หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน...

24
5-1 หน่วยที5 การก่อให้เกิดสัญญา และการบังคับของสัญญา: การตีความสัญญา รองศาสตราจารย์ ดร.ดาราพร ถิระวัฒน์

Upload: others

Post on 27-Jan-2020

9 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-1

หน่วยที่5การก่อให้เกิดสัญญาและการบังคับของสัญญา:

การตีความสัญญา

รองศาสตราจารย์ดร.ดาราพรถิระวัฒน์

Page 2: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่5

5.1.1 บทบาทสำคัญของเจตนา

5.1.2 คำเสนอคำสนอง

5.1.3 ปัญหาเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของ

การเกิดสัญญา

5.2.1 กรณีที่ต้องมีการตีความสัญญา

5.2.2 หลักการค้นหาเจตนาของคู่สัญญาเพื่อ

การตีความสัญญา

5.1 การก่อให้เกิดสัญญา

5.2 การบังคับของสัญญา:

การตีความสัญญา

การก่อให้เกิด

สัญญาและ

การบังคับของ

สัญญา:การ

ตีความสัญญา

Page 3: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-3

หน่วยที่5

การก่อให้เกิดสัญญาและการบังคับของสัญญา:

การตีความสัญญา

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่5.1 การก่อให้เกิดสัญญา

5.1.1 บทบาทสำคัญของเจตนา

5.1.2 คำเสนอคำสนอง

5.1.3 ปัญหาเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของการเกิดสัญญา

ตอนที่5.2 การบังคับของสัญญา:การตีความสัญญา

5.2.1 กรณีที่ต้องมีการตีความสัญญา

5.2.2 หลักการค้นหาเจตนาของคู่สัญญาเพื่อการตีความสัญญา

แนวคิด1. เจตนาของบุคคลมีบทบาทสำคัญที่ทำให้สัญญาเกิดขึ้นและมีผลบังคับตามกฎหมายอนึ่งการ

เกิดสัญญาต้องมีองค์ประกอบสำคัญคือ เจตนาเสนอและเจตนาสนองประกอบเข้าด้วยกัน

ซึ่งในบางกรณีอาจมีปัญหาเกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่ที่เกิดสัญญา

2. กรณีที่ถ้อยคำหรือข้อความในสัญญาที่ทำขึ้นนั้นก่อให้เกิดข้อโต้แย้งในระหว่างคู่สัญญา

เกี่ยวกับผลบังคับของสัญญา เช่นนี้จำเป็นต้องมีการตีความสัญญาเพื่อค้นหาเจตนาที่แท้จริง

ของคู่สัญญา

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่5จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. เข้าใจและอธิบายถึงหลักการพื้นฐานของกฎหมายสัญญาเรื่องการเกิดขึ้นของสัญญาและเรื่อง

ผลของสัญญาโดยเฉพาะในเรื่องการตีความสัญญาได้

2. เข้าใจและอธิบายถึงเหตุผลของหลักกฎหมายสัญญาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ

พาณิชย์และสามารถตีความและปรับใช้หลักกฎหมายดังกล่าวได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น

3. เข้าใจและอธิบายถึงหลักความสัมพันธ์ของสิทธิหน้าที่และความรับผิดที่คู่สัญญาควรมีต่อกัน

โดยสุจริตและเป็นธรรมต่อกันในทุกสัญญาได้

Page 4: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-4

กิจกรรม1. กิจกรรมการเรียน

1) ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่5

2) อ่านแผนการสอนประจำหน่วยที่5

3) ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่5

4) ศึกษาเนื้อหาสาระ

5) ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6) ตรวจสอบกิจกรรมจากแนวตอบ

7) ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่5

2. งานที่กำหนดให้ทำ

1) ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2) อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

แหล่งวิทยาการ1. สื่อการศึกษา

1) แนวการศึกษาหน่วยที่5

2) ประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่5

2. หนังสือตามที่อ้างไว้ในบรรณานุกรม

การประเมินผลการเรียน1. ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 5: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-5

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนวัตถุประสงค์ เพือ่ประเมนิความรู้เดมิในการเรยีนรู้ของนกัศกึษาเกีย่วกบัเรือ่ง“การกอ่ให้เกดิสญัญาและ

การบังคับของสัญญา:การตีความสัญญา”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1. สัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด

2 . “คำเสนอ”คืออะไร

3.เมื่อคำเสนอมีผลแล้วผู้เสนอจะถอนคำเสนอของตนได้หรือไม่เพราะเหตุใด

4 . “คำสนอง”คืออะไร

5.เพราะเหตุใดเมือ่มีกรณีที่คู่สญัญาฝา่ยหนึง่ไม่ปฏบิตัิการชำระหนี้ตามสญัญาคู่สญัญาฝา่ยนัน้ตอ้งถกูบงัคบั

ตามสัญญาที่เกิดขึ้น

Page 6: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-6

6. เมื่อมีข้อพิพาทว่าสัญญามีผลบังคับคู่สัญญาอย่างไร ท่านเข้าใจว่าเป็นปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

เรื่องใด

7. กรณีใดที่ต้องมีการตีความสัญญา

8. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักการตีความสัญญาไว้อย่างไรบ้าง

9. ท่านเข้าใจว่า“หลักสุจริต”คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรในการตีความสัญญา

10.ท่านเข้าใจว่า“หลักปกติประเพณี”คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรในการตีความสัญญา

Page 7: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-7

ตอนที่5.1

การก่อให้เกิดสัญญา

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่5.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่5.1.1บทบาทสำคัญของเจตนา

เรื่องที่5.1.2 คำเสนอคำสนอง

เรื่องที่5.1.3 ปัญหาเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของการเกิดสัญญา

แนวคิด1. เจตนามีบทบาทสำคัญทั้งในทางข้อเท็จจริงและในทางรากฐานข้อความคิด(concept)ใน

