วารสารรายไตรมาส - mnrelib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf ·...

20
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ISSN1686-8625 วารสารรายไตรมาส ปีท่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2552

Upload: others

Post on 05-Jul-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก

ISSN1

686-8

625

วารสารรายไตรมาส

ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2552

Page 2: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

ที่ปรึกษา ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ชาตรี ช่วยประสิทธิ ์

บรรณาธิการบริหารจงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

วิกรม เดชหน ู

กองบรรณาธิการ รัตนา เมฆาอภิรักษ์ จรงค์ มะสัน รัชฎา แก้วมณ ี

บรรณาธิการฝ่ายศิลป์และสร้างสรรค์

ทวี ลือชาสัตย ์

ประสานงานการเผยแพร่ รัตนา เมฆาอภิรักษ์ ประกายพร สุขะนันท์ รัชฎา แก้วมณ ี

จำนวนพิมพ์ 4,000เล่ม

ออกแบบ-จัดพิมพ์ บริษัท บลูอิมเมจ จำกัด โทร.0-7446-4401-2 โทรสาร 0-7446-4403

สนใจสมัครเป็นสมาชิกหรือส่งความคิดเห็นประชาสัมพันธ์สามารถแจ้งความจำนงได้ที่

บรรณาธิการวารสาร “เม็ดทราย” สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่16 ถนนกาญจนวนิชตำบลเขารูปช้างอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา90000

โทร.0-7431-1882,0-7431-3419

HomePage : www.reo16.mnre.go.th

E-mail :[email protected]

วัตถุประสงค์: เพื่อเผยแพร่ความรู้และข่าวสาร

ด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นประโยชน์

ต่อการนำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติ

และประชาสัมพันธ์ข่าวสาร/กิจกรรม

ด้านสิ่งแวดล้อม

รายไตรมาส

ปีที่5ฉบับที่3เดือนกรกฎาคม-กันยายน2552

เตือนตน และเตือนใจ คนข้างกาย ให้ควรจำ

สิ่งใดที่ควรทำ –ไม่ควรทำ ก่อนจะสาย

ธรรมชาติที่เรามี ให้เรานี้ จักเสียดาย

ก่อนที่ จักมลาย เราจะใช้ ไม่พอเพียง

ใช้กัน แค่พอใช้ เราจะได้ ไม่ต้องเสี่ยง

ว่าจะ มีพอเพียง กับลูกหลาน และเหลนเรา

ชวนกัน ช่วยรักษา ร่วมกันมา ช่วยบรรเทา

สิ่งใด คิดว่าเก่า ก็นำเอา มารีไซค์ฯ

อาหาร ทั้งเสื้อผ้า ของใช้ถ้า –จะซื้อใหม่

คิดก่อน ตัดสินใจ ว่าทำลาย สิ่งใดบ้าง

ต้นไม้ มีจำกัด พลังงานชัด ย่อมเบาบาง

อย่าพูด เอาแต่อ้าง ทำเสียบ้าง ได้ผลเอง

ให้เริ่ม ตัวเราก่อน แล้วค่อยสอน คนข้างเคียง

พูดไป คนละเสียง ว่าเรานี้ จงช่วยกัน

โลกบอก ว่าร้อนนัก มีใครจัก มาช่วยฉัน

คิดดู แต่ละวัน ว่าเรานั้น ช่วยอันใด

อย่ามัว คิดแต่สุข เอาแต่สนุก สะดวก สบาย

ลูกหลาน ใช้สิ่งใด ถ้าเราไม่ รักษามัน

โลกไม่ สวยงามจริง ถ้าเรานิ่ง มัวแต่ฝัน

ขอเพียง แต่ละวัน ให้เรานั้น รักษ์โลกเอย

คุณ คือ พลัง ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน

ทวี ลือชาสัตย์

กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ สสภ.16

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วารสาร

Page 3: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

Contents

6-7 การประชุม คณะกรรมการพัฒนา ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครั้งที่ 1/2552

8-9

“สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

16-17

แผนงานหุ้นส่วน การวิจัย และพัฒนาของยุโรป ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

ย้อนดูตายาย...ใช้ชีวิต คน...สองทะเล ตอน“นา...แหล่งกับข้าว (อาหาร) สำรองของคนสองทะเล” หากุ้ง ปู ปลา ในดูน้ำพะ

บอกเล่า...ข่าวฝาก การคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

15

12-14

10-11 18 สารอินทรีย์ ระเหยง่าย (วี โอ ซี) เล่าเรื่องด้วยภาพ

เมื่อวันก่อนนั่งดูทีวีรายการสารคดีสัตว์โลก

โดยไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องแล้วรู้สึกสบายใจ เพราะ

สารคดีดังกล่าวสามารถสื่อให้เห็นว่า สัตว์โลกต่างๆอยู่

ด้วยกันอย่างมีความสมดุล มีความเป็นระบบนิเวศที่

สมบูรณ์ในระบบนิเวศของป่าไม้มีผู้ล่ามีผู้ถูกล่ามีระบบ

ที่ป้องกันการเสียสมดุล เสือคือผู้ล่า กวางคือผู้ถูกล่า

สุดท้ายแล้วถึงแม้จะมีการลดจำนวนของผู้ถูกล่า แต่การ

รักษาสมดุลของระบบนิเวศยังมีอยู่ ทั้งสองฝ่ายก็ยังดำรง

ชีวิตอยู่ได้ตามธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าชายเลนก็มีการ

รักษาสภาพเพื่อให้มีแนวป้องกันให้สัตว์น้ำเข้ามาวางไข่

เข้ามาหลบภัย จนสัตว์น้ำต่างๆแข็งแรงออกไปผจญกับ

ผืนน้ำอันกว้างใหญ่ไพศาลได้ หันมาดูสารคดีมลพิษสิ่ง

แวดล้อมแล้วมีความรู้สึกหดหู่ใจ ความสมดุลในระบบ

นิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศป่าชายเลนขาดความสมดุล เกิด

การเสื่อมโทรมไปอย่างรวดเร็ว ในสารคดีบอกว่าเป็น

เพราะการกระทำของมนุษย์

เลยนั่งคิดเล่นๆว่า หรือว่าพวกเราเป็นมนุษย์

ต่างดาวที่ถูกส่งมาจากโลกอื่น เพื่อให้มาทำลายความ

สมดุลและความสมบูรณ์ของโลกสีฟ้าใบนี้ เพื่อให้เหมือน

กับดาวดวงอื่นๆที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์เท่ากับโลกใบนี้

และก็คิดต่อไปว่า ถ้าเราเป็นมนุษย์ต่างดาวจริง

แต่เราก็อยู่บนโลกใบนี้มานานๆๆๆมากแล้ว โลกใบนี้ก็

คือถิ่นฐานของเรา ดังนั้นเราคงต้องดูแลโลกของเรา

เหมือนบ้านที่ให้ความอบอุ่น ความมั่นคงและความ

ปลอดภัย อย่าให้บ้านของเราเหมือนดาวดวงอื่น ถ้าเรา

คิดอย่างนี้ทุกคน บ้านของเราก็จะคงสภาพความ

สมบูรณ์ตราบนานเท่านาน

4-5

เลาะเลียบชายฝั่ง เมื่อนายเถื่อนกลับบ้าน

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 4: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

เดือนเก้าต้นข้าวเริ่มแต่งตัว เพื่อให้ต้นข้าวแข็งแรงรอรับ “ฝนดู” ที่จะมาถึงตั้งแต่ประมาณเดือนสิบเป็นต้นไป ช่วงเดือนเก้าอาจมี “ฝนหยาม” หรือฝนนอกฤดูปราดปรายมาบ้างเป็นช่วงๆเติมความชุ่มฉ่ำให้แผ่นดิน

หล่อเลี้ยงให้สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ในนาได้พอดำรงชีวิตอยู่ได้ เพื่อรอฝนดูที่จะมาถึง เมื่อฝนดูหรือฤดูน้ำพะมาถึงทุ่งนาแห่งคาบสมุทรสทิงพระ และที่ราบลุ่มทั้งหลายต่างเจิ่งนองไปด้วยน้ำ ไม่เว้นแม้แต่ “ทางฟรี” ที่เป็นเส้นทางสัญจรของชาวคาบสมุทรกลับกลายเป็นสายน้ำเล็กๆทำหน้าที่ระบายน้ำฝนลงสู่ที่ราบลุ่ม เช่นหนองคลองบึงและทุ่งนาดังนั้นทางฟรีเมื่อฤดูน้ำพะจึงรับบทบาทหลายหน้าที่นอกจากจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางสัญจร เส้นทางไหลของน้ำแล้ว ทางฟรียังเป็นเส้นทางสำหรับลูกปลาที่เพิ่งฟักตัวออกจากไข่มาตั้งแต่เดือนเก้า ได้ว่ายน้ำไปหาแหล่งน้ำใหม่ โดยเฉพาะวันแรกของการทำหน้าที่ของทางฟรีเป็นทางระบายน้ำ ลูกปลาหลากหลายชนิดนับพันนับหมื่นตัวต่างแข่งขันกันว่ายน้ำจนเต็มทางฟรีไปหมด เด็กๆชาวคาบสมุทรสทิงพระยามฤดูน้ำพะจึงมีที่เล่นหรือกิจกรรมการละเล่นแห่งใหม่นั่นก็คือ ทางฟรีนี้เองเด็กๆชาวคาบสมุทรจะตื่นกันแต่เช้าในมือของแต่ละคนจะถือขวดแก้วคนละใบ(สมัยนั้นยังไม่มีขวดพลาสติกเหมือนปัจจุบัน) อาจเป็นขวดกลม หรือขวดแบน แล้วแต่จะหาได้ส่วนมากจะเป็นขวดกลม ต่างคนต่างมุ่งหน้าไปยังทางฟรีตักน้ำใส่ขวดพอประมาณ หลังจากนั้นก็จะถึงเวลาการเล่นสนุกของเด็กๆคือการไล่จับลูกปลาตัวเล็กๆชนิดต่างๆเอาใส่ขวด

