newsletter vol 5

16
5 ปลูกป่าตามแนวพระราชดำรัส รัฐบาลขอ“ปิดทองฯ-กปร.”ร่วมชี้เป้าป่าต้นน้ำ องคมนตรีแนะทางแก้ชนบท อ่านต่อหน้า 16 อ่านต่อหน้า 16 ปิดทองหลังพระ คือการเพียรทำความดี โดยไม่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนตน จากแนวทางการปลูกป่าเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสแก่นายกรัฐมนตรี รวมทั้ง คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ซึ่งเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลถวายรายงาน การวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการวางแผนเพื่อฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปว่า การแก้ไขปัญหา น้ำท่วมนั้น ต้องหาวิธีระบายให้น้ำไหลได้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนียังมีเรื่องดินและป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องแก้ไขปัญหาการตัดไม้ ทำลายป่าให้ได้ ด้วยการเพิ่มบทลงโทษ ขณะเดียวกัน ต้องเร่งปลูก ต้นไม้ทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย โดยปลูกทั้งไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน ผสมกัน เพราะไม้เนื้ออ่อนโตเร็ว แต่รากไม่ยึดดินเท่ากับไม้เนื้อแข็ง ที่โตช้ากว่า แต่หยั่งรากลึก ช่วยป้องกันดินถล่มได“...หลักการที่จะต้องทำ ก็คือปลูกต้นไม้ขึ้นเร็วผสมกับต้นไม้ เนื้อแข็ง ไม้รากลึกที่ขึ้นช้า การปลูกต้นไม้ทำให้ป้องกันดินถล่ม และ ช่วยในการป้องกันน้ำท่วม…” ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 คณะรัฐมนตรีจึงได้น้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าวมาดำเนินการ โดย จะประกาศเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนให้มีการปลูกป่าอย่าง บูรณาการ ร่วมกัน 5 กระทรวง คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพลังงาน โดยให้กรมวิชาการเกษตร ศึกษาการปลูกป่า การแยกประเภทของต้นไม้ 2 ประเภท ได้แกไม้โตเร็ว หรือไม้เนื้ออ่อน และไม้โตช้า ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสาน แนวพระราชดำริ ให้แนวคิดการทำงานกับชมรมสื่อบ้านนอก ซึ่งเป็นสื่อมวลชน จากหลากหลายแขนงที่รวมตัวกันเพื่อเรียนรู้ชนบท และการพัฒนาชนบท ที่จะเป็น ทางออกในการแก้ปัญหาของประเทศในอนาคต ศ.นพ.เกษม กล่าวว่า อาชีพสื่อมวลชนต้องมีสามอย่าง คือ ต้องรู้จริง ต้องไขว่คว้า หาความรู้ตลอด เพราะคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ล้วนเชื่อสื่อ ดังนั้น สื่อมวลชนจึงต้องพิจารณาถึงความสำคัญของอาชีพตนเองว่า มีบทบาทที่จะทำให้ สังคมดีขึ้นก็ได้ เลวลงก็ได้

Upload: pidthong-org

Post on 07-Mar-2016

218 views

Category:

Documents


1 download

DESCRIPTION

จดหมายข่าวปิดทอง ฉบับที่ 5

TRANSCRIPT

Page 1: newsletter vol 5

5

ปลูกป่าตามแนวพระราชดำรัสรัฐบาลขอ“ปิดทองฯ-กปร.”ร่วมชี้เป้าป่าต้นน้ำ

องคมนตรีแนะทางแก้ชนบท

อ่านต่อหน้า 16

อ่านต่อหน้า 16

ปิดทองหลังพระ คือการเพียรทำความดี โดยไม่มุ่ ง เน้นประโยชน์ส่ วนตน

จากแนวทางการปลูกป่าเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ที่พระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสแก่นายกรัฐมนตรี รวมทั้ง

คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ

(กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหาร

จัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ซึ่งเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลถวายรายงาน

การวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการวางแผนเพื่อฟื้นฟู

และสร้างอนาคตประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปว่า การแก้ไขปัญหา

น้ำท่วมนั้น ต้องหาวิธีระบายให้น้ำไหลได้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้

ยังมีเรื่องดินและป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องแก้ไขปัญหาการตัดไม้

ทำลายป่าให้ได้ ด้วยการเพิ่มบทลงโทษ ขณะเดียวกัน ต้องเร่งปลูก

ตน้ไมท้ดแทนปา่ไมท้ีถ่กูทำลาย โดยปลกูทัง้ไมเ้นือ้แขง็และไมเ้นือ้ออ่น

ผสมกัน เพราะไม้เนื้ออ่อนโตเร็ว แต่รากไม่ยึดดินเท่ากับไม้เนื้อแข็ง

ที่โตช้ากว่า แต่หยั่งรากลึก ช่วยป้องกันดินถล่มได้

“...หลักการที่จะต้องทำ ก็คือปลูกต้นไม้ขึ้นเร็วผสมกับต้นไม้

เนื้อแข็ง ไม้รากลึกที่ขึ้นช้า การปลูกต้นไม้ทำให้ป้องกันดินถล่ม และ

ช่วยในการป้องกันน้ำท่วม…”

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555

คณะรัฐมนตรีจึงได้น้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าวมาดำเนินการ โดย

จะประกาศเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนให้มีการปลูกป่าอย่าง

บูรณาการ ร่วมกัน 5 กระทรวง คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม

กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพลังงาน โดยให้กรมวิชาการเกษตร

ศึกษาการปลูกป่า การแยกประเภทของต้นไม้ 2 ประเภท ได้แก่

ไม้โตเร็ว หรือไม้เนื้ออ่อน และไม้โตช้า

ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสาน

แนวพระราชดำริ ให้แนวคิดการทำงานกับชมรมสื่อบ้านนอก ซึ่งเป็นสื่อมวลชน

จากหลากหลายแขนงที่รวมตัวกันเพื่อเรียนรู้ชนบท และการพัฒนาชนบท ที่จะเป็น

ทางออกในการแก้ปัญหาของประเทศในอนาคต

ศ.นพ.เกษม กลา่ววา่ อาชพีสือ่มวลชนตอ้งมสีามอยา่ง คอื ตอ้งรูจ้รงิ ตอ้งไขวค่วา้

หาความรู้ตลอด เพราะคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ล้วนเชื่อสื่อ ดังนั้น

สื่อมวลชนจึงต้องพิจารณาถึงความสำคัญของอาชีพตนเองว่า มีบทบาทที่จะทำให้

สังคมดีขึ้นก็ได้ เลวลงก็ได้

Page 2: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

สองปีหลังการทำนาขั้นบันไดตามแนวทางของปิดทองหลังพระฯ

ชาวบ้านในพื้นที่ต้นแบบ 3 อำเภอ คือ ท่าวังผา สองแคว และ

เฉลิมพระเกียรติ ก้าวข้ามขั้นแรก “อยู่รอด” หรือ มีข้าวเพียงพอต่อการ

บริโภคแล้ว วันนี้ พื้นที่ต้นแบบปิดทองฯ จังหวัดน่าน กำลังก้าวเข้าสู่

ขั้นตอนที่สอง “พอเพียง” ด้วยการปลูกพืชหลังนา จากการสนับสนุนของ

ปิดทองหลังพระฯ

ไม่เพียงลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและเพิ่มรายได้เท่านั้น ปิดทอง

หลังพระฯ ยังมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม ้ ลดละเลิกการทำไร่ข้าวโพด

โดยทดแทนดว้ยการปลกูพชืเศรษฐกจิ ลดการใชส้ารพษิ สารเคม ีสง่เสรมิ

เกษตรอนิทรยี เสรมิสรา้งความรู ้ ทกัษะ เทคนคิ เพิม่ประสทิธภิาพการทำ

เกษตร สร้างระบบและมาตรฐานการผลิต ที่เรียกว่า “เกษตรประณีต”

แทน “เกษตรอเนกประสงค์” ที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว และเป้าหมายในที่สุด

คอื การทำใหจ้งัหวดันา่น เปน็ศนูยก์ลางการสง่ออกทีส่ำคญัของประเทศ

พชืหลงันา ทีป่ดิทองหลงัพระฯ ใหก้ารสง่เสรมิทัง้ 8 ชนดิ ไดแ้ก ่หนอ่ไม้

ฝรัง่ พริกซุปเปอร์ฮอต บรอกโคลี ถั่วลันเตา-ถั่วลันเตาหวาน ว่านหาง

จระเข้ ตะไคร้ เผือก ฟักเขียว-แฟง โดยใช้หลักการ “ตลาดนำ” ผลผลิต

คุณภาพดี เป็นไปตามความต้องการของตลาด ลดละการใช้สารเคมีดว้ย

การทำเกษตรอนิทรยี ์โดยไมเ่อา “ราคา” มาเปน็ตวัตัง้

ย่างก้าวสำคัญ จาก

สู่... “พอเพียง” “อยู่รอด”

พืชหลังนา

2

รายงานพิเศษ

เจ้าของ : มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ สำนกังานปลดัสำนกันายกรฐัมนตร ีทำเนยีบรฐับาล เลขที ่1 ถนนนครปฐม เขตดสุติ กรงุเทพมหานคร 10300 : สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 26 เลขที่ 989 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2611-5000 โทรสาร 0-2658-1413 ที่ปรึกษา : หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ นายพิพัฒน์ เลิศกิตติสุข บรรณาธิการ : นายธนัยนันท์ ธนันท์ปพัฒน์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นายสุชาติ ถนอม ผู้จัดทำ : บริษัท แอร์บอร์น พรินต์ จำกัด 1519/21 ซอยลาดพร้าว 41/1 ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 0-2939-9700 โทรสาร 0-2512-2208 E-mail : [email protected]

www.pidthong.org www.twitter.com/pidthong

www.facebook.com/pidthong

www.youtube.com/pidthongchannel

Page 3: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

นายธนกร รัชตานนท์ ผู้จัดการสำนักงานโครงการปิดทอง

หลังพระฯ จังหวัดน่าน กล่าวว่า การปลูกหน่อไม้ฝรั่งนั้น มีการ

จำกัดพื้นที่ให้ปลูกครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่ แต่อยากให้ปลูกทุก