การก่อให้เกิดสัญญา

2. องค์ประกอบของการกอ่ให้เกดิสญัญาคอืการแสดงเจตนาของบคุคลตัง้แต่สองฝา่ยขึน้ไป

ที่มีการแสดงเจตนาในรูปของ“คำเสนอ”และ“คำสนอง”

3. ปัญหาเกี่ยวกับเวลาของการเกิดสัญญา มีความสำคัญในการพิจารณาถึงผลบังคับ

ของกฎหมายที่จะบังคับแก่สัญญา และปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ที่สัญญาเกิดขึ้น มีความ

สำคัญในการพิจารณาถึงเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาข้อพิพาททางสัญญา หรือใน

การพิจารณาปัญหาการขัดกันแห่งกฎหมาย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่5.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. เข้าใจและอธิบายถึงบทบาทสำคัญของเจตนาได้

2. เข้าใจและอธิบายถึงหลักการของคำเสนอและคำสนองได้

3. เข้าใจและอธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของการเกิดสัญญาและความสำคัญ

ในการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวได้

Page 8: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-8

เรื่องที่5.1.1บทบาทสำคัญของเจตนา

สาระสังเขปเจตนาของบุคคลมีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดสัญญา โดยมีความสำคัญทั้งในทางข้อเท็จจริง

กลา่วคอืเจตนาของบคุคลเปน็ตวักำหนดความตอ้งการของบคุคลในการตกลงทำสญัญาเปน็ตวักำหนดเนือ้หา

ของสญัญาและเปน็ตวักำหนดในการตคีวามสญัญาและมีความสำคญัในทางขอ้ความคดิ(concept)เนือ่งจาก

รากฐานของการให้ความสำคัญต่อเจตนาของบุคคลคือหลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาและหลักเสรีภาพใน

การทำสญัญาพืน้ฐานของขอ้ความคดิดงักลา่วมาจากหลกัปรชัญากฎหมายเรือ่งปจัเจกนยิม(Individualism)

และหลักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมเรื่องเสรีภาพในการทำสัญญา(FreedomofContract)โดยอธิบายว่าเจตนา

มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นหลักพื้นฐานของเสรีภาพตามธรรมชาติของมนุษย์หลักปัจเจกนิยม(Individualism)

นี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปรัชญาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นผลจากความคิดทางการเมืองที่ต้องการ

ยืนยันหลักปัจเจกชนนิยมต่อสู้กับรัฐ โดยยืนยันหลักที่ว่ารัฐจะต้องรับรู้สิทธิส่วนบุคคลให้มากที่สุดเท่าที่จะ

เป็นไปได้ รัฐจะต้องไม่ทำลายสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลบุคคลทุกคนมีเสรีภาพ เว้นแต่ในบางเรื่องที่เป็น

กรณีอันสมควรจึงจะมีข้อจำกัดเสรีภาพได้นอกจากนั้นแล้วเสรีภาพของบุคคลจะถูกจำกัดลงได้ก็ด้วยความ

สมัครใจของบุคคลนั้นเองเท่านั้นอีกทั้งตามหลักเสรีภาพในทางเศรษฐกิจในคริสต์ศตวรรษที่18ที่มีระบบ

เศรษฐกิจแบบการค้าเสรีlaissez-faire, laissez-passerที่ว่าบุคคลทุกคนจะต้องมีเสรีภาพเว้นแต่ในบาง

กรณีที่เป็นการสมควรที่จะวางข้อจำกัดเสรีภาพลง กฎเกณฑ์ที่ดีที่สุดที่สังคมควรจะมีนั้น คือ กฎเกณฑ์ที่

คู่สญัญามีความเทา่เทยีมกนัเปน็ผู้ตกลงกนัเองโดยถอืวา่กฎเกณฑ์ที่ตกลงกนัได้นัน้เปน็กฎเกณฑ์อนัหนึง่ที่เกดิ

จากเจตนาที่ให้ใช้บังคับแก่กรณีของตนโดยเฉพาะซึ่งจะเป็นกฎเกณฑ์ที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรมแก่เอกชน

ด้วยกันเองหลักเสรีภาพในการทำสัญญานี้เป็นหลักที่อธิบายว่าหนี้ที่เกิดจากสัญญาจะเป็นหนี้ที่ยุติธรรม

สำหรับคู่สัญญา เพราะคู่สัญญามีเสรีภาพอิสระที่จะตกลงทำสัญญาหรือไม่ก็ได้ ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่ามี

การเอารัดเอาเปรียบเกินไป หรือหนี้ที่ตนรับภาระไว้มีมากกว่าหนี้ที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตอบแทนจนไม่

เป็นธรรมแล้วก็ไม่จำต้องยอมรับตกลงก่อให้เกิดหนี้นั้นโดยการไม่ตกลงทำสัญญาด้วยเมื่อใดที่คู่สัญญา

ตกลงทำสัญญาก็ต้องถือเท่ากับว่าคู่สัญญาเห็นว่าหนี้นั้นยุติธรรมแล้ว และหลังจากที่สัญญาเกิดขึ้นแล้ว

คู่สญัญาฝา่ยหนึง่จะอา้งภายหลงัวา่ตนไม่ได้รบัความยตุธิรรมไม่ได้เพราะในขณะทำสญัญาไมม่ีใครบงัคบัเมือ่

คู่สญัญาเหน็วา่ไม่ยตุธิรรมก็ไม่จำตอ้งตกลงทำสญัญาดว้ยเมือ่ตกลงทำสญัญาแลว้สญัญาจะยตุธิรรมสำหรบั

คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ดีคำอธิบายนี้จะใช้ได้ต่อเมื่อสภาพข้อเท็จจริงผู้ที่เข้ามาตกลงทำสัญญานั้นมี