บางทีมีการแข่งขันกันว่าใครจับได้มากกว่ากัน ขวดแต่ละขวดจึงเต็มไปด้วยลูกปลา เด็กบางคนเพลิดเพลินกับการไล่จับลูกปลาจนลืมทานข้าวกลางวันกันไปเลย ลูกปลาที่เด็กๆจับไปเล่นมักจะเป็นลูกปลาช่อนและปลาดุกเพราะลูกปลาสองชนิดนี้มีสีสวย ปลาที่ถูกจับได้จะถูกนำไปบ้านของเด็กแต่ละคนเด็กจะเก็บใส่ขวดไว้ระยะหนึ่งแล้วก็จะนำไปปล่อย ณ แหล่งน้ำต่างๆต่อไปกิจกรรมการละเล่นของเด็กด้วยการจับลูกปลาจะมีช่วงเวลาประมาณ3 –4 วัน จนลูกปลาว่ายน้ำไปยังแหล่งน้ำลึกจนหมดหรือมีจำนวนน้อยเด็กๆก็เลิกจับลูกปลา แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากความสนุกคือความทุกข์ถนัด ด้วยอุปนิสัยที่ไม่ค่อยชอบใส่รองเท้าหรือไม่ค่อยมีรองเท้าให้ใส่ ดังนั้นความทุกข์ประการแรกที่ตามมาหลังจากความสุขจากการเล่นจับลูกปลาของเด็กๆก็คือโรคน้ำกัดเท้ารับรองเด็กคาบสมุทรสทิงพระเกือบทุกคนในสมัยอดีตต้องเคยเป็นและโรคที่สองคือโรคที่คนคาบสมุทรเรียกว่า“ขนหนอน”ซึ่งเป็นโรคยอดนิยมของเด็กๆ ผู้เขียนเข้าใจว่า “ขนหนอน” น่าจะเกิดจากตัวอ่อนของพยาธิปากขอไชเข้าทางเท้าของเด็กๆเนื่องจากพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระในสมัย40 ปีที่แล้วหาบ้านเรือนที่มีส้วมซึมใช้น้อยเรียกว่าในแต่ละหมู่บ้านแต่ละตำบล แทบหาไม่เจอเลยทีเดียว ชาวคาบสมุทรสทิงพระเลยใช้ป่าละเมาะเป็นที่ถ่ายทุกข์หรือท้องทุ่งแทนส้วม และโรคพยาธิโดยเฉพาะพยาธิปากขอก็เป็นโรคที่พบมากในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากสิ่งขับถ่ายหรือไข่พยาธิก็ถูกแพร่กระจายไปทั่ว ไข่พยาธิก็ใช้เวลาช่วงนี้ในการฟักตัวเป็นตัวอ่อน ซึ่งประจวบเหมาะกับนิสัยไม่ชอบใส่รองเท้าหรือไม่มีรองเท้าใส่ของเด็กๆ และการแช่น้ำนานๆทำให้ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้านิ่มง่ายต่อการชอนไชของพยาธิปากขอ จึงทำให้เด็กๆคาบสมุทรสทิงพระเป็น “ขนหนอน” กันแทบทุกคน ลักษณะอาการของโรค “ขนหนอน” วันแรกๆมักจะไม่ค่อยมีอาการอะไร พอย่างเข้าวันที่สองวันที่สามอาการจะเริ่มจากคันตามง่ามเท้าหลังจากนั้นจะปรากฏเป็นร่องรอยเป็นเส้นทางการชอนไชของพยาธิทั่วบริเวณง่ามเท้าหรือฝ่าเท้า ตอนกลางวันมักจะไม่มีอาการอะไรเพราะเด็กๆสนุกอยู่กับการจับลูกปลา แต่ตกตอนกลางคืนเวลาเข้านอนอาการจะกำเริบ

คน......สองทะเล ตอน “นา.....แหล่งกับข้าว (อาหาร) สำรองของคนสองทะเล” หากุ้ง ปู ปลา ในดูน้ำพะ 4

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 5: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

คือมีอาการคันบริเวณฝ่าเท้า ง่ามเท้าคันคล้ายโดนขนของหนอน(ตัวบุ้ง)คนที่เคยเป็นจะนึกออกเลยล่ะว่าคันและทรมานขนาดไหน คันจนต้องเอาง่ามนิ้วหรือฝ่าเท้าถูกับหนวดสาด (บริเวณขอบของเสื่อกระจูดหรือเสื่อกกเมื่อสานเสร็จแล้วจะมีขอบด้านหนึ่งของเสื่อที่เป็นจุดจบของเสื่อแต่ละผืนจะมีการล๊อกให้เสื่อคงรูปและจะมีส่วนหนึ่งของเส้นกระจูดหรือกกเหลือโผล่ออกมา) รับรองเลยเวลาเอาง่ามเท้าถูกับหนวดสาดมันส์อย่าบอกใคร หรือบางคนทนไม่ไหวจริงๆต้องเอาเทียนไขมาจุดแล้วใช้น้ำตาเทียนที่ร้อนๆหยดลงบริเวณที่คัน วิธีนี้ก็มันส์ไปอีกรูปแบบ วิธีการรักษาในสมัยนั้นไม่มียาแผนปัจจุบันมากนักที่เห็นใช้รักษาพอบรรเทาอาการคันก็คือ การพ่นน้ำหมาก ก็คือน้ำหมากที่คนแก่กินกันนั้นเองมีหมาก พลู ปูนแดง เคี้ยวให้ละเอียดพอเป็นน้ำแล้วพ่นตรงบริเวนที่คันแค่นั้นเอง

ต้นข้าวที่แต่งตัวตั้งแต่เดือนเก้าพอถึงเดือนสิบก็แข็งแรงพอที่จะรับน้ำฝนจำนวนมหาศาลในฤดูน้ำพะ ท้องนาในฤดูน้ำพะจึงมีแต่สีเขียวของใบข้าวสลับกับต้นตาลโตนดที่ขึ้นเรียงรายอยู่ตามคันนาน้ำที่ท่วมขังในบิ้งนานอกจากทำหน้าที่หล่อเลี้ยงต้นข้าวแล้วยังทำหน้าที่หล่อเลี้ยงสัตว์น้ำให้เจริญเติบโตเพื่อเป็นแหล่งอาหารของคนคาบสมุทรได้เป็นอย่างดี การจับสัตว์น้ำของคาบสมุทรสทิงพระจะต้องอาศัยเครื่องมือที่สร้างขึ้นกันเองแบบง่ายๆด้วยวัสดุในท้องถิ่น ซึ่งเครื่องมือที่ชาวคาบสมุทรสร้างขึ้นมาจะมีความเกี่ยวพันกับแหล่งตั้งถิ่นฐานของแต่ละชุมชนและแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำการใช้เครื่องในการจับสัตว์น้ำมักจะใช้เครื่องมือหลายชนิดร่วมกัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยของฤดูกาลการไหลของน้ำความลึกเป็นส่วนประกอบเครื่องมือการจับสัตว์น้ำต่างๆที่ชาวคาบสมุทรสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือที่สอดคล้องกับชนิดและขนาดของสัตว์น้ำที่ต้องการจับ และไม่ทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำจนเกินความจำเป็น เรียกได้ว่าเครื่องมือจับสัตว์น้ำของชาวคาบสมุทรเป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและไม่ทำลาย คือ1. เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะจำกัดที่สัมพันธ์กับประเภทของสัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งและจับสัตว์น้ำได้เฉพาะในฤดูกาลที่มีสัตว์น้ำประเภทนั้นๆชุกชุมเท่านั้น2.ขนาดเครื่องมือมีขนาดเล็กที่สามารถจับสัตว์น้ำได้ในปริมาณจำกัด3.มีผลเสียด้านนิเวศน้อยเพราะอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เป็นประเภทปล่อยและรอจับ

ส้อน เป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่ง ที่ชาวนาแห่งคาบสมุทรสทิงพระจัดทำขึ้นแบบง่ายๆตามภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดทำให้สอดคล้องกับชนิดและขนาดของสัตว์น้ำที่ต้องการจับ ซึ่งส้อนเป็นเครื่องมือดักจับสัตว์น้ำบริเวณน้ำไหล มักจะทำด้วยไม้ไผ่ ผิวของต้นคล้า ไม่มีงา วางตอกในแนวยาว ขัดด้วยหวาย เถาวัลย์หรือลวดอย่างห่างๆลักษณะรูปทรงของส้อนคล้ายกรวยยาวส่วนก้นหรือ “หางส้อน”รวบแน่นเข้าหากันส่วนหน้าหรือ“ปากส้อน”มีลักษณะต่างกันเป็น2 แบบ ถ้าปากบานเชิดออกอย่างปากแตร เรียกว่า “ส้อนปากบาน”ถ้าเสมอกับตัวส้อนและส่วนปากด้านบนตัดเว้าลึกเข้าไปเป็นรูป4 เหลี่ยม เรียกว่า “ส้อนปากตัด” การวางตอกถ้าวางชิดกันเรียกว่า“ส้อนถี่” ใช้ดักสัตว์น้ำได้ทุกขนาด ถ้าวางตอกห่างกัน เรียกว่า“ส้อนห่าง” ใช้ดักสัตว์น้ำที่มีขนาดโตกว่าความห่างของตอก สัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าช่องตอกจะหนีหรือหลุดออกทางช่องนั้น นับเป็นวิธีอนุรักษ์สัตว์น้ำที่ยังโตไม่ได้ขนาดโดยปริยาย