ครัวเรือน เพราะไม่ว่าอย่างไร ก็ยังต้องเน้นข้าวเป็นหลัก ที่สำคัญ

ต้องการให้ทำกันเองได้ภายในครอบครัว ไม่ต้องจ้างคนอื่น

“ตอนนี้ชาวบ้านยังไม่เคยชินกับการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น

ทดแทนข้าวโพด ซึ่งก็ไม่เป็นไร ปิดทองฯ ไม่ได้เร่ง ใครพร้อมก็ปลูก

แต่เราจะทำให้ชาวบ้านเห็นผลเปรียบเทียบกันหลังจากหน่อไม้ฝรั่ง

ชุดแรกได้ผลผลิตในปีหน้า การปลูกพืชหลังนาและพืชเศรษฐกิจ

ทั้งระยะยาวและระยะสั้นจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าทำได้ภายในปีนี ้ น่านจะ

เปน็ศนูยก์ลางการส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง เพราะบริษัทรับซื้อมาตั้งโรงงาน

รบัซือ้ คดัแยก และบรรจุที่นี่ แล้วส่งผ่านเชียงใหม่ไปไต้หวันเลย”

ส่วนพืชเศรษฐกิจระยะสั้น ใช้เวลาประมาณ 60-90 วัน ก็จะ

เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เช่น บรอกโคลี เพาะกล้า 25 วัน ลงต้นอีก

45-60 วัน ก็เก็บผลผลิตได้ แต่บรอกโคลีที่ปิดทองฯ สนับสนุนให้ปลูก

ทีบ่า้นสะเกนิ ตำบลยอด อำเภอสองแคว แมจ้ะมตีลาดรองรบั สว่นหนึง่

ส่งออกไปไต้หวันและมาเลเซีย ส่วนหนึ่งขายในประเทศ และอีกส่วน

หนึ่งทำเป็นบรอกโคลีอบแห้ง ยังมีปัญหาเรื่องสายพันธุ์อยู ่ ปิดทองฯ

จึงจะนำเข้าสายพันธุ์จากไต้หวัน ซึ่งมีคุณภาพสูง ดอกละเอียด ป้อม

เนือ้แนน่ มาทดลองปลกูจนแนใ่จ กอ่นจะใหเ้กษตรกรนำไปปลกูตอ่ไป

ในปีหน้า

ถั่วลันเตา และ ถั่วลันเตาหวาน เป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น จึงมี

การปลูกที่บ้านเปียงซ้อ บ้านน้ำรี และบ้านน้ำช้าง ตำบลขุนน่าน

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีตลาดค่อนข้างดี และขายได้ราคาดี เพราะ

มีคุณภาพสูง

ขณะที่น่าน เป็นพื้นที่ปลูกพริกระดับประเทศ แต่มีปัญหา

เนื่องจากไม่ใช่พริกซุปเปอร์ฮอตแท้ เพราะมีการผสมข้ามสายพันธุ์

จนกลาย มีพ่อค้ามารับซื้อเพียงครั้งสองครั้งก็ไม่ซื้ออีก แต่พริก

ซุปเปอร์ฮอตที่ปิดทองฯ ส่งเสริม ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกที่บ้านน้ำป้าก

ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จะเป็นซุปเปอร์ฮอตแท้ และมีการ

ประกันราคารับซื้อขั้นต่ำสำหรับพริกแดงด้วย

ดังนั้น พืชหลังนาทั้งหมดนี้ จึงมีตลาดรองรับไว้แล้ว โดยเฉพาะ

หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งมีบริษัทจากไต้หวันเข้ามารับซื้อไม่จำกัด เพื่อส่งออก

ไปยังไต้หวันส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งส่งออกผ่านทางมาเลเซียไป

ตะวันออกกลาง

หน่อไม้ฝรั่ง จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลผลิตระยะยาว เพราะ

ปลูกแล้วจะอยู่ได้ 5-10 ปี ใช้เงินลงทุนเพียงไร่ละ 10,000-12,000

บาท ปลูกเพียง 3 เดือน จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึงวันละ 40

กิโลกรัม/ไร่ ในหนึ่งปีสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 8 เดือน โดยให ้

พกัตน้ 4 เดอืน ทีส่ำคญั มกีารประกนัราคาขัน้ตำ่อยูท่ีก่โิลกรมัละ 20 บาท

ปดิทองหลงัพระฯ ทำการเพาะกลา้หนอ่ไมฝ้รัง่แลว้ 300,000 กลา้

จากกล้าที่ต้องเพาะทั้งหมด 1 ล้านกล้า และหน่อไม้ฝรั่งที่ปลูก

ชุดแรกจะเริ่มให้ผลผลิตในเดือนมีนาคมนี้

ว่านหางจระเข้ เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่สำหรับจังหวัดน่าน

ซึ่งมีตลาดรับซื้อแล้ว สำหรับส่งออกไปอินโดนีเซีย พันธุ์ที่ปิดทอง

หลังพระฯ ส่งเสริม เป็นพันธุ์ที่ใช้น้ำน้อย กาบใหญ่ น้ำหนักแต่ละกาบ

ถึงกิโลกรัม แม้ราคารับซื้อจะไม่สูงมาก แต่ก็เป็นพืชที่ไม่ต้องการ

การดูแลเอาใจใส่มาก มีพื้นที่ว่างตรงไหน หัวไร่ปลายนา ก็ปลูก

ทิ้ง ๆ ไว้ เป็นออมสิน

ขณะที่ ฟัก-แฟง และ เผือก เป็นพืชพื้นบ้านที่ชาวบ้านปลูก

เป็นอยู่แล้ว ราคาอาจไม่สูงมากนัก แต่พอมีตลาดรับซื้อได้ ตะไคร้

ก็เช่นกัน เพียงแต่ขอให้เป็นพันธุ์เกษตรเท่านั้น

นายธนกร สรุปในที่สุดว่า นอกจากช่วยในเรื่องการลงทุนด้วย

การหาเมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ให้ เพื่อตัดขั้นตอนขูดรีด

จากพ่อค้า และเมื่อได้ผลผลิตจึงค่อยคืน พร้อมกับหาตลาดรับซื้อให้

ปิดทองฯ ยังมีหลักสำคัญในการส่งเสริมการปลูกพืชหลังนาและ

พืชเศรษฐกิจหลาย ๆ ชนิด ที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่เดียวกัน เช่น

บรอกโคลี ถั่วลันเตาและพริก เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องราคา

ที่สำคัญ คือ การส่งเสริมให้ชาวบ้านมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม

จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง เพื่อเดินหน้าสู่

ความยั่งยืนได้อย่างมั่นคงในที่สุด

3

รายงานพิเศษ

Page 4: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

จะแก้ปัญหาน้ำแบบบูรณาการและยั่งยืน ได้อย่างไร

เรื่องน้ำ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ผมเรียนรู้จากพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว จากการตามเสด็จ 30 กว่าปี โดยเห็น โดยสัมผัส แล้วก็

สรุปได้ว่า น้ำโดยธรรมชาติ ต้องไหลจากเหนือลงใต้ จากสูงไปหาต่ำ

ต้องมองเส้นทางน้ำว่ามาจากไหน แน่นอนที่สุด ต้นตอของปัญหาก็

อยูจ่ดุทีส่งูทีส่ดุ คอื ภเูขาทางภาคเหนอื สภาพเปน็อยา่งไร ถกูทำลายแลว้

ก็ยังถูกทำลายอยู่ เวลาฝนตก น้ำก็เลยไหลพรวดพราดลงมาด้านล่าง

และไม่ได้ลงมาแต่น้ำเท่านั้น ยังหอบเอาต้นไม้ต้นซุง เอาหน้าดินลง

มาหมด แตพ่อหนา้แลง้เดนิขา้มแมน่ำ้ได ้เปน็วฏัจกัรซำ้ซากอยู่อย่างนี้

จะแก้ปัญหา ก็ต้องแก้กันตั้งแต่ต้นน้ำ แก้ตั้งแต่บนเขา เพราะ

ตราบใดที่ยังเตียนโล่งอยู่ เราเผาเราตัด น้ำก็จะไหลพรวดลงมา ต้อง

เริ่มปลูกป่ากัน ที่ผมพูดนี่ ตั้งแต่ยอดเขาจนถึงทะเล พระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานบทเรียนไว้หมดแล้ว วิธีปลูกป่า ปลูกอย่างไร บริหารน้ำ

ทำอย่างไร ระหว่างทางจะให้น้ำทะลักเข้าแก้มลิงตรงไหน ฟลัดเวย์

อย่างไร พระองค์ท่านทำไว้หมด แต่ท่านไม่ใช่ราชการ ไม่ใช่กระทรวง

ทบวง กรม ไม่ใช่รัฐบาล ท่านไม่มีหน้าที่ แต่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน

ท่านทำให้ดู ท่านแนะ ท่านเป็นที่ปรึกษา เพราะฉะนั้นบทเรียนจะเอา

ที่ไหน เอาอย่างไร บอกมาเลย ท่านทำไว้ให้หมดแล้ว อย่างป่านี่ ท่าน

ทำ 7 ปี ป่าคืนมาหมด ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ทำฝายชะลอน้ำ สร้าง

