สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ...

8
Volume 38 Number 3 July – September 2012 Thai Journal of Anesthesiology 171 ในโอกาสวันมหิดล หรือวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี วิสัญญีสารฉบับนี้จึงถือเป็นโอกาสที่สมาชิก ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยและ วิสัญญีพยาบาล จะได้รับทราบถึงพระกรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชประวัติโดยสังเขป สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที8 ในสมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพัน- วัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ในปี พ.ศ. 2448 ได้เสด็จไป ศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ สหราชอาณาจักร ครั้น พ.ศ. 2450 ทรงเข้าศึกษาวิชาทหารที่เมืองปอตสดัม เยอรมัน และทรงย้ายไปเรียนนายร้อยชั้นสูงใกล้กรุงเบอร์ลิน แต่ยังไม่ทันจบหลักสูตรได้เสด็จกลับมาร่วมพระราช พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทความพิเศษ สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระกรุณาธิคุณมิรู้ลืม สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ พ.บ., เกศชาดา เอื้อไพโรจน์กิจ พ.บ. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2455 ทรงเปล่ยนไปศึกษาวิชา ทหารเรือที่ Imperial German Naval College ตาม พระราชบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จนสอบไล่ได้หลักสูตร เฟนริชทหารเรือ และทรงเป็นนักเรียนทำการนายเรือ อีก 1 ปี สมเด็จพระบรมราชชนกทรงเข้ารับราชการ ในกองทัพเรือ ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือ ประจำการอยู่ในกองบังคับการ 1 มีพระประสงค์จะ ออกทะเล แต่กองทัพไม่เห็นสมควรให้เจ้านายชั้นสูง ทรงปฏิบัติเช่นนี้ ต่อมาก็ย้ายไปประจำกองอาจารย์ นายเรือ พระองค์ท่านโปรดการเป็นครู อยากจะพา นักเรียนออกทะเลบ้างก็ไม่ได้รับอนุญาตอีก 2 จุดเริ่มต้นของการสนพระทัยในด้านการแพทย์ และสาธารณสุข สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาท นเรนทร หรือพระยศในขณะนั้นคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการราชแพทยาลัย และหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์

Upload: others

Post on 24-Jan-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458875845...172 ว ส ญญ สาร ป ท 38 ฉบ บท

Volume 38 Number 3 July – September 2012 Thai Journal of Anesthesiology 171

ในโอกาสวันมหิดล หรือวันที่ 24 กันยายน

ของทกุปีวสิญัญสีารฉบบันีจ้งึถอืเปน็โอกาสทีส่มาชกิ

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยและ

วิสัญญีพยาบาล จะได้รับทราบถึงพระกรุณาธิคุณ

ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก

พระราชประวัติโดยสังเขป

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ใน

พระบาทสมเดจ็พระจอมเกลา้เจา้อยูห่วัและพระองคท์ี่

8 ในสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวีพระพัน-

วัสสาอัยยิกาเจ้าประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ

วนัที่1มกราคมพ.ศ.2434ในปีพ.ศ.2448ไดเ้สดจ็ไป

ศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์สหราชอาณาจักรครั้นพ.ศ.

2450ทรงเขา้ศกึษาวชิาทหารทีเ่มอืงปอตสดมั เยอรมนั

และทรงย้ายไปเรียนนายร้อยชั้นสูงใกล้กรุงเบอร์ลิน

แต่ยังไม่ทันจบหลักสูตรได้เสด็จกลับมาร่วมพระราช

พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทความพิเศษ

สมเด็จฯพระบรมราชชนก:พระกรุณาธิคุณมิรู้ลืม

สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ พ.บ.,

เกศชาดา เอื้อไพโรจน์กิจ พ.บ.

ภาควิชาวิสัญญีวิทยาคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2455 ทรงเปลี่ยนไปศึกษาวิชา

ทหารเรือที่ ImperialGermanNavalCollege ตาม

พระราชบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จ

พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จนสอบไล่ได้หลักสูตร

เฟนรชิทหารเรอืและทรงเปน็นกัเรยีนทำการนายเรอื

อีก 1ปีสมเด็จพระบรมราชชนกทรงเข้ารับราชการ

ในกองทัพเรือ ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือ

ประจำการอยู่ในกองบังคับการ1 มีพระประสงค์จะ

ออกทะเลแต่กองทัพไม่เห็นสมควรให้เจ้านายชั้นสูง

ทรงปฏิบัติเช่นนี้ ต่อมาก็ย้ายไปประจำกองอาจารย์

นายเรือพระองค์ท่านโปรดการเป็นครู อยากจะพา

นักเรียนออกทะเลบ้างก็ไม่ได้รับอนุญาตอีก2

จดุเริม่ตน้ของการสนพระทยัในดา้นการแพทย ์

และสาธารณสุข

สมเดจ็พระเจา้บรมวงศเ์ธอกรมพระยาชยันาท

นเรนทรหรอืพระยศในขณะนัน้คอืพระเจา้นอ้งยาเธอ

กรมหมืน่ชยันาทนเรนทร เมือ่ครัง้ทีท่รงดำรงตำแหนง่

ผู้บัญชาการราชแพทยาลัยและหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม

เกษมศรี ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิทยาศาสตร์

Page 2: สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458875845...172 ว ส ญญ สาร ป ท 38 ฉบ บท

