คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3...

53
คูมือการตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกร 1 คํานํา สํานักจัดการคุณภาพน้ํากรมควบคุมมลพิษ ไดมีการตรวจวัดกลิ่นจากระบบบําบัดน้ําเสียจาก โรงงานอุตสาหกรรมดวยเครื่อง Olfactometer ซึ่งเปนเครื่องมือที่ทําการเจือจางกลิ่นตัวอยางดวยอากาศ ปราศจากกลิ่นแบบ dynamic มาตั้งแตป .. 2545 อยางไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องมือดังกลาวมีราคาแพง ประกอบกับการใชงานที่มีรายละเอียดมาก ทําใหมีการใชงานไมแพรหลาย ตั้งแตป .. 2545 เปนตนมา เหตุรองเรียนเรื่องกลิ่นมีจํานวนมากขึ้น หนวยงานสวนภูมิภาค ซึ่งเปนผูรับเรื่องรองเรียนขาดเครื่องมือในการตรวจวัด ดังนั้น กรมควบคุมมลพิษจึงไดทําการศึกษาเกณฑ ปฏิบัติในการจัดการและควบคุมกลิ่นจากฟารมสุกร ในป .. 2547 และทําการศึกษาการแพรกระจาย ของกลิ่นจากฟารมสุกร ในป .. 2548 โดยดัดแปลงวิธีการตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกรตามมาตรฐาน ของ Triangular Odor Bag Method (TOB) และเรียกวิธีที่ดัดแปลงขึ้นใหมนี้วา Modified Triangular Odor Bag Method (M-TOB) ซึ่งเปนวิธีที่สามารถประหยัดเวลาในการเตรียมตัวอยางกลิ่น ลดคาใชจาย ในการซื้อเครื่องมือและอุปกรณจากตางประเทศ และยังคงมีความถูกตองแมนยําในการตรวจวัดกลิ่น คูมือการตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกรเลมนีประกอบดวยการเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน การคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น การเก็บตัวอยางกลิ่นที่ริมรั้วฟารมสุกร การเจือจางกลิ่นตัวอยาง การตรวจวัด กลิ่นตัวอยาง และการคํานวณคาความเขมขนกลิ่น เพื่อเปนแนวทางใหแกเจาหนาที่ที่เกี่ยวของและผูสนใจ ในการดําเนินการตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกรตอไป สํานักจัดการคุณภาพน้ํา กรมควบคุมมลพิษ

Upload: others

Post on 30-Sep-2020

10 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

1

คํานํา

สํานักจัดการคุณภาพน้ํากรมควบคุมมลพิษ ไดมีการตรวจวัดกลิ่นจากระบบบําบัดน้ําเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมดวยเครื่อง Olfactometer ซ่ึงเปนเครื่องมือที่ทําการเจือจางกลิ่นตัวอยางดวยอากาศปราศจากกลิ่นแบบ dynamic มาตั้งแตป พ.ศ. 2545 อยางไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องมือดังกลาวมีราคาแพง ประกอบกับการใชงานที่มีรายละเอียดมาก ทําใหมีการใชงานไมแพรหลาย

ตั้งแตป พ.ศ. 2545 เปนตนมา เหตุรองเรียนเรื่องกล่ินมีจํานวนมากขึ้น หนวยงานสวนภูมิภาค ซ่ึงเปนผูรับเรือ่งรองเรยีนขาดเครือ่งมอืในการตรวจวดั ดงันัน้ กรมควบคมุมลพษิจงึไดทาํการศกึษาเกณฑปฏิบัติในการจัดการและควบคุมกลิ่นจากฟารมสุกร ในป พ.ศ. 2547 และทําการศึกษาการแพรกระจายของกลิ่นจากฟารมสุกร ในป พ.ศ. 2548 โดยดัดแปลงวิธีการตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกรตามมาตรฐานของ Triangular Odor Bag Method (TOB) และเรียกวิธีที่ดัดแปลงขึ้นใหมนี้วา Modified Triangular Odor Bag Method (M-TOB) ซ่ึงเปนวิธีที่สามารถประหยัดเวลาในการเตรียมตัวอยางกลิ่น ลดคาใชจายในการซื้อเครื่องมือและอุปกรณจากตางประเทศ และยังคงมีความถูกตองแมนยําในการตรวจวัดกลิ่น

คูมือการตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกรเลมนี้ ประกอบดวยการเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน การคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น การเก็บตัวอยางกลิ่นที่ริมร้ัวฟารมสุกร การเจือจางกลิ่นตัวอยาง การตรวจวัดกล่ินตวัอยาง และการคาํนวณคาความเขมขนกลิน่ เพือ่เปนแนวทางใหแกเจาหนาทีท่ีเ่กีย่วของและผูสนใจในการดําเนินการตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกรตอไป

สํานักจัดการคุณภาพน้ํากรมควบคุมมลพิษ

Page 2: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

2

สารบัญ

หนาคํานํา 1สารบัญ 2บทนํา 3

การตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกร 51. หนวยความเขมขนของกลิ่น 62. การคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น 6

2.1 คณุสมบตัพิืน้ฐานของผูทดสอบกลิน่ 62.2 กล่ินมาตรฐานสําหรับคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น 724.3 หองทดสอบกลิ่น 72.4 อุปกรณสําหรับคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น 82.5 ขั้นตอนการเตรียมชุดทดสอบกลิ่นมาตรฐาน 92.6 ขั้นตอนการทดสอบเพื่อคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น 11

3. การเก็บตัวอยางกลิ่นจากฟารมสุกร 133.1 อุปกรณสําหรับการเก็บตัวอยางกลิ่น 133.2 ขั้นตอนการเก็บตัวอยางกลิ่น 17

4. การตรวจวัดกลิ่นดวยวิธี M-TOB 224.1 อุปกรณสําหรับการตรวจวัดกลิ่นดวยวิธี M-TOB 224.2 การเจือจางกลิ่นตัวอยาง 274.3 หนาที่ของผูควบคุมการทดสอบกลิ่น 304.4 ขั้นตอนและวิธีการตรวจวัดกลิ่น 314.5 การคํานวณคาความเขมขนกลิ่น 35

ภาคผนวก ก วิธีการเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน 37ภาคผนวก ข สวนประกอบและการทํางานของอุปกรณตางๆ 43

Page 3: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

3

บทนํา

กล่ิน (Odor) คอื โมเลกลุของสารทีห่ลุดออกแหลงกาํเนดิ และถกูดกัจบัโดยปลายประสาทรบักลิน่(Odorant receptor) ซ่ึงจะสงสัญญาณไฟฟาไปยังศูนยรับสัญญาณที่เรียกวา glomeruli ในสวนของสมองที่ยื่นมาเหนือจมูกที่เรียกวา Olfactory bulb ตามกลไกดังรูป

กลไกการรับรูกล่ินของมนุษยที่มา : http://nobelprize.org/medicine/laureates/2004/press.html

Page 4: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

4

มนษุยมเีซลลประสาทรบักลิน่จาํนวน 350 ตวั แตละตวัสรางขึ้นจากโปรตีนที่ประกอบดวยลูกโซกรดอะมิโนที่ทบไปมา 7 รอบ มีลักษณะเปนกะเปาะเหมาะสําหรับการดักจับโมเลกุลกล่ิน เซลลรับกลิ่นแตละตวัจะรบัโมเลกลุกล่ินไดเพยีงชนดิเดยีว แตเนือ่งจากกลิน่ทีเ่ราไดรับประกอบดวยโมเลกลุหลายชนดิกล่ินหนึ่งๆ จึงไปกระตุนประสาทรบักลิ่นหลายๆ สวน สัญญาณทางประสาทจะถูกสงไปยังสถานีรับสงสัญญาณในปลายสมอง Olfactory bulb ที่เรียกวา Glomerulus ซ่ึงเซลลประสาทรับกลิ่นแตละตัวจะสงสัญญาณไปยัง glomeruli ตัวเดิมเทานั้น

การแบงแยกหนาทีเ่ชนนีย้งัคงเกดิขึน้ในระบบประสาทชัน้ตอไปอกี กลาวคอื glomeruli หนึง่ๆจะสงสัญญาณตอไปยังเซลล mitral ตัวเดียวกันตลอด และ Mitral cell ก็จะสงสัญญาณนี้ไปยังจุดเล็กๆหลายๆ จุดในสมอง เมื่อสัญญาณทั้งหมดประกอบกันจะเปนเอกลักษณเฉพาะของแตละกลิ่น ซ่ึงเปน เหตุผลที่สมองของเราสามารถจําแนกและจดจํากลิ่นที่มีลักษณะตางๆ กัน ไดมากถึง 10,000 กล่ิน

กล่ินเหมน็ทีเ่กดิจากกจิกรรมการเลีย้งสกุร มกัจะเปนสารตวักลาง (Intermediate) หรืออาจเปนผลิตภณัฑสุดทาย (Final product) ของกระบวนการยอยสลายแบบไมใชออกซิเจนของของเสียภายในฟารมสุกร ไดแก มูลและปสสาวะสุกร เศษอาหารที่บูดเนาซึ่งติดอยูตามพื้นคอกและตวัสุกร และน้ําเสียจากการลางทําความสะอาดคอกสุกร ทําใหเกิดกาซแอมโมเนีย กาซกาซไขเนาหรือไฮโดรเจนซัลไฟด และสารในกลุมของกรดไขมันระเหย (Volatile Fatty Acids)

แหลงกําเนิดกลิ่นที่สําคัญภายในฟารมสุกรมี 4 แหลง ไดแก

• โรงเรือนและคอกเลี้ยงสุกร

• ลานตากและโรงเก็บมูลสุกร

• ระบบรวบรวมและบําบัดน้ําเสีย

• พื้นที่ที่นํามูลสุกรไปใชประโยชน

การจัดการกลิ่นภายในฟารม เปนปจจัยหลักที่มีผลตอความรุนแรงของกลิ่นที่จะแพรกระจายออกจากฟารมสุกร นอกจากนี้ยังเปนผลมาจากปจจัยหลายประการ เชน ลักษณะภูมิประเทศของที่ตั้งฟารมสุกร ขนาดและชนิดของการเลี้ยงสุกร ฤดูกาล อุณหภูมิและความชื้น ชวงเวลาของวัน รวมทั้งความเร็วและทิศทางลมที่พัดผานแหลงกําเนิดกลิ่นภายในฟารมดวย

Page 5: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

5

การตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกร

การตรวจวัดกลิ่นจากฟารมสุกร ประกอบดวยการคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น การเก็บตัวอยางกล่ินใตทิศทางลมที่ริมร้ัวฟารมสุกร และการตรวจวัดกลิ่นตัวอยางซึ่งตองทําภายใน 24 ช่ัวโมง หลังการเก็บตัวอยาง โดยมีขั้นตอนสรุปไดดังนี้

เก็บตัวอยางกล่ินบริเวณริมร้ัวฟารมสกุร

เตรียมเจอืจางกลิ่นทีอ่ัตราสวนทีเ่หมาะสมอยางนอย 4 อัตราสวน

คัดเลือกผูทดสอบกลิ่นโดยการดมกลิ่นมาตรฐาน 5 กล่ิน

ใหไดอยางนอย 10 คน

ทาํ confirm testในวันทีท่าํการตรวจวัดกลิ่นจริง

ใชหลอดฉีดยาเจือจางกลิ่นตวัอยางแลวทดลองดม

ใชกล่ินมาตรฐาน5 ชนิด

ใชกล่ินมาตรฐาน3 ชนิด

เริ่มตรวจวัดกลิ่นดวยผูทดสอบกลิ่นจาํนวน 6 คน

ทีผ่าน confirm test

ทาํการดมกลิ่นจนไดอัตราสวนการเจอืจางตํ่าสดุทีมี่ผูตอบผิด

และอัตราสวนการเจอืจางสงูสดุทีมี่ผูตอบถูก

คํานวณคาความเขมขนของกลิ่นตัวอยาง

สงไปตรวจวัดภายใน 24 ช่ัวโมง

Page 6: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

6

1. หนวยความเขมขนของกลิ่น

ความเขมขนกลิ่น (Odor Concentration) ตรวจวัดในหนวย OU (Odor Unit) ซ่ึงแสดงถึง จํานวนเทาของอากาศปราศจากกลิ่นที่ตองใชในการเจือจางกลิ่นตัวอยางจนไปถึงระดับที่ไมไดกล่ิน (Threshold)

2. การคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น

2.1 คณุสมบตัพิืน้ฐานของผูทดสอบกลิน่บคุคลผูจะทาํหนาทีเ่ปนผูทดสอบกลิน่ ตองมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้1) ไมจํากัดเพศ อายุระหวาง 18-60 ป2) เปนผูที่ใหความรวมมือดวยความเต็มใจ3) เปนผูที่มีสุขภาพรางกายแข็งแรง ไมเปนโรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคภูมิแพ4) ไมเปนผูที่มีความตื่นตระหนก ตกใจงาย5) ไมอยูในระหวางตั้งครรภ6) ตองไมเปนผูที่ทํางานในฟารมสุกรหรือพื้นที่ที่มีกล่ินเหม็น7) เปนผูที่ผานการทดสอบบุคคลที่จะทําหนาที่ทดสอบกลิ่น (panelist screening test)

กอนการคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น จะตองแจงใหผูเขารับการทดสอบรับทราบดังนี้คือ1) ไมใชเครื่องสําอางที่มีกล่ินแรง เชน น้ําหอม แปงหอม เจลแตงผม ในวันที่ทําการ

ทดสอบกลิ่น2) งดทานอาหารกลิ่นแรง เชน กระเทียม ตนหอม ผักกลิ่นแรงตางๆ เครื่องเทศ หรือ

แกงที่มีกล่ินแรง3) งดดื่มสุราและงดสูบบุหร่ี อยางนอย 10 ช่ัวโมง กอนการทดสอบกลิ่น4) งดการดื่มน้ําอัดลมหรือน้ําหวาน ลูกกวาด หมากฝรั่ง และขนมขบเคี้ยวตางๆ5) บวนปากดวยน้ําสะอาดหลายๆ คร้ัง หลังรับประทานอาหาร ถาตองการแปรงฟน

ควรทํากอนการทดสอบไมนอยกวา 1 ช่ัวโมง6) ผูทดสอบกลิ่นควรมาถึงสถานที่ทดสอบ กอนเวลาประมาณ 30 นาที

Page 7: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

7

2.2 กล่ินมาตรฐานสําหรับคัดเลือกผูทดสอบกลิ่นกล่ินมาตรฐานจํานวน 5 กล่ิน เตรียมจากสารเคมีที่มีความคงตัวสูงและไมมีอันตรายตอ

สุขภาพของมนุษย มีลักษณะกลิ่นและความเขมขนดังแสดงในตารางที่ 2.2-1

ตารางที่ 2.2-1 สารละลายกลิ่นมาตรฐาน 5 กล่ิน ท่ีใชคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น

สารละลายกลิ่นมาตรฐาน ลักษณะกลิ่น ระดับความเขมขน (w/w)

A: Phenyl-Ethyl Alcohol กล่ินดอกไม 10-4

B: Propionic acid กล่ินบูดเปรี้ยว 10-4.

C: Iso-valeric acid กล่ินเนา 10-5

D: Gamma undecalactone กล่ินผลไม 10-4.5

E: Skatol กล่ินอุจจาระ 10-5

วิธีการเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน 5 กล่ิน แสดงในภาคผนวก ก

2.3 หองทดสอบกลิ่นพื้นที่สําหรับใชในการทดสอบกลิ่น ควรมีลักษณะดังนี้

• เปนหองที่ระบายอากาศไดดี ไมมีกล่ินอับ กล่ินสารเคมี หรือกล่ินรบกวนอื่นๆ จากภายนอก

• ไมมีคนพลุกพลาน หรือเดินขวักไขวไปมา

• ไมอยูในบริเวณที่มีเสียงดัง ซ่ึงเปนการรบกวนผูทดสอบกลิ่น

• อุณหภูมิภายในหองควรมีคาระหวาง 25-30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธระหวางรอยละ 40-70

หองทดสอบกลิ่น ควรแบงเปน 3 สวน (ดังรูปที่ 2.3-1) ไดแก

• หองทดสอบกลิ่น (sensory test room) เปนสวนที่ใชสําหรับการดมทดสอบกลิ่น ควรมีขนาดประมาณ 12 ตารางเมตร

• หองพักผอน (rest room) สําหรับใหผูทดสอบกลิ่นพักผอนในชวงพักการดมกลิ่นหรือเมื่อมีอาการลาจากการดมกลิ่น ควรมีขนาดประมาณ 20 ตารางเมตร อาจอยูในบริเวณเดียวกันกับหองทดสอบกลิ่นแตใชฉากกั้นกไ็ด

Page 8: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

8

• หองเตรียมตัวอยาง (sensory arrangement room) ใชในการเตรียมชุดทดสอบกล่ินมาตรฐานและการเจอืจางกลิน่ตวัอยาง ควรอยูแยกกบัหองทดสอบกลิน่และหองพกัผอน เพือ่ไมให ผูทดสอบกลิ่นขาดสมาธิเนื่องจากเสียงดังของเครื่องดูดอากาศและเสียงพูดคุยของผูควบคุมการทดสอบ โดยควรมีพื้นที่ประมาณ 30-40 ตารางเมตร

รูปท่ี 2.3-1 ตัวอยางลักษณะของหองทดสอบกลิ่น

2.4 อุปกรณสําหรับคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น1) กระดาษทดสอบกลิน่ (smelling strip) หรือกระดาษกรองทีใ่ชในหองปฏบิตักิาร

วทิยาศาสตร ตองเปนกระดาษที่ไมมีกล่ิน ตัดใหมีขนาด 1 x 10 เซนติเมตร ดังรูปที่ 2.4-1

รูปท่ี 2.4-1 กระดาษทดสอบกลิ่นขนาด 1 x 10 เซนติเมตร

2) ตูอบที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส และตูดูดความชื้น (desicator)3) สารละลายกลิ่นมาตรฐาน 5 กล่ิน (อายุไมเกิน 1 เดือน นับจากวันที่เตรียม)4) ของเหลวปราศจากกลิ่น (Inodorous liquid) นิยมใชพาราฟนเหลว

หอง ทดสอบกลิ่น

หองพักผอน หองเตรียมตัวอยาง

Page 9: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

9

5) หลอดทดลองแกวชนิดมีฝาปด ลักษณะดังรูปที่ 2.4-2 โดยตองลางเพื่อกําจัดกลิ่นตกคางกอนการใชงานทกุครัง้ และแยกการใชงานระหวางหลอดทีม่กีล่ินกบัหลอดทีไ่มมกีล่ิน และหลอดที่ใชบรรจุกระดาษทดสอบที่มีกล่ินแลวไมควรนํากลับมาใชซํ้า

รูปท่ี 2.4-2 หลอดทดลองแกวชนิดมีฝาปด6) ขาตั้งหลอดทดลอง7) คีมปลายแหลมสําหรับคีบกระดาษทดสอบกลิ่น

2.5 ขั้นตอนการเตรียมชุดทดสอบกลิ่นมาตรฐานการเตรียมชุดทดสอบกลิ่นมาตรฐาน มีขั้นตอนตามรายละเอียดในรปูที่ 2.5-1 ดังนี้1) อบกระดาษทดสอบกลิ่นขนาด 1 x 10 เซนติเมตร จํานวน 25 ช้ิน ในตูอบอุณหภูมิ

105 องศาเซลเซียส เปนเวลา 1 ช่ัวโมง2) นาํกระดาษทดสอบกลิน่ออกจากตูอบ แลวทิง้ใหเยน็ในตูดดูความชืน้3) เตรยีมหลอดทดลองแกวชนดิมฝีาปดจาํนวน 25 หลอด วางในขาตัง้ทีท่าํเครือ่งหมาย

แสดงแถวของสารละลายกลิ่นมาตรฐาน A – E4) ใชดินสอเขียนหมายเลขและชื่อของสารละลายกลิ่นมาตรฐานลงบนดานหนึ่งของ

กระดาษทดสอบกลิ่น (เชน A1 A2 A3 A4 และ A5 สําหรับสาร A) แลวใสลงในหลอดทดลองใหครบ สําหรับสารละลายกลิ่นมาตรฐานทั้ง 5 กล่ิน

5) เตรยีมกระดาษเฉลยสาํหรับกลิน่มาตรฐาน A-E โดยพยายามไมใหหมายเลขทีม่กีล่ินอยูติดกัน และไมซํ้ากันสําหรับกลิ่นมาตรฐานทั้ง 5 กล่ิน

6) ใชคีมคีบกระดาษทดสอบกลิน่จุมลงในสารละลายกลิน่มาตรฐาน A ตามหมายเลขที่กาํหนดไวในกระดาษเฉลยจาํนวน 2 หมายเลข แลวปดฝาใหสนทิทนัท ีสวนอกี 3 หมายเลขทีเ่หลือจุมใน

Page 10: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

10

พาราฟนเหลว โดยควรจุมลึกประมาณ 1 เซนตเิมตร เทาๆ กนัทกุแผน เพื่อไมใหผูเขารับการคัดเลือกสามารถแยกไดดวยตา

7) เตรียมกระดาษทดสอบกลิ่นสําหรับกลิ่นมาตรฐาน B-E ในลักษณะเดียวกับขอ 6จะไดชุดทดสอบกลิ่นสําหรับกลิ่นมาตรฐาน 5 กล่ิน

8) ควรเตรียมชุดกระดาษทดสอบกลิ่นกอนการคัดเลือกไมเกิน 2 ช่ัวโมง

รูปท่ี 2.5-1 ขั้นตอนการเตรียมชุดทดสอบกลิ่นมาตรฐาน

อบกระดาษทดสอบกลิน่จํานวน 25 ช้ิน

ในตูอบอณุหภูมิ 105 oC

สาร A : A1 A2 A3 A4 A5สาร B : B1 B2 B3 B4 B5สาร C : C1 C2 C3 C4 C5สาร D : D1 D2 D3 D4 D5สาร E : E1 E2 E3 E4 E5

ท้ิงใหเย็นในตูดูดความชื้น

ใสกระดาษทดสอบกลิน่ลงในหลอดทดลองซึง่วางในขาตั้งที่ทําเครื่องหมายแสดงแถว

A B C D และ E

ใชดินสอเขียนหมายเลขและชื่อสารบนดานหนึ่งของกระดาษทดสอบกลิน่

เตรียมกระดาษเฉลยสาํหรับกลิน่มาตรฐาน A-E

คีบกระดาษทดสอบกลิน่ 2 หมายเลขจุมในสารละลายกลิน่มาตรฐาน

(เชน A2 และ A5)จุมลกึประมาณ 1 ซม.เทาๆ กัน ทุกแผน

คีบกระดาษทดสอบกลิน่ 3 หมายเลขที่เหลอืจุมในพาราฟนเหลว

(เชน A1 A3 และ A4)

เตรียมกระดาษทดสอบกลิน่สาํหรับสารมาตรฐาน A

เตรียมกระดาษทดสอบกลิน่สาํหรับสารมาตรฐาน B C D และ E

ชุดทดสอบกลิน่สาํหรับกลิน่มาตรฐาน A-E

ตัวอยางเฉลยA 1 A 2 A 3 A 4 A 5B 1 B 2 B 3 B 4 B 5C 1 C 2 C 3 C 4 C 5D 1 D 2 D 3 D 4 D 5E 1 E 2 E 3 E 4 E 5

Page 11: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

11

2.6 ขั้นตอนการทดสอบเพื่อคัดเลือกผูทดสอบกลิ่นการคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น ตองทําการทดสอบตามขั้นตอนในรูปที่ 2.6-1 ดังนี้

