คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf ·...

97

Upload: dohanh

Post on 18-May-2018

259 views

Category:

Documents


8 download

TRANSCRIPT

Page 1: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8
Page 2: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน.

Page 3: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

ชื่อหนังสือ : คัมภีร์ กศน.

ISBN : 978-974-232-315-8

พิมพ์ครั้งที่ 1 : 2,000 เล่ม

จัดพิมพ์และเผยแพร่ : หน่วยศึกษานิเทศก์

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ

โทรศัพท์ 0-2281-5151 โทรสาร 0-2281-0438

เว็บไซต์ : http://www.nfe.go.th

พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง

13/14 หมู่ 5 แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ

กรุงเทพมหานคร 10160

โทรศัพท์ 0-2869-5322-3

Page 4: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

สืบเนื่องจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ซึ่งประกอบด้วยมาตรา 25 มาตรา เป็นกฎหมายสำหรับให้สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. และภาคีเครือข่ายดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนให้ ได้รับการศึกษา อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจกับสถานศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนภาคีเครือข่าย ในการจัดการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยให้สนองเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน. จึงได้จัดทำเอกสาร ‘คัมภีร์ กศน.’ ขึ้น โดยอธิบายศัพท์อ้างอิงจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ทฤษฎี หลักการ และวิชาการที่เกี่ยวข้อง ให้มี ความชัดเจนและนำมาจำแนกคำเป็นหมวดหมู่ บอกความหมายของคำและให้ตัวอย่างความหมายที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

สำนักงาน กศน. ขอขอบพระคุณคณะที่ปรึกษา และคณะทำงานจัดทำสาระหลักการและกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาตลอดชีวิตทุกท่าน ที่ได้ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และคณะทำงานหมวดคำศัพท์ทุกหมวดที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการจัดทำเอกสาร “คัมภีร์ กศน.” จนสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้ จักอำนวยประโยชน์ให้แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ภาคีเครือข่าย ตลอดจนประชาชนที่สนใจนำไปใช้ ในการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ ต่อไป

(นายอภิชาติ จีระวุฒิ) เลขาธิการ กศน.

คำนำ

Page 5: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

หน้า

คำนำ

- หมวดแนวคิด l การศึกษา (Education) 1

l การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) 2

l การศึกษาในระบบ (Formal Education) 3

l การศึกษานอกระบบ (Non-Formal Education) 4

l การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) 5

l การศึกษาทางเลือก (Alternative Education) 6

l การศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education) 7

l การศึกษาทางไกล (Distance Education) 8

l การศึกษาชุมชน (Community Education) 9

l การศึกษาผู้ใหญ่ขั้นพื้นฐาน (Adult Basic Education) 10

l วิทยาการผู้สูงอายุ (Gerontology) 12

l ศาสตร์และศิลป์ในการสอนผู้ใหญ่ (Andragogy) 13

l คิดเป็น (Khit-pen) 14

l การรู้หนังสือ (Literacy) 15

l การเรียนรู้ (Learning) 16

l การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) 17

l รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) 18

สารบัญ

Page 6: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

หน้า

l หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Principle of Adult Learning) 19

l การจัดกระบวนเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 20

l การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning: SDL) 21

l การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) 22

l การเรียนรู้โดยบังเอิญ (Random or Incidental Learning) 23

l การเรียนรู้แบบเปิด (Open Learning) 23

l การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning) 24

l องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) 25

l เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) 26

l การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 27

l สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) 28

- หมวดกิจกรรม l การเทียบโอนผลการเรียน 29

l การประเมินความรู้และประสบการณ์ 30

l การเทียบระดับการศึกษา 30

l แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) 31

l โครงงาน (Project) 32

l ระบบสะสมผลการเรียน (Credit Bank System) 33

l คูปองส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 33

l การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandom 34

of Understanding : MOU)

Page 7: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

หน้า

l ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำ (Advice Center) 35

l แหล่งการเรียนรู้ 36

l สื่อการเรียนรู้ 37

l การศึกษาขั้นพื้นฐาน 37

l การศึกษาทางไกลนอกระบบ 38

l การศึกษาตามอัธยาศัย 38

l การประกันคุณภาพการศึกษา 39

l การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 39

l การประกันคุณภาพภายนอก 40

l คุณภาพการศึกษา 40

l มาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 40

- หมวดองค์กรและภาคีเครือข่าย l สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา 41

ตามอัธยาศัย

l สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา 43

ตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร

l สถานศึกษา กศน. 45

l ภาคีเครือข่าย 46

l คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา 49

ตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร

l บุคลากรทางการศึกษา 50

l ศูนย์การเรียนชุมชน (Community Learning Center) 51

Page 8: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

หน้า

l ห้องสมุดประชาชน 52

l ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน 53

l ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน 54

l ผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบ 55

l ผู้จัดแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 55

l คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย 55

l คณะกรรมการสถานศึกษาสังกัด กศน. 56

บรรณานุกรม 57

- ภาคผนวก l คณะทำงานจัดทำสาระหลักการและกระบวนการจัดการ 66

ศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษา

ตลอดชีวิต

l รายชื่อผู้เข้าประชุมปฏิบัติการจัดทำต้นฉบับเอกสาร 68

“คัมภีร์ กศน.”

Page 9: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. �

หมวดแนวคิด

การศึกษา (Education)

• กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญ

งอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอด

ความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม

การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ

การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพ

แวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุน

ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ตัวอย่าง : คนไทยมีการศึกษาเฉลี่ย

8.82 ปี ในปี พ.ศ. 2551 ในขณะที่คนอเมริกัน

มีการศึกษาเฉลี่ย 10.50 ปี

Page 10: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

� คัมภีร์ กศน.

การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education)

• การศึกษาที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาใน

ระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถ

พัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

• การศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เกิดจนตาย

• พัฒนาคนให้ ได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆตามความสามารถของ

ตนเอง เพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถทำงานและอยู่ร่วม

กันในสังคม

ตัวอย่าง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ทรงเป็นนักการศึกษาตลอดชีวิต กล่าวคือ พระองค์ทรงแสวงหาความรู้

ตลอดเวลา ทุกสถานที่ ทุกรูปแบบ เช่น การประชุมสัมมนา ทัศนศึกษา

ทรงบันทึกทุกอย่าง ขณะเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ต่างๆ

Page 11: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. �

การศึกษาในระบบ (Formal Education)

• การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะ

เวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จ

การศึกษาที่แน่นอน

• เป็นการจัดการศึกษาที่มีหลักสูตร ครูผู้สอน สื่ออุปกรณ์ รูปแบบ

วิธีการสอน สถานที่ศึกษา

ตัวอย่าง : การจัดการศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษาขั้นพื้นฐาน

การศึกษาอาชีวศึกษา และการศึกษาระดับอุดมศึกษา

Page 12: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

� คัมภีร์ กศน.

การศึกษานอกระบบ (Non-Formal Education)

• การศึกษาที่จัดให้กับประชาชน ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัด

พื้นฐานการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมาย

ที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และ

และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต

การจัดการศึกษานอกระบบ มีความยึดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย

รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและ

ประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร

จะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของผู้เรียน

ตัวอย่าง : การสอนผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือ

ให้อ่านออกเขียนได้ และเข้าใจหน้าที่พลเมือง

Page 13: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. �

การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education)

• การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตาม

ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากประสบการณ์

การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อ

เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยมี

ลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ

ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีการสอบ ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มี

สถานศึกษาที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิด

ขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต

ตัวอย่าง : เด็กเรียนรู้ เกี่ยวกับภาษาและคำศัพท์ต่างๆ จาก

โทรทัศน์ จากพ่อแม่

Page 14: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

� คัมภีร์ กศน.

การศึกษาทางเลือก (Alternative Education)

• ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการ

จัดการศึกษาด้วยตนเอง โดยสามารถเลือกวิธีเรียนที่

เหมาะสม และเนื้อหาวิชาเรียนตามความ

ต้องการ เพราะเชื่อว่ามนุษย์มีความแตกต่าง

• การจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น

และหลากหลาย การจัดกระบวนการเรียนรู้

เนื้อหาสาระการเรียนรู้ สอดคล้องกับธรรมชาติ

และความต้องการของผู้เรียน

• การศึกษาทางเลือกจัดได้หลาย

รูปแบบ ได้แก่ จัดโดยครอบครัวหรือโฮมสคูล

จัดโดยโรงเรียน หรือพ่อครู ปราชญ์ชาวบ้าน ถ่ายทอดภูมิปัญญาความรู้แก่

ผู้เรียน เช่น ศิลปะ การช่าง ด้านเกษตรกรรม การแพทย์พื้นบ้านสมุนไพร

เป็นต้น

• การศึกษาทางเลือกที่จัดผ่านสื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้

เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์

สถานที่ท่องเที่ยว การเรียนรู้ ผ่านกลุ่มกิจกรรมชุมชน การสืบสานภูมิปัญญา

การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากร การแพทย์พื้นบ้าน การสาธารณสุข การจัดการปัญหาชุมชน เด็ก และสตรี ฯลฯ

ตัวอย่าง : กิจกรรมการเรียนรู้ที่ ไม่อิงกับหลักสูตรรัฐ เสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจัดโดยสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สถาบันเรียนรู้ขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) เป็นต้น

Page 15: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. �

การศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education) • การศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการและความจำเป็น

ของบุคคลต่อเนื่องจากฐานความรู้เดิม ในรูปของกิจกรรมการเรียนรู้หรือ

หลักสูตรการเรียนรู้ ประเภทมีหน่วยกิตและไม่มีหน่วยกิตซึ่งมิใช่การศึกษา

ตามระบบปกติ การศึกษาต่อเนื่อง เป็นได้ทั้งการฝึกอบรมด้านอาชีพ การ

ยกระดับฝีมือในการทำงาน รวมทั้งหลักสูตรการพัฒนาตนเองเพื่อการ

ทำงาน และการเรียนรู้เพื่อการแก้ ไขปัญหา

• การศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการ และความจำเป็น

ของบุคคลต่อเนื่องไปจากการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา

• การจัดการศึกษาต่อเนื่อง มีหลายรูปแบบ เช่น การจัดการ

ศึกษาหลังการรู้หนังสือ การศึกษาเพื่อการเทียบโอน การศึกษาเพื่อการมี

รายได้ การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษาเพื่อส่งเสริมความ

สนใจส่วนบุคคล การศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับอนาคต

ตัวอย่าง : 1. นายบุญถม รู้สึกดีใจที่สามารถอ่าน และเขียนชื่อ

ตนเองได้ แต่เขากลัวจะลืม จึงสมัครเรียนต่อในระดับประถมศึกษา และ

ตั้งใจจะเรียนเพาะเห็ดที่กศน.อำเภอ ใกล้บ้านด้วย เพราะจะช่วยให้เขามี

รายได้เพิ่ม

2. นางสาวจินตนาทำงานเป็นพนักงานพิมพ์ดีดใน

บริษัทแห่งหนึ่งมาเป็นเวลานาน อยู่มาวันหนึ่งผู้จัดการบอกว่าแผนกธุรการ

จะเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์แทนเครื่องพิมพ์ดีด ทำให้นางสาวจินตนา

ตัดสินใจไปเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้ ไม่ตกงาน

Page 16: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

� คัมภีร์ กศน.

การศึกษาทางไกล (Distance Education) • การจัดการศึกษารูปแบบหนึ่งที่เน้นการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เช่น สื่อไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อบุคคล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองเป็นหลัก ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลา บริการได้อย่างกว้างขวาง มีความคล่องตัวและยืดหยุ่น • การจัดการศึกษาทางไกล มีหลายรูปแบบ เช่น การจัดการศึกษาพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การประกอบอาชีพ การพัฒนาสังคมและชุมชน ผ่านรายการวิทยุโรงเรียน โทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียม การหาความรู้ โดยวิธี e-Learning โดยผ่านทางระบบออนไลน์ ทางอินเตอร์เน็ต สื่อประสม เป็นต้น

ตัวอย่าง : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดรายการโทรทัศน์

เพื่อการศึกษาขึ้นในรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษา

Page 17: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. �

การศึกษาชุมชน (Community Education)

• การศึกษาเพื่อเข้าใจสภาพสังคม การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมของชุมชน ลักษณะผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้าน ค่านิยม ความเชื่อ ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี ศาสนา ตลอดจนสภาพปัญหาต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้แก่คนในชุมชน • การทำให้ประชาชนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ ความตระหนักที่จะร่วมกันแก้ ไขปัญหาของชุมชน ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ เกิดความเอื้ออาทรต่อกัน และความมั่นใจในการพึ่งตนเอง อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวอย่าง : ก่อนที่ครูวีรวรรณ จะจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึ กษาตามอั ธ ย าศั ย ใน ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลศรี โพธิ์ ครูวีรวรรณจะต้องสำรวจความต้องการของผู้เรียนก่อน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของชุมชนในทุกๆด้าน ทรัพยากรในท้องถิ่น ตลอดจนสภาพปัญหาของหมู่บ้าน ซึ่งพบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในตำบลนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ต้องการมีรายได้เสริม และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ครูวีรวรรณ จึงตัดสินเปิดสอนวิชาชีพจักสานให้กับผู้สูงอายุ

Page 18: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�0 คัมภีร์ กศน.

การศึกษาผู้ใหญ่ขั้นพื้นฐาน (Adult Basic Education)

• การศึกษาผู้ ใหญ่ขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาขั้นต้นสำหรับ

ผู้ใหญ่ เพื่อการรู้หนังสือและการมีความรู้ความสามารถที่จะดำเนินชีวิตอยู่

ในสังคมได้อย่างเป็นสุข สำหรับสังคมที่ก้าวหน้าการศึกษาขั้นพื้นฐานของ

ทั้งเด็กและผู้ ใหญ่ย่อมจะเพิ่มสูงขึ้น เช่น มีการศึกษาครอบคลุมถึงชั้น

มัธยมศึกษาตอนต้น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย

• “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา

ดังนั้น จึงครอบคลุมจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ว่าจะเป็นการศึกษา

สำหรับเด็กหรือผู้ ใหญ่เพราะไม่มีการแบ่งแยกการศึกษาตามวัยของผู้เรียน

แต่แบ่งตามประเภทของการจัดเป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตาม

อัธยาศัย

• การศึกษาประเภทนอกระบบอาจจัดให้ยืดหยุ่นตามสภาพปัญหา

และความต้องการของบุคคลซึ่งรวมถึงผู้ ใหญ่ได้ ในจุดเน้นของหลักสูตรคือ

การให้ความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น และฝึกให้

รู้จักแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

Page 19: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

ตัวอย่าง

หลักสูตรสำหรับการศึกษาผู้ใหญ่ขั้นพื้นฐาน เช่น

• หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 1, 2 และ 3 พุทธศักราช

2511 และหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ระดับที่ 4 พุทธศักราช 2513

• หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งเริ่มใช้ พ.ศ. 2515

และใน พ.ศ. 2531 ได้มีการพัฒนาหลักสูตรขึ้นใหม่เป็นระดับประถมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้และทักษะที่เป็น

พื้นฐานในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ

Page 20: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

วิทยาการผู้สูงอายุ (Gerontology) • การนำ หลักการ และวิธีการสอนผู้ ใหญ่ ผสมผสานกับวิทยาการทางการแพทย์และทางสังคม มาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้สูงอายุ โดยเชื่อว่าการเรียนรู้ของบุคคลทำให้สามารถ ปรับตัวและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ • การจัดการศึกษาและการเรียนรู้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้มีศักยภาพและมีคุณภาพ สามารถเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของสังคมได้ • การเตรียมตัวก่อนการเป็นผู้สูงอายุและการให้ความรู้หลังวัยสูงอายุ เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้สามารถปรับตัวได้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรจัดอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นฐานของ ผู้สูงอายุ เช่นการฝึกอบรมเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพผู้สูงวัย เป็นต้น

ตัวอย่าง : ลุงสมาน อายุ 65 ปี อยากใช้อินเตอร์เน็ตเป็น เพราะอยากเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-เมล์ ให้หลานชายที่ทำงานอยู่ประเทศสวีเดน จึงไปสมัครเรียนที่ กศน. เขตบางซื่อ ครูปราณีจึงต้องสอนพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ลุงสมานสามารถโต้ตอบ และส่งข้อความ