ก้าวตามรอยพระบาท แก้ปัญหาชาติ

ความชื้น จากนั้น เมล็ดพืชต่าง ๆ ที่อยู่ใต้ดิน ก็แตกออกมา เป็นป่า

สมบูรณ์ไม่ใช่ป่าเรียงแถว ตัวอย่างก็มีให้ดู ที่ดอยตุง ที่ห้วยฮ่องไคร้

การปลูกป่าแต่ละอย่างก็ไม่เหมือนกัน เช่น ป่าอนุรักษ์หรือ

ป่าต้นน้ำนี่ แตะต้องไม่ได้ จะเอาต้นไม้บ้า ๆ บอ ๆ ไปก็ไม่ได้ ต้อง

เป็นไม้ดั้งเดิม ไม้ธรรมชาติ ต้องพิถีพิถัน จะปลูกแต่ละอย่างต้องรู้

วัตถุประสงค์ ต้องรักษาให้เหมือนสภาพเดิมทุกประการ แล้วก็ป่า

ที่พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ป่าเศรษฐกิจ

ที่ต้องบริหารจัดการไปตามสภาวะให้คงสภาพป่าไว้

เมื่อซ่อมป่าเสร็จแล้ว ก็จะแก้ไขปัญหาน้ำได้ส่วนหนึ่ง น้ำ

ประมาณ 15-20% จะถูกเก็บไว้ อีกส่วนหนึ่งที่ลงมาตามแม่น้ำ ก็ให้

ไปเก็บไว้ตามหนอง คลอง บึง อ่าง เขื่อน ก็ต้องดูแลกันว่า หนอง

คลองบึงธรรมชาติ เวลานี้สภาพเป็นอย่างไร ตื้นเขิน หรือถูกบุกรุก จน

ไปออกโฉนดกลางบึงกันแล้ว ก็ต้องไปบูรณะฟื้นฟู น้ำที่ไม่เคยเก็บได้

จะได้เก็บไว้ในห้วยหนองคลองบึงที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้

เมื่อทำหนอง คลอง บึง แล้ว ก็เหลือที่เราต้องสร้างตามที่พระเจ้า

อยู่หัวทรงแนะ ทรงพระราชทานบทเรียนไว้ให้แล้วมากมาย เช่น

แก้มลิง ตรงไหนมีที่ว่าง ก็เจาะช่องหน่อย น้ำมาจะได้ไหลทะลักไป

เก็บไว้ตรงนั้น พอเต็มก็ทำประตูปิดไว้ หน้าแล้งจะได้เอามาใช้ แล้วก็

มาถึงเขื่อนที่มีอยู่แล้ว ก็ต้องบริหารจัดการ ยามไหนจะเปิด-ปิดประตู

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

และกรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

4

สัมภาษณ์พิเศษ

Page 5: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ระบายน้ำตามจังหวะที่สมเหตุสมผล คือ ต้องบริหารเขื่อนทั้งหลาย

ให้มีประสิทธิภาพ คำนวณดี ๆ ตามหลักวิชาการ ให้น้ำถูกใช้

ประโยชน์อย่างเต็มที่

ถ้ายังมีน้ำลงมามาก ก็มีหลักการหรือปรัชญาง่าย ๆ ว่า คนยัง

ต้องการถนนคนเดิน รถต้องการถนนรถวิ่ง น้ำเขาก็อยากได้ทางเดิน

ของเขาเหมือนกัน แต่ไม่มีใครสนใจสร้างให้ จึงเป็นที่มาของคำว่า

“ฟลัดเวย์” ที่พระเจ้าอยู่หัวรับสั่ง ฟลัดเวย์ คือ เมื่อน้ำไหลทะลักมา

ตอ้งหาทางใหเ้ขาไป จะไปทางไหน แมก่ลอง บางปะกง หรอืเจา้พระยา

สุดท้ายก็ต้องลงทะเล ก็วางแผนบริหารจัดการไป

ต่างจังหวัดยังมีทางเลี่ยง มีบายพาส ไม่ต้องให้รถเข้าไปติด

เหมือนกัน น้ำมาก็เชิญเขาไปทางนั้นทางนี้ จะเป็นไร่เป็นสวนเป็นนา

ก็ตาม เวลาน้ำมา ขอผ่านหน่อยได้ไหม แล้วรัฐหรือหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องก็จัดการให้เรียบร้อย ตอนไหนให้น้ำผ่านก็ชดเชยเสีย เพราะ

ถึงอย่างไร ถ้าน้ำท่วมก็ต้องชดเชยอยู่ดี เขาอาจดีใจก็ได้ว่า น้ำท่วม

ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องเพาะปลูกแต่ได้เงิน

ลงมาถึงชุมชน มีพระราชดำริสอนแก้ปัญหาน้ำท่วมในชุมชน

ไว้แล้วตั้งหลายแห่ง เช่น หาดใหญ ่ สัตหีบ คลองตะเภา ที่กรุงเทพฯ

มีคนก่อสร้างขวางคลอง มีตอม่อใหญ่โตที่ไม่เปิดทางให้น้ำไหล

โดยสะดวก ก็ต้องจัดระเบียบ และรีบทำเสียตอนที่กำลังเดือดร้อน

ผลดัไปเดีย๋วลมื ถา้บรหิารจดัการใหด้ ีทำอยา่งนี ้ปญัหากจ็ะทเุลาลงได ้

การแก้ปัญหา ควรเริ่มต้นและเดินไปในทิศทางนี้

ผมคดิวา่เราตอ้งปรบัตวั เพราะวา่ธรรมชาตเิขาปรบัตวั เปลีย่นแปลง

แต่มนุษย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ทำอะไรไปตามความเคยชิน อยู่ง่าย ๆ

ทำง่าย ๆ หวังประโยชน์เฉพาะหน้า จะตั้งถิ่นฐานทำกิน ไม่เคยคำนึง

ว่าเหมาะหรือไม่เหมาะ ไปตั้งขวางทางน้ำชุลมุนไปหมด ระเบียบวินัย

บ้านเราไม่ค่อยมี กฎ กติกาวางไว้ก็ไม่ค่อยมีใครปฏิบัติ ถูกละเมิด

ตลอดเวลา พื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้โดยผังเมืองโดยอะไรก็แล้วแต่ ไม่ได้

เป็นไปตามนั้น ป่าถูกเผา กรุงถูกบุกรุก มันก็หมดทั้งป่าทั้งกรุง

เราขาดการควบคุม ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเลวร้ายลง

คิดว่า ต้องเอาจริงเอาจังกันแล้ว เมื่อธรรมชาติเปลี่ยน เราก็

ต้องปรับเปลี่ยนตาม พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งเตือนเสมอว่า เราต้องให้

ความเคารพภูมิสังคม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งที่อยู่แวดล้อมเรา

เราต้องปรับต้องเปลี่ยนตามด้วย

ถ้าเอาจริงเอาจังตามที่ท่านเสนอ ก็จะเป็นครั้งแรก

ที่การแก้ปัญหาน้ำมีการบูรณาการอย่างแท้จริง

ก็ใช่ เราโดนลงโทษอย่างแรง ไม่เช่นนั้น ก็คงไม่เป็นอย่างนี้

ก็ต้องเริ่มคิดแล้ว ไม่ทำเราตาย เลยเกิดบูรณาการขึ้น น้ำนั่นแหละ

ที่สอนเรา ตื่นขึ้นมาเสีย รู้สึกตัวเสีย เริ่มจัดการเสียที ผมเองเป็น

ที่ปรึกษา ก็ได้แต่แนะได้แต่เตือนได้แต่ให้ข้อคิดบางประการ แต่

ทั้งหลายทั้งปวงขึ้นอยู่กับรัฐบาล ฝ่ายบริหารจะต้องลงมาจัดการ

แม้ว่าบ้านเมืองเรา อะไร ๆ คงไม่รวดเร็วฉับพลัน แต่อย่างน้อย ถ้า

เริ่มดี ๆ ค่อย ๆ ทำ ก็ยังได้ประโยชน์

ครั้งนี้จะถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะผลักดันให้มีการนำ

แนวพระราชดำริมาเป็นหลักในการแก้ปัญหาได้หรือไม่

จะผลักดันต้องมีพละกำลัง งานของพระเจ้าอยู่หัวนั้น ท่านไม่มี

อำนาจในเชิงบริหาร พระเจ้าอยู่หัวไม่เคยสั่งการ และท่านสั่งไม่ได้

ด้วยอำนาจใด ๆ ที่หน่วยงานต่าง ๆ มี ท่านไม่มี เพราะฉะนั้น ท่าน

ก็ทำให้ดู บทเรียนที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสอน มีให้ครบหมด ดิน น้ำ ลม

ไฟ ทุกสถานที่ อยู่ที่ใครจะเอามาใช้ จะประสานกันหรือไม่ ท่านไม่มี

อำนาจอะไรจะบังคับ วิธีก็คือ สร้างศรัทธาให้เกิดขึ้น ซึ่งต้องยอมรับ

ว่าช้า แต่จะทำอย่างไร ก็ต้องคอยอธิบาย แล้วหวังว่าทุกคนจะเห็น

พ้องต้องกัน แล้วรับแนวนี้ไปทำ

แต่ถ้านำแนวพระราชดำริมาใช้อย่างจริงจัง

ก็จะแก้ปัญหาของประเทศได้

เป็นความหวัง ถึงยังไม่สำเร็จก็ต้องถ่ายทอดความหวังต่อไป

ให้ถึงฝั่ง แล้ววันนั้น เราจะพูดได้เต็มปากว่า เราเดินตามรอย

พระองค์ท่าน ชีวิตเราก็รอด

5

สัมภาษณ์พิเศษ

Page 6: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าจากการพัฒนาตลอด

60 ปทีีผ่า่นมา จากขอ้มลูสถติพิบวา่ ในชว่งเวลาดงักลา่ว ประชากรไทย

เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น 30 เท่าตัว รายได้

ต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว (จาก 6,594 บาท ในปี 2492

เป็น 64,500 บาทในปัจจุบัน) เส้นระดับความยากจนลดลงมาก

แตจ่ากสถตินิีน้กัวชิาการสว่นใหญเ่หน็วา่ ไมค่วรยนิดกีบัความสำเรจ็นี ้

มากนัก เพราะประเทศไทยยังคงประสบปัญหาหลัก 4 ประการ

คือ (1) ประชากรใต้เส้นความยากจน ยังมีจำนวนมากนับล้านคน

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ และ

ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะระหว่างมหานครกับภูมิภาค

(2) ความสำเร็จนี้แลกมาด้วยทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก

ที่ถูกใช้ไปจนลดน้อยลงเรื่อย ๆ และสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจน

น่าเป็นห่วง (3) ความไม่สมดุลระหว่างเมืองและชนบท ขณะที่ใน

สงัคมชนบท ผูค้นอยูก่บัธรรมชาต ิสดชืน่ ไมต่อ้งเรง่รบี มคีณุภาพชวีติ

ที่ดีกว่า สังคมเมืองต้องพบกับสภาพความแออัด จราจรติดขัด เป็น

เรียบเรียงจากปาฐกถาพิเศษ ของ ดร.จิรายุ อศิรางกรู ณ อยธุยา ประธานคณะอนกุรรมการ ธุรกิจเพื่อสังคม และกรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 ณ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด

ปิดทองหลังพระฯ หลักการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน

ตามแนวพระราชดำริ

6

บทความ

Page 7: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น และ (4) ระดับคุณธรรมและศีลธรรมในใจ

คน ถดถอยสวนทางกับรายได้ต่อหัวสูงขึ้น ทำให้เกิดปัญหามากมาย

เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด หนี้สิน คอร์รัปชัน กระแสวัตถุนิยม

การบริโภคเกินความจำเป็น การใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม และขาด

สำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม

เราจึงไม่ควรยินดีกับรายได้ต่อหัวที่สูงขึ้น แต่ควรให้ความสนใจ

และร่วมกันคิดหาทางออกให้แก่ปัญหา 4 ประการนี้ โดยเริ่มจาก

พิจารณาความสอดคล้องของกระบวนการทำงานของชุมชนกับการ

แก้ปัญหาที่กล่าวมา “ปิดทองหลังพระฯ ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา 4 ประการนี้ ภายใต้แกนหลักในการพัฒนา

คือ กรอบองค์ความรู้ 6 มิติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องน้ำ

ดิน เกษตร พลังงานทดแทน ป่า สิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนา

3 ระดับ คือ อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน”

วิธีหรือกระบวนการในการพัฒนาที่สำคัญ ของสถาบันส่งเสริม

และพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ คือ ชุมชนต้องเป็นเจ้าของ

เป็นผู้ต้องการการพัฒนา สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทอง

หลังพระฯ จะสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยง และเป็นกัลยาณมิตร

“สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การนำความรู้ และปัญญาจากพระราช

ดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม

ราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบรมวงศา

นุวงศ์ มาถ่ายทอดให้ชุมชน โดยผนวกกับความรู้ที่เป็นสากล และ

ความรูด้ัง้เดมิของชมุชนและปราชญช์าวบา้น เพือ่กอ่ใหเ้กดิการพฒันา

เช่นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต้นแบบปิดทองหลังพระฯ”

เงินไม่ได้เป็นตัวช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่จิตสำนึกของ

คนในชุมชนต่างหากที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จากคำถามของ

ผู้นำชุมชนที่ว่า ทำอย่างไร จึงจะขยายผลการพัฒนาออกไปให้กว้าง

ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั้น สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม

ปิดทองหลังพระฯ ซึ่งจัดตั้งขึ้น โดยมีเป้าหมายในการขยายผล

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริไปทั่วประเทศ จึงทำหน้าที่รณรงค์

ให้ภาคเอกชนที่เข้มแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการพัฒนา 50-60 ปี

ที่ผ่านมาหลายร้อยบริษัทให้เข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยง เป็นผู้สนับสนุน

ให้เกิดกระบวนการพัฒนาทั่วประเทศ พร้อมกับระดมผู้สนับสนุน

ที่เห็นแก่ประโยชน์ของสังคมจำนวนมาก เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย

ข้าราชการ รวมทั้งเอ็นจีโอ เพื่อช่วยในการพัฒนา ลดความเหลื่อมล้ำ

ความไม่สมดุลระหว่างสังคมเมืองและชนบท แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

และทำให้คุณธรรม ศีลธรรมของคนสูงขึ้น

3 ปีในการดำเนินงาน สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรม

ปิดทองหลังพระฯ เริ่มจากจังหวัดน่าน พัฒนาไปที่จังหวัดอุดรธานี

และต่อยอดพื้นที่ขยายผลในอีก 10 จังหวัด 18 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ

โดยหวังจะดำเนินงานด้วยความเพียรไปเรื่อย ๆ เพื่อให้การพัฒนา

ครอบคลุมทั่วประเทศ เพราะเชื่อว่าหากทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและผนึก

กำลงักนัทำงาน กจ็ะถงึจดุหมายปลายทางไดด้ว้ยด ีดงัพระราชนพินธ์

เรื่องพระมหาชนกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนหนึ่งว่า

“...เมื่อเรืออับปางในทะเล มองไม่เห็นฝั่ง เราก็ต้องว่ายน้ำต่อไป...”

เหมอืนสิง่ทีเ่รากำลงัทำทกุวนันี ้ทีห่วงับรรลเุปา้หมายการพฒันาประเทศ

อยา่งยัง่ยนื ทัง้ทีย่งัมองไมเ่หน็ความสำเรจ็ แตก่ต็อ้งเพยีรทำไปเรือ่ย ๆ

จุดดีของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ

คอื มอีงคค์วามรูแ้ละปญัญาตามแนวพระราชดำร ิ ทีจ่ะนำไปใหห้มูบ่า้น

ที่ต้องการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง ถึง

แม้จะเริ่มงานช้ากว่าคนอื่น แต่ก็มีความมั่นคง และมีการนำความคิด

ดี ๆ ไปปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ ทำให้ความคิดไม่เป็นเพียงความคิด

แต่เกิดความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้

“วิธีการทำงานของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทอง

หลังพระฯ ที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ คือ การสร้างคนที่มีความคิด

ที่ถูกต้อง มีการทำงานที่ถูกต้อง อาศัยชุมชนให้เป็นเจ้าของร่วมกัน

พัฒนา หากสามารถสร้างจิตสำนึก สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้น

ทั่วประเทศ รวบรวมสรรพกำลังของคนที่มีประสบการณ์มากมาย

มาร่วมกัน ก็จะสามารถขยายผลไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนว

พระราชดำริของเจ้านายทุกพระองค์ได้ ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไปได้

ให้ความหวังเหล่านี้เป็นจริง ทำให้พี่น้องโดยเฉพาะในชนบท ได้มีชีวิต

ที่ดีขึ้น และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป”

7

บทความ

Page 8: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

บ้านท่าลอบ ตำบลโพทะเล อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัด

สิงห์บุรี ในอดีตเคยเป็นพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์ทั้งผักทั้งปลา แต่

ชาวบ้านท่าลอบในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ต้องหันไปประกอบอาชีพรับจ้าง

ทั้งรับจ้างทำนา รับจ้างหว่านข้าว หว่านปุ๋ย ฉีดยา ตัดอ้อย ตัดวัชพืช

และเกือบครึ่งหนึ่งต้องออกไปรับจ้างนอกพื้นที่ รองลงมา ประกอบ

อาชีพเกษตรกรรม

จากการสำรวจของทีมงานปฏิบัติการระดับพื้นที่ สถาบันส่งเสริม

และพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 พบว่า รายได้ของคนท่าลอบ เฉลี่ยต่อ

ครัวเรือนอยู่ที่ 273,400 บาทต่อปี ขณะที่รายจ่ายเฉลี่ยอยู่ที่

90,013 บาท และมีหนี้สินเฉลี่ย 86,360 บาท จากประชากรทั้งหมด

135 หลังคาเรือน 157 ครอบครัว 502 คน มีงานทำเพียง 318 คน

เกินครึ่ง คือ 193 คน ประกอบอาชีพรับจ้าง มีเพียง 101 คน

ที่เป็นเกษตรกร

ปัญหาใหญ่ของบ้านท่าลอบ ที่ทำให้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ไม่ได้ผลเท่าที่ควร นอกจากการขาดแคลนน้ำ เพราะพื้นที่เกษตรกรรม

อยู่สูงกว่าระดับคลองชลประทาน ทำให้ชาวบ้านต้องสูบน้ำจาก

คลองชลประทานเข้าแปลงนาแล้ว ยังมีปัญหาผลผลิตการเกษตร

ตกต่ำ ขณะที่ต้นทุนการผลิตทุกอย่างสูง ทั้งปุ๋ย สารเคมี น้ำมัน

ค่าแรง หนำซ้ำการทำนาแต่เพียงอย่างเดียวถึง 5 ครั้ง ในเวลา 2 ปี

โดยไม่มีการพักดิน การต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการทำนามากขึ้น

เรื่อย ๆ ดินจึงเสื่อมคุณภาพ แน่นทึบ จับตัวเป็นก้อน มีอินทรีย์วัตถุ

เดินหน้าแข็งขันสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานความอุดมสมบูรณ์มาก พืชจึง

แคระแกร็น ออกดอกช้ากว่าปกติ เปอร์เซ็นต์ดอกติดผลต่ำ ราก

ผอมบาง ลำต้นไม่แข็งแรง ทั้งยังมีปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช

อีกมาก เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคใบขาว หนอนกอ เชื้อรา