รูปท่ี 2.6-1 ขั้นตอนการคัดเลือกผูทดสอบกลิ่น

1) การทดสอบทําใหหองทดสอบกลิ่น (รายละเอียดแสดงในหัวขอ 2.3) เปนแบบ หนึง่ตอหนึง่ระหวางผูควบคมุการทดสอบ (operator) กบัผูเขาทดสอบ (applicant) โดยทําการทดสอบกับกลุมผูเขาทดสอบกลิ่นไมควรเกินกลุมละ 6 คน

2) ผูควบคุมการทดสอบนําชุดกระดาษทดสอบของกลิ่นมาตรฐาน A ใหผูเขาทดสอบคนแรกดม วิธีดมทําโดย

ใหผูเขาทดสอบ (คนท่ี 1)ดมกลิน่จากชุดกระดาษทดสอบกลิน่

(สาร A)

ผูเขาทดสอบ 1 ครั้งไมควรเกินกลุมละ 6 คน

วิธีดมกลิน่ใชคีมปลายแหลมคีบกระดาษดานที่ไมจุมสารนําปลายกระดาษดานที่จุมสารมาดมใกลๆ จมกู

ผูเขาทดสอบ (คนท่ี 1)ตอบหมายเลขกระดาษที่มีกลิน่

ลงในกระดาษคําตอบ (รูปท่ี 2.6-3)

ใหผูเขาทดสอบ (คนท่ี 1)ไปพักผอนในหองท่ีจัดให

ทดสอบดมกลิน่มาตรฐาน A

ใหผูเขาทดสอบคนถดัไปดมกลิน่จากชุดกระดาษทดสอบกลิน่

(สาร A)

ทดสอบดมกลิน่มาตรฐาน B C D และ E

ผูควบคุมการทดสอบเก็บกระดาษคําตอบของผูเขาทดสอบแตละคนไว

ข้ึนทะเบียนผูที่ตอบถกูท้ัง 5 กลิน่มาตรฐานเปนผูทดสอบกลิน่

Page 12: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

12

• ใชคีมปลายแหลมคีบปลายกระดาษดานที่ไมไดไดจุมสาร

• นําปลายกระดาษดานที่จุมสารมาดมใกลๆ จมูก ดงัรูปที ่2.6-2

รูปท่ี 2.6-2 การดมกลิ่นจากกระดาษทดสอบกลิ่น

• ใหผูเขาทดสอบตอบวากระดาษ 2 หมายเลขใดบางที่มีกล่ิน ลงในกระดาษคําตอบดังรูปที่ 2.6-3

แบบบันทึกผลการทดสอบกลิ่นมาตรฐานวันที่ทดสอบ .......................................

เวลา .................…….....…….

ช่ือ .................................................................................….. เพศ ................. อายุ .................ที่อยู ...………………………..……………………………………...……...……………….สถานที่ทดสอบ ........…..............................…………………………………...………………

ผลการตัดสินสารละลายกลิ่นมาตรฐาน

หมายเลขกระดาษที่มีกล่ินถูก ผิด

สาร A 1 2 3 4 5

สาร B 1 2 3 4 5

สาร C 1 2 3 4 5

สาร D 1 2 3 4 5

สาร E 1 2 3 4 5

สาร F 1 2 3 4 5

สรุปผลการทดสอบ

รูปท่ี 2.6-3 ตัวอยางแบบบันทึกผลการทดสอบกลิ่นมาตรฐาน

Page 13: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

13

• ผูควบคุมการทดสอบจะเปนผูเก็บกระดาษคําตอบของผูเขาทดสอบแตละคนไว เพื่อไมใหผูเขาทดสอบนําคําตอบไปปรึกษากัน

• ถาผูเขาทดสอบไมแนใจสามารถดมซ้ําไดโดยจะไมมีการเรงรัดเวลาในการดม3) ใหผูทดเขาทดสอบที่ดมกล่ินมาตรฐาน A เสร็จแลว ไปพักผอนในสถานที่ที่จัดให

แยกจากกลุมผูเขาทดสอบที่ยังไมไดทําการดมกลิ่น จากนั้นทําการทดสอบกลิ่นมาตรฐาน A สําหรับผูเขาทดสอบคนตอๆ ไป จนครบทุกคน เพื่อใหผูเขาทดสอบกลิ่นแตละคนไดมีเวลาพักการดมกลิ่นอยางนอย 5 นาที ตอ 1 ชุดกลิ่นมาตรฐาน

4) ทําการทดสอบตามขั้นตอนที่ 2 และ 3 จนครบสําหรับกลิ่นมาตรฐาน B ถึง E6) ขึน้ทะเบยีนผูทีต่อบถูกในการดมกลิน่มาตรฐานทัง้ 5 กล่ิน เปนผูทดสอบกลิน่สาํหรับ

การตรวจวัดกลิ่นดวยวิธี M-TOB ตอไป7) หากมีผูเขาทดสอบไมผานการคัดเลือก ควรบอกแกผูเขาทดสอบผูนั้นดวยความ

สุภาพนุมนวล เพื่อไมใหผูเขาทดสอบเกิดความกังวลในความสามารถรับรูกล่ินของตน

3. การเก็บตัวอยางกลิ่นจากฟารมสุกร

การเก็บตัวอยางอากาศจากฟารมสุกรเพื่อตรวจวัดคาความเขมขนกลิ่น จะเก็บจากตําแหนงริมร้ัวหรือขอบเขตของฟารม โดยควรเก็บในเวลาเดียวกับการลางทําความสะอาดคอกเลี้ยงสุกรภายในฟารม เนื่องจากเปนชวงเวลาที่กล่ินมีการฟุงกระจายสูงสุด และตองสงไปตรวจวัดใหเสร็จภายใน 24 ช่ัวโมง

3.1 อุปกรณสําหรับการเก็บตัวอยางกลิ่น1) ถุงเก็บตัวอยาง (Sampling Bag) ทาํจากพลาสตกิ Polypropylene (PP)

• ขนาด 12 x 35 นิ้ว

• ความจุประมาณ 10-15 ลิตร

• กอนนาํมาใชงานตองนาํถุงไปตกัอากาศทีไ่มมกีล่ินประมาณ 20 คร้ัง เพื่อไลกล่ินพลาสติกที่ตกคางในถุงออกใหหมด

2) ชุดหวัจกุพลาสตกิ ทาํจากพลาสตกิซปุเปอรลีน (Superlene) มลัีกษณะดงัรูปที ่3.1-1(รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ข) ประกอบดวย

• ตัวยึดเกลียวใน 2 ตัว ขนาดเกลียว 0.75 นิ้ว

• หัวจุกเกลียวนอก 1 ตัว ขนาดเกลียว 0.75 นิ้ว ขนาดรูเปด 0.25 นิ้ว

• แหวนยางสําหรับกันอากาศรั่ว 2 ช้ิน

Page 14: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

14

รูปท่ี 3.1-1 ชุดหัวจุกพลาสติกและแหวนยาง

3) เครือ่งดดูอากาศชนดิ Portable Air Sampling Pump มีลักษณะดังรูปที่ 3.1-2

• อัตราเรว็ในการดดูอากาศสงูสดุ 5 ลิตรตอนาที

• มีขนาดเล็กพกพาไดสะดวก

• ทํางานโดยใชแบตเตอรี่ ทําใหสามารถเก็บตัวอยางกล่ินไดแมในที่ที่ไมมีไฟฟา

รูปท่ี 3.1-2 Portable Air Sampling Pump

4) กระบอกเก็บตัวอยาง ทําจากทอ PVC หรือไฟเบอรกลาส (Fiberglass) มีลักษณะ ดังรูปที่ 3.1-3 (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ข)

• ขนาดเสนผาศูนยกลาง 20 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร

• มีขาตั้งสําหรับการเก็บตัวอยางอากาศที่ระดับความสูง 1.2 เมตร

• มีฝาปดเพื่อใหสามารถนําถุงเก็บตัวอยางเขาและออกจากกระบอกไดสะดวก

• ดานลางติดหัวจุกพลาสติกสําหรับตอสายยางเพื่อดูดอากาศออก

Page 15: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

15

• ดานบนจะมีชองกลมขนาดเสนผาศูนยกลาง 1 นิ้ว สําหรับยึดหัวจุกพลาสติกของถุงทดสอบกลิ่นเพื่อเปนทางเขาของอากาศตัวอยาง

(ก) กระบอก PVC (ข) กระบอกไฟเบอรกลาสรูปท่ี 3.1-3 กระบอกเก็บตัวอยาง

5) สายซิลิโคนหรือสายยางพลาสติก Polypropylene (PP) ขนาด 0.25 นิ้ว (6 มม.) ใชสําหรับตอเชื่อมเครื่องดูดอากาศกับหัวจุกพลาสติกของกระบอกเก็บตัวอยาง

6) เครื่องวัดทิศทางลม แสดงผลเปนทิศ มีลักษณะดังรูปที่ 3.1-4

• N = ทิศเหนือ

• NE = ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

• E = ทิศตะวันออก

• SE = ทิศตะวันออกเฉียงใต

• S = ทิศใต

• SW = ทิศตะวันตกเฉียงใต

• W = ทิศตะวันตก

• NW = ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

Page 16: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

16

รูปท่ี 3.1-4 เคร่ืองวัดทิศทางลม

7) ยางรัด ใชสําหรับรัดปากถุงเก็บตัวอยาง8) กรรไกร ใชเจาะชองถุงเก็บตัวอยางสําหรับใสหัวจุกพลาสติก9) แผนพลาสติก Polypropylene (PP) ขนาดประมาณ 3 x 3 นิ้ว สําหรับปดหัวจุก

พลาสติกของถุงเก็บตัวอยาง10) แผนฟอลยกันความรอนขนาด 1 x 1 เมตร ใชสําหรับหุมถุงบรรจุกล่ินตัวอยาง

พรอมเทปกาวสําหรับติดแผนฟอลย11) ฉลากตัวอยาง เปนสติกเกอรสําหรับเขียนรายละเอียดจุดเก็บตัวอยาง ตามลักษณะ

ดังรูปที่ 3.1-5

รูปท่ี 3.1-5 ตัวอยางสติกเกอรฉลากตัวอยาง

ตัวอยางที่ ..............ช่ือฟารม ........................................................................วันที่ .......................................... เวลา ..........................