การดักส้อนต้องดักบริเวณร่องน้ำที่มีคันกั้นน้ำซึ่งระดับน้ำ2 ฟากต่างกัน คันกั้นน้ำในทุ่งนา ได้แก่คันนาและทำนบ ถ้าเป็นห้วยหรือลำคลองต้องเป็นบริเวณที่มีการทำเครื่องมือดักจับสัตว์น้ำที่เรียกว่า“เล่” หรือ “ซั้ง” โดยดักบริเวณปีกทั้ง2 ข้างซึ่งเรียกว่า “หูเล่” และ

“หูซั้ง” การดักส้อนในร่องน้ำคันนาหรือทำนบ ใช้ได้เฉพาะส้อนปากบานอย่างเดียวโดยวางให้ปากส้อนอยู่กลางร่องน้ำ ส่วนหางส้อนให้ห้อยต่ำไปทางด้านหลังซึ่งมีระดับน้ำต่ำกว่าใช้ไม้ปักกระหนาบตัวส้อนให้กระชับรอบๆปากส้อนใช้กิ่งไม้ใบไม้อัดคลุมให้แน่น ไม่ให้สัตว์น้ำว่ายลอดไปได้ คงมีช่องทางที่ว่ายผ่านได้ทางเดียวคือทางปากส้อน ซึ่งเมื่อว่ายผ่านไปแล้วจะเข้าไปติดภายในส้อนจะหมุนตัวกลับหรือถอยกลับไม่ได้ เพราะส้อนแคบและน้ำไหลเชี่ยว ส่วนการดักส้อนปากบานบริเวณหูเล่และหูซั้งก็ทำเช่นเดียวกัน โดยเจาะรูพอสอดตัวส้อนจากด้านหน้าเล่หรือซั้งให้ทอดหางส้อนลงไปด้านหลัง สำหรับการดักส้อนปากตัด ดักได้เฉพาะบริเวณหูเล่ หูซั้งเท่านั้น โดยเจาะช่องแบบเดียวกับดักส้อนปากบานแต่แทนที่จะเสียบตัวส้อนเข้าในช่องที่เจาะก็วางส้อนให้ส่วนของปากส้อนที่ตัดเป็นรูป4 เหลี่ยมรับน้ำที่ไหลมา โดยใช้เชือกโยงปากส้อนแขวนไว้ เมื่อสัตว์น้ำว่ายผ่านช่องที่เจาะไว้ก็จะลอยตัวตามน้ำตกลงในส้อนส้อนปากตัดนอกจากดักสัตว์น้ำที่มาจากทางเหนือน้ำแล้ว ยังดักสัตว์ที่อยู่ทางเบื้องล่างได้ด้วย กล่าวคือบริเวณที่น้ำไหลตกลงนั้น สัตว์ที่อยู่เบื้องล่างโดยเฉพาะปลาจะกระโดดเล่นน้ำ หรือกระโดดเพื่อไปสู่แหล่งน้ำด้านบน จังหวะที่กระโดดอาจตกลงในส้อนได้

การดักส้อนทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน การยกส้อนมาเทเอาสัตว์ออกไม่กำหนดเวลาแน่นอนถ้าสังเกตเห็นสัตว์น้ำเข้าส้อนมากอาจยกขึ้นเทออกบ่อยๆเพื่อไม่ให้ตายและเน่าพอง แต่ถ้าสัตว์น้ำเข้าส้อนน้อยอาจดักทิ้งไว้ข้ามคืนจึงยกขึ้นเสียครั้งหนึ่ง

การดักส้อนถ้ามีบริเวณที่มีน้ำไหลดังกล่าวแต่ต้น สามารถทำได้ทุกฤดู แต่ช่วงที่ดักแล้วได้ผลสูงสุดคือช่วงเดือน11-12 ซึ่งสัตว์น้ำจากทุ่งนาห้วยหนองและลำคลองเล็กๆจะอพยบไปสู่แหล่งน้ำใหญ่ ช่วงการอพยบเช่นนี้เรียกว่า“ระยะปลาลง”

คน......สองทะเล ตอน “นา.....แหล่งกับข้าว (อาหาร) สำรองของคนสองทะเล” หากุ้ง ปู ปลา ในดูน้ำพะ 4

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 6: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ที่ 1 ก า ร ฟื้ น ฟู ค ว า ม อุ ด มสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ พบว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาสวนทางกับยุทธศาสตร์ กล่าวคือ พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยป่าต้นน้ำถูกบุกรุกทำสวนยางพารา และป่าพรุถูกบุกรุกเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ส่วนด้านทรัพยากรประมง พบว่า สถิติการจับสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาลดลงทุกปีเช่นเดียวกัน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ประโยชน์ทรัพยากรลุ่มน้ำแบบบูรณาการและใช้อย่างยั่งยืน พบว่า มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่นากุ้งร้างเพื่อทำการเกษตรแบบผสมผสานบ้างเล็กน้อย ในฤดูแล้งบางพื้นที่ยังขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ทรัพยากรประมงเริมฟื้นตัวจากโครงการฟาร์มทะเล อย่างไรก็ตามยังมิได้ดำเนินการจัดระเบียบเครื่องมือประมงและยังคงเป็นปัญหาอยู่

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การควบคุมและป้องกันมลพิษ พบว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมควบคุมมลพิษได้กำหนดสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำและดำเนินงานเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอยและการบำบัดน้ำเสียรวมทั้งเก็บข้อมูลปริมาณของเสีย(Loading)ที่ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลา

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การอนุรักษ์ฟื้นฟูบูรณะศิลปวัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งท่อง เที่ ยวทางธรรมชาติ พบว่า โบราณสถานและแหล่งสำคัญทางประวัติ ศาสตร์มี การ เข้ าถึ งคุณค่ าของประชาชนหรือการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ค่อนข้างน้อยรวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ลุ่มน้ำยังขาดการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการลุ่มน้ำโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า องค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังขาด

ความต่อเนื่องเพราะลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีพื้นที่กว้างขวางและมีหลายหน่วยงานมารับผิดชอบ ในส่วนของการแปลงแผนแม่บทสู่การปฏิบัติ ประสบปัญหาด้านงบประมาณที่มีอยู่จำกัด โดยโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการประจำปีมีวงเงินสูงกว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรรถึง 4-5 เท่า ในด้านระบบฐานข้อมูลก็ยังมิได้เป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แต่ข้อมูลจะกระจัดกระจายตามหน่วยงานต่างๆในระดับที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบในครั้งนี้ประธานในที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตว่ายุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทนี้มีลักษณะกระจัดกระจายไม่ได้มองภาพแบบองค์รวม ความจริงควรให้ยุทธศาสตร์มีความเชื่อมโยงกันตั้งแต่บริเวณต้นน้ำถึงปลายน้ำ และเพื่อให้การพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาจึงมีมติที่ประชุมที่สำคัญๆ ดังนี้

1. การจัดตั้งสถาบันพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เห็นชอบให้มีการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแทนการจัดตั้งองค์กรใหม่ โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้สั่งการเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาของกรมทรัพยากรน้ำเพื่อทำหน้าที่จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากทรัพยากรน้ำนอกจากนี้ยังเห็นชอบให้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาขึ้นจากหน่วยงานที่มีอยู่และให้นำมตินี้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพให้หน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางนี้ หากพบว่าจำเป็น

การประชุมคณะกรรมการพัฒนา ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ครั้งที่ 1/2552

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำท ะ เ ล ส า บ ส ง ข ล า ต า ม ที่ ก ร ะ ท ร ว งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ ) เป็นประธาน ปลัดก ร ะ ท ร ว ง ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ แ ล ะ สิ่ งแวดล้อม(นายศักดิ์สิทธิ์ ตรี เดช)เป็นรองประธานและเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(นางนิ ศ า ก ร โ ฆ ษิ ต รั ต น์ ) เ ป็ น ก ร ร ม ก า ร แ ล ะเลขานุการ โดยคณะกรรมการประกอบด้วยภาคราชการ ภาคประชาชนและผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ และเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552 คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาได้มีการประชุมคณะกรรมการฯขึ้น ณ โรงแรมเจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โ ด ย มี รั ฐ ม น ต รี ว่ า ก า ร ก ร ะ ท ร ว งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมเป็นประธานการประชุม ซึ่งมีประเด็นและมติที่ประชุมที่น่าสนใจ ดังนี้

ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทที่ผ่านมา ตามยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ ผลการดำเนินการโดยภาพรวมสรุปได้ ดังนี้

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 7: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

ต้องจัดตั้งองค์การพิเศษและคณะรัฐมนตรีจะได้มีมติให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ได้แล้ว จึงค่อยดำเนินการยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งองค์การดังกล่าวต่อไป

2. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

- เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลโดยมอบหมายให้ศูนย์บริการประชาชน สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานหลักเช่นเดิม

- เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม เพื่อร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมกำกับและติดตามการดำเนินงานในประเด็นเร่งด่วน 4 ประเด็น โดยให้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา พัทลุงและนครศรีธรรมราช และสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8 เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการทำงานแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ และมีหน่วยงานหลักเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละประเด็น ดังนี้

(ก) ปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่าต้นน้ำและป่าอนุรักษ์ มอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลัก

(ข) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินบริเวณป่าพรุ มอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นหน่วยงานหลัก

(ค) ปัญหาน้ำเสียและขยะมูลฝอย มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลัก

(ง)ปัญหาความตื้นเขินของทะเลสาบสงขลาและการจัดระเบียบเครื่องมือประมง มอบหมายให้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีและกรมประมง เป็นหน่วยงานหลัก

3. ให้คณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผล จัดลำดับความสำคัญของประเด็นปัญหาเร่งด่วน 4 ประเด็น และให้หน่วยงานปรับแผนการดำเนินงานเข้ามาที่ 4 ประเด็นนี้ โดยใช้งบประมาณปกติ และถ้าจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่ม ก็ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา เมื่อได้รับงบประมาณปี พ.ศ.2553 ให้เริ่มดำเนินการทันที ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการฯรีบจัดทำรายงานสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่มีอยู่แล้ว(71 โครงการ) และพิจารณางบประมาณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมารวมกันให้เข้มข้นแล้วนำผลที่ได้มาตัดสินใจร่วมกับประชาชน โดยนำเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาพิจารณาเห็นชอบในการประชุมครั้งต่อไป

4. คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเห็นชอบให้คงคณะอนุกรรมการเดิมไว้ 1 คณะ คือคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผล ส่วนคณะกรรมการชุดอื่นๆให้ยุบรวมกันเป็นคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เผยความลับ...