172 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2555

จฬุาลงกรณม์หาวทิยาลยัทรงทราบวา่พระบรมราชชนก

ไม่โปรดรับราชการในกองทัพเรืออีกต่อไปจึงได้ชวน

พระบรมราชชนกเสด็จประพาสไปตามคลองเล็ก

คลองน้อยฝั่งธนบุรีโดยเรือยนต์เพื่อให้ทรงพระ

สำราญพระทัย เมื่อถึงปากคลองบางกอกน้อยแล้ว

เสด็จในกรมฯ ได้สั่งให้เรือจอดเทียบสะพานท่าน้ำ

โรงพยาบาลศิริราช นัยว่าใคร่ให้ทอดพระเนตรที่

ทำงานของพระองค์ท่าน โรงพยาบาลศิริราชสมัยนั้น

ไม่ได้เป็นอาคารโอ่อ่าใหญ่โตอย่างในสมัยนี้ มีอาคาร

เป็นตึกเล็กๆ ได้แก่ ตึกเสาวภาคย์ ตึกวิคตอเรีย และ

ตึกสูติกรรม เรือนคนไข้เป็นเรือนไม้หลังคาจาก

จำนวนไมเ่พยีงพอกบัคนไขท้ีม่ารบัการรกัษาพยาบาล

“ทูลกระหม่อม” ทอดพระเนตรสภาพโรงพยาบาล

ทรงสงสารว่าเป็นการทำงานที่เต็มไปด้วยอุปสรรค3

ในที่สุดสมเด็จฯพระบรมราชชนกได้ตัดสินพระทัย

ด้วยพระราชประสงค์ที่จะสนองพระคุณสมเด็จ

พระพนัวสัสาอยัยกิาเจา้ไดท้รงรบัสัง่ประทานสมเดจ็ฯ

กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “รู้สึกสลดใจว่าตั้งแต่

หม่อมฉันเกิดมาเห็นแต่เสด็จแม่ทรงเป็นทุกข์โศก

ไม่มีอะไรที่จะทำให้ชื่นพระหฤทัยเสียเลย สงสาร

เสด็จแม่ จึงคิดว่าลูกผู้ชายของท่านก็เหลืออยู่แต่

หม่อมฉันคนเดียว ควรจะสนองพระคุณด้วยการ

ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้เสด็จแม่ทรงยินดีด้วย

เห็นลูกสามารถทำความดีให้เป็นคุณประโยชน์แก่

บ้านเมืองได้ ไม่เลี้ยงมาเสียเปล่า เมื่อคิดต่อไปว่าจะ

ทำการอย่างไรดีหม่อมฉันคิดเห็นว่าในทางราชการ

นั้นก็มีทูลกระหม่อมพระราชโอรสในสมเด็จพระ

ศรีพัชรินทรอยู่หลายพระองค์แล้ว ตัวหม่อมฉันจะ

ทำราชการหรือไม่ทำก็ไม่ผิดกันเท่าใดนัก จึงคิด

ว่าการช่วยชีวิตผู้คนพลเมืองเป็นการสำคัญอย่างหนึ่ง

ซึง่หมอ่มฉนัอาจจะทำไดโ้ดยลำพงัตวัเพราะทรพัยส์นิ

ส่วนตัวก็มีพอจะเลี้ยงชีวิตแล้ว จะสละเงินที่ได้รับ

พระราชทานในส่วนที่เป็นเจ้าฟ้าเอามาใช้เป็นทุน

ทำการตามความคิดให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง

ด้วยเหตุดังทูลมานี้หม่อมฉันจึงไม่ทำราชการ” จึง

ทรงหันมาสนับสนุนด้านการแพทย์และสาธารณสุข

นับแต่นั้น

ภาพที่ 1ท่าน้ำศิริราช

Page 3: สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458875845...172 ว ส ญญ สาร ป ท 38 ฉบ บท

Volume 38 Number 3 July – September 2012 Thai Journal of Anesthesiology 173

สมเด็จเจ้าฟ้าพระอาจารย์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย

เมื่อเสด็จกลับจากการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา

แล้ว พระบรมราชชนกทรงพอพระทัยในการสอน

มากทรงรบัหนา้ทีส่อนวชิาชวีวทิยาเกีย่วกบักายวภิาค

ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และวิชาประวัติศาสตร์

แก่นิสิตเตรียมแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการสอนประวัติศาสตร์ได้ทรงนำนิสิตไปเยี่ยมชม

สถานที่ที่สำคัญต่างๆ ด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้

ยังได้ทรงสอนวิชาปฏิบัติการสุขาภิบาลแก่บรรดา

แพทย์สาธารณสุขซึ่งกรมสาธารณสุขได้จัดให้มีการ

อบรมขึ้นเป็นครั้งแรกณสถานเสาวภาวิชานี้ได้ทรง

นำผูเ้ขา้อบรมไปดกูารสขุาภบิาลตามตรอกซอยถนน

และบ้านเรือนเอกชนบางหลังทรงสนพระทัยงาน

ด้านพยาธิวิทยานายแพทย์ คอร์ทแห่งโรงพยาบาล

แมคคอร์มิค เชียงใหม่ ได้มีบันทึกมีใจความว่าทรง

หาเงินเพื่อสร้างตึกถาวรสำหรับโรงเรียนแพทย์ เป็น

ตึกศึกษาพยาธิวิทยาและบักเตรีวิทยา แสดงถึงการ

เอาพระทยัในการศกึษาแพทย์นอกจากนีย้งัไดป้ระทาน

เกียรติยศแด่พระสหายสนิทนายแพทย์เอ.จี.เอลลิส

ซึง่มาจากเมอืงฟลิาเดลเฟยีประเทศสหรฐัอเมรกิา ให้

รับหน้าที่แม่กองพยาธิแห่งโรงเรียนแพทย์ท่านผู้นี้

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์

(ปัจจุบันคือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)

ภาพที่ 2 ทรงฉายภาพกับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทรงสนับสนุนการศึกษาต่อของกุลบุตรกุลธิดา

พระบรมราชชนกทรงเห็นความสำคัญใน

การเตรียมบุคลากรทางการแพทย์และการพยาบาล

โดยโปรดให้ไปศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อ

กลับมาช่วยเป็นอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ และ

โรงเรียนพยาบาลเมื่อพ.ศ.2460ทรงเป็นพระธุระให้

นักเรียนแพทย์ 2คนนักเรียนพยาบาล2คน ได้รับ

ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายแพทย์หลวงนิตย์เวชชวิศิษฎ์นักเรียนทุน

