บทที่ 2 - krirk universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/02.pdf · 2014-09-03 ·...

38
บทที่ 2 ความสมเหตุสมผล/อำนาจ และสภาวะสมัยใหม่: หนทางสู่หายนะของมนุษยชาติแห่งศตวรรษที่ 21 สมศักดิ์สามัคคีธรรม

Upload: others

Post on 29-Dec-2019

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

บทที่ 2 ความสมเหตุสมผล/อำนาจ และสภาวะสมัยใหม่: หนทางสู่หายนะของมนุษยชาติแห่งศตวรรษที่ 21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

44ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างความรู้/ความ

สมเหตุสมผลกับอำนาจ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นไม่สามารถแยกความสมเหตุสมผล

ออกจากอำนาจได้ อำนาจมาจากทุกๆ ที่ และผสมเป็นเนื้อเดียวกับความสมเหตุ

สมผล อันทำให้การดำรงอยู่ของความสมเหตุสมผลมีสถานะไม่เป็นกลาง เป็นอัต

วิสัย และแฝงเร้นด้วยอคติเสมอ ความสัมพันธ์ระหว่างความสมเหตุสมผลกับอำนาจ

เป็นความสัมพันธ์ที่ขาดดุลยภาพ อันทำให้ความสมเหตุสมผลตกอยู่ในสภาวะเปราะบาง

ในขณะที่โครงการมุ่งหน้าสู่สภาวะสมัยใหม่ การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย และ

หนทางสู่แสงสว่างทางปัญญา ต่างวางอยู่บนฐานคติว่าด้วยความมีเหตุมีผลของมนุษย ์

แต่เมื่อความสมเหตุสมผลอยู่ในสภาพอ่อนแอ ส่งผลให้สภาวะสมัยใหม่ ประชาธิปไตย

และหนทางสู่แสงสว่างทางปัญญาตกอยู่ในสภาวะวิกฤติตามไปด้วย

Abstract The article aims to present the complicated relationships between knowledge /rationality and power. In fact, it is impossible to separate rationality from power; and power comes from everywhere and becomes an internal part of rationality. As a result, it is impossible for rationality to be neutral, value-free, objective and impartial. The relationships between rationality and power is asymmetric. This causes rationality to be fragile. The project of modernity, democratization and enlightenment are based on the assumption of human’s rationality. However, the situation of maintaining rationality is rather weak. Consequently, the project of

modernity, development of democratic regime and enlightenment are full of crises.

1ผูอ้ำนวยการโครงการหลกัสตูรรฐัประศาสนศาสตรมหาบณัฑติ มหาวทิยาลยัเกรกิ

2∫∑∑’Ë ความสมเหตุสมผล/อำนาจ และสภาวะสมัยใหม่:

หนทางสู่หายนะของมนุษยชาติแห่งศตวรรษที่ 21 สมศักดิ์ สามัคคีธรรม1

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

45

1.เกริ่นนำ: เมื่อความรู้นำหายนะมาสู่มนุษยชาติ

ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon)2 ได้กล่าวประโยคเด็ดเอาไว้ในหนังสือชื่อ

“The Advancement of Learning” ว่า “ความรู้คืออำนาจ” (Knowledge is power)

โดยความรู้ในทัศนะของฟราสซิส เบคอน ก็คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง

อันได้รับมาจากการค้นพบและการประดิษฐ์ ซึ่งหากนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ดัง

กล่าวไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบและเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการ

เปลี่ยนแปลงชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเอาความรู้ไป

ประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์เทคโนโลยีขนาดใหญ่สำหรับใช้ในการควบคุมธรรมชาติ

อันจะทำให้มนุษย์สามารถควบคุมธรรมชาติได้ และเป็นนายของธรรมชาติได้อย่าง

แท้จริง (Russell, 1972: 542)

คำกล่าวของเบคอนนี้ถือเป็นรากฐานของสภาวะสมัยใหม่ (modernity) การ

พัฒนาประชาธิปไตย (democratization) และหนทางสู่ยุคแสงสว่างทางปัญญา

(enlightenment) เนื่องจากสภาวะสมัยใหม่ ประชาธิปไตย และเส้นทางสู่ยุคแสง

สว่างทางปัญญาถูกสร้างขึ้นบนฐานคติว่าด้วยมวลมนุษย์ผู้เปี่ยมล้นด้วยความสม

เหตุสมผล/ความรู้ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อนำตรรกะของฟรานซิส เบคอน ไปขยายต่อก็

จะได้ว่า “แสงสว่างทางปัญญาคืออำนาจ ดังนั้น ยิ่งมีแสงสว่างทางปัญญามากเท่าไร

ก็ยิ่งจะมีความสมเหตุสมผลมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และดังนั้นมนุษย์ก็น่าจะพัฒนา

ชีวิตให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ” (Flyvbjerg, 1998: 2-3)

ตามโครงการสู่สภาวะสมัยใหม่ (modernity project) นั้น เชื่อว่ามนุษย์เรา

สามารถนำความรู้แบบวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการอธิบายและทำนายปรากฏการณ์

ทางธรรมชาติได้อย่างรอบด้านและลึกซึ้งมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันนักสังคมศาสตร์

สามารถนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาใช้ในการศึกษาระบบสังคมและ

พฤติกรรมของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ มนุษย์

ยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมธรรมชาติ และนำธรรมชาติมาใช้

2ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) นักปรัชญายุคใหม่ผู้มีชื่อเสียง เขาเกิดที่กรุงลอนดอน มีชีวิตอยู่ในช่วง 1561 – 1626 ฟรานซิส เบคอน มีชื่อเสียงในฐานะของผู้ริเริ่มใช้วิธีการอุปนัยสมัยใหม่ (modern inductive method) และเป็นผู้บุกเบิกให้มีวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก

46ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ให้เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์โดยตรง รวมทั้งสามารถนำความรู้ทางสังคมศาสตร์

มาใช้ในการจัดระเบียบสังคม แก้ไขปัญหาสังคม และพัฒนาสังคมให้เจริญรุ่งเรื่อง

และมีสันติสุขสืบไป

อย่างไรก็ตาม แนวคิดอันเป็นรากฐานของสภาวะความทันสมัย ประชาธิปไตย

และแสงสว่างทางปัญญาดังกล่าวนี้ เริ่มถูกท้าทายอย่างรุนแรงจากนักวิชาการตะวัน

ตกนับจากห้วง 30-40 ปี ที่ผ่านมานี้ เนื่องจากพบว่า แม้มนุษย์ตระหนักเป็น

อย่างดีถึงประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อ

การดำรงชีพของพวกตน แต่มนุษย์ไม่เคยกำหนดจุดหมายปลายทางของการพัฒนา

ดังกล่าวแต่ประการใด การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

ทางด้านเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และยิ่งมีการ

พัฒนาในสิ่งที่อ้างว่าเป็นความรู้ (knowledge-claims) ไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยงบ

ประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนการวิจัยทุกประเทศรวมกันแต่ละปีมีจำนวนมหาศาล

ขณะเดียวกันประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้มีความ

เจริญก้าวหน้าอย่างเหลือเชื่อ แต่ธรรมชาติมิได้เชื่องต่อการแสดงตนเป็นนายของ

มนุษย์แต่ประการใด และยิ่งมนุษย์พัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำหรับใช้ในการควบคุม/จัดการธรรมชาติมากเท่าไร ธรรมชาติก็ยิ่งทวีความพิโรธ

พร้อมกับแสดงพลังแห่งความกระด้างกระเดื่อง/ต่อต้าน/ขัดขืนต่อคำสั่งของ

มนุษย์ อันปรากฏออกมาให้เห็นในรูปของการโต้ตอบโดยการลงโทษ/สั่งสอนมนุษย์

ผู้เต็มไปด้วยความยะโสโอหังและความโลภอย่างรุนแรงมากขึ้น

ตัวอย่างรูปธรรมของความอหังการของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติก็คือ การก่อสร้าง

โครงการขนาดใหญ่ อาทิ การถมทะเลให้กลายเป็นพื้นดินสำหรับใช้สอย การกั้น

ภูเขาเพื่อกักขังน้ำในรูปของเขื่อนขนาดใหญ่ การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ฯลฯ

ซึ่งในกระบวนการวางแผนเพื่อการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ดังกล่าวนี้ ผู้เชี่ยวชาญ

ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และการประยุกต์ใช้

ในการศึกษารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (environmental impact assessment

- EIA) โดยที่รายงาน EIA ดังกล่าวนี้จะถูกนำเสนอต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อใช้

ประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในโครงการขนาดใหญ่

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 47

แต่จะพบว่าเมื่อนำโครงการขนาดใหญ่ไปดำเนินการแล้ว บ่อยครั้งที่เกิดผล

กระทบด้านสิ่งแวดล้อมรุนแรงกว่าที่ปรากฏในรายงาน EIA ดังกล่าว เช่น การสร้าง

เขื่อนขนาดใหญ่บางแห่งที่เก็บน้ำได้เพียงครึ่งหนึ่งของเป้าหมายที่ตั้งไว้ ความสามารถ

ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อยมากเมื่อเทียบกับเป้าที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังก่อ

ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในบางหมู่บ้าน ในขณะที่บางหมู่บ้านประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ

เกิดปัญหาน้ำทะเลหนุน มีการตัดไม้ทำลายป่าบนเนื้อที่มากกว่าที่ระบุไว้ในรายงาน

สัตว์ใหญ่บางชนิดต้องอพยพหนี และนกบางชนิดหยุดการผสมพันธุ์ ฯลฯ

ความล้มเหลวของวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และความไม่ไว้วางใจของสาธารณชน

ที่มีต่อการศึกษารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในห้วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้

เป็นการแสดงออกที่มีนัยสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก แสดงออกถึง

ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของมนุษย์ในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการ

ควบคุม/บงการธรรมชาติ และประการที่สอง แสดงให้เห็นถึงมายาภาพของสิ่งที่

อ้างว่าเป็น “ความรู้” (knowledge-claims) กล่าวคือ โฉมหน้าภายนอกของมัน

สวมทับเอาไว้ด้วยหน้ากากของความเป็นวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงถึงความเป็นกลาง

(neutrality) และความเป็นภาววิสัย (objectivity) แต่เมื่อถอดหน้ากากออกก็จะ

เผยให้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริง ซึ่งก็คือ ความรู้/ความสมเหตุสมผล (ซึ่งก็คือ เนื้อหา

ของรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม) ที่เต็มไปด้วยอคติ (bias) เป็นอัตวิสัย

(subjectivity) โดยมีเป้าหมายในการสร้างความชอบธรรม (legitimation function)

เพื่อสนับสนุนให้โครงการได้เดินหน้าต่อไป

ทำนองเดียวกัน มนุษย์ได้พัฒนาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นมา โดยมี

วัตถุประสงค์ในการอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจของสังคม พร้อมๆ

กับนำเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบ

เศรษฐกิจ ในขณะที่องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เจริญเติบโตและซับซ้อนมากขึ้น

แต่ระบบเศรษฐกิจของสังคมบนสมรภูมิแห่งความเป็นจริงกลับพยศและดื้อรั้น

โดยไม่ยอมโอนอ่อนไปตามคำสั่ง/คำบงการของนักเศรษฐศาสตร์ผู้กุมบังเหียนอยู่

ในกระทรวงสำคัญแต่ประการใด ในทางตรงข้าม จะพบว่านับวันสภาวะไร้ระเบียบ

ทางเศรษฐกิจ (economic disorder) ได้ส่งผลให้เกิดพายุร้ายแห่งวิกฤติเศรษฐกิจ

ขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

48ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ในขณะที่องค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์แขนงอื่นๆ ก็ได้รับการพัฒนามากขึ้น

อย่างไม่น้อยหน้า แต่พบว่าสิ่งที่อ้างว่าเป็นความรู้ (knowledge-claims) เหล่านั้น

ไม่สามารถนำมาใช้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาความยากจน การเสพยาเสพติด

การขายบริการทางเพศ การฆ่าตัวตาย ความบ้า สงคราม และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ฯลฯ

ได้อย่างน่าพึงพอใจ ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สังคมยังไม่สามารถนำ

ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ลดน้อย/เบาบางลงได้ มิหนำซ้ำปัญหา

เหล่านี้นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เสมือนดั่งวัตถุในการศึกษา (objects)

กำลังหัวเราะเยาะนักวิชาการผู้ทำการศึกษา (subject) ที่ไม่มีวันจะไล่กวดวัตถุใน

การศึกษาได้ทัน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ได้นำไปสู่การตั้งข้อสงสัยต่อความคิดของฟรานซิส

เบคอน ที่ว่า “ความรู้คืออำนาจ” อย่างรุนแรง เนื่องจากพบว่ายิ่งมีการพัฒนาสิ่งที่

อ้างว่าเป็นความรู้เพิ่มมากขึ้น มนุษย์กลับประสบกับปัญหาท้าทายใหม่ๆ ที่ไม่สามารถ

เข้าใจได้ พร้อมๆ กับเกิดวิกฤติการณ์ใหม่ๆ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ใน

ขณะเดียวกันก็นำไปสู่การท้าทายต่อแนวคิดว่าด้วย “สภาวะความทันสมัย” และ

“หนทางเดินสู่ประชาธิปไตย” อีกด้วย เนื่องจากทั้งสองแนวคิดดังกล่าวต่างวางอยู่

บนฐานรากของความเชื่อในความสมเหตุสมผล/ความรู้ของมนุษย์

ข้อวิจารณ์ทางความคิดที่อยู่ในซีกตรงข้ามกับฟรานซิส เบคอน ได้แสดงให้

เห็นว่า หนทางเดินไปสู่สภาวะความทันสมัย (modernity project) นั้น มิได้โรย

ด้วยดอกกุหลาบ แต่นับวันยิ่งเต็มไปด้วยขวากหนามแห่งวิกฤติการณ์ ซึ่งเกิดขึ้น

ครั้งแล้วครั้งเล่า และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้น ได้มีนักวิชาการ

จำนวนมากต่างออกมาคาดการณ์อย่างไม่เกินเลยว่า วิกฤติการณ์ต่างๆ เหล่านี้จะ

นำไปสู่จุดจบของมวลมนุษยชาติภายในเวลาไม่ช้านี้อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

(Flyvbjerg, 2001; Marcuse, 1955)

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 49

2. คำอธิบายต่อความไร้น้ำยาของความรู้/ความสมเหตุสมผล

ต่อปริศนาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ อันเปรียบเสมือน

วัฐจักรที่เวียนอยู่ภายในเขาวงกตที่มิอาจค้นหาทางออกได้พบ ภายใต้บริบทดังกล่าวนี ้

ได้มีนักคิดที่พยายามแสวงหาคำอธิบายต่อความไร้น้ำยาของสิ่งที่อ้างว่าเป็นความรู้

เอาไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสามารถจำแนกคำอธิบายของนักคิดเหล่านี้ออกเป็น 3 แนวทาง