ในช่อดอกไทร พืชสกุลไทร อยู่ในวงศ์ Moraceae เช่นเดียวกับขนุน

และหม่อน โดยมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพืชสกุลอื่น

คือ ช่อดอกประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก อยู่

บนฐานรองช่อดอก ซึ่งเจริญหุ้มดอกไว้ภายใน มีช่อง

เปิดด้านปลายซึ่งมีใบประดับซ้อนกันปิดไว้ ลักษณะ

สัณฐานภายนอกคล้ายกับผล มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ฟิก

(fig) หรือไซโคเนียม (syconium) ช่อดอกออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ที่ซอกใบ บาง

ชนิดออกเป็นช่อตามลำต้น ตัวอย่างพืชในสกุลนี้ เช่น มะเดื่อ โพธิ์ ไทร

ดอกของพืชสกุลไทรทั่วไปมี 3 แบบ ได้แก่ ดอกเพศผู้

ส่วนมากมีเกสรเพศผู้ 1-2 อัน อับเรณู 2 พู เรณูมีขนาดเล็ก

ผิวเรียบ บางชนิดมีเกสรเพศเมียที่เป็นหมันอยู่ด้วย ดอกเพศ

เมียมีรังไข่ 1 ช่อง 1 ออวุล ก้านเกสรเรียวยาว ติดด้านข้าง

ค่อนมาทางยอดของรังไข่ ยอดเกสรเรียวหรือแยกเป็น 2

แฉก แหลมหรือรูปทรงกระบอก และดอกกอลคือดอก

เพศเมียที่มีรังไข่โป่ง ก้านเกสรนั้นและยอดเกสรบานคล้าย

ปากแตร เหมาะแก่การวางไข่ของต่อไทร ดอกชนิดนี้ไม่มีเมล็ดเนื่องจากตัว

อ่อนของต่อไทรกินออวุลเป็นอาหาร เป็นดอกที่ไม่มีเกสรเพศผู้หรือเกสรเพศ

เมีย มีเฉพาะกลีบรวม

พืชสกุลไทรชนิดที่ดอกแยกเพศต่างต้น มี

ช่อดอกสองแบบคือ ช่อดอกเพศเมีย มีเฉพาะดอก

เพศเมียเท่านั้น เกิดแยกต้นกับช่อดอกเพศผู้ หรือ

ช่อดอกกอล ซึ่งประกอบด้วยดอกเพศผู้ และดอก

กอลอยู่รวมกันโดยดอกเพศผู้ส่วนใหญ่อยู่บริเวณใกล้

ช่องเปิด ส่วนชนิดที่ดอกแยกเพศร่วมต้น มีช่อดอก

เพียงแบบเดียวคือ ช่อดอกสมบูรณ์เพศประกอบด้วยดอกเพศผู้ เพศเมีย และ

ดอกกอลในช่อเดียวกัน

Page 8: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

ด้วยวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่มีผลกระทบต่อสหภาพยุโรปทำให้สหภาพยุโรปจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคโดยครอบคลุมถึงแผนงานวิจัยและพัฒนาด้วยกรรมาธิการสหภาพยุโรปรับแผนกอบกู้เศรษฐกิจเมื่อวันที่26พฤศจิกายนค.ศ.2008และคณะมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่11–12ธันวาคมค.ศ.2008ซึ่งเป็นแผนที่เสนอให้พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตการก่อสร้างและยานยนต์เนื่องจากเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจขาลงและเป็นภาคส่วนที่ใช้นวัตกรรมในการเสริมสร้างเศรษฐกิจที่สะอาดและยั่งยืนได้โดยที่กรรมาธิการสหภาพยุโรปได้เสนอให้เพิ่มเงินสนับสนุนงานวิจัยและดำเนินการร่วมกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงานการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน(PublicPrivatePartnership,PPPs)ซึ่งมีการริเริ่มที่สำคัญใน3เรื่องประกอบด้วย1)HYPERLINK“http://ec.europa.eu/research/industrial_technologies/lists/factories-of-the-future_en.html”FactoriesoftheFuture2)HYPERLINK“http://ec.europa.eu/research/industrial_technologies/lists/energy-efficient-buildings_en.html”Energy-efficientBuildingsและ3)HYPERLINK“http://ec.europa.eu/research/industrial_technologies/

l i s t s /g reen-car s_en .h tm l”GreenCar sทั้ งนี้กรรมาธิการสหภาพยุโรปคาดว่าจะสนับสนุนงบวิจัยและพัฒนาร้อยละ50ผ่านกรอบแผนงานฉบับที่7อีกร้อยละ50จะมาจากการลงทุนของภาคเอกชนในงานวิจัยที่สอดคล้องกันข้อดีของPPPsคือการสร้างความมั่นใจในการลงทุนงานวิจัยอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะเผชิญกับปั ญห า เ ศ รษ ฐ กิ จ ร ะ ย ะ ย า วบทบ าทนำส ำห รั บอุตสาหกรรมรวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมการจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์และการดำเนินงานวิจัยแผนงานบูรณาการอย่างต่อเนื่องพร้อมงบประมาณที่กำหนดการสร้างความมั่นใจอย่างต่อเนื่องและช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถจัดทำแผนการลงทุนระยะยาวการดำเนินงานสหสาขางานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์โรงสาธิตขนาดใหญ่ที่เน้นผลกระทบและการใช้การเพิ่มโอกาสในการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้ งการส่งข้อเสนอโครงการที่นำไปสู่กระบวนการประเมินผลที่รวดเร็วกว่า HYPERLINK“http://ec.europa.eu/research/industrial_technologies/lists/factories-of-the-

โดย ดร. จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์

e - m a i l : j u n p e n @ m o s t . g o . t h

แผนงานหุ้นส่วนการวิจัย และพัฒนาของยุโรปช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 9: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

แผนงานหุ้นส่วนการวิจัย และพัฒนาของยุโรปช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

future_en.html”FactoriesoftheFutureเป็นงานริเริ่มในภาคส่วนอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะปรับตัวเข้ากับแรงกดดันเชิงขีดความสามารถในระดับโลกโดยการเพิ่มฐานทางด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการผลิตในการพัฒนาและบูรณาการเทคโนโลยีที่มีขีดความสามารถในอนาคตอาทิเทคโนโลยีวิศวกรรมสำหรับเครื่องมือและกระบวนการที่สามารถปรับตัวได้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและวัสดุที่ก้าวหน้า HYPERL INK“ht tp://ec.europa.eu/research/industrial_technologies/lists/energy-efficient-buildings_en.html”Energy-efficientBuildingsเป็นงานริเริ่มในภาคการก่อสร้างเพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาดและการพัฒนาระบบและวัสดุที่มีประสิทธิภาพทางด้านพลังงานด้วยการลดการบ ริ โ ภคพลั ง ง านและลดก า รปลดปล่ อ ยก๊ า ซคาร์บอนไดออกไซด์ HYPERL INK“ht tp://ec.europa.eu/research/industrial_technologies/lists/green-cars_en.html”GreenCarsเป็นงานริเริ่มในภาคยานยนต์เกี่ยวข้องกับการวิจัยเทคโนโลยีในภาพกว้างและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านพลังงานที่เก่งกาจซึ่ง

จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการใช้พลังงานทดแทนรวมทั้งแหล่งพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและมีความปลอดภัยคาดว่าการประกาศรับข้อเสนอโครงการภายใต้กรอบแผนงานฉบับที่7ของค.ศ.2010ทั้ง3เรื่องข้างต้นจะอยู่ภายใต้หัวข้อ“วิทยาศาสตร์นาโนนาโนเทคโนโลยีวัสดุและเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ใหม่”“เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”สำหรับHYPERLINK“http://ec.europa.eu/research/ indus t r ia l_ techno logies/ l i s t s /energy-ef f ic ient-buildings_en.html”Energy-efficientBuildingsและHYPERLINK“http://ec.europa.eu/research/industrial_technologies/lists/green-cars_en.html”GreenCarsจะมีเพิ่มเติมในหัวข้อ“พลังงาน”และ“สิ่งแวดล้อม”ด้วยทั้งนี้สามารถติดตามการเปิดรับข้อเสนอโครงการได้ที่HYPERLINK“http://cordis.europa.eu/fp7/dc/index.cfm?fuseaction=UserSite.FP7CallsPage&rs”http://cordis.europa.eu/fp7/dc/index.cfm?fuseaction=UserSite.FP7CallsPage&rs หน่วยงานที่เป็นนิติบุคคลในประเทศไทยสามารถเข้าร่วมโครงการได้ในฐานะประเทศInternationalCooperationPartnerCountries(ICPC)ซึ่งจะต้องหาหน่วยงานนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ประสานงานซึ่งอยู่ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหรือประเทศที่เป็นสมาพันธ์ยุโรปอาทิสมาพันธรัฐสวิสราชอาณาจักรนอรเวย์เพื่อส่งข้อเสนอโครงการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรอบแผนงานฉบับที่7และเงื่อนไขที่ประกาศรับข้อเสนอโครงการและแต่ละครั้ง