พระราชทานผู้หนึ่งบันทึกไว้ว่า

“ในวันที่ 24กรกฎาคมพ.ศ. 2460 เวลาบ่าย

2 โมง ขณะเล่นฟุตบอลอยู่ ลุงแกะนักการมาตาม

Page 4: สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458875845...172 ว ส ญญ สาร ป ท 38 ฉบ บท

174 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2555

บอกวา่สมเดจ็ในกรมฯ(กรมพระยาชยันาทนเรนทร)

รับสั่งให้เข้าเฝ้าด่วนที่ตึกบัญชาการริมน้ำเจ้าพระยา

ด้านเหนือของกองโรงเรียนแหม่มโคล์ เมื่อเข้าเฝ้า

เสดจ็ในกรมฯประทบัอยูบ่นพระเกา้อี้หนัพระพกัตร์

มาถามว่า “ตานิตย์แกอยากไปเรียนเมืองนอกไหม”

ข้าพเจ้าทูลว่า “อยากไปพะยะค่ะ” เท่านั้นรับสั่งให้

กลับได้ ให้รออีก 2-3 วัน จะบอกให้แน่นอน วัน

พฤหัสบดีที่ 26กรกฎาคม2460 เสด็จในกรมฯทรง

ระบุว่าผู้จะไปศึกษาต่อณประเทศสหรัฐอเมริกามี

แน่นอน4คนคือนายนิตย์เปาเวทย์นายลิศรีพยัตต์

น.ส.สังวาล ตะละภัฎ (สมเด็จพระบรมราชชนนี)

และน.ส.อุบลปาลกะวงศ์3

ทรงเลือกส่งเสริมบุคคลอย่างเหมาะสม3

บ่ายวันหนึ่งในพ.ศ. 2463 สมเด็จพระบรม

ราชชนกเสด็จไปโรงพยาบาลศิริราช ขณะที่เสด็จ

ผ่านตึกวิคตอเรียทอดพระเนตรเห็นนายแพทย์หนุ่ม

คนหนึ่งกำลังมองกล้องจุลทรรศน์อย่างขะมักเขม้น

ทรงสนใจถามนายแพทย์หนุ่มผู้สำเร็จแพทย์มาแต่

พ.ศ. 2460 ว่า “โปรเฟสเซอร์ กำลังดูอะไรอยู่”

นายแพทย์หนุ่มตื่นเต้นมากกราบทูลว่า “ดูตัวอมิบา

สาเหตุของโรคบิด พะยะค่ะ” ทรงตอบว่าทรง

สนพระทัยเป็นพิเศษ เพราะตัวอมิบาที่ทรงเห็นใน

มหาวิทยาลัยอเมริกานั้น มันตายแล้ว เคลื่อนไหว

ไม่ได้ การทอดพระเนตรตัวอมิบาคราวนี้นำมหาโชค

มาสู่แพทย์หนุ่มผู้นี้ คือ ต่อมาได้รับพระราชทุนไป

ศึกษาต่อณสหรัฐอเมริกา

นายแพทย์หนุ่มผู้นี้ คือ นายแพทย์เฉลิม

พรมมาส ผู้บุกเบิกกิจการนานัปการทางการแพทย์

และสาธารณสุข คือ งานพยาธิวิทยาพบวงจรชีวิต

ตัวจี๊ดในประเทศไทยสโมสรแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวทิยาลยัสมาคมปราบวณัโรคคณะแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะ

เทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ

แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำแหน่ง

สุดท้ายของนายแพทย์เฉลิมพรมมาสคือ รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระ

บรมราชชนกเสด็จกลับสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงศึกษา

ต่อ ในการเสด็จกลับครั้งนี้ได้ทรงพานายแพทย์

เฉลิมพรมมาส ไปศึกษาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ณ

มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอบกินส์ ซึ่งเป็นสถาบันการ

ศึกษาชั้นแนวหน้าของประเทศสหรัฐอเมริกาแห่ง

หนึ่ง วันหนึ่งทรงเป็นห่วงว่านายแพทย์เฉลิมจะมี

ปัญหาอย่างไรบ้างในการศึกษา จึงเสด็จไปเยี่ยมโดย

มิได้บอกกล่าวล่วงหน้า การณ์กลับปรากฏต่อหน้า

พระพักตร์ว่า นายแพทย์เฉลิม พรมมาส กำลัง

บรรยายโรคเมืองร้อนให้แพทย์อเมริกันฟังเป็นที่

พอพระทัย

นอกจากนี้ในพ.ศ. 2468แพทย์ 2ท่านที่ได้

รบัพระราชทานทนุสว่นพระองคไ์ปศกึษาณประเทศ

สหรฐัอเมรกิาเมือ่พ.ศ.2460สำเรจ็การศกึษาเดนิทาง

กลับประเทศไทยพร้อมปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต

คือ นายแพทย์นิตย์ เปาเวทย์ และนายแพทย์ลิ

ศรีพยัตต์ เนื่องจากประเทศไทยในขณะนั้นขาด

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมาก ดังนั้น

เมื่อนักเรียนส่วนพระองค์ 2 คนแรก จบการศึกษา

จากตา่งประเทศมากท็รงใหน้กัเรยีนทนุสว่นพระองค์

2 ท่านนี้ เลือกวิถีชีวิตของตนเอง นายแพทย์ลิ

ศรพียตัต์ เลอืกเปน็อาจารยใ์นโรงเรยีนแพทยท์ีศ่ริริาช

นายแพทย์นิตย์ เปาเวทย์ เลือกเป็นผู้อำนวยการ

โรงพยาบาลกลาง กรมสาธารณสุข ต่อมาทั้งสอง

ได้สร้างประโยชน์อย่างสูงต่อวงการแพทย์ และ

สาธารณสุข

Page 5: สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458875845...172 ว ส ญญ สาร ป ท 38 ฉบ บท

Volume 38 Number 3 July – September 2012 Thai Journal of Anesthesiology 175

ทรงเจรจาขอความร่วมมือจากมูลนิธีร็อกกี

เฟลเลอร์

ในปี พ.ศ. 2464 กระทรวงธรรมการได้เริ่ม

เจรจาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์

ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ในกรุงสยาม

พระบรมราชชนกได้เสด็จจากสหรัฐอเมริกามายัง

ยุโรปเพื่อเจรจาเรื่องการตั้งโรงเรียนแพทย์ที่ทันสมัย

ในเดือนเมษายนพ.ศ.2465พระบรมราชชนกได้พบ

กับนายแพทย์เพียร์ศ ในกรุงปารีสเพื่อหารือเพิ่มเติม

ฉะนั้นจึงต้องเสด็จไปยังสถานที่ประชุมกันหลายครั้ง

และหลายสถานที่ ในที่สุดการเจรจาช่วยเหลือการ

ศึกษาแพทยศาสตร์อันทันสมัยก็ประสบความสำเร็จ

ในการใช้จ่ายเงินของมูลนิธิฯนั้นพระองค์ทรงดูแล

การใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่ให้มีการใช้จ่ายอย่าง

สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนทั้ง

การส่งคนมาช่วยพัฒนาด้านการศึกษา 9 คน และ

ทุนทรัพย์ในการสร้างอาคารเรียนและอุปกรณ์พร้อม

ทั้งทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อพ.ศ. 2472อัน

เป็นปีสุดท้ายของสัญญาความร่วมมือพระองค์ทรง

พระประชวรแต่ก็ยังทรงใส่พระทัยในการปรับปรุง

การศึกษาแพทย์ และพยาบาล ความร่วมมือจาก

มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์นี้ได้พัฒนาคณะแพทยศาสตร์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศิริราช) ในสมัยนั้น

สู่ความเป็นโรงเรียนแพทย์ที่ได้มาตรฐาน

ทรงบำรุงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ

โรงพยาบาลศิริราช

พระกรณียกิจสำคัญในการทะนุบำรุงกิจการ

มหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ที่สำคัญได้แก่4

ประทานทุนแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการส่งคนไปศึกษาเพิ่มเติมในต่างประเทศ เป็น