เสรีภาพอย่างแท้จริงที่สามารถไตร่ตรองความผูกพันที่จะเกิดขึ้นตามสัญญา โดยไม่ได้อยู่ในสภาพจำต้อง

ยอมรับข้อสัญญานั้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการทำสัญญา

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่5ตอนที่5.1เรื่องที่5.1.1)

Page 9: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-9

กิจกรรม5.1.1

จงอธิบายว่าเจตนาของบุคคลมีบทบาทความสำคัญในการก่อให้เกิดสัญญาอย่างไรบ้าง

บันทึกคำตอบกิจกรรม5.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่5ตอนที่5.1กิจกรรม5.1.1)

Page 10: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-10

เรื่องที่5.1.2คำเสนอคำสนอง

สาระสังเขปคำเสนอและคำสนองเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สัญญาเกิดขึ้น ลักษณะของการแสดงเจตนา

เชน่ไรจงึจะเปน็คำเสนอและเปน็คำสนองคำเสนอเปน็คำขอทำสญัญาจงึตอ้งเปน็การแสดงเจตนาที่มีลกัษณะ

ชัดเจนมีความแน่นอน และไม่เคลือบคลุม กล่าวคือ ผู้ขอทำสัญญาจะต้องแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจว่า

ต้องการผูกพันตนเองกับบุคคลอื่นที่ตนขอทำสัญญาด้วยในลักษณะเป็นการขอทำสัญญากับอีกฝ่ายหนึ่ง

เจตนาที่แสดงออกมาในรูปของคำเสนอนี้จึงต้องประกอบด้วยรายละเอียดสำคัญๆของสัญญาเพียงพอที่จะ

ทำให้อีกฝ่ายที่รับคำเสนอนั้นสามารถนำมาพิจารณาไตร่ตรองตัดสินใจเข้าทำสัญญาและจะต้องแสดงให้เห็น

ถึงความตั้งใจว่าต้องการผูกพันตนเองกับบุคคลอื่นที่ตนขอทำสัญญาด้วยส่วนคำสนองเป็นการแสดงเจตนา

สนองรับเข้าทำสัญญาตามเนื้อหาที่เสนอมาโดยไม่มีข้อสงวนข้อโต้แย้งใดๆหากคำตอบของผู้รับคำเสนอไม่

ตรงกับคำเสนอการแสดงเจตนาของผู้รับคำเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นคำเสนอใหม่ของผู้รับคำเสนอนั้นก็ได้

กฎหมายให้ถือว่าคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยนั้นเป็น

คำบอกปัดไม่รับทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว นอกจากนี้คำสนองอาจมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนา

โดยชัดแจ้ง หรือเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าการแสดงเจตนาโดย

ปริยายนั้นปราศความเคลือบคลุมดังที่มาตรา361วรรคสองกำหนดว่าถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดงหรือ

ตามปกติประเพณีไม่จำเป็นจะต้องมีคำบอกกล่าวสนองสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใด

อันหนึ่งขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ

ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับคำเสนอ เช่น ในกรณีที่มีการถอนคำเสนอก่อนสิ้นสุดระยะเวลาที่

กำหนดไว้หรือระยะเวลาอันสมควรผู้ให้คำเสนอจะต้องมีความรับผิดชอบในลักษณะใด ในปัญหาเรื่องนี้มี

ความเห็นของนักกฎหมายวิเคราะห์ลักษณะความรับผิดไว้หลายลักษณะอาจเป็นความรับผิดทางละเมิดหรือ

เป็นความรับผิดในมูลหนี้นิติกรรมฝ่ายเดียวหรือเป็นความรับผิดก่อนสัญญา

ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับคำสนอง เช่นปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับการนิ่งของผู้รับคำเสนอจะ

ถือว่าเป็นการสนองรับมีผลทำให้สัญญาเกิดขึ้นไม่ได้เพราะมีหลักที่ว่า“การนิ่งไม่เป็นการแสดงเจตนา”แต่

มีข้อยกเว้นว่าการสนองรับอาจเกิดขึ้นจากการนิ่งได้ เช่น กรณีการใช้ “หลักความสัมพันธ์กับการกระทำ

ครั้งก่อนๆ” สำหรับกรณีสัญญาที่สิ้นสุดลงตามระยะเวลาและมีการต่อเนื่องของสัญญานั้นเป็นระยะๆผู้

ที่เป็นคู่สัญญามีความสัมพันธ์กับการกระทำครั้งก่อนๆ ที่เคยต่อสัญญากันมา เมื่อสัญญานั้นเป็นสัญญา

ประเภทเดียวกับที่เคยทำกันมาดังนั้นจึงมีเหตุผลที่ยอมรับได้ว่าเมื่อมีการเสนอขอต่อสัญญาใหม่แม้จะไม่มี

การตอบรับสัญญาจะมีต่อกันใหม่ได้เช่นสัญญาเช่าสัญญาประกันภัยโดยสัญญาใหม่ที่ต่อนั้นจะมีเนื้อหา

ผูกพันเหมือนกับสัญญาเดิมที่สิ้นสุดไปเป็นต้น

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่5ตอนที่5.1เรื่องที่5.1.2)

Page 11: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-11

กิจกรรม5.1.2

จงอธิบายว่าคำเสนอคืออะไรและคำสนองคืออะไรและให้ยกตัวอย่างปัญหาทางกฎหมายที่

เกี่ยวกับคำเสนอและคำสนองมาอย่างละปัญหาพร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวด้วย

บันทึกคำตอบกิจกรรม5.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่5ตอนที่5.1กิจกรรม5.1.2)

Page 12: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-12

เรื่องที่5.1.3ปัญหาเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของการเกิดสัญญา

สาระสังเขปการศึกษาถึงเวลาเกิดขึ้นของสัญญานั้นเพื่อพิจารณาถึงผลบังคับของกฎหมายที่จะบังคับกับสัญญา

เพราะโดยหลัก สัญญาจะถูกบังคับตามกฎหมายที่มีผลอยู่ในขณะที่สัญญาเกิดเท่านั้น กฎหมายที่บัญญัติ

ออกมาใหม่ไม่มีผลย้อนหลังไปใช้กับสัญญาที่เกิดขึ้นก่อน ยกเว้นกฎหมายที่ให้ประโยชน์แก่สัญญา ส่วน

กรณีการวิเคราะห์ถึงสถานที่เกิดของสัญญา ก็เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลณที่สัญญาเกิดขึ้น

หรือพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับการขัดกันแห่งกฎหมาย(conflictoflaws)

ปัญหาของเวลาและสถานที่เกิดของสัญญา วิเคราะห์กรณีของผู้ให้คำเสนอ และผู้รับคำเสนอไม่

อยู่ในสถานที่เดียวกันว่าหลักกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้วางหลักทั่วไปไว้ นอกจากนี้

ยังมีกรณีการแสดงเจตนาในรูปคำเสนอคำสนองโดยการส่งและการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้อง

พิจารณาถึงปัญหาเวลาเกิดขึ้นของสัญญาและปัญหาสถานที่ที่สัญญาเกิดขึ้นด้วยปัจจุบันมีกฎหมายวางหลัก

เกี่ยวกับการเกิดสัญญาที่ทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์คือพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ต้องทำการศึกษาในรายละเอียดของกฎหมายฉบับนี้ถึงพัฒนาการและ

หลักการของกฎหมายดังกล่าวด้วย

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่5ตอนที่5.1เรื่องที่5.1.3)

กิจกรรม5.1.3

ให้อ่านหนังสือThe German Law of Contract, Markensinis, 2nd edition,Oxford

andPortland,Oregon,2006,Chapter2,TheFormationofaContract,pp.55-81และทำ

รายงานในหัวข้อ“ผลของคำเสนอและคำสนอง”

บันทึกคำตอบกิจกรรม5.1.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่5ตอนที่5.1กิจกรรม5.1.3)

Page 13: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-13

ตอนที่5.2

การบังคับของสัญญา:การตีความสัญญา

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่5.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่5.2.1กรณีที่ต้องมีการตีความสัญญา

เรื่องที่5.2.2 หลักการค้นหาเจตนาของคู่สัญญาเพื่อการตีความสัญญา

แนวคิด1. การตีความสัญญาเกิดขึ้นเมื่อมีข้อโต้แย้งระหว่างคู่สัญญา

2. การตีความสัญญาคือการค้นหาเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาซึ่งต้องปรับใช้หลักสุจริต

(GoodFaith)และหลักปกติประเพณี(OrdinaryUsage)

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่5.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. เข้าใจและอธิบายว่ากรณีใดที่จะเกิดข้อโต้แย้งระหว่างคู่สัญญาซึ่งจำเป็นต้องมีการ

ตีความสัญญาได้

2. เข้าใจและอธิบายหลักการตีความสัญญาซึ่งต้องค้นหาเจตนาที่แท้จริง และการปรับใช้

หลักสุจริต(GoodFaith)และหลักปกติประเพณี(OrdinaryUsage)ได้

Page 14: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-14

เรื่องที่5.2.1กรณีที่ต้องมีการตีความสัญญา

สาระสังเขปกรณีใดที่ต้องมีการตีความสัญญา เป็นปัญหากฎหมายที่ต้องพิจารณาก่อน เนื่องจากมีการอธิบาย

กันว่า “เมื่อข้อความในสัญญาชัดแจ้งอยู่แล้วไม่ต้องมีการตีความสัญญา” (in claris non fit interpretatio)

ถ้ามีการนำคำอธิบายดังกล่าวมาปรับใช้ กรณีที่จะมีการตีความสัญญาคงจะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะสัญญาที่

เกิดจากการแสดงเจตนาเสนอสนองกันด้วยความสมัครใจในระหว่างคู่สัญญาคงต้องกำหนดความผูกพัน

ในหนี้ไว้อย่างชัดเจนแต่การใช้หลัก“inclarisnonfitinterpretatio”มีการวิจารณ์ทั้งที่ใช้ในกรณีการตีความ

กฎหมาย รวมทั้งในกรณีการตีความสัญญา หลักดังกล่าวไม่ใช่หลักเคร่งครัดหรือหลักที่ถูกต้องเสมอไป

เป็นหลักที่มีข้อโต้แย้งเพราะถ้อยคำหรือคำศัพท์ในภาษาต่างๆ เป็นที่ยอมรับว่ามีความจำกัดของคำศัพท์

ไม่มีภาษาใดที่มีคำศัพท์ครบถ้วนทั้งหมดอยู่ในแต่ละภาษา ในแต่ละยุคสมัยเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของ

สังคมเกิดขึ้นทำให้มีการบัญญัติคำศัพท์ใหม่ มีการชำระสะสางคำศัพท์ที่ใช้อยู่เสมอนอกจากปัญหาความ

จำกัดของคำศัพท์ที่ใช้อยู่ในภาษาแล้วมักเกิดปัญหาในการใช้เพื่อสื่อความหมายว่าจะตรงกับเจตนาหรือความ

ตอ้งการของบคุคลหรอืไม่นอกจากนี้ยงัมีความแตกตา่งของความหมายในคำศพัท์ทัว่ไปตามภาษาธรรมดากบั

ความหมายของคำศัพท์ทางวิชาการหรือคำศัพท์ทางเทคนิค (technical terms)ดังนั้น ในความเป็นจริง

ถ้อยคำแต่ละถ้อยคำที่ประกอบเป็นข้อความนั้นไม่มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเองความหมายของ

ถอ้ยคำจะชดัเจนตอ่เมือ่เราอา่นรวมกบัถอ้ยคำอืน่ที่เปน็ขอ้ความแวดลอ้มและที่ประกอบเปน็ขอ้ความทัง้หมด

ของเรื่องนั้น หรือถ้อยคำชัดเจนแต่ไม่ได้หมายความเป็นเจตนาที่ชัดเจน จึงเกิดเป็นข้อโต้แย้งในตอนบังคับ

ใช้ขึ้นได้เมื่อเกิดปัญหาข้อโต้แย้งระหว่างคู่สัญญาที่มีข้อพิพาทขึ้นในการวินิจฉัยว่าถ้อยคำที่ใช้ในสัญญาให้

ความหมายที่ชัดเจนหรือไม่ศาลผู้ตีความต้องพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงที่เป็นพฤติการณ์แห่งคดีและข้อสัญญา

ทั้งหมดจึงจะวินิจฉัยได้ว่าตามข้อตกลงนั้นจะมีผลบังคับแก่คู่สัญญาเพียงใดในขณะที่มีการวินิจฉัยว่าเป็น

ถอ้ยคำที่ชดัเจนหรอืไม่นี้จะเหน็ได้วา่ศาลได้ดำเนนิการตคีวามถอ้ยคำที่ชดัเจนนัน้ไปแลว้ดงันัน้การที่กลา่ววา่

“หากข้อความในสัญญาชัดแจ้งอยู่แล้วก็ไม่ต้องมีการตีความสัญญา”จึงไม่ใช่คำอธิบายที่เป็นข้อจำกัดที่จะ

ไม่ให้มีการตีความสัญญาขึ้น ถ้อยคำหรือข้อความในสัญญาอาจเกิดปัญหาที่ต้องตีความได้เสมอเมื่อมีการ

โต้แย้งหรือมีข้อพิพาทเกิดขึ้นในระหว่างคู่สัญญาถึงผลบังคับของสัญญาว่ามีผลผูกพันกันอย่างไรหรือเพียง

ใด แม้ว่าตอนทำสัญญาคู่สัญญาได้กำหนดข้อสัญญาไว้ชัดเจนแล้วก็ตาม ก็อาจเกิดปัญหาต้องตีความเกิด

ขึ้นได้

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่5ตอนที่5.2เรื่องที่5.2.1)

Page 15: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-15

กิจกรรม5.2.1

จงอธิบายว่ากรณีใดที่ต้องมีการตีความสัญญา

บันทึกคำตอบกิจกรรม5.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่5ตอนที่5.2กิจกรรม5.2.1)

Page 16: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-16

เรื่องที่5.2.2หลักการค้นหาเจตนาของคู่สัญญาเพื่อการตีความ

สัญญา

สาระสังเขปการตีความสัญญาเพื่อค้นหาเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญานั้นเป็นกระบวนการ (Process) ของการ

คำนึงถึงเหตุผลและความมุ่งหมายของข้อความนั้นเป็นการใช้เหตุใช้ผลตามหลักตรรกวิทยาและตามความ

ถูกต้องประกอบกันการตีความสัญญาคือ การค้นหาเจตนาที่แท้จริงที่ต้องเป็นเจตนาร่วมกันของคู่สัญญา

โดยต้องเป็นการค้นหาเจตนาในลักษณะที่เป็นเจตนาตามกฎหมายที่ให้มีผลบังคับได้อย่างเป็นธรรมแก่

คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายด้วย แต่การค้นหาเจตนาตามกฎหมายได้นี้ต้องปรับใช้หลักสุจริต (GoodFaith) และ

หลักปกติประเพณี (OrdinaryUsage) ประกอบด้วย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ตีความสร้างเจตนาสมมติที่ไม่ใช่

เจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาหลักการตีความสัญญาดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติ

ไว้ในมาตรา171และมาตรา368

หลักสุจริต (GoodFaith)คือ หลักของความซื่อสัตย์และไว้วางใจของคู่สัญญาที่ควรมีต่อกัน

“สุจริต” ในความหมายของความเป็นธรรม (fairness) ที่คู่สัญญาควรได้รับในการทำสัญญาสัญญาควรมี

ข้อสัญญาที่กำหนดความผูกพันที่ถูกต้องเป็นธรรมในระหว่างคู่สัญญาด้วย

หลักปกติประเพณี(OrdinaryUsage)การตีความสัญญานอกจากต้องตีความไปตามความประสงค์

โดยสุจริตเป็นธรรมที่คู่กรณีพึงคาดหมายได้จากกันและกันแล้ว ยังต้องพิเคราะห์ถึงหลักปกติประเพณี

(OrdinaryUsage) ซึ่งเป็นทางปฏิบัติที่คาดหมายได้ว่าคู่กรณีย่อมทำสัญญากันโดยยึดถือทางปฏิบัติที่ทำ

กันเป็นปกตินั้นเป็นหลักอีกด้วย

การปรับหลักปกติประเพณีเป็นหลักสำคัญที่ต้องปรับใช้ประกอบกับหลักสุจริตเพื่อทำให้เกิดความ

เป็นเหตุเป็นผลเป็นธรรมที่ได้เหมาะเจาะเหมาะสมกับพฤติการณ์ในการทำสัญญาที่เกิดขึ้นด้วย โดยเฉพาะ

ข้อสัญญาที่ใช้ในทางการค้าหรือธุรกิจที่ใช้กันเป็นปกติอยู่ในวงการค้านั้นๆ อยู่แล้วก็ย่อมเป็นที่คาดหมาย

ได้ว่าคู่กรณีที่เป็นพ่อค้าหรือผู้ประกอบการด้วยกันย่อมเข้าใจ แต่ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ได้อยู่ใน