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 10: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

เจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ครบรอบ 7 ปี สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค “กว่าครึ่งทศวรรษที่ก่อเกิด ร่วมสร้างสรรค์ผลงานเพื่อปวงประชา” ในระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมปัตตาเวีย รีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ติดตามตรวจสอบตามโครงการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้ านสิ่ ง แวดล้อมของโครงการที่ จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการประเภทเหมืองแร่ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง จำนวน 6 แห่ง และประเภทบริการชุมชนและที่พักอาศัย ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานี จำนวน 8 แห่ง ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2552

จัดประชุม และรณรงค์ ตามโครงการจัดกิจกรรมสานเสวนาจัดทำแนวทางการลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก (ถุงหิ้วก๊อบแก๊บ)ในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ปีงบประมาณ 2552

ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ ตามโครงการพัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์คุณภาพน้ำ : หนึ่งท้องถิ่นหนึ่งจุดติดตามต ร ว จ ส อ บ คุ ณ ภ า พ น้ ำ , โครงการติดตามตรวจสอบคุ ณ ภ า พ น้ ำ พื้ น ที่ วิ ก ฤ ต , โครงการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำลุ่มน้ำทะ เลสาบส ง ข ล า แ ล ะ ลุ่ ม น้ ำ เ ท พ า , โครงการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำสทิงหม้อ และโครงการติดตามตรวจสอบคณุภาพนำ้คลองอูต่ะเภา

สำรวจฐานขอ้มลูรา้นรบัซือ้-ขายของเกา่, กระชงัปลา, พื้นที่นากุ้ง และสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย (ระดับเทศบาล) ตามโครงการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดลอ้มภาคใต ้

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 11: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำในพื้นที่ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตามโครงการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมฯ เมื่อวันที่26 กค.52

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 ร่วมจัดนิทรรศการด้านสิ่งแวดล้อมในวันรวมพลคนรักษ์ เลสาบ วันที่ 26-28 กรกฎาคม 2552 ณ สวนสาธารณะริมหาดลำปำ จังหวัดพัทลุง

ตัดสินผลการดำเนินงาน ตาม โครงการปร ะกวดธนาคารขยะรี ไซ เคิล ปี 2552 ระดับภาค (ภาคที่ 16) วันที่ 16 กรกฎาคม 2552 ณ โรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ จังหวัดสงขลา

กิจกรรมโครงการสนับสนุนและเสริมสร้างสมรรถนะให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริ หารจัดการขย ะมูลฝอย ในพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 7 แห่ง โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการในการบริหารจั ด ก า ร ข ย ะ มู ล ฝ อ ย ข อ งเทศบาล และดำเนินกิจกรรมการลด คัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการบริหารจัดการข ย ะ มู ล ฝ อ ย แ ก่ อ ง ค์ ก รปกครองส่วนท้องถิ่น

คณะกรรมการร่วมตัดสินผลง า น โ ค ร ง ก า ร ป ร ะ ก ว ดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ปี 2552 ระดับภาค วันที่ 27 กรกฎาคม 2552 ณ ห้องประชุมสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

11

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 12: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

12

ฉันเกิดที่บ้านท่าคุระ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา บ้านท่าคุระ ทิศเหนือจดพะโค๊ะ ตำบลชุมพลอำเภอสทิงพระ ทิศใต้จดทะเลสาบสงขลา ทิศตะวันออกจดตำบลสนามไชย ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ ทิศตะวันตกจดโตนดด้วน อำเภอกระแสสินธุ์ ระยะทางจากสงขลาถึงท่าคุระ ประมาณเจ็ดสิบกิโลเมตร ถ้าเดินทางจากตัวเมืองสงขลาโดยใช้เส้นทางถนนสายสงขลา-ระโนดพอถึงตลาดขายสินค้าสนามไชยชะลอความเร็วของรถได้เลยอีกประมาณสองกิโลเมตรถึงสามแยกหัวถนนบ่อใหม่มีป้ายบอกทางเข้าบ้านท่าคุระเลี้ยวซ้ายขับรถไปเรื่อยๆก็จะถึง

เมื่อนายเถื่อนกลับบ้าน

xe

12

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 13: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

1�

เขาเล่าว่าริมทะเลสาบมีต้นลำพูหนาแน่นลิงอาศัยเป็นฝูงใหญ่ ๆ ที่ป่าฝากต้นลำพูมีปลาชุกชุม ริมทะเลสาบเมื่อก่อนจะเป็นท่าที่ชันมากท่าที่หน้าวัดมีต้นคุระมากแถมท่าโจรท่าเตียนท่าคลองลึก จระเข้จะขึ้นมาอ้าปากตากเหงือกไม่ค่อยทำร้ายใคร จระเข้ทะเลสาบมีสองพวกคือพวกอ้ายมาดเคี้ยมตัวใหญ่สีดำ ๆ พวกอ้ายทองหลางตัวเล็กกว่าสีลายออกเหลืองๆ

ครอบครัวฉันเป็นครอบครัวใหญ่ แม่เป็นลูกคนสุดท้องของพ่อเฒ่า-แม่เฒ่า (ตา-ยาย) แต่งงานแล้วอยู่กลางเรือน (อยู่ร่วมกับตา-ยาย) ฉันมีพี่น้องหกคน รวมทั้งครอบครัวแล้วมีสิบสองคนพอดีข้างพ่อเฒ่า-พ่อฉันเป็นคนขยันมีวัวไถนาสองคู่ มีเรินข้าว (ยุ้งข้าว)

นั่งที่ท่าคุระมองไปทางทะเลสาบสงขลาจะเห็นเกาะคำเหียง เกาะโคบ แหลมกรวด เกาะสี่-เกาะห้า เกาะใหญ่คนท่าคุระเมื่อสมัยก่อนหากจะไปสงขลาต้องนั่งเรือยนต์ไปหนึ่งวันเต็มๆคือออกจากท่าคุระตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าเรือจะแล่นผ่านคูขุดดอนคันท่าหินชะแล้เกาะทอมปากรอเกาะยอ-เขาเขียว ถึงสงขลาห้าโมงเย็น ถ้าไปพัทลุง เรือออกจากท่าคูขุดเวลาเจ็ดโมงเช้า ถึงท่าคุระเก้าโมง ผ่านเกาะใหญ่จองถนนจุงแกทังแหลมดินคลองขุดถึงลำปำเย็นๆต่อรถยนต์สองแถวไม้ไปตลาดสี่กั๊กพัทลุง

สินค้าจากท่าคุระมีน้ำผึ้งเหลวน้ำผึ้งแว่น(จากตาลโตนด)ยาหนม(กาละแม)หมูถ้าเป็นลูกหมูหรือหมูเล็กขายไปพัทลุง หมูใหญ่ชำแหละได้ส่งขายสงขลา สินค้าขาเข้ามีประเภทเครื่องครัว หอม กระเทียม เกลือ พริก รีปลีแห้ง(พริกขี้หนู) มะพร้าว กล้วยย่างหรือกล้วยตาก หัวมัน(มันเทศ)มันโท้(ประเภทมันสำปะหลัง)ใต้จุดไฟเสื้อผ้า

คนท่าคุระทำนาทุกครอบครัวไม่มีใครซื้อข้าวสารท่าคุระมีโรงสีข้าวสี่โรง คนท่าคุระไม่ค่อยซื้อกับข้าวกันหรอกเพราะมีกุ้งปลาในทะเลสาบในหนองน้ำมีผักให้กินตลอดปีมีผักบุ้งยอดแดง ผักบุ้งยอดขาว ผักหวา ผักลิ้น ผักชันกรอเอื้องขี้ใต้พุมรีผักฉีด(กระเฉด)ยอดขรียอดลำเท็งยอดปลงบัวนาบัวคลั่ง

xe สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1�

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 14: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

สองหลัง เวลาขายข้าวใช้วัวนวดข้าว ฉันจำได้สมัยนั้นข้าวเกวียนละเจ็ดร้อยห้าสิบบาท ทองคำหนักหนึ่งบาทราคาสี่ร้อยบาท ครอบครัวฉันทำนา ขึ้นตาล เลี้ยงแม่หมู เลี้ยงหมูสมัยนั้นให้กินรำกับสาย(สาหร่าย)ส่งให้ฉัน-น้องๆของฉันได้เรียนหนังสือทุกคน ฉันออกจากบ้านไปเรียนหนังสือตั้งแต่ปี2517รับราชการ2525ฉันจำความได้ว่าตอนสมัยที่ฉันอยู่บ้านฉันโหละกบ โหละนก เอากัดล้อมปลาที่ป่าฝาก เวลาฝนตกเดือนหกฉิวปูริมทะเลสาบมีต้นลำพูป่าฝากใต้ต้นลำพูเป็นที่อาศัย เป็นที่วางไข่สัตว์น้ำ ฝนตกเดือนสิบเอ็ดน้ำหลาก ปลาขึ้นมาเล่นน้ำคนท่าคุระรังเกียจการทำงานรับจ้างโดยเฉพาะงานก่อสร้างงานเป็นลูกน้องคนอื่น

ฉันรับราชการยี่สิบหกปี ตั้งใจกลับท่าคุระท่าคุระวันนี้มีนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาร้าง บ่อกุ้งที่ไม่ได้ทำกิจการแล้ว ต้นโตนด ยอดเลียบ ต้นลำพูไม่ค่อยมีแล้ว ตลิ่งที่ชันกลายเป็นขี้เลนหมด กุ้ง ปลาที่ป่าฝากไม่มีผักต่างๆที่ฉันเคยกินก็ไม่มีแต่มีรถสองแถวจำนวนห้าคันมารับคนท่าคุระไปทำงานโรงงาน ทำก่อสร้าง ฉันกลับมาท่าคุระจะทำอะไรได้?