จำนวนเงิน 200,000บาท เรียกว่า “ทุนวิทยาศาสตร์

แห่งแพทย์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใกล้ทิวงคตได้

ประทานพระอักษรให้ทายาทของพระองค์ส่งเงิน

จำนวน500,000บาทแก่มหาวิทยาลัยภายในกำหนด

ยี่สิบห้าปีประหนึ่งพระมรดกครั้งสุดท้าย4

ภาพที่ 3 วังวินเซอร์(วังใหม่)สถานที่เสด็จไปทรงสอนนิสิตเตรียมแพทย์

ปัจจุบันเป็นสนามกีฬาแห่งชาติปทุมวัน

Page 6: สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458875845...172 ว ส ญญ สาร ป ท 38 ฉบ บท

176 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2555

ประทานทุนจำนวน 3,840 บาท ไว้เป็นทุน

การสอนและค้นคว้าในโรงพยาบาลศิริราชสำหรับ

แพทย์ที่พึ่งสำเร็จใหม่

ประทานเงินสร้างตึกและร่วมสร้างตึกมหิดล

บำเพ็ญ และตึกอำนวยการของคณะแพทยศาสตร์

ศิริราชพยาบาลฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีพระจริยวัตรในฐานะ “ครู”

ทรงจัดให้มีทัศนศึกษาโดยทรงนำนิสิตจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัยไปศึกษาสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น

พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งอนันตสมาคมพระ

จริยวัตร เมื่อทรงพานิสิตไปทัศนศึกษานี้ นอกจาก

ทรงอนุญาตให้นิสิตขึ้นรถพระที่นั่งแล้ว ยังโปรดให้

รถสองแถวส่วนพระองค์คอยติดตามรับนิสิตที่เหลือ

ตกค้างด้วย1

เสด็จนิวัติสยามเพื่อปฏิบัติหน้าที่แพทย์

เมื่อสมเด็จฯ พระบรมราชชนกพร้อมด้วย

สมเด็จพระบรมราชชนนี พระราชโอรส และ

พระราชธิดา ได้เสด็จนิวัติประเทศทรงมีพระราช

ประสงค์จะทำหน้าที่แพทย์ ทำหน้าที่แพทย์ประจำ

บ้านณ โรงพยาบาลศิริราชแต่เนื่องด้วยพระอิสริย-

ยศของพระองค์ จึงไม่สามารถเป็นไปตามพระ-

ราชประสงค์ แม้การเป็นแพทย์ ณ โรงพยาบาล

จุฬาลงกรณ์สภากาชาดสยามก็เช่นเดียวกันจึงเสด็จ

พระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำ

บ้านทำการตรวจรักษาคนไข้ทั่วไปณ โรงพยาบาล

แมคคอร์มิคทรงปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำบ้านได้

เพียง 3 สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร

เพื่อทรงร่วมพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระ-

ภาพที่ 4 ทรงเปิดสถานีกาชาดสุขุมาลย์อนามัย

Page 7: สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458875845...172 ว ส ญญ สาร ป ท 38 ฉบ บท

Volume 38 Number 3 July – September 2012 Thai Journal of Anesthesiology 177

ภาพที่ 5เสด็จไปทรงเปิดโอสถสภาที่เชียงใหม ่

บรมศพสมเด็จฯ กรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช

ต่อมาทรงมีพระอาการประชวรฝีบิดในพระยกนะ

พระวักกะวาย พระปัปผาสะบวม หลังจากทรง

ประชวรเป็นเวลา 4 เดือนก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่

24กันยายนพ.ศ.24724

พระกรณียกิจด้านการสาธารณสุข

ทรงศึกษาสุขาภิบาลในกรุงเทพฯ3 ในพ.ศ.

