเมด็แมงลกั

Model Unstandardized

Coefficients Standardized Coefficients t Sig.

B Std. Error Beta

1

(ค่าคงที่) 3.031 0.185 16.361 0.000

ผลิตภัณฑ์ 0.088 0.062 0.096 1.431 0.153 ราคา -0.014 0.05 -0.018 -0.282 0.778

ช่องทางการจัดจ าหน่าย 0.055 0.068 0.062 0.81 0.418

ส่งเสริมการตลาด 0.043 0.055 0.052 0.769 0.442 R-square = 0.029, F = 2.914, Sig. = 0.021

*นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากตารางที่ 3 ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า เมื่อวิเคราะห์ความถดถอยด้วยค่าสถิติ

Multiple regression แล้ว พบว่าปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ( sig 0.153 ), ปัจจัยด้านราคา ( sig 0.778 ), ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย ( sig 0.418 ) และ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด ( sig 0.442 ) ไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักโดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig) มากกว่า 0.05

ตารางที่ 16 สรุปการทดสอบสมมติฐาน

Page 16: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

สมมติฐาน ผลการทดสอบสมมติฐาน

ปัจจัยภายใน (แรงจูงใจ, การรับรู้, การเรียนรู้, ทัศนคติ, บุคลิกภาพ) ไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ปัจจัยที่มีผลคือ ด้านแรงจูงใจ และด้านการเรียนรู้

ปัจจัยทางสังคม (ด้านวัฒนธรรม, กลุ่มอ้างอิง, ครอบครัว) ไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก

ปัจจัยที่มีผลคือ ครอบครัว

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (ผลิตภัณฑ์, ราคา, ช่องทางการจัดจ าหน่าย, ส่งเสริมการตลาด) ไม่มีผลต่อความ

ตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก ไม่มีผล

5. สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี สถานภาพการสมรสส่วนใหญ่โสด ระดับการศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน และมีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก จ านวน 1-2 ขวด รสชาติที่ชอบมากที่สุดคือ รสเก็กฮวย ที่มรีสชาติอร่อย เลือกซ้ือเมื่อต้องการเก็บไว้บริโภควันหลัง และเลือกซ้ือที่ร้านสะดวกซ้ือมากที่สุด ด้านความตั้งใจซื้อให้ความส าคัญกับหัวข้อ ท่านจะแนะน าให้ครอบครัวและญาติ ซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมากท่ีสุด ด้านปัจจัยภายในพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นด้วยด้านแรงจูงใจ ในประเด็น ท่านต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือลดน้ าหนัก, ด้านการรับรู้ เรื่อง ท่านตัดสินใจซื้อเพราะมีของตัวอย่างให้ชิม, ด้านการเรียนรู้ ในประเด็น การถ่ายทอดความรู้สรรพคุณมีผลต่อการซื้อ, ด้านทัศนคติ ในประเด็น ท่านเชื่อว่าเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมีประโยชน์ต่อร่างกายและด้านบุคลิกภาพ ในประเด็น เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักช่วยให้ท่านมีรูปร่างที่ดี, ด้านปัจจัยด้านสังคมพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นด้วยในด้านวัฒนธรรม ในประเด็น ค่านิยมในความสนใจด้านสุขภาพ ท าให้ท่านอยากดื่มเครื่องดื่มที่ผสมเม็ดแมงลัก, กลุ่มอ้างอิง ในประเด็น ท่านอยากมีหุ่นดีเหมือนพรีเซ็นเตอร์ที่โฆษณาเครื่องดื่มนี้,ด้านครอบครัว ในประเด็น ครอบครัวแนะน าให้ท่านบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นด้วยใน ด้านผลิตภัณฑ์ เรื่อง เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักควรมีรสชาติที่หลากหลาย, ด้านราคา เรื่อง ราคาต่ ากว่ายี่ห้ออ่ืนมีผลต่อการซื้อ, ด้านช่องทางการจัดจ าหน่าย เรื่อง เครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักควรมีวางจ าหน่ายในร้านค้าที่หลากหลาย, ด้านส่งเสริมการตลาด เรื่อง ท่านคิดว่าการโฆษณามีส่วนกระตุ้นให้ซื้อ