ดังต่อไปนี้

แนวทางแรกมองว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ

(ecosystem) ร่วมกับพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆ ในขณะที่จักรวาลมีขนาดใหญ่โต

มหึมา ซึ่งดำรงอยู่อย่างมีพลวัตและซับซ้อนอย่างมาก ดังนั้นองค์ความรู้ที่มนุษย์

สะสมได้ในขณะนี้จึงมีขนาดเพียงหางอึ่งเท่านั้น เมื่อเทียบกับพื้นที่แห่งปริศนาอัน

กว้างใหญ่ไพศาลที่มนุษย์ยังไม่รู้/อธิบายไม่ได้/เข้าไม่ถึง หากกล่าวโดยใช้ภาษาของ

นักวิจัยแนวปฎิฐานนิยม (positivism) ก็จะได้ว่า ปัญหาทางสังคมเกิดขึ้นภายใต้

เงื่อนไขอันเฉพาะเจาะจงโดยมีตัวแปรต้นอันเป็นสาเหตุนับร้อยนับพันตัว ยิ่งไปกว่านั้น

ตัวแปรตามสามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้สถานการณ์อันหลากหลาย ดังนั้นจึงเป็นไป

ไม่ได้ที่นักวิชาการจะสามารถอธิบายและทำนายการเกิดขึ้นของปัญหาทางสังคมได้

อย่างสมบูรณ์

ในขณะที่วิธีการของแนวปฏิฐานนิยม ก็คือ ความพยายามสร้างกฎทั่วไป

(general law) เพื่อใช้ในการอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ทางสังคมในรูปของ

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามภายใต้เงื่อนไขอันเฉพาะเจาะจง

โดยตัวแปรต้นแยกขาดออกจากตัวแปรตาม นั้น เป็นการมองภายใต้ระบบปิด

(closed system) แต่สังคมจริงๆ เป็นระบบเปิด ซึ่งมีเงื่อนไขที่สามารถผันแปรไป

ได้อย่างหลากหลาย และมีตัวแปรแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย (intervening and contingent

variables) ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างกฎทั่วไปที่สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่จำกัด

เวลาและสถานที่สำหรับการอธิบายและทำนายพฤติกรรรมทางสังคม (Hoggrat,

Lees and Davies, 2002) ซึ่งช่องว่างดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นหลุมพรางที่ทำให้นัก

วิชาการต่างเดินตกลงไปอย่างไม่รู้เท่าทัน เมื่อความพยายามในการสร้างคำอธิบาย

ต่อหน่วยในการวิเคราะห์ขนาดใหญ่ต้องประสบกับความล้มเหลวลงบ่อยๆ

50ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ในแง่นี้ สามารถปิดจุดอ่อนดังกล่าวนี้ได้ โดยการเลือกศึกษาปรากฏการณ์ที่

อยู่ภายใต้บริบทที่มีเงื่อนไขและมีตัวแปรต้นจำนวนน้อยลง นักวิชาการบางส่วนจึง

หลีกเลี่ยงที่จะศึกษาหน่วยในการวิเคราะห์ขนาดใหญ่ พร้อมๆ กับการเสนอให้

สร้างความรู้จากหน่วยการวิเคราะห์ระดับเล็กขึ้นมาแทนที่ เนื่องจากมีความสามารถ

ในการควบคุมสถานการณ์ที่ทำการศึกษาได้มากกว่า/ง่ายกว่า และสามารถกระทำ

การสังเกตได้ใกล้ชิดกว่า ดังจะพบว่าได้เกิดสำนักคิดที่ใช้ในการศึกษาสังคมระดับ

จุลภาคขึ้นอย่างแพร่หลายในทศวรรษที่ 1960 – 1970 อาทิ สำนักการปฏิสังสรรค์

เชิงสัญลักษณ์ (symbolic interactionism theory) สำนักทฤษฎีการละคร

(dramaturgical theory) สำนักสามัญชนวิทยา (ethnomethodology) และสำนัก

ปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) เป็นต้น (Ritzer, 1988)

ซึ่งทัศนะต่อการสร้างความรู้จากสิ่งที่ดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่ซ่อนนัย

พื้นฐานที่สำคัญเอาไว้ดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับทัศนะของ Michel Foucault (1980)

ซึ่งเขาได้ให้ข้อแนะนำในการศึกษาเกี่ยวกับอำนาจเอาไว้ว่า ควรเริ่มต้นจากการตั้ง

คำถามขนาดเล็ก อันเป็นคำถามที่เรียบง่ายและเป็นคำถามเชิงประจักษ์ (small

questions, flat and empirical) เพื่อนำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับอำนาจได้อย่างลึกซึ้ง

และมีความหมายต่อไป ทั้ง Michel Foucault และ Friedrich Nietzsche ต่างเรียก

ร้องให้ใช้ความอดทนในการศึกษาความรู้ที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย และจะต้องมี

การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจำนวนมาก (Foucault, 1984: 76) ส่วน

Bent Flyvbjerg (1998: 5-6; 2001: 134) ได้กล่าวถึงวิธีการศึกษาของเขาว่า

“เป็นการค้นพบความยิ่งใหญ่จากสิ่งเล็กๆ” (The Great is found in the Small)

คำอธิบายของแนวทางที่สองเกี่ยวกับความไร้น้ำยาของความรู้ ได้แก่ แนวคิด

ของ พอล เฟเยอราแบนด์ (Feyerabend, 1978; 1990) เขามองว่า “ไม่เป็น

ความจริงที่ว่า มีกระบวนการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน”

(uniform procedures of science) กล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ ความสำเร็จของวิทยาศาสตร์

ในยุโรปตะวันตกเกิดขึ้นท่ามกลางกระบวนการที่แตกต่างหลากหลาย ดังนั้นจึงไม่มี

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นแบบฉบับเพียงแบบเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ การอ้างอิง

ถึงความสำเร็จของวิทยาศาสตร์เพื่ออธิบายถึงความชอบธรรมในการทำให้การ

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 51

ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์กลายเป็นเชิงปริมาณ (และจะต้องเป็นวิธีการเชิงปริมาณ

เท่านั้น) จึงเป็นข้ออ้างที่ไร้สาระ เนื่องจากไม่มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นมาตรฐาน

เดียวดังกล่าว

ยิ่งไปกว่านั้น วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็มิได้เหนือกว่าวิธีการที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์

(non-scientific procedures) อาทิ ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา และ

ความรู้พื้นบ้านของประชาชนในท้องถิ่น ในแง่นี้ ผู้เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งจึงสามารถ

เลือกวิธีการรักษาพยาบาลได้อย่างหลากหลาย (และในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนี้

อยู่แล้ว) ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยวิธีทางการแพทย์สมัยใหม่ (ศาสตร์ตะวันตก)

วิธีทางการแพทย์แผนจีนโบราณ (กินยาหม้อ ฝังเข็ม ใช้วิธีถอนพิษด้วยกำลัง

ภายใน ฯลฯ) การรักษาโดยหมอผี (พรมน้ำมนต์ เป่าคาถา) การปฏิบัติศิลและ

ฝึกสมาธิภายในวัด หรือการทานยาสมุนไพรพื้นบ้านตามภูมิปัญญาอีสาน หรือภูมิ

ปัญญาปักษ์ใต้

ก่อนหน้าที่ชุมชนชาวนาในโลกตะวันออกจะมีการติดต่อกับโลกตะวันตก ภูมิ

ปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่นมีการสะสมความรู้พื้นบ้านเอาไว้อย่างซับซ้อนและลงตัว

อันทำให้ชุมชนสามารถดำเนินชีวิตทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

และสืบทอดต่อเนื่องมาได้หลายหมื่นปี อันแสดงให้เห็นว่าชุมชนในเขตชนบทสามารถ

ดำรงอยู่ได้โดยยืนบนขาของตนเอง (ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากตะวันตก) เนื่องจาก

ชาวบ้านสามารถนำความรู้พื้นบ้านไปใช้ในการดำรงชีพและแก้ไขปัญหาพื้นฐาน

ต่างๆ ได้อย่างน่าพึงพอใจ

นักวิทยาศาสตร์อาจได้เปรียบผู้เชี่ยวชาญที่มิได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

(เช่น หมอผี ครูสอนศาสนา พระ หมอดู ปัญญาชนในท้องถิ่น) ตรงที่นักวิทยาศาสตร์

ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากรัฐบาล และนักวิทยาศาสตร์รู้รายละเอียดด้านเนื้อหา

มากกว่าเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์มิได้เหนือกว่าวิธีอื่นๆ ในแง่ของวิธีการ

ศึกษาแต่ประการใด การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากมิได้ดำเนินการตามวิธี

ทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการค้นพบโดยบังเอิญหรือการคิดนอกกรอบ ในขณะที่

การวิจัยโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัดจำนวนมากกลับดำเนินการ

อยู่ในกะลา ซ้ำซาก และล้มเหลว ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

52ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ในการศึกษาวิจัยนั้น เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะประสบความสำเร็จ

หรือล้มเหลว และจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ในแง่นี้จึงสามารถเปรียบเทียบ

การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ได้กับสถาปนิก (ผู้สร้างบ้านที่มีขนาดแตกต่างกันและ

มีรูปโฉมอันหลากหลาย) เนื่องจากความสำเร็จในงานของเขาจะถูกประเมิน/ตัดสิน

ได้ก็ต่อเมื่อการก่อสร้างได้เสร็จสิ้นแล้ว

จากข้อเสนอที่ว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์มิได้เหนือกว่าวิธีการอื่นๆ ที่ไม่เป็น

วิทยาศาสตร์ นั้น ได้นำไปสู่ข้อเสนอของเฟเยอราแบนด์ ที่ว่า สามัญชนคนธรรมดา

ทั้งหลายสามารถเข้าร่วมในการศึกษาค้นคว้า เข้าร่วมในการวิจัยและพัฒนาวิธีการ

ของตนได้เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ชาวบ้าน พระ ปัญญาชนในท้องถิ่น

และหมอผี จึงควรได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ เพื่อทำให้

องค์ความรู้หลายๆ แบบมีโอกาสพัฒนาและสะสม อันก่อให้เกิดการสร้างความสม

เหตุสมผลหลายๆ ชุดขึ้นมาประชันกัน ถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบระหว่างกัน

โดยไม่เป็นการรบกวนต่อเส้นทางสู่ความสำเร็จที่ดำรงอยู่เดิม (without disturbing

existing roads to success) และในกรณีที่ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ส่งผลกระทบ

ต่อประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ซึ่งบ่อยครั้งพบว่าผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้

ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน) ในกรณีนี้ควรให้ประชาชนมีโอกาส

เข้าร่วมในการวิจัยเคียงบ่าเคียงไหล่กับนักวิทยาศาสตร์ด้วย

ซึ่งเหตุผลที่ควรสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยโดยใช้วิธี

การอันหลากหลาย (รวมทั้งวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้วย) มี 2 ประการ คือ

ประการแรก สังคมควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากประดิษฐกรรมทาง

วิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสอ้าปากพูดเกี่ยวกับปัญหาของพวกเขา ขณะเดียวกันก็เพื่อ

ให้กลุ่มบุคคลที่สร้างปัญหาทั้งหลายได้รับฟังเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่าง

ตรงจุด อันจะทำให้สามารถระงับข้อขัดแย้งทางสังคมลงได้ในที่สุด และประการที่สอง

การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในกระบวนการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการ

ให้การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่สาธารณชนพึงจะได้รับ อันจะทำให้วิทยาศาสตร์

มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ (a full democratization of science)

แม้ว่าการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกระบวนการศึกษาวิจัยทาง

วิทยาศาสตร์จะขัดแย้งกับปรัชญาธรรมชาตินิยม (naturalism) เนื่องจากปรัชญาดังกล่าว

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 53

มองว่าประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ เนื่องจาก

วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องทางเทคนิคระดับสูงที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถ

เข้าใจได้ กระนั้นก็ตาม เมื่อวิเคราะห์อย่างถึงที่สุดแล้ว จะพบว่ากระบวนการมีส่วนร่วม

ของประชาชนดังกล่าวนี้ มิได้ขัดแย้งกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการ

มีส่วนร่วมด้วยความคิดที่แตกต่างและใช้วิธีการอันหลากหลายต่างหากที่จะนำไปสู่

การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ได้สำเร็จ ในขณะที่การพิจารณาเกี่ยวกับผลกระทบของประดิษฐกรรม

จากการวิจัยที่มีต่อสังคมก็จะได้รับการดำเนินการอย่างรอบคอบมากขึ้น

คำอธิบายของแนวทางที่สาม (ซึ่งเป็นชุดสุดท้าย) ต่อความไร้น้ำยาของความ

รู้ดังกล่าวนี้ มาจากนักวิจัยเชิงคุณภาพ และนักวิชาการแนววิพากษ์จากสำนัก

แฟรงค์เฟิร์ท รวมทั้งนักปรัชญาสังคมศาสตร์หลายคนแห่งทศวรรษ 1980-1990

นักคิดกลุ่มนี้มีข้อเสนอว่า ความรู้มิได้วางอยู่ภายนอกสมองของมนุษย์อย่างเป็นภววิสัย

(objectivity) เพื่อรอให้นักวิชาการหรือนักวิจัยเข้าไปค้นพบ ความรู้มิได้ไร้เดียงสา

และมิได้เป็นกลางอย่างที่นักสังคมศาสตร์กระแสหลักเข้าใจกันโดยทั่วๆ ไป เนื่องจาก

ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ไม่สามารถแยกขาดออกจากกันได้ระหว่างตัวนักวิจัย

ผู้ทำการศึกษา (subject) กับวัตถุที่ถูกศึกษา (object)

โดยวัตถุในการศึกษาทางสังคมศาสตร์ก็คือ “มนุษย์” นั่นเอง ซึ่งแตกต่าง

อย่างสิ้นเชิงจากก้อนหินที่เป็นวัตถุในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เนื่องจาก

มนุษย์มีจิตสำนึก ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นในการให้ความหมายแก่วัตถุต่างๆ

และมีเจตจำนงเสรีที่จะกระทำการได้อย่างหลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเป็นเช่นนี้

จึงไม่สามารถสร้างกฎทั่วไปขึ้นมาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้ (Rosenberg, 1995;

Flyvbjerg, 2001: Chapter 3)3 ชีวิตมนุษย์อันเต็มไปด้วยความหมายและการใช้ภาษา

รวมทั้งการสื่อสารและการคิดสะท้อนกลับ (reflective thought and communication)