ฉันจะทำ “ลำพู ผักนา กุ้งปลา ยางนานาโหนด”

นายเถื่อน

1�

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 15: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

ก ร ม ส่ ง เ ส ริ ม คุ ณ ภ า พ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ก ร ะ ท ร ว งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่16และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลาพัทลุงปัตตานียะลาและนราธิวาสได้จัดประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ปี2552ชิงถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามกุฎราชกุมารโดยมีการคัดเลือกในระดับจังหวัดโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแต่ละจังหวัดและคัดเลือกในระดับภาคโดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่16เพื่อส่งเข้าประกวดในระดับประเทศในเดือนกันยายน2552และเมื่อวันที่27กรกฎาคม2552สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่16ได้ดำเนินการคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ฯเพื่อส่งเข้าประกวดในระดับประเทศโดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมพิจารณาคัดเลือกผลการคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ฯในระดับภาค(ภาคที่16)ผลเป็นดังนี้คือ

ประเภทสิ่งประดิษฐ์ทั่วไประดับประถมศึกษาคือ 1.ชุดขวดใสสู่การแสดงจากโรงเรียนวัดโคกสมานคุณ

อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา2.ชุดโต๊ะลูกฟูกจากกระดาษลังจากโรงเรียนเทศบาล1

อำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส3.ชุดบุษบาร้อยรักจากโรงเรียนบ้านคลองช้างอำเภอ

หนองจิกจังหวัดปัตตานีประเภทสิ่ งประดิษฐ์ทั่ วไประดับมัธยมศึกษา/

อาชีวศึกษา(ปวช.)คือ1.ชุดพักผ่อนหย่อนใจด้วยรีไซเคิลจากโรงเรียนสงขลา

วิทยาคมอำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา2.ชุดพญาคชสารแห่งสยามจากวิทยาลัยเทคนิค

พัทลุงอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงประเภทสิ่งประดิษฐ์ทั่วไประดับชุมชนคือ1.ชุดโพเดียมรีไซเคิลจากชุมชน12โรงเรียน

พันธมิตรอำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลาประเภทเครื่องแต่งกายคือ 1.ชุดกระสอบแฟนซีจากโรงเรียนหาดใหญ่

บริหารธุรกิจสากลอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาขอให้ทุกประเภทที่ส่งเข้าประกวดในระดับ

ประเทศประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลในทุกประเภท....เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1�

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ปี 2552 ระดับภาคเพื่อเข้าประกวดในระดับประเทศ

บอกเลา่ ขา่วฝาก

Page 16: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

เมื่อพูดถึง “สาคู” คุณนึกถึงอะไร สาคูไส้หมู สาคูข้าวเหนียวเปียกสาคูถั่วดำ สาคูเปียกมะพร้าวอ่อนหรือ สาคูกวน ถ้าให้ทายใจอันดับแรกคงไม่พ้น สาคูไส้หมู พอนึกถึงก็เกิดมโนภาพถึงแป้งสาคูเม็ดกลมผสมน้ำนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน ห่อไส้หมู

สับ ถั่วลิสงตำ ไชโป๊ว ปรุงรสหวานนำเค็มนิดๆ ตั้งลังถึงให้น้ำร้อน นึ่งจนสาคูเม็ด

ใส่เห็นไส้ตรงกลางดูน่ากิน ค่อยๆบรรจงห่อด้วยใบผักกาดหอมสีเขียวอ่อนๆตามด้วยผักชี และ สอดไส้ด้วยพริก

ขี้หนูสดๆ ใส่ปากค่อยๆเคี้ยวจะสัมผัสได้ถึงความนุ่มเหนียวของแป้งของสาคู สอดรับกับไส้สาคูและพริกขี้หนู รับรองอร่อยล้ำแบบน้ำตาเอ่อเลยทีเดียว แต่ที่ผู้เขียนยังจำไม่เคยลืมเลือนเห็นจะเป็นสาคูกวน ที่เป็นขนมประจำถิ่นรับรองงานไหนๆก็ต้องมีสาคูกวนให้กิน โดยเฉพาะงานออกปาก กินวาน ไม่ว่าเก็บข้าว ตัดซัง ขนเลียงข้าววิดปลาฯลฯก็ต้องมีสาคูกวนเป็นตัวชูโรงด้วยกรรมวิธีที่ปรุงง่ายเพียงตั้งไฟกวนให้สุก ใส่น้ำตาลให้หวานพอสมควร กะให้เหนียวพอดี ตักใส่ถ้วยราดด้วยกะทิสดเป็นอันเสร็จพิธี

น้อยคนนักที่ทราบว่าเม็ดสาคูที่ใช้ทำขนมดังกล่าวทำมาจากอะไร คนที่รู้จักต้นสาคูอาจเข้าใจว่าเม็ดสาคูทำมาจากต้นสาคูที่พวกเขารู้จักแต่จริงๆแล้วไม่เป็นอย่างนั้นเม็ดสาคูที่ใช้ทำขนมที่เรารับประทานกันเป็นประจำทำมาจากแป้งมันสำปะหลังที่มีลักษณะคล้ายแป้งสาคูสมัยก่อนเม็ดสาคูทำมาจากต้นสาคูที่เป็นพืชตระกูลปาล์มอย่างที่พบในภาคใต้ แต่หลังจากมีการนำเข้ามันสำปะหลังต้นสาคูก็ไม่ถูกนำมาใช้ทำแป้งและเม็ดสาคูอีกต่อไป จนในที่สุดป่าสาคูที่มีนับแสนไร่ในประเทศไทยในอดีตก็ถูกทำลายเหลือไม่กี่หมื่นไร่การทำลายป่าสาคูเกิดจากความไม่รู้ของประชาชนและส่วนราชการบางหน่วย ที่เน้นการส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อการส่งออกของรัฐบาลเป็นสำคัญและการพัฒนาแหล่งน้ำอย่างไร้ทิศทาง การขุดลอกลำคลองตัดและขุดต้นสาคูออกไปจนเกลี้ยง

สาคูเป็นพืชตระกูลปาล์ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าMetroxylonsaguRottb.มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นมะพร้าว ขึ้นในภาคใต้โดยเฉพาะใน จังหวัดตรัง พัทลุงนครศรีธรรมราชปัตตานีและจังหวัดนราธิวาสต้นสาคูที่พบมี2ชนิดคือชนิดยอดสีแดงขนาดต้นโตกว่าชนิดยอดขาวและยอดขาวชนิดมีใบสั้นและเปราะกว่าสาคูเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและเมล็ดเป็นพืชที่ต้องการปริมาณน้ำสูง

มีฝนตกสม่ำเสมอ หรือค่อนข้างตกชุกชอบความชุ่มชื้นแต่อากาศร้อน ชอบขึ้นในที่ลุ่ม เป็นที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำจืดขังตลอดปี เช่น ในพรุ แต่ถ้าหากน้ำท่วมหรือแห้งเป็นระยะสาคูก็สามารถทนต่อสภาพนั้นได้ ในจังหวัดตรังพบได้ทั่วไปขึ้นตามแหล่งน้ำจืดตั้งแต่เชิงเขาถึงฝั่งทะเล โดยเฉพาะตามพรุหนองบึงหรือตามชายคลองริมห้วยแหล่งที่พบมากในจังหวัดตรังคืออำเภอห้วยยอดอำเภอเมืองและอำเภอนาโยง หรืออาจกล่าวได้ว่าสาคูขึ้นอยู่ชุกชุมแถบลุ่มน้ำตรังเป็นส่วนใหญ่ วิถีชีวิตชาวบ้านแถบจังหวัดตรังจึงมีความผูกพันกับสาคูมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการบำรุงรักษาตามกลวิธีการพื้นบ้าน หากขึ้นในคลองขวางทางน้ำก็จะตัดแต่งเอาทางออก หรือวัชพืชออกให้น้ำไหลสะดวก พอฤดูฝนน้ำฝนก็จะไหลเข้านาให้ได้ทำนากันทุกปี ทุ่งนาใกล้ป่าสาคูจึงอุดมสมบูรณ์ ข้าวงามและภูมิทัศน์ที่สวยงาม ใบสาคูใช้เย็บเป็นตับสำหรับมุงหลังคาและกั้นฝามีความทนทานกว่าจากที่ทำจากใบไม้ชนิดอื่นๆโดยปกติจะมีอายุการใช้ประโยชน์ประมาณ6 –10 ปี และถ้านำไปแช่น้ำก่อนประมาณ15วันถึง1เดือนอาจใช้งานได้นานกว่า10ปีทางสาคูที่มีความยาวประมาณ3–4เมตรเลยส่วนกาบขึ้นไปจะกลมและเรียวไปหาปลายทาง ถ้าตัดปลายทิ้งให้เหลือประมาณ1–2 เมตร นำมาลอกเอาส่วนเปลือกออกซึ่งเรียกว่า “หน้าสาคู”ทำเป็นตอกใช้สานเสื่อ กรบุง กระด้ง รวมทั้งทำเครื่องมือประมงถ้านำทางสาคูมาตากให้แห้งใช้ทำคอกเป็ด ไก่ ก็มีอายุการใช้งานได้ประมาณ1–2ปีหรือทำรั้วกั้นสวนผักไส้ทางสาคูทำจุกขวด หรือใช้ทำจุกกระบอกข้าวหลาม หรือนำมาใช้แทนโฟม ยางสาคูถ้าตัดทางสาคูจากลำต้นแล้วตัดเป็นท่อนยาวประมาณ1 คืบ ทิ้งไว้ประมาณ20-30 นาทีจะมียางไหลออกมาทางรอยตัดทั้ง2ข้างยางเป็นสีใสและมีความเหนียวใช้แทนกาวปิดกระดาษได้ ผู้เฒ่าผู้แก่ฝ่ายหญิงยังแอบกระซิบบอกด้วยว่ายางสาคูเนี่ยตอนสาวๆเอามาทาหน้ารักษาผิวพรรณได้ด้วย แต่ที่นิยมคือ การนำต้นสาคูที่มีอายุประมาณ15ปีมาทำแป้งสาคูซึ่งมีลักษณะเป็นแป้งมัน

“สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

1�

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 17: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

อย่างแป้งมันสำปะหลัง สามารถแปรรูปเป็นอาหารหลายอย่าง ได้แก่ เม็ดสาคูขนมกวนหน้าขี้มันและหน้ากะทิ ขนมจาก ขนมจีน ขนมปากหม้อ เส้นหมี่ และขนมอบหลายชนิด หากใครได้เห็นต้นสาคูคงนึกไม่ถึงว่าในต้นสาคูมีแป้งอยู่มากอย่างไม่น่าเชื่อ สาคูเก็บคาร์บอไฮเดรตที่สังเคราะห์แสงได้ไว้ในรูปของแป้งในส่วนที่เป็นไส้ของต้นปริมาณแป้งในสาคู1 ต้น ครอบครัวหนึ่งสามารถเก็บไว้บริโภคได้เป็นเดือนคือประมาณ100-175กิโลกรัมแป้งแห้งต่อต้นมีการศึกษาปริมาณแป้งที่สาคูผลิตได้ในเนื้อที่1ไร่ประมาณ3.5ตันซึ่งมากเป็น2.5–4เท่าของข้าวเท่ากับ7–12เท่าของแป้งมันสำปะหลัง

ป่าสาคูนั้นสร้างแหล่งอาหารการกิน คำว่าป่าสาคูนั้นจริงๆแล้วไม่ต้องออกเดินทางไกลไปกว่าบริเวณบ้านเลยเพราะบ้านเรือนในสมัยอดีตหรือในปัจจุบันมักตั้งอยู่ตามแม่น้ำลำคลองโดยเฉพาะท้องถิ่นจังหวัดตรังนั้นมีต้นสาคูเป็นแนวควบคู่ไปตลอด ที่ดินบ้านไหนมากหน่อยสาคูก็กินบริเวณกว้าง แต่เรียกได้ว่าไม่มีบ้านริมคลองไหนที่ต้นสาคูจะไม่ขึ้นอยู่คู่เคียง คุณสมบัติของต้นสาคูที่เป็นมิตรกับพืชผักพื้นบ้านนานาพันธ์เคยมีผู้สำรวจพบพันธ์ผักที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ถึง70-80ชนิดสมุนไพรไม่ต่ำกว่า40ชนิดดังนั้นป่าสาคูจึงคล้ายตลาดขนาดย่อมๆแค่เดินวนๆเวียนๆก็ได้ผักกำใหญ่มาต้มยำทำแกงแล้วส่วนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ก็หาไม่ยากพวกกุ้งหอยปูปลาก็หาได้จากลุ่มน้ำเดียวนั่นแหละคนทั่วๆไปที่ขาดความรู้เรื่องต้นสาคูมักเห็นป่าสาคูที่อัดแน่นอยู่มากเป็นความรกเรื้อ การตัดทำลายจึงค่อยๆเริ่มขึ้น แต่ภายในความรกนั้นจริงๆแล้วเป็นปราการทางธรรมชาติที่ทั้งช่วยป้องกันและสร้าง ไม่ใช่ทำลาย เหตุแห่งน้ำท่วมนั้นเพราะไม่มีต้นสาคูมาช่วยชะลอความเร็วของน้ำยามน้ำหลาก และที่ร้ายกว่านั้นยามหน้าแล้งเกิดความแล้งจัด เพราะไม้อื่นๆที่นำมาปลูกแทนต้นสาคูหลังจากทำลายป่าสาคูไปแล้วไม่มีคุณสมบัติการอุ้มน้ำเหมือนต้นสาคู ดินเลยแห้ง ซึ่งเมื่อเจอสภาพดังกล่าวอย่าว่าแต่ข้าวไม่ขึ้นเลย แม้แต่หญ้ายังไม่อยากแทงกอขึ้นเลย ต้นสาคูยังเป็นพืชที่ทำให้น้ำในลำห้วยใส เป็นที่วางไข่ของปลา เป็นที่กรองสิ่งสกปรกที่ไหลมากับน้ำนอกจากประโยชน์นานัปการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วเดี๋ยวนี้ต้นสาคูกลายเป็นไม้เศรษฐกิจของชาวใต้ไปแล้วโดยเฉพาะชาวจังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลาได้นำต้นสาคูมาเพาะเลี้ยงด้วงสาคู ซึ่งนิยมใช้มาประกอบเป็นอาหาร โดยวิธีต้มกับเกลือหรือผัดน้ำมัน ด้วงสาคูจะมีรสชาติจะอร่อยกว่าด้วงที่เกิดในต้นตาลโตนดหรือต้นลานเพราะกลิ่นไม่สาบบางคนนำด้วงสาคูที่ต้ม เกลือแล้วรับประทานกับข้าวเหนียวรสชาติดีกว่ารับประทานกับเนื้อ การเลี้ยงด้วงสาคูเป็นอาชีพเสริมที่ทำรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้ดีทีเดียวโดยเฉพาะห้องอาหารจะรับชื้อด้วงสาคูไว้บริการลูกค้า เพราะด้วงสาคูเป็นอาหารที่นิยมใช้เป็นกับแกล้ม

ประโยชน์จากป่าสาคูต้นสาคูมีอีกมากเหลือหลายสรุปให้รู้กันง่ายๆถ้าป่าชายเลนมีต้นโกงกางเป็นแหล่งกำเนิดชีวิต และความอิ่มของปากท้อง ต้นสาคูก็ถือเป็นโกงกางแห่งลุ่มน้ำจืด ที่ทรงคุณค่าไม่ได้น้อยกว่ากัน สาคูเป็นพืชสารพัดนึกในการใช้ประโยชน์และรักษาสิ่ งแวดล้อมให้สมบูรณ์ได้ตลอดไป ดังนั้นคนไทยควรที่จะทำความรู้จักกับพืชชนิดนี้ เพื่อการฟื้นฟูให้เป็นพืชทางเลือกสำหรับบริโภคและช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป .....เกือบสิ้นท่า....หากเสียป่าสาคู

“สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1�

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 18: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

สารอินทรีย์ระเหยง่ายคืออะไร สารอินทร์ระเหยง่ายมาจากคำภาษาอังกฤษว่าVolatileorganiccompoundsและเรียกว่า

ย่อๆว่าVOCs(วีโอซี)ซึ่งหมายถึงสารเคมีที่ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิปกติและมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ

ปัจจุบันมีการผลิตสารอินทรีย์ระเหยง่ายออกมาใช้เป็นพันๆชนิดตัวอย่างเช่นเบนซีนโทลูอีนสไตรีนมีเทนไวนิลคลอไรด์1-2ไดคลอโรอีเทนคลอโรฟอร์มฯลฯ

สารอินทรีย์ระเหยง่ายมาจากที่ใดบ้าง? ผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่ปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายออกมาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนและสำนักงานเช่นน้ำยาล้างห้องน้ำสเปรย์กำจัดยุงและแมลง

น้ำมันเบนซินน้ำมันหล่อลื่นน้ำยาซักแห้งสีทินเนอร์แลกเกอร์สารขัดเงายางพลาสติกปูพื้นน้ำยาทาเล็บเครื่องถ่ายเอกสารการสูบบุหรี่ไอเสียจากเครื่องยนต์สารเคมีทำความสะอาดเครื่องสำอางวัสดุยึด(กาว)หนังสือพิมพ์ไม้อัดฯลฯ

โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารทำละลายเช่นโรงงานพลาสติกโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเคมีโรงงานรองเท้าเฟอร์นิเจอร์โรงงานประกอบรถยนต์

สถานบริการต่างๆเช่นปั๊มน้ำมัน(รวมทั้งปั๊มหลอด)อู่ซ่อมรถบริการกำจัดแมลงบริการทำความสะอาดรับจ้างทาสีรับจ้างซ่อมรองเท้าร้านเสริมสวยฯลฯ

การทำเกษตรเช่นการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชการจราจรโดยเฉพาะบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นสารอินทรีย์ระเหยง่ายเข้าสู่ร่างกายได้ทางไหนบ้าง? สารอินทรีย์ระเหยง่ายเข้าสู่ร่างกายได้ทาง3คือทางการหายใจได้รับโดยการสูดดมเอาไอระเหยของสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่มาจากกิจกรรม