ของจดหมายได ้

Page 21: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

ศาสตร์และศิลป์ในการสอนผู้ใหญ่ (Andragogy)

• แนวทางในการจัดสภาพการเรียนรู้ให้ผู้เรียนผู้ใหญ่ ด้วยการ

วางแผนกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของ

ผู้ใหญ่

• ผู้ใหญ่สามารถชี้นำตนเองได้หากจัดสภาพการเรียนรู้ที่เอื้อให้

เกิดการเรียนรู้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและคงทน

• วิธีการช่วยให้ผู้ใหญ่เรียนรู้ พร้อมที่จะเรียนรู้ตามบทบาทของ

สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เรียนรู้จากประสบการณ์ กระบวนการแก้ปัญหา

เพื่อการตัดสินใจ การค้นคว้า การฝึกอบรม และการพัฒนา

ตัวอย่าง : นางคำปัน อายุ 50 ปี เป็นชาวนา ว่างจากการทำนา

อยากมีรายได้พิเศษ ครูสร้อยทิพย์ ทราบข่าว จึงชักชวนมาเรียนวิชาอาชีพ

ระยะสั้น ก็ประสบผลสำเร็จ เพราะเป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ตน

ต้องการรู้ หรือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

Page 22: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

คิดเป็น (Khit-pen) ดร.โกวิท วรพิพัฒน์และคณะ ได้ประยุกต์แนวความคิดในเรื่อง “คิดเป็น” และนำมาเป็นเป้าหมายสำคัญในการให้บริการการศึกษาผู้ใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา

• การวิเคราะห์ปัญหาและแสวงหาคำตอบหรือทางเลือกเพื่อ แก้ปัญหา คิดอย่างรอบคอบโดยอาศัยข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคม สิ่งแวดล้อมและข้อมูลทางวิชาการประกอบการตัดสินใจ แก้ปัญหาหรือหาทางเลือกเพื่อนำไปปฏิบัติ • รู้จักคิดเพื่อแก้ปัญหา ด้วยการกระทำการอย่างเหมาะสมและพอดี

ตัวอย่าง : ปราชญ์ชาวบ้าน คุณลุงประยงค์ รณรงค์ แห่งชุมชนบ้านไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตัวอย่างของคนที่ “คิดเป็น” เพราะลุงประยงค์ ใช้หลักความคิดที่เชื่อมโยง คิดแยกแยะ หาความชัดเจน เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการนำไปปฏิบัติ และทดลองความรู้ที่หามาได้ก่อนการยืนยันเสมอ แนวคิดนี้ทำให้ลุงประยงค์เป็นแกนนำสำคัญที่ทำให้ชุมชนไม้เรียง เป็นชุมชนตัวอย่างหนึ่งที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสมพอดีกับบริบทของชุมชน สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

Page 23: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

การรู้หนังสือ (Literacy)

• ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็น

ภาษาใดๆ โดยอ่านและเขียนข้อความง่ายๆ ได้

• ผู้รู้หนังสือ คือ ผู้ที่สามารถเข้าใจได้ทั้งการอ่าน การเขียน

ข้อความง่ายๆ และการคิดคำนวณที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

• การเรียนรู้หนังสือ การคำนวณตัวเลข และทักษะที่จำเป็น

ต่อชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาตนเองและประเทศ และเป็น

สิทธิมนุษยชนที่ทุกคนพึงได้รับ

ตัวอย่าง : ชาวมอแกนเป็นชนกลุ่มหนึ่ง มีอาชีพทำประมง อาศัย

อยู่ในหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา อ่านพูดและเขียนภาษาไทยไม่ได้ กศน.

อำเภอคุระบุรี จึงได้จัดทำโครงการสอนภาษาไทยแก่ชาวมอแกน เพื่อให้

ชาวมอแกนสามารถพูดภาษาไทยและสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้

Page 24: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

การเรียนรู้ (Learning)

• การรับรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อบุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์

(interaction) กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

• การลงมือปฏิบัติหรือฝึกในเรื่องหนึ่ง เรื่องใด ซึ่งอาจเรียนรู้

ตามธรรมชาติ เช่น พัฒนาการของเด็ก การปรับเปลี่ยนไปตามสภาพ

แวดล้อม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และเรียนรู้ ในสภาพที่มีการจัดการ

โดยบุคคล หรือสื่อต่างๆ

สิ่งที่เกิดตามมาจากการเรียนรู้ คือเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือ

ปฏิบัติ เป็นเรื่องที่เกิดเฉพาะกับบุคคล ตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเรียนรู้ใช้

ระยะเวลาตามความยากง่าย มักได้รับอิทธิพลจากผู้อื่นและเรียนรู้ ได้ตลอด

ชีวิต

ตัวอย่าง : ทารกเรียนรู้การพูดจากการเลียนเสียงพ่อแม่ พี่เลี้ยง

หรือคนงานที่ผ่านงานกลึงจะเรียนรู้งานปั้นได้เร็ว

Page 25: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลตลอดช่วงชีวิตของผู้นั้น อันเป็นผลมาจากกระบวนการพัฒนาสติปัญญา โดยครอบคลุมการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคม

ตัวอย่าง : ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ผู้ซึ่งเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเอง จากการปลูกมันสำปะหลังชนิดเดียวกว่า 200 ไร่ จนมีหนี้สินแทบ ล้มละลาย มาเป็นการทำวนเกษตร จนประสบความสำเร็จอันเป็นผล มาจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ คิดไป ทำไป วิเคราะห์ และเรียนรู้ตลอดเวลา

Page 26: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style)

รูปแบบการเรียนรู้ เป็นวิธีการคิดและเรียนรู้ของบุคคลซึ่งมี

ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล โดยบูรณาการลักษณะทางกายภาพ

อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดปรากฏให้เห็นว่า คนแต่ละคนเรียนรู้ ได้ดีที่สุด

อย่างไร และรูปแบบการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

ตัวอย่าง

นายประโยชน์ เป็นบุคคลที่สามารถจะเรียนรู้ ได้ดีที่สุดจากการ

ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง แต่นางสาวสุรีย์ เป็นบุคคลที่สามารถเรียนรู้ ได้ดี

ที่สุดหากได้ศึกษาค้นคว้าจากตำรา ผนวกกับการได้สนทนาแลกเปลี่ยนกับ

เพื่อนๆ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าบุคคลทั้งสองมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

Page 27: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Principle of Adult Learning)

ผู้ ใหญ่เมื่อมีอายุมากขึ้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้ง

ด้านร่างกาย สังคม จิตใจ และสติปัญญา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้

ของผู้ ใหญ่ ดังนั้นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้ ใหญ่จึงควรต้องคำนึง

ลักษณะของผู้ใหญ่ เพื่อที่จะได้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสม

และบรรลุตามวัตถุประสงค์

ตัวอย่าง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) จัดโครงการ

ฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง ที่เน้นหลักการเรียนของผู้ใหญ่ โดย

ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนสามารถกำหนดประเด็นเพื่อจัดทำรายงาน

การศึกษาส่วนบุคคลและรายงานกลุ่มด้วยตนเอง รวมทั้งให้มีการแลกเปลี่ยน

เรียนรู้ระหว่างกัน และสามารถศึกษาวิชาเสริมต่างๆ ได้ตามความต้องการ

Page 28: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�0 คัมภีร์ กศน.

การจัดกระบวนเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

• การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับผู้เรียน ตามความ

สนใจ ความสามารถทางปัญญา โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการ

คิด สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจแก้ปัญหา รวมทั้งสร้าง

ความรู้ด้วยตนเอง โดยการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมกับผู้สอนและผู้เรียน

ด้วยกัน

ตัวอย่าง : ครูสายใจ นำการตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นเนื้อหาในการ

เรียนรู้ในการพบกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายและเรียนรู้

ที่จะค้นคว้าและหาแนวทางการป้องกัน และแก้ปัญหาร่วมกัน

Page 29: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed Learning: SDL)

• กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตาม

ความสนใจ ความต้องการ และความถนัด อย่างมีเป้าหมาย รู้จักแสวงหา

แหล่งเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนและประเมินความก้าวหน้าการเรียนรู้ของ

ตนเอง ซึ่งทำด้วยตนเอง หรือขอความช่วยเหลือผู้อื่นก็ได้

• การเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองมีหลายรูปแบบ เช่น การอ่าน

การอภิปราย การเขียน การเสาะหาความรู้ โดยการสัมภาษณ์ การท่องเที่ยว

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้รู้ เรียนรู้ด้วยตนเองจากการใช้คอมพิวเตอร์

โปรแกรม สื่อต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่าง : นางสาวอังคณาอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายชีวิต

ประจำวัน จึงไปห้องสมุด ค้นหาหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายมาอ่าน ทำให้

เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง เกิดความสงสัยหลายเรื่อง จึงตัดสินใจไปหานิติกร

(นักกฎหมาย) ที่สำนักงาน เพื่อสอบถามข้อข้องใจ

Page 30: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)

• การเรียนรู้จากประสบการณ์ เป็นกระบวนการสร้างความรู้

ทักษะและเจตคติด้วยการนำเอาประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาบูรณาการ

เพื่อสร้างความรู้ใหม่ขึ้น

• การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม เป็นประสบการณ์

การเรียนรู้ที่เกิดจากความรู้สึกของบุคคลเมื่อได้ทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง

และผู้นั้นสังเกตแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อมูลสะท้อนสิ่งที่ ได้จากการ

สังเกตและนำการสังเกตมาประมวลสร้างเป็นแนวคิดต่างๆ เป็นทฤษฎีหรือ

กฎเกณฑ์ของตนเอง สุดท้ายผู้เรียนจะนำผลสรุปของสิ่งที่เรียนรู้ ไปทดลอง

ใช้กับสถานการณ์ใหม่ที่ต่างออกไป (Active experimentation) และ

หมุนเวียนอยู่ในวงจรการเรียนรู้อีก

ตัวอย่าง

ครูวันเพ็ญจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อป้องกันปัญหาฝนแล้งใน

ชุมชน โดยให้ผู้เรียนดูวีดิทัศน์เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อให้ผู้เรียน

ได้รับความรู้ ใหม่บูรณาการกับประสบการณ์เดิมทำให้เห็นเป็นรูปธรรม

ชัดเจนขึ้น และแจกใบงานกำหนดประเด็นให้ผู้เรียนได้มี โอกาสอภิปราย

ระดมความคิดเห็นร่วมกันจากการดูวีดิทัศน์ โดยครูวันเพ็ญจะช่วยเสริม

สนับสนุนแนวคิดที่ผู้เรียนเสนอมา เพื่อให้ผู้เรียนได้นำแนวคิดนั้นไปทดลอง

ใช้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต และเพื่อเตือนสติในการ

ดำรงชีวิต เป็นต้น

Page 31: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

การเรียนรู้โดยบังเอิญ (Random or Incidental Learning)

การเรียนรู้โดยบังเอิญ เป็นผลพลอยได้จากการประสบเหตุการณ์

อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งบุคคลเข้าไปสัมผัสและรับรู้โดยมิได้เจตนา

ตัวอย่าง

ลุงบุญมี ไปร่วมงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ในหมู่บ้าน ระหว่างนั้น

มีการถ่ายทอดสดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรทางโทรทัศน์ ซึ่งลุงบุญมี

ก็ ได้รับชมรายการนั้นระหว่างรับประทานอาหาร ทำให้ ได้เรียนรู้เรื่อง

การเมืองจากรายการดังกล่าว

การเรียนรู้แบบเปิด (Open Learning)

• เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสทางการศึกษาโดยยึด

ปรัชญาการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นกระบวนการเรียนที่ผู้เรียน

สามารถเลือกวิธีการเรียน เวลา และสถานที่ตลอดจนสิ่งที่จะเรียนรู้ ได้ด้วย

ตนเองหลักสูตรที่จัดมีความยืดหยุ่น สนองความต้องการของผู้เรียน และ

เลือกวิธีการเรียนแบบชั้นเรียนหรือแบบอื่นๆ โดยการยึดผู้เรียนเป็น

ศูนย์กลาง

ตัวอย่าง : การเรียนรู้แบบเปิด เช่น การเรียนทางไกลจาก

หน่วยงาน กศน.หรือจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งผู้เรียนที่มี

งานทำแล้ว เห็นว่าเหมาะสมกับตนที่ค่อนข้างมีเวลาจำกัดในการเข้า

ชั้นเรียน การเลือกเรียนวิชาเฉพาะจากฟรีเว็บไซต์ ตลอดจนการจัดกิจกรรม

สำหรับเด็กเร่ร่อน เป็นต้น

Page 32: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning)

• การเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ ได้รับ

ความรู้อย่างไม่รู้ตัว โดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ สื่อ

บุคคล ฯลฯ สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ เช่น การดูละครทางโทรทัศน์เพื่อ

การผ่อนคลาย อ่านหนังสือ ดูรายการที่ให้ความรู้ที่จัดขึ้นทางโทรทัศน์ ฟัง

ข่าววิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ การท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เป็นต้น

ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดการเรียนรู้ด้วยตนเอง นับตั้งแต่การเลือก

ที่จะเรียนรู้ หรือไม่เรียน จะเรียนรู้เรื่องใด ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินผลการ

เรียนรู้ของตนเอง

ตัวอย่าง : นายเจนวิทย์ อภิชัยนันท์ ได้รางวัลชนะเลิศเป็นสุดยอด

แฟนพันธุ์แท้แสตมป์ไทย ในรายการแฟนพันธุ์แท้ ทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5

เนื่องจากเป็นผู้ที่สนใจและเรียนรู้เกี่ยวกับแสตมป์มาเป็นเวลานาน จนเป็น

งานอดิเรกที่ทำรายได้และสร้างชื่อเสียงแก่เขาเป็นอย่างมาก

Page 33: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่สมาชิกในองค์กรมีวัฒนธรรม

ที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการทำงานให้บรรลุจุดมุ่งหมาย และ

มีค่านิยมในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และ

ระดับองค์กร

ตัวอย่าง

บริษัทฮอนด้า โซนี่ ไอบีเอ็ม โมโตโรล่า และซีพี เป็นองค์กร

แห่งการเรียนรู้ที่สมาชิกในองค์กรมีส่วนร่วมในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง

และองค์กร เป็นต้น

Page 34: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)

• การประสานแหล่งความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อรับและส่ง

หรือถ่ายทอดความรู้ประเภทต่างๆ ไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอด

เวลา

• การจัด และเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ ให้เป็นระบบ เพื่อให้

ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยนำ

เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อขยายบริการการศึกษา แลกเปลี่ยนและ

กระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารไปสู่วงกว้างได้รวดเร็ว

• การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และกระจายความรู้ ทั้งที่เป็น

ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับชุมชน

ตัวอย่าง : สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนภาคใต้

จัดให้มีเครือข่ายการเรียนรู้การบริการสุขภาพชุมชน เพื่อแลก-เปลี่ยน

เรียนรู้ด้านสุขภาพ วัฒนธรรม วิถีชีวิต การศึกษาและด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อ

การดำรงชีวิตของคนในภาคใต้ รวมทั้งขยายเครือข่ายการดำเนินงานไปสู่

ภาคอื่นๆ

Page 35: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

• กระบวนการรวบรวม การจัดระบบ การแลกเปลี่ยน และ

การประยุกต์ใช้ความรู้ ในองค์กร โดยการพัฒนาจากระบบข้อมูลไปสู่

สารสนเทศ เพื่อก่อให้เกิดความรู้และปัญญา ซึ่งจะทำให้ทุกคนในองค์กร

มีความสามารถ เข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ สามารถนำ

ความรู้ ไปใช้ ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การคิด

วิเคราะห์ และการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ตัวอย่าง : 1. การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อ

พัฒนาความรู้ให้แก่ลูกค้า ผู้เรียน ผู้รับบริการ

2. การจัดกลุ่มคนในหน่วยงานให้ ได้มีโอกาสทำงาน

แก้ ไขปัญหาร่วมกัน และมีการส่งเสริมให้รางวัลหรือยกย่อง เพื่อให้มี

การแบ่งปันข้อมูล และป้องกันมิให้มีการปิดบังข้อมูล

3. กระบวนการค้นหาและส่งเสริมผู้มีความรู้

ความสามารถพิเศษ และทักษะที่เป็นหัวใจของความสำเร็จขององค์กร

โดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้บุคลากรอยู่ในองค์กรได้นาน