Page 17: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

17

3.2 ขั้นตอนการเก็บตัวอยางกลิ่นการเก็บตัวอยางกลิ่นที่บริเวณริมร้ัวฟารมสุกร มีขั้นตอนตามที่แสดงในรูปที่ 3.2-1 ดังนี้

รูปท่ี 3.2-1 ขั้นตอนการเก็บตัวอยางกลิ่นจากฟารมสุกร

หางจากรัว้ฟารมออกไปเปนระยะ 2 เทา

ของความสูงของรัว้ฟารมหากไมมรีัว้หรอืเปนรัว้โปรงใหเก็บตัวอยางที่ขอบเขตฟารม

นําถุงพลาสติก PPไปตักอากาศที่ไมมกีลิ่นประมาณ

20 ครัง้ เพือ่ไลกล่ินพลาสติก

ประกอบหัวจุกพลาสตกิเขากับถุงเก็บตวัอยางทีบ่ริเวณสงูกวากนถุงประมาณ 2 นิว้

มดัปากถุงดวยยางรัดใหแนน

ยึดหัวจุกพลาสตกิของถุงเก็บตวัอยางเขากับชองดานบนของกระบอกเก็บตวัอยาง

ปดฝากระบอกเก็บตวัอยางใหสนทิใชสายยางตอเครื่องดูดอากาศ

กับหัวจุกของกระบอกเก็บตวัอยาง

สาํรวจทศิทางลมหลักทีพั่ดผานแหลงกําเนดิกลิ่นภายในฟารม

กําหนดจุดเก็บตวัอยางทีร่ิมรั้วฟารมใตทศิทางลม

ลางถุงทดสอบกลิ่นดวยกล่ินตวัอยางอยางนอย 1 คร้ัง

เปดเครือ่งดูดอากาศเปนเวลา 3 นาที

แลวดูดอากาศออกจากถุงใหหมด

เก็บตวัอยางกลิ่นเปดเครือ่งดูดอากาศเปนเวลา 5 นาที

ปลอยใหอากาศปรบัสมดุลอีก 2 นาที

ใชแผนพลาสตกิปดปลายหัวจุกของถุงเก็บตวัอยางแลวรัดดวยยางใหแนน

ใชยางรัดรัดถุงเก็บตวัอยางใตตาํแหนงหัวจุกพลาสตกิใหแนน

นาํถุงเก็บตวัอยางออกจากกระบอกเก็บตวัอยาง

ติดฉลากลงบนถุงเก็บตัวอยาง

หมายเลขตัวอยางสถานท่ีเก็บตัวอยาง

วันที่และเวลา

หอถุงเก็บตวัอยางดวยถุงพลาสตกิอีก 1 ช้ันแลวหุมดวยแผนฟอลยกันความรอน

ตัดหัวจุกพลาสติกออกจากถุงเก็บตัวอยาง

สงไปตรวจวัดกลิ่นภายใน 24 ช่ัวโมง

Page 18: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

18

1) เตรียมถุงเก็บตัวอยาง

• ใชถุงที่ผานการไลกล่ินตกคางแลว

• ใสตัวยึดพลาสติกเกลียวใน 1 ตัว ลงในถุงทดสอบกลิ่น

• ใชยางรัดรัดปากถุงใหแนน

• ใชกรรไกรตัดขางถุงบริเวณต่าํกวากนถุงประมาณ 2 นิว้ ใหเปนชองกวางพอดีกบัเกลยีวนอกของหวัจกุพลาสตกิ

• ประกอบหวัจกุเกลียวนอกพรอมแหวนยางเขากบัตวัยดึเกลยีวในทีอ่ยูภายในถงุตามรูปที่ 3.2-2

รูปท่ี 3.2-2 การประกอบหัวจุกพลาสติกเขากับถุงเก็บตัวอยาง

2) ใสถุงเก็บตัวอยางลงในกระบอกเก็บตัวอยาง ดังรูปที่ 3.2-3

• ใหหัวจุกของถุงเก็บตัวอยางสอดผานชองดานบนของกระบอกเก็บตัวอยาง

• ใชหัวยึดเกลียวในพรอมแหวนยางยึดหัวจุกพลาสติกกับกระบอกเก็บตัวอยางใหแนน

• ปดฝากระบอกเก็บตัวอยางใหสนิท

หัวจุกเกลียวใน

แหวนยาง

หัวจุกเกลียวนอก

Page 19: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

19

รั้วหรือแนวตนไมความสูง = H

ระยะหาง = 2H

ทิศทางลม

DeadZone

โรงเรือน

สุกร

จุดเก็บตัวอยางท่ีความสูง 1.2 เมตร

รูปท่ี 3.2-3 การประกอบถุงเก็บตัวอยางเขากับกระบอกเก็บตัวอยาง

3) กําหนดจุดเก็บตัวอยางที่ริมร้ัวหรือขอบเขตฟารม

• สํารวจทิศทางลมหลักที่พัดผานแหลงกําเนิดกลิ่นภายในฟารมสุกร

• เกบ็ตวัอยางในจดุใตทศิทางลมทีค่วามสงู 1.2 เมตร1 จากพืน้ดนิ ซ่ึงเปนความสงูเฉลี่ยของระดับจมูกของคนไทย

• กรณีที่ไมมีร้ัวฟารม กําหนดจุดเก็บตัวอยางที่แนวเขตของพื้นที่ฟารม

• กรณีเปนร้ัวโปรง เชน ร้ัวลวดหนาม ไมระแนง หรือร้ัวตนไมที่ไมหนาทึบ กําหนดจุดเก็บตัวอยางที่ริมร้ัวฟารม

• กรณเีปนร้ัวทบึ เชน ร้ัวคอนกรตี หรือร้ัวตนไมทีห่นาทบึ กาํหนดจดุเกบ็ตวัอยางหางจากรั้วฟารมออกไปเปนระยะ 2 เทา ของความสูงของรั้วฟารม เพื่อลดผลกระทบเนื่องจากการสะสมของกลิ่นในพื้นที่ที่เปนจุดอับ (Dead Zone) ดังแสดงในรูปที่ 3.2-4

รูปท่ี 3.2-4 การกําหนดจุดเก็บตัวอยางกลิ่นบริเวณริมร้ัวฟารม กรณีเปนรั้วทึบ

1 ระดับเดียวกับการตรวจวัดเสียง ตามมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ของกรมควบคุมมลพิษ

Page 20: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

20

4) ลาง (rinse) ถุงเกบ็ตวัอยางดวยอากาศตวัอยางอยางนอย 1 คร้ัง กอนเกบ็ตวัอยาง

• ใชสายยางพลาสติกตอเครื่องดูดอากาศกับหัวจุกพลาสติกดานลาง ที่เปนชองดูดอากาศออกของกระบอกเก็บตัวอยาง

• เปดเครื่องดูดอากาศที่อัตราการดูด 5 ลิตรตอนาที

• ใหอากาศไหลออกจากกระบอกเก็บตัวอยาง ทําใหกล่ินตัวอยางจากภายนอกไหลเขาสูถุงเก็บตัวอยางเพื่อใหถุงตัวอยางไดสัมผัสกับกลิ่นตัวอยางเปนเวลา 3 นาที ดังรูปที่ 3.2-5 (ก)

• ยายสายยางพลาสตกิไปตอกบัหวัจกุพลาสตกิของถงุเกบ็ตวัอยาง เพือ่ดดูอากาศภายในถุงตัวอยางออกใหหมด ดังรูปที่ 3.2-5 (ข)

(ก) อากาศไหลเขาถุงเก็บตัวอยาง (ข) ดูดอากาศออกจากถุงเก็บตัวอยางรูปท่ี 3.2-5 การตอเชื่อมอุปกรณขณะเก็บอากาศ (ก) และดูดอากาศออก (ข)

6) เก็บกลิ่นตัวอยาง

• ใชสายยางพลาสติกตอเครื่องดูดอากาศกับหัวจุกพลาสติกดานลาง ที่เปนชองดูดอากาศออกของกระบอกเก็บตัวอยาง

• เปดเครื่องดูดอากาศที่อัตราการดูด 5 ลิตรตอนาที

• ใหกล่ินตัวอยางไหลเขาสูถุงเก็บตัวอยางเปนเวลา 5 นาที

• ปดเครื่องดูดอากาศ แลวปลอยใหอากาศทําการปรับสมดุลความดันภายในถุงเก็บตัวอยางอีกประมาณ 2 นาที

P

ทิศทางลม

P

ฝาปดกระบอกเก็บตัวอยาง

หวัจุกพลาสติก

Page 21: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

21

• นําแผนพลาสติก Polypropylene (PP) ขนาด 3x3 นิ้ว มาปดปลายหัวจุกพลาสติกและรัดดวยยางใหแนน ดังรูปที่ 3.2-6

รูปท่ี 3.2-6 การปดหัวจุกพลาสติกดวยแผนพลาสติก Polypropylene (PP)

7) นาํถุงเกบ็กลิน่ตวัอยางออกจากกระบอกเกบ็ตวัอยาง

• เปดฝากระบอกเกบ็ตวัอยาง

• คลายหวัยดึพลาสตกิ

• ใชยางรดัรัดถุงเกบ็ตวัอยางใตตาํแหนงหวัจกุพลาสตกิใหแนน เพือ่ไมใหอากาศร่ัวออกจากถุงเก็บกลิ่นตัวอยาง ดังรูปที่ 5.2-7

• ตัดหัวจุกพลาสติกออกจากถุงเก็บกลิ่นตัวอยาง

รูปท่ี 3.2-7 การมัดถุงเก็บตัวอยาง

Page 22: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

22

8) ใชปากกาเคมีเขียนหมายเลขตัวอยาง ระบุสถานที่ วันที่และเวลาที่เก็บตัวอยาง ลงบนฉลากแลวติดลงบนถุงเก็บกลิ่นตัวอยางใหแนน

9) หอหุมถุงเก็บกลิ่นตวัอยาง

• ใสถุงเก็บกลิ่นตัวอยางลงในถุงเก็บตัวอยางอีกใบหนึ่ง แลวมัดปากถุงใหแนนเพือ่ปองกนัการสมัผัสฝุนผงหรือส่ิงสกปรกตางๆ ดังรูปที่ 3.2-8 (ก)

• หุมถุงเกบ็กลิน่ตวัอยางดวยแผนฟอลยกนัความรอน ปดดวยเทปกาวใหเรียบรอยดังรูปที่ 3.2-8 (ข) เพือ่ปองกนัความรอน แสงแดด และการขูดขีดระหวางการขนสงไปตรวจวัดกลิ่น

(ก) ใสในถุงอีกใบหนึ่งปองกันสิ่งสกปรก (ข) หอดวยแผนฟอลยกันความรอนรูปท่ี 3.2-8 การหอถุงเก็บกลิ่นตัวอยาง

4. การตรวจวัดกล่ินดวยวิธี M-TOB

4.1 อุปกรณสําหรับการตรวจวัดกล่ินดวยวิธี M-TOB1) ถุงทดสอบกลิ่น มลัีกษณะดงัรูปที ่4.1-1

• ทําจากพลาสตกิ Polypropylene (PP) ซอนกัน 2 ช้ัน

• ขนาด 24 x 24 นิ้ว มคีวามจสูุงสดุประมาณ 40 ลิตร

• ดานบนบรเิวณกลางถงุตดิหวัจกุพลาสตกิสาํหรับเปนทางเขาออกของอากาศ

• กอนนาํมาใชทดสอบกลิ่นจะตองทําการลางถุงดวยอากาศปราศจากกลิ่นกอน อยางนอย 10 คร้ัง เพื่อกําจัดกลิ่นพลาสติกที่สะสมอยูภายในถุงออกไปใหไดมากที่สุด

Page 23: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

23

รูปท่ี 4.1-1 ถุงทดสอบกลิ่น

2) ชุดกรองกลิ่นดวยถานกัมมันต มีลักษณะดังรูปที่ 4.1-2

• ทาํจากกลองพลาสตกิความจ ุ2 ลิตร บรรจดุวยถานกมัมนัต (Activated Carbon)

• ดานบนและลางมีตะแกรงพลาสติกบุดวยฟองน้ํา เพื่อรองรับและกันไมให ผงถานกัมมันตหลุดออกจากกลองขณะใชงาน

• ดานลางเจาะรูและใสหัวจุกพลาสติกสําหรับเชื่อมตอกับถุงทดสอบกลิ่น

รูปท่ี 4.1-2 ชุดกรองกลิ่นดวยถานกัมมันต

3) เครือ่งตวงอากาศ ใชเตรยีมอากาศปราศจากกลิน่สาํหรับเจอืจางกลิน่ตวัอยาง โดยใชระบบแทนที่น้ําในการตวงอากาศผานถุงตวงอากาศ ซ่ึงเปนถุงชนิดเดียวกับถุงทดสอบกลิ่น ใหไดอากาศที่มีปริมาตรคงที่ที่ 30 ลิตร และมีความผิดพลาดไมเกินรอยละ 1 มีลักษณะดังรูปที่ 4.1-3 (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก ข)

บรรจุถานกัมมันต

หัวจุกพลาสติกดานลาง

24 น ิ้ว

24 น ิ้ว

หัวจุกพลาสตกิ

หัวจุกพลาสติก

ฟองน้าํ

ฟองน้าํตะแกรงพลาสตกิ

ตะแกรงพลาสตกิ

หัวจุกพลาสตกิ

ถานกัมมันต

Page 24: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

24

รูปท่ี 4.1-3 เคร่ืองตวงอากาศ

4) เครื่องดูดอากาศ ใชปมดูดอากาศ (Vacuum Pump) ขนาด 50 ลิตร/นาที โดยตอง ทําการสอบเทียบอัตราการดูดอากาศของปมที่แนนอนกอนนํามาใชงาน