Page 17: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

จากการศึกษาการวิเคราะห์ความถดถอยด้วยค่าสถิติ Multiple regression พิจารณาจากค่า Significant ที่ระดับนัยส าคัญทาสถิติ 0.05 พบว่าปัจจัยภายในที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก คือปัจจัยทางด้านแรงจูงใจ ( sig 0.000 ) และปัจจัยด้านการเรียนรู้ ( sig 0.002 ) มีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig ) น้อยกว่า 0.05, ปัจจัยด้านสังคมที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก คือ ปัจจัยทางด้านครอบครัว ( sig 0.015 ) โดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig ) น้อยกว่า 0.05 และปัจจัยทางการตลาดทุกปัจจัยไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักโดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig ) มากกว่า 0.05 อภิปรายผลการวิจัย

การอภิปรายผลจะเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง โดยจะอธิบายตามสมมติฐานดังนี้

ปัจจัยภายในผลการวิจัยพบว่าปัจจัยภายในที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก คือปัจจัยทางด้านแรงจูงใจ ( sig 0.000 ) และปัจจัยด้านการเรียนรู้ ( sig 0.002 ) มีผลต่อความตั้งใจซื้ อ เครื่ องดื่ มผสมเม็ดแมงลัก โดยมีค่ าระดับนัยส าคัญทางสถิติ จากการทดสอบ ( sig ) น้อยกว่า 0.05 ซึ่งมีส่วนที่สอดคล้องกับงานวิจัยของ ฤทัย เตชะบูรณเทพาภรณ์ , (2554) พบว่า แรงจูงใจไม่ว่าจะเป็นด้านเหตุผลหรือแรงจูงใจด้านอารมณ์ มีผลสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ ปัจจัยด้านการเรียนรู้ ซึ่งประเด็นหนึ่งในการเรียนรู้คือ การถ่ายทอดความรู้สรรพคุณมีผลต่อการซื้อ ซึ่ งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ระพีพรรณ ศรีศรัณยกุล , (2555) พบว่ากลุ่มผู้บริโภคท่ีมีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 18 – 29 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ก าลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้นเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการค้นข้อมูลมากท่ีสุด

ปัจจัยทางสังคมผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านสังคมที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก คือ ปัจจัยทางด้านครอบครัว ( sig 0.015 ) มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักโดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig ) น้อยกว่า 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัชญ์ธนัน พรมมา , (2558) กล่าวไว้ว่า ครอบครัวเป็นปัจจัยที่ท าให้เกิดการคล้อยตามในการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางการตลาดทุกปัจจัยไม่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักโดยมีค่าระดับนัยส าคัญทางสถิติจากการทดสอบ ( sig ) มากกว่า 0.05 ซึ่งผลวิจัยนี้ไม่สอดคล้องกับผลวิจัยของ พัชรี สุวรรณเกิด , (2556) ที่พบว่า ปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการบริโภคน้ าสมุนไพรผสมว่านหางจระเข้ของนักศึกษา แต่

Page 18: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

ผลวิจัยนี้สอดคล้องบางส่วนกับงานวิจัยของ วิภาวี สุรีโย , (2548) ที่พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อในด้านวัตถุประสงค์การซื้อ การเลือกประเภท ชนิดที่เลือก การเลือกบรรจุภัณฑ์ ขนาดบรรจุ สถานที่เลือกซ้ือ และสื่อที่จูงใจให้เลือกซื้อ