3Anthony Giddens ไดก้ลา่วไวว้า่ นกัสงัคมศาสตรก์ระแสหลกัเลยีนแบบนกัวทิยาศาสตรธ์รรมชาต ิแตข่ณะเดยีวกนักไ็ดน้ำเอาโมเดลของวทิยาศาสตรธ์รรมชาตทิีม่ขีอ้บกพรอ่งในทางปรชัญาตดิมาดว้ย ซึง่กค็อื ลกัษณะประจกัษน์ยิม (empiricism) ของวทิยาศาสตรธ์รรมชาต ิในการนำระบบการอนมุานเชงินรินยัมาใช ้(deductive systems of laws) นัน้เอง ทัง้ๆ ทีใ่นปจัจบุนันี้คงไมเ่หลอืนกัปรชัญาทีม่ชีือ่เสยีงทีย่งัคงเชือ่ในแนวคดิดงักลา่วนีแ้มแ้ตค่นเดยีว ปรชัญาวทิยาศาสตรย์คุหลงัจากคนู (post-Kuhnian philosophy of science) ยอมรบัวา่ วทิยาศาสตรธ์รรมชาตเิปน็ศาสตรข์องการตคีวาม (hermeneutic) กลา่วคอื แมว้า่วทิยาศาสตรธ์รรมชาตจิะพยายามคน้หากฎ (laws) แตก่ฎดงักลา่วนีจ้ะตอ้งผา่นการตคีวามหมาย ซึง่กระทำภายใตบ้รบิทของระบบทฤษฎ ีดงันัน้วทิยาศาสตรธ์รรมชาตจิงึเกีย่วขอ้งกบัการสรา้งกรอบทฤษฎ ี(theory frames) ซึง่เปน็กรอบในการวางพืน้ฐานใหแ้กก่ารตคีวามหมาย ในแงน่ี ้ความพยายามสรา้งกรอบทฤษฎจีงึมคีวามสำคญักวา่การคน้หา “กฎ” (Giddens, 1996: 68)

54ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

อันเป็นความสามารถในการนำตัวเองออกไปภายนอก แล้วมองย้อนกลับมายังตำแหน่ง

แห่งที่ของตัวเองที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นภายใต้บริบทอันเฉพาะเจาะจง

ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับวิถีแห่งการตีความและ

การสร้างความหมายที่ผู้ศึกษามีต่อการกระทำของตนเองและผู้อื่น และประกอบ

ขึ้นด้วยกระบวนการใช้ภาษาในฐานะของการกระทำการ ในแง่นี้ ภววิสัย (objectivity)

จึงหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกับอัตวิสัย (subjectivity) พร้อมๆ กันนั้น ตัวผู้ทำการ

ศึกษาก็ไม่สามารถแยกออกจากตัวผู้ถูกศึกษาได้

การวิเคราะห์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าความสมเหตุสมผล หรือสิ่งที่อ้างว่าเป็น

ความรู้ (knowledge-claims) นั้น ไม่สามารถแยกออกจากค่านิยมและบรรทัดฐาน

เชิงวัฒนธรรมได้ ดังที่นักทฤษฎีแนววิพากษ์จากสำนักแฟรงค์เฟิร์ท (critical theorists

of Frankfurt School) ได้กล่าวว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตผลอันเกิดจาก

กิจกรรมของมนุษย์ (ไม่แตกต่างจากผลิตผลอื่นๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น) ซึ่งแท้จริง

แล้วได้สอดใส่ความคิดเชิงค่านิยมลงไปอย่างเต็มที่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงสามารถวิพากษ์

ได้ว่าความรู้ชุดดังกล่าวนั้นกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร? เกิดขึ้นมาทำไม? และเกิดขึ้น

มาเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของใคร?

นักทฤษฎีสำนักแฟรงค์เฟิร์ทยังได้ตั้งคำถามต่อเป้าหมายในการศึกษา

ค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่อไปอีกว่า แท้จริงแล้วการค้นคว้าดังกล่าวกระทำ

ไปเพราะต้องการที่จะควบคุม/บงการวัตถุที่ศึกษา (รวมทั้งมนุษย์ในฐานะที่เป็น

วัตถุของการศึกษาทางสังคมศาสตร์อีกด้วย) เมื่อเป็นเช่นนี้ ความก้าวหน้าของสังคม

ศาสตร์จึงมิใช่เพื่อเป้าประสงค์ในการตอบสนองต่อการปลดปล่อยมนุษย์ให้มี

ความเป็นอิสระและเจริญก้าวหน้ามากขึ้นแต่ประการใด เนื่องจากสังคมศาสตร์ถูก

นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม/บงการสังคม เพื่อการครอบงำ และ (ในบางกรณี)

เพื่อการทำลายล้าง ในแง่นี้ ความจริงกับค่านิยมไม่สามารถแยกออกจากกันได้

เช่นเดียวกับความรู้กับอำนาจที่หลอมรวมกันเป็นเนื้อเดียว (Foucault, 1980)

เมื่อความรู้/ความสมเหตุสมผล แยกไม่ออกจากทัศนเชิงอัตวิสัย และมีเนื้อหา

ของ “อำนาจ” ถูกบรรจุอยู่ภายในตัวมันเอง ดังนั้นจึงสามารถทำการสรุปอย่างไม่

เกินเลยได้ว่า กลุ่มที่มีความคิด/จุดยืนต่างกัน หรือมีผลประโยชน์ต่างกัน ย่อมมี

ความสมเหตุสมผลต่อเรื่องเดียวกันแตกต่างกัน

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 55

เช่น ความสมเหตุสมผลต่อการก่อสร้างโรงกำจัดขยะ ในทัศนะของชาวบ้าน

ในชุมชนท้องถิ่นย่อมไม่เห็นด้วยที่โรงกำจัดขยะจะไปก่อสร้างขึ้นในหมู่บ้านของตน

เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ในขณะที่หน่วยงาน

เจ้าของโครงการย่อมสนับสนุนความชอบธรรมของการก่อสร้างโรงกำจัดขยะดังกล่าว

โดยอ้างว่าได้พิจารณาเปรียบเทียบผลได้ผลเสียระหว่างทางเลือกต่างๆ อย่างรอบคอบแล้ว

และพบว่าทางเลือกในการก่อสร้างโรงกำจัดขยะขึ้นในชุมชนท้องถิ่นแห่งนี้เป็นทาง

เลือกที่สมเหตุสมผลที่สุด (rationalization of rationality)

ในขณะที่หน่วยงานเจ้าของโครงการได้นำรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับ “การ

ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม” (environmental impact assessment - EIA)

ขึ้นมานำเสนอต่อชาวบ้านเพื่อเป็นการยืนยันถึงความชอบธรรมว่า โครงการก่อสร้าง

โรงกำจัดขยะนี้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำที่สามารถยอมรับได้ และ

หน่วยงานเจ้าของโครงการได้จัดเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับมาตรการป้องกันผล

กระทบเอาไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม จะพบว่าบ่อยครั้งที่ความแตกต่างของความสม

เหตุสมผลสองชุด (คือ ชุดของหน่วยงานเจ้าของโครงการ กับชุดของชาวบ้าน)

ได้นำไปสู่ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงและไม่สามารถจัดการให้ยุติลงได้โดยง่าย

และในหลายกรณีพบว่าชาวบ้านไม่เชื่อถือข้อมูลของหน่วยงานราชการ โดยยืนยัน

ที่จะดำเนินการเคลื่อนไหวประท้วงเพื่อคัดค้านโครงการดังกล่าวอย่างถึงที่สุด

คำกล่าวอ้างของหน่วยงานเจ้าของโครงการดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นคำกล่าว

อ้างที่วางอยู่บนฐานคติที่ว่า การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้าง

ความสมเหตุสมผลที่แยกขาดออกจากอำนาจและผลประโยชน์ อันทำให้สามารถ

ทำการศึกษาได้อย่างเป็นกลางและเป็นภววิสัย เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพิจารณา

ประกอบการตัดสินใจในโครงการ กล่าวคือ หากผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบ

ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูงเกินกว่าที่จะยอมรับได้ และไม่สามารถที่จะกำหนด

มาตรการลดผลกระทบลงได้ ในกรณีนี้ก็จะตัดสินใจยกเลิกโครงการ แต่ถ้าหากว่า

ผลกระทบอยู่ในระดับที่ไม่สูงเกินไป (อยู่ในระดับที่ยอมรับได้) และมีมาตรการลด

ผลกระทบที่ชัดเจน ในกรณีนี้ก็สามารถตัดสินใจก่อสร้างโครงการต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม ฐานคติของหน่วยงานเจ้าของโครงการดังกล่าวนี้เป็นเพียงอุดมคติ

แห่งโครงการสู่ความทันสมัย (modernity project) เท่านั้น ความรู้ไม่เคยเป็นกลาง

56ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ไม่เคยเป็นภววิสัยอย่างโดดๆ ความสมเหตุสมผลไม่เคยแยกขาดออกจากอำนาจ

และผลประโยชน์ กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว ในกระบวนการกำหนดโครงการโดย

ทั่วไปนั้น ก่อนที่จะมีการศึกษา EIA พบว่า ผู้มีอำนาจในหน่วยงานเจ้าของโครงการ

ได้ตัดสินใจที่จะก่อสร้างโครงการดังกล่าวล่วงหน้าไปก่อนแล้ว

ในแง่นี้ การศึกษา EIA จึงดำเนินการด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูล

สำหรับยืนยันความชอบธรรมของโครงการเท่านั้น ส่วนนักวิชาการที่ทำการศึกษา

EIA ก็คือ บริษัทที่ปรึกษาทั้งหลาย ซึ่งถือเป็นผู้รับจ้างการทำรายงาน EIA จาก

หน่วยงานเจ้าของโครงการ ในแง่นี้ บริษัทที่ปรึกษาจึงมีเป้าหมายในการทำงานเพื่อ

รับใช้หน่วยงานเจ้าของโครงการ ซึ่งก็คือ จะต้องเขียนรายงาน EIA ให้สนับสนุน

ความชอบธรรมในการก่อสร้างโครงการ เพื่อทำให้หน่วยงานเจ้าของโครงการพึง

พอใจและให้การยอมรับต่อบริษัทที่ปรึกษา อันจะทำให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ

เลือกที่จะว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดังกล่าวนี้ให้ทำการศึกษารายงาน EIA ในโครงการ

ต่อไปอีก (กลายเป็นผู้รับเหมาทำ EIA ขาประจำ)

ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่า ทั้งหน่วยงานเจ้าของโครงการและบริษัทที่ปรึกษาต่าง

มิได้ปล่อยให้กระบวนการศึกษา EIA เป็นไปด้วยความเป็นกลาง รายงาน EIA จึง

มิได้สะท้อนความจริงอย่างไร้เดียงสา แต่จะพบว่าอำนาจและผลประโยชน์ได้เข้าไป

แทรกแซงจนกลายเป็นเนื้อในของความสมเหตุสมผล โดยการทำให้ความสมเหตุ

สมผลกลายเป็นเพียงรายงานสำหรับสร้างความชอบธรรมในการสนับสนุนการ

ก่อสร้างโครงการเท่านั้น (rationalization and legitimation of rationality) ผลที่

เกิดขึ้นตามมา ก็คือ เมื่อตัดสินใจก่อสร้างโครงการไปแล้ว โครงการจำนวนมากส่ง

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อชาวบ้านอย่างรุนแรงเกินกว่าที่จะยอมรับได้

การศึกษารายงาน EIA ในลักษณะ “ปาหี่” เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ของ

ความสัมพันธ์ระหว่างความสมเหตุสมผลกับอำนาจเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วความสม

เหตุสมผลกับอำนาจต่างสัมพันธ์ต่อกันในทุกๆ ด้านของชีวิต อันเป็นความสัมพันธ์

ที่ซับซ้อน และส่งผลกระทบต่อการทำลายล้างมนุษยชาติในอัตราเร่งอย่างไม่อาจ

หลีกหนีพ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ดำเนินการตรวจสอบในเชิงทฤษฎี

อย่างละเอียดลึกซึ้งต่อไปอีก

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 57

3. บัญญัติ 10 ประการของความสมเหตุสมผล/อำนาจ

นักวิชาการที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความสมเหตุสมผล

กับอำนาจ จนสามารถผลิตข้อเขียนในเรื่องดังกล่าวนี้ออกมาอย่างเฉพาะเจาะจงและ

น่าสนใจอย่างยิ่ง ก็คือ Bent Flyvbjerg ซึ่งในบทนี้จะได้พิจารณาถึงแนวคิดของเขา

อย่างละเอียด

เมื่อ Bent Flyvbjerg ได้ย้ายไปอยู่เมืองออลบอร์ก4 (Aulborg) ประเทศ

เดนมาร์ก เพื่อเริ่มต้นอาชีพสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเมืองนี้ ในขณะ

นั้นรัฐบาลท้องถิ่นกำลังดำเนินโครงการบูรณะและฟื้นฟูเมืองออลบอร์ก Flyvjerg

ได้ใช้เมืองออลบอร์กเป็นเสมือนห้องทดลองสำหรับการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการ

ทำงานที่เป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่า “อำนาจทางสังคม” เนื่องจากโครงการนี้เป็นสมรภูมิ

ให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายกลุ่มต่างเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการใช้

อำนาจ โดยแต่ละกลุ่มต่างผลิตความสมเหตุสมผล พร้อมกับทำให้ความสมเหตุ

สมผลของพวกตนมีอำนาจขึ้น (increasing power of rationality) ในขณะที่บาง

กลุ่มหันมาทำให้อำนาจของพวกเขามีความสมเหตุสมผล (rationality of power)

พลวัตของโครงการฟื้นฟูเมืองออลบอร์กจึงประกอบด้วยความขัดแย้ง สลับกับ

ความร่วมมือ และการประนีประนอมเป็นครั้งคราว

Bent Flyvbjerg ได้ใช้เวลาในการศึกษาวิจัยการดำเนินโครงการดังกล่าวนี้

อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 15 ปี และเขาได้สรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์

ในระดับพื้นฐานระหว่างความสมเหตุสมผลกับอำนาจเอาไว้ในผลงานชื่อ “Rationality

and Power: Democracy in Practice” (1998) โดย Flyvjerg ได้แสดงให้เห็นว่า

ความสัมพันธ์ระหว่างความสมเหตุสมผลกับอำนาจนั้น เป็นความสัมพันธ์ที่ขาด

ความสมดุล เนื่องจากความสมเหตุสมผลมีลักษณะเปราะบางกว่าอำนาจมาก ใน

ขณะที่ความสมเหตุสมผลแตกแยกย่อยออกเป็นเสี่ยงๆ และเป็นอุปสรรคต่อการนำ

เสนอเพื่อก่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายได้

4เมอืงออลบอรก์ (Aulborg) ซึง่เปน็เมอืงขนาดกลางแตเ่ปน็เมอืงศนูยก์ลางและเมอืงหลกัทางดา้นการบรหิารและการคา้สำหรบัภมูภิาคจตัแลนดต์อนเหนอื

58ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

นอกจากนี้ Flyvbjerg (1998: 227-234) ยังได้สรุปความสัมพันธ์ระหว่าง

ความสมเหตุสมผลกับอำนาจออกมาในรูปของประโยคตรรกะจำนวน 10 ข้อ ซึ่ง

ถือว่าเป็นการสร้างทฤษฎีแบบติดดิน (grounded theory) กล่าวคือ ประโยค

ตรรกะดังกล่าวนี้สร้างขึ้นจากปรากฏการณ์รูปธรรม ที่ใช้วิธีการอนุมานเชิงอุปนัย

(inductive reasoning) เพื่อยกระดับของความเป็นนามธรรมให้สูงขึ้น

แม้ว่าทฤษฎีแบบติดดินที่ได้จากบทเรียนของโครงการฟื้นฟูเมืองออลบอร์ก

ดังกล่าวนี้จะเป็นกรณีศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถมอง

ในฐานะของทฤษฎีทั่วไป (general theory) ได้ก็ตาม แต่ประโยคตรรกะดังกล่าวนี้

สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความ

สมเหตุสมผลกับอำนาจในพื้นที่อื่นๆ ในโอกาสต่อไปได้

ประโยคตรรกะ 10 ประการ สามารถสรุปได้ดังนี้

ประโยคตรรกะที่ 1: อำนาจเป็นผู้ให้คำนิยามแก่ความจริง (Power defines reality)

ความจริงมิได้ดำรงอยู่ภายนอกอย่างนิ่งเฉยเพื่อรอการค้นพบจากนักวิจัย

และอำนาจมิได้ต้องการเสาะหาว่าอะไรคือความจริงที่เป็นจริงแท้ (really real) แต่

อำนาจทำหน้าที่เป็นฝ่ายรุกโดยการเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้นิยามแก่ความจริง

ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นคุณสมบัติหลักของความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความสม

เหตุสมผล และจะเห็นถึงกลยุทธ์ที่อำนาจใช้ในความสัมพันธ์กับความสมเหตุสม

ผลดังกล่าว อำนาจมิได้ต้องการค้นหาความรู้/ความสมเหตุสมผลแต่ประการใด

เพราะความรู้/ความสมเหตุสมผลโดยตัวมันเองก็คืออำนาจ (power of rationality)

สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ อำนาจให้การนิยามว่าอะไรที่ควรจะนับเป็นความรู้/

ความสมเหตุสมผล และระบุว่าอะไรไม่ใช่ความสมเหตุสมผล (ซึ่งจะต้องขจัดทิ้ง

เพื่อจะได้ไม่เข้ามารกรุงรังในการพิจารณา) หรือจะกล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ อำนาจ

เป็นผู้ชี้ว่าอะไรคือความจริง (และอะไรไม่ใช่ความจริง) (Flyvbjerg, 1998: 227)

ประโยคตรรกะที่ 2: ความสมเหตุสมผลขึ้นอยู่กับบริบท ซึ่งบริบทของ

ความสมเหตุสมผลก็คืออำนาจ และอำนาจได้สลายเส้นแบ่งระหว่าง “ความ

สมเหตุสมผล” (rationality) และ “การอธิบายที่มีเหตุผล” (rationalization)

(Rationality is context-dependent, the context of rationality is power, and

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 59

power blurs the dividing line between rationality and rationalization)

ความสมเหตุสมผลถูกแทรกแซงจากอำนาจ อันทำให้ความสมเหตุสมผล

กลายเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย และทำให้ความสมเหตุสมผลมีสถานะเป็นเพียงวาท

กรรมของอำนาจเท่านั้น (Rationality is a discourse of power) อย่างไรก็ตาม

การบงการของอำนาจต่อความสมเหตุสมผลนั้นเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เมื่อเป็นเช่นนี้

จึงทำให้นักการเมือง นักบริหารจัดการ และนักวิจัยเกิดความหลงผิด/เข้าใจผิด

โดยคิดว่าพวกตนกำลังดำเนินการอยู่กับความสมเหตุสมผลที่เป็นกลาง เป็นข้อมูล/

ข้อเท็จจริงที่วางอยู่นิ่งๆ อย่างไร้เดียงสา โดยปราศจากอำนาจเข้าไปแทรกซึม/ก่อกวน

กระนั้นก็ตาม นักการเมือง ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจโดยทั่วไปมัก

ต้องการ “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” (rationalization) โดยมิได้ต้องการพิจารณา

“ความสมเหตุสมผล” (rationality) แต่ประการใด ในแง่นี้จึงมิได้กระตุ้นให้มี

ความพยายามในการผลิตความสมเหตุสมผลเพื่อหยิบยื่นให้ผู้มีอำนาจสำหรับใช้

ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจอย่างเฉพาะเจาะจงแต่ประการใด หากสิ่งที่

ถูกผลิตออกมาแทนที่เพื่อมอบให้แก่ผู้มีอำนาจเหล่านั้นกลับกลายเป็นเพียง “การ

อธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” ผลการศึกษาในกรณีของโครงการฟื้นฟูเมืองออลบอร์ก นั้น

Bent Flyvbjerg พบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มต่างนำข้อมูลมาใช้ในฐานะของ

“การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” สำหรับใช้อ้างอิงความชอบธรรมและเป็นไปเพื่อตอบ

สนองต่อผลประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นสำคัญ ข้อมูลในฐานะของ “ความสมเหตุสม

ผล” ที่เป็นกลาง จึงเป็นเพียงอุดมคติที่บรรจุอยู่ในตำราเรียน ซึ่งมีประโยชน์ไม่มาก

ไปกว่าให้นักศึกษาท่องจำเพื่อนำไปตอบข้อสอบเท่านั้น ในแง่นี้จึงแสดงให้เห็นถึง

ความไร้เดียงสาพอๆ กัน ทั้งนักเรียน ตำราเรียน และอาจารย์ผู้สอน เนื่องจากใน

สังคมแห่งความเป็นจริง (นอกห้องเรียน) ซึ่งมีอำนาจไหลเวียนกระจายอยู่ทั่วไป

ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ความสมเหตุสมผลจะหลีกหนีการแทรกแซงของอำนาจเจ้าจอม

เกเรไปได้พ้น

ประโยคตรรกะที่ 3: กลยุทธ์หลักที่อำนาจใช้ คือ การทำให้ “ความสม

เหตุสมผล” ปรากฏโฉมหน้าออกมาให้เห็นในรูปของ “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล”

(Rationalization presented as rationality is a principal strategy in the exercise of power)

60ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ความสัมพันธ์ระหว่าง “ความสมเหตุสมผล” กับ “การอธิบายให้ฟังดูมีเหตุผล”

เป็นความสัมพันธ์ที่อาจเปรียบเทียบให้เห็นได้อย่างชัดเจนโดยใช้ทฤษฎีการละคร

(dramaturgical theory) ของ Erving Goffman (1971) ทฤษฎีดังกล่าวนี้ได้

จำแนกพื้นที่ของเวทีละครออกเป็น 2 ส่วน คือ เวทีส่วนหน้า (front stage) กับ

ส่วนหลัง (back stage) ส่วนหน้าของเวทีเป็นพื้นที่สำหรับการแสดงเพื่อให้ผู้ชม

(สาธารณชน) โดยทั่วไปสามารถมองเห็นได้ แต่พื้นที่หลังเวที เป็นพื้นที่สำหรับ

เตรียมการแสดง ซึ่งผู้แสดงใช้แต่งตัว เปลี่ยนผ้า แต่งหน้า ทาแป้ง เป็นส่วนที่ขาด

ระเบียบ รกรุงรัง และปิดกั้นมิให้สายตาบุคคลภายนอกล่วงล้ำเข้าไปแลเห็นได้

บนส่วนหน้าของเวทีแห่งอำนาจจะปรากฏโฉมให้เห็นในรูปของ “ความสม

เหตุสมผล” แต่บ่อยครั้งที่ “ความสมเหตุสมผล” ดังกล่าวนี้เป็นเพียงหน้ากาก

เท่านั้น ส่วนของจริงที่เป็นเนื้อในกลับกลายเป็น “การอธิบายให้ฟังดูมีเหตุผล”

เท่านั้น ส่วนพื้นที่หลังเวทีซึ่งประชาชนโดยทั่วไปมองไม่เห็นนั้น จะเป็นพื้นที่ที่ถูก

ครอบงำอย่างชัดแจ้งจาก “อำนาจ” และ “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” กระนั้นก็ตาม

มิใช่ว่าเนื้อในของเวทีส่วนหน้าที่เป็นเพียง “การอธิบายให้ฟังดูมีเหตุผล” นั้น จะ

แสดงให้เห็นถึงความไม่ซื่อสัตย์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ประการใด เนื่องจากพวก

เขาต่างเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่า “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” ที่พวกเขานำเสนอหน้า

เวทีนั้น คือ “ความสมเหตุสมผล” ซึ่งสำหรับ Friedich Nietzsche แล้ว ถือว่าการ

หลอกลวงตนเอง (โดยไม่รู้ตัว) ดังกล่าวนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเจตจำนง

สู่อำนาจ (the will to power) อันทำให้การแสดงของอำนาจเป็นไปอย่างเป็น

ธรรมชาติที่สุด (Flyvbjerg, 1998:228)

แม้ว่า “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการทำให้

อำนาจมีความสมเหตุสมผล (the rationality of power) แต่ผู้มีอำนาจไม่สามารถ

ทำให้ข้อมูลกลายเป็นเพียงแค่ “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” ได้อย่างไม่จำกัด

ขอบเขต แท้จริงแล้วไม่สามารถลดทอนกิจกรรมทางด้านการเมืองและการบริหาร

ให้กลายเป็น “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ “การอธิบายที่

ฟังดูมีเหตุผล” ก็มีระดับของเหตุผลที่แตกต่างกันได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ “การอธิบายที่

ฟังดูมีเหตุผล” ชุดหนึ่งอาจถูกท้าทายจาก “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” ชุดอื่นๆ

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 61

ได้ กระนั้นก็ตาม “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” บางชุดในบางสถานการณ์เป็นสิ่งที่

แตะต้องไม่ได้ เนื่องจากเมื่ออยู่บนพื้นที่ของเวทีส่วนหน้าก็จะปรากฏโฉมให้เห็นใน

รูปของ “ความสมเหตุสมผล” ในขณะเดียวกัน บางครั้งอำนาจก็จะเข้าไปให้การ

สนับสนุนอยู่เบื้องหลังของ “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล” อย่างแน่นหนา จนทำให้

ไม่สามารถวิพากษ์หรือเปิดโปงให้เห็นเนื้อในของมันได้ ในแง่นี้จึงถือว่าอำนาจทำ

หน้าที่ปกป้องหน้ากากของ “ความสมเหตุสมผล” มิให้ถูกถอดออก เพื่อปิดโอกาส

มิให้เผยโฉมหน้าที่แท้จริงของเนื้อในที่เป็นส่วนของ “การอธิบายที่ฟังดูมีเหตุผล”

ประโยคตรรกะที่ 4: ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไร ก็ยิ่งจะมี “ความสมเหตุสมผล”

น้อยลงเท่านั้น (The greater the power, the less the rationality)

สิทธิพิเศษประการหนึ่งที่อำนาจครอบครองเอาไว้กับตัว โดยสิทธิพิเศษดัง

กล่าวนี้เป็นองค์ประกอบที่บรรจุอยู่ภายในอันทำให้อำนาจมีความสมเหตุสมผลขึ้น

ก็คือ สิทธิพิเศษของอำนาจในการนิยามความจริง (the privilege of power to

define reality) นั่นหมายความว่า ยิ่งมีอำนาจมากเท่าไร อำนาจก็ยิ่งมีสิทธิพิเศษ

ในการนิยามความจริงตามที่ตนต้องการได้มากขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็จะทำให้

อำนาจมีความจำเป็นน้อยลงที่จะทำความเข้าใจว่า ความเป็นจริงนั้นถูกสร้างขึ้นมา

จริงๆ ได้อย่างไร ดังนั้น เมื่อมีอำนาจมากเท่าไร ก็ยิ่งมีสิทธิพิเศษในการชี้ว่าอะไร

จริงหรือไม่จริงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว อันจะส่งผลให้อำนาจ “กร่าง” มากขึ้นตาม

ไปด้วย ในแง่นี้จึงแสดงให้เห็นว่า คนที่มีอำนาจมากก็ยิ่งต้องการความสมเหตุสม

ผลน้อยลง คิดน้อยลง รอบคอบน้อยลง ในขณะที่วางท่าทาง “กร่าง” มากขึ้น และ

พูดจาเสียงดังมากขึ้น

ตรงข้ามกับคนตัวเล็กตัวน้อย ที่ไม่ค่อยมีอำนาจอะไรมากนัก เสียงพูดของ

พวกเขาจึงแผ่วเบา แต่เพื่อให้คนอื่นได้ยิน เจ้าคนตัวเล็กตัวน้อยจึงต้องใช้ “ความ

สมเหตุสมผล” ให้หนักแน่นมากขึ้น ความมุ่งมาดปรารถนาของกระบอกเสียงของ

ฝ่ายที่สนับสนุนโครงการแสงสว่างทางปัญญา (enlightenment project) ได้สร้าง

ความหวังให้แก่คนชายขอบผู้ไร้อำนาจทั้งหลายว่า ในสังคมประชาธิปไตยนั้น ผู้ไร้

อำนาจทั้งหลายสามารถครอบครองอำนาจได้ โดยใช้การโต้แย้งเชิงเหตุผลเป็น

เครื่องมือ แม้ว่าจะเป็นอำนาจที่มีขอบเขตจำกัดก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่

62ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

จะทำให้ความสมเหตุสมผลมีอำนาจขึ้นมาได้ (power of rationality) เนื่องจาก

เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ผู้ไร้อำนาจสามารถสถาปนาอำนาจของตนเองขึ้นมา

ประโยคตรรกะที่ 5: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีลักษณะมั่นคง เป็นแบบแผนที่

สามารถพบเห็นได้ในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร มากกว่าการเผชิญหน้าแบบเป็น

ปฏิปักษ์ (Stable power relations are more typical of politics and administration

than antagonistic confrontations)

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีเสถียรภาพมั่นคง เป็นความสัมพันธ์ที่ผู้มีส่วนได้