2467พระองคไ์ดท้รงสำรวจการสขุาภบิาลทีก่รงุเทพฯ

เรื่องถนนบ้านเรือน การระบายน้ำ การกำจัดขยะ

มลูฝอยการประปาตลอดจนการกนิอยูข่องประชาชน

เพือ่ประโยชนใ์นการศกึษาเปรยีบเทยีบกบัตา่งประเทศ

ในการเสด็จไปในที่ต่างๆพระองค์ทรงดำเนินการ

ตามระเบียบขออนุญาตเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง เมื่อ

เจ้าหน้าที่จัดการใหญ่โตให้สมพระเกียรติก็ไม่ต้อง

พระประสงค์ เพราะโปรดทุกอย่างอย่างเรียบง่าย

และยังเป็นอุปสรรคในการศึกษาของพระองค์ด้วย

ทำให้ไม่ได้ทอดพระเนตรสิ่งที่เป็นจริง

การสุขาภิบาลภายในเรือนจำ3 ในการเสด็จไป

ที่เรือนจำครั้งหนึ่งทรงเห็นว่าห้องที่นักโทษนอนนั้น

คับแคบมากห้องหนึ่งมีนักโทษ12คนมีช่องระบาย

ลมเล็กๆ8ช่องและมีถังเมล์ (ส้วม)และโอ่งน้ำเล็ก

ในห้อง รับสั่งว่าขังอย่างนี้เหมือนอย่างเอาพลเมือง

เพาะเชื้อโรคแท้ๆ ไหนจะใช้งานทั้งยังเพาะเชื้อโรค

ให้ด้วย แล้วรับสั่งให้เจ้ากรมคุกรายงานเสนาบดี

จากการรับสั่งนั้นได้มีการเจาะรูระบายลมเพิ่มขึ้นอีก

8 ช่อง และลดจำนวนนักโทษเป็นห้องละ 8 คน

เหล่านักโทษถึงกับกราบลงกับพื้นด้วยสำนึกใน

พระกรุณาธิคุณ

ทรงศึกษาตัวพยาธิในเลือดของคนไทย3

เกีย่วกบัโรคเทา้ชา้งทรงทราบจากตา่งประเทศ

ว่ามียุงเป็นพาหะพยาธิไมโครฟิลาเลียมักจะปรากฏ

ตัวในตอนกลางคืน เมื่อพ.ศ. 2461พระองค์จึงทรง

จดัการตรวจเลอืดของนกัโทษเรอืนจำในตอนกลางคนื

โดยมีนายแพทย์ เอลลิสพยาธิแพทย์โดยเสด็จเข้าใน

เรือนจำเพื่อเจาะเลือดจากนักโทษได้จำนวน128คน

กว่าจะเสร็จการนี้ก็ถึงเวลาเที่ยงคืนพอดีนายแพทย์

อัทย์ หะสิตเวช มีเลขหมายประจำตัว 1 เมื่อศึกษา

วิชาแพทย์ในขณะนั้น เป็นนักโทษการเมืองในกอง

มหันตโทษ ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ว่า เมื่อทรง

เจาะเลือดจากใบหูนักโทษคนละหยดแล้วทรงหันมา

ยิ้มกับนักโทษ และรับสั่งว่า “ขอบใจที่ให้เลือด

แก่ฉัน”

ทรงศึกษาเกี่ยวกับพยาธิปากขอ3

ได้เสด็จพร้อมกับนักเรียนแพทย์ 4 คน เข้า

เรือนจำอีกครั้ง เพื่อสำรวจการมีพยาธิปากขอ ได้

Page 8: สมเด็จฯ พระบรมราชชนก : พระ ...anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/1458875845...172 ว ส ญญ สาร ป ท 38 ฉบ บท