Page 36: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society)

สังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าร่วมใน

กระบวนการเรียนรู้ ทั้งในฐานะเป็นผู้เรียน และในฐานะเป็นผู้ถ่ายทอด

ดังนั้น สังคมแห่งการเรียนรู้จึงมีแหล่งวิทยาการ หรือแหล่งการเรียนรู้ที่

เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่เกื้อหนุนต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เกิดจาก

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับชุมชนอื่น

ตลอดจนการจัดบริการของหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ

สื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนและองค์กรชุมชนมีศักยภาพใน

การจัดให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสนองความต้องการทางการศึกษาใน

ชุมชนนั้นๆ

ตัวอย่าง

ชาวบ้านบ้านสามขา หมู่ที่ 6 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัด

ลำปาง ร่วมกันเรียนรู้ วิธีคิด วิธีการ และระบบการจัดการข้อมูลที่มี

ประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การวิเคราะห์ และจัดทำแผนแม่บทชุมชน

มีการเรียนรู้จากกองทุนต่างๆ ของหมู่บ้านรวม 39 กองทุน มีกิจกรรมของ

กลุ่มเด็กและเยาวชน ร่วมกับผู้นำและคนในชุมชนมากมาย โดยมีโรงเรียน

และศูนย์การเรียนชุมชนเป็นศูนย์ข่าวสารข้อมูล สถานที่ฝึกอาชีพและ

สถานที่เรียนรู้ด้านเทคโนโลยี และมีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่าง

ต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง

Page 37: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

หมวดกิจกรรม

การเทียบโอนผลการเรียน การนำผลการเรียนรู้ที่ ได้จากการเรียนใน

ระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และ/หรือ

การเรียนรู้ตามอัธยาศัย ความรู้และประสบการณ์ที่

เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิต

มาขอรับการประเมินเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของ

ผลการเรียนในหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ เพื่อยกเว้น

การเรียนในสาระหรือวิชานั้นๆ การเทียบโอนมี

2 วิธี คือ

1. พิจารณาจากหลักฐานการศึกษาที่ต้อง

มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับหมวดวิชาที่ขอเทียบโอน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และต้องได้ค่าระดับผลการ

เรียนตั้งแต่ 1 ขึ้นไป

2. ก า ร ป ร ะ เ มิ น ค ว า ม รู้ แ ล ะ ทั ก ษ ะ

ประสบการณ์เป็นการประเมินความรู้และประสบการณ์

ที่เกิดจากการศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกงาน การ

ประกอบอาชีพ มาเป็นผลการเรียนโดยผ่านการ

ประเมินจากคณะกรรมการด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

Page 38: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�0 คัมภีร์ กศน.

การประเมินความรู้และประสบการณ์ เป็นกระบวนการตรวจสอบผลการเรียนรู้ของบุคคลที่ ได้รับจาก

การประกอบอาชีพ การดำรงชีวิต การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเข้ารับการฝึก

อบรมด้วยการรวบรวมหลักฐานและนำมวลประสบการณ์และความรู้นั้น

มาตัดสินค่าตามระดับความสามารถที่ ได้กำหนดไว้แล้วในมาตรฐาน

การเรียนรู้ของหลักสูตรเพื่อนำไปสู่การยอมรับความรู้และประสบการณ์

หรือเทียบโอนเป็นหน่วยกิตหรือผลการเรียนโดยใช้เครื่องมือประเมินใน

หลายรูปแบบ

การเทียบระดับการศึกษา กระบวนการที่บุคคลนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการ

ศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมาขอรับ

การประเมินเพื่อเทียบเท่าการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งของการศึกษาขั้น

พื้นฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยสถานศึกษา

หรือหน่วยงานที่ดำเนินการเทียบระดับการศึกษาที่ ได้รับการประกาศจาก

กระทรวงศึกษาธิการ

Page 39: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นแฟ้มที่จัดเก็บผลงานดีเด่นจากการเรียนรู้หรือประสบการณ์

การทำงานของผู้เรียนอย่างเป็นระบบเพื่อสะท้อนความสามารถที่แท้จริง

ของผู้เรียน

Page 40: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

โครงงาน (Project) เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบที่ผู้เรียนหรือกลุ่มผู้เรียน

เป็นผู้กำหนดสิ่งที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองโดยร่วมกันสำรวจ วางแผน ศึกษา

เรียนรู้ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้จนได้ข้อค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่

สรุปและรายงานผลการเรียนรู้ รวมทั้งเผยแพร่ผลการเรียนรู้ โดยครูเป็น

ผู้แนะนำให้ความช่วยเหลือในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

Page 41: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

คูปองส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป็นหลักฐานที่หน่วยงาน กศน.ออกให้กับผู้เรียนที่มีความประสงค์

จะเข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหลักสูตรระยะ

สั้นกับภาคีเครือข่ายของ กศน.เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาแก่ภาคี

เครือข่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ระบบสะสมผลการเรียน (Credit Bank System)

เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถสะสมผลการเรียนรู้ ทักษะ

ประสบการณ์ของตนเองที่ได้ศึกษาจากในระบบ การศึกษานอกระบบ และ

การศึกษาตามอัธยาศัย หรือจากประสบการณ์การเรียนรู้ในวิถีชีวิต เพื่อใช้

ประโยชน์ในการศึกษาของตนเองหรือนำไปเทียบโอนสู่ระบบการศึกษา

Page 42: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandom of Understanding : MOU)

การทำข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัยระหว่างภาคีเครือข่ายกับหน่วยงาน/สถานศึกษา

ของ กศน.

Page 43: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำ (Advice Center)

เป็นศูนย์ให้บริการคำปรึกษา แนะนำแก่ประชาชนที่สนใจเข้ารับ

บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยให้บริการสื่อใน

รูปแบบต่างๆ ตลอดจนสารสนเทศ เพื่อให้ผู้รับบริการมีข้อมูลที่ถูกต้อง

ชัดเจน สามารถเลือก และตัดสินใจได้ อย่างถูกต้องเหมาะสมกับความ

ต้องการ ความสนใจและศักยภาพของตนเอง

Page 44: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

แหล่งการเรียนรู้ เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศที่สนับสนุนให้ผู้เรียนและ

ผู้รับบริการ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตาม

อัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู ้

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

Page 45: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

สื่อการเรียนรู้ สื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่ออื่นๆ ซึ่งช่วย

ส่งเสริมให้การเรียนรู้ เป็นไปอย่างมีคุณภาพ รวดเร็ว กระตุ้นให้ผู้เรียน

ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง ต่อเนื่องตลอดเวลา

การศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการ

ศึกษานอกระบบ โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ระดับ

มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Page 46: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

การศึกษาทางไกลนอกระบบ เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการ

ศึกษาตามอัธยาศัยที่เน้นการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เช่น สื่อวิทยุ

โทรทัศน์ สื่อบุคคล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยมุ่งให้ผู้เรียน

ผู้รับบริการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นหลัก ไม่มีข้อจำกัดเรื่อง สถานที่

และเวลา โดยอาจจัดให้มีการพบกลุ่ม พบวิทยากร พบอาจารย์ที่ปรึกษา

หรือรวมกลุ่มจัดกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้อย่างใด อย่างหนึ่งก็ได้

การศึกษาตามอัธยาศัย กิจกรรมการเรียนรู้ ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคล ซึ่งบุคคล

สามารถเลือกที่จะเรียนรู้ ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความ

ต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของบุคคล

Page 47: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการบริหารจัดการการศึกษาทั้งระบบของสถานศึกษา

เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน/ผู้รับบริการทางการศึกษาว่า การดำเนิน

การจัดการศึกษาของสถานศึกษามีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียน/ผู้รับ

บริการมีคุณภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่กำหนด

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นกระบวนการบริหารจัดการ การประเมินผลและติดตาม

ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน

โดยบุคลากรของสถานศึกษา หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับ

ดูแลสถานศึกษานั้นๆ

Page 48: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�0 คัมภีร์ กศน.

การประกันคุณภาพภายนอก การประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน

การศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรองรับมาตรฐานและ

ประเมินคุณภาพการศึกษา หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าว

รับรองเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาน

ศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

คุณภาพการศึกษา ผลการจัดการศึกษาที่บุคคลทุกระดับหน่วยงาน และทุกฝ่าย

ร่วมกับชุมชนจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะ

ต่างๆ อย่างครบถ้วน ตามความคาดหวังของหลักสูตร

มาตรฐานการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย ข้อกำหนดเกี่ยวคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการ

ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถาน

ศึกษา กศน.ทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม

การกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพ

การศึกษา

Page 49: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

หมวดองค์กรและ ภาคีเครือข่าย

สำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัย เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน

กศน.” เป็นหน่วยงานหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวง-

ศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการ

ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงาน การศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรับผิดชอบ

งานธุรการของคณะกรรมการ

2. จัดทำข้อเสนอแนะ นโยบาย ยุทธศาสตร์

แผน และมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการ

ศึกษาตามอัธยาศัยต่อคณะกรรมการ

3. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการ

พัฒนาคุณภาพทางวิชาการ การวิจัย การพัฒนา

หลักสูตรและนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากร และ

ระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Page 50: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

4. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน

การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษา

5. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้บุคคล ครอบครัว

ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กร

วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่น รวมตัวกันเป็น

ภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

6. จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์เครือข่ายเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุชุมชน

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์-

การเรียนชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องของประชาชน

7. ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล

การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

8. ปฏิบัติงานอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายที่บัญญัติ

ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

สำนักงาน กศน. มีเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เรียกโดยย่อว่า “เลขาธิการ กศน.” ซึ่งมี

ฐานะเป็นอธิบดีและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง

รับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัย

Page 51: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/ กรุงเทพมหานคร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม

อัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน กศน.จังหวัด

หรือ สำนักงาน กศน.กทม.” เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการ

ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และเป็นหน่วยงานการศึกษา

ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำ

หน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการ ของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กทม. และมีอำนาจหน้าที่บริหาร

การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ภายในจังหวัด/

กทม. ดังนี้

1. จัดทำยุทธศาสตร์เป้าหมายและแผนพัฒนาการศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ให้สอดคล้อง

กับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามสภาพของท้องถิ่นและชุมชน

2. ศึกษาวิเคราะห์วิจัยและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ด้านการ

ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

3. วิเคราะห์ จัดตั้ง จัดสรร เงินงบประมาณให้แก่สถานศึกษา

และภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

4. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

5. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบตามที่

กฎหมายกำหนด

Page 52: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

6. ส่งเสริม สนับสนุนการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอน

ความรู้และประสบการณ์และการเทียบระดับการศึกษา

7. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี

ทางการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

8. ระดมทรัพยากรด้านต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อการมี

ส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดและพัฒนาทางการศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

9. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัย

10. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานอกระบบ และการ

ศึกษาตามอัธยาศัย และภาคีเครือข่าย

11. ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน

ตามโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานนโยบายพิเศษของรัฐบาล

และงานส่งเสริมความมั่นคง ของชาติ

12. กำกับ ดูแล นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

13. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบมาย

สำนักงาน กศน.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร มีผู้อำนวยการสำนักงาน

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร

เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/

กรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู และบุคลากร

ทางการศึกษาในสังกัดสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และมีฐานะ

เป็นผู้บริหารการศึกษาตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา ตลอดจนรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานดงักล่าว

Page 53: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

สถานศึกษา กศน. สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มี 964 แห่ง ดังนี้ 1. สถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 แห่ง เรียกโดยย่อว่า กศน.เขต 2. สถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด จำนวน 877 แห่ง เรียกโดยย่อว่า กศน.อำเภอ 3. สถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 37 แห่ง เช่น สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาค เรียกโดยย่อว่า สถาบัน กศน.ภาค

สถานศึกษา กศน. ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน

และจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับภาคีเครือข่าย

โดยสถานศึกษาแต่ละแห่งจะมีบทบาท และอำนาจหน้าที่ที่แตกต่างกัน

Page 54: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

ภาคีเครือข่าย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และ

องค์กรอื่น รวมทั้งสถานศึกษาอื่นที่มิได้สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีส่วนร่วมหรือมีวัตถุประสงค์ใน

การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ตัวอย่าง : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา

ตามอัธยาศัยได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดฝึก

อบรมพนักงานราชการเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร

นอกจากนี้ ในการทำงานร่วมกับหน่วยงานหรือองค์การอื่นใน

ลักษณะของเครือข่าย หรือ พันธมิตร หรือ หุ้นส่วน ย่อมขึ้นอยู่กับระดับ

ของความร่วมมือ ดังนี้

1. การประสานงาน (Coordination) หมายถึง วิธีซึ่งคน

จำนวนมาก มาร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตกลงกันไว้

โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบ

ปฏิบัติด้วยความสามัคคี สมานฉันท์ และมีประสิทธิภาพที่สุด หรืออาจ

กล่าวได้ว่า การประสานงาน หมายถึง การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อ

ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้งาน

หรือกิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบาย

ขององค์กรนั้นอย่างสมานฉันท์และมีประสิทธิภาพ

Page 55: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

2. ความร่วมมือ (Cooperation) หมายถึง ความเต็มใจของ

แต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง

ตามเป้าหมายขององค์การหรือหน่วยงานความร่วมมือจะเป็นการที่ฝ่ายใด

ฝ่ายหนึ่งเป็น “เจ้าของหรือเจ้าภาพ” งานหรือกิจกรรมนั้นๆ แล้วขอให้ฝ่าย

อื่นเข้ามาร่วม มีลักษณะเกิดขึ้นเป็นครั้งๆไป ไม่มุ่งความต่อเนื่องและการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม แต่มุ่งจะให้กิจกรรมนั้นๆ แล้ว

เสร็จตามความต้องการของฝ่ายเจ้าของงาน

ความร่วมมือเป็นการช่วยเหลือด้วยความสมัครใจ แม้จะไม่มี

หน้าที่ โดยตรง อาจจะทำเรื่องเดียวกันในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลาก็ ได้

แม้กระทั่งอาจให้ความร่วมมือทำบางเรื่องบางเวลา

3. การทำงานร่วมกัน (Collaboration) หมายถึง การที่บุคคล

ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือองค์กรตั้งแต่ 2 องค์กรขึ้นไป มาทำงานร่วมกัน

มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม และรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

ตามโครงสร้างที่มีอยู่ในองค์กร รวมทั้งเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำงาน

ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ปฏิบัติงาน

ต่างก็เกิดความพอใจในการทำงานนั้น

Page 56: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

4. การมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การที่สมาชิก

ทุกคนของหน่วยงานหรือองค์กร มาร่วมกันดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

โดยในการดำเนินการนั้นมีลักษณะของกระบวนการ (Process) มีขั้นตอน

ที่มุ่งหมายจะให้เกิดการเรียนรู้ (Learning) อย่างต่อเนื่อง มีพลวัต

(Dynamic) กล่าวคือ มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

มีการแก้ปัญหา การร่วมกันกำหนดแผนงานใหม่ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนใน

ความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมดำเนินการ

การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์กรหรือ

เครือข่าย เพราะมีผลในทางจิตวิทยาเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือผู้ที่เข้ามามีส่วน

ร่วมย่อมเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร ความคิดเห็น

ถูกรับฟังและนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาเครือข่าย และที่สำคัญผู้ที่มีส่วน

ร่วมจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเครือข่าย ความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลัง

ในการขับเคลื่อนเครือข่ายที่ดีที่สุด

Page 57: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/ กรุงเทพมหานคร เป็นคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอก-

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 มาตรา 15 มีหน้าที่ ให้

คำปรึกษา ร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาการจัดการศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับภาคีเครือข่าย ตลอดจนติดตามการ

จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาและ

หน่วยงานที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ

ตามมาตรฐานที่กำหนด และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ

และท้องถิ่น

คณะกรรมการในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการ

กรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร เลขาธิการ

กศน. ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทน

กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และ

ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 8 คน เป็นกรรมการ ซึ่งในจำนวน

นี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้ปฏิบัติงานในภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน โดยมี

ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. กทม. เป็นกรรมการและเลขานุการ

Page 58: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�0 คัมภีร์ กศน.