ส่วนเสียใช้วิธีการเจรจาต่อรอง การแสวงหาจุดร่วม และแสวงหาความร่วมมือ

ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ แม้หลีกเลี่ยงการใช้อำนาจไปไม่พ้นแต่ก็มีลักษณะของการ

ประนีประนอมเพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ ส่วนความสัมพันธ์แบบ

เผชิญหน้าเป็นความสัมพันธ์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมุ่งเอาชนะกันอย่างไม่ปิดบังอำพลาง

ในแง่นี้ จึงหนีไม่พ้นที่จะต้องมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พ่ายแพ้เพื่อหลีกทางให้แก่ฝ่ายที่มี

อำนาจเหนือกว่าเป็นผู้กุมชัย ความสัมพันธ์แบบเผชิญหน้าดังกล่าวนี้จึงเต็มไปด้วย

ความตึงเครียดเนื่องจากมีการใช้อำนาจกระทำต่อกันสูงและมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์

ในสถานการณ์ปกติโดยทั่วไป สามารถพบเห็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มี

ลักษณะมั่นคงได้โดยทั่วไป และสามารถพบเห็นบ่อยกว่าความสัมพันธ์ของการ

เผชิญหน้าแบบเป็นปฏิปักษ์ ในทำนองเดียวกัน ในสังคมปัจจุบันนี้สามารถพบเห็น

สันติภาพได้โดยทั่วไปมากกว่าสภาวะสงคราม ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากโดย

ปกติคนเรามักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าแบบเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

แต่เมื่อไรก็ตามที่การเผชิญหน้าในลักษณะดังกล่าวกำลังเกิดขึ้น บ่อยครั้งที่

รูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนไป โดยทั้งสองฝ่ายปรับตัวและหันหน้า

มาประนีประนอมต่อกัน อันนำไปสู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีลักษณะมั่นคงภายใน

ไม่ช้า และเนื่องจากสามารถมองเห็นการเผชิญหน้าแบบเป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้ง่าย

กว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีลักษณะมั่นคง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเผชิญหน้า

แบบเป็นปฏิปักษ์กลายเป็นหัวข้อเรื่องที่ได้รับความสนใจมากกว่า ทั้งในแง่ของการ

ศึกษาวิจัย เป็นประเด็นถกเถียงในเวทีสาธารณะ และการพาดหัวข่าวบนหน้า

หนังสือพิมพ์ ในขณะที่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีลักษณะมั่นคงมักจะมองไม่ค่อย

เห็นและดังนั้นจึงไม่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการหรือสื่อมวลชนมากนัก ด้วย

เหตุนี้จึงทำให้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีลักษณะมั่นคงยืนยาว ยังคงเป็นปริศนา

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 63

ทางวิชาการอยู่มาก

ประโยคตรรกะที่ 6: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจถูกผลิตขึ้นและมีการผลิต

ทดแทนขึ้นใหม่ตลอดเวลา (Power relations are constantly being produced

and reproduced)

แม้ว่าจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีอายุยืนยาวที่สุดหลายรูปแบบ

ซึ่งสามารถสืบสาวเรื่องราวย้อนหลังไปยังหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อหลาย

ศตวรรษที่ผ่านมาก็ตาม แต่รูปแบบของความสัมพันธ์เชิงอำนาจอันเก่าแก่ดังกล่าว

นี้มิใช่ว่าจะสืบทอดต่อมาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา)

กล่าวในลักษณะทั่วไปจะได้ว่า ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

โดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยกลไกในการรักษาสภาพเดิม กลไกการ

เปลี่ยนแปลง/ดัดแปลง/ปรับปรุง/เพิ่มเติมสิ่งใหม่ และมีการสืบทอดต่อมา

ในกรณีของโครงการฟื้นฟูเมืองออลบอร์ก พบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละ

กลุ่มจะให้ความสำคัญต่อประเด็นในการดำรงรักษา กระทำการเปลี่ยนแปลง หรือ

สืบทอดอำนาจแตกต่างกัน กล่าวคือ เครือข่ายของนักธุรกิจให้ความสนใจและใช้

ความพยายาม (มากกว่านักการเมืองหรือนักการวางแผน) ในการผลิตทดแทนขึ้น

ใหม่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจให้สืบทอดต่อมา โดยนักธุรกิจเหล่านั้นได้สร้างตำแหน่ง

กึ่งสถาบัน (a semi-institutionalized position) ให้แก่ตัวเองขึ้น เพื่อทำให้พวก

เขาสามารถใช้ความสมเหตุสมผลเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลได้

อย่างทรงพลังมากขึ้น

ประโยคตรรกะที่ 7: ความสมเหตุสมผลของอำนาจ มีความเป็นมาทาง

ประวัติศาสตร์ที่หยั่งรากลึกกว่าอำนาจของความสมเหตุสมผล (The rationality

of power has deeper historical roots than the power of rationality)

แนวคิดทางประวัติศาสตร์ของ Fernand Braudel ที่เรียกว่า longue duree ซึ่ง

ได้แก่ แนวคิดประชาธิปไตย ความสมเหตุสมผล และความเป็นกลาง แนวคิด

เหล่านี้เป็นแกนกลางของสถาบันสมัยใหม่ อันถือว่าเป็นแนวคิดที่มีอายุน้อยและ

เปราะบาง เมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดเก่าแก่แบบดั้งเดิมเฉกเช่น “ชนชั้น” (class)

และ “อภิสิทธิ์” (privilege) ในกรณีของโครงการฟื้นฟูเมืองออลบอร์ก พบว่า

64ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ความสมเหตุสมผลของอำนาจอันเก่าแก่ที่สืบทอดมาหลายศตวรรษ (เช่น การใช้อภิสิทธิ์)

ยังคงมีอิทธิพลอยู่ในสถาบันสมัยใหม่ ด้วยเหตุนี้จะพบว่าการกำหนดนโยบายและ

การบริหารจัดการโครงการฟื้นฟูเมืองออลบอร์ก วางอยู่บนรากฐานของความสัมพันธ์

เชิงอำนาจก่อนสมัยใหม่ควบคู่ไปกับความสมเหตุสมผลแบบสมัยใหม่ ผลที่เกิด

ขึ้นก็คือ พบว่ามีการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด (abuse of power) และมีการเล่น

พรรคเล่นพวกปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไปในสถาบันสมัยใหม่

อำนาจของความสมเหตุสมผล (power of rationality) ของความคิดสมัย

ใหม่เฉกเช่น “ประชาธิปไตย” และ “ความสมเหตุสมผล” ส่วนใหญ่แล้วยังเป็นเพียง

อุดมคติหรือความคาดหวังที่ยังไม่อาจบรรลุผลได้ ในแง่นี้จึงถือว่า “ความทันสมัย”

และ “ประชาธิปไตย” เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจ แต่มิใช่เป็นจุดสิ้นสุดหรือจุดสุดท้าย

ของอำนาจ เหมือนดั่งที่ Michel Foucault ได้กล่าวว่า ความทันสมัยและประชาธิปไตย

มิได้ปลดปล่อยมนุษย์จากความเป็นอยู่ดังที่เขาเป็น ดังนั้นความทันสมัยและประชาธิปไตย

จึงมิได้ทำให้บุคคลมีอิสระจากการถูกปกครองได้ (Foucault, 1984: 42, 46)

ประโยคตรรกะที่ 8: ในสถานการณ์ที่ใช้วิธีการเผชิญหน้าแบบเปิดเผยนั้น

ความสมเหตุสมผลย่อมพ่ายแพ้ต่ออำนาจ (In open confrontation, rationality

yields to power)

Michel Foucault ได้กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับอำนาจ และ

ความสมเหตุสมผลกับอำนาจ ดำรงอยู่ในทุกๆ แห่ง (Foucault, 1980) ที่ใด

ก็ตามที่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจอยู่ในรูปแบบของการเผชิญหน้าแบบเป็นปฏิปักษ์

ต่อกันอย่างเปิดเผย ในที่แห่งนั้นก็จะมีความสัมพันธ์ที่สองฝ่ายต่อกรกันอย่างไม่

ลดละ ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าวนั้น ความสัมพันธ์ระหว่าง “อำนาจ/อำนาจ”

เข้าครอบงำเหนือความสัมพันธ์ที่ใช้ทั้ง “ความรู้/อำนาจ” และ ความสัมพันธ์ที่ใช้

ทั้ง “ความสมเหตุสมผล/อำนาจ” ภายใต้สถานการณ์ของความสัมพันธ์ระหว่าง

“อำนาจ/อำนาจ” ดังกล่าวนั้น ฝ่ายที่มีอำนาจให้ความสำคัญต่อความรู้กับความ

สมเหตุสมผลต่ำ (หรือไม่ให้ความสำคัญเลย) ในสถานการณ์ที่มีการเผชิญหน้า

แบบเปิดเผยดังกล่าวนี้ การกระทำที่จะได้รับความสำคัญก็คือ การกระทำที่ส่งผล

ให้สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ การใช้

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 65

อำนาจแบบเปิดเผย/เปลือยเปล่าก็จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้อำนาจที่วางอยู่

บนฐานของความรู้/ความสมเหตุสมผล/ข้อเท็จจริง

ประโยคตรรกะที่ 9: ความสัมพันธ์ของความสมเหตุสมผลกับอำนาจ

เป็นลักษณะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีความมั่นคงยืนยาว มากกว่าการ

ใช้วิธีการเผชิญหน้า (Rationality-power relations are more characteristic of

stable power relations than of confrontations)

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสมเหตุสมผลกับอำนาจ หมายถึงการใช้อำนาจของ

ความสมเหตุสมผล ซึ่งก็คือ แบบแผนของการตัดสินใจที่ให้ความสำคัญกับการ

พิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูล คำนึงถึงระดับของความเห็นพ้องต้องกัน

และความชอบธรรมของการตัดสินใจที่จะส่งผลตามมา ในขณะที่ความสัมพันธ์แบบ

เผชิญหน้าระหว่างอำนาจกับอำนาจในลักษณะที่เปลือยเปล่านั้น จะไม่ค่อยให้ความ

สนใจต่อเหตุผล/ข้อมูล และมิได้คำนึงถึงความชอบธรรมของการกระทำ เมื่อเป็น

เช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่วางอยู่บนฐานของความสมเหตุสม

ผลมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่มีเสถียรภาพยืนยาวมากขึ้น ในขณะที่การ

ใช้อำนาจดิบเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้ามจะมีลักษณะชั่วคราวและอายุสั้น

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่วางอยู่บนฐานของความสมเหตุสมผล

มิได้หมายความว่าทุกฝ่ายจะมีอำนาจที่สมดุลกัน กล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ ความสัมพันธ์

เชิงอำนาจที่มั่นคงยืนยาวมิได้หมายถึงความสัมพันธ์ที่ทุกฝ่ายมีอำนาจใกล้เคียงกัน

หรือทุกฝ่ายต่างได้รับการปฏิบัติ/ได้รับส่วนแบ่งของผลประโยชน์ที่ยุติธรรม ความ

สัมพันธ์เชิงอำนาจที่มั่นคงยืนยาวอาจหมายถึงการครอบงำของผู้ที่มีอำนาจสูงกว่า

ความเห็นพ้องต้องกันในลักษณะที่พอยอมรับกันได้เป็นครั้งๆ ไป (working consensus)

โดยอาจมีการบิดเบือนข้อมูลเพื่อทำให้มีความสมเหตุสมผลมากขึ้น

ประโยคตรรกะที่ 10: อำนาจของความสมเหตุสมผลฝังแน่นอยู่ในความสัมพันธ์

เชิงอำนาจที่มั่นคงยืนยาว มากกว่าที่จะอยู่เคียงคู่กับการต่อสู้แบบเผชิญหน้า (The

power of rationality is embedded in stable power relations rather than in confrontations)

การใช้วิธีต่อสู้แบบเผชิญหน้าเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้อำนาจมีความสมเหตุ

สมผล แต่มิได้ทำให้ความสมเหตุสมผลกลายเป็นอำนาจขึ้นมาแต่ประการใด ในขณะ

66ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ที่ความสมเหตุสมผลต้องพ่ายแพ้ต่ออำนาจในเวทีการต่อสู้แบบเผชิญหน้า

เนื่องจากภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวนี้อำนาจของความสมเหตุสมผล หรือพลังของ

การใช้เหตุผล (the force of reason) จะถูกเหยียบเอาไว้และดังนั้นจึงเป็นพลังที่อ่อนแอ

แต่พลังของเหตุผลจะสามารถใช้ศักยภาพของตัวมันเองได้สูงสุดภายใต้

สถานการณ์ของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มั่นคงยาวนาน เนื่องจากเกมของความ

สัมพันธ์เชิงอำนาจที่มั่นคงยืนยาวจะวางอยู่บนการเจรจาต่อรอง การแสวงหาจุดร่วม

ความร่วมมือ และการประนีประนอม อันทำให้พลังของเหตุผลสามารถใช้ศักยภาพ

ได้สูงสุด เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่า อำนาจของความสมเหตุสมผลจะสามารถ

รักษาเอาไว้ได้ภายใต้เงื่อนไขที่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจมีเสถียรภาพมั่นคงยืนยาว

แม้ว่าอาจมีความขัดแย้งดำรงอยู่ แต่ไม่รุนแรงเข้มข้นถึงระดับขั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

4. ทัศนะอันไร้เดียงสาของสภาวะสมัยใหม่ต่อการมองความสม

เหตุสมผล

อำนาจทำหน้าที่ผลิตความสมเหตุสมผลขึ้นมา (โดยอำนาจเป็นผู้ให้นิยามหรือ

บ่งชี้ว่าข้อมูลชุดใดมีความสมเหตุสมผล และข้อมูลชุดใดไม่มีความสมเหตุสมผล

หรือมีความสมเหตุสมผลน้อยกว่า) ในขณะเดียวกันความสมเหตุสมผลก็ทำหน้าที่

ผลิตอำนาจขึ้นมาเช่นเดียวกัน เนื่องจากความสมเหตุสมผลสามารถจูงใจให้เกิด

การคล้อยตามและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งได้ (หรือที่เรียกว่า

อำนาจของความสมเหตุสมผล) กระนั้นก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความ

สมเหตุสมผลเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน แม้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองจะมี

พลวัตและเหลื่อมซ้อนกันอย่างสูง แต่โดยปกติแล้วอำนาจจะอยู่ในสถานะเหนือกว่า

และครอบงำต่อความสมเหตุสมผลเสมอ คำกล่าวของ Blaise Pascal ที่ว่า “อำนาจ

มีความสมเหตุสมผลโดยที่ความสมเหตุสมผลไม่รู้ แต่ในขณะเดียวกัน ความสม

เหตุสมผลกลับไม่มีอำนาจที่อำนาจไม่รู้” (Power has a rationality that rationality

does not know. Rationality, on the other hand, does not have a power that

power does not know - อ้างจาก Flyvbjerg, 1998: 234) กล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ

“อำนาจมีความสมเหตุสมผลโดยที่ความสมเหตุสมผลไม่รู้ แต่ความสมเหตุสมผล

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม 67

มีอำนาจโดยที่อำนาจรู้” เมื่อไก่เห็นตีนงู แต่งูมองไม่เห็นนมไก่ ก็ย่อมทำให้ความ

สมเหตุสมผลตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบ และต้องเป็นรองหรือพ่ายแพ้ต่ออำนาจ

อย่างมิอาจหลีกหนีได้พ้น

สภาวะความทันสมัย (modernity) และความเป็นประชาธิปไตย (democracy)

เป็นสภาวะที่ขึ้นอยู่กับความสมเหตุสมผลเป็นประเด็นสำคัญ สภาวะความทันสมัย

มีความเชื่อว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุมีผล มนุษย์สามารถนำความสมเหตุสมผลมา

ใช้ในการจัดการต่อธรรมชาติ และจัดระเบียบทางสังคม อันจะทำให้มนุษย์สามารถ

อยู่ร่วมกันภายในสังคมด้วยความเจริญรุ่งเรือง (prosperity) เจริญก้าวหน้า (progress)

และสันติสุข

ส่วนแนวคิดประชาธิปไตยมีความเชื่อว่า ด้วยความมีเหตุมีผลของมนุษย์ ทำให้

มนุษย์สามารถดำรงตนในฐานะของปัจเจกชนที่มีสิทธิและเสรีภาพได้อย่างสงบสุข

และเจริญก้าวหน้า ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ปัจเจกชนมีความเป็นอิสระ ปัจเจกชน

จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่อยู่บนฐานของความเป็นเหตุเป็นผลได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ฐานคติที่ว่าด้วยความมีเหตุมีผลของมนุษย์นั้นมิได้ดำรงอยู่จริง

แต่เป็นเพียงอุดมคติ (ideal) หรือความมุ่งมาดปรารถนาที่ยังไม่บรรลุ (และดูเหมือนว่า

จะไม่สามารถบรรลุได้) เนื่องจากมนุษย์ที่มีชีวิตและเลือดเนื้อย่อมเต็มไปด้วยอารมณ์/

ความรู้สึก ในขณะที่ความพยายามใช้ความสมเหตุสมผลของมนุษย์ก็กลับเหลื่อมซ้อน

กับอำนาจ จนแยกกันไม่ออกระหว่างอำนาจกับความสมเหตุสมผล ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่

Bent Flyvbjerg ได้ชี้ให้เห็นก็คือว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความสมเหตุสมผล

หาได้เป็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมไม่ โดยอำนาจเป็นฝ่ายที่อยู่ในสถานะเหนือกว่า

และครอบงำ/บงการความสมเหตุสมผล อันทำให้ความสมเหตุสมผลตกอยู่ในสภาวะ

อ่อนแอและไร้พลัง

เมือ่เปน็เชน่นี ้ สภาวะความทนัสมยัทีฝ่ากอนาคตของตนเองไวก้บัความสมเหตสุมผล

แต่ในความเป็นจริงทางด้านภววิทยาของความสมเหตุสมผล (ontology of rationality)

ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ก็คือ ความสมเหตุสมผลดำรงอยู่ในสภาพอ่อนปวกเปียก

เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้รากฐานของสภาวะความทันสมัยตกอยู่ในสภาพอ่อนแอ

68ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ตามไปด้วย (Flyvbjerg, 2001: 155) อันแสดงออกให้เห็นในรูปของ “การเจริญเติบโต

ที่เต็มไปด้วยวิกฤติ” (ซึ่งไม่ต่างไปจาก “คนร่างโตสูงใหญ่แต่เต็มไปด้วยโรคร้าย”)

เมื่อโครงการมุ่งสู่ความทันสมัย (modernity project) ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างเร่งรีบ

วิกฤติการณ์ต่างๆ ก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กันอย่างไม่รอช้า ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติด้านนิเวศวิทยา

และสิ่งแวดล้อม วิกฤติเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและเกิดถี่ขึ้น ยาเสพติด

ที่นับวันจะมีหลากหลายประเภทให้เลือกมากขึ้นและมีผู้เสพจำนวนมากขึ้น อาชญากรรม

นบัวนัจะเกดิถีข่ึน้และสะเทอืนขวญัมากขึน้ นอกจากนีย้งัมสีงคราม การฆา่ลา้งเผา่พนัธุ ์ฯลฯ

กล่าวอย่างตรงไปตรงมาที่สุดก็จะได้ว่า อหังการ์ของมนุษย์กำลังนำมนุษย์ไปสู่หายนะ

เนื่องจากมนุษย์กำลังก้าวเดินสู่หนทางแห่งความทันสมัยท่ามกลางความมืดบอด/อับแสง

ของความสมเหตุสมผล ขณะเดียวกันก็ตกอยู่ในภวังค์แห่งอำนาจ

ในทำนองเดียวกัน รากฐานของแนวคิดประชาธิปไตย ซึ่งแขวนอยู่บนฐานคติ

ที่ว่าด้วย “ความมีเหตุมีผลของมนุษย์” แต่ความอ่อนแอของฐานรากดังกล่าวได้

ดึงเอาปฏิบัติการประชาธิปไตยบนเวทีแห่งความเป็นจริงตกอยู่ในสภาวะวิกฤติ

ตามไปด้วย (Flyvbjerg, 2001: 155) ดังจะพบว่าประชาชนลงคะแนนเลือกตั้ง

บนพื้นฐานของการตัดสินใจแบบ “มั่ว” เนื่องจากเป็นการตัดสินใจเลือกที่ไม่มี

ข้อมูลเพียงพอสำหรับใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อค้นหาทางเลือกที่ดีที่สุด

ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบ “มั่ว” ที่ชัดเจนที่สุด (มิได้คิดวิเคราะห์อย่างมี

เหตุมีผล และไม่มีข้อมูลสำหรับการพิจารณาเชิงประจักษ์) ได้แก่ การลงคะแนน

เสียงประชามติเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งจะพบว่า ประชาชน

เกือบทั้งหมด (ทั่วประเทศ) ไม่ได้อ่านและไม่เคยรับทราบเกี่ยวกับเนื้อหาของร่าง

รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมาก่อน แต่ประชาชนก็ไปลงคะแนน “รับรอง” หรือ “ไม่

รับรอง” กันอย่างล้นหลาม การลงคะแนนเสียงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ประชาชน

สามารถตัดสินใจเลือกได้โดยไม่ต้องอาศัยการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่

จะกระทำการแต่ประการใด

และเมื่อคนเราสามารถ “ปฏิบัติการ” ได้โดยไม่ต้องใช้สมองในการ “คิดเชิง

เหตุผล” คนเราสามารถหลับตาเลือกได้โดยไม่ต้องดู/ไม่ต้องมีการพิจารณาไตร่ตรอง

เมื่อเป็นเช่นนี้ ปัญหาต่างๆ จึงเกิดขึ้นตามมา เช่น ผู้ที่มีคดีเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่น

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

69

อยูใ่นศาลกลบักลายเปน็ผูช้นะการเลอืกตัง้ เจา้พอ่/มาเฟยีไดร้บัเลอืกใหด้ำรงตำแหนง่

รัฐมนตรี โจรได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรี รัฐบาลมีการออกนโยบายได้สำเร็จ

ท่ามกลางเสียงคัดค้านทั่วบ้านทั่วเมือง ฯลฯ เมื่อการกระทำถูกขับเคลื่อนด้วยความมั่ว

(ทำโดยไม่คิด) เต็มไปด้วยอคติและอำนาจ ในขณะที่มีส่วนผสมของความสมเหตุ

สมผลต่ำ การกระทำดังกล่าวย่อมนำไปสู่ผลกระทบทางลบอย่างรุนแรงตามมาอย่าง

มิอาจหลีกเลี่ยงได้พ้น

แน่นอนที่สุดทางออกของปัญหาคงจะไม่ใช่ว่า “ประชาธิปไตยมีข้อบกพร่อง

เนื่องจากวางอยู่บนฐานคติที่ผิด (เพราะเอาเข้าจริงแล้วมนุษย์มิได้มีเหตุมีผล) เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ทางแก้ที่ถูกต้องก็คือ การหันมาสนับสนุนระบอบเผด็จการ เพื่อสถาปนา

พลังอำนาจอันแข็งแกร่งสำหรับใช้ในการควบคุมมนุษย์มิให้ออกนอกลู่นอกทาง”

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการควบคุมบงการต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์นั้น

เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาสำหรับมนุษย์อย่างยิ่ง ดังนั้นสังคมคงจะหันไปหาระบอบ

เผด็จการเหมือนในอดีตไม่ได้อีกแล้ว ในขณะเดียวกัน สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่

มนุษย์สมัยใหม่ทุกคนปรารถนาและใฝ่หามาครอบครองให้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางออก

ของวิกฤติการณ์ก็คือ หนทางแห่งการพัฒนาประชาธิปไตยจะต้องได้รับการสนับสนุน

ให้เดินหน้าต่อไป

แต่สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงก็คือ “ฐานคติว่าด้วยความสมเหตุสมผลของมนุษย์

ทั้งมวล” เนื่องจากที่ผ่านมา เทคโนแครท นักวิชาการ และนักบริหารต่างให้ความสนใจ

และมุ่งผลักดันเพื่อให้มนุษย์ได้พัฒนาความสมเหตุสมผลของพวกตนเป็นด้านหลัก

(เช่น การจัดสรรงบประมาณในการขยายโรงเรียนจำนวนมาก ขยายมหาวิทยาลัย และ

ผู้ปกครองต่างส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษา ทั้งหมดนี้ต่างดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์

ในการทำให้สมาชิกของครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยส่วนรวมมีความรู้/มีความ

คิดที่อยู่บนฐานของความสมเหตุสมผลมากขึ้นนั่นเอง) แต่การมุ่งให้การสนับสนุน

เพียงมิติของความสมเหตุสมผลเพียงมิติเดียว ทำให้ละเลยที่จะศึกษาเพื่อทำความ

เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง “ความรู้กับอำนาจ”

โดยนักวิชาการที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอำนาจ (อาทิ Dahl, 1986;

Mills, 1956; Hunter, 1980; Domhoff, 1978; Bachrach and Baratz, 1962;

70ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

1963; Lukes, 1974; 1977) นักวิชาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นนักคิดที่ให้ความ

นิยมในแนวคิดพหุนิยม (Pluralism) พหุพาคี (Corporatism) ชนชั้นนำ (Elitism)

และมาร์กซีสต์ (Marxism) ก็ตาม พวกเขาต่างมอง “อำนาจ” ในฐานะที่เป็น

ทรัพย์สิน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สามารถครอบครองได้ (โดยส่วนตัว หรือโดยกลุ่ม

หรือโดยสถาบัน) สะสม/เพิ่มพูนได้ ซึ่งการแข่งขัน/แย่งชิงอำนาจระหว่างกันใน

ระยะยาวจะก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในเชิงอำนาจ มีการรวมศูนย์อำนาจและ

ก่อตัวเป็นศูนย์กลางอำนาจขึ้น พร้อมๆ กับเบียดขับส่วนอื่นๆ ให้กลายเป็นผูไ้ร้

อำนาจและดำรงสถานะอยู่ในบริเวณชายขอบ (marginalization) เมื่อความสัมพันธ์

เชิงอำนาจดังกล่าวมีการผลิตทดแทนขึ้นใหม่และตกผลึกขึ้น

คำถามที่นักวิชาการกระแสหลักให้ความสนใจก็คือ “ใครเป็นผู้มีอำนาจ?”

“โครงสร้างอำนาจมีลักษณะเช่นไร?” นักวิชาการกลุ่มนี้มองอำนาจในเชิงลบ (กดขี ่

เชิงทำลาย และเอารัดเอาเปรียบ) ดังนั้นจึงปฏิเสธที่จะนำมโนทัศน์ดังกล่าวเข้าไป

เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่อง “ความรู้/ความสมเหตุสมผล” ในแง่นี้ การศึกษาเกี่ยว

กับ “อำนาจ” จึงถูกแยกขาดออกจากมโนทัศน์ว่าด้วย “ความรู้/ความสมเหตุสม

ผล” โดยนักวิชาการมีเจตนาที่จะแยกขาด “อำนาจ” ออกจาก “ความรู้/ความสม

เหตุสมผล” และมีความเชื่ออย่างสนิทใจ (ไม่เคยมีการตั้งข้อสงสัยแม้แต่น้อย) ว่า

“อำนาจ” เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับ “ความรู้/ความสมเหตุสมผล”

กล่าวอีกแง่หนึ่งก็จะได้ว่า “ความรู้/ความสมเหตุสมผล” ไม่เกี่ยวข้องกับ “อำนาจ”

ในแง่นี้ นักวิชาการ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปฏิฐานนิยม - Positivists) ได้มีข้อ

เสนอให้ศึกษาระบบสังคมและพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเป็นภาวะวิสัย (objectivity)

รวมทั้งไม่นำค่านิยมส่วนตัวของนักวิชาการ/นักวิจัยเข้าไปเจือปน/แฝงเร้น

(value-free) กับความรู้/ความสมเหตุสมผล โดยพวกเขาเหล่านี้เข้าใจผิดอย่าง

ใหญ่หลวง เนื่องจากข้อเสนอว่าด้วย “ภาวะวิสัยของความรู้” เป็นเพียงอุดมคติ

ที่ไม่มีวันจะปรากฎเป็นจริงขึ้นมาได้

ความเข้าใจผิดของนักวิชาการดังกล่าว สามารถสรุปเป็นประโยคตรรกะ ได้

ดังนี้ ข้อเสนอเชิงตรรกะที่ 1: ความรู้/ความสมเหตุสมผลแยกขาดออกจาก

อำนาจได้ ข้อเสนอเชิงตรรกะที่ 2: อำนาจเป็นสิ่งชั่วร้าย ข้อเสนอเชิงตรรกะที่ 3:

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

71

ความสมเหตุสมผล/ความรู้ (ทางวิทยาศาสตร์) เท่านั้นที่จะนำความเจริญงอกงาม

มาสู่มนุษย์

จากข้อเสนอเชิงตรรกะที่ 1-3 สามารถนำไปสู่ข้อสรุปเป็นประโยคตรรกะที่ 4

ได้ว่า: โครงการสู่สภาวะสมัยใหม่ซึ่งต้องการความเจริญงอกงาม ในขณะที่หลีกเลี่ยง

มิให้ความชั่วร้ายเข้ามาเหยียบย่ำ เมื่อเป็นเชนนี้ โครงการสู่ความสมัยใหม่จะต้อง

สร้างมนุษย์มิติเดียว ซึ่งก็คือ การนำมนุษย์เข้าไปสู่เบ้าหลอมเพื่อขัดเกลา/ชำระล้าง/