5) กลองสุญญากาศ (Vacuum Box) นิ้ว มีลักษณะดังรูปที่ 4.1-4

• ทําจากแผนสเตนเลส หนา 0.7 มิลลิเมตร ขนาด 25 x 25 นิ้ว สูง 10 นิ้ว

• ดานขางมีทอสําหรับดูดอากาศออก

• ดานบนมีชองขนาด 0.75 x 0.75 นิ้ว ซ่ึงพอดีสําหรับประกอบกับหัวจุกพลาสติกของถุงทดสอบกลิ่น

รูปท่ี 4.1-4 กลองสุญญากาศ

ทอดูดอากาศออก

ชองสําหรับสวมหัวจุกพลาสติก

Page 25: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

25

6) หลอดฉีดยาและเข็มฉีดยา ใชเตรียมตัวอยางกลิ่นที่อัตราสวนการเจือจางตางๆ

• ใชหลอดฉดียาทีท่าํจากแกว เพือ่ใหสามารถลางทาํความสะอาดไดงายและไมมีกล่ินตกคาง

• ควรมีหลายขนาด ไดแก 1 5 10 50 และ 100 มิลลิลิตร ดังรูปที่ 4.1-5

• ใชเข็มฉีดยาเบอร 18 ซ่ึงจะสามารถสูบอากาศเขา-ออกไดอยางรวดเร็ว

• หลอดฉีดยาที่ใชแลวจะตองทําการลางใหสะอาด แลวอบแหงที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 ช่ัวโมง แลวนําไปทิ้งใหเย็นในตูดูดความชื้น

รูปท่ี 4.1-5 หลอดฉีดยาขนาดตางๆ

7) สายยางซลิิโคน

• ใชเชื่อมตอทอดมกลิ่นกับถุงทดสอบกลิ่น ดังรูปที่ 4.1-6 (ก)

• ใชเชือ่มตอชุดกรองกลิน่ดวยถานกมัมนัตกบัถุงทดสอบกลิน่ ดังรูปที่ 4.1-6 (ข)

• พยายามใชสายซิลิโคนใหส้ันที่สุด เพื่อลดการสะสมของกลิ่น

(ก) เชื่อมตอทอดมกลิ่นกับถุงทดสอบกลิ่น (ข) เชื่อมตอชุดกรองถานกมัมนัตกบัถุงทดสอบกลิน่รูปท่ี 4.1-6 การเชื่อมตออุปกรณดวยสายยางซิลิโคน

Page 26: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

26

8) นาฬิกาจับเวลา ใชสําหรับจับเวลาการทํางานของเครื่องดูดอากาศ เพื่อใหไดปริมาตรอากาศตามที่ตองการ

9) พาราฟลมหรือแผนพลาสติกและยางรัด

• พาราฟลมใชสําหรับปดหัวจุกพลาสติกของถุงทดสอบกลิ่น

• อาจใชถุงพลาสติก Polypropylene (PP) มาตัดใหมีขนาดประมาณ 3 x 3 นิ้ว ใชรวมกับยางรัดแทนได ดังรูปที่ 4.1-7

รูปท่ี 4.1-7 พาราฟลม แผนพลาสติก และยางรัด

10) ทอดมกลิ่นและแทนยึด

• ทอดมกลิ่นทําทอแกวขนาดเสนผาศูนยกลางภายใน 6 มิลลิเมตร ความยาวประมาณ 1.5 เมตร เพื่อลดการสะสมของกลิ่นจากการใชงานติดตอกันเปนเวลานาน

• ปลายทั้งสองขางงอเปนมุมฉากหันไปคนละดาน ดานหนึ่งเชื่อมติดกับวาลวและกรวยแกว อีกดานหนึง่สาํหรับเชือ่มตอกบัถุงทดสอบกลิน่ ทาํหนาทีน่าํอากาศจากถงุทดสอบกลิน่ไปสูผูทดสอบกลิ่นผานทางกรวยแกว ซ่ึงยึดติดกับแทนยึดซึ่งทําดวยแผนพลาสติกลูกฟูกหนา 4 มิลลิเมตร มีลักษณะดังรูปที่ 4.1-8

(ก) ทอดมกลิ่น (ข) แทนยึดทอดมกลิ่นรูปท่ี 4.1-8 ทอดมกลิ่นและแทนยึด

Page 27: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

27

11) แผนเหล็กสําหรับกดทับถุงทดสอบกลิ่น ดังรูปที่ 4.1-9

• ทาํหนาทีก่ดทบัใหอากาศไหลออกจากถงุทดสอบกลิน่ดวยอัตราคงที ่ประมาณ2-3 ลิตรตอนาที

• ขนาด 60 x 60 เซนติเมตร หนา 1.5 มิลลิเมตร มีน้ําหนัก 4 กิโลกรัม

• เจาะรูตรงกลางใหหัวจุกพลาสติกของถุงทดสอบกลิ่นลอดผานไดพอดี

รูปท่ี 4.1-9 แผนเหล็กสําหรับกดทับถุงทดสอบกลิ่น

6.2 การเจือจางกลิ่นตัวอยาง

ผูควบคุมการทดสอบตองทําการเจือจางกลิ่นตัวอยางที่จะตรวจวัด พรอมทั้งเตรียมถุงอากาศปราศจากกลิ่นสําหรับใชเปนแบลงก (blank) ไวใหเพียงพอและพรอมสําหรับการดมกลิ่นโดย ผูทดสอบกลิ่น ตามขั้นตอนในรูปที่ 4.2-1 ดังนี้

1) ลางถุงทดสอบกลิ่นดวยอากาศปราศจากกลิ่น

• ประกอบถุงทดสอบกลิ่นเขากับกลองสุญญากาศ

• ใชสายซิลิโคนเชื่อมตอหัวจุกพลาสติกของถุงทดสอบกลิ่นกับชุดกรองกลิ่นดวยถานกัมมันต

• เปดเครือ่งดดูอากาศซึง่ตอกบักลองสญุญากาศ ใหอากาศไหลผานถานกมัมนัตเขาสูถุงเกบ็ตวัอยางเปนเวลาประมาณ 60 วินาที

• นําถุงทดสอบกลิ่นออกจากกลองสุญญากาศ แลวใชเครื่องดูดอากาศดูดอากาศออกจากถุงใหหมด

Page 28: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

28

รูปท่ี 4.2-1 ขั้นตอนการเจือจางกลิ่นตัวอยาง

2) เตรียมอากาศปราศจากกลิ่นสําหรับใชเปนแบลงก (blank)

• ประกอบถุงทดสอบกลิ่นที่ผานการลางดวยอากาศปราศจากกลิ่นแลวเขากับกลองสุญญากาศ

• ใชสายซิลิโคนเชื่อมตอหัวจุกพลาสติกของถุงทดสอบกลิ่นเขากับชุดกรองกล่ินดวยถานกัมมันต

• เปดเครือ่งดดูอากาศซึง่ตอกบักลองสญุญากาศ ใหอากาศไหลผานถานกมัมนัตเขาสูถุงทดสอบกลิน่เปนเวลา 90 วินาที ดวยอัตราการไหลประมาณ 20 ลิตรตอนาท ี จะไดถุงที่มีอากาศปราศจากกลิ่นบรรจุอยูประมาณ 30 ลิตร

• ใชแผนพลาสติกขนาด 3 x 3 นิ้ว ปดหัวจุกพลาสติกของถุงทดสอบกลิ่น แลวรัดดวยยางใหแนน

ลางถงุทดสอบกลิน่ดวยอากาศปราศจากกลิน่

ประกอบถุงทดสอบกลิ่นเขากับกลองสุญญากาศและชุดกรองถานกัมมันตเปดเครื่องดูดอากาศ 60 วินาทีนําถุงออกจากกลองสุญญากาศดูดอากาศออกใหหมด

เตรียมอากาศปราศจากกลิน่สาํหรับเปนแบลงก

ประกอบถุงทดสอบกลิ่นเขากับกลองสุญญากาศและชุดกรองถานกัมมันตเปดเครื่องดูดอากาศ 90 วินาทีปดจุกถุงดวยแผนพลาสตกินําถุงออกจากกลองสุญญากาศจํานวนถุงอากาศปราศจากกลิ่นที่ตองการ= จํานวนตวัอยาง x 8

เตรียมอากาศปราศจากกลิน่ปริมาตร 30 ลติร

สูบน้ํา 30 ลิตร ออกจากถังตวงอากาศใหอากาศไหลเขาถุงตวงอากาศผานชุดกรองถานกัมมันตสูบน้ํา 30 ลิตร เขาสูถังตวงอากาศใหอากาศไหลเขาสูถุงทดสอบกลิ่นปดจุกถุงดวยแผนพลาสตกิจํานวนถุงอากาศปราศจากกลิ่นปริมาตร 30 ลิตร ที่ตองการ= จํานวนตวัอยาง x 4

จํานวนถุงอากาศปราศจากกลิ่นปริมาตร 30 ลิตร ที่ตองการ= จํานวนตวัอยางกล่ิน x 4

เจือจางกลิน่ตวัอยางอยางนอย 4 อัตราสวน

ทดลองดมโดยเจือจางกล่ินตวัอยาง

ดวยหลอดฉีดยา

ใชหลอดฉีดยาดูดกล่ินตวัอยางในปริมาตรที่ตองการ (ตารางที่ 4.2-1)นําไปฉีดใสถุงอากาศปราศจากกลิ่นปริมาตร 30 ลิตร ผานรูที่หัวจุกพลาสตกิใชเทปใสปดรูเข็มที่หัวจุกพลาสตกินวดถุงใหอากาศผสมกันประมาณ 1 นาทีเขียนหมายเลขตวัอยางและอัตราสวนการเจือจางตดิบนถุงทดสอบกลิ่น

Page 29: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

29

• นําถุงทดสอบกลิ่นออกจากกลองสุญญากาศ

• จาํนวนถงุอากาศปราศจากกลิน่ทีต่องใชเปนแบลงก (อยางนอย)= จาํนวนตวัอยางกลิน่ x 8

3) เตรียมอากาศปราศจากกลิ่นปริมาตร 30 ลิตร

• สูบน้ําปริมาตร 30 ลิตร ออกจากถังตวงอากาศ เพื่อใหอากาศปริมาตร 30 ลิตร ไหลผานชุดกรองกลิ่นดวยถานกมัมนัต เขาสูถุงตวงอากาศซึง่บรรจอุยูภายในถังตวงอากาศ

• ใชสายซิลิโคนเชือ่มตอถุงทดสอบกลิน่ทีล่างดวยอากาศปราศจากกลิน่แลวเขากบัทอจากถุงตวงอากาศ

• สูบน้ําปริมาตร 30 ลิตร กลับเขาไปในถังตวงอากาศ เพื่อดันใหอากาศในถุงตวงอากาศไหลเขาสูถุงทดสอบกลิ่น

• ใชแผนพลาสติกขนาด 3 x 3 นิ้ว ปดหัวจุกพลาสติกของถุงทดสอบกลิ่น แลวรัดดวยยางใหแนน

• จาํนวนถงุอากาศปราศจากกลิน่ปรมิาตร 30 ลิตร ทีต่องการ (อยางนอย)= จาํนวนตวัอยางกลิน่ x 4

หามใชถุงทดสอบกลิ่นที่ใชเจือจางกล่ินตัวอยางรวมกับถุงที่ใชเปนแบลงก เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการตรวจวัดกลิ่น ที่อาจเกิดจากการตกคางของกลิ่นในถุงทดสอบกลิ่น