วงการค้าหรือธุรกิจด้วยการจะนำข้อสัญญาที่ใช้อยู่เป็นปกติในทางการค้านั้นๆ ของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมาใช้

ในกรณีนี้จะเกิดปัญหาทางข้อเท็จจริงที่สำคัญคือ ปัญหาของความรู้เรื่องความเข้าใจที่ไม่เท่าเทียมกันของ

คู่สัญญาที่จะเกิดเป็นปัญหาข้อกฎหมายสำหรับการใช้ข้อสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจได้ใช้

อยู่ในการประกอบกิจการที่ตนดำเนินการอยู่เป็นปกติเป็นประจำว่า จะมีผลบังคับได้อย่างเป็นธรรมและพอ

สมควรกับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความด้อยกว่าเนื่องจากไม่ได้เป็นพ่อค้าหรือผู้ประกอบธุรกิจหรือไม่ เช่น

ในการขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งปกติมีคู่มือการใช้สินค้าอยู่กับตัวสินค้าที่มีคำแนะนำการใช้สินค้าพร้อมกับ

สัญญารับประกันสินค้าซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าจะรับประกันความชำรุดบกพร่องไว้และมักจะพบข้อความ

ที่ปรากฏอยู่ในสัญญารับประกันหรือในคู่มือการใช้สินค้าโดยทั่วไปว่า “ไม่รับประกันความชำรุดบกพร่อง

Page 17: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-17

ในการใช้สินค้าที่ไม่ถูกต้อง”ในกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเนื่องจากการที่ผู้ซื้อมาเรียกร้องให้

ผู้ขายรับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องที่เกิดกับตัวสินค้าผู้ขายจะอ้างว่าความชำรุดบกพร่องเกิดจากการที่

ผู้ซื้อสินค้าใช้สินค้าไม่ถูกต้องขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดเช่นนี้เป็นปัญหาที่ต้องตีความข้อสัญญาดังกล่าว

ว่าความหมายของความชำรุดบกพร่องในการใช้สินค้าที่ไม่ถูกต้องที่กำหนดไว้ในสัญญารับประกันสินค้านั้น

ว่าจะมีความหมายเช่นไร ปัญหาว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้าอย่างไม่ถูกต้องนั้น เป็นปัญหา

ข้อเท็จจริงว่าผู้ซื้อมีความรู้ถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้องหรือไม่ อาจพิจารณาได้จากผู้ซื้อที่ดีในระดับธรรมดาทั่วไป

หรือที่กฎหมายเรียกว่า “ระดับวิญญูชน” ว่าสามารถมีความรู้เรื่องเพียงพอในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท

นั้นหรือไม่เพียงใดถ้าพิจารณาถึงแนวปฏิบัติในทางการค้าปกติที่ทำกันว่าสินค้าทุกชิ้นมีรายการในฉลากที่

มีคำแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนแล้ว ถือเอาโดยรวมว่าบุคคลที่ซื้อสินค้ารับรู้หรือกล่าวได้ว่า “ผู้ซื้อ

รู้แล้ว”ทั้งที่ในทางข้อเท็จจริงผู้ซื้ออาจไม่ได้อ่านหรือไม่เข้าใจคำแนะนำทั้งหมดที่มีอยู่ในคู่มือการใช้ จะเอา

โทษแก่ผู้ซื้อได้แล้วหรือ เพราะคำแนะนำในคู่มือนั้นปกติมักมีรายละเอียดมากและเป็นรายละเอียดการใช้

ทางเทคนิคที่อาจไม่เหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้ซื้อสินค้าที่เป็นผู้บริโภคทุกคนเนื่องจากระดับความรู้ของ

ผู้บริโภคมีหลายระดับดังนั้นข้อสัญญามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปในทางการค้าที่ปรากฏอยู่ในสัญญารับประกัน

หรือในคู่มือการใช้สินค้าว่า “ไม่รับประกันความชำรุดบกพร่องในการใช้สินค้าที่ไม่ถูกต้อง”จะปรับใช้กับ

ผู้ซื้อสินค้าโดยทั่วไปทุกคนไม่ได้

กล่าวโดยสรุปหลักการตีความสัญญาเพื่อค้นหาเจตนาที่แท้จริงหรือเจตนาร่วมกันที่คู่สัญญาตกลง

กันก่อหนี้ผูกพันกันนั้น เจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญานั้นจะต้องเป็นเจตนาตามกฎหมายต้องวินิจฉัยปรับ

สิทธิและหน้าที่ตามหลักความผูกพันในหนี้ตามกฎหมายสัญญาพร้อมกับหลักสุจริตและหลักปกติประเพณี

ประกอบกัน เพื่อให้สัญญามีผลที่สอดคล้องกับความตกลงเสนอสนองที่ตรงกันเนื่องจากคู่สัญญาต่างได้

เข้ามาแลกเปลี่ยนเจตนาได้อย่างเป็นธรรมจนก่อให้เกิดสัญญาขึ้น

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่5ตอนที่5.2เรื่องที่5.2.2)

กิจกรรม5.2.2

ให้อ่านหนังสือ Introduction to Comparative Law, Konrad Zweigert andHein

KÕtz,3rdrevisededitionPart2,VIITheFormationofContracts,30:TheConstruction

ofContracts,ClarendonPress,Oxford,1988,pp.429-439และทำรายงาน(ประมาณ20หน้า)

ในหัวข้อ “หลักการตีความสัญญา” โดยวิเคราะห์ถึงหลักและปัญหาพร้อมทั้งวิเคราะห์คำพิพากษา

ศาลฎีกาประกอบด้วย

Page 18: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-18

บันทึกคำตอบกิจกรรม5.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่5ตอนที่5.2กิจกรรม5.2.2)