ข้อเสนอแนะส าหรับการศึกษาครั้งนี้

1. ผู้ผลิตเครื่องดื่มเม็ดแมงลักควรให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความต้องการและแรงจูงใจในการซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักในเรื่องของ ต้องการบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเพ่ือลดน้ าหนัก, เพ่ือลดการดูดซึมของน้ าตาล, เพ่ือลดระดับคอเลสเตอรอล, เพ่ือแก้กระหายน้ าและเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักมีความปลอดภัยด้านบริโภค เพ่ือท าให้ผู้บริโภคหันมาสนใจและเกิดการบริโภคเพ่ือผลลัพธ์ที่อยากได้ โฆษณาของแต่ละบริษัทในธุรกิจนี้ควรมีการสื่อสารถึงผลลัพธ์ในการเปลี่ยนแปลงเมื่อบริโภคเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักเป็นประจ า เช่น รูปร่างดูดีข้ึน ท าให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น เป็นต้น

2. ผู้ผลิตควรให้ความส าคัญทางด้านการเรียนรู้กับผู้บริโภคให้มากขึ้นเพ่ือให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการบริโภคเม็ดแมงลัก การถ่ายทอดความรู้สรรพคุณมีผลต่อการซื้อ การศึกษาข้อมูลเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลักด้วยตนเองประสบการณ์ที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มผสมเม็ดแมงลัก และความส าคัญด้านครอบครัวด้วย เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลที่ได้จากครอบครัว คนรู้จัก เพ่ือน มักมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าใดสินค้าหนึ่งดังนั้นสื่อที่ท าการสื่อสารออกมา ควรให้ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วมด้วย สื่อให้เห็นถึงการพบปะของครอบครัว เพ่ือนในเทศกาลต่างๆ

3. จากผลการศึกษาพฤติกกรมการซื้อพบว่า ควรเน้นผสมเม็ดแมงลักในน้ าสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะรสเก็กฮวยเป็นการส่งเสริม เพ่ือท าให้สมุนไพรของไทยมีมาตรฐานและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สามารถน าไปเป็นจุดแข็งเพ่ือแข่งขันได้ และควรใส่ใจในเรื่องของรสชาติให้ถูกปากผู้บริโภค และควรวางจ าหน่ายที่ร้านสะดวกซ้ือให้มากขึ้น เพราะเป็นแหล่งที่ผู้บริโภคซื้อมากที่สุด

ข้อเสนอแนะส าหรับการศึกษาครั้งต่อไป

1. เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาเป็นบางเขตเท่านั้น การศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาในพ้ืนที่อ่ืนเพ่ิมเติม เช่นเขคปริมณฑลและจังหวัดอ่ืนๆ เพ่ือน าผลการวิจัยมายืนยันกับผลการวิจัยนี้

2. การศึกษาครั้ งต่อไปควรใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น การสนทนากลุ่ม หรือ การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง เพ่ือหาสาเหตุที่แท้จริงที่มีผลท าให้ผู้บริโภคมีความตั้ งใจซื้อเครื่องดื่มผสม

Page 19: 400 8 Multiple Regression Analysis) - MBA Online UTCCEdit)Id679-03-08-2017_23:... · 2017-08-03 · ศุภร เสรีรัตน์ (2552) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

เม็ดแมงลักซึ่งอาจเป็นปัจจัยทางจิตวิทยา ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด หรือปัจจัยอ่ืนๆ ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ

บรรณานุกรม

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มาหาวิทยาลัย. ณัชญ์ธนัน พรมมา. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. พลอยไพลิน ค าแก้ว. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะบริโภคอาหารเพ่ือสุขภาพ

ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ระพีพรรณ ศรีศรัณยกุล. (2555). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต :พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์. คณะเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รัชนก อัศวโกวิทกรณ์. (2559). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อเครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมดื่มของ

นักศึกษาปริญญาตรีในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิภาวี สุริโย. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อน้้าผัก-น้้าผลไม้พร้อมดื่มของผู้บริโภคใน

เขตกรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). ตลาดเครื่องดื่มพร้อมดื่มปี 2559. ส านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2557). รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557. ฤทัย เตชะบูรณเทพาภรณ์. (2554). แรงจูงใจ และปัจจัยทางการตลาดบนเฟซบุค (Facebook) ที่ม ี

ผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร . หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.