4) เจือจางกลิ่นตัวอยางที่อัตราการสวนการเจือจางไมนอยกวา 4 อัตราสวน เชน 101 201 301 และ 501 เทา เปนตน

• กาํหนดคาอตัราสวนการเจอืจางทีจ่ะใช ตามดลุยพนิจิของผูควบคมุการทดสอบโดยเจือจางกลิ่นตัวอยางในหลอดฉีดยาแลวทดลองดมดวยตนเอง

• ตัวอยางการเตรียมกลิ่นที่อัตราสวนการเจือจาง 301 เทา ทําโดยใชหลอดฉีดยาดูดกลิ่นจากถุงเก็บตัวอยาง จํานวน 100 มิลลิลิตร แลวนําไปฉีดเขาถุงทดสอบกลิ่นที่บรรจุอากาศปราศจากกลิ่นปริมาตร 30 ลิตร

• ปริมาตรกลิ่นที่ตองใชในการเจือจางที่อัตราสวนตางๆ แสดงในตารางที่ 4.2-15) ทําใหกล่ินตัวอยางและอากาศปราศจากกลิ่นในถุงทดสอบกลิ่นเกิดการผสมกัน

โดยการนวดคลึงถุงทดสอบกลิ่นเปนเวลาประมาณ 1 นาที จากนั้นเขียนหมายเลขตัวอยางและอัตราสวนการเจือจางลงบนกระดาษกาว แลวนําไปติดที่ถุงทดสอบกลิ่น

6) เตรียมตัวอยางที่อัตราสวนการเจือจางอื่นๆ จนครบตามที่ตองการ

Page 30: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

30

ตารางที่ 4.2-1 ปริมาตรกลิ่นตัวอยางที่ตองผสมกับอากาศปราศจากกลิ่นปริมาตร 30 ลิตรเพื่อใหไดอัตราสวนการเจือจางระดับตางๆ

อัตราสวนการเจือจาง ปริมาตรกลิ่นตัวอยาง

16

11213151

101201301501

1,001

-6,000 มล.3,000 มล.1,500 มล.1,000 มล.

600 มล.300 มล.150 มล.100 มล.60 มล.30 มล.

หมายเหตุ : เหตุผลในการใชอัตราสวนการเจือจาง 301 เทา แทน 300 เทา เพราะสามารถเตรียมไดงายและมีความถูกตองมากกวา เนื่องจากการเตรียมตัวอยางที่อัตราสวนการเจือจาง 300 เทา จะตองใชอากาศปราศจากกลิ่นปริมาตร 29.9 ลิตร ซึ่งเตรียมไดยาก และทําใหตองเตรียมอากาศปราศจากกลิ่นในปริมาตรที่ตางๆ กัน สําหรับอัตราสวนการเจือจางอื่นๆ

4.3 หนาท่ีของผูควบคุมการทดสอบกลิ่น

• ดําเนินการทดสอบกลิ่นจนไดผลสรุปที่สามารถใชคํานวณคาความเขมขนของกล่ินตัวอยางได

• ผูควบคุมการทดสอบมีหนาที่ที่จะตองทําใหบรรยากาศในการทดสอบกลิ่น ไมเกิดความความเครียดหรือกดดัน

• อาจพูดคุยเพื่อสรางความเปนกันเองกับผูทดสอบกลิ่นในหองพักผอน แตหามไมใหผูทดสอบกลิ่นพูดคุยกันในหองทดสอบกลิ่น

• ควรหลีกเลีย่งการพดูในลกัษณะทีท่าํใหรูสึกวาการทดสอบกลิน่เปนการแขงขนัระหวางผูทดสอบกลิ่นเพื่อหาคนที่มีประสาทสัมผัสตอกล่ินสูงที่สุด

• ไมควรชมเชยผูทดสอบกลิ่นคนใดคนหนึ่งตอหนาผูทดสอบกลิ่นคนอื่นๆ

• หามจองดูผูทดสอบกลิ่นขณะทําการดมกลิ่น

Page 31: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

31

4.4 ขั้นตอนและวิธีการตรวจวัดกล่ินการตรวจวัดกลิ่นดวยวิธี M-TOB (Modified Triangular Odor Bag Method) มีขั้นตอน

ตามรูปที่ 4.4-1 ดังนี้

รูปท่ี 4.4-1 ขั้นตอนและวิธีการตรวจวัดกล่ิน

ผูทดสอบกลิ่นดมกลิ่นจากกระดาษ5 หมายเลขตอบใหถูกวา 2 หมายเลขใดมีกล่ินดมกลิ่นมาตรฐาน 3 กลิ่นคือ A C และ E

การ confirm testดวยกลิน่มาตรฐาน 3 กลิน่

ผูทดสอบกลิน่ 6 คนดมกลิน่ที่อัตราสวนการเจือจางแรก

ผูทดสอบกลิ่นที่ผาน confirm test

(ตอบถูกทั้ง 3 กล่ินมาตรฐาน)

ตอบผิดมากกวา

1 คน

ตอบถกูมากกวา

1 คน

ผูทดสอบกลิน่ที่ตอบผิดดมกลิน่ที่อัตราสวนการเจือจาง

ท่ีต่าํลง

ผูทดสอบกลิน่ที่ตอบถกูดมกลิน่ที่อัตราสวนการเจือจาง

ท่ีสงูขึ้น

ผูทดสอบกลิน่ท่ีตอบผิดหยุดการดมกลิน่

หยุดการดมกลิน่

ใช ใช

ตอบผิดมากกวา

1 คนผูทดสอบกลิน่ที่ตอบถกู

หยุดการดมกลิน่

ใช

หยุดการดมกลิน่

ไมใชไมใช

ใช

ตอบถกูมากกวา

1 คน

หยุดการดมกลิน่หยุดการดมกลิน่

ผูทดสอบกลิน่ที่ตอบถกู ผูทดสอบกลิน่ที่ตอบผิด

ไมใช ไมใช

Page 32: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

32

1) การทดสอบยืนยัน (confirm test)

• เพื่อใหแนใจวาในวันที่ทําการตรวจวัดกลิ่น ผูทดสอบกลิ่นมีประสาทรับรูกล่ินอยูในระดับปกติ

• ใชสารละลายกลิ่นมาตรฐาน A C และ E จากตารางที่ 2.2-1

• ผูควบคุมการทดสอบจะนํากระดาษทดสอบกลิน่ 5 หมายเลข สําหรับแตละกล่ินมาตรฐาน ซ่ึงมกีระดาษ 2 หมายเลขทีถู่กจุมลงในสารละลายกลิน่มาตรฐานไปใหผูทดสอบกลิน่ดม

• ผูทดสอบกลิน่ตองตอบใหถูกวา 2 หมายเลขใดทีม่กีล่ิน

• ผูทดสอบกลิน่ที่สามารถตอบถูกหมดทั้ง 3 กล่ินมาตรฐานเทานั้น จึงจะไดเปนผูทําหนาที่ทดสอบกลิ่นในวันนั้น

• ในการตรวจวัดกลิ่นแตละตัวอยาง ตองใชผูทดสอบกลิ่นอยางนอย 6 คน2) ประกอบถุงทดสอบกลิ่นเขากับชุดทอดมกลิ่น

• นําถุงที่บรรจุกล่ินที่ไดเจือจางไวแลว 1 ใบ และถุงอากาศปราศจากกลิ่น 2 ใบ มาตอเชื่อมกับชุดทอดมกลิ่น

• สุมเลือกตอทอดมกลิ่น 1 ใน 3 หมายเลข กับถุงที่บรรจกุล่ิน สวน 2 ทอทีเ่หลือตอกบัถุงอากาศปราศจากกลิน่ซึง่ทาํหนาทีเ่ปนแบลงก

• นาํแผนเหลก็มาวางทับถุงทดสอบกลิ่นทั้ง 3 ใบ กอนการเชื่อมตอถุงทดสอบกล่ินกับทอดมกลิ่น ดังรูปที่ 4.4-2 (ก-ค)

3) เปดวาลวของทอดมกลิ่นทั้ง 3 ทอ เพื่อใหอากาศจากถุงทดสอบกลิ่นไลอากาศ และกลิ่นที่ตกคางในทอออกไป ดังรูปที่ 4.4-2 (ง)

4) ผูทดสอบกลิ่นทําการดมกลิ่นจากถุงทดสอบกลิ่นแตละหมายเลข

• ใชจมูกดมกลิ่นบริเวณปากกรวยแกว ดังรูปที่ 4.4-2 (จ) ซ่ึงผูทดสอบกลิ่น จะเปนผูควบคุมการเปด-ปดวาลว ที่บังคับการไหลของอากาศจากถุงทดสอบกลิ่นไดตามตองการ

• สามารถดมซ้ําใหมไดในกรณีที่ไมแนใจ หรือจนกวาจะสามารถตัดสินใจและแนใจในคําตอบวาหมายเลขใดเปนอากาศที่มีกล่ิน

• แจงคําตอบกับผูควบคุมการทดสอบกลิ่น

• เร่ิมดมกลิน่จากผูทดสอบกลิน่หมายเลข 1 ไปจนครบผูทดสอบกลิน่หมายเลข 65) ผูควบคมุการทดสอบตองบนัทกึคาํตอบของผูทดสอบกลิน่แตละคน ในการดมกลิน่

ที่อัตราสวนการเจือจางตางๆ อยางระมัดระวัง ลงในแบบบันทึกผลการตรวจวัดกลิ่นดังรูปที่ 4.4-36) ทําการทดสอบกลิ่นที่อัตราสวนการเจือจางอื่นๆ จนไดขอสรุปของอัตราสวนการ

เจือจางต่ําสุดที่มีผูทดสอบกลิ่นตอบผิด และอัตราสวนการเจือจางสูงสุดที่มีผูทดสอบกลิ่นตอบถูก

Page 33: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

33

ถุงทดสอบกลิ่น

แผนเหล็ก

กรวยแกววาลวฉากก้ัน

ทอแกว

(ก) นําถุงตัวอยางตอเขากับทอดมกลิ่น (ข) ถุงทดสอบกลิ่นที่เตรียมเสร็จ

(ค) ลักษณะการติดตั้งชุดทดสอบกลิ่น

(ง) เปดวาลวเพื่อลางกลิ่นตกคางในทอ (จ) ผูทดสอบกลิ่นดมกลิ่นผานกรวยแกวรูปท่ี 4.4-2 (ก-จ) การดมกลิ่นตามวิธี M-TOB

Page 34: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

34

แบบบันทึกผลการตรวจวัดกล่ิน

ตัวอยางที่ ...................................วันที่ทดสอบ .................................................................................... เวลา ...................................อุณหภูมิหองทดสอบกลิ่น ............................................ ความชื้นสัมพัทธ ...................................