คณะกรรมการในจังหวัดอื่นๆ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด

เป็นประธานกรรมการ ปลัดจังหวัด เกษตรจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด

แรงงานจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัด นายกองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 8 คน เป็น

กรรมการ ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้ปฏิบัติงานในภาคเอกชนที่

เกี่ยวข้องกับงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่

ของจังหวัด จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และให้ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.

จังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ

บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการ

ศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัด

กระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาและ

ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา

Page 59: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

ศูนย์การเรียนชุมชน (Community Learning Center)

เป็นหน่วยจัดกิจกรรมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่

สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในยุค

โลกาภิวัตน์และเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้

Page 60: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

ห้องสมุดประชาชน แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่รวบรวมความรู้และข่าวสารข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวของสังคมที่ทุกคนมีสิทธิเข้าศึกษา ค้นคว้าได้ ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมของชุมชนและประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับนักศึกษา กศน.และประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น ห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัด 2. ห้องสมุดประชาชนอำเภอ 3. ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”

4. ห้องสมุดประชาชนที่เรียกชื่ออย่างอื่น

เช่น ห้องสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เป็นต้น

Page 61: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน เป็นผู้ปฏิบัติงานในลักษณะประจำ ณ ศูนย์การเรียนชุมชน ทำ

หน้าที่จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามที่

สำนักงาน กศน.กำหนดและอำนวยความสะดวกในการส่งเสริมการเรียนรู้

ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยได้รับค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลัง

กำหนด

Page 62: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน เป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษา

นอกโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามภารกิจเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและ

พื้นที่

2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับภาคีเครือข่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับ

ผิดชอบ

Page 63: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

ผู้จัดการเรียนรู้การศึกษานอกระบบ ผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ รวมทั้งสร้าง

บรรยากาศที่เอื้อต่อการแสวงหาและการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่

ผู้ลงทะเบียนรับการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกระบบ

ทุกหลักสูตร

ผู้จัดแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาความรู้ที่สอดคล้องกับความ

สนใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแสวงหาความรู้

ตามกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและจัดให้มีการประเมินผล

การเรียนรู้ตามอัธยาศัยแบบยืดหยุ่น ซึ่งอาจดำเนินการโดยบุคลากรของ

กศน.หรือบุคลากรอื่น

คณะอนุกรรมการภาคีเครือข่าย เป็นอนุกรรมการของคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและ

ประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและ

ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ

ของสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจำนวนอนุกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์

วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นตำแหน่งรวมทั้งอำนาจหน้าที่

เป็นไปตามกฎกระทรวง

Page 64: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

คณะกรรมการสถานศึกษาสังกัด กศน. เป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ ของสังคมและ

ผู้เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา นั้นๆ ที่มีบทบาทร่วมกันในการกำหนดวิสัยทัศน์

พันธกิจ วางแผนการบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม

อัธยาศัยของสถานศึกษา ซึ่งจำนวนคณะกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์

วิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นตำแหน่งรวมทั้งอำนาจหน้าที่

เป็นไปตามกฎกระทรวง

Page 65: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

บรรณานุกรม กมล สุดประเสริฐ และสุนทร สุนันท์ชัย. 2540. การศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายงานเสนอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2540. (เอกสารอัดสำเนา) กรมการศึกษานอกโรงเรียน. 2537. การศึกษาต่อเนื่อง : นโยบาย ทางเลือกใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภา ลาดพร้าว. ____ . 2537. นโยบายการส่งเสริมการรู้หนังสือไทย. ม.ป.ท. ____ . 2537. ประสบการณ์การจัดการศึกษานอกโรงเรียน อดีตถึง ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : รังษีการพิมพ์. ____ . 2544. 22 ปี กศน. ... สู่การศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). ____ . 2538. สารานุกรมการศึกษาตลอดชีวิต เล่ม 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. “คิดเป็นคือคิดพอเพียง” วารสาร กศน. เพื่อนเรียนรู.้ มีนาคม 2550, หน้า 9– 11. ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. 2544. การศึกษาผู้ใหญ่ : ปรัชญาตะวันตกและ การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ____ . 2541. รายงานการวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองของผู้เรียนผู้ใหญ่ของกิจกรรมการศึกษาผู้ใหญ่บางประเภท. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการศึกษา ผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ____ . 2548. เอกสารคำสอน วิชา 177521 : Learning Process and Teaching Methodology for Adults. (อัดสำเนา) ชิดชงค์ ส.นันทนาเนตร. ม.ป.ป. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 469 402 หลักการเรียนรู้และการสอนผู้ใหญ่ Adult Learning and Teaching. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Page 66: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

ชุมพล หนูสง และคณะผู้จัดทำ. 2544. ปรัชญาคิดเปน็. (หนังสือรวบรวม คำบรรยายและบทสัมภาษณ์ โกวิท วรพิพัฒน์ ในโอกาสต่าง ๆ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย. ทองอยู่ แก้วไทรฮะ. “คิดเป็น : เพื่อนเรียนรู้สู่อนาคต” วารสาร กศน. เพื่อนเรียนรู้. มีนาคม 2550, หน้า 12–16. นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์. “การเรียนรู้แบบเปิด” สารานุกรมศึกษาศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. 2547. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ประทีป แตงเลี่ยน. ม.ป.ป. การประยุกต์เทคนิคฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพของการฝึกอบรมนครปฐม. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 4/ก 3 มีนาคม 2551. เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. 2550. รายงานการวิจัยเรื่อง “การจัดการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนา ภาวะพฤติพลังของผู้สูงอายุไทย” Arranging Lifelong Education and Learning for the Thai Elderly in order to Create the Development of Active Aging) ชุดโครงการวิจัยด้านวัยผู้สูงอายุ ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2 มีนาคม 2550. ราณี รัชนพงษ์. 2547. “การเรียนรู้จากประสบการณ์” สารานุกรมศึกษาศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ ในพระมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. กรุงเทพฯ : คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

Page 67: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2545. เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค. สนอง โลหิตวิเศษ. 2544. ปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษานอกระบบ. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (เอกสารอัดสำเนา) สนอง โลหิตวิเศษ และสุนทร สุนันท์ชัย. 2548. การศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. สมคิด อิสระพัฒน์. 2538. รายงานการวิจัย เรื่อง ลักษณะการเรียนรู้ ด้วยตัวเองของคนไทย. กรุงเทพฯ : คณะสังคมศาสตร์และ มนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ____ . 2543. การสอนผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ : จรัญสนิทวงศ์ การพิมพ์. สมชาย บำรุงทรัพย์ และ ณัฐวิภา. 2543. รวมกฎหมายท้องถิ่น. ปทุมธานี : บริษัทสกายบุคส์ จำกัด. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2537. รายงานการสำรวจการอ่านเขียนของ ประชากร พ.ศ. 2537. กรุงเทพ ฯ : ม.ป.ท. ____ . รายงานผลการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้ของประชากร พ.ศ. 2538. กรุงเทพ ฯ : ม.ป.ท. ____ . ม.ป.ป. สำมโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543,2545. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท. สำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. ม.ป.ป. การรู้หนังสือ : บันได สู่อิสรภาพ นิยามและการประเมินของนานาชาติ. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท. ____ . 2549. คู่มือแนะแนวการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. ____ . ม.ป.ป. แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้ง.

Page 68: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�0 คัมภีร์ กศน.

____ . 2550. แนวปฏิบัติการจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้คูปอง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ : รังษีการพิมพ์. สุชาดา จักรพิสุทธ์ และคณะ. 2548. การศึกษาทางเลือก : โลกแห่งการ เรียนรู้นอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย. สุนทร สุนันท์ชัย, ผู้แปลและเรียบเรียง. 2549. การเรียนรู้หนังสือ : บันได สู่อิสรภาพ นิยามและการประเมินของนานาชาต.ิ กรุงเทพฯ : ม.ป.ท. (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=104325 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550.) สุมาลี สังข์ศรี. 2543. ยุทธศาสตร์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทย ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา แห่งชาติ. ____ . 2543. รายงานการวิจัยการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทย ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาแห่งชาติ. สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. 2544. จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ : ธีระป้อม วรรณกรรม. อาชัญญา รัตนอุบล. 2540. กระบวนการฝึกอบรมสำหรับการศึกษา นอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อุ่นตา นพคุณ. 2543. “การศึกษาตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21” วารสาร ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉบับที่ 3 มิถุนายน 2543. ____ . 2527. การเรียนการสอนผู้ใหญ่เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์. ____ . 2528. แนวคิดทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการพัฒนา ชุมชนเรื่อง คิดเป็น. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.

Page 69: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

Brookfield, S.D. 1984. “Self – Directed Adult Learning : A Critical Paradigm”. Adult Education Quarterly. 35(2) : 59–71. Brundage, Donald H Dorothy MacKeracher. 1980. Adult Learning Principles and Their Application to program Planning. Ontario: Ministry of Education. Chantavanich, Amrung. 2006. “An Address of Secretary – General of the Office of Education Council” at The 2006 Education Forum for Asia, October 21, 2006. Beijing : People’s Republic of China. Dewey, John. 1938. Experience and Education. New York : Collier Books. Ewery, Alan W. 1987. Outdoor Adventure Pursuits : foundations, Models Theories. Columbus. OH : Publishing Horizons, Inc. Farmighetti, Robert. et al (ed). 1999. The Word Almanac and Book of Facts 2000. Wahwah, New Jersey : Primedia Reference Inc. Faure. 1972. Learning to Be. Paris : UNESCO. Griffin, C. 1983. Curriculum theory in Adult lifelong Education. London : Crom Helm. Johnstone, John W.C. and Ramon Rivera. 1965. Volunteers for Learning : A Study of the Educational Pursuits of American Adults. Chicago : Aldine. Johnson, D.W. and Frank P. Johnson. 1996. Joining Together : Group Theory and Group Skill. New Jersey : Prentice– Hall, Inc. Englewood Cliffs. Knowles, M.S. 1970. The Modern Practice of Adult Education : Andragogy vs. Pedagogy. New York : Association Press.

Page 70: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

Knowles, M.S. 1975. Self- Directed Learning: A Guide for Learner and Teacher. New York : Association Press. Kolb, David A. 1984. Experiential Learning: Experience as Source of Learning and Development. New Jersey : Prentice – Hall. Kolb, D.A,. and Fry,R. 1975. “Towards and Applied Theory of Experiential Learning,” in C.L. Cooper (ed.) Theories and Group Processes. London : John Wiley and Sons. Kolb, David Irwin M. Rubin and Jame M. McIntyre. 1984. Organizational Psychology : an Experiential Approach. New Jersey : Prentice– Hall. Lewin, K.A. 1935. Dynamic Theory of Personality. New York : Mcgraw – Hill. Leowarin Srisawang. 2006. Non-Formal Education in Thailand. Bangkok : Office of the Non-Formal Education Commission. Merriam, S.B and R.G. Brockett. 1997. The Profession and Practice of Adult Education : an Introduction. San Francisco : Jossey – Bass. Page, G Terry and Thomas, JB. 1980. International Dictionary of Education. Cambridge MA : The MIT Press. Priest, Simon and Michael A. Gass. 1997. Effective Leadership in Adventure Programming. Champaign, IL : Human Kinetics. R.H. Dave. 1976. Foundation of Lifelong Education. Paris : UNESCO. Skager, R. 1977. Curriculum Evaluation for Lifelong Education. Toronto : Pergamon Press. Smith, Rogert M. ; George F. Aker and J.R. Hidd. 1970. Handbook of Adult Education. New York : MacMillan Publishing.

Page 71: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

Suwanpitak Sombat and Sugsri Sumalee. 2007. “Policy and Practices for the Promotion of Lifelong Learning in Thailand”, International Expert Meeting On Education : Policies from a Lifelong Learning Perspective in Promoting EFA. Tokyo, Japan, 9-12 October 2007. The Adult and Continuing Education of Korea. 2007. Finding Places for Asian Lifelong Education in Globalizing World. International Conference 2007. Seoul, Korea. UNESCO. 1970. An Introduction to Lifelong Education. Paris : UNESCO. UNESCO. 2006. Education for All–Literacy for Life Global Monitoring Report 2006., (UNESCO Education Sector Position Paper, UNESCO, Paris) UNESCO. 2004. Literacy Assessment and Monitoring Programmer (LAMP). (Draft). ____ . The Plurality of Literacy and Its Implication of Policies and Programmes, (UNESCO Education Sector Position Paper, UNESCO, Paris) Vella, Jane. 2002. Learning to Listen Learning to Teach : the Power of Dialogue in Educating Adults. (Revised Edition). United State of America : John Wiley & Son, Inc. World Bank. 2002. Lifelong Learning in the Global for Developing Countries. OECD : The World Bank Education. http://www.acenet.edu/catec/home.html. http://www.dnfe5.nfe.go.th/ilp/liciti/intormak.html. http://www.dnfe5.nfe.go.th/ilp/liciti/si3.html. http://www.infed.org/b-explrn.htm http://www.mbs.mut.ac.th/paper/pdf/32.pdf http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page10009.asp

Page 72: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

http://www.once.go.th/Act/6.32/page01003.htm http://www.seameo.org/vl/teched/techno.htm http://www.thaichicaco.net/Elearn/learning.thml#proj http://www.thai-folksy.com/FolkDat/S-Kkotai/Ancient-Gold/ 02-Liturature.htm http:// acenet.edu/ged/intro-TT.html . http://en.wikipedia.org/wiki/Alternative_education http://gotoknow.org/blog/soutpcu http://learners.in.th/blog/tim4711114002/18078 http://lesson.swu.ac.th/so311/lesson1/lesson1.html http://se-ed.net/pitupum/chapter1.doc http://se-ed.net/pitupum/chapter2.doc

Page 73: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

ภาคผนวก

Page 74: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

คณะทำงานจัดทำสาระหลักการและกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย

และการศึกษาตลอดชีวิต

ประกอบด้วย

1) นายทองอยู่ แก้วไทรฮะ ที่ปรึกษา

2) นางสาวสุมาลี สังข์ศรี ที่ปรึกษา

3) หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ ประธาน

4) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาหลักสูตร รองประธาน

(นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์)

5) ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน คณะทำงาน

จังหวัดสมุทรปราการ

6) นางสาววิศนี ศิลตระกูล คณะทำงาน

7) นายปาน กิมปี คณะทำงาน

8) นางสาวสนอง โลหิตวิเศษ คณะทำงาน

9) นายนิกร ตัณฑวุฒโฒ คณะทำงาน

10) นางชิดชงค์ ส. นันทนาเนตร คณะทำงาน

11) นางอาชัญญา รัตนอุบล คณะทำงาน

12) นางสาววรัยพร แสงนภาบวร คณะทำงาน

13) นางสาวอมรา ปฐภิญโญบูรณ์ คณะทำงาน

14) นายวิรุฬห์ นิลโมจน์ คณะทำงาน

15) นางอัญชลี ธรรมะวิธีกุล คณะทำงาน

Page 75: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

16) นางสุภาพรรณ น้อยอำแพง คณะทำงานและ

เลขานุการ

17) นางสาวประวีณ รอดเขียว คณะทำงานและ

ผู้ช่วยเลขานุการ

18) นางสาวจตุพร สุทธิวิวัฒน์ คณะทำงานและ

ผู้ช่วยเลขานุการ

19) นางรุ่งอรุณ ไสยโสภณ คณะทำงาน

ผู้ช่วยเลขานุการ

โดยให้คณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่ ดังนี้

1) จัดทำสาระหลักการ แนวคิด และกรอบงานการศึกษานอก

ระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาตลอดชีวิต

2) ส่งเสริมการใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาและสร้าง

องค์ความรู้การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษา

ตลอดชีวิต

3) เผยแพร่ความรู้ แนวคิด และเทคนิควิธีเกี่ยวกับการศึกษานอก

ระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาตลอดชีวิต

4) ปฏิบัติภารกิจอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

Page 76: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�� คัมภีร์ กศน.

รายชื่อผู้เข้าประชุมปฏิบัติการ

จัดทำตันฉบับเอกสาร “คัมภีร์ กศน.” ระหว่างวันที่ 16-19 มิถุนายน 2551

ณ โรงแรมนนทบุรีพาเลซ จังหวัดนนทบุรี

1. ดร.ทองอยู่ แก้วไทรฮะ ที่ปรึกษา สำนักงาน กศน.