ข้าวดีด หญ้าหางหมาและหญ้าดอกขาว

นางละมยั แสงหริญั ผูใ้หญบ่า้นบา้นทา่ลอบ เลา่วา่ ปญัหาที ่

เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงต้องกู้หนี้ยืมสิน

ทัง้จากธนาคาร สหกรณอ์อมทรพัย ์กองทนุเงนิลา้น รวมทัง้หนีน้อกระบบ

8

บทความ

Page 9: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

“ได้ไปดูงานปิดทองหลังพระฯ ที่น่านแล้วเกิดศรัทธา เชื่อว่า

แนวทางปิดทองฯ จะแก้ปัญหาให้ชาวบ้านได้จริง เมื่อกลับมา จึง

ลงมือสำรวจข้อมูลเอง โดยเอาตัวอย่างจากน่านมาปรับใช้ ทำให้

รู้ว่าเรายังขาดความรู้ ทำนาแบบตามมีตามเกิด แบบเดิม ๆ จึงอยาก

ให้ปิดทองฯ เข้ามาส่งเสริมความรู้ ปรับสภาพดินให้ดีขึ้น อบรม

การเลี้ยงสัตว์ และสอนให้ชาวบ้านอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพา

คนอื่น เชื่อว่าจะทำให้บ้านท่าลอบสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

เพราะชาวบ้านมีความเข้มแข็ง และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือ

อยู่แล้ว”

เมื่อปิดทองหลังพระฯ เลือกบ้านท่าลอบเป็นพื้นที่ขยายผล

และทีมปฏิบัติการระดับพื้นที่ได้ทำการสำรวจข้อมูล ปัญหาและ

ความต้องการของชาวบ้านแล้ว มีการจัดทำแผนระยะเร่งด่วน

(Quick Win) ระยะ 3 เดือน เพื่อแก้ปัญหาศัตรูพืชทางการเกษตร

และการบริหารจัดการน้ำ เริ่มจากการให้คำแนะนำในการแก้ปัญหา

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ด้วยการพักดิน เพื่อตัดวงจรอาหารของ

เพลี้ยกระโดด แทนการปราบปรามด้วยสารเคมี แนะนำให้เพิ่ม

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี รณรงค์ให้เกษตรกรพักดิน

ด้วยการทำแปลงนาตัวอย่าง ที่ปลูกข้าวสลับกับการพักดิน และ

ไถหว่านพืชตระกูลถั่ว ปอเทืองหรือโสนแอฟริกัน แล้วเปรียบเทียบ

ให้เห็นว่า ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเท่าไร และจะลดต้นทุนลงได้เท่าไร

รวมทั้งมีการสนับสนุนกองทุนต่าง ๆ ตามความต้องการของชาวบ้าน

เช่น กองทุนผลิตผักปลอดภัย กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว กองทุนประมง

น้ำจืด

นายประจวบ เพชรทอง อดีตครูและแกนนำชาวบ้าน

บอกว่า เมื่อชาวบ้านรู้ว่าปิดทองหลังพระฯ จะเข้ามาช่วยเหลือ

ก็พร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่ โดยเรื่องที่ชาวบ้านต้องการให้ปิดทองฯ

ส่งเสริม คือ ความรู้ด้านการเกษตร การสังเกตโรคที่เกิดกับข้าว

และพืชผลต่าง ๆ

“ผมเคยทดลองปลูกมะนาว ผักบุ้ง ผักชี มะเขือ เลี้ยงปลา ทำ

น้ำหมักชีวภาพ ลองผิดลองถูก เสียเวลา เสียเงินลงทุนไปมาก หากได้

ความรู้ จะทำให้ไม่ต้องเสียเงินลงทุนมาก และคงได้ผลผลิตดีขึ้น”

ส่วน นายสุนทร สัมฤทธิ์ ชาวนาวัย 68 ปี ก็บอกว่า ที่ผ่านมา

ทำนาโดยใช้สารเคมีมาตลอด และไม่เคยพักดิน เพราะไม่เคยรู้เลยว่า

ควรทำนาอย่างไร ทำปุ๋ยธรรมชาติอย่างไร ถ้าปิดทองหลังพระฯ

เข้ามาให้ความรู้ ก็เชื่อว่าจะช่วยให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

นางป้อม แก้วแจ่ม เกษตรกรที่เริ่มเลี้ยงหมูปิดทองฯ แสดง

ความเชือ่มัน่ในปดิทองหลงัพระฯ วา่จะทำใหช้าวบา้นลมืตาอา้ปากได ้

ไม่ทอดทิ้งชาวบ้านไว้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ “ได้รับหมูมา 2 ตัว เพิ่งเริ่มเลี้ยง

มาได้ 4 เดือน อยากให้ปิดทองฯ ให้ความรู้และคอยดูแล

อย่างใกล้ชิด เพราะหมู่บ้านนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ประจำ”

ขณะที่ นางประมวน เหมือนแตง ซึ่งได้รับพันธุ์ปลาจาก

ปิดทองฯ มาเลี้ยง 2,000 ตัว พร้อมกับพันธุ์ข้าวโพดเทียน มา

ปลูกเสริมการทำนา ปัจจุบันเริ่มได้ผลผลิตข้าวโพดแล้ว พร้อม

กับความหวังว่า อีกไม่นานจะสามารถจับปลาที่เลี้ยงไว้ไปขายได้

ต่อไปจึงอยากให้ปิดทองฯ ช่วยหาตลาดให้ เพราะชาวบ้านไม่รู้แหล่ง

ที่จะนำผลผลิตไปขายได้

เมื่อชาวบ้านแข็งขันที่จะร่วมมือพัฒนาหมู่บ้าน ปัจจุบันบ้าน

ท่าลอบ จังหวัดสิงห์บุรี จึงก้าวเข้าสู่ขั้นการยกร่างจัดทำแผนพัฒนา

ชนบทเชิงพื้นที่เชิงประยุกต์ตามแนวพระราชดำริได้อย่างรวดเร็ว

และกำลังเดินหน้าต่อ พร้อมกับความเชื่อมั่นในแนวทางพระราชดำริ

ว่าจะทำให้พวกเขาดำรงชีพได้อย่างยั่งยืนมั่นคงต่อไป

ละมยั แสงหริญั ประจวบ เพชรทอง สุนทร สัมฤทธิ์

ปอ้ม แกว้แจม่

ประมวน เหมอืนแตง

9

บทความ

Page 10: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และมูลนิธิ

สบืนาคะเสถยีร จะรว่มกนัสรา้งมติใิหมใ่นการอนรุกัษแ์ละฟืน้ฟผูนืปา่

ทรัพยากรสำคัญของชาติ ที่มีเหลืออยู่น้อยมาก จนน่าใจหาย

จากทีเ่คยไปศกึษาดงูานปดิทองฯ ทีจ่งัหวดันา่น ทำให ้นางรตยา

จันทรเทียร ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวอย่างมั่นใจว่า

ทั้งมูลนิธิสืบฯ และปิดทองฯ มีแนวทางเดียวกัน คือ ให้ชุมชนอยู่ได้

โดยใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับผืนป่า

“ทั้งสองมูลนิธิมีธงเดียวกัน แม้ว่าปิดทองฯ จะเน้นในเรื่องของ

คนรักษาคน แต่ก็เน้นในเรื่องการรักษาป่าด้วย ไม่ให้คนขยายเข้าไป

ป่าที่เทวดาสร้าง จะทำอย่างไรกับป่าที่ถูกใช้ไปแล้ว ให้มีการใช้อย่าง

ได้คุณภาพ ได้มูลค่าสูงสุด ได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนมูลนิธิสืบฯนั้น

มีหลักการเดียวกัน คือ ดูแลคนที่อยู่ในป่า มีการกันเขตเพื่อไม่ให้

มีการบุกรุกป่าเพิ่มมากขึ้น ด้วยการส่งคนเข้าไปอยู่กับชาวบ้าน ไป

ปรับทุกข์ผูกมิตร ให้เข้าใจว่าเราทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ

บ้านเมือง”

เพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมือง รวมทั้งเพื่อลูกหลาน ก็เป็น

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ประธานมูลนิธิสืบฯ ตัดสินใจเข้ามาทำงาน

ร่วมกับ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ

และประธานคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาป่าต้นน้ำ

ในการทำงานรักษาป่า อาจารย์รตยา เสนอแนวทางว่า “การ

ดูแลป่า มี 2 เรื่อง คือ อนุรักษ์และฟื้นฟู ก่อนจะฟื้นฟู ตรงไหนที่

เป็นป่าดั้งเดิม ต้องอนุรักษ์ไว้ให้ได้ทั้งหมด เพราะมีเหลืออยู่แค่นี้ และ

การฟื้นฟูก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกว่าที่ป่าจะทำหน้าที่เก็บน้ำ เก็บ

ภาคีภาครีวมใจรวมใจมูลนิธิสืบนาคะเสถียร-ปิดทองฯ สองพันธมิตรรักษาป่าต้นน้ำ

ความชื้นและความหลากหลายทางชีวภาพได้ต้องใช้เวลา เราปลูกป่า

กัน 20 ปี ก็ยังไม่ได้เหมือนที่ธรรมชาติสร้าง”

กระนั้น อาจารย์รตยา ก็กล่าวว่า ยังดีใจที่เราเห็นด้วยกัน และ

เริ่มกันตั้งแต่ พ.ศ.นี้ อีก 30 ปีข้างหน้า ลูกหลานจะได้มีความมั่นคง

ทางทรัพยากร เพราะทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรม

เป็นชาวนา เป็นคนทำงานออฟฟิศ ก็ต้องใช้น้ำจากป่าด้วยกันทั้งสิ้น

“แนวทางของปิดทองหลังพระฯ ที่จะคืนพื้นที่ป่ากลับมาให้ได้

60 เปอร์เซ็นต์ และเป็นป่าเศรษฐกิจ 40 เปอร์เซ็นต์ อย่างน้อยก็เป็น

ความหวัง เป็นกำลังใจได้ว่า การฟื้นฟูป่าจะได้ผล”