ต่างๆในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้านที่ทำงานและในสภาพแวดล้อมทั่วไปทางผิวหนังได้รับจากการสัมผัสโดยตรงเช่นทำการผสมสารเคมีโดยใช้มือเปล่าการ

หกรดของสารเคมีการสัมผัสละอองไอของสารเคมีที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศการสัมผัสเครื่องใช้ที่มีสารอินทรีย์ระเหยง่าย

ทางปากได้แก่การดื่มน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยง่ายการใช้ภาชนะจำพวกพลาสติกโฟมรวมทั้งการสูบบุหรี่

ผลต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายผลเฉียบพลันคนที่สัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายในปริมาณที่มากอย่างทันที

ทันใดจะมีอาการระคายเคืองตาน้ำตาไหลคันจมูกน้ำมูกไหลระคายคอปวดหัวคลื่นไส้อาเจียนคัดจมูกหายใจลำบากหอบหืด

ผลเรื้อรังเมื่อสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายเป็นระยะเวลานานๆจะทำให้

มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับถูกทำลายไตวายระบบประสาทส่วนกลางเสียหาย

สารอินทรีย์ระเหยง่าย (วี โอ ซี) ใครบ้างที่ เสี่ ยงต่ออันตรายจากสาร

อินทรีย์ระเหยง่าย ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายสูง

กว่าบุคคลอื่นๆคือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเช่นผู้ที่เป็นหอบหืดเด็กเล็กๆผู้สูงอายุผู้ที่มีภูมิไวรับต่อสารเคมีสูงบุคคลเหล่านี้ จะมี โอกาสเจ็บป่วยได้มากกว่านอกจากนั้นประชาชนทั่วไปผู้ประกอบอาชีพรวมทั้งผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีสารอินทรีย์ระเหยว่ายก็จะเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายเช่นกัน

การป้องกันอันตรายจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายการลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารอินทรีย์

ระเหยง่ายสูงเช่นเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ไม่มีสารวีโอซีหรือมีแต่น้อยมาก

การใช้วัสดุเคลือบบุหรือหุ้มที่บริเวณท่อข้อต่อหรือที่ตัวผลิตภัณฑ์จะสามารถลดการฟุ้งกระจายของสารอินทรีย์ระเหยง่าย

นำหรือเคลื่อนย้ายวัสดุและสารเคมีที่ไม่ได้ใช้งานออกจากบ้านพักอาศัย

หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะบรรจุที่เป็นโฟมพลาสติกอุ่นอาหารในไมโครเวฟ

งดการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่การระบายอากาศโดยการเปิดประตูและหน้าต่างรวม

ทั้งการใช้พัดลดระบายอากาศการใช้เครื่องฟอกอากาศโดยเฉพาะเครื่องฟอกอากาศที่

บรรจุผงถ่านเพื่อช่วยดูดซับสารอินทรีย์ระเหยง่ายเลือกสเปรย์กำจัดแมลงชนิดที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ทิ้งไว้ในบริเวณที่มี

อุณหภูมิสูงๆใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเช่นถุงมือหน้า

กากปิดจมูกเมื่อผสมหรือใช้สารเคมีหลีก เลี่ ยงการอยู่ ในที่ที่ มีการ

จ ร า จ ร ห น าแ น่ น ใ ห้ ม า กที่สุด

1�

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Page 19: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด

สารอินทรีย์ระเหยง่าย (วี โอ ซี)

ที่นี่...มีรางวัล สวัสดีค่ะ สมาชิกวารสารเม็ดทรายและผู้อ่านทุกท่าน ถ้าท่านเพิ่งจับวารสารเม็ดทรายมาอ่านครั้งแรกแล้วถูกใจอยากอ่านต่อไปฉบับหน้า ก็สมัครเป็นสมาชิกได้นะคะ ยินดีต้อนรับทุกเมื่อ... ที่นี่มีรางวัลฉบับที่แล้วเราเปลี่ยนเกมมาเป็นอักษรไขว้ ปรากฏว่ามีท่านผู้อ่านตอบกันมาเยอะมาก อาจเป็นเพราะว่าอักษรไขว้เราง่ายไปใช่ไหมคะ แต่เป็นนโยบายของกองบรรณาธิการค่ะว่าเราจะไม่ให้ยากเกินไป เพราะวารสารเม็ดทรายมีสมาชิกทุกระดับตั้งแต่ประถมมัธยมอาชีวะและประชาชนทั่วไปเราอยากให้ทุกๆท่านมีโอกาสร่วมสนุกค่ะ

กติกา : วิธีการส่งคำตอบ แจ้งชื่อที่อยู่ของผู้ตอบคำถามที่ชัดเจนและส่งคำตอบได้2ทางคือ1.เขียนคำตอบลงในไปรษณียบัตรส่งไปยัง : กองบรรณาธิการวารสาร “เม็ดทราย” สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000 โดย : 1ท่านส่งไปรษณียบัตรร่วมสนุกได้เพียง1ฉบับเท่านั้น2.ส่งคำตอบทางEmailที่[email protected]

ชื่อ-นามสกุล จังหวัด 1.คุณวลัยภรณ์ ปานแก้ว พัทลุง2.ร.ต.ประคิด ปฐมศิริกุล ขอนแก่น3.คุณโอฬาร ประทุมรัตน์ กรุงเทพฯ4.คุณนัสรี ลางิ ปัตตานี5.คุณกัณฑ์พงษ์ เกดจริยานนท์ สงขลา

คำถามประจำเดือน กรกฎาคา-กันยายน 2552 คำถาม :

เฉลย เกมอักษรไขว้ฉบับที่2(กรกฎาคม-กันยายน 2552) แนวนอน 1. อินทรีย์ 4. ซาก 5. ทดลอง แนวตั้ง 1. อินทนิล 2. ต้นไม้ 3. รีไซเคิล

กัลปังหา..งดงามตระการใต้ท้องทะเล

รายชื่อผู้โชคดีในการตอบคำถามถูก จากฉบับที่ผ่านมา มีจำนวน 5 ท่าน ดังนี้

แนวนอน 1.ภาษาใต้ใช้เรียกนกกางเขนดง 2.พืชล้มลุกรสเผ็ดร้อน นำมาประกอบเครื่องแกงคั่ว 3.ทำให้โตขึ้นกว่าเดิม 4.ใช้เรียกคนที่มีอาชีพจับสัตว์น้ำ 5.ขนมทางใต้ทำกับแป้งและน้ำตาล เป็นเส้นเล็กๆ 6.หน่วยวัดความจุทางวิทยาศาสตร์

แนวตั้ง 1.แมวชอบ 2.ซ่อนตัวอยู่ในอากาศชอบขนมปังที่หมดอายุ 3.ลบเหลี่ยมไม่ให้คม 4.อยู่ในน้ำจืดมีเปลือกแข็ง มักนำมาเป็นอาหารแกงคั่วกับชะพลู 5.มอง(เป็นคำที่มักใช้ในวรรณกรรม) 6.สวย 7.ทำให้สูงจากพื้น 8.เป็นสัตว์ตระกูลหอยแต่เรามักเรียกว่าปลา

จะบอกว่าคำตอบไม่ต้อง ลอกช่องมาก็ได้ค่ะ แค่บอกว่าแนวตั้ง1-2-3..คืออะไร แนวนอน 1-2-3..คืออะไร แค่นี้ก็พอค่ะ หมดเขตส่ง วันที่ 15 พ.ย. 2552 ขอให้ทุกท่านโชคดีค่ะ แล้วค่อยพบกันนะคะ สวัสดีค่ะ

กัลปังหาชื่อว่าเป็นตัวแทนของสัตว์ใต้ทะเลลึกที่มีขนาดใหญ่สีสันสวยงามสวยสดใสความงดงามตระการตา

แผ่กิ่งก้านโบกสะบัดไปมาตามกระแสน้ำที่คล้ายพัดใบมหึมาจึงเป็นที่ดึงดูดให้นักดำน้ำหรือนักถ่ายภาพใต้ทะเลพยายามหาโอกาสเข้าไปสัมผัสด้วยตัวเองแม้ว่ากัลปังหาเป็นกอขาดใหญ่แท้ที่จริงแล้วหาใช่ตัวมันจริงๆตัวกัลป์ปังหาที่แท้จริงตัวมั น เ ล็ ก ม า ก ป ร ะ ม า ณ ค รึ่ งเซนติเมตรแต่รวมตัวกันเป็นหมื่น

เป็นล้านตัวในกอหนึ่งๆหรือต้นเดียวกันเราเรียกรวมกันว่าโคโลนีแต่ละตั วของกัลป์ปั งหา เรา เรี ยกว่ า โพ

ลิป(polyp)มีสมมาตรร่างกายแบบรัศมีบริเวณปลายสุดของโพลิป(polyp)เป็นปาก(mouth)ที่เป็นส่วนเปิดสูภายนอกล้อมรอบด้วยหนวดที่มีลักษณะคล้ายขนนก(pinnatetentacle)ทำหน้าที่คอยจับอนุภาคขนาดเล็กกินเป็นอาหารบางครั้งจะใช้เข็มพิษจับเหยื่อด้วย

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1�

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3 5 8

1 4

3

2

7

4 2 6

6

1

5

Page 20: วารสารรายไตรมาส - MNRElib.mnre.go.th/lib/medsai/5-3.pdf · 2012-06-07 · “สาคู” ป่าชายเลนแห่งลุ่มน้ำจืด