2. ดร.ศรีสว่าง เลี้ยววาริณ หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์

3. ผชช.ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร

4. ผชช.วัชรินทร์ จำปี ผู้เชี่ยวชาญด้านเผยแพร่ทางการ

ศึกษา

5. นายวิมล จำนงบุตร ผอ.สำนักงาน กศน. กรุงเทพมหานคร

6. นางสาวลัดดาวัลย ์ เลิศเพ็ญเมธา ผอ.สำนักงาน กศน.

จังหวัดนครนายก

7. ดร.วิเลขา ลีสุวรรณ์ ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดเชียงราย

8. ดร.อัจฉรา สากระจาย ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดกาฬสินธุ์

9. นายวีระกุล อรัณยะนาค ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดนนทบุรี

10. นายพล ศรีกัลยา ผอ.กศน.เขตสวนหลวง

11. นางชญาณี ใหญ่สูงเนิน สำนักงาน กศน.จังหวัดอุดรธานี

12. นายอุกฤษฏ์ ทองสุนทร สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม

การเรียนรู้

13. นายกฤติพัฒน์ แสงทอง กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ

Page 77: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

14. ดร.รุ่งอรุณ ไสยโสภณ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

15. นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

16. นายสุรพงษ์ มั่นมะโน กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

17. นางกนกพรรณ สุวรรณพิทักษ์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

18. นายสมบัติ คิ้วฮก ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

19. นางลักขณา นิลกล่ำ กลุ่มการเจ้าหน้าที่

20. ดร.ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กำแพงแสน

21. นางอัญชลี ธรรมะวิธีกุล หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

22. นางสุภาพรรณ น้อยอำแพง หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

23. นางสาวประวีณ รอดเขียว หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

24. นางสาวจตุพร สุทธิวิวัฒน์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

Page 78: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

�0 คัมภีร์ กศน.

คณะทำงานจัดทำต้นฉบับ หมวดแนวคิด นายวิมล จำนงบุตร ผอ. สำนักงาน กศน. จังหวัดกรุงเทพมหานคร

นายวีระกุล อรัณยะนาค ผอ. สำนักงาน กศน. จังหวัดนนทบรี

ดร. วิเลขา ลีสุวรรณ์ ผอ. สำนักงาน กศน. จังหวัดเชียงราย

ดร. อัจฉรา สากระจาย ผอ. สำนักงาน กศน. จังหวัดกาฬสินธุ์

ดร. ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร. รุ่งอรุณ ไสยโสภณ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

นางสาวประวีณ รอดเขียว หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

นางสุภาพรรณ น้อยอำแพง หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

คณะทำงานจัดทำต้นฉบับ หมวดกิจกรรม นางสาวลัดดาวัลย์ เลิศเพ็ญเมธา ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดนครนายก

นายพล ศรีกัลยา ผอ. กศน. เขตสวนหลวง

นางอัญชลี ธรรมะวิธีกุล หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

นางสาวจตุพร สุทธิวิวัฒน์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

นางกนกพรรณ สุวรรณพิทักษ์ กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ

นายกฤติพัฒน์ แสงทอง กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ

นางชญาณี ใหญ่สูงเนิน ครูสำนักงาน กศน.จังหวัดอุดรธานี

Page 79: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

คัมภีร์ กศน. ��

คณะทำงานต้นฉบับ หมวดองค์กรและเครือข่าย นางสาวลัดดาวัลย์ เลิศเพ็ญเมธา ผอ.สำนักงาน กศน.นครนายก

นายพล ศรีกัลยา ผอ. กศน. เขตสวนหลวง

นางอัญชลี ธรรมะวิธีกุล หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

นางสาวจตุพร สุทธิวิวัฒน์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

นางกนกพรรณ สุวรรณพิทักษ์ กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ

นายกฤติพัฒน์ แสงทอง กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ

นางชญาณี ใหญ่สูงเนิน สำนักงาน กศน.จังหวัดอุดรธานี

คณะทำงานจัดทำต้นฉบับ ฝ่ายศิลป ์นายอุกฤฏ์ ทองสุนทร สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู ้

นายสมบัติ คิ้วฮก ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

นาย ศุภโชค ศรีรัตนศิลป์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

นายสุรพงษ์ มั่นมะโน กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

คณะบรรณาธิการ ดร.ศรีสว่าง เลี้ยววาริณ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

นางสุภาพรรณ น้อยอำแพง หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

นางสาวประวีณ รอดเขียว หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน.

Page 80: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจดุเนนการดําเนนิงาน สาํนักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖

--------------------------------------------------------------------

วิสัยทัศน คนไทยไดรับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําที่มีคุณภาพ ไดทุกที่ ทุกเวลา อยางทัว่ถงึ และเทาเทยีมกัน เพื่อใหเกิดสงัคมฐานความรู การมีอาชีพ และการมีความสามารถเชงิการแขงขนัในประชาคมอาเซียนอยางยั่งยนื

พันธกิจ ๑. จัดและสงเสริมการจดัการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษา สมรรถนะในการเรียนรูและการแกปญหา พัฒนาอาชพี คณุภาพชวีิตและสังคม และเตรยีมความพรอมในการเขาสูประชาคมอาเซียน ของประชาชนอยางทั่วถงึและเทาเทยีม ๒. สงเสริมและสนับสนุนการมีสวนรวมในการดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือขายทั้งในและตางประเทศ โดยเฉพาะอยางยิ่งในกลุมประเทศอาเซียนเพื่อผนึกกําลังในการพฒันาคณุภาพของประชากร ๓. พัฒนาสื่อและเทคโนโลยทีางการศึกษา และสงเสริมการนําเทคโนโลยสีารสนเทศและการสื่อสารมาใชใหเกิดประสทิธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการพัฒนาทักษะการเรยีนรูเพื่อใหรูเทาทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๔. สงเสริมกระบวนการเรยีนรูตลอดชีวติของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรยีนรูของคนในชุมชน สงเสริมบทบาทของภูมิปญญาทองถิน่ในการจัดกิจกรรมการเรยีนรูและศนูยการเรียนในรูปแบบตางๆ ๕. พัฒนาระบบการบริหารจดัการใหสามารถดําเนนิงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสงเสริมการศึกษาตลอดชีวติไดอยางมีประสิทธิภาพ

เปาประสงค ๑. คนไทยไดรับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัที่มีคณุภาพ อยางทัว่ถงึและเทาเทยีม ๒. ประชากรวยัแรงงานมีระดบัการศึกษาและคณุภาพชวีิตที่สูงขึน้ และมีอาชีพที่สามารถสรางรายไดใหกับตนเองและครอบครัวอยางยัง่ยนื บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยีงและเศรษฐกิจเชิงสรางสรรค ๓. ชุมชนมีฐานอาชีพที่กวางและหลากหลาย สามารถพฒันาไปสูระดับวิสาหกิจชุมชนที่มีความสามารถเชิงการแขงขัน มีความเชื่อมโยงอยางเปนระบบ และสรางความม่ันคงทางเศรษฐกิจและความเขมแขง็ของชุมชน (OTOP Mini MBA) ๔. ประชาชนมีเจตคติเชิงวทิยาศาสตร และสามารถประยุกตใชเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการเรยีนรู แกปญหา และพัฒนาคณุภาพชวีิตและสังคมอยางสรางสรรค

ฉบับไดรับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการ กศน.

เมื่อวันที่ 1/พ.ย./2555

Page 81: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๒

๕. ประชาชนมีความรูและทักษะดานภาษาอังกฤษ ภาษาจนี และภาษากลุมประเทศอาเซียน รวมทั้งความรูความเขาใจเก่ียวกับภูมิภาคและความเปนประชาคมอาเซียน ๖. องคกรภาคสวนตางๆ ทั้งในและตางประเทศโดยเฉพาะอยางยิ่งในกลุมประเทศอาเซียน รวมเปนภาคีเครือขายในการดําเนนิงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัอยางกวางขวางและตอเนื่อง

๗. หนวยงานและสถานศึกษาพัฒนาสื่อและเทคโนโลยทีางการศึกษาที่มีคณุภาพ มาใชในการจัดกิจกรรมสงเสริมการเรยีนรูใหแกกลุมเปาหมายและประชาชนทัว่ไปอยางทั่วถึง

๘. หนวยงานและสถานศึกษานําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคณุภาพ มาใชในการเพิ่มประสทิธภิาพการจดัการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัไดอยางมีประสิทธผิล ๙. ชุมชนไดรับการสงเสริมกระบวนการเรยีนรู มีกิจกรรมเพื่อแกปญหาและพัฒนาชุมชนโดยใชรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมี กศน.ตําบลและศนูยการเรยีนชุมชนตางๆ เปนกลไกสงเสริมการเรียนรู ๑๐. หนวยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีประสทิธิภาพ

ตัวช้ีวัด ๑. รอยละของคนไทยกลุมเปาหมายกลุมตางๆ (เชน กลุมเด็ก กลุมเยาวชน กลุมวยัแรงงาน กลุมผูสงูอายุ กลุมคนพิการ กลุมผูดอยโอกาส กลุมชาติพันธุชนกลุมนอย กลุมคนไทย ในตางประเทศ กลุมคนไทยทัว่ไป เปนตน) ที่เขารวมกิจกรรมการเรียนรู/ไดรับบริการการศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศยัที่สอดคลองกับสภาพปญหาและความตองการ ๒. จํานวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๕๙ ป) กลุมเปาหมายที่เรยีนในระดับการศึกษาขั้นพืน้ฐานการศึกษานอกระบบ ๓. จํานวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๕๙ ป) กลุมเปาหมายที่ไดรับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและการศึกษาเพื่อพฒันาอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจเชงิสรางสรรค ๔. รอยละของชุมชน (ตําบล/หมูบาน) เปาหมายที่ประชาชนในพืน้ที่ที่ไดรับการอบรม หลักสูตร OTOP Mini MBA ตามโครงการศนูยฝกอาชีพชมุชนเพื่อการมีงานทําแลว สามารถจัดตั้งกลุมวิสาหกิจชุมชน ระดับตําบล/หมูบานได ๕. จํานวนประชาชนกลุมเปาหมายที่ไดรับบริการการเรยีนรู/รวมกิจกรรมการเรยีนรูทางวิทยาศาสตรของศูนยวทิยาศาสตรเพื่อการศึกษา ๖. รอยละของประชาชนกลุมเปาหมายที่ไดรับบริการการเรียนรู/รวมกิจกรรมการเรยีนรูทางวทิยาศาสตรของศูนยวทิยาศาสตรเพื่อการศึกษาแลวมีการพัฒนาเจตคตทิางวทิยาศาสตรและมองเห็นแนวทางการนําไปใชในการดํารงชวีิตได ๗. จํานวนประชาชนกลุมเปาหมายที่ไดรับการศึกษาอบรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษากลุมประเทศอาเซียน และอาเซียนศึกษา

Page 82: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๓

๘. จํานวนองคกรภาคสวนตางๆ ในกลุมประเทศอาเซียนที่รวมลงนามในบันทึกขอตกลงความรวมมือ (MOU) ในการดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับประเทศไทย ๙. รอยละของหนวยงานและสถานศึกษา กศน. ที่มีการพัฒนา/วิจัยและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยทีางการศึกษาเพื่อสงเสริมการเรียนรูของผูเรยีน/ผูรับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๑๐. รอยละของผูเรยีน/ผูเขารับบริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศยั ที่มีความพงึพอใจในคณุภาพและปริมาณ/ความหลากหลายของสื่อการเรียนรูที่หนวยงานและสถานศึกษา กศน. จัดบริการ ๑๑. รอยละของหนวยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่มีการบรหิารจัดการ และพฒันาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนนุการดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขององคกร ๑๒. รอยละของ กศน. ตําบล และศนูยการเรยีนรูชุมชน (ศรช.) ที่จัดกิจกรรมการเรยีนรูเพื่อการพัฒนาชุมชน โดยใชปญหาของชุมชนเปนศนูยกลาง ๑๓. รอยละของหนวยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่สามารถดําเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบไดสําเร็จตามเปาหมายที่กําหนดไวโดยใชทรพัยากรอยางประหยดั/ตามแผนที่กําหนดไว

Page 83: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๔

๑. ยกระดบัการศกึษาประชาชนใหจบการศึกษาระดับมัธยมศกึษาปท่ี ๖ ภายใน ๘ เดือน อยางมีคณุภาพ ๑.๑ เรงพฒันากรอบแนวคดิการประเมินเทยีบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) ที่เปดโอกาสใหประชาชนที่มีอาชีพมาประเมินเทยีบระดับการศึกษาแบบกาวกระโดดเพื่อสรางโอกาสทางการศึกษาใหกับประชาชนอยางกวางขวาง ๑.๒ เรงพฒันามาตรฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อใชเปนมาตรฐานกลางสําหรับการประเมินระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดจนพัฒนาตัวบงชี ้เครื่องมือประเมินและเกณฑการประเมิน ๑.๓ เรงพฒันากระบวนการ จัดทําคูมือการดําเนนิงานการประเมินเทยีบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตลอดจนพฒันาสื่อประกอบการเรยีนรู ทัง้ในรูปแบบสื่อเอกสารและสื่อเทคโนโลยทีี่หลากหลาย และสนองตอบตอความตองการของกลุมเปาหมาย ๑.๔ เรงปรับปรงุกฎหมายที่เก่ียวของเพื่อใหสามารถดําเนนิงานการประเมินเทยีบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไดอยางถูกตองตามขอกฎหมายทางการศึกษาและเกิดประโยชนสงูสุดกับประชาชน ๑.๕ เรงสรางความรูความเขาใจใหกับหนวยงานและสถานศึกษาสังกัดสํานักงาน กศน. เก่ียวกับกรอบแนวคดิและวิธีการดําเนินงานเพื่อใหสามารถดําเนินงานไดอยางมีประสิทธภิาพ ๑.๖ ใหสํานักงาน กศน.อําเภอ/เขต เรงดําเนนิการจัดบริการประเมินเทยีบระดับการศึกษาและประสบการณอยางมีคณุภาพ เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน ๑.๗ ใหสํานักงาน กศน.จังหวัด/กทม. เรงรดัการดําเนนิการจัดบริการประเมินเทียบระดับการศึกษาและประสบการณ เพื่อยกระดบัการศึกษาขั้นพืน้ฐานของประชาชนของ กศน.อําเภอ/เขต ใหเปนไปตามแผนที่กําหนดไวอยางมีประสทิธภิาพ ๑.๘ เรงประชาสัมพันธสรางความเขาใจกับองคกรหลัก หนวยงานทางการศึกษา และภาคสงัคม เพื่อใหเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การดําเนินงานการประเมินเทยีบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประชาสัมพนัธใหประชาชนตระหนักถึงความสําคัญของการยกระดับการศึกษาและเขารับบริการประเมินเทยีบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยางกวางขวาง

๒. เรงดําเนินการจัดฝกอบรมอาชีพหลักสูตร OTOP Mini MBA สูชุมชน ๒.๑ เรงดําเนนิการจดัฝกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA (การบริหารจัดการธรุกิจสินคา OTOP ธุรกิจ OTOP สงออก การตลาดและชองทางการจําหนาย และภาษา อังกฤษธุรกิจ) และสงเสริมการใชประโยชนจากเทคโนโลยสีารสนเทศและการสื่อสารในการเผยแพร และจําหนายผลิตภัณฑ เพื่อพัฒนาการฝกอบรมการบริหารจัดการธุรกิจใหเปนระบบครบวงจรและบรรลุผลตามจุดประสงคของหลักสตูรอยางมีประสทิธิภาพ สําหรับกลุมเปาหมายอยางกวางขวางและตอเนื่อง

นโยบายเร่งด่วน

Page 84: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๕

๒.๒ พฒันาระบบฐานขอมูลใหสามารถนําไปใชสนับสนุนการดําเนินการจดัฝกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA ของศนูยฝกอาชีพชมุชนไดอยางมีประสิทธิภาพ ๒.๓ พฒันาสื่อการเรยีนรูตามหลักสูตร OTOP Mini MBA ใหมีความหลากหลายและครบถวนเพื่อสนับสนนุใหผูเรียนสามารถนําไปใชประโยชนในการเรยีนและการปฏิบัติจรงิ ๒.๔ พฒันาครูและวิทยากรผูสอนหลักสูตร OTOP Mini MBA ใหมีความรูความเขาใจหลักสูตร OTOP Mini MBA และสามารถจดักระบวนการเรียนรูใหเปนไปตามวตัถุประสงคของหลักสูตรไดอยางมีประสทิธิภาพ