178 วิสัญญีสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2555

เสด็จไปที่ “เว็จ” เพื่อนำอุจจาระไปตรวจสภาพของ

ส้วมในเรือนจำขณะนั้นเป็นภาวะที่เหลือจะทนทาน

นักเรียนแพทย์ไม่ได้ตามเสด็จเข้าไปด้วย จึงรับสั่งว่า

ไม่เข้าไปให้เห็นจะนำเรื่องเข้าไปพิสูจน์อย่างไรได้

นักเรียนจึงใช้ผ้าปิดจมูกตามเสด็จเข้าไป การที่ทรง

สนพระทัยเรื่องพยาธิปากขอนี้ เพราะผู้ป่วยจะมี

ลักษณะผอมเหมือนวัณโรค ซึ่งเป็นโรคที่พระองค์

ทรงสนพระทัย

ทรงเรียบเรียงเรื่องทุเบอร์คูโลสิส (วัณโรค)

เมื่อพ.ศ. 2463 ได้ทรงเรียบเรียงเรื่องทุเบอร์

คโูลสสิประทานแกก่รมสาธารณสขุซึง่ตอ่มากระทรวง

มหาดไทยได้จัดพิมพ์เผยแพร่ และได้ทรงชำร่วย

หนังสือนี้ ในคราวงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จ

พระเชษฐาธิราช จอมพลเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ

กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ3

พระกรุณาธิคุณมิรู้ลืม

จะเห็นได้ว่ าพระกรุณาธิคุณของสมเด็จ

พระบรมราชชนก มีมากมายเหลือที่จะพรรณนา

ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ประทานให้แก่จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งทุน

พระมรดกแล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่าทุนสนับสนุน

จากมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ที่ให้แก่ประเทศสยาม5

นอกจากนี้ยังทรงอุทิศพระวรกายทั้งที่ทรงมีพระโรค

ประจำพระองค์ พระองค์ทรงทำงานแข่งกับเวลา

และยิ่งกว่านั้นแข่งกับมรณะเพื่อพัฒนาด้านการ

แพทย์พยาบาล และการสาธารณสุข ศาสตราจารย์

นายแพทย์เอลลิส คณบดีคณะแพทยศาสตร์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก ผู้ได้ร่วมงานกับ

พระองค์มาอย่างใกล้ชิด ได้บันทึกเกี่ยวกับพระองค์

ว่า“การที่ทรงอุบัติมาในโลกนี้นั้นทำให้โลกนี้ได้ดีขึ้น

เป็นแน่แท้”5

เอกสารอ้างอิง 1. เทียนฉาย กีระนันท์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในพระราชดำริสมเด็จพระบรมราชชนก.จามจุรี

2548;7:14-24.

2. สมเด็จพระมหิตลาธิ เบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนกสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า

กัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ทรงบรรยาย.บรรณาธกิาร:วกิลัย์พงศพ์นติานนท,์

สุรีย์ ชูราศรี, สุดารัตน์ เพชรพรหม. อมรินทร์

พรินติ้งแอนพับลิชชิงกรุงเทพมหานคร2554.

3. สมรัตน์จารุลักษณานันท์,ปรีดาทัศนประดิษฐ์.

พระบรมราชชนก: พระราชกรณียกิจด้านการ

แพทย์และสาธารณสุขและพระคุณธรรมจริย-

ธรรมทางการแพทย์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน

2546;28:668-680.

4. สุดแสงวิเชียร.พระประวัติสมเด็จพระราชบิดา

เจา้ฟา้มหดิลอดลุยเดชกรมหลวงสงขลานครนิทร์

C.P.H,M.D. (Harvard). เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ

พระบรมราชชนก.รวมบทความเฉลิมพระเกียรต ิ

สมเด็จพระมหิตลาธิ เบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนกอมรนิทรพ์รนิติง้แอนพบัลชิชงิ

กรุงเทพฯ2552;1-81.

5. พิณพากย์พิทยาเภท. พระกรณียกิจเกี่ยวกับ

การแพทย์ และการสาธารณสุขของสมเด็จ

พระราชบิดา ใน: วิกัลย์ พงษ์พนิตานนท์

(บรรณาธิการ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ-

บรมราชชนก อมรินทร์พรินติ้งแอนพับลิชชิง

กรุงเทพมหานคร2552;82-115.