หัวใจของความสำเร็จ ประธานมูลนิธิสืบฯ บอกว่า อยู่ที่คน และ

การทำงานกับคนนั้น เป็นเรื่องที่ทำกันไม่เสร็จ จึงต้องมีคนที่ทำงาน

จรงิจงัตอ่เนือ่ง ตอ้งคำนงึถงึภมูปิระเทศ และเมือ่มหีลกัการ วธิกีารแลว้

ก็ยังต้องหาเพื่อน หาคนข้างนอกมาเป็นมิตร ช่วยกันทำงานอีกด้วย

ปิดทองหลังพระฯ และมูลนิธิสืบฯ จึงจับมือเดินบนเส้นทาง

เดียวกันในวันนี้

10

บทความ

Page 11: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

และคลองสง่นำ้ของหมูบ่า้นดว้ยตนเอง ตามรปูแบบปดิทองหลงัพระฯ

โดยจัดกำลังวันละ 70-80 คน หมุนเวียนกันช่วยขุดอยู่นานนับเดือน

บางจุดที่มีตะกอนหนาถึง 2 เมตร ชาวบ้านก็รวมเงินกันเอง การ

ขุดลอกลำเหมืองทั้ง 3 สาย จึงแล้วเสร็จ และมีการทำท่อส่งน้ำมา

เก็บไว้ในถังเก็บน้ำของหมู่บ้าน สำรองไว้ใช้ตลอดปี

ทกุวนันี ้ ลำเหมอืงทกุลำเหมอืง คลองสง่นำ้ทกุสายในบา้นสะเกนิ

มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สามารถแจกจ่ายน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้มากถึง

1 แสนไร่ ทั้งที่บ้านสะเกินมีพื้นที่เกษตรเพียง 2,377 ไร่ ชาวบ้าน

ทุกคนมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 60-70 ถัง/ไร่ จากเดิมเฉลี่ยไม่เกิน

40 ถัง/ไร่ และสามารถปลูกพืชหลังนาอย่าง บรอกโคลี กะหล่ำ พริก

ซุปเปอร์ฮอต อีกด้วย และทำให้บ้านสะเกินเป็นตัวอย่างของการ

บริหารจัดการน้ำ “กลางน้ำ” อีกด้วย

บ้านสะเกิน จึงเป็นการพัฒนาโดย “ระเบิดมาจากข้างใน” อย่าง

แท้จริง นั่นคือ เป็นการพัฒนาตามความต้องการของชุมชนเอง ลงมือ

ต่อสู้กับปัญหาของตัวเอง และร่วมกันพัฒนาชุมชนโดยไม่ต้องรอ

ความช่วยเหลือจากภาครัฐ จนเกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรม พึ่งพา

ตนเองได้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ตัวอยางชุมชนตัวอยาง

ชุมชน

แห่งการระเบิดจากข้างใน

การสง่เสรมิอาชพีเกษตร ปศสุตัว ์และปา่เศรษฐกจิ ในพืน้ทีต่น้แบบที่

บา้นยอด ซึง่มอีาณาเขตตดิตอ่กนั ชาวบา้นสะเกนิจงึตดัสนิใจประสาน

กบัเจา้หนา้ทีป่ดิทองฯ ขอใหม้าชว่ยศกึษาและหาทางแกป้ญัหาให ้

บา้นสะเกนิ ในพืน้ทีต่ำบลยอด อำเภอสองแคว จงัหวดันา่น

มีปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรมาหลายสิบปี ทั้งที่มีอ่างเก็บน้ำ

น้ำงิม รวมทั้งคลองส่งน้ำ และลำเหมืองอีกหลายสายอยู่ในพื้นที่

จนเมื่อชาวบ้านสะเกิน ได้เห็นกระบวนการทำงานของปิดทอง

หลังพระฯ ในการนำองค์ความรู้การพัฒนาแนวพระราชดำริมาใช ้

จนสำเรจ็เปน็รปูธรรม ทัง้เรือ่งแหลง่นำ้ การฟืน้ฟปูรบัปรงุคณุภาพดนิ

การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลร่วมกัน ทำให้พบสาเหตุว่า ทั้งฝายห้วย

ต้นผึ้ง ฝายประชาอาสา รวมทั้งคลองส่งน้ำไม่เพียงชำรุดเสียหาย

แต่ยังมีดิน หิน ตะกอนทราย และเปลือกข้าวโพด ทับถมอยู่ใน

ลำเหมืองหนาถึง 2 เมตร

ชาวบ้านสะเกิน 155 หลังคาเรือน ทั้งหญิงและชายกว่า 500 คน

ได้ตกลงร่วมแรงร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซ่อมฝาย ลำเหมือง

11

บทความ

Page 12: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ของนายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ผู้มาทำงานต่างพระเนตรพระกรรณ

ในการบำบดัทกุขบ์ำรงุสขุใหก้บัราษฎร แมจ้ะมผีลทางจติวทิยาอยูบ่า้ง

แต่หัวใจของความสำเร็จอยู่ที่การมีคนนำทำเป็นตัวอย่าง พิสูจน์ให้

คนอื่น ๆ เห็นว่า การทำนาขั้นบันไดจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่

ดีขึ้นได้จริง ๆ

ผู้นำในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของชาวบ้าน คือ ลุงเสริม

อุ่นถิ่น ที่เห็นว่าการทำนาขั้นบันไดจะช่วยพลิกฟื้นผืนดินแร้นแค้น

แตกระแหงให้เขียวชอุ่มได้ และอาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่แกจะลืมตา

อ้าปากได้ บวกกับเห็นความตั้งใจจริงของปิดทองฯ ที่จะเข้ามาพัฒนา

พื้นที่ ลุงเสริมจึงยอมละความเชื่อแต่ดั้งเดิม และตัดสินใจเข้าร่วมขุด

นาขั้นบันได ตั้งแต่เริ่มต้นในวันฤกษ์ดี วันพระราชสมภพสมเด็จ

พระศรีนครินทราบรมราชชนนี 21 ตุลาคม 2552

กา้วทีก่ลา้ของ...

สูค่วามยัง่ยนืในวนันี้

ไว้บริโภคในครัวเรือน และยังมีเหลือไว้ขาย

ความขยัน มานะ อดทน ทำให้ภายในเวลาเพียง 2 ปี หลังเข้า

ร่วมปิดทองฯ ลุงเสริม ปลดหนี้ที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อการเกษตรและ

สหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กว่า 20,000 บาท ได้จนหมด

“ปิดทองฯ เข้ามานี่เปลี่ยนชีวิตไปหลายอย่าง ปลดหนี้ได ้ มีผัก

ไว้กิน มีเงินเหลือเก็บ ทำตามที่ปิดทองฯ แนะนำ ได้ประโยชน์

หลายอย่าง ตอนแรกหนักใจกลัวทำไม่ได้ แต่พอทำไปเรื่อย ๆ ได้เห็น

ผลผลิตงอกงาม ก็สบายใจ ได้คิดด้วยว่า เมื่อปิดทองฯ ตั้งใจทำให้เรา

ขนาดนี้แล้ว เราก็ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ น้ำก็มี เมล็ดพันธุ์ก็มี เรา

มีหน้าที่แค่ออกแรงอย่างเดียว ทำไมจะทำไม่ได้”

ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงในวันนั้น ทำให้ลุงเสริม

อุ่นถิ่น อยู่ได้อย่างยั่งยืนในทุกวันนี้

“แรก ๆ ก็คิดว่า การขุดดินทำนาขั้นบันไดคงยาก เพราะไม่เคย

ทำมาก่อน แต่พอมีคนมาช่วยเป็นร้อย ก็รู้สึกดี มีความหวังว่าจะทำได้

สำเร็จ”

ลุงเสริม อุ่นถิ่น ขุดนาขั้นบันไดครั้งแรก 5 แปลง และต่อมาขุด

เพิ่มอีก 4 แปลง รวม 4 ไร่ ใช้เวลาขุดติดต่อกัน 5 วัน จึงแล้วเสร็จ

จากนั้นก็ใช้น้ำจากบ่อพวงสันเขา ที่ปิดทองฯ สนับสนุนให้ชาวบ้านขุด

หลังจากมีนามีน้ำใช้ในการเกษตร ลุงเสริมก็ปลูกข้าว หมดหน้านาก็

ปลูกพืชหลังนาหลากหลาย ทั้ง เรพซีด ถั่วเหลือง ผักกาด กะหล่ำ

จากความเชื่อที่ชนเผ่าลัวะยึดมั่นมาแต่บรรพชนว่า การขุดดิน

การเอาดินกลับบ้านจะเป็นการผิดผี เมื่อปิดทองหลังพระฯ เข้ามาใน

พื้นที่บ้านเปียงซ้อ ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ พร้อมกับ

องค์ความรู้ในการทำนาขั้นบันได ซึ่งจะเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้พอกิน

แทนการปลูกข้าวไร่แบบดั้งเดิม จึงไม่สามารถชักจูงใจชาวบ้านให้

เข้าร่วมขุดนาขั้นบันไดได้

แม้ว่าจะมีการเซ่นไหว้เจ้าที่ เลี้ยงผี เชิญหมอผีมาทำพิธีขอขมา

แล้วก็ตาม ราษฎรก็ยังกลัว ไม่กล้าขุดดินอยู่ดี กุศโลบาย “พญาผี”

12

บทความ

Page 13: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

คูพัฒนาคูพัฒนาเรียนรูเรียนรู

เมื่อปิดทองหลังพระฯ เข้ามาดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ

อย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอ

หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี รวมทั้งพื้นที่ขยายผลอีก 10 จังหวัด ก็ได้