๓. เปดโลก กศน. สู กศน.อนิเตอร เพ่ือประชาคมอาเซียน ๓.๑ เรงจดัทําหลักสตูร สื่อ แบบเรยีน และเครื่องมือการวดัผลประเมินผล การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พทุธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษเพื่อใหบริการการศึกษาตามหลักสูตรดังกลาวแกกลุมเปาหมายผูสนใจ ๓.๒ เรงจดัหาครแูละผูเก่ียวของ และพฒันาสมรรถนะบุคลากรดังกลาวใหสามารถ จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พทุธศกัราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษไดอยางมีประสิทธภิาพ ๓.๓ เรงจดัใหมีหองเรียนที่จดัการเรยีนการสอนหลักสตูรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพืน้ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษ อยางนอยจังหวดัละ ๑ หองเรียน ๓.๔ สงเสริม สนับสนนุใหภาคีเครือขายรวมพฒันาและจัดการเรียนการสอนหลักสตูรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขัน้พืน้ฐาน พทุธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษ ๓.๕ พฒันาระบบการนิเทศ ตดิตาม และการวดัและประเมินผลการศึกษา เพื่อการพัฒนาการศึกษาตามหลักสตูรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พทุธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษใหมีประสทิธิภาพเหมาะสมกับผูเรียน

๔. เสริมสรางบานหนงัสืออจัฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอานของประชาชน ๔.๑ ให กศน.อําเภอ/เขต เรงรดัให กศน.ตําบล/แขวงดําเนนิการสํารวจความตองการหนังสือและสื่อสิง่พมิพอ่ืนของกลุมเปาหมาย โดยดําเนินการใหครอบคลุมและทั่วถงึกลุมเปาหมายในพื้นที ่ ๔.๒ ให กศน.อําเภอ/เขต เรงจัดตั้งบานหนังสือในหมูบาน/ชุมชน เพื่อเปนหองสมุดประชาชนหมูบาน/ชุมชน และจัดหาหนังสือและสื่อสิ่งพมิพอ่ืนสําหรับบานหนังสือตามความตองการของกลุมเปาหมายในแตละพืน้ที ่ ๔.๓ ให กศน.ตําบล/แขวง ดําเนินการจัดกิจกรรม และประสานความรวมมือกับภาคีเครือขายในการจดักิจกรรมเสริมสรางนิสยัรักการอานของกลุมเปาหมาย โดยการสงเสริมการอาน ใหเขาถึงทุกครอบครวัในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งสรางความรูความเขาใจใหกับผูใชบริการเก่ียวกับระเบียบวินยัและขอพึงปฏิบัติในการใชบานหนังสือหรือหองสมุดประชาชนหมูบาน/ชุมชน การเคารพสทิธิผูอ่ืน ตลอดจนการชวยกันดแูลรักษาและพัฒนาบานหนังสอืหรือหองสมุดประชาชนหมูบาน/ชุมชนใหเปนบานหนังสือเสริมสรางอัจฉรยิภาพของประชาชนในหมูบาน/ชุมชน อยางยั่งยนื

Page 85: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๖

๔.๔ เรงประชาสัมพันธใหประชาชนตระหนักถงึความสําคญัของการอานในฐานะที่เปนกิจกรรมพืน้ฐานในการเสริมสรางอัจฉรยิภาพสวนบุคคลและความเขมแข็งของชมุชนและเขามามีสวนรวมอยางตอเนื่องในการดําเนินกิจกรรมบานหนงัสือหรือหองสมุดประชาชนหมูบาน/ชุมชน

๕. เรงรัดการสงเสริมการเรียนรูของประชาชนเพ่ือการจดัทําแผนปองกันภัยพิบตั ิ ๕.๑ ใหหนวยงานและสถานศึกษารวมกับภาคสวนตางๆ และชุมชนในพืน้ทีร่วมดําเนินการจดัทําแผนปองกันภัยพิบัตจิากธรรมชาติเชงิบูรณาการ ๕.๒ ใหหนวยงานและสถานศึกษาประสานกับหนวยงานตางๆ ที่เก่ียวของ เตรียมประชาชนใหมีความรูความเขาใจ และมีความพรอมในการรับมือกับสถานการณภัยพิบัติตางๆ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึน้ในพืน้ที่ หรือ ผลกระทบจากพื้นที่อ่ืน ๆ ๕.๓ ใหหนวยงานและสถานศึกษาจัดทําแผนปองกันภัยพิบัติที่อาจเกิดจากธรรมชาติ มนุษย หรือจากสาเหตุอ่ืน และจดัใหมีการซักซอมการดําเนินงานตามที่กําหนดในแผนอยางเปนระบบตอเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสีย่งที่อาจเกิดขึน้กับหนวยงานและสถานศึกษา

๖. เรงพัฒนาระบบกลไกการกํากบั ติดตาม และนเิทศเพ่ือการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศกึษาตามอัธยาศัยอยางมีประสิทธิภาพ ๖.๑ ใหหนวยงานและสถานศึกษาที่เก่ียวของทุกระดับ เรงพัฒนาระบบกลไก การกํากับ ติดตามและรายงานผลการนํานโยบายสูการปฏิบัติ ใหสามารถตอบสนองการดําเนินงานตามนโยบายในแตละเรื่องไดอยางมีประสทิธิภาพ ๖.๒ ใหมีการเชื่อมโยงระบบการนิเทศในทุกระดับ ทั้งหนวยงานภายในและภายนอกองคกร ตั้งแตสวนกลาง ภูมิภาค กลุมจังหวดั จังหวัด อําเภอ/เขต และตําบล/แขวง เพื่อความเปนเอกภาพในการใชขอมูล และการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Page 86: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๗

๑. นโยบายดานการศกึษานอกระบบ

๑.๑ จัดและสนบัสนนุการศกึษานอกระบบตัง้แตปฐมวัยจนจบการศกึษา ข้ันพ้ืนฐาน ๑) พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุงเนนใหผูเรียนสามารถนําสาระการเรยีนรูและวิธีการเรยีนรูไปใชประโยชนไดจริงในการพัฒนาคุณภาพชีวติโดยรวม และสรางเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสรางรายไดอยางม่ันคง ๒) ดําเนินการใหผูเรยีนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไดรับการสนับสนุนคาจัดซ้ือตําราเรยีน คาจดักิจกรรมพฒันาคณุภาพผูเรียน และคาเลาเรียนอยางทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคณุภาพโดยไมเสยีคาใชจาย ๓) จัดหาตําราเรยีนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขัน้พื้นฐานที่มีคณุภาพตามที่สํานักงาน กศน. ใหการรับรองคณุภาพใหทนัตอความตองการของผูเรียน พรอมทั้งจดัใหมีระบบหมุนเวียนตําราเรยีน เพื่อเปดโอกาสใหผูเรยีนทุกคนสามารถเขาถึงการใชบริการตําราเรยีนอยางเทาเทยีมกัน ๔) ขยายการจดัการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขัน้พืน้ฐานที่มีคณุภาพใหกับประชากรวยัแรงงานที่ไมจบการศึกษาภาคบังคับและไมอยูในระบบโรงเรยีน โดยเฉพาะผูดอยโอกาสกลุมตางๆ ดวยวิธีเรียนที่หลากหลาย ๕) สงเสริม สนับสนุน และเรงรัดให กศน.อําเภอทุกแหงดําเนินการเทยีบโอนความรูและประสบการณ รวมทัง้ผลการเรียนอยางเปนระบบไดมาตรฐาน สอดคลองกับหลักสูตร เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาใหกับประชาชนอยางกวางขวาง ๖) พัฒนาระบบฐานขอมูลรวมของนักศึกษา กศน.ใหมีความครบถวน ถูกตอง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทัว่ประเทศ สามารถสืบคนและสอบทานไดทันความตองการ เพื่อประโยชนในการจดัการศึกษาใหกับผูเรียนและการบรหิารจัดการอยางมีประสทิธิภาพ ๗) จดัใหมีวิธีการเรยีนรูที่เนนการฝกปฏิบัติจรงิเพื่อใหผูเรยีนมีความรู ความเขาใจและเจตคตทิี่ดีตอการเรียนรู รวมทัง้สามารถพัฒนาทักษะเก่ียวกับสาระและวิธีการเรียนรูที่สามารถนําไปประยุกตใชไดอยางมีประสทิธิภาพ ๘) พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทยีบระดับการศกึษาที่มีความโปรงใส ยุตธิรรม ตรวจสอบได มีมาตรฐานตามที่กําหนด และสามารถตอบสนองความตองการของกลุมเปาหมายไดอยางมีประสิทธิภาพ

๑.๒ การสงเสริมการรูหนงัสือ ๑) พัฒนาระบบฐานขอมูลผูไมรูหนงัสือทัง้ในระดับพืน้ทีแ่ละสวนกลางใหมีความครบถวน ถูกตอง ทนัสมัย และเปนระบบเดียวกัน ๒) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผล และเครือ่งมือการดําเนินงานการสงเสริมการรูหนังสือทีส่อดคลองกับสภาพของแตละกลุมเปาหมาย

นโยบายต่อเนือง

Page 87: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๘

๓) พัฒนาครู กศน.และภาคีเครือขายทีร่วมจดั ใหมีความรู ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรยีนรูใหกับผูไมรูหนังสืออยางมีประสิทธภิาพ ๔) สงเสริม สนับสนุนใหสถานศึกษาจัดกิจกรรมสงเสริมการรูหนังสือ การคงสภาพการรูหนังสือ การพัฒนาทักษะการรูหนังสือ และการพฒันาทักษะดานคอมพิวเตอรพืน้ฐานเพือ่เปนเครื่องมือในการสงเสริมการศึกษาและการเรยีนรูอยางตอเนื่องตลอดชีวติของประชาชน ๕) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรูหนงัสือใหมีมาตรฐานเปนทีย่อมรับในระดับประเทศและระดับสากล

๑.๓ การศึกษาตอเนื่อง ๑) มุงจัดการศึกษาอาชพีเพื่อการมีงานทําอยางยั่งยืน โดยใหความสําคัญกับการจัดการศกึษาอาชีพเพื่อการมีงานทํา ทีส่อดคลองกับศักยภาพของผูเรยีนและศักยภาพของแตละพืน้ที ่รวมทัง้สงเสริมการใชระบบเทคโนโลยเีพื่อการพฒันาอาชพี เพื่อใหผูเรียนสามารถนําความรูความสามารถ เจตคตทิีด่ีตอการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึน้ไปใชประโยชนในการประกอบอาชีพที่สรางรายไดไดจริง และการพัฒนาสูเศรษฐกิจเชิงสรางสรรคตอไป ๒) มุงจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชวีิตใหกับทุกกลุมเปาหมาย โดยจดักิจกรรมการศึกษาที่มุงเนนใหทุกกลุมเปาหมายมีความรูความสามารถในการบริหารจดัการชีวติของตนเองใหอยูในสังคมไดอยางมีความสุข มีคณุธรรมจรยิธรรม รวมทัง้สามารถใชเวลาวางใหเปนประโยชนตอตนเอง ครอบครวั และชุมชน ๓) มุงจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวคดิการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาทีย่ั่งยนืตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยีง โดยใชหลักสตูรและการจดักระบวนการเรียนรูแบบบูรณาการในรูปแบบของการฝกอบรม การประชุมสัมมนา การจดัเวทีแลกเปลี่ยนเรยีนรู การสรางชุมชนนักปฏิบัต ิการเรยีนทางไกล และรูปแบบอ่ืนๆ ที่เหมาะสมกับกลุมเปาหมาย และบริบทของชุมชนแตละพืน้ที่ โดยเนนการสรางจติสํานึกความเปนประชาธิปไตย ความเปนพลเมืองด ีการสงเสริมบทบาทสตรี การสรางความเขมแข็งของเศรษฐกิจชุมชน การบริหารกองทนุ การสรางความม่ันคงดานอาหาร การอนรุักษพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาตแิละสิ่งแวดลอม การบริหารจัดการน้ํา และการรองรับการเขาสูประชาคมอาเซียน และหลักสตูรเชงิบูรณาการเพื่อการพัฒนาทีย่ั่งยนืตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔) พัฒนาระบบคลงัหลักสูตรการศึกษาตอเนื่องใหไดมาตรฐาน และสะดวกตอการใชงานเพื่อสนับสนนุการจัดการศึกษาตอเนื่องของสถานศึกษาและภาคีเครือขาย

๑.๔ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ๑) พัฒนาคุณภาพผูเรยีนใหมีคณุลักษณะทีพ่ึงประสงคตามจุดมุงหมายและมาตรฐานของหลักสูตร ๒) พัฒนาครแูละผูที่เก่ียวของใหสามารถจดัการเรยีนรูไดอยางมีคุณภาพ โดยสงเสริมใหมีความรูความสามารถในการจดัทําแผนการสอน การจัดกระบวนการเรยีนรู และการวดัและประเมินผล

Page 88: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๙

๓) สงเสริมการพฒันาหลักสูตรทองถิน่ และกิจกรรมการเรยีนรูที่หลากหลาย สอดคลองกับความตองการและสภาพของกลุมเปาหมายและทองถิน่ ๔) สงเสริมการพฒันาหลักสูตรทางดานภาษา และวฒันธรรมของกลุมประเทศอาเซียนและการจัดกิจกรรมตามหลักสตูรดงักลาวเพื่อเตรยีมความพรอมใหกับประชาชนในการ เขาสูการเปนสมาชิกของประชาคมอาเซียนอยางมีคณุภาพ ๕) สงเสริมการพฒันาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส และสื่ออ่ืนๆ ประกอบหลักสูตรที่เอ้ือตอการเรียนรูของผูเรยีนและการจัดกระบวนการเรียนรูของครูผูสอนโดยการมี สวนรวมของทั้งภาครัฐและเอกชน ๖) สงเสริมการพฒันารูปแบบการเรยีนการสอนเพื่อสงเสรมิการศึกษาตลอดชีวิต ที่หลากหลาย สอดคลองกับสภาพ และความตองการของกลุมเปาหมายและชุมชน ๗) มุงเนนใหกลุมเปาหมายที่ลงทะเบียนเรยีนไดเรยีนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพ และความตองการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยูไมนอยกวารอยละ ๘๐ และมีผลสัมฤทธิ์ในสาระความรูพืน้ฐานไมต่ํากวารอยละ ๖๐ ๘) พัฒนาระบบการวดัผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขัน้พืน้ฐานใหไดมาตรฐาน โดยการนําขอทดสอบกลางมาใชอยางมีประสิทธิภาพ

๑.๕ การประกนัคณุภาพการศกึษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๑) ใหสถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในใหไดมาตรฐาน เพื่อพรอมรับการประเมินคณุภาพภายนอกรอบที่สาม โดยพฒันาบุคลากรใหมีความรู ความเขาใจ และสามารถดําเนินการประกันคณุภาพภายในของสถานศึกษาไดอยางตอเนื่องโดยใชการประเมินภายในดวยตนเอง ๒) ใหสํานักงาน กศน.จังหวดั/กทม. ดําเนินการประเมินคณุภาพภายในของสถานศึกษาโดยตนสังกัดใหผานการประเมินคุณภาพภายใน ไมนอยกวารอยละ ๘๐ ๓) ดําเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน.ที่ไมผานการรับรองมาตรฐานคุณภาพเพื่อการเตรยีมความพรอมสําหรับการขอรับการประเมินอีกครั้งหนึง่ในรอบการประเมินคุณภาพภายนอกรอบทีส่าม โดยปรับแผนพัฒนาคณุภาพการศึกษาของสถานศึกษา และดําเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาใหไดคณุภาพตามมาตรฐานที่กําหนด และจดัใหมีระบบสถานศึกษาพี่เลี้ยงเขาไปสนับสนุนอยางใกลชิด สําหรับสถานศกึษาทีย่ังไมไดเขารับการประเมินคุณภาพภายนอก ใหพัฒนาคณุภาพการจดัการศึกษาใหไดคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนด ๔) สงเสริม สนับสนุนใหสถานศึกษาที่ไดรับการรับรองคณุภาพมาตรฐาน สมศ. ผดุงระบบการประกันคณุภาพการศึกษาใหไดตามมาตรฐานที่กําหนด

๑.๖ การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกจิ จงัหวดัชายแดนภาคใต ๑) จัดและพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมสงเสริมการศึกษาและการเรยีนรู ที่ตอบสนองปญหาและความตองการของกลุมเปาหมายรวมทั้งอัตลักษณและความเปน พหุวัฒนธรรมของพืน้ที ่