Page 19: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-19

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่5

การก่อให้เกิดสัญญาและการบังคับของสัญญา:การตีความสัญญา

ตอนที่5.1การก่อให้เกิดสัญญา

แนวตอบกิจกรรม5.1.1

เจตนาของบคุคลมีความสำคญัในทางขอ้เทจ็จรงิเพราะเจตนาของบคุคลเปน็ตวักำหนดความตอ้งการ

ของบุคคลในการตกลงทำสัญญาเป็นตัวกำหนดเนื้อหาของสัญญาและเป็นตัวกำหนดในการตีความสัญญา

อีกทั้งมีความสำคัญในทางข้อความคิด (concept) เพราะรากฐานของความสำคัญของเจตนาของบุคคล

คือหลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาและหลักเสรีภาพในการทำสัญญา

แนวตอบกิจกรรม5.1.2

คำเสนอหรือคำขอทำสัญญาคือการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของบุคคลที่เรียกว่าผู้เสนอหรือผู้ขอทำ

สัญญาเป็นการแสดงความต้องการที่จะทำสัญญากับบุคคลอื่นคำเสนอเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเกิด

ขึ้นของสัญญาถ้าคำเสนอนี้มีการสนองรับสัญญาจะเกิดขึ้นทันทีส่วนคำสนองเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ

เข้าทำสัญญาตามเนื้อหาที่เสนอมาโดยไม่มีข้อสงวนข้อโต้แย้งใดๆ

ตัวอย่างปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับคำเสนอเช่นการวิเคราะห์ถึงปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับความ

รับผิดของผู้ให้คำเสนอที่ถอนคำเสนอก่อนสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือระยะเวลาอันสมควร

ตัวอย่างปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับคำสนองเช่นการวิเคราะห์ถึงปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับการ

นิ่งของผู้รับคำเสนอว่าจะถือเป็นการสนองรับอันมีผลทำให้สัญญาเกิดขึ้นได้หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม5.1.3

สรุปเนื้อหาเรื่อง “ผลของคำเสนอและคำสนอง” จากหนังสือThe German Law of Contract,

Markesinis,2ndedition,OxfordandPortland,Oregon,2006,Chapter2,TheFormationofa

Contract,pp.55-81.

Page 20: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-20

ตอนที่5.2การบังคับของสัญญา:การตีความสัญญา

แนวตอบกิจกรรม5.2.1

เมื่อเกิดข้อโต้แย้งระหว่างคู่สัญญาจะเป็นเหตุให้ต้องมีการตีความสัญญากันทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่

ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งขึ้นได้แก่

1. ข้อความในสัญญาชัดเจนแต่ใช้ถ้อยคำหรือศัพท์ที่มีความหมายหลายนัย

2. ข้อความในสัญญาชัดเจนแต่อาจเกิดปัญหาตอนปรับใช้ข้อสัญญาว่ามีความหมายเพียงใด

3. ข้อความในสัญญาชัดเจนแต่เป็นข้อสัญญาที่กำหนดไว้กว้างหรือใช้ถ้อยคำกว้าง

4. ข้อความในสัญญาชัดเจนแต่สัญญาที่เกิดขึ้นอาจมีปัญหาตอนปรับใช้เพราะเกิดกรณีที่คู่สัญญา

อาจไม่ได้คาดเห็นจึงไม่ได้มีข้อสัญญาไว้หรือมีการทำข้อตกลงไว้ไม่หมดทุกกรณีปัญหานี้จะเกิดกับสัญญา

ที่มีระยะเวลายาว(longtermcontract)

แนวตอบกิจกรรม5.2.2

ทำรายงาน(ประมาณ20หน้า)ในหัวข้อ“หลักการตีความสัญญา”โดยวิเคราะห์ถึงหลักและปัญหา

พร้อมทั้งวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาประกอบด้วย

Page 21: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-21

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียนวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง“การก่อให้เกิดสัญญา

และการบังคับของสัญญา:การตีความสัญญา”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1. สัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด

2 . “คำเสนอ”คืออะไร

3.เมื่อคำเสนอมีผลแล้วผู้เสนอจะถอนคำเสนอของตนได้หรือไม่เพราะเหตุใด

4 . “คำสนอง”คืออะไร

5. เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องถูกบังคับตามสัญญาที่

เกิดขึ้นเพราะเหตุใด

Page 22: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-22

6. เมื่อมีข้อพิพาทว่าสัญญามีผลบังคับคู่สัญญาอย่างไร ท่านเข้าใจว่าเป็นปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

เรื่องใด

7. กรณีใดที่ต้องมีการตีความสัญญา

8. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักการตีความสัญญาไว้อย่างไร

9. ท่านเข้าใจว่า“หลักสุจริต”คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรในการตีความสัญญา

10.ท่านเข้าใจว่า“หลักปกติประเพณี”คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรในการตีความสัญญา

Page 23: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-23

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่5

ก่อนเรียน1. สัญญาเกิดขึ้นเมื่อมีคำเสนอและคำสนองตรงกัน

2. คำเสนอคือการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งในการทำสัญญา

3. เมื่อคำเสนอมีผลแล้ว ผู้เสนอจะถอนคำเสนอของตนไม่ได้จนกว่าจะมีคำสนองกลับมา

เพราะผู้เสนอต้องผูกพันกับการแสดงเจตนาของตนเอง

4. คำสนองคือการแสดงเจตนาของบุคคลที่รับคำเสนอตอบตกลงทำสัญญาด้วย

5. เพราะสัญญาก่อหนี้ที่ทำให้เกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาขึ้น ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติ

การชำระหนี้ตามสัญญาคู่สัญญาอีกฝ่ายมีสิทธิขอให้ศาลสั่งบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

6. เมื่อมีข้อพิพาทว่าสัญญามีผลบังคับคู่สัญญาอย่างไร ถือเป็นปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ

เรื่องการบังคับตามสัญญา

7. เมื่อสัญญามีข้อความมีความหมายไม่ชัดเจนเคลือบคลุมกำกวม

8. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักการตีความสัญญาไว้ คือ หลักการค้นหาเจตนา

ของคู่สัญญา

9. หลักสุจริตคือหลักที่ต้องกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นหลักที่มีความสำคัญในการตีความ

สัญญาเพราะผลบังคับของสัญญาจะต้องชอบด้วยกฎหมาย

10. “หลักปกติประเพณี” คือ หลักประเพณีที่ปฏิบัติต่อๆ กันมานาน เป็นหลักที่สำคัญเพราะถ้า

ไม่มีหลักกฎหมายมาปรับกับสัญญาต้องปรับใช้หลักปกติประเพณีในเรื่องนั้นๆ

หลังเรียน1. สัญญาเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งที่อยู่ในรูปของคำเสนอที่เป็นการแสดง

ความประสงค์ขอให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งมาทำสัญญาด้วย และเมื่อผู้รับคำเสนอตกลงแสดงเจตนาตอบรับ

ตรงกับคำเสนอเป็นการแสดงเจตนาในรูปสนองรับเข้าทำสัญญาด้วย คำสนองตรงกับคำเสนอสัญญาจึง

เกิดขึ้น

2. คำเสนอคือการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งเพื่อขอทำสัญญากับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง

3. เมื่อคำเสนอมีผลแล้ว ผู้เสนอจะถอนคำเสนอของตนไม่ได้ในระยะเวลาหนึ่งอันมีระยะเวลา

สมควรซึ่งผู้ให้คำเสนอจะเปลี่ยนแปลงเจตนาที่แสดงออกไปให้ผู้รับคำเสนอไม่ได้จนกว่าจะมีคำสนอง

กลับมาผู้เสนอต้องผูกพันตามสัญญาที่เกิดขึ้นหรือถ้ามีการไม่รับคำเสนอนั้นคำเสนอจึงจะสิ้นผลผูกพัน

4. คำสนอง คือ การแสดงเจตนาของบุคคลที่รับคำเสนอตอบตกลงทำสัญญาด้วย ซึ่งจะทำให้

สัญญาเกิดขึ้น

Page 24: หน่วย ที่ การ ก่อ ให้ เกิด สัญญา ...5-1 หน วย ท 5 การ ก อ ให เก ด ส ญญา และ การ

5-24

5. เพราะสัญญาก่อหนี้ที่ทำให้เกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาขึ้นถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติการ

ชำระหนี้ตามสัญญาคู่สัญญาอีกฝ่ายมีสิทธิขอให้ศาลสั่งบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

6. เมื่อมีข้อพิพาทว่าสัญญามีผลบังคับคู่สัญญาอย่างไรถือเป็นปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ

ตีความสัญญา

7. เมื่อมีข้อโต้แย้งในระหว่างคู่สัญญาถึงผลบังคับของสัญญาว่ามีความผูกพันระหว่างคู่สัญญา

อย่างไรปัญหาว่าสัญญามีข้อความมีความหมายไม่ชัดเจนเคลือบคลุมกำกวมเป็นเพียงปัญหาหนึ่งที่จะเกิด

การตคีวามสญัญาได้แต่ไม่ได้หมายความจำกดัวา่สญัญาชดัเจนแลว้ไม่ตอ้งตคีวามสญัญาที่มีขอ้ความชดัเจน

อาจเกิดปัญหาการตีความสัญญาได้เพราะข้อความที่ชัดเจนอาจไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา

8. หลักกฎหมายมาตรา 171 ให้ตีความการแสดงเจตนา โดยค้นหาเจตนาที่แท้จริง และหลัก

กฎหมายมาตรา 368 ให้ตีความสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ปกติประเพณีด้วย

การค้นหาเจตนาของคู่สัญญา

9. หลักสุจริต (GoodFaith)คือหลักของความซื่อสัตย์และไว้วางใจของคู่สัญญาที่ควรมีต่อกัน

“สุจริต” ในความหมายของความเป็นธรรม (fairness)ที่คู่สัญญาควรได้รับในการทำสัญญาสัญญาควร

มีข้อสัญญาที่กำหนดความผูกพันที่ถูกต้องเป็นธรรมในระหว่างคู่สัญญาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อตกลง

ในหนี้ที่เป็นสาระสำคัญๆที่ควรต้องมีอยู่ในสัญญานั้น ถ้าเป็นสัญญาที่มีชื่อตามเอกเทศสัญญาในประมวล

กฎหมายหนี้ที่เป็นสาระสำคัญควรต้องมีเช่นไรในระหว่างคู่สัญญาก็พิจารณาได้จากสิทธิหน้าที่ที่กำหนดไว้

ในกฎหมายของเอกเทศสัญญานั้นๆ เพราะต้องถือว่าสิทธิหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นมีความเป็นสัดเป็น

ส่วนที่สมดุลในระดับหนึ่งในระหว่างคู่สัญญาที่ตกลงยินยอมกันอย่างเสมอภาคในสายตาของกฎหมาย

10.“หลักปกติประเพณี”(OrdinaryUsage)หมายถึงธรรมเนียมปฏิบัติต่อกันในวงอาชีพหนึ่งๆ

ที่ทางปฏิบัติทำกันอยู่เป็นปกติในวงการนั้นๆ เช่นประเพณีการค้าในการขนส่ง การปรับหลักปกติประเพณี

เป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องปรับใช้ประกอบกับหลักสุจริตเพื่อทำให้เกิดความเป็นเหตุเป็นผลและ

เป็นธรรมที่ได้เหมาะเจาะเหมาะสมกับพฤติการณ์ในการทำสัญญาที่เกิดขึ้นด้วย