พบว่า มีพื้นที่ เกษตรจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ

เนือ่งจากพืน้ทีเ่หลา่นัน้อยู่สูงกว่าแหล่งน้ำมาก

ปิดทองหลังพระฯ จึงน้อมนำแนวทางพระราชดำริ การใช้

ปั๊มน้ำพลังน้ำ (Hydraulic Ram) หรือ ตะบันน้ำ มาใช้แก้ปัญหา

ด้วยเริ่มจากนำตะบันน้ำมาทดลองใช้ในพื้นที่ปิดทองฯ ที่แปลงเกษตร

สาธิต บ้านแสงอร่าม ของนายบุญมาก

สิงห์คำป้อง

เครือ่งสบูนำ้พลงันำ้ เปน็เครือ่งสบูนำ้

ที่ทำงานในตัวเองได้โดยอัตโนมัติ โดย

ใช้พลังงานจากน้ำเป็นตัวผลักดันให้

อุปกรณ์ของเครื่องทำงาน มีหลักการ

ทำงานง่าย ๆ คือ เมื่อน้ำจากฝายหรือ

อ่างเก็บน้ำไหลเข้าท่อรับน้ำลงสู่ห้องลิ้น

ปริมาตรและความเร็วในการไหลของ

น้ำในท่อ จะทำให้เกิดแรงยกปิดลิ้นทิ้งน้ำ และเกิดแรงดันไปเปิด

ลิ้นจ่ายน้ำ น้ำส่วนหนึ่งจะไหลเข้าไปในหม้ออัดอากาศ ส่งผ่านวาล์ว

กันน้ำกลับ แล้วไหลเข้าสู่ท่อจ่ายน้ำขึ้นไปยังถังพักน้ำในที่สูงกว่า

10-15 เท่า ของระดับความสูงของน้ำป้อนเข้าเครื่อง ขณะเดียวกัน

ความดันของน้ำในห้องลิ้นทิ้งน้ำที่ลดลง จะทำให้ลิ้นจ่ายน้ำถูกปิด

ลิ้นทิ้งน้ำเปิด ครบจังหวะการทำงานและเริ่มต้นการทำงานใหม่

ต่อเนื่องไป โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหรือน้ำมันเชื้อเพลิง

ตะบนันำ้ หรอื เครือ่งสบูนำ้พลงันำ้ นี ้พระบาทสมเดจ็พระเจา้

อยู่หัว พระราชทานพระราชดำริเมื่อปี 2522 ให้กรมชลประทานรื้อฟื้น

ดัดแปลงจากเครื่องของต่างประเทศ พร้อมกับทรงให้พัฒนาประดิษฐ์

อปุกรณต์า่ง ๆ ขึน้มาใหม ่ ใหม้ปีระสทิธภิาพในการทำงานมากขึน้และ

มไิดท้รงจดลขิสทิธิ ์เพือ่ใหเ้กษตรกรทกุคนนำไปเปน็แบบสรา้งขึน้ใชเ้องได้

นายสมรส พรหมมินทร์ ผู้จัดการส่วนภาคสนาม มูลนิธิ

แม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ตะบันน้ำที่ปิดทองฯ

นำมาใช้ มีต้นทุนเพียง 2,500 บาท มีประสิทธิภาพในการสูบน้ำขึ้น

ที่สูงได้ประมาณ 12 เมตร ในอัตรา 1,000 ลิตร/ชั่วโมง เพียงพอ

สำหรับใช้ในพื้นที่เพาะปลูกกว่า 20 ไร่ของนายบุญมากได้

“หลังจากทดลองให้เกษตรกรได้เห็นความสำเร็จแล้ว ก็จะนำ

องค์ความรู้นี้ไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาเช่นเดียวกันนี้ต่อไป เช่น

ที่จังหวัดเพชรบุรี”

นายบญุมาก กลา่วทัง้นำ้ตาอยา่งดใีจ เมือ่ปดิทองฯ ดึงน้ำขึ้นมา

ใช้ได้สำเร็จว่า เป็นเรื่องดีมาก เพราะที่ผ่านมา ต้องขุดบ่อเก็บน้ำฝน

ไว้ แต่ถึงหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำ ปลูกอะไรไม่ได้ ตอนนี้มีน้ำแล้วก็จะ

เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี “ผมได้รับการถ่ายทอดเทคนิคดึงน้ำขึ้น

ทีส่งูแลว้ กจ็ะนำความรูท้ีไ่ดไ้ปถา่ยทอดใหก้บัเพือ่นบา้นตอ่ไป เพราะเปน็

การลงทุนเพียงครั้งเดียวที่คุ้มค่ามาก เพราะทำให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปี”

13

บทความ

Page 14: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงผลการดำเนินงานโครงการกล้า...ดี ว่า เพียง 4

เดือนในการดำเนินโครงการ สามารถช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้ประสบอุทกภัยในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง

ได้ 988,460 คน ใน 13 จังหวัด 78 อำเภอ 498 ตำบล 3,347 หมู่บ้าน โดยใช้งบประมาณเพียง 42.7 ล้านบาท ในการจัดเตรียมชุด 3

พร้อม (พร้อมกิน พร้อมปลูก พร้อมเพาะ) จากเงินบริจาคที่ได้รับ 82.8 ล้านบาท ทั้งนี้ เงินที่เหลือจะถูกนำไปใช้ส่งเสริมและต่อยอด

ศักยภาพของชุมชนเข้มแข็ง เพื่อสร้างชุมชนกล้า...ดี ให้เป็นแบบอย่างการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

“โครงการกล้า...ดี จะเป็นต้นแบบการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบภัยอย่างยั่งยืน นั่นคือ ช่วยเขาให้ช่วยตัวเองได้ ตามแนวทางของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นที่น่ายินดีว่า ขณะนี้ผู้นำท้องถิ่นในจังหวัด

พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี ลพบุรี ชัยนาท พิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร สิงห์บุรีและอ่างทอง มีแนวความคิดที่จะนำแนวทางของ

กล้า...ดี ไปใช้รับมือกับอุทกภัยในอนาคต โดยยึดถือหลักการช่วยเหลือตนเอง ซึ่งเท่ากับโครงการประสบความสำเร็จลุล่วงได้ตาม

เป้าหมาย”

ผู้นำชุมชนจากจังหวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ กล่าวในทำนองเดียวกันว่า แนวทางของกล้า...ดี เป็นการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน เพราะ

เป็นปรัชญาที่สอนให้ช่วยเหลือตนเอง ไม่รอรับการบริจาคเพียงอย่างเดียว ขณะนี้หลายจังหวัดได้นำแนวทางกล้า...ดีมาปรับใช้

เพื่อรับมือและฟื้นฟูอุทกภัยแล้ว เช่น พระนครศรีอยุธยา มีการต่อยอด จัดตั้งศูนย์เพาะกล้า 16 แห่ง ครอบคลุมทั้งจังหวัดแล้ว

พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี มอบรางวัล

รองชนะเลิศ การประกวดปฏิทินดีเด่นแก่นางปทัมา เพชรเรยีง

ผู้จัดการมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ในโอกาสที่สมุดบันทึก

“ธรรมชาติและชีวิต ตามแนวพระราชดำริ” ของมูลนิธิ

ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้รับรางวัล

รองชนะเลิศ การประกวดปฏิทินดีเด่น รางวัลสุริยศศิธร ครั้งที่

32 ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ประเภท

เทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ รางวัลสุริยศศิธร จัดขึ้นโดยวัตถุประสงค์เพือ่สง่เสรมิ

สนบัสนนุใหเ้กดิความคดิรเิริม่ สรา้งสรรค ์ในรูปแบบของปฏิทิน

ที่มีคุณค่าต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม

กลา้...ด ีชว่ย 9.9 แสนผูป้ระสบภยัลกุยนืได้

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ติดตาม

โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนอ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่อง

มาจากพระราชดำริ จ.อุดรธานี ภายใต้มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ จากนั้น

นายกรัฐมนตรีและ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทอง

หลังพระฯ ได้จับมือให้คำมั่นว่า จะให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ

ทั้งยังตอบรับจะนำโมเดลอ่างห้วยคล้ายฯ ขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ

ทั่วประเทศ โดยขอให้ปิดทองฯ เป็นพี่เลี้ยงด้วย

ขยายผลห้วยคล้าย “สู่อุดรฯ โมเดล” แม่แบบพัฒนาแหล่งน้ำทั่วประเทศ

ปิดทองฯ คว้ารางวัลสุริยศศิธร

14

ข่าว

Page 15: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ไดโนเสาร์และสัตว์โลกยุคดึกดำบรรพ์อื่น ๆ อย่างจระเข้และเต่า

หุ่นจำลองแสดงวิวัฒนาการของมนุษย์ นาฬิกาแดด

ภูฝอยลม ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคนไม่กลัวหนาว

ดว้ยอณุหภมูทิีเ่คยลดตำ่ถงึ 3-4 องศาเซลเซยีสมาแลว้ ทำใหภ้ฝูอยลม

เปน็แหลง่รวบรวมพนัธุไ์มเ้มอืงหนาวนานาชนดิ ทีส่รา้งความประทบัใจ

มากที่สุด คือ เทศกาลดอกทิวลิปบานบนภูฝอยลม ในช่วงเดือน

ธันวาคม-มกราคมของทุกปี

จุดเริ่มต้นแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่ทำให้ภูฝอยลมทรงคุณค่า

ในวันนี้ ในการเป็นป่าต้นน้ำสำคัญ เป็นที่เกิดของลำห้วยหลายสาย

เช่น ห้วยหลวง ห้วยสามพาด ห้วยกองสี ห้วยขี้เหล็ก ห้วยวังกุ่ม คือ

“โครงการเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้” ซึ่งได้

สร้างกระแสการอนุรักษ์ในหมู่ เด็กและเยาวชนได้อย่างมากมาย

จนพัฒนารูปแบบมาเป็น “โครงการเยาวชนพิทักษ์ไพร” ครอบคลุมพื้นที่ถึง 7 จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย เลย สกลนคร

นครพนม มุกดาหาร และหนองบัวลำภู

พลังนี้ คือพลังที่เปลี่ยนแปลงสภาพป่า จากที่เคยถูกบุกรุกทำลายให้กลับมาเป็นผืนป่าสมบูรณ์อีกครั้ง