ทำให้หลงลืมมิติของอำนาจให้หมดไปจากตัวมนุษย์ เพื่อสร้างมนุษย์พันธุ์ใหม่ที่ประกอบ

ด้วยมิติของความสมเหตุสมผลเพียงมิติเดียว มนุษย์มิติเดียวดังกล่าวนี้จะเป็นปัจจัย

ที่เพียงพอในการสรรค์สร้างสังคมให้เจริญก้าวหน้าและนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขสืบไป

ในขณะที่นักวิชาการมองข้ามความสัมพันธ์ระหว่าง “อำนาจกับความรู้/ความ

สมเหตุสมผล” ไปอย่างไร้เดียงสา (Flyvbjerg, 2001: 143) พยายามหลงลืมมิติด้าน

“อำนาจ” แต่แท้จริงแล้วกลับพบว่า “อำนาจ” มิได้สูญหายไปจากสังคม มิหนำซ้ำ

“อำนาจ” กลับแข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมกับย้อนกลับมาหลอกหลอน/แทรกแซงสังคม

โดยการทำให้อำนาจมีความสมเหตุสมผล (rationality of power) เพื่อสร้างความ

ชอบธรรมให้แก่การดำรงอยู่ของตัวมันเอง อำนาจจึงกระจายอยู่ทุกอณูของสังคม

เพื่อทำหน้าที่ตีตรา/สร้างความเป็นอื่น/กีดกัน รวมทั้งกดทับความสมเหตุสมผลให้

อ่อนแอ/ไร้พลัง อันส่งผลให้การตัดสินใจของมนุษย์มีลักษณะบิดเบี้ยวและนำไปสู่

วิกฤติในที่สุด (เช่น อำนาจเข้าไปแทรกแซงในการทำ EIA จนทำให้มีการสร้าง

เขื่อนที่ไม่มีน้ำ สร้างบ่อบำบัดน้ำเสียสำหรับกักขังน้ำเสียมิให้ไหลออก การเลี้ยงกุ้ง

ที่ทำลายระบบนิเวศและทำให้น้ำเน่าเสียไปทั่วทั้งชุมชน การใช้งบประมาณจำนวนมาก

สำหรับโครงการสำรวจอวกาศอันไร้ประโยชน์ และการทำสงครามที่มิได้วางอยู่บน

พื้นฐานของความรักอย่างแน่นอน แต่ดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายล้าง

มนุษย์ด้วยกันเอง)

กล่าวโดยสรุป หากนักวิชาการ/นักวิจัยให้ความสนใจเฉพาะในมิติของความ

สมเหตุสมผล หรือมิฉะนั้นก็ให้ความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับ “อำนาจ” อย่าง

เฉพาะเจาะจง โดยมองอำนาจในเชิงลบและดังนั้นจึงมองข้ามความสัมพันธ์อันแยบยล

ระหว่าง “ความรู้/ความสมเหตุสมผล กับอำนาจ” ก็จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาของสภาวะ

72ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

สมัยใหม่ และปัญหาประชาธิปไตยให้ประสบกับสภาวะวิกฤติรุนแรงมากขึ้น เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ก้าวแรกของข้อเสนอสำหรับเป็นทางออกของวิกฤตการณ์ในยุคปัจจุบัน

ก็คือ จะต้องหันมาทำการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “ความ

สัมพันธ์ระหว่างความรู้/ความสมเหตุสมผล กับอำนาจ” กันอย่างจริงจัง และเมื่อ

เราเข้าถึงตัวตนของ “อำนาจ-ความสมเหตุสมผล” อันซับซ้อนได้อย่างลึกซึ้งแล้ว

เราก็จะพบว่า หนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยและสภาวะความทันสมัยนั้น

ไม่สามารถวางอยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผลเพียงมิติเดียวได้อีกต่อไป แต่

จะต้องหันมาพิจารณาและเชื่อมโยงความสมเหตุสมผลเข้ากับมิติของอำนาจอย่าง

ลงตัว/กลมกลืนกันอย่างจริงจังอีก ด้วย (Flyvbjerg, 2001: 125)

5. บทส่งท้าย: ข้อเสนอแนะเบื้องต้นเพื่อหยุดยั้งความกร่าง

สำหรับบทสุดท้ายนี้ จะได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะเบื้องต้นเพื่อเป็นทางออกของ

ปัญหาจำนวน 7 ประการ ดังต่อไปนี้

ประการแรก การศึกษาทางสังคมศาสตร์จะต้องให้ความสนใจต่อมโนทัศน์ว่า

ด้วย “ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้/ความสมเหตุสมผล กับอำนาจ” อย่างจริงจัง

นอกจากนี้ยังจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อน สภาวะขาดดุลยภาพ และ

ความเหลื่อมล้ำกันระหว่างความสมเหตุสมผลกับอำนาจ เนื่องจากในชีวิตจริงจะมี

อำนาจกระจายไหลเวียนอยู่ทุกอณูของสังคม ซึ่งหากสังคมศาสตร์ไม่สามารถทำความ

เข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ว่าด้วย “ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้/ความสมเหตุสมผลกับ

อำนาจ” ได้อย่างแท้จริงแล้ว ก็จะทำให้ไม่สามารถทำความเข้าใจถึงรากฐานของ

ความสัมพันธ์ทางสังคมในยุคปัจจุบันได้ อันจะทำให้สังคมศาสตร์หมดพลังและไร้

คุณค่า เฉกเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ประการที่สอง การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง

จะต้องดำเนินการโดยใช้ “วิธีการโฟรนีซิส” (phronesis) ซึ่งมีลักษณะ 5 ประการ ดังนี้

หนึ่ง เลิกเดินตามรอยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีเป้าหมายในการสะสมองค์

ความรู้ที่เป็นทฤษฎีทั่วไป (accumulation of predictive & context-independent

theories) อันไร้ประโยชน์ ในขณะเดียวกัน สังคมศาสตร์จะต้องเลิกทำตัวไร้เดียงสา

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

73

ที่พยายามยึดมั่นในความเป็นกลาง/ความเป็นภาวะวิสัย (เพราะความเป็นกลาง

ทางวิชาการ/ความเป็นภาวะวิสัยเป็นแต่เพียงอุดมคติ ที่ไม่สามารถบรรลุเป็นจริงได้)

สอง สังคมศาสตร์ควรเรียนรู้จากกรณีศึกษาจำนวนมาก (cases) ภายใต้

บริบทอันเฉพาะเจาะจง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และความสามารถของญาณทัศ

ในการหยั่งรู้ (intuition) รวมทั้งมีวุฒิภาวะที่จะมองสรรพสิ่งได้อย่างเป็นองค์รวม

ในระดับของผู้เชี่ยวชาญ

สาม นักวิจัยทางสังคมศาสตร์จะต้องยึดมั่นในคุณค่าแห่งหลักจริยธรรมที่เป็น

ไปตามสถานการณ์ (situational ethics) อันเป็นจริยธรรมเชิงปฏิบัติ (practical

ethics) ซึ่งไม่กักขังจริยธรรมให้ขึ้นต่อหลักสากลเพียงหนึ่งเดียวในทุกๆ กรณี

(cannot be encapsulated by universal rules) แต่จริยธรรมย่อมผันแปรได้ตาม

สถานการณ์อันเฉพาะเจาะจง ในแง่นี้ จริยธรรมของวิธีการโฟรนิซิส จึงประกอบ

ด้วยการปฏิสังสรรค์ระหว่างลักษณะทั่วไป กับบริบทรูปธรรมเฉพาะ ซึ่งต้องอาศัย

การพิจารณา การตัดสิน และการเลือก การศึกษาทางสังคมศาสตร์จะต้องกล้า

ประกาศตนที่จะสอดใส่จุดยืนของผู้ศึกษาลงไปในทุกขั้นตอนของกระบวนการ

ศึกษา โดยจุดยืนที่ใส่ลงไปก็คือ การศึกษาที่ยืนอยู่บนเป้าหมายของจริยธรรมเชิง

ปฏิบัติดังกล่าวนี้

ส ี่ วิธีการโฟรนีซิสมิใช่การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีหรือพิสูจน์สมมติฐาน แต่

เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งตอบคำถามอันเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาด้านคุณค่าและ

ความสมเหตุสมผลภายใต้บริบทอันเฉพาะเจาะจง5 ดังนั้นการศึกษาวิจัยจึงเชื่อม

โยงโดยตรงกับวิถีแห่งการปฏิบัติอันยอมรับได้ (praxis) เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่

ความสมเหตุสมผล (rationality) ชุดหนึ่ง สำหรับต่อสู้แข่งขันกับความสมเหตุสมผล

ชุดอื่นๆ ภายใต้บริบทของการเคลื่อนไหวทางสังคมในกระบวนการนโยบายเพื่อนำไปสู่

การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นประชาธิปไตย

5Bent Flyvbjerg (2001: 145) นกัคดิผูส้นบัสนนุวธิกีารโฟรนซีสี ไดเ้สนอแนะใหน้กัวจิยัไดท้ำการสบืคน้ขอ้มลู โดยมคีำถามเกีย่วกบัประเดน็ดา้นคณุคา่เปน็เครือ่งชีน้ำทางจำนวน 4 ขอ้ คอื 1) เรากำลงัเดนิทางไปไหนทางไหน? 2) ในการเดนิไปตามทางดงักลา่วนัน้ ใครไดร้บัประโยชน ์ และใครเสยีประโยชน ์ และอะไรคอืกลไกของอำนาจทีท่ำใหไ้ดป้ระโยชน-์เสยีประโยชน์ดงักลา่ว? 3) หนทางดงักลา่วนัน้ เปน็ทางทีพ่งึปรารถนาหรอืไม?่ และ 4) ถา้อยา่งนัน้ แลว้เราควรจะทำอยา่งไรกนัตอ่ไป?

74ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ห้า วิธีการโฟรนีซิส ใช้แนวคิดเกี่ยวกับ “อำนาจ” ของนิชเช่และฟูโก

(a Nietzschean-Foucauldian conception of power) เป็นแกนกลางในการศึกษา

ซึ่งมีแนวคิดดังนี้: (Flyvbjerg, 2001: 131-32) 1) มองอำนาจในเชิงบวกและ

สร้างสรรค์ 2) อำนาจมิได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะในศูนย์กลาง มิได้เป็นองคภาวะ

(entity) ที่คนบางคนจะสามารถครอบครองหรือเป็นเจ้าของได้ 3) อำนาจมีลักษณะ

เป็นเครือข่ายอันแน่นหนาของความสัมพันธ์ที่กระจายอยู่ทุกหนทุกแห่ง 4) อำนาจ

มีลักษณะพลวัตที่มีภาคปฏิบัติการเคลื่อนไหวกลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา 5) เราไม่

สามารถแยกออกจากกันได้ระหว่างอำนาจกับความรู้ อำนาจกับความจริง และ

อำนาจกับความสมเหตุสมผล และ 6) คำถามอันเป็นแกนกลางในการศึกษาก็คือ

อำนาจมีการปฏิบัติหรือมีการแสดงออกอย่างไร อันเป็นการมุ่งศึกษากระบวนการของ

อำนาจ (นอกเหนือจากการมองอำนาจในเชิงโครงสร้างเท่านั้น)

ประการที่สาม นักวิจัย/นักวิชาการจะต้องเลิกทำตัวเป็นผู้รู้/ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่

เหนือกว่าคนอื่นๆ เพราะการกระทำเช่นนั้นแสดงให้เห็นถึงความกร่าง/การเหลิง

ในอำนาจของนักวิจัย/นักวิชาการ โดยคิดว่าคำพูดหรือข้อเขียนของตัวเองมีอำนาจ

ล้นฟ้าจนคนอื่นๆ จะต้องรับฟัง ในแง่นี้ถือว่าเป็นการหลงผิดของนักวิชาการที่

กำลังสร้าง “ความสมเหตุสมผลของอำนาจ” (rationality of power - คนอื่นต้อง

เชื่อฟังเพราะนักวิชาการเป็นผู้พูด) แทนที่จะสร้าง “อำนาจของความสมเหตุสมผล”

(power of rationality - คนอื่นเชื่อเพราะได้พิจารณาแล้ว เห็นว่ามีความสอดคล้อง

ในเชิงตรรกะ ได้รับการสนับสนุนเชิงประจักษ์ มีประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

และไม่ขัดแย้งกับหลักจริยธรรมเชิงปฏิบัติ)

ในกรณีนี้ หากนักวิชาการมุ่งเน้นสร้างความสมเหตุสมผลของอำนาจ ก็จะ

ถือว่านักวิชาการวางตัวไม่แตกต่างไปจากพ่อมด/หมอผีแต่ประการใด (ชาวบ้าน

เชื่อฟังเพราะพ่อมด/หมอผีเป็นผู้พูด) ในแง่นี้ นักวิชาการก็จะเป็นผู้ศักดิสิทธิ์ที่

ไม่มีใครกล้าแตะต้อง/แตะต้องไม่ได้ (untouchable) เพราะใครๆ ต่างก็เชื่อว่า

“นักวิชาการจะต้องไม่ผิด (เสมอ)” ซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวนี้ คงจะหลีกหนี

ไม่พ้นที่นักวิชาการจะกลายร่างเป็น “ทรราชผู้โฉดชั่ว” (tyrannical academicians)

ที่จะกลับมาสร้างหายนะให้แก่สังคมอย่างไม่รู้จบสิ้น ดังมีตัวอย่างให้เห็นอยู่ทั่วไป

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

75

นักวิจัยจะต้องเน้นสร้าง “อำนาจของความสมเหตุสมผล” เป็นสำคัญ โดย

ความสมเหตุสมผลในที่นี้ จะต้องไม่ขึ้นต่อ “ความสมเหตุสมผลเชิงเครื่องมือ”

(instrumental rationality) แต่เพียงด้านเดียว แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อ “ความ

สมเหตุสมผลเชิงคุณค่า” (value-rationality) อย่างมีดุลยภาพระหว่างกันอีกด้วย

(Flyvbjerg, 2001: chapter 5) พร้อมๆ กันนั้น นักวิชาการจะต้องอ่อนน้อมถ่อม

ตนต่อชาวบ้านและต่อวัตถุที่ถูกศึกษา โดยพิจารณาว่าจักรวาลแห่งความรู้มีพื้นที่

กว้างใหญ่ไพศาล ดังนั้นผลงานวิจัยหรือผลิตผลทางวิชาการเป็นเพียงเสี่ยงเสี้ยวหนึ่ง

ของความสมเหตุสมผลเท่านั้น ในขณะที่ยังคงมีความสมเหตุสมผลชุดอื่นๆ อีก

หลายชุด ที่ดำรงอยู่ในเชิงขัดแย้งและแข่งขันระหว่างกันและกัน ในแง่นี้ผลงานของ

นักวิชาการจึงควรมีสถานะเป็นเพียงปัจจัยนำเข้า (input) เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการ

อภิปรายถกเถียง (dialogue) บนพื้นที่สาธารณะ ในขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ

แต่ละกลุ่มต่างมีท่าทีต่อผลงานของวิชาการแตกต่างกัน กล่าวคือ บางกลุ่มอาจได้

ประโยชน์จากการนำผลงานวิจัยไปใช้ในการอ้างอิงหรือใช้ในการตัดสินใจ แต่บางกลุ่ม

อาจเสียประโยชน์และมีท่าทีไม่เห็นด้วยต่อผลงานวิจัยอย่างรุนแรง นอกจากนี้ บาง

ครั้งผลงานวิจัยได้ไปกระตุ้นให้เกิดข้อสงสัยแก่คนบางกลุ่ม อันจะนำไปสู่กระบวนการ

อภิปรายถกเถียงบนพื้นที่สาธารณะต่อไปไม่มากก็น้อย และส่งผลให้เกิดการวิจัยที่

ดำเนินการโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเอง เพื่อนำผลการวิจัยชุดใหม่มาตรวจสอบกับ

ข้อสรุปของนักวิชาการ

ในแง่นี้จึงถือว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนกลับให้นักวิจัย

มองเห็นจุดอ่อนของตนเอง เพื่อนำไปสู่กระบวนการปรับปรุงแก้ไขผลงานวิจัยให้

สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและมีประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากยิ่งขึ้น การวิจัยจึงมิได้หยุด

อยู่เพียงแค่ “การค้นพบ” (discovery) แล้วนำไปเก็บใส่ตู้ไว้ในห้องสมุดอย่างไร้

ประโยชน์ ในทางตรงข้าม ผลงานวิจัยจะต้องถูกนำไปเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ซึ่ง

การเผยแพร่ในแง่นี้มิได้หมายถึงการเผยแพร่สู่ชุมชนวิชาการ (ผ่านการตีพิมพ์เป็น

หนังสือเล่น หรือบทความทางวิชาการ) เท่านั้น แต่จะต้องเผยแพร่สู่ชุมชนและ

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด (ในรูปของแผ่นพับ วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

และเวทีสัมมนาชาวบ้าน) (Flyvberg, 2001: 158)

76ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

การเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังกล่าวนี้มีความสำคัญมาก

เพราะเป็นการนำผลงานวิชาการออกมาจากตู้ในห้องสมุด เพื่อนำไปผนวกเข้าสู่กระบวน

การปฏิบัติ (praxis) อันหลอมรวมกันเป็นขบวนการขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลง

ในแง่นี้จึงไม่สามารถแยกกระบวนการวิจัยออกจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทาง

สังคมบนเทวีแห่งความเป็นจริงได้ หรือที่ Bent Flyvbjerg (2001: 159) เรียกว่า

“วิธีวิทยาแห่งการวิจัยที่ดำเนินการอย่างทุ่มเทไปทั่วทั้งเรือนร่าง” (methodology

of research on the body) อันหมายถึงการวิจัยที่จัดทำขึ้นเพื่อการเคลื่อนไหว

เปลี่ยนแปลง ภายใต้การสะท้อนกลับของสังคม อันนำไปสู่การปรับปรุง-นำไป

ประยุกต์ใช้-สะท้อนกลับ-ปรับปรุง-นำไปประยุกต์ใช้-สะท้อนกลับ อย่างไม่มีที่

สิ้นสุด พร้อมๆ กับการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของนักวิจัยเอง อย่างแยก

จากกันไม่ออก

ประการที่สี ่ สังคมจะต้องสร้างเงื่อนไขให้พลังของความสมเหตุสมผลได้มี

โอกาสแสดงศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่ (แต่มิใช่ความสมเหตุสมผลเชิงเครื่องมือ

เพียงด้านเดียว หากจะต้องให้ความสำคัญต่อความสมเหตุสมผลเชิงคุณค่าที่วาง

อยู่บนฐานของจริยธรรมเชิงปฏิบัติไม่น้อยไปกว่ากันอีกด้วย) ในขณะที่กีดกันการ

สร้างความสมเหตุสมผลของอำนาจ แต่เนื่องจากวิธีการต่อสู้แบบเผชิญหน้าที่เป็น

ปฏิปักษ์ จะให้ความสำคัญต่อการใช้อำนาจในการเอาชนะต่อกัน โดยวางเงื่อนไข

สำหรับการยอมรับอำนาจของความสมเหตุสมผลต่ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ สังคมจะต้อง

จำกัดการใช้วิธีต่อสู้แบบเผชิญหน้าที่มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ พร้อมๆ กับไม่สนับสนุน

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ขาดความสมดุลมากเกินไป เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมี

อำนาจมากเกินไปก็จะกระตุ้นให้เกิดการใช้อำนาจในการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ซึ่ง

ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวนี้ จะก่อให้เกิดบริบทของการพิจารณาถึงความสมเหตุ

สมผลต่ำลง พลังอำนาจของความสมเหตุสมผลจึงถูกทำให้อ่อนแอ

ประการที่ห้า สังคมจะต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีเสถียรภาพมั่นคง

ยาวนาน อันเป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะกึ่งสถาบัน มีการปฏิรูปทางวัฒนธรรม

ใหมก่นัอยา่งจรงิจงั เพือ่เสรมิสรา้งเงือ่นไขใหอ้ำนาจ ทีห่ลบซอ่นอยูห่ลกัฉาก (back

stage) ได้ปรากฏโฉมหน้าที่แท้จริงให้เห็นบนหน้าฉาก (front stage) เพื่อทำให้

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

77

ความขดัแยง้ไดร้บัการปลดปลอ่ยออกมาอยา่งเปน็อสิระเสร ี ตรงไปตรงมา และซึง่หนา้

พร้อมๆ กันนั้น จะต้องจัดระเบียบความขัดแย้งให้กลายเป็นสถาบัน (institutionalization

of social conflict) โดยการทำให้ทุกฝ่ายยอมรับวิธีการแก้ไขความขัดแย้งอย่าง

สันติ โดยใช้การเจรจาต่อรอง การแสวงหาจุดร่วม การเสียสละเพื่อส่วนรวม การ

แสวงหาความร่วมมือ และการประนีประนอม ซึ่งจะทำให้พื้นที่ของการยอมรับ

อำนาจของความสมเหตุสมผลขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นสถานการณ์ที่เปิดกว้าง

ต่อคนกลุ่มน้อย/คนชายขอบเพื่อให้พวกเขาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเสริม

สร้างอำนาจของความสมเหตุสมผลของตนเองได้อย่างเต็มที่

ประการที่หก สังคมควรเปิดกว้างต่อการมีความสมเหตุสมผลหลายๆ ชุด

เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขัน/ตรวจสอบ/หักล้างกันและกันในเชิงตรรกะและเชิง

ประจักษ์ เนื่องจากสังคมสมัยใหม่ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders)

หลายๆ กลุ่ม แต่ละกลุ่มต่างมีผลประโยชน์และความคิดขัดแย้งกันได้ หากสังคม

ยอมรับเฉพาะความสมเหตุสมผลที่เป็นมาตรฐานเพียงชุดเดียว ความสมเหตุสม

ผลชุดดังกล่าวนี้ก็จะกลายเป็นวาทกรรมหลักซึ่งทำหน้าที่ครอบงำและกีดกันวาท

กรรมรองชุดอื่นๆ ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่มีการเก็บกด/ปิดกั้นต่อความสมเหตุสมผล

ของเสียงส่วนน้อยดังกล่าวนี้ จะทำให้สังคมมีลักษณะอำนาจนิยม ขาดความยืดหยุ่น

และไม่สามารถปรับตัวเพื่อแก้ไขความขัดแย้งได้ ในทางตรงข้าม หากสังคมเปิด

กว้างต่อความสมเหตุสมผลหลายๆ ชุด ก็จะทำให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบ

ระหว่างกัน อันจะทำให้สังคมมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

ของสิ่งแวดล้อม และสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งให้ยุติลงได้อย่างสันติ

ประการสุดท้าย สังคมควรขยายพื้นที่สาธารณะ (public sphere) ให้แก่คน

ชายขอบ/คนเล็กคนน้อยที่หลากหลายและกระจัดกระจายอยู่ในซอกมุมแคบๆ

ของสังคม โดยปกติคนกลุ่มนี้ตกอยู่ในสภาวะไร้อำนาจเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มิได้

ครอบครองความสมเหตุสมผลของอำนาจไว้กับตัวเอง แต่อำนาจของคนกลุ่มนี้

สามารถเพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถขยายอำนาจของความสมเหตุสมผลให้

เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวอีกแง่หนึ่งก็คือ ความสมเหตุสมผลของคน

เล็กคนน้อยจะต้องมีเสียงดัง เพื่อให้ได้ยินไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ (โดย

78ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

เฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่มีอำนาจทางสังคม) โดยผ่านการอภิปรายถกเถียง (dialogue)6

บนพื้นที่สาธารณะอย่างมีสถานะเท่าเทียมกับกลุ่มอื่นๆ ซึ่งหากกลุ่มผู้ไร้อำนาจเหล่านี้

สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการสถาปนาอำนาจของความสมเหตุสมผลได้ ก็จะ

เป็นการเสริมสร้างประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (democratization of rationalities)

6แนวคดิวา่ดว้ย “การอภปิรายถกเถยีง” (dialogue) ผูเ้ขยีนไดร้บัอทิธพิลจาก David Bohm ซึง่เขามองวา่การอภปิรายถกเถยีง ทีจ่ะประสบผลสำเรจ็จรงิๆ นัน้ จะตอ้งดำเนนิการโดยทกุฝา่ยทีเ่ขา้รว่มการอภปิราย ตา่งใหค้วามเคารพกนัและกนั เปดิกวา้งตอ่การรบัฟงัความคดิเหน็ของกนัและกนัอยา่งจรงิใจ แตล่ะฝา่ยจะตอ้งไมม่ธีง (คำตอบทีว่างไวล้ว่งหนา้) ดงันัน้ในการอภปิรายจะตอ้งไมม่กีารครอบงำกนั แตก่ระบวนการจะดำเนนิไปอยา่งธรรมชาต ิอนัจะทำใหท้กุคนมสีถานะเทา่เทยีมกนั ตา่งฝา่ยตา่งกค็ดิวเิคราะหพ์รอ้มกบันำเสนอความคดิเหน็ของตนเองออกไป ในขณะทีเ่พือ่นๆ ตา่งรบัฟงัความคดิเหน็ของกนัและกนัอยา่งตัง้ใจ กระบวนการอภปิรายถกเถยีงดงักลา่วนีจ้ะนำไปสูก่ระบวนการเรยีนรูร้ว่มกนั (joint learning process) และนำไปสูข่อ้สรปุสดุทา้ยทีท่กุคนเขา้ใจรว่มกนั ทกุฝา่ยตา่งมสีว่นรว่มในการตดัสนิใจ เกดิความรูส้กึเปน็สว่นหนึง่ของการตดัสนิใจนัน้ อนัจะนำไปสูก่ารรว่มมอืกนัดำเนนิงานอยา่งแขง็ขนัตามมา (Bohm, 2004)

ความสมเหตสุมผล/อำนาจ และสภาวะสมยัใหม:่ หนทางสูห่ายนะของมนษุยชาตแิหง่ศตวรรษที ่21

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

79

บรรณานุกรม

Amornsak Kitthananan 2005 “In Search for the ‘Science’ of Society: Can We Study ‘Society’ Scientifically?”, Thai Journal of Development Administration, Vol. 45, No. 4.

Bachrach, Peter and Morton S. Baratz 1962 “Two Faces of Power”, American Political Science Review, 56.

Bachrach, Peter and Morton S. Baratz 1963 “Decisions and Nondecisions: An Analytical Framework”, American Political Science Review, 57.

Bohm, David 2004 On Dialogue, London and New York: Routledge Classics. Dahl, Robert A. 1986 “Rethinking Who Governs?: New Haven Revisited”, in

Robert Waste, ed., Community Power: Directions for Future Research, Beverly Hills: Sage.

Domhoff, G. William 1978 Who Really Rules? New Haven and Community Power Reexamined, Santa Monica, California: Goodyear Publishing Company.

Feyerabend, Paul 1978 Science in a Free Society, London: New Left Books. Feyerabend, Paul 1993 Against Method, 3rd ed. London: New Left Books. Flyvbjerg, Bent 1998 Rationality and Power: Democracy in Practice, Chicago:

University of Chicago Press. Flyvbjerg, Bent 2001 Making Social Science Matter: Why Social Inquiry Fails

and How It Can Succeed Again, Cambridge: Cambridge University Press. Foucault, Michel 1980 Power/Knowledge: Selected Interviews and Other

Writings 1972-1977, Colin Gordon ed. New York: Harvester Wheatsheaf.

Foucault, Michel 1984 “Nietzsche, Genealogy, History”, in Paul Rabinow ed., The Foucault Reader, New York: Pantheon.

Foucault, Michel 1984 “What is Enlightenment”, in Paul Rabinow ed., The Foucault Reader, New York: Pantheon.

Giddens, Anthony 1993 New Rules of Sociological Method: A Positive Critique of Interpretative Sociologies, Cambridge: Polity Press.

Giddens, Anthony 1996 In Defence of Sociology: Essays, Interpretations and Rejoinders, Cambridge: Polity Press.

Goffman, Erving 1971 The Presentation of Self in Everyday Life, Harmondsworth: Penguin.

80ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

Hoggrat, K., L. Lees, and A. Davies 2002 Researching Human Geography. London: Arnold.

Hunter, Floyd 1980 Community Power Succession: Atlanta’s Policy Makers Revisited, Chapel Hill: University of North Carolina Press.

Lukes, Steven 1974 Power: A Radical View, London: Macmillan. Lukes, Steven 1977 “Power and Structure”, in Essays in Social Theory, London:

Macmillan. Marcuse, Herbert 1955 Reason and Revolution: Hegel and the Rise of Social

Theory, 2nd ed. London: Routledge & Kegan Paul. Mills, C. Wright 1956 The Power Elite, Oxford: Oxford University Press. Ritzer, George 1988 Sociological Theory, 2nd ed. New York: McGraw-Hill Publishing

Company. Rosenberg, A. 1995 Philosophy of Social Science., 2nd ed., Oxford: Westview

Press. Russell, Bertrand 1972 The History of Western Philosophy, New York: Simon

& Schuster.