อัตราสวนการเจือจางคาเฉลี่ยของlog อัตราสวนการเจือจาง

คาระดับการไดกล่ินของผูทดสอบกลิ่น

ผูทดสอบกลิ่น123456

ผลการคํานวณ1. คาระดับการไดกล่ินเฉลี่ย = .......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2. คาความเขมขนกลิ่น = ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

รูปท่ี 4.4-3 แบบบันทึกผลการตรวจวัดกล่ิน

Page 35: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

35

4.5 การคํานวณคาความเขมขนกลิ่น

1) การหาคาระดับการไดกล่ิน (Threshold value) ของผูทดสอบกลิ่นแตละคน

สมการ2

alog +alog =X 21a

Xa : คาระดับการไดกล่ินของผูทดสอบกลิ่น Aa1 : อัตราสวนการเจือจางสูงสุดที่ผูทดสอบกลิ่น A ตอบคําตอบถูกa2 : อัตราสวนการเจือจางแรกที่ผูทดสอบกลิ่น A ตอบคําตอบผิดlog a1 : dilution index ของ อัตราสวนการเจือจางที่ a1

log a2 : dilution index ของ อัตราสวนการเจือจางที่ a2

นําคาระดับการไดกล่ิน (Threshold value) มาคํานวณหาคาเฉลี่ย เปนคาระดับ การไดกล่ินของผูทดสอบกลิ่น (Panel's threshold value)

2) การหาคาความเขมขนของกลิ่น

สมการ X10=Y

X : คาระดับการไดกล่ินเฉลี่ยของผูทดสอบY : ความเขมขนกลิ่น

ตัวอยางการคํานวณคาความเขมขนกลิ่น โดยสมมติใหคําตอบของผูทดสอบกลิ่น แตละคนเปนดังตารางที่ 4.5-1

Page 36: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

36

คาระดับการไดกล่ินของผูทดสอบคนที่ 1

2

50log+30log=

2alog +alog

=X 211

1.60=2

1.71+1.49=

ตารางที่ 4.5-1 ตัวอยางคําตอบของผูทดสอบกลิ่น

อัตราสวนเจือจาง 21 31 51 101 201 301

คา Log 1.32 1.49 1.71 2.00 2.30 2.48 คาระดับ

การไดก

ลิ่น

ผูทดสอบกลิ่น

1 / / x 1.60

2 / / / / / x 2.39

3 / / / / x 2.15

4 / / / / x 2.15

5 / / / / x 2.15

6 / / / x 1.86

ทําการคํานวณคาระดับการไดกล่ินของผูทดสอบกลิ่นคนที่ 2 ถึงคนที่ 6 จนไดคาตามตารางที่ 4.5-1 จากนั้นตัดคาระดับการไดกล่ินสูงสุดและต่ําสุดออก ซ่ึงไดแกคาระดับการไดกล่ินของผูทดสอบกลิ่นคนที่ 1 และ 2 แลวนําคาระดับการไดกล่ินที่เหลือทั้ง 4 คา จากผูทดสอบกลิ่นคนที่ 3 4 5 และ 6 มาหาคาเฉลี่ย

คาเฉลี่ยของระดับการไดกล่ิน = 4

86.1+15.2+15.2+15.2

= 08.2

คาความเขมขนกลิ่น = 102.08 = 120 OU

Page 37: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

37

ภาคผนวก กวิธีการเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน

กล่ินมาตรฐานที่ใชในการคัดเลือกผูทดสอบกลิ่นสําหรับการตรวจวัดคาความเขมขนกลิ่นดวยวิธี M-TOB (Modified Triangular Odor Bag Method) เตรียมจากสารเคมีที่มีความคงตัวสูง ใหกล่ิน ในลักษณะตางๆ และไมเปนพิษตอสุขภาพของผูดมกลิ่น

อุปกรณสําหรับการเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน ประกอบดวย

1) สารมาตรฐาน A - E ซ่ึงมีคุณสมบัติตามตารางที่ ก-1

ตารางที่ ก-1 คุณสมบัติของสารกลิ่นมาตรฐาน

สารมาตรฐาน ลักษณะกลิ่น สูตรเคมี มวลโมเลกุล สถานะความบริสุทธ์ิ

(รอยละ)A : Phenyl-Ethyl Alcohol กล่ินดอกไม C9H10O 122.16 ของเหลว > 99B : Propionic acid กล่ินบูดเปรี้ยว C3H6O2 74.1 ของแข็ง > 99C : Iso-valeric acid กล่ินเนา C5H10O2 102.13 ของเหลว > 99D : Gamma undecalactone กล่ินผลไม C11H10O2 184.28 ของเหลว > 99E : Skatol กล่ินอุจจาระ C9H9N 131.17 ของแข็ง > 99

2) พาราฟนเหลว (Liquid Paraffin)3) เครื่องชั่งความละเอียดไมนอยกวา 0.01 กรัม4) บีกเกอรขนาด 50 มิลลิลิตร และกระดาษชั่งสาร5) ขวดปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 100 และ 250 มิลลิลิตร6) ไมโครปเปต (Micropipet) ความละเอียด 0.001 มิลลิลิตร7) หลอดหยด (Dropper) ชอนตักสาร และแทงแกว

Page 38: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

38

วิธีการเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน

1) กล่ินมาตรฐาน Aสารละลาย Phenyl-Ethyl Alcohol ความเขมขน 10-4 โดยน้ําหนัก (w/w) มีขั้นตอน

การเตรียมตามรูปที่ ก-1 ดังนี้

รูปท่ี ก-1 การเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน A

ชั่งดวยเครื่องชั่งความละเอียดไมนอยกวา 0.01 กรัม

ช่ัง Phenyl-Ethyl Alcohol1.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ช่ังพาราฟนเหลว9.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ผสมใหเปนเนื้อเดียวกัน ในบกีเกอรขนาด 50 มิลลลิติร

ดูดสารละลายทีไ่ดมา 0.1 มิลลลิติรใสในขวดปรับปริมาตรขนาด 100 มิลลลิติร ใชไมโครปเปต

ปรับปริมาตรใหเปน 100 มิลลลิติร ดวยพาราฟนเหลว

ปดจุกขวดปริมาตรแลวพลกิขวดขึ้นลงใหสารละลายผสมเปนเนื้อเดียวกัน (อยาเขยา)

ถายสารละลายทีไ่ดลงขวดสชีาปดฝาใหสนิด

เก็บในตูเย็นอณุหภูมิ 4 oC

ปดฉลาก 1. ช่ือสารละลาย 2. ความเขมขน 3. วันทีเ่ตรียม

Page 39: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

39

2) กล่ินมาตรฐาน Bสารละลาย Propionic acid ความเขมขน 10-4 โดยน้ําหนัก (w/w) มีขั้นตอนการเตรียม

ตามรูปที่ ก-2 ดังนี้

รูปท่ี ก-2 การเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน B

ชั่งดวยเครื่องชั่งความละเอียดไมนอยกวา 0.01 กรัม

ช่ัง Propionic acid1.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ช่ังพาราฟนเหลว9.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ผสมใหเปนเนื้อเดียวกัน ในบกีเกอรขนาด 50 มิลลลิติร

ดูดสารละลายทีไ่ดมา 0.1 มิลลลิติรใสในขวดปรับปริมาตรขนาด 100 มิลลลิติร ใชไมโครปเปต

ปรับปริมาตรใหเปน 100 มิลลลิติร ดวยพาราฟนเหลว

ปดจุกขวดปริมาตรแลวพลกิขวดขึ้นลงใหสารละลายผสมเปนเนื้อเดียวกัน (อยาเขยา)

ถายสารละลายทีไ่ดลงขวดสชีาปดฝาใหสนิด

เก็บในตูเย็นอณุหภูมิ 4 oC

ปดฉลาก 1. ช่ือสารละลาย 2. ความเขมขน 3. วันทีเ่ตรียม

Page 40: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

40

3) กล่ินมาตรฐาน Cสารละลาย Iso-valeric acid ความเขมขน 10-5 โดยน้ําหนัก (w/w) มีขั้นตอนการเตรียม

ตามรูปที่ ก-3 ดังนี้

รูปท่ี ก-3 การเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน C

ชั่งดวยเครื่องชั่งความละเอียดไมนอยกวา 0.01 กรัม

ช่ัง Iso-valeric acid1.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ช่ังพาราฟนเหลว9.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ผสมใหเปนเนื้อเดียวกัน ในบกีเกอรขนาด 50 มิลลลิติร

ดูดสารละลายทีไ่ดมา 0.025 มิลลลิติรใสในขวดปรับปริมาตรขนาด 250 มิลลลิติร ใชไมโครปเปต

ปรับปริมาตรใหเปน 250 มิลลลิติร ดวยพาราฟนเหลว

ปดจุกขวดปริมาตรแลวพลกิขวดขึ้นลงใหสารละลายผสมเปนเนื้อเดียวกัน (อยาเขยา)

ถายสารละลายทีไ่ดลงขวดสชีาปดฝาใหสนิด

เก็บในตูเย็นอณุหภูมิ 4 oC

ปดฉลาก 1. ช่ือสารละลาย 2. ความเขมขน 3. วันทีเ่ตรียม

Page 41: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

41

4) กล่ินมาตรฐาน Dสารละลาย Gamma undecalactone ความเขมขน 10-4.5 โดยน้ําหนัก (w/w) มีขั้นตอน

การเตรียมตามรูปที่ ก-4 ดังนี้

รูปท่ี ก-4 การเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน D

ชั่งดวยเครื่องชั่งความละเอียดไมนอยกวา 0.01 กรัม

ช่ัง Gamma undecalactone1.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ช่ังพาราฟนเหลว9.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ผสมใหเปนเนื้อเดียวกัน ในบกีเกอรขนาด 50 มิลลลิติร

ดูดสารละลายทีไ่ดมา 0.032 มิลลลิติรใสในขวดปรับปริมาตรขนาด 100 มิลลลิติร ใชไมโครปเปต

ปรับปริมาตรใหเปน 100 มิลลลิติร ดวยพาราฟนเหลว

ปดจุกขวดปริมาตรแลวพลกิขวดขึ้นลงใหสารละลายผสมเปนเนื้อเดียวกัน (อยาเขยา)

ถายสารละลายทีไ่ดลงขวดสชีาปดฝาใหสนิด

เก็บในตูเย็นอณุหภูมิ 4 oC

ปดฉลาก 1. ช่ือสารละลาย 2. ความเขมขน 3. วันทีเ่ตรียม

Page 42: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

42

5) กล่ินมาตรฐาน Eสารละลาย Skatol ความเขมขน 10-5 โดยน้ําหนัก (w/w) มีขั้นตอนการเตรียมตาม

รูปที่ ก-5 ดังนี้

รูปท่ี ก-5 การเตรียมสารละลายกลิ่นมาตรฐาน E

ชั่งดวยเครื่องชั่งความละเอียดไมนอยกวา 0.01 กรัม

ช่ัง Skatol1.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ช่ังพาราฟนเหลว9.00 กรัม (±0.01 กรัม)

ผสมใหเปนเนื้อเดียวกัน ในบกีเกอรขนาด 50 มิลลลิติร

ดูดสารละลายทีไ่ดมา 0.025 มิลลลิติรใสในขวดปรับปริมาตรขนาด 250 มิลลลิติร ใชไมโครปเปต

ปรับปริมาตรใหเปน 250 มิลลลิติร ดวยพาราฟนเหลว

ปดจุกขวดปริมาตรแลวพลกิขวดขึ้นลงใหสารละลายผสมเปนเนื้อเดียวกัน (อยาเขยา)

ถายสารละลายทีไ่ดลงขวดสชีาปดฝาใหสนิด

เก็บในตูเย็นอณุหภูมิ 4 oC

ปดฉลาก 1. ช่ือสารละลาย 2. ความเขมขน 3. วันทีเ่ตรียม

Page 43: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

43

ภาคผนวก ขสวนประกอบและการทํางานของอุปกรณตางๆ

1. หัวจุกพลาสติกสําหรับถุงเก็บตัวอยางและถุงทดสอบกลิ่น

หัวจุกของถุงเก็บตัวอยางและถุงทดสอบกลิ่น ทํามาจากพลาสติกซุปเปอรลีน (Superlene)สามารถหาซือ้ไดทัว่ไปตามรานขายเครือ่งมอืชาง นาํไปกลงึใหมขีนาดตามรายละเอยีดในรปูที ่ข-1

(ก) หัวจุกตัวเมีย

(ข) หัวจุกตัวผูรูปท่ี ข-1 แบบหัวจุกพลาสตกิ (หนวยเปนเซนติเมตร)

1.500.50 0.500.25 0.25

3.00

1.66

1.00 0.50

0.75

1.50

0.75

1.50

3.00

0.500.50

0.750.75

0.50

1.500.75 0.75

3.000.50

0.75

0.75

0.50

0.50

3.00

0.50

0.500.500.500.502.00 1.50 1.50

0.50

Page 44: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

44

2. กระบอกเก็บตัวอยางกลิ่น

เปนกระบอกขนาดเสนผาศนูยกลาง 20 เซนตเิมตร ความสงู 90 เซนตเิมตร ทาํจากไฟเบอรกลาส (Fiber Glass) ความหนา 1 มิลลิเมตร ฝาปดทําจากพลาสติกอะคริลิก (Acrylic) และขาตั้งอลูมิเนียมแบบปรับระดับได ตามรายละเอียดดังรูปที่ ข-2