จากพื้นที่ที่เคยถูกขนานนามว่า

“สนามเป้า” ในยุคสงครามเวียดนาม

เพราะเป็นที่ซึ่งเครื่องบินรบของกองทัพอากาศสหรัฐนำลูกระเบิด

ที่เหลือจากการถล่มเวียดกงมาปลดทิ้ง ก่อนกลับสู่ฐานทัพสหรัฐ

ในจังหวัดอุดรธานี ที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตร

ภูฝอยลมบนเทือกเขาภูพานน้อยในวันนี้ ไม่ได้มีเพียงซาก

ประวัติศาสตร์จากสงครามเวียดนามที่ยืดเยื้อยาวนาน เป็นลูกระเบิด

ของกองทัพสหรัฐ อายุกว่า 40 ปีไว้ให้ดูเท่านั้น แต่ ภูฝอยลม

กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีความงดงามน่าตื่นตาตื่นใจ

ของจังหวัดอุดรธานี

ไมเ่พยีงคงความอดุมสมบรูณข์องผนืปา่ ในเขตปา่สงวนแหง่ชาติ

ปา่พนัดอน–ปะโค ตำบลทบักงุ อำเภอหนองแสง เทา่นัน้ ภฝูอยลม

ยังเป็นส่วนหนึ่งของสวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษามหาราชินี

ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาไว้

เป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ เก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ ทั้งไม้ดอก

ไม้ประดับ พืชโภชนาการ พืชมีพิษ พืชสมุนไพร ฯลฯ

บนภูฝอยลม ยังสามารถกางเต็นท์พักแรมได้ มีกิจกรรมเดินป่า

ของค่ายเยาวชนพิทักษ์ไพร อุทยานล้านปีภูฝอยลม หุ่นจำลอง

15

บทความ

Page 16: newsletter vol 5

สาระ...เพื่อการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ

ต่อจากหน้า 1 ปลูกป่าตามแนวพระราชดำรัส

ต่อจากหน้า 1 องคมนตรีแนะทางแก้ชนบท

หรือไม้เนื้อแข็ง ซึ่งจะให้ปลูกคละกันในแต่ละพื้นที่ และมอบให้ทุก

กระทรวงที่มีพลังมวลชนในสังกัด เช่น อาสาสมัครเป็นผู้ขับเคลื่อน

การปลูกป่า พร้อมกับเน้นสร้างมาตรการป้องกันการบุกรุกทำลายป่า

และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่

ในวันเดียวกันนี ้ น.ส.ยิ่งลักษณ ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตร ี ยังได ้

ลงนาม คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาต ิ

(กนอช.) ให ้ นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ

สบืสานแนวพระราชดำร ิและ ม.ร.ว.ดศินดัดา ดศิกลุ เลขาธกิารมลูนธิิ

ปดิทองหลงัพระฯ เปน็ทีป่รกึษา กนอช. ซึง่มนีายกรฐัมนตรเีปน็ประธาน

ทางด้านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรม

ปา่ไม ้และกรมอทุยานแหง่ชาต ิสตัวป์า่และพนัธุพ์ชื ไดจ้ดัทำแผนงาน

รายละเอียดแผนการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 3.5 แสนไร่เสร็จแล้ว โดยเน้นการ

ฟื้นฟูป่าในพื้นที่เสื่อมโทรมที่มีปัญหาการบุกรุก การทำฝายชะลอน้ำ

การปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของหน้าดิน ใน 8 ลุ่มน้ำ

สำคัญ คือ ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก เจ้าพระยาและท่าจีน

เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน

นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า แผนฟื้นฟูป่าต้นน้ำของกระทรวง

จะใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมเป็นหลัก และดำเนินตามแนวโครงการ

พระราชดำริ จึงได้เชิญ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธ ิ

แม่ฟ้าหลวง และเลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ มาเป็นหัวหน้า

คณะทำงานเรื่องการฟื้นฟูป่า เพื่อนำต้นแบบโครงการที่ประสบความ

สำเร็จมาแล้ว เช่น โครงการพัฒนาดอยตุง และโครงการห้วยฮ่องไคร้

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาปรับใช้ในการดำเนินการครั้งนี้ รวมทั้ง

จะเน้นทำทั้งระบบ เช่น พัฒนาอาชีพ ให้คนปลูกป่า และช่วยดูแล

พื้นที่อนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วม และการทำฝายชะลอน้ำ เป็นต้น

นายดำรงค ์พเิดช อธบิดกีรมอทุยานแหง่ชาต ิสตัวป์า่และพนัธุพ์ชื

กลา่ววา่ กรมอทุยานฯ จะเรง่เพาะกลา้ไม ้80 ลา้นกลา้ เพือ่ใหท้นัปลกู

ในพื้นที่ต้นน้ำทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคม ทั้งกล้าไม้เนื้ออ่อน

และกล้าไม้เนื้อแข็ง โดยพันธุ์ไม้เนื้ออ่อนที่เป็นไม้โตเร็ว จะเป็น

ไม้ประดู่ส้ม นางพญาเสือโคร่ง สนสามใบ และเสี้ยวดอกขาว

ส่วนไม้เนื้อแข็งหรือไม้โตช้า จะเพาะกล้าไม้จำพวกไม้ตระกูลก่อ

ไม้เหมือด ไม้ทะโล้ ซึ่งเป็นไม้ดั้งเดิมขึ้นตามสันเขา โดยจะเน้น

กล้าไม้ที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองของแต่ละพื้นที่ และใช้วิธีปลูกไม้เนื้ออ่อน

โตเร็วก่อน เพื่อเป็นการปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสม คาดว่า

จะใช้เวลา 2-3 ปี จากนั้นจึงจะปลูกไม้เนื้อแข็งโตช้า ซึ่งจะ

เป็นการปลูกเลียนแบบป่าธรรมชาติ ทำให้ป่าฟื้นตัวได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้กรมอุทยานฯ จะ

สร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น จำนวน 8 หมื่นฝาย ทั้งฝายชั่วคราว ฝาย

กึ่งถาวรและฝายถาวร ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน

มีนาคม-พฤษภาคม เพื่อเก็บกักชะลอน้ำไม่ให้น้ำไหลหลากลงมา

อย่างรวดเร็ว และจะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับฟื้นตัวของผืนป่าด้วย

ทั้งนี้ ป่าอนุรักษ์ลุ่มน้ำภาคเหนือกว่าสองแสนไร่ จะเป็นพื้นที่นำร่องใน

ปีนี้ โดยภายใน 5 ปีจะขยายปลูกให้ครบ 4 ล้านไร่ และจะเพิ่ม

มาตรการแก้ปัญหาการบุกรุก รวมทั้งพัฒนาให้เป็นป่าสมบูรณ์อีกครั้ง

ทั้งนี้จะนำแนวทางการพัฒนาพื้นที่จากศูนย์ศึกษาการพัฒนา

ห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นต้นแบบฟื้นฟูป่า

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ หลังการลงพื้นที่เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหา

อุทกภัย และการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

ของคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการ กยน. ระหว่างวันที่ 13-17

กุมภาพันธ์ 2555 นายกรัฐมนตรีแถลงว่า ในแผนงานดูแลป่าต้นน้ำ

รัฐบาลได้มอบหมายให้มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ เป็นผู้กำหนดพื้นที่

ปลูกป่าในพื้นที่ชุมชนตามโครงการแม่ฟ้าหลวงและมูลนิธิปิดทอง

หลังพระฯ สำนักงาน กปร. กำหนดพื้นที่ปลูกป่า ในพื้นที่ชุมชน

โครงการหลวง กองทัพไทยกำหนดพื้นที่ปลูกป่าตามแนวชายแดน

และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้ม ประสานกระทรวง

มหาดไทยกำหนดพืน้ทีป่ลกูปา่ในพืน้ทีส่งู และมีชุมชนอาศัยอยู่

“ถ้าสื่อมวลชน จะทำให้บ้านเมืองเจริญขึ้น อย่างแรก คือ

ผมขอเรื่องความเป็นผู้รู้จริง สอง ต้องเป็นกลาง เป็นผู้ที่มั่นคง

ใครจะทำให้ไปซ้ายไปขวาไม่ได ้ ซึ่งมีกลไกอยู่สามประการด้วยกัน

คือ หนึ่ง สื่อต้องรู้จักแยกถูกแยกผิด สอง สื่อต้องยึดมั่นในความ

ถูกต้อง และปฏิเสธในสิ่งที่ผิด และสาม ต้องมีความกล้าที่จะแสดง

สิ่งที่ถูกและผิดให้สังคมได้รับรู้และตัดสิน ความเป็นกลางทาง

วิชาชีพ จะทำให้สื่อสามารถจะทำหน้าที่ตัวเองได้เต็มที่ ซึ่งตรงนี้

ผมว่าสำคัญมาก สุดท้าย คือ จรรยาบรรณวิชาชีพ ความเป็นผู้มี

คุณธรรม เพราะสื่อเป็นพระ เป็นครู เป็นผู้พิพากษาสังคม เป็นอะไร

ต่ออะไรหมด จึงต้องแบกความรับผิดชอบต่อสังคมไว้ด้วย”

ประธานมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ตั้งความหวังว่า ชมรมสื่อ

บ้านนอก จะทำ 2 อย่างให้ คือ ทำให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่อยู่ใน

ชนบท ได้เข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในสังคม ในประเทศและใน

โลก และทางใดบ้าง ที่จะเอาการศึกษา การฝึกอบรม ไปทำให้เขา

เก่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งมากขึ้น

ก็จะเป็นประโยชน์มาก

“พระเจ้าอยู่หัวเคยมีรับสั่งว่า ต้องทำให้คนไทยหายจน เพราะ

เมื่อเขาหายจน เขาก็จะเป็นอิสระ และเมื่อเขาเป็นอิสระแล้ว

ประเทศไทยจึงจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็เลยเป็นความจำเป็น

ที่พวกเราจะต้องทำให้ชนบทเข้มแข็ง ให้เขาสามารถยืนอยู่ได้ด้วย

ตนเอง คิดเองได้ เป็นอิสระ นี่จึงเป็นความหวังของประเทศ”

16

ข่าว