Page 89: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๐

๒) พัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขัน้พืน้ฐานอยางเขมขนและตอเนื่องเพื่อใหผูเรียนสามารถนําความรูที่ไดรับไปใชประโยชนไดจรงิ ๓) สงเสริมระบบการเทยีบโอนความรูและประสบการณ และการเทยีบระดับการศึกษาดานศาสนศึกษาเขาสูการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพืน้ฐาน ๔) ใหหนวยงานและสถานศึกษาจัดใหมีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย แกบุคลากรและนักศึกษา กศน.ตลอดจนผูมาใชบริการอยางทัว่ถึง

๑.๗ การศึกษาทางไกล ๑) พัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล ทัง้ระบบการใหบริการ ระบบการเรียน การสอน ระบบการวดัและประเมินผลการเรยีน ทั้งหลักสตูรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพืน้ฐาน และการศึกษาตอเนือ่งโดยบูรณาการการใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มประสทิธภิาพการจดัการศึกษาทางไกลใหกับทุกกลุมเปาหมาย ๒) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรใหมีความพรอมในการจัดและใหบริการการศึกษาทางไกลเพื่อใหประชาชนไดรับโอกาสและบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอยางทั่วถึง ๓) ขยายกลุมเปาหมายภาคเีครือขายผูใหบริการ และผูรับบริการทั้งในประเทศและตางประเทศใหมากขึ้น เพื่อสงเสริมใหเกิดการศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวติของประชาชน ๔) สงเสริมและสนับสนุนการใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธภิาพการขับเคลื่อนการบริหารงานและการจัดบริการการศึกษาทางไกลที่มีคุณภาพ ๕) สงเสริมใหมีการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยวธิีการเรียนทางไกลใหกับแรงงานไทยในตางประเทศ โดยเฉพาะอยางยิง่สําหรับกลุมเปาหมายในกลุมประเทศอาเซียน

๒. นโยบายดานการศกึษาตามอัธยาศัย

๒.๑ การสงเสริมการอาน ๑) พัฒนาระดับความสามารถในการอานของประชาชนทุกกลุมเปาหมายใหไดระดับอานคลอง อานเขาใจความ เขียนคลอง และอานเชิงคิดวิเคราะหพื้นฐาน โดยใชเทคนิควธิ ีการเรียนการสอน และสื่อที่มีคณุภาพ ๒) สงเสริมใหมีการสรางบรรยากาศ และสิ่งแวดลอมที่เอ้ือตอการอานใหเกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสนับสนุนการพฒันาแหลงการอานใหเกิดขึน้อยางกวางขวาง และหลากหลาย รวมทัง้เสริมสรางความพรอมในดานสื่ออุปกรณเพื่อสนับสนุนการอาน และการจดักิจกรรมเพื่อสงเสริมการอานอยางหลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรมรักการอานในสวนภูมิภาค ๓) สงเสริม และสนับสนุนการสรางเครือขายสงเสริมการอานโดยจดัใหมีอาสาสมัครสงเสริมการอานในทุกตําบล เพื่อรวมเปนกลไกในการพฒันาคนไทยใหมีเจตคตทิี่ดตีอการเสริมสรางความรูดวยการอาน เห็นประโยชนและความสําคัญของการอาน มีนิสัยรักการอาน และพฒันาตนเองใหเปนนักอานที่มีคณุภาพตอไป ๔) สงเสริมใหมี “บานหนังสือ” ในหมูบาน/ชุมชน เพื่อเปนกลไกในการสงเสริมการอานใหเกิดขึ้นกับประชาชนอยางกวางขวางและตอเนือ่งในทุกพื้นที่ทัว่ประเทศ

Page 90: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๑

๒.๒ หองสมดุประชาชน ๑) มุงเนนพฒันาหองสมุดประชาชนทุกแหงใหเปนศนูยกลางการเรียนรูตลอดชวีิตของชุมชน เปนแหลงคนควาและแลกเปลีย่นเรยีนรูการพฒันาอาชีพเพื่อการมีงานทําและสรางรายไดอยางยัง่ยนืและการสรางความพรอมใหกับประชาชนในการเขาสูประชาคมอาเซียน ๒) จัดตัง้หองสมุดประชาชนในอําเภอที่ยงัไมมีหองสมุดประชาชน เพื่อจดับริการ ใหกับประชาชนอยางครอบคลุมและทั่วถึง โดยเนนการระดมทรพัยากรและความรวมมือจากภาค ีเครือขาย ๓) จัดหาโครงสรางพื้นฐานดานเทคโนโลยสีารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงกับแหลงการเรยีนรูตางๆ สําหรับใหบริการในหองสมุดประชาชน ๔) จัดกิจกรรมสงเสริมการเรยีนรูในรูปแบบที่หลากหลายทัง้ภายในและภายนอกหองสมุด เพื่อปลูกฝงนิสยัรักการอาน การพัฒนาศักยภาพการเรียนรูดวยตนเอง การสงเสริมการเรียนรูตลอดชีวติ และการรับรูขอมูลขาวสารที่ทนัเหตุการณของประชาชน เพื่อสามารถนําความรูที่ไดรับไปใชประโยชนในการปฏิบัตจิริง ๕) จัดหนวยบริการเคลื่อนทีพ่รอมอุปกรณเพื่อสงเสริมการอานและการเรยีนรูที่หลากหลายออกใหบริการประชาชนในพืน้ที่ตางๆ อยางทั่วถึง สมํ่าเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสการเรยีนรูและการพฒันาอาชพีของประชาชนและชุมชน ๖) พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผดิชอบการบริการของหองสมุดประชาชน ใหมีความรู ความสามารถและมีความเปนมืออาชีพในการจัดบรกิารสงเสริมการอานและการเรยีนรูของประชาชน ๗) แสวงหาภาคีเครอืขายเพื่อรวมจัดและสนับสนนุการดําเนินงานของหองสมุดประชาชนใหเปนศูนยกลางการเรยีนรูตลอดชีวติของชุมชนโดยชุมชน และเพื่อชุมชน

๒.๓ วิทยาศาสตรเพ่ือการศึกษา ๑) พัฒนาและจดัทํานิทรรศการ มหกรรมวทิยาศาสตรสญัจร และจดักิจกรรม ที่เนนการเสริมสรางทักษะ กระบวนการเรียนรูทางวทิยาศาสตร และสรางเจตคตทิางวทิยาศาสตร เพื่อพัฒนาทักษะการคดิ วิเคราะห กระตุนการใชความคิดสรางสรรค และสรางแรงบันดาลใจใหประชาชนนําความรูและทักษะทางวทิยาศาสตร ไปใชในการพัฒนาชีวติ พฒันาอาชีพ และสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลีย่นแปลงในอนาคตไดอยางมีประสิทธิภาพ ๒) เชื่อมโยงกระบวนการเรยีนรูวทิยาศาสตรเพื่อพัฒนาชุมชนโดยเนนวทิยาศาสตรชุมชนใหผูรับบริการสามารถนําไปประยุกตใชในการดําเนินชีวิต การพฒันาอาชีพ การักษาสิ่งแวดลอม และการปองกันภัยพิบัติจากธรรมชาตใินพื้นที ่ ๓) สงเสริม สนับสนุน ภาคีเครือขายทัง้ภาครัฐ และภาคเอกชน ทัง้ในและตางประเทศ เพื่อเชื่อมโยงเปนเครือขายในการจดักิจกรรมการเรียนรูทางดานวทิยาศาสตร ๔) สงเสริม สนับสนุนการวิจยัและพัฒนาสื่อการเรียนรู และกิจกรรม ดานวทิยาศาสตรใหมีรูปแบบและเนื้อหา ที่หลากหลาย สามารถปลูกฝงใหผูรับบริการมีความรู ความเขาใจ มีทักษะกระบวนการทางวทิยาศาสตร และมีเจตคตทิี่ดทีางวิทยาศาสตร

Page 91: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๒

๕) สงเสริม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมดานวทิยาศาสตรเชิงบูรณาการ เพื่อเปนฐานสูการพฒันาเศรษฐกิจเชิงสรางสรรค บนพืน้ฐานการผลติและการบริโภคที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม ๖) พัฒนาศูนยวทิยาศาสตรเพื่อการศึกษา ใหเปนแหลงการเรียนรูเชิงวิชาการ แหลงจดุประกายการพฒันาอาชีพ และแหลงทองเทีย่วประจําทองถิ่น

๓. นโยบายดานการสงเสริมการเรียนรูของชุมชน

๓.๑ การพัฒนา กศน.ตําบล/แขวง ใหเปนศนูยกลางการสรางโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาใหกับประชาชนในชุมชน ๑) จัดหาครุภัณฑและสิง่อํานวยความสะดวก ตลอดจนโครงสรางพื้นฐาน ดานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมกับ กศน.ตําบล/แขวง ใหครบทุกแหง เพื่อสนับสนนุการบริหาร การจดักิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู ทีส่ามารถตอบสนองความตองการของประชาชนและชุมชนไดอยางตอเนื่องและทนัเวลา ๒) จัดหาหนังสือและสื่อการเรยีนรูในรูปแบบตางๆ อาทิ สือ่สิ่งพิมพ สื่อเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพและสาระที่หลากหลาย ทนัสมัย เพื่อใหประชาชนนําไปใชเปนเครื่องมือในการเพิ่มพูนสมรรถนะของตนเองและเสริมสรางศักยภาพในการแขงขนัของชุมชน ๓) จัดกิจกรรมสงเสริมการเรยีนรูตลอดชีวติเชิงรุกที่หลากหลาย ทนัสมัยสรางสรรค ตอเนื่อง และตอบสนองความตองการของประชาชนและชุมชน โดยจดัใหมีการศึกษา ขั้นพืน้ฐาน การฝกอาชีพ การสงเสริมการเรียนรูดานวทิยาศาสตร คณติศาสตร การปองกันภัยพิบัติ การดูแลรักษาธรรมชาตแิละสิง่แวดลอม การเสริมสรางกระบวนการประชาธิปไตย การปองกันภัยจากยาเสพติด การเสริมสรางความรูเก่ียวกับประชาคมอาเซียน และการจดัการศึกษาและกิจกรรมการเรียนรูตามความจําเปนเรงดวนของ แตละชุมชน ๔) จัดกิจกรรมสงเสริมการอาน และสงเสริมใหมีกลุมสงเสริมการอานใน กศน.ตําบล/แขวง เพื่อพฒันาเปนชุมชนรักการอาน โดยใชอาสาสมัครสงเสริมการอานเปนกลไกในการจัดกิจกรรมสงเสริมการอานในรูปแบบตางๆ ในชุมชน โดยดําเนินงานเปนทีมรวมกับครู กศน.ตําบล/แขวง ๕) พัฒนาระบบฐานขอมูลสภาพการรูหนังสือและความตองการทางการศึกษา และการเรยีนรูของประชากรวยัแรงงาน ผูพิการ และผูสูงอายุ ใหครอบคลุมทุกพื้นทีท่ั่วประเทศ ครบถวน ถูกตอง ทนัสมัยและเชื่อมโยงกันอยางเปนระบบ สามารถสืบคนไดทนัความตองการ เพื่อประโยชนในการจดัการศึกษาใหกับกลุมเปาหมายดังกลาว ๖) สงเสริมและพฒันาเครือขาย กศน.ตําบล/แขวง เพื่อการประสานเชื่อมโยง สงตอผูเรียน และแลกเปลีย่นเรยีนรูประสบการณการทํางานรวมกัน เพื่อเสริมสรางสมรรถนะ ในการใหบริการทางการศึกษาที่สนองตอบตอความตองการของผูเรยีนอยางมีประสทิธิภาพ ๗) พัฒนาระบบการตดิตามประเมินผลการดําเนินงาน กศน.ตําบล/แขวง และจัดใหมีการรายงานผลการดําเนินงานตอสาธารณะ รวมทัง้ใหนําผลการตดิตามประเมินผลมาใชในการพัฒนาการดําเนินงาน กศน.ตําบล/แขวง อยางตอเนื่อง

Page 92: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๓

๘) กํากับและติดตามให กศน.ตําบล/แขวง ดําเนินการใหเปนไปตามมาตรฐาน การดําเนินงาน กศน.ตําบล/แขวงอยางมีประสิทธิภาพ

๓.๒ ศูนยฝกอาชีพชุมชน ๑) จัดใหมีศูนยฝกอาชพีชุมชนในทุกอําเภอ/เขต อยางนอยอําเภอ/เขตละ ๓ แหง เพื่อเปนศูนยกลางในการฝก พัฒนา สาธติ และสรางอาชพีของผูเรยีนและชุมชน รวมทั้งเปนที่จัดเก็บ แสดง จําหนาย และกระจายสนิคาและบริการของชุมชนอยางเปนระบบครบวงจร ๒) พัฒนาและจดัทําหลักสตูรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําทีส่อดคลองกับความตองการของผูเรยีน ความตองการของตลาด และศักยภาพของพื้นที่โดยมีเปาหมายเพื่อใหการจัดการศึกษาอาชีพแนวใหม เปนการจดัการศึกษาที่สามารถสรางอาชพีหลักที่ม่ันคงใหกับผูเรียน โดยสามารถสรางรายไดไดจรงิทัง้ในระหวางเรยีนและสําเรจ็การศึกษาไปแลว และสามารถใชประโยชนจากเทคโนโลยีในการสรางมูลคาเพิ่มใหกับอาชีพ เพื่อพัฒนาใหเปนผูประกอบการที่มีความสามารถเชิงการแขงขันอยางยัง่ยนื ๓) ประสานการดําเนินงานกับศูนยฝกอาชีพชุมชนของหนวยงานและสถานศึกษาตางๆ ในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงเปนเครือขายการฝกและสรางอาชีพของประชาชนและชุมชนในจังหวัด กลุมจังหวัด และระหวางจังหวัด ๔) จัดใหมีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนใหผูเรยีนสามารถเขาถึงแหลงทุนตางๆ สําหรับเปนชองทางในการเสริมสรางความเขมแข็งและการพัฒนาขดีความสามารถในการแขงขนัดานอาชีพอยางตอเนื่องใหกับผูเรียน

๕) จัดใหมีการกํากับ ติดตาม และรายงานผลการจดัการศึกษาอาชีพเพื่อการ มีงานทําอยางเปนระบบและตอเนื่อง พรอมทัง้นําผลที่ไดมาใชในการพฒันาคณุภาพการดําเนนิงานใหเปนไปตามความตองการดานการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําของประชาชนและความตองการของตลาด

๓.๓ การสงเสริมและสนบัสนนุใหทุกภาคสวนเขามามีสวนรวมเปนภาคเีครือขายในการจดั สงเสริม และสนบัสนนุการจดัการศกึษาตลอดชีวิตและการจดัการศกึษาอาชีพเพ่ือการมงีานทําอยางย่ังยืน ใหครอบคลุมพ้ืนท่ีทุกระดบั ๑) พัฒนาระบบฐานขอมูลภาคีเครือขายทุกระดับ โดยจําแนกตามระดับความพรอมในการมีสวนรวม ทัง้นี้ใหดําเนนิการจัดทําระบบฐานขอมูลใหมีความถูกตอง ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงกันไดทั่วประเทศ เพื่อประโยชนในการใหการสงเสริมและสนับสนนุไดอยางเหมาะสมสอดคลองกับศักยภาพ และระดับการมีสวนรวมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือขาย ๒) พัฒนาบุคลากรภาคีเครือขายใหมีศักยภาพในการจดัการศึกษาตลอดชีวติและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําอยางมีคุณภาพ ๓) ใหหนวยงานและสถานศึกษา ประสานการทํางานรวมกับภาคีเครือขายเพื่อใหมีความรูความเขาใจในบทบาทหนาที่ และภารกิจเก่ียวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในการเปนกลไกสําคัญเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สงัคม ธรรมชาตแิละสิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน

Page 93: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๔

๓.๔ อาสาสมคัร กศน. ๑) สงเสริมใหผูมีจิตอาสา ตลอดจนผูรู ภูมิปญญาทองถิน่ และขาราชการบํานาญเขามาเปนอาสาสมัคร กศน. โดยเขามามีบทบาทในการจดักิจกรรมการเรยีนรูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัในชุมชน เปนผูสื่อสารขอมูลความรูที่เปนประโยชนแกประชาชนและนําเสนอความตองการการเรยีนรูและการพฒันาชุมชน โดยทํางานเปนทีมรวมกับครูในสงักัด สํานักงาน กศน. ๒) สงเสริมใหอาสาสมัคร กศน. ไดรับการพฒันาสมรรถนะใหเปนผูจัด และผูสงเสริมและสนับสนนุการจดัการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัที่มีคุณภาพ ๓) เสริมสรางขวัญและกําลังใจในรูปแบบตางๆ แกอาสาสมัคร กศน. เพื่อใหตระหนักถงึคณุคาและความสําคัญของตนเอง และเขามามีสวนรวมดําเนนิการจัดและสงเสริมการเรียนรูตลอดชีวติอยางมีคณุภาพและยั่งยืน

๓.๕ การสงเสริมการจดัการเรียนรูในชุมชน ๑) จัดกิจกรรมการเรียนรูตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช กศน.ตําบล/แขวง ที่ดําเนินการอยูแลวใหเกิดประโยชนสูงสุด สามารถสรางเครือขายการเรียนรูรวมกับองคกรชุมชนอ่ืนๆ อยางกวางขวาง ๒) สงเสริมการจดักระบวนการเรยีนรูในชุมชนโดยการจดัทาํแผนชุมชน จดัเวทีชาวบาน การศึกษาดงูาน การฝกอบรม เพื่อนําความรูไปแกปญหาหรือพัฒนาชุมชน ๓) สงเสริมใหมีการบูรณาการความรูในชุมชนใหเชื่อมโยงกับหลักสูตรตางๆ ของ กศน. โดยคํานึงถงึการประกอบอาชพี และการมีงานทําของผูเรียนทีแ่ทจริง เพื่อประโยชนในการมีงานทําและการเทียบโอนความรูและประสบการณ ๔) สงเสริมใหมีการขยายและพัฒนาแหลงการเรียนรูชุมชนเพื่อการสืบสานและการถายทอดองคความรู โดยใหมีการจัดทําและเผยแพรสื่อถายทอดองคความรูในชุมชน ๕) พัฒนาศักยภาพและสงเสริมใหภูมิปญญาทองถิน่ ผูเชีย่วชาญองคความรูดานตางๆ เปนแหลงการเรยีนรู และนักจดัการความรูที่สําคัญของชุมชน

๔. นโยบายดานการสนบัสนนุโครงการพิเศษ

๔.๑ โครงการอนัเนื่องมาจากพระราชดาํริ ๑) สงเสริมการจดัการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ หรือโครงการอันเก่ียวเนื่องจากพระราชวงศ อยางเปนระบบตอเนื่องและเกิดผลโดยตรงกับกลุมเปาหมาย ทั้งระดับบุคคลและชุมชน ๒) จัดทําฐานขอมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน.ที่สนองงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดํารทิี่สามารถนําไปใชในการวางแผน การตดิตามประเมินผลและ การพัฒนางานไดอยางมีประสทิธิภาพ ๓) สงเสริมการสรางเครือขายการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดําริ เพื่อใหเกิดความเขมแขง็ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั

Page 94: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๕

๔) พัฒนาศูนยการเรยีนชุมชนชาวไทยภูเขา “แมฟาหลวง” ใหมีความพรอม ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามบทบาทหนาที่ที่กําหนดไวอยางมีประสิทธภิาพ

๔.๒ โครงการจดัการศกึษาเพ่ือความมัน่คงชายแดนของ ศฝช. ๑) มุงจัดและพฒันาการศึกษาอาชพี โดยเนนเรื่องเกษตรธรรมชาตทิี่สอดคลองกับบริบทของชุมชนชายแดน ใหแกประชาชนตามแนวชายแดน ๒) จัดและพัฒนา ศฝช.ใหเปนศูนยสาธติการประกอบอาชพี ศูนยการเรยีนรูตนแบบการจดักิจกรรมตามแนวพระราชดําริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สําหรับประชาชนตามแนวชายแดนดวยวธิีการเรยีนรูที่หลากหลาย ๓) ให ศฝช.ทุกแหง เปนศนูยกลางในการพฒันาบุคลากร และการเผยแพรความรูดานเกษตรธรรมชาต ิโดยความรวมมือระหวาง สํานักงาน กศน.กับ มูลนิธิ MOA ไทย และ MOA International ๔) จัดระบบเครือขายศนูยการเรียนรูอาชีพ ศนูยเรียนรูปรชัญาเศรษฐกิจพอเพยีง โดยเชื่อมโยงกับ กศน.ตําบล/แขวง ในพื้นที ่

๔.๓ การสงเสริมและจดัการศกึษาสําหรับกลุมเปาหมายพิเศษ ๑) จัดและสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั การรูหนงัสือ ภาษาและวฒันธรรมไทย และยกระดับการศึกษาสําหรับกลุมเปาหมายพิเศษ ไดแก ผูพิการ ผูดอยโอกาส เด็กและเยาวชนที่อยูนอกระบบโรงเรียน คณุแมวัยใส คนเรรอน คนไรบาน ผูสงูอาย ุกลุมชาติพันธุ ชนกลุมนอย บุคคลที่ไมมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไมมีสัญชาติไทย (คนตางดาวและผูไรสัญชาติ) ผูหนีภัยการสูรบจากพมาในพืน้ที่พักพิงชั่วคราว คนไทยในตางประเทศ ๒) ศึกษา วิจัย พัฒนาและเผยแพรรปูแบบการจดั สงเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัใหกับกลุมเปาหมายพิเศษ เพื่อใหมีการนําไปสูการปฏิบัติอยางกวางขวางและมีการพฒันาใหเหมาะสมกับบริบทอยางตอเนื่อง ๓) พัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบการจดักิจกรรม ใหสอดคลองกับสภาพและความตองการของกลุมเปาหมายพิเศษแตละกลุม

๕. นโยบายดานส่ือและเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา

๕.๑ พฒันาสถานีวทิยุศึกษาเพื่อเพิ่มประสทิธิภาพการผลติ และการออกอากาศใหกลุมเปาหมายสามารถใชเปนชองทางการเรียนรูที่มีคณุภาพไดอยางตอเนื่องตลอดชวีิต โดยขยายเครือขายการรับฟงใหสามารถรับฟงไดทุกที ่ทุกเวลา ครอบคลุมพื้นที่ทัว่ประเทศ

๕.๒ พฒันาสถานีวทิยโุทรทัศนเพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการออกอากาศใหกลุมเปาหมายสามารถใชเปนชองทางการเรียนรูที่มีคุณภาพไดอยางตอเนื่องตลอดชวีิต โดยเพิ่มชองทางใหสามารถรับชม ไดทัง้ระบบ Ku - Band และ C - Band และทางเครือขายสากล (อินเทอรเนต็) พรอมที่จะรองรับการพฒันาเปนสถานีวทิยโุทรทัศนเพื่อการศึกษาสาธารณะ (Free ETV)

Page 95: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๖

๕.๓ พฒันารายการวทิยุเพื่อการศึกษา รายการโทรทัศนเพือ่การศึกษาใหเชื่อมโยงและตอบสนองตอการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัของสถานศึกษาเพื่อสงเสริมคณุภาพการเรียนการสอนและกระจายโอกาสทางการศึกษาสําหรับกลุมเปาหมายตางๆ ทั่วประเทศ

๕.๔ เสริมสรางโอกาสใหนักเรยีน นักศึกษา และประชาชนทกุกลุมเปาหมาย มีทางเลือกในการเรยีนรูที่หลากหลายและมีคณุภาพ สามารถพฒันาตนเองใหรูเทาทนัสื่อและเทคโนโลยสีารสนเทศเพื่อการสื่อสาร โดยจดัใหมีการผลิตรายการพฒันาอาชีพเพื่อการมีงานทํา รายการเสริมสรางความรูเก่ียวกับประชาคมอาเซียน รายการติวเขมเติมเต็มความรู ฯลฯ เผยแพรทางสถานีวทิยศุึกษา สถานวีทิยุโทรทศันเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และสถานวีทิยุโทรทศันสาธารณะ และทางเครือขายสากล (อินเทอรเน็ต)

๕.๕ ผลิตและเผยแพรสื่ออิเล็กทรอนิกสเพื่อการศึกษาสําหรับกลุมเปาหมายทั่วไปและกลุมเปาหมายเพื่อคนพิการ เพื่อพฒันาคุณภาพการเรยีนการสอนรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลและการศึกษาตลอดชีวติ

๕.๖ พฒันาบุคลากรของสถานศึกษาและภาคีเครือขายใหสามารถผลติ เผยแพร รวมพฒันา และใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาไดอยางมีประสทิธิภาพ

๕.๗ พฒันาระบบการใหบริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาใหไดหลายชองทาง ทั้งทางเครือขายสากล (อินเทอรเนต็) และรูปแบบอ่ืน ๆ เชน Application บนโทรศัพทเคลื่อนที ่และ Tablet, DVD, CD, VCD และ MP3 เปนตน เพื่อใหกลุมเปาหมายสามารถเลือกใชบริการเพื่อเขาถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรูไดตามความตองการ

๕.๘ สํารวจ วิจยั และตดิตามประเมินผลดานสื่อเทคโนโลยเีพื่อการศึกษา อยางตอเนื่อง และนําผลมาใชในการพัฒนางานใหมีความถกูตอง ทันสมัยและสามารถสงเสริมการศึกษาและการเรยีนรูตลอดชีวติของประชาชนไดอยางแทจริง

๖. นโยบายดานการบริหารจดัการ

๖.๑ การพัฒนาบคุลากร ๑) จัดทําแผนยทุธศาสตรการพฒันาบุคลากรของสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๙ เพื่อพฒันาบุคลากรของสํานักงาน กศน. ทุกระดับ ทุกประเภทใหมีความเปนมืออาชีพในการดําเนนิงานตอบสนองความตองการทางการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของประชาชน ๒) พัฒนาบุคลากรทุกระดับทุกประเภทใหมีสมรรถนะสงูขึน้อยางตอเนื่อง ทัง้กอนและระหวางการดํารงตําแหนงเพื่อใหมีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและบริหารจัดการการดําเนนิงานของหนวยงานและสถานศึกษาไดอยางมีประสิทธภิาพ

Page 96: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๗

๓) พัฒนาหัวหนา กศน.ตําบล/แขวงใหมีสมรรถนะสูงขึน้ในการบริหารจดัการ กศน.ตําบล/แขวง และการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจอยางมีประสทิธิภาพ โดยเนนการเปน นักจัดการความรูและผูอํานวยความสะดวกในการเรียนรูเพือ่ใหผูเรียนเกิดการเรยีนรูที่มีประสิทธภิาพอยางแทจรงิ ๔) สงเสริมและพฒันาศักยภาพคณะกรรมการ กศน.ตําบล/แขวง เพื่อการมี สวนรวมในการบริหารการดําเนินงานตามบทบาทภารกิจของ กศน.ตําบล/แขวง อยางมีประสิทธภิาพ ๕) พัฒนาอาสาสมัคร กศน. ใหสามารถทําหนาที่เปนผูจัด สงเสริมและสนับสนนุการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัไดอยางมีประสทิธิภาพ ๖) เสริมสรางสัมพันธภาพระหวางบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือขายในทุกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานรวมกัน โดยจัดใหมีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร และภาคีเครือขายในรูปแบบที่หลากหลายอยางตอเนื่อง เชน มหกรรมกีฬา กศน. การแลกเปลี่ยนเรียนรูการดําเนินงาน ในรูปแบบตางๆ ๗) สงเสริมและสนับสนุนใหมีการพฒันานวตักรรมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรอยางมีประสิทธิภาพ ๘) สงเสริมใหบุคลากรในสังกัดพฒันาตนเองเพื่อเลื่อนตําแหนงหรือเลื่อนวทิยฐานะโดยเนนการประเมินวทิยฐานะเชิงประจักษ ๙) ใหมีการจัดทําโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (DPIS) ของหนวยงานและสถานศึกษาในสังกัด เพื่อเปนเครื่องมือประกอบการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรในสังกัด ๑๐) จัดทําแนวทางการขับเคลื่อน กศน. สูการเปน “องคกรแหงศักดิ์ศรแีละสุจรติธรรม” สงเสริมการจดักิจกรรม การจดัทํานวตักรรมเก่ียวกับองคความรูดานคณุธรรมจริยธรรม การปองกันการทุจริต และราชการใสสะอาด ของหนวยงานและสถานศึกษา เพื่อให กศน.เปนองคกรแหงศักดิ์ศรีและสจุริตธรรมที่ประชาชนมีความเชื่อม่ัน ศรทัธาและมีความไววางใจในการปฏิบัติงาน

๖.๒ การพัฒนาโครงสรางพ้ืนฐานและอัตรากาํลัง ๑) เรงผลักดนัใหมีการประกาศใชกฎหมายวาดวยการศึกษาตลอดชีวติ ๒) จัดทําแผนการพฒันาโครงสรางพื้นฐานและดําเนินการปรับปรุงสถานทีแ่ละวสัดุอุปกรณ ใหมีความพรอมในการจดัการศึกษา ๓) ระดมทรพัยากรจากชุมชน เพื่อนํามาใชในการปรับปรุงโครงสรางพืน้ฐาน ใหมีความพรอมสําหรับดําเนนิกิจกรรมสงเสริมการเรยีนรูของประชาชน ๔) แสวงหาภาคีเครือขายในทองถิ่นเพื่อการมีสวนรวมในการดําเนินกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั ๕) บริหารอัตรากําลังที่มีอยูทัง้ในสวนที่เปนขาราชการ พนกังานราชการ และลูกจาง ใหเกิดประสทิธภิาพสูงสดุในการปฏิบัติงาน

Page 97: คัมภีร์ กศน. - edu.ru.ac.th¸„ัมภีร์_กศน1.pdf · ชื่อหนังสือ: คัมภีร์ กศน. isbn: 978-974-232-315-8

นโยบายและจุดเนนการดําเนินงานสํานักงาน กศน. ประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ หนา ๑๘

๖.๓ การพัฒนาองคความรูและฐานขอมูล ๑) วิจัยและพฒันานวตักรรมการบริหารจดัการที่เหมาะสมและสอดคลองกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการใชการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัเปนกลไกสําคัญในการพัฒนาทีย่ั่งยนืโดยเฉพาะดานเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาตแิละสิ่งแวดลอม ๒) สงเสริมใหมีการจัดการความรูในหนวยงานและสถานศกึษาทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อสามารถนํามาใชในการพัฒนาประสทิธิภาพการดําเนนิงานที่สอดคลองกับความตองการของประชาชนและชุมชนพรอมทั้งพฒันาขดีความสามารถเชิงการแขงขันของหนวยงานและสถานศึกษาทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล ๓) พัฒนาระบบฐานขอมูลใหมีความครบถวน ถูกตอง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทัว่ประเทศอยางเปนระบบเพื่อใหหนวยงานและสถานศึกษาในสังกัดสามารถนําไปใชเปนเครื่องมือสําคัญในการบริหาร และจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอยางมีประสิทธภิาพ ๔) สนับสนนุใหมีการประชาสัมพนัธและสรางภาพลักษณใหมของ กศน. ในการสงเสริมการเรยีนรูตลอดชีวติและการศึกษาอาชีพเพือ่การมีงานทํา เพื่อสรางกระแสใหประชาชนและทุกภาคสวนของสังคมเห็นความสําคญัและเขามามีสวนรวมในการดําเนนิกิจกรรมของ กศน. ทั้งในฐานะผูรับบริการ ผูจดั ผูสงเสริมและผูสนับสนนุการดําเนินงานของ กศน.

๖.๔ การกาํกบั นิเทศ ติดตาม ประเมนิ และรายงานผล ๑) สรางกลไกการกํากับ นิเทศ ตดิตาม ประเมิน และรายงานผลการดําเนนิงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยัใหเชื่อมโยงกับหนวยงาน สถานศึกษา และภาคีเครือขายทั้งระบบ ๒) สงเสริมการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่ออ่ืน ๆที่เหมาะสม เพื่อการกํากับ นิเทศ ตดิตาม ประเมินผล และรายงานผลอยางมีประสทิธิภาพ ๓) พัฒนากลไกการตดิตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคํารับรองการปฏิบัติราชการประจําปของหนวยงาน สถานศึกษา เพื่อการรายงานผลตามตัวชีว้ัดตามคํารับรองการปฏิบัติราชการประจําป ของสํานักงาน กศน.ใหดําเนนิไปอยางมีประสิทธิภาพ เปนไปตามเกณฑ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร.กําหนด