(ก) ฝาปดกระบอกเก็บตัวอยาง (หนวยเปนมิลลิเมตร)

(ข) ขาตั้งกระบอกเก็บตัวอยาง

รูปท่ี ข-2 แบบกระบอกเก็บตัวอยาง

O-ring Dia 4 mm

M12x45

ทออลูมเินียม 3/4 นิ้วปล๊ักอุดทอ PVC 3/4 น้ิว

ยางขาโตะ 1/2 นิ้วสายยาง OD 23 mm

ทออลูมเินียม 1/2 น้ิว

Page 45: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

45

(ค) กระบอกเก็บตัวอยาง (หนวยเปนมิลลิเมตร)รูปท่ี ข-2 แบบกระบอกเก็บตัวอยาง

M6 x 4

0

Page 46: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

46

3. เคร่ืองตวงอากาศปริมาตร 30 ลิตร

ใชในการตวงอากาศปราศจากกลิ่นเพื่อใชเจือจางกลิ่นตัวอยาง ทํางานโดยใชหลักการแทนที่น้ํา โดยการปมน้ําออกจากถังเหล็กซึ่งปดสนิท ทําใหเกิดการดูดอากาศเขาไปในถุงตวงอากาศซึ่งอยูภายในถังเหล็ก และในการปมน้ําเขาทําใหภายในถังมีความดันเพิ่มขึ้น ดันอากาศที่อยูในถุงตวงอากาศออก การตวงปริมาณอากาศใชการควบคุมระดับน้ําในทอ PVC

สวนประกอบของเครื่องตวงอากาศ (รูปที่ ข-3)

รูปท่ี ข-3 สวนประกอบของเครื่องตวงอากาศ

1

7

4

2

3

5

6

Page 47: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

47

1) โครงเหล็กทําจากเหล็กฉาก 2 นิ้ว สามารถถอดประกอบเพื่อสะดวกในการเคลื่อนยาย2) ถังเหล็ก ทําจากแผนเหล็ก หนา 5 มิลลิเมตร มีขนาดเสนผาศูนยกลาง 95 เซนติเมตร สูง

23 เซนติเมตร ฝาถังจะมีชองอากาศไหลเขา-ออก เกจวัดความดันภายในถังเหล็ก และ วาลวสําหรับระบายอากาศออกจากถัง ภายในถังประกอบดวย ถุงพลาสติกเพื่อเก็บอากาศ โดยมีสายยาง นําไปตอกับชองอากาศ ที่อยูบริเวณฝาถัง ตัวถังจะมีทอน้ําสําหรับไหลเขาออกถัง และมีทอระบายน้ําทิ้งบริเวณดานใตของถังเหล็ก ดังรูปที่ ข-4

รูปท่ี ข-4 สวนประกอบภายในถังเหล็ก

3) ถังใสน้ํา ทําจากทอ PVC เสนผาศูนยกลาง 8 นิ้ว สูง 180 เซนติเมตร เพื่อบรรจุน้ําที่จะนํามาใชในระบบในเครื่องตวงอากาศ

4) ชุดปมน้ํา ประกอบดวยปมหอยโขง จํานวน 2 ตัว แยกการทํางานกัน เพื่อปมน้ําเขาถังเหล็กและปมน้ําออกจากถังเหล็ก โดยจะมีโซลินอยลวาวล ควบคุมการทํางานดวยระบบไฟฟา

5) ชุดลูกลอย เปนแมคเนติกซสวิตช ทําหนาที่ควบคุมระดับน้ําที่ปมเขาและออกจากถังเหล็กและใชในการปรับระดับน้ําเพื่อควบคุมปริมาตรอากาศที่ตวงใหไดตามตองการ

6) หลอดแกวแสดงระดับน้ําในทอ PVC7) ตูควบคุม

M12 x 2.5 x 24

O-ring Dia 0.5 มิลลเิมตรPressure Gauge 1-5 บาร

หางปลาสายยาง 1/2 นิ้ว

ลดเหลี่ยม 1/4 x 1/2 น้ิว วาลว 1/2 น้ิวนิปเปล 1/2 นิ้วสามทาง 1/2 น้ิว

ทอเหล็ก 1/2 น้ิว ทําเกลียววาลว 1/2 น้ิวทอเหล็ก 1/2 นิ้ว ทําเกลียว

ตอตรงทอเหล็ก 1/2 นิ้ว

Page 48: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

48

วิธีการติดตั้ง1) ประกอบโครงเหล็ก ซ่ึงมีขนาดและลักษณะดังรูปที่ ข-5

รูปท่ี ข-5 แบบโครงเหล็กสําหรับตั้งเครื่องตวงอากาศ (หนวยเปนเซนติเมตร)

ลอเหล็ก 3 นิ้ว

แทนสําหรับตั้งทอ PVC

Page 49: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

49

2) ติดตั้งถังเหล็กบนโครงเหล็ก พรอมทั้งประกอบชุดปมน้ําในลักษณะดังรูปที่ ข-6

รูปท่ี ข-6 ลักษณะการติดตั้งชุดปมน้ํา

3) เติมน้ําใสถังเหล็ก สูงประมาณ 15 เซนติเมตร นําสายซิลิโคนตอระหวางหัวจุกของถุงตวงอากาศและจุกพลาสติกบริเวณฝาถัง นําถุงตวงอากาศใสลงในถังเหล็ก โดยคว้ําใหจุกพลาสติกอยูทางดานลางดังรูปที่ ข-7

รูปท่ี ข-7 ลักษณะการเติมน้ําใสถังเหล็ก

4) จัด O-ring ใหอยูในตาํแหนง ไมหลุดออกจากขอบถังเหล็ก ปดฝาถังเหล็กและขันนอตใหแนนพอสมควร ไมควรขันแนนจนเกินไป

5) ปดวาลวดานบนของถัง กด Manual Charge switch เพื่อปมน้ําเขาถังเหล็ก เปนการไลอากาศออกจากถุงพลาสติก นําสายยางมาตอเขากับจุกบริเวณฝาถังแลวนําปลายอีกดานไปจุมลงในน้ําถาไลอากาศออกจากถุงหมดแลวจะไมมีฟองอากาศเกิดขึ้น จึงหยุดการปมน้ํา

6) ตั้งระดับน้ําที่ลูกลอยใหเหมาะสม (ตองการปริมาตรอากาศ 30 ลิตร ตองตั้งระดับลูกลอยบนสูงกวาระดับลูกลอยลาง 90.2 เซนติเมตร)

ถังเหล็ก

PVC

Solenoid Valve

Solenoid Valve

Check Valve

Check Valve

Discharge Pump

Charge Pump15

cm

ระดับน้ําเริ่มตน

Page 50: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

50

วิธีการตั้งลูกลอย1) ใสน้ําในทอ PVC ใหสูงประมาณ 10 เซนติเมตร2) ตั้งระดับลูกลอยลาง โดยใชการเลื่อนลูกลอยและใช Auto Charge switch เพื่อเช็คระดับน้ํา

ในสายยางใหหยุดพอดีกับระดับที่ทําสัญลักษณไว3) ตวงน้ําลงไปในทอ PVC เทากับปริมาตรอากาศที่ตองการ ทําสัญลักษณแสดงระดับน้ําไว4) ตั้งระดับลูกลอยบน โดยใชการเลื่อนลูกลอยและใช Auto Discharge switch เพื่อเช็คระดับ

น้ําในสายยางใหหยุดพอดีกับระดับที่ทําสัญลักษณไว

การทํางานของตูควบคุม มรีายละเอียดตามรูปที่ ข-8

รูปท่ี ข-8 ตูควบคุมการทํางานของเครื่องตวงอากาศ

1) Main switch ใชปด-เปดเครื่อง2) Auto Charge switch ใชปมน้ําเขาถังเหล็กแบบหยุดอัตโนมัติ เมื่อระดับน้ําถึงลูกลอยลาง3) Manual Charge switch ใชปมน้ําเขาถังเหล็กแบบใชคนควบคุม4) Auto Discharge switch ใชปมน้ําออกจากถังเหล็กแบบหยุดอัตโนมัติ เมื่อระดับน้ําถึง

ลูกลอยบน5) Manual Discharge switch ใชปมน้ําออกจากถังเหล็กแบบใชคนควบคุม6) หลอดไฟแสดงการเปดเครื่อง7) หลอดไฟแสดงการทํางานของปมน้ําเขาถังเหล็ก8) หลอดไฟแสดงการทํางานของปมน้ําออกถังเหล็ก

1

8

4

53

2

7

6

Page 51: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

51

วิธีการใชงาน1) กด Main switch เพื่อเปดเครื่อง2) ใชสายซิลิโคนตอชุดกรองอากาศดวยถานกัมมันต เขากับจุกพลาสติกของถังเหล็ก3) กด Auto Discharge switch เพื่อดูดอากาศเขาไปยังถุงตวงอากาศภายในถังเหล็ก ซ่ึงจะมี

ลักษณะดังรูปที่ ข-94) ถอดชุดกรองอากาศดวยถานกัมมันต แลวตอถุงทดสอบกลิ่นเขากับเครื่องตวงอากาศ5) กด Auto Charge switch เพื่อดันอากาศที่อยูในถุงตวงอากาศ ใหไหลเขาสูถุงทดสอบกลิ่น6) กด Main switch เพื่อปดเครื่อง หลังการทํางานทุกครั้ง

รูปท่ี ข-9 ลักษณะถุงตวงอากาศขณะดูดอากาศเขา

ขอแนะนําในการใชเคร่ืองตวงอากาศ1) กอนการใชงานในแตละวัน ตองตรวจดูระดับน้ําในสายยางใหพอดีกับเครื่องหมายแสดง

ระดับน้ําดานลาง2) การใช Auto switch ตองรอใหระดับน้ําคงที่ กอนจะทํางานในขั้นตอไป3) ควรหมั่นตรวจดู Pressure gauge วาถังมีความดันสูงเกินไปหรือไม ซ่ึงอาจเกิดจากการ

สูบน้ําเขาไปในถังเหล็กมากเกินไป และอาจทําใหถังเสียรูปได

วงจรไฟฟาและระบบควบคุมการทํางานของเครื่องตวงอากาศ เปนดังรูปที่ ข-10

19.34

cm

ระดับน้ําสุดทาย

Page 52: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

52

รูปท่ี ข-10 วงจรไฟฟาและระบบควบคุม

Page 53: คํานําคํานํา 1 สารบัญ 2 บทนํา 3 การตรวจวัดกลิ่นจากฟาร มสุกร 5 1. หน วยความเข

คูมือการตรวจวัดกล่ินจากฟารมสุกร

53

ท่ีปรึกษา

กรมควบคุมมลพิษนายอภิชัย ชวเจริญพันธนายอดิศักดิ์ ทองไขมุกตนายอนุพันธ อิฐรัตน

สถานเทคโนโลยีกาซชีวภาพนายจักรี เสนทองนายอนุสรณ อินทรังษีนายนพดล คงศรีเจริญ

คณะทํางานนางกัญชลี นาวิกภูมินางสุนีย ตะปนตานางสาวพิไล เทียรเดชนายวุทธิชัย แกวกระจางนายมงคล ประจํานางสาวไปรยา บุญนําศิริกิจนางสาววนิสา สุรพิพิธนางสาวรัตนดา สุหทัยกุลนางสาวรัตนฤทัย วังทะพันธ

สวนน้ําเสียเกษตรกรรมสํานักจัดการคุณภาพน้ํา กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

เลขที่ 92 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400โทรศัพท 0-2298-2221-4 โทรสาร 0-2298-2202

Website:http://www.